โดนขังวิญญาณ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ainteerati, 14 สิงหาคม 2010.

  1. Assarin

    Assarin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    119
    ค่าพลัง:
    +104
    ในอารมณ์ตอนเช้าที่ไม่รู้จักเวทนาอะไรเลยไม่รู้สึกเจ็บปวดเบาสบายไปเรื่อยๆ

    กึ่งติดกึ่งดับไม่รู้สภาวะให้ไหลไปเรื่อยๆ ทิพย์จะติดอารมณ์นี้ค่ะ แต่พอช่วงบ่าย

    ของทุกวัน คือที่วัดจะแบ่งเวลา เดิน ชั่วโมงครึ่งและนั่งชั่วโมงครึ่งโดยที่จะไม่

    ขยับตัวเวลานั่งเลยเราจับเวทนาตลอดใจเราก็ได้แต่เวทนาติดดับติดดับของความเจ็บปวด

    จนหมดเวลา แต่อารมณ์ช่วงเช้าเราหลุดออกจากเวทนาโดยสิ้นเชิง ทิพย์เลยสงสัยว่า

    อารมณ์ไหนที่เราควรจะยึดติดมากกว่ากันคะ ในทางปฏิบัติตามแนวนี้ และพี่จิโปว่า

    อย่างทิพย์ควรจะฝึกอะไรดี มีช่วงนึงจิตทิพย์อยากถูกรางวัลที่ 1 แบบพี่สาวบ้าง

    ทิพย์ก็ได้รางวัลที่ 1 มาหลายงวดค่ะ แต่ในเลข 6 ตัวที่ได้มาจะสลับที่กันหมด

    ฮ่าๆ ไม่ได้โลภนะคะแต่เดี๋ยวนี้ไม่คิดแล้วคิดแต่ว่ามีมากก็มีแต่คนเบียดเบียนมีน้อย

    เรากลับมีความสุขมากกว่า(หรือเปล่า)
     
  2. i3lack

    i3lack เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    288
    ค่าพลัง:
    +102
    อ่าเห็นด้วย คงไม่เห็นผมเต้นกับลูกอยู่นะครับ ฮ่า ๆ :cool: พระผมได้มาตอนบวชครับขอหลวงพ่อมาเพราะผมไม่มีพระประธานแต่ไม่ใหญ่ขนาดนั้นครับประมาณเท่าฝ่ามือ
     
  3. ainteerati

    ainteerati เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,233
    ค่าพลัง:
    +2,275
    [​IMG]




    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 02042011.jpg
      02042011.jpg
      ขนาดไฟล์:
      203.5 KB
      เปิดดู:
      160
    • 02042011(001).jpg
      02042011(001).jpg
      ขนาดไฟล์:
      190.5 KB
      เปิดดู:
      165
  4. จิ-โป

    จิ-โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,006
    ค่าพลัง:
    +2,196
    ที่ว่าไม่มีเวทนาตรงนี้ก็มีเวทนาครับเพียงแต่ยังไม่รู้ลงไปในการพิจารณา

    เราจะปฏิบัติสายสติปัฏฐานมันต้องอ่านตำราเยอะๆ จำบทสวดต่างๆแบบท่อง
    ได้ขึ้นใจ ตลอดจนคำสอนจากพระโอษฐ์ทุกๆประโยคครับ ไม่ง่ายนะแค่ยุบหนอ
    พองหนอมันไม่ได้หรอกครับเพราะแค่เวทนาตัวเดียวนี่มันแยกออกไปเยอะ เช่น
    ใจเราสุขโสมนัสก็เรียกสุขเวทนา ไม่สุขไม่ทุกข์ก็เรียก อทุกขมสุขเวทนา ทุกข์ก็
    ทุกเวทนา นี่เบื้องต้น ท่ามกลางก็เช่นในอนัตตลักขณสูตรท่านว่าปัญจขันธ์เป็น
    เป็นเวทนาเพราะไม่ใช่ตนไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ตอนท้ายก็บอกว่าอายตนะภายใน
    เป็นของร้อนเมื่อจิตเศร้าหมองแล้วทุกขติก็เป็นหวังได้ คืออะไรที่ทำให้จิตเศร้า
    หมองล้วนเป็นเวทนาหมด ตอนท้ายก็ว่ารูปเป็นเวทนา แล้วแยกออกไปเป็นขันธ์
    5 แยก ดินน้ำลมไฟบางแห่งก็เป็นธาตุว่างจึงแยกออกไปอีกเป็น 28รูปย่อย

