{{หลวงพ่อคูณ257}}ศึกษาพระสมเด็จ/เบญจภาคีองค์ครู26ขุนแผนพรายกุมาร4ลพ.พรหม68พ่อท่านคลิ้ง105

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Amuletism, 2 มกราคม 2012.

  1. yamie

    yamie เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    1,640
    ค่าพลัง:
    +1,520
    เหรียญรูปจำลอง พระสังฆราชเจ้า ม.ร.ว. ชื่น นภวงศ์

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    ขอบคุณมากครับ เหรียญนี้คาดว่าเพื่อนๆส่วนใหญ่
    น่าจะไม่ค่อยมีโอกาสได้เห็นกันครับ
     
  3. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    ขอบคุณมากครับ คุณโอกระบี่
    ที่นำพระสวยพระดี ที่หายากมาให้ชม
    ว่าแต่องค์ที่เป็นรูปแทนตัว
    คือพระขุนแผนเสด็จกลับใช่ไหมครับ
     
  4. โอกระบี่

    โอกระบี่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,477
    ค่าพลัง:
    +1,651
    ไม่ใช่ครับองค์ที่เอามาเป็นรูปแทนตัวเป็นพระขุนแผนอาจารย์ชุม ไชยคีรี ปี 2497 ชื่อรุ่นคือพระผงบารมีพระบรมธาตุ แต่ครั้งหนึ่งในปี 2506 หลวงปู่สุภา ได้ดำริสร้างพระขึ้นเพื่อนำปัจจัยไปบูรณะซ่อมแซมวัดสารอด ท่านจึงได้ร่วมมือกับอาจารย์ชุม ไชยคีรีและท่านอื่น เพื่อสร้างวัตถุมงคลขึ้นมาและได้สร้างพระพิมพ์ขุนแผนขึ้นต่อมาเรียกว่าพระขุนแผนเสด็จกลับหลวงปู่สุภา ทั้งนี้ในวาระนี้ท่านอาจารย์ชุม ไชยคีรีได้นำแม่พิมพ์ของพระขุนแผนปี 2497 ซึ่งอยู่ในสภาพเก่าไม่มีหน้ามีตามากดพิมพ์ใหม่โดยใช้มวลสารสีดำของพระเสด็จกลับแล้วได้นำพระชุดนี้เก็บบรรจุไว้ใต้ฐานชุกชี และเมื่อไม่นานมานี้ประมาณหกเจ็ดปีผมจำไม่ค่อยได้แล้วทางวัดสารอดได้นำพระทั้งหมดที่เหลืออยู่ที่วัดออกมาให้ประชาชนได้บูชารวมถึงพระพิมพ์ขุนแผน 2497 ที่กดพิมพ์ที่วัดสารอดในปี 2506 ด้วย

    จากเหตุดังกล่าวได้ทำให้เกิดความไขว้เขวของนักสะสมพระในปัจจุบันว่าพระพิมพ์นี้ออกที่วัดสารอด ที่จริงไม่มีใครผิดหรือใครถูก แต่เพียงเข้าใจคลาดเคลื่อนเองซึ่งผมก็อยากแบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้มาให้พี่น้องผู้นิยมสะสมพระเครื่องได้ทราบ

    วิธีแยกพระพิมพ์ขุนแผนอาจารย์ชุม ไชยคีรี ว่าเป็นพระปี 2497 หรือ 2506 ทำได้ง่าย ๆ กล่าวคือ แม้พระดังกล่าวจะใช้แม่พิมพ์เดียวกันรวมถึงยันต์ด้านหลังตัวเดียวกันแต่จากวิธีการสร้างพระมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในเรื่องของมวลสาร คือมวลสารของพระปี 2497 จะหนักไปทางว่านยาและผงต่าง ๆ ผิดกับพระปี 2506 ที่มีมวลสารที่เป็นโลหะที่แม่เหล็กสามารถดูดติดผสมอยู่ทำให้พระทั้งสองจึงมีความต่างกันตรงแม่เหล็กดูดติดหรือไม่ติดนี้หละครับ อันนี้เป็นเคล็ดวิชาที่ขอนำมาเปิดเผยขอให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ชื่นชอบในการสะสมพระทุกท่านครับเรื่องนี้ปัจจุบันยังมีผู้รู้น้อยอยู่มากบางทีไปเช่าปี 2506 มาแล้วเอามาเล่นเป็นปี 2497 กันมากมายโดยไม่รู้ตัว แต่ถ้าใครเช่าในราคาปี 2497 มาก็อย่าเสียใจที่สำคัญถ้าได้ปี 2506 มาก็ขอให้ได้ของแท้มาก็ดีใจได้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2012
  5. โอกระบี่

    โอกระบี่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,477
    ค่าพลัง:
    +1,651
    ประวัติการสร้างพระขุนแผนอาจารย์ชุม ไชยคีรี ปี 2497

    พระผงบารมีพระธาตุ พิมพ์ทรงขุนแผนเรือนแก้ว ปี 2497 วัดพระบรมธาตุ จ.นครศรีธรรมราช

    พระขุนแผน พิมพใหญ่ อ.ชุม ไชยคีรี พิธีวัดพระบรมธาตุ ปี 2497
    เนื้อ สีดำ หลังยันต์นะเข้าหา สำหรับพิมพ์ขุนแผนเรือนแก้วนี้มีทั้งพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ จำนวนสร้างเพียง 2,000 องค์ ปัจจุบันค่อนข้างพบเห็นน้อยมาก

    ตามอุปเท่ห์การใช้ท่าน ว่า ทำเป็นพระพิเศษพร้อมกับพระ 84,000 องค์ แต่หนักไปในทางเมตตา มหานิยม มหาเสน่ห์ เพิ่มผงอาจารย์ คง อาจารย์ขุนแผนเมืองสุพรรณบุรี
    วิธีทำและ ปลุกเสก อาจารย์คงได้เข้าทรงบอกวิธีให้คาถาประจำตามตำราของท่าน เสกแล้วทดลองนำพระลงสรงในน้ำมันหอมแล้วเอาน้ำมันทาหนูกับแมว สุนัขกับแมว จนสัตว์ทั้งสองที่เคยเป็นศัตรูกันมา กลับเป็นมิตรดีต่อกันต่อหน้าประชาชน
    นอกจากนั้นก็ยังเป็นพระที่ทรงคุณทางเลิกรบ เลิกเบียดเบียน กันอาวุธทุกชนิดด้วย เมื่อจะใช้ให้ภาวนาคาถานี้

    "นะร้องไห้ๆ นะมาเข้าหา นะจิตตัง มานิมามา จิตตังมานิมามา" 3 จบ ทุกครั้ง

    แล้ว ทำความปรารถนาเอาเองได้ทุกอย่าง แต่ขออย่านำไปใช้ในทางทุจริตผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม และห้ามทดลองทำเป็นเล่นขาดความเคารพ จะเกิดโทษนานาชนิด

    พระ เครื่องจากวัดพระบรมธาตุ จ. นครศรีธรรมราช รุ่นที่สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2497 ในพิธีเดียวกันนี้จริงๆแล้วมีด้วยกันหลายพิมพ์ แต่อาจารย์ชุม ไชยคีรี ได้นำพิมพ์พระนางตราและท่าเรือขนาดใหญ่-เล็ก ออกแจกด้วยตัวท่านเอง พร้อมสมุดอุปเท่ห์การบูชาพระ ผู้คนจึงรู้จักกันว่าเป็นพระของอาจารย์ชุม จำนวนการสร้างนั้นมีพิมพ์ละ 84,000 องค์ พระมีจำนวนมาก ท่านจึงได้นำบรรจุเก็บไว้ในถัง 200 ลิตร ต่อมาปลวกมาทำรัง พระที่พบจึงมีทั้งแบบมีคราบปลวกและที่ไม่มีคราบ

