WarRoom - อาสาสมัครเตรียมการเฝ้าระวังประสานงานเตรียมพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ปี 2013

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 24 เมษายน 2011.

  1. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    แนะเส้นทางกทม.สู่ทิศตะวันตก-ใต้


    19 พย. 2554 12:51 น.

    แนะนำเส้นทาง กทม. สู่ ทิศตะวันตก -ใต้

    1) ลงทางด่วนฯดาวคะนอง หรือ ลงทางด่วนสุขสวัสดิ์(บางขุนเทียน) - ถ.พระราม 2 - อ.เมือง (สมุทรสาคร) - อ.เมือง(สมุทรสงคราม) - ต่างระดับวังมะนาว - เชื่อมทางหลวงหมายเลข 4(ถ.เพชรเกษม)

    2) ถนนราชพฤกษ์ - เชื่อม ถ.กัลปพกฤษ์ - เชื่อม ถ.กาญจนาภิเษก -เชื่อม ถ.พระราม 2 - อ.เมือง (สมุทรสาคร) - อ.เมือง(สมุทรสงคราม) - ต่างระดับวังมะนาว - เชื่อมทางหลวงหมายเลข 4(ถ.เพชรเกษม)
     
  2. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ทิศตะวันออก เส้นทางรถยนต์ขนาดเล็กไม่ควรผ่าน


    19 พย. 2554 12:52 น.

    ทิศตะวันออก เส้นทางรถยนต์ขนาดเล็กไม่ควรผ่าน

    1) ถ.ประชาร่วมใจ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 30 ซม.

    2) ถ.นิมิตรใหม่ ขาเข้า -ขาออก มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 30 ซม.

    3) ถ.เสรีไทย ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่แยกมีนบุรี ถึงนิคมอุตสาหกรรมาบางชัน ระดับน้ำ 30 ซม.

    4) ถ.สวนสยาม ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่แยกสวนสยาม ถึง แยกรพ.นพรัตน์ ระดับน้ำ 20 ซม.

    5) ถ.สุวินทวงศ์ บริเวณแยกมหานคร น้ำท่วมขัง ระยะทาง 300 เมตร ระดับน้ำสูงประมาณ 30 ซม.

    6) ถ.เจ้าคุณทหาร ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่ตัดถ.ร่มเกล้า ถึงตัดถ.ฉลองกรุง ระดับน้ำ 20 ซม.
     
  3. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ทิศเหนือ ถนนสายหลัก ปิดการจราจร 7 เส้นทาง


    19 พย. 2554 13:07 น.

    ทิศเหนือ ถนนสายหลัก ปิดการจราจร จำนวน 7 เส้นทาง

    1 ถ.พหลโยธิน ขาเข้า - ขาออก ปิดการจราจร ถึงแยกรัชโยธิน

    2 ถ.วิภาวดีรังสิต ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจร ถึงแยกหลักสี่

    3 ถ.นวมินทร์ ขาเข้า- ขาออก ปิดการจราจร ตั้งแต่แยกรามอินทรา กม.8 ถึง ถ.นวมินทร์ ซ.111

    4 ถ.รามอินทรา ขาเข้า -ขาออก ปิดการจราจร ตั้งแต่แยกวงเวียนบางเขน ถึง รามอินทรา กม.1(เซ็นทรัลรามอินทรา)

    5 ถ.ประเสริฐมนูญกิจ(เกษตร-นวมินทร์) ขาเข้า - ขาออก ปิดการจราจร ตั้งแต่แยกเกษตร ถึงแยกลาดปลาเค้า

    6 ถ.แจ้งวัฒนะขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจร ตั้งแต่วงเวียนบางเขน ถึงแยกคลองประปา

    7 ถ.งามวงศ์วาน ขาเข้า-ขาออก ปิดการจราจร ตั้งแต่แยกบางเขน ถึง แยกเกษตร
     
  4. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ปภ. สรุป ยังเหลือพื้นที่ประสบอุทกภัย 18 จังหวัด


    19 พย. 2554 13:08 น.

    ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจ ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม สรุปรายงานสถานการณ์สาธารณภัย ปัจจุปันยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัย จำนวน 18 จังหวัด ประกอบด้วย นครรสวรรค์ ชัยนาท อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ฉะเชิงเทรา นครนายก รวม 130 อำเภอ 936 ตำบล มีราษฎรได้รับความเดือดร้อนจำนวน 1,921,263 ครัวเรือน จำนวนผู้เสียชีวิต 595 ราย สูญหาย 2 ราย กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ประสบภัยจำนวน 36 เขต จาก 50 เขต

    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 พฤศจิกายน 2011
  5. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    บางระกำเร่งทำนาปรังรอบแรกหลังน้ำลดเกือบหมดแล้ว

    19 พย. 2554 13:41 น.

