คลังเรื่องเด่น
-
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๗ -
"การรักษาศีล ให้รักษาใจ" หลวงปู่จันศรี จนฺททีโป
.
"การรักษาศีล ให้รักษาใจ"
" .. "การรักษาศีลนั้น รักษาที่ไหน อะไรเป็นศีล" ก็รักษาที่กายวาจา ให้เป็นปกติ กาย วาจา ที่จะเป็นปกติได้ "ก็ต้องอาศัยใจเป็นใหญ่" ใจเป็นหัวหน้า ใจเป็นประธาน "ใจเป็นผู้บัคับบัญชากาย วาจา ให้กระทำอย่างนั้น" .. "
"๑๐๓ โอวาทธรรมคำสอน"
หลวงปู่จันศรี จนฺททีโป -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๗ -
"การกระทำ คือเหตุ" (หลวงปู่ชา สุภัทโท)
.
"การกระทำ คือเหตุ"
" .. การปฏิบัตินั้นให้พยายามทำ "มันจะสงบหรือไม่สงบก็ช่าง" ปล่อยไว้ก่อน เอาเรื่องเราปฏิบัติเป็นเรื่องแรก "เอาเรื่องเราได้สร้างเหตุนี้แหละ" ถ้าทำแล้วผลจะเป็นอย่างไรก็ได้ เราทำได้แล้วอย่ากลัวว่าจะไม่ได้ผล
มันไม่สงบเราก็ได้ทำ ทีนี้ถ้าเราไม่ทำใครเล่าจะได้ ใครเล่าจะเห็น "คนหานั่นแหละจะเห็น คนกินนี่แหละจะอิ่ม" ของแต่ละสิ่งแต่ละอย่างมันโกหกเราอยู่ สิบครั้งให้มันรู้ก็ยังดีอยู่ "คนเก่ามาโกหกเรื่องเก่า ถ้ารู้จักก็ดีอยู่มันนานเหลีอเกินกว่าจะรู้" มันพยายามมาหลอกลวงเราอยู่นี่
ดังนั้น "ถ้าจะปฏิบัติแล้วให้ตั้งศีล สมาธิ ปัญญา ไว้ในใจเรา" ให้นึกถึงพระรัตนตรัย คือ "พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์" เลิกสิ่งทั้งหลายทั้งปวงออกเสีย "การกระทำของเรานี้เองเป็นเหตุ" เกิดขึ้นในภพในชาติหนึ่งจริง ๆ ให้เป็นคนซื่อสัตย์ กระทำไปเถอะ .. "
หลวงปู่ชา สุภัทโท -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๗ -
อาบน้ำมนต์ 7 วัด
อาบน้ำมนต์ 7 วัด
ผู้ถาม : การปฏิบัติตามคำคนโบราณที่พูดว่า ถ้าจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จสมหวังนั้น เขาบอกว่าเบื้องบนจะช่วย ถ้าเบื้องบนไม่ช่วยแล้วไม่สำเร็จ หนูทำทุกสิ่งทุกอย่างตามคำแนะนำ แต่เบื้องบนเบื้องล่างไม่มีทางช่วยลูกได้เลย
ลูกตั้งใจว่าจะไปอาบน้ำมนต์สัก 7 วัด เพื่อที่จะได้ช่วยกำจัดสิ่งเลวร้ายของลูก อันนี้จะมีทางเป็นไปได้ไหม และควรจะไปวัดไหนดีเจ้าคะ
