หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง จ.ร้อยเอ็ด

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย Specialized, 28 กรกฎาคม 2010.

  1. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    : ประวัติอาจารย์
    หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล


    ๑. ประวัติของท่าน

    โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ๕
    รศ.ดร.ปฐม - ภัทรา นิคมานนท์ เรียบเรียง



    บูรพาจารย์สายพระป่า


    [​IMG]




    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล
    พระครูวิเวกพุทธกิจ หรือ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล เป็นพระบูรพาจารย์ผู้ริเริ่มการถือธุดงควัตร และใช้ชีวิตแบบพระธุดงคกรรมฐาน ออกบำเพ็ญภาวนาตามป่าเขาห่างไกลในถิ่นทุรกันดาร มุ่งความรู้แจ้งแห่งธรรม ตามรอยบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อความวิมุตติหลุดพ้นอย่างแท้จริง
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล เป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่สายพระกรรมฐานแห่งยุค
    ในวัดป่า หรือ วัดในสายกรรมฐาน ทุกแห่ง เรามักจะได้ยินชื่อเห็นรูปถ่าย รูปปั้น ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ อยู่คู่กับ หลวงปู่มั่น เสมอ
    แต่น่าเสียดาย ที่เรื่องราวของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ เป็นที่รู้จักกันน้อยมาก หาอ่านหาศึกษาได้ยากยิ่ง
    ทั้งนี้ เพราะขาดการบันทึก และขาดการรวบรวมค้นคว้าอย่างเป็นระบบ ทำให้พวกเรา หลาน - เหลนรุ่นหลัง ไม่ค่อยทราบประวัติและเรื่องราวของท่านเท่าที่ควร
    นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง !
    ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ผู้เขียน และครอบครัวมีโอกาสกราบหลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา
    หลวงพ่อ ได้เล่าเรื่อง หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ให้ฟังอย่างย่นย่อในฐานะที่หลวงพ่อ เคยเป็นสามเณรถวายการอุปัฏฐากรับใช้หลวงปู่ใหญ่ เมื่อครั้งอยู่เมืองอุบลฯ ได้รับการอบรมด้านข้อวัตรปฏิบัติ และการภาวนาอันเป็นพื้นฐานการปฏิบัติธรรมขั้นสูงต่อไป
    นอกจากนี้ หลวงปู่ใหญ่ ยังได้เดินธุดงค์เข้ากรุงเทพฯ เพื่อนำสามเณรพุธ มาฝากให้เป็นลูกศิษย์ของท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ) พระสหธรรมิกคู่ธุดงค์กรรมฐานของท่าน ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสครองวัดปทุมวนากม ในสมัยนั้น
    หลวงพ่อพุธท่านเริ่มต้นเล่าถึงครูอาจารย์ของท่านว่า “หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นลูกศิษย์ของพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ถ้าจะถามว่า ท่านพระอาจารย์เสาร์ เป็นลูกศิษย์ของใคร ก็ต้องตอบว่า พระอาจารย์เสาร์เป็นลูกศิษย์ของพระครูสีทาชยเสโน ถ้าจะถามต่อจากนั้นขึ้นไปหลวงพ่อก็ไม่รู้ แต่ถ้าจะให้ตอบ ก็ต้องตอบว่า ท่านพระครูสีทา ชยเสโน เป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า ก็ไปจบลงที่นั้น...”
    หลวงพ่อพุธ เล่าว่า หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ท่านชอบอ่านพุทธประวัติศึกษาเรื่องราวของพระพุทธเจ้าจากคัมภีร์ใบลาน ท่านจึงดำเนินรอยตามพระพุทธเจ้า คือท่านไม่ติดสถานที่ ไม่ติดญาติโยม ไม่ติดลาภยศ มุ่งบำเพ็ญเพียรตามป่าเขาห่างไกลจากผู้คน เพื่อบำเพ็ญไปสู่มรรคผลนิพพานอย่างแท้จริง
    ในการภาวนา หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ท่านให้ใช้คำบริกรรมว่า “พุทโธ” เป็นอุบายธรรมน้อมนำเอาพระพุทธคุณเข้ามาเป็นอารมณ์จิต เพื่อให้เกิดความสงบ เป็นสมาธิได้ง่ายขึ้น
    หลังจากนั้น จึงค่อยพิจารณาธรรมอย่างอื่น เช่น การพิจารณากาย พิจารณาอสุภกรรมฐาน พิจารณาความตาย พิจารณากฎไตรลักษณ์ จนถึงพิจารณาอริยสัจสี่ ต่อไป ดังนี้เป็นต้น
    เป็นการดำเนินชีวิตไปตามลำดับ จาก สมถกรรมฐาน อุบายให้เกิดความสงบ แล้วจึงเดินจิตเข้าสู่วิปัสสนากรรมฐาน อธิบายให้เกิดปัญญาธรรม ต่อไป
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ท่านเป็นผู้เคร่งครัดในธรรมวินัยอย่างยอดเยี่ยมมีบุคลิกลักษณะสมบูรณ์ สง่าผ่าเผยน่าเกรงขาม พูดน้อย แต่มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ พูดจาอะไรมักเป็นอย่างนั้น
    ดังตัวอย่าง สมัยหนึ่ง เมื่อท่านหลวงปู่ใหญ่ออกเผยแพร่ธรรมแก่ประชาชน ได้มีผู้เลื่อมใสไปทำบุญถวายท่านกับท่านเป็นจำนวนมากหลังจากนั้นญาติโยมได้ขอให้ท่านแสดงธรรม ท่านจึงกล่าวเป็นธรรมคติแต่โดยย่อว่า :-
    “การให้ทาน ใครๆ ก็ให้ทานมามากแล้ว มีพลานิสงส์มากเหมือนกัน แต่ผู้เป็นขาวเป็นชีรักษาศีลอุโบสถไม่ได้ มีอานิสงส์มากกว่าให้ทานนั้นเสียอีก ถ้าใครอยากได้บุญมาก ขึ้นสวรรค์ไปนิพพานพ้นทุกข์ก็ควรบวชเป็นขาวเป็นชีรักษาศีลอุโบสถเสียวันนี้”
    ปรากฏว่าในค่ำวันนั้นเอง ได้มีญาติโยมชายหญิงพากันมาบวชผ้าขาว บวชชี ถือศีลอุโบสถ ฟังเทศน์ฟังธรรม และปฏิบัติภาวนากันเป็นจำนวนมากและถือปฏิบัติในวงพระป่าสายกรรมฐานตั้งแต่นั้นมาผู้เขียน (นายปฐม นิคมานนท์) เชื่อว่า ประเพณีการนุ่งห่มขาวถือศีลอุโบสถ ซึ่งเรียกกันภายหลังว่าบวชชีพราหมณ์บ้าง บวชเนกขัมมะหรืออย่างอื่น ที่จัดกันในทุกวันนี้ น่าจะสืบทอดมาจากสมัยที่หลวงปู่ใหญ่ท่านพาทำนั่นเอง
    อันนี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐานของผู้เขียน ถ้าผิดพลาดคลาดเคลื่อน ขอท่านผู้รู้โปรดช่วยแก้ไขชี้แนะด้วยครับ
    ผู้เขียนเคยตั้งใจไว้นานแล้วว่า จะหาโอกาสเขียนหนังสือเกี่ยวกับประวัติหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล โดยตั้งความหวังไว้ที่หลวงพ่อพุธ ในฐานะเป็นคลังข้อมูลใหญ่ อยากจะได้ข้อมูลจากปากของท่านเองเป็นหลัก
    แต่ยังไม่ได้ลงมือสักที ผัดผ่อน รั้งรอไปเรื่อยเป็นเวลานานกว่าสิบปี ก็ยังไม่ได้ฤกษ์
    ผู้เขียนมีโอกาสกราบหลวงพ่อพุธ บ่อย นิมนต์ท่านบ่อย รวมทั้งไปภาวนากับท่านเป็นประจำ ส่วนมากจะนั่งหลับตาต่อหน้าท่าน คือหลวงพ่อก็หลับตา และเราก็หลับตา ท่านแนะอุบายเพียงสั้นๆ และแก้ไขเมื่อเราติดขัดเมื่อเดินทางจิตต่อไปไม่ได้ เป็นส่วนใหญ่
    หลวงพ่อเล่าเรื่องหลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่น รวมทั้งครูบาอาจารย์องค์อื่นๆ และประสบการณ์ของท่านเอง ให้เราฟังบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาสบายๆ ไม่มีญาติโยมคนอื่น ท่านจะเคี้ยวหมากและพูดไปเรื่อยๆ เราก็ถวายนวดที่เท้าท่านไปเรื่อย ๆ
    แต่น่าเสียดายที่ไม่ได้จดบันทึกไห้เป็นเรื่องเป็นราว มัวประมาทรอสอบถามหรือสัมภาษณ์ท่านอย่างเป็นทางการ ในที่สุดหลวงพ่อท่านก็มรณภาพลาขันธ์ไป เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
    การมัวแต่ตั้งท่า รีรอ จึงทำให้เสียประโยชน์ ดังที่เป็นอยู่นี้
    จะหวังพึ่งครูบาอาจารย์องค์อื่น ต่างองค์ต่างก็มรณภาพลาขันธ์ไปตามกาล ยังเหลือไว้แต่เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับหลวงปู่ใหญ่ ให้พวกเราได้ระลึกถึงเป็นสังฆานุสติเท่านั้น จะนำมาเขียนให้ละเอียดเป็นเรื่องราวดูจะไกลเกินฝัน
    อยากสมน้ำหน้าตัวเอง ที่ครูบาอาจารย์บอกว่าให้พวกสูรอไปถึงยุคพระศรีอาริย์ก็แล้วกัน ชาตินี้ยังไม่เอาจริง แล้วชาติต่อๆ ไปจะหวังได้อย่างไร ?

    <table id="table2" align="right" border="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ​
    โชคดีอย่างไม่น่าเชื่อ วันที่ ๒๑ มีนาคม พ ศ. ๒๕๔๖ ผู้เขียนกับอาจารย์ภัทรา ได้ไปร่วมพิธีสมโภชเจดีย์พิพิธภัณฑ์ท่านหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ที่วัดดอนธาตุ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ขากลับได้แวะไปกับพระครูพิบูลธรรมภาณ หรือ หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค วัดภูเขาแก้ว ซึ่งอยู่ในตัวอำเภอพิบูลมังสาหาร
    หลวงพ่อ คงรู้ใจหรือไว้ใจผู้เขียนก็สุดจะเดา ท่านเอาสำเนาบันทึกประวัติหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ซึ่งท่านบันทึกไว้นานกว่า ๒๐ ปี มอบให้ผู้เขียนรวมทั้งมอบเหรียญ ๓ บุพพาจารย์เมืองอุบลฯ คือหลวงปู่เสาร์ –หลวงปู่มั่น - หลวงปู่ดี ให้เราสองคน คนละเหรียญ
    ไม่ต้องบอกก็ได้นะครับว่าเราตื่นเต้น ปีติเพียงไร !
    โชคดีชั้นที่สอง ที่อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ได้บันทึกฉบับดังกล่าวไปก่อนหน้านี้แล้ว แล้วท่านได้ใช้บันทึกนี้เป็นหลักในการสืบค้นประวัติหลวงปู่ใหญ่ ใช้เวลารวบรวมอยู่ ๔ - ๕ ปี จึงออกมาเป็นหนังสือ “ตามรอยธุดงควัตร พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล” ที่มีเรื่องราว เนื้อหา และหลักฐานสมบูรณ์ที่สุด เท่าที่จะหาได้
    <table id="table1" align="left" border="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="left">
    อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    หนังสือ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งเป็นเล่มที่ ๕ในโครงการหนังสือบูรพาจารย์ วัดป่าอาจารย์มั่น (ภูริทตฺโต) บ้านแม่กอย ต.เวียง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ เล่มนี้ ได้ดำเนินไปในแนวทางเดียวกันกับหนังสือของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ
    และก็แน่นอนที่ผู้เขียนเป็นฝ่าย “คัดลอก” งานของท่านอาจารย์พิศิษฐ์
    เป็นการคัดลอกด้วยความภาคภูมิใจยิ่งครับ !
    และ ขอยืนยันว่า ด๊อกเตอร์ก็ลอกเก่งเหมือนกัน นิ !
    ครูบาอาจารย์พูดถึงหลวงปู่ใหญ่
    หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย เขียนถึง หลวงปู่ใหญ่ ดังนี้ :-
    “ท่านอาจารย์เสาร์ แท้ที่จริงควรที่จะมีประวัติไว้อ่านกันสนุกบ้างก็จะดี แต่นี่ไม่ค่อยเห็นประวัติของท่าน หรือมีข้าพเจ้าก็ไม่ทราบ ได้ยินแต่ท่านเล่าให้ฟังว่า อยู่วัดเลียบ ได้ ๑๐ กว่าพรรษา คิดเลื่อมใสในพระคณะธรรมยุต จึงยอมสละญัตติเป็นธรรมยุต ฆ้อง กลองสำหรับตีในงานประเพณีทำบุญอึกทึกครึกโครมในสมัยนั้น ซึ่งมีอยู่ประจำวัดของท่าน ท่านก็สละทิ้งหมด ญัตติเป็นธรรมยุตแล้วก็อยู่วัดนั้นต่อมา
    พวกที่เขาไม่ชอบเขาก็โกรธ พวกที่ชอบ เขาบอกว่า ของเหล่านั้นไม่จำเป็น เป็นสงฆ์ขอให้ปฏิบัติถูกต้องตามธรรมวินัยก็แล้วกัน
    ข้าพเจ้าก็ลืมถามไปว่า ภูมิลำเนาของท่านเกิดบ้านใด อำเภอใด มารดาบิดา พี่น้องของท่านมีกี่คน แต่เชื่อว่าท่านอยู่ใกล้เมืองอุบลฯ นี้แหละ เพราะท่านเคยพูดถึงเรื่องญาติของท่าน บวชแล้วไปอยู่หลวงพระบาง เพราะคนหลวงพระบางชอบใจได้มานิมนต์ญาติของท่านไป ท่านนั้นก็ลืมชื่อไปอีกเหมือนกันไม่ทราบว่าชื่ออะไร จึงน่าเสียดายประวัติของท่านมาก ไม่มีใครบันทึกไว้
    ส่วนข้าพเจ้าเองก็ไม่คิดจะบันทึกเสียด้วย ทั้งๆ ที่ท่านเล่าให้ฟังสอดๆ (ฉอดๆ) อยู่นั่นเอง มันจะเป็นเพราะพระกัมมัฏฐานในขณะนั้นไม่คิดจะบันทึกอะไรทั้งหมด คิดแต่จะทำความเพียรภาวนาอย่างเดียว การบันทึกนั้นบันทึกนี้ เรื่องราวต่างๆ เป็นเหตุให้ยุ่งสมอง ทำอารมณ์ให้ฟุ้งมาก..
    หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ได้บันทึกเรื่องนิสัยของหลวงปู่ใหญ่ไว้ดังนี้ :-
    “นิสัยท่านพระอาจารย์เสาร์ ชอบก่อสร้าง ชอบปลูกพริก หมากไม้ (ไม้ผล) ลักษณะจิตเยือกเย็น มีพรหมวิหาร ทำจิตดุจแผ่นดิน มีเมตตาเป็นสาธารณะ เป็นคนพูดน้อย ยกจิตขึ้นสู่องค์เมตตาสุกใสรุ่งเรือง เป็นคนเอื้อเฟื้อในพระวินัย ทำความเพียรเป็นกลาง ไม่ยิ่งไม่หย่อน พิจารณาถึงชั้นภูมิธรรมละเอียดมาก
    ท่านบอกให้เราภาวนาเปลี่ยนอารมณ์แก้อาพาธได้ อยู่ข้างนอกวุ่นวาย เข้าไปหาท่านจิตสงบดี เป็นอัศจรรย์ปาฏิหาริย์หลายอย่าง
    จิตของท่านชอบสันโดษ ไม่มักใหญ่ใฝ่สูง หมากไม่กิน บุหรี่ไม่สูบ ท่านแดดัง เป็นอุปัชฌายะฯ เดินจงกรมเสมอไม่ละกาล น้ำใจดีไม่เคยโกรธขึ้งให้พระเณร อุบาสกอุบาสิกา
    มักจะวางสังฆทานอุทิศให้สงฆ์สันนิบาต แก้วิปัสสนูแก่สานุศิษย์ได้ อำนาจวางจริตเฉยๆ เรื่อยๆ ชอบดูตำราเรื่องพุทธเจ้า
    รูปร่างใหญ่ สันทัด เป็นมหานิกาย ๑๐ พรรษา จึงมาญัตติเป็นธรรมยุต ชอบรักเด็ก เป็นคนภูมิใหญ่กว้างขวาง ยินดีทั้งปริยัติ –ปฏิบัติ ลักษณะเป็นคนโบราณพร้อม ทั้งกาย วาจา ใจ เป็นโบราณทั้งสิ้น ไม่เห่อตามลาภ ยศ สรรเสริญ อาหารชอบเห็ด ผลไม้ต่างๆ ชอบน้ำผึ้ง”
    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี พูดถึง หลวงปู่ใหญ่ดังนี้ :-
    “ท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านไม่พูด ไม่เทศน์ ถ้าท่านเทศน์ท่านเทศน์นิดเดียว เอา ! ฟังเทศน์ พากันตั้งใจฟังเทศน์ กายสุจริต วาจาสุจริต มโนสุจริต พากันตั้งใจรักษากายให้บริสุทธิ์ รักษาวาจาให้บริสุทธิ์ รักษาใจให้บริสุทธิ์ เอวังฯ.”
    ท่านพระอาจารย์เสาร์ มีลูกศิษย์ของท่านมากมาย ท่านนำหมู่คณะเดินธุดงค์เพื่อทรมานกิเลส ฝึกความเพียร ลูกศิษย์พระกรรมฐานจึงมาก สามเณรที่อยู่กับท่าน จะบวชเป็นพระภิกษุต้องท่องปาฏิโมกข์ให้ได้เสียก่อน ถ้าท่องไม่ได้จะไม่อนุญาตให้บวช
    ท่านพูดคำไหนคำนั้น มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ พูดคำสัตย์จริง ท่านพูดน้อย กับลูกศิษย์ลูกหาท่านไม่พูดมาก ท่านจะมาตรวจดูข้อวัตรว่า น้ำในโอ่งมีไหม? ฟืนมีไหม? แล้วท่านก็เข้าทางจงกรม ทำความเพียรปฏิบัติให้ลูกศิษย์ดู
    คำสอนของท่านนั้นคือความเพียร ธรรมของท่านพระอาจารย์เสาร์ สอน “พุทโธ” คำเดียว แต่ความเพียรของท่านเป็นการพ้นทุกข์ ความเพียรของท่านเป็นธรรมเทศนา
    ความเพียรของท่านพระอาจารย์เสาร์เป็นยอด เมื่อท่านฉันเสร็จ ท่านเดินไปที่กุฏิ เอากาน้ำ สะพายย่ามไปทางจงกรม จนถึงเวลาทำข้อวัตร
    ท่านอาจารย์เสาร์นั้น ท่านจะไม่นั่งในที่นอน ท่านจะไม่นอนในที่นั่งสมาธิ...
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ท่านเป็นผู้ริเริ่มการถือ ธุดงควัตร ๑๓ ขันธวัตร ๑๔ และออกธุดงค์เพื่อคิดค้นธรรมะจากการปฏิบัติภาวนาอย่างจริงจัง จนรู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง
    การประพฤติตามจรรยาแห่งพระวินัยแล้วนับว่าท่านปฏิบัติอย่างเคร่งครัดยิ่ง ไม่ยอมให้ตัวท่านเองและศิษย์ล่วงละเมิดวินัยแม้แต่เรื่องเล็กน้อย ท่านจึงมีความบริสุทธิ์ งดงาม ตลอดประวัติชีวิตของท่าน
    อุปนิสัยและข้อวัตรของหลวงปู่ใหญ่
    ท่านหลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน วัดป่าบ้านตาด อำเภอเมืองอุดรธานี ได้พูดถึงปฏิปทาและอุปนิสัยของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ดังนี้ :-
    “ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร พระอาจารย์ใหญ่ฝายวิปัสสนากัมมัฏฐานมีศิษยานุศิษย์เข้ามาศึกษาอบรมธรรมปฏิบัติกับท่านเป็นจำนวนมาก
    แต่ด้วยปกตินิสัยของท่าน เป็นคนไม่ชอบพูด พูดน้อยที่สุด ทั้งวันไม่พูดอะไรกับใครเกิน ๒ - ๓ ประโยค
    เวลานั่งก็ทนทาน นั่งอยู่ได้เป็นเวลาหลายๆ ชั่วโมง (หมายถึงนั่งสมาธิ) เดินก็ทำนองเดียวกัน (หมายถึงเดินจงกรม)
    ลักษณะของท่านมีความสง่าผ่าเผย น่าเคารพเลื่อมใส มองเห็นท่านแล้วเย็นตาเห็นใจไปหลายวัน ประชาชนและพระเณรเคารพเลื่อมใสท่านมาก ท่านมีลูกศิษย์มากมายเหมือนท่านอาจารย์มั่น
    ท่านพระอาจารย์เสาร์ อบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์โดยประพฤติปฏิบัติธรรมให้ดูเป็นเยี่ยงอย่าง ข้อวัตรปฏิบัติของท่านคือคำสอนที่ดีที่สุด
    ศิษยานุศิษย์ที่เข้ามารับการอบรมธรรมปฏิบัติจากท่านพระอาจารย์เสาร์ ส่วนใหญ่มักจะสืบทอดแนวทางดำเนินของท่านคือ รักษาพระวินัยอย่างเคร่งครัด มีความเป็นอยู่สมถะ สันโดษเรียบง่าย ไม่ชอบคนหมู่มาก เดินธุดงค์จาริกแสวงหาที่วิเวกบำเพ็ญภาวนาตามป่าเขา
    พระคณาจารย์ที่เป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์เสาร์มีจำนวนมาก แต่ไม่เปิดเผยตัวเท่าที่ควร มีท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ศิษย์เอกของท่าน ที่ระยะหลังต่อมาได้ปรากฏประวัติและธรรมะของท่าน ซึ่งแต่เดิมท่านก็ไม่ปรากฏองค์ท่าน เช่นเดียวกับท่านพระอาจารย์เสาร์
    และศิษยานุศิษย์ที่ถวายตัวเป็นศิษย์ ท่านพระอาจารย์มั่นมาก่อนต่อมาก็มากราบนมัสการถวายตัวเป็นศิษย์เพื่ออบรมศึกษาธรรมกับท่านพระอาจารย์เสาร์ เช่นกัน เพราะพระคณาจารย์ที่เป็นศิษย์เหล่านั้นให้ความเคารพนับถือท่านเป็นอย่างมาก
    ด้วยคุณธรรม และเป็นพระอาจารย์ใหญ่ ซึ่งเปรียบเสมือนท่านเป็นพระปรมาจารย์ใหญ่สายพระกัมมัฏฐาน
    นอกจากปฏิปทาจริยาวัตรที่งดงามของท่านแล้วข้อสำคัญอีกประการหนึ่งคือ สถานที่ใดที่หลวงปู่ใหญ่ เที่ยวธุดงค์ไปพักชั่วคราว สถานที่แห่งนั้นมักจะกลายเป็นวัดถาวรและเจริญรุ่งเรืองตามมาภายหลัง
    เช่น พระธาตุพนม ซึ่งแต่ก่อนรกร้างเป็นดง เมื่อท่านเดินรุกขมูลเข้าไปพักอาศัยที่นั้นชั่วคราว ให้คนถากทางทำความสะอาดปัดกวาดอย่างดี ครั้นต่อมาภายหลังที่นั่นจึงกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเจริญรุ่งเรือง เป็นที่เลื่อมใสของชาวพุทธทั่วประเทศมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
    และในทำนองเดียวกัน ก็ยังมีสถานที่อื่นอีกหลายแห่งในจังหวัดทางภาคอิสาน รวมทั้งฝั่งประเทศลาวที่หลวงปู่ใหญ่ ธุดงค์ผ่านไปพักชั่วคราว แล้วกลายมาเป็นวัด ได้รับความเจริญรุ่งเรือง เหลือเป็นอนุสรณ์จนกระทั่งทุกวันนี้
    <table id="table3" align="left" border="0"> <tbody><tr> <td rowspan="3"> [​IMG]</td> <td>
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td align="left"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="left">
    [​IMG]
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    รากแก้วของพระฝ่ายกรรมฐาน
    ท่านหลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้เขียนถึงพระอาจารย์ใหญ่ทั้งสององค์ คือ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ดังนี้ :-
    “ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร และท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร เป็นหลักในการสั่งสอนกัมมัฏฐานอยู่ในภาคอิสานจนตลอดอายุขัยของท่าน
    ปฏิปทาของพระเถราจารย์ ทั้งสองท่าน (โปรดระวังอย่าหลงไปเรียกว่า เกจิอาจารย์ นะครับ เพราะครูอาจารย์สายพระป่าท่านไม่นิยมเรื่องเครื่องรางของขลัง หรือเรื่องดูฤกษ์ยาม ทำพิธีมงคลต่างๆ ถ้าจะเรียกตามแนวที่ท่านถนัดก็ต้องว่า พระวิปัสสนาจารย์จะตรงกว่า -ปฐม) ได้ปลุกเร้าจิตใจชาวอิสาน ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ให้หันมานิยมศึกษาแนวปฏิบัติกัมมัฏฐานกันอย่างจริงจังอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
    ภิกษุสามเณรจำนวนมากจากจังหวัดต่างๆ ในภาคอิสานได้มารับการอบรมสั่งสอนทางกัมมัฏฐานจากพระเถราจารย์ทั้งสองท่านไม่ขาดสาย ทำให้เกิดมีพระเถระผู้มีปฏิปทาและสามารถทางกัมมัฏฐานขึ้นเป็นจำนวนมาก และพระเถระเหล่านี้ก็ได้กระจายกันออกไปแนะนำสั่งสอนพุทธบริษัททั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ประจำอยู่ในที่ต่างๆ ทั่วภาคอิสาน
    เป็นเหตุให้เกิดมีวัดป่า หรือสำนักกัมมัฏฐาน ขึ้นทั่วไปในภาคอิสาน และมีพระคณาจารย์ฝ่ายกัมมัฏฐาน ที่ประจำอยู่ในสำนักต่างๆ ทั่วอิสานต่อมาจนทุกวันนี้
    ล้วนเป็นศิษย์และอนุศิษย์สืบเนื่องมาแต่พระเถราจารย์ทั้งสองท่านดังกล่าวมาข้างต้นเกือบทั้งสิ้น
    ท่านหลวงตาฯ ได้เขียนบรรยายต่อไปว่า :-
    “พระกัมมัฏฐานรู้สึกจะมากทางภาคอิสาน และมากเรื่อยมา เพราะรากแก้วของกัมมัฏฐานในสมัยปัจจุบันก็อยู่ที่ภาคอีสานเป็นพื้นฐาน
    ท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่น เป็นรากฐานของกัมมัฏฐานมานาน
    เพราะฉะนั้น บรรดาลูกศิษย์ลูกหาที่ต้องการอรรถธรรมจริงจึงต้องหมุนหาอาจารย์ซึ่งเป็นที่แน่ใจได้ แล้วก็ไม่พ้นท่านพระอาจารย์ทั้งสององค์ คือ ท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่น
    ท่านพระอาจารย์เสาร์ เป็นร่มโพธิ์ร่มไทร ท่านไม่ค่อยเทศน์ เงียบ ไม่เทศน์ ถ้าจะเทศน์ก็พูดเพียงสองสามประโยคแล้วหยุดเลย
    สำหรับท่านพระอาจารย์มั่น การเทศนาว่าการ ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่นั้นหมดเลย ธรรมทุกขั้นอยู่นั้นหมด ออกจ้าๆ เลย
    จากนั้นมา บรรดาลูกศิษย์ลูกหาที่ไปศึกษากับท่านทั้งสององค์นี้มา ก็กลายเป็นอาจารย์ของหลวงปู่ทั้งหลายต่อมาเรื่อยๆ ดังที่เราเห็น เช่นอาจารย์นั้น อาจารย์นี้ ออกจาก เฉพาะอย่างยิ่ง ท่านพระอาจารย์มั่น ออกจากนี้เรียกว่ามีอยู่ทั่วไปทุกภาค
    ท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่นซึ่งเป็นพระอันเลิศเลอ ถ้าสมัยพุทธกาลก็เรียกว่า ท่านทั้งสององค์นี้คือพระอรหันต์ร้อยเปอร์เซ็นต์นั้นแล
    ท่านได้อุตส่าห์บุกเบิกเพิกถอนสิ่งที่เป็นข้าศึกต่ออรรถต่อธรรมต่อธุดงค์ ข้อวัตรปฏิบัติ จารีตประเพณีที่พระพุทธเจ้าทรงพาดำเนินมาซึ่งถูกปกคลุมหุ้มห่อด้วยความมืดมิดปิดกำบังของกิเลสทั้งหลาย ให้ค่อยเบิกกว้างออกไปๆ
    ท่านเป็นผู้ทรงข้อวัตรปฏิบัติ ซึ่งข้อวัตรปฏิบัตินี้มีมาแต่ดั้งเดิม ท่านจดจารึกในคัมภีร์ใบลานมาตลอดว่า พระธุดงค์กัมมัฏฐาน ธุดงค์ ก็แปลว่า เครื่องกำจัดกิเลสนั้นเอง กัมมัฏฐาน แปลว่า ฐานที่ตั้งแห่งงานอันชอบยิ่งทางพระพุทธศาสนา เมื่อรวมแล้วเรียกว่า พระธรรมกัมมัฏฐาน
    ท่านพระอาจารย์เสาร์ และ ท่านพระอาจารย์มั่น ทั้งสองพระองค์นี้เป็นผู้อุตส่าห์พยายามบุกเบิกเพิกถอนขวากหนามที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุดงควัตร
    เพราะแต่ก่อนในสมัยนั้นไม่มีใครสนใจธุดงควัตรพระกัมมัฏฐานประหนึ่งว่าแทบไม่มีในเมืองไทย แต่ครั้นแล้วก็มีท่านทั้งสองพระองค์ คือท่านพระอาจารย์มั่น ท่านพระอาจารย์เสาร์ นี้แลได้นำคัมภีร์ที่ทรงแสดงไว้แล้วในพระไตรปิฎกต่างๆ ออกมาประพฤติปฏิบัติให้เปิดเผย จนเป็นที่ร่ำลือ
    และ ทางชั่วก็กีดขวางเข้ามา บางครั้งถูกขับไล่ไสส่ง หาว่าเป็นพระจรจัด พระขัดขวางต่อบ้านเมือง ถูกขับไล่ไสส่งจากฝ่ายปกครองตามสถานที่นั้นๆ เรื่อยมา ท่านก็ไม่หวั่นไหวในการประพฤติปฏิบัติ ดำเนินตามข้อวัตรปฏิบัติที่มีแล้วในคัมภีร์เรื่อยมา ค่อยบุกเบิกเพิกถอนไปเรื่อยๆ
    การบำเพ็ญธรรมของท่านก็ปรากฏขึ้นภายในจิตใจเป็นลำดับลำดา เป็นกำลังใจที่ท่านอุตส่าห์พยายามเพิกถอนกิเลสตัณหาภายในจิตใจ แล้วก็เป็นไปพร้อมๆ กันกับการแนะนำสั่งสอนบรรดาลูกศิษย์ลูกหาเรื่อยมา กัมมัฏฐานจึงค่อยเบิกกว้างออกไปๆ จนกระทั่งมาถึงสมัยปัจจุบันนี้ รู้สึกว่าไปที่ไหนพระกัมมัฏฐานเรา ซึ่งเป็นทางดำเนินมาดั้งเดิมก็ได้เปิดกว้างกระจายออกไปทุกหนทุกแห่งทั่วประเทศไทยของเรา
    ทั้งนี้ก็ขึ้นไปจากทั้งสองพระองค์นี้แลเป็นผู้บุกเบิก ในเบื้องต้นท่านจึงได้รับความลำบากลำบนมากทีเดียว
    ท่านหลวงตาฯ ได้แสดงความรู้สึกของท่านเองต่อเรื่องนี้ว่า :
    “ก็ตามที่ท่านเล่าให้ฟัง เราน้ำตาร่วงๆ เวลาท่านเล่าถึงความทุกข์ความทรมาน ทั้งถูกขับไล่ไสส่งจากที่ต่างๆ ฝ่ายปกครอง มักจะเป็นอยู่เสมอ
    เวลาท่านเล่า ท่านไม่ได้เล่าด้วยความโกรธความแค้นอะไร เวลาเรื่องไปสัมผัส ท่านก็เล่าให้ฟังธรรมดาๆ ท่านไม่มีลักษณะท่าทางว่าจะโกรธเคืองหรือเคียดแค้นให้ผู้หนึ่งผู้ใดที่ขับไล่ท่าน แต่ท่านพูดถึงเรื่องความทุกข์ความทรมานของท่านที่สมบุกสมบันมาตลอดต่างหาก
    สำหรับเราผู้ฟังท่านพูดแล้ว เกิดความสลดสังเวชสงสารท่านเป็นกำลัง น้ำตาร่วง โดยไม่ให้ท่านทราบแหละ กลืนน้ำตาเข้าภายใน รู้สึกกว่าเราก็มีกิเลสเหมือนกัน ท่านไม่เคียดแค้น เราก็เคียดแค้นอยู่ภายในใจถึงผู้ที่มาขับไล่ไสส่งโดยหาเหตุผลหลักเกณฑ์อะไรไม่ได้เลย
    นั้น ท่านเล่ามาทีไรนี้ อดสลดสังเวชน้ำตาร่วงไม่ได้ เพราะความทุกข์ ความสมบุกสมบันของท่านเรื่อยมา
    ความรู้ความเห็นที่เป็นขึ้นภายในจิตของท่าน ท่านก็เล่าไปพร้อมๆ กัน ไปอยู่ที่นั่น เกิดความรู้ความเห็นอย่างนั้น ไปที่นั่น เกิดความรู้ความเห็นอย่างนั้น นับตั้งแต่ธรรมภายในใจ พวกสมาธิ พวกปัญญา จนกระทั่งถึงวิมุตติหลุดพ้น แล้วแตกกระจายออกรอบด้านของจิตนั้น เกี่ยวกับเรื่องเทวบุตร เทวดา อินทร์ พรหม ตลอดนรกอเวจีกระจายไปหมด ท่านรู้ตลอดทั่วถึงเต็มกำลังของท่านนั้นแล
    เวลา (หลวงตาฯ) เล่าให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังจึงเป็นที่ปลื้มอกปลื้มใจ เป็นสดๆ ร้อนๆ ไม่ลืมมาจนกระทั่งถึงวันนี้ จึงได้นำเรื่องราวที่ได้ยินได้ฟังจากท่าน ซึ่งเล่าตลอดมาตามเวลาที่เหมาะสม ซึ่งเข้าไปสัมผัสแล้ว ท่านก็นำออกมาเล่าให้ฟัง จึงได้นำเรื่องความจริงจังและความรู้จริงเห็นจริงของท่านมาเล่าให้พี่น้องชาวไทยเราทราบ ให้พึงทราบกันว่าสิ่งที่ท่านกล่าวถึงนั้นเป็นวิสัยของใจที่เกิดขึ้นจากจิตตภาวนา
    หลวงปู่มั่นเล่าถึงหลวงปู่ใหญ่
    เรื่องที่หลวงปู่มั่น ภูริทตโต ได้เล่าเกี่ยวกับพระอาจารย์ของท่านคือ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล นั้น ได้รับการถ่ายทอดโดย ท่านหลวงตาพระมหาบัว ญาณสมปนโน มาอีกชั้นหนึ่ง ดังต่อไปนี้:-
    “เมื่อท่านพระอาจารย์มั่น เริ่มปฏิบัติวิปัสสนาใหม่ๆ ในสำนักท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร วัดเลียบ อุบลราชธานี ท่านบริกรรมภาวนาด้วยบท “พุทโธ”
    ท่านเล่าว่า นิสัยของท่านพระอาจารย์เสาร์ เป็นไปอย่างเรียบๆและเยือกเย็น น่าเลื่อมใสมาก จิตของท่านพระอาจารย์เสาร์ เป็นไปอย่างเรียบๆ สงบเย็นโดยสม่ำเสมอ นับแต่ขั้นเริ่มแรกจนถึงสุดท้ายปลายแดนแห่งปฏิปทาของท่าน ไม่ค่อยล่อแหลมต่ออันตราย และไม่ค่อยมีอุบายต่างๆ และความรู้แปลกๆ เหมือนจิตของท่านพระอาจารย์มั่น
    ท่าน (หลวงปู่มั่น) เล่าว่า ท่านพระอาจารย์เสาร์เดิมท่านปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เวลาออกบำเพ็ญ พอเร่งความเพียรเข้ามากๆ ใจรู้สึกประหวัดๆ ถึงความปรารถนาเดิม เพื่อความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า แสดงออกเป็นเชิงอาลัยเสียดาย ยังไม่อยากไปนิพพาน
    ท่าน (หลวงปู่ใหญ่เสาร์) เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อความเพียรเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ ท่านเลยอธิษฐานของดความปรารถนานั้น และขอประมวลเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาตินี้ ไม่ขอเกิดมารับความทุกข์ทรมานในภพชาติต่างๆ อีกต่อไป
    พอท่านปล่อยวางความปรารถนาเดิมแล้ว การบำเพ็ญเพียรรู้สึกสะดวกแลเห็นผลไปโดยลำดับ ไม่มีอารมณ์เครื่องเกาะเกี่ยวเหมือนแต่ก่อน สุดท้ายท่านก็บรรลุถึงแดนแห่งความเกษมดังใจหมาย
    แต่การแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ท่านไม่ค่อยมีความรู้แตกฉานกว้างขวางนัก ทั้งนี้อาจเป็นไปตามภูมินิสัยเดิมของท่าน ที่มุ่งเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งตรัสรู้เองชอบแต่ไม่สนใจสั่งสอนใครก็ได้..
    เวลาท่าน (หลวงปู่มั่น) ออกเที่ยวธุดงค์กัมมัฏฐานทางภาคอิสานตามจังหวัดต่างๆ ในระยะต้นวัย ท่านมักจะไปกับท่านพระอาจารย์เสาร์เสมอ แม้ความรู้ทางภายในจะมีแตกต่างกันบ้างตามนิสัย แต่ก็ชอบไปด้วยกัน
    สำหรับท่านพระอาจารย์เสาร์ท่านเป็นคนไม่ชอบพูด ไม่ชอบเทศน์ ไม่ชอบมีความรู้แปลกๆ ต่างๆ กวนใจเหมือนท่านพระอาจารย์มั่น
    เวลาจำเป็นต้องเทศน์ ท่านก็เทศน์เพียงประโยคหนึ่งหรือสองเท่านั้น แล้วก็ลงธรรมาสน์ไปเสีย ประโยคธรรมที่ท่านเทศน์พอจับใจความได้ว่า
    ให้พากันละบาปและบำเพ็ญบุญ อย่าให้เสียชีวิตลมหายใจไปเปล่า ที่ได้มีวาสนาเกิดเป็นมนุษย์
    หรือ
    เราเกิดเป็นมนุษย์ มีความสูงศักดิ์มาก แต่อย่านำเรื่องของสัตว์มาประพฤติ มนุษย์เราจะต่ำลงกว่าสัตว์และจะเลวกว่าสัตว์อีกมาก เวลาตกนรกจะตกหลุมที่ร้อนกว่าสัตว์มากมาย อย่าพากันทำ