    หลายพื้นที่ใน อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ระดับน้ำที่เคยท่วมขังตั้งแต่เดือนกรกฏาคม 2554 เริ่มระบายลงสู่แม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน จนสภาพพื้นที่น้ำท่วมเกือบทั้งหมดกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว และทุกตำบลในอำเภอบางระกำ จะพบเห็นชาวนาเร่งปรับสภาพพื้นที่นาของตนเอง ไถและหว่านข้าวนาปรังรอบแรก เพื่อให้เก็บเกี่ยวได้เร็วที่สุดในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2555 โดยต่างคาดหวังว่า จะสามารถทำนาปรังรอบที่สอง ( เมษายน-กรกฏาคม 2555 ) ก่อนที่น้ำจะกลับมาท่วมในพื้นที่อีกครั้งหนึ่ง
    ชาวนาบ้านท่าโก ม.3 ต.บางระกำ เปิดเผยว่า ปีนี้น้ำท่วมสูงและขังในพื้นที่นานมากร่วม 4 เดือน ตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมาระดับน้ำได้เริ่มลดลงไปมาก ชาวนาต้องรีบทำนาปรังรอบแรกให้เร็วที่สุด เพื่อชดเชยนาข้าวที่สูญเสียจากน้ำท่วมในปีนี้ และต้องเสี่ยงกับภัยหนาว ที่มักเกิดโรคจู๋ ข้าวไม่ค่อยออกรวง แต่ก็ไม่มีทางเลือก ขณะที่นาปรังรอบที่สองนั้น ก็ต้องเสี่ยงกับภัยแล้ง คาดว่าปีหน้า คงต้องใช้น้ำจากบ่อบาดาลในการทำนา
     
  6. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    รถยนต์ยังจมบาดาลที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เวลา 13:22:48 น.

    [​IMG]

    ภาพภ่ายทางอากาศ วันที่ 19 พฤศจิกายน แสดงให้เห็นว่ารถยนต์ในโรงงานรถยนต์ฮอนด้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังคงจมน้ำเห็นแค่หลังคาเนื่องจากระดับน้ำยังลดไม่มากนัก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 พฤศจิกายน 2011
  7. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ภาพแสดงระดับน้ำในเขตต่างๆ ของ กทม. จาก Bangkok Post 11/11/2011

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 พฤศจิกายน 2011
  8. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ทางด่วน–โทลเวย์กลับมาเก็บเงิน21พ.ย.นี้

    วันเสาร์ ที่ 19 พฤศจิกายน 2554 เวลา 14:05 น

    ชาวบ้านสลด น้ำยังไม่ทันแห้งดี ทางด่วน – โทลเวย์กลับมาเก็บเงิน 21 พ.ย.นี้ รัฐจ่ายชดเชยร่วม200ล้าน

    วันนี้ (19 พ.ย.) พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า จะไม่มีการขยายเวลางดเก็บค่าผ่านทางด่วน ทั้งของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง ผู้ให้บริการดอนเมืองโทลเวย์ ซึ่งจะสิ้นสุดมาตรการในเวลา 24.00 น. ของวันที่ 20 พ.ย.นี้ เพราะฉะนั้นตั้งแต่เวลา 00.01 น. ของวันที่ 21 พ.ย. นี้ การให้บริการทางด่วนทั้งหมด จะกลับมาเก็บค่าผ่านทางตามปกติ เนื่องจากเห็นว่า สถานการณ์น้ำท่วมเริ่มกลับมาสู่ภาวะปกติ และรัฐบาลต้องแบกรับภาระชดเชยให้ค่าผ่านทางเป็นจำนวนมาก

    ทั้งนี้ที่ผ่านมาการยกเว้นการเก็บค่าผ่านทางพิเศษ ระหว่างวันที่ 9 - 20 พ.ย. รัฐบาลต้องจ่ายค่าชดเชยให้เอกชนผู้ได้รับสัมปทาน บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด ประมาณ 184 ล้านบาท และต้องชดเชยให้ดอนเมืองโทลเวย์ ที่ได้ขอความร่วมมือให้งดเก็บค่าผ่านทางตั้งแต่วันที่ 12 พ.ย. – 20 พ.ย. กว่า 14 ล้านบาท

    นายสมบัติ พานิชชีวะ ประธานกรรมการ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด ผู้ให้บริการดอนเมืองโทลเวย์ กล่าวว่า ดอนเมืองโทลเวย์ จะกลับมาเก็บค่าผ่านทางตั้งแต่เวลา 00.01 น. ของวันที่ 21 พ.ย.นี้ เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมใกล้สู่ภาวะปกติแล้ว และที่ผ่านมาดอนเมืองโทลเวย์ ได้งดเก็บค่าผ่านทางมาตั้งแต่วันที่ 27 ต.ค. – 20 พ.ย. เสียรายได้วันละ ประมาณ 5 ล้านบาท รวม 25 วัน เสียรายได้ประมาณ 125 ล้านบาท ส่วนรัฐบาลจะชดเชยเท่าไรนั้น คงต้องแล้วแต่รัฐบาล ซึ่งทราบมาว่า รัฐบาลจะชดเชยรายได้ให้ช่วงหลังๆ เท่านั้น แต่เชื่อว่า จะมีการสรุปตัวเลขกันอีกครั้ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 พฤศจิกายน 2011
  9. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
  10. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ThaiPBS

