อัลบั้มพระ ประวัติ และวัตถุมงคล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 26 ธันวาคม 2013.

  1. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    60825141_1558078307656470_5685252461732823040_n.jpg


    หลวงพ่อพระพุทธเมตตา ประดิษฐาน
    ณ เจดีย์พุทธคยา วัดวังก์วิเวการาม


    ที่ตำบลตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าที่พุทธคยาประเทศอินเดีย นอกจากจะมีพระเจดีย์พุทธคยาที่พุทธศาสนิกชนนิยมไปกราบไหว้บูชาแล้ว ที่นี่ยังมีพระพุทธเมตตา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่งดงามโดยเฉพาะพระพักตร์ที่เปี่ยมไปด้วยเมตตา ทราบมาว่าผู้คนต้องต่อแถวกันยาวเหยียดเพื่อที่จะเข้าไปกราบสักการะกันเลยทีเดียว

    เมื่อหลวงพ่ออุตตมะได้สร้างพระเจดีย์พุทธคยาองค์จำลองขึ้นที่วัดวังก์วิเวการามขึ้นแล้ว ต่อมาชื่อเสียงขององค์หลวงพ่อพุทธเมตตาโด่งดังขึ้นมีผู้คนนิยมไปกราบสักการะกันมาก ทางวัดวังก์วิเวการามจึงสร้างพระพุทธเมตตาองค์จำลองขึ้นเพื่อให้ผู้เลื่อมใสศรัทธาได้กราบไหว้บูชากัน เพราะเจดีย์พุทธคยา และพระพุทธเมตตา เป็นของคู่กัน ไม่ต้องลำบากไปไกลถึงอินเดียก็กราบระลึกถึงท่านได้เช่นกัน



    60906409_1558078197656481_402204832363970560_n.jpg


    ประวัติพระพุทธเมตตา

    ศาสนวัตถุสำคัญที่ประดิษฐานอยู่ในบริเวณพุทธคยาอีกอย่างหนึ่ง ที่พุทธศาสนิกชนทั่วโลกนิยมเดินทางไปกราบสักการะกันมาก ก็คือ องค์ “พระพุทธเมตตา” ซึ่งเป็นพระพุทธปฏิมาอันงดงามยิ่ง ประดิษฐาน ณ ห้องบูชาชั้นล่างสุดของพระมหาเจดีย์พุทธคยาทางประตูด้านทิศตะวันออก มีอายุกว่า ๑,๔๐๐ กว่าปี ไล่เลี่ยกับยุคสมัยของหลวงพ่อพระพุทธเจ้าองค์ดำ หรือ “หลวงพ่อองค์ดำ” เมืองนาลันทา ซึ่งก็เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวพุทธศรัทธานับถือเช่นกัน

    พระพุทธลักษณะขององค์พระพุทธเมตตาแกะสลักจากหินสีดำเนื้อละเอียด ศิลปะสมัยราชวงศ์ปาละ คนไทยเรียกว่าเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หรือปางชนะมาร คนอินเดียเรียกว่า ปางภูมิสัมผัส หรือปางภูมิผัสสะ แปลว่า ทรงชี้ให้แผ่นดินเป็นพยานแห่งการทำความดีในอดีต เพราะตอนที่พระยามารพร้อมเสนามารมาผจญไล่พระพุทธองค์ให้ลุกหนีไปเสียจากพุทธบัลลังก์ที่ประทับทรงชี้ให้พระแม่ธรณีมาเป็นพยานในการทำความดีในอดีตของพระองค์โดยพระแม่ธรณีได้บีบน้ำในมวยผมที่พระพุทธองค์ได้ทรงฝากไว้ตอนตรวจน้ำทำบุญทุกครั้ง กระทั่งในที่สุดทำให้พระยามารต้องพ่ายแพ้ต่อพระพุทธบารมี

    หลวงพ่อพระพุทธเมตตา ถือว่าเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นกัน ประดิษฐานภายในเจดีย์พุทธคยา ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑๔๗ เซนติเมตร สูง ๑๖๕ เซ็นติเมตร สร้างด้วยเนื้อหินทราย สมัยปาละ มีอายุประมาณ ๑๔๐๐ ปี ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ซึ่งได้รอดพ้นจากการถูกทำลายได้

    ในศตวรรตที่ ๑๓ มีกษัตริย์ฮินดูนามว่าพระเจ้าสาสังกา ของรัฐเบงกอล ที่ไม่ต้องการที่จะอยู่ภายใต้การปกครองของแคว้นมคธ ซึ่งมีพระเจ้าปุรณวรมา เป็นผู้ปกครองในสมัยนั้น ต้องการประกาศตนเป็นอิสระ จึงได้กรีฑาทัพมาทำลายจุดศูนย์กลางของแคว้นมคธ คือบริเวณดินแดนแห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ทันที ด้วยหมายจะทำลายขวัญของกษัตริย์และประชาชนเสียก่อน แล้วจึงค่อยยกทัพไปตีเมืองหลวงในขั้นต่อไป เพราะบริเวณพุทธคยานี้มีต้นพระศรีมหาโพธิ์และพระพุทธเมตตาเป็นหัวใจสำคัญที่ชาวพุทธให้ความเคารพนับถือกราบไหว้บูชากันมาก ทำให้การขยายตัวทางพระพุทธศาสนาได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น

    เมื่อกษัตริย์ชาวฮินดูได้เข้ายึดบริเวณพุทธคยาแล้วได้รับสั่งให้ทหารเริ่มระร้านกิ่งก้านสาขาต้นพระศรีมหาโพธิ์และตัดรากจนหมดสิ้น แม้แต่รากต้นพระศรีมหาโพธิ์จะเลื้อยชอนไชไปในทิศทางใดก็สั่งให้ทหารขุดรากออกให้หมด จากนั้นก็สั่งให้ฟางอ้อยต่างเชื้อเพลิงวางสุ่มที่ตอแห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์แล้วลาดน้ำมันจุดไฟเผา ด้วยประสงค์จะมิให้หน่อแห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ได้มีโอกาสงอกขึ้นมาเลย

    จากนั้นรับสั่งให้ทหารเข้าไปในพระมหาวิหารแล้วสั่งให้เสนาบดีนำพระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อหินทราย ออกไปจากมหาวิหาร แต่เผอิญเสนาบดีเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้าคิดว่า ถ้ามาตรแม้นว่าเราจะนำพระพุทธรูปองค์นี้ออกไปเสียจากวิหารแล้วไซร์ ก็เกรงกลัวว่าจะเกิดไม่ทันศาสนาพระศรีอาริย์ แต่ถ้าเราไม่นำออกไปตามพระบัญชา เราก็จะต้องถูกประหารชีวิตโดยไม่ต้องสงสัย ทันใดนั้น ความคิดอย่างหนึ่งก็ได้เกิดขึ้นมา แล้วกราบทูลแต่พระราชาว่า พระพุทธรูปองค์นี้ใหญ่โตมากยากที่จะนำออกไปในวันนี้ได้ ข้าพระองค์ใคร่ขอโอกาสสัก ๗ วัน เพื่อหาทางนำพระพุทธรูปองค์นี้ออกไปจากพระวิหารให้จงได้ พระเจ้าสาสังกาจึงตกลงพระทัยยอมให้ปฏิบัติตามคำขอร้องของเสนาบดี

    ฝ่ายเสนาบดี ครั้นให้คำมั่นสัญญาเรียบร้อยแล้ว จึงได้เริ่มแผนการตามที่ตนคิดไว้ในใจ โดยใช้แผ่นอิฐมากก่อเป็นกำแพงกำบังพระพุทธรูปไว้อย่างมิดชิด พร้อมกับตั้งประทีปโคมไฟบูชาไว้ภายในกำแพงที่กั้นปิดไว้

    ครั้นครบ ๗ วันจึงกราบทูลพระราชาว่า บัดนี้เกล้ากระหม่อมฉันได้จัดการนำพระพุทธรูปออกไปจากพระมหาวิหารแล้ว พระเจ้าสาสังกา พอได้สดับคำเช่นนั้น แทนที่พระองค์จะยินดีปรีดาเพราะความปรารถนาของพระองค์สำเร็จแล้ว แต่พระองค์กลับทรงเสียพระทัยถึงกับมีพระโลหิตออกจากปากและจมูก แล้วล้มลงต่อหน้าหมู่ทหารและสวรรคต ณ ที่นั้นเอง

    ในขณะที่กองทัพพระเจ้าสาสังการอทัพอยู่ ณ พุทธคยานั้นนั่นเอง กษัตริย์ชาวมคธคือพระเจ้าปุรณวรมา ได้เสด็จยกทัพมาถึงพอดี ฝ่ายพวกกองทัพของพระเจ้าสาสังกาซึ่งต่างอกสั่นขวัญหนีอยู่ก่อนแล้วก็ยิ่งเสียขวัญ ต่างแยกย้ายหนีเอาตัวรอดไปคนละทิศละทาง จากนั้นพระเจ้าปุรณวรมาก็ได้แกะแผ่นอิฐออก

    ปัจจุบันพระพุทธเมตตา ซึ่งเป็นพระประธานในพระเจดีย์พุทธคยาที่อยู่คู่กันกับต้นพระศรีมหาโพธิ์ มีพระพักตร์ที่เปี่ยมด้วยความเมตตาเสมือนหนึ่งเป็นตัวเเทนแห่งการระลึกถึงพระเมตตาคุณของพระพุทธองค์ ที่เมื่อทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ได้เมตตาโปรดสั่งสอนไวนัยสัตว์ทั้งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายให้ได้รู้ตามคำสั่งสอนของพระองค์ ซึ่งได้ผ่านกาลเวลามายาวนาน จนเป็นหนึ่งในจุดหมายของการเดินทางจาริกธรรมแสวงบุญของพุทธศาสนิกชนทุกสารทิศ จากทุกนิกาย หลากหลายวิถีปฏิบัติ ต่างเชื้อชาติ ต่างภาษา ทั่วโลก ซึ่งต่างมุ่งเดินทางสู่พุทธคยา เพื่อจักได้เจริญจิตภาวนา สวดมนต์ปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอันเป็นการบูชาสูงสุดในทางพระพุทธศาสนา


    ที่มา: ariyasong.com


    61395963_1558078187656482_2337202386507923456_n.jpg


    คำบูชาหลวงพ่อพระพุทธเมตตา อินเดีย

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะฯ (๓ จบ)

    วันทามิ อิมัง พุทธะเมตตาปะฏิมัง อิมังสะมิง คะยาสีสา ปูชาระเห สักการะภูเต
    เจติยัง สุปะติฏฐิตัง ฯ
    อิมินา ปะนะ วันทะมาเนนะ มา มา ทะลิททิยัง อาหุฯ พะหุชะนานัง ปิโย โหมิ มะนาโป
    สาธุ โน ภันเต อิเมหิ สักกาเรหิ อะภิปูชะยามิ ฯ


    คำแปล ข้าพเจ้าขอกราบไหว้ พระพุทธเมตตาปฏิมานี้ซึ่งประดิษฐานตั้งมั่นดีแล้ว ในองค์
    พระเจดีย์ที่คยาสีสะประเทศนี้ อันเป็นสถานที่ควรแก่เครื่องบูชาสักการะ ฯ
    ด้วยการกราบไหว้นี้ ขอความเป็นผู้ขัดสนอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าเลย ขอให้ข้าพเจ้าเป็นทีรัก เป็นที่พอใจของคนทั่วไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอบูชาโดยยิ่งด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ ฯ


    จากหนังสือพระพุทธมนต์ ตามรอยบาทพระศาสดา
    โดย พระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ)


    60887796_1558078207656480_289969515784044544_n.jpg

     
  2. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    67068077_1609892815808352_6789102912715882496_n.jpg

    67260030_1609892822475018_4603658037356396544_n.jpg

    67292457_1609892612475039_5948357953512800256_n.jpg

    67450036_1609892655808368_2752645742597242880_n.jpg

    67734030_1609892605808373_7455084596082769920_n.jpg

    67403766_1609892715808362_6728254564845223936_n.jpg


    น้ำตกเกริงกระเวีย

    ออกจากสังขละมาไม่ไกล ก็จะผ่านน้ำตกเกริงกระเวีย ซึ่งน้ำตกแห่งนี้อยู่ข้างทางพอดีมีร้านขายของที่ระลึกอยู่หลายร้าน จึงมีรถจอดอยู่เยอะเป็นที่สังเกตได้ง่าย
    (รูปชุดนี้ถ่ายเมื่อช่วงต้นปีฝนยังไม่มาน้ำจะน้อยหน่อย ช่วงนี้ฝนตกแล้วน้ำมากคงจะสวยยิ่งขึ้น)

    ****************

    น้ำตกเกริงกระเวีย กาญจนบุรี

    น้ำตกที่มีชื่อเป็นภาษากระเหรียงที่เพี้ยนมาจนเป็นชื่อในปัจจุบัน น้ำตกเเห่งนี้เป็นน้ำตกขนาดกลางมีทั้งหมด 4 ชั้น ที่ไหลมาจากป่าต้นน้ำทิพุเย ไปสิ้นสุดที่น้ำตกไดช่องถ่อง เเละไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่่อนวชิราลงกรณ์

    ด้วยความที่เป็นน้ำตกที่สวยงามเเละติดถนนเลย เเละอุทยานได้มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ใหม่ทั้งหมด ทำให้ที่นี่มีนักท่องเที่ยวมาพักผ่อนหย่อนใจ ปิคนิค ทานอาหาร เเวะ กินกาแฟ หรือใช้เป็นจุดพักระหว่างการเดินทางไปสังขละบุรี จำนวนมาก

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    61202226_1561315997332701_1622004715845844992_n.jpg

    61279235_1562125357251765_6358053724237070336_n.jpg

    61538984_1561316140666020_440689925474484224_n.jpg

    61785671_1562125377251763_5470215762893340672_n.jpg

    61264482_1561316233999344_8264418196002439168_n.jpg

    61378692_1561316007332700_6255764980684029952_n.jpg


    วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

    วัดท่าขนุน เคยผ่านเมื่อคราวก่อน แต่ยังไม่มีโอกาสได้แวะ้เพราะเวลาไม่พอ ทริปนี้จึงตั้งใจที่จะแวะเข้าไปวัดแห่งนี้อยู่ตรงทางแยกพอดี ถ้ามาจากกรุงเทพวิ่งตรงไป ก็จะไป อ.ทองผาภูมิ ซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น หมู่บ้านอิต่อง เนินช้างศึก เขื่อนวชิราลงกรณ์ ซึ่งจะได้ไปเที่ยวในโอกาสต่อไป และถ้าเลี้ยวขวาก็จะไปยัง อ.สังขละ ที่เพิ่งเราได้ออกมา

    วัดท่าขนุน มีเนื้อที่ประมาณ ๖๐ ไร่ บรรยากาศเงียบสงบร่มรื่น และวัดสะอาดสะอ้านดี


    ***************

    ประวัติวัดท่าขนุน

    วัดท่าขนุนได้ชื่อตามเมืองด่านท่าขนุน สมัยนั้นการสัญจรส่วนมากไปทางเรือที่ล่องตามลำน้ำแควน้อย จุดที่ตั้งของเมืองด่านท่าขนุนเป็นท่าเรือ มีที่หมายสำคัญคือมีต้นขนุนอยู่หลายต้น จึงเรียกกันง่าย ๆ ว่า “ท่าขนุน” จนกลายเป็นชื่อบ้านนามเมืองตั้งแต่นั้นมา

    ในหนังสือนิราศท่าดินแดง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๙ เมื่อคราวเสด็จไปทำศึกกับพม่าซึ่งยกมารุกรานไทยที่ท่าดินแดง ทรงยกทัพไปพร้อมกับกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท โดยขบวนเรือจากกรุงเทพ ฯ ไปจนถึงเมืองไทรโยค แล้วจึงเดินทัพทางบกต่อไป

    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเข้าตีค่ายพม่าที่ท่าดินแดง ในขณะที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงเข้าตีค่ายพม่าที่ตำบลสามสบ โดยเข้าตีค่ายพม่าพร้อมกันทั้งสองทัพ เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๓๒๙

    ทำการรบกันอยู่สามวัน ถึงวันที่ ๒๓ เวลาบ่าย ฝ่ายไทยบุกทะลวงเข้าค่ายพม่าได้ และได้รบติดพันกันอยู่จนพลบค่ำ พม่าจึงทิ้งค่ายแตกหนีไป กองทัพไทยได้ไล่ติดตามไปถึงค่ายพระมหาอุปราชาที่ตำบลแม่กษัตริย์