    มวลสารที่รวบรวมมามี พระกรุสุดยอดพระเครื่องจากทั่วประเทศ มาดำเนินการสร้างพระชินราชท่าเรือนี้ จากการรวบรวมปรากฎว่าได้พระกรุมากว่า 108 กรุ ว่านยาอีก 108 ชนิด รวมทั้งผงวิเศษ อาทิเช่น พระกรุนางตรา-ท่าเรือ, กรุท้าวโคตร, สมเด็จวัดระฆัง, สมเด็จบางขุนพรหม, พระผงสุพรรณ, ผงดำผงแดงหุ่นพยนต์, หลวงพ่อเกตุ วัดขวิด, ขุนแผนวัดพระรูปและวัดบ้านกร่าง, พระนางพญาวัดนางพญาและวัดต้นจันทร์ สุพรรณบุรี, พระกรุต่าง ๆ ในกำแพงเพชร, พระกรุต่าง ๆ ในสุโขทัย, หูยานลพบุรี, ท่ากระดานหูไห กาญจนบุรี, พระกรุวัดท่ามะปราง, พระวัดชินราช พิษณุโลก, พระหลวงพ่อจุก, พระจุฬามณี พิษณุโลก, พระรอด พระคง พระเปิม-ลำพูน, มหาว่านวัดเขาอ้อ-พัทลุง, และพระกรุศรีวิชัยฯลฯ

    การประกอบพิธีพุทธาภิเษก จัดให้มีขึ้นตลอดพรรษา ณ วิหารวัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช
    ได้ฤกษ์พิมพ์องค์พระในวันที่ 2 สิงหาคม 2497
    ครบ 84,000 องค์ วันที่ 1 กันยายน 2497
    ทำพิธีปลุกเสกวันที่ 14 กันยายน 2497
    ออกพิธีวันที่ 12 ตุลาคม 2497 ซึ่งเป็นวันออกพรรษา

    โดย พิธีนี้ได้นิมนต์พระเถราจารย์ ผู้เรืองเวทวิทยาคม 108 รูป มาร่วมประกอบพิธี มีท่านเจ้าคุณพระภัทรมุนี เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุฯ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ สำหรับพระคณาจารย์ที่ปลุกเสกขอยกมาเป็นบางส่วน ได้แก่ หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน จันดี, หลวงพ่อโอภาสี บางมด ธนบุรี, หลวงพ่อเขียว วัดหรงบน, หลวงพ่อเมือง วัดท่าพญา, หลวงพ่อคง วัดคลองน้อย, หลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำ ปากพนัง, หลวงพ่อแดง วัดโท ท่าศาลา, หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง ร่อนพิบูลย์, หลวงพ่อแดง วัดเขาหลัก ทุ่งใหญ่, หลวงพ่อตุด วัดทุ่งกง กระบี่, หลวงพ่อวัน มะนะโส วัดประสิทธิชัย, หลวงพ่อแสง วัดคลองน้ำเจ็ด ตรัง, หลวงพ่อปาล วัดเขาอ้อ, หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน, หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ. หลวงพ่อเจ็ก วัดเขาแดงตะวันตก, หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดง ตะวันออก พัทลุง, หลวงพ่อพัว วัดเขาราหู (วัดบางเดือน). หลวงพ่อแดง วัดคลองไทร, หลวงพ่อวิรัช วัดกะเปา คีรีรัฐนิคม สุราษฎร์ธานี, หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน, หลวงพ่อสงฆ์ วัดศาลาลอย, หลวงพ่อจีด วัดถ้ำเขาพลู, หลวงพ่อรุ่ง วัดบางแหวน ชุมพร, หลวงพ่อท้วม วัดเขาโบสถ์ บางสะพาน, หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์, หลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง เพชรบุรี, หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม นครปฐม ฯลฯ อาจารย์ที่เป็นฆราวาสได้แก่ อ.ชุม ไชยคีรี, อ.นำ แก้วจันทร์, พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ ราชเดช
    การปลุกเสกเน้นเด่นเฉพาะทาง แบ่งออกเป็นช่วง ช่วงละ 7 วัน เช่น ปลุกเสกเน้นด้านคงกระพันชาตรี 7 วัน มหาอุด 7 วัน ป้องกันสัตว์ร้ายและโจรร้าย 7 วัน ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บและภูตผีปีศาจ 7 วัน เมตตามหานิยม 7 วัน เนรมิตกายกำราบศัตรูให้เห็นเราคนเดียวเป็นหลายคน ดังนี้เป็นต้น
     
  6. โอกระบี่

    โอกระบี่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,477
    ค่าพลัง:
    +1,651
    พระพิมพ์ขุนแผนเสด็จกลับหลวงปู่สุภา กันตสีโล ปี 06 วัดสารอด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1267096776.jpeg
      1267096776.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      89.5 KB
      เปิดดู:
      205
    • 1267096777.jpeg
      1267096777.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      125.4 KB
      เปิดดู:
      118
  7. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    ขอบคุณครับ สำหรับความรู้มากมาย
    พี่โอกระบี่นี่สุดยอด:cool:
     
  8. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    หลวงพ่อพลับ วัดชายคลอง พัทลุง

    ประวัติ หลวงพ่อพลับ วัดชายคลอง

         พระครูพลับ สุวณโณ อายุ 104 ปี 81 พรรษา เป็นเจ้าอาวาศ วัดชายคลอง ได้รับราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ที่ พระครูการาม เมื่อวันเฉลิมพระชนพรรษา รัชกาลปัจจุบัน วันที่ 5 ธันวาคม 2529

         หลวงปู่พลับ ชื่อ พลับ เกตุอินทร์ เกิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พศ 2439 วันจันทร์ แรม 8 ค่ำ เดือน9 ปีวอก ที่บ้านหมู่ที่ 6 ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมือง จังหวัด พัทลุง โยมบิดา ชื่อ นายขาว เกตุ อินทร์ โยมมารดา ชื่อ นางทิม เกตุอินทร์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวสามคนคน

    1.นางพริ้ม เกตุอินทร์

    2. พระครูการาม

    3. นายเชือน เกตุอินทร์

        ชีวิตตอนวัยเด็ก

        พระครูการาม ได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาไทย อักษรขอม จนอ่านออกเขียนได้กับพระในวัดและออกไปช่วยบิดามารดามารดาประกอบอาชัพทางเกษตรกรรม ปลูกข้าว พืชผักผลไม้ เลี้ยงครอบครัวเหมือนกับชาวนาทั่วไป นับย้อนหลังไปเมื่อพระครูการาม มีอายุได้ 17 ปีท่านอุทิศตนบรรพชาเป็นสามเณรในพระบวรพุธศาสนา ณ วัดชายคลอง เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2456 โดยมีพระครู ธรรมโฆษ วัดจินตาวาส(เจ็นออก)ตำบลตำนาน เป็นพระอุปัชฌา

        อุปสมบทเป็นพระภิกษุ

       เมื่อบรรชาเป็นสามเณรแล้ว พระครูการาม หรือในนามเดิมว่า สามเณรพลับ เกตุอินทร์ ก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัย สามเณรสิกขาข้อวัตรปฎิบัติต่างๆ พร้อมกับรับใช้ปฎิบัติพระอุปเย ครูอาจารยืด้วยความเคารพ จนกระทั่งอายุได้ 21 ปี ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในนามว่าพระพลับ สุวณโณ ณ วัชายคลอง เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2460 โดยมีพระครูรรมโฆษ เป็นพระอุปฌาย์เช่นเดิม