    ‎...14.09 น. บก.จร.แจ้งว่า ขณะนี้ในซอยวัชรพล หน้าตลาดถนอมมิตร ระดับน้ำประมาณ20 ซม.รถเล็กพอผ่านได้
     
  11. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    เหตุการณ์รอบโลก จาก Truth4thai.org

    15 พฤศจิกายน

    - มีรายงานการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกบริเวณทะเลแคลิเบียน

    RSOE EDIS - Unusual geological event in MultiCountries on Tuesday, 15 November, 2011 at 05:54 (05:54 AM) UTC. EDIS CODE: UGE-20111115-33052-MLC

    - สภาพอากาศแปรปรวนที่รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา

    RSOE EDIS - Extreme Weather in USA on Tuesday, 15 November, 2011 at 04:04 (04:04 AM) UTC. EDIS CODE: ST-20111115-33049-USA

    - แผ่นดินไหว 5.7 ริตเตอร์ เวลา 10:43 UTC ที่ประเทศอินโดนีเซีย

    Earthquake - Magnitude 5.7 - SULAWESI, INDONESIA - 2011 November 15, 10:43 UTC

    16 พฤศจิกายน

    - รายงานข่าวกลุ่มอุกกาบาต Leonid เข้ามาที่โลก

    IMO Meteor Shower Calendar 2011 | International Meteor Organization

    - เกิดทอร์นาโดในรัฐ อินเดียน่า สหรัฐอเมริกา

    RSOE EDIS - Tornado in USA on Wednesday, 16 November, 2011 at 11:01 (11:01 AM) UTC. EDIS CODE: TO-20111116-33066-USA

    Tornado strikes southern Indiana town, ripping roof off police station | The Star Press | thestarpress.com

    - เกิดทอร์นาโดในรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

    RSOE EDIS - Tornado in USA on Wednesday, 16 November, 2011 at 05:56 (05:56 AM) UTC. EDIS CODE: TO-20111116-33060-USA

    - พายุถล่มรัฐ South Corolina สหรัฐอเมรีกมีผู้เสียชีวิต 6 คน 6 killed as storms sweep across South - CNN.com

    17 พฤศจิกายน

    - แผ่นดินไหว 5.9 ริตเตอร์เวลา 1:57 UTC ที่ Ecuador Earthquake - Magnitude 5.9 - OFF COAST OF ECUADOR - 2011 November 17, 01:57 UTC

    - เกิดทอร์นาโดที่รัฐ Mississippi สหรัฐอเมริกา

    RSOE EDIS - Tornado in USA on Thursday, 17 November, 2011 at 04:35 (04:35 AM) UTC. EDIS CODE: TO-20111117-33072-USA

    - สภาพอากาศแปรปรวนที่รัฐ Alabama สหรัฐอเมริกา

    RSOE EDIS - Extreme Weather in USA on Thursday, 17 November, 2011 at 04:48 (04:48 AM) UTC. EDIS CODE: ST-20111117-33075-USA



    18 พฤศจิกายน

    - ดาวเทียม ACE ตรวจจับลมสุริยะขนาดความเร็วสูงสุดประมาณ 450 km/s ซึ่งถือว่าไม่มากนัก ในช่วงวันที่ 16-17 ที่ผ่านมาจะพบว่า เหตุการณ์จะออกมาในรูปแบบของสภาพอากาศแปรปรวนมากกว่าปกติเป็นหลักโดยเฉพาะทางฝั่งทวีปอเมริกาเหนือ และมีแผ่นดินไหวมากเป็นพิเศษแต่อยู่ในระดับที่ไม่ทำอันตรายมากนัก

    [​IMG]

    - แผ่นดินไหวขนาด 5.9 ริตเตอร์ เวลา 7:51UTC ที่ประเทศนิวซีแลนด์

    Earthquake - Magnitude 5.9 - OFF E. COAST OF N. ISLAND, N.Z. - 2011 November 18, 07:51 UTC

    - เกิดพายุหิมะที่รัฐ Montana สหรัฐอเมริกา

    RSOE EDIS - Snow Storm in USA on Friday, 18 November, 2011 at 19:00 (07:00 PM) UTC. EDIS CODE: SS-20111118-33086-USA

    - น้ำท่วมฉับพลันที่ประเทศฟิลิปปินส์

    RSOE EDIS - Flash Flood in Philippines on Friday, 18 November, 2011 at 11:56 (11:56 AM) UTC. EDIS CODE: FF-20111118-33080-PHL
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 พฤศจิกายน 2011
  12. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    [​IMG]
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 พฤศจิกายน 2011
  13. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    แผนที่อากาศบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก

    [​IMG]
     
  14. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    [​IMG] Sasin Chalermlarp
    เวลามีคนถามผมเกี่ยวกับสาเหตุน้ำท่วม ที่โยงไปหาการปล่อยน้ำจากเขื่อน ผมจะตอบว่าไม่ทราบครับ จริงๆ มันเกินความรู้ และ ความสนใจในเบื้องต้นที่เข้ามายุ่งกับสถานการณ์ น้ำเฉพาะหน้า ว่าอาจจะมีโอกาสท่วมกรุงเทพ และยังไม่เคยไปนั่งสืบค้น วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เรื่องนี้เลย และคิดว่าในที่ราบน้ำเจาพระยาของเราไม่ว่าเขื่อนปล่อยผิด ปล่อยถูก ก็อาจจะท่วมได้ มากน้อยก็ว่ากันไป แต่บทความนี้ก็ทำความเข้าใจได้มากทีเดียว




    ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการน้ำในเขื่อนภูมิพล

    Posted on November 18, 2011

    ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันที่ 11-12 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีการกล่าวถึงความผิดพลาดของการจัดการน้ำในเขื่อน แต่วิธีวิเคราะห์ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นการวิเคราะห์แบบหลักลอย ปราศจากบริบท ไม่มีการเปรียบเทียบปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้นและลดลงในแต่ละเดือน ไม่มีการกล่าวถึงว่าในอดีตเขื่อนมีวัฏจักรการปล่อยและกักเก็บน้ำอย่างไร

    เป้าหมายของบทความนี้คือเพื่อแสดงให้เห็นความผิดปกติของการจัดการน้ำในเขื่อนภูมิพลประจำปี 2554 อ้างอิงจากค่าเฉลี่ยตลอดสิบปีที่ผ่านมา เพื่อชี้ให้เห็นว่าความผิดปกตินี้เกิดในช่วงเวลาใด อนึ่ง ผู้เขียนจงใจใช้คำว่าความผิดปกติ ไม่ใช่ความผิดพลาด เพราะสาเหตุของความผิดปกติอาจเป็นได้ตั้งแต่สาเหตุธรรมชาติ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความผิดพลาดโดยตั้งใจ และไม่ตั้งใจ

    [​IMG]

    หลายคนน่าจะคุ้นเคยกันดีกับแผนภูมิด้านบนดี โดยเฉพาะเส้นสีแดง ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลประจำปี 2554 (จาก http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/egat_graph1.php เพื่อความสะดวกในการจัดการ ผู้เขียนดึงมาเฉพาะข้อมูลรายเดือน) ส่วนเส้นประสีน้ำเงินคือปริมาณน้ำในเขื่อนเฉลี่ยของรอบสิบปี (ตั้งแต่ 2545 จนถึง 2554)

    เส้นประสีน้ำเงินแสดงให้เห็นธรรมชาติการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำในเขื่อน เราสามารถแบ่งธรรมชาติของการจัดการน้ำในเขื่อนได้เป็นสามช่วง 1) ฤดูหนาวและฤดูแล้ง ตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายน น้ำที่เหลือตกค้างจากฤดูฝนปีก่อน ลดลงไปจนถึงสิ้นสุดฤดูร้อน 2) ช่วงต้นฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกรกฎาคม แม้จะเริ่มมีฝนตกเหนือเขื่อน และมีน้ำไหลเข้า แต่ปริมาณน้ำยังจัดว่าน้อย เขื่อนในช่วงนี้จะพยายามรักษาระดับน้ำให้คงตัว ไม่เพิ่มหรือไม่ลดจากเดิม เพื่อเตรียมตัวไว้สำหรับฤดูฝนตอนปลาย 3) ฤดูฝนตอนปลาย ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงพฤศจิกายน ฝนตกในปริมาณมาก ช่วงเวลานี้คือช่วงของการกักเก็บน้ำในเขื่อน เพื่อให้เหลือใช้ ผ่านฤดูหนาวและฤดูแล้งของปีถัดไปได้

    จุดน่าสังเกตเกี่ยวกับเส้นสีแดงทึบ หรือปริมาณน้ำในปี 2554 คือ 


    - ปี 2554 เริ่มต้นจากปริมาณน้ำในเขื่อนที่น้อยเป็นประวัติการณ์ น้อยกว่าค่าเฉลี่ยเกือบ 2000 ล้านลบมม (และน้อยเกือบที่สุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มากกว่าเพียงแค่ปี 2549 เท่านั้น) สาเหตุน่าจะเป็นเพราะความแห้งแล้งต่อเนื่องจากปี 2553 ในบริเวณพื้นภาคกลาง 


    - แต่ภายหลังจากวันที่ 1 มิถุนายน 2554 ปริมาณน้ำในเขื่อนเริ่มอยู่ในระดับเท่าค่าเฉลี่ยสิบปี (เส้นสีแดงตัดกับเส้นประสีน้ำเงิน) จากนั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเกินขีดจำกัดที่เขื่อนจะรับได้ (ประมาณ 13000 ล้านลบมม) และเป็นสาเหตุหนึ่งของอุทกภัยครั้งใหญ่ ที่เราต้องเผชิญในปีนี้

    [​IMG]

    กราฟที่ 2 คือความเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำในเขื่อน เฉพาะตั้งแต่เดือนเมษายน (ต้นฤดูฝน) จนถึงเดือนตุลาคม คำนวณจากนำปริมาณน้ำวันที่ 1 ของแต่ละเดือนลบปริมาณน้ำเดือนก่อน เช่น ปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นในเดือนมกราคมเท่ากับปริมาณน้ำในเขื่อน วันที่ 1 กุมภาพันธ์ลบด้วยปริมาณน้ำ วันที่ 1 มกราคม เช่นเดิม กราฟแท่งสีแดงคือความเปลี่ยนแปลงในปี 2554 และสีน้ำเงินคือค่าเฉลี่ยสิบปี ตัวเลขที่เป็นลบ หมายความว่าเฉพาะในเดือนนั้น ปริมาณน้ำในเขื่อนลดลง