    พระมหาอุปราชารู้ว่ากองทัพหน้าแตกแล้วก็ไม่ให้คิดต่อสู้ รีบยกกองทัพหนีไปก่อน กองทัพพม่าจึงแตกยับเยิน เสียรี้พลและอาวุธยุทโธปกรณ์มากมาย โดยเฉพาะปืนใหญ่ไม่สามารถที่จะลากกลับไปได้แม้แต่กระบอกเดียว

    จากนิราศท่าดินแดงในครั้งนั้น ได้กล่าวถึงจังหวัดกาญจนบุรีในนามเดิมว่าเมืองปากแพรก ทรงยกทัพเรือขึ้นไปถึงเมืองไทรโยค แล้วจึงเปลี่ยนเป็นทัพบก ยกไปตั้งค่ายที่ด่านท่าขนุน แล้วบุกโจมตีกองทัพพม่าที่ท่าดินแดง ดังเนื้อความในนิราศ ดังนี้

    ฯลฯ...ถึงปากแพรกซึ่งเป็นที่ประชุมพล

    พร้อมพหลพลนิกรน้อยใหญ่

    ค่ายคูเขื่อนขัณฑ์ทั้งนั้นไซร้

    สารพัดแต่งไว้ทุกประการ

    จึงรีบรัดจัดโดยกระบวนทัพ

    สรรพด้วยพยุหทวยหาญ

    ทุกหมู่หมวดตรวจกันไว้พร้อมการ

    ครั้นได้ศุภวารเวลา

    ให้ยกพลขึ้นทางไทรโยคสถาน

    ทั้งบกเรือล้วนทหารอาสา

    จะสังหารอริราชพาลา

    อันสถิตอยู่ยังท่าดินแดง...ฯลฯ

    ฯลฯ...ออกจากเนินผาศิลาพนัส

    เร่งรัดทวยหาญทั้งซ้ายขวา

    ไปตามแนวแถวในพนาวา

    พอสุริยาสายัณห์ลงรอนรอน

    ก็ถึงด่านท่าขนุนโดยหมาย

    ให้ตั้งค่ายตามเชิงศิขร

    แล้วรีบเร่งพหลพลนิกร

    ทั้งลาวมอญเขมรไทยเข้าโจมตี...ฯลฯ


    จะเห็นได้ว่าในสมัยรัชกาลที่ ๑ นั้น ท่าขนุนก็เป็นเมืองหน้าด่านอยู่แล้ว จากค่านิยมของชาวพุทธไม่ว่าจะเป็นมอญ พม่า ไทย ลาว ก็คือ มีบ้านที่ไหนก็ต้องมีวัดที่นั่น ทำให้มั่นใจได้ว่า จะต้องมีวัดท่าขนุนมาตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว เพียงแต่ไม่ได้ปรากฏหลักฐานชัดเจนในเอกสารประวัติศาสตร์ต่าง ๆ เท่านั้น

    หลักฐานการมีวัดท่าขนุนมาปรากฏชัด เมื่อครั้งที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอรประพันธรำไพ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา สองพระราชธิดาในล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ กับเจ้าจอมมารดาอ่อน เสด็จมาประพาสป่าทองผาภูมิ

    ทั้งสองพระองค์มีพระอุปนิสัยรักการผจญภัย ชอบเสด็จประพาสป่าเป็นชีวิตจิตใจ เมื่อเสด็จประพาสทองผาภูมิแล้วเกิดชอบพระทัยในสภาพป่า จึงได้เสด็จมาอีกครั้งหนึ่ง และได้ขอเด็กกะเหรี่ยง ๒ คน คือ นังมิ่นกงกับนอเด่งเฉ่งจากบ้านปรังกาสี ไปเลี้ยงไว้ในวังอีกด้วย

    ในการเสด็จครั้งหลังนี้เอง ทั้งสองพระองค์ได้ทูลขอพระราชทานพระพุทธรูปรัชกาล ขนาดหน้าตักประมาณ ๑ ศอก ๒ องค์ และธรรมาสน์ทรงบุษบกฝีมือช่างหลวง ถอดประกอบได้ทุกชิ้น จากในหลวงรัชกาลที่ ๗ มาถวายแก่หลวงปู่พุก อุตฺตมปาโล อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒

    หลวงปู่พุก อุตฺตมปาโล เป็นพระเถระเชื้อสายมอญ มีสีลาจารวัตรที่งดงาม เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านเป็นอย่างมาก ทั้งสองพระองค์ทราบกิตติศัพท์ จึงเสด็จมานมัสการพร้อมกับถวายสิ่งของพระราชทานดังกล่าวข้างต้น

    หลวงปู่พุกปกครองดูแลวัดท่าขนุนมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๘๙ ก็มรณภาพลง ชาวบ้าน ได้นิมนต์หลวงปู่เต๊อะเน็ง( หลวงปู่ไตแนม) ชาวกะเหรี่ยงนอก (มาจากพม่า) มาเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าขนุนเป็นรูปที่ ๒

    ช่วงนั้นพอดีหลวงพ่ออุตตมะเดินธุดงค์เข้าไทยมา ได้พบกับหลวงปู่เต๊อะเน็ง จึงช่วยกันสร้างมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทสี่รอยจำลองให้กับทางวัดท่าขนุน

    หลวงปู่เต๊อะเน็งปกครองดูแลวัดท่าขนุนจนถึง พ.ศ. ๒๔๙๔ ก็เดินทางกลับไปพม่า โดยไม่ได้กลับมาอีก ทางคณะสงฆ์ส่งพระภิกษุจากในเมืองกาญจนบุรีมาช่วยดูแลวัดให้ แต่อยู่ได้ไม่นานก็หนีกลับไป เพราะทนไข้ป่าไม่ไหว วัดท่าขนุนจึงกลายเป็นวัดร้างอยู่ระยะหนึ่ง

    จนกระทั่ง วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๔๙๕ หลวงปู่สาย อคฺควํโส เดินธุดงค์มาจากนครสวรรค์ มาปักกลดปฏิบัติธรรมอยู่ที่บริเวณวัดท่าขนุน ชาวบ้านเห็นวัตรปฏิบัติอันน่าเลื่อมใส จึงให้การอุปัฏฐากเป็นอย่างดี จนถึง ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖ หลวงปู่สายก็ได้ลาชาวบ้าน เดินธุดงค์เข้าไปในประเทศพม่า

    ครั้นวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๔๙๖ หลวงปู่สายเดินธุดงค์กลับจากพม่ามาถึงวัดท่าขนุน และได้อยู่จำพรรษาที่วัดท่าขนุนจนถึง วันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๔๙๖ ชาวบ้านซึ่งนำโดยนายบุญธรรม นกเล็ก ได้นิมนต์ให้หลวงปู่สายอยู่เป็นเจ้าอาวาสที่วัดท่าขนุนเลย

    หลวงปู่สายแนะนำให้นายบุญธรรม นกเล็ก นำคณะชาวบ้านไปกราบขอท่านกับหลวงปู่น้อย เตชปุญฺโญ (พระครูนิพันธ์ธรรมคุต) เจ้าอาวาสวัดหนองโพธิ์ จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์และเป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลท่าน แล้วหลวงปู่สายก็ลาชาวบ้าน เดินทางกลับไปวัดหนองโพธิ์ จังหวัดนครสวรรค์

    หลังออกพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ นายบุญธรรม นกเล็ก จึงนำศรัทธาชาวบ้านเดินทางไปนครสวรรค์กราบหลวงปู่น้อย ขอหลวงปู่สายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน เมื่อหลวงปู่น้อยอนุญาตแล้ว หลวงปู่สายจึงเดินทางกลับมาพร้อมกับคณะศรัทธาชาวบ้าน ถึงวัดท่าขนุนเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๗ และเริ่มทำการบูรณะวัดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    หลวงปู่สายได้รับการแต่งตั้งจากพระวิสุทธิรังษี (ดี พุทธโชติมหาเถระ) เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรีในขณะนั้น ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน ตามหนังสือแต่งตั้งเลขที่ ๑/๒๔๙๘ ลงวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๙๘ และได้ร่วมกับศรัทธาชาวบ้าน พัฒนาวัดท่าขนุนกลับมาเป็นวัดโดยสมบูรณ์อีกวาระหนึ่ง จนได้รับรางวัลวัดพัฒนาตัวอย่างในปี ๒๕๑๖

    หลวงปู่สาย อคฺควํโส มรณภาพลงในปี ๒๕๓๕ ทำให้เสนาสนะทั้งหลายได้ทรุดโทรมลง บางส่วนก็ชำรุดจนไม่สามารถที่จะใช้งานได้

    ถึงปี ๒๕๔๕ สมัยพระสมุห์สมพงษ์ เขมจิตฺโต เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน พระราชธรรมโสภณ รักษาการเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี ได้มีบัญชาให้พระใบฎีกาเล็ก สุธมฺมปญฺโญ มาพัฒนาวัดท่าขนุน ให้มีเสนาสนะที่สมบูรณ์ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

    ที่มา: watthakhanun.com




     
  4. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    61942601_1563718720425762_2478800122452901888_n.jpg

    61990648_1563718643759103_6057483254208921600_n.jpg

    61719506_1563718650425769_5107517079100063744_n.jpg

    61453741_1562955650502069_7118757217645363200_n.jpg


    พระเจดีย์ ๘๔ พรรษา สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วชิรญาณสังวร
    (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช)

    จุดเด่นที่สำคัญของวัดนี้เมื่อเข้ามาก็เห็นจะเป็น พระเจดีย์องค์นี้ เพราะปิดทองไว้เหลืองอร่ามตา ท่ามกลางหมู่ไม้สีเขียวขจี โดยเฉพาะยามค่ำคืน
    เห็นทางวัดตั้งเสาไฟส่ององค์พระเจดีย์เอาไว้ คงเป็นภาพที่น่าชมมากทีเดียว


    คณะศิษย์หลวงปู่สาย อคฺควํโส นำโดยพระอธิการสมเด็จ วราสโย สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระสังฆราชเจ้า วชิรญาณสังวร (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช) ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ ๘๔ พรรษา
    หลวงพ่ออุตตะมะ (พระราชอุดมมงคล) เป็นประธานวางศิลาฤกษ์
    เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
     
  5. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    67782064_1618822364915397_5082564139449057280_n.jpg

    67916803_1618822321582068_8313820443144355840_n.jpg

    67735403_1618822388248728_7230315935142248448_n.jpg

    67879459_1618822298248737_7807330648032542720_n.jpg

    67758397_1618822341582066_5246364575686721536_n.jpg


    สะพานแขวน วัดท่าขนุน

    วัดที่อยู่ติดแม่น้ำ ในความรู้สึกส่วนตัวแล้วผมว่าบรรยากาศดีมากๆ โดยเฉพาะช่วงแดดร่มลมตก มานั่งรับลมเย็นๆและความชุ่มชื่นจากสายน้ำ ช่วยผ่อนคลายความร้อนกายร้อนใจได้เป็นอย่างดี

    ****************

    สะพานแขวนหลวงปู่สาย

    เป็นสะพานไม้ประกอบลวดสลิง หลวงปู่สาย อคฺควํโส สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ ข้ามแม่น้ำแควน้อย เชื่อมระหว่างฝั่งวัดท่าขนุนกับฝั่งตลาดทองผาภูมิ ทำให้สามารถร่นเวลาในการเดินทางเข้าสู่ตลาดทองผาภูมิไปได้เป็นอย่างมาก ปัจจุบันยังใช้งานอยู่เป็นปกติ โดยเฉพาะเป็นเส้นทางบิณฑบาตของพระภิกษุสามเณรวัดท่าขนุน

    สะพานแขวนวัดท่าขนุน นับเป็นจุดท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของอำเภอทองผาภูมิ นักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายรูปกันมาก


    ที่มา: watthakanun.com
     
  6. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    62205124_1568825079915126_6097415411995770880_n.jpg

    62351812_1568824999915134_2850523640636637184_n.jpg

    62309735_1568824989915135_5811342346377232384_n.jpg

    62237599_1568825096581791_1034988102159958016_n.jpg


    สมเด็จองค์ปฐม

    ประดิษฐาน ณ ศาลาร้อยปีหลวงปู่สาย วัดท่าขนุน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    62254939_1570541883076779_2337901297946066944_n.jpg

    62205363_1570541673076800_2867867354233044992_n.jpg

    62491418_1570541656410135_402246755539746816_n.jpg

    62243932_1570541729743461_1393898319855484928_n.jpg


    หลวงพ่อ ๓ กษัตริย์
    หลวงพ่อทอง หลวงพ่อนาก หลวงพ่อเงิน
    ประดิษฐานภายในเรือนยอด ศาลาร้อยปีหลวงปู่สาย

    วันที่เราไปถ่ายภาพนั้นหลวงพ่อทองยังเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องหล่อด้วยโลหะปิดทองอยู่ หลวงพี่ที่ท่านนั่งอยู่ตรงจุดนั้นได้สนทนาถามไถ่ความเป็นมาของคณะเราว่าไปยังไงมายังไงกันจนสมควรแก่เวลาก่อนที่เราจะลากลับ หลวงพี่ท่านได้บอกว่าเดือนหน้าทางวัดจะทำการหล่อพระพุทธรูปทองคำเพื่อมาแทนองค์หลวงพ่อทอง ถ้าว่างพอมีเวลาก็ให้มาร่วมงานกัน
    เพราะองค์หลวงพ่อเงิน ก็หล่อด้วยเงินแท้ หลวงพ่อนากก็หล่อด้วยนาก เหลือหลวงพ่อทองคำที่ยังเป็นโลหะปิดทองอยู่ ทางวัดจึงได้ทำการหล่อหลวงพ่อทองด้วยเนื้อทองคำแท้ ซึ่งปัจจุบันก็ได้ทำการหล่อและนำขึ้นประดิษฐานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พวกเราก็ได้ร่วมบุญกันไปตามกำลัง​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    68974250_1626289970835303_6046524503419256832_n.jpg


    ๑๔ สิงหาคม ครบรอบวันละสังขาร ปีที่ ๒๗
    หลวงปู่สิม สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่


    หลวงปู่สิมเป็นสหธรรมิก กับพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีที่ต่างนิกายกันแต่ก็ให้ความเคารพนับถือกัน โดยหลวงพ่อฤาษีท่านเคยนำคณะศิษยานุศิษย์ขึ้นไปกราบไหว้และฝากฝังเหล่าคณะศิษย์ไว้กับหลวงปู่ เพราะหลวงพ่อท่านไม่แน่ใจว่าสังขารร่างกายของท่านจะแตกดับเมื่อใด อย่างน้อยท่านก็อุ่นใจว่าลูกหลานของท่านก็ยังมีพระอริยสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบหลวงปู่สิมเป็นที่พึ่งได้ในวันข้างหน้าหากยามที่หลวงพ่อท่านต้องจากไป

    ต่อมาผมจึงมีโอกาสได้เดินตามรอยของท่านได้ขึ้นไปที่ถ้ำผาปล่อง ในวันที่ท่านทั้งสองไม่อยู่แล้ว แม้เหตุการณ์จะผ่านมาเนิ่นนานหลายสิบปี แต่ความเงียบสงบแห่งธรรมชาติและกระแสแห่งธรรมแห่งครูบาอาจารย์ยังคงอัดแน่นอยู่ในทุกอณูของสถานที่แห่งนี้มิเสื่อมคลาย


    ****************

    “มรณํ เม ภวิสฺสติ เราจะต้องตาย”

    ในหนังสือ “ละอองธรรม” มีข้อเขียนเรื่องหนึ่งชื่อว่า “หนึ่งเดียวนี้แหละ” เน้นเรื่อง มรณกรรมฐาน หรือ การพิจารณาความตาย เป็นกรรมฐานที่หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร ท่านเน้นมากบทหนึ่ง

    เรื่องมีดังนี้ : -

    ถ้าไปถามหลวงพ่อ หลวงพี่ หรือหลวงพี่เณร วัดถ้ำผาปล่องว่า หลวงปู่ท่านเทศน์เรื่องอะไร ?

