เรื่องเด่น อานาปานะ (สติ) แบบพระพุทธเจ้า

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 8 พฤษภาคม 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    ตามที่คุณว่ามา ผมสรุปยังงี้ถูกไหม ลืมตาปกตินี่แหละ จะได้แลเห็นทุกอย่าง เห็นตัวเอง เห็นคนอื่นๆ ลากเส้น ลูกโป่งที่พอง ไม่ค่อยเก็ต อิอิ ไปเรื่อยๆ ดูมันไปว่ามันจะเบือไหม นะครับ ผิดถูกประการใดคุณสรุปอีกที
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    อ้อ จงกรม มันเป็นยังงี้นี่เอง หมายถึงฝึกจนชำนาญ เรียกว่า จงกลม
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
  4. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    สรุปว่า..ทำยังไงก็ได้ ที่จะตามดู ตามรู้ กาย เวทนา จิต ธรรม ตามความเป็นจริง โดย อาศัย ความสงบ เป็นฐานรอง..โดยไม่หลอกตัวเองได้ ก็โอเค
     
  5. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ลืมตาฝึกแบบคุณว่านี่มันจะไม่กลัวใช่ไหมครับ
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ก้มหน้าก้มตาพิมพ์ไม่ดูอะไรรอบตัวรอบข้างเลย ก็คลิคลิงค์ที่ให้เข้าไปดูดิ เออ
     
  8. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    กลัวอะไร...ขนาดฝัน คนเรายังต้องหลับก่อน ถึงจะฝัน

    ถ้าเรานั่งเพ้อ ตาลอย จินตนาการ มันก็ไม่เห็นจะกลัวอะไรเลยนี่
     
  9. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    กดแล้วมันเป็นเฟสบุค ขี้เกียจเข้า

    อันนี้ ทำไมตัวหนังสือมันเล็ก ขยายก็ไม่ได้ อ่านลำบาก...อิอิ
     
  10. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    อะไรอีกมั้ย ถ้าไม่มีจะ ออกแล้วนะ เบื่อละ
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ตกลงนี่เราจะฝึกสติสัมปชัญญะเพื่อความรู้สึกตัว เพื่อให้มีสติไม่หลงลืม ไม่ให้เพ้อฝันนั่งจินตนาการ กันไปเพื่ออะไร สู้นั่งตาลอยก็ไม่ได้ ไม่กลัวด้วย อิอิ

    พอแค่นี้ก่อนครับ :D
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ไปเถอะครับ ผมก็จะไปเหมือนกัน คิกๆๆ
     
  13. ศิษย์โง๋

    ศิษย์โง๋ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +66
    ชอบตรงที่ตอบว่า เห็น สภาพธรรม ตามจริง เห็นแล้ว ก็จบ ลง ขณะนั้นเลย ไม่มี พาดพิง

    ไปหาธรรมมะมาเสริมให้

    วิสุทธิมรรค เล่ม ๒ ภาคสมาธิ ปริเฉทที่ ๘ อนุสสติกัมมัฏฐานนิเทศ หน้าที่ ๕๖ - ๖๐

    อธิบาย ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ
    คำว่า เธอสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก.....หายใจเข้า ความว่า เธอย่อมสำเหนียกว่าเมื่อเราทำกายสังขารที่หยาบ ให้สงบ ให้ระงับ ให้ดับ ให้เข้าไปสงบ จักหายใจออกจักหายใจเข้า ดังนี้

