อยากสอบถามเรื่องบุพกรรมระหว่างพระเทวทัต และ พระพุทธเจ้า ? พุทธภูมิช่วยตอบหน่อย

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย DuchessFidgette, 7 เมษายน 2013.

  1. Sirius Galaxy

    Sirius Galaxy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +2,559
    สาธุ ขออนุโมทนา เพิ่งเข้ามาอ่าน หลายท่านได้ตอบไปแล้ว และตอบได้ดี ครบถ้วนกระบวนความ หวังว่าคงทำให้คุณ DuchessFidgette หายจากข้อสงสัยไปได้บ้าง ไม่มากก็น้อย

    เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ในขณะที่เราเริ่มศึกษาปฏิบัติธรรมะของพระพุทธองค์ ก็เกิดข้อสงสัยต่างๆมากมาย ปัจจุบันนี้ ข้อสงสัยต่างๆ ได้รับการชี้แจงทำความเข้าใจ ให้หายสงสัยไปได้มาก

    พระพุทธเจ้าทรงเป็นสัพพัญญู รู้แจ้งโลก (โลกในที่นี้เป็นความหมายกว้างๆ ไม่ใช่หมายเพียงโลกมนุษย์เพียงโลกเดียว) ทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต ย่อมทราบเหตุและผลของกรรมหรือการกระทำนั้นๆ เป็นอย่างดี ทรงรู้ว่าจะโปรดอย่างไร โปรดด้วยวิธีไหน และโปรดเมื่อไหร่ (โปรดในที่นี้คือช่วยเหลือสรรพสัตว์ในโลกต่างๆ และในภพภูมิต่างๆ)

    ก็ขอให้คุณ DuchessFidgette มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ เป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง และขอให้ปฏิบัติสมาธิ เจริญภาวนา ทำกรรมฐาน เมื่อนั้นความสงสัยต่าง ๆ ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จักลดน้อยและหมดไป จนสิ้นสงสัย
     
  2. Pirunachart

    Pirunachart เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +588
    ขออนุโมทนาในคำตอบคุณ view2004 ครับ ที่ชัดเจนและได้ความรู้มากมายเลยครับ และขอขอบคุณเจ้าของกระทู้ที่ได้ตั้งประเด็นนี้ขึ้นมา คิดว่าหลายๆ คนคงสงสัยแบบนี้เหมือนกัน และผมขออนุญาตแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมต่อจากคำตอบของคุณ view2004 ในคำถามข้อ 3 ดังนี้ครับ

    3.ในเรื่องบัญญัติ ๕ ประการของพระเทวทัตนั้น นอกจากจะไม่เป็นไปตามหลักทางสายกลางแล้ว ยังให้โทษอื่นๆ อีก ดังนี้
    3.1 จัดอยู่ในมิจฉาทิฏฐิ เรื่้องการพากเพียรเกินพอดี เสมือนเป็นการบำเพ็ญสุดโต่งอีกทางหนึ่งให้โทษเหมือนการบำเพ็ญทุกกรกิริยา มีนรกเป็นที่ไปเพราะจิตถูกครอบงำ ด้วยมิจฉาทิฏฐิ และอาจติดอยู่ในโทษะเพราะทำในสิ่งทีฝืนจนเป็นทุกข์
    3.2 ทำให้เกิดความลำบากแก่ภิกษุผู้ปฏิบัติ และแก่สาธุชนผู้ทำบุญ (ตามที่ท่านอื่นๆ ได้อธิบายไว้แล้ว)
    3.3 ขัดกับพระวินัยข้อ "ภิกษุต้องเป็นผู้เลี้ยงง่าย"
    3.4 เพราะเป็นสิ่งที่สุดโต่ง ทำให้ภิกษุทั้งหลายที่มีอินทรีย์ยังไม่แก่กล้า เกิดความท้อถอยหน่ายจากความเพียร และเลิกล้มการทำความดีในที่สุด
    3.5 ทำให้เป็นเป้าโจมตีจากศาสนาอื่นว่า สาวกของพระสมณโคดม เป็นผู้เลี้ยงยากมากเรื่องทั้งๆ ที่เป็นผู้ขออาหารผู้อื่นเลี้ยงชีพ

    4.ในพระไตรปิฎกกล่าวอธิบายไว้ว่า (จากพุทธประวัติตอนที่ ๑๑๐) พระพุทธองค์ทรงส่องข่ายพระญาณและทราบว่าหมู่บ้านที่นางมาคันทิยาอยู่นั้น หากพระองค์ทรงแสดงธรรมยกย่องความงามของนางมาคันทิยาจะทำให้ ชนทั้งหมู่บ้านไม่บรรลุธรรม และจะทำให้เป็นมิจฉาทิฐิ ส่วนนางมาคันทิยาจะแค่พึงใจที่พระองค์ยกย่องเลยยอมรับนับถือพระรัตนตรัยเท่านั้น แต่หากพระองค์ทรงแสดงธรรมติเตียนความไม่งามแห่งสังขารของนางมาคันทิยาแล้วไซร้ คนทั้งหมู่บ้านจะบรรลุธรรมมีพระโสดาบันเป็นต้น และจะยึดพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ยกเว้นนางมาคันทิยาผู้เดียวที่จะผูกโกรธพระองค์ (แต่ในอนาคตหากนางได้สติก็สามารถกลับใจเข้าถึงธรรมได้) พระองค์จึงเลือกประโยชน์ของคนหมู่มาก จึงแสดงธรรมติเตียนความงามของนางมาคันธิยาด้วยประการนี้