    คำตอบที่ได้รับ นอกจาก “อัฐิกัง - กระดูก ๓๐๐ ท่อน” หรือ “ดวงจิตผู้รู้” แล้วก็คงมี “มรณํ เม ภวิสฺสติ เราจะต้องตาย” นั่นแหละที่หลวงปู่ท่านเทศน์บ่อยที่สุด

    ครั้งหนึ่ง เมื่อหลวงปู่รับนิมนต์ไปเทศน์ในงานทำบุญวันเกิดท่านพระอาจารย์ไพบูลย์ สุมงฺคโล แห่ง วัดอนาลโย. ดอยบุษราคัม จังหวัดพะเยา

    เมื่อหลวงปู่ ขึ้นธรรมาสน์ ท่านก็เทศน์ “มรณํ เม ภวิสฺสติ” ตามที่ศิษย์ผู้ติดตามไปจากวัดถ้ำผาปล่องคาดไว้ไม่ผิดเลย

    ศิษย์ท่านนั้นนึกอยู่ในใจว่า “อยู่ถ้ำผาปล่อง ก็ มรณกรรมฐาน หลวงปู่มาเทศน์ที่พะเยา ก็มรณกรรมฐานเหมือนกัน คิดว่าท่านจะยกเรื่องอื่นมาเทศน์”

    เมื่อเทศน์เสร็จ ตอนลงจากธรรมาสน์ มาพักผ่อนอิริยาบถศิษย์ก็รินน้ำชาถวาย หลังจากยกถ้วยชาขึ้นจิบแล้ว หลวงปู่ก็ปรารภกับศิษย์ท่านนั้นว่า

    “คนเมืองพะเยาก็จะต้องตายเหมือนกัน จึงเอามรณกรรมฐานมาเทศน์“

    แล้วหลวงปู่ก็ยังยก มรณํ เม ภวิสฺสติ เป็นการเทศน์นอกรอบ ต่อไปอีกว่า

    “ดูเบื้องต้น ไม่มีอะไร ไม่มีสมบัติอะไรติดตัวมา เวลาเบื้องปลาย คนเราเวลาจะตายหรือตายไป ก็ไม่มีอะไรติดตามไปญาติ มิตรสหาย สามี ภรรยา พ่อแม่ เขาก็ไปส่งได้แค่ป่าช้า เขาก็กลับมา ไม่ได้ตามไปในโลกหน้า ฉะนั้น เราอย่าไปห่วงใครทั้งนั้น ห่วงตัวเราคนเดียว ห่วงใจของเรา เอาใจของเรามาตั้งอกตั้งใจปฏิบัติบูชา ไม่ได้อะไรก็ได้จิตใจเลื่อมใสศรัทธาในการปฏิบัติธรรม...”

    “...คนโบราณฉลาด มีปัญญา เอ ! ทำอย่างไรจะให้มันรู้จักว่า มันตายเป็น มันแก่เป็น มันหมดสิ้นไปตามวันคืน เดือน ปี นี่ ครั้นเกิด ตาย กันขึ้นมา ก็เอาละ ที่นี้ นิมนต์พระมาชักบังสุกุล มาเทศน์ให้ฟังแต่คนเราที่ยังอยู่ ก็ไม่เข้าใจว่าพระท่านมาเทศน์ให้เราฟัง (นึก) ว่าท่านเทศน์ให้ผีฟังเวลารับศีลก็อาราธนา (พอ) พระให้ศีลละก็ เอาฆ้อนเอามือตบตีโลง ว่า พระจะให้ศีล ๕ นะ จงมารับศีล ฟังธรรม รับศีลแล้ว ก็รักษาศีล ๕ ให้ได้นะ อันความหลงของคนเรา มันเข้าใจว่า ผีของคนนั้นมันจะอยู่ที่นั้น มันจะมาอยู่ทำไม มันแตกสลายไปแล้วนะ..”



    68538821_1625478964249737_5984334124297486336_n.jpg

    ประวัติรูปหล่อหลวงปู่สิม
    โดยนวเรศ วิมล

    รูปเหมือนสีทองอร่ามในสำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่ององค์นี้ แท้จริงแล้ว เป็นของเก่า สร้างตั้งแต่ปีพ.ศ.2517 หลังจากที่สร้างเหรียญ"เมตตา"เสร็จใหม่ๆได้ไม่นาน

    ผู้สร้างรูปเหมือนองค์นี้คือคุณธงชัย อุดมความสุข (ผู้ขออนุญาตสร้างเหรียญเมตตาและเหรียญแพงพวย)และคุณชินพร สุขสถิตย์(ศิษย์เอกหลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ ระยอง ซึ่งนับถือหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโรเป็นอาจารย์องค์ที่ 2 และอยู่เบื้องหลังการสร้างเหรียญเมตตาด้วย)

    รูปเหมือนหลวงปู่สิมองค์นี้ อยู่ในถ้ำผาปล่องมาช้านานตั้งแต่ปีพ.ศ.2517 จนวันที่หลวงปู่สิมมรณภาพในปีพ.ศ.2535

    นับระยะกาลเวลาที่ "รับพลัง" ทั้งการเจริญพระพุทธมนต์และการปลุกเสกของหลวงปู่สิมนับพิธีนับครั้งไม่ถ้วนอยู่เนิ่นนานถึงราว "18 ปี" เต็มๆ

    แม้ภายหลังจากพระราชทานเพลิงศพแล้ว ทางสำนักสงฆ์ก็ได้อัญเชิญ"อัฐิธาตุ"ของหลวงปู่สิมเข้าบรรจุในรูปเหมือนองค์ประวัติศาสตร์นี้ด้วย

    นับเป็น"ของแทนองค์"หลวงปู่สิมที่ชัดเจนและมีประวัติแน่นอนที่สุด ควรค่าแก่การกราบไหว้สักการะอย่างที่สุดโดยแท้จริง



    68527765_1626295404168093_2328357386693115904_n.jpg
    อัฐิธาตุหลวงปู่สิม ณ สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง
     
  9. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    62631883_1573150536149247_4869292736592740352_n.jpg
    (สังขารหลวงปู่สาย ประดิษฐาน ในศาลาร้อยปีหลวงปู่สาย วัดท่าขนุน)

    หลวงปู่สาย วัดท่าขนุน
    พระครูสุวรรณเสลาภรณ์ (พ.ศ. ๒๔๙๗ - พ.ศ. ๒๕๓๕)

    เจ้าอาวาสรูปที่ ๓ ของวัดท่าขนุน เป็นบุตรของนายนิ่ม ไกวัลศิลป์ และนางจันทร์ ไกวัลศิลป์ เกิดในวังบ้านดอกไม้ ของนายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๔๕๗ ตรงกับวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีขาล

    ในเรื่องนี้พระครูวิลาศกาญจนธรรมได้พยายามเสาะหาข้อมูลอยู่เป็นเวลาถึง ๓ ปี สัมภาษณ์ศิษย์เก่าของหลวงปู่สายหลายท่าน เช่น แม่ชีชื่น ศรีสองแคว นายสมใจ มาโนช ร.ต.ต.บัว สุขเอี่ยม ร.ต.ต.มนัส เพียรพบ บรรดาศิษย์ใกล้ชิดของหลวงปู่สาย ทราบเพียงแต่ว่าท่านเกิดในวัง แต่ไม่สามารถที่จะบอกได้ว่าเกิดในวังอะไร

    จนกระทั่งพระครูวิลาศกาญจนธรรม ได้รับกิจนิมนต์ที่บ้านของนายสัจจะ มูลแก้ว เมื่อปรารภเรื่องนี้ขึ้นมา นายสัจจะ มูลแก้ว (ปัจจุบันอายุ ๘๖ ปี) กราบเรียนว่า “ผมเคยถามเรื่องนี้มาแล้ว หลวงปู่บอกว่าท่านเกิดในวังของเสด็จในกรมฯ ที่สร้างทางรถไฟผ่านดงพญาเย็น..” จึงเป็นที่มั่นใจได้ว่าหลวงปู่เกิดที่วังบ้านดอกไม้ ของเสด็จในกรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน

    เนื่องจากบิดามารดาเป็นข้ารับใช้ในวังบ้านดอกไม้ หลวงปู่สายจึงได้รับการอบรมกิริยามารยาท ตามแบบอย่างของบุคคลในรั้วในวัง และได้รับการศึกษาจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๘ พร้อมกับได้รับความไว้วางพระทัย ให้เข้ารับราชการในกรมรถไฟหลวงสมัยนั้น

    หลวงปู่สายรับราชการด้วยความขยันขันแข็งและซื่อตรง และได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนมาตามลำดับ จนกระทั่งถึงเงินเดือนขั้นสูงสุด ๓๒ บาท แต่แล้วชีวิตก็หักเห เมื่อท่านมาป่วยด้วยโรคฝีประคำร้อย

    โรคนี้เกินความสามารถของหมอในสมัยนั้นที่จะรักษา จนกระทั่งท่านได้ยินกิตติศัพท์ของหลวงปู่เดิม วัดหนองโพธิ์ จังหวัดนครสวรรค์ ว่าสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ที่เกินมือหมอสมัยใหม่ได้ ท่านจึงเดินทางไปกราบขอบารมีหลวงปู่เดิมใช้พุทธาคมช่วยรักษาให้

    เมื่อหายจากโรคแล้ว ท่านได้มอบกายถวายชีวิตไว้ในพระพุทธศาสนา โดยขอบวชและศึกษาปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่เดิม แต่ในช่วงนั้นหลวงปู่เดิมชราภาพมากแล้ว จึงส่งท่านไปบวชกับพระครูนิรันตสีลคุณ (วัน หมีทอง) ที่วัดเขาทอง ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๘๘

    พระอาจารย์น้อย เตชปุญฺโญ วัดหนองโพธิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ไชยา ไม่ทราบฉายา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ บวชแล้วสังกัดวัดหนองโพธิ์ ศึกษานักธรรมตลอดจนวิชาอาคมและพระกรรมฐานกับหลวงปู่เดิมและหลวงปู่น้อย

    จนสอบได้นักธรรมเอกแล้ว เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๘ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๙๑ ท่านจึงกราบขออนุญาตหลวงปู่เดิมและหลวงปู่น้อย ธุดงค์ไปยังเขาวงพระจันทร์ จังหวัดลพบุรี แล้วเดินมาทางบ้านหมี่ - อินทร์บุรี ผ่านเข้าจังหวัดชัยนาท ทะลุมาทางด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี จากนั้นย้อนกลับไปจำพรรษาที่วัดเขาวงพระจันทร์

    ออกพรรษาแล้วท่านกลับไปวัดหนองโพธิ์ กราบพระอุปัชฌาย์อาจารย์เพื่อรายงานผลการปฏิบัติและศึกษาวิชาเพิ่มเติม จากนั้น ธุดงค์มาทางบึงบอระเพ็ด ผ่านตะพานหิน ทับคล้อ เขาทราย ของจังหวัดพิจิตร ออกไปบ้านเจียง อำเภอภักดีชุมพล ผ่านเกษตรสมบูรณ์ ชุมแพ จังหวัดชัยภูมิ ทะลุไปถึงป่าสีฐาน จังหวัดขอนแก่น เข้าป่าหนองบัว จังหวัดอุดรธานี

    จากนั้นท่านเดินเข้าจังหวัดหนองคาย ขึ้นไปอำเภอท่าบ่อ ศรีเชียงใหม่ แล้ววกลงมาจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำผาแบน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

    เมื่อออกพรรษาแล้ว หลวงปู่สายเดินผ่านป่าเชียงคาน เข้าอำเภอท่าลี่ ด่านซ้าย ลงมาอำเภอนครไทย วังทอง จังหวัดพิษณุโลก ได้ทราบเกียรติคุณของหลวงปู่เนื่อง วัดจุฬามณี อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม จึงนั่งรถไฟลงมายังสถานีหัวลำโพง แล้วต่อรถไฟสายแม่กลอง ไปกราบขอเรียนกรรมฐานและวิชาอาคมกับหลวงปู่เนื่อง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒

    หลวงปู่เนื่องซึ่งเป็นศิษย์สายตรงของหลวงปู่คง วัดบางกะพ้อม ได้เมตตาถ่ายทอดสรรพวิชาต่าง ๆ ให้กับหลวงปู่สายอย่างเต็มที่ หลวงปู่สายได้อยู่เรียนวิชากับหลวงปู่เนื่องเป็น เวลา ๑ เดือน ซักซ้อมจนช่ำชองชำนาญแล้ว ก็กราบลาขึ้นรถไฟย้อนกลับไปยังพิษณุโลก

    หลวงปู่สายได้พักเจริญกรรมฐานและทบทวนสรรพวิชาพุทธาคม อยู่ที่บ้านปากพิง เขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ จนถึงวันจันทร์ที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นเวลาถึง ๔ เดือน จึงได้เดินทางกลับมาวัดหนองโพธิ์

    เมื่อทำวัตรพระอุปัชฌาย์อาจารย์ สอบถามข้อธรรมที่ติดขัดและศึกษาวิทยาคมเพิ่มเติมจากหลวงปู่เดิม ที่ไปเป็นประธานสร้างโบสถ์วัดอินทารามประมาณหนึ่งเดือน ท่านก็กราบลาพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ธุดงค์ขึ้นไปทางพยุหะคีรี ผ่านเขาหน่อ สลกบาตร จังหวัดนครสวรรค์ ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอมฤต ตำบลบ้านลานดอกไม้ อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร

    ครั้นเมื่อออกพรรษาแล้ว หลวงปู่สายได้ธุดงค์ขึ้นไปจนถึงบ้านระแหง จังหวัดตาก แล้ววกมาทางบ้านนาขุนไกร อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย จากนั้นไปจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองตาโชติ อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เพื่อศึกษาวิชาอาคมและช่วยหลวงพ่อประเสริฐ สร้างวัดหนองตาโชติ ตั้งแต่วันศุกร์ที่ ๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๙๔ จนออกพรรษา

    ในช่วงที่หลวงปู่ท่านยังอยู่ศึกษาวิชาการต่าง ๆ ที่วัดหนองตาโชตินี้เอง หลวงปู่เดิม วัดหนองโพธิ์ ก็ได้ละสังขารอย่างสงบ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๔ แต่กว่าที่ข่าวจะไปถึงหลวงปู่สาย ก็ต่อเมื่อออกพรรษาไปแล้ว

    ยังดีที่ทางวัดหนองโพธิ์ โดยหลวงปู่น้อยและกรรมการวัด ตลอดจนชาวบ้าน ได้ทำบุญถวายหลวงปู่เดิมจนครบ ๑๐๐ วัน แล้วเก็บศพเอาไว้เพื่อรอพระราชทานเพลิง หลวงปู่สายจึงกลับไปทันกราบขอขมาครูบาอาจารย์และร่วมงานพระราชทานเพลิง โดยพักที่วัดหนองโพธิ์จนถึงเดือนพฤษภาคมพ.ศ. ๒๔๙๕

    จากนั้นท่านได้กราบลาหลวงปู่น้อย ออกธุดงค์มาทางอำเภอลานสัก ผ่านอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ทะลุมาอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี มาจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองอีเปาะ อำเภอด่านช้าง จนกระทั่งรับกฐินแล้ว ท่านจึงได้ลาชาวบ้านหนองอีเปาะเพื่อเดินธุดงค์ต่อไป

    เส้นทางธุดงค์ของหลวงปู่สายช่วงนี้ ผ่านบ้านพุน้ำร้อน อำเภอด่านช้างมาทางบ้านหนองขอน อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ผ่านบ้านโป่งช้าง เข้าสู่เขตอำเภอศรีสวัสดิ์ที่บ้านท่าลำไย เขาเหล็ก ตีนตก องจุ ปลายนาสวน ด่านแม่แฉลบ ทะลุเข้าเขตอำเภอทองผาภูมิ เมื่อปลายเดือนธันวาคม ๒๔๙๕

    หลวงปู่สายได้มาปักกลดเจริญกรรมฐานที่บริเวณวัดท่าขนุน ซึ่งขณะนั้นรกร้าง เนื่องจากหลวงปู่เต๊อะเน็งได้กลับพม่าไปเกือบสองปีแล้ว ชาวบ้านท่าขนุนได้เห็นวัตรปฏิบัติอันมักน้อย สันโดษ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย จึงได้ช่วยกันอุปัฏฐากดูแล หลวงปู่จึงได้อยู่ฉลองศรัทธาญาติโยมชาวท่าขนุนถึงสองเดือน แล้วจึงออกเดินธุดงค์ไปทางวังปะโท่