    แล้วก็ลงธรรมาสน์ไปกุฏิโดยไม่สนใจใครต่อไปอีก
    หลวงปู่เจี้ยะ จุนโท วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เคยตามไปอุปัฎฐาก หลวงปู่ใหญ่ ที่วัดดอนธาตุ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี เล่าว่า ครั้งหนึ่งหลังจากถวายไทยทานแล้ว ญาติโยมขอให้หลวงปู่ใหญ่เทศน์ ท่านก็เทศน์เพียงสั้นๆ แล้วให้พระอาจารย์ดี ฉนฺโน เทศน์ต่อ
    เทศน์ของหลวงปู่ใหญ่ มีว่า
    “ทำให้ดูมันยังไม่ดู ปฏิบัติให้ดูอยู่ทุกวัน มันยังไม่ปฏิบัติตาม เทศน์ให้ฟัง มันจะฟังหรือพวกเจ้า ข้อยเฮ็ดให้เบิ่งยังบ่เบิ่ง เทศน์ให้หมู่เจ้าฟัง หมู่เจ้าสิฟังฤๅ”
    หลวงปู่ใหญ่ ท่านพูดเป็นคติว่า “เขาสิเชื่อความดีที่เราเฮ็ดหลายกั่วคำเข้าที่เราสอน” (เขาเชื่อในความดีที่เราทำ มากกว่าในคำพูดที่เราสอน)
    ท่านหลวงตาพระมหาบัวฯ เล่าต่อไปว่า :-
    ทราบว่าท่านพระอาจารย์ทั้งสององค์นี้รักและเคารพกันมากในระยะวัยต้น ไปที่ไหนท่านชอบไปด้วยกัน อยู่ด้วยกัน ทั้งในและนอกพรรษา พอมาถึงวัยกลางผ่านไป เวลาพักจำพรรษามีแยกกันอยู่ แต่ไม่ห่างไกลกันนัก พอไปมาหาสู่กันได้สะดวก
    มีน้อยครั้งที่จำพรรษาร่วมกัน ทั้งนี้อาจเกี่ยวกับบรรดาศิษย์ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็มีมากด้วยกัน และต่างก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกที ถ้าจำพรรษาร่วมกันจะเป็นความลำบากในการจัดที่พักอาศัย จำต้องแยกกันอยู่เพื่อเบาภาระในการจัดที่พักอาศัยไปบ้าง
    ทั้งสองพระอาจารย์ ขณะที่แยกกันอยู่จำพรรษา หรือนอกพรรษา รู้สึกคิดถึงและเป็นห่วงกันมาก เวลามีพระที่เป็นลูกศิษย์ของแต่ละฝ่ายมากราบนมัสการ จะมากราบนมัสการท่านพระอาจารย์เสาร์ หรือมากราบนมัสการ ท่านพระอาจารย์มั่นต่างจะต้องถามถึงความสุขทุกข์ของกันและกันก่อนเรื่องอื่นๆ จากนั้นก็บอกกับพระที่มากราบว่า “คิดถึงท่านพระอาจารย์...” และฝากความเคารพคิดถึงไปกับพระลูกศิษย์ที่มากราบเยี่ยมตามสมควรแก่ อาวุโส - ภันเต ทุกๆ ครั้งที่พระมากราบ ท่านพระอาจารย์ทั้งสอง แต่ละองค์
    ท่านมีความเคารพในคุณธรรมของกันและกันมาก ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรืออยู่ไกล เวลาท่านพระอาจารย์ทั้งสององค์ใดองค์หนึ่ง พูดปรารภถึงกันและกันให้บรรดาลูกศิษย์ฟัง จะมีแต่คำที่เต็มไปด้วยเคารพและความยกย่องสรรเสริญโดยถ่ายเดียว ไม่เคยมีแม้คำเชิงตำหนิแย้งขึ้นมาบ้างเลย
    ท่านพระอาจารย์มั่น เล่าให้ฟังว่า ที่ท่านพระอาจารย์เสาร์ว่าให้ท่านว่า “จิตท่านเป็นจิตที่โลดโผนมาก รู้อะไรแต่ละครั้งขึ้นมามันไม่พอดีเลย เดียวจะเหาะเหินเดินฟ้า เดี๋ยวจะดำดิน เดี๋ยวจะดำน้ำข้ามทะเล...” นั้น ท่านว่าเป็นความจริงที่ท่านพระอาจารย์เสาร์ ตำหนิเพราะจิตท่านเป็นเช่นนั้นจริงๆ
    เวลารวมสงบลงแต่ละครั้ง แม้แต่ขั้นเริ่มแรกบำเพ็ญ ยังออกเที่ยวรู้เห็นอะไรต่างๆ ทั้งที่ท่านไม่เคยคาดฝันว่าจะเป็นได้เช่นนั้น เช่น ออกรู้เห็นคนตายต่อหน้า และเพ่งพิจารณาจนคนตายนั้นเป็นวงแก้ว และเกิดความรู้ความเห็นแตกแขนงออกไปไม่มีที่สิ้นสุด...
    เวลาปฏิบัติที่เข้าใจว่าถูกทางแล้ว ขณะที่จิตรวมสงบตัวลง ก็ยังอดจะออกรู้สิ่งต่างๆ มิได้ บางทีตัวเหาะลอยขึ้นไปบนอากาศและเที่ยวชมสวรรค์วิมาน กว่าจะลงมากินเวลาหลายชั่วโมง และมุดลงไปใต้ดิน ค้นดูนรกหลุมต่างๆ และปลงธรรมสังเวชกับพวกสัตว์นรกที่มีกรรมต่างๆ กัน เสวยวิบากทุกข์ของตนๆ อยู่ จนลืมเวล่ำเวลาไปก็มี เพราะเวลานั้นยังไม่แน่ใจว่าจะเป็นความจริงเพียงไร
    เรื่องทำนองนี้ ท่าน (หลวงปู่มั่น) ว่า จะพิจารณาต่อเมื่อจิตมีความชำนาญแล้ว จึงจะรู้เหตุผลผิดถูกชั่วดีได้อย่างชัดเจนและอย่างแม่นยำ พอเผลอนิด ขณะที่จิตร่วมลงและพักอยู่ก็มีทางออกไปรับรู้กับสิ่งภายนอกอีกจนได้ แม้เวลามีความชำนาญ และรู้วิธีปฏิบัติได้ดีพอสมควรแล้ว ถ้าปล่อยให้ออกรู้สิ่งต่างๆ จิตย่อมจะออกรู้อย่างรวดเร็ว
    ระยะเริ่มแรกที่ท่าน (หลวงปู่มั่น) ยังไม่เข้าใจ และชำนาญต่อการเข้าออกของจิต ซึ่งมีนิสัยชอบออกรู้สิ่งต่างๆ นั้น ท่านเล่าว่า เวลาบังคับจิตให้พิจารณาในร่างกายส่วนล่างแทนที่จิตจะรู้ลงไปตามร่างกายส่วนต่างๆ จนถึงพื้นเท้า แต่จิตกลับพุ่งเลยร่างกายส่วนต่ำลงไปใต้ดินและทะลุลงไปใต้พื้นพิภพ ดังท่านพระอาจารย์เสาร์ว่าให้จริงๆ
    ตามประวัติบอกว่า หลวงปู่มั่น ท่านใช้เวลาตั้งนานกว่าที่จะแก้ไขบังคับจิตของท่านให้มาพิจารณาเฉพาะภายในกายของท่าน ไม่ให้เตลิดเปิดเปิงออกไปภายนอก ไปดูสวรรค์วิมาน ดูนรกดูเปรต ทำให้เสียเวลาไปนานพอสมควร
    เรื่องนี้คงให้อุทาหรณ์สำหรับนักปฏิบัติธรรมกรรมฐาน จะได้นำไปพิจารณาว่า การปฏิบัติเพื่อยกภูมิจิตของตน เพื่อละเพื่อวาง เพื่อผลในทางวิมุตติหลุดพ้นนั้น ควรพิจารณาอยู่ภายในกาย ในใจของตน หรือควรจะเพลิดเพลินกับเรื่องนรก - สวรรค์ กันแน่ ?
    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ท่านสอนไม่ให้สนใจนิมิต คืออย่าสนใจในสิ่งที่เห็น ท่านว่าเราเห็นจริง แต่สิ่งที่เห็นนั้นไม่จริง ท่านให้มองเข้ามาข้างใน ค้นหาตัวผู้รู้ ผู้เห็น ให้เจอ
    หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร ขยายความเรื่องนี้ว่า การนั่งสมาธิแล้วเห็นนิมิต เปรียบเหมือนเราฉายไฟไปกระทบอะไร เราก็เห็นภาพของสิ่งนั้น ถ้าเราดูที่ภาพมันจะมีไปเรื่อยไม่จบสิ้น ให้มองย้อนลำแสงเข้ามาหากระบอกไฟฉายให้เจอ ถ้าได้กระบอกไฟฉาย และเปิดสวิตซ์เป็น เราจะส่องดูอะไรเมื่อไรก็ได้
    <table id="table9" border="0"> <tbody><tr> <td align="center"> [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td align="center">
    หนังสือที่ระลึก ในวันเปิดเจดีย์ของหลวงปู่ใหญ่
    ที่วัดดอนธาตุ อ พิบูลมังสาหาร จ อุบลราชธานี ที่ใช้เป็นแหล่ง
    ข้อมูลสำคัญในการเขียนหนังสือเล่มนี้
    </td></tr></tbody></table>​

     
  2. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ชาติภูมิ
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล เป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี โดยกำเนิด
    ตามบันทึกของพระครูพิบูลธรรมภาณ (หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค) วัดภูเขาแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี บันทึกไว้ดังนี้
    “ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ถือกำเนิดเมื่อวันจันทร์ เดือนสิบสอง ปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๒ ที่บ้านข่าโคม ตำบลหนองช้าง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่อำเภอเขื่องใน”
    ในงานสมโภชเจดีย์พิพิธภัณฑ์ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๔๖ ที่วัดดอนธาตุ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ผม (ปฐม นิคมานนท์) ได้รับหนังสือที่ระลึก ๓ เล่ม ซึ่งแต่ละเล่มล้วนมีคุณค่าที่ประเมินราคาไม่ได้ทั้งนั้น
    เป็นที่น่าสังเกต (ตามประสาคนชอบจับผิดผู้อื่น) ว่า ข้อมูลเกี่ยวกับปี พ.ศ.เกิด กับสถานที่เกิดของหลวงปู่ไม่ตรงกัน ดังนี้.-
    หนังสือเล่มที่หนึ่ง เขียนโดยอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ จัดพิมพ์โดย ชุมรมพุทธศาสน์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้เขียนถึงปีและสถานที่เกิดของหลวงปู่ ๓ ที่ ล้วนไม่ตรงกัน ดังนี้ -
    ๑. หน้าเปิดปก หรือ คำนำ เขียนว่า “ท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ ชาติภูมิของท่านเป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี ชาตะเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓ มรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕”
    ๒ ในเนื้อเรื่อง หน้า ๑ หัวข้อชาติภูมิ เขียนค่อนข้างยาวว่า “ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ถือกำเนิดเมื่อวันจันทร์ เดือนสิบสอง ปีระกา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔ (ตามบันทึกของท่านพระครูพิบูลธรรมภาณ วัดภูเขาแก้ว) หรือวันจันทร์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือนยี่ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๔ (ตามหนังสือที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพพระอาจารย์เสาร์ฯ โดย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สังฆนายก) ที่บ้านข่าโคม (ชื่อเดิม “บ้านท่าโคมคำ”) ต.หนองขอน อ.เมืองอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือ ต.ปะอาว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี)”
    ในข้อนี้แปลกตรงที่ท่านยืนยันปีเกิดของหลวงปู่ เป็นปี ๒๔๐๔ ถึง ๒ แห่งติดกัน และก็อ้างบันทึกของพระครูพิบูลธรรมภาณ ด้วย บันทึกที่ว่านี้หลวงพ่อ ท่านมอบให้ผม ยังอยู่กับผม หลวงพ่อก็บันทึกว่าปี ๒๔๐๒ ตามที่ผมคัดลอกมาเสนอตั้งแต่ต้นนี้แหละ
    ส่วนเดือนเกิดตามระบบจันทรคติ ในหนังสือเล่มดังกล่าวก็บอกไว้สองอย่างคือ “เดือนสิบสอง ปีระกา” กับ “เดือนยี่ ปีระกา” แล้วท่านก็บอกต่อไปว่า “ตรงกับวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๔ ผมว่าถ้าเราเอาเดือนพฤศจิกายน เป็นตัวตั้ง ก็น่าจะใกล้กับเดือนสิบสอง มากกว่า ส่วน เดือนยี่ น่าจะเป็นเดือนมกราคม โดยประมาณ ซึ่งห่างกันตั้ง ๓ เดือน
    ประเด็นนี้ขอทิ้งไว้ให้ท่านที่มีปฏิทินย้อนหลังมากกว่า ๑๐๐ ปี ได้กรุณาช่วยสอบทานด้วยก็แล้วกัน
    ๓. ในแผ่นพับเชิญชวนรวมบริจาคสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์ฯ ที่แนบมากับหนังสือเล่มเดียวกันนี้ ระบุวันเกิดของหลวงปู่ว่า “หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๒ ที่บ้านข่าโคม ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี”
    สรุป ในหนังสือเล่มเดียวกันนี้ ระบุปีเกิดของหลวงปู่ใหญ่ เป็น ๓ ปี คือ ๒๔๐๒, ๒๔๐๓ และ ๒๔๐๔ และน่าเสียดายที่ผมขาดความสังเกตไป ไม่ทราบว่าภายในเจดีย์ของหลวงปู่ จะมีการจารึกปีเกิดของท่านไว้หรือไม่ กราบท่านผู้สร้างเจดีย์โปรดช่วยตรวจสอบความถูกต้องด้วยครับ
    หนังสือเล่มที่สอง เป็นหนังสือที่ยิ่งใหญ่และสวยงามมากใครได้รับก็ต้องปลื้มใจเป็นที่สุด ชื่อหนังสือ พระปรมาจารย์สายพระกัมมัฏฐาน ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตลีลเถร” ไม่ระบุชื่อผู้เขียน แต่ระบุเจ้าของลิขสิทธิ์ คือ คุณสุกัญญา มกุฏอรดี ศูนย์บริการสื่อการศึกษา สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขียนไว้ว่า
    “ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตลีลเถร เป็นพระปรมาจารย์สายวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านเกิดวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๓ ที่บ้านข่าโคม ตำบลปะอ่าว (หนองขอน) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี...”
    เล่มนี้ระบุปี พ.ศ. ๒๔๐๓ และระบุ ตำบลว่า “ปะอ่าว” อันนี้รับรองว่าไม่ใช่ ชื่อ “ตำบลปะอาว” เขาดังมากในเรื่องเครื่องทองเหลือง
    หนังสือเล่มที่สาม เล่มเล็กกะทัดรัด เนื้อหาสาระมาก ชื่อ “เจดีย์พิพิธภัณฑ์ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล” ไม่ระบุชื่อผู้เขียน อยากจะขอบพระคุณก็ไม่รู้จะขอบพระคุณไปที่ไหน หนังสือเล่มนี้ระบุวันและสถานที่เกิดของหลวงปู่ ๓ ที่ ดังนี้
    - ที่คำนำ หน้า (๑) : “ท่านเกิดที่บ้านข่าโคม ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๒...”
    - ในเนื้อเรื่องหน้า ๑๕ : เกิด วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๒ ที่บ้านข่าโคม ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี”
    - ในหน้า ๓๙ เป็นคำบอกเล่าจาก หลวงปู่หลุย จนทสาโร : “ท่านเกิดที่บ้านข่าโคม อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๒”
    ในเล่มนี้ วันเกิดตรงกัน ต่างกันที่อำเภอเกิด...?
    ต้องกราบขออภัยท่านผู้อ่าน ที่ผู้เขียนจู้จี้กับเรื่องเหล่านี้ซึ่งบางท่านอาจเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่เพื่อความรอบคอบผมขอเสนอดังนี้
    ๑. ขอให้ท่านผู้สร้างเจดีย์และพิพิธภัณฑ์ให้เราได้ทราบไหว้ กรุณาสอบทานวันเดือนปีเกิดของหลวงปู่ ทั้งทางสุริยคติ และจันทรคติให้แน่ชัด อย่างน้อยต้องลงกันให้ได้
    ๒. เรื่องตำบล และอำเภอเกิด ว่าในปัจจุบันอยู่ในตำบลอะไร และอำเภออะไรกันแน่ อันนี้ผมขอทิ้งไว้ให้ท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติกับพี่น้องชาวอุบลฯ ช่วยตรวจสอบก็แล้วกัน
    กราบขออภัยท่านผู้อ่านอีกที เรากลับมาเรื่อง ชาติภูมิ ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ต่อ -
    เกี่ยวกับนามสกุลของหลวงปู่ ท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติเขียนว่า “นามสกุลสมัยนั้นยังไม่มี ภายหลังมีญาติสืบสายกันมาในตระกูล อุปวัน และ พันธ์โสรี
    หมายความว่า ลูก - หลาน หลวงปู่ รุ่นต่อๆ มาได้ใช้สองนามสกุลนี้ ส่วนในบันทึกของ พระครูพิบูลธรรมภาณ (หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค) เขียนไว้ว่า เชื่อเดิม ชื่อ เสาร์ นามสกุล พันธ์สุรี บิดาชื่อ ทา มารดาชื่อ โม่
    หลวงปู่ มีพี่น้อง ๕ คน คือ
    ๑. หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล
    ๒. นางสาวแบ (ครองโสดตลอดชีวิต)
    ๓. แม่ดี
    ๔. แม่บุญ
    ๕. พ่อทิดพา อุปวัน
    เรื่องชาติภูมิของท่าน หาข้อมูลได้เพียงเท่านี้
    ชีวิตในวัยเด็ก
    เรื่องราวชีวิตในวัยเด็กของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ไม่มีการจดบันทึกไว้ แต่ผู้เขียนเชื่อว่าท่านคงใช้ชีวิตเยี่ยงเด็กท้องไร่ท้องนาทั่วไป คือช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนาไปตามกำลัง โดยเฉพาะท่านเป็นบุตรชายคนโต น่าจะเป็นแรงงานที่สำคัญของครอบครัวมาตั้งแต่เด็ก
    ในบันทึกของ ท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ กล่าวถึงบุคลิกของหลวงปู่ใหญ่ ในวัยเด็กว่า “ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล มีรูปร่างสูงใหญ่ หน้าตา ผิวพรรณดีมาก”
    และบันทึกของ หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค มีดังนี้
    “มีความพึงพอใจ ศรัทธาเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ด้วยมองเห็นสีแห่งผ้ากาสาวพัสตร์เป็นสีแห่งความงามและสงบสุข เห็นสมณะเป็นเพศที่สูงส่ง เปี่ยมด้วยความเมตตากรุณา ไม่เบียดเบียนชีวิตของเพื่อนสัตว์โลกผู้ร่วมเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน”
    รวมความว่า หลวงปู่ใหญ่ เป็นเด็กชายที่หน้าตาดี รูปร่างสูงใหญ่ ใฝ่ทางศีลธรรม และสนใจบวชเรียนในพระศาสนามาตั้งแต่เด็ก
    ในสมัยของหลวงปู่ใหญ่ ยังไม่มีโรงเรียน เพราะโรงเรียนอย่างในปัจจุบันเริ่มมีขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ นี้เอง
    ในบันทึกของหลวงพ่อโชติ บรรยายว่า “กอปรกับการศึกษาสมัยก่อนยังไม่เจริญ กุลบุตรผู้มีความสนใจใคร่ศึกษา ต้องการเรียนรู้อ่านออกเขียนได้ ไม่เป็นคนโง่เง่าเต่าตุ่น หูป่าตาเถื่อน จะต้องอาศัยวัดเป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้
    ข้าราชการสมัยนั้น ส่วนมากไปจากผู้ผ่านการบวชเรียนหรือผู้ที่สอบได้นักธรรม และมหาเปรียญมาก่อน..
    บันทึกของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ในเรื่องเดียวกันนี้ว่า “สำนักศึกษาในสมัยก่อนคือวัด ถือว่าวัดเป็นแหล่งรวมความรู้ เป็นที่ประสิทธิ์ประสาทวิทยาการด้านต่างๆ และเป็นแหล่งเนื้อนาบุญ เป็นที่อยู่ของคนดี คนมีบุญ
    พ่อแม่ผู้ปกครองในสมัยนั้น จึงนิยมส่งบุตร - หลานอันเป็นที่รักของตนให้เข้าวัดและบวชเรียน เพื่อที่ว่าจะได้เป็น คนสุก ลบเสียซึ่งคราบของคนดิบ และยังเป็น ญาคู - ผู้รู้ เป็นมหาเปรียญ - ผู้ปราดเปรื่อง หรือสึกออกมาเป็น ทิด เป็น นักปราชญ์ มีความรู้รับราชการ ได้เป็นเจ้าเป็นนาย ต่อไป
    ด้วยเหตุนี้หลวงปู่ใหญ่ ของเราจึงได้ใฝ่ฝันที่จะบวชเรียนตั้งแต่ยังเด็ก ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจของเด็กหนุ่มผู้ใฝ่ในทางดีตามยุคสมัยในเวลานั้น
    อุบลเมืองนักปราชญ์
    เมืองอุบลในอดีต ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในดินแดนภาคอิสาน เด็กหนุ่มผู้สนใจศึกษาหาความรู้จากที่ต่างๆ จึงหลั่งไหลไปที่เมืองอุบลฯ เมื่อครั้งกระโน้น
    บันทึกของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ เขียนไว้ว่า “อุบลราชธานีในอดีตจึงเป็นแดน ตักกสิลา - เป็นเมืองศูนย์กลางการศึกษาของภาคอิสาน มีวัดวาอารามสวยงามตระการตา แพรวพราว หลากหลายเต็มไปหมดทุกแห่งแหล่งถนนในตัวเมืองอุบล ก่อให้เกิดพระเถรานุเถระพระอุปัชฌายาจารย์ นักปราชญ์ราชบัณฑิต อย่างมากมาย...”
    บันทึกของหลวงพ่อโชติ เขียนว่า “จังหวัดอุบลราชธานีเป็นแดนแห่งนักปราชญ์ราชบัณฑิตอันยิ่งใหญ่” และอีกตอนหนึ่งว่า “อุบลราชธานีในอดีต จึงเป็นแดนของนักปราชญ์ทางศาสนามากมาย”
    ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ได้กล่าวคำเปรียบเทียบคล้องจองว่า
    อุบลเมืองนักปราชญ์ โคราชเมืองนักมวย เชียงใหม่เมืองคนบุญ ลำพูนเมืองคนสวย”
    (ผมขออนุญาตต่อเติมอีกว่า คนร่ำรวยอยู่ที่เมืองพอ แล้วท่านจะว่าอย่างไรครับ?)
    หลวงพ่อโชติ เขียนถึงค่านิยมของคนเมืองอุบลว่า “เกิดเป็นชายต้องบวช จะต้องให้เกลี้ยงให้หล่อน (หมดจด) ดังนั้น ไม่ว่าไปทางไหนของเมืองอุบลจึงตระการแพรวพราวไปด้วยวัดวาอาราม มีภิกษุสามเณรในพุทธศาสนาอย่างมากมาย เป็นค่านิยมของสังคมในสมัยนั้น”
    หลวงพ่อโชติ ได้เขียนถึงสภาพภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ของเมืองอุบลฯ อย่างย่นย่อไว้ดังนี้ -
    “อุบลราชธานีเป็นเมืองชายแดน มีแม่น้ำมูล แม่น้ำชี ไหลผ่าน อันเปรียบเสมือนสายธารแห่งน้ำใจของชาวอุบลฯ ที่สดชื่นไหลเอื่อยอยู่ชั่วน้ำตาปี...
    อุบลราชธานี แต่เดิมเรียก ดงอู่ผึ้ง และ ดอนมดแดงเป็นเมืองที่พระวอ พระตา สองพี่น้องเชื้อสายจ้าวลาวหนีศึกมาจากนครเวียงจันทน์
    ครั้งแรก พระวอ พระตา ได้พาสมัครพรรคพวกหนีข้ามโขงมาตั้งรกรากอยู่ที่ หนองบัว หรือ หนองบัวลำภู ในปัจจุบัน แต่ถูกเจ้าศิริบุญสาร ทางฝั่งลาวติดตามรังควาญอีก จึงได้พากันอพยพหลบหนีลงไปทางใต้เรื่อยๆ จนไปปักหลักลงที่ ดงอู่ผึ้ง ข้างห้วยแจละแม และที่ดอนมดแดง แก่งส้มป่อย
    ขุนทหารแม่ทัพของพระวอ พระตา ที่ติดตามมาด้วย ได้แก่ท่านขุนน้อย กับ ท่านขุนใหญ่ ได้ไปพักอยู่ที่บ้านทุ่งขุนน้อย บ้านทุ่งขุนใหญ่ ในปัจจุบัน เป็นทัพคอยรักษาด้านหน้าไว้
    พระวอ พระตา ยังมีความประทับใจอยู่กับหนองบัวลำภู แหล่งแรกที่อพยพมา เมื่อมาถึงที่ใหม่ ปักหลักได้มั่นคงแล้วจึงได้ขุดหนองน้ำขนาดใหญ่แล้วปลูกดอกบัวขึ้น เรียกว่าหนองบัว อยู่ตรงค่าย ตชด. กม. ๓ (ผมเองก็ไม่ทราบว่าอยู่ตรงไหน) ในปัจจุบันนี้เอง
    แล้วได้ตั้งชื่อเมืองใหม่ตรงริมฝั่งแม่น้ำมูลแห่งนั้นว่า เมืองอุบลแปลว่า เมืองดอกบัว เพื่อเตือนความทรงจำถึงหนองบัวลำภู แห่งแรกที่ท่านอพยพมาอยู่ในประเทศไทย...
    หลวงพ่อ ท่านสรุปประวัติเมืองอุบลฯ ว่า ทีนี้คือตำนานเก่าแก่ของเมืองอุบลฯ ที่คนเฒ่าเก่าแก่พื้นเมืองเล่าสืบต่อกันมา
    นอกจากนี้ หลวงพ่อ ยังเขียนถึง ประเพณีการลงข่วงในคืนเดือนเพ็ญ ที่ผู้ใหญ่เปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้ทำความรู้จักและเกี้ยวพาราสีกัน อ่านแล้วอยากจะกลับไปเป็นหนุ่ม - สาวอีกสักครั้ง คงจะดีไม่น้อย
    ท่านที่สนใจประเพณีดีงามอย่างนี้ คงต้องไปค้นหาอ่านเอาเองก็แล้วกัน ถ้ามาเขียนลงตรงนี้ เกรงจะพาพวกท่านเตลิดเปิดเปิงกลับไปสู่อดีต กลายเป็นหนุ่ม - สาวกันหมด ขัดกับคำสอนของพระที่ว่า “ให้อยู่กับปัจจุบัน”
    <table id="table5" align="right" border="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> พระครูพิบูลธรรมภาณ
    (หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค)
    วัดภูเขาแก้ว อ พิบูลมังสาหาร
    จ อุบลราชธานี ผู้เมตตามอบบันทึก
    ประวัติหลวงปู่ใหญ่ ให้ผู้เขียนได้ใช้
    ในการเขียนหนังสือครั้งนี้