    อาการหยาบและละเอียดสงบ
    ในข้อนั้น พึงทราบภาวะ อัสสาสะ และ ปัสสาสะ หยาบละเอียดและสงบดังต่อไปนี้ จริงอยู่ ในกาลก่อนคือในกาลที่ยังมิได้กำหนด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุนี้ยังเป็นกายจิตที่ยังมีความกระวนกระวาย ยังหยาบ เมื่อภาวะที่กายและจิตหยาบไม่สงบระงับ แม้ลมหายใจออกและหายใจเข้า ก็ยังจัดว่าเป็นของหยาบ คือเป็นไปอย่างแรงกล้า จมูกไม่พอหายใจ ต้องยืนหายใจทั้งออกทั้งเข้าทางปาก แต่เมื่อใดทั้งกายทั้งจิตของเธอถูกกำหนดแล้ว เมื่อนั้น ลมหายใจออกเข้าเหล่านั้นย่อมสงบ เมื่อกายและจิตสงบแล้ว ลมหายใจออกและเข้าก็ย่อมเป็นไปละเอียด ย่อมถึงอาการคือภาวะที่จำต้องวิจัยว่ามีอยู่หรือไม่มีหนอ เปรียบเหมือนเมื่อคนแล่นลงจากภูเขา หรือปลงภาระหนักลงจากศีรษะยืนอยู่ ลมหายใจออกเข้าย่อมหยาบ จมูกไม่พอหายใจ ต้องยืนหายใจออกและเข้าทางปาก แต่เมื่อใดเขาบรรเทาความเหน็ดเหนื่อยนั้นแล้ว อาบและดื่มแล้ว เอาผ้าเปียกวางไว้ตรงหัวใจ นอนพักที่ร่มไม้อันเยือกเย็น เมื่อนั้นลมหายใจออกเข้าเหล่านั้นของเธอย่อมค่อยละเอียดลง ถึงซึ่งอาการคือภาวะที่จะต้องวิจัยว่า มีหรือไม่มีหนอ แม้ฉันใด ในกาลก่อน คือในกาลที่ยังไม่กำหนด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุนี้ ฯลฯ ย่อมถึงอาการคือภาวะที่จะต้องวิจัยว่ามีหรือไม่มีหนอ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร ? เพราะเป็นความจริง ในกาลก่อนคือในกาลที่ยังไม่ได้กำหนด เธอไม่ต้องมีความคำนึงความรวบรวมใจความใส่ใจและความพิจารณาว่า เราจักระงับกายสังขารที่หยาบ ๆ แต่ในกาลที่กำหนดย่อมมี เพราะเหตุนั้นกายสังขารของเธอในกาลที่ได้กำหนด จึงละเอียดกว่าเวลาที่ยังมิได้กำหนด เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า
    เมื่อกายและจิตกระสับกระส่าย กายสังขารย่อมเป็นไปเกินประมาณ (หยาบ) เมื่อกายและจิตไม่กระสับกระส่าย กายสังขารย่อมเป็นไปละเอียด

    ลมหยาบและละเอียดเป็นขั้น ๆ
    แม้ในกาลกำหนดกายสังขารยังจัดว่าหยาบในอุปจารแห่งปฐมฌาน แม้ในอุปจารแห่งปฐมฌานนั้นก็ยังจัดว่าหยาบ ในปฐมฌานจัดว่าละเอียด ในปฐมฌานและในอุปจารแห่งทุติยฌานก็ยังจัดว่าหยาบ ในทุติยฌานจัดว่าละเอียด ในทุติยฌานและในอุปจารแห่งตติยฌานจัดว่าละเอียดในตติยฌานและในอุปจารแห่งจตุตถฌานจัดว่าหยาบ ในจตุตถฌานเองจัดว่าละเอียดอย่างยิ่ง ถึงความไม่เป็นไปทีเดียว รวมความว่า นี้เป็นมติของอาจารย์ผู้กล่าวทีฆนิกายและสังยุตนิกายก่อน

    มติในมัชฌิมนิกาย
    ฝ่ายอาจารย์นักมัชฌิมนิกาย ปรารถนาละเอียดยิ่งกว่านั้น แม้ในอุปจารแห่งฌานสูง ๆ กว่าฌานชั้นต่ำอย่างนี้ว่า ในปฐมฌานหยาบ ในอุปจารแห่งทุติยฌานละเอียด แต่โดยมติของอาจารย์ทั้งหมดด้วยกัน คงได้ความว่า กายสังขารที่เป็นไปในกาลที่ยังไม่ได้กำหนด ย่อมสงบระงับในกาลที่ได้กำหนด กายสังขารที่เป็นไปในกาลที่กำหนด ย่อมสงบระงับในอุปจารแห่งปฐมฌาน ฯลฯ กายสังขารที่เป็นไปในอุปจารแห่งจตุตถฌาน ย่อมระงับในจตุตถฌานดังนี้แล นี้เป็นนัยในสมถะเป็นอันดับแรก