        ชีวิตสมณะ

        ครั้นอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านพระครูก็ได้ศึกษาพระรรมวินัยเพิ่มเติม จากการเรียนสมัยเป้นสามเณร โดยเดินทางไปศึกษาที่สำนักเรียนวัดพระมกาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช และสอบได้นักธรรมตรีในปี พศ 2461 แล้วเดินทางกลับที่วัชายคลองตามเดิมจากนั้นก็หันมาฝึกวิชาตามความนิยมของวัดวาอารามสมัยนั้น ประกอบด้วยพระครูการามท่านเป้นผู้มีความถนัดหรือมีพรสวรรรค์ เกี่ยวกับวิชาช่างอยู่แล้วท่านก็กลายเป็นช่างหลายสาขาเช่น ช่างไม่ ช่างกลึง ช่างเหล็ก และช่างฝีมืออื่นๆอีก ส่วนด้านข้อปฎิบัติ พระครูการาม ไม่เคยบกพร่องในพระธรรมวินัยเลย ข้อเสียหายต่างๆในชีวิตสมณะของท่านไม่เคยปรากฎเลย ท่านเป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่องตลอดมา โดยเฉพาะเพศที่เป็นข้าศึกต่อพรมจรรญ์นั้นถ้าไม่จำเป็นจริงๆ แล้วท่านไม่ค่อยยอมพูดด้วยเลย แม้แต่บุรุษพูดด้วยกับท่านพระครูพูดน้อยที่สุด

        ท่านพระครูการาม แม้ท่านไม่ค่อยพูดค่อนจากับใครนัก แต่ท่านก็มิใช่เป้นพระเคร่งขรึมอารมเครียด ตรงกันข้ามท่านเป้นพระที่มีอารมดี ร่าเริงใบหน้ายิ้มแย้มอยู่เสมอ สายตามีแววประกอบด้วยเมตตาธรรมอย่างสูงส่ง และคงเป็นเพราะเหตนี้ ท่านเป็นผู้โชคดีไม่มีโรคภัยเบียดเบียน แม้ว่าชนษาของท่านจะร่วมร้อยกว่าปีแล้ว สุขภาพของท่านแข้งแร ไม่งอแง ยังเดินคล่องแคล่วแม้เวลามการประชุมพระสังฆาธิการแต่ละครั้ง ท่านไม่เคยขาดประชุมเลยและไม่เคยอ้างว่า ผมแก่แล้ว ไม่ต้องเข้าประชุม อีกประการหยึ่งพระครูการาม แม้ท่านจะเป็นคนรุ่นเก่า รุ่นดบราณ แต่มีความคิดความอ่านและความเห็นของท่านไม่ได้เก่าหรือโบราณ ชนิดลายครามแตอย่างได ตรงกันข้ามท่านเป็นคนเข้าถึงสัจธรรม ทันดลกทันเหตุการณ์ ไม่งมงาย ไม่เชื่อไสยศาตร ความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ ท้งปวง ท่านมีความคิดเป็นวิและพุธศาสตร์ผสมกัน ฉะนั้นท่านจึงเป็นพระมหาเถระที่ควรเคารพ กราบไหว้อย่างยิ่ง คุรณงามความดีของท่านสุดจะพรรณด้วยหน้ากระดาษอันจำกัด

        งานปกครอง

         พระครูการามได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาศ ปกครองพระภิกษุสามเณร ศิษ วัดชายครอง เมื่ออายุ 31 ปี พรรษา 10 คือเมื่อปี พศ 2470 เรื่อยมาจนกระทั่งมรณะภาพ โดยให้ความอนุเคราะสงเคราะ อบรมสั่งสอนพระภิกษุสามเณรศิษวัด และประชาชนด้วยความเมตตาพรหมวิหารธรรมตลอดมา

         งานการศึกษา

         พระครูการาม ให้ความสนใจในด้านการศึกษามาก ท่านพยายามส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณร ศิษวัดและเยาวชนให้ได้รับการศึกษาเป็นอย่างดี แม้ว่าวัดของท่านจะไม่เป็นสำนักเรียน แต่ท่านส่งพระภิกษุสามเณรไปเรียนที่วัดคูหาสวรรค์เป็นประจำ แม้แต่พระนวกะ ท่านก็ส่งไปศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดคูหาสวรรค์ เป็นพิเศาตลอดพรรษา ด้านเยาวชนท่านก็ส่งเสริมด้วยการให้ทุนการศึกษาและอื่นๆอีกมากมาย

         งานเผยแพร่

         ในการเผยแผ่นั้น พระครูการาม แม้ท่านจะไม่เป็นนักเทศ นักเผยแผ่โดยตรง แต่ท่านก็สามารถแสงธรรม ให้อุบาสกอุบาสิกาในวัดของท่านฟังตลอดมาพร้อมกับให้การสนับสนุนงานเผยแผ่เป็นอย่างดี

        งานสาธารณูปการ

        ตามปกติพระครูการามท่านเป็นพระช่างอยู่แล้ว ฉะนั้น ท่านได้ดำเนินการสร้างสิ่งก่อสร้างมากมาย เช่น ศาลาการเปรียญ อุโบสถ ศาลาบำเพ็ญกุศล หอฉัณ กุฎิน้อยใหญ่ และดำเนินการสร้างอาคารเรียน โรงเรียนวัดชายคลอง

        คาถาอายุยืนของพระอาจารย์ เมื่อประมาณ 20 กว่าปีที่ผ่านมา พระครูประภัทรธรรมโกศล (พระมหาผ่อง ปถสสโร) วัดไทรห้อย อำเภอเมือง ได้เรียนถาม พระครูการาม ว่าเหตุไดพระเดชพระคุณมีอายุยืนมากแล้ว แต่ดูไม่แก่แข็งแรง ไม่มีโรคเบียดเบียน พระครูท่านตอบว่า เวลาตื่นนอนตอนเช้า เอาน้ำล้างหน้า เสกด้วยพระคาถา อายุฑฒโก โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเสกน้ำล้างหน้าด้วยพระคาถา อายุวฑฒโก ธนวฑฒโก สิริวฑฒโก ยสวฑฒโก พลวฑฒโก วณณวฑฒโก สุขวฑฒโก โหตุสพพทา โสตถิ ภวนตุ เม
     
  9. yamie

    yamie เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    1,640
    ค่าพลัง:
    +1,520
    เป็นพระเก่าเก็บของคุณพ่อแฟนคะ อยู่นานแล้วทั้งที่แฟนก็ไม่ทราบที่มา ตั้งแต่คุณพ่อเสียก็เก็บไว้ตลอดคะ มีคุณค่าทางจิตใจกับแฟนคะ ยาเพิ่งเปิดเจอที่กลูเกิลเมื่อเดือนที่แล้ว ว่าเป็นพระอะไรคะ อยู่ตั้งนาน หาแล้วหาอีก อยู่ๆก็ทราบที่มา ดีคะเจ้าของพระจะได้ทราบว่าพระอะไร ด้านหลังภาษาบาลี เก้าบรรทัด จำไม่ได้แล้วแปลว่าอะไร ลืมคะ
     
  10. magun

    magun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2011
    โพสต์:
    963
    ค่าพลัง:
    +1,734
    สุดยอดครับ หลวงพ่ออุตตมะ
    อยากเห็นลูกประคำ 108 ของคุณพี่จังครับ
    กราบหลวงพ่ออุตตมะ ครับ สาธุ สาธุ สาธู
     
  11. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลและภาพประกอบ
    เห็นเมื่อปีก่อนหลวงปู่สุภาก็สร้างขุนแผนเสด็จกลับย้อนยุค
    แต่ออกให้วัดอื่น เพื่อนำเงินไปบูรณะวัดครับ
     
  12. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    ขุนพันธ์ (ศิษย์ฆราวาสสายเขาอ้อ)


    พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช

    เกิด 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446
    อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
    เสียชีวิต 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 (อายุ 103 ปี)
    สัญชาติ ไทย
    รู้จักในฐานะ อดีตนายตำรวจชื่อดังของวงการตำรวจไทย
    คู่สมรส นางเฉลา พันธรักษราชเดช
    นางสมสมัย พันธรักษราชเดช
    บุตร 12 คน
    บิดา มารดา นายอ้วน พันธรักษ์
    นางทองจันทร์ พันธรักษ์

    พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช (18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446-5 กรกฎาคม พ.ศ. 2549) อดีตนายตำรวจชื่อดังของวงการตำรวจไทย ซึ่งท่านมีชื่อเสียงเป็นอันมากในการปราบโจรร้ายในภูมิภาคต่างๆของไทย ในภาคกลางเช่น เสือฝ้าย เสือย่อง เสือผ่อน เสือครึ้ม เสือปลั่ง เสือใบ เสืออ้วน เสือดำ เสือไหว เสือมเหศวร ที่พัทลุง ปราบ เสือสังหรือเสือพุ่ม ที่นราธิวาส ปราบผู้ร้ายทางการเมือง ในปี พ.ศ. 2481 หัวหน้าโจรชื่อ “อะเวสะดอตาเละ” จนท่านได้ฉายาจากชาวไทยมุสลิมว่า “รายอกะจิ” ซึ่งแปลว่า อัศวินพริกขี้หนู จากผลงานที่ท่านสามารถปราบโจร เสือร้ายต่างๆ ได้มากมาย จึงได้รับฉายา ดังต่อไปนี้
    นายพลตำรวจหนังเหนียวผู้จับเสือมือเปล่า
    นายพลตำรวจหนวดเขี้ยว
    ขุนพันธ์ฯ ดาบแดง (เชื่อกันว่าเป็นดาบที่ตกทอดมาจาก พระยาพิชัยดาบหัก ฝักดาบมีถุงผ้าสีแดงห่อหุ้ม ตัวดาบมีความคมกล้ายิ่งนัก )
    รายอกะจิ (อัศวินพริกขี้หนู) ฯลฯ
    จอมขมังเวทย์

    พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช หรือชื่อเดิมว่า บุตร พันธรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 ที่บ้านอ้ายเขียว หมู่ที่ 5 ตำบลดอนตะโก อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายอ้วน นางทองจันทร์ พันธรักษ์ เริ่มเข้าเรียนในชั้นประถมปีที่ 1 ที่โรงเรียนวัดสวนป่าน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เนื่องจากท่านมีความรู้ในวิชาเลขและหนังสืออยู่แล้วก่อนที่จะเข้าโรงเรียน ดังนั้นเมื่อเข้าเรียนในชั้นประถมปีที่ 1 ได้ 1 วัน ทางโรงเรียนก็เลื่อนชั้นให้เรียนในชั้นประถมปีที่ 2 และวันรุ่งขึ้นก็เลื่อนชั้นให้เรียนชั้นประถมปีที่ 3 เป็นอันว่าท่านเข้าโรงเรียนได้เพียง 3 วัน ได้เลื่อนชั้นถึง 2 ครั้ง
    เมื่อครั้งเรียนชั้นประถมปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสวนป่าน มีพระภิกษุอินทร์ รัตนวิจิตร เป็นผู้สอน เรียนอยู่ประมาณ 2 เดือน โรงเรียนนั้นก็ถูกยุบ ท่านจึงเข้าเรียนในชั้นเดิม ที่โรงเรียนวัดพระนคร ตำบลพระเสื้อเมือง (ปัจจุบันคือตำบลในเมือง) อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช มีครูเพิ่ม ณ นคร เป็นครูประจำชั้น เรียนจบชั้นประถมปีที่ 3 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียน ในปี พ.ศ. 2456 ได้เข้าเรียนต่อชั้นมัธยมปีที่ 1 ที่โรงเรียนวัดท่าโพธิ์ (โรงเรียนเบจมราชูทิศในปัจจุบัน)
    พอเรียนชั้นมัธยมปีที่ 2 ได้ไม่กี่เดือนก็ต้องออกจากโรงเรียนเพราะป่วยเป็นโรคคุดทะราด ต้องพักรักษาตัวปีกว่า เมื่อหายจึงคิดจะกลับมาศึกษาต่อที่โรงเรียนเดิมแต่ปรากฏว่าเพื่อนๆ ที่เคยเรียนด้วยกันเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และปีที่ 3 แล้ว จึงเปลี่ยนใจเดินทางเข้าไปศึกษาที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2459 โดยไปอยู่กับพระปลัดพลับ บุณยเกียรติ ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้า ที่วัดส้มเกลี้ยง (วัดราชผาติการาม) ได้เรียนอยู่ที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร (โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปั้จจุบัน) เข้าเรียน พ.ศ. 2461 เลขประจำตัว บ.บ. 1430 ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ขณะเรียนที่โรงเรียนนี้ท่านได้เรียนวิชามวย ยูโด และยิมนาสติกจากครูหลายคน เช่น ครูย้อย ครูศิริ ครูนก ครูมณี จนมีความชำนาญในเชิงมวย ท่านสอบไล่ได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 ในปี พ.ศ. 2467
    ต่อมาในปี พ.ศ. 2468 จึงได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจห้วยจระเข้ จังหวัดนครปฐม ขณะที่เรียนได้เป็นครูมวยไทยด้วย เรียนอยู่ 5 ปี สำเร็จหลักสูตรในปี พ.ศ. 2472
    พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นคนสุดท้ายของประเทศไทยที่ได้รับพระราชทานทินนาม ซึ่งพลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช ได้ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา ในวันที่ 5 เดือนกรกฎาคม พุทธศักราช 2549 เวลา 23.27 น. ที่บ้านเลขที่ 764/5 ซ.ราชเดช ถ.ราชดำเนิน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

    ในชุดเจ้าพิธีกรรมในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช
    หลังจากจบการศึกษาแล้ว ทางราชการได้แต่งตั้งให้ไปรับราชการในตำแหน่งนักเรียนทำการนายร้อย ที่กองบังคับการตำรวจภูธรมณฑลนครศรีธรรมราช ประจำจังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ. 2473 เป็นนักเรียนทำการอยู่ 6 เดือน ได้เลื่อนยศเป็นว่าที่ร้อยตรี
    ในปี พ.ศ. 2474 ได้ย้ายมาเป็นผู้บังคับหมวดที่กองเมืองจังหวัดพัทลุง ที่พัทลุงนี่เองท่านได้สร้างเกียรติประวัติในตำแหน่งหน้าที่ จนเป็นที่รู้จักและยอมรับในวงราชการและคนทั่วไป โดยการปราบปรามผู้ร้ายสำคัญของจังหวัดพัทลุง คือ เสือสัง หรือเสือพุ่ม ซึ่งเป็นเสือร้ายที่แหกคุกมาจากเมืองตรัง ขุนพันธรักษ์ราชเดช เล่าว่า เสือสังนี้มีร่างกายใหญ่โต ดุร้าย และมีอิทธิพลมาก มาอยู่ในความปกครองของกำนันตำบลป่าพยอม อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง นอกจากนั้นแล้วยังมีคนใหญ่คนโตหลายคนให้ความอุ้มชูเสือสัง จึงทำให้เป็นการยากที่จะปราบได้ แต่ท่านก็สามารถปรามเสือสังได้ในปีแรกที่ย้ายมารับราชการ โดยท่านไปปราบร่วมกับ พลตำรวจเผือก ด้วงชู มี นายขี้ครั่ง เหรียญขำ เป็นคนนำทาง การปราบปรามเสือสังครั้งนี้ทำให้ชื่อเสียงของท่านโด่งดังมาก ตอนนั้นจเรพระยาศรีสุรเสนา ไปตรวจราชการตำรวจที่พัทลุงพอดี ผู้ปราบเสือสังจึงได้รับความดีความชอบ คือ ว่าที่ร้อยตำรวจตรีบุตร พันธรักษ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นร้อยตำรวจตรี พลตำรวจเผือก ชูด้วง เป็นสิบตรี และนายขี้ครั่ง ได้รับรางวัล 400 บาท
    หลังจากนั้นมาอีก 1 ปี ท่านก็ได้ปราบผู้ร้ายสำคัญอื่นๆ 16 คน เช่น เสือเมือง เสือทอง เสือย้อย เป็นต้น ด้วยความดีความชอบ จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช" และในปี พ.ศ. 2478 ได้รับเลื่อนยศเป็นนายร้อยตำรวจโท และในปีนี้ได้อุปสมบทที่วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีท่านเจ้าคุณรัตนธัชมุนี (แบน) เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชอยู่ได้ 1 พรรษา จึงลาสิกขา ในปี พ.ศ. 2479 ท่านได้ย้ายไปเป็นหัวหน้ากองตรวจ ประจำกองบังคับการตำรวจภูธรมณฑลนครศรีธรรมราช ประจำจังหวัดสงขลา ได้ปราบโจรผู้ร้ายหลายคน
    การปราบโจรครั้งสำคัญและทำให้ท่านมีชื่อเสียงมากคือ การปราบผู้ร้ายทางการเมืองที่นราธิวาส ในปี พ.ศ. 2481 หัวหน้าโจรชื่อ "อะแวสะดอ ตาเละ" นัยว่าเป็นผู้ที่อยู่ยงคงกระพัน เที่ยวปล้นฆ่าเฉพาะคนไทยพุทธเท่านั้น ในที่สุดก็ถูกขุนพันธ์ฯ จับได้ ท่านได้รับการยกย่องจากทั้งชาวไทยพุทธและไทยมุสลิมเป็นอันมาก ท่านจึงได้รับฉายาจากชาวไทยมุสลิมว่า "รายอกะจิ" หรือแปลว่า "อัศวินพริกขี้หนู" และได้เลื่อนยศเป็นร้อยตำรวจเอกในปีนั้นเอง พ.ศ. 2482 ขุนพันธ์ฯ ได้ย้ายมาเป็นผู้บังคับกองเมืองพัทลุง ปี พ.ศ. 2485 ย้ายเป็นรองผู้กำกับการตำรวจภูธรที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ปราบปรามโจรหลายราย รายสำคัญ คือ เสือสาย และเสือเอิบ