    ถ้ารู้อย่างผมรู้ก็หนาวเลยครับ สติปัฏฐานเหมือนรีดนมโคหยุดไม่ได้พิจารณา
    แยกย่อยลงไปแค่เวทนา28รูปก็ไม่มีเวลาว่างให้เสพอารมณ์ใดๆแล้ว แล้วยังงี้
    คุณทิพย์จะไหวเหรอ เอาแค่ยุบหนอพองหนอ แล้วไปทำกสิณ แล้วสำเร็จกสิณ
    ก็ทำปฏิสัมภิทาญาณตรงปฏิสัมภิทัปปัตโต ตรงนั้นท่านมาสอนเองในฌาณเลย
    ดีกว่ามานั่งอ่านนั่งจำครับ
     
  5. จิ-โป

    จิ-โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,006
    ค่าพลัง:
    +2,196
    เจอแล้วคุณทิพย์อยุ่ตรงนี้เอง ไปค้นมาให้ดูเรื่องปัญจขันธ์
    รูปเป็นขันธ์คือเวทนานั่นเอง การพิจารณาเวทนาเริ่มจากตรงนี้
    ไม่ได้เป็นแค่สุขทุกข์เฉยๆอย่างหยาบเหมือนกสิณนะครับ
    สติปัฏฐานนี่ท่านบอกระเอียดมากเพราะเข้าฌาณไม่ได้ ไม่มีคน
    มาบอกในฌาณเลยต้องเรียนรู้มากหน่อย นี่ตัวอย่างครับ ถ้าสนใจ
    ก็ไปหาในพระไตรปิฏกอีกทีครับ