    สำหรับคนที่ไม่ถนัดดูกราฟ สามารถดูตัวเลขในตารางข้างล่างได้ (หน่วย ล้านลบมม) ตัวเลขสีม่วงจงใจแสดงให้เห็นเดือนที่ระดับน้ำลดลง

    [​IMG]

    จะเห็นได้ว่า ยกเว้นเดือนกันยายน กราฟแท่งสีแดงสูงกว่าสีน้ำเงินหมด (และสูงสุดเป็นประวัติการณ์ สูงสุดทุกเดือนในรอบสิบปีที่ผ่านมา) กราฟแท่งและตารางด้านบนแสดงให้เห็นถึงความผิดปกติของการจัดการน้ำในเขื่อนภูมิพล ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนเมษายน จนถึงเดือนสิงหาคม

    [​IMG]

    กราฟที่ 3 คือปริมาณน้ำที่เปลี่ยนแปลงในปี 2554 ลบกับค่าเฉลี่ย แสดงให้เห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่เดือนเมษายน อะไรคือต้นเหตุที่มาของความผิดปกตินี้กันแน่ สมมติฐานหนึ่งคือสาเหตุทางธรรมชาติ ถ้าเราเอากราฟแสดงปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนมาเปรียบเทียบดู จะพบว่าปริมาณน้ำไหลเข้า (อันเป็นปัจจัยที่ขึ้นอยู่กับปริมาณฝน หรือธรรมชาติล้วนๆ ) ในปี 2554 สูงกว่าแทบทุกปี ตรงตามรายงานของกรมอุตุฯ ว่าปริมาณฝนในปี 2554 สูงกว่าปรกติ

    นอกจากนี้ดังที่ได้อธิบายไปแล้ว (ในกราฟที่ 1) ต้นปี 2554 ปริมาณน้ำหลงเหลือในเขื่อนน้อยเป็นประวัติการณ์ ประกอบกับช่วงต้นปี มีสัญญาณทางอุตุนิยมวิทยาหลายข้อที่บ่งชี้ว่าปีนี้ฝนจะแล้ง การจงใจกักเก็บน้ำตั้งแต่ต้นปี จึงอาจมาจากสาเหตุนี้ได้ แต่ปริมาณน้ำดังกล่าวปรับอยู่ในระดับเท่าอยู่ในระดับค่าเฉลี่ย ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ดังนั้นนี่จึงไม่น่าใช่คำอธิบาย เหตุใดการเพิ่มขึ้นของน้ำในเขื่อนถึงยังสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนมิถุนายน กรกฎาคม จนถึงเดือนสิงหาคม

    ประเด็นหลักๆ ที่ผู้เขียนอยากนำเสนอในบทความนี้คือ

    1. ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นก่อนเดือนมิถุนายน แม้จะมีบทบาททำให้เกิดวิกฤติอุทกภัยปลายปี แต่เป็นความผิดพลาดที่เข้าใจได้ ภายใต้กรอบคำอธิบายว่า ต้นปี 2554 มีสัญญาณฝนแล้งจริง และปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลที่เหลือจากปี 2553 น้อยเป็นประวัติการณ์


    2. เราไม่สามารถยกปริมาณน้ำในเขื่อนมาเปรียบเทียบอย่างไร้บริบท โดยไม่ดูว่าค่าเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นในแต่ละเดือน ตลอดช่วงสิบปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไร

    [​IMG]

    จากตารางที่ 2 ปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน 2554 และกรกฎาคมรวมกันประมาณ 1610 ล้านลบมม อาจจะน้อยกว่าปริมาณน้ำในเดือนสิงหาคม (1940 ล้านลบมม) แต่ต้องไม่ลืมว่า ตลอดช่วงสิบปีที่ผ่านมา โดยเฉลี่ยแล้ว ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลไม่เคยเพิ่มขึ้นเลยในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม (ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ -55 ล้านลบมม) ถ้าเทียบความผิดปกติจากค่าเฉลี่ย ความผิดปกติในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมรวมกันเท่ากับ 1610 ล้านลบมม มากกว่าค่าความผิดปกติในเดือนสิงหาคม (1150 ล้านลบมม)



    ลองวิเคราะห์ให้ละเอียดลงไปว่าการที่ปริมาณการกักเก็บน้ำในเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม มากกว่าค่าเฉลี่ย สามารถอธิบายได้ด้วยสาเหตุธรรมชาติหรือไม่ 


    [​IMG]

