เสียงเตือน

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สิกขิม, 16 มิถุนายน 2008.

  1. สิกขิม

    สิกขิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,310
    ค่าพลัง:
    +6,034
    [​IMG]


    หยุดโลกร้อน


    http://www.greenpeace.org/seasia/th/campaigns/climate-and-energy


    ภาวะโลกร้อนเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นแล้ว โดยที่เราทุกคนต่างทราบถึงสาเหตุของการเกิดเป็นอย่างดี นั่นคือ การที่มนุษย์เผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และ ก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตพลังงาน เราต่างทราบดีถึงผลกระทบบางอย่างของภาวะโลกร้อน

    เช่น การละลายของน้ำแข็งขั้วโลก ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ความแห้งแล้งอย่างรุนแรง การแพร่ระบาดของโรคร้ายต่างๆ อุทกภัย ปะการังเปลี่ยนสี และ การเกิดพายุรุนแรงฉับพลัน

    โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ ประเทศตามแนวชายฝั่ง ประเทศที่เป็นเกาะ และภูมิภาคที่กำลังพัฒนาอย่างเอเชียอาคเนย์

    เป็นเวลาหลายล้านปีมาแล้ว ที่โลกถูกปกคลุมด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ซึ่งป้องกันไม่ให้รังสีความร้อนสะท้อนกลับออกไปได้หมด ถือเป็นระบบการทำความร้อนตามธรรมชาติ ที่ทำให้โลกมีอุณหภูมิที่เหมาะสมและอุ่น พอที่สิ่งมีชีวิตจะเจริญเติบโตได้

    แต่ทุกวันนี้การขยายตัวอย่างมากของภาคอุตสาหกรรมก่อให้เกิดการทำลายสมดุลทาง ธรรมชาติของโลกอย่างรุนแรง

    มนุษย์ ก่อให้เกิดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้นมาเป็นเวลานาน แล้ว จากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และ น้ำมัน ปรากฏการณ์นี้เองที่ได้เพิ่มปริมาณก๊าซที่ปกคลุมโลก จนนำไปอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น

    เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงและคาดการณ์ไม่ได้ กรีนพีซเชื่อว่า การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นระบบ และเอาจริงเอาจังจะสามารถป้องกัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เกิดจากทำลายระบบนิเวศของโลก ที่ส่งผลโดยตรงต่อมนุษย์

    คณะกรรมการของรัฐบาลนานาชาติว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ที่มีองค์การด้านวิทยาศาสตร์ ได้ร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ เฝ้าสังเกตผลกระทบต่างๆ และได้พบหลักฐานใหม่ที่แจ่มชัดว่า

    ภาวะโลกร้อนขึ้นในช่วง 50 กว่าปีมานี้ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นในทุกหนทุกแห่ง ประมาณ 1.4-5.8 องศาเซลเซียส

    ภาวะ โลกร้อนภายในช่วง 10 ปีนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 จนถึงปัจจุบัน ได้มีการบันทึกปีที่มีอากาศร้อนที่สุดถึง 3 ปีคือ ปี พ.ศ. 2533 พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2540 แม้ว่าพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังมีความไม่แน่นอนหลายประการ

    แต่การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ได้เปลี่ยนหัวข้อจากคำถามที่ว่า "โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ" เป็น "ผลกระทบจากการที่โลกร้อนขึ้นจะส่งผลร้ายแรงและต่อเนื่องต่อสิ่งที่มีชีวิต ในโลกอย่างไร"

    ดังนั้น ยิ่งเราประวิงเวลาลงมือกระทำการแก้ไขออกไปเพียงใด ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งร้ายแรงมากขึ้นเท่านั้น และผู้ที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ ลูกหลานของพวกเราเอง

    สภาพ ภูมิอากาศไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กทีละน้อย แต่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและบ่อยครั้ง และรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

    ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ได้แก่ ความแห้งแล้งอย่างรุนแรง วาตภัย อุทกภัย พายุฝนฟ้าคะนอง พายุทอร์นาโด แผ่นดินถล่ม และ การเกิดพายุรุนแรงฉับพลัน

    จากภาวะอันตรายเหล่านี้พบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ที่เสี่ยงกับการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งได้รับผลกระทบมากกว่าพื้นที่ส่วนอื่นๆ ยังไม่ได้รับการเอาใจใส่และช่วยเหลือเท่าที่ควร

    นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นเป็นเหตุให้ปริมาณผลผลิตเพื่อ การบริโภคโดยรวมลดลง ซึ่งทำให้จำนวนผู้อดอยากหิวโหยเพิ่มขึ้นอีก 60-350 ล้านคน

    ในประเทศไทยและฟิลิปปินส์ มีการจัดตั้งโครงการพลังงานต่างๆ และการดำเนินงานของโครงการเหล่านี้ ได้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงของฝนที่ไม่ตกตามฤดูกาล

    และปริมาณน้ำฝนที่ตกในแต่ละช่วงได้เปลี่ยนแปลงไป การบุกรุกและทำลายป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ระดับน้ำทะเลและอุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้น

    ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบนิเวศตามแนวชายฝั่ง และการที่อุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้น ได้ทำให้น้ำทะเลเปลี่ยนสี ดังนั้น แนวปะการังต่างๆ จึงได้รับผลกระทบและถูกทำลายเช่นกัน

    ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 2,490 กิโลเมตร และเป็นแหล่งที่สำคัญมากต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และมีฤดูกาลที่ไม่แน่นอนที่ส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรม

    มีผู้คาดการณ์ว่า หากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอีกอย่างน้อย 1 เมตรภายในทศวรรษหน้า หาดทรายและพื้นที่ชายฝั่งในประเทศไทยจะลดน้อยลง

    สถานที่ตากอากาศชายทะเล รวมถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เช่น พัทยาและระยอง จะได้รับผลกระทบโดยตรง แม้แต่กรุงเทพมหานครก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากผลกระทบของระดับน้ำทะเลที่สูง ขึ้นนี้เช่นกัน

    ปัญหาด้านสุขภาพก็เป็นปัญหาร้ายแรงเรื่องหนึ่งที่ เกิดจากจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงนี้ด้วย เนื่องจากอุณหภูมิและความชื้นที่สูงขึ้นส่งผลให้จำนวนยุงเพิ่มขึ้น นำไปสู่การแพร่ระบาดของไข้มาเลเรียและไข้ส่า

    นอกจากนี้โรคที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น อหิวาห์ตกโรค ซึ่งจัดว่าเป็นโรคที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วโรคหนึ่งในภูมิภาคนี้ คาดว่าจะแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง

    เพราะอุณหภูมิและความชื้นที่สูง ขึ้น คนยากจนเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบของโรค แต่การให้ความรู้ในด้านการดูแลรักษาสุขภาพที่ดียังมีไม่เพียงพอ
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  2. สิกขิม

    สิกขิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,310
    ค่าพลัง:
    +6,034
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>"แมงกะพรุน" ทั่วโลกเพิ่มไม่หยุดหวั่นทะเลเสียสมดุล</TD><TD vAlign=baseline align=right width=85></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>25 มิถุนายน 2551 </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle>



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=600>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>แมงกระพรุนแหวกว่ายอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ใกล้กับชายฝั่งเมืองเคแมร์ ประเทศตุรกี ซึ่งถูกบันทึกภาพไว้ได้เมื่อเดือน มิ.ย. 2547 (ภาพจาก AFP PHOTO / TARIK TINAZAY)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>นักสมุทรศาสตร์เผยสถิติแมงกะพรุนทั่วโลกกำลังแพร่พันธุ์เต็มมหาสมุทรอย่างไม่มีทีท่าว่าจะลดจำนวนลงได้ง่ายๆ เหมือนอย่างที่ผ่านมา ขณะที่ปลาทะเลและสัตว์ทะเลชนิดต่างๆ กลับลดลงอย่างน่าใจหายเพราะน้ำมือของมนุษย์

    "เมื่อสัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่น ปลา ลดจำนวนลง สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นมาแทนที โดยเฉพาะแมงกะพรุน"

    คำพูดของริคาร์โด อากิลาร์ (Ricardo Aguilar) ผู้อำนวยการของโอเชียนา (Oceana) องค์กรสากลด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติแห่งท้องทะเล ซึ่งรายงานจากสำนักข่าวเอเอฟพีระบุอีกว่าในขณะนี้ท้องทะเลทั่วโลกกำลังประสบกับปัญหาแมงกะพรุนแพร่กระจายเป็นจำนวนมาก และในบางท้องที่ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายกับนักท่องเที่ยวได้


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=600>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>เจ้าหน้าที่นักดำน้ำกำลังติดเซนเซอร์ไว้กับแมงกะพรุนตัวเขื่องที่อยู่บริเวณใกล้กับชายฝั่งเมืองโคมะทสึ (Komatsu) ทางตอนเหนือของญี่ปุ่นเมื่อเดือน ต.ค. 2549 (ภาพจาก AFP PHOTO/YOMIURI SHIMBUN)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>ข้อมูลจากนักสมุทรศาสตร์ระบุว่าโดยปกติแมงกะพรุนจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นในทุกๆ 12 ปี และจะมีปริมาณมากคงที่อย่างนั้นต่อไปราว 4-6 ปี ก่อนจะค่อยลดลงอีกครั้ง เป็นวัฏจักรเช่นนี้มานานร่วม 2 ศตวรรษ

    ทว่าในปี 2551 นี้ นับเป็นปีที่ 8 แล้วที่ฝูงแมงกะพรุนในทะเลต่างพากันเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างขาดการควบคุม จนมีปริมาณมากและกลายเป็นปัญหาในหลายๆ ท้องที่ เช่น ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน


    ที่มากกว่าปัญหาคือมันกลับกลายเป็นสัญญาณเตือนว่าสิ่งแวดล้อมในทะเลกำลังย่ำแย่ลงทุกขณะ ระบบนิเวศน์กำลังเข้าสู่ภาวะเสียสมดุล


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=600>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>แมงกะพรุนตัวอ้วนที่อยู่ใกล้กับชายฝั่งทะเลประเทศอิสราเอลถูกบันทึกภาพไว้ได้เมื่อเดือน เม.ย. 2550 (ภาพจาก AFP PHOTO/HO/B. GALIL)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>สาเหตุที่ทำให้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอย่างแมงกระพรุนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นเอเอฟพีรายงานว่าเป็นเพราะการลดจำนวนลงของปลาและสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นๆ จากการถูกล่าและการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลโดยมนุษย์เรานั่นเอง

    โดยเฉพาะพวกทูนา, ฉลาม และ เต่าอีกหลายชนิด ซึ่งหากสัตว์เหล่านี้ลดน้อยลง นั่นหมายถึงศัตรูที่จะมาคอยแย่งอาหารกับแมงกะพรุนก็ลดลงด้วย ทำให้แมงกะพรุนมีแหล่งอาหารอันโอชะมากมาย ทั้งแพลงก์ตอนและปลาขนาดเล็ก


    แอนดรูว์ ไบรเออร์เลย์ (Andrew Brierley) นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูว์ส (University of St Andrews) ในสกอตแลนด์ อธิบายว่า เมื่อแมงกะพรุนเพิ่มมากขึ้นก็จะไปแย่งอาหารกับปลาอื่นๆ อีก และมันก็เป็นยังเป็นศัตรูผู้ล่าปลาเหล่านั้นไปด้วย ขณะเดียวกันสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำทะเลสูงขึ้น ก็ปัจจัยส่งเสริมให้แมงกะพรุนขยายพันธุ์ได้ดียิ่งขึ้นด้วย ก็ยิ่งทำให้แมงกะพรุนครองอาณาเขตในมหาสมุทรได้ไม่ยาก


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=600>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ภาพเมื่อเดือน ก.พ. 2550 ขณะที่นักท่องเที่ยวกำลังชมแมงกะพรุนแหวกว่ายไปมาอยู่ในอควาเรียมแห่งหนึ่งของฮ่องกง แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าญาติของเจ้าแมงกะพรุนเหล่านี้กำลังขยายอาณาเขตครอบครองน่านน้ำในมหาสมุทรทั่วโลก (ภาพจาก AFP PHOTO/Antony DICKSON)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. สิกขิม

    สิกขิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,310
    ค่าพลัง:
    +6,034

    http://lightning.prohosting.com/~majew/4th/animal.htm

    การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ และ ปรากฏการณ์เรือนกระจก
    เรามักจะตั้งคำถามในเรื่องเกี่ยวกับอุณหภูมิ พรุ่งนี้หิมะจะตกหรือเปล่า?? อาทิตย์หน้าแดดจะร้อนมากไหม?? เมื่อใหร่จะถึงฤดูฝน.....ฤดูหนาว?? เราสงสัยเกี่ยวกับเรื่องอุณหภูมิ เพราะดูเหมือนว่าเราไม่สามารถไปควบคุมหรือกำหนดได้ เราทำได้เพียงแต่คาดคะเน และปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปเท่านั้น แต่อันที่จริงมนุษย์สามารถกำหนดและเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้
    กิจกรรมทุกอย่างที่มนุษย์กระทำส่งผลต่ออุณหภูมิของโลก อุณหภูมิโลกเริ่มเปลี่ยนแปลง เพิ่มขึ้น 1 ฟาเรนไฮต์ตั้งแต่ช่วง หลังของศตวรรษที่ 19 และเพียงหนึ่งองศานี้ ก็เพียงพอสำหรับการเปลี่ยนอันมหาศาลแล้ว
    <TABLE height=196 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=256 height=194></TD><TD width=416 height=194>
    การที่โลกมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นสามารถทำให้เชื้อโรคต่างๆ แพร่ขยายพันธ์ได้รวดเร็วกว่าเดิม เช่น มาลาเรีย ไข้ส่า สามารถทำให้บริเวณน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกละลาย ไหลลง สู่ทะเล และทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นจนเกิดนำท่วมใน บริเวณชุมชนใกล้ชายฝั่งซึ่งถ้าหากมีน้ำแข็งละลายเป็น จำนวนมากก็อาจจะก่อให้เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง สร้าง ความเดือดร้อนให้กับผู้คน ก่อความเสียหายกับการ เกษตรกรรม และระบบนิเวศน์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    นักวิทยาศาสตร์ได้เรียนรู้อะไรบ้าง??