    หลวงปู่สายได้บุกป่าฝ่าดงผ่านบ้านวังกะ ซึ่งปัจจุบันคืออำเภอสังขละบุรี ข้ามแดนเข้าประเทศพม่าช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ ไปถึงบ้านหนองบัว (กะลอหยั่ว) เมื่อต้นเดือนเมษายน แล้วไปร่วมงานทำบุญสงกรานต์ที่บ้านสองแคว (ชองนาคัวะ)

    จากนั้น ท่านได้เดินธุดงค์วนเวียนอยู่ตามบ้าน และวัดต่าง ๆ ในเขตเมืองมะละแหม่ง เมืองจะอีน เมืองไจ๊มะยอและเมืองมุด่ง จนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม จึงได้เดินมาทางเมืองตันบวยเซียต ผ่านบ้านแวกะลิ ผาเปี๊ยะ เกริงทอ บุกป่ากลับเข้าประเทศไทยทางบ้านบีคี่ เขตอำเภอสังขละบุรี เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดท่าขนุน

    ชาวบ้านท่าขนุนดีใจเป็นอย่างยิ่ง ที่หลวงปู่สายมาอยู่จำพรรษาเพื่ออนุเคราะห์ทุกคน จึงพร้อมใจกันกราบอาราธนาหลวงปู่ให้อยู่เป็นเจ้าอาวาสที่วัดท่าขนุน หลวงปู่สายได้แจ้งแก่บรรดาญาติโยมว่า ท่านยังมีพระอุปัชฌาย์อาจารย์ที่ต้องกราบขออนุญาตก่อน หากต้องการให้ท่านมาเป็นเจ้าอาวาส จริง ๆ ก็ให้ไปกราบขอตัวท่านกับหลวงปู่น้อย เจ้าอาวาสวัดหนองโพธิ์

    เมื่อออกพรรษาแล้ว หลวงปู่สายก็ลาชาวบ้านท่าขนุน เดินทางกลับไปยังวัดหนองโพธิ์ อยู่ปรนนิบัติรับใช้และศึกษาวิชาการต่าง ๆ เพิ่มเติมจากหลวงปู่น้อย เวลาผ่านไปประมาณ ๑ ปี จนกระทั่งออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ชาวบ้านท่าขนุน นำโดยนายบุญธรรม นกเล็ก ก็ได้เดินทางไปกราบขอตัวหลวงปู่สาย เพื่อให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าขนุนตามที่ได้ตั้งใจไว้

    เมื่อหลวงปู่น้อยอนุญาต หลวงปู่สายพร้อมกับชาวบ้านท่าขนุน ก็ได้นั่งรถไฟล่องลงมาถึงกรุงเทพฯ แล้วต่อรถไฟมาลงที่สถานีวังโพ ของจังหวัดกาญจนบุรี จากนั้นลงเรือเดินทางมายังอำเภอทองผาภูมิ ถึงวัดท่าขนุนเมื่อวันพุธที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๗

    เมื่อมารับหน้าที่เจ้าอาวาส หลวงปู่สายก็ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์และพัฒนาวัดในทันที โดยทำการบูรณะมณฑปพระพุทธบาทสี่รอยจำลอง ศาลาโถง กุฏิเก่าอีก ๒ หลัง พร้อมกับลงมือสร้างอุโบสถอีกด้วย โดยได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านท่าขนุนอย่างเต็มที่

    เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรีในขณะนั้น คือ พระวิสุทธิรังษี (ดี พุทธโชติ) ได้มีหนังสือคำสั่งเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรีที่ ๑/๒๔๙๘ ลงวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๘ แต่งตั้งหลวงปู่สายเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าขนุนอย่างเป็นทางการ

    ส่วนอุโบสถวัดท่าขนุน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๘ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๗๒ ตอนที่ ๒๐ ลงวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ มีขนาดกว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๙ เมตร ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการโดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น

    หลวงปู่สายปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็งเด็ดขาด พระภิกษุสามเณรที่อยู่ใต้การปกครองของท่าน จะต้องปฏิบัติตามสีลาจารวัตรของพระเณรอย่างแท้จริง ผู้ใดบกพร่อง ท่านสั่งให้สึกหาลาเพศออกไปชนิดไม่ไว้หน้าใคร จนเป็นที่เลื่องลือกันว่าท่าน “ดุอย่างกับเสือ”

    แม้ว่าหลวงปู่สายจะได้รับความไว้วางใจจากเจ้าคณะปกครอง แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งถึงเจ้าคณะอำเภอทองผาภูมิ แต่ท่านก็มิได้ยึดติดในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข อันเป็นทางโลก ยังคงใฝ่ใจปฏิบัติในทางธรรมอย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีโอกาสก็ออกเดินธุดงค์ฝึกฝนกำลังใจตามความชอบเฉพาะตน จนภาระหน้าที่มีมากขึ้น จึงต้องหยุดการธุดงค์ไปโดยปริยาย

    แต่กระนั้นก็ตาม เมื่อความเบื่อในทางโลกเกิดขึ้นจนถึงที่สุด หลังจากได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอทองผาภูมิได้ไม่นาน หลวงปู่สายก็ทิ้งภาระทุกอย่าง ออกเดินธุดงค์เข้าป่าไปตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๔ นานถึง ๗ ปีเต็ม กว่าที่ญาติโยมจะได้ข่าวและตามไปกราบอ้อนวอน หลวงปู่จึงยอมกลับมายังวัดท่าขนุนอีกครั้งหนึ่ง

    เมื่อกลับมาแล้วหลวงปู่สายก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ ทั้งในตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอทองผาภูมิของตนเอง และช่วยทำหน้าที่เจ้าคณะอำเภอสังขละบุรีแทน หลวงพ่อเพิ่ม ชินวํโส (พระครูสังขบุรารักษ์) วัดวังปะโท่ ที่สุขภาพไม่ดี และหลวงพ่อเพิ่มท่านใช้คำว่า “ไม่เก่งงาน” จึงต้องขอให้หลวงปู่สายช่วยดูแลการปกครองคณะสงฆ์อำเภอสังขละบุรีให้ด้วย

    จากการทุ่มเทปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลัง จนขาดการพักผ่อนที่พอเพียง ทำให้สุขภาพของหลวงปู่ทรุดลง โรคภัยต่าง ๆ จึงรุมเร้าสังขารร่างกายของท่าน จนต้องรักษาพยาบาลเพื่อประทังเอาไว้ แต่ท้ายที่สุดสังขารร่างกายก็ไม่อาจจะฝืนทนอยู่ได้ หลวงปู่จึงได้ถึงแก่มรณภาพลง เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ ณ โรงพยาบาลเดชา กรุงเทพมหานคร

    คณะศิษย์ได้ร่วมกันทำบุญถวายแก่หลวงปู่สาย จนกระทั่งครบปีจึงเปิดโลง เพื่อจะนำสังขารของท่านมาเผาตามประเพณี แต่ปรากฏว่าสังขารของท่านมิได้เน่าเปื่อยแต่ประการใด เพียงแต่แห้งไปเฉย ๆ จึงพร้อมใจกันเก็บสังขารของท่านเอาไว้เป็นมิ่งขวัญแก่ศิษยานุศิษย์สืบมา

    พระครูวิลาศกาญจนธรรมได้ทำการเปลี่ยนผ้าครองถวายแก่หลวงปู่สาย ตั้งแต่ปีแรกมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งยังได้เปลี่ยนโลงแก้วธรรมดา เป็นโลงแก้วประดับมุกถวายแก่หลวงปู่ จึงได้พบลายมือของหลวงปู่ที่เขียนติดข้างฝากุฏิไว้ ลงวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่า “ลำพองอย่าลืมโลงกระจก” แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า หลวงปู่ท่านทราบวาระสุดท้ายของท่านล่วงหน้ามานานแล้ว ถึงได้สั่งให้เตรียมโลงแก้วไว้บรรจุศพของท่านด้วย

    อุบาสิกาชื่น ศรีสองแคว หัวหน้าแม่ชีวัดท่าขนุนเล่าว่า ช่วงเข้าพรรษาปี ๒๕๓๕ เมื่อพระภิกษุสามเณรทั้งอำเภอมากราบทำวัตร หลวงปู่สายได้นำเอาเหรียญของท่านมาแจกให้ทุกรูป พร้อมกับบอกว่า “แจกเป็นครั้งแรกและเป็นครั้งสุดท้าย” แต่ทุกรูปก็ไม่ได้เอะใจว่า หลวงปู่ท่านได้บอกเป็นนัยว่า ท่านหมดอายุขัยแล้ว

    ทุกวันนี้สังขารร่างกายของหลวงปู่สาย ยังอยู่เป็นมิ่งขวัญกำลังใจแก่ลูกศิษย์ทั้งหลาย ณ วัดท่าขนุน คณะศิษยานุศิษย์ได้จัดให้มีการทำบุญถวายแก่หลวงปู่ทุกวันที่ ๑๔ ของเดือน และทำบุญใหญ่ประจำปีถวาย ทุกวันที่ ๑๔ กันยายน ติดต่อกันมาทุกปีมิได้ขาด


    ที่มา: watthakanun.com



    62491693_1573157416148559_7116852159131418624_n.jpg
    (หลวงปู่สาย วัดท่าขนุน)
     
  10. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    62484771_1573976922733275_2758956750362116096_n.jpg


    หลวงพ่อสาย วัดท่าขนุน

    หลวงพ่อสาย อคฺควํโส (พระครูสุวรรณเสลาภรณ์) แห่งวัดท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี มีอะไรดีหรือ..? หลวงพ่ออุตตมะ (พระราชอุดมมงคล) ผู้เปรียบเสมือนเทพเจ้าของชาวมอญทั้งหลาย จึงต้องแวะกราบทุกครั้งที่ผ่านทางมา...

    ในสายตาของชาวบ้านทั่วไป หลวงพ่อสายคือพระแก่ขี้โมโห ผิดท่าผิดทางขึ้นมาเป็นด่าแหลก แต่ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่า ท่านด่าก็เพราะเราผิดจริง ๆ ถ้าเราแก้ไขตามที่ท่านด่าแล้ว เราก็จะไม่ผิดอีก ส่วนมากที่ผิดก็เป็นความผิดชวนลงนรกเสียด้วย...! คนเราถึงจะโกรธง่ายหายเร็วขนาดไหน ก็คงไม่โกรธปุ๊บหายปั๊บอย่างท่านหรอก พวกเราดูหลวงพ่อท่านแต่เปลือกเท่านั้น ลองดูลึกเข้าไปในใจของท่านด้วยสิ แล้วท่านจะทราบว่า หลวงพ่อโกรธแต่เปลือกเท่านั้น และเป็นการแกล้งโกรธ เพื่อช่วยกันนรกให้กับพวกเราแท้ ๆ...!

    ในสายตาของพระเณรแล้ว หลวงพ่อสายคือเจ้าอาวาสผู้เฉียบขาด ทำผิดพระธรรมวินัยขึ้นมา ท่านจับสึกลูกเดียว แค่เณรขาดทำวัตร ครั้งแรกครั้งที่สองไม่เป็นไร ครั้งที่สามหลวงพ่อจะเรียกตัวเข้ามา สั่งสั้น ๆ ว่า “เณร...พรุ่งนี้สึกนะ...ไปหาเสื้อผ้ามา...” เราอาจจะเห็นว่าท่านโหดเกินไป แต่เราเคยคิดบ้างหรือไม่..? ว่าพระเณรนั้นทำตัวสมควรแล้วหรือ..? เป็นปูชนียบุคคล ชาวบ้านเขาเคารพบูชา ไม่รักษาสมณสารูป ไม่สวดมนต์ทำวัตร ไม่บิณฑบาต ไม่ทำกรรมฐาน ศีลขาดศีลแหว่ง แล้วเอาอะไรไปให้ชาวบ้านเคารพ..? สะสมแต่ความเลวเต็มตัว แต่อยู่ในคราบพระคราบเณรที่ใคร ๆ คิดว่าดี ชาวบ้านเขาเคารพนบไหว้ ยกปัจจัยไทยธรรมทูนหัวถวาย ไปกินไปใช้อยู่บนหัวชาวบ้านเขา ก็มีแต่จะลงนรกลึกไปทุกที หลวงพ่อท่านตัดกรรมอันหนักให้ ยังคิดว่าท่านโหดร้ายอีกหรือ..?

    บรรดาท่านผู้มีอิทธิพล เอาลูกมาบวชกับหลวงพ่อ ไอ้ลูกก็คิดว่าพ่อกูใหญ่ คิดจะทำอะไรก็ทำตามใจ ไม่เคยคิดว่าตอนนี้โกนหัวห่มเหลืองแล้ว ใหญ่เท่าใหญ่ เป็นเจ้าพ่อเจ้าแม่สถิตศาลไหนก็มาเถอะ หลวงพ่อท่านจับสึกกลางพรรษามานักต่อนักแล้ว..! อย่าโกรธหลวงพ่อเลยคุณเอ๋ย.. ลูกเราเลวก็ต้องยอมรับว่ามันเลว นักเลงแท้ต้องกล้าสู้ความจริง อย่าให้ความอคติมาปิดตาบังใจ ไปโกรธพระผู้บริสุทธิ์อย่างหลวงพ่อ มีแต่จะพาให้ตัวเองพลอยลงนรกไปด้วย..!

    หลวงพ่อท่านไม่มาจ้ำจี้จ้ำไช สอนซ้ำสอนซากอยู่หรอก คนดีรับคำสอนไปครั้งเดียวก็ต้องถือปฏิบัติตลอดชีวิต บางอย่างท่านก็ไม่สั่งไม่สอน เพียงแต่ทำตัวเป็นตัวอย่างให้ดูเท่านั้น ใครจดจำนำไปปฏิบัติ ก็จะเป็นคุณอันใหญ่แก่ตนอย่างหาที่เปรียบไม่ได้...

    นักบวชสมัยนี้ ส่วนมากบวชเข้ามาแสวงหาลาภยศชื่อเสียง อยากเด่นอยากดัง อยากมีคนกราบไหว้มาก ๆ ทั้งที่ไม่ได้ทำความดีอะไร ที่พอจะให้ชาวบ้านเขาไหว้สักนิด เรื่องแบบนี้จะไม่มีในองค์หลวงพ่อเป็นอันขาด ท่านทิ้ง ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข หนีเข้าป่ามาแล้ว... ยังจำวันที่ต้องยกขบวนไปตามหลวงพ่อกลับมากันได้ไหม..? แล้วท่านต่อรองว่า ต้องไม่ให้ท่านรับตำแหน่งใด ๆ เป็นอันขาด ไม่อย่างนั้นท่านจะไม่กลับ พวกเราต้องยอมทุกอย่าง กว่าจะน้อมเชิญท่านกลับมาเป็นมิ่งขวัญอย่างเดิมได้...

    แล้วนี่หลวงพ่อเพิ่งจะหมดลมหายใจ สังขารยังไม่ทันเย็นด้วยซ้ำไป พวกท่านก็แย่งชิงตำแหน่ง ประจบประแจงวิ่งเต้นเป็นการใหญ่ จะทำอะไรอย่าได้แสดงกิเลสในใจออกมานอกหน้ามากนักสิครับ..น่าทุเรศแก่ผู้พบเห็นยิ่งนัก..!

    อาตมาก็ศิษย์มีครู ขอบอกกับท่านทั้งหลายโดยไม่เกรงว่าจะเสียถึงครูบาอาจารย์ หลวงพ่อสายนั้นท่านเป็นพระทองคำทั้งองค์ ซึ่งจะคงความบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์ไปตราบชั่วฟ้าดินสลาย ใครมาอยู่วัดท่าขนุน จะยิ่งใหญ่มาจากไหน ถ้าไม่เอาแบบอย่างของหลวงพ่อก็พังแน่ ๆ..!

    หลวงพ่อสายท่านเป็นศิษย์ของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ ครูบาอาจารย์ที่ยอดยิ่งปานนั้น หลวงพ่อท่านจะไม่ได้อะไรดีมาบ้างเชียวหรือ..? คุณเอ๋ย...สังวรกันไว้สักนิดเถิด เราเป็นนักบวช เป็นผู้สละแล้วซึ่งทุกสิ่ง เพื่อความดับสิ้นโดยไม่มีเชื้อ หากคุณหาฟืนหาไฟสุมตัวเองไว้ตลอดเวลา ก็เท่ากับว่าคุณเผาตัวเองแท้ ๆ ถึงเวลาหมดลมหายใจขึ้นมา คุณจะกลับตัวกลับใจก็ไม่ทันเสียแล้ว...