หลวงพ่อ : แต่ความจริงน้ำมนต์ 7 วัดไม่ต้องเดินไปหรอกนะ รดวัดเดียวได้ทั้ง 7 วัด
ที่เขาสวดคาถาว่า "อายุวัฒฑโก ธนวัฒฑโก สิริวัฒฑโก ยศวัฒฑโก พลวัฒฑโก วรรณวัฒฑโก สุขวัฒฑโก"
บทนี้สะเดาะห์เคราะห์ใหญ่ใน มงคลจักรวาลน้อย
ในสมัยโบราณท่านพูดแบบมีปัญหา ถ้าเคราะห์ร้ายให้รดน้ำมนต์ 7 วัฒฑ์
คนที่ไม่เข้าใจก็เดินจนครบ 7 วัด แต่ความจริงเขาเสกน้ำมนต์ด้วยบทนี้ รดขันเดียวก็ครบ 7 วัฒฑ์ ใช่ไหม
(จากธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 176 เดือนพฤศจิกายน 2538 หน้า 84) -
จิตนอก-จิตใน / ดีนอก-ดีใน ( หลวงปู่สรวง ปริสุทโธ)
จิตนอก-จิตใน / ดีนอก-ดีใน ( หลวงปู่สรวง ปริสุทโธ)
---------------
ที่มา https://www.youtube.com/@koythanyarat1279 -
อานิสงส์ถือกรรมบท 10 แข็งกว่าการถือศีล 8
อานิสงส์ถือกรรมบท 10 แข็งกว่าการถือศีล 8
ผู้ถาม : หลวงพ่อเจ้าขา ลูกตั้งสัจจะไว้กับพระที่ฝั่งธนบุรีว่าจะรักษาศีล 8 ชั่วชีวิต ลูกก็ทำมาโดยตลอด บัดนี้ลูกอายุมากแล้วเพราะทางกระเพาะลำไส้ไม่ดี หมอบอกว่าถ้าขาดอาหารตอนเย็นแล้วจะไปไม่รอด
จะขอเรียนถามหลวงพ่อว่าจะคืนสัจจะที่ซอยสายลมกับหลวงพ่อ แล้วให้หลวงพ่อบอกพระพุทธเจ้าอโหสิกรรมได้หรือเปล่าเจ้าคะ ?
หลวงพ่อ : เออ....เอาหนักแฮะ เอาอย่างนี้ซิ ย้ายไปถือกรรมบท 10 กินข้าวเย็นได้ ดีกว่าเยอะ เป็นทั้งศีลทั้งธรรม ได้ 2 อย่าง
ผู้ถาม : แล้วอานิสงส์คงไม่ต่างกัน ใช่ไหมครับ ?
หลวงพ่อ : อานิสงส์แข็งกว่าศีล 8 อ้าวจริงๆนะ ศีล 8 เราไม่ค่อยจริงกันนัก แต่ถ้าปรกติทุกวันก็ดี นี่มันปรกติไม่ได้นี่ ต้องเป็นบางเวลา ใช่ไหม
กรรมบท 10 เขามีทั้งศีลทั้งธรรม มโนกรรมนี่เป็นธรรม แล้วสังเกตุดูเป็นการตัดกิเลสได้ง่าย ฝึกตัดกิเลสไปในตัวเสร็จ
ผู้ถาม : เกี่ยวกับข้อไม่กินข้าวนี่ เวลาไปกินเลี้ยงมันเผลอไผลไปตักเข้า กว่าจะรู้ตัวก็เข้าไปครึ่งท้องแล้วแต่ไม่เจตนานะครับ
หลวงพ่อ : ความจริงถ้าเรารักษาศีล 8 ไม่ขาดนะ ที่เราสมาทานมัน 9 ข้อ "นัจจะคี" กับ "มาลาคันธะ"... -
"ใจที่สงบเย็น ทำให้ร้ายกลายเป็นดี" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ)
.