    ฌอง ฟูริแอร์ นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ได้กล่าวได้เมื่อ 170 ปีที่แล้วว่า ชั้นบรรยากาศของโลกทำหน้าที่เหมือนกระจกของเรือนเพาะชำต้นไม้ (Greenhouse) นักวิทยาศาสตร์ของกลุ่ม NOAA ได้อธิบายถึงปรากฏการณ์เรือนกระจก ว่าเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หากปราศจากปรากฏการณ์เรือนกระจกนี้โลกจะหนาวเย็นกว่าเดิมถึง 60 องศา นับเป็นโชคดี ีที่ชั้นบรรยากาศของโลกได้ทำหน้าที่เหมือนกระจกแผ่นมหึมา คอยดักจับเอารังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ และปกป้องไม่ให้มันกลับไปสู่อวกาศดังเดิม อธิบายได้ว่าภายในเรือนเพาะชำ แสงอาทิตย์จะส่องผ่านแผ่นแผ่นกระจกและทำให้บริเวณภายในอบอุ่นขึ้น ความร้อนจะเพิ่มขึ้นจากพื้นและแผ่ไปยังอากาศ ดังนั้นการที่เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้นับว่าเป็นเรื่องที่ดี แพราะทำให้ต้นไม้ภายในเรือนเพาะชำเจริญเติบโตขึ้น
    <CENTER><TABLE width="76%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="62%" height=187>สำหรับโลกก็เช่นกัน แสงอาทิตย์ส่องผ่าน
    บรรยากาศและให้ความอบอุ่นกับพื้นผิวโลก
    ความร้อนจะแผ่จากพื้นผิวไปสู่ชั้นบรรยากาศ และดูดซับความร้อน สะท้อนกลับมาสู่โลกอีกครั้ง
    ผลที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดป่าฝนอันอุดมสมบูรณ์
    เป็นวัฏจักรมาแล้วเป็นเวลานับล้านๆปี
    และก็จะยังคงดำเนินต่อไปเช่นนั้น
    </TD><TD width="38%" height=187>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>จากการรวบรวมข้อมูล โดย โอค ริดจ์ (Oak Ridge) แห่งห้องทดลองนานาชาติ (National Laboratory) ซึ่งได้ตีพิมพ์ใน "Trends '93: A Compendium of Data on Global Change" แสดงให้เห็นว่าการที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นเกิดจากการใช้น้ำมันจากซากฟอสซิล สเวนต์ อาร์เฮเนียส (Svante Arrhenius,1896) นักเคมีชาวสวีเดน ได้กล่าวถึงปัญหานี้ว่า เกิดจากการที่เราใช้ยวดยานพาหนะ การเผาผลาญถ่านหินเพื่อให้ความร้อน หรือใช้ในโรงงาน การตัดไม้เพื่อใช้ในการก่อสร้างและผลิตกระดาษ การทำปศุสัตว์เพิ่มมากขึ้นเพื่อนำมาเป็นอาหารให้กับมนุษย์ สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อปรากฏการณ์เรือนกระจก ก่อให้เกิด ก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ มีเธน และ ไนโตรเจน ออกไซด์ ทำให้ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) เพิ่มมากขึ้นจะทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น
    </CENTER><TABLE height=219 width="88%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="48%"></TD><TD width="52%">EPA ได้รายงานไว้ ตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม ภายในชั้นบรรยากาศมี ก๊าซคารบอน ไดออกไซด์เพิ่มมากขึ้นกว่า 30 เปอร์เซนต์ มีเธนเพิ่มมากขึ้นกว่าสองเท่า และ ไนโตรเจน ออกไซด์ เพิ่มขึ้น 15 เปอร์เซนต์ นักวิทยากศาสตร์มีความเห็นพ้องกันว่า ตั้งแต่ช่วงท้ายของศตวรรษที่ 19 มนุษย์นั่นเองที่ทำให้ความร้อนของโลกเพิ่มขึ้น 0.5 -1.0 องศา ฟาเรนไฮท์ ในบริเวณพื้นผิวโลก </TD></TR></TBODY></TABLE>
    นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันอีกว่า หากไม่มีการกระทำใดๆเพื่อยับยั้ง ก๊าซเรือนกระจกนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่ง EPA ได้แสดงแบบจำลองของปริมาณ ก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ ในปี คศ.2100 ว่าจะเพิ่มขึ้นถึงระดับ 30 - 150 เปอร์เซนต์ และจะทำให้อุณหภูมิโลกสูงเพิ่มขึ้นประมาณ 5 องศา (ตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นประมาณ 0.6 -1.2 องศาฟาเรนไฮด์)
    กิจกรรมของมนุษย์ส่งผลให้ชั้นบรรยากาศ เสียสภาพสมดุล ตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมา อุณหภูมิสูงขึ้นในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และจากรายงานขององค์กรอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization) ทำให้ทราบว่าในปี 2541 เป็นปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่มีการบันทึกเอาไว้
    มีหิมะตกเพิ่มมากขึ้นในบางท้องที่ ระดับของน้ำทะเลสูงขึ้น 4-10นิ้ว มีน้ำแข็งลอยให้เห็นในมหาสมุทรอารค์ติก และน้ำเอ่อทั้น สู่พื้นดินเพิ่มขึ้น 0.1 เปอร์เซนต์ มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางถึงเรื่องปรากฏการณ์เรือนกระจก มีการคาดการณ์ว่าน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกจะละลายและทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นอีก 1 ฟุต ก่อให้เกิดน้ำท่วม อาจมีผลทำให้เกิดพายุมากขึ้นกว่าปกติ อาจทำให้ภูมิภาคบางแห่งเกิดความแห้งแล้ง ฝนไม่ตก เกิดความอดอยากขึ้น นำไปสู่ความเสี่ยงต่อสุขภาพ เพราะเชื้อโรคสามารถแพร่กระจายได้รวดเร็วในอุณหภูมิสูง นอกจากนี้อาจทำให้สัตว์หรือพืชบางชนิดต้องสูญพันธ์ และจากรายงานของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ภาคโพ้นทะเล และชั้นบรรยากาศนานาชาติ(National Oceanic and Atmospheric Administration) "พบว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นนี้ทำให้เกิดปรากฎการณ์ เอล นิโน่ (El Ninos) "