    "เราไม่กลัวความผิด เพราะเรามีหิริโอตตัปปะ
    เราไม่กลัวราคะ เพราะเราไม่ดำริ
    เราไม่กลัวมิจฉาทิฏฐิ เพราะเรารู้แจ้ง
    เราไม่กลัวความแห้งแล้ง เพราะเราอยู่กับพระนิพพาน"

    คำสอนของหลวงพ่อที่พระครูวินัยธร วัดคู่สองบันทึกไว้ แสดงถึงภูมิธรรมอันบริสุทธิ์ยิ่งของหลวงพ่อ อาตมาขอเทิดไว้เหนือเกล้าและยึดมั่นเป็นแบบอย่างตลอดสิ้นกาลนาน...

    ๓๐ กันยายน ๒๕๓๕
    พระใบฎีกาเล็ก สุธมฺมปญฺโญ

    บันทึกเพิ่มเติมเรื่องหลวงพ่อสาย วัดท่าขนุน (๑)

    เดินทางกลับจากการไหว้รอยพระพุทธบาทที่ลิ่นถิ่น ตั้งใจจะไปกราบหลวงพ่อสายที่วัดท่าขนุน รถวิ่งมาได้หน่อยหนึ่งก็รู้สึกพิกล เห็นหลัก กม. “อีก ๒๐ กม. ถึงทองผาภูมิ ” อาตมาบอกทุกคนช่วยสังเกตหลักต่อไปให้ดี “หลวงพ่อสายท่านเล่นตลกกับพวกเราแล้ว...” หลักต่อมาที่เห็นคาตาทุกคนคือ “อีก ๘ กม. ถึงทองผาภูมิ” หายไปไม่มากหรอก แค่ ๑๒ กม. เท่านั้นเอง...! พอถึงวัดหลวงพ่อท่านนอนหลับไม่รู้ไม่ชี้ อาตมาเลยนั่งหลับบ้าง ดูว่าใครจะนั่งทนกว่ากัน...

    ทันใดนั้นเอง..อักขระขอมตัวเบ้อเริ่มก็สว่างจ้าขึ้นที่กลางอกของหลวงพ่อ อ่านว่า “ณะ” ซึ่งย่อมาจาก “จรณะ” ที่แปลว่า “แบบอย่าง” ท่านบอกตรง ๆ ว่า อย่าดูกันแค่เปลือก แบบอย่างใดดีก็เลือกนำไปประพฤติปฏิบัติ สาธุ...

    ๒๕ มีนาคม ๒๕๓๔
    พระใบฎีกาเล็ก สุธมฺมปญฺโญ


    บันทึกเพิ่มเติมเรื่องหลวงพ่อสาย วัดท่าขนุน (๒)

    ตอนเช้าสวดมนต์-ไหว้พระ กราบอธิษฐานเรื่องที่จะไปดูภูเขาทอง แล้วเดินทางไปกราบหลวงพ่อสาย ไปถึงยังไม่ทันโมงเช้าเลย หลวงพ่อสายท่านห่มดองพาดสังฆาฏิเรียบร้อย นั่งรอรับอยู่แล้ว...

    “ไปเถอะ...ไปดู ไปรู้ ไปเห็นด้วยตัวเอง คนอื่นบอกไม่เหมือนกับที่เราเห็นด้วยตาตัวเองหรอก...” หลวงพ่อท่านพูดออกมา แทบจะเลียนประโยคชนิดคำต่อคำจากคำอธิษฐานของอาตมาเมื่อเช้านี้เลย...!

    ๙ ธันวาคม ๒๕๓๔
    พระใบฎีกาเล็ก สุธมฺมปญฺโญ

    บันทึกเพิ่มเติมเรื่องหลวงพ่อสาย วัดท่าขนุน (๓)

    หญิงแอ๊ว (คุณอุไร สุวรรณธรรมา) พาอาตมากับท่านชาติชาย มากราบสังขารหลวงพ่อสายที่มรณภาพครบ ๑๐๐ วัน ทันทีที่กราบลงก็ “เห็น” หลวงพ่อสายท่านแสดงการละสังขารสู่ความเป็นพระแท้ต่อหน้าต่อตา..กราบเรียนท่านว่า “แบบนี้ผมรู้เพียงคนเดียว เอาแบบที่คนอื่นเขารู้ด้วยสิครับ...” ท่านบอกว่า “เดินหาดูเอาเอง อยู่แถวนั้นแหละ...” อาตมาเดินไปถึงตราตั้งของหลวงพ่อก็ตกตะลึง...พระธาตุขึ้นเต็มกระจกกรอบตราตั้งเลย...!


    ๒๒ ธันวาคม ๒๕๓๕
    พระใบฎีกาเล็ก สุธมฺมปญฺโญ


    ที่มา: watthakhanun.com
     
  11. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    64266656_1575761392554828_8123418405404409856_n.jpg

    64524850_1575761439221490_5344338161302503424_n.jpg

    62498503_1575761405888160_2785314999017406464_n.jpg


    พระพุทธรูปลีลาประทานพร ๘๔ พรรษาธรรมิกราช

    "เด็กวัด" คำนี้หากเป็นสมัยก่อนย้อนถอยหลังไปหลายสิบปีก็มักจะหมายถึงเด็กที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่สามารถที่จะดูแลได้ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดเช่นไม่มีเงินทองพอ หรือดื้อเกเรมาก จึงต้องส่งมาอยู่วัด อาศัยบารมีพระคุณเจ้าท่านช่วยเลี้ยงดู นั้นเป็นภาพเมื่อสมัยก่อน หากแต่ยุคปัจจุบัน เด็กวัด หลายๆวัดๆไม่ได้อยู่ในคำนิยามเหล่านั้นอีกต่อไปแล้ว หลายๆคน มีฐานะหน้าที่การงานที่ดีอยู่แล้ว แต่เลื่อมใสในจริยาวัตรแห่งครูบาอาจารย์ผู้ประฟฤติดีปฏิบัติชอบ คนเหล่านี้จึงอุทิศตนเข้ามาช่วยงานวัดตามแต่โอกาสเวลาที่จะสละมาได้ บ้างมาช่วยปัดกวาดเช็ดถู บ้างมาช่วยล้างห้องน้ำ บ้างมาช่วยจัดสถานที่ บ้าง... ฯลฯ ตามความรู้ความสามารถ เป็นการช่วยเพิ่มพูนบุญกุศลอีกย่างหนึ่ง

    หลังจากที่เดินออกมาจากศาลาร้อยปีหลวงปู่สาย กำลังจะใส่รองเท้ากัน ก็เจอเข้ากับ "เด็กวัด" ผู้มีอัธยาศัยดี ได้ทักทายคณะเราว่ามาจากไหนกัน คุยกันอยู่พอสมควร แกก็แนะนำสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆภายในวัด ที่ใกล้ที่สุด็คือพระพุทธรูปลีลาประทานพรที่แกะจากหินแม่น้ำโขงองค์นี้แหละ และยังแนะนำสถานที่ต่างๆให้อีก



    ***************

    พระพุทธรูปลีลาประทานพร ๘๔ พรรษาธรรมิกราช

    พระพุทธรูปลีลาประทานพร สูงจากฐานถึงยอดพระเกตุมาลา ๒๘๔ เซนติเมตร สร้างเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๗ รอบ (๘๔ พรรษา)

    แกะสลักจากหินเขียวแม่น้ำโขง โดยร้านองอาจแกะสลักหิน ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีครอบครัวคุณวิทย์ – คุณกฤษณา – คุณกนกวลี วิริยประไพกิจ เป็นเจ้าภาพ รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นหนึ่งล้านหนึ่งแสนบาทถ้วน


    ที่มา: watthakhanun.com
     
  12. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,585
    ค่าพลัง:
    +53,107
    พระปิดตาหลวงปู่สี มหาลาภ นะมิ ปี2517 1566204426764.jpg 1566204425511.jpg 1566204421202.jpg
     
  13. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    พระผงอิทธิเจไตรมาส.jpg

    พระผงอิทธิเจไตรมาส1.jpg


    พระผงอิทธิเจไตรมาส
    หลวงพ่ออุตตมะ วัดว้งก์วิเวการาม

    พรงผงอิทธิเจไตรมาสนี้จะมีการสร้างหลายวาระและมีหลายพิมพ์แต่เนื้อหามวลสารจะเหมือนกันโดยมีผงอิทธิเจของหลวงพ่ออุตตมะที่ท่านได้เขียนและลบเป็นเวลาหลายปีเป็นมวลสารหลัก ผู้สร้างคือคุณบุญส่ง ไหลธนานนท์ เป็นประธานจัดสร้าง ได้รวบรวมมวลสารพระเครื่องเก่าๆที่แตกหักชำรุด ผงกรุต่างๆ กระเบื้องโบสถ์ เป็นต้น เนื้อหาจึงดูเข้มขลัง


    hv.jpg

    69186101_1632894273508206_5517054099243139072_o.jpg
     
  14. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    60259956_1550721358392165_1293312513655439360_n.jpg

    อิทธิคุณบุญบารมีในวัตถุมงคล
    หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม

    โดยบุญส่ง ไหลธนานนท์

    ประมาณปี พ.ศ.2520 สโมสรโรตารี่ จังหวัดนครปฐม ได้เชิญ นาย สานนท์ สายสว่าง(วุฒิสมาชิก) มาเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ ประจำสัปดาห์ของสโมสร ท่านเล่าว่า มีลุงอยู่เมืองกาญจน์ท่านหนึ่งป่วย โดยหมอตรวจเช็คว่าเป็น มะเร็งในกระเพาะอาหาร ไม่สามารถจะรักษาได้ มีชีวิตอยู่ได้ 6 เดือน คุณลุงท่านนั้นไปรักษาตามมีตามเกิดของท่าน วันหนึ่งท่านได้ไปถึงวัดแห่งหนึ่ง ได้พบพระภิกษุท่านหนึ่ง โดยคุณลุงได้กราบเรียนพระภิกษุรูปนั้นว่า จะมาให้ท่านรักษา หมอหลวงบอกว่าเป็นมะเร็งไม่สามารถจะรักษาได้ จึงอยากจะมาให้หลวงพ่อรักษา พระภิกษุองค์นั้นได้ตอบว่า ได้ จะรักษาให้ โดยให้ไปนำผงธูปที่กระถางธูปมาให้ท่าน แล้วท่านก็ได้อธิษฐานและเสกผงธูปดังกล่าว แล้วส่งให้คุณลุงท่านนั้นไปรับประทาน หลังจากรับประทานแล้ว ร่างกายก็อ้วนขึ้น สมบูรณ์ และหายเป็นปกติ

    หลังจาก 6 เดือนแล้ว คุณลุงท่านนั้นก็ไม่ตายตามที่แพทย์ได้วินิจฉัยอาการ อยู่มาวันหนึ่งคุณลุงท่านนั้นก็ได้ไปรักษาไข้หวัดที่ โรงพยาบาล กาญจนบุรี นายแพทย์ที่เคยตรวจพบโรคมะเร็งจำคุณลุงได้แล้วถามว่า คุณลุงคือ คนที่ผมเคยบอกว่าจะอยู่ได้เพียง 6 เดือนเท่านั้นใช่ไหม แต่ปรากฏว่าคุณลุงไม่ตาย แถมร่างกายยังสมบูรณ์อ้วนท้วมกว่าเดิมจึงแปลกใจ แล้วขออนุญาตนำคุณลุงท่านนี้เข้าเอกซเรย์อีกครั้ง ปรากฏผลที่ฟิล์มเอกซเรย์ไม่มีก้อนเนื้อมะเร็ง กลับปรากฏในฟิล์มเอกซเรย์มีคำว่า เยธัมมา ติดอยู่ในฟิล์ม ทำให้นายแพทย์ท่านนั้นได้ถามคุณลุงว่า ไปรักษาที่ไหน หมอให้ทานยาอะไร คุณลุงตอบว่า ไปรักษากับหลวงพ่อ ท่านให้ผมทานผงธูปที่ท่านเสก พระภิกษุท่านนั้นคือ พระเดชพระคุณ หลวงพ่ออุตตมะ แห่ง วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี

    นับตั้งแต่ผมได้ฟังคำเล่าของ นาย สานนท์ สายสว่าง วุฒิสมาชิกเล่าแล้ว ผมมีความศรัทธาในองค์หลวงพ่อเป็นอย่างมาก พอดีในช่วงนั้นท่าน วีระ ภูศรี ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ประจำกระทรวงอยู่ศาล กาญจนบุรี มีความสนิทสนมกับผมมาก จึงเรียนให้ท่านวีระ ภูศรี ว่า หาก หลวงพ่ออุตตมะ เข้ามาในตัว จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อใด ให้โทร.บอกด้วย ผมจะไปกราบนมัสการท่าน

    วันหนึ่ง หลวงพ่ออุตตมะ ได้เข้ามาในตัวเมือง ท่านวีระจึงบอก หลวงพ่ออุตตมะ ว่า เพื่อนที่อยู่นครปฐมจะมากราบท่าน ท่านบอกว่า ไม่ต้องมา อีกสามวันหลวงพ่อจะไปพบที่บ้านของเขา นับตั้งแต่บัดนั้นคือ ปี พ.ศ.2522 หลวงพ่ออุตตมะ ก็ได้มาเป็นประธานในการทำบุญประจำปีที่บ้านของผมทุก วันที่ 10 ธันวาคม ทุกปี จนกระทั่งท่านมรณภาพ ในระหว่างที่ผมใกล้ชิดกับ หลวงพ่ออุตตมะ ได้มีโอกาสสร้างพระเครื่องถวายท่านหลายครั้งหลายรุ่น โดยบางรุ่นก็สร้างร่วมกับผู้ที่เคารพนับถือ อาทิเช่น
    1. ท่าน อธิบดีผู้พิพากษา วีระ ภูศรี
    2. ท่าน อดีตผู้ว่าราชการจังหวัด และ กรรมการ ปปช. ณัฏฐ์ ศรีวิหค
    3. ท่าน สุนทร แก้วพิจิตร นายกเทศมนตรีนครปฐม หลายสมัย
    4. ดร.วรกาญจน์ สุขสดเขียว
    5. นาย สมเกียรติ อภิเนาวนิเวศน์
    6. นาย สุเทพ ไทยวัฒนานนท์
    7. นาง สุภาภรณ์ ไหลธนานนท์ อดีตนายกพุทธสมาคมนครปฐม
    8. นาย สุธน ศรีหิรัญ

    เฉพาะพระผงทุกรุ่น ท่านจะมอบผงอิทธิเจที่ท่านทำไว้ในสมัยธุดงค์ให้มาเป็นส่วนผสมสำคัญ โดยภายใต้การอำนวยการสร้างจาก พระพิพัฒน์วิริยาภรณ์ (ผูก) ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์นครปฐม มีส่วนสำคัญในการผสมมวลสารและพิมพ์องค์พระ โดยนิมนต์พระภิกษุ-สามเณรภายใน วัดพระปฐมเจดีย์ มาเป็นผู้ตำผงและกดพิมพ์ ในบรรดาพระผงที่สร้างขึ้นมีอยู่พิมพ์หนึ่งเป็นพิมพ์ที่ หลวงพ่ออุตตมะ มีความชอบใจมาก และเคยบอกว่า รุ่นนี้จะมีอนาคต ใช้แทนพระของขวัญของ หลวงพ่อวัดปากน้ำ ได้ คือ พิมพ์สี่เหลี่ยมอุดมสุข