    ขุนพันธรักษ์ราชเดช ถือดาบและเหน็บกริช แสดงลายนายตำรวจมือปราบหนวดเฟิ้ม
    หลังจากนั้นขุนพันธ์ฯ ได้ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดในภาคอื่น คือ ในปี พ.ศ. 2486 ได้ย้ายไปเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรที่จังหวัดพิจิตร ได้ปฏิบัติหน้าที่มีความดีความชอบเรื่อยมา และได้ปราบปรามโจรผู้ร้ายมากมาย ที่สำคัญคือการปราบ เสือโน้ม หรืออาจารย์โน้ม จึงได้รับพระราชทานยศเป็นพันตำรวจตรี พ.ศ. 2489 ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยนาท ได้ปะทะและปราบปรามเสือร้ายหลายคน เช่น เสือฝ้าย เสือย่อง เสือผ่อน เสือครึ้ม เสือปลั่ง เสือใบ เสืออ้วน เสือดำ เสือไหว เสือมเหศวร เป็นต้น กรมตำรวจได้พิจารณาเห็นว่า ผู้ร้ายในเขตจังหวัดชัยนาทและสุพรรณบุรี ชุกชุมมากขึ้นทุกวันยากแก่การปราบปรามให้สิ้นซาก จึงได้ตั้งกองปราบพิเศษขึ้น โดยคัดเลือกเอาเฉพาะนายตำรวจที่มีฝีมือในการปราบปรามรวมได้ 1 กองพัน แต่งตั้งให้ พ.ต.ต. สวัสดิ์ กันเขตต์ เป็นผู้อำนวยการกองปราบ และ พ.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นรองผู้อำนวยการ กองปราบพิเศษได้ประชุมนายตำรวจที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2489 เพื่อวางแผนกำจัดเสือฝ้าย แต่แผนล้มเหลว ผู้ร้ายรู้ตัวเสียก่อน ขุนพันธ์ฯ ได้รับคำสั่งด่วนให้สกัดโจรผู้ร้ายที่จะแตกเข้ามาจังหวัดชัยนาท
    ครั้งนั้นขุนพันธ์ฯ ใช้ดาบเป็นอาวุธคู่มือแทนที่จะใช้ปืนยาว ดาบนั้นถุงผ้าแดงสวมทั้งฝักและด้าม คนทั้งหลายจึงขนานนามท่านว่า "ขุนพันธ์ดาบแดง" ฝีมือขุนพันธ์ฯ เป็นที่ครั่นคร้ามของพวกมิจฉาชีพทั่วไป แม้แต่เสือฝ้ายเองก็เคยติดสินบนท่านถึง 2,000 บาท เพื่อไม่ให้ปราบปราม แต่ขุนพันธ์ฯ ไม่สนใจ คงปฏิบัติหน้าที่อย่างดีจนปราบปรามได้สำเร็จ ท่านอยู่ชัยนาท 3 ปี ปราบปรามเสือร้ายต่างๆ สงบลง แล้วได้ย้ายมาเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรที่อยุธยา อยู่ได้ประมาณ 4 เดือนเศษก็เกิดโจรผู้ร้ายชุกชมที่กำแพงเพชร ขณะนั้นเป็นระยะเปลี่ยนอธิบดีกรมตำรวจ และขุนพันธ์ฯ ก็ถูกใส่ร้ายจากเพื่อนร่วมอาชีพว่าเป็นโจรผู้ร้าย พล.ร.ต. หลวงสังวรยุทธกิจ อธิบดีกรมตำรวจยังเชื่อมั่นว่าขุนพันธ์ฯ เป็นคนดี จึงโทรเลขให้ไปพบด่วน และแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชร
    เมื่อปี พ.ศ. 2490 ขุนพันธ์ฯ ได้ปรับปรุงการตำรวจภูธรของเมืองนี้ให้มีสมรรถภาพขึ้น และได้ปราบปรามโจรผู้ร้ายต่างๆ ที่สำคัญคือ เสือไกร กับ เสือวัน แห่งอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ทำให้ฝีมือการปราบปรามของขุนพันธ์ฯยิ่งลือกระฉ่อนไปไกล

    ต่อมาในปี พ.ศ. 2491 ทางจังหวัดพัทลุงมีโจรผู้ร้ายกำเริบชุกชุมขึ้นอีก ราษฎรชาวพัทลุงนึกถึงขุนพันธ์ฯ นายตำรวจมือปราบ เพราะเคยประจักษ์ฝีมือมาแล้ว จึงเข้าชื่อกันทำหนังสือร้องเรียนต่ออธิบดีกรมตำรวจ ผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขอตัวขุนพันธ์ฯ กลับพัทลุงเพื่อช่วยปราบปรามโจรผู้ร้าย กรมตำรวจอนุมัติตามคำร้องขอ ขุนพันธ์ฯ จึงได้ย้ายมาเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุงอีกวาระหนึ่ง ได้ปราบปรามเสือร้ายที่สำคัญๆสิ้นชื่อไปหลายคน ผู้ร้ายบางรายก็หนีออกนอกเขตพัทลุงไปอยู่เสียที่อื่น นอกจากงานด้านปราบปรามซึ่งเป็นงานที่ท่านถนัดและสร้างชื่อเสียงให้ท่านเป็นพิเศษแล้ว ท่านยังได้พัฒนาเมืองพัทลุงให้เป็นเมืองท่องเที่ยว โดยปรับปรุงชายทะเลตำบลลำปำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และให้มีตำรวจคอยตรวจตรารักษาความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารรถไฟที่เข้าออกเมืองพัทลุง ทำให้เมืองพัทลุงในสมัยที่ท่านเป็นผู้กำกับการตำรวจ มีความสงบสุขน่าอยู่ขึ้นมาก ตำรวจที่ทำหน้าที่ดังกล่าวได้เลิกไปเมื่อกรมตำรวจจัดตั้งกองตำรวจรถไฟขึ้น ด้วยความดีความชอบในหน้าที่ราชการ ท่านจึงได้รับพระราชทานเลื่อนยศ เป็นพันตำรวจโทในปี พ.ศ. 2493 ท่านอยู่พัทลุงได้ 2 ปีเศษ จนถึง พ.ศ. 2494 จึงได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 8 จังหวัดนครศรีธรรมราช จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2503 จึงดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 8 และได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพลตำรวจตรี จนกระทั่งเกษียณอายุในปี พ.ศ. 2507
    ครั้งหนึ่งเคยมีคำขวัญอันคมคายของกรมตำรวจอยู่ประโยคหนึ่งว่า "ภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ ไม่มีอะไรที่ตำรวจไทยทำไม่ได้" นี่เป็นถ้อยคำที่เกิดขึ้นในยุคอัศวินแหวนเพชรเฟื้อง ในสมัยของท่านอธิบดีฯ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ปกครองกรมตำรวจ วีรบุรุษผู้สร้างเกียรติประวัติให้กรมตำรวจนั้นมีอยู่มาก มีอยู่ทุกยุคทุกสมัย แต่ในยุคสมัยที่ท่าน อธิบดีกรมตำรวจหลวงอดุลย์เดชจรัสนั้น...นามของ"ขุนพันธรักษ์ราชเดช" ระบือลือลั่นสุดยอดแผ่นดินด้ามขวานทอง แม้ท่านขุนพันธ์จะปลดเกษียณราชการไปนานปี แล้วก็ตาม แต่ชื่อของท่านยังอยู่ในความทรงจำของกรมตำรวจและประชาชนทั่วไป นั่นเป็นเพราะผลงานอันน่าอัศจรรย์ของท่าน กลายเป็นผลงานอันยากยิ่งที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือน ควรค่าแก่การบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ คนเมืองใต้และคนของแผ่นดิน
    พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ที่บ้านในซอยราชเดช ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช อายุได้ 103