    ถึงแม้ในขณะนี้อาจกล่าวได้ว่าเกิดความเปลี่ยนแปลงกับบรรยากาศอย่างมหาศาล แต่ก็ยังไม่สายเกินกว่าที่จะลงมือแก้ไขมีการรณรงค์ให้ใช้พลังงานโซลาร์ (Solar Power) ซึ่งเป็นทางเลือกของพลังงานสะอาด และมีจำนวนมาก องค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติต่างๆ ได้เคลื่อนไหวรณรงค์ให้มีการแหล่งพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เพื่อทดแทนแหล่งพลังงานจาก ฟอซซิลหรือถ่านหิน
    ข้อมูลจาก องค์กรกรีนพีซ (Greenpeace)
    ข้อมูลและรูปภาพปรากฏการณ์ Greenhouse จาก Environmental News
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 มิถุนายน 2008
  4. สิกขิม

    สิกขิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,310
    ค่าพลัง:
    +6,034
    เรื่องภัยธรรมชาตินี้ บางประเทศ เป็นต้นว่า จีน ก็ประสบหนักมาแต่ครั้งอดีต ดังจะขอยกตัวอย่างที่คุณ ท. เลียงพิบูลย์ (ท่านมีชีวิตอยู่ระหว่าง ปีพุทธศักราช 2444 - 2527 )

    ท่านได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่านว่า ชาวจีนผู้หนึ่งซึ่งมีความสนิทสนมกับท่าน ลี้ภัยธรรมชาติออกจากบ้านเกิดเมืองนอน

    โดยทั้งหมู่บ้านได้เกิดมหาวาตภัยและอุทกภัยครั้งใหญ่ ได้คร่าชีวิตทั้งญาติพี่น้องและคนเกือบสิ้นหมู่บ้าน

    จะมีเพียงบางรายที่หนีภัยด้วยการปีนขึ้นไปยังภูเขา แต่เมื่อรออยู่จนเหตุค่อยสงบก็กลับลงมาไม่ได้ ด้วยว่าหมดแรงเนื่องจากอดอาหารอยู่นาน

    ส่วนตัวผู้นั้นเอง รอดมาได้เพราะได้ไปรับจ้างยังตำบลอื่นที่ห่างไกล นอกจากนี้ ไม่เว้นแต่ละปียังเกิดภัยธรรมชาติเช่นนี้มิได้ขาด ผู้คนล้มตาย ประสบทุพภิกขภัย พืชผลเสียหาย
     
  5. สิกขิม

    สิกขิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,310
    ค่าพลัง:
    +6,034
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ฟังเสียงคนชายฝั่งเผชิญมรสุม หน้าด่านรับภัยโลกร้อน</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>30 มิถุนายน 2551


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>ในอนาคตอีก 10 และ 25 ปีข้างหน้า จังหวัดกระบี่มีแนวโน้มว่าฝนจะตกน้อยลง ประกอบกับปัญหาน้ำทะเลรุกล้ำชายฝั่งมากขึ้น อาจทำให้ปัญหาขาดแคลนน้ำจืดสำหรับชุมชนทวีความรุนแรงมากขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left height=12>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=160><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>นักวิชาการและชาวชุมชนกลุ่มต่างๆ ในจังหวัดกระบี่มาร่วมประชุมกันเพื่อหาทางรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในจังหวัดกระบี่ที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ 10 ปีข้างหน้า</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>คอลิน แมคควิสตัน</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>นายสุวรรณ สงฆรักษ์ (ซ้าย) และนายสมศักดิ์ คงรอด 2 เกษตรกรชาวสวนยางในจังหวัดกระบี่ ตัวแทนจากกลุ่มการเกษตรและพื้นที่ป่าเขา</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>นายอาหลี ชาญน้ำ ตัวแทนจากกลุ่มชุมชนชายฝั่ง</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>นายอมฤต ศิริพรจุฑากุล ตัวแทนจากกลุ่มเมืองและการท่องเที่ยว</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=4 background=/images/linedot_vert3.gif>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ผละจากวงสัมมนาในห้องแอร์ ที่พูดถึงพิษภัยของ "โลกร้อน" กันมากมายหลายวาระ เปลี่ยนบรรยากาศสู่ชายฝั่งทะเล อันเป็นแหล่งอ้างถึงผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจน ทั้งแนวชายหาดที่กำลังหายไป ปริมาณน้ำฝนที่ลดน้อยลง รวมถึงอุณหภูมิที่สูงขึ้น ชาวประมงท้องถิ่นรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ก่อนคำว่า "โลกร้อน" จะไปถึงหูพวกเขาเสียอีก

    กองทุนสัตว์ป่าโลก ประเทศไทย (WWF Thailand) และศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์และฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันศึกษาวิจัยผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อทรัพยากร ระบบเศรษฐกิจ และชุมชนชายฝั่งทะเลในประเทศไทย ซึ่งใช้จังหวัดกระบี่เป็นพื้นที่ศึกษาต้นแบบ ในช่วงเดือน มี.ค.-มิ.ย.51 และได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ "ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนในอนาคตต่อทรัพยากร ระบบเศรษฐกิจ และชุมชนชายฝั่งทะเลจังหวัดกระบี่" เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา ณ ศาลากลางจังหวัดกระบี่ โดยมีตัวแทนชาวบ้านและกลุ่มบุคคลต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบมาร่วมประชุมกันมากมาย

    คาดการณ์อนาคตกระบี่อีก 25 ปีข้างหน้าฝนตกน้อย-ขาดแคลนน้ำ

    จากการศึกษาสภาพภูมิอากาศของจังหวัดกระบี่ในอดีตที่ผ่านมา ซึ่ง ดร.อานานท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผอ.ศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์ฯ เพื่อคำนวณสภาพการณ์ในอนาคตอีก 10 และ 25 ปีข้างหน้า โดยใช้แบบจำลองโปรแกรมพรีซิส (PRECIS) พบว่าจังหวัดกระบี่มีแนวโน้มว่าจะขาดแคลนน้ำจืด เนื่องจากจำนวนวันที่ฝนตกน้อยลงทั่วทั้งจังหวัด ปริมาณน้ำฝนก็ลดน้อยลง