    ตารางสุดท้ายนี้เปรียบเทียบปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อน ระหว่างค่าเฉลี่ยสิบปี และในปี 2554 จะเห็นว่าตลอดทั้งสามเดือน ปริมาณน้ำไหลเข้าตามธรรมชาติมากกว่าค่าเฉลี่ยสองถึงสามเท่า ในเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมปริมาณน้ำไหลเข้ามากกว่าค่าเฉลี่ยรวมกัน 1040 ล้านลบมม ขณะที่ปริมาณการกักเก็บน้ำมากกว่าค่าปรกติอยู่ 1610 ล้านลบมม ขณะเดียวกัน ปริมาณน้ำไหลเข้าที่มากกว่าปรกติในเดือนสิงหาคมเท่ากับ 1650 ล้านลบมม ส่วนปริมาณการกักเก็บที่มากกว่าปรกติคือ 1150



    ตัวเลขข้างบนนี้มาจากความแปรปรวนตามธรรมชาติ หรือความจงใจ จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องเอาศักยภาพการระบายน้ำในเขื่อนมาขบคิดวิเคราะห์ ซึ่งตัวเลขนี้ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยที่หลากหลาย เช่น ถ้าฝนตกปลายเดือน ย่อมมีโอกาสน้อยกว่าที่จะระบายน้ำออกจากเขื่อน (ในบทความ http://www.prachatham.com/detail.htm?code=n6_06112011_01 มีการกล่าวถึงอัตราการระบายน้ำในเขื่อนอย่างคร่าวๆ ) การวิเคราะห์ดังกล่าวอยู่นอกขอบเขตของบนความนี้ จึงขอทิ้งตารางที่ 2 และ 3 ไว้ในดุลพินิจของผู้อ่าน


    3. ***แต่*** ผู้เขียนยังไม่เชื่อว่าความผิดปกติทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาอุทกภัย เรากำลังพูดถึงความผิดปกติระดับ 3000 ล้านลบมม เทียบกับปริมาณน้ำเหนือทั้งหมด 13000 ล้านลบมม ที่ทยอยท่วมทับกรุงเทพ และหลายจังหวัดในภาคกลาง นักการเมืองบางคนออกมาพูดว่า หากเขื่อนพร่องน้ำได้สักครึ่งหนึ่ง เราจะไม่ต้องประสบปัญหานี้ แต่คำพูดนั้นเป็นเพียงการกล่าวหาอย่างละเมอเพ้อพก ตราบใดที่เรายังไม่สามารถพยากรณ์อากาศล่วงหน้าได้อย่างถูกต้องร้อยเปอร์เซ็น ความรับผิดชอบของเขื่อนคือการปรับระดับน้ำให้พอดีค่าเฉลี่ย ไม่ใช่เตรียมพร้อมรับอนาคตที่เราไม่รู้จะเกิดอะไรขึ้น

    บทสรุป

    ปริมาณน้ำของเขื่อนภูมิพลในปี 2554 มากผิดปกติเมื่อเทียบกับปีก่อนๆ จริง และเป็นความผิดปกติที่เกิดตั้งแต่เดือนเมษายน จนถึงเดือนสิงหาคม การกักเก็บน้ำที่มากขึ้นนี้อาจเกิดจากมาตรการจัดการน้ำแล้งช่วงต้นปี 2554 กระนั้นก็ตาม ปริมาณน้ำได้เพิ่มขึ้นจนถึงค่าเฉลี่ยในเดือนมิถุนายน แต่ภายหลังจากนั้น ก็ยังไม่มีการปล่อยน้ำอย่างเพียงพอ การพิจารณาความผิดปรกติของการจัดการน้ำในเขื่อน ต้องกระทำไปพร้อมกับการพิจารณาบริบทอื่นๆ ได้แก่ การจัดการน้ำในอดีต และสภาพความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศในปี 2554 ข้อสังเกตสุดท้ายคือปริมาณน้ำที่เขื่อนสามารถชะลอได้นั้นอยู่ในหลัก 3000 ล้านลบมม ซึ่งเทียบแล้วเป็นสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำท่วมทั้งหมด

    หมายเหตุจากทีมแอดมิน :

    บทความข้างต้นนี้เป็นรายงานฉบับพิเศษที่เขียนขึ้นโดยหนึ่งในสมาชิกทีมแอดมิน ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลพร้อมเขียนบทวิเคราะห์ไว้น่าสนใจ

    บทความนี้มีเป้าหมายพื่อแสดงให้เห็นความผิดปกติของการจัดการน้ำในเขื่อนภูมิพลประจำปี 2554 โดยอ้างอิงจาก “ตัวเลขค่าเฉลี่ย” ตลอดสิบปีที่ผ่านมา (เวลาเราจะบอกว่าสิ่งใดผิดปกติ เราต้องรู้ก่อนว่าระดับ “ปกติ” อยู่ตรงไหน) เพื่อชี้ให้เห็นในเชิงตัวเลขว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นนั้น “มาก” หรือ “น้อย” แค่ไหน และเกิดขึ้นเป็นช่วงเวลา “ยาวนาน” เท่าใด แต่ไม่ได้มีเป้าหมายในการสรุปว่า “อะไร” คือสาเหตุของความผิดปกติ (ธรรมชาติ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ฯลฯ)

    สำหรับท่านที่ต้องการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สามารถเข้าไปได้ที่ Facebook Page : ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการน้ำในเขื่อนภูมิพล หรือส่งอีเมล์มาได้ที่ admin (at) whereisthailand (dot) info
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 พฤศจิกายน 2011
  15. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ตากขาดแคลนเครื่องห่มกันหนาวกว่า 1 แสนชุด


    19 พย. 2554 14:56 น.

    นายสามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เปิดเผยว่า สถานการณ์หนาวในพื้นที่จ.ตาก ขณะนี้ยังไม่รุนแรงนักแม้ว่าจะมีอุณหภูมิลดลงอย่างต่อเนื่อง อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยที่ 15 องศาเซลเซียส บริเวณอ.อุ้มผาง และดอยมูเซอ แต่ยังไม่ได้ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติหนาว เพราะอุณหภูมิที่ลดต่ำลงยังไม่เข้าหลักเกณฑ์การประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติที่ต้องมีอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียสติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน
    ทั้งนี้ จากการสำรวจปริมาณความต้องการเครื่องห่มกันหนาวปีนี้ขาดแคลนกว่า 1 แสนชุด ที่ผ่านมาก็มีภาคเอกชน โดยบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้มอบเครื่องห่มกันหนาวให้กับประชาชนในจังหวัดตากแล้วกว่า 1.2 หมื่นผืน ตามโครงการ ไทยเบฟ รวมใจต้านภัยหนาว 12 ปี บนเส้นทางแห่งการแบ่งปันไออุ่น" สำหรับพื้นที่ที่น่าเป็นห่วงขณะนี้คือ 5 อำเภอ ประกอบด้วย อ.อุ้มผาง อ.แม่สอด อ.แม่ระมาด อ.พบพระ และอ.ท่าสองยาง เนื่องจากเป็นพื้นที่บนยอดดอย
    สำหรับคาดการณ์อากาศหนาวในปีนี้น่าจะหนาวเย็นกว่าปีที่ผ่านๆ มา เพราะตอนนี้เริ่มมีสัญญาณมาแล้วทั้งหมอกในช่วงเช้าและกลางคืนหนามาก รวมถึงอุณหภูมิบนยอดดอยเฉลี่ย 13-14 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิแต่ละวันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องทั้งเพิ่มขึ้นและลดลงจึงยังไม่สามารถประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติหนาวได้ สำหรับปี 2553 ได้ประกาศให้ทั้ง 9 อำเภอเป็นพื้นที่ภัยพิบัติหนาว
     
  16. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    หลัง 5 ธันวาฯ รฟม.เก็บค่าจอดรถคันละ 300 บาท/คืน

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 พฤศจิกายน 2554 16:24 น.


    นายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าฝ่ายปฏิบัติการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รักษาการแทน ผู้ว่าการฯ รฟม.เปิดเผยว่า รถยนต์ที่เข้ามาจอดก่อนเที่ยงคืนวันที่ 4 พฤศจิกายน รฟม. จะเรียกเก็บค่าบริการจอดรถค้างคืนในอัตราขั้นต่ำสุดตามระเบียบวิธีปฏิบัติงานของ รฟม. ในอัตราคันละ 300 บาทต่อวัน

    อย่างไรก็ตาม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ประสบอุทกภัย ทาง รฟม. เปิดให้ประชาชนสามารถนำรถมาจอดโดยได้รับการยกเว้นเก็บค่าบริการ ที่ลานจอดรถยนต์ อาคาร รฟม.สถานีลาดพร้าว ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน - 5 ธันวาคม

    ทั้งนี้ ตั้งแต่เวลา 05.00 น. วันที่ 6 ธันวาคม ขอให้ประชาชนที่นำรถยนต์มาจอด ให้นำออกจากอาคารจอดรถ และลานจอดรถดังกล่าว หากยังไม่นำรถยนต์ออกภายในกำหนด รฟม.จะเรียกเก็บค่าบริการจอดรถค้างคืนในอัตราปกติ ในอัตราคันละ 300 บาทต่อวัน สำหรับผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าฯ และคันละ 1,000 บาทต่อวัน สำหรับผู้ไม่ใช้บริการรถไฟฟ้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 พฤศจิกายน 2011
  17. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    คาดอีก2สัปดาห์ปทุมฯน้ำแห้ง

    19 พฤศจิกายน 2554 เวลา 14:42 น. |เปิดอ่าน 637 | ความคิดเห็น 2
    ประเด็น: วิกฤตน้ำท่วม ,

    [​IMG]

    ปทุมธานีน้ำเริ่มลดลงต่อเนื่องคาดอีก 2 สัปดาห์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ

    สถานการณ์น้ำท่วมจ.ปทุมธานีระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่องทั้งตามถนนหนทางและตามหมู่บ้านซึ่งประชาชนได้เริ่มทยอยเดินทางกลับบ้านเพื่อทำความสะอาดบ้านเรือนและตรวจสอบทรัพย์สิน คาดว่าอีกประมาณ 2 สัปดาห์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