"ใจที่สงบเย็น ทำให้ร้ายกลายเป็นดี"
" .. ที่ท่านสอนให้ท่อง "พุทโธ" ก็ตาม
ให้ดู "ลมหายใจเข้าออก" ก็ตาม
นั่นคือการสอนเพื่อให้ใจ ไม่วุ่นวาย ซัดส่าย
เป็นวิธีที่จะให้ผลแท้จริงอย่างแน่นอน
ไม่ว่าจะเผชิญกับความยากลำบากอย่างใด
ให้มั่นใจว่า "การทำให้ความยากลำบากนั่นคลี่คลาย
จะต้องกระทำเมื่อจิตใจสงบเยือกเย็นเท่านั้น"
ใจที่เร่าร้อน ไม่อาจนึกคิดให้ปลอดโปร่งได้
"ใจที่เร่าร้อน ไม่อาจช่วยให้ร้ายกลายเป็นดีได้" .. "
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวขิรญาณสังวร -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๗ -
"ประโยชน์ของสมาธิ" (ท่านพ่อลี ธัมมธโร)
.
"ประโยชน์ของสมาธิ"
" .. การที่เราทำสมาธิก็ "เหมือนการสะสมเมล็ดพันธุผักไว้" เมื่อมันแก่จัดพอถูกน้ำเข้ามันก็จะแตกกิ่งก้านสาขาเป็นต้นเป็นดอก เป็นใบ
เรามีสมาธิเป็นพื้นฐานสั่งสมไว้ "พิจารณาก็เกิดปัญญา รอบรู้" ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งด้านโลกด้านธรรมได้ง่าย "สอนจิตฝึกใจให้รู้ว่า อะไรเป็นธาตุ ขันธ์ อายตนะ" ฯลฯ ทุก ๆ ส่วนของร่างกาย "จนเราไม่ต้องกลัวแก่กลัวเจ็บกลัวตาย อีกต่อไป" .. "
ท่านพ่อลี ธัมมธโร -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๗ -
"เครื่องวัดความดี" (หลวงป่เทสก์ เทสรังสี)
.
"เครื่องวัดความดี"
" .. "อันความดีที่ว่านี้ถ้าทำอะไรลงไปแล้วคนชั่วสรรเสริญ อย่าไปเข้าใจว่าเป็นของดี" คนดีสรรเสิญเราจึงค่อยเข้าใจว่าเป็นของดี
"คนดี เป็นคนชนิดใด คนดี ก็คือคนมีเหตุมีผล ที่เรียกว่าความดี ดีอย่างไร ความดีที่เราทำนั่นไม่เปียดเปียนตน ไม่ทำไห้เสียผลประโยชน์ทั้งของตนและคนอื่น" คือไม่เป็นเครื่องกระทบกระเทือนทั้งตนและคนอื่น จึงจะเรียกว่าดี
ทำอะไรแม้จะดีแสนดี ก็ตามแต่มันเป็นเครื่องกระทบกระเทือนคนอี่นแล้ว ความดีอันนั้นใช้ไม่ได้ ไม่ใช่ของดี นี่เป็นเครื่องวัด ของดีของชั่ว
"เมื่อเข้าใจแล้วรู้แล้วก็มาวัดตัวของเราใจของเราดู แล้วมาวัดผลที่ทำนั่นอีก คือว่าไม่กระทบกระเทือนตนเอง ไม่ทำให้ตนและคนอื่นเดือดร้อนด้วย" จึงจะเรียกว่าตี .. "
"คุณค่าและประโยชน์ของพระพุทธศาสนา"
หลวงป่เทสก์ เทสรังสี -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๗ -
บันทึกการเดินทาง "สวรรค์บนดิน..ถิ่นกำเนิดเผ่าไต" ณ ประเทศจีน
บันทึกการเดินทาง "สวรรค์บนดิน..ถิ่นกำเนิดเผ่าไต"
ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
วันเสาร์ที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๗
เวลา ๐๖.๓๔ น. มาถึงสนามบินสุวรรณภูมิ
จอดรถแล้วเดินไปครับ
กราบพระเอาฤกษ์เอาชัยก่อน
ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
น้องการ์ตูน หัวหน้าทัวร์ครั้งนี้
มาถึงก็แจกเอกสาร ตรวจสอบจำนวนคน
ซองเอกสาร
ขาด "หม่าม้า" ที่ตรงเวลาอยู่คนเดียว..!