    ดร.อานนท์ เผยข้อมูลว่าปัจจุบันในจังหวัดกระบี่มีปริมาณน้ำฝนบริเวณชายฝั่งประมาณ 1,500-2,000 มิลลิเมตรต่อปี ส่วนพื้นที่ตอนในแผ่นดินมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 3,000 มิลลิเมตรต่อปี แต่ในอนาคตอีก 10 และ 25 ปี ข้างหน้า ปริมาณน้ำฝนรวมทุกพื้นที่ของจังหวัดกระบี่จะลดลง 10-20% ส่วนจำนวนวันฝนตกจะลดลงเล็กน้อยสำหรับพื้นที่ชายฝั่ง แต่สำหรับพื้นที่ตอนในแผ่นดินจะลดลง 20-30 วัน หรืออีกนัยหนึ่งคือฤดูฝนจะสิ้นสุดเร็วขึ้น 1-3 สัปดาห์

    ส่วนจำนวนการเกิดพายุก็ลดลงเช่นกัน โดยช่วง 60 ปีที่ผ่านมาพายุดีเปรสชันลดลงจาก 11 ลูกต่อ 30 ปี เหลือ 3 ลูกต่อ 30 ปี พายุโซนร้อนและไต้ฝุ่น ลดลง 4 ลูก เหลือ 1 ลูกต่อ 30 ปี อีกทั้งคาดอีกว่าในอนาคต พายุดีเปรสชัน พายุโซนร้อนและไต้ฝุ่น จะลดน้อยลงเหลือเพียง 1 และน้อยกว่า 0.5 ลูกต่อ 30 ปี

    ทั้งนี้ จากปัญหาภาวะโลกร้อนที่ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย จะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งจังหวัดกระบี่สูงขึ้นราว 10 เซนติเมตรในอีก 25 ปีข้างหน้า จึงทำให้น้ำเค็มรุกล้ำชายฝั่งมากขึ้น ประกอบกับปริมาณน้ำฝนที่ลดลง จะส่งผลให้ประชาชนในท้องถิ่นขาดแคลนน้ำจืด ซึ่งเป็นปัญหาที่ชาวบ้านกำลังประสบอยู่แล้วในปัจจุบัน แต่มีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคตหากไม่เร่งหาทางป้องกันและแก้ไข

    นายคอลิน แมคควิสตัน ผอ.ส่วนงานอนุรักษ์ของดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ ประเทศไทย เผยว่าที่เลือกจังหวัดกระบี่เป็นตัวอย่างในการศึกษาวิจัยเพราะว่าเป็นเมืองที่กำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็วทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเกษตร และการท่องเที่ยว ซึ่งยังมีโอกาสพัฒนาไปได้อีกไกลโดยเฉพาะอย่างหลังสุด เพราะในอนาคตฤดูฝนจะสั้นลง ทำให้ฤดูท่องเที่ยวยาวนานขึ้น

    แต่ข้อเสียของปัญหาดังกล่าวคือ ปริมาณน้ำจืดลดลง ดังนั้นจึงต้องแก้เรื่องนี้อย่างจริงจังและเป็นระบบ โดยความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน ทว่าปัญหาของชาวบ้านส่วนมากในตอนนี้ ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น จึงต้องใช้เวลาสำหรับให้ชุมชนทำความเข้าใจกับเรื่องดังกล่าวด้วย

    หลังจากนั้นผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้เข้าประชุมส่วนหนึ่ง ทำให้ทราบว่าชาวบ้านจำนวนมากยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาภาวะโลกร้อน ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ยังไม่ได้เข้าไปดำเนินการแก้ไขอย่างเต็มที่

    นายสมศักดิ์ คงรอด ชาวสวนยางพาราจากบ้านท่าคลอง ต.เกาะกลาง อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ บอกเล่าให้ผู้จัดการวิทยาศาสตร์ฟังว่า ตัวเขารู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นมาหลายปีแล้ว แต่เพิ่งจะรู้จักภาวะโลกร้อนเมื่อไม่นานมานี้เองจากการติดตามข่าวสารทางโทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์

    "ตอนเด็กๆ ตื่นเช้าขึ้นมาชาวบ้านมักนั่งผิงไฟให้อบอุ่น เพราะอากาศค่อนข้างเย็น แต่เมื่อโตขึ้น อายุมากขึ้น รู้สึกว่าเราห่างจากกองไฟมากขึ้น เพราะอากาศร้อนขึ้นมากในช่วงกลางวัน ส่วนกลางคืนจากเดิมที่เคยเย็นสบายตั้งแต่หัวค่ำ พอมาเดี๋ยวนี้กว่าจะเย็นก็ต้องรอจนถึงดึกมาก หรือเกือบถึงเช้า ป่าไม้ต้นน้ำที่เคยมีก็ลดน้อยลง" นายสมศักดิ์เล่าถึงความเปลี่ยนแปลงที่เขารู้สึกได้ ก่อนที่จะรู้จักคำว่า "โลกร้อน" เสียอีก

    เร่งปลูกปาล์มทำป่าไม้หดหาย

    "เมื่อป่าไม้ลดลง ความชุ่มชื้นก็หดหาย ฝนตกน้อย เมื่อน้ำน้อยลงก็ส่งผลต่อการเกษตร และการเพาะพันธุ์กล้าไม้ต่างๆ น้ำน้อย ต้นกล้าก็โตช้า ให้ผลผลิตช้าตามไปด้วย" นายสมศักดิ์เล่าให้ฟัง ในฐานะตัวแทนของกลุ่มเกษตรกรและพื้นที่ป่าเขา

    เขายังบอกอีกว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ ยังขาดความรู้ทั้งปัญหาและผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ยิ่งในช่วงที่เศรษฐกิจย่ำแย่แบบนี้ เกษตรกรจะเลือกช่องทางที่ทำรายได้ มากกว่าที่จะคำนึงถึงผลระยะยาว เมื่อปาล์มน้ำมันกลายเป็นพืชพลังงานที่กำลังมาแรง เกษตรกรก็ระดมปลูกปาล์มน้ำมันกันมากขึ้น ทำให้พื้นที่ป่าหลายแห่งถูกเปลี่ยนสภาพให้เป็นสวนปาล์ม

    สมศักดิ์บอกอีกว่า เมื่อป่าลดลง น้ำจืดที่ไหลลงทะเลก็ไหลแรงมากขึ้น โอกาสเกิดการชะล้างของหน้าดินก็เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการรุกล้ำของน้ำทะเลริมชายฝั่ง ส่งผลให้ป่าโกงกางเสียหายในหลายพื้นที่ ซึ่งจะกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยป่าโกงกางเป็นที่อยู่หรือแหล่งเพาะพันธุ์

    "ชาวบ้านยังไม่ค่อยเข้าใจ เพราะข้อมูลยังน้อย สื่อหรือนักวิชาการที่เข้าถึงชาวบ้านก็ยังมีไม่มาก อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปให้ความรู้แก่ชุมชน ทั้งเรื่องของภาวะโลกร้อน และการปลูกป่าเศรษฐกิจร่วมกับป่าไม้ยืนต้น ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้นักศึกษาหรือนักวิชาการ เข้ามาลงพื้นที่ทำวิจัยร่วมกับชาวบ้านในท้องถิ่น ชาวบ้านจะได้รับข้อมูลมากขึ้น ส่วนนักวิชาการก็จะได้รับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง" นายสมศักดิ์บ่งบอกสิ่งที่เขาคาดหวัง