    </td> </tr> </tbody></table> ​
    บรรพชาเป็นสามเณร
    ด้วยเหตุที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล มีจิตโน้มเอียงไปทางด้านการบวชเรียนมาตั้งแต่เด็ก พออายุได้ ๑๒ ปี บิดามารดาจึงได้นำท่านไปฝากเป็นศิษย์วัด เพื่อเตรียมตัวรอบวชเป็นสามเณร ณ วัดใต้ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีพระอาจารย์บุญศรี เป็นเจ้าอาวาส
    หลวงปู่ใหญ่ ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๕ ปี ณ วัดใต้ แห่งนี้ ซึ่งเป็นวัดในสังกัดมหานิกาย
    ในบันทึกของหลวงพ่อโชติ กล่าวถึงการเป็นสามเณรของหลวงปู่ใหญ่ ว่า “ด้วยความมุ่งมั่นในพระพุทธศาสนา ท่านเป็นคนพูดจริงทำจริง ไม่เหลาะแหละเหลวไหล เป็นผู้ไม่นิ่งนอนใจ เมื่อบรรพชาเป็นสามเณร ท่านมีความอุตสาหะขยันขันแข็ง ตั้งใจทำกิจการงานของวัด ทั้งการท่องบ่นสาธยายมนต์ เรียนมูลน้อย มูลใหญ่ มูลกัจจายน์ ศึกษาทั้งการอ่านการเขียนอักษรไทยน้อย ไทยใหญ่ และอักษรขอม จนชำนาญคล่องแคล่วทุกอย่าง”
    บันทึกของหลวงพ่อโชติ มีต่อไปว่า -
    “ท่านอาจารย์เคยเล่าประวัติชีวิตครั้งเป็นสามเณรให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังเสมอ ซึ่งแสดงถึงความวิริยะอุตสาหะ และการปฏิบัติครูอาจารย์ของท่านว่า
    สมัยนั้นท่านเป็นสามเณรใหญ่ ถ้ามีกิจนิมนต์พระไปฉันนอกวัดแล้ว ท่านจะต้องเป็นคนพิเศษได้ติดตามครูอาจารย์ไปด้วยเสมอ เพราะท่านเป็นเณรใหญ่ ที่ครูบาอาจารย์รัก และไว้เนื้อเชื่อใจมาก ไปไหนจะต้องเอาท่านไปด้วยเสมอ เพื่อคอยปฏิบัติรับใช้ครูอาจารย์
    กิจการของครูอาจารย์ทุกอย่าง ท่านจะรับทั้งหมดโดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากลำบากใจใดๆ ทั้งสิ้น เป็นต้นว่าบาตรของพระทุกองค์ ท่านจะรับภาระคนเดียว สะพายที่คอแล้วห้อยไว้ทั้งหน้าทั้งหลังจนรอบตัว
    ท่านผู้อ่านคงจะนึกภาพออก คือสามเณรคนเดียวหอบหิ้วบาตรตั้ง ๖ ลูก พร้อมทั้งถือกล้วยอ้อยที่ชาวบ้านเขาถวายมา อันเป็นประเพณีของชาวอิสาน
    ท่านเล่าว่าในสมัยเป็นสามเณร ท่านฉันอาหารได้มาก เมื่อไปฉันตามบ้าน ญาติโยมจะคอยตักเติมอาหารให้ท่านบ่อยๆ เขาเติมมากเท่าไรท่านก็ยิ่งฉันเพื่อฉลองศรัทธาเขาได้มากเท่านั้น จนชาวบ้านสงสัยว่าท่านฉันได้เยอะอย่างนี้แล้วท่านเอาไปเก็บไว้ที่ไหนกัน
    แต่ชาวบ้านก็ดีใจที่เห็นเณรฉันได้มาก อามิสทานของพวกเขาได้รับการบริโภคอย่างเอร็ดอร่อย
    นี่คือเรื่องราวบางส่วนในสมัยที่ท่านเป็นสามเณร
    เมื่อหลวงปู่ใหญ่ อายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ และพำนักอยู่ที่วัดใต้เรื่อยมาจนถึงพรรษา ๑๐ ได้ศึกษาเล่าเรียนจนได้เป็น “ญาคู” คือเป็นครูสอนหมู่คณะสืบต่อมา
    ชาวบ้านทั่วไปเรียกท่านว่า ญาคูเสาร์
    ท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับสมณศักดิ์ของพระภิกษุในสมัยก่อน ดังนี้
    ๑. ธรรมเนียมการจัดสมณศักดิ์ของวัฒนธรรมล้านช้างแบ่งออกเป็น ๘ ขั้น (จากต่ำไปสูง) คือ สำเร็จ ซา คู ฝ่าย ด้าน หลักคำ ลูกแก้ว ยอดแก้ว
    ๒ ธรรมเนียมการจัดสมณศักดิ์ของหัวเมืองอิสานโบราณแบ่งออกเป็น ๖ ขั้น คือ สำเร็จ ซา คู ฝ่าย ด้าน หลักคำ ส่วนสมณศักดิ์ขั้นลูกแก้ว กับ ยอดแก้ว นั้น ไม่มีในหัวเมืองอิสาน เพราะเป็นสมณศักดิ์เทียบเท่าชั้น รองสังฆราชา และ สังฆราชา
    ๓. สมณศักดิ์ฝ่ายปริยัติ เป็นครูอาจารย์ ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาการ ได้แก่ สำเร็จ ซา และ คู
    ๔. สมณศักดิ์ฝ่ายปกครอง ได้แก่ ฝ่าย - ปกครองในหมวด, ด้าน - ปกครองในแขวง และ หลักคำ - ประมุขสงฆ์
    ทั้ง ๔ ข้อที่กล่าวมาเป็นคำอธิบายจาก “ทำเนียบสมณศักดิ์ของชาวเมืองเวียงจันทน์โบราณ” โดย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน)
    ก็คัดลอกมาให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบ เป็นการประเทืองความรู้ซึ่งผมก็ไม่สามารถอธิบายขยายความไปอีกได้
    เคยได้ยินชื่อพระที่มีชื่อเสียงของฝั่งลาวในอดีต ซึ่งมีเรื่องราวที่น่าสนใจมาก คือ ท่าน สำเร็จลุน ไม่ใช่ “สมเด็จ” อย่างที่หนังสือหลายเล่มเขียนถึงนะครับ
    ๑๐
    วัดใต้
    เมื่อหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล บวชเป็นพระแล้ว ท่านได้พำนักอยู่ที่วัดใต้นี้ถึง ๑๐ พรรษา ชีวิตบรรพชิตของหลวงปู่ใหญ่ จึงเริ่มต้นที่วัดแห่งนี้
    ผมขออนุญาตคัดลอกข้อเขียนของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติเกี่ยวกับเรื่อง วัดใต้ มาเสนอดังนี้ :-
    วัดใต้หรือวัดใต้เทิง เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนที่สูงริมฝั่งแม่น้ำมูลตอนใต้ ทางทิศตะวันออกของเมืองอุบลราชธานี เป็นบริเวณแถบที่อยู่ทางท้ายเมือง แล้วไปบรรจบกับแม่น้ำโขงที่ตะวันออกสุดของประเทศไทยที่อำเภอโขงเจียม
    ตามประวัติวัดในเมืองอุบลราชธานีมีว่า วัดใต้เทิงนี้ ญาท่านบุญศรี เป็นผู้สร้าง เมื่อ จ.ศ.๑๑๗๖ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๗๗ โดยครั้งนั้นเป็นวัดในคณะมหานิกาย
    เดิมทีนั้นที่ริมฝั่งแม่น้ำมูลที่ลาดลงไปจนจรดแม่น้ำมูลนั่นเป็นที่ตั้งของวัดใต้ เช่นกัน เรียกขานกันว่า วัดใต้ท่า เดิมพระมหาราชครูเจ้าท่านหอแก้ว ผู้เป็น หลักคำเมืองอุบล (ตำแหน่งประมุขสงฆ์เดิมของทางอิสาน) หลบไปนั่งกรรมฐานที่ป่าบริเวณนี้ ครั้นมีพระสงฆ์ตามไปอยู่ปฏิบัติมากขึ้นจึงได้สร้างเพิ่มขึ้นเป็นวัด เรียกว่า วัดใต้ท่า ต่อมาถูกยุบร้างไปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙
    ... ฯลฯ...
    ในหนังสือประวัติวัดใต้ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๙ กล่าวว่า
    “เดิมทีนั้นวัดใต้ มีอยู่ ๒ วัด คือ วัดใต้ท่า กับ วัดใต้เทิง เพราะเหตุที่วัดทั้งสองนั้นอยู่ติดกัน ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ซึ่งเป็นผู้ปกครองสังฆมณฑลในสมัยนั้น จึงได้ยุบวัดใต้ท่าที่ร้างไป ให้รวมกับวัดใต้เทิง กลายเป็นวัดใต้วัดเดียวในปัจจุบัน แล้วโอนมอบที่ดินวัดใต้ท่าให้เป็นศาสนาสมบัติกลางในกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
    ต่อมาที่ดินบริเวณนั้นก็ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างเป็นสำนักงานไฟฟ้าบริษัทส่วนบุคคล ทำการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง...
    บันทึกของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ได้อ้างถึงคำกล่าวของคุณตาบำเพ็ญ ณ อุบล ว่า
    “วัดใต้นี้ มี ๒ วัด คือ วัดใต้ท่า และ วัดใต้เทิง (เทิงแปลว่า ที่สูง ข้างบน) ทั้งสองวัดนี้ตั้งอยู่ตรงกันข้าม ต่อมาไม่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุใดที่ทำให้วัดใต้ท่ากลายเป็นวัดร้างไป ซึ่งต่อมาที่ตรงนั้นได้เป็นที่ตั้งโรงไฟฟ้าของเมืองอุบลฯ ใช้เครื่องจักรฉุดเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้า จนต่อมาใช้ไฟฟ้าจากเขื่อนกั้นน้ำจึงเลิกใช้เครื่องจักรปั่นไฟ เหลือเป็นที่ตั้งสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ อุบลราชธานี ส่วนวัดใต้เทิง นั้น ยังคงอยู่และเจริญรุ่งเรืองมาจนกระทั่งบัดนี้ เรียกขานกันว่าวัดใต้”
    ๑๑
    เตรียมตัวลาสิกขา
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล หรือ ญาคูเสาร์ ในขณะนั้นบวชได้สิบกว่าพรรษา และพำนักอยู่ที่วัดใต้ตลอดมา ท่านเกิดมีความคิดจะลาสิกขา อยากออกไปครองเพศฆราวาสเป็นกำลัง
    หลวงปู่ใหญ่ ได้คิดวางแผนที่จะสึกเป็นเวลาหลายปี เตรียมตัวจะไปประกอบอาชีพพ่อค้า โดยล่องเรือค้าขายไปตามลำน้ำมูล และแม่น้ำโขง ลงไปทางเมืองโขง เมืองจำปาศักดิ์ เมืองสีทันดร ทางฝั่งลาว แวะขายสินค้า และซื้อสินค้าท้องถิ่นไปเรื่อยๆ เอาสินค้าจากบ้านนี้ไปขายบ้านนั้น เอาของจากบ้านนั้นไปขายบ้านโน้น เมื่อได้เงินพอสมควรแล้วจึงจะหวนกลับมาปลูกบ้าน แต่งเมีย สร้างหลักฐานทำไร่ทำนาค้าขายต่อไป
    หลวงปู่ใหญ่ ได้สะสมวัตถุข้าวของและเงินทองไว้เป็นจำนวนมาก กุฏิของท่านจึงเต็มไปด้วยสิ่งของเครื่องใช้ ผ้าไหมแพรพรรณต่างๆ ที่พร้อมจะเป็นสินค้าเพื่อประกอบอาชีพภายหลังลาสิกขาแล้ว
    หลวงปู่ใหญ่ มั่นใจว่าท่านสะสมสิ่งของมากพอสมควร เงินทองก็มีมากพอสมควรแล้ว สิ่งที่ยังขาดอยู่ก็เรือบรรทุกสินค้าขึ้น - ล่องไปตามลำน้ำ หากได้เรือเมื่อไรก็พร้อมที่จะลาสิกขา ออกไปประกอบอาชีพตามที่ฝันเอาไว้
    เป็นจังหวะเหมาะ ท่านได้ข่าวว่ามีท่อนซุงต้นหนึ่งอยู่ในดง เป็นขอนที่งดงามและเหมาะที่จะขุดเป็นเรือบรรทุกสินค้ามาก
    แต่ขอนซุงที่ว่านั้นเป็นขอนที่มีอาถรรพณ์ ไม่มีใครสามารถไปเอาออกมาจากดงได้ มีผู้พยายามหลายคนแต่ไม่สำเร็จ บางคนต้องตายน่าอนาถ ที่ไม่ตายก็ป่วยไข้หรือเป็นบ้า ป้ำๆ เป๋อๆ ไปก็มี ที่นอนไหลตายก็มี จึงไม่มีใครกล้าไปแตะต้องขอนซุงต้นนั้นเลย ปล่อยให้นอนอยู่กับดินที่กลางดงนั้นอยู่นาน
    เมื่อหลวงปู่ใหญ่ทราบข่าว ก็เดินทางไปดู เห็นว่าเป็นขอนซุงที่งดงามเหมาะที่จะขุดเรือมาก ท่านจึงลงมือขุดจนกระทั่งสำเร็จเป็นเรือที่งดงามโดยที่ไม่มีเหตุร้ายเกิดขึ้นแต่อย่างใด
    ท่านพอใจในเรือลำนั้นมาก ได้นำมาผูกไว้ที่ท่าน้ำตรงหน้ากุฏินั้นเอง ทุกวันคืนท่านจะมองเห็นเรือลำสวยงามนั้นลอยอยู่หน้ากุฏิส่ายขึ้นลงไปตามแรงกระเพื่อมของน้ำ เหมือนกับเร่งวันเร่งคืนให้เจ้าของรีบลาสิกขาเพื่อใช้พาหนะคู่ใจขึ้นล่องไปตามแม่น้ำสู่สถานที่ต่างๆ ดังใจฝัน
    กล่าวกันว่าเรือลำนั้นมักจะมีเหตุการณ์ประหลาดๆ ให้พบเห็นอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พอถึงวันพระ ตอนกลางคืน เรือจะลอยออกไปกลางลำแม่น้ำได้เองทั้งๆ ที่ผูกเอาไว้ จนกระทั่งเช้าเรือก็กลับมาได้เอง นอกจากนี้ก็มีเหตุการณ์ประหลาดอื่นๆ เป็นที่น่าอัศจรรย์ จนไม่มีใครกล้าที่จะขึ้นไปนั่งเรือลำนั้น
    บัดนี้ การลาสิกขาของหลวงปู่ใหญ่เป็นอันว่าพร้อมทุกอย่าง เพียงแต่ว่ายังไม่ได้กำหนดวันเวลาที่แน่นอนเท่านั้น
    ๑๒
    จุดเปลี่ยนเมื่อโยมแม่ถึงแก่กรรม
    ช่วงที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล รอวันที่จะลาสิกขาอย่างกระวนกระวายใจนั้น บังเอิญโยมแม่ของท่านเสียชีวิต ท่านจึงเดินทางไปบ้านข่าโคม บ้านเกิด เพื่อประกอบพิธีเผาศพให้โยมแม่
    ในช่วงนั้นหลวงปู่ใหญ่ท่านเศร้าโศกเสียใจและอาลัยอาวรณ์โยมแม่ของท่านมาก
    เมื่อจัดงานศพเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ใหญ่ก็กลับมาพำนักที่วัดใต้ เหมือนเดิม
    ในเวลาเย็น หลวงปู่ใหญ่ นั่งอยู่องค์เดียวเงียบๆ บนกุฏิที่พักของท่าน ทอดสายตาไปทางลำน้ำมูลที่อยู่เบื้องหน้า มันเป็นฤดูน้ำหลาก กระแสน้ำไหลค่อนข้างเชี่ยว พัดพาเอาโคลนตมสีขุ่นแดงมาตามแรงไหลของมัน เหล่านกกากำลังบินกลับรวงรังแข่งกับพระอาทิตย์ที่ใกล้จะลับขอบฟ้า
    ลมเย็นพัดมาเรื่อยๆ กำลังสบาย สายตาของท่านจับอยู่ที่ลำเรือที่ท่านภาคภูมิใจ และเป็นเรือแห่งความหวังของท่าน มันถูกล่ามเชือกไว้ที่ตีนท่า มันเคลื่อนไหวโคลงหัวไปมาตามแรงคลื่น รอการปลดปล่อยเพื่อนำพาเจ้าของออกไปแสวงหาความร่ำรวย ตามที่ท่านคาดฝันเอาไว้
    แม้ดูท่านจะนั่งสงบนิ่ง แต่ภายในจิตใจกำลังครุ่นคิดและสับสนพอประมาณ
    หลวงปู่ใหญ่เล่าว่า ท่านหวนคิดไปถึงโยมแม่ที่เพิ่งจะลาจากไป โยมแม่เป็นคนขยันขันแข็ง ทำมาหากินไม่เคยได้หยุดพัก ทำงานหนักมาตลอดชีวิต อุตส่าห์เก็บหอมรอมริบมาจนจัดได้ว่าเป็นครอบครัวที่ค่อนข้างมีฐานะ แต่เมื่อถึงคราวที่ท่านตายลง สมบัติทั้งหลายที่ท่านเก็บสะสมไว้ตลอดชีวิต ไม่สามารถนำติดตัวไปได้เลยแม้แต่ชิ้นเดียว เสื้อผ้าติดกายก็ถูกไฟเผามอดไหม้เป็นเถ้าถ่านจนหมดสิ้น เห็นแล้วชวนให้น่าสลดสังเวชเป็นอย่างยิ่ง
    หลวงปู่ใหญ่ คิดทบทวนไปมา มันสมควรแล้วหรือเมื่อครั้งโยมแม่ยังมีชีวิต ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชรา ท่านสู้เหน็ดสู้เหนื่อยทุกอย่างเพื่อสร้างฐานะให้ครอบครัว แล้วท่านได้อะไรที่เป็นแก่นสารของชีวิตที่พอจะนับได้ว่าเกิดมาแล้วไม่ขาดทุน
    หลวงปู่ย้อนมานึกถึงตัวท่านเองว่า “ตัวเรานี้ก็เช่นกัน เมื่อเราลาออกไปค้าขาย เราจะต้องเสี่ยงกับความไม่แน่นอนหลายอย่าง
    <table id="table6" align="left" border="0" width="282"> <tbody><tr> <td width="126">
    [​IMG]
    </td> <td valign="bottom" width="146"> พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ
    วัดใต้ อำเภอเมือง
    อุบลราชธานี
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="center"> [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="center"> พระอุโบสถวัดใต้หลังปัจจุบัน</td> </tr> </tbody></table> ​
    ประการแรก ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะได้กำไรหรือขาดทุน
    ประการที่สองจะต้องเสี่ยงภัยกับโจรผู้ร้ายจะถูกปล้นถูกลักขโมยเอาเมื่อไรก็ได้
    และประการที่สาม อาจต้องเสี่ยงกับอุบัติเหตุ เรืออาจจะจมอาจจะคว่ำเพราะโดนคลื่นโดนพายุ เราต้องล่มจมเพราะภัยธรรมชาติก็ได้
    ถ้ามองในแง่ดี ถ้าหากการค้าของเรามีกำไร สะสมเงินทองได้มากพอ นำไปสร้างบ้านเรือน แล้วแต่งเมียอยู่กินด้วยกันมีความสุขเล็กๆ น้อยๆ พร้อมกับมีลูกที่น่ารักสร้างฐานะได้มั่นคง ก็นับว่าดีไป
    แต่ถ้าเงินทองเราหมดลง ก็ต้องดิ้นรนขวนขวายต่อไปอย่างไม่รู้จักจบสิ้น ดูแต่โยมแม่ของเรา ท่านต้องเหน็ดเหนื่อยตลอดชีวิต เวลาท่านตาย ไม่เห็นท่านเอาอะไรไปได้บ้าง สมบัติพัสถานต่างๆ เราไม่สามารถเอาเป็นที่พึ่งที่ยึดได้...
    ๑๓
    ตัดสินใจขอบวชตลอดชีวิต
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล คิดทบทวนอยู่นานด้วยการถามตอบตัวเองกลับไปกลับมา เรือที่ผูกไว้ที่ท่าน้ำก็ดูกระสับกระส่ายคล้ายจะเร่งเอาคำตอบจากเจ้าของว่า
    “จะเอาอย่างไรแน่ ทุกอย่างพร้อมอยู่แล้ว เหลือเพียงการตัดสินใจว่าท่านจะสึกหรือไม่สึก เรารอท่านอยู่อย่างนี้มานานพอสมควรแล้ว ขอให้ท่านรีบตัดสินใจไวไว”
    ใกล้จะถึงเที่ยงคืน ก็เกิดความคิดสุดท้ายขึ้นมาว่า
    “การสึกออกไปใช้ชีวิตฆราวาส เราจะต้องดิ้นรนขวนขวายหาทรัพย์อย่างไม่รู้จักจบสิ้น เมื่อตายไปก็ไม่สามารถนำติดตัวไปได้ ดูตัวอย่างโยมแม่ของเราซิ ท่านแสดงให้เราเห็นอย่างชัดเจนแล้วไม่ใช่หรือ
    ถ้าเช่นนั้นเราจะสึกหาลาเพศออกไป มันจะได้ประโยชน์และมีความหมายอย่างไรเล่า สู้อยู่ในเพศพรหมจรรย์อย่างนี้น่าจะดีกว่า นอกจากเป็นเพศที่ถือว่าสูงส่ง ไม่ได้ประกอบกรรมทำชั่วแล้ว ยังสามารถประกอบมรรคผลนิพพานให้เกิดให้มีขึ้นได้ อย่างน้อยก็เป็นอุปนิสัยปัจจัยติดตามต่อไปได้อยู่มิใช่หรือ
    อย่ากระนั้นเลย เราไม่สึกดีกว่า !
    เมื่อหลวงปู่ใหญ่ ได้พิจารณาเห็นความทุกข์ยากที่ไม่สิ้นสุดของการใช้ชีวิตฆราวาส และเห็นความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิตเช่นนั้นแล้ว ท่านจึงตัดเป็นใจแน่วแน่ว่า :-
    “ข้าพเจ้าตัดสินใจขอบวชเพื่อถวายพรหมจรรย์ตลอดชั่วชีวิต”
    สาธุ ! สาธุ ! สาธุ ! ก้อนสะอื้น ของผมปรากฏขึ้น รู้สึกปีติยินดีอย่างที่สุด สาธุ ! สาธุ ! สา__ธุ !
    ๑๔
    สละสิ่งที่ชาวโลกเขามีกัน
    เมื่อหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ตัดสินใจได้เด็ดขาดว่าจะไม่ลาสิกขาแล้ว ภายในจิตใจก็เกิดความเชื่อมั่นและเข้มแข็งขึ้นมาอย่างประหลาด
    ท่านรีบลงจากกุฏิ เดินตรงไปยังท่าน้ำ จัดการแก้เชือกหรือที่ผูกไว้กับเสาหลัก หยุดอธิษฐานจิตครู่หนึ่ง แล้วผลักหัวเรือออกไปในทิศทางที่น้ำไหล เรือพุ่งออกไปตามแรงผลัก ลอยเคว้งคว้างกลางกระแสน้ำแล้วล่องลอยไปเรื่อยๆ ตามความแรงของกระแสน้ำ ไม่มีจุดหมายปลายทางที่แน่นอน ดูราวกับแล้วแต่บุญแต่กรรมจะพัดพาไป
    พอเรือลำงามลอยลับไปจนสุดสายตาแล้ว ท่านรู้สึกโล่งอกโล่งใจขึ้นทันที มีความสุขใจ สบายใจ และมั่นใจอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน คล้ายกับได้ปลดเครื่องพันธนาการบางอย่างให้ออกไปจากชีวิตฉันนั้น
    หลวงปู่ใหญ่ เดินขึ้นกุฏิด้วยความสุขใจ คืนนั้นท่านได้หลับอย่างมีความสุขและความสบายใจชนิดที่ไม่เคยได้พบเห็นมาก่อน
    พอรุ่งเช้า หลวงปู่ใหญ่ ได้ประกาศบอกข่าวให้หมู่คณะและญาติมิตรได้ทราบโดยทั่วกันว่า ท่านเลิกล้มความตั้งใจที่จะลาสิกขาแล้วผู้ที่ทราบข่าวต่างก็อนุโมทนาสาธุไปตามๆ กัน
    นอกจากนี้ท่านได้บอกข่าวไปทางหมู่ญาติอย่างเปิดเผยว่าบรรดาข้าวของ เครื่องใช้ไม้สอย เสื้อผ้าแพรพรรณ ตลอดจนเงินทองที่ท่านอุตส่าห์เก็บสะสมมานานปี ท่านจะสละแจกสละทานให้จนหมดสิ้นใครอยากได้อะไรก็ขอให้มารับเอาไป
    เมื่อญาติมิตรได้ทราบข่าว ต่างก็พากันมารับเอาสิ่งของที่ท่านสละเป็นทานเหล่านั้น แจกทานอยู่หลายวันจึงหมด เพราะของสะสมไว้มากจริงๆ
    หลวงปู่ใหญ่ ท่านเล่าให้ศิษย์ฟังว่า ท่านไม่ได้นึกอาลัยอาวรณ์ในข้าวของเหล่านั้นเลย กลับโล่งใจเบาสบาย และเลิกการสะสมมาจนตราบเท่าชีวิต
    ภายหลังที่ท่านออกธุดงค์กรรมฐานแล้ว ท่านบอกว่าแม้แต่ชีวิตของท่านก็สละถวายพระศาสนาอย่างหมดสิ้น ไม่มีความห่วงอาลัยในสิ่งใดเลย
    กล่าวถึงเรือลำงามของท่าน ทราบต่อมาในภายหลังว่า มีชาวบ้านเขาจับได้ คนผู้นั้นเขารู้ข่าวคราวความอาถรรพณ์ของเรือลำนั้นดี จึงได้ทำพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้อย่างถูกต้อง หลังจากนั้นไม่ช้านานนักเขากลายเป็นคนมั่งมีขึ้นมาทันตาเห็น
    น่าเสียดาย ในบันทึกไม่ได้บอกว่า โยมผู้จับเรือได้นั้นเป็นใคร ไม่เช่นนั้นจะตามไปสัมภาษณ์เขียนเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟังได้
    และน่าเสียดายที่ไม่ทราบว่า หลวงปู่ใหญ่ ท่านอธิษฐานจิตก่อนปล่อยเรือลำนั้นว่าอย่างไร ใครทราบก็ช่วยบอกด้วยนะครับ
    ๑๕
    กำเนิดธรรมยุติกนิกาย
    ผมขออนุญาตพักเรื่องราวของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลไว้ตรงนี้ก่อน เพื่อนำเสนอเรื่องราวสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกัน
    ในขณะนั้น หลวงปู่ใหญ่ ของเรายังเป็นพระสังกัดในคณะมหานิกาย ซึ่งท่านเห็นว่าการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระสงฆ์ในสมัยนั้นยังลุ่มๆ ดอนๆ อยู่ ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพานอย่างแท้จริง ท่านจึงญัตติใหม่มาสังกัดธรรมยุติกนิกาย
    <table id="table7" align="right" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> รัชกาลที่ ๔ ในชุดฉลองพระองค์ทรงศีล ฉายเมื่อปีเถาะ พ ศ. ๒๔๑๐ เป็นพระบรมฉายาลักษณ์หลังสุดก่อนเสด็จไปหว้ากอ
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    เพื่อให้เรื่องราวเชื่อมโยงกัน จึงได้นำเสนอเรื่องราว และเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับกำเนิดธรรมยุติกนิกาย ขึ้นในประเทศไทย และการประดิษฐานคณะธรรมยุติกนิกายในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งถือเป็นครั้งแรก ที่คณะธรรมยุติกนิกายแผ่ขยาย ออกไปยังต่างจังหวัด จนกระทั่งปักหลักฐานที่มั่นคงในภาคอิสาน แล้วแผ่ขยายออกไปยังภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ ซึ่ง หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต มีบทบาทในการสร้างวัดกรรมฐานสังกัดคณะธรรมยุตเป็นร้อยๆ วัดทั่วภาคอิสานทีเดียว
    ในหนังสือชื่อ พุทธศาสนวงศ์ พระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ได้ตรัสถึงธรรมยุติกนิกาย ไว้ดังนี้ -
    ธรรมยุติกนิกาย เป็นนิกายสงฆ์นิกายหนึ่งในประเทศไทย เป็นผลเกิดจากการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ตั้งแต่ครั้งยังเสด็จออกผนวช มีพระนามในพระศาสนาว่า “วชิรญาโณ”
    พระองค์สืบวงศ์บรรพชาอุปสมบทมาแต่คณะสงฆ์ผู้อุปสมบทในนิกายสีมากัลยาณี ในรามัญประเทศ อันสืบมาแต่ลังกา และสืบๆ ขึ้นไปได้จนถึงต้นเดิม
    (หมายความว่ามีการอุปสมบทสืบต่อกันมาโดยไม่มีขาดสายสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยพุทธกาล ซึ่งจะได้กล่าวถึงเรื่องนี้ในตอนต่อไป - ผู้เขียน)
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงอุปสมบทในพระสงฆ์ไทยที่สืบมาแต่เดิม ซึ่งเรียกภายหลังว่ามหานิกาย แล้วได้ทรงรับอุปสมบทอีกในวงศ์สีมากัลยาณีนี้นำขึ้น ได้ทรงปฏิบัติและวางระเบียบให้เคร่งครัด ถูกตรงตามพระธรรมวินัย ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงบัญญัติไว้ อันปรากฏในพระบาลีพระไตรปิฎก
    ได้มีผู้บรรพชาอุปสมบทและปฏิบัติตามในวงศ์และระเบียบวิธีเดียวกันมากขึ้น จนเกิดเป็นพระสงฆ์นิกายหนึ่ง เรียกนามในภายหลังว่า “ธรรมยุติกนิกาย” หรือ “นิกายสงฆ์คณะธรรมยุติกา” เรียกสั้นว่า “ธรรมยุต”
    ชื่อนี้แปลวา “ผู้ประกอบด้วยธรรม” หรือ “ชอบด้วยธรรม” หรือ “ยุติตามธรรม”
    เป็นเนติกนามอันหมายถึงเหตุที่คณะสงฆ์นี้เกิดขึ้นด้วยมุ่งแสวงหาว่า ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุสาสน์ (คำสั่งสอนของพระศาสดา) แล้วปฏิบัติข้อนั้น เว้นข้อที่ไม่เป็นธรรมไม่เป็นวินัย ไม่เป็นสัตถุสาสน์ แม้จะเป็นอาจิณปฏิบัติ (ข้อปฏิบัติที่ประพฤติตามกันมาแต่ผิดธรรมวินัย )
     
  3. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๑๖
    พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์ผู้ก่อเกิดธรรมยุติกนิกาย
    เพื่อพวกเราอันเป็นชนรุ่นหลัง จะได้ทราบประวัติการเกิดขึ้นแห่งคณะธรรมยุตโดยแจ่มแจ้ง ผมขออัญเชิญพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระศาสนาโดยย่นย่อ มาเสนอไว้ ณ ที่นี้
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ กับ สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด ปีชวด ฉศก จ.ศ. ๑๑๖๖ ตรงกับวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ ศ. ๒๓๔๗ ทรงตั้งอยู่ในฐานะเป็นรัชทายาทตามโบราณราชประเพณี
    พ.ศ. ๒๓๕๕ พระชันษา ๙ พรรษา มีการพระราชพิธีลงสรง ทำเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชทานพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฏ สมมุติเทวาวงศ์ พงศ์อิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชกุมาร”
    พ ศ. ๒๓๖๐ พระชันษา ๑๔ พรรษา ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุ ๗ เดือน จึงลาผนวช กล่าวกันว่า สมเด็จพระสังฆราช (มี) เป็นพระอุปัชฌาย์ และสมเด็จพระญาณสังวร (สุข) เป็นพระอาจารย์ถวายศีล
    ก่อนออกทรงผนวชเป็นสามเณร พระองค์ทรงเริ่มเรียนอักขรสมัยในฝ่ายภาษาบาลีมาบ้างแล้ว เมื่อทรงผนวชจึงได้ทรงเล่าเรียนมากขึ้นโดยลำดับ และเมื่อลาบวชสามเณรแล้ว ก็ได้เสด็จไปเรียนภาษาบาลีต่อที่หอพระมณเฑียรธรรม จึงนับว่าพระองค์มีพื้นฐานทางภาษาบาลีเป็นอย่างดีตั้งแต่สมัยยังทรงพระเยาว์
    ต่อมา พ.ศ. ๒๓๖๗ พระชันษา ๒๑ พรรษา เสด็จออกทรงผนวชเป็นภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ และทรงได้รับการถวายสมณฉายาว่า “วชิรญาโณ” หลังพิธีผนวช ได้เสด็จประทับ ณ ตำหนักวัดมหาธาตุทรงทำอุปัชฌายวัตร ๓ วัน แล้วเสด็จไปจำพรรษาเพื่อศึกษาวิปัสสนาธุระตามนิยมผู้บวชมีเวลาน้อย ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส)
    ทรงผนวชได้ ๑๕ วัน สมเด็จพระชนกนาถ รัชกาลที่ ๒ เสด็จสวรรคตโดยไม่ได้มีพระราชดำรัสสั่งมอบราชสมบัติ พระราชวงศ์และเสนาบดีได้ทูลถามว่าจะทรงปรารถนาราชสมบัติ หรือจะทรงผนวชต่อไป
    ท่านวชิรญาโณภิกขุ ทรงตอบว่าจะทรงผนวชต่อไป พระราชวงศ์และเสนาบดีจึงทูลอัญเชิญ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระโอรสองค์ใหญ่ (ต่างพระมารดา) ซึ่งมีอายุแก่กว่าพระองค์ ๑๗ ปี ขึ้นเสวยราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
    ส่วนท่าน วชิรญาโณภิกขุ ก็ทรงดำรงอยู่ในสมณเพศ ตั้งพระหฤทัยศึกษาพระพุทธศาสนาต่อไปไม่มีกำหนด
    (เหตุการณ์ก่อตั้งธรรมยุติกนิกาย ผมขอยกไปเสนอในตอนต่อไป)
    หากเราได้ศึกษาพระราชประวัติโดยละเอียด จะเห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จออกผนวชทรงปฏิบัติถูกปฏิบัติตรง และทรงปฏิบัติจริง เป็นธรรมทายาท (ทายาทแห่งธรรมไม่ได้ทรงมุ่งลาภยศสักการะ ที่เรียกว่า อามิสทายาท (ทายาทแห่งอามิส วัตถุสิ่งของเครื่องล่อใจ) และทรงเป็น กรณวสิกะ (ผู้เป็นไปในอำนาจแห่งเหตุ คือ ทรงประกอบกรรมดี โดยเชื่อกฎแห่งกรรมว่า ทำดีได้ดีอย่างไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยใดๆ เลย)
    พ.ศ. ๒๓๖๙ พรรษาที่ ๓ ท่านวชิรญาโณภิกขุ ทรงเข้าแปลหนังสือในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยได้ ๕ ประโยค ก็ขอพระราชทานหยุด
    หมายความว่าพระองค์ทรงเข้าสอบแปลบาลีได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค แล้วขอพระราชทานหยุดการสอบไว้เพียงนั้น เพราะมิได้ทรงปรารถนาที่จะมียศมีตำแหน่งในทางพระแต่อย่างใด
    พ ศ. ๒๓๗๒ พรรษาที่ ๖ สมเด็จพระสังฆราช (ปุสสเทว สา) วัดราชประดิษฐ์ฯ ทรงเล่าว่า วันหนึ่งได้เสด็จเข้าไปถวายเทศน์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ตรัสถึงท่านวชิรญาโณภิกขุ ว่า “ชีต้นบวชมานานแล้ว ควรเป็นราชาคณะได้ แล้วพระราชทานพัดแฉกพื้นตาดให้ทรงถือเป็นพัดยศต่อมา”
    ท่านวชิรญาโณภิกขุ ทรงจำพรรษาที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) ตลอดจนถึง พ.ศ. ๒๓๗๙ พรรษาที่ ๑๓ จึงโปรดให้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเสมอเจ้าคณะรอง แล้วเชิญเสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหาร สาเหตุที่โปรดให้เชิญเสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหารในเรื่องพระราชประวัตินั้นมีว่า :-
    “เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับไปอยู่วัดราชาธิวาสนั้น พระสงฆ์ซึ่งถือวัตตปฏิบัติอย่างธรรมยุติกามีจำนวนเพียงสัก ๒๐ รูป ตามเสด็จไปอยู่วัดราชาธิวาสบ้าง คงอยู่วัดมหาธาตุหรืออยู่วัดอื่นบ้าง
    แต่เมื่อพระเกียรติคุณที่ทรงเชี่ยวชาญพระไตรปิฎกและพระปฏิภาณในการแสดงพระธรรมเทศนาเลื่องลือแพร่หลาย ก็มีพระภิกษุสามเณรมหานิกายพากันไปถวายตัวเป็นศิษย์แล้วเลยบวชเป็นธรรมยุติกามากขึ้น และพวกคฤหัสถ์พากันเลื่อมใสไปถือศีลฟังธรรมมากขึ้นโดยลอาดับ จนที่วัดราชาธิวาสเกิดเป็นสำนักคณาจารย์แห่งหนึ่ง
    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงตั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชาคณะ
    ถึงกระนั้นการทรงทำความเจริญให้เกิดขึ้น ณ วัดราชาธิวาสก็เป็นเหตุให้พวกศัตรูมีจิตริษยายิ่งขึ้น ถึงกล่าวแสดงความสงสัยว่า ที่คนพอใจไปวัดราชาธิวาสนั้นเพราะประสงค์จะยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในทางการเมือง
    (จากพระราชประวัติ จะเห็นว่ามีฝ่ายตรงข้ามพยายามต่อต้านขัดขวาง การตั้งคณะธรรมยุตของพระองค์มาโดยตลอด และในที่สุดปล่อยข่าวว่าพระองค์ท่านคบคิดกันที่จะแย่งราชสมบัติ -ปฐม นิคมานนท์)
    <table id="table31" align="right" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> พระไพรีพินาศ
    วัดบวรนิเวศวิหาร