    5. หากศึกษาคำสอนให้ดีจะพบว่า ประวัติของแต่ละบุคคลมีที่มา มูลเหตุ และกรรมอันเป็นที่มาของแต่ละบุคคลแตกต่างกัน จึงนำมาเปรียบเทียบกันได้ยาก พระพุทธองค์ทรงเป็นสัพพัญญูทรงทราบการกำเนิดและที่ไปของสรรพสัตว์ ทรงทราบอุปนิสัยว่าบุคคลแบบใดควรจะโปรดอย่างไรให้ตรงจริตของผู้นั้น สำหรับพระเทวทัตพระองค์ทรงปราณีให้อภัยเสมอไม่เคยเอาโทษในพุทธประวัติตอนต่างๆ จะเห็นได้ชัดเจน และในกรณีการมรณะภาพของพระเทวทัต พระองค์ยิ่งทรงเมตตาเป็นที่สุด โดยสามารถอธิบายได้ในเรื่องของ อาสันกรรม หรือนิมิตก่อนตาย หมายถึงภาพ หรือความคิด ที่ยึดเป็นอารมณ์ก่อนตาย ซึ่งในความเห็นของผม (อาจถูกหรือผิด ต้องกราบขออภัยและขอขมาต่อพระรัตนตรัย และท่านผู้อ่านทั้งหลายด้วย หากมีท่านใดที่เข้าใจถ่องแท้ ขอความกรุณาช่วยชี้แนะและแก้ไขด้วย จักเป็นพระคุณอย่างสูง) ด้วยอุปนิสัยของพระเทวทัตหากพระพุทธองค์ทรงออกไปต้อนรับ หรือปรากฏพระองค์ให้เห็น และพระเทวทัตได้ขอขมากรรม จิตของพระเทวทัตที่สะสมอศุกลกรรมอยู่เป็นนิตจะละจากพระพุทธเจ้าทันที จะมีแต่ความลิงโลด จัดอยู่ในโลภะ และโมหะว่าตนพ้นผิดแล้ว พอธรณีสูบ (ซึ่งเป็นกรรมที่พระเทวทัตต้องรับแน่นอน ไม่สามารถหลีกหนีได้) ก็จะมีแต่ความตกใจกลัวตาย ด้วยขณะดำรงเพศบรรพชิต ไม่มุ่งฝึกสติ แต่กลับชอบขาดสติลุ่มหลงแต่ในอภิญญา แลมุ่งแต่ลาภสักการะ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่มีวันที่จะพ้นอเวจีมหานรกได้เลย ดังนั้นพระพุทธองค์ผู้ทรงรู้แจ้งในโลกจึงเพียงเจริญเมตตาแผ่ไปให้พระเทวทัตเท่านั้น ไม่ปรากฏพระองค์ให้เห็น เพื่อให้พระเทวทัตมีพุทธานุสสติเป็นอารมณ์ และการสำนึกโทษในบาปที่ตนทำ (จัดเป็นสัมมาทิฐิ และสัมมาสติ) จนได้ถวายกระดูกคางเป็นพุทธบูชาในที่สุด

    การศึกษาพระพุทธศาสนานั้นแบ่งเป็น 3 ประการ ได้แก่
    1.ศึกษาปริญัติ คือหลักคำสอน ซึ่งเอกสารที่น่าเชื่อถือที่สุด คือ พระไตรปิฎก โดยเราสามารถอ่านข้อวิจารณ์หรืออรรถาธิบายของท่าน ป.อ. ปยุต ปยุตโต และท่านพุทธทาสภิกขุ หรือจากท่านผู้แตกฉานอื่นๆ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ถ่องแท้ได้ หากอ่านเฉพาะหนังสือที่วางขายทั่วไปอาจได้รายละเอียดไม่ครบ หรือไม่ชัดเจน ทำให้ผู้ศึกษาไม่เข้าใจถ่องแท้ และเกิดข้อสงสัยไม่สิ้นสุด
    2.ศึกษาโดยการปฏิบัติ ตามหลักมรรคมีองค์แปด หากติดขัดสามารถหาความรู้ได้จากครูอาจารย์ที่ท่านเชี่ยวชาญ หรืออ่านเพิ่มเติมได้จากคำสอนหรือปฏิปทาของพระสุปฏิปันโนทั้งหลายได้
    3.ปฏิเวธ คือ ผลจากข้อ 1 และ 2

    ดังนั้น การศึกษาพระธรรม จึงไม่ควรที่จะเน้นแค่อ่าน ฟัง แล้วตั้งปัญหาอย่างเดียว ต้องเน้นการปฏิบัติด้วย ดังนั้นขออนุญาตยกคำสอนของพระเดชพระคุณฯ หลวงพ่อจรัญ (วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี) ที่มักเน้นย้ำว่า "ปฏิบัติมากๆ แล้วจะรู้เอง มัวแต่วิปัสสะนึก (เอาแต่คิด) ก็ไม่ถึงวิปัสสนา (การเกิดปัญญาในการละกิเลส) เสียที"

    ขออนุโมทนากับท่านเจ้าของกระทู้ และท่านผู้ให้ความรู้ทุกท่าน ธรรมใด และบุญใด ที่ท่านทั้งหลายได้แล้ว ขอธรรมนั้นและบุญนั้นจงเกิดแก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ

    สาธุ
    ^/\^
     

แชร์หน้านี้

Loading...