    "เพราะที่ผ่านมา แม้จะมีหน่วยงานราชการในจังหวัดจัดงานรณรงค์เกี่ยวกับการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนและให้ความรู้แก่ชาวบ้านอยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่เห็นว่าจะมีหน่วยงานไหนดำเนินการอย่างจริงจัง หรือมีนโยบายแก้ปัญหาที่ชัดเจน เหมือนกับดูโฆษณาหวือหวาคั่นรายการละครน้ำเน่าเท่านั้นเอง" นายสมศักดิ์กล่าว

    โลกร้อน น้ำเปลี่ยนสี อุณหภูมิไม่คงที่ สิ่งมีชีวิตในทะเลเสื่อมโทรม

    ขณะที่ข้อมูลจากนายอาหลี ชาญน้ำ ประธานเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดกระบี่ ที่บอกเล่ากับผู้จัดการวิทยาศาสตร์ในฐานะตัวแทนของกลุ่มชุมชนชายฝั่งจ.กระบี่ก็ไม่ต่างจากนายสมศักดิ์เท่าใดนัก อาหลีเล่าว่า ชุมชนชายฝั่งของจังหวัดกระบี่ประสบกับปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งมาตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นย่าแล้ว ทว่าไม่รู้ว่าเพราะอะไร และช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็มีปัญหาน้ำทะเลเปลี่ยนสี อุณหภูมิน้ำเปลี่ยนแปลงขึ้นๆ ลงๆ เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวเย็น ซึ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลอย่างแน่นอน

    "น้ำทะเลเปลี่ยนสี อุณหภูมิคงที่ แน่นอนว่าต้องส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำ ตั้งแต่ปะการังเสื่อมโทรม สัตว์น้ำขาดแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัย ผลที่ตามมาคือมีจำนวนลดลง ชาวประมงก็จับปลาได้น้อยลง ทั้งยังต้องเจอกับปัญหาน้ำมันแพงอีก" นายอาหลีเล่าและบอกว่าตอนนี้ชาวบ้านเริ่มรู้กันแล้วว่าปัญหาดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน ซึ่งชาวบ้านก็เริ่มตื่นตัวที่จะแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น

    "ตอนนี้พวกชาวบ้านก็เริ่มตระหนักถึงปัญหาทรัพยากรธรรมชาติกันมากขึ้น โดยรวมกลุ่มกัน จัดตั้งเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งพัฒนามาจากโครงการชาร์ม (CHARM Project) ที่เกิดจาการรวมตัวในระดับชุมชน ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมบริเวณชายฝั่งทะเล ซึ่งเครือข่ายเฝ้าระวังฯ ก็จะมีหน้าที่กระจายข้อมูลข่าวสารให้ชาวชุมชน และจัดประชุมร่วมกันวิเคราห์ปัญหาและวางแนวทางแก้ไขเป็นประจำทุกเดือนในชุมชนชายฝั่งบริเวณต่างๆ ของจังหวัดกระบี่" นายอาหลีกล่าวถึงความร่วมมือในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชนชายฝั่ง

    ทัศนียภาพหดหาย นักท่องเที่ยวหมดความพึงใจ

    ด้านนายอมฤต ศิริพรจุฑากุล นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ เผยว่าการเติบโตของชุมชนและธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดกระบี่ ส่งผลกระทบต่อทั้งวิถีชีวิตชุมชนและทรัพยากรธรรมชาติ และเมื่อมีปัญหาภาวะโลกร้อนเข้ามาเกี่ยวข้องอีก ก็ยิ่งเกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น

    "ทรัพยากรใต้ทะเลถือเป็นจุดขายด้านท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่ เมื่อเกิดภาวะโลกร้อน สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น กระทบกับปะการังใต้ทะเลแน่นอน เมื่อปะการังเสื่อมโทรมก็กระทบกับสัตว์น้ำและอาหารทะเล และจากการสำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาเยือนจังหวัดกระบี่ พบว่าความพึงพอใจลดลง จากในปี 2549 ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวอยู่ที่ 6.4% แต่ในปี 2550 ลดลงเหลือเพียง 4.7% เท่านั้น" นายอมฤต เล่าให้ผู้จัดการวิทยาศาสตร์ฟังถึงสิ่งที่กำลังเป็นปัญหาในด้านการท่องเที่ยว

    นายอมฤตยังบอกต่อไปอีกว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าใจปัญหาโลกร้อนและปฏิบัติมานานกว่าเรา ในขณะที่เรายังไม่รักษาสิ่งแวดล้อมในบ้านเมืองเรา เมื่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวลดลง ก็ต้องหาตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่อยู่เสมอ เนื่องจากนักท่องเที่ยวกลุ่มเดิมไม่อยากกลับมาอีกแล้ว

    แต่หากเรารักษานักท่องเที่ยวกลุ่มเดิมเอาไว้ได้ ก็จะมีนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่เข้ามาเองจากคำบอกเล่าของนักท่องเที่ยวกลุ่มเดิมโดยที่เราไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำแผนการตลาด ซึ่งขณะนี้กลุ่มหลักที่เข้ามาเที่ยวจังหวัดกระบี่ส่วนใหญ่มาจากสแกนดิเนเวีย กลุ่มนี้เป็นพวกที่รักษ์สิ่งแวดล้อมและเคารพสถานที่มาก

    อย่างไรก็ดี นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่เผยว่า ขณะนี้ทางสมาคมเริ่มตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว ปีที่ผ่านมาจึงเริ่มศึกษาถึงเรื่องนี้อย่างจริงจัง พร้อมกับเชิญนักวิชาการมาให้ความรู้กับสมาชิกในสมาคม, ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดกระบี่ ตลอดจนหน่วยงานการปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะชาวบ้านก็เป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ไม่ได้แยกส่วนกันอย่างที่เข้าใจกันมาแต่เดิม หากภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบ ก็ย่อมส่งผลถึงชาวบ้านด้วยเช่นกัน

    "ขณะนี้ทางสมาคมได้ขอความร่วมมือผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวให้ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การบำบัดน้ำเสีย ที่แต่ก่อนจะบำบัดน้ำเสียแล้วปล่อยน้ำเสียลงสู่ทะเล แต่เดี๋ยวนี้สมาคมก็มีนโยบายให้บำบัดแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ โดยที่ไม่ต้องมีน้ำเสียส่วนใดถูกปล่อยลงสู่ทะเลเลย ซึ่งก็มีบางส่วนที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ขณะที่ส่วนใหญ่ก็ยังเพิกเฉยอยู่ แต่ทางสมาคมก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะเขาไม่ได้ทำผิดกฏหมาย จึงอยากให้ทางจังหวัดมียุทธศาสตร์ที่แน่นอนในการแก้ปัญหาเหล่านี้ ไม่อย่างนั้นอาจส่งผลเสียต่อการท่องเที่ยวในระยะยาว" นายอมฤตสรุป</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. sutatip_b

    sutatip_b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,197
    ค่าพลัง:
    +26,189
    มีเสียงเตือนอีกไหมคะ
     