เริ่ม Check In
เวลา ๑๐.๒๐ น. เรียกให้ไปยืนรอ..!
ทำไมตัวเล็กแท้วะ ? หรือมีคนตัวใหญ่กว่า ?
ก่อนเหินฟ้า..! -
"ผู้มีทานประดับตน" (หลวงปู่มั่น ภูริท้ตโต)
.
"ผู้มีทานประดับตน"
" .. "ความดีที่ได้จากทานนั้นเป็นสิ่งตอบแทนที่เจ้าของทานได้รับอยู่โดยดีเท่านั้น อภัยทานควรให้แก่กัน" เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งผิดพลาดหรือล่วงเกิน "คนมีทาน .. ย่อมเป็นผู้สง่าผ่าเผยและเด่นในปวงชน" เป็นที่เคารพรักในหมู่ชน "จะตกอยู่ทิศใด ย่อมไม่อดอยากขาดแคลน จะมีสิ่งหรือผู้อุปถัมภ์จนได้" ไม่อับจนทนทุกข์
"ผู้มีทานประดับตน" ย่อมไม่เป็นคนล้าสมัย "บุคคลทุกชั้นไม่รังเกียจ ผู้มีทานย่อมเป็นผู้อบอุ่น หนุนโลกให้ชุ่มเย็น" การเสียสละจึงเป็นเครื่องคํ้าจุนหนุนโลก "การสงเคราะห์กันทำให้โลกมีความหมายตลอดไป" ไม่เป็นโลกที่ไร้ชาติขาดกระเจิงเหลือแต่ซากแผ่นดินไม่แห้งแล้ง แข่งกับทุกข์ตลอดไป .. "
"มุตโตทัย"
หลวงปู่มั่น ภูริท้ตโต -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๗ -
"กรรมไม่ดี ผูกพันกับบุคคลอันเป็นที่รัก" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ)
.
"กรรมไม่ดี ผูกพันกับบุคคลอันเป็นที่รัก"
" .. เป็นผู้ใหญ่ก็อย่าทำกรรมไม่ดี เป็นเด็กหรือเป็นหนุ่มเป็นสาวก็อย่าทำกรรมไม่ดี "แม้รักตัวเองก็อย่าทำกรรมไม่ดี จงทำแต่กรรมดี" หรือแม้รักแม่พ่อพี่น้องลูกหลานก็อย่าทำกรรมไม่ดี"ผลไม่ดีที่ผู้ทำได้รับนั้นจะทำให้บรรดาผู้ที่รักตน พลอยกระทบกระเทือนไปด้วย"
ลองนึกถึงใจตนเอง "เมื่อเห็นผู้ที่ตนรักทำความไม่ดี แม้ผลไม่ดียังไม่ทันปรากฏชัด ตนก็ไม่สบายใจ" ยิ่งเมื่อได้ผลร้ายเกิดขึ้นสนองผู้ทำกรรม "เราผู้มีความผูกพันกับเขาก็ย่อมต้องเหมือนพลอยได้รับผลร้ายด้วย"
ดังนั้น "แม้ไม่รักตนเอง ก่อนจะทำอะไรก็ควรนึกถึงใครทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง" ซึ่งจะต้องมีผู้เป็นที่รักอยู่ด้วย "ถ้าเราทำกรรมไม่ดี ได้รับผลไม่ดี ผู้ที่รักเราและผู้ที่เรารักก็จะต้องพลอยได้รับความกระทบกระเทือนจิตใจไปด้วยอย่างไม่ยุติธรรม" เพราะมิได้เป็นผู้ทำกรรมไม่ดีด้วย "แต่ต้องพลอยได้รับผลไม่ดีเพราะความผูกพัน"
ดังนั้น "จะทำความไม่ดีใดก็น่าจะนึกถึงบรรดาผู้ที่มีความผูกพันกับเราบ้าง" อาจจะช่วยให้ เข้มแข้งยิ่งขึ้นในการหลีกการทำกรรมไม่ดี .. "
"แสงส่องใจ ๒๕๓๓"