    หลวงพ่ออุตตมะ เป็นพระเถระที่ผมและครอบครัวเชื่อมั่นอย่างสนิทใจว่า ท่านเป็นพระเถระผู้มีศีลาจารวัตรบริสุทธิ์ผุดผ่อง จากการสังเกตของผมและครอบครัวมายาวนานนับสิบปี หลายครั้งที่ผมและครอบครัวได้สัมผัสกับปรากฏการณ์ที่น่าจะกล่าวได้ว่าเป็น ปาฏิหาริย์ ของ หลวงพ่ออุตตมะ ซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางสายตาที่เห็นของหลายคน โดยครั้งหนึ่งในจำนวนนั้นที่น่าจะกล่าวถึงคือ พิธีปลุกเสก พระผงสมเด็จปรกโพธิ์ ที่ผมสร้างถวาย วัดพระงาม เพื่อให้วัดพระงามแจกให้กับคนทำบุญและฉลองพระที่สอบได้เปรียญเก้าประโยค 5 รูป เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2545 เหตุการณ์ครั้งนั้นคือ หลวงพ่ออุตตมะ ได้นั่งอธิษฐานจิตปลุกเสกพระชุดนี้ที่ วัดวังก์วิเวการาม เวลาประมาณ 21.30 น. มีผู้คนที่ไปกับผมหลายท่านนั่งดูอยู่ เมื่อหลวงพ่อปลุกเสกไปได้ประมาณ 30 นาที ก็มีไฟลุกขึ้นที่ กล่องพระสี่กล่อง โดยไม่มีใครคาดคิดมาก่อน เพราะไม่มีชนวนหรือเชื้อไฟอยู่ในบริเวณนั้นเลย

    ปาฏิหาริย์ ของ หลวงพ่ออุตตมะ มีมากมายที่ผมได้พบเห็นเกินกว่าจะนำมากล่าวได้หมด เพราะรุ่นนี้เมื่อแจกไปแล้วมีประสบการณ์ คือ คุณ สุธาพร สงค์มณี อยู่บ้านเลขที่ 49/1 ถนนทิพากร อ.เมือง จ.นครปฐม เช่นเดียวกัน

    คุณสุธาพร มีอาชีพเป็นแม่ค้าขายอาหารตามสั่ง อยู่ข้างเทศบาลเมืองนครปฐม มีลูกค้าหนาแน่นเนื่องจากมีฝีมือดี แต่ที่คุณสุธาพรยืนยันว่า ที่ขายดีมีลูกค้ามากก็เนื่องจากแขวน พระสมเด็จปรกโพธิ์ของ หลวงพ่ออุตตมะ ซึ่งได้รับแจกมาจาก วัดพระงาม หลังจากได้พระสมเด็จปรกโพธิ์มาก็เลี่ยมแขวนคอเพียงองค์เดียวเท่านั้น และตั้งแต่แขวนแล้วก็ทำให้การค้าขายดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตา ลูกค้ามาจนไม่มีเวลาว่าง และเหตุการณ์ที่คุณสุธาพรตื่นเต้น เหนือความจริงที่จะเป็นไปได้ก็เกิดขึ้นกับคุณสุธาพร เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2546 เวลา 18.30 น. ขณะคุณสุธาพรขี่มอเตอร์ไซค์เพื่อไปเก็บเงินกู้ ซึ่งเป็นอีกอาชีพหนึ่งของคุณสุธาพร ขณะขี่มอเตอร์ไซค์ไปทาง วัดพะเนียงแตก สังเกตเห็นมีคนขี่มอเตอร์ไซค์ตามมาสองคน พอสังเกตเห็นยังไม่ทันระวังตัว คนร้ายก็เร่งเครื่องเข้ามาประกบรถของคุณสุธาพร แล้วคนร้ายที่นั่งซ้อนมอเตอร์ไซค์มาก็ชักปืนยิงเข้าที่หน้าอกของคุณสุธาพร ความแรงของปืนทำให้คุณสุธาพรและรถล้มลงทันที คนร้ายเร่งเครื่องหลบหนีไป ชาวบ้านที่ได้ยินเสียงซึ่งอยู่บริเวณนั้นออกมาดู แล้วช่วยพาคุณสุธาพรส่งสถานีอนามัยที่อยู่ใกล้ๆ กันนั้น ปรากฏว่าบริเวณหน้าอกเป็นรอยช้ำแดง แต่ไม่มีบาดแผลแต่ประการใด สร้างความแปลกใจให้ผู้ที่พบเห็นมาก ทุกคนขอดู พระเครื่องที่แขวนคออยู่เพียงองค์เดียวของ คุณ สุธาพร คือ พระผง สมเด็จปรกโพธิ์ ที่ หลวงพ่ออุตตมะ ปลุกเสก และคุณสุธาพรได้มาจาก วัดพระงาม นับเป็นปาฏิหาริย์ที่คุณสุธาพรบอกว่า เป็นเพราะบารมีของ หลวงพ่ออุตตมะ โดยแท้ที่ช่วยให้เธอรอดชีวิตมาได้

    คุณสุธาพร สงค์มณี คุณทัศนีย์ ไหลธนานนท์ ภรรยาของผมเป็นผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาหลวงพ่อมาก ถึงขนาดพูดเย้าหยอกเล่นกับหลวงพ่อได้ โดยหลวงพ่อก็ให้ความเมตตาเหมือนลูกสาวคนหนึ่ง โดยเฉพาะวันตรุษจีนทุกปี หลวงพ่ออุตตมะ มาทำพิธีอาบน้ำมนต์ให้ครอบครัวและเพื่อนของผม ทุกครั้งภรรยาผมมักจะชอบขอ แตะเอีย จากหลวงพ่อเสมอๆ ครั้งหนึ่งหลวงพ่อบอกว่า ให้ไป 23 สตางค์ หวยงวดนั้นก็ออก 23 ไม่มีผิดเพี้ยน ก่อนท่านมรณภาพไม่นานนัก ภรรยาของผมก็เย้าหลวงพ่ออีกครั้งก่อนหวยออกไม่กี่วันว่า งวดนี้จะแตะเอียเท่าไหร่ หลวงพ่ออุตตมะ บอกว่า เอาไป 95 ภรรยาของผมต้องการความแน่ใจจึงแกล้งย้ำกับหลวงพ่อว่า หลวงพ่อ กล้าคอนเฟิร์มไหม หลวงพ่อก็พยักหน้ารับว่า คอนเฟิร์ม

    อีกไม่กี่วันต่อมาก็เป็นวันที่หวยออก ตอนเช้าวันนั้น หลวงพ่ออุตตมะ ให้ลูกศิษย์ชื่อ วรพร โทร.มาบอกภรรยาผมอีกครั้งว่า คอนเฟิร์ม ตกตอนบ่ายหวยงวดนั้นก็ออก 95 เรื่องการให้หวยของ หลวงพ่ออุตตมะ นั้น หลวงพ่อไม่ได้ให้ทั่วไป นอกจากจะให้เป็นบางคนที่หลวงพ่อเห็นว่า มีโอกาส มีโชค และไม่ลุ่มหลงอยู่ในการพนันเพียงอย่างเดียว ภรรยาของผมเองก็ไม่ใช่นักเล่นหวย แต่เป็นการเย้าแหย่หลวงพ่อ และ เพื่อสร้างความมั่นใจว่า หลวงพ่ออุตตมะ มีปาฏิหาริย์ที่เชื่อได้จริงๆ

    วันที่ 10 ธันวาคม ทุกปี เคยมี หลวงพ่ออุตตมะ มาเป็นประธานทำบุญที่บ้านของผม ท่ามกลางผู้หลักผู้ใหญ่และเพื่อนฝูงจำนวน 700 กว่าคนทุกปี ใครอยากพบ หลวงพ่ออุตตมะ ก็จะเป็นที่รู้กันว่า วันที่ 10 ธันวาคม ต้องไปที่บ้านผมก็จะได้มีโอกาสได้พบ หลวงพ่อ ทุกคนที่มาในงานก็จะได้รับความเมตตาจากหลวงพ่อทั้ง พวงประคำและพระเครื่อง จนเป็นที่กล่าวขวัญกันทั้งจังหวัดนครปฐม ทุกคนตั้งใจรอคอยวันที่ 10 ธันวาคม เพื่อจะได้มีโอกาสได้กราบ หลวงพ่ออุตตมะ และได้รับความเมตตาจากหลวงพ่อ
    แต่วันที่ 10 ธันวาคมปีนี้ และปีต่อไป จะไม่มีโอกาสเช่นนั้นอีกแล้ว คงเหลือไว้แต่ความทรงจำอันเป็นมหามงคลที่ควรค่าแก่การระลึกถึงตลอดกาลนาน
     
  15. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    DSC_2011.jpg


    อิทธิคุณ บุญบารมี เทพเจ้าแห่งสังขละ
    หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม

    - คำสอนของหลวงปู่อุตตมะ "เมตตาธรรมเท่านั้นที่จะเอาชนะทุกสิ่งทุกอย่างได้..."

    - สมัยหลวงปู่ยังเเข็งเเรงท่านนั่งรับโยมบนศาลาไม้หลังเก่า กระทาชายนายหนึ่งดื่มสุราจนเช้า แต่วิสัยของชาวมอญในวันพระอย่างไรก็ต้องไปวัด พอเท้าก้าวขึ้นศาลาเท่านั้น กระโถนข้างหลวงปู่ก็ลอยละลิ่วมาถูกหัวหนุ่มคนนั้นทันที อะไรมันจะแม่นปานนั้น... ศาลาหลังนั้นก็ประมาณศาลาใหญ่วัดท่าขนุน ระยะประมาณท้ายศาลา กับตรงที่พระอาจารย์นั่งเป่ายันต์เห็นจะพอกัน
    หลังจากนั้น คำพรจากหลวงปู่ก็พรั่งพรูออกมา ใครจะลองที่วัดท่าขนุนบ้างผมก็ไม่ว่านะครับ แฮ่ ๆ

    - ก่อนเข้าพักผ่อนคืนหนึ่งท่านถามว่า "พรุ่งนี้ฎีกาโยม(พระตำหนักพัทยา) กี่โมง" พวกเราก็บอกว่า ฉันเพลออกตอนแปดโมงเช้าก็ทันครับ (ออกจากสาย ๒ พุทธมณฑล)

    ท่านก็ทำวัตรค่ำเสร็จ ก่อนเข้าห้องนอน ท่านก็หันมาสั่งว่า "พรุ่งนี้ออกตีสี่นะ"
    พวกเราก็โอดครวญ (หลังจากท่านเข้าห้องแล้ว ฮ่า ๆ ขืนเป็นต่อหน้าก็ซวยสิครับพี่น้อง ) "โห ทำไมหลวงปู่ต้องรีบด้วย" ฎีกาก็บอกแล้วว่าสิบโมงเช้า
    พอไปถึงพระตำหนักตอนเช้า "ฉันเช้าครับพี่น้องครับ" เจ้าพนักงานพิมพ์ฎีกาผิดหรือเขาเลื่อนขึ้นมาก็ไม่ทราบ ที่แน่ ๆ งานนั้นก็ยังสงสัยว่า ท่านไปเอาฎีกาใหม่มาจากไหน ?


    - พระคาถาภาวนาเวลาชักลูกประคำ ที่หลวงปู่ ใช้ คือ “นะโมพุทธายะ ยะธาพุทโมนะ มะอะอุ อุอะมะ”
    หรือ ถ้าจะใช้บทสั้นกว่านั้น ก็คือ “อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ”
    แต่เท่าที่เคยได้ยิน คาถาชินบัญชร ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ท่านก็ใช้ด้วยครับ

    - มีน้องที่ดูแลหลวงปู่เล่าว่า ขณะถวายการรับใช้หลวงปู่ นึกอยากจะไปกราบหลวงพ่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

    จึงกราบเรียนท่านว่า "ขออนุญาตไปกราบหลวงพ่อสมเด็จฯ แล้วจะรีบกลับมาครับหลวงปู่" ท่านก็ไม่ได้ว่าอะไร
    ครั้นพอไปถึงวัดทำวัตรค่ำเสร็จ หลวงพ่อสมเด็จฯ กำลังจะขึ้นพัก น้องเขากราบทำบุญ
    ท่านหันมายิ้ม จับมือ แล้วกล่าวว่า "กลับไปบอกหลวงพ่ออุตตมะด้วยว่า เราได้มาเจอกันแล้ว และจะไปเยี่ยมท่านวันหลัง"
    จึงสงสัยว่า ท่าน " โทรศัพท์ " หากันตอนไหน


    - พระมหาสุชาติ เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม รูปปัจจุบัน ท่านเล่าว่า

    "คืนหนึ่งหลังจากทำวัตรค่ำเสร็จ หลวงปู่ท่านกำลังสวดมนต์ประจำวันใช้เวลาไม่ต่ำกว่า ๒ ชั่วโมง มีทั้งภาษาไทยและภาษามอญ หลวงพี่ก็ลุ้นว่าเมื่อไรจะจบเสียทีเนื่องจากง่วงด้วย ล้าจากกิจวัตรประจำวัน ท่านก็ว่าของท่านไปเรื่อย ทีนี้มีบทหนึ่ง พระอภิธรรม ๗ บท รู้จักไหม ? ท่านไม่ได้สวดนานแล้ว ภาษามอญนะ
    เราก็ไปหยิบหนังสือมากางดู ไล่ตามทีละตัว ไม่ได้ตั้งใจจับผิดอะไร ดูตามไป ไม่น่าเชื่อ ไม่ผิดเลยสักคำ "อะ อา" อะไร ลงตามนั้นตรงเผงทุกคำเลย
    ท่านไม่เห็นหรอกว่าหลวงพี่ทำอะไร เพราะว่าท่านนั่งหน้าสุด เรานั่งหลัง พอจบ ท่านหันมาเลยนะ "ว่ายังไงมหาฯ..เราว่าผิดไหม ?"

    หลวงพี่นี่หงายหลังตึงเลย กราบขอขมาแทบไม่ทัน ตั้งแต่นั้นมาก็เลิกนะ ฮ่า ๆ"

    - หลังออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๔๗ มีพระมาลาสิกขากับหลวงปู่ ท่านให้โอวาทแล้วบอกว่า "พระที่จะสึกนี่ อย่าไปที่ที่มีทะเลกันนะ..ช่วงนี้ " พระก็ทำหน้างง ๆ กัน แต่ไม่มีใครกล้าถามอะไรต่อ ท่านก็เงียบ
    ภายหลังออกมา สืบสาวราวเรื่องกันได้ความว่า พระที่สึกวันนั้นตั้งใจจะไปเที่ยวทะเลที่ภูเก็ตกัน

    ต่อมา ประมาณต้นเดือนธันวาคมปีนั้นเอง หลวงปู่ก็นั่งมองออกไปนอกหน้าต่าง เงียบอยู่นานเป็นชั่วโมง เราก็อยากรู้ว่า "ท่านคิดอะไรอยู่" ความในใจครูบาอาจารย์ ใครจะไปกล้าคาดเดา
    เลยกราบเรียนถามท่านว่า "มีอะไรหรือครับ เห็นหลวงปู่มองออกไป เหมือนมีอะไร"
    ท่านตอบว่า "เรากำลังดูน้ำ" พอจะถามต่อ ท่านก็ชวนคุยเรื่องอื่นเสีย ในใจตอนนั้นได้แต่คิดว่า "สังขละ มันจะมีปัญหาเรื่องนั้น ที่ไหนหนอ ก็เห็นน้ำท่าบริบูรณ์ดี เขื่อนหรือก็น้ำเต็มปีนี้ "
    สุดท้าย วันที่ ๒๗ ธันวาคม ปีนั้นเอง ก็เกิดสึนามิ (tsunami) ที่ประเทศไทย ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาล ปัญญาของครูบาอาจารย์เกินความคาดเดาของเราจริง ๆ


    - เช้าวันหนึ่งมีคนมากราบหลวงปู่ ด้วยท่าทีที่รีบร้อนกระวนกระวาย กราบเสร็จหลวงปู่ถามว่า "มีอะไรหรือโยม"

    หนุ่มคนนั้น เรียนท่านว่า "ควายหายครับ "ไจ๊นง""
    หลวงปู่บอกว่า "เดี๋ยวเราดูให้" ว่าแล้วท่านก็ไปหยิบหนังสือข้างตัวมาเปิด พลิกไปพลิกมาสองสามหน้า
    แล้วท่านก็บอกว่า "โยมกลับไปรอที่บ้านเถอะ เดี๋ยวตอนเย็นจะเจอเอง"
    ใครจะไปเชื่อ "ควายหายทั้งตัวนะครับ "ไจ๊นง"" ไม่ใช่ตัวละบาทสองบาทเมื่อไร แต่ก็ขัดหลวงปู่ไม่ได้ต้องกลับบ้านไป
    เช้าวันรุ่งขึ้นหนุ่มคนเดิมนี่เอง หอบลูกจูงหลาน เอามะพร้าว ข้าวปลา ดอกไม้ ธูปเทียน ใส่กาละมังมา กราบขอบพระคุณหลวงปู่เป็นการใหญ่
    ถ้าตำราแม่นขนาดนี้ อยากจะได้สักเล่มจริง ๆ ให้ดิ้นตาย กลับไปเปิดหนังสือเล่มนั้นดู เอาไปให้พระท่านช่วยอ่าน
    อ้าว..! กลายเป็นบทสิบสองตำนานไปเสียอย่างนั้น เฮ้อ จบกัน ความหวังเรา


    - ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ วัดเกาะวังไทร นิมนต์หลวงปู่ไปงานที่วัด และขอจัดสร้างเหรียญที่ระลึกในงานนี้ด้วย

    สมัยนั้น การเดินทางจากวัดโดยทางรถยนต์ไม่สะดวก ต้องนั่งเรือล่องตามแม่น้ำมา ซึ่งใช้เวลานาน ทหารจึงจัดเฮลิคอปเตอร์ หรือที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า " ฮ. " มารับท่านไปงาน
    ในวันนั้น ท่านนำเหรียญบรรรทุกไปด้วย พอถึงวัดเกาะวังไทร ท่านก็ลงจากเฮลิคอปเตอร์ นักบินก็จะนำเครื่องกลับ แต่ทำอย่างไรเครื่องก็บินไม่ขึ้น จึงขอให้หลวงปู่ช่วยตรวจดูให้
    หลวงปู่พิจารณาแล้ว บอกว่า " ลืมเอากล่องเหรียญลงมาจากเครื่อง "
    พอนักบินยกกล่องเหรียญลงมา เครื่องก็สามารถบินกลับฐานได้ตามปรกติ ผู้อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้น จึงพากันเรียกเหรียญ รุ่นนี้ว่า " เหรียญ รุ่น ฮ.ไม่ขึ้น


    - เมื่อเริ่มสร้างเขื่อนเขาแหลมนั้น วิทยาการในการสร้างยังไม่ทันสมัยเท่ากับในปัจจุบัน
    พอสร้างเสร็จ ระบบการตรวจจับ บอกได้ว่า เขื่อนรั่ว แต่จะรั่วจุดไหน อย่างไร ต้องใช้กำลังคนเข้าไปสำรวจ

    วิศวกรค้นหาอย่างไรก็ไม่พบ จนปัญญาจริง ๆ ทั้งคณะจึงมากราบขอร้อง ให้หลวงปู่ช่วย
    ท่านเองก็ไม่ได้จบวิศวกรรมศาสตร์ ใบประกอบวิชาชีพ กว. ก็ไม่มี
    ได้แต่อาศัยเปิดตำรา" โลกวิทู " แล้วก็ชี้จุดให้เขาไป

    เมื่อทางการซ่อมเขื่อนที่ชำรุดแล้วเสร็จ น้ำในเขื่อนเพิ่มระดับทันที และท่วมวัดทันใจด้วยเช่นกัน
    หลวงปู่ท่านสั่งให้ย้ายทั้งวัด และหมู่บ้านมอญ หนีน้ำมา ณ จุดที่สร้างวัดใหม่ในปัจจุบันทันที
    แล้วท่านก็ปรารภแบบอารมณ์ดี ว่า " เราไม่น่าช่วยเขาเลย น้ำท่วมวัด หนีแทบไม่ทัน "

    - ข้าพเจ้าเห็นว่า หลวงปู่ไม่ค่อยใช้บริการทันตแพทย์เท่าไรนัก แถมฟันท่านยังเเข็งแรงดี จึงแอบถามท่านว่า " หลวงปู่ ใช้ยาสีฟัน ยี่ห้ออะไรครับ ? "

    ท่านเห็นข้าพเจ้าถาม แทนที่ท่านจะตอบ กลับใช้ให้ข้าพเจ้าไปหยิบกระปุกยาในห้องมาดม
    เมื่อเปิดออกดู แทนที่จะพบยาสีฟัน กลายเป็นเกลือป่นสีเขียวอ่อน ท่านสั่งให้ดมดู กลิ่นเหมือนผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว แต่ไม่ทราบว่าเป็นอะไร
    ท่านเฉลยว่า " เป็นมะเฟืองกลั่นกับเกลือ ดีกว่าเกลือธรรมดา เพราะช่วยรักษารากฟัน "
    อ๋อ...ยี่ห้อนี้นี่เอง แล้วจะซื้อได้ที่ห้างฯ อะไรครับ หลวงปู่ แฮ่ ๆ


    - หลวงปู่ท่านเมตตาสอนเกี่ยวกับการเรียนไว้ว่า

    " การเรียนปริยัติ เขาให้เรียนลง บางคนเรียนไปแล้ว คิดว่าตัวเองเรียนสูง เกิดมานะ กิเลสเพิ่ม "

    " แท้ที่จริงแล้ว เรียนไปแล้ว จิตใจต้องอ่อนลง ผู้มีมานะแบบนี้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า สอนยากเหลือเกิน "

    - เรื่องนี้ พี่รักษ์(อภิรักษ์ จุฬาศินนท์)เล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า เมื่อหลวงปู่กลับจากโรงพยาบาล พี่รักษ์ต้มน้ำขิงไปถวายหลวงปู่ที่วัด ความที่กลัวจะไปไม่ทันก่อนท่านเข้าพัก รีบจนลืมดับฟืนไฟ นึกได้เอาจวนจะถึงวัด

    ทำอย่างไรดีทีนี้ เมื่อไม่มีที่พึ่ง ก็นึกถึง " หลวงปู่ " ช่วยผมด้วย งานนี้ไฟไหม้บ้าน กลับไปเมียด่าแน่ สมัยนั้นโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ยังไม่มีใช้ เมื่อเห็นปั๊มน้ำมัน ก็เข้าไปขอโทรศัพท์เขาใช้ บอกญาติให้ไปดู เพราะที่บ้านวันนั้นไม่มีใครอยู่เลย
    พอพี่รักษ์ไปถึงวัด หลวงปู่พูดทันทีว่า " วันหลังก่อนออกจากบ้านให้ระวัง ดูฟืนดูไฟให้ดี ดับให้เรียบร้อย " ถวายน้ำขิงเสร็จ กลับมาบ้าน ปรากฏว่าหม้อละลายก้นทะลุเเล้ว นอกจากนั้นไม่มีอะไรเสียหาย ถ้าไม่ได้หลวงปู่ช่วยไว้ เห็นทีจะแย่แน่ ๆ


    - หลวงปู่ท่านเล่าว่า ตอนปักกลดในป่า มีช้างมาร้องโกญจนาท แผดเสียงดังมาก เหมือนจะเข้ามาทำลายกลด ท่านเองคิดในใจว่า

    " ช้างจะมาทำอะไรก็ช่าง ในเมื่อเราสละร่างกายแล้ว ไม่คิดว่าเป็นของเราแล้ว จะเกิดอะไรก็ช่างมัน " คิดเท่านั้น ช้างก็จากไป

    - หลวงปู่ท่านเคยเล่าถึง พระพุทธบาทสี่รอยเอาไว้ว่า " เราเคยไปพระบาทสี่รอยมาเหมือนกัน เมื่อเข้ามาประเทศไทยใหม่ ๆ ประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ "

    ข้าพเจ้ากำลังจะถามต่อว่า " รอยพระพุทธบาทนี้ เป็นของจริงหรือไม่ ?"
    ท่านก็พูดออกมาเสียก่อนว่า " ที่เห็นนั่น พระพุทธเจ้าท่านมาประทับรอยพระพุทธบาทไว้จริง ๆ นะ "


    - สมัยก่อนหลวงปู่อาพาธหนัก ถึงกับอาเจียนเป็นเลือด โยมเห็นดังนั้น จึงไปตามหมอดักลาส

    ซึ่งเป็นมิชชันนารีมารักษา หมอตรวจเสร็จแทนที่จะวินิจฉัยโรคและให้ยา กลับบอกว่า " โดนอาคมไสยศาสตร์ ทั้งยังบอกอีกว่าที่อเมริกาก็มีด้วยเช่นกัน "
    หลวงปู่จึงบอกว่า ไม่เป็นไร ท่านจะรักษาตัวเอง แล้วท่านก็ไปนั่งสวดมนต์หน้าที่บูชา ตั้งแต่เย็นจนถึงเช้า และฉันเพียงน้ำในบาตรเท่านั้น
    รุ่งเช้า อาการก็ดีขึ้น หมอดักลาสจึงมาขอยาของหลวงปู่ ท่านตอบว่า " ฉันน้ำมนต์กับส้มป่อย หมอจะเอาบ้างไหม ? "


    - สมัยก่อนที่สังขละบุรีเป็นไข้ป่ากันมาก หลวงปู่จึงสั่งให้กลั่นสะเดาป่าทำยา ท่านว่า " มันเข้มกว่าควินิน "

    เมื่อคนไข้มากขึ้น ยาก็ต้องกลั่นมากตามไปด้วย ตชด. หวังดีจึงนำขวดแม่โขงมาให้บรรจุยา
    เป็นเรื่องขึ้นมาเลยทันที สรรพสามิตมาถึงวัดเลยทีเดียว เพราะข่าวไปถึงในเมืองว่า " หลวงพ่อกลั่นเหล้าจนขวดแม่โขงเต็มวัด "
    พอมาถึงเห็นเป็นยาเลยพูดแก้เขินว่า "ผมก็นึกว่าทางวัดต้มเหล้า" หลวงปู่ตอบหน้าตาเฉยว่า "ต้องต้มสิ สังขละฯ หนาวจะตายอยู่แล้วนี่"


    - วันหนึ่งข้าพเจ้ากับพี่ ๆ แพทย์ทหาร เข้าเวรถวายรับใช้หลวงปู่ที่โรงพยาบาลตามปกติ

    เราก็คุยกันเบา ๆ ว่า " ปีนี้ ดูหลวงปู่แก่ลงไปมาก ไม่อยากให้ท่านรับนิมนต์ไปไหนอีกเลย " ซึ่งพี่ ๆ ก็เห็นตรงกับข้าพเจ้า
    พอเราเข้าไปในห้อง ท่านก็พูดขึ้นมาทันทีว่า " เรายังไม่แก่นะ ดูนี่ " แล้วท่านก็ทำท่ากระฉับกระเฉง ให้พวกเราดู
    บรรยากาศตอนนั้น ข้าพเจ้ายังจำได้ว่า จะขำก็ไม่ขำ จะเศร้าหรือก็ไม่เชิง พวกเราก็เลยได้แต่เงียบ ๆ เรื่องนี้กันไป


    - มีคนมากราบหลวงปู่ กราบเสร็จ หลวงปู่พูดว่า " วันนี้ไม่ไปได้ไหม ? วันไม่ดี ทิศที่จะไปก็ตรงกับทิศผีหลวง อยู่ฟังเราเทศน์ดีกว่าไหม ? "

    คนที่มากราบก็เรียนท่านว่า " อยู่ไม่ได้ครับหลวงพ่อ ผมมีธุระกับเพื่อนจริง ๆ เกรงว่าจะเสียผู้ใหญ่ "
    หลวงปู่ท่านก็ยังเมตตาห้ามอีกว่า " แล้วลูกเมียจะกลับบ้านอย่างไร ? อย่าไปเลยวันนี้ ไว้วันหลังดีกว่า "
    เขาก็ไม่ฟังหลวงปู่ ตัดบทด้วยการกราบลา แล้วบอกว่า บ้านใกล้ ลูกและภรรยาเดินกลับเองได้


    - วัตถุมงคลของหลวงปู่ที่เลื่องชื่อที่สุด ก็คือ ประคำ

    แต่ท่านกลับบอกเสมอว่า "สิ่งเหล่านี้เป็นเปลือกเท่านั้น คุ้มครองได้ก็แต่ร่างกายในชาตินี้
    ถ้าอยากเอาดีจริงก็ต้องปฏิบัติตามคำสอนพระบรมศาสดา ถึงจะเป็นของดีจริง"
    พวกข้าพเจ้าก็ตอบท่านไปว่า ตอนนี้เอาประคำก่อน ส่วนพระธรรมไว้ทีหลังครับหลวงปู่ เท่านั้นเองพวกก็ขำกันท้องคัดท้องเเข็ง


    - หลวงปู่ท่านเล่าถึงตอนที่ท่านโดนโจรจับตัวไป เพราะคิดว่าเป็นสายลับให้ตำรวจ แล้วบังคับให้ท่านไปนั่งบนห้างไม้ไผ่ที่หน้าผาว่า

    "เราคิดว่า อนิจจัง อนิจจา วันนี้ได้พบธรรมะแน่แล้ว โจรมันยึดหมด จะมีก็แต่บาตรที่เราขอไว้ ในบาตรก็มีพระบัวเข็มองค์หนึ่งเท่านั้น

    เราก็สวดมนต์บูชาพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ไปเรื่อย พอโจรจะยิงเราก็ปรากฏว่า หัวหน้าโจรคือ เด็กที่เราเคยช่วยชีวิตไว้ เขาก็เลยปล่อยเรา
    สุดท้าย...เรารอดมาได้ ก็เพราะกรรมฐานนี่แหละช่วยชีวิตเอาไว้ "


    - หลวงปู่เล่าถึงตอนไปธุดงค์ที่ชายหาดเกาะสองว่า ท่านไปเจอสิ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า "ปอบน้ำ"

    "มีดวงไฟสองลูกมาลอยวนอยู่รอบกลดตลอดคืน แต่เเปลกที่ไฟนั้นแทนที่จะมีกลิ่นไหม้ กลับเป็นกลิ่นเหม็นเน่าอย่างรุนแรง

    เราก็ไม่รู้ว่าเขาจะมาทำอะไร ได้แต่แผ่เมตตาไปแล้วบอกว่า "ท่านทั้งหลายไม่ต้องมาแสดงตัวหรอก เรามาธุดงค์แล้วไม่คิดกลัวตาย"
    สักครู่หนึ่ง ดวงไฟนั้นก็ลอยลับไปทางท้ายเกาะ และไม่มาให้เห็นอีกเลย


    - วัตถุมงคลของหลวงปู่มีอยู่รุ่นหนึ่ง ที่ท่านกำกับการสร้างเอง เพราะไม่มีพระที่วัดเคยเห็นตำรานี้ที่ไหน แม้แต่อาจารย์หอมลูกศิษย์ผู้ใหญ่

    นั่นก็คือ "แผ่นยันต์ทำน้ำมนต์ " โดยเล่าว่าเป็นวิชาของพระอภิญญาชาวทิเบต
    ท่านสั่งให้แกะลงบนแผ่นหินอ่อน แช่น้ำอธิษฐานเป็นน้ำมนต์รักษาโรคภัยไข้เจ็บหรือตามแต่จะอธิษฐานเอา


    - นอกจากแผ่นยันต์ทำน้ำมนต์แล้ว พระเครื่องที่มีชื่อเสียงของท่านก็คือ "พระกริ่งจักรพรรดิ" ว่ากันว่า ท่านอธิษฐานไว้แทนตัวกันเลยทีเดียว

    พี่ ๆ เล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า เขากราบเรียนถามหลวงปู่ว่า " เป็นไปได้หรือที่แผ่นจารไม่ละลาย ? " หลวงปู่ไม่ตอบว่ากระไร
    แต่ในวันเทพระกริ่งรุ่นนี้เอง แผ่นชนวนของหลวงปู่ก็ลอยในเบ้าหลอมไม่ยอมละลายแทนคำตอบ ท้ายสุดท่านก็สั่งให้ช่างตักออกมาเก็บไว้

    - คาถาประสานกระดูกของหลวงปู่ให้ใช้บท "ตังเมสุ พระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ สวด ๙ คาบเท่ากับนวโลกุตระ" ใช้เสกน้ำมันงาทำลูกประคบ

    หมายเหตุ : ตัง เม สะ ที โก มัง สุ เร โส อะ ปะ นา ปะ สุ สุ ปิ อะ ธะ สิ ติ ปุ วิ สิ เว กะ โก กะ โค

    - หลวงปู่เคยเล่าถึงวิบากกรรมว่า ท่านเคยโดนแมลงกระเบื้องเข้าหู เขี้ยวมันคมกัดจนแก้วหูทะลุเลือดออกจากหู