    นัยทางวิปัสสนา
    ส่วนในวิปัสสนา กายสังขารที่เป็นไปในกาลมิได้กำหนดหยาบ ในกาลกำหนดมหาภูตรูปละเอียดแม้นั้น ก็ยังจัดว่าหยาบ ในกาลกำหนดอุปาทายรูปละเอียดแม้นั้น ก็ยังจัดว่าหยาบ ในกาลกำหนดรูปทั้งสิ้นละเอียดแม้นั้นก็ยังจัดว่าหยาบ ในกาลกำหนดอรูปละเอียดแม้นั้นก็ยังจัดว่าหยาบ ในเวลากำหนดรูปและนามที่ละเอียดแม้นั้นก็ยังจัดว่าหยาบ ในเวลากำหนดปัจจัยละเอียดแม้นั้นก็ยังจัดว่าหยาบ ในเวลาเห็นนามรูปพร้อมด้วยปัจจัยละเอียดแม้นั้นก็ยังจัดว่าหยาบ ในวิปัสสนาอันมีลักษณะเป็นอารมณ์ละเอียด ในวิปัสสนาที่มีกำลังอ่อนจัดว่าหยาบ ในวิปัสสนาอันมีกำลังจัดว่าละเอียด ในวิปัสสนานั้น พึงทราบความสงบระงับกายสังขารอันเป็นไปในกาลก่อน ๆ ด้วยกาลตอนหลัง ๆ โดยนัยที่กล่าวแล้วในกาลก่อนนั้นนั่นแลพึงทราบภาวะที่กายสังขารหยาบละเอียด และสงบระงับในคำว่า “ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ อสฺสสิสฺสามิ.....ปสฺสสิสฺสามิ” นี้ โดยประการดังกล่าวแล้วนี้