    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ไม่ทรงระแวงสงสัยในส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ทรงรำคาญพระราชหฤทัยที่เกิดกล่าวกันเช่นนั้นแพร่หลาย
    จึงตรัสปรึกษาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติเมื่อยังเป็นที่พระยาศรีพิพัฒน์ฯ ๆ กราบทูลความเห็นว่า ถ้าโปรดฯ ให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาอยู่เสียใกล้ๆ ความสงสัยนั้นจะระงับไปเอง พระบาทสมเด็จพระเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริเห็นชอบด้วย
    เผอิญมีกรณีเหมาะแก่พระราชประสงค์ ด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชาคณะ แต่ยังไม่ได้ครองวัด และเวลานั้นพระราชาคณะตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพทรงสร้างใหม่ ที่ในพระนคร ว่างอยู่ จึงโปรดฯ ให้เลื่อนสมณศักดิ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเสมอเจ้าคณะรอง แล้วเชิญเสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหาร
    ในพระนิพนธ์พุทธศาสนวงศของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช บันทึกไว้ว่า
    “เมื่อเสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหารแล้ว ก็ทรงได้อิสรภาพในการปฏิบัติลัทธิพิธีธรรมยุตได้โดยเอกเทศ เพราะเมื่อประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุก็ดี ที่วัดสมอรายก็ดี เพียงประทับอาศัยอยู่กับพระสงฆ์เนวาสิกะ (หมู่เจ้าอาวาส)
    ครั้นได้ทรงครองวัดเป็นอิสระ โดยส่วนหนึ่งแล้วก็ได้จัดการศึกษาปฏิบัติพระธรรมวินัย และทรงตั้งขนบธรรมเนียมต่างๆ ไว้เป็นอันมาก ได้มีผู้มาบวชปฏิบัติเป็นธรรมยุตมากขึ้น จนถึงขยายออกไปตั้งสำนักต่างขึ้นโดยลำดับ..
    <table id="table8" align="left" border="0"> <tbody><tr> <td align="center">
    [​IMG]
    </td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    (รัชกาลที่ ๔)
    </td> <td align="center"> วัดบวรนิเวศวิหาร
    กรุงเทพมหานคร
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ขออนุญาตแทรกเหตุการณ์เรื่องหนึ่ง คือ ประมาณ พ ศ. ๒๓๙๑ ได้มีผู้นำพระพุทธรูปศิลาสมัยศรีวิชัย หน้าพระเพลาหนึ่งคืบสี่นิ้ว สูงตลอดพระรัศมีหนึ่งศอกมีเศษไม่ถึงนิ้วมาถวาย ทรงถวายพระนามว่าพระไพรีพินาศ ซึ่งประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศวิหารมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
    พ.ศ. ๒๓๙๔ พรรษาที่ ๒๗ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระราชวงศ์และเสนาบดีพร้อมกันทูลเชิญให้ทรงลาผนวชไปทรงปกครองบ้านเมือง
    ทรงเห็นแก่ความสงบสุขของบ้านเมืองอันเป็นที่ตั้งของพระศาสนาเป็นสำคัญ จึงทรงลาผนวช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ สืบพระราชสันตติวงศ์เป็นรัชกาลที่ ๔ เรียกพระนามโดยย่อว่า “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฏฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”
    ทรงทะนุบำรุงบ้านเมืองและพระศาสนาให้เจริญสืบต่อมาจนสิ้นรัชกาล
    ๑๗
    นาทีกาลแห่งสวรรคต
    เรื่องนี้ดูจะห่างไกลไปจากเรื่องของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล แต่เห็นว่าให้อุทาหรณ์สอนใจแก่ผู้ปฏิบัติธรรมได้ดีถึงเรื่อง “สติ” เพราะธรรมปฏิบัติทุกอย่างตามแนวทางพระพุทธศาสนา สามารถย่นย่อรวมลงที่เรื่อง “สติ” นี้เอง
    สติ จึงเป็นแก่นธรรมในทางพระพุทธศาสนา (สิ่งที่คณะของ ดร เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง พยายามค้นหาทาง ทีวี แต่หาไม่เจอนั่นเอง) เราคงจะมีโอกาสพูดถึงเรื่องนี้ในภายหลัง
    ณ โอกาสนี้ ผมขออนุญาตท่านผู้อ่าน เพื่อคัดลอกเหตุการณ์วันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์ผู้ก่อกำเนิดธรรมยุติกนิกาย มาเสนออย่างย่นย่อที่สุด เพื่อแสดงอุทาหรณ์ให้เห็นถึงพระผู้เข้าถึงธรรมอย่างแท้จริง สามารถครองสติได้อย่างแน่วแน่แม้เผชิญกับความตาย
    เรื่องดีๆ อย่างนี้ ถ้าไม่ฉวยโอกาสนำเสนอ แล้วเมื่อไหร่จะได้กลับมาเขียนถึงอีกใช่ไหมครับ ?
    ท่านผู้อ่านคงทราบแล้วว่า สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประชวรหลังกลับจากทอดพระเนตรสุริยุปราคา ที่ตำบลหว้ากอ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ ๒๔๑๑ และพระองค์ท่านเสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ คือวันที่ ๑ ตุลาคม พ ศ. ๒๔๑๑ เมื่อพระชนมายุ ๖๔ พรรษา เท่านั้นเอง
    ในหนังสือเรื่อง พระเจ้ากรุงสยาม ของท่านอาจารย์ ส.พลายน้อยได้บันทึกเหตุการณ์วันสวรรคต ดังนี้ :-
    วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ วันที่ ๑ ตุลาคม (๒๔๑๑) เวลาเช้าสองโมง รับสั่งแก่พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ ว่า “วันนี้เป็นวันสำคัญอย่าไปข้างไหนเลย ให้คอยดูใจพ่อ ข้ารู้เวลาตายของข้าแล้ว ถ้าข้าจะเป็นอย่างไรลง ก็อย่าได้วุ่นวายบอกหนทางว่า อรหังพุทโธ เลย ให้นิ่งดูแต่ในใจเถิด เป็นธุระของข้าเอง”
    ความสัตย์จริงที่มีพระกระแสรับสั่งดังนี้ เวลานั้นพระยาบุรุษฯ หาได้ลงใจตามเสด็จไม่ ด้วยเห็นพระอาการยังปกติเรียบร้อยอยู่ หาได้เห็นสัญญาวิปลาสสิ่งใดสิ่งหนึ่งในพระองค์ไม่
    ครั้นเวลาสามโมงเศษ (ตอนเช้า ประมาณ ๙ น. - ผู้เขียน) จึงรับสั่งให้หาพระราชโกษา (จัน) กรมพระภูษามาลาเข้าไปเฝ้าแล้วรับสั่งว่า
    “เมื่อข้าไม่มีตัวแล้ว เจ้าจะทำในสรีระร่างกายของข้าสิ่งไรไม่เป็นที่ชอบใจอยู่แต่ก่อน ขออย่าได้ทำ เป็นต้นว่า แหวนที่จะใส่ปากผี เอาเชือกผูกแหวนแขวนห้อยไว้ริมปาก กลัวผีจะกลืนแหวนเข้าไป อย่างนี้จงอย่าได้ทำแก่ข้าเลย แต่อย่าให้เสียธรรมเนียม แหวนที่จะใส่ปากนั้น ให้เอาเชือกผูกแหวนแขวนที่เข็มกลัดคอเสื้อเพชรที่ข้าได้ขอไว้นานแล้ว เมื่อจะตายจะเอากลัดไปด้วย ราคาก็ไม่มากนักเพียงห้าสิบชั่งเศษ แล้วจะได้ทำพระฉลองพระองค์ด้วย
    เข็มขัดที่คาดนั้น อย่าให้เอาของแผ่นดิน ให้เอาของเดิมของข้าที่สมเด็จพระศรีสุริเยนทร์ ซื้อกรมหลวงพิทักษ์มนตรี นั้น
    แหวนที่จะใส่นั้นได้จัดมอบไว้แล้ว ให้ไปถามพ่อกลางดูเถิด
    สังวาลเครื่องต้น เอาสายที่ข้าทำใหม่ อย่าให้เอาสายสำหรับแผ่นดิน ให้เอาของที่ข้าทำใหม่ การอื่นๆ นอกนั้นก็ให้ไปปรึกษาพ่อกลางดูเถิด แต่อย่าให้เกี่ยวข้องเป็นของแผ่นดิน ของแผ่นดินนั้นพระเจ้าแผ่นดินใหม่ท่านจะได้ใส่เลียบพระนคร
    เมื่อเอาโกศลงเปลื้องเครื่อง ให้ค้นดูในปาก ฟันที่มีให้เอาไว้ให้หมด จะได้แจกลูกที่ยังไม่ได้ให้พอกัน ถ้าฟันไม่พอกันให้ถอดเอาเล็บมือ ถ้าเล็บมือไม่พอให้ถอดเอาเล็บตีน แบ่งปันกันไปกว่าจะพอ
    เงินก้อนจีนของข้าหาสะสมไว้ ว่าจะทำลองในโกศขึ้นไว้อีกสักองค์หนึ่ง ก็ทำหาทันไม่ เงินก้อนนั้นวางอยู่ที่หน้าต่างข้างโน้นหรืออย่างไรไม่รู้ได้เลย ให้กับกรมหลวงเทเวศร์ สานเสื่อปูพระรัตนสถานเสียเถิด
    ทองก็ได้หาสะสมไว้ จะทำโกศลงยาขึ้นไว้อีกสักองค์หนึ่งทำก็ไม่ทัน ทองนั้นระคนปนกันอยู่กับทองอื่นๆ ก็ให้เอาไปใช้ในการเบ็ญจาหรือจะเอาไปใช้ในพระฉลองพระองค์ก็ตามแต่ พระเบ็ญจานั้นอย่าทำให้ใหญ่โตไปเลยให้ปวยการผู้คนช่างเชียว ให้เอาอย่างเบ็ญจาที่ข้าทำให้วังหน้าน้องข้า มีตัวอย่างอยู่แล้ว ถึงจะใช้โครงอันนั้นก็ได้
    ครั้นเช้าห้าโมงเศษ (๑๑ น.) มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าสั่งพระยาบุรุษราชพัลลภ ให้ไปเชิญเสด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ท่านเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ที่พระสมุหกลาโหม ท่านเจ้าพระยาภูธราภัย ที่สมุหนายก ให้เข้าเฝ้า เมื่อจะเข้ามาให้คอยเวลาทุกขเวทนาน้อยจึงให้เข้ามา
    พระยาบุรุษฯ ก็ไปกราบทูล กราบเรียนตามพระกระแสพระราชโองการ
    ครั้นเวลาเกือบจะใกล้เที่ยง พระวาโยถอย พระอาการค่อยคลายสบายขึ้น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ท่านเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ท่านเจ้าพระยาภูธราภัย เข้าไปเฝ้า รับสั่งเรียกพระนามและชื่อเรียงกันไป แล้วรับสั่งให้เข้าเฝ้าใกล้พระแท่น ให้ยื่นมือเข้าไปถวาย เอาพระหัตถ์มาทรงจับมือท่านทั้งสาม แล้วรับสั่งลาว่า
    “วันนี้พระจันทร์เต็มดวง เป็นวันเพ็ญ อายุของฉันจะหมดจะดับในวันนี้แล้ว ท่านทั้งหลายกับดิฉันได้ช่วยทำนุบำรุงประคับประคองกันมา
    บัดนี้ การมาถึงฉันแล้ว ฉันจะขอลาท่านทั้งหลาย ด้วยฉันออกอุทานวาจาไว้เมื่อบวชอยู่นั้นว่า วันไรเป็นวันเกิดอยากจะตายในวันนั้น
    วันฉันเกิดเป็นวันเพ็ญ เดือนสิบเอ็ด วันมหาปวารณา เมื่อป่วยไข้จะตายจะให้สัทธิงวิหาริก อันเตวาสิก ยกลงไป จะขอตายในท่ามกลางสงฆ์ เมื่อเวลาที่พระสงฆ์กระทำวินัยกรรมมหาปวารณา
    ก็บัดนี้เห็นจะไม่ได้พร้อมตามความที่ปรารถนาไว้ เพราะเป็นคฤหัสถ์เสียแล้ว ฉันจะขอลาท่านทั้งหลายไปจากภพนี้ในวันนี้แล้ว ฉันขอฝากลูกของฉันด้วย อย่าให้มีภัยอันตรายเป็นที่กีดขวางในการแผ่นดิน ถ้าจะมีความผิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นข้อใหญ่ ขอแต่ชีวิตไว้ ให้เป็นแต่โทษเนรเทศ ขอให้ท่านเป็นที่พึ่งแก่ลูกของฉันต่อไปด้วยเถิด
    ท่านทั้งสามก็พากันโศกเศร้าร้องไห้ จึงรับสั่งห้ามว่า
    “อย่าร้องไห้เลยจ้ะ ความตายไม่เป็นของอัศจรรย์อะไรดอก สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ย่อมเหมือนกันทุกรูปทุกนาม แต่ผิดกันที่ตายก่อนตายหลัง แต่ก็ต้องตายเหมือนกันทั้งสิ้น
    ก็บัดนี้กาลมาถึงตัวฉันเข้าแล้ว ฉันจึงได้อำลาท่าน ท่านเห็นว่าฉันจะพลัดพรากจากไป มีความอาลัยรักใคร่จึงได้ร้องไห้ด้วยความเสียดาย ก็บัดนี้ตัวฉันเป็นคนถึงเข้าก่อน แล้วท่านทั้งหลายก็คงจะต้องถึงเหมือนกัน ผิดกันแต่ถึงก่อนถึงหลัง คงจะต้องไปทางเดียวอย่างนี้เหมือนกันทุกรูปทุกนาม
    ...ฯลฯ...
    พระองค์รับสั่งกับท่านทั้งสามต่อไปว่า “ฉันจะขอพูดด้วยการแผ่นดิน ยังหาได้สมาทานศีล ๕ ประการไม่ ฉันเป็นคนป่วยไข้จะขอสมาทานศีล ๕ ประการเสียก่อน แล้วจึงจะพูดด้วยการแผ่นดิน”
    จึงทรงตั้ง นะโม ขึ้นสามหน ทรงสมาทานศีล ๕ ประการจบแล้วเลยตรัสภาษาอังกฤษต่อไปอีกยืดยาว แล้วรับสั่งว่า
    “สมาทานศีลแล้วทำไมจึงพูดภาษาอังกฤษต่อไปอีกเล่า เพื่อจะสำแดงให้ท่านทั้งหลายเห็นว่าสติยังดีอยู่ ไม่ใช่ภาษาของตัวก็ยังทรงจำได้แม่นยำอยู่ สติสตังยังดีอยู่ จะพูดด้วยการแผ่นดินท่านทั้งหลายจะได้สำคัญว่าไม่ฟั่นเฟือนเลอะเทอะ สติยังดีอยู่
    ตัวท่านกับฉันได้ช่วยกันทำนุบำรุงแผ่นดินมา ได้อยู่เย็นเป็นสุขตลอดมาจนสิ้นตัวฉัน
    ถ้าสิ้นตัวฉันแล้ว ขอท่านทั้งหลายจงช่วยกันทำนุบำรุงการแผ่นดินต่อไปให้เรียบร้อย สมณพราหมณ์อาณาประชาราษฎร์จะได้เป็นที่พึ่งอยู่เย็นเป็นสุข แต่ต้องรับฎีการ้องทุกข์ของราษฎรให้เหมือนฉันที่เคยรับมาแต่ก่อน...ฯลฯ...
    เวลาบ่ายห้าโมงเศษ (๑๗.๐๐ น ) มีพระบรมราชโองการรับสั่งแก่พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ ให้ไปตามตาฟัก (พระยาศรีสุนทรโวหาร) เข้ามา ให้เอาสมุดดินสอเข้ามาด้วย ให้เข้ามารอคอยอยู่ เมื่อพระอาการค่อยสบายจึงเข้ามา...
    ...พระศรีสุนทรโวหาร เข้ามาเฝ้าทูลละอองฯ แล้วจึงรับสั่งแก่พระยาศรีสุนทรโวหารเป็นภาษามคธยืดยาว เรื่องอนาถปิณฑิโกวาทะ จบแล้วจึงรับสั่งถามพระศรีสุนทรโวหารว่า ที่ตรัสเป็นภาษามคธดังนี้ ผิดเพี้ยนอย่างไรบ้าง
    พระยาศรีสุนทรโวหาร กราบทูลพระกรุณาว่า ซึ่งภาษามคธนี้ไม่ผิดเพี้ยนแต่สิ่งหนึ่งสิ่งใด เหมือนหนึ่งไม่ทรงพระประชวร
    จึงรับสั่งว่า อาการก็มากถึงเพียงนี้แล้ว ยังมีสติดีไม่ฟั่นเฟือนให้เอาสมุดมา ข้าจะเขียนคาถาลาพระ
    เมื่อทรงแต่งพระคาถาลาพระเสร็จแล้ว จึงรับสั่งแก่พระยาศรีสุนทรโวหาร ว่า ให้เอาไปคัดลอกให้อ่านออกง่ายๆ แล้วให้ไปสั่งมหาดเล็กให้จัดเครื่องนมัสการไปตั้งที่ในพระอุโบสถวัดราชประดิษฐ์ เมื่อสงฆ์จะทำวินัยกรรมปวารณาพระวัสสา ให้จุดธูปเทียนขึ้น แล้วจึงอ่านคาถาลาพระในท่ามกลางสงฆ์แทนตัวข้า
    พระยาศรีสุนทรโวหารก็กราบถวายบังคมลามาทำตามพระกระแสรับสั่งทุกประการ
    ครั้นเวลาสองทุ่มสามสิบหกนาที จึงรับสั่งเรียกพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ ว่า “พ่อเพ็ง เอาโถมารองเบาให้พ่อที”
    พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ จึงเชิญเอาพระโถพระบังคนขึ้นไปบนพระแท่นถวายลงพระบังคน แล้วก็พลิกพระองค์ไปข้างทิศตะวันออกรับสั่งบอกว่า “จะตายเดี๋ยวนี้แล้ว”
    แล้วพลิกพระองค์หันพระพักตร์สู่เบื้องตะวันตกก็รับสั่งบอกอีกว่า “จะตายเดี๋ยวนี้แล้ว”
    ต่อจากนั้นทรงภาวนาว่า อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ทรงอัดนิ่งไป แล้วผ่อนอัสสาสะ ปัสสาสะ (ลมหายใจเข้า - ออก) เป็นคราวๆ ยาว แล้วผ่อนสั้นเข้าทีละน้อย หางพระสุรเสียงมีสำเนียงดัง โธ - โธ ทุกครั้ง สั้นเข้า โธ ก็เบาลงทุกทีตลอดไป จนยามหนึ่ง (สามทุ่ม) ก็ดังครอกเบาๆ
    พอระฆังยามหอภูวดลทัศไนย ย่ำก่างๆ นกตุ้ดก็ร้องขึ้นตุ๊ดหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสู่สวรรคต
    ท่าบรรทมเมื่อสวรรคตนั้นเหมือนกับท่าพระไสยาสน์ในวัดบวรนิเวศวิหาร พระสรีรร่างกายและพระหัตถ์พระบาทจะได้กระดิกกระเดี้ยเหมือนสามัญชนทั้งหลายนั้นไม่มีปรากฏ แล้วก็มีหมอกคลุ้มมัวเข้าไปในพระที่นั่งเวลานั้น...
    ที่คัดลอกมาค่อนข้างยาว เพื่อจะให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาดูว่าสมเด็จพ่อ ผู้เป็นองค์ปฐมวงศ์ธรรมยุติกนิกาย มีความงดงามและสะอาดบริสุทธิ์เพียงใด สมควรหรือไม่ที่พระองค์ท่านถูกประณามจากคนบางกลุ่ม ทั้งพระและคฤหัสถ์ ตั้งแต่อดีตมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ กล่าวหาว่าพระองค์เป็นตัวการทำให้สงฆ์เกิดการแตกแยก ?
    ถือเป็นเรื่องต่างจิตต่างใจ ต่างมุมมองก็แล้วกัน
    เชิญท่านตรองดูด้วยใจเป็นกลาง ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นโปรดหาอ่านรายละเอียดจากแหล่งต่างๆ ซึ่งหาได้ไม่ยากนัก
    ๑๘
    กำเนิดวงศ์ธรรมยุต
    หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสละสิทธิ์การขึ้นครองราชย์ และตั้งพระทัยที่จะผนวชต่อไปไม่มีกำหนดแล้วพระองค์ท่านได้ลาพระอุปัชฌาย์เสด็จไปจำพรรษาที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) เพราะถือตามคติว่า วัดสมอรายเป็นที่สถิตของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านาลัย พระราชบิดา เมื่อครั้งทรงผนวชนั่นเอง
    ในชั้นต้นพระองค์ทรงศึกษาทางวิปัสสนาธุระ “ทรงทราบสิ้นตำราที่พระอาจารย์เคยสอนเจ้านายมาแต่ก่อน เมื่อทรงสงสัยไต่ถามพระอาจารย์ก็ไม่อาจชี้แจงถวายให้สิ้นสงสัยได้ ทูลแต่ว่าครูบาอาจารย์เคยสอนมาอย่างนี้เท่านั้น จึงเห็นว่าเป็นอาจิณปฏิบัติ (ประพฤติตามกันมา) เป็นไปด้วยสัมโมหะงมงาย ก็เกิดท้อพระทัยในวิปัสสนาธุระเช่นนั้น ”
    ข้อความนี้คัดมาจากพระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช มีเนื้อความต่อไปว่า
    ออกพรรษาแล้วจึงเสด็จกลับมาประทับ ณ วัดมหาธาตุ ทรงตั้งต้นเรียนคันถธุระ ได้พระวิเชียรปรีชา (ภู่) เจ้ากรมราชบัณฑิตย์ เป็นพระอาจารย์สอนภาษามคธถวาย ทรงขะมักเขม้นเรียนอยู่ ๓ ปี ก็ทรงอ่านพระไตรปิฎกได้อย่างแตกฉาน
    “เมื่อทรงเรียนทราบแล้ว ได้ทรงสอบพระธรรมวินัยกับข้อปฏิบัติของบรรพชิตสงฆ์บางหมู่ในเวลานั้น ก็ทรงเห็นว่าผิดพลาดบกพร่องครั้นทรงไต่ถามศึกษาถึงข้อปฏิบัติต่างๆ ที่ได้มีมาแต่โบราณก็ได้ทรงทราบว่าอันตรธานมาแต่กรุงเก่าแล้ว
    ทรงสลดพระหฤทัยในการที่จะทรงเพศเป็นบรรพชิตต่อไป วันหนึ่งจึงทรงอธิษฐานพระหฤทัยเพื่อจะได้ทรงประสบวงศ์บรรพชาอุปสมบทที่เนื่องมาแต่เดิม ก็ได้ทรงประสบและเข้าสู่วงศ์นั้น ตั้งธรรมยุติกนิกายสืบมา...
    ผู้เขียนเคยฟังเรื่องราวจากครูบาอาจารย์เก่าแก่ที่มรณภาพไปนานแล้วว่า สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงท้อพระทัยที่เห็นข้อวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ในสมัยนั้น ย่อหย่อน ไม่เอื้อต่อพระธรรมวินัยเช่น มีพระเตะตะกร้อ เล่นหมากรุก ตีไก่ กัดปลา สะสมของมีค่าราคาแพง หวังความร่ำรวย หวังยศตำแหน่งทั้งทางสงฆ์และทางฆราวาส ประกอบพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ รวมทั้งหากินหลอกลวงด้วยเล่ห์กลต่างๆ ไม่ได้ตั้งใจบวชเรียนเพื่อปฏิบัติและเพื่อสืบทอดพระศาสนาจริง แล้วจะสามารถรักษาพระศาสนาให้อยู่นานถึงห้าพันปีตามพุทธทำนายได้อย่างไร
    พระองค์ได้ทรงอธิษฐานจิตขอให้ได้พบพระสงฆ์ที่ปฎิบัติดีงามถูกต้องตรงตามพระธรรมวินัย เพื่อจะได้ถือเป็นแบบอย่างของการประพฤติปฏิบัติให้บังเกิดผลดีต่อไป
    หลังการอธิษฐานจิตของพระองค์อยู่ไม่กี่วัน ก็มีพระธุดงค์ราว ๕ - ๗ รูป มาปักกลดอยู่แถวบางลำภู (สมัยนั้นยังเป็นป่าอยู่) พระองค์ใช้ให้คนของพระองค์ เฝ้าติดตามสังเกตดูการกระทำของพระธุดงค์กลุ่มนั้น โดยไม่ให้ท่านรู้ว่าติดตามดูอยู่
    พระองค์ได้รับการรายงานว่า พระธุดงค์กลุ่มนั้นปฏิบัติตนเหมือนกับพระธุดงค์ในสมัยปัจจุบัน คือ กลางคืนมีการสวดมนต์นั่งสมาธิภาวนา และเดินจงกรมแทบทั้งคืน ตอนเช้าออกบิณฑบาต ฉันมื้อเดียว ฉันในบาตร กลางวันก็ทำสมาธิภาวนาและเดินจงกรม ตอนบ่ายมีญาติโยมมาฟังธรรมและรับการอบรม ถวายน้ำปานะ ฯลฯ
    พระองค์ทรงเลื่อมใสพระธุดงค์กลุ่มนั้น ทราบภายหลังว่าเป็นพระสงฆ์รามัญ บวชมาจากเมืองมอญในคณะสีมากัลยาณี ซึ่งรับสมณวงศ์มาจากพระภิกษุลังกา คณะมหาวิหาร และสืบมาจากพระมหินทเถระ อันพระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งจากกรุงปาฎลีบุตรให้มาประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป ซึ่งมีปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกเรื่องสีมากัลยาณี ที่เล่าถึงประวัติสมณวงศ์ตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานมาได้ ๒๐๘ ปี เป็นสมัยที่พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา
    ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องราวที่ผู้เขียนเคยได้รับฟังมา และพระอุปัชฌาย์ของพระภิกษุชาวมอญกลุ่มนี้ มีการบวชสืบต่อมาถึง ๘๘ ชั่วรุ่น โดยไม่มีการขาดตอน
    หลักฐานจากพระนิพนธ์ของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพผู้ได้ชื่อว่าบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ได้บันทึกเหตุการณ์ในเรื่องนี้ว่า
    “การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาคันถธุระผิดกับผู้อื่น ด้วยตั้งพระหฤทัยจำนงแต่จะเรียนพระพุทธศาสนาให้รอบรู้อย่างถ่องแท้ มิได้หมายจะมีตำแหน่งฐานันดรอย่างใดในสังฆมณฑล
    เพราะฉะนั้น เมื่อทรงทราบภาษามคธถึงสามารถอ่านพระไตรปิฎกเข้าพระหฤทัยได้โดยลำพังพระองค์ ก็ทรงพยายามพิจารณาหลักฐานพระพุทธศาสนาต่อมา...ฯลฯ... ยิ่งทรงพิจารณาไปก็ยิ่งทรงเห็นวิปลาสคลาดเคลื่อน และเป็นมาช้านานแล้ว ก็เกิดวิตกขึ้นในพระหฤทัยว่า หรือสมณวงศ์ที่สืบเนื่องมาจากพระอริยสาวกของพระพุทธเจ้าจะสูญเสียแล้ว
    การที่พระองค์ทรงผนวช ได้สมาทานว่า จะประพฤติตามพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ถ้าทรงประพฤติวัตตปฏิบัติต่อไปในทางที่ผิดพระพุทธบัญญัติ เห็นว่าลาผนวชออกเป็นอุบาสกจะดีกว่า
    ในขณะเมื่อกำลังทรงพระวิตกดังว่ามา และยังไม่เห็นทางที่จะแก้ไข ได้กิตติศัพท์ทราบถึงพระกรรณว่า มีพระเถระมอญองค์หนึ่ง(ชื่อ ซาย นามฉายาว่า พุทฺธวํโส) บวชมาแต่เมืองมอญ มาอยู่ ณ วัดบวรมงคล (อยู่เชิงสะพานกรุงธน หรือสะพานซังฮี้ ฝั่งธนบุรีเดิมเรียกวัดลุงขบ ภายหลังเรียกเพี้ยนเป็นวัดลิงขบ-ปฐม) ได้เป็นพระราชาคณะที่พระสุเมธมุนี เป็นผู้ชำนาญพระวินัยปิฎกและประพฤติวัตตปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
    จึงเสด็จไปทรงทำวิสาสะสนทนากับพระสุเมธมุนี ๆ ทูลอธิบายระเบียบวิธีปฏิบัติของพระมอญคณะ (กัลยาณี) ที่ท่านอุปสมบทให้ทรงทราบโดยพิสดาร
    ทรงพิจารณาเห็นไม่ห่างไกลจากพระพุทธบัญญัติเหมือนอย่างวัตตปฏิบัติของพระสงฆ์สยาม ก็ทรงยินดีด้วยตระหนักพระหฤทัยว่าสมณวงศ์ไม่สูญเสียแล้วเหมือนอย่างทรงพระวิตกอยู่แต่ก่อน
    ก็ทรงเลื่อมใสใคร่จะประพฤติวัตตปฏิบัติตามแบบพระมอญ แต่มีความขัดข้องด้วยเสด็จประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุฯ อันเป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราช จะทรงประพฤติให้ผิดกับระเบียบแบบแผนของพระสงฆ์ในวัดนั้น ก็จะเป็นการละเมิด และคนทั้งหลายอาจจะเกิดความเข้าใจผิดต่อไป
    จึงเสด็จย้ายไปประทับ ณ วัดสมอราย เมื่อปีฉลู พ.ศ. ๒๓๗๒ เหมือนอย่างเคยเสด็จประทับเมื่อพรรษาแรกทรงผนวช
    เวลานั้นมีพระภิกษุหนุ่ม เป็นเจ้าบ้าง เป็นลูกผู้ดีบ้างที่ได้ถวายตัวเป็นสิสสานุศิษย์ ศึกษาอยู่ในพระสำนักและเลื่อมใสในพระดำริอีกราว ๖ รูป ตามเสด็จไปอยู่วัดสมอราย ก็มี อยู่วัดอื่นเป็นแต่ไปประชุม ณ วัดสมอรายก็มี จึงเริ่มเกิดเป็นคณะพระสงฆ์ ซึ่งแสวงหาสัมมาปฏิบัติ อันมาได้นามในภายหลังว่า ธรรมยุติกา แต่นั้นเป็นต้นมา
    เรื่องราวการก่อตั้งคณะธรรมยุตมีเหตุการณ์ที่น่าสนใจมากมายและส่วนหนึ่งจะเป็นเหตุการณ์ที่ถูกขัดขวาง กลั่นแกล้งใส่ร้ายด้วยประการต่างๆ ซึ่งยังมีสืบทอดมาจนปัจจุบัน รวมทั้งข้อกล่าวหาที่ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทำสังฆเภท คือ ทำให้สงฆ์แตกแยก ก็ยังมีอยู่จนถึงปัจจุบันเช่นกัน
    หากเราได้ศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา จะเห็นว่าในการทำสังคายนา หรือการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ไม่ว่ายุคใดสมัยใดมักจะมีกลุ่ม คณะ นิกายใหม่ๆ เกิดขึ้นเสมอ ซึ่งเป็นธรรมดาของวิวัฒนาการ ซึ่งในศาสนาอื่นๆ ก็มีเช่นกัน
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ได้ประทานความเห็นในเรื่องนี้ว่า
    “การที่ภิกษุสงฆ์แยกออกเป็นนิกายต่างๆ ไม่ใช่เป็นการแปลกมีในทุกๆ ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา และการที่แยกกันออกไปนี้ อาจกล่าวได้ตามประวัติศาสตร์ว่าต้องมีเป็นธรรมดา ถึงพยายามรวมให้เป็นหนึ่งสักเท่าไรก็ไม่สำเร็จ อาจสำเร็จได้ชั่วคราว แต่ต่อมาไม่นานก็กลับแยกกันออกไปอีก ในศาสนาอื่นๆ ก็มีแยกเป็นลัทธินิกายต่างๆ เหมือนกัน
    การอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา มิใช่อยู่ที่การพยายามเพื่อรวมนิกายสงฆ์ แต่อยู่ที่การพยายามให้พระสงฆ์ทุกนิกายตั้งอยู่ในพระธรรมวินัย
    ส่วนการรวมกันนั้น เมื่อดีเสมอกัน หรือเสื่อมเสมอกันก็รวมกันเข้าได้เอง
    ในประเทศไทย พระสงฆ์ลังกาวงศ์ได้เข้ามาหลายครั้ง เมื่อกาลล่วงไปนานก็เสื่อมหายไป ท่านผู้ต้องการฟื้นพระพุทธศาสนา คิดหาสมณวงศ์จากต้นเดิม ก็ต้องไปอาราธนามาตั้งใหม่
    จนถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เมื่อทรงผนวชทรงรับศาสนวงศ์ที่พระสงฆ์รามัญรับมาจากต้นเดิม มาประดิษฐานคณะธรรมยุติกนิกายขึ้น
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มีพระนามฉายาเมื่อทรงผนวชว่า วชิรญาโณ ศาสนวงศ์ธรรมยุติกนิกายนี้จึงนับว่าเป็น วชิรญาณวงศ์ เพราะเป็นวงศ์ที่สืบมาจากพระองค์ (เทียบ อุบาลีวงศ์ ในศรีลังกา) และเป็นพุทธศาสนวงศ์ เพราะเป็นศาสนวงศ์ หรือสมณวงศ์ที่สืบมาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฯ.
    ๑๙
    กำเนิดวงศ์ธรรมยุตในภาคอิสาน
    ถึงแม้หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กับศิษย์ของท่านคือ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต จะได้ชื่อว่าเป็นปฐมปรมาจารย์สายพระกรรมฐาน ก็จริง แต่ทั้งสององค์ไม่ได้เป็นผู้เริ่มต้นของคณะธรรมยุตในภาคอิสาน
    ในสมัยของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ นั้น คณะสงฆ์ธรรมยุตได้ลงหลักปักฐานในจังหวัดอุบลราชธานีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นับเป็นกำเนิดวงศ์ธรรมยุตครั้งแรกในภาคอิสาน
    พระมหาเถระผู้เริ่มต้นปักหลักวงศ์ธรรมยุตสายภาคอิสาน คือท่านพนฺธุโล (ดี) ท่านเป็นพระชาวอุบลฯ โดยกำเนิด สมควรที่ชาวอุบลฯ ทั้งหลายจะได้ภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง
    หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี ได้เขียนหนังสือชื่อ “วงศ์ธรรมยุตในภาคอิสาน” ท่านเริ่มต้นดังนี้ :-
    “ความเป็นจริงเรื่องนี้ไม่ควรพูดหรอก เพราะใครๆ ก็รู้กันอยู่เต็มอกว่าธรรมยุตเป็นมาอย่างไร แต่ที่ข้าพเจ้าอยากจะพูด คือ การเผยแพร่พุทธศาสนาในภาคอิสานนั้น เผยแพร่โดยการปฏิบัติกรรมฐาน ที่ว่าเผยแพร่เพราะกรรมฐานนั้น มีคนรับรองและนับถือกันมาก
    แท้จริงพุทธศาสนานี้มีปริยัติและปฏิบัติเป็นพื้นฐาน ถ้าหากปริยัติและปฏิบัติเป็นไปโดยเสมอภาคกัน ศาสนาย่อมเจริญรุ่งเรือง
    มายุคหลังๆ นั้น ศาสนาได้เสื่อมโทรมลงมาก
    รัชกาลที่ ๔ ท่านได้ทรงผนวชแล้วไปศึกษาปริยัติจนเข้าใจแจ่มแจ้งว่า พระเราปฏิบัติอยู่นี้ไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย จึงได้ริเริ่มตั้งวงศ์ธรรมยุตขึ้น แล้วท่านก็นำศึกษาและปฏิบัติควบคู่กันไป จนเป็นเหตุให้คนนับถือขึ้นมาก แม้ตัวท่านเองก็เคยเสด็จเที่ยวรุกขมูล ส่วนปริยัติท่านก็ศึกษาจนถึงได้ประโยค ๕
    หลวงปู่เทสก์ ได้เล่าถึงการตั้งวงศ์ธรรมยุตในภาคอิสานว่า :-
    “วงศ์ธรรมยุตสายภาคอิสาน คือ ท่านพนฺธุโล (ดี) ก็เป็นสหธรรมิกของพระองค์ท่าน องค์หนึ่ง แต่น่าเสียดายไม่ทราบว่าท่านมีภูมิลำเนาอยู่ไหน ประวัติความเป็นมาของท่านอย่างไร จึงได้มาอยู่วัดสุปัฏน์ อุบลราชธานี นี้
    ข้าพเจ้ามีโอกาสศึกษาหาประวัติของท่าน ได้ทราบว่า ก่อนที่จะมาอุบลราชธานีนี้ เจ้าเมืองอุบลฯ ได้ลงไปราชการในกรุงเทพฯ ไปเห็นเข้าเกิดศรัทธาเลื่อมใสในคณะธรรมยุต จึงได้ขออนุมัติจากพระเจ้าแผ่นดิน รัชกาลที่ ๔ ขอให้ได้โปรดให้วงศ์ธรรมยุตไปตั้งที่เมืองอุบลฯ
    ตอนนั้นรัชกาลที่ ๔ สึกออกไปเสวยราชย์แล้ว ยังเหลือแต่สหธรรมิกของท่าน จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระพนฺธุโล (ดี) ขึ้นมาอยู่เมืองอุบลฯ ตามคำขอร้องของเจ้าเมืองอุบลฯ
    แล้วทรงพระราชดำรัสว่า จงรักษาให้ดีนะ อย่าให้มีอันตราย
    เจ้าเมืองรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม แล้วก็อาราธนานำขึ้นมาเมืองอุบลฯ ตั้งวงศ์ธรรมยุตขึ้นที่วัดสุปัฏน์ ตำบลในเมือง
    วัดสุปัฏน์ นี้ เดิมทีเข้าใจว่าเป็นป่า แล้วมาตั้งวัดลงที่นั่น เพราะลักษณะก็คล้ายๆ กับเป็นวัดป่า ข้าพเจ้าไม่ได้ถามคนเฒ่าคนแก่ว่าวัดตั้งมาได้อย่างไร
    เรื่องทั้งหมดที่เล่ามานี้ก็เป็นเรื่องคนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟัง เมื่อตั้งวงศ์ธรรมยุตแล้ว ก็ไม่ทราบอีกด้วยว่าท่านพระราชทานให้เป็นอุปัชฌาย์มาด้วยหรือเปล่าก็ไม่ทราบ
    จากการค้นคว้าของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ได้เขียนเรื่องเดียวกัน ดังนี้ :-
    “มีพระมหาเถระเมืองอุบลฯ รูปหนึ่ง ซึ่งเป็นปูราณสหธรรมิก (ร่วมปฏิบัติธรรมกันมาแต่เริ่มแรก) ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ของจักรีวงศ์ เมื่อครั้งที่พระองค์ยังทรงผนวชอยู่ที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส)
    พระมหาเถระรูปนั้นมีนามว่า พนฺธุโล (ดี) หรือ ญาท่านพันธุละ ท่านเป็นชาวบ้านหนองไหล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
    หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านไปอยู่วัดเหนือ ในเมืองอุบลราชธานี ต่อมาได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้ ณ เมืองหลวง กรุงเทพมหานครที่สำนักวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ แล้วเข้ารับทัฬหีกรรม (บวชใหม่อ่านออกเสียงตามสำเนียงมคธว่า ทัล - ฮี่ - กำ) ตามพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ วัดราชาธิวาส นับว่าเป็นพระธรรมยุตรุ่นแรกของภาคอิสาน
    ๒๐
    ท่านพนฺธุโล (ดี)
    <table id="table10" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> ท่านพนฺธุโล (ดี)
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี ได้เล่าถึง ท่านพนฺธุโล (ดี) พระมหาเถระผู้แรกตั้งวงศ์ธรรมยุตในภาคอิสาน ดังนี้
    “คนเก่าคนแก่เล่าให้ผู้เขียน (หลวงปู่เทสก์) ฟังว่า ท่านเรียนหนังสือเก่งมาก ขนาดเอามะพร้าวแห้งมาหนุนหัว พอหัวตกจากมะพร้าวก็ตื่น และจุดธูปจีนส่องหนังสือ ท่องบ่นหนังสือต่อไปอีก
    เรียนจนไม่มีใครสอนได้ในเมืองอุบลฯ แล้วท่านเสาะแสวงหาเรียนจนกระทั่งถึงกรุงเทพฯ ไปพักวัดคอกหมู หรือ วัดอะไรก็ไม่ทราบ นอกกรุงเทพฯ แล้วเรียนหนังสือ ณ ที่นั้น
    สมัยนั้น พระกรุงเทพฯ ค่ำมาก็เตะตะกร้อสนุกสนานกัน ส่วนท่านมีแต่ตั้งหน้าตั้งตาเรียนถ่ายเดียว เรียนได้เท่าไรก็จารใส่ใบลานไว้ เพื่อจะเอาไปเผยแพร่เมืองอุบลฯ ต่อไป
    พวกพระเหล่านั้นเตะตะกร้อไปๆ มาๆ ตะกร้อไปตกที่หน้าท่าน เขาบอกว่า ไอ้ลาว ส่งตะกร้อให้ซิ ท่านอุตส่าห์เอาตะกร้อไปส่งให้เขาแล้ว ก็กลับมาจารหนังสีออกต่อไป อุตส่าห์ตั้งหน้าหลับหูหลับตาเรียนต่อไป เพราะไม่มีใครฝาก ญาติพี่น้องก็ไม่มีอีกด้วย
    เรียน ณ ที่นั้นจนกระทั่งไม่มีใครสอนได้ ด้วยความวิริยะพากเพียร เขาเห็นดีเห็นชอบจึงได้ส่งเข้าไปเรียนในกรุงเทพฯ..
    ไม่ทราบว่าท่านเรียนได้ประโยคไหน แต่ด้านปฏิบัติท่านเป็นเยี่ยมองค์หนึ่ง เหตุนั้น พระจอมเกล้าฯ จึงได้บัญชาให้ท่านไปเมืองอุบลฯ ตั้งวงศ์ธรรมยุตองค์แรก และการกลับไปเมืองอุบลฯ ครั้งนั้น ได้มีการรับแห่กันเหมือนกับเจ้าเข้าเมือง เห็นจะเป็นเพราะเหตุนี้กระมัง ชาวเมืองอุบลฯ จึงมักกล่าว (เรียกขาน) พระผู้ใหญ่ว่า ท่านเจ้าท่านนาย สืบมาจนกระทั่งบัดนี้
    เกี่ยวกับข้อวัตรปฏิบัติของท่านพนฺธุโล (ดี) นั้น หลวงปู่เทสก์กรุณาเล่าดังนี้ -
    “ท่านเป็นองค์แรกที่มาตั้งวงศ์ธรรมยุตที่เมืองอุบลฯ ท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตรงตามธรรมวินัยโดยแท้ ท่านไม่ได้เที่ยวรุกขมูล แต่ธุดงควัตรท่านก็รักษาไว้ได้ตามสมควรแก่ภาวะสถานที่ คืออยู่วัดเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ไหว้พระสวดมนต์ แล้วนั่งสมาธิกันอีกที นั้นเป็นวิธีนั่งหมู่ แต่อยู่กุฏิแล้วก็ทำเฉพาะตนเอง ท่านบริหารหมู่คณะพร้อมทั้งการปฏิบัติไปด้วย
    การตีระฆังของวัดธรรมยุต ซึ่งตี ๔ แล้วจะต้องตีทุกวันเป็นระเบียบของท่านที่ตั้งไว้แต่โน้น ธรรมยุตภาคอีสานจึงต้องรักษาสืบมาจนกระทั่ง ทุกวันนี้
    หมายความว่า ตี ๔ จะต้องลุกขึ้นมาทำวัตรสวดมนต์พร้อมๆ กันทุกองค์ พอหลังจากนั้นแล้วก็นั่งสมาธิภาวนา ต่อนั้นไปใครจะท่องบ่นสวดมนต์อะไรก็ตามใจ
    การตั้งวงศ์ธรรมยุตเมืองอุบลฯ นี้ มีอุปสรรคมาก เพราะพระท้องถิ่นไม่เคยปฏิบัติตามธรรมวินัย เห็นธรรมยุตปฏิบัติเข้าก็หาว่าเป็นป่าเถื่อนและเป็นสัตว์จำพวกหนึ่งเท่านั้น
    แต่อาศัยท่านวางอุเบกขา เห็นว่าทำหน้าที่พุทธศาสนาที่ดีแล้วสิ่งภายนอกก็วางเฉยลงได้ ใครจะว่าอะไร ทำอะไร ก็ตามใจ นานหนักเข้าก็ค่อยดีขึ้น เพราะคนด้วยกัน พูดภาษาปรับปรุงความเข้าใจกันได้
    ท่านพนฺธุโลนี้ เมื่อขึ้นไปเมืองอุบลฯ แล้วได้เผยแพร่วงศ์ธรรมยุตแต่เฉพาะในเมืองได้ไม่กี่วัด พอหมดอายุ ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) สืบต่อมา
    ๒๑
    วัดสุปัฏน์ : วัดธรรมยุตวัดแรกของอิสาน
    <table id="table11" align="right" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td rowspan="3"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    วัดสุปัฏนารามริมแม่น้ำมูลในอดีต
    </td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> วัดธรรมยุตวัดแรกของภาคอีสาน
    </td> <td align="center"> พระอุโบสถวัดสุปัฏนาราม
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    การตั้งวัดธรรมยุตครั้งแรกในจังหวัดอุบลราชธานี หรือวัดธรรมยุตวัดแรกของภาคอิสานนี้ เป็นพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จะตั้งรากฐานของคณะธรรมยุตในภาคอิสาน
    ในปีแรกที่พระองค์ทรงครองราชย์ คือ ปี พ.ศ. ๒๓๙๔ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ พระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๘๘-๒๔๐๙) อาราธนา ท่านพนฺธุโล (ดี) ซึ่งเป็นชาวอุบลและเป็นปูราณสหธรรมิก ในพระองค์พร้อมด้วยท่านเทวธมฺมี (ม้าว) ให้มาสร้างวัดธรรมยุตขึ้นในอุบลฯ
    ท่านพนฺธุโล (ดี) และคณะ จึงได้ทำการก่อสร้างวัดขึ้นระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๓๙๕ ที่ริมฝั่งแม่น้ำมูลด้านเหนือ อยู่ระหว่างตัวเมืองกับ บุ่งกาแซว
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดพระราชทานทุนทรัพย์เป็นเงิน ๑๐ ชั่ง (๘๐๐ บาท) พระราชทานเลกวัด (ผู้ปฏิบัติรับใช้วัด) ๑๐ คน และพระราชทานนิตยภัต แก่เจ้าอาวาส เดือนละ ๘ บาท
    การก่อสร้างวัดเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๙๖ ตรงกับ ร.ศ. ๗๒ พระราชทานนามว่า วัดสุปัตน์ แปลว่า วัดหรืออาศรมของพระฤๅษีที่ชื่อ “ดี” ภายหลังพระราชทานเปลี่ยนชื่อเป็น วัดสุปัฏนาราม แปลว่าท่าน้ำดี เพราะวัดตั้งอยู่ในทำเลจอดหรือที่ดี
    วัดสุปัฏนาราม จึงเป็นวัดธรรมยุตแห่งแรกของภาคอิสานมีท่านพนฺธุโล (ดี) เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก
    ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ โปรดให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงวรวิหาร ชั้นตรี มีนามว่า วัดสุปัฏนารามวรวิหาร มีพื้นที่ตามโฉนด ๒๐ ไร่ ๓๘.๓ ตารางวา
    (อ้างอิงข้อมูลจากหนังสือของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ)
     