  7. สิกขิม

    สิกขิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,310
    ค่าพลัง:
    +6,034
    วันนี้ วันวาน รวมถึงวันก่อนๆ หลายท่านได้เตือน เป็นต้นว่า ดร.สมิทธิ ดร.อาจอง ดร.ธรณ์


    [​IMG]
     
  8. สิกขิม

    สิกขิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,310
    ค่าพลัง:
    +6,034
    อาร์กติก กำลังละลาย

    16 กรกฎาคม 2552

    [​IMG] ลูกเรืออาร์กติก ซันไรส์ในประเทศกรีนแลนด์

    เรืออาร์กติก ซันไรส์เดินทางไปถึง 'สะพานน้ำแข็ง' ของช่องแคบโรเบสัน ที่ 82.4 องศาเหนือ ใกล้พรมแดนที่กั้นระหว่างกรีนแลนด์และแคนาดา

    ขยายภาพ


    ธารน้ำแข็งปีเตอร์แมนน์, กรีนแลนด์ — น้ำแข็งในทวีปอาร์กติกกำลังละลายในอัตราเร็วอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์บนเรืออาร์กติก ซันไรส์รวบรวมข้อมูลดิบเพิ่มขึ้น ที่แสดงถึงความเร่งด่วนของสถานการณ์ แต่ผู้นำโลกยังนิ่งเฉย

    2 สัปดาห์ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์และลูกเรือจากเรืออาร์กติก ซันไรส์ทำงานหนักอยู่กับการรวบรวมข้อมูลดิบ เก็บตัวอย่าง และติดตั้งกล้องเพื่อบันทึกการแยกตัวของธารน้ำแข็งปีเตอร์แมนน์ หนึ่งในธารน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศกรีนแลนด์ รอยแยกขนาดใหญ่ได้เกิดเพิ่มขึ้นเรื่อยมาในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และคาดว่าพืดใหญ่มหาศาลของธารน้ำแข็งนี้จะแยกออกในเร็วๆ นี้

    50 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

    ที่ 82 องศาเหนือ ห่างไกลจากพื้นที่อยู่อาศัยของผู้คน น่าเศร้าใจที่เราสามารถเห็นผลกระทบที่เราก่อให้เกิดต่อสิ่งแวดล้อมของเราได้ชัดเจน ข้อมูลที่รวบรวมได้จนถึงขณะนี้โดยนักวิทยาศาสตร์บนเรือนั้นน่าหวาดเกรง ห่างจากท้องทะเลไป 27 กิโลเมตร แม่น้ำสายใหญ่ได้ก่อตัวขึ้นบนธารน้ำแข็งปีเตอร์แมนน์ นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่ามันไหลเร็ว 50 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

    ในอัตรานี้สามารถทำให้สระว่ายน้ำขนาดมาตรฐานโอลิมปิกเต็มได้ในเวลาน้อยกว่า 1 นาที แม่น้ำสายนี้ไหลลงสู่น้ำวนขนาดใหญ่ลึกลงไปที่กำลังหายไป การวัดหาค่า ณ แม่น้ำนั้นพบว่า ที่ความลึกประมาณ 60 เมตร ความเค็มของน้ำเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นจึงไม่ใช่น้ำแข็งที่กำลังละลายอีกต่อไป แต่เป็นกระแสน้ำในมหาสมุทรที่อุ่น กระแสน้ำในมหาสมุทรที่อุ่นในทางใต้ลงไปในมหาสมุทรแอตแลนติกกำลังเร่งละลายน้ำแข็งด้านล่างในอัตราเร็วกว่าน้ำแข็งที่พื้นผิว

    เมื่อปีที่แล้ว พืดน้ำแข็งขนาด 37 ตารางกิโลเมตรได้แตกตัวออกแล้ว ในปีนี้ ปลายสุดของธารน้ำแข็งปีเตอร์แมนน์ได้แยกตัวแล้ว แต่คาดว่าจะแยกตัวเพิ่มขึ้นอีกมาก

    เมื่อเกาะน้ำแข็งแห่งใหม่นี้หลอมละลายไหลลงสู่ทะเล นั่นหมายถึงน้ำแข็งส่วนที่อยู่บนพื้นดินอาจไหลลงรวมกับน้ำทะเล และกลายเป็นส่วนหนึ่งของปลายสุดของธารน้ำแข็งที่ลอยอยู่ในทะเล สิ่งนี้มีนัยยะบ่งบอกถึงการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลทั่วโลก รวมถึงพืดน้ำแข็งกรีนแลนด์เอง ซึ่งดีที่สุดที่จะเล่าเป็นนิทานเปรียบเปรยเรื่อง ‘จุกคอร์กของขวดแชมเปญ’ ได้ว่า หากธารน้ำแข็งกรีนแลนด์หดตัวลงไปอย่างต่อเนื่อง อาจเปิดโอกาสให้น้ำบริสุทธิ์เยือกแข็ง จากพืดน้ำแข็งขนาดใหญ่มาก ที่รวมตัวเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปกรีนแลนด์ ไหลออกลงสู่มหาสมุทรมากขึ้น ดังนั้นจึงเพิ่มระดับน้ำทะเลให้สูงขึ้นอย่างมาก

    สิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมือนที่อื่นใด

    หมีขั้วโลก แมวน้ำ ภูเขาน้ำแข็ง เป็นเครื่องหมายของสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมือนที่อื่นใด สิ่งเหล่านี้กำลังอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ เพราะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ปราศจากการควบคุม ในขณะที่สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงในตอนเหนือ ชีวิตของประชากรเผ่าอินนูอิทต้องประสบความยากลำบากมากขึ้นมาก วิถีชีวิตและแหล่งอาหารของพวกเขาขาดน้ำแข็งไม่ได้ สายพันธุ์สัตว์ที่พวกเขามักล่ากำลังอพยพสู่ทางเหนือขึ้นไป พวกเขาจึงไม่สามารถล่าได้อีกต่อไป สิ่งแวดล้อมในทวีปอาร์กติกนั้นอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างที่สุด