    ขันธ์ ๕ แยกให้พิสดารออกไป. ว่าถึง
    รูป, รูปที่ท่านแสดงไว้ ถ้าว่าตามพระบาลี
    โดยมากเป็นธาตุ ๔ คือ ปฐวีธาตุ ธาตุ
    ดิน, อาโปธาตุ ธาตุน้ำ, เตโชธาตุ ธาตุไฟ,
    วาโยธาตุ ธาตุลม, และบางแห่งมีอากาศ-
    ธาตุ ธาตุว่าง, แต่พระอาจารย์ท่านแสดง
    รูปเป็น ๒๘ คือ :-
    ดิน น้ำ ไฟ ลม ๔ อย่างนี้เรียกว่า
    มหาภูตรูป. มหาภูต เป็นใหญ่, มหาภูต-
    รูป ก็คือ รูปที่เป็นใหญ่ นี่ว่าด้วยหลัก
    เดิม. แต่ว่าส่วนอาโปธาตุ บางทีท่านไม่นับ
    เป็นรูป, เพราะท่านแสดงว่าลำพังแต่อาโป
    ละเอียดเหลือเกิน จนไม่สามารถจะมีอะไร
    ทรง คือรองรับอยู่ได้ แต่อาศัยปฐวีธาตุ
    ธาตุดินเข้าระคนอยู่ จึงปรากฏเห็นเป็นน้ำ
    อยู่ได้ นี่แบบเก่า. แบบใหม่ว่า อาโปธาตุ
    ไม่ใช่ธาตุเดิมเป็นธาตุผสม ก็เห็นจะพอลง
    กันกระมัง.
    รูปที่อาศัยมหาภูตรูปจึงปรากฏ เรียก
    ว่า อุปาทายรูป แปลว่า รูปอาศัย คือ
    อาศัยมหาภูตรูป ได้แก่:
    ปสาทรูป รูปประสาท คือ จักขุ ที่ให้
    สำเร็จความเห็น, โสตะ ที่ให้สำเร็จการได้
    ยิน, ฆานะ ที่ให้สำเร็จการได้กลิ่น, ชิวหา
    ที่ให้สำเร็จการรู้รส, กายะ ที่ให้สำเร็จการ
    การกระทบ, เรียกว่า จักขุประสาท
    โสตประสาท ฆานประสาท ชิวหา-
    ประสาท กายประสาท นี่เป็นปสาทรูป.
    โคจรรูป ท่านว่ามี ๔ อย่าง, อย่าง
    หนึ่งว่า วัณณะ สี ที่เราเรียกกันว่าผิว
    พรรณวรรณะ, สัททะ เสียง, คันธะ
    กลิ่น, รสะ รส, รวมเป็น ๔. วัณณะ
    สัททะ คันธะ รสะ ๔ นี้ เรียกว่า โคจร-
    รูป หมายความว่า รูปที่เคลื่อนไปได้ แต่
    ต้องอาศัยมหาภูตรูป, อีกอย่างหนึ่ง ท่าน
    จัดเอา รูป ที่เห็นด้วยตา เสียง กลิ่น
    รส เป็น ๔ เหมือนกัน. โผฏฐัพพะ
    ท่านไม่จัดไว้ในโคจรรูป เพราะว่า ก็รูป
    เสียง กลิ่น รส นั่นแหละที่มาประสบกาย
    ไม่ใช่อื่นออกไป, ถ้านับโผฏฐัพพะด้วย
    ก็เป็น ๕.
    ภาวรูป รูปคือความเป็น มี ๒ ได้แก่
    อิตถีภาวรูป รูปที่เป็นหญิง, ปุริสภาวรูป
    รูปที่เป็นชาย, รูปที่ปรากฏเป็นหญิง รูปที่
    ปรากฏเป็นชาย ก็ต้องอาศัยมหาภูตรูป,
    ถ้าไม่มีมหาภูตรูป รูปหญิง รูปชาย ก็ไม่
    ปรากฏ นี่อีก ๒.
    หทยรูป รูปคือหทัย, แบบเก่าท่าน
    หมายความว่า หทัย เป็นที่ให้สำเร็จความ
    คิด จึงเรียกว่าหัวใจหรือใจ หมายเอา
    หทยะ, แต่ภายหลังมาเห็นว่า หทัยเป็น
    อวัยวะสำหรับฉีดโลหิตเท่านั้น แต่ตาม
    แบบเก่าท่านเรียกว่า หทยะ นี่อีกอย่าง
    หนึ่ง.
    ชีวิตินทรียรูป รูปที่เป็นใหญ่ในความ
    เป็น เรียกสั้นว่า ชิวิตินทรีย์, รูปที่เป็น
    ใหญ่ในการเป็นอยู่. ชีวิตินทรีย์ หรือ
    ชีวิตที่ปรากฏเป็นอยู่ในบุคคลทุก ๆ คนนี้
    ก็อาศัยมหาภูตรูป ถ้าไม่มีมหาภูตรูป คือ
    ร่างกาย ชีวิตก็ไม่ปรากฏ เหมือนดังไฟที่
    ไม่มีเชื้อก็ไม่ปรากฏ.
    อาหารรูป รูปคืออาหาร ท่านหมายถึง
    โอชะ คือสิ่งที่แทรกอยู่ในของต่าง ๆ อัน
    ปรุงแต่งรูปกายให้เป็นประโยชน์ เหมือน
    ดังเรากินอาหารจะเป็นเนื้อสัตว์ก็ตาม ผัก
    ก็ตาม แป้งก็ตาม ในสิ่งของเหล่านั้นมี
    โอชะอาศัยอยู่. โอชะนั้นแหละเมื่อเข้าไป
    ในร่างกายแล้ว ก็เข้าไปปรับปรุงร่างกาย
    ให้เป็นประโยชน์ สมัยนี้เห็นจะเรียกว่า
    วิตามิน กระมัง, จนถึงอ้างว่า ครั้งเก่า
    ก่อนคนยังเป็นครึ่งมนุษย์ครึ่งเทวดาอยู่ กิน
    ปฐวีโอชะ โอชะของดิน ไม่ได้กินอาหาร
    หยาบ. อาหารรูป รูปคืออาหาร นี่อย่าง
    หนึ่ง.
    ปริเฉทรูป รูปที่กำหนด แปลตาม
    ศัพท์ว่า ตัดรอบ หมายความว่า อากาศ
    ที่อยู่ในช่องอันใดอันหนึ่ง, ช่องเป็นรูป
    อย่างใด อากาศก็เป็นรูปอย่างนั้น หรือ