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๗ -
"พุทธคุณ" และบุญกุศลที่เกื้อกูลเรา : หลวงปู่สรวง ปริสุทฺโธ
"พุทธคุณ" และบุญกุศลที่เกื้อกูลเรา : หลวงปู่สรวง ปริสุทฺโธ
****************
ที่มา https://www.youtube.com/@LokuttaraDhamma -
"การภาวนาเป็นน้ำดับไฟ" (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
"การภาวนาเป็นน้ำดับไฟ"
" .. เวลามันยุ่งมาก เราจดจ่อทางคำภาวนาของเราให้มาก "เช่นพุทโธ" ใครชอบคำไหนก็ตาม ตามแต่จริตนิสัยชอบ "พุทโธ หรือธัมโม หรือสังโฆ" หรือธรรมบทอื่นใดก็ตาม ขอให้ถูกกับจริต ให้นำมาบริกรรม ให้จิตเกาะอยู่กับคำบริกรรมนั้น
ให้รู้อยู่กับนั้น เช่น "พุทโธ ๆ ก็ให้รู้อยู่กับพุทโธ" สติควบคุมอยู่นี้ มันอยากคิดไปไหน บังคับไว้ไม่ให้คิด คำว่าอยากคิดคือกิเลสละมันลากออกไป ให้อยาก ๆ นี่ละกำลังของกิเลส มันอยากให้คิดนั้นคิดนี้
มันอยากเราก็ไม่ออกไป "เราบังคับไว้ไม่ยอมให้มันออก นี่เรียกว่าบังคับกัน" ในเบื้องต้นเป็นอย่างนั้น บังคับไม่หยุด เอ้าทางนั้นอยากมาก ทางนี้ตั้งใจบังคับมากเข้า "สักเดี๋ยวสู้ทางธรรมไม่ได้ แล้วค่อยสงบเข้ามา" สงบเข้ามาแล้วแน่วนิ่งนะ สงบแน่ว "ความคิดความปรุงที่เป็นเรื่องของกิเลสสงบตัวไปด้วยอำนาจของการภาวนา"
"นี้แหละที่เรียกว่าน้ำดับไฟ" คือจิตฟุ้งซ่านรำคาญ ผสมกับกองทุกข์ไปในขณะเดียวกัน "เราภาวนาบีบบังคับ พอจิตสงบมันก็เป็นน้ำดับไฟ ใจสบาย โล่ง" พากันจำทุกคน .. "
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๗ -
"สมาธิ งามท่ามกลาง" (หลวงปู่ฝั้น อาจาโร)
.
"สมาธิ งามท่ามกลาง"
" .. "สมาธิ งามท่ามกลาง เราก็ตั้งจิตมั่น ลองดูซิว่าจิตเราตั้งหรือไม่ตั้ง" มันเอนเอียงไปทางไหน มันข้องตรงไหน มันคาตรงไหน "เราได้แต่ว่าสมาธิ คือจิตตั้งมั่น" เราตั้งดูซิมันตั้งหรือไม่ตั้ง
ถ้ามันตั้งมันเป็นอย่างไรเล่า "มันก็ไม่เอนเอียงไปหาความรักความชัง ไม่หลงในรูปเสียงกลิ่นรสสัมผัสอารมณ์ทั้งหลายต่าง ๆ สิ่งใดเกิดขึ้นเราก็ดับ" นี่มันจึงเข้าถึงสมาธิ "จิตตั้งมั่นเมื่อจิตสงบตั้งมั่นแล้วมันก็ใส นี่แหละสมถกรรมฐาน" ให้รู้จักสมถคือทำจิตให้สงบภายใน .. "
"จิตตภาวนา พุทโธ" (หลวงปู่ฝั้น อาจาโร)
วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ๗ ธันวาคม ๒๕๑๘ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗
หน้า 16 ของ 412