    ขณะที่ชาวบ้านในหมู่บ้านประชาม.10 ต.บางคูวัด อ.เมือง จ.ปทุมธานี ต่างก็พากันออกมาจับจ่ายซื้อข้าวของต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าประสบน้ำท่วมขังมานานนับเดือนตั้งแต่วันที่ 22 ต.ค.จนถึงวันนี้แต่ปรากฎว่ายังไม่หน่วยงานไหนเข้ามาดูแลความเดือดร้อนชาวบ้านและตั้งแต่ถูกน้ำท่วมได้รับถุงยังชีพแค่ครั้งเดียว
     
  18. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ถ.ร่มเกล้า รถหนึบ แนะเลี่ยงใช้เส้นทาง

    ข่าวสังคม วันเสาร์ที่ 19 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2554 16:26 น.
    share

    สน.ลาดกระบัง ชี้ สภาพปัญหา "รถติด" ที่ถนนร่มเกล้า เหตุ แท็กซี่ แห่เติมแก๊ส NGV จำนวนมาก ขณะที่ ถนนเจ้าคุณทหารฯมุ่งหน้าถนนร่มเกล้า ยังมีน้ำท่วมขัง


    พ.ต.ต.เนติ วงษ์กุหลาบ สารวัตรจราจร สน.ลาดกระบัง เปิดเผยว่า ในพื้นที่ขณะนี้ ถนนร่มเกล้า จราจรติดขัด สะสมตลอดทั้งวัน เนื่องจากมีรถรอเติมก๊าชเอ็นจีวีบริเวณถนนร่มเกล้าจำนวนมาก เนื่องจากจุดดังกล่าวมีสถานีบริการปั้มก๊าชแบบท่อส่ง ซึ่งไม่มีหมด แต่เนื่องจากเป็นปั๊มเดียวที่ให้บริการได้ในแถบนี้ ระบบหัวจ่ายทำงานต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง หัวจ่ายขัดข้อง ตั้งแต่ 13.00 น. ทางปั๊มจึงปิดการให้บริการชั่วคราว เพื่อเร่งซ่อมหัวจ่าย ให้กลับมาทำงานได้ปกติ คาดว่า 16.00 น. น่าจะซ่อมเสร็จ แต่ปัญหาคือ รถแท็กซี่จำนวนมากที่มาเข้าคิวรอเติมไม่พอใจ ปิดการจราจรทางเข้า-ออกปั๊ม ตำรวจได้เข้าไปเจรจา จนเกิดความพอใจ และยอมเปิดการจราจร พร้อมกันนี้ยังขอความร่วมมือรถแท็กซี่ที่กำลังมุ่งหน้ามาเติมแก๊ส ในจุดดังกล่าวชะลอไว้ก่อน ส่วนปัญหาที่พบคือ ปั๊มแห่งนี้อยู่ห่างจากสามแยกเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพียง 600 เมตร ใกล้กับบริเวณจุดที่รถเทรลเลอร์ เลี้ยวเข้านิคมฯ อีกทั้งแท็กซี่รอเติมก๊าชอีก จึงทำให้การจราจรติดขัด

    อย่างไรก็ตาม สำหรับปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ลาดกระบัง มีเล็กน้อย คือ ถนนเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มุ่งหน้า ถนนร่มเกล้า ที่มีน้ำท่วมอยู่

    Link : http://www.innnews.co.th/ถ-ร่มเกล้า-รถหนึบ-แนะเลี่ยงใช้เส้นทาง--322269_03.html
     
  19. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ชี้เหตุรุนแรงในซีเรียเริ่มคล้ายกับสงครามกลางเมืองขึ้นทุกขณะ

    วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2011 เวลา 16:30 น. กอง บก.ออนไลน์ ข่าวรายวัน

    นายเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย กล่าวว่า เหตุรุนแรงในซีเรียเริ่มคล้ายกับสงครามกลางเมืองขึ้นทุกขณะ หลังจากกลุ่มทหารแปรพักษ์จากรัฐบาลได้ทำการโจมตีที่ทำการของหน่วยข่าวกรองของกองทัพอากาศซีเรียในเมืองฮารัสตาเมื่อวานนี้ พร้อมเสนอให้กลุ่มสันนิบาตอาหรับหามาตรการเพื่อยุติเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นในซีเรียโดยเร็ว ทั้งนี้ ที่ผ่านมา รัสเซียคัดค้านไม่ให้สหประชาชาติลงมติประณามรัฐบาลซีเรียกรณีสั่งปราบปรามผู้ประท้วง แต่เสนอให้รัฐบาลซีเรียจัดให้มีการเจรจาปรองดองกับฝ่ายค้าน ในขณะที่การประชุมที่กรุงราบัตของโมรอกโก เมื่อวานนี้ สันนิบาตอาหรับเรียกร้องให้รัฐบาลซีเรียยุติการปราบปรามผู้ประท้วงภายใน 3 วัน พร้อมทั้งถอนกำลังทหาร พร้อมรถถัง กลับเข้ากรมกองทั้งหมด และจัดการเจรจาปรองดองกับฝ่ายค้านภายใน 2 สัปดาห์นี้
     
  20. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    รังสีลึกลับฟุ้งกระจายในยุโรปยังเป็นปริศนา แม้คาดต้นตออยู่ในฮังการี



     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 พฤศจิกายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...