    ร่างกายเรานี้ มีหัว มีมือ มีตัว มีขา,
    กำหนดของเขตของหัว มือ ตัว ขา เหล่า
    นี้เรียกว่า ปริจเฉทรูป ถ้าจะหมายความ
    ภาษาไทย เห็นจะหมายความว่า ขอบเขต
    จะตรงกับสัณฐานได้หรือไม่ ยังไม่แน่,
    เพราะสัณฐาน แปลกันว่าทรวดทรง ๆ
    จะเป็นอย่างไรก็ต้องอาศัยรูป เหมือน
    อย่างเราจะปั้นสิ่งของให้ยาว ทรวดทรงก็
    ยาว กดให้สั้น ทรวดทรงก็สั้น, นี่อีก
    อย่างหนึ่ง.
    วิญญัติรูป รูปที่ไหวได้ คือ กาย-
    วิญญัติ ไหวกาย เช่นยกแขน ยกมือ
    อ้าปาก เหล่านี้เรียกว่า กายวิญญัติ,
    วจีวิญญัติ ไหววาจา คือพูด รวมเป็น
    วิญญัติรูป ๒.
    วิการรูป รูปที่เป็นไปต่าง ๆ แต่ท่าน
    กำหนดเอาอาการ ๓ อย่าง คือ ลหุตา
    ความเบาของกาย เบาก็ได้ คล่องแคล่ว
    ก็ได้ เช่นกายของคนเป็น ๆ เบา ถ้า
    ร่างกายของคนตายหนัก, ลหุ แปลว่าเบาก็
    ได้ เร็วก็ได้, แต่ในที่นี้ท่านหมายเอาว่าเบา
    ความเบาของรูปหรือของกายอย่างหนึ่ง;
    มุทุตา ความอ่อนของรูป หรือความอ่อน
    ของกาย ได้แก่ จะยกขา ยกแขน ก้ม
    ศีรษะ อะไร ๆ ก็อ่อนไปได้, แต่ถ้าเป็น
    รูปของคนตายก็แข็ง โน้มหรือยกให้อ่อน
    ไม่ได้; กัมมัญญตา ความเป็นของควร
    แก่การงาน, กัมม หมายถึงการงาน คือจะ
    ให้ทำอะไรก็ทำได้; รวมเป็น ๓ คือ ลหุตา
    ความเบาของรูป, มุทุตา ความอ่อนของ
    รูป, กัมมัญญตา ความเป็นของควรที่จะ
    ทำการงานของรูป เรียกว่า วิการรูป.
    ลักขณรูป รูปที่กำหนด ท่านแยก
    เป็น ๔ คือ อุจจยะ ความเจริญเติบโต
    ขึ้นของรูปอย่างหนึ่ง, สันตติรูป รูปที่สืบ
    ต่อกัน คือของเก่าชำรุดไป ของใหม่เกิด
    ขึ้นแทน สืบเนื่องกันไป อย่างหนึ่ง,
    ชรตา ความชำรุดของรูป คือรูปที่เกิด
    ขึ้นแล้ว ทรุดโทรมอยู่เสมอ ไม่คงรูป
    อย่างหนึ่ง, อนิจจตา ความไม่เที่ยงคือ
    ความแปรปรวนของรูปอย่างหนึ่ง, รวม
    เป็นลักขณรูป ๔ คือ อุจจยะ ความเติบ
    โต, สันตติ ความสืบต่อ, ชรตา ความ
    ชำรุด, อนิจจตา ความไม่เที่ยง.
    รวมเป็น อุปาทายรูป รูปที่อาศัย ๒๕
    ( นับโผฏฐัพพะเพิ่มเข้าในโคจรรูป ด้วย,
    ถ้าไม่นับก็รวมเป็น ๒๔ ) มหาภูตรูป
    ดิน น้ำ ไฟ ลม อีก ๔ เป็น ๒๙, แต่
    ท่านยก อาโป คือ ธาตุน้ำออกเสีย นับแต่
    ปฐวี เตโช วาโย ก็รวมเป็น ๒๘. รูป
    เหล่านี้ทั้งหมด เมื่อแยกออก ก็เป็นส่วน
    ใหญ่ส่วนเดิม ซึ่งเรียกว่า มหาภูตรูป
    กับส่วนที่อาศัยมหาภูตรูปปรากฏ เรียกว่า
    อุปาทายรูป รวมเป็น ๒. รูปเหล่านี้เมื่อ
    ยุบเข้าก็คงเป็นธาตุ ๔ คือ มหาภูตรูป
    เท่านั้น นี่เป็นส่วนรูป.
    ทีนี้ว่าถึง เวทนา ตามแบบของท่าน
    แสดงว่า เวทนา ๓ คือ สุขเวทนา
    ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา เวทนา
    ที่ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุข นี่เวทนา ๓.
    เวทนา ๕ คือ สุขเวทนา หมายเอา
    สุขกาย ทุกขเวทนา หมายเอาทุกข์กาย
    โสมนัสสเวทนา หมายเอาสุขใจ โทม-
    นัสสเวทนา หมายเอาทุกข์ใจ ส่วนอทุก-
    ขมสุขเวทนา น่าจะแยกออกเป็น ๒ เหมือน
    กัน คือเวทนาที่ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขทาง
    กายและทางใจ, แต่ท่านไม่แยกเช่นนั้น
    ท่านรวมกันเสีย เรียกว่า อุเปกขาเวทนา
    จึงรวมเป็น ๕ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา
    โสมนัสสเวทนา โทมนัสสเวทนา อุเปกขา-
    เวทนา เป็นเวทนา ๕.
    เวทนา ๖ คือเวทนาที่เกิดจากหรือ
    เพราะสัมผัสทางอายตนะหรือทางทวาร ๖
    คือ จากจักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส
    ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เรียก