  4. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    : ประวัติอาจารย์
    หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล


    ๑. ประวัติของท่าน

    โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ๕
    รศ.ดร.ปฐม - ภัทรา นิคมานนท์ เรียบเรียง



    บูรพาจารย์สายพระป่า


    [​IMG]




    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล
    พระครูวิเวกพุทธกิจ หรือ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล เป็นพระบูรพาจารย์ผู้ริเริ่มการถือธุดงควัตร และใช้ชีวิตแบบพระธุดงคกรรมฐาน ออกบำเพ็ญภาวนาตามป่าเขาห่างไกลในถิ่นทุรกันดาร มุ่งความรู้แจ้งแห่งธรรม ตามรอยบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อความวิมุตติหลุดพ้นอย่างแท้จริง
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล เป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่สายพระกรรมฐานแห่งยุค
    ในวัดป่า หรือ วัดในสายกรรมฐาน ทุกแห่ง เรามักจะได้ยินชื่อเห็นรูปถ่าย รูปปั้น ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ อยู่คู่กับ หลวงปู่มั่น เสมอ
    แต่น่าเสียดาย ที่เรื่องราวของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ เป็นที่รู้จักกันน้อยมาก หาอ่านหาศึกษาได้ยากยิ่ง
    ทั้งนี้ เพราะขาดการบันทึก และขาดการรวบรวมค้นคว้าอย่างเป็นระบบ ทำให้พวกเรา หลาน - เหลนรุ่นหลัง ไม่ค่อยทราบประวัติและเรื่องราวของท่านเท่าที่ควร
    นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง !
    ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ผู้เขียน และครอบครัวมีโอกาสกราบหลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา
    หลวงพ่อ ได้เล่าเรื่อง หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ให้ฟังอย่างย่นย่อในฐานะที่หลวงพ่อ เคยเป็นสามเณรถวายการอุปัฏฐากรับใช้หลวงปู่ใหญ่ เมื่อครั้งอยู่เมืองอุบลฯ ได้รับการอบรมด้านข้อวัตรปฏิบัติ และการภาวนาอันเป็นพื้นฐานการปฏิบัติธรรมขั้นสูงต่อไป
    นอกจากนี้ หลวงปู่ใหญ่ ยังได้เดินธุดงค์เข้ากรุงเทพฯ เพื่อนำสามเณรพุธ มาฝากให้เป็นลูกศิษย์ของท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ) พระสหธรรมิกคู่ธุดงค์กรรมฐานของท่าน ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสครองวัดปทุมวนากม ในสมัยนั้น
    หลวงพ่อพุธท่านเริ่มต้นเล่าถึงครูอาจารย์ของท่านว่า “หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นลูกศิษย์ของพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ถ้าจะถามว่า ท่านพระอาจารย์เสาร์ เป็นลูกศิษย์ของใคร ก็ต้องตอบว่า พระอาจารย์เสาร์เป็นลูกศิษย์ของพระครูสีทาชยเสโน ถ้าจะถามต่อจากนั้นขึ้นไปหลวงพ่อก็ไม่รู้ แต่ถ้าจะให้ตอบ ก็ต้องตอบว่า ท่านพระครูสีทา ชยเสโน เป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า ก็ไปจบลงที่นั้น...”
    หลวงพ่อพุธ เล่าว่า หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ท่านชอบอ่านพุทธประวัติศึกษาเรื่องราวของพระพุทธเจ้าจากคัมภีร์ใบลาน ท่านจึงดำเนินรอยตามพระพุทธเจ้า คือท่านไม่ติดสถานที่ ไม่ติดญาติโยม ไม่ติดลาภยศ มุ่งบำเพ็ญเพียรตามป่าเขาห่างไกลจากผู้คน เพื่อบำเพ็ญไปสู่มรรคผลนิพพานอย่างแท้จริง
    ในการภาวนา หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ท่านให้ใช้คำบริกรรมว่า “พุทโธ” เป็นอุบายธรรมน้อมนำเอาพระพุทธคุณเข้ามาเป็นอารมณ์จิต เพื่อให้เกิดความสงบ เป็นสมาธิได้ง่ายขึ้น
    หลังจากนั้น จึงค่อยพิจารณาธรรมอย่างอื่น เช่น การพิจารณากาย พิจารณาอสุภกรรมฐาน พิจารณาความตาย พิจารณากฎไตรลักษณ์ จนถึงพิจารณาอริยสัจสี่ ต่อไป ดังนี้เป็นต้น
    เป็นการดำเนินชีวิตไปตามลำดับ จาก สมถกรรมฐาน อุบายให้เกิดความสงบ แล้วจึงเดินจิตเข้าสู่วิปัสสนากรรมฐาน อธิบายให้เกิดปัญญาธรรม ต่อไป
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ท่านเป็นผู้เคร่งครัดในธรรมวินัยอย่างยอดเยี่ยมมีบุคลิกลักษณะสมบูรณ์ สง่าผ่าเผยน่าเกรงขาม พูดน้อย แต่มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ พูดจาอะไรมักเป็นอย่างนั้น
    ดังตัวอย่าง สมัยหนึ่ง เมื่อท่านหลวงปู่ใหญ่ออกเผยแพร่ธรรมแก่ประชาชน ได้มีผู้เลื่อมใสไปทำบุญถวายท่านกับท่านเป็นจำนวนมากหลังจากนั้นญาติโยมได้ขอให้ท่านแสดงธรรม ท่านจึงกล่าวเป็นธรรมคติแต่โดยย่อว่า :-
    “การให้ทาน ใครๆ ก็ให้ทานมามากแล้ว มีพลานิสงส์มากเหมือนกัน แต่ผู้เป็นขาวเป็นชีรักษาศีลอุโบสถไม่ได้ มีอานิสงส์มากกว่าให้ทานนั้นเสียอีก ถ้าใครอยากได้บุญมาก ขึ้นสวรรค์ไปนิพพานพ้นทุกข์ก็ควรบวชเป็นขาวเป็นชีรักษาศีลอุโบสถเสียวันนี้”
    ปรากฏว่าในค่ำวันนั้นเอง ได้มีญาติโยมชายหญิงพากันมาบวชผ้าขาว บวชชี ถือศีลอุโบสถ ฟังเทศน์ฟังธรรม และปฏิบัติภาวนากันเป็นจำนวนมากและถือปฏิบัติในวงพระป่าสายกรรมฐานตั้งแต่นั้นมาผู้เขียน (นายปฐม นิคมานนท์) เชื่อว่า ประเพณีการนุ่งห่มขาวถือศีลอุโบสถ ซึ่งเรียกกันภายหลังว่าบวชชีพราหมณ์บ้าง บวชเนกขัมมะหรืออย่างอื่น ที่จัดกันในทุกวันนี้ น่าจะสืบทอดมาจากสมัยที่หลวงปู่ใหญ่ท่านพาทำนั่นเอง
    อันนี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐานของผู้เขียน ถ้าผิดพลาดคลาดเคลื่อน ขอท่านผู้รู้โปรดช่วยแก้ไขชี้แนะด้วยครับ
    ผู้เขียนเคยตั้งใจไว้นานแล้วว่า จะหาโอกาสเขียนหนังสือเกี่ยวกับประวัติหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล โดยตั้งความหวังไว้ที่หลวงพ่อพุธ ในฐานะเป็นคลังข้อมูลใหญ่ อยากจะได้ข้อมูลจากปากของท่านเองเป็นหลัก
    แต่ยังไม่ได้ลงมือสักที ผัดผ่อน รั้งรอไปเรื่อยเป็นเวลานานกว่าสิบปี ก็ยังไม่ได้ฤกษ์
    ผู้เขียนมีโอกาสกราบหลวงพ่อพุธ บ่อย นิมนต์ท่านบ่อย รวมทั้งไปภาวนากับท่านเป็นประจำ ส่วนมากจะนั่งหลับตาต่อหน้าท่าน คือหลวงพ่อก็หลับตา และเราก็หลับตา ท่านแนะอุบายเพียงสั้นๆ และแก้ไขเมื่อเราติดขัดเมื่อเดินทางจิตต่อไปไม่ได้ เป็นส่วนใหญ่
    หลวงพ่อเล่าเรื่องหลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่น รวมทั้งครูบาอาจารย์องค์อื่นๆ และประสบการณ์ของท่านเอง ให้เราฟังบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาสบายๆ ไม่มีญาติโยมคนอื่น ท่านจะเคี้ยวหมากและพูดไปเรื่อยๆ เราก็ถวายนวดที่เท้าท่านไปเรื่อย ๆ
    แต่น่าเสียดายที่ไม่ได้จดบันทึกไห้เป็นเรื่องเป็นราว มัวประมาทรอสอบถามหรือสัมภาษณ์ท่านอย่างเป็นทางการ ในที่สุดหลวงพ่อท่านก็มรณภาพลาขันธ์ไป เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
    การมัวแต่ตั้งท่า รีรอ จึงทำให้เสียประโยชน์ ดังที่เป็นอยู่นี้
    จะหวังพึ่งครูบาอาจารย์องค์อื่น ต่างองค์ต่างก็มรณภาพลาขันธ์ไปตามกาล ยังเหลือไว้แต่เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับหลวงปู่ใหญ่ ให้พวกเราได้ระลึกถึงเป็นสังฆานุสติเท่านั้น จะนำมาเขียนให้ละเอียดเป็นเรื่องราวดูจะไกลเกินฝัน
    อยากสมน้ำหน้าตัวเอง ที่ครูบาอาจารย์บอกว่าให้พวกสูรอไปถึงยุคพระศรีอาริย์ก็แล้วกัน ชาตินี้ยังไม่เอาจริง แล้วชาติต่อๆ ไปจะหวังได้อย่างไร ?

    <table id="table2" align="right" border="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ​
    โชคดีอย่างไม่น่าเชื่อ วันที่ ๒๑ มีนาคม พ ศ. ๒๕๔๖ ผู้เขียนกับอาจารย์ภัทรา ได้ไปร่วมพิธีสมโภชเจดีย์พิพิธภัณฑ์ท่านหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ที่วัดดอนธาตุ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ขากลับได้แวะไปกับพระครูพิบูลธรรมภาณ หรือ หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค วัดภูเขาแก้ว ซึ่งอยู่ในตัวอำเภอพิบูลมังสาหาร
    หลวงพ่อ คงรู้ใจหรือไว้ใจผู้เขียนก็สุดจะเดา ท่านเอาสำเนาบันทึกประวัติหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ซึ่งท่านบันทึกไว้นานกว่า ๒๐ ปี มอบให้ผู้เขียนรวมทั้งมอบเหรียญ ๓ บุพพาจารย์เมืองอุบลฯ คือหลวงปู่เสาร์ –หลวงปู่มั่น - หลวงปู่ดี ให้เราสองคน คนละเหรียญ
    ไม่ต้องบอกก็ได้นะครับว่าเราตื่นเต้น ปีติเพียงไร !
    โชคดีชั้นที่สอง ที่อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ได้บันทึกฉบับดังกล่าวไปก่อนหน้านี้แล้ว แล้วท่านได้ใช้บันทึกนี้เป็นหลักในการสืบค้นประวัติหลวงปู่ใหญ่ ใช้เวลารวบรวมอยู่ ๔ - ๕ ปี จึงออกมาเป็นหนังสือ “ตามรอยธุดงควัตร พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล” ที่มีเรื่องราว เนื้อหา และหลักฐานสมบูรณ์ที่สุด เท่าที่จะหาได้
    <table id="table1" align="left" border="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="left">
    อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    หนังสือ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งเป็นเล่มที่ ๕ในโครงการหนังสือบูรพาจารย์ วัดป่าอาจารย์มั่น (ภูริทตฺโต) บ้านแม่กอย ต.เวียง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ เล่มนี้ ได้ดำเนินไปในแนวทางเดียวกันกับหนังสือของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ
    และก็แน่นอนที่ผู้เขียนเป็นฝ่าย “คัดลอก” งานของท่านอาจารย์พิศิษฐ์
    เป็นการคัดลอกด้วยความภาคภูมิใจยิ่งครับ !
    และ ขอยืนยันว่า ด๊อกเตอร์ก็ลอกเก่งเหมือนกัน นิ !
    ครูบาอาจารย์พูดถึงหลวงปู่ใหญ่
    หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย เขียนถึง หลวงปู่ใหญ่ ดังนี้ :-
    “ท่านอาจารย์เสาร์ แท้ที่จริงควรที่จะมีประวัติไว้อ่านกันสนุกบ้างก็จะดี แต่นี่ไม่ค่อยเห็นประวัติของท่าน หรือมีข้าพเจ้าก็ไม่ทราบ ได้ยินแต่ท่านเล่าให้ฟังว่า อยู่วัดเลียบ ได้ ๑๐ กว่าพรรษา คิดเลื่อมใสในพระคณะธรรมยุต จึงยอมสละญัตติเป็นธรรมยุต ฆ้อง กลองสำหรับตีในงานประเพณีทำบุญอึกทึกครึกโครมในสมัยนั้น ซึ่งมีอยู่ประจำวัดของท่าน ท่านก็สละทิ้งหมด ญัตติเป็นธรรมยุตแล้วก็อยู่วัดนั้นต่อมา
    พวกที่เขาไม่ชอบเขาก็โกรธ พวกที่ชอบ เขาบอกว่า ของเหล่านั้นไม่จำเป็น เป็นสงฆ์ขอให้ปฏิบัติถูกต้องตามธรรมวินัยก็แล้วกัน
    ข้าพเจ้าก็ลืมถามไปว่า ภูมิลำเนาของท่านเกิดบ้านใด อำเภอใด มารดาบิดา พี่น้องของท่านมีกี่คน แต่เชื่อว่าท่านอยู่ใกล้เมืองอุบลฯ นี้แหละ เพราะท่านเคยพูดถึงเรื่องญาติของท่าน บวชแล้วไปอยู่หลวงพระบาง เพราะคนหลวงพระบางชอบใจได้มานิมนต์ญาติของท่านไป ท่านนั้นก็ลืมชื่อไปอีกเหมือนกันไม่ทราบว่าชื่ออะไร จึงน่าเสียดายประวัติของท่านมาก ไม่มีใครบันทึกไว้
    ส่วนข้าพเจ้าเองก็ไม่คิดจะบันทึกเสียด้วย ทั้งๆ ที่ท่านเล่าให้ฟังสอดๆ (ฉอดๆ) อยู่นั่นเอง มันจะเป็นเพราะพระกัมมัฏฐานในขณะนั้นไม่คิดจะบันทึกอะไรทั้งหมด คิดแต่จะทำความเพียรภาวนาอย่างเดียว การบันทึกนั้นบันทึกนี้ เรื่องราวต่างๆ เป็นเหตุให้ยุ่งสมอง ทำอารมณ์ให้ฟุ้งมาก..
    หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ได้บันทึกเรื่องนิสัยของหลวงปู่ใหญ่ไว้ดังนี้ :-
    “นิสัยท่านพระอาจารย์เสาร์ ชอบก่อสร้าง ชอบปลูกพริก หมากไม้ (ไม้ผล) ลักษณะจิตเยือกเย็น มีพรหมวิหาร ทำจิตดุจแผ่นดิน มีเมตตาเป็นสาธารณะ เป็นคนพูดน้อย ยกจิตขึ้นสู่องค์เมตตาสุกใสรุ่งเรือง เป็นคนเอื้อเฟื้อในพระวินัย ทำความเพียรเป็นกลาง ไม่ยิ่งไม่หย่อน พิจารณาถึงชั้นภูมิธรรมละเอียดมาก
    ท่านบอกให้เราภาวนาเปลี่ยนอารมณ์แก้อาพาธได้ อยู่ข้างนอกวุ่นวาย เข้าไปหาท่านจิตสงบดี เป็นอัศจรรย์ปาฏิหาริย์หลายอย่าง
    จิตของท่านชอบสันโดษ ไม่มักใหญ่ใฝ่สูง หมากไม่กิน บุหรี่ไม่สูบ ท่านแดดัง เป็นอุปัชฌายะฯ เดินจงกรมเสมอไม่ละกาล น้ำใจดีไม่เคยโกรธขึ้งให้พระเณร อุบาสกอุบาสิกา
    มักจะวางสังฆทานอุทิศให้สงฆ์สันนิบาต แก้วิปัสสนูแก่สานุศิษย์ได้ อำนาจวางจริตเฉยๆ เรื่อยๆ ชอบดูตำราเรื่องพุทธเจ้า
    รูปร่างใหญ่ สันทัด เป็นมหานิกาย ๑๐ พรรษา จึงมาญัตติเป็นธรรมยุต ชอบรักเด็ก เป็นคนภูมิใหญ่กว้างขวาง ยินดีทั้งปริยัติ –ปฏิบัติ ลักษณะเป็นคนโบราณพร้อม ทั้งกาย วาจา ใจ เป็นโบราณทั้งสิ้น ไม่เห่อตามลาภ ยศ สรรเสริญ อาหารชอบเห็ด ผลไม้ต่างๆ ชอบน้ำผึ้ง”
    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี พูดถึง หลวงปู่ใหญ่ดังนี้ :-
    “ท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านไม่พูด ไม่เทศน์ ถ้าท่านเทศน์ท่านเทศน์นิดเดียว เอา ! ฟังเทศน์ พากันตั้งใจฟังเทศน์ กายสุจริต วาจาสุจริต มโนสุจริต พากันตั้งใจรักษากายให้บริสุทธิ์ รักษาวาจาให้บริสุทธิ์ รักษาใจให้บริสุทธิ์ เอวังฯ.”
    ท่านพระอาจารย์เสาร์ มีลูกศิษย์ของท่านมากมาย ท่านนำหมู่คณะเดินธุดงค์เพื่อทรมานกิเลส ฝึกความเพียร ลูกศิษย์พระกรรมฐานจึงมาก สามเณรที่อยู่กับท่าน จะบวชเป็นพระภิกษุต้องท่องปาฏิโมกข์ให้ได้เสียก่อน ถ้าท่องไม่ได้จะไม่อนุญาตให้บวช
    ท่านพูดคำไหนคำนั้น มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ พูดคำสัตย์จริง ท่านพูดน้อย กับลูกศิษย์ลูกหาท่านไม่พูดมาก ท่านจะมาตรวจดูข้อวัตรว่า น้ำในโอ่งมีไหม? ฟืนมีไหม? แล้วท่านก็เข้าทางจงกรม ทำความเพียรปฏิบัติให้ลูกศิษย์ดู
    คำสอนของท่านนั้นคือความเพียร ธรรมของท่านพระอาจารย์เสาร์ สอน “พุทโธ” คำเดียว แต่ความเพียรของท่านเป็นการพ้นทุกข์ ความเพียรของท่านเป็นธรรมเทศนา
    ความเพียรของท่านพระอาจารย์เสาร์เป็นยอด เมื่อท่านฉันเสร็จ ท่านเดินไปที่กุฏิ เอากาน้ำ สะพายย่ามไปทางจงกรม จนถึงเวลาทำข้อวัตร
    ท่านอาจารย์เสาร์นั้น ท่านจะไม่นั่งในที่นอน ท่านจะไม่นอนในที่นั่งสมาธิ...
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ท่านเป็นผู้ริเริ่มการถือ ธุดงควัตร ๑๓ ขันธวัตร ๑๔ และออกธุดงค์เพื่อคิดค้นธรรมะจากการปฏิบัติภาวนาอย่างจริงจัง จนรู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง
    การประพฤติตามจรรยาแห่งพระวินัยแล้วนับว่าท่านปฏิบัติอย่างเคร่งครัดยิ่ง ไม่ยอมให้ตัวท่านเองและศิษย์ล่วงละเมิดวินัยแม้แต่เรื่องเล็กน้อย ท่านจึงมีความบริสุทธิ์ งดงาม ตลอดประวัติชีวิตของท่าน
    อุปนิสัยและข้อวัตรของหลวงปู่ใหญ่
    ท่านหลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน วัดป่าบ้านตาด อำเภอเมืองอุดรธานี ได้พูดถึงปฏิปทาและอุปนิสัยของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ดังนี้ :-
    “ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร พระอาจารย์ใหญ่ฝายวิปัสสนากัมมัฏฐานมีศิษยานุศิษย์เข้ามาศึกษาอบรมธรรมปฏิบัติกับท่านเป็นจำนวนมาก
    แต่ด้วยปกตินิสัยของท่าน เป็นคนไม่ชอบพูด พูดน้อยที่สุด ทั้งวันไม่พูดอะไรกับใครเกิน ๒ - ๓ ประโยค
    เวลานั่งก็ทนทาน นั่งอยู่ได้เป็นเวลาหลายๆ ชั่วโมง (หมายถึงนั่งสมาธิ) เดินก็ทำนองเดียวกัน (หมายถึงเดินจงกรม)
    ลักษณะของท่านมีความสง่าผ่าเผย น่าเคารพเลื่อมใส มองเห็นท่านแล้วเย็นตาเห็นใจไปหลายวัน ประชาชนและพระเณรเคารพเลื่อมใสท่านมาก ท่านมีลูกศิษย์มากมายเหมือนท่านอาจารย์มั่น
    ท่านพระอาจารย์เสาร์ อบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์โดยประพฤติปฏิบัติธรรมให้ดูเป็นเยี่ยงอย่าง ข้อวัตรปฏิบัติของท่านคือคำสอนที่ดีที่สุด
    ศิษยานุศิษย์ที่เข้ามารับการอบรมธรรมปฏิบัติจากท่านพระอาจารย์เสาร์ ส่วนใหญ่มักจะสืบทอดแนวทางดำเนินของท่านคือ รักษาพระวินัยอย่างเคร่งครัด มีความเป็นอยู่สมถะ สันโดษเรียบง่าย ไม่ชอบคนหมู่มาก เดินธุดงค์จาริกแสวงหาที่วิเวกบำเพ็ญภาวนาตามป่าเขา
    พระคณาจารย์ที่เป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์เสาร์มีจำนวนมาก แต่ไม่เปิดเผยตัวเท่าที่ควร มีท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ศิษย์เอกของท่าน ที่ระยะหลังต่อมาได้ปรากฏประวัติและธรรมะของท่าน ซึ่งแต่เดิมท่านก็ไม่ปรากฏองค์ท่าน เช่นเดียวกับท่านพระอาจารย์เสาร์
    และศิษยานุศิษย์ที่ถวายตัวเป็นศิษย์ ท่านพระอาจารย์มั่นมาก่อนต่อมาก็มากราบนมัสการถวายตัวเป็นศิษย์เพื่ออบรมศึกษาธรรมกับท่านพระอาจารย์เสาร์ เช่นกัน เพราะพระคณาจารย์ที่เป็นศิษย์เหล่านั้นให้ความเคารพนับถือท่านเป็นอย่างมาก
    ด้วยคุณธรรม และเป็นพระอาจารย์ใหญ่ ซึ่งเปรียบเสมือนท่านเป็นพระปรมาจารย์ใหญ่สายพระกัมมัฏฐาน
    นอกจากปฏิปทาจริยาวัตรที่งดงามของท่านแล้วข้อสำคัญอีกประการหนึ่งคือ สถานที่ใดที่หลวงปู่ใหญ่ เที่ยวธุดงค์ไปพักชั่วคราว สถานที่แห่งนั้นมักจะกลายเป็นวัดถาวรและเจริญรุ่งเรืองตามมาภายหลัง
    เช่น พระธาตุพนม ซึ่งแต่ก่อนรกร้างเป็นดง เมื่อท่านเดินรุกขมูลเข้าไปพักอาศัยที่นั้นชั่วคราว ให้คนถากทางทำความสะอาดปัดกวาดอย่างดี ครั้นต่อมาภายหลังที่นั่นจึงกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเจริญรุ่งเรือง เป็นที่เลื่อมใสของชาวพุทธทั่วประเทศมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
    และในทำนองเดียวกัน ก็ยังมีสถานที่อื่นอีกหลายแห่งในจังหวัดทางภาคอิสาน รวมทั้งฝั่งประเทศลาวที่หลวงปู่ใหญ่ ธุดงค์ผ่านไปพักชั่วคราว แล้วกลายมาเป็นวัด ได้รับความเจริญรุ่งเรือง เหลือเป็นอนุสรณ์จนกระทั่งทุกวันนี้
    <table id="table3" align="left" border="0"> <tbody><tr> <td rowspan="3"> [​IMG]</td> <td>
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td align="left"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="left">
    [​IMG]
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    รากแก้วของพระฝ่ายกรรมฐาน
    ท่านหลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้เขียนถึงพระอาจารย์ใหญ่ทั้งสององค์ คือ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ดังนี้ :-
    “ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร และท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร เป็นหลักในการสั่งสอนกัมมัฏฐานอยู่ในภาคอิสานจนตลอดอายุขัยของท่าน
    ปฏิปทาของพระเถราจารย์ ทั้งสองท่าน (โปรดระวังอย่าหลงไปเรียกว่า เกจิอาจารย์ นะครับ เพราะครูอาจารย์สายพระป่าท่านไม่นิยมเรื่องเครื่องรางของขลัง หรือเรื่องดูฤกษ์ยาม ทำพิธีมงคลต่างๆ ถ้าจะเรียกตามแนวที่ท่านถนัดก็ต้องว่า พระวิปัสสนาจารย์จะตรงกว่า -ปฐม) ได้ปลุกเร้าจิตใจชาวอิสาน ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ให้หันมานิยมศึกษาแนวปฏิบัติกัมมัฏฐานกันอย่างจริงจังอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
    ภิกษุสามเณรจำนวนมากจากจังหวัดต่างๆ ในภาคอิสานได้มารับการอบรมสั่งสอนทางกัมมัฏฐานจากพระเถราจารย์ทั้งสองท่านไม่ขาดสาย ทำให้เกิดมีพระเถระผู้มีปฏิปทาและสามารถทางกัมมัฏฐานขึ้นเป็นจำนวนมาก และพระเถระเหล่านี้ก็ได้กระจายกันออกไปแนะนำสั่งสอนพุทธบริษัททั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ประจำอยู่ในที่ต่างๆ ทั่วภาคอิสาน
    เป็นเหตุให้เกิดมีวัดป่า หรือสำนักกัมมัฏฐาน ขึ้นทั่วไปในภาคอิสาน และมีพระคณาจารย์ฝ่ายกัมมัฏฐาน ที่ประจำอยู่ในสำนักต่างๆ ทั่วอิสานต่อมาจนทุกวันนี้
    ล้วนเป็นศิษย์และอนุศิษย์สืบเนื่องมาแต่พระเถราจารย์ทั้งสองท่านดังกล่าวมาข้างต้นเกือบทั้งสิ้น
    ท่านหลวงตาฯ ได้เขียนบรรยายต่อไปว่า :-
    “พระกัมมัฏฐานรู้สึกจะมากทางภาคอิสาน และมากเรื่อยมา เพราะรากแก้วของกัมมัฏฐานในสมัยปัจจุบันก็อยู่ที่ภาคอีสานเป็นพื้นฐาน
    ท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่น เป็นรากฐานของกัมมัฏฐานมานาน
    เพราะฉะนั้น บรรดาลูกศิษย์ลูกหาที่ต้องการอรรถธรรมจริงจึงต้องหมุนหาอาจารย์ซึ่งเป็นที่แน่ใจได้ แล้วก็ไม่พ้นท่านพระอาจารย์ทั้งสององค์ คือ ท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่น
    ท่านพระอาจารย์เสาร์ เป็นร่มโพธิ์ร่มไทร ท่านไม่ค่อยเทศน์ เงียบ ไม่เทศน์ ถ้าจะเทศน์ก็พูดเพียงสองสามประโยคแล้วหยุดเลย
    สำหรับท่านพระอาจารย์มั่น การเทศนาว่าการ ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่นั้นหมดเลย ธรรมทุกขั้นอยู่นั้นหมด ออกจ้าๆ เลย
    จากนั้นมา บรรดาลูกศิษย์ลูกหาที่ไปศึกษากับท่านทั้งสององค์นี้มา ก็กลายเป็นอาจารย์ของหลวงปู่ทั้งหลายต่อมาเรื่อยๆ ดังที่เราเห็น เช่นอาจารย์นั้น อาจารย์นี้ ออกจาก เฉพาะอย่างยิ่ง ท่านพระอาจารย์มั่น ออกจากนี้เรียกว่ามีอยู่ทั่วไปทุกภาค
    ท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่นซึ่งเป็นพระอันเลิศเลอ ถ้าสมัยพุทธกาลก็เรียกว่า ท่านทั้งสององค์นี้คือพระอรหันต์ร้อยเปอร์เซ็นต์นั้นแล
    ท่านได้อุตส่าห์บุกเบิกเพิกถอนสิ่งที่เป็นข้าศึกต่ออรรถต่อธรรมต่อธุดงค์ ข้อวัตรปฏิบัติ จารีตประเพณีที่พระพุทธเจ้าทรงพาดำเนินมาซึ่งถูกปกคลุมหุ้มห่อด้วยความมืดมิดปิดกำบังของกิเลสทั้งหลาย ให้ค่อยเบิกกว้างออกไปๆ
    ท่านเป็นผู้ทรงข้อวัตรปฏิบัติ ซึ่งข้อวัตรปฏิบัตินี้มีมาแต่ดั้งเดิม ท่านจดจารึกในคัมภีร์ใบลานมาตลอดว่า พระธุดงค์กัมมัฏฐาน ธุดงค์ ก็แปลว่า เครื่องกำจัดกิเลสนั้นเอง กัมมัฏฐาน แปลว่า ฐานที่ตั้งแห่งงานอันชอบยิ่งทางพระพุทธศาสนา เมื่อรวมแล้วเรียกว่า พระธรรมกัมมัฏฐาน
    ท่านพระอาจารย์เสาร์ และ ท่านพระอาจารย์มั่น ทั้งสองพระองค์นี้เป็นผู้อุตส่าห์พยายามบุกเบิกเพิกถอนขวากหนามที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุดงควัตร
    เพราะแต่ก่อนในสมัยนั้นไม่มีใครสนใจธุดงควัตรพระกัมมัฏฐานประหนึ่งว่าแทบไม่มีในเมืองไทย แต่ครั้นแล้วก็มีท่านทั้งสองพระองค์ คือท่านพระอาจารย์มั่น ท่านพระอาจารย์เสาร์ นี้แลได้นำคัมภีร์ที่ทรงแสดงไว้แล้วในพระไตรปิฎกต่างๆ ออกมาประพฤติปฏิบัติให้เปิดเผย จนเป็นที่ร่ำลือ
    และ ทางชั่วก็กีดขวางเข้ามา บางครั้งถูกขับไล่ไสส่ง หาว่าเป็นพระจรจัด พระขัดขวางต่อบ้านเมือง ถูกขับไล่ไสส่งจากฝ่ายปกครองตามสถานที่นั้นๆ เรื่อยมา ท่านก็ไม่หวั่นไหวในการประพฤติปฏิบัติ ดำเนินตามข้อวัตรปฏิบัติที่มีแล้วในคัมภีร์เรื่อยมา ค่อยบุกเบิกเพิกถอนไปเรื่อยๆ
    การบำเพ็ญธรรมของท่านก็ปรากฏขึ้นภายในจิตใจเป็นลำดับลำดา เป็นกำลังใจที่ท่านอุตส่าห์พยายามเพิกถอนกิเลสตัณหาภายในจิตใจ แล้วก็เป็นไปพร้อมๆ กันกับการแนะนำสั่งสอนบรรดาลูกศิษย์ลูกหาเรื่อยมา กัมมัฏฐานจึงค่อยเบิกกว้างออกไปๆ จนกระทั่งมาถึงสมัยปัจจุบันนี้ รู้สึกว่าไปที่ไหนพระกัมมัฏฐานเรา ซึ่งเป็นทางดำเนินมาดั้งเดิมก็ได้เปิดกว้างกระจายออกไปทุกหนทุกแห่งทั่วประเทศไทยของเรา
    ทั้งนี้ก็ขึ้นไปจากทั้งสองพระองค์นี้แลเป็นผู้บุกเบิก ในเบื้องต้นท่านจึงได้รับความลำบากลำบนมากทีเดียว
    ท่านหลวงตาฯ ได้แสดงความรู้สึกของท่านเองต่อเรื่องนี้ว่า :
    “ก็ตามที่ท่านเล่าให้ฟัง เราน้ำตาร่วงๆ เวลาท่านเล่าถึงความทุกข์ความทรมาน ทั้งถูกขับไล่ไสส่งจากที่ต่างๆ ฝ่ายปกครอง มักจะเป็นอยู่เสมอ
    เวลาท่านเล่า ท่านไม่ได้เล่าด้วยความโกรธความแค้นอะไร เวลาเรื่องไปสัมผัส ท่านก็เล่าให้ฟังธรรมดาๆ ท่านไม่มีลักษณะท่าทางว่าจะโกรธเคืองหรือเคียดแค้นให้ผู้หนึ่งผู้ใดที่ขับไล่ท่าน แต่ท่านพูดถึงเรื่องความทุกข์ความทรมานของท่านที่สมบุกสมบันมาตลอดต่างหาก
    สำหรับเราผู้ฟังท่านพูดแล้ว เกิดความสลดสังเวชสงสารท่านเป็นกำลัง น้ำตาร่วง โดยไม่ให้ท่านทราบแหละ กลืนน้ำตาเข้าภายใน รู้สึกกว่าเราก็มีกิเลสเหมือนกัน ท่านไม่เคียดแค้น เราก็เคียดแค้นอยู่ภายในใจถึงผู้ที่มาขับไล่ไสส่งโดยหาเหตุผลหลักเกณฑ์อะไรไม่ได้เลย
    นั้น ท่านเล่ามาทีไรนี้ อดสลดสังเวชน้ำตาร่วงไม่ได้ เพราะความทุกข์ ความสมบุกสมบันของท่านเรื่อยมา
    ความรู้ความเห็นที่เป็นขึ้นภายในจิตของท่าน ท่านก็เล่าไปพร้อมๆ กัน ไปอยู่ที่นั่น เกิดความรู้ความเห็นอย่างนั้น ไปที่นั่น เกิดความรู้ความเห็นอย่างนั้น นับตั้งแต่ธรรมภายในใจ พวกสมาธิ พวกปัญญา จนกระทั่งถึงวิมุตติหลุดพ้น แล้วแตกกระจายออกรอบด้านของจิตนั้น เกี่ยวกับเรื่องเทวบุตร เทวดา อินทร์ พรหม ตลอดนรกอเวจีกระจายไปหมด ท่านรู้ตลอดทั่วถึงเต็มกำลังของท่านนั้นแล
    เวลา (หลวงตาฯ) เล่าให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังจึงเป็นที่ปลื้มอกปลื้มใจ เป็นสดๆ ร้อนๆ ไม่ลืมมาจนกระทั่งถึงวันนี้ จึงได้นำเรื่องราวที่ได้ยินได้ฟังจากท่าน ซึ่งเล่าตลอดมาตามเวลาที่เหมาะสม ซึ่งเข้าไปสัมผัสแล้ว ท่านก็นำออกมาเล่าให้ฟัง จึงได้นำเรื่องความจริงจังและความรู้จริงเห็นจริงของท่านมาเล่าให้พี่น้องชาวไทยเราทราบ ให้พึงทราบกันว่าสิ่งที่ท่านกล่าวถึงนั้นเป็นวิสัยของใจที่เกิดขึ้นจากจิตตภาวนา
    หลวงปู่มั่นเล่าถึงหลวงปู่ใหญ่
    เรื่องที่หลวงปู่มั่น ภูริทตโต ได้เล่าเกี่ยวกับพระอาจารย์ของท่านคือ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล นั้น ได้รับการถ่ายทอดโดย ท่านหลวงตาพระมหาบัว ญาณสมปนโน มาอีกชั้นหนึ่ง ดังต่อไปนี้:-
    “เมื่อท่านพระอาจารย์มั่น เริ่มปฏิบัติวิปัสสนาใหม่ๆ ในสำนักท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร วัดเลียบ อุบลราชธานี ท่านบริกรรมภาวนาด้วยบท “พุทโธ”
    ท่านเล่าว่า นิสัยของท่านพระอาจารย์เสาร์ เป็นไปอย่างเรียบๆและเยือกเย็น น่าเลื่อมใสมาก จิตของท่านพระอาจารย์เสาร์ เป็นไปอย่างเรียบๆ สงบเย็นโดยสม่ำเสมอ นับแต่ขั้นเริ่มแรกจนถึงสุดท้ายปลายแดนแห่งปฏิปทาของท่าน ไม่ค่อยล่อแหลมต่ออันตราย และไม่ค่อยมีอุบายต่างๆ และความรู้แปลกๆ เหมือนจิตของท่านพระอาจารย์มั่น
    ท่าน (หลวงปู่มั่น) เล่าว่า ท่านพระอาจารย์เสาร์เดิมท่านปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เวลาออกบำเพ็ญ พอเร่งความเพียรเข้ามากๆ ใจรู้สึกประหวัดๆ ถึงความปรารถนาเดิม เพื่อความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า แสดงออกเป็นเชิงอาลัยเสียดาย ยังไม่อยากไปนิพพาน
    ท่าน (หลวงปู่ใหญ่เสาร์) เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อความเพียรเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ ท่านเลยอธิษฐานของดความปรารถนานั้น และขอประมวลเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาตินี้ ไม่ขอเกิดมารับความทุกข์ทรมานในภพชาติต่างๆ อีกต่อไป
    พอท่านปล่อยวางความปรารถนาเดิมแล้ว การบำเพ็ญเพียรรู้สึกสะดวกแลเห็นผลไปโดยลำดับ ไม่มีอารมณ์เครื่องเกาะเกี่ยวเหมือนแต่ก่อน สุดท้ายท่านก็บรรลุถึงแดนแห่งความเกษมดังใจหมาย
    แต่การแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ท่านไม่ค่อยมีความรู้แตกฉานกว้างขวางนัก ทั้งนี้อาจเป็นไปตามภูมินิสัยเดิมของท่าน ที่มุ่งเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งตรัสรู้เองชอบแต่ไม่สนใจสั่งสอนใครก็ได้..
    เวลาท่าน (หลวงปู่มั่น) ออกเที่ยวธุดงค์กัมมัฏฐานทางภาคอิสานตามจังหวัดต่างๆ ในระยะต้นวัย ท่านมักจะไปกับท่านพระอาจารย์เสาร์เสมอ แม้ความรู้ทางภายในจะมีแตกต่างกันบ้างตามนิสัย แต่ก็ชอบไปด้วยกัน
    สำหรับท่านพระอาจารย์เสาร์ท่านเป็นคนไม่ชอบพูด ไม่ชอบเทศน์ ไม่ชอบมีความรู้แปลกๆ ต่างๆ กวนใจเหมือนท่านพระอาจารย์มั่น
    เวลาจำเป็นต้องเทศน์ ท่านก็เทศน์เพียงประโยคหนึ่งหรือสองเท่านั้น แล้วก็ลงธรรมาสน์ไปเสีย ประโยคธรรมที่ท่านเทศน์พอจับใจความได้ว่า
    ให้พากันละบาปและบำเพ็ญบุญ อย่าให้เสียชีวิตลมหายใจไปเปล่า ที่ได้มีวาสนาเกิดเป็นมนุษย์
    หรือ
    เราเกิดเป็นมนุษย์ มีความสูงศักดิ์มาก แต่อย่านำเรื่องของสัตว์มาประพฤติ มนุษย์เราจะต่ำลงกว่าสัตว์และจะเลวกว่าสัตว์อีกมาก เวลาตกนรกจะตกหลุมที่ร้อนกว่าสัตว์มากมาย อย่าพากันทำ