    อาร์กติกที่ไร้ซึ่งน้ำแข็ง

    ข่าวร้ายกำลังประดังเข้ามาจากแหล่งอื่นๆ เช่นกัน ผลการศึกษาขององค์การนาซ่าแสดงให้เห็นว่าพืดน้ำแข็งปีเตอร์แมนน์ไม่เพียงแต่กำลังเล็กลงเรื่อยๆ แต่ยังบางและมีอายุสั้นลงเรื่อยๆ อีกด้วย น้ำแข็งในทะเลบางลงอย่างมหาศาลในระหว่างพ.ศ. 2547-2551 น้ำแข็งเก่า (อายุมากกว่า 2 ปี) ใช้เวลามากกว่าในการละลาย และกลับเป็นน้ำแข็งเหมือนเดิมได้ยากกว่า ในขณะที่น้ำแข็งถาวรลดปริมาณลง เราจะพบกับฤดูร้อนที่ปราศจากน้ำแข็งในทวีปอาร์กติกอย่างรวดเร็ว คือ พ.ศ. 2573

    กล่าวกันว่าคนเราผอมเกินไปหรือเด็กเกินไปก็ไม่ดี แต่คำกล่าวนี้ใช้ไม่ได้กับน้ำแข็งในทะเลอาร์กติก หมีขั้วโลกเป็นรายแรกที่จะทนทุกข์ทรมานจากการละลายนี้ แต่สัตว์อีกหลายสายพันธุ์ก็มีโอกาสได้รับผลกระทบเช่นกัน

    ไม่เอาแค่ลมปาก ต้องลงมือทำ

    ผู้นำโลกได้ให้พันธะที่จะจำกัดอุณหภูมิโลกให้อยู่ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียสที่การประชุม G8 เมื่อเร็วๆ นี้ แต่ไม่ได้ระบุว่าเราจะบรรลุเป้าหมายนี้ได้อย่างไร การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมากต้องเกิดขึ้นเพื่อป้องกันภาวะโลกร้อนที่ยากเกินควบคุม

    น้ำแข็งอาร์กติกละลาย ผู้นำต้องลงมือทำด่วน | กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
     
  9. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,503
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,015
    ขอบคุณครับ เดี๋ยวจะฟังครับ น่าสนใจมากครับ
     
  10. ปาฏิหาริย์

    ปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +3,516
    ธรรมชาติ เตือน มนุษย์แล้ว
     
  11. สิกขิม

    สิกขิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,310
    ค่าพลัง:
    +6,034
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>กรีนพีซเรียกร้องประชาคมโลก จริงใจแก้ปัญหาโลกร้อน</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left></TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>24 ตุลาคม 2552 </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>กลุ่มกรีนพีซเดินทางไปยังโรงแรมเชอราตัน หัวหิน รีสอร์ท แอนด์ สปา เพื่อแสดงจุดยืนในการเรียกร้องให้อาเซียประกาศจุดยืนต่อกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วโดยเฉพาะประเทศอุตสาหกรรมทั่วโลก

    ให้ยอมรับข้อตกลงในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่จะมีขึ้นในการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ในเดือนธันวาคมนี้

    หลังจากที่ผ่านมายังไม่พบความใส่ใจอย่างจริงจังจากประเทศอุตสาหกรรมที่จะช่วยกันแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน จนทำให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติขึ้นอย่างต่อเนื่อง

    และเรียกร้องประชาคมอาเซียนช่วยกันผลักดันให้ประเทศต่างๆ ร่วมมือกันอย่างจริงจังก่อนที่จะมีการลงนามในข้อตกลงดังกล่าว


    ทั้งนี้ กลุ่มกรีนพีซ ระบุ เหตุภัยพิบัติล่าสุด คือพายุกิสนาที่พัดถล่มประเทศฟิลิปปินส์เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา เป็นสัญญาณเตือนอาเซียนว่า

    ถึงเวลาที่ต้องหันมาใส่ใจเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างจริงจัง หยุดการทำลายป่าไม้ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึงร้อยละ 20


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. สิกขิม

    สิกขิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,310
    ค่าพลัง:
    +6,034
    [​IMG]


    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเพิ่มความรุนแรงขึ้นมากกว่าที่ใครเคยคาดคิดไว้ และเวลาของเราที่จะพลิกผันสถานการณ์กำลังจะหมดลงอย่างรวดเร็ว

    การประชุมสุดยอดแห่งสหประชาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในกรุงโคเปนเฮเกน ในเดือนธันวาคมนี้ อาจเป็นโอกาสสุดท้ายของเราที่จะหลีกเลี่ยงหายนะด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

    ผู้นำโลกได้ให้สัตยาบันที่จะเห็นชอบข้อตกลงที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกในการประชุมในครั้งนี้ ข้อตกลงนี้จะสร้างผลดีได้ ประเทศที่พัฒนาแล้วต้องเห็นชอบเป้าหมายการปล่อยก๊า่ซเรือนกระจก 40% ภายในพ.ศ. 2563


    ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน

    สภาวการณ์ที่แย่ลง ซึ่งสร้างความวิตก


    [​IMG]

    พืดน้ำแข็งที่กำลังละลาย

    น้ำแข็งในทวีปอาร์กติกและแอนตาร์กติกได้ละลายลงอย่างมหาศาล พืดน้ำแข็งอาร์กติกได้เข้าสู่สภาวะที่เรียกกันว่า 'เกลียวแห่งความตาย' เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่คุณสามารถล่องเรือรอบขั้วโลกเหนือได้

    อ่านต่อ


    [​IMG]


    เศรษฐศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

    ขอให้พวกเราอย่าได้บอกลาความเจริญโดยเพิกเฉยต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

    อ่านต่อ


    [​IMG]


    วิทยาศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน

    ภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลและรวดเร็ว ที่เราเห็นได้นั้น ไม่เหมือนกับที่เคยเป็นมาในประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องนี้จึงมักจะรอบคอบและระมัดระวังที่จะเห็นชอบข้อมูลร่วมกัน

    อ่านต่อ


    [​IMG]


    ภาวะโลกร้อน - ต้องหยุดทันทีหรือย้อนกลับไม่ได้อีก

    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเกิดขึ้นในอัตราที่เคยคาดคิดกันว่าเป็นไป ไม่ได้ และเวลาที่จะพลิกผันสถานการณ์กำลังจะหมดลง นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศที่เป็นนักอนุรักษ์นิยมตื่นตัวกันอย่างจริง จัง พวกเขายอมรับว่าพวกเขาไม่สามารถติดตามผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันได้ทัน

    อ่านต่อ


    [​IMG]


    เรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ | กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
     
  13. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,682
    ค่าพลัง:
    +51,931
    *** ผู้มีอำนาจทั่วโลก ต้องมีสัจจะ ****

    ผู้มีอำนาจ.......
    ยังไม่รู้จัก...สัจจะ
    เป็นสัญญากับใจตนเอง ....ซื่อสัตย์เด็ดขาด

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  14. Sopasiri

    Sopasiri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    449
    ค่าพลัง:
    +912
    ขอบคุณค่า ม่ายประมาทเน้อ
     

แชร์หน้านี้

Loading...