    ว่าเวทนา ๖. เวทนา ๖ แยกออกเป็น
    สุข ๖, ทุกข์ ๖, ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ๖,
    จึงเป็นเวทนา ๑๘
    ทีนี้ว่าถึง สัญญา, ถ้าพิจารณาดูแล้ว
    ก็น่าจะเห็นว่าเท่ากับเวทนานั่นเอง เวทนา
    เท่าใด สัญญาก็เท่านั้น เพราะสัญญาก็จำ
    เวทนาและจำทั้งรูป เสียง กลิ่น รส
    โผฏฐัพพะ และธรรม คือเรื่อง, แต่ท่าน
    ไม่นับอย่างนั้น ท่านนับเพียงสัญญา ๖.
    สัญญาที่ว่านี้เป็นสัญญาในขันธ์ ๕. แต่
    สัญญาในบางแห่ง ท่านหมายถึงความ
    สำคัญตั้งใจมุ่งหมายพิจารณา เช่น อนิจจ-
    สัญญา หมายว่าไม่เที่ยง คือมุ่งอยู่ว่า
    ปัญจขันธ์ไม่เที่ยง, ทุกขสัญญา สำคัญ
    มั่นหมายอยู่ว่าปัญจขันธ์เป็นทุกข์, อนัตต-
    สัญญา สำคัญมั่นหมายอยู่ว่าสังขารเป็น
    อนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน, สัญญานี้ไม่
    นับว่าเป็นสัญญาในขันธ์ ๕, ถ้าจะจัดควร
    จะอยู่ในสังขาร เพราะไม่ได้เกิดมาตาม
    ลำดับ.
    ต่อจากนี้ก็ถึงสังขาร, สังขาร ก็ได้แก่
    ความคิดนึกประกอบกับอารมณ์คือเรื่อง
    ผสมกันขึ้น น่าจะนับเข้ากับสัญญา, เพราะ
    เมื่อถึงสัญญาแล้วก็ต่อถึงสังขาร, แต่ว่า
    ท่านไม่นับ ท่านจัดเป็นสังขาร ๓ คือ
    ปุญญาภิสังขาร ปรุงแต่งบุญ, อปุญญา-
    ภิสังขาร ปรุงแต่งไม่ใช่บุญ คือ บาป
    อเนญขาภิสังขาร ปรุงแต่งความไม่หวั่น
    ไหว นี่ว่าถึงส่วนเหตุ. ส่วนผลก็เป็นไป
    ตามเหตุ คือเมื่อปุญญาภิสังขารเกิดขึ้น
    เพราะนึกคิดแต่เรื่องที่ดีที่ชอบ ก็ปรุงแต่ง
    จิตให้ดีผลก็เป็นภพที่ดี, ถ้าอปุญญาภิสังขาร
    เกิดขึ้นเพราะนึกคิดไปในเรื่องที่ชั่ว ก็ปรุง
    แต่งจิตให้เป็นจิตที่ชั่ว ผลก็เป็นภพที่ชั่ว,
    ถ้าอเนญชาภิสังขารเกิดขึ้นเพราะปรุงแต่ง
    จิตให้แน่วแน่ คือนึกมั่นอยู่ในอารมณ์
    เดียวจนจิตแน่วแน่ไม่หวั่นไหว ก็ปรุงแต่ง
    ให้ไม่หวั่นไหว ผลก็เป็นภพที่ไม่หวั่นไหว
    คืออเนญชภพ.
    วิญญาณ ท่านก็จัดเป็นวิญญาณ ๖ คือ
    ความรู้สึกทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย
    มนะ เรียกว่า จักขุวิญญาณ โสตวิญ-
    ญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ
    กายวิญญาณ มโนวิญญาณ; แต่พระ-
    อาจารย์ท่านจัดเอาว่าวิญญาณไปเป็นจิต
    แล้วแยกเป็น ๒ คือ จุติวิญญาณ ได้แก่
    จิตที่เคลื่อนจากภพหนึ่งไป, ปฏิสนธิ-
    วิญญาณ ได้แก่จิตที่ถือเอาปฏิสนธิในภพ
    ใหม่ก็มี; แต่วิญญาณในขันธ์ ๕ ไม่เป็น
    เช่นนั้น เป็นแต่รู้สึกทางอายตนะ ๖ จึง
    เป็นวิญญาณ ๖.
    ถ้าจะจัดตามลำดับก็คือวิญญาณแล้วก็
    เวทนาเป็นลำดับไป, เพราะอายตนะภาย
    ใน ๖ อาศัยรูปขันธ์เกิดขึ้น หรืออาศัยรูป
    เป็นทางเดินจึงเป็นอายตนะ คือ จักขุ โสตะ
    ฆานะ ชิวหา กายะ มนะ, เมื่อความรู
    ้สึกออกไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย มนะ
    ก็เป็นวิญญาณแล้วก็เป็นเวทนา เป็น
    สัญญาเป็นสังขาร แล้วก็เป็นมโนวิญ-
    ญาณขึ้นอีกวนเวียนกันไปเช่นนี้. รูปเก่า
    ก็สลายไปรูปใหม่เกิดขึ้นแทน เรียกว่า
    รูปสันตติ ความสืบต่อของรูป, ส่วน
    วิญญาณ เวทนา สัญญา สังขาร เก่าดับ
    ไปใหม่เกิดขึ้นแทน สืบต่อกันไป ท่าน
    เรียกว่า นามสันตติ ความสืบต่อของ
    นาม, ถ้าไม่มีสันตติ ความ สืบต่อแล้ว
    ร่างกายนี้ก็เป็นร่างกายคนตาย, แต่เพราะ
    มีสันตติ คือ รูปสันตติ นามสันตติ
    ประจำอยู่จึงเป็นอยู่, ท่านสอนให้รู้จัก
    เช่นนี้เพื่อพิจารณาให้เห็นตามเป็นจริง.
    เพราะฉะนั้น ผู้พิจารณาพึงรู้สึกตัวว่า
    เป็นผู้พิจารณา, ส่วนรูปตลอดขันธ์ ๕
    เป็นอารมณ์ เป็นที่ยึดหน่วงของปัญญาที่
    พิจารณา.