    แล้วก็ลงธรรมาสน์ไปกุฏิโดยไม่สนใจใครต่อไปอีก
    หลวงปู่เจี้ยะ จุนโท วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เคยตามไปอุปัฎฐาก หลวงปู่ใหญ่ ที่วัดดอนธาตุ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี เล่าว่า ครั้งหนึ่งหลังจากถวายไทยทานแล้ว ญาติโยมขอให้หลวงปู่ใหญ่เทศน์ ท่านก็เทศน์เพียงสั้นๆ แล้วให้พระอาจารย์ดี ฉนฺโน เทศน์ต่อ
    เทศน์ของหลวงปู่ใหญ่ มีว่า
    “ทำให้ดูมันยังไม่ดู ปฏิบัติให้ดูอยู่ทุกวัน มันยังไม่ปฏิบัติตาม เทศน์ให้ฟัง มันจะฟังหรือพวกเจ้า ข้อยเฮ็ดให้เบิ่งยังบ่เบิ่ง เทศน์ให้หมู่เจ้าฟัง หมู่เจ้าสิฟังฤๅ”
    หลวงปู่ใหญ่ ท่านพูดเป็นคติว่า “เขาสิเชื่อความดีที่เราเฮ็ดหลายกั่วคำเข้าที่เราสอน” (เขาเชื่อในความดีที่เราทำ มากกว่าในคำพูดที่เราสอน)
    ท่านหลวงตาพระมหาบัวฯ เล่าต่อไปว่า :-
    ทราบว่าท่านพระอาจารย์ทั้งสององค์นี้รักและเคารพกันมากในระยะวัยต้น ไปที่ไหนท่านชอบไปด้วยกัน อยู่ด้วยกัน ทั้งในและนอกพรรษา พอมาถึงวัยกลางผ่านไป เวลาพักจำพรรษามีแยกกันอยู่ แต่ไม่ห่างไกลกันนัก พอไปมาหาสู่กันได้สะดวก
    มีน้อยครั้งที่จำพรรษาร่วมกัน ทั้งนี้อาจเกี่ยวกับบรรดาศิษย์ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็มีมากด้วยกัน และต่างก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกที ถ้าจำพรรษาร่วมกันจะเป็นความลำบากในการจัดที่พักอาศัย จำต้องแยกกันอยู่เพื่อเบาภาระในการจัดที่พักอาศัยไปบ้าง
    ทั้งสองพระอาจารย์ ขณะที่แยกกันอยู่จำพรรษา หรือนอกพรรษา รู้สึกคิดถึงและเป็นห่วงกันมาก เวลามีพระที่เป็นลูกศิษย์ของแต่ละฝ่ายมากราบนมัสการ จะมากราบนมัสการท่านพระอาจารย์เสาร์ หรือมากราบนมัสการ ท่านพระอาจารย์มั่นต่างจะต้องถามถึงความสุขทุกข์ของกันและกันก่อนเรื่องอื่นๆ จากนั้นก็บอกกับพระที่มากราบว่า “คิดถึงท่านพระอาจารย์...” และฝากความเคารพคิดถึงไปกับพระลูกศิษย์ที่มากราบเยี่ยมตามสมควรแก่ อาวุโส - ภันเต ทุกๆ ครั้งที่พระมากราบ ท่านพระอาจารย์ทั้งสอง แต่ละองค์
    ท่านมีความเคารพในคุณธรรมของกันและกันมาก ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรืออยู่ไกล เวลาท่านพระอาจารย์ทั้งสององค์ใดองค์หนึ่ง พูดปรารภถึงกันและกันให้บรรดาลูกศิษย์ฟัง จะมีแต่คำที่เต็มไปด้วยเคารพและความยกย่องสรรเสริญโดยถ่ายเดียว ไม่เคยมีแม้คำเชิงตำหนิแย้งขึ้นมาบ้างเลย
    ท่านพระอาจารย์มั่น เล่าให้ฟังว่า ที่ท่านพระอาจารย์เสาร์ว่าให้ท่านว่า “จิตท่านเป็นจิตที่โลดโผนมาก รู้อะไรแต่ละครั้งขึ้นมามันไม่พอดีเลย เดียวจะเหาะเหินเดินฟ้า เดี๋ยวจะดำดิน เดี๋ยวจะดำน้ำข้ามทะเล...” นั้น ท่านว่าเป็นความจริงที่ท่านพระอาจารย์เสาร์ ตำหนิเพราะจิตท่านเป็นเช่นนั้นจริงๆ
    เวลารวมสงบลงแต่ละครั้ง แม้แต่ขั้นเริ่มแรกบำเพ็ญ ยังออกเที่ยวรู้เห็นอะไรต่างๆ ทั้งที่ท่านไม่เคยคาดฝันว่าจะเป็นได้เช่นนั้น เช่น ออกรู้เห็นคนตายต่อหน้า และเพ่งพิจารณาจนคนตายนั้นเป็นวงแก้ว และเกิดความรู้ความเห็นแตกแขนงออกไปไม่มีที่สิ้นสุด...
    เวลาปฏิบัติที่เข้าใจว่าถูกทางแล้ว ขณะที่จิตรวมสงบตัวลง ก็ยังอดจะออกรู้สิ่งต่างๆ มิได้ บางทีตัวเหาะลอยขึ้นไปบนอากาศและเที่ยวชมสวรรค์วิมาน กว่าจะลงมากินเวลาหลายชั่วโมง และมุดลงไปใต้ดิน ค้นดูนรกหลุมต่างๆ และปลงธรรมสังเวชกับพวกสัตว์นรกที่มีกรรมต่างๆ กัน เสวยวิบากทุกข์ของตนๆ อยู่ จนลืมเวล่ำเวลาไปก็มี เพราะเวลานั้นยังไม่แน่ใจว่าจะเป็นความจริงเพียงไร
    เรื่องทำนองนี้ ท่าน (หลวงปู่มั่น) ว่า จะพิจารณาต่อเมื่อจิตมีความชำนาญแล้ว จึงจะรู้เหตุผลผิดถูกชั่วดีได้อย่างชัดเจนและอย่างแม่นยำ พอเผลอนิด ขณะที่จิตร่วมลงและพักอยู่ก็มีทางออกไปรับรู้กับสิ่งภายนอกอีกจนได้ แม้เวลามีความชำนาญ และรู้วิธีปฏิบัติได้ดีพอสมควรแล้ว ถ้าปล่อยให้ออกรู้สิ่งต่างๆ จิตย่อมจะออกรู้อย่างรวดเร็ว
    ระยะเริ่มแรกที่ท่าน (หลวงปู่มั่น) ยังไม่เข้าใจ และชำนาญต่อการเข้าออกของจิต ซึ่งมีนิสัยชอบออกรู้สิ่งต่างๆ นั้น ท่านเล่าว่า เวลาบังคับจิตให้พิจารณาในร่างกายส่วนล่างแทนที่จิตจะรู้ลงไปตามร่างกายส่วนต่างๆ จนถึงพื้นเท้า แต่จิตกลับพุ่งเลยร่างกายส่วนต่ำลงไปใต้ดินและทะลุลงไปใต้พื้นพิภพ ดังท่านพระอาจารย์เสาร์ว่าให้จริงๆ
    ตามประวัติบอกว่า หลวงปู่มั่น ท่านใช้เวลาตั้งนานกว่าที่จะแก้ไขบังคับจิตของท่านให้มาพิจารณาเฉพาะภายในกายของท่าน ไม่ให้เตลิดเปิดเปิงออกไปภายนอก ไปดูสวรรค์วิมาน ดูนรกดูเปรต ทำให้เสียเวลาไปนานพอสมควร
    เรื่องนี้คงให้อุทาหรณ์สำหรับนักปฏิบัติธรรมกรรมฐาน จะได้นำไปพิจารณาว่า การปฏิบัติเพื่อยกภูมิจิตของตน เพื่อละเพื่อวาง เพื่อผลในทางวิมุตติหลุดพ้นนั้น ควรพิจารณาอยู่ภายในกาย ในใจของตน หรือควรจะเพลิดเพลินกับเรื่องนรก - สวรรค์ กันแน่ ?
    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ท่านสอนไม่ให้สนใจนิมิต คืออย่าสนใจในสิ่งที่เห็น ท่านว่าเราเห็นจริง แต่สิ่งที่เห็นนั้นไม่จริง ท่านให้มองเข้ามาข้างใน ค้นหาตัวผู้รู้ ผู้เห็น ให้เจอ
    หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร ขยายความเรื่องนี้ว่า การนั่งสมาธิแล้วเห็นนิมิต เปรียบเหมือนเราฉายไฟไปกระทบอะไร เราก็เห็นภาพของสิ่งนั้น ถ้าเราดูที่ภาพมันจะมีไปเรื่อยไม่จบสิ้น ให้มองย้อนลำแสงเข้ามาหากระบอกไฟฉายให้เจอ ถ้าได้กระบอกไฟฉาย และเปิดสวิตซ์เป็น เราจะส่องดูอะไรเมื่อไรก็ได้
    <table id="table9" border="0"> <tbody><tr> <td align="center"> [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td align="center">
    หนังสือที่ระลึก ในวันเปิดเจดีย์ของหลวงปู่ใหญ่
    ที่วัดดอนธาตุ อ พิบูลมังสาหาร จ อุบลราชธานี ที่ใช้เป็นแหล่ง
    ข้อมูลสำคัญในการเขียนหนังสือเล่มนี้
    </td></tr></tbody></table>​

     
  5. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๒๒
    ท่านเทวธมมี (ม้าว)
    <table id="table12" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> ท่านเทวธมฺมี (ม้าว)
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ท่านเทวธมมี (ม้าว) เป็นพระอาจารย์สายธรรมยุตองค์แรกของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล
    ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) เป็นหลานของท่านพนฺธุโล (ดี) ได้รับอาราธนามาเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) วัดธรรมยุตวัดที่ ๒ ของภาคอิสาน
    ท่านเทวธมมี (ม้าว) เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๑ ในเมืองอุบลราชธานี
    ในช่วงที่ท่านพนฺธุโล (ดี) ไปศึกษาเล่าเรียนที่กรุงเทพฯ เมืองหลวง และเป็นสหธรรมิกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ท่านได้กลับมาเยี่ยมบ้านเกิดที่อุบลฯ ขากลับได้นำพระหลานชายคือ ท่านเทวธมมี (ม้าว) เข้ากรุงเทพฯ ด้วย โดยพาเข้าถวายตัวเป็นพระศิษย์หลวง ซึ่งศิษย์หลวงเดิมมีอยู่ ๔๘ รูป
    ดังนั้น ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) จึงได้เป็นสัทธิวิหาริก แห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีสมเด็จพระสังฆราช (สา) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อครั้งทำญัตติกรรมเป็นธรรมยุต
    ท่านพนฺธุโล (ดี) องค์ปฐมแห่งพระธรรมยุตสายอิสานนี้ได้ส่งศิษย์เข้าไปศึกษาเล่าเรียนทั้งด้านปริยัติและการอบรมวิปัสสนากรรมฐานในกรุงเทพฯ หลายรุ่น ซึ่งต่อมาพระมหาเถระเหล่านั้นได้มีบทบาทสำคัญในการแผ่ขยายการศึกษาทางพระพุทธศาสนา และการแผ่ขยายของคณะธรรมยุตไปยังที่ต่างๆ ทั่วภาคอิสาน และภาคอื่นๆ ของประเทศ
    พระมหาเถระสายธรรมยุตที่ท่านพนฺธุโล (ดี) ส่งไปศึกษาเล่าเรียนที่กรุงเทพฯ และกลับมาสร้างความเจริญให้พระศาสนา ที่มีชื่อเสียงมาก ได้แก่
    - อาชญาท่านก่ำ คุณสมฺปนฺโน
    - ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)
    - พระอริยกวี (อ่อน ธมฺมรกฺขิโต)
    - ท่านอาจารย์สีทา ชยเสโน
    - พระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน)
    - ท่านเจ้าคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)
    พระมหาเถระแต่ละองค์ล้วนแต่มีผลงานในด้านพระศาสนาที่เป็นคุณูปการอันยิ่งใหญ่มาถึงพวกเราอันเป็นลูกหลานเหลนรุ่นหลัง
    หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี ได้เล่าถึงท่านเทวธมฺมี (ม้าว) ดังนี้ :-
    “ท่านเทวธมฺมี องค์นี้ ข้าพเจ้าเป็นเณรไปอยู่เมืองอุบลฯ มีคนเฒ่าคนหนึ่ง เขาตั้งให้แกเป็นสังฆการี แต่อาตมาก็จำชื่อแกไม่ได้ แกเล่าให้ฟังว่า
    ท่านเทวธมฺมี องค์นี้ ปฏิบัติเคร่งครัดในกรรมฐานยิ่งนัก ไปบิณฑบาตก็เอาตาลปัตรกันหน้าไป
    ท่านเกิดโรคหูเป็นหนอง แมลงวันขี้ใส่เลยเกิดเป็นตัวหนอนขึ้น หนอนไชหูท่าน เขาจะควักออกก็ไม่ให้เอาออก หนอนไชอยู่จนมรณภาพ
    การมรณภาพ ท่านก็นั่งขัดสมาธิสิ้นลมหายใจในอิริยาบถนั้นเอง
    ท่านมีเมตตามาก กลัวสัตว์อื่นจะเป็นทุกข์เพราะเหตุการกระทำของท่าน บ้านใครมีตัวเรือดมากๆ ไปขอมาเลี้ยงไว้ที่นอนท่านแหละ
    เมตตาธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนของโลก สมทุกประการอย่างท่านเทวธมฺมี แม้กระทั่งถึงสัตว์ที่เป็นสังเสทชะ และอัณฑชะ ซึ่งไม่รู้เดียงสาเลย ท่านก็เมตตาให้เขาได้ความสุข นับประสาอะไรแต่คนที่รู้เดียงสากัน
    จิตที่มีเมตตาแล้วแผ่คลุมไปถึงสัตว์ทุกจำพวก เขาเห็นเป็นมิตรไปในที่ทุกสถาน สัตว์ที่เป็นศัตรูก็เป็นมิตร ถ้าใครคิดอิจฉาในผู้ที่มีเมตตาเช่นนั้นย่อมถึงความวินาศ เรื่องเหล่านี้ย่อมเห็นประจักษ์อยู่ทั่วไป
    น่าเสียดายที่ไม่มีการจดบันทึกประวัติของพระมหาเถระองค์นี้ไว้ให้ลูกหลานรุ่นหลังได้ศึกษากัน
    มีข้อมูลอีกส่วนหนึ่ง เล่าไว้ดังนี้
    เมื่อตอนที่ท่านพนฺธุโล (ดี) ได้นำพระหลานชาย คือ ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) เข้าถวายตัวเป็นศิษย์ของพระองค์ท่าน รัชกาลที่ ๔เมื่อทรงผนวช และเป็นองค์อุปัชฌาย์
    พระองค์ท่านได้ใช้เทียนส่องดูหน้าท่านเทวธมฺมี เป็นเวลานาน พระองค์ท่านคงตรวจดูบุคลิกลักษณะ ซึ่งท่านเป็นพระหนุ่ม ร่างใหญ่ใบหน้าคมคาย เป็นที่สบอัธยาศัย
    พระองค์ตรัสว่า เออ ! ขรัวดี คนอย่างนี้ทำไมไม่เอามาเยอะๆ
    ท่านพนฺธุโล (ดี) กราบทูลว่า “หายากพระเจ้าข้า”
    ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) จึงได้เป็นศิษย์ หรือ สัทธิวิหาริกรุ่นแรกในพระองค์ท่านรัชกาลที่ ๔ เมื่อตอนเปลี่ยนญัตติกับคณะธรรมยุต พระองค์ท่านทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ต่างได้อยู่ศึกษาปริยัติธรรม ปฏิบัติสมาธิภาวนา และศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีในสำนักอุปัชฌาจารย์
    ๒๓
    วัดศรีทอง
    วัดศรีทอง หรือ วัดศรีอุบลรัตนาราม มีความสำคัญต่อหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล เพราะท่านเริ่มเข้าสู่คณะธรรมยุตโดยเข้ามารับการอบรมธรรม และทำญัตติกรรมเป็นพระธรรมยุตที่วัดนี้
    วัดศรีทอง สร้างโดย พระอุปฮาด (โท) ต้นตระกูล ณ อุบล ผู้เป็นบิดาของพระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล) กรมการเมืองอุบลราชธานี
    พระอุปฮาด (โท) ได้มีจิตศรัทธายกที่สวน เนื้อที่ ๓๐ ไร่เศษสร้างขึ้นเป็นวัด เมื่อปีเถาะ รัตนโกสินทร์ศก ๗๔ ตรงกับปี พ.ศ. ๒๓๙๘ เป็นปีที่ ๕ แห่งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
    หลังจากที่ ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) ได้รับอาราธนามาเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีทอง ก็ได้กลายเป็นวัดธรรมยุตวัดที่สองของภาคอิสาน
    ชื่อของวัดศรีทอง ตั้งตามนิมิตมงคลที่เห็นเป็นแสงสว่างกระจ่างไปทั่วบริเวณสวนแห่งนี้ในขณะที่ประกอบพิธีถวายที่ดินยกให้เป็นที่สร้างวัดในพระพุทธศาสนา
    หลังจากมาเป็นเจ้าอาวาสได้ ๒ ปี ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) ก็ได้สร้างพระอุโบสถขึ้น และผูกพัทธสีมาในปี พ.ศ. ๒๔๐๐ และได้ให้ ญาท่านสีทา ชยเสโน เป็นช่างดำเนินการสร้างหอพระแก้ว เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วบุษราคัม ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถในปัจจุบันนี้
    พระแก้วบุษราคัม องค์นี้ ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอุบลฯ มาแต่โบราณ เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ชาวเมืองอุบลราชธานีต่างพร้อมใจกันประกอบพิธีสมโภชเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ากราบนมัสการ และถวายน้ำสรงขอพร เป็นประจำทุกปี
    (หลวงปู่ใหญ่เสาร์ได้เล่าถึงความเป็นมาของพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์พระองค์นี้ ผมขอนำเสนอในตอนต่อไป)
    หลังจากวัดศรีทอง เป็นวัดธรรมยุตแล้วก็มีการขยายเพิ่มจำนวนวัดและภิกษุสามเณรมากขึ้นโดยลำดับ จนกระทั่งภาคอีสานมีวัดและพระเณรในคณะธรรมยุตมากกว่าทุกภาคในประเทศไทย
    <table id="table13" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td colspan="2">
    วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม)
    </td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    พระอุโบสถวัดศรีทอง
    </td> <td>
    พระประธาน
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๒๔
    พระแก้วบุษราคัม
    <table id="table14" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> พระแก้วบุษราคัม
    พระคู่บ้านคู่เมือง อุบลราชธานี
    ในอุโบสถวัดศรีอุบลรัตนาราม

    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ก่อนจะนำเสนอเรื่องราวของ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลโดยตรงผมขอนำเรื่องพระแก้วบุษราคัมพระศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดอุบลราชธานีตามที่หลวงปู่ใหญ่ ท่านเล่าให้ลูกศิษย์ฟัง นำมาให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบก่อน
    หลังจากท่านเทวธมฺมี (ม้าว) มาปกครองวัดศรีทองแล้ว ประชาชนได้หลั่งไหลไปฟังเทศน์ ปฏิบัติธรรม รับพระไตรสรณคมน์จากท่านเจ้าอาวาสจนแน่นขนัดทุกวัน
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้เล่าเรื่องมหัศจรรย์ที่วัดศรีทองให้ลูกศิษย์ฟัง และได้รับการถ่ายทอดต่อจากพระอาจารย์บัวพา ปญฺญาภาโส ศิษย์อุปัฏฐากใกล้ชิด ว่า ครั้งหนึ่งเวลาเย็น ซึ่งเป็นวันพระ ภายในอุโบสถวัดศรีทอง จะมีแสงขาวนวลสว่างไสวด้วยรัศมีขึ้นมาเอง และบอกว่า อาชญาท่านเทวธมฺมี เคยเล่าว่า เป็นเพราะเทวดามานมัสการบูชาพระแก้วบุษราคัม นั่นเอง
    พระแก้วบุษราคัม ศักดิ์สิทธิ์องค์นี้ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหรือปางชนะมาร ขนาดหน้าตัก ๓ นิ้ว ตามประวัติเล่าว่า มีพระกรรมฐานรูปหนึ่งเป็นผู้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดศรีทอง
    ตามประวัติบอกว่า พระธุดงค์กรรมฐาน รูปนี้ได้เที่ยวจาริกไปตามป่าเขาลำเนาไพร ท่านผ่านไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง สภาพเป็นภูเขาสูงเป็นหมู่บ้านข่า คือ พวกชาวข่า อาศัยอยู่
    พวกชาวป่าเป็นชาวป่าที่ห่างไกลจากความเจริญ แทบจะว่ามีความเป็นอยู่เยี่ยงมนุษย์ยุคหินจริงๆ ไม่มีเสื้อผ้า ปกปิดร่างกายด้วยใบไม้และหนังสัตว์
    พระธุดงค์รูปนั้นเข้าไปเพื่ออาศัยบิณฑบาต พอไปถึงหมู่บ้านท่านเห็นภาพที่ชวนให้เศร้าสลดมาก คือเห็นเด็กคนหนึ่งใช้เชือกผูกที่คอพระพุทธรูป แล้วลากเล่นอย่างสนุกสนานไปรอบๆ ลานบ้าน ด้วยไม่รู้ว่าเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญสูงสุดในพระพุทธศาสนา
    พระท่านตรงไปพูดจาขอสิ่งอันเป็นมงคลนั้นจากเด็ก เด็กไม่เคยเห็นพระมาก่อน จึงวิ่งหลบหาที่กำบังโดยทิ้งพระพุทธรูปไว้บนดิน
    พระท่านไปหยิบพระพุทธรูปตั้งขึ้น แล้วก้มลงกราบบนพื้นดิน ๓ หน ด้วยกิริยาที่แสดงความเคารพอย่างแท้จริง
    ทันใดนั้นมีผู้ชายชาวข่าสิบกว่าคนมือถืออาวุธ เข้ามารุมล้อมท่านด้วยกิริยาอาการที่พร้อมจะล่าเหยื่อ หรือต่อสู้กับศัตรู พวกเขามีทั้ง หน้าไม้ หลาว และหอก เตรียมพร้อมอย่างครบครัน
    พระท่านกำหนดจิตแผ่เมตตาไปยังพวกคนเหล่านั้น ทำหน้ายิ้มแย้มแสดงความเป็นมิตร พร้อมทั้งเปิดจีวรทำท่าแสดงให้รู้ว่าท่านไม่มีอาวุธ และไม่เป็นภัยต่อพวกเขา
    เมื่อพวกเขายอมรับรู้ว่าพระท่านไม่เป็นภัย จึงส่งสัญญาณขอให้ท่านตามพวกเขาไปทางหัวหน้าหมู่บ้าน เมื่อไปถึง พบว่าพวกชาวข่าเหล่านั้นให้ความเคารพและเกรงกลัวต่อหัวหน้าหมู่บ้านมาก
    หัวหน้าหมู่บ้านพอจะพูดกันรู้เรื่องดีกว่าพวกลูกบ้าน พระท่านเจรจาขอพระพุทธรูปที่เด็กลากเล่น
    หัวหน้าหมู่บ้านบอกว่าเขาให้ไม่ได้ กลัวผีจะโกรธเอา เพราะผีให้ของเล่นนั้นแก่เด็กมา ถ้าให้ไปเดี๋ยวผีจะโกรธและจะทำร้ายพวกเขา
    เขาเล่าต่อไปว่า พวกเขาได้วัตถุชิ้นนั้นมาจากในถ้ำซึ่งอยู่บนยอดเขาสูง พวกเขาเห็นเป็นของแปลก เมื่อถูกแดดจะส่องแสงเลื่อมพรายเป็นประกายสวยงาม ถ้าเอาวัตถุชิ้นนั้นไปไว้ในสวน หรือในที่ปลูกข้าว พวกนกกาไก่ป่าไม่กล้าลงกินพืชผลเป็นอันขาด แม้พวกสัตว์ใหญ่ก็ไม่กล้าเข้ามาในบริเวณนั้น และที่แปลกอีกอย่างคือ ในกลางคืนบางคืน จะส่องแสงเป็นประกายสว่างไสวขาวนวลมาก สีนวลสวยงามยิ่งกว่าพระจันทร์วันเพ็ญ พวกตนจึงเก็บเอาไว้ให้เด็กเล่น
    หลังจากการเจรจาเป็นเวลานาน หัวหน้าหมู่บ้านจึงใจอ่อนและยอมมอบพระพุทธรูปองค์นั้นให้แก่พระท่าน ท่านได้นำไปมอบให้เจ้าเมืองในนครเวียงจันทน์ แล้วถูกอัญเชิญไปประดิษฐานไว้คู่กับพระแก้วมรกต
    เมื่อครั้งที่ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ ครั้งดำรงตำแหน่งแม่ทัพเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ยกทัพไปตีนครเวียงจันทน์ แล้วได้อัญเชิญพระแก้วมรกต และพระแก้วบุษราคัม มายังกรุงเทพฯ และต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประทานพระแก้วบุษราคัมให้แก่อาชญาท่านเทวธมฺมี (ม้าว) ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกของพระองค์ท่าน ให้นำมาประดิษฐานไว้ที่จังหวัดอุบลราชธานีจึงได้มาประดิษฐานในพระอุโบสถวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) ตราบเท่าทุกวันนี้
    ทั้งหมดนี้สรุปมาจากบันทึกของท่านพระครูพิบูลธรรมภาณ (หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค) วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
    เรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของพระแก้วบุษราคัม มีต่อไปว่า
    ในปีหนึ่ง จังหวัดอุบลราชธานีเกิดภาวะวิปริตของดินฟ้าอากาศเกิดความแห้งแล้ง ฟ้าฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวนาชาวสวนไม่สามารถเพาะปลูกได้ บางทีถึงกับอดตายก็มี
    ชาวบ้านได้พากันมาปรึกษาอาชญาท่านเทวธมฺมี ขออาราธนาพระแก้วบุษราคัมออกแห่แหนรอบเมือง เพื่อทำพิธีขอฝนให้ชาวเมืองได้มีโอกาส ฮดสรงน้ำ โดยทั่วกัน
    ก่อนนี้ชาวบ้านได้เคยจัดการบวงสรวงและพิธีกรรมต่างๆ มาแล้วตามความเชื่อที่ถือกันมาแต่โบราณ นับตั้งแต่พิธีพราหมณ์ พ่อมดหมอผี การเซ่นสรวงบูชายัญต่างๆ นานา ก็ไม่เป็นผล
    เมื่อจัดพิธีอัญเชิญพระบุษราคัม แห่รอบเมือง ชาวบ้านร้านตลาดได้พากัน ฮดสรงน้ำอบน้ำหอม กันแล้ว ก็เกิดเหตุอัศจรรย์เกิดฝนตกชุ่มฉ่ำอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ยังความปลาบปลื้มยินดีและเลื่อมใสศรัทธาให้กับชาวอุบลราชธานี ต่างก็กล่าวขานถึงอภินิหารของพระแก้วบุษราคัมกันมาตั้งแต่นั้น
    พระแก้วบุษราคัมจึงเป็นพระมิ่งขวัญคู่บ้านคู่เมืองอุบลฯ นับตั้งแต่นั้นมาตราบเท่าปัจจุบัน ซึ่งทางวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) ได้จัดเป็นประเพณีแห่และสรงน้ำพระบุษราคัมเป็นประจำทุกปีในวันเพ็ญเดือน ๓ สืบต่อกันมามิเคยขาด
    ๒๕
    การสอนของท่านเทวธมฺมี (ม้าว)
    อาชญาท่านเทวธมฺมี (ม้าว) ได้ใช้วัดศรีทอง เป็นศูนย์กลางเผยแพร่พระธรรมคำสอนที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัยให้แก่พระภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา ตลอดจนประชาชนทั่วไป
    ดังนั้น ทั้งพระเณร และประชาชนจากที่ต่างๆ ต่างหลั่งไหลมาฟังเทศน์ ปฏิบัติธรรมฐาน ที่วัดศรีทอง กันอย่างเนืองแน่นเป็นประจำ
    พระธรรมเทศนาของท่านเทวธมฺมี แตกต่างจากการสอนที่มีอยู่ในขณะนั้น คือท่านสอนให้มีเหตุมีผล อย่าเชื่ออะไรโดยไม่พิจารณาด้วยปัญญา อย่าเชื่อโดยความหลงงมงาย หลงผิดในลัทธิประเพณีบางอย่างที่ขัดต่อหลักการของพระพุทธศาสนา
    ท่านสอนให้เลิกละประเพณีบางอย่างที่ขัดต่อคำสอน ให้ประพฤติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ได้แก่ การแสดงตนเข้าถึงพระไตรสรณคมน์กันใหม่ ให้ยืดเอาสามรัตนะ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันเกษม ที่จะนำพาให้พ้นทุกข์
    สอนให้เลิกละกินของดิบของดาย งดบริโภคเนื้อสัตว์ ๑๐ อย่างตามที่พระองค์ทรงห้าม ไม่กราบไหว้ศาลผีปู่ตา ให้เลิกการเซ่นไหว้บูชาถือผีถือสาง เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่ใช่สรณะที่พึ่งอันแท้จริง ไม่ช่วยให้คนพ้นทุกข์ได้ มันเป็นเพียงมายาหลอกให้เราหลงเชื่อ ให้งมงาย
    การบวงสรวงผีอาจช่วยด้านกำลังใจได้บ้าง ถ้าหากผีดีจริงมันจะไปเป็นเปรตเวทนา รอรับเครื่องเซ่นสรวงสังเวยบูชาของเราอยู่อย่างนั้นหรือ ถ้ามันดีจริง ทำไมจึงต้องเป็นอยู่อย่างอดอยากปากแห้งอยู่อย่างนั้น ทำไมไม่ไปเกิดไปขานกับเขาสักที
    เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะผีก็คือความชั่ว บุคคลเคยประกอบกรรมทำชั่วร้ายเอาไว้ เมื่อตายไปจึงไปเป็นผีตกนรกหมกไหม้ พอพ้นขึ้นมา ก็ยังกลายเป็นเปรตเวทนาอีก จนกว่าพวกมันจะหมดเวรหมดกรรมมีคุณงามความดีขึ้นมาใหม่ จึงจะได้กลับมาเกิดเป็นคนกับเขาได้อีก
    เมื่อความเป็นมาของผีเป็นอย่างนี้ พวกเรายังจะไปนับถือพวกที่เคยทำชั่วมาแล้วเช่นนั้นหรือ ดังนั้น ผู้ที่นับถือผี ก็คือผู้ที่นับถือผู้ที่ทำความชั่วนั่นเอง เมื่อตายไปต้องไปเป็นลูกน้องผี ไปอยู่กับผี คอยรอรับเครื่องสังเวยจากพวกมนุษย์
    เมื่อมนุษย์ไม่นำไปให้ก็ต้องอยู่อย่างอดๆ อยากๆ ความหิวกระหายกดดันบังคับ จนทำให้ต้องเข้าสิงกายมนุษย์ หรือต้อง “ซูน” ให้เจ็บให้ป่วยเพื่อขออาหาร ให้เขาสังเวยเซ่นสรวงไปให้กิน ต้องอดอยากปากแห้งอยู่อย่างนั้น จนกว่าจะได้ไปผุดไปเกิด
    ส่วนเราเป็นมนุษย์ผู้มีใจสูงแล้ว เพราะสามารถที่จะทำให้มรรคผลนิพพานให้เกิดให้มีขึ้นได้ แล้วคิดจะพากันมาหลงงมงายนับถือผีกันอยู่ทำไม
    พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ นำพาพวกเราสู่อารยธรรมแนวใหม่ที่พระองค์ท่านค้นพบ ที่สมบูรณ์ด้วยเหตุผล แล้วพวกเรายังจะพากันหูหนาตาเถื่อนอยู่อีกหรือ
    การนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คือการทำความดีด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อเราทำดี ตายไปก็จะไปสู่สิ่งที่ดีคือ สุคติ ไม่ต้องไปเกิดทนทุกข์ทรมานเป็นเปรตเวทนาต่อไป
    ท่านเทวธมฺมี ยังสอนต่อไปว่า เรื่อง กรรม นี้ คือพระญาณที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ในยามที่สอง ในจำนวนทั้งหมด ๔ ญาณ
    กรรม คือการกระทำประกอบด้วยเจตนา ความตั้งใจ จงใจ ไม่ว่าดีหรือชั่ว กรรมนั้นจะตามสนองผู้กระทำไม่ช้าก็เร็ว ไม่ชาตินี้ก็ชาติหน้า เพราะเรา มีกรรมเป็นของของตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
    ดังนั้น พวกที่ไปหลงในพิธีกรรมต่างๆ เช่น หักไม้ใส่มอ ดูหมอสังเวย เซ่นสรวงบูชา ถือฤกษ์งามยามดี วันจมวันฟู วันดีวันร้าย ถือผีถือสาง จึงเป็นลัทธิของคนโง่เขลา ไกลจากอารยธรรม ไกลจากแสงสว่างคือ พระธรรม เพราะเป็นการถือปฏิบัตินอกรีตนอกรอยของพระพุทธศาสนาไปแล้ว
    เมื่อเป็นเช่นนั้น อย่าหวังเลยว่า จะทำมรรคผล นิพพานให้บังเกิดขึ้นได้
    พวกเชื่อดวงชะตา หาว่าพระพรหมลิขิตขีดเส้นชีวิตให้เป็นไปจึงเป็นอารยธรรมของคนยุคหิน เพราะชีวิตของมนุษย์สัตว์โลกจะเป็นไปอย่างไรนั้น จะดีจะชั่ว จะสุขจะทุกข์ ก็ด้วยผลแห่งกรรมเท่านั้นที่ตามสนอง ทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต
    พระพุทธองค์ทรงเปรียบเทียบเวไนยสัตว์ เหมือนกับดอกบัวสี่เหล่า บุคคลที่หลงงมงายในสิ่งที่กล่าวมานี้คือเหล่าบัวที่ยังเป็นหน่อ จมปลักอยู่ในโคลนตม ไกลจากแสงสว่าง ไกลจากพระพุทธศาสนามาก
    เป็นผู้อยู่นอกศาสนา
    ศาสนา คือการปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ เท่านั้น แม้ตัวจะกราบไหว้ทุกวี่ทุกวันก็ตาม พอออกจากวัดไปก็ไปไหว้ผีไหว้เจ้า สังเวยบวงสรวงศาลพระภูมิ ไตรสรณคมน์ ก็ขาดแล้ว เศร้าหมองแล้วการเข้าวัดก็ไม่มีความหมายอะไร
    ท่านยังสอนต่อไปว่า เราแขวนพระ เราถือพระ ก็คือเราอาราธนาเอาคุณพระไตรสรณคมน์ หรือพระรัตนไตรมาไว้ในตัวเรา เพราะพระที่เราแขวนเราถือ ก็คือสัญลักษณ์คุณเครื่องของพระไตรสรณคมน์ เมื่อเราถือเอาพระไตรสรณคมน์ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ สรณะอันนั้นก็เต็มเปี่ยมอยู่ในตัวเรา
    บุคคลที่แขวนพระห้อยพระอยู่ในคออยู่ที่ตัว เมื่อพระไตรสรณคมน์ที่ท่านสถิตอยู่ในวัตถุมงคลเหล่านั้น พอมนุษย์ไม่มีความเชื่อถือ ยังจะน้อมเอาคุณอันอื่นที่ไม่เป็นแก่นสารเข้าไปอีก ทั้งกินเหล้าเมายา ประพฤติผิดศีลธรรม ท่านจะอยู่ต่อไปในวัตถุมงคลนั้นได้อย่างไร
    ในเมื่อท่าน ก็คือศีลธรรม ท่านก็เสด็จออกจากวัตถุ เหล็กทอง ปูน ดิน ว่าน เหลือเพียงเศษเหล็ก เศษทอง เศษปูน เศษดิน เศษว่านเท่านั้นเอง
    เมื่อปฏิบัติไม่ถูกต้องแล้ว จะให้ท่านคุ้มครองรักษาเราได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ยอมรับอยู่มิใช่หรือว่าพระเครื่อง เครื่องรางของขลังมีอยู่จริง ฯลฯ
    ภาค ๒ : บนทางเส้นใหม่
    ๒๖
    เข้าเป็นศิษย์ท่านเทวธมฺมี
    หลังจากที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ตัดสินใจจะขอบวชตลอดชีวิต และได้สละข้าวของเงินทองที่เคยสะสมมาจนหมดสิ้นแล้ว ท่านก็ได้พยายามคิดทบทวน ดูจิตดูใจของท่านเองว่า เราบวชเรียนมาก็มากกว่าสิบปีแล้ว จนสามารถท่องจำพระวินัยได้เกือบหมด แต่เหตุไฉนจิตใจของเราจึงยังมืดมนอนธกาลอย่างนี้หนอ ที่เราดำเนินมาตั้งแต่ต้นเห็นจะไม่ถูกทางแน่นอน เราจำเป็นจะต้องหาทางเดินเส้นใหม่
    หลวงปู่ใหญ่ พยายามมองหาผู้รู้เพื่อชี้แนะทางเดินที่ถูกต้อง ในสมัยนั้นได้ทราบข่าวว่า อาชญาเทวธมฺมี (ม้าว) ที่วัดศรีทอง เป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตรงต่อพระธรรมวินัย ตรงต่อมรรคผลนิพพาน
    เมื่อหลวงปู่ใหญ่พิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว ท่านจึงละทิ้งทิฎฐิความเป็น “ญาคู” ของท่าน มุ่งตรงไปยังวัดศรีทอง ที่พำนักของอาชญาท่านเทวธมฺมี ทันที เพื่อขอรับฟังธรรม
    เมื่อไปถึง อาชญาท่านได้เทศน์อบรมสั่งสอนให้ล้มเลิกการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย และที่ไม่ใช่หนทางของพระพุทธเจ้าที่ดำเนินมา เป็นต้นว่า การเซ่นสรวงบูชา พาเขาแต่งเสียเคราะห์เสียคาย ผูกดวง ดูดวง หาฤกษ์หายาม วันจมวันฟู เวลาดีเวลาร้าย เครื่องรางของขลัง คงกระพันชาตรี
    การกระทำเหล่านี้ นอกจากเป็นการกระทำนอกลู่นอกทาง ห่างไกลจากมรรคผลนิพพานแล้ว ยังเป็นการมอมเมาให้ประชาชนออกนอกรีตนอกรอยของพระพุทธศาสนาอย่างสิ้นเชิง
    นอกจากนี้แล้ว อาชญาท่าน ยังแนะนำให้เลิกละเครื่องเกี่ยวข้อในประเพณีบางอย่าง อันเป็นทางเครื่องติดโลกโลกีย์ เครื่องสั่งสมกิเลสให้พอกพูน ซึ่งพระสงฆ์ไม่ควรไปยุ่งเกี่ยว ได้แก่ การเล่นบั้งไฟ เล่นกลองแข่ง กลองเส็ง เล่นเรือแข่ง เป็นต้น
    ผู้ที่ต้องการเข้าถึงมรรคผลนิพพาน จะต้องเลิกลาสิ่งดังกล่าวข้างต้นโดยเด็ดขาด และหันเข้ามาประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่แท้จริง ได้แก่การเจริญศีล สมาธิ และปัญญา ให้เต็มรอบบริบูรณ์ซึ่งเป็นของที่ไม่วิปริตแปรผัน อันพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกได้พาดำเนินมาแล้วด้วยดี
    ท่านอาชญาเทวธมฺมี ได้สอนต่อไปว่า พระ คือผู้ประเสริฐผู้สละเพศจากคฤหัสถ์แล้ว จะต้องไม่เป็นผู้ขวนขวายเพื่อ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ เพราะอันนั้นมันคือเหล็กแดงของร้อนโดยแท้ นั้นเป็นเรื่องของฆราวาสญาติโยมเขาทำกัน
    พระเราจะต้องรู้ จะต้องทำความเข้าใจ ด้วยพระเราเป็นที่สักการะเป็นเนื้อนาบุญของโลก สมณะ คือผู้สงบ ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ความทนทุกข์ทรมาน ความเจ็บความตาย ความโศกเศร้าโศกาอาดูร
    ให้เบื่อหน่ายให้เห็นภัยในวัตถุเหล่านี้ พยายามทำให้สิ้นให้หมด อย่าไปยึดถือ แม้ยังไม่สิ้นไม่หมด ก็จะเป็นอุปนิสัยติดตามตนต่อไปในภายภาคหน้า
    การปฏิบัติของผู้เดินทางในเส้นทางศีล สมาธิ ปัญญา คือการปฏิบัติที่กาย วาจา ใจ ของเรานี้เอง เป็นหนทางของพระอริยเจ้า
    สาวกผู้ยึดมั่นในธุดงควัตร ๑๓ คือกุลบุตรของพระตถาคตโดยแท้
    ผู้พิจารณาไปนอกเหนือจากอริยสัจ คือผู้หลงทางเพราะมีดวงตาอันมืดบอด
    ท่านหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้พิจารณาตามคำสอนของอาชญาท่านเทวธมฺมี ก็เห็นจริงไปตามกระแสธรรมที่ท่านแสดง แล้วท่านรับมาลงมือปฎิบัติในทันที โดยไม่มีข้อสงสัยในคำสอนแต่อย่างใด
    ๒๗
    พาหมู่คณะเข้ารับการอบรมธรรม
    ในระยะแรกๆ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ไปรับฟังโอวาทธรรมจาก อาชญาท่านเทวธมฺมี เพียงองค์เดียว แล้วนำมาพิจารณาประพฤติปฏิบัติจนเห็นจริงตามกระแสธรรม ที่ได้สดับรับฟังมา และเริ่มต้นนั่งสมาธิภาวนา เดินจงกรม ตามวิธีการที่ได้รับมาอย่างจริงจัง ได้รับความสงบความเห็นใจและเห็นว่าเป็นแนวทางที่ตรงกับจริงของท่าน มีความมั่นใจในการปฏิบัติธรรมมากยิ่งขึ้น
    ต่อมาหลวงปู่ใหญ่ ได้ชักชวนสหธรรมิกที่ใกล้ชิด คือ หลวงปู่หนู ฐิตปญฺโญ (ภายหลังมีสมณศักดิ์ที่พระปัญญาพิศาลเถร เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ) และหมู่คณะที่พำนักอยู่วัดใต้ด้วยกันไปฟังเทศน์ที่วัดศรีทองด้วยเป็นจำนวนมาก
    หลังจากที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และพระภิกษุสามเณรได้รับการอบรมธรรมจากอาชญาท่านเทวธมฺมี แล้ว การประพฤติปฏิบัตินอกหนทางพระศาสนาที่เคยทำมาแบบเก่า ก็พากันเลิกหมด หันเข้ามาประพฤติปฏิบัติด้วยการเดินจงกรม ทำสมาธิภาวนา พยายามรักษาศีลให้บริสุทธิ์ เลิกการฉันเพล โดยฉันหนเดียวเป็นวัตร เป็นการปฏิบัติแนวใหม่เพื่อมุ่งตรงต่อนิพพานอย่างจริงจังมากขึ้น โดยที่ไม่เคยได้รับรู้ในเรื่องเหล่านี้มาก่อนเลย
    การประพฤติปฏิบัติตนใหม่ของหลวงปู่เสาร์และพรรคพวกนี้ ทำให้ญาติโยมและพระภิกษุบางพวกไม่พอใจ โดยเฉพาะเมื่อท่านเลิกเล่นหรือแข่ง (การแข่งเรือ) ทำให้ญาติโยมส่วนมากไม่พอใจ พากันนินทาว่าร้ายท่านต่างๆ นานา หาว่าท่านทำลายประเพณีที่ทำสืบทอดกันมานานโดยเฉพาะหรือแข่งของวัดใต้นั้นมีชื่อเสียงมาก
    เสียงนินทาว่าร้ายต่างๆ มีมากระทบท่านมากมาย แต่หลวงปู่ใหญ่ท่านก็เฉยเสีย ไม่ปริปากโต้ตอบใดๆ ทั้งสิ้น แต่ท่านก็ไม่ได้ขัดขวางการกระทำของคนอื่น แต่จะให้ลงมาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงพาพระเณรและประชาชนลงแข่งเรือในนามของวัดนั้น ท่านไม่ขอยุ่งเกี่ยวด้วย
    เมื่อเห็นหลวงปู่ใหญ่ เดินจงกรม นั่งสมาธิอย่างเอาจริงเอาจัง ก็โดนเพื่อนพระด้วยกัน แม้กระทั่งพระผู้ใหญ่บางท่าน ต่างพูดเยาะเย้ยเลยใส่ท่านว่า “ถ้าญาคูเสาร์ไปสวรรค์นิพพานจริงๆ ก็ขอห้อยขอแขวนหางด้วยเด้อ”
    โดยนัยแห่งคำพูด ก็หมายถึงว่าถ้าหาก หมา สามารถไปนิพพานได้ ก็จะขอเกาะหางตามไปด้วย
    แทนที่หลวงปู่ใหญ่จะโกรธ ท่านกลับนิ่งเฉย ทำให้เห็นว่าคำพูดเหล่านั้นไม่มีความหมายใดๆ สำหรับท่าน ท่านเพียงพูดว่า “เขามีปากให้เขาพูดไป สิ่งเหล่านี้ใครทำใครได้”
    จากปฏิปทาของท่านจะแสดงให้เห็นถึงความอดทนอย่างยอดเยี่ยมตลอดชีวิตของท่าน ไม่ว่าจะต่อสู้กับสภาพความทุกข์ลำบากในป่าเขาลำเนาไพร การต่อสู้กับกิเลสต่างๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกๆ ต้องต่อสู้กับปากคน และการขัดขวางของคนที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งท่านสามารถเอาชนะอุปสรรคทุกอย่างด้วยความอดทนและความสงบเย็นของท่าน
    ๒๘
    ญัตติกรรมเป็นพระธรรมยุต
    แม้การปฏิบัติธรรมในแนวใหม่ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลจะได้รับความสงบเย็นและก้าวหน้าไปด้วยดี แต่ก็ยังมีอุปสรรคขวางกั้นทำให้ไม่มีความสะดวกเท่าที่ควร ทั้งนี้เพราะเป็นพระในสังกัดคนละนิกาย
    ถึงแม้อาชญาท่านเทวธมฺมี จะยอมรับหลวงปู่ใหญ่ เป็นศิษย์และให้การอบรมสั่งสอนอย่างเต็มที่ก็ตาม เนื่องจากสังกัดคนละนิกาย จึงไม่สามารถเข้าอุโบสถร่วมสังฆกรรมกันได้ นอกจากนี้ก็ไม่สามารถไปหยิบจับหรือแตะต้องของใช้ของฉันของท่านได้ ถ้าถูกต้องแล้วจะต้องประเคน (ถวาย) ใหม่เหมือนกับฆราวาสทั่วไป
    อุปสรรคที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การพูดจาว่าร้ายและการขัดขวางจากพระในสังกัดนิกายเดิมของท่าน ที่บรรดาพระเหล่านั้นไม่เห็นด้วยกับการฉันหนเดียว การฉันในบาตร รวมทั้งการมือไวปากไวของพระเณรทั้งหลาย ที่เคยชินมาแต่เดิม ต้องมีการพลั้งเผลอบ่อยๆ เพราะขาดการสำรวมระวังอย่างจริงจัง ทำให้ต้องล่วงละเมิดวินัยของพระอยู่เสมอๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่มีอะไรที่มาเป็นกรอบบังคับ ทำให้ความเกียจคร้านเข้ามาครอบงำ ไม่สามารถประกอบความเพียรอย่างเต็มที่ได้
    พระที่ไม่เห็นด้วยต่างพากันเป็นปรปักษ์กับท่าน แทนที่จะพากันเป็นปรปักษ์ศัตรูคู่อาฆาตกับกิเลสที่อยู่ในใจของตน ซึ่งถือเป็นงานหลักของนักบวชในพระพุทธศาสนา
    ด้วยอุปสรรคทั้งหลายทั้งปวง ในที่สุด หลวงปู่ใหญ่และพระเณรในวัดใต้ ทั้งหมดได้พร้อมใจกันเข้าญัตติกรรมเป็นพระธรรมยุตกันทั้งวัด เป็นการบวชครั้งที่ ๒ ณ อุโบสถวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) โดยมีพระครูทา โชติปาโล เป็นพระอุปัชฌาย์ และเจ้าอธิการสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    ด้วยเหตุนี้ วัดใต้ จึงได้กลายเป็นวัดธรรมยุตตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
    <table id="table15" border="0" width="122"><tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    พระอาจารย์สีทา ชยเสโน
    </td> <td>
    พระปัญญาพิศาลเถร
    พระอาจารย์หนู ฐิตปญฺโญ)
    </td></tr></tbody></table>
     