    มติในปฏิสัมภิทามรรค
    ส่วนในปฏิสัมภิทาท่านกล่าวความข้อนั้นพร้อมด้วยคำประท้วงและคำเฉลยอย่างนี้ว่า ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออกหายใจเข้า อย่างไร ? กายสังขารเป็นไฉน ? คือธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นไปในกองลมหายใจออกและหายใจเข้ายาว อันนี้เป็นธรรมเกี่ยวเนื่องด้วยกาย ภิกษุทำกายสังขารเหล่านั้นให้ระงับ คือให้ดับใจให้เข้าไปสงบ ชื่อว่าย่อมสำเหนียก ฯลฯ สำเหนียกว่าเราจักระงับกายสังขาร นี่เป็นเหตุให้กายโยกโคลงโอนเอนส่ายสั่นหวั่นไหวไปมาเสีย หายใจออก สำเหนียกว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า สำเหนียกว่าเราจักระงับกายสังขารอันสงบอันละเอียด ที่เป็นเหตุให้กายไม่โยกโคลงไม่โอนไม่เอนไม่ส่ายไม่หวั่นไม่ไหว หายใจออก.....หายใจเข้า
    นัยว่า ภิกษุเมื่อสำเหนียกดังกล่าวมาฉะนี้ ชื่อว่าย่อมสำเหนียกว่าเราจักยังกายสังขารให้สงบหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจักยังกายสังขารให้สงบหายใจเข้า เมื่อเป็นดังนั้น การอบรมจิตเพื่อวาตุปลัทธิ (การกำหนดลม) ก็ดี เพื่อลมหายใจออกและเข้าก็ดี เพื่ออานาปานสติก็ดี เพื่ออานาปานสติสมาธิก็ดี ย่อมไม่สำเร็จได้ และบัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ได้เข้าสมาบัติทั้งไม่ได้ออกจากสมาบัตินั้นเหมือนอย่างไร ? เหมือนอย่างเมื่อกังสดาลถูกเคาะแล้ว เสียงหยาบย่อมเป็นไปครั้งแรก จิตก็เป็นไปได้ เพราะกำหนดนิมิตแห่งเสียงได้ง่าย เพราะทำนิมิตแห่งเสียงหยาบไว้ในใจได้ง่าย เพราะทรงจำนิมิตแห่งเสียงหยาบได้ง่าย แม้เมื่อเสียงหยาบดับแล้ว หลังนั้นถัดไปเสียงละเอียดก็ยังเป็นไปจิตก็เป็นไปได้ เพราะกำหนดนิมิตแห่งเสียงละเอียดได้ดี เพราะยังทำนิมิตแห่งเสียงละเอียดไว้ในใจได้ดี เพราะทรงจำนิมิตแห่งเสียงละเอียดได้ดี แม้เมื่อเสียงละเอียดดับแล้ว หลังจากนั้นไปจิตก็ยังเป็นไปได้ แม้เพราะนิมิตแห่งเสียงละเอียดเป็นอารมณ์ แม้ฉันใด ลมหายใจออกหายใจเข้าที่หยาบก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะกำหนดนิมิตแห่งลมหายใจออกหายใจเข้าที่หยาบได้ง่าย เพราะทำนิมิตแห่งลมหายใจเข้าที่หยาบไว้ในใจได้ง่าย เพราะสังเกตนิมิตแห่งลมหายใจออกหายใจเข้าที่หยาบได้ง่าย แม้เมื่อลมหายใจออกหายใจเข้าที่หยาบดับแล้ว หลังจากนั้น ลมหายใจออกหายใจเข้าที่ละเอียดก็ยังเป็นไปอยู่ จิตก็ไม่ฟุ้งซ่านเพราะกำหนดจับนิมิตได้ด้วยดี เพราะใส่ใจนิมิตได้ด้วยดี เพราะทรงจำนิมิตได้ด้วยดี แม้เมื่อลมหายใจออกหายใจเข้าที่ละเอียดดับไปแล้ว หลังจากนั้นจิตก็ไม่ถึงความฟุ้งซ่าน แม้เพราะยังมีนิมิตแห่งลมหายใจออกหายใจเข้าที่ละเอียดเป็นอารมณ์ เมื่อเป็นดังนี้ การอบรมจิตเพื่อวาตุปลัทธิเพื่อลมหายใจออกเข้าก็ดี เพื่ออานาปานสติก็ดี เพื่ออานาปานสติสมาธิก็ดี ย่อมสำเร็จได้ และสมาบัตินี้นั้นผู้เป็นบัณฑิตย่อมเข้าบ้าง ย่อมออกบ้าง ลมหายใจออกลมหายใจเข้าจัดเป็นกาย ความปรากฏจัดเป็นสติ ปัญญาเครื่องตามเห็นจัดเป็นญาณ กายจัดเป็นเครื่องปรากฏไม่ใช่ตัวสติ สติเป็นตัวปรากฏ ทั้งเป็นตัวสติด้วย พระโยคาวจรย่อมตามเห็นกายนั้นด้วยสตินั้นด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การเจริญสติปัฏฐาน คือปัญญาเครื่องตามเห็นกายในกาย นี้เป็นการพรรณนาเฉพาะบทตามลำดับแห่งจตุกกะที่ ๑ ซึ่งท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจกายานุปัสสนา ในอานาปานสติกถานี้เป็นอันดับแรก
    ก็เพราะเหตุในจตุกกะทั้ง ๔ เหล่านี้ จตุกกะนี้เท่านั้นท่านกล่าวด้วยสามารถกรรมฐานของพระโยคาวจรผู้ริเริ่มบำเพ็ญเพียร ส่วน ๓ จตุกกะนอกนี้ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถเวทนานุปัสสนานี้, จิตตานุปัสสนา และธัมมานุปัสสนาของพระโยคาวจรผู้บรรลุฌานแล้วในจตุกกะที่ ๑ นี้ ฉะนั้น กุลบุตรผู้ริเริ่มบำเพ็ญเพียรประสงค์จะบำเพ็ญกรรมฐานนี้แล้วบรรลุพระอรหัตพร้อมทั้งปฏิสัมภิทา ด้วยวิปัสสนาอันมีฌานที่ ๔ ซึ่งมีลมหายใจออกเข้าเป็น อารมณ์เป็นเหตุใกล้ พึงทำกิจทุกอย่างมีการชำระศีลให้บริสุทธิ์เป็นต้น โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั่นแล แล้วพึงกำหนดกรรมฐานอันประกอบด้วยสนธิ ๕ ประการ ในสำนักของพระอาจารย์มีประการดังกล่าวแล้ว
    ในอธิการอันว่าด้วยกรรมฐานอันประกอบด้วยสนธิ ๕ ประการนั้น สนธิ ๕ เหล่านี้ คือ

    สนธิ ๕
    ๑. อุคคหะ การเรียน (การกำหนด)
    ๒. ปริปุจฉา การสอบถาม
    ๓. อุปัฏฐาน ความปรากฏ
    ๔. อัปปนา ความแนบแน่น
    ๕. ลักขณะ เครื่องหมาย

    ในสนธิ ๕ นั้น การเรียนพระกรรมฐานชื่อว่า อุคคหะ การสอบถามพระกรรมฐานชื่อว่า ปุริปุจฉา ความปรากฏแห่งพระกรรมฐานชื่อว่า อุปัฏฐาน ความแน่วแน่แห่งกรรมฐานชื่อว่า อัปปนา ความกำหนดหมาย มีอธิบายว่า การทรงจำสภาวะแห่งกรรมฐานว่า กรรมฐานนี้มีลักษณะอย่างนี้ ชื่อว่า ลักขณะ

    ผลของการเรียนสนธิ ๕
    เมื่อพระโยคาวจรกำหนดกรรมฐานอันประกอบด้วยสนธิ ๕ ประการ ดังพรรณนามาฉะนี้ แม้ตนเองก็ไม่ต้องลำบาก แม้อาจารย์ก็ไม่ต้องรบกวนท่าน เพราะเหตุนั้น พวกโยคาวจรพึงให้อาจารย์บอกแต่น้อย สาธยายสิ้นเวลานาน แล้วกำหนดกรรมฐานอันประกอบด้วยสนธิ ๕ ประการอย่างนี้ อยู่ในสำนักอาจารย์หรือในเสนาสนะซึ่งมีประการดังกล่าวแล้วในก่อน ตัดปลิโพธเล็ก ๆ น้อย ๆ เสีย ทำภัตกิจเสร็จแล้วบรรเทาความเมาในภัตแล้วนั่งอย่างสบาย ทำจิตให้ร่าเริงด้วยการระลึกเนือง ๆ ถึงคุณพระรัตนตรัย จำได้แม่นยำแม้บทเดียวก็ไม่เคลื่อนคลาดจากข้อที่เรียนมาจากอาจารย์ พึงมนสิการอานาปานสติกัมมัฏฐานนี้เถิด

    วิธีมนสิการ ๘ อย่าง
    นี้เป็นวิธีมนสิการในอานาปานสติกัมมัฏฐานนั้น คือ
    ๑. คณนา การนับ
    ๒. อนุพนฺธนา การติดตาม
    ๓. ผุสนา การถูกต้อง
    ๔. ฐปนา การตั้งจิตมั่น
    ๕. สลฺลกฺขณา การกำหนดหมายได้ชัด
    ๖. วิวฏฺฏนา การเปลี่ยนแปลง
    ๗. ปาริสุทฺธิ การหมดจด
    ๘. เตสํ ปฏิปสฺสนา การย้อนดูวิวัฏฏนา (มรรค) และปาริสุทธิ (ผล) เหล่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤษภาคม 2017
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เมื่อคืนคุยกับท่านวรณ์นิ ได้ความรู้เยอะเลย :) ขอบพระคุณขอรับ

    วันนี้ ขอสนทนาภาคปฏิบัติ กับ อ.นิวรณ์บ้าง คำถามแรก ท่านนิวรณ์เริ่มต้นภาวนายังไงครับ สาธุสามครั้ง
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ตอนคุยกันได้อ่านคร่าวๆ เช้านี้ ฝนตกอารมณ์ดี อิอิ นั่งทวนอ่านอีกที อ่านๆแล้วได้ข้อคิดว่า เออ ที่นี่มีผู้ปฏิบัติธรรมเยอะ อย่างน้อยๆ ก็มี นิวรณ์ เราจะโต วรณ์นิ สามคนนิ :D เห็นวิธีแยกจิตของท่าน อ.วรณ์นิแล้ว อยากจะช่วยเผยแพร่ อ้า....ใครต้องการแยกจิต ถอดจิตเอาเลยครับ ตามนั้น แล้วจะรู้ว่านรกมีจริง :)
     
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    สหายทั้ง 3 ดูตย.อีก เขารู้สึกว่ามีร่างหนึ่งซ้อนอยู่ในตัว อ้าวดู

    ขอสอบถามอาการของสมาธิค่ะ

    รบกวนผู้รู้ชี้แนะด้วย

    1. มีความรู้สึกมีอีกร่างอยู่ในตัวเรา แต่เราจะควบคุมอีกร่างไม่ได้ อีกร่างเหมือนกับจะพยายามออกมา จากร่างเรา รู้สึกว่าเค้าจะยืดออกทางหน้าซ้ายบ้าง สักพักก็มาทางขวา แต่ไม่เคยออกได้ ปกติเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นจะพยายามไม่สนใจค่ะ ถูกต้องรึเปล่าค่ะ หรือควรจะทำอย่างไรกรุณาชี้แนะด้วยค่ะ

    2. นั่งไปสักพัก จะไม่รู้สึกตัวเหมือนเราหายไป แต่รู้ว่าไม่ได้หลับ สักพักก็กลับมาเหมือนเดิม เหมือนหายไปแปล๊บเดียว แต่ค่อนข้างจะนานค่ะ ควรจะทำอย่างไรหรือปล่อยไปแบบนี้ค่ะรบกวนชี้แนะ ด้วย

    ทั้งสองเหตุการณ์ จะไม่เกิดพร้อมกัน ถ้าวันนี้เกิดเหตุการณ์ที่ 1 วันต่อมาก็จะเกิด เหตุการณ์ที่ 2 สลับกันค่ะ หรือบางวันก็ไม่เกิดอาการทั้ง 2 เลยค่ะ

    3. เคยนอนหลับตอนกลางวันที่บ้าน แล้วมีความรู้สึกว่าไม่ง่วงไม่นอนละ แล้วก็ลุกขึ้นมาทำอะไรตามปกติ เช่น กวาด บ้าน เดินอยู่ในบ้าน สักพักสะดุ้งตื่นเพราะเสียงโทรศัพท์แล้วก็งงว่า เมื่อกี้เราไม่ได้หลับนี่ ยังทำอะไรตามปกติอยู่เลย แล้วทำไมมาสะดุ้งตื่นนอนบนที่นอนอย่างนี้

    รบกวนผู้รู้ช่วยชี้แนะแนวทางที่ควรจะปฏิบัติต่อไปด้วย
    ปกตินั่งสมาธิแบบอานาปานสติอย่างเดียวเลยค่ะ
    ก่อนนอนก็จะนอนภาวนาตลอดเลยค่ะ
     
  17. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    อ้าว นี่ ท่าน มาจากดิน เคยไปเที่ยวนรกมาแล้วเหรอ ถึงว่านรกมีจริง

    ความจริง ที่ผมฝึกแยกจิตดูกายเนี่ย...ได้ผลดีมากเลยนะ เพราะผมถือว่า เป็นการฝึกสติปัฏฐานที่แท้จริงเลย..แค่ยกจิตออกก็เบากาย เบาจิต โลกเงียบสงบ จิตสงบ แล้วก็ทำให้เห็น ความขริงของ กาย เวทนา จิต ธรรม..หมดเลย
    จนเข้าใจพระไตรลักษณ์....เลยนะ

    แต่บังเอิญ ผมฝึกเกินครู ไปหน่อย..คือผมดันพลิกแพลง เอาจิตเอามุมมองของร่างจำแลง ย้ายไปไว้ ได้ทุกมุมรอบกาย แบบ 360% น่ะสิ ยังไม่พอ..ผมยังยืดระยะทาง ของร่างจำแลงออกไปไกลมากเช่น..เอาไปไกลถึงดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ก้อนเมฆ....ในมุมที่มองเห็น โลกทั้งใบไง...เพราะแบบนี้มั้ง เมื่อ จิตมันปล่อยวางกายใจได้ มันเลย ลอยออกสูงขึ้นนอกโลก ไปเลย ไง

    และอีกอย่าง จุดด้อยของผมก็คือ..ผมไม่เคยอ่านตำรา พระไตร เรื่อง ของ ขันธ์ เรื่องของ อรูปธรรมมาก่อนเลย...ผมเลยจัดการกับมันต่อไม่ได้ไง..นี่คงเป็นสาเหตุที่ผม ...ติดในอรูปธรรม ไง

    ความจริงที่ผมฝึก มัน ดีมากมากเลยนะ...เร็วด้วย ...เยี่ยมเลย
     
  18. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    วิธีที่ผมฝึกเนี่ย มาจาก หลวงปู่เทพโลกอุดร...เชียวนะ
    ปกติ เขาต้องเอาร่างจำแลง ผูกกับกายจริงก็คือ เอามาดูกายจริง เท่านั้น

    แต่ผม ดัน ไปย้ายได้ทุกมุม ยืดออกไปนอกโลก และ กำหนดร่างจำแลงออกได้เป็นหลายร่าง (ร่างจำแลงนี้ ผมเรียก ว่า เจตสิก)...ผมแยกร่างจำแลงเป็นหลายตัวละครไง...อิอิ....แบบว่า มีหลายบทบาท หลายฉาก หลายงาน...เลยติดสนุกไปหน่อย...ผม ไปพลิกแพลงเกินครูอาจารย์เอง
     
  19. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    ในสภาวะอรูปธรรม...สมัยที่ผมบ้าอาละวาด ความเก่ง...นั้น ก็เลยสนุกดี
    ...
    เพราะ ที่ผมฝึก แยกจิตดูกายมา มันมาถึง ตรงอรูปธรรม แล้ว ไม่มีใครมาแนะนำต่อไง...มันเหมือนจิต ลอยออกนอกโลก จิตเหนือโลก เป็น เทพ เป็นอรหันต์ อยู่นอกโลก ในจักรวาลโน่น...เลย

    ตรงนี้ คนอื่นๆ ที่สัมผัสได้ ก็ ยินดีด้วย บอกว่า นี่คือถูกทางไง

    แต่ตัวผมนี่ สิ คึกคะนอง อาละวาด สร้างความเดือดร้อน ให้กับภพภูมิเหนือโลกเขาไง...สุดท้ายมีอาจารย์ มาชี้ทางออก...พอมีอาจารย์ มาชร้ทางกลับโลกให้ผม...ดันกลายเป็นว่า มีหลายคนกล่าวหาว่า...ผมทำไมทิ้งธรรมมะ นั้นมา..น่ะสิ (เขาไม่เข้าใจในสิ่งที่ผมเป็นไง)....แปลว่า ทุกคนไม่เข้าใจในตัวผมว่า ทำไมทิ้งธรรมนั้นมา ทำไมทิ้งดี นั้นมา..ซะงั้น

    ก็อย่างว่านั่นแหล่ะ ถ้าไม่เป็นตัวผม คงไม่รู้หรอก..ว่าเรื่องราวมัน ซับซ้อนพิศดารมากมาย ..กว่าจะ ชำระอวิชชา ชะลอกอนุสัย ชะลอกอาสวะ ความไม่รู้ได้เนี่ย...มันต้องใช้พลังงานปัญญาจากอาจารย์ มากแค่ไหน...อิอิ
     
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    พระพุทธศาสนา มีหลักสำหรับฝึกหัดพัฒนาบุคคลสามอย่าง เรียกตามหลักว่า ไตรสิกขา แปลว่า สิกขา 3 ซึ่งเรียกกันสั้นๆง่ายๆว่า ศีล สมาธิ ปัญญา (เรียกเต็ม อธิสีลสิกขา, อธิจิตตสิกขา, อธิปัญญาสิกขา ตามลำดับ)

    ศีลสำหรับฝึกคนด้านนอก คือด้าน กาย วาจา ส่วนด้านในฝึกหัดภายในคือฝึกหัดพัฒนา สมาธิ กับ ปัญญา (จิตกับปัญญา) นี่คือพระพุทธศาสนา

    กระทู้นี้ กับที่ สมช.ตั้งโต้แย้งกันทั้งหมดที่ห้องนี้ เป็นด้านใน คือภายในจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ละเอียดยิบยิบ มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น จึงยากจะเข้าใจ จึงมีเรื่องโต้เถียงกันได้มาก ซึ่งก็เป็นเรื่องสามัญเพราะเรายืนตรงข้ามเลข 9 :p:D นิวรณ์อยู่ข้างล่าง ก็ว่า 9 วรณ์นิ กับ เราจะโต อยู่อีกฝากหนึ่งก็ตะโกนว่า 6 อิอิ

    เพราะฉะนั้น จะหัก กท.นี้ลงให้เห็นด้านนอก คือ ด้านศีล ซึ่งเป็นเบื้องต้นของสิกขาหน่อย เพื่อมองภาพพระพุทธศาสนาออกบ้าง ไม่ยังงั้นแล้ว จะไปไกลเกินไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...