องค์แห่งการตรัสรู้มรรคผล

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย albertalos, 3 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    โพธิปักขิยธรรม โพชฌงค์ ๗ ประการ คือองค์แห่งการตรัสรู้มรรคผล
    <!-- Main -->[SIZE=-1]
    หลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม เขียน
    พระมหายาจินต์ ธมฺมธโร ป.ธ.๙,สส.ม. แปล


    วุธวารสิริสวัสดิ์-โสมนัสเปรมกมล ที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ ค่ะ


    คำว่า "โพชฌงค์" คือองค์แห่งการตรัสรู้มรรคผล เครื่องมือแห่งการรู้แจ้งมรรคผล ในบาลียังมีคำที่ใช้แทนกันอีกหลายศัพท์เช่น

    โพธิมรรค-ทางแห่งการรู้แจ้ง
    อริยพละ-พลังแห่งพระอริยเจ้า
    อริยองค์-หลักการปฏิบัติอันเป็นเหตุให้ก้าวสู่ความเป็นพระอริยเจ้า
    รวมเรียกว่า โพชฌงค์ และมี ๗ ประการ คือ


    ๑. สติสังขาโต/b> ซึ่งมาจากคำว่า

    สติ - ระลึกได้ไม่ลืม
    สังขาโต - พิจารณา
    คำทั้งสองนี้เมื่อรวมกันจึงหมายถึง "ไม่ลืมพิจารณา"

    คำว่า "ไม่ลืมพิจารณา" นี้ หากถามว่า "ไม่ลืมพิจารณาอะไร ?" ก็ตอบได้ว่า ไม่ลืมพิจารณาความเป็นอนัตตาในรูปธาตุ ซึ่งคือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ที่แสดงอาการโดยการเกิดขึ้นและดับไป

    ในจิตที่แสดงอาการโดยการเกิดขึ้นและดับไป และในเวทนาที่แสดงอาการโดยการเกิดขึ้นและดับไป เพราะฉะนั้น คำว่า "สติสังขาโต" นี้ เป็นการไม่ลืมพิจารณา รูป จิต และเจตสิก ที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลานั้นว่าเป็นอนัตตา

    การทำเช่นนี้ เป็นการพิจารณาวางอัตตา รับอนัตตานั่นเอง


    ๒. ธัมมานัง วิจโย ซึ่งอธิบายตามรูปศัพท์ได้ว่า

    ธัมมานัง - จิต เจตสิก รูป นิพพาน
    วิจโน - องค์แห่งอริยมรรคที่หนึ่ง คือสัมมาทิฐิ เรียกว่า วิปัสสนาญาณ
    เมื่อรวมกัน จึงหมายถึง สัมมาทิฐิซึ่งเป็นผู้รู้อย่างแจ่มแจ้งว่าธรรมทั้งหลาย (จิต เจตสิก และรูป) เป็นอนัตตา

    อีกนัยหนึ่ง ธัมมานัง คือพระไตรปิฎกอันประกอบด้วยพระวินัย ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระสูตร ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระอภิธรรม ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ รวมทั้งสิ้น ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น

    เมื่อสรุปลงแล้ว มีเพียงอนัตตาประการเดียว วิจโย คือรู้แจ่มแจ้งอย่างนี้


    ๓. วิริยสัมโพชฌังคะ ซึ่งมาจากคำว่า

    วิริยะ - ความเพียร
    สัมโพชฌะ - การบรรลุมรรคผล
    อังคะ - เครื่องมือ

    เมื่อรวมกัน จึงหมายความว่า ความเพียรเป็นเครื่องมือแห่งการบรรลุมรรคผล โปรดดูรายละเอียดในวิริยินทรีย์ซึ่งได้กล่าวมาแล้ว


    ๔. ปีติสัมโพชฌงคะ มาจากคำว่า

    ปีติ - ความอิ่มใจ
    สัมโพชฌะ - การบรรลุมรรคผล
    อังคะ - เครื่องมือ

    เมื่อรวมกัน จึงหมายความว่า ปีติเป็นเครื่องมือแห่งการบรรลุมรรคผล

    คำว่า "ปีติ" นี้เกิดขึ้นได้สองลักษณะ คือ ในขณะที่เจริญปัญญามรรค ๒ ประการอยู่นั้น

    หากมรรคญาณยังไม่เกิด แต่ปีติเกิดขึ้นมาก่อน นี้เป็น "ปีติก่อนมรรค" จัดเป็นปีติที่เป็นอุปสรรค เป็นอันตราย ปิดกั้นการบรรลุมรรคผล

    แต่หากมรรคญาณเกิดขึ้นก่อนแล้ว ปีติเกิดตาม จะจัดเป็น "ปีติหลังมรรค" ซึ่งเป็นสิ่งดี


    ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌังคะ ซึ่งมาจากคำว่า

    ปัสสัทธิ - ความสงบเย็น
    สัมโพชฌะ - การบรรลุมรรคผล
    อังคะ คือ เครื่องมือ หมายถึงความสงบเย็นเป็นเครื่องมือแห่งการบรรลุมรรคผล

    ปัสสัทธิความสงบเย็นนี้ หากเกิดก่อนมรรคญาณ เรียกว่า "ปัสสัทธิหน้ามรรค" และเป็นอุปสรรคที่กั้นขวางมรรคผล

    แต่หากเกิดขึ้นหลังมรรคญาณ เรียกว่า "ปัสสัทธิหลังมรรค" และเป็นสิ่งดี



    กราบนมัสการมาด้วยความเคารพ

    [/SIZE]
     

แชร์หน้านี้

Loading...