    ชีวิตของ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นชีวิตที่มีค่าของแผ่นดินเมืองใต้และเมืองไทย ลมหายใจของท่านเคยโลดแล่นอยู่ท่ามกลางหมู่โจรผู้ร้าย ไม่เฉพาะแต่ผู้ร้ายในภาคใต้เท่านั้น แต่ที่ไหนประชาชนเดือดร้อนจากโจรผู้ร้ายชุกชุม ตำรวจคนอื่นปราบปรามไม่สำเร็จ กรมตำรวจจะต้องส่งตัวขุนพันธ์ฯ ไปปราบปรามทุกถิ่นที่มีครั้งหนึ่ง พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดชเป็นรองผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 8 ท่านเคยเดินทางมาตรวจสืบราชการลับที่เกาะสมุย ขุนพันธ์ฯท่านชอบดูมวย วันนั้นท่านไปยืนดูมวยอยู่ข้างเวที บังเอิญถอยหลังไปเหยียบเท้านางพล้อยเข้าโดยไม่ตั้งใจ ป้าพล้อยแกเป็นคนปากจัด ใครแตะเป็นด่าไม่ไว้หน้า แกก็ด่าขุนพันธ์ฯ ขุนพันธ์ฯก็วางเฉยไม่โต้ตอบอะไร มีคนรู้จักกันเข้าไปเตือนสติป้าพล้อยว่า "คนที่ป้าด่าอยู่นั้นรู้มั๊ยว่าเป็นใคร...นั่นแหละขุนพันธ์ฯ" พอได้ยินชื่อขุนพันธ์ฯเท่านั้น ป้าพล้อยแกเงียบเป็นเป่าสาก รีบก้มหน้างุดๆ เดินมุดผู้คนหนีไปโดยไม่เหลียวหลังมาอีกเลย คำบอกเล่าสั้นๆนี้ทำให้เห็นว่า ขุนพันธ์ฯ ท่านมีตบะสูง เพียงได้ยินว่าเป็นขุนพันธ์เท่านั้น ใครๆก็ขยาดทั้งนั้น เพราะรู้กิตติศัพท์ของท่านมาก่อนนั่นเอง
    สมัยที่ขุนพันธ์ฯกลับมาอยู่เมืองนครศรีธรรมราช ก็มีเรื่องเล่ากันว่า ตอนนั้นมีเสือใหญ่อยู่ 10 ตัว ในจำนวนเสือร้าย 10 ตัวนั้น มีเสือข่อย เสือจ้อย เสือหวน ฯลฯ รวมอยู่ด้วย เสือทั้ง 10 คนนั้น ล้วนเคยเป็นศิษย์หลวงพ่อช่วย เมืองนครศรีธรรมราช ผู้ซึ่งเป็นพระมีวิชาเก่งกล้าทางไสยศาสตร์ หรือกฤตยาคม ขุนพันธ์ฯ เคยเรียนวิชาด้วยผู้หนึ่ง เมื่อท่านขุนพันธ์ฯกลับมาอยู่ในตำแหน่งสำคัญระดับภาค ท่านมีประกาศิตสั่งให้ผู้ร้ายทั้ง 10 คนนั้น เลิกประพฤติเยี่ยงโจร ให้กลับใจเลิกเป็นเสือเสีย โดยให้บวชเป็นพระภิกษุ ถ้าหากไม่ทำตามคำขอร้องนั้น ขุนพันธ์ฯ ก็จะยิงทิ้งทุกคน เล่ากันว่าประกาศิตของขุนพันธ์ฯทำให้เสือร้ายส่วนใหญ่ปฏิบัติตามแต่โดยดี มีเพียงเสือข่อยเพียงรายเดียวเท่านั้นที่ไม่ยอมทำตามคำของขุนพันธ์ฯ เสือข่อยไม่ยอมเลือกทางเดินที่ขุนพันธ์ฯเลือกให้ ซ้ำร้ายยิ่งท้าทายอำนาจของกฎหมายบ้านเมือง ด้วยความเชื่อว่า ตนนั้นเป็นศิษย์หลวงพ่อช่วย ผู้เรืองวิชาอาคมแก่กล้า เป็นลูกศิษย์อาจารย์เดียวกับขุนพันธ์ฯ จึงคิดว่าขุนพันธ์จะยกเว้นไว้สักคนหนึ่ง แต่ปรากฏว่า ขุนพันธ์ฯ ทำตามที่พูด ว่ากันว่าท่านยิงเสือข่อย แต่ยิงไม่เข้า จึงสั่งให้ลูกน้องฆ่าด้วยศูลแทงสวนทวารจนถึงแก่ความตาย คำเล่าลือเหล่าเสือร้ายในหมู่บ้านของชาวเมืองปักษ์ใต้ มีทั้งเรื่องจริงบ้าง หรือต่อเติมเสริมแต่งของผู้เล่าอ่านเองบ้าง มันคือตำนานอมตะของวีรบุรุษเล็กพริกขี้หนู ที่มีนามว่า "นายร้อยบุตร์ พันธรักษ์ราชเดช" หรือขุนพันธรักษ์ราชเดช ขุนพันธ์ฯ เป็นบุคคลที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่ว่าตำแหน่งใด ยศใด ยกย่อง นับถือ และกล่าวถึง เนื่องจากท่านเป็นแบบอย่างที่ดีของตำรวจ

    ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช เคยเป็น ส.ส. ของพรรคประชาธิปัตย์ จ.นครศรีธรรมราช ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2512