    ต้องใช้น้ำมันมะพร้าวล้างหูแล้วใช้ดีงูเหลือมรักษา ท่านว่าชาติก่อนเป็นหมองูเป่าคาถาเข้าหูงูจนมันทนไม่ไหว วิบากนั้น ตามมาทันในชาตินี้เอง

    - เรื่องนี้ท่านอาจารย์จันทิมาเล่าให้ฟังว่า อาตมาแกล้งบอกหลวงพ่อว่า "กุญแจหาย หาไม่พบครับ"

    หลวงปู่ก็เดินไปที่ประตูห้อง จับลูกบิดประตูบิดสองสามที แล้วว่า "อ้าว..ประตูไม่ได้ปิดไว้นี่ ไม่ต้องใช้กุญแจแล้ว"
    ท่านว่า เรื่องแบบนี้เลิกสงสัยหลวงปู่นานแล้ว เพราะลองกันมาหลายครั้ง


    - หลวงปู่เล่าว่า สมัยก่อนตอนญี่ปุ่นมาทิ้งระเบิดในพม่า รอบวัดท่านระเบิดลงราวกับแผ่นดินจะถล่ม

    แต่ในวัดไม่มีระเบิดลงแม้แต่ลูกเดียว มีผู้ถามท่านว่ามีคาถาดีอะไร หลวงปู่ตอบว่า "เราสวดมหาสมัยสูตร"

    - วัตถุมงคลอีกแบบที่ไม่ค่อยเห็นกันมานักก็คือ ประคำโทน มีลักษณะเป็นประคำเม็ดเดียว

    หลวงปู่ปลุกเสกด้วยบท "อิติปิโสรัตนมาลา" ท่านเคยกล่าวถึงประคำโทนนี้ว่า "ดีในทางป้องกันคุณไสยทุกชนิด"

    - นาน ๆ ทีหลวงปู่ถึงจะเล่าเรื่องที่เกี่ยวพระเครื่องของท่านให้ฟัง เรื่องนี้หลวงปู่เล่าเองว่า

    ชาวบ้านที่อำเภอไทรโยคเลี้ยงลูกแล้วไม่ระวังให้ดี เด็กตกน้ำไป แทนที่จะจมกลับลอยคออยู่ในน้ำได้
    จนกระทั่ง พ่อแม่มาเห็นและคว้าเด็กขึ้นมาได้ ท่านว่า"ในคอเด็กห้อยลูกอมรูปเราอยู่อย่างเดียวเท่านั้น"


    - หลวงปู่เล่าถึงวิธีการรักษางูกัดว่า "ถ้าเป็นผู้ชายก็จับชีพจรดู ถ้าเป็นผู้หญิงให้ญาติดึงผมดู ถ้าไม่หลุดง่ายยังพอรักษาได้"

    หลังจากนั้นจะใช้เข็มยาสักที่ปากแผล เพื่อให้น้ำยาที่ผสมน้ำมะนาวดูดพิษงูออกมา มีข้อแม้ว่าห้ามคิดเงินผู้ป่วย ไม่เช่นนั้นยาจะไม่ศักดิ์สิทธิ์"

    - หลวงปู่เล่าว่า กะเหรี่ยงคริสต์เล่าให้ท่านฟังว่า ตอนที่ถูกพม่าตามล่า ตนหนีเข้าไปหลบซ่อนในถ้ำ
    ทหารพม่าได้ใช้ปืนกลยิงกรอกปากถ้ำ นับเป็นพัน ๆ นัด โดยคาดว่าคงจะตายกันไปหมดแล้ว จึงได้กลับไป

    แต่เวลานั้น ไม่มีกระสุนแม้แต่เพียงนัดเดียว ที่จะวิ่งผ่านเข้ามาได้ ตนกลับรอดได้ราวปาฏิหาริย์ ขณะกำลังจะออกมามือก็ไปสัมผัสกับ
    "ตุ๊กตาดินดิบรูปคล้ายพระเครื่อง ด้านหลังเป็นรูปกบ" ที่วางกองกันไว้อยู่ในถ้ำ จึงได้นำมาให้หลวงปู่ดู

    เมื่อได้ดูท่านก็ทราบทันทีว่า นี่คือ "พระยอดขุนพลบุเรงนอง" ที่ "พระเจ้าบุเรงนอง" ได้ให้"พระมหาฤๅษีโบบูอ่อง" ราชครูในราชสำนัก
    จัดสร้างและปลุกเสกขึ้น ให้มีอานุภาพในทางแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี อย่างเยี่ยมยอด

    - หลวงปู่เล่าถึงวิธีหุงปรอทว่า "ท่านเคยใช้เตโชกสิณ ช่วยในการหุงปรอทจนมันลอยขึ้นมา
    แต่ไม่สามารถจับได้ เพราะปรอทหลบไปหลบมาคล้ายล้อเล่นอยู่ตลอดเวลา"

    - หลวงปู่บอกวิธีรักษาอาการปวดเข่า ท่านว่าให้ใช้ขมิ้นชันปอกเปลือก ขนาดเท่าหัวแม่มือ
    วางไว้กลางฝ่าเท้าแล้วเหยียบไปมาสัก ๑๐ นาที ทำทุกวันจะช่วยรักษาอาการปวดเข่าได้

    - พระมหาสุชาติ สิริปญฺโญ ป.ธ.๙ เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม เล่าให้ฟังว่า ตอนท่านยังเด็กป่วยหนักเป็นเริม
    โยมแม่หมดทางรักษา จึงพามาหาพระ หลวงปู่พ่นหมากให้ทีเดียว แผลแห้งหายสนิทภายใน ๗ วัน เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก

    - หลวงปู่มีวิชาตรวจดวงชะตา โดยใช้เทียนขี้ผึ้งแท้ มีกระดาษสาเขียนดวงชะตาทำเป็นไส้ จุดบูชาพระรัตนตรัย ท่านว่ามีความแม่นยำมาก
    แม้กระทั่งเคราะห์หนักในชีวิตของท่าน ที่รถตกเขาตรงเนินตะลุเก้ ท่านก็ทราบก่อน แต่ด้วยความเกรงใจโยมจึงจำเป็นต้องไป

    - หลวงปู่ปรารภว่า "ให้ดูหลวงปู่แหวน..พอเสร็จงานเผาศพเเล้ววัดก็เงียบ ถ้าเราตายให้เก็บศพไว้นะ พอคนมาทำบุญ จะได้เลี้ยงวัดได้"


    ที่มา: http://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=218
     
  16. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    DSC_8253.jpg

    DSC_8257.jpg

    DSC_8259.jpg


    หลวงพ่อใหญ่ วัดม่วง จ.อ่างทอง

    หลังจากที่เคยได้ร่วมทำบุญบูรณะทาสีองค์หลวงพ่อใหญ่ วัดม่วง ที่ได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ให้กลับมางดงาม สร้างความเจริญตาเจริญใจ แก่ผู้ที่ได้มากราบไหว้กันอีกครั้งเมื่อหลายเดือนก่อน บัดนี้การบูรณะได้เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้มีโอกาสมากราบไหว้ขอพรและเก็บภาพองค์หลวงพ่อใหญ่ไว้เป็นอนุสติอีกครั้งนึง

    ครั้งก่อนๆที่มานั้นเรามาจากทางด้านหน้าวัด แต่ครั้งนี้ขณะที่รถวิ่งมาตามทางใกล้จะถึงวัดพลขับเห็นป้ายชี้บอกทางก็หักพวงมาลัยเลี้ยวรถไปตามป้ายบอกทันที มิทันที่ผู้ร่วมทางจะทันทักท้วงอะไรได้ เพราะปกติจะต้องไปเลี้ยวที่สี่แยกใหญ่ข้างหน้า แต่เมื่อแยกนี้มีป้ายบอกว่าไปได้จึงเลยตามเลย ลองไปทางใหม่ดู พอเลี้ยวไปได้สักพักทางก็เริ่มเล็กลง และเต็มไปด้วยหมู่บ้านคน จึงเริ่มเข้าใจว่าทางนี้เป็นทางเส้นใน ของชาวบ้านแถวนี้ วิ่งไปเรื่อยไตามป้ายบอกทาง สองฝั่งมีนาข้าวบ้าง โรงเลี้ยงสัตว์บ้าง สวนผักผลไม้บ้าง วิถีชีวิตชาวบ้านที่น่าดูชม ยากที่จะเห็นได้จากในเมือง
     
  17. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    DSC_8268.jpg

    DSC_8272.jpg

    DSC_8278c.jpg


    ยังคงลัดเลาะไปตามทาง แม้จะเห็นเป้าหมายอยู่ไม่ไกล แต่ก็ใช่ว่าจะวิ่งตัดตรงไปได้ ก็เหมือนกับชีวิตคนที่กว่าจะประสบผลสำเร็จในชีวิต บางครั้งก็ต้องเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวา วิ่งอ้อมไปบ้าง วิ่งช้าลงบ้างเพราะเจอหลุมขวากหนาม หากแต่เราไม่ย่อท้อ หนทางข้างหน้าก็จะสั้นลงเรื่อยๆ
     
  18. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    วัดม่วง1.jpg
    (ภาพเมื่อตอนกำลังบูรณะ เมื่อปี๒๕๖๑)


    DSC_8306.jpg

    DSC_8309.jpg


    พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ
    (หลวงพ่อใหญ่ วัดม่วง)

    หลวงพ่อใหญ่ใช้เวลาในการก่อสร้งการก่อสร้างรวมประมาณ ๑๖ ปี และวัดหน้าตักองค์พระได้ ๖๓.๐๕ เมตร ความสูงจากฐานองค์พระ ถึงยอดเกศา วัดได้ ๙๕ เมตร ใช้เงินประมาณ ๑๐๖,๕๘๖,๑๐๙ บาท หลังจากได้สร้างเสร็จสมบูรณ์ เมื่อปี ๒๕๕๐ ผ่านมา ๑๑ ปีจนถึง ปี ๒๕๖๑ องค์หลวงพ่อได้วำรุดลงไปมาก จึงได้ทำการบูรณะทาสีขึ้นใหม่ ให้งดงามเป็นที่เจริญตาเจริญใจ
    แก่ผู้มากราบไหว้ขอพร
    บัดนี้การบูรณะได้สำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว องค์หลวงพ่อก็กลับมางดงามอีกครั้ง เป็นที่ติดหูติดตาติดใจ แก่ผู้ที่ได้มาพบเห็นและนำกลับไปบอกเล่าแก่ผู้อื่นถึงความใหญ่โต(ที่สุด) และงดงามเงียบสงบร่มเย็น แห่งองค์หลวงพ่อใหญ่ ถึงแม้ท่านจะตากแดดตากฝนท่านก็ไม่บ่นอะไร เพราะถือเป็นธรรมดาของโลกที่มีร้อน มีฝน มีหนาว หากเราคิดได้แบบองค์หลวงพ่อใหญ่ก็คงจะเป็นการดี


     
  19. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    DSC_8351.jpg

    อานิสงส์การซ่อมพระพุทธรูปพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีได้เล่าไว้ว่านางวิสาขานั้นทำมามากจนได้เบญจกัลยาณี คือมีความงาม ๕ อย่าง
    มีอะไรบ้างเรามาดูกันครับ


    จาก หนังสือ ตายแล้วไม่สูญ…แล้วไปไหน

    โดยหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง

    “..พูดถึงคนสวยชั้นยอด ว่ากันแค่ร่างกายภายนอก อย่ามองเข้าไปถึงกระเพาะ ตับ ไต ไส้ ปอด ภายในร่างกายเพราะมันเต็มไปด้วยความสกปรกน่าเกลียด ไม่มีความสวย ในที่นี้หมายถึงรูปร่างภายนอกไม่เปลี่ยนแปลง คลอดบุตรคนแรกสวยขนาดไหนก็เป็นสาวขนาดนั้นจนกระทั่งถึงวันตาย

    อานิสงส์ซ่อมพระพุทธรูป

    ตัวอย่างก็คือ พระนางวิสาขามหาอุบาสิกา ท่านสวยด้วยอำนาจเบญจกัลยาณี ตามที่ท่านเจ้าคุณราชเมธี วัดประยูรวงศาวาส ท่านแต่งเป็นคำกลอนไว้ว่า

    งามผมสมพักตร์ลักขณา โอษฐาจิ้มลิ้มดูพริ้มเพรา

    งามทนต์ยลปลั่งดังสังข์ขัด ผิวทัศน์กรรณิการ์งามราศี
    คลอดบุตรสักเท่าไรวัยยังดี หญิงเช่นนี้ใครได้มางามหน้าเอย

    คำว่า “งามผมสมพักตร์ลักขณา” ก็เพราะว่าผมจะเรียบอยู่ตลอดเวลา ถ้าต้องการให้เป็นคลื่นก็จะเป็น และก็เรียบโดยไม่ต้องหวี ไม่ต้องแต่ง และก็จะยาวไม่มากถ้ายาวไปถึงเอวก็จะช้อนงอนขึ้นไม่ยาวลากดิน ผมก็ไม่เหม็นสาบเหม็นสาง ไม่ต้องสระไม่ต้องล้าง
    คำว่า “โอษฐาจิ้มลิ้มดูพริ้มเพรา” ก็เพราะว่าริมฝีปากแดงระเรื่อไม่แดงมากนัก แล้วเรียบไม่มีริ้วไม่มีรอย ปากสวย
    คำว่า “งามทนต์ยลปลั่งดังสังข์ขัด” ก็เพราะว่าฟันเรียบแลดูเป็นเงาเหมือนมุกน่าชม ไม่ต้องใช้แปรงสีฟัน ไม่ต้องขัด ไม่ต้องแต่ง
    คำว่า “ผิวทัศน์กรรณิการ์งามราศี” ขึ้นชื่อว่าผิวไม่มีไฝไม่มีฝ้า ถ้าขาวก็ขาวเนื้อละเอียดดี ถ้าดำก็ดำนวลๆ เรียกว่าพอสวยสำหรับในสมัยที่เขาต้องการ

    คำว่า “คลอดบุตรสักเท่าไรวัยยังดี” หมายความว่าเวลาที่คลอดบุตรคนแรกอายุเท่าไร ท่านคลอดบุตรคนแรกอายุ ๑๖ ปี แล้วก็เลยเป็นสาวแค่ ๑๖ อยู่แบบนั้น ร่างกายไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไปจนกระทั่งอายุ ๑๒๐ ปี พระนางวิสาขามีบุตรหญิง ๒๐ คน แล้วบุตรหญิงของท่านคลอดบุตรมาอีกคนละ ๒๐ คน ระหว่างที่บรรดาหลานๆ เป็นสาวคราว ๑๕-๑๖ ปี ท่านวิสาขานั่งอยู่ท่ามกลางหลาน ท่านชีวกโกมารภัจนำพระเจ้าปเสนทิโกศลไปดู อยากจะทราบว่าพระนางวิสาขาคนไหน ก็ดูไม่ออกเพราะสาวเท่ากัน เรียกว่าท่านสาวเท่าอายุ ๑๖ ตลอดกาล



    DSC_8354.jpg


    อานิสงส์ที่พระนางวิสาขามหาอุบาสิกามีความสาวความสวยไม่เปลี่ยนแปลง ก็เพราะว่าในชาติก่อนท่านซ่อมพระพุทธรูปที่ปรักหักพัง ทรุดโทรม คือมีผิวแตกทองลอกไปเสียแล้ว ท่านซ่อมพระพุทธรูปด้วยกุศลเจตนาจริงๆ
    เกิดมาชาตินี้จึงกลายเป็นคนสวย
    และการที่ท่านมีเครื่องประดับประกอบไปด้วยแก้วเพชรนิลจินดาและทองคำ เสื้อคลุมตั้งแต่ศีรษะถึงเท้า มีนกยูงรำแพน มีแก้วมณีตั้ง ๒๐ ทะนาน และมีแก้วประพาฬ แก้วอินทนิล อะไรต่ออะไรอีก เสื้อตัวนั้นไม่มีด้ายเลย ที่ทำเป็นด้ายก็ทำด้วยเงินหรือเป็นทองคำ ก็เพราะอาศัยถวายผ้าไตรจีวรไว้ในพระพุทธศาสนาในอดีตชาติ..”
     
  20. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    445
    ค่าพลัง:
    +1,160
    วัดม่วง2.jpg

    โบสถ์ดอกบัว วัดม่วง
     

แชร์หน้านี้

Loading...