    นี่คือการพิจารณารูปคือเวทนาอันแรกจากสี่อย่างครับ
     
  6. i3lack

    i3lack เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    288
    ค่าพลัง:
    +102
    ข้างบนนี้แค่เห็นก็ปวดหัวแล้วครับ เหอะ ๆ
     
  7. จิ-โป

    จิ-โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,006
    ค่าพลัง:
    +2,196
    เห็นยัญของท่าน ainteerati อึ้งเลยครับ ท่านเขียนใว้ดีมาก ศาสตร์แห่งอักขระ
    มีมานานมากก็ได้เปิดหูเปิดตาครับ ผมเองไม่ค่อยรู้เรื่องพวกนี้หรอก
    สมันนั้นเรียนเรื่องสติปัฏฐานไปจนถึงชวนจิตแยกกี่ดวง เลยคิดได้ว่าเราคงไม่มีเวลา
    พออาจจะตายก่อนที่จะละกิเลสได้ ก็เสียเวลาไปมากโขอยู่นี่ถ้าเอาเวลาไปเรียนอักขระ
    คงจะดีไปอีกแบบ
     
  8. Assarin

    Assarin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    119
    ค่าพลัง:
    +104
    แล้วอานิสงค์ของการฝึกละคะแบบไหนจะดีกว่า คือเอากันตามความเป็นจริงนะคะ

    เวลาที่บ้านทำบุญหรือไหว้การจัดของทำบุญหรือไหว้ก็จะต้องมีการสั่งไก่สั่งปลา

    เป็นจำนวนมากทำให้ทิพย์สงสารสัตว์เหล่านั้น นั่นเป็นจุดที่ทำให้ต้องการอุทิศส่วนกุศลให้เค้า

    และคิดว่าการอุทิศแบบนี้จะถึงเค้าเหล่านั้นไหมคะ ทิพย์ไม่ได้เป็นคนจัดของไหว้หรือทำบุญ

    และจะบอกพี่ว่าอย่าเอาสัตว์เป็นมาทำบุญเลย เค้าก็ดูจะหนักเข้าไปอีกบอกว่าสัตว์เป็นๆมันอร่อย

    แนวทางเราเลยสวนกันบ่อยๆ ในการทำบุญแล้วถ้าทิพย์ต้องการปฏิบัติเพื่อให้สัตว์เหล่านั้น

    ทิพย์ควรจะเลือกทำแบบไหนคะพี่จิโป
     
  9. จิ-โป

    จิ-โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,006
    ค่าพลัง:
    +2,196
    แบบสติปัฏฐานเหมาะสำหรับผู้ที่ญาณบารมียังไม่แก่กล้า ไม่เคยนั่งแล้วมี
    นิมิตใดๆหรือเข้าฌาณได้เลยซักครั้งในชีวิต เมื่อปฏิบัติแล้วจิตในก็จะไม่
    เศร้าหมองและคร่ำครวญ มันจะตัดโดยอัติโนมัติเพื่อพยุงจิตเราใว้

    แบบทำอย่างแรงกล้านับจากเตวิชโชขึ้นมาสำหรับคนที่มีสัมผัสพิเศษ นั่ง
    ทีไรเห็นนั่นเห็นนี่ ก็มาทำกสิณอย่างเข้มเพื่อเกิดวสี ใช้งานได้เมื่อต้องการ
    และปิดใช้งานได้ตามใจเราอยากปิดไม่ให้พวกสัมผัสนั้นๆมารบกวนเรา

    ส่วนการอุทิศนั้นยิ่งมีฤทธิ์ทางใจมากเท่าไหร่ยิ่งอุทิศได้มากยิ่งขึ้นเพราะภาพ
    บุญนั้นจะปรากฏชัดเหมือนภาพกสิณที่ฝึกนั่นเอง คล้ายๆกัน พี่สาวจะทำอย่างไร
    ก็ปล่อยเขาไปครับ ส่วนเราก็เตือนเท่าที่จะเตือนได้ก็พอ ผมเองแกล้งปล่อยปลา
    ที่แม่ผมซื้อมาสดๆเป็นๆบ่อยๆ จนตอนหลังท่านรู้แกวก็บอกเขาฆ่ามาจากตลาด
    หิ้วปลาตายมาแทน ก็ดีไปอย่างที่ท่านไม่ได้ฆ่าเอง ทำเท่าที่ทำได้ครับ
     