    ขุนพันธ์กับบุตรชาย คุณณสรรค พันธรักษราชเดช
    นอกจากเกียรติคุณทั้งในและนอกตำแหน่งหน้าที่ราชการดังกล่าวมาแล้ว ขุนพันธ์ฯ ยังมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่สำคัญซึ่งควรกล่าวถึงคือ เป็นนักวิชาการที่สำคัญคนหนึ่ง ท่านเป็นทั้งนักอ่านและนักเขียน ได้เขียนเรื่องราวต่างๆ ลงพิมพ์ในหนังสือและวารสารต่างๆ หลายเรื่อง ขุนพันธ์ฯ เป็นคนหนึ่งที่มีความสนใจในเรื่องไสยศาสตร์อยู่มาก เรื่องที่เขียนส่วนใหญ่จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อทางไสยศาสตร์ นอกจากนั้นก็มีเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทั้งประวัติบุคคลและสถานที่ ตำนานท้องถิ่น มวย และเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง ข้อเขียนต่างๆของท่าน เช่น ความเชื่อทางไสยศาสตร์ในภาคใต้ สองเกลอ ช้างเผือกงาดำ หัวล้านนอกครู ศิษย์เจ้าคุณ มวยไทย เชื่อเครื่อง กรุงชิง เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่องกรุงชิงนั้น ท่านเล่าว่าเป็นเรื่องที่ท่านเขียนทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันตามพระบรมราชโองการ และต่อมามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีได้ขออนุญาตนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ใน "รูสมิแล" วารสารของมหาวิทยาลัยปีที่ 6 ฉบับที่ 3 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2526 งานเขียนของท่านส่วนมากจะลงพิมพ์ใน สารนครศรีธรรมราช หนังสืองานเดือนสิบวิชชา (วารสารทางวิชาการของวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช) รูสมิแล (วารสารทางวิชาการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) และหนังสือที่ระลึกในโอกาสต่าง ๆ ของโรงเรียนและหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมทั้งเป็นผู้ริเริ่มให้มีการบวงสรวงพระธาตุนครศรีธรรมราช อันเป็นที่มาของการสร้างจตุคามรามเทพรุ่นแรกในปี พ.ศ. 2530 ด้วย
    ในด้านชีวิตครอบครัว ขุนพันธ์ฯ มีภรรยาคนแรกชื่อ เฉลา ตอนนั้นท่านมีอายุได้ประมาณ 30 ปี ขณะที่รับราชการอยู่ที่จังหวัดพัทลุง มีบุตรด้วยกัน 8 คน ต่อมาภรรยาเสียชีวิต ท่านจึงได้ภรรยาใหม่ชื่อ สมสมัย มีบุตรด้วยกัน 4 คน

    อ้างอิง วิกิพีเดีย
     
  13. kidpid13

    kidpid13 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    315
    ค่าพลัง:
    +266
    ขอดันหน่อย..ฮึ้บ ๆ
    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    ขอบคุณมากครับ คุณ kidpid13:cool:
    เหรียญกายทิพย์เป็นเหรียญที่ลูกศิษย์ของ
    หลวงปู้ดุลย์ทุกคนต้องรู้จักครับ
     
  15. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
       ตำนานเครื่องรางของขลัง ขุนพันธรักษ์ราชเดช

       ตำนานเครื่องรางของขลัง ขุนพันธรักษ์ราชเดช  ก่อนอื่นต้องขออนุญาตเกริ่นนิดนึง ที่ผมเริ่มเขียนเรื่องนี้เนื่องจาก การที่ได้กลับไปร่วมงานศพของคุณตาขุนพันธ์ ที่จ.นครศรีธรรมราช และได้ไปพบเห็นกระแส ที่ต้องพูดว่าไม่เคยได้พบ มาก่อน สำหรับสามัญชน ที่ได้รับการยกย่องมากขนาดนี้ จากเดิมที่ไม่เคยสนใจมาก่อน ว่าท่านเคยทำอะไรไว้บ้างให้สังคม ประกอบกับการ ได้อ่านหนังสือหลายเล่มที่มีการนำมาจำหน่ายที่บริเวณงาน ทั้งจากปากคำญาติพี่น้อง และที่สำคัญคือคุณยายของผม ซึ่งถือว่าเป็นผู้อาวุโสท่านสุดท้ายในรุ่น คุณตาขุนพันธ์ ทำให้ผมรู้สึกถึงสิ่งที่ควรจะนำมาถ่ายถอดถึงรายละเอียดบางอย่างที่บางท่าน อาจยังไม่รับรู้ หรือถ้าได้รับรู้แล้ว ก็ถือว่าเป็นวิทยาทานให้ท่านที่ยังไม่ รู้ก็แล้วกันครับ โดยข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นจากหนังสือตำนานเครื่องรางของขลัง ขุนพันธรักษ์ราชเดช ซึ่งแต่งโดย ทศยศ ผมก็ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้


      เปิดตำนาน ดาบพระยาพิชัยดาบหัก (ดาบแดง) ปี พ.ศ. 2486 เป็นช่วงที่ พันตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช ได้ย้ายไปเป็นผู้กำกับที่ จ.พิจิตร ท่านได้ปราบปรามโจรผู้ร้ายมากมาย โดยเฉพาะการปราบ เสือโน้ม หรืออาจารย์โน้ม จึงได้รับพระราชทานยศเป็นพันตำรวจตรี ประมาณ พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ที่พิจิตรนี่เอง ที่ท่านได้พบกับ หลวงกล้ากลางณรงค์ ผู้ซึ่งสืบเชื้อสายมาจาก พระยาพิชัยดาบหัก ทหารเอกพระเจ้าตากสิน ซึ่งใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่6 ได้พระราชทานนามสกุล ของตระกูลพระยาพิชัยว่า วัชัยขัทคะ ซึ่งแปลได้ว่า ดาบวิเศษด้วยความที่ขุนพันธรักษ์ราชเดช ท่านเป็นคนที่มีนิสัยใจคอเด็ดเดี่ยว ยึดถือคำสัจจะสัญญา มีนิสัยนักเลง (ไม่ใช่เกะกะ เกเร เที่ยวรังแกคนอ่อนแอกว่า) แต่จะมีนิสัย รักษาคำพูด รักเพื่อนพ้อง ไม่กลัวที่จะเสี่ยงภัยในการทำหน้าที่ ประกอบกับได้เรียนวิชามวยไทย กระบี่กระบอง จึงทำให้ หลวงกล้ากลางณรงค์ รักใคร่ในนิสัยดังกล่าว และได้รับ ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นบุตรบุญธรรมหลวง กล้ากลางณรงค์ เห็นว่าท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช มีฝีมือในวิชากระบี่กระบอง ถึงได้มอบดาบประจำตระกูลให้ท่าน  โดยหลวงกล้ากลางณรงค์ ประกาศอย่างชัดเจน ว่า ดาบเล่มที่มอบให้ท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช ถึงแม้จะเป็นดาบประจำตระกูล แต่จะมอบให้ลูกหลาน ที่มีวิชากระบี่กระบอง ซึ่งในบรรดาลูกหลาน ในสายสกุลพระยาพิชัยดาบหัก ไม่มีใครที่มีฝีมือทางด้านนี้เลยดาบ เล่มดังกล่าวเลยตกทอดมาสู่ขุนพันธรักษ์ราชเดช และต่อมาท่านได้นำดาบเล่มนี้ ใส่ถุงผ้าสีแดง และยึดถือเป็นเครื่องรางศักดิ์สิทธิ์อีกอย่างหนึ่ง ประจำตัวของท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช

    มีเรื่องเล่ากันว่า ตอนที่ขุนพันธรักษ์ราชเดช ได้รับดาบเล่มนี้มาใหม่ๆ เสือย่อม หัวหน้าโจรปล้นฆ่าจากเมืองชัยนาท ได้เข้ามาสร้างความวุ่นวายในพิจิตร และได้ประกาศ ให้ชาวบ้านรู้กันว่า หากขุนพันธรักษ์ราชเดช มีฝีมือทางกระบี่กระบองจริง ตนขอท้าให้มาจับ โดยตนจะขอใช้เพียงไม้หน้าสาม เข้าสู้กับดาบประจำตระกูล พระยาพิชัย ที่ขุนพันธรักษ์ราชเดชครอบครองอยู่ ขุนพันธรักษ์ราชเดชจึงรับคำท้า โดยในครั้งนั้นขุนพันธรักษ์ราชเดช ได้ทำพิธี ตัดไม้ข่มนาม ตามพิธีโบราณ คือ ใช้ดาบประจำตระกูลพระยาพิชัยดาบหัก ฟันลงไปที่กิ่งต้นมะยม โดยถือเคล็ด เอาชื่อพรรณไม้ ที่ใกล้เคียงกับชื่อ เสือย่อม มากที่สุดคือ ไม้มะยม หรือ ไม้ยม ในการทำพิธี ตัดไม้ข่มนาม แต่ในครั้งนั้น ขุนพันธรักษ์ราชเดชไม่ได้ใช้ดาบเล่มดังกล่าว เข้าต่อสู้กับเสือย่อม แต่ใช้ไม้ระกำ ซึ่งมีหนามแหลม โดยประกาศว่า "หากเสือย่อมใช้ไม้หน้าสาม ขุนพันธรักษ์ราชเดชเองก็จะขอใช้อาวุธที่ด้อยกว่า คือไม้ระกำ เพราะถือว่า ไม่ยอมให้ใครมาข่มบารมีตำรวจได้"และเป็นครั้งแรก ที่ขุนพันธรักษ์ราชเดช ได้สะพายเครื่องรางของขลัง ดาบประจำตระกูลพระยาพิชัยดาบหัก ในการออกปราบปราม โดยขุนพันธรักษ์ราชเดชได้เข้าปราบปราม เสือย่อม ในวันที่ 23 มิถุนายน 2488 ในการดวลกระบี่กระบองในครั้งนั้น เสือย่อมถูกหวดด้วยไม้ระกำขอยอมแพ้ในที่สุด ซึ่งส่งผลให้ชาวบ้านรู้จักขุนพันธรักษ์ราชเดช กัน ในชื่อ "ขุนพันธฯ ดาบแดง" นอกจากนี้ ยังส่งผลให้กลุ่มเสือย่อม กลุ่มเสือครึ้ม กลุ่มเสือปลั่ง แตกสลายตัว บ้างก็โดนจับ บ้างก็หนีออกนอกพื้นที่จ.พิจิตรหลังจากที่ขุนพันธรักษ์ราชเดชได้ดาบเล่มนี้มาแล้ว ก่อนจะออกปราบปรามทุกครั้ง ท่านจะนำดาบเล่มดังกล่าว เข้าทำพิธี "แช่น้ำข้าวเหนียว" และนำไปวางพิงกับ ต้นไม้ ในทิศตะวันออกของสถานที่พักอาศัย โดยวางดาบเล่มดังกล่าวให้อยู่กลางหาว โดยให้อาบแสงจันทร์ ในลักษณะถอดดาบออกจากฝัก ให้ด้านคมของดาบหัน เข้าหาแสงจันทร์ ตอนกลางคืน ทั้งนี้จากความเชื่อที่ว่า คนเรียนไสยเวท ไม่ว่าจะเป็นโจรผู้ร้าย หรือแม้แต่ตำรวจเองก็ตาม ในสมัยก่อนนิยมสักยันต์ หรือหาเครื่องรางของขลัง ที่เชื่อว่าทำให้ตน หนังเหนียวขุนพันธรักษ์ราชเดชจึงทำการแก้เคล็ด โดยนำไปแช่ น้ำข้าวเหนียว เพราะคำว่า "ข้าวเหนียว" กับ "เข้าเหนียว" เป็นคำที่พ้องนาม พ้องเสียง ซึ่งสามารถสื่อได้ว่า

    "ต่อให้หนังเหนียวขนาด ไหน ก็ยังฟันเข้าด้วยดาบเล่มนี้ เพราะผ่านพิธีแก้เคล็ด โดยการ แช่น้ำข้าวเหนียวมาแล้ว" และการนำไปอาบแสงจันทร์ ก็เพื่อเพิ่มความขลัง เพราะสีของดาบเป็นสีปีกแมงทับ คือจะสีออกเขียวเหลื่อม ส่องประกายดุดัน ยามที่ต้องแสงจันทร์ในตอนกลางคืน เมื่อลูกน้องใต้บังคับบัญชา ได้เห็นดาบเล่มที่เป็นตำนานของพระยาพิชัยดาบหัก ส่องประกายดุดัน ก็จะเกิดความหึกเหิม ใจกล้ามากขึ้นหลัง จากนั้นในการออกปราบปรามทุกครั้งของขุนพันธรักษ์ราชเดช ก็ได้ใช้พิธีแช่น้ำข้าวเหนียว กับตัดไม้ข่มนาม ด้วยดาบประจำตระกูลเล่มนี้ทุกครั้งก่อน เพื่อเพิ่ม ขวัญกำลังใจ ให้กับตนเองและผู้ใต้บังคับบัญชา จนต่อมาจากการที่ขุนพันธรักษ์ราชเดช ได้สะพายถุงผ้าสีแดง ที่ห่อดาบเล่มดังกล่าว ในการออกปราบปรามทุกครั้ง จึงทำให้ขุนพันธรักษ์ราชเดช มีฉายาเป็นที่รู้จักกันในวงกว้างว่า "ขุนพันธ ดาบแดง"

    พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดชยังได้ให้อาจารย์ยัง*** เจ้าอาวาสวัดปากครองมะขามเฒ่า  ปลุกเสกให้พร้อมกับมีดพก เมื่อพ.ศ.2489 เมื่อย้ายไปรับราชการที่ จ.ชัยนาท เพื่อเพิ่มขวัญกำลังใจ ในการทำหน้าที่ จนประสบความสำเร็จทุกครั้ง
    *** อาจารย์ยัง ถือเป็นครูคนที่สิบเอ็ดของขุนพันธรักษ์ราชเดช โดยอาจารย์ยัง วัดหนองน้อย ชัยนาท ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า รุ่นเดียวกับกรมหลวงชุมพรฯ สอนเกี่ยวกับการปลุกดาบ ปลุกมีด เสกน้ำมะพร้าวแก้ช้ำแก้ชอก ให้แก่ขุนพันธรักษ์ราชเดช 

    ขอบคุณข้อมูล ตั๊มศรีวิชัย
     
  16. kidpid13

    kidpid13 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    315
    ค่าพลัง:
    +266
    บ่เป็นหยังครับพี่..กรุพระ...ถ้าไม่เบื่อเด่วผมจะแวะมาบ่อย ๆ นะครับ

    และอาจจะขอถือโอกาสสอบถามไปด้วย...ว่าพระอะไร...เช่นด้านล่างนี้ผมไม่รู้ครับ...หากท่านใดทราบโปรดบอกจะขอบคุณมากครับ


    (""" อ้าว..เฮ้ย..อัพรูปม่าย...ด้าย...เว็บเป็นอะไรอีกล่ะ....งงคับ...คราวหน้าละกันนะ...)
     
  17. kidpid13

    kidpid13 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    315
    ค่าพลัง:
    +266
    รูปมา แระ
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    ขอบคุณที่นำมาให้ชมครับ คุณ kidpid13
    พระองค์นี้พิมพ์คมชัดมีเอกลักษณ์
    เป็นพระแท้ล้านเปอร์เซ็นต์ :cool:
    แต่ผมยังไม่ทราบว่าเป็นของที่ใด
    ถ้าอ่านเจอหรือมีข้อมูลเพิ่มเติมจะแจ้งให้ทราบครับ
     
  19. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ขอบคุณพี่กรุพระ ที่นำพระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน
    ของเกจิสายเขาอ้อมาให้ชม เป็นการเพิ่มความรู้
    และผมว่าข้อคิดอย่างนึงก็คือ พระหลวงปู่ทวด
    มีการออกหลายวัด เราจะต้องเก็บรักษาและบันทึกที่มา
    เผื่ออนาคตญาตพี่น้องลูกหลานที่ได้ไปจะได้เห็นคุณค่า
    หากไม่ทราบที่มา เอาไปสนาม ก็อาจมีคนบอกว่าเก๊
    เพราะไม่รู้จักพระ แล้วก็ไปใช้มาตรฐานการดูหลวงปู่ทวด
    เนื้อว่าน 97 มาเปรียบเทียบก็เป็นได้
    ซึ่งแบบนั้นก็จะไปว่าคนดูก็ไม่ได้อีก เพราะเจ้าของไม่รู้ที่มา
    และเวลาดูเขาก็ต้องเทียบรุ่นยอดนิยมก่อนเพราะเป็นที่รู้จักทั่วไป
     
  20. kidpid13

    kidpid13 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    315
    ค่าพลัง:
    +266
    ขอบคุณครับพี่กรุพระ...พระที่ผมเก็บ ๆ ไว้แต่ไม่รู้จักยังมีอีกเพียบเลยครับ ... เด๋ว จะขอถือโอกาสแวะมา เรื่อย ๆ นะขอรับ ... เผื่อมีท่านใดทราบโปรดบอกจะขอบคุณมากเลยครับ
    ...
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...