  6. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ชาติภูมิ
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล เป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี โดยกำเนิด
    ตามบันทึกของพระครูพิบูลธรรมภาณ (หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค) วัดภูเขาแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี บันทึกไว้ดังนี้
    “ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ถือกำเนิดเมื่อวันจันทร์ เดือนสิบสอง ปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๒ ที่บ้านข่าโคม ตำบลหนองช้าง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่อำเภอเขื่องใน”
    ในงานสมโภชเจดีย์พิพิธภัณฑ์ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๔๖ ที่วัดดอนธาตุ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ผม (ปฐม นิคมานนท์) ได้รับหนังสือที่ระลึก ๓ เล่ม ซึ่งแต่ละเล่มล้วนมีคุณค่าที่ประเมินราคาไม่ได้ทั้งนั้น
    เป็นที่น่าสังเกต (ตามประสาคนชอบจับผิดผู้อื่น) ว่า ข้อมูลเกี่ยวกับปี พ.ศ.เกิด กับสถานที่เกิดของหลวงปู่ไม่ตรงกัน ดังนี้.-
    หนังสือเล่มที่หนึ่ง เขียนโดยอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ จัดพิมพ์โดย ชุมรมพุทธศาสน์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้เขียนถึงปีและสถานที่เกิดของหลวงปู่ ๓ ที่ ล้วนไม่ตรงกัน ดังนี้ -
    ๑. หน้าเปิดปก หรือ คำนำ เขียนว่า “ท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ ชาติภูมิของท่านเป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี ชาตะเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓ มรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕”
    ๒ ในเนื้อเรื่อง หน้า ๑ หัวข้อชาติภูมิ เขียนค่อนข้างยาวว่า “ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ถือกำเนิดเมื่อวันจันทร์ เดือนสิบสอง ปีระกา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔ (ตามบันทึกของท่านพระครูพิบูลธรรมภาณ วัดภูเขาแก้ว) หรือวันจันทร์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือนยี่ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๔ (ตามหนังสือที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพพระอาจารย์เสาร์ฯ โดย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สังฆนายก) ที่บ้านข่าโคม (ชื่อเดิม “บ้านท่าโคมคำ”) ต.หนองขอน อ.เมืองอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือ ต.ปะอาว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี)”
    ในข้อนี้แปลกตรงที่ท่านยืนยันปีเกิดของหลวงปู่ เป็นปี ๒๔๐๔ ถึง ๒ แห่งติดกัน และก็อ้างบันทึกของพระครูพิบูลธรรมภาณ ด้วย บันทึกที่ว่านี้หลวงพ่อ ท่านมอบให้ผม ยังอยู่กับผม หลวงพ่อก็บันทึกว่าปี ๒๔๐๒ ตามที่ผมคัดลอกมาเสนอตั้งแต่ต้นนี้แหละ
    ส่วนเดือนเกิดตามระบบจันทรคติ ในหนังสือเล่มดังกล่าวก็บอกไว้สองอย่างคือ “เดือนสิบสอง ปีระกา” กับ “เดือนยี่ ปีระกา” แล้วท่านก็บอกต่อไปว่า “ตรงกับวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๔ ผมว่าถ้าเราเอาเดือนพฤศจิกายน เป็นตัวตั้ง ก็น่าจะใกล้กับเดือนสิบสอง มากกว่า ส่วน เดือนยี่ น่าจะเป็นเดือนมกราคม โดยประมาณ ซึ่งห่างกันตั้ง ๓ เดือน
    ประเด็นนี้ขอทิ้งไว้ให้ท่านที่มีปฏิทินย้อนหลังมากกว่า ๑๐๐ ปี ได้กรุณาช่วยสอบทานด้วยก็แล้วกัน
    ๓. ในแผ่นพับเชิญชวนรวมบริจาคสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์ฯ ที่แนบมากับหนังสือเล่มเดียวกันนี้ ระบุวันเกิดของหลวงปู่ว่า “หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๒ ที่บ้านข่าโคม ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี”
    สรุป ในหนังสือเล่มเดียวกันนี้ ระบุปีเกิดของหลวงปู่ใหญ่ เป็น ๓ ปี คือ ๒๔๐๒, ๒๔๐๓ และ ๒๔๐๔ และน่าเสียดายที่ผมขาดความสังเกตไป ไม่ทราบว่าภายในเจดีย์ของหลวงปู่ จะมีการจารึกปีเกิดของท่านไว้หรือไม่ กราบท่านผู้สร้างเจดีย์โปรดช่วยตรวจสอบความถูกต้องด้วยครับ
    หนังสือเล่มที่สอง เป็นหนังสือที่ยิ่งใหญ่และสวยงามมากใครได้รับก็ต้องปลื้มใจเป็นที่สุด ชื่อหนังสือ พระปรมาจารย์สายพระกัมมัฏฐาน ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตลีลเถร” ไม่ระบุชื่อผู้เขียน แต่ระบุเจ้าของลิขสิทธิ์ คือ คุณสุกัญญา มกุฏอรดี ศูนย์บริการสื่อการศึกษา สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขียนไว้ว่า
    “ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตลีลเถร เป็นพระปรมาจารย์สายวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านเกิดวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๓ ที่บ้านข่าโคม ตำบลปะอ่าว (หนองขอน) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี...”
    เล่มนี้ระบุปี พ.ศ. ๒๔๐๓ และระบุ ตำบลว่า “ปะอ่าว” อันนี้รับรองว่าไม่ใช่ ชื่อ “ตำบลปะอาว” เขาดังมากในเรื่องเครื่องทองเหลือง
    หนังสือเล่มที่สาม เล่มเล็กกะทัดรัด เนื้อหาสาระมาก ชื่อ “เจดีย์พิพิธภัณฑ์ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล” ไม่ระบุชื่อผู้เขียน อยากจะขอบพระคุณก็ไม่รู้จะขอบพระคุณไปที่ไหน หนังสือเล่มนี้ระบุวันและสถานที่เกิดของหลวงปู่ ๓ ที่ ดังนี้
    - ที่คำนำ หน้า (๑) : “ท่านเกิดที่บ้านข่าโคม ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๒...”
    - ในเนื้อเรื่องหน้า ๑๕ : เกิด วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๒ ที่บ้านข่าโคม ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี”
    - ในหน้า ๓๙ เป็นคำบอกเล่าจาก หลวงปู่หลุย จนทสาโร : “ท่านเกิดที่บ้านข่าโคม อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๒”
    ในเล่มนี้ วันเกิดตรงกัน ต่างกันที่อำเภอเกิด...?
    ต้องกราบขออภัยท่านผู้อ่าน ที่ผู้เขียนจู้จี้กับเรื่องเหล่านี้ซึ่งบางท่านอาจเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่เพื่อความรอบคอบผมขอเสนอดังนี้
    ๑. ขอให้ท่านผู้สร้างเจดีย์และพิพิธภัณฑ์ให้เราได้ทราบไหว้ กรุณาสอบทานวันเดือนปีเกิดของหลวงปู่ ทั้งทางสุริยคติ และจันทรคติให้แน่ชัด อย่างน้อยต้องลงกันให้ได้
    ๒. เรื่องตำบล และอำเภอเกิด ว่าในปัจจุบันอยู่ในตำบลอะไร และอำเภออะไรกันแน่ อันนี้ผมขอทิ้งไว้ให้ท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติกับพี่น้องชาวอุบลฯ ช่วยตรวจสอบก็แล้วกัน
    กราบขออภัยท่านผู้อ่านอีกที เรากลับมาเรื่อง ชาติภูมิ ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ต่อ -
    เกี่ยวกับนามสกุลของหลวงปู่ ท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติเขียนว่า “นามสกุลสมัยนั้นยังไม่มี ภายหลังมีญาติสืบสายกันมาในตระกูล อุปวัน และ พันธ์โสรี
    หมายความว่า ลูก - หลาน หลวงปู่ รุ่นต่อๆ มาได้ใช้สองนามสกุลนี้ ส่วนในบันทึกของ พระครูพิบูลธรรมภาณ (หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค) เขียนไว้ว่า เชื่อเดิม ชื่อ เสาร์ นามสกุล พันธ์สุรี บิดาชื่อ ทา มารดาชื่อ โม่
    หลวงปู่ มีพี่น้อง ๕ คน คือ
    ๑. หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล
    ๒. นางสาวแบ (ครองโสดตลอดชีวิต)
    ๓. แม่ดี
    ๔. แม่บุญ
    ๕. พ่อทิดพา อุปวัน
    เรื่องชาติภูมิของท่าน หาข้อมูลได้เพียงเท่านี้
    ชีวิตในวัยเด็ก
    เรื่องราวชีวิตในวัยเด็กของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ไม่มีการจดบันทึกไว้ แต่ผู้เขียนเชื่อว่าท่านคงใช้ชีวิตเยี่ยงเด็กท้องไร่ท้องนาทั่วไป คือช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนาไปตามกำลัง โดยเฉพาะท่านเป็นบุตรชายคนโต น่าจะเป็นแรงงานที่สำคัญของครอบครัวมาตั้งแต่เด็ก
    ในบันทึกของ ท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ กล่าวถึงบุคลิกของหลวงปู่ใหญ่ ในวัยเด็กว่า “ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล มีรูปร่างสูงใหญ่ หน้าตา ผิวพรรณดีมาก”
    และบันทึกของ หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค มีดังนี้
    “มีความพึงพอใจ ศรัทธาเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ด้วยมองเห็นสีแห่งผ้ากาสาวพัสตร์เป็นสีแห่งความงามและสงบสุข เห็นสมณะเป็นเพศที่สูงส่ง เปี่ยมด้วยความเมตตากรุณา ไม่เบียดเบียนชีวิตของเพื่อนสัตว์โลกผู้ร่วมเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน”
    รวมความว่า หลวงปู่ใหญ่ เป็นเด็กชายที่หน้าตาดี รูปร่างสูงใหญ่ ใฝ่ทางศีลธรรม และสนใจบวชเรียนในพระศาสนามาตั้งแต่เด็ก
    ในสมัยของหลวงปู่ใหญ่ ยังไม่มีโรงเรียน เพราะโรงเรียนอย่างในปัจจุบันเริ่มมีขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ นี้เอง
    ในบันทึกของหลวงพ่อโชติ บรรยายว่า “กอปรกับการศึกษาสมัยก่อนยังไม่เจริญ กุลบุตรผู้มีความสนใจใคร่ศึกษา ต้องการเรียนรู้อ่านออกเขียนได้ ไม่เป็นคนโง่เง่าเต่าตุ่น หูป่าตาเถื่อน จะต้องอาศัยวัดเป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้
    ข้าราชการสมัยนั้น ส่วนมากไปจากผู้ผ่านการบวชเรียนหรือผู้ที่สอบได้นักธรรม และมหาเปรียญมาก่อน..
    บันทึกของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ในเรื่องเดียวกันนี้ว่า “สำนักศึกษาในสมัยก่อนคือวัด ถือว่าวัดเป็นแหล่งรวมความรู้ เป็นที่ประสิทธิ์ประสาทวิทยาการด้านต่างๆ และเป็นแหล่งเนื้อนาบุญ เป็นที่อยู่ของคนดี คนมีบุญ
    พ่อแม่ผู้ปกครองในสมัยนั้น จึงนิยมส่งบุตร - หลานอันเป็นที่รักของตนให้เข้าวัดและบวชเรียน เพื่อที่ว่าจะได้เป็น คนสุก ลบเสียซึ่งคราบของคนดิบ และยังเป็น ญาคู - ผู้รู้ เป็นมหาเปรียญ - ผู้ปราดเปรื่อง หรือสึกออกมาเป็น ทิด เป็น นักปราชญ์ มีความรู้รับราชการ ได้เป็นเจ้าเป็นนาย ต่อไป
    ด้วยเหตุนี้หลวงปู่ใหญ่ ของเราจึงได้ใฝ่ฝันที่จะบวชเรียนตั้งแต่ยังเด็ก ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจของเด็กหนุ่มผู้ใฝ่ในทางดีตามยุคสมัยในเวลานั้น
    อุบลเมืองนักปราชญ์
    เมืองอุบลในอดีต ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในดินแดนภาคอิสาน เด็กหนุ่มผู้สนใจศึกษาหาความรู้จากที่ต่างๆ จึงหลั่งไหลไปที่เมืองอุบลฯ เมื่อครั้งกระโน้น
    บันทึกของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ เขียนไว้ว่า “อุบลราชธานีในอดีตจึงเป็นแดน ตักกสิลา - เป็นเมืองศูนย์กลางการศึกษาของภาคอิสาน มีวัดวาอารามสวยงามตระการตา แพรวพราว หลากหลายเต็มไปหมดทุกแห่งแหล่งถนนในตัวเมืองอุบล ก่อให้เกิดพระเถรานุเถระพระอุปัชฌายาจารย์ นักปราชญ์ราชบัณฑิต อย่างมากมาย...”
    บันทึกของหลวงพ่อโชติ เขียนว่า “จังหวัดอุบลราชธานีเป็นแดนแห่งนักปราชญ์ราชบัณฑิตอันยิ่งใหญ่” และอีกตอนหนึ่งว่า “อุบลราชธานีในอดีต จึงเป็นแดนของนักปราชญ์ทางศาสนามากมาย”
    ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ได้กล่าวคำเปรียบเทียบคล้องจองว่า
    อุบลเมืองนักปราชญ์ โคราชเมืองนักมวย เชียงใหม่เมืองคนบุญ ลำพูนเมืองคนสวย”
    (ผมขออนุญาตต่อเติมอีกว่า คนร่ำรวยอยู่ที่เมืองพอ แล้วท่านจะว่าอย่างไรครับ?)
    หลวงพ่อโชติ เขียนถึงค่านิยมของคนเมืองอุบลว่า “เกิดเป็นชายต้องบวช จะต้องให้เกลี้ยงให้หล่อน (หมดจด) ดังนั้น ไม่ว่าไปทางไหนของเมืองอุบลจึงตระการแพรวพราวไปด้วยวัดวาอาราม มีภิกษุสามเณรในพุทธศาสนาอย่างมากมาย เป็นค่านิยมของสังคมในสมัยนั้น”
    หลวงพ่อโชติ ได้เขียนถึงสภาพภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ของเมืองอุบลฯ อย่างย่นย่อไว้ดังนี้ -
    “อุบลราชธานีเป็นเมืองชายแดน มีแม่น้ำมูล แม่น้ำชี ไหลผ่าน อันเปรียบเสมือนสายธารแห่งน้ำใจของชาวอุบลฯ ที่สดชื่นไหลเอื่อยอยู่ชั่วน้ำตาปี...
    อุบลราชธานี แต่เดิมเรียก ดงอู่ผึ้ง และ ดอนมดแดงเป็นเมืองที่พระวอ พระตา สองพี่น้องเชื้อสายจ้าวลาวหนีศึกมาจากนครเวียงจันทน์
    ครั้งแรก พระวอ พระตา ได้พาสมัครพรรคพวกหนีข้ามโขงมาตั้งรกรากอยู่ที่ หนองบัว หรือ หนองบัวลำภู ในปัจจุบัน แต่ถูกเจ้าศิริบุญสาร ทางฝั่งลาวติดตามรังควาญอีก จึงได้พากันอพยพหลบหนีลงไปทางใต้เรื่อยๆ จนไปปักหลักลงที่ ดงอู่ผึ้ง ข้างห้วยแจละแม และที่ดอนมดแดง แก่งส้มป่อย
    ขุนทหารแม่ทัพของพระวอ พระตา ที่ติดตามมาด้วย ได้แก่ท่านขุนน้อย กับ ท่านขุนใหญ่ ได้ไปพักอยู่ที่บ้านทุ่งขุนน้อย บ้านทุ่งขุนใหญ่ ในปัจจุบัน เป็นทัพคอยรักษาด้านหน้าไว้
    พระวอ พระตา ยังมีความประทับใจอยู่กับหนองบัวลำภู แหล่งแรกที่อพยพมา เมื่อมาถึงที่ใหม่ ปักหลักได้มั่นคงแล้วจึงได้ขุดหนองน้ำขนาดใหญ่แล้วปลูกดอกบัวขึ้น เรียกว่าหนองบัว อยู่ตรงค่าย ตชด. กม. ๓ (ผมเองก็ไม่ทราบว่าอยู่ตรงไหน) ในปัจจุบันนี้เอง
    แล้วได้ตั้งชื่อเมืองใหม่ตรงริมฝั่งแม่น้ำมูลแห่งนั้นว่า เมืองอุบลแปลว่า เมืองดอกบัว เพื่อเตือนความทรงจำถึงหนองบัวลำภู แห่งแรกที่ท่านอพยพมาอยู่ในประเทศไทย...
    หลวงพ่อ ท่านสรุปประวัติเมืองอุบลฯ ว่า ทีนี้คือตำนานเก่าแก่ของเมืองอุบลฯ ที่คนเฒ่าเก่าแก่พื้นเมืองเล่าสืบต่อกันมา
    นอกจากนี้ หลวงพ่อ ยังเขียนถึง ประเพณีการลงข่วงในคืนเดือนเพ็ญ ที่ผู้ใหญ่เปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้ทำความรู้จักและเกี้ยวพาราสีกัน อ่านแล้วอยากจะกลับไปเป็นหนุ่ม - สาวอีกสักครั้ง คงจะดีไม่น้อย
    ท่านที่สนใจประเพณีดีงามอย่างนี้ คงต้องไปค้นหาอ่านเอาเองก็แล้วกัน ถ้ามาเขียนลงตรงนี้ เกรงจะพาพวกท่านเตลิดเปิดเปิงกลับไปสู่อดีต กลายเป็นหนุ่ม - สาวกันหมด ขัดกับคำสอนของพระที่ว่า “ให้อยู่กับปัจจุบัน”
    <table id="table5" align="right" border="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> พระครูพิบูลธรรมภาณ
    (หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค)
    วัดภูเขาแก้ว อ พิบูลมังสาหาร
    จ อุบลราชธานี ผู้เมตตามอบบันทึก
    ประวัติหลวงปู่ใหญ่ ให้ผู้เขียนได้ใช้
    ในการเขียนหนังสือครั้งนี้