  10. Assarin

    Assarin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    119
    ค่าพลัง:
    +104
    แค่อ่านทิพย์ก็จะลมจับแล้วค่ะ เข้าใจยากเข้าไปอีก

    ทิพย์เข้าใจว่าหากเราปฏิบัติตามสติปัฏฐาน ๔ แล้วเราจะอุทิศส่วนกุศลให้เค้าได้มากกว่า

    เลยปฏิบัติอย่างเดียว ก็อ่านๆดูอยู่ว่าการฝึกกสิณว่าจะลองไปเริ่มที่วัดยานนาวา ฝึกเองคงไม่เป็น

    หรือว่าจะฝึกมโนมยิทธิดีคะ ทิพย์เคยไปบ้านสายลมครั้งนึงฝึกประมาณ ๒ ชม ทิพย์ไม่ค่อยจะเข้าใจ

    เลยไม่ได้ทดลองอีกให้พี่จิโปเลือกให้หน่อยได้ไหมว่าจะทำแบบไหนดี ที่ทิพย์จะฝึกปฏิบัติได้
     
  11. ainteerati

    ainteerati เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,233
    ค่าพลัง:
    +2,275
    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1432396/[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. จิ-โป

    จิ-โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,006
    ค่าพลัง:
    +2,196

    ผมเลือกให้ไม่ได้หรอกครับ ถามท่านก็ไม่มีใครบอกสงสัยขี้เกียจติดตามสอน
    แต่เห็นมีรูปเทวดาตัวเขียวๆชะโงกหน้าลงมาดูหน่อยนึง มีรัศมีตรงหัวแบบยาวรี
    เหมือนอยู่ในโบสถ์ ฉะนั้นแล้วก็ให้ทำเทวตานุสติก่อนอันดับแรก เผื่อว่าท่านจะ
    ใจดีมาเข้าฝันว่าจะทำยังไงดี อาจมีบุญกรรมผูกพันกันถึงจะบอกได้

    การระลึกเทวดานุสตินี้ทำง่ายมาก แค่นึกถึงความดีที่ทำให้เกิดเป็นเทวดาแล้ว
    ให้เรายินดีในบุญนั้นเช่นเดียวกับเทวดานั้นเหมือนเราเป็นคนทำบุญนั้นด้วย เช่น
    ตอนที่ตัวเปียกๆใส่กางเกงขาสั้นเข้าไปยืนหลบฝนอยู่ใต้ต้นใม้ใหญ่ แล้วมองขึ้น
    ไปรู้สึกว่าต้นใม้นี้มีเทวดา ก็คิดว่าท่านทำบุญมากแบบไหนถึงเป็นเทวดา เทวดา
    ท่านคงไม่เปียกเหมือนเรา คงดีใจที่ฝนตก ก็ให้มีอารมณ์แบบนั้นเอง
    เดินเข้าวัดเห็นรูปเทวดาก็ให้นึกถึงบุญที่ท่านทำ เหตุที่ทำให้ท่านเป็นเทวดา
    เมื่อเราทำบ่อยๆเข้าบุญเราบารมีเรามาพร้อมค่อยมาทำกสิณครับ แต่แบบไหน
    นั้น รอถึงตอนนั้นอาจฝันดีๆก็ได้ครับ
     
  13. i3lack

    i3lack เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    288
    ค่าพลัง:
    +102
    ทำแบบนั้นก็ได้เหรอครับ :cool: ผมอยากรู้จังจะมีใครใจดีสอนผมมั้งไหมนะ
     
  14. จิ-โป

    จิ-โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,006
    ค่าพลัง:
    +2,196
    เทวดาเป็นตัวแทนแห่งบุญครับ เห็นเทวดาแสดงว่าบุญกำลังส่งผล
    การแนะนำให้ทำแบบนี้เป็นการเรียกบุญของเขามาครับ ถ้าจะบอกให้
    ท่อง สัมปะติจฉามิ ก็กลัวไม่มาเพราะท่องแบบนกแก้วนกขุนทองก็ไม่มีผล
    เลยบอกให้เรียกกำลังบุญเขามาโดยใช้เทวดานุสติกรรมฐานแทน
    เข้าบ่อนต้องมีเงินเดิมพันครับ ไม่มีเงินซักบาทจะให้เล่นได้ยังไง
    กสิณต้องมีกำลังบุญก่อนถึงทำได้ ไม่มีกำลังก็ทำไม่ได้ เราแค่รู้
    วิธีการตบแต่งจิตสร้างวิถีจิต พอมาเข้าทางแล้วก็จะรู้เองว่ามีวิถีจิต
    แบบไหนจะต้องทำยังไง ตอนนี้หาทุนรอนก่อนครับ
    ส่วนใครจะใจดีนั้นมองหาตามห้างครับ แบบยืนยิ้มตัวอ้วนๆถือไม้เท้า
    อยู่หน้าร้าน นั่นล่ะใจดีแน่ๆ เข้าไปเลยอิ่มแน่นอน
     
  15. Assarin

    Assarin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    119
    ค่าพลัง:
    +104
    ขอบคุณมากนะคะพี่จิโป ทิพย์จะนำไปปฏิบัติตาม

    ขอเล่านิดนึงเวลาที่ทิพย์อุทิศส่วนกุศลหลังจากที่นั่งสมาธิแล้วทิพย์จะรู้สึกปิติ

    และขนลุกทุกครั้งที่เวลาได้อุทิศให้เทวดาแต่พอถึงเปรตถึงเจ้ากรรมนายเวร

    หรือสัพพะสัตว์ทั้งหลายจะไม่รู้สึกอะไรเลย

    น่าเศร้าจังไม่มีใครอยากเป็นอาจารย์ให้ทิพย์เลยฮือๆ สงสัยทิพย์จะสอนยากจริงๆ

    อาจารย์คงท้อ ๕๕๕
     
  16. แม่หมูอ้วน

    แม่หมูอ้วน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    530
    ค่าพลัง:
    +6,061
    ตามอ่านเงียบๆมาได้พักใหญ่แล้ว เห็นคนที่เขามีของเก่าคุยกันแล้วก็นึกโมทนาในใจ แล้วก็เวทนาตัวเองที่ไม่มีบุญทางด้านนี้เอาซะเลย แต่ก็ดีใจที่อย่างน้อยได้เข้ามาอ่านหาความรู้จากกระทู้นี้ อ่านเข้าใจง่ายดีค่ะ แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไงดี ฝึกนั่งสมาธิมาก็หลายปีอยู่ไม่มีอะไรใ้ห้ตี่นเต้นหวือหวาอะไร ไม่ฟุ้งคิดมากก็หลับไปเลย เฮ้อ ขอบคุณ คุณจิโปและคุณ แอ๊นค่ะ
     
  17. sleepyman

    sleepyman สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +1
    อรุณสวัสดิ์ครับทุกคน...แวะเข้ามาอ่านทุกวัน..ถือว่าตามติดเลยก็ได้
    หรือว่าจะโดนขังวิญญาณไปอีกคนแล้วเนี่ย..อิอิ
     
  18. ainteerati

    ainteerati เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,233
    ค่าพลัง:
    +2,275
    [​IMG]










    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 03042011.jpg
      03042011.jpg
      ขนาดไฟล์:
      76.4 KB
      เปิดดู:
      235
    • 03042011(001).jpg
      03042011(001).jpg
      ขนาดไฟล์:
      69.7 KB
      เปิดดู:
      229
  19. ainteerati

    ainteerati เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,233
    ค่าพลัง:
    +2,275
    ยินดีต้อนรับนะครับประสบการณ์แต่ละคนอาจแตกต่างกันบ้างเหมือนสถานที่บางที่อาจจะร้อนแต่อีกที่กลับเหน็บหนาวในขณะอีกที่หนึ่งกำลังสว่างไสวด้านตรงข้ามกลับกลับเต็มไปด้วยเงามืดหากเวลาทุกข์เราสามารถนึกถึงยามเราสุขได้ความทุกข์นั้นก็ยังคลายลงได้ยามสุขก็ไม่ต่างกันเวลาเราสุขนั้นนึกถึงยามทุกข์ก็ทำให้สติเราไม่เหลิงได้อันที่จริงธรรมชาติล้วนได้สร้างสิ่งต่างๆมาให้สมดุลย์กันและกันแต่ส่วนใหญ่คนมักมองเพียงข้างเดียวเลยทำให้เอียงไปบ้างบางครั้งเอียงไปในทางทุกข์บางครั้งก็เอียงไปในทางสุข แม้แต่ร่างกายเราก็ไม่แตกต่างอะไรไปจากธรรมชาติเมื่อธาตุใดธาตุหนึ่งอ่อนกำลังหรือผิดปกติไปร่างกายเราก็แสดงอาการออกมาให้เห็น จึงทำให้เราต้องค่อยถนุถนอมบำรุงรักษาทั้งให้อาหารทำความสะอาดเพื่อบำรุงและปกป้อง ส่วนถายในจิตใจก็ไม่ต่างอะไรจากร่างกายเราหรอกจิตเป็นธรรมธาตุคือธาตุรู้แต่ที่ถูกรู้นั้นบางอย่างไม่สะอาดบ้างบางอย่างสะอาดบางหากเราไม่เพียรพยามรักษา ในจิตก็จะเต็มไปด้วยกิเลสที่เป็นของไม่สะอาด... ทำงานก่อนครับงานเข้า..

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2011
  20. sleepyman

    sleepyman สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +1
    สวัสดีครับคุณ ainteerati
    รูปเขาของสัตว์อะไรหรอครับเหนมีลงยันต์ลางๆด้วย
     

แชร์หน้านี้

Loading...