    </td> </tr> </tbody></table> ​
    บรรพชาเป็นสามเณร
    ด้วยเหตุที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล มีจิตโน้มเอียงไปทางด้านการบวชเรียนมาตั้งแต่เด็ก พออายุได้ ๑๒ ปี บิดามารดาจึงได้นำท่านไปฝากเป็นศิษย์วัด เพื่อเตรียมตัวรอบวชเป็นสามเณร ณ วัดใต้ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีพระอาจารย์บุญศรี เป็นเจ้าอาวาส
    หลวงปู่ใหญ่ ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๕ ปี ณ วัดใต้ แห่งนี้ ซึ่งเป็นวัดในสังกัดมหานิกาย
    ในบันทึกของหลวงพ่อโชติ กล่าวถึงการเป็นสามเณรของหลวงปู่ใหญ่ ว่า “ด้วยความมุ่งมั่นในพระพุทธศาสนา ท่านเป็นคนพูดจริงทำจริง ไม่เหลาะแหละเหลวไหล เป็นผู้ไม่นิ่งนอนใจ เมื่อบรรพชาเป็นสามเณร ท่านมีความอุตสาหะขยันขันแข็ง ตั้งใจทำกิจการงานของวัด ทั้งการท่องบ่นสาธยายมนต์ เรียนมูลน้อย มูลใหญ่ มูลกัจจายน์ ศึกษาทั้งการอ่านการเขียนอักษรไทยน้อย ไทยใหญ่ และอักษรขอม จนชำนาญคล่องแคล่วทุกอย่าง”
    บันทึกของหลวงพ่อโชติ มีต่อไปว่า -
    “ท่านอาจารย์เคยเล่าประวัติชีวิตครั้งเป็นสามเณรให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังเสมอ ซึ่งแสดงถึงความวิริยะอุตสาหะ และการปฏิบัติครูอาจารย์ของท่านว่า
    สมัยนั้นท่านเป็นสามเณรใหญ่ ถ้ามีกิจนิมนต์พระไปฉันนอกวัดแล้ว ท่านจะต้องเป็นคนพิเศษได้ติดตามครูอาจารย์ไปด้วยเสมอ เพราะท่านเป็นเณรใหญ่ ที่ครูบาอาจารย์รัก และไว้เนื้อเชื่อใจมาก ไปไหนจะต้องเอาท่านไปด้วยเสมอ เพื่อคอยปฏิบัติรับใช้ครูอาจารย์
    กิจการของครูอาจารย์ทุกอย่าง ท่านจะรับทั้งหมดโดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากลำบากใจใดๆ ทั้งสิ้น เป็นต้นว่าบาตรของพระทุกองค์ ท่านจะรับภาระคนเดียว สะพายที่คอแล้วห้อยไว้ทั้งหน้าทั้งหลังจนรอบตัว
    ท่านผู้อ่านคงจะนึกภาพออก คือสามเณรคนเดียวหอบหิ้วบาตรตั้ง ๖ ลูก พร้อมทั้งถือกล้วยอ้อยที่ชาวบ้านเขาถวายมา อันเป็นประเพณีของชาวอิสาน
    ท่านเล่าว่าในสมัยเป็นสามเณร ท่านฉันอาหารได้มาก เมื่อไปฉันตามบ้าน ญาติโยมจะคอยตักเติมอาหารให้ท่านบ่อยๆ เขาเติมมากเท่าไรท่านก็ยิ่งฉันเพื่อฉลองศรัทธาเขาได้มากเท่านั้น จนชาวบ้านสงสัยว่าท่านฉันได้เยอะอย่างนี้แล้วท่านเอาไปเก็บไว้ที่ไหนกัน
    แต่ชาวบ้านก็ดีใจที่เห็นเณรฉันได้มาก อามิสทานของพวกเขาได้รับการบริโภคอย่างเอร็ดอร่อย
    นี่คือเรื่องราวบางส่วนในสมัยที่ท่านเป็นสามเณร
    เมื่อหลวงปู่ใหญ่ อายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ และพำนักอยู่ที่วัดใต้เรื่อยมาจนถึงพรรษา ๑๐ ได้ศึกษาเล่าเรียนจนได้เป็น “ญาคู” คือเป็นครูสอนหมู่คณะสืบต่อมา
    ชาวบ้านทั่วไปเรียกท่านว่า ญาคูเสาร์
    ท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับสมณศักดิ์ของพระภิกษุในสมัยก่อน ดังนี้
    ๑. ธรรมเนียมการจัดสมณศักดิ์ของวัฒนธรรมล้านช้างแบ่งออกเป็น ๘ ขั้น (จากต่ำไปสูง) คือ สำเร็จ ซา คู ฝ่าย ด้าน หลักคำ ลูกแก้ว ยอดแก้ว
    ๒ ธรรมเนียมการจัดสมณศักดิ์ของหัวเมืองอิสานโบราณแบ่งออกเป็น ๖ ขั้น คือ สำเร็จ ซา คู ฝ่าย ด้าน หลักคำ ส่วนสมณศักดิ์ขั้นลูกแก้ว กับ ยอดแก้ว นั้น ไม่มีในหัวเมืองอิสาน เพราะเป็นสมณศักดิ์เทียบเท่าชั้น รองสังฆราชา และ สังฆราชา
    ๓. สมณศักดิ์ฝ่ายปริยัติ เป็นครูอาจารย์ ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาการ ได้แก่ สำเร็จ ซา และ คู
    ๔. สมณศักดิ์ฝ่ายปกครอง ได้แก่ ฝ่าย - ปกครองในหมวด, ด้าน - ปกครองในแขวง และ หลักคำ - ประมุขสงฆ์
    ทั้ง ๔ ข้อที่กล่าวมาเป็นคำอธิบายจาก “ทำเนียบสมณศักดิ์ของชาวเมืองเวียงจันทน์โบราณ” โดย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน)
    ก็คัดลอกมาให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบ เป็นการประเทืองความรู้ซึ่งผมก็ไม่สามารถอธิบายขยายความไปอีกได้
    เคยได้ยินชื่อพระที่มีชื่อเสียงของฝั่งลาวในอดีต ซึ่งมีเรื่องราวที่น่าสนใจมาก คือ ท่าน สำเร็จลุน ไม่ใช่ “สมเด็จ” อย่างที่หนังสือหลายเล่มเขียนถึงนะครับ
    ๑๐
    วัดใต้
    เมื่อหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล บวชเป็นพระแล้ว ท่านได้พำนักอยู่ที่วัดใต้นี้ถึง ๑๐ พรรษา ชีวิตบรรพชิตของหลวงปู่ใหญ่ จึงเริ่มต้นที่วัดแห่งนี้
    ผมขออนุญาตคัดลอกข้อเขียนของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติเกี่ยวกับเรื่อง วัดใต้ มาเสนอดังนี้ :-
    วัดใต้หรือวัดใต้เทิง เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนที่สูงริมฝั่งแม่น้ำมูลตอนใต้ ทางทิศตะวันออกของเมืองอุบลราชธานี เป็นบริเวณแถบที่อยู่ทางท้ายเมือง แล้วไปบรรจบกับแม่น้ำโขงที่ตะวันออกสุดของประเทศไทยที่อำเภอโขงเจียม
    ตามประวัติวัดในเมืองอุบลราชธานีมีว่า วัดใต้เทิงนี้ ญาท่านบุญศรี เป็นผู้สร้าง เมื่อ จ.ศ.๑๑๗๖ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๗๗ โดยครั้งนั้นเป็นวัดในคณะมหานิกาย
    เดิมทีนั้นที่ริมฝั่งแม่น้ำมูลที่ลาดลงไปจนจรดแม่น้ำมูลนั่นเป็นที่ตั้งของวัดใต้ เช่นกัน เรียกขานกันว่า วัดใต้ท่า เดิมพระมหาราชครูเจ้าท่านหอแก้ว ผู้เป็น หลักคำเมืองอุบล (ตำแหน่งประมุขสงฆ์เดิมของทางอิสาน) หลบไปนั่งกรรมฐานที่ป่าบริเวณนี้ ครั้นมีพระสงฆ์ตามไปอยู่ปฏิบัติมากขึ้นจึงได้สร้างเพิ่มขึ้นเป็นวัด เรียกว่า วัดใต้ท่า ต่อมาถูกยุบร้างไปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙
    ... ฯลฯ...
    ในหนังสือประวัติวัดใต้ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๙ กล่าวว่า
    “เดิมทีนั้นวัดใต้ มีอยู่ ๒ วัด คือ วัดใต้ท่า กับ วัดใต้เทิง เพราะเหตุที่วัดทั้งสองนั้นอยู่ติดกัน ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ซึ่งเป็นผู้ปกครองสังฆมณฑลในสมัยนั้น จึงได้ยุบวัดใต้ท่าที่ร้างไป ให้รวมกับวัดใต้เทิง กลายเป็นวัดใต้วัดเดียวในปัจจุบัน แล้วโอนมอบที่ดินวัดใต้ท่าให้เป็นศาสนาสมบัติกลางในกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
    ต่อมาที่ดินบริเวณนั้นก็ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างเป็นสำนักงานไฟฟ้าบริษัทส่วนบุคคล ทำการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง...
    บันทึกของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ได้อ้างถึงคำกล่าวของคุณตาบำเพ็ญ ณ อุบล ว่า
    “วัดใต้นี้ มี ๒ วัด คือ วัดใต้ท่า และ วัดใต้เทิง (เทิงแปลว่า ที่สูง ข้างบน) ทั้งสองวัดนี้ตั้งอยู่ตรงกันข้าม ต่อมาไม่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุใดที่ทำให้วัดใต้ท่ากลายเป็นวัดร้างไป ซึ่งต่อมาที่ตรงนั้นได้เป็นที่ตั้งโรงไฟฟ้าของเมืองอุบลฯ ใช้เครื่องจักรฉุดเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้า จนต่อมาใช้ไฟฟ้าจากเขื่อนกั้นน้ำจึงเลิกใช้เครื่องจักรปั่นไฟ เหลือเป็นที่ตั้งสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ อุบลราชธานี ส่วนวัดใต้เทิง นั้น ยังคงอยู่และเจริญรุ่งเรืองมาจนกระทั่งบัดนี้ เรียกขานกันว่าวัดใต้”
    ๑๑
    เตรียมตัวลาสิกขา
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล หรือ ญาคูเสาร์ ในขณะนั้นบวชได้สิบกว่าพรรษา และพำนักอยู่ที่วัดใต้ตลอดมา ท่านเกิดมีความคิดจะลาสิกขา อยากออกไปครองเพศฆราวาสเป็นกำลัง
    หลวงปู่ใหญ่ ได้คิดวางแผนที่จะสึกเป็นเวลาหลายปี เตรียมตัวจะไปประกอบอาชีพพ่อค้า โดยล่องเรือค้าขายไปตามลำน้ำมูล และแม่น้ำโขง ลงไปทางเมืองโขง เมืองจำปาศักดิ์ เมืองสีทันดร ทางฝั่งลาว แวะขายสินค้า และซื้อสินค้าท้องถิ่นไปเรื่อยๆ เอาสินค้าจากบ้านนี้ไปขายบ้านนั้น เอาของจากบ้านนั้นไปขายบ้านโน้น เมื่อได้เงินพอสมควรแล้วจึงจะหวนกลับมาปลูกบ้าน แต่งเมีย สร้างหลักฐานทำไร่ทำนาค้าขายต่อไป
    หลวงปู่ใหญ่ ได้สะสมวัตถุข้าวของและเงินทองไว้เป็นจำนวนมาก กุฏิของท่านจึงเต็มไปด้วยสิ่งของเครื่องใช้ ผ้าไหมแพรพรรณต่างๆ ที่พร้อมจะเป็นสินค้าเพื่อประกอบอาชีพภายหลังลาสิกขาแล้ว
    หลวงปู่ใหญ่ มั่นใจว่าท่านสะสมสิ่งของมากพอสมควร เงินทองก็มีมากพอสมควรแล้ว สิ่งที่ยังขาดอยู่ก็เรือบรรทุกสินค้าขึ้น - ล่องไปตามลำน้ำ หากได้เรือเมื่อไรก็พร้อมที่จะลาสิกขา ออกไปประกอบอาชีพตามที่ฝันเอาไว้
    เป็นจังหวะเหมาะ ท่านได้ข่าวว่ามีท่อนซุงต้นหนึ่งอยู่ในดง เป็นขอนที่งดงามและเหมาะที่จะขุดเป็นเรือบรรทุกสินค้ามาก
    แต่ขอนซุงที่ว่านั้นเป็นขอนที่มีอาถรรพณ์ ไม่มีใครสามารถไปเอาออกมาจากดงได้ มีผู้พยายามหลายคนแต่ไม่สำเร็จ บางคนต้องตายน่าอนาถ ที่ไม่ตายก็ป่วยไข้หรือเป็นบ้า ป้ำๆ เป๋อๆ ไปก็มี ที่นอนไหลตายก็มี จึงไม่มีใครกล้าไปแตะต้องขอนซุงต้นนั้นเลย ปล่อยให้นอนอยู่กับดินที่กลางดงนั้นอยู่นาน
    เมื่อหลวงปู่ใหญ่ทราบข่าว ก็เดินทางไปดู เห็นว่าเป็นขอนซุงที่งดงามเหมาะที่จะขุดเรือมาก ท่านจึงลงมือขุดจนกระทั่งสำเร็จเป็นเรือที่งดงามโดยที่ไม่มีเหตุร้ายเกิดขึ้นแต่อย่างใด
    ท่านพอใจในเรือลำนั้นมาก ได้นำมาผูกไว้ที่ท่าน้ำตรงหน้ากุฏินั้นเอง ทุกวันคืนท่านจะมองเห็นเรือลำสวยงามนั้นลอยอยู่หน้ากุฏิส่ายขึ้นลงไปตามแรงกระเพื่อมของน้ำ เหมือนกับเร่งวันเร่งคืนให้เจ้าของรีบลาสิกขาเพื่อใช้พาหนะคู่ใจขึ้นล่องไปตามแม่น้ำสู่สถานที่ต่างๆ ดังใจฝัน
    กล่าวกันว่าเรือลำนั้นมักจะมีเหตุการณ์ประหลาดๆ ให้พบเห็นอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พอถึงวันพระ ตอนกลางคืน เรือจะลอยออกไปกลางลำแม่น้ำได้เองทั้งๆ ที่ผูกเอาไว้ จนกระทั่งเช้าเรือก็กลับมาได้เอง นอกจากนี้ก็มีเหตุการณ์ประหลาดอื่นๆ เป็นที่น่าอัศจรรย์ จนไม่มีใครกล้าที่จะขึ้นไปนั่งเรือลำนั้น
    บัดนี้ การลาสิกขาของหลวงปู่ใหญ่เป็นอันว่าพร้อมทุกอย่าง เพียงแต่ว่ายังไม่ได้กำหนดวันเวลาที่แน่นอนเท่านั้น
    ๑๒
    จุดเปลี่ยนเมื่อโยมแม่ถึงแก่กรรม
    ช่วงที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล รอวันที่จะลาสิกขาอย่างกระวนกระวายใจนั้น บังเอิญโยมแม่ของท่านเสียชีวิต ท่านจึงเดินทางไปบ้านข่าโคม บ้านเกิด เพื่อประกอบพิธีเผาศพให้โยมแม่
    ในช่วงนั้นหลวงปู่ใหญ่ท่านเศร้าโศกเสียใจและอาลัยอาวรณ์โยมแม่ของท่านมาก
    เมื่อจัดงานศพเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ใหญ่ก็กลับมาพำนักที่วัดใต้ เหมือนเดิม
    ในเวลาเย็น หลวงปู่ใหญ่ นั่งอยู่องค์เดียวเงียบๆ บนกุฏิที่พักของท่าน ทอดสายตาไปทางลำน้ำมูลที่อยู่เบื้องหน้า มันเป็นฤดูน้ำหลาก กระแสน้ำไหลค่อนข้างเชี่ยว พัดพาเอาโคลนตมสีขุ่นแดงมาตามแรงไหลของมัน เหล่านกกากำลังบินกลับรวงรังแข่งกับพระอาทิตย์ที่ใกล้จะลับขอบฟ้า
    ลมเย็นพัดมาเรื่อยๆ กำลังสบาย สายตาของท่านจับอยู่ที่ลำเรือที่ท่านภาคภูมิใจ และเป็นเรือแห่งความหวังของท่าน มันถูกล่ามเชือกไว้ที่ตีนท่า มันเคลื่อนไหวโคลงหัวไปมาตามแรงคลื่น รอการปลดปล่อยเพื่อนำพาเจ้าของออกไปแสวงหาความร่ำรวย ตามที่ท่านคาดฝันเอาไว้
    แม้ดูท่านจะนั่งสงบนิ่ง แต่ภายในจิตใจกำลังครุ่นคิดและสับสนพอประมาณ
    หลวงปู่ใหญ่เล่าว่า ท่านหวนคิดไปถึงโยมแม่ที่เพิ่งจะลาจากไป โยมแม่เป็นคนขยันขันแข็ง ทำมาหากินไม่เคยได้หยุดพัก ทำงานหนักมาตลอดชีวิต อุตส่าห์เก็บหอมรอมริบมาจนจัดได้ว่าเป็นครอบครัวที่ค่อนข้างมีฐานะ แต่เมื่อถึงคราวที่ท่านตายลง สมบัติทั้งหลายที่ท่านเก็บสะสมไว้ตลอดชีวิต ไม่สามารถนำติดตัวไปได้เลยแม้แต่ชิ้นเดียว เสื้อผ้าติดกายก็ถูกไฟเผามอดไหม้เป็นเถ้าถ่านจนหมดสิ้น เห็นแล้วชวนให้น่าสลดสังเวชเป็นอย่างยิ่ง
    หลวงปู่ใหญ่ คิดทบทวนไปมา มันสมควรแล้วหรือเมื่อครั้งโยมแม่ยังมีชีวิต ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชรา ท่านสู้เหน็ดสู้เหนื่อยทุกอย่างเพื่อสร้างฐานะให้ครอบครัว แล้วท่านได้อะไรที่เป็นแก่นสารของชีวิตที่พอจะนับได้ว่าเกิดมาแล้วไม่ขาดทุน
    หลวงปู่ย้อนมานึกถึงตัวท่านเองว่า “ตัวเรานี้ก็เช่นกัน เมื่อเราลาออกไปค้าขาย เราจะต้องเสี่ยงกับความไม่แน่นอนหลายอย่าง
    <table id="table6" align="left" border="0" width="282"> <tbody><tr> <td width="126">
    [​IMG]
    </td> <td valign="bottom" width="146"> พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ
    วัดใต้ อำเภอเมือง
    อุบลราชธานี
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="center"> [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="center"> พระอุโบสถวัดใต้หลังปัจจุบัน</td> </tr> </tbody></table> ​
    ประการแรก ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะได้กำไรหรือขาดทุน
    ประการที่สองจะต้องเสี่ยงภัยกับโจรผู้ร้ายจะถูกปล้นถูกลักขโมยเอาเมื่อไรก็ได้
    และประการที่สาม อาจต้องเสี่ยงกับอุบัติเหตุ เรืออาจจะจมอาจจะคว่ำเพราะโดนคลื่นโดนพายุ เราต้องล่มจมเพราะภัยธรรมชาติก็ได้
    ถ้ามองในแง่ดี ถ้าหากการค้าของเรามีกำไร สะสมเงินทองได้มากพอ นำไปสร้างบ้านเรือน แล้วแต่งเมียอยู่กินด้วยกันมีความสุขเล็กๆ น้อยๆ พร้อมกับมีลูกที่น่ารักสร้างฐานะได้มั่นคง ก็นับว่าดีไป
    แต่ถ้าเงินทองเราหมดลง ก็ต้องดิ้นรนขวนขวายต่อไปอย่างไม่รู้จักจบสิ้น ดูแต่โยมแม่ของเรา ท่านต้องเหน็ดเหนื่อยตลอดชีวิต เวลาท่านตาย ไม่เห็นท่านเอาอะไรไปได้บ้าง สมบัติพัสถานต่างๆ เราไม่สามารถเอาเป็นที่พึ่งที่ยึดได้...
    ๑๓
    ตัดสินใจขอบวชตลอดชีวิต
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล คิดทบทวนอยู่นานด้วยการถามตอบตัวเองกลับไปกลับมา เรือที่ผูกไว้ที่ท่าน้ำก็ดูกระสับกระส่ายคล้ายจะเร่งเอาคำตอบจากเจ้าของว่า
    “จะเอาอย่างไรแน่ ทุกอย่างพร้อมอยู่แล้ว เหลือเพียงการตัดสินใจว่าท่านจะสึกหรือไม่สึก เรารอท่านอยู่อย่างนี้มานานพอสมควรแล้ว ขอให้ท่านรีบตัดสินใจไวไว”
    ใกล้จะถึงเที่ยงคืน ก็เกิดความคิดสุดท้ายขึ้นมาว่า
    “การสึกออกไปใช้ชีวิตฆราวาส เราจะต้องดิ้นรนขวนขวายหาทรัพย์อย่างไม่รู้จักจบสิ้น เมื่อตายไปก็ไม่สามารถนำติดตัวไปได้ ดูตัวอย่างโยมแม่ของเราซิ ท่านแสดงให้เราเห็นอย่างชัดเจนแล้วไม่ใช่หรือ
    ถ้าเช่นนั้นเราจะสึกหาลาเพศออกไป มันจะได้ประโยชน์และมีความหมายอย่างไรเล่า สู้อยู่ในเพศพรหมจรรย์อย่างนี้น่าจะดีกว่า นอกจากเป็นเพศที่ถือว่าสูงส่ง ไม่ได้ประกอบกรรมทำชั่วแล้ว ยังสามารถประกอบมรรคผลนิพพานให้เกิดให้มีขึ้นได้ อย่างน้อยก็เป็นอุปนิสัยปัจจัยติดตามต่อไปได้อยู่มิใช่หรือ
    อย่ากระนั้นเลย เราไม่สึกดีกว่า !
    เมื่อหลวงปู่ใหญ่ ได้พิจารณาเห็นความทุกข์ยากที่ไม่สิ้นสุดของการใช้ชีวิตฆราวาส และเห็นความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิตเช่นนั้นแล้ว ท่านจึงตัดเป็นใจแน่วแน่ว่า :-
    “ข้าพเจ้าตัดสินใจขอบวชเพื่อถวายพรหมจรรย์ตลอดชั่วชีวิต”
    สาธุ ! สาธุ ! สาธุ ! ก้อนสะอื้น ของผมปรากฏขึ้น รู้สึกปีติยินดีอย่างที่สุด สาธุ ! สาธุ ! สา__ธุ !
    ๑๔
    สละสิ่งที่ชาวโลกเขามีกัน
    เมื่อหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ตัดสินใจได้เด็ดขาดว่าจะไม่ลาสิกขาแล้ว ภายในจิตใจก็เกิดความเชื่อมั่นและเข้มแข็งขึ้นมาอย่างประหลาด
    ท่านรีบลงจากกุฏิ เดินตรงไปยังท่าน้ำ จัดการแก้เชือกหรือที่ผูกไว้กับเสาหลัก หยุดอธิษฐานจิตครู่หนึ่ง แล้วผลักหัวเรือออกไปในทิศทางที่น้ำไหล เรือพุ่งออกไปตามแรงผลัก ลอยเคว้งคว้างกลางกระแสน้ำแล้วล่องลอยไปเรื่อยๆ ตามความแรงของกระแสน้ำ ไม่มีจุดหมายปลายทางที่แน่นอน ดูราวกับแล้วแต่บุญแต่กรรมจะพัดพาไป
    พอเรือลำงามลอยลับไปจนสุดสายตาแล้ว ท่านรู้สึกโล่งอกโล่งใจขึ้นทันที มีความสุขใจ สบายใจ และมั่นใจอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน คล้ายกับได้ปลดเครื่องพันธนาการบางอย่างให้ออกไปจากชีวิตฉันนั้น
    หลวงปู่ใหญ่ เดินขึ้นกุฏิด้วยความสุขใจ คืนนั้นท่านได้หลับอย่างมีความสุขและความสบายใจชนิดที่ไม่เคยได้พบเห็นมาก่อน
    พอรุ่งเช้า หลวงปู่ใหญ่ ได้ประกาศบอกข่าวให้หมู่คณะและญาติมิตรได้ทราบโดยทั่วกันว่า ท่านเลิกล้มความตั้งใจที่จะลาสิกขาแล้วผู้ที่ทราบข่าวต่างก็อนุโมทนาสาธุไปตามๆ กัน
    นอกจากนี้ท่านได้บอกข่าวไปทางหมู่ญาติอย่างเปิดเผยว่าบรรดาข้าวของ เครื่องใช้ไม้สอย เสื้อผ้าแพรพรรณ ตลอดจนเงินทองที่ท่านอุตส่าห์เก็บสะสมมานานปี ท่านจะสละแจกสละทานให้จนหมดสิ้นใครอยากได้อะไรก็ขอให้มารับเอาไป
    เมื่อญาติมิตรได้ทราบข่าว ต่างก็พากันมารับเอาสิ่งของที่ท่านสละเป็นทานเหล่านั้น แจกทานอยู่หลายวันจึงหมด เพราะของสะสมไว้มากจริงๆ
    หลวงปู่ใหญ่ ท่านเล่าให้ศิษย์ฟังว่า ท่านไม่ได้นึกอาลัยอาวรณ์ในข้าวของเหล่านั้นเลย กลับโล่งใจเบาสบาย และเลิกการสะสมมาจนตราบเท่าชีวิต
    ภายหลังที่ท่านออกธุดงค์กรรมฐานแล้ว ท่านบอกว่าแม้แต่ชีวิตของท่านก็สละถวายพระศาสนาอย่างหมดสิ้น ไม่มีความห่วงอาลัยในสิ่งใดเลย
    กล่าวถึงเรือลำงามของท่าน ทราบต่อมาในภายหลังว่า มีชาวบ้านเขาจับได้ คนผู้นั้นเขารู้ข่าวคราวความอาถรรพณ์ของเรือลำนั้นดี จึงได้ทำพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้อย่างถูกต้อง หลังจากนั้นไม่ช้านานนักเขากลายเป็นคนมั่งมีขึ้นมาทันตาเห็น
    น่าเสียดาย ในบันทึกไม่ได้บอกว่า โยมผู้จับเรือได้นั้นเป็นใคร ไม่เช่นนั้นจะตามไปสัมภาษณ์เขียนเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟังได้
    และน่าเสียดายที่ไม่ทราบว่า หลวงปู่ใหญ่ ท่านอธิษฐานจิตก่อนปล่อยเรือลำนั้นว่าอย่างไร ใครทราบก็ช่วยบอกด้วยนะครับ
    ๑๕
    กำเนิดธรรมยุติกนิกาย
    ผมขออนุญาตพักเรื่องราวของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลไว้ตรงนี้ก่อน เพื่อนำเสนอเรื่องราวสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกัน
    ในขณะนั้น หลวงปู่ใหญ่ ของเรายังเป็นพระสังกัดในคณะมหานิกาย ซึ่งท่านเห็นว่าการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระสงฆ์ในสมัยนั้นยังลุ่มๆ ดอนๆ อยู่ ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพานอย่างแท้จริง ท่านจึงญัตติใหม่มาสังกัดธรรมยุติกนิกาย
    <table id="table7" align="right" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> รัชกาลที่ ๔ ในชุดฉลองพระองค์ทรงศีล ฉายเมื่อปีเถาะ พ ศ. ๒๔๑๐ เป็นพระบรมฉายาลักษณ์หลังสุดก่อนเสด็จไปหว้ากอ
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    เพื่อให้เรื่องราวเชื่อมโยงกัน จึงได้นำเสนอเรื่องราว และเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับกำเนิดธรรมยุติกนิกาย ขึ้นในประเทศไทย และการประดิษฐานคณะธรรมยุติกนิกายในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งถือเป็นครั้งแรก ที่คณะธรรมยุติกนิกายแผ่ขยาย ออกไปยังต่างจังหวัด จนกระทั่งปักหลักฐานที่มั่นคงในภาคอิสาน แล้วแผ่ขยายออกไปยังภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ ซึ่ง หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต มีบทบาทในการสร้างวัดกรรมฐานสังกัดคณะธรรมยุตเป็นร้อยๆ วัดทั่วภาคอิสานทีเดียว
    ในหนังสือชื่อ พุทธศาสนวงศ์ พระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ได้ตรัสถึงธรรมยุติกนิกาย ไว้ดังนี้ -
    ธรรมยุติกนิกาย เป็นนิกายสงฆ์นิกายหนึ่งในประเทศไทย เป็นผลเกิดจากการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ตั้งแต่ครั้งยังเสด็จออกผนวช มีพระนามในพระศาสนาว่า “วชิรญาโณ”
    พระองค์สืบวงศ์บรรพชาอุปสมบทมาแต่คณะสงฆ์ผู้อุปสมบทในนิกายสีมากัลยาณี ในรามัญประเทศ อันสืบมาแต่ลังกา และสืบๆ ขึ้นไปได้จนถึงต้นเดิม
    (หมายความว่ามีการอุปสมบทสืบต่อกันมาโดยไม่มีขาดสายสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยพุทธกาล ซึ่งจะได้กล่าวถึงเรื่องนี้ในตอนต่อไป - ผู้เขียน)
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงอุปสมบทในพระสงฆ์ไทยที่สืบมาแต่เดิม ซึ่งเรียกภายหลังว่ามหานิกาย แล้วได้ทรงรับอุปสมบทอีกในวงศ์สีมากัลยาณีนี้นำขึ้น ได้ทรงปฏิบัติและวางระเบียบให้เคร่งครัด ถูกตรงตามพระธรรมวินัย ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงบัญญัติไว้ อันปรากฏในพระบาลีพระไตรปิฎก
    ได้มีผู้บรรพชาอุปสมบทและปฏิบัติตามในวงศ์และระเบียบวิธีเดียวกันมากขึ้น จนเกิดเป็นพระสงฆ์นิกายหนึ่ง เรียกนามในภายหลังว่า “ธรรมยุติกนิกาย” หรือ “นิกายสงฆ์คณะธรรมยุติกา” เรียกสั้นว่า “ธรรมยุต”
    ชื่อนี้แปลวา “ผู้ประกอบด้วยธรรม” หรือ “ชอบด้วยธรรม” หรือ “ยุติตามธรรม”
    เป็นเนติกนามอันหมายถึงเหตุที่คณะสงฆ์นี้เกิดขึ้นด้วยมุ่งแสวงหาว่า ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุสาสน์ (คำสั่งสอนของพระศาสดา) แล้วปฏิบัติข้อนั้น เว้นข้อที่ไม่เป็นธรรมไม่เป็นวินัย ไม่เป็นสัตถุสาสน์ แม้จะเป็นอาจิณปฏิบัติ (ข้อปฏิบัติที่ประพฤติตามกันมาแต่ผิดธรรมวินัย )
     
  7. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    [​IMG]
    ๒๙
    เร่งความเพียรอย่างเต็มที่
    เมื่อหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และพระเณรในวัดใต้ประกอบพิธีญัตติกรรม เป็นพระในสังกัดธรรมยุติกนิกายเรียบร้อยแล้ว ความกังวลใจที่เนื่องจากคำพูดกระทบกระเทียบเปรียบเปรยจากหมู่พวกในนิกายเดิมก็ลดลงไป สามารถปฏิบัติตามแนวทางธรรมยุตได้เต็มที่ไม่ต้องคอยเกรงอกเกรงใจหรือกล้าๆ กลัวๆ ต่อไปอีก
    ในการประกอบความเพียรนั้น หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และคณะต่างพากันรีบเร่งโดยไม่นิ่งนอนใจ เวลาที่ผ่านไปทุกขณะเป็นเวลาแห่งชีวิต คนเราจะตายในวินาทีใดก็ได้ ท่านจึงไม่ประมาท ตั้งตัวเป็นศัตรูคู่อาฆาตกับความเกียจคร้านโดยไม่เห็นแก่นอน ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง ไม่เห็นแก่ลาภสักการะ และสิ่งสรรเสริญเยินยอต่างๆ เพราะสิ่งเหล่านี้มันเป็นหนามแหลมคม ที่ทิ่มแทงสรรพสัตว์ ให้ได้รับความปวดแสบสาหัสสากรรจ์มานาน จนนับภพนับญาติไม่ถ้วน
    หลวงปู่ใหญ่ ยึดมั่นในหลักธุดงควัตร ๑๓ โดยถือเป็นเกราะเพื่อป้องกันความหลง ความเผลอไผล ในการดำเนินบนเส้นทางแห่งศีล สมาธิ ปัญญา โดยมีการเดินจงกรม การทำสมาธิภาวนา เป็นพาหนะนำไปสู่หลักชัย คือ มรรค ผล นิพาน แดนเกษมที่ชาวพุทธปรารถนาเป็นที่สุด
    ในประวัติ ไม่ว่าหลวงปู่ใหญ่ จะไปที่ใด อยู่ที่ใด จิตใจท่านมิได้เหินห่างคลาดเคลื่อนไปจากความเพียร นับแต่ไปบิณฑบาต ปัดตาด กวาดลานวัด ขัดกระโถน เย็บผ้า ย้อมผ้า เดินไปเดินมาในวัดและนอกวัด ตลอดจนการขบฉัน ยืน เดิน นั่ง นอน ทุกอิริยาบถ จะตั้งสติกำหนดอยู่กับความเพียรทุกขณะไม่ให้คลาดเคลื่อน ไม่ยอมให้อารมณ์ภายนอกมากระทบจิตใจให้วอกแวกแส่ส่ายไปตามอารมณ์นั้น หรือไม่ยอมให้จิตปรุงแต่งไปตามอารมณ์ จิตของท่านก็ได้รับความสงบเย็นเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
    <table id="table16" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    หลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    แสดงพระธรรมเทศนา
    ในวันเปิดพระเจดีย์หลวงปู่เสาร์ ณ วัดดอนธาตุ
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๓๐
    พระครูวิเวกพุทธกิจ
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระครูวิเวกพุทธกิจ ตั้งแต่เมื่อใด ไม่มีการบันทึกไว้
    เมื่อศึกษาประวัติ และข้อวัตรที่ท่านบำเพ็ญมาตลอดชีวิตจะเห็นว่า หลวงปู่ใหญ่ เป็นผู้ชอบความสงบอย่างแท้จริง
    ในบันทึกของหลวงพ่อโชติ อาภคฺโค ได้กล่าวถึงอุปนิสัยของหลวงปู่ใหญ่ ดังนี้ :-
    “อุปนิสัยที่แท้จริงของพระอาจารย์เสาร์ ท่านเป็นผู้สันโดษชอบความสงบ ไม่ระคนด้วยหมู่คณะ ไม่ชอบความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม
    ตลอดเวลาการบำเพ็ญสมณธรรม ถ้าที่ไหนมีความวุ่นวาย จุ้นจ้านท่านก็จะปลีกตัวออกหนีทันที
    อุปนิสัยของท่านเช่นนี้ จะเห็นได้จากการเที่ยวเพื่อบำเพ็ญเพียรและเผยแผ่สัจจธรรมของท่าน ท่านจะท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ ที่ห่างไกลผู้คน
    พอไปถึงสถานที่ที่สงบสงัด เหมาะสม ตั้งหลักลงที่ไหน ที่นั้นจะต้องกลายเป็นวัดเป็นสำนักปฏิบัติธรรมทันที สถานที่ที่ท่านเคยพักบำเพ็ญเพียรจึงเกิดเป็นวัดป่าเป็นร้อยๆ แห่งในภาคอิสาน และทางฝั่งประเทศลาว
    การเที่ยวไป แม้จะไปเป็นหมู่คณะ แต่จะเงียบสงบเหมือนกับไม่มีพระไม่มีคนในที่นั้นเลย
    ญาติโยมคนเฒ่าคนแก่ในสถานที่ต่างๆ ที่ท่านเคยจาริกผ่านไปเล่าให้ข้าพเจ้า (หลวงพ่อโชติ) ฟังว่า เมื่อท่านเดินทางมาถึงที่ปักกลดพัก มีพระเณรติดตามท่านมามากทีเดียว กระทั่งพระธุดงค์จรก็จะเที่ยวมากราบนมัสการฟังโอวาทจากท่านมิได้ขาด
    ทั้งๆ ที่มาเป็นจำนวนมากๆ อย่างนั้น ก็ดูเหมือนว่าไม่มีพระอยู่เลย ในวัดเงียบสงัด ไม่มีการจับกลุ่มพูดคุย ไม่มีพระเณรเดินเพ่นพ่านให้เห็น ไม่มีการหยอกล้อ แม้เสียงกระแอมไอก็ไม่มี
    ต่างองค์ต่างบำเพ็ญเพียรทางจิต นั่งสมาธิภาวนาหรือเดินจงกรมในที่ของตนโดยมิได้ประมาท
    เมื่อเข้าไปภายในวัด จะเห็นเพียงพระอาจารย์กับศิษย์อุปัฏฐากของท่านเท่านั้น พระนอกนั้นจะเข้าหาที่สงัดวิเวก ตั้งหน้าบำเพ็ญเพียรดูจิตดูใจของตน ไม่ได้มาชุมนุมพูดจากัน
    วัดทั้งวัดเหมือนกับเป็นวัดร้าง จะเห็นมีพระเณรก็ในเวลาเช้า พระจะออกมาบิณฑบาต มารวมฉันภัตตาหาร อีกครั้งก็ตอนเวลาเย็น พระจะออกมาปัดกวาดตาด ตักน้ำเป็นน้ำใส่โอ่งใส่ตุ่มทุกแห่ง
    ในเวลาที่พระมารวมกันเช่นนี้ จึงจะเห็นพระเณรมากันเต็มไปหมด แม้กระนั้นก็ตาม ท่านจะพูดกันเท่าที่จำเป็นและพูดเพียงเบาๆ พอได้ยินระหว่างคู่สนทนาเท่านั้น ทุกท่านทุกองค์ต่างพากันสำรวมปิดประตูทวารทั้งหมด (หู ตา จมูก ลิ้น กายใจ) อย่างเต็มที่ ทำทุกอย่างด้วยความสงบเสงี่ยมระวังกายระวังใจ ไม่ให้เผลอสติออกนอกกายนอกใจตน เป็นการปฏิบัติภาวนาทุกอิริยาบถ และทุกช่วงลมหายใจเข้าออก
    พระป่าท่านพยายามฝึกกันถึงขนาดนั้นจริงๆ เพราะท่านเห็นภัยในความเอิกเกริกเฮฮาสาไถย์ต่างๆ เพราะอย่างนี้เองพระธุดงค์กรรมฐานท่านจึงพากันได้ดิบได้ดีในทางธรรม เป็นที่เคารพศรัทธาแก่หมู่ชนทั่วไป
    บรรดาพระลูกศิษย์ที่ติดตามปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ใหญ่ในสมัยนั้น ก็ได้แก่บูรพาจารย์สายธุดงค์กรรมฐานในยุคต่อมานั้นเอง ซึ่งรวมทั้ง หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม สืบมาจนถึงหลวงพ่อพุธ ฐานิโย เป็นต้น
    ๓๑
    ไม่เอาเรื่องพิธีกรรมตลอดจนไสยศาสตร์ต่าง ๆ
    เกี่ยวกับเสียงรบกวนและความจุ้นจ้านวุ่นวายต่างๆ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล หรือ พระครูวิเวกพุทธกิจ ตามสมณศักดิ์ของท่าน ท่านได้เข้มงวดกวดขัน ไม่ยอมให้เกิดให้มีในวัดที่ท่านปกครองอยู่
    เป็นต้นว่า เสียงไก่ ซึ่งสมัยนั้นคนมักนิยมเอาไปปล่อยในวัด โดยเชื่อกันว่าเป็นการสเดาะเคราะห์ เสียกรรม หรือ “โผดสัตว์” ปล่อยสัตว์ เพื่อเป็นการต่ออายุ และทำให้ตนเองหมดเคราะห์หมดโศก
    นอกจากนี้ก็ความเชื่อเรื่องพิธีกรรมต่างา เช่น การต่อหลักปีค้ำโพธิ์ (เอาไม้ไปค้ำต้นโพธิ์) ค้ำไฮ เหล่านี้เป็นพิธีกรรมที่นิยมทำกันมาแต่บรรพกาล
    เรื่องต่างๆ เหล่านี้ หลวงปู่ใหญ่ ท่านสอนไม่ให้เชื่อ ไม่ให้ทำกันซึ่งไม่ใช่แนวทางตามหลักพระพุทธศาสนา เป็นการงมงายที่ปฏิบัติต่อๆ กันมา
    เกี่ยวกับการเอาไก่มาปล่อยในวัด หลวงปู่ใหญ่ จะไม่ยอมเป็นอันขาด ท่านแนะนำให้ไปปล่อยที่อื่น แต่ญาติโยมก็ยังขัดขืนดื้อดึงเอาไปแอบปล่อยหลังวัด
    พอท่านได้ยินเสียงไก่ขัน หรือส่งเสียง ท่านก็จะสั่งให้ลูกศิษย์ตามจับ แล้วเอาไปปล่อยที่อื่นไกลๆ เพราะท่านไม่ชอบเสียงและความจุ้นจ้านของมัน เนื่องจากรบกวนการประพฤติธรรมของบรรดาพระเณร
    นอกจากจะเป็นไก่ป่าจริงๆ ซึ่งมันพากันมาอาศัยอยู่ตามบริเวณวัด มันอยู่อย่างธรรมชาติจริงๆ ไม่จุ้นจ้านเหมือนไก่บ้าน (ซึ่งอาจติดนิสัยบ้านมาจากคนก็ได้)
    ปฏิปทาเหล่านี้เองเป็นเครื่องบ่งบอกให้เห็นว่าหลวงปู่ใหญ่ทานชอบความสงบสงัดและความวิเวกอย่างแท้จริง สมกับราชทินนามพระครูวิเวกพุทธกิจ ของท่าน
    อุปนิสัยที่ชอบความวิเวก ไม่ระคนด้วยหมู่คณะนี้ท่านเริ่มดำเนินอย่างชัดเจนตั้งแต่เริ่มอธิษฐานจิตเพื่อขอบวชตลอดชีวิต ต่อมาถึงการได้ฟังเทศน์จากอาชญาท่านเทวธมฺมี (ม้าว) การเข้าพิธีญัตติกรรมเป็นพระธรรมยุต ท่านมุ่งหน้าสู่ปฏิปทาแนวใหม่ เพื่อบำเพ็ญเพียรมุ่งสู่ความหลุดพ้นและหมดกิเลสอย่างแท้จริง
    ๓๒
    สลดสังเวชในกามกิเลส
    วัดใต้ ที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล พำนักจำพรรษาและเป็นสถานที่แห่งแรกที่ท่านเริ่มต้นการบำเพ็ญเพียร เป็นวัดที่อยู่นอกเมืองยังเป็นสถานที่เงียบสงบพอประกอบความเพียรได้ดีอยู่
    ต่อมาหมู่คณะก็มีมากขึ้น อารมณ์กิเลสก็มีมากเป็นเงาตามตัวท่านจึงต้องย้ายที่ใหม่เพื่อการบำเพ็ญเพียร
    ดังนั้น ทุกๆ วัน หลังจากทำภัตกิจในตอนเช้าเสร็จ หลวงปู่ใหญ่จะถือโอกาสหลีกเร้นจากหมู่คณะ ไปหาที่บำเพ็ญเพียรตามลำพังองค์เดียว เที่ยวไปตามป่าละเมาะด้านหน้าของวัดใต้
    หลวงปู่ใหญ่ เล่าให้ศิษย์ฟังว่า สถานที่นั้นถือว่าห่างไกลจากพระ ห่างไกลจากผู้คนแล้ว ก็ยังมีพวกหนุ่มสาวแอบไปพลอดรักกัน แอบกระทำกามกิจให้ท่านได้รู้ได้เห็นอยู่อีก แสดงถึงกิเลสตัณหาและเครื่องยั่วยวนใจนั้นมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง จึงขึ้นอยู่ที่ตัวเราว่าจะหนักแน่นมั่นคงเพียงใด
    ท่านเล่าให้ฟังว่า วันหนึ่ง หลังจากฉันภัตตาหารในตอนเช้าเสร็จแล้ว ท่านก็หลีกเร้นออกไปทำความเพียรดังที่เคยทำมาทุกวัน หลังจากเดินจงกรมพอประมาณแล้ว ท่านก็เข้าที่นั่งสมาธิภาวนาสงบนิ่งอยู่
    ตรงที่ท่านนั่งนั้นเป็นจอมปลวกสูงใหญ่ (ทางภาคอิสานเรียกโพนใหญ่) ท่านนั่งสมาธิไปจนถึงเวลาบ่ายคล้อย ก็เกิดได้ยินเสียงหญิงชายกระซิบกระซาบในเชิงพลอดรักกันในบริเวณนั้น ตอนแรกท่านคิดว่าเป็นเสียงที่เกิดในนิมิต ท่านก็สงบนิ่งดูอยู่
    สักพักหนึ่งท่านลืมตาขึ้น ก็เห็นภาพปรากฏขึ้นจริงต่อหน้าต่อตา มีหนุ่มสาวคู่หนึ่ง น่าจะเป็นเด็กที่เอาวัวควายมาเลี้ยง แล้วหลบมาพลอดรัก กระทำกามกิจกันอยู่ที่ตีนจอมปลวกนั้น พวกเขาไม่รู้สึกละอายแก่สิ่งใด คิดว่าคงไม่มีใครรู้เห็นการกระทำของพวกเขา
    หลวงปู่ใหญ่ คงไม่อยากให้พวกเขาต้องอับอายจึงหลับตาสงบนิ่ง โดยที่พวกเข้าคงไม่รู้ว่ามีคนอื่นอยู่แถวนั้นด้วย
    หลวงปู่ใหญ่ เล่าว่า ทั้งภาพและการกระทำที่ท่านพบเห็นนั้นชวนให้ปลงสังเวชเป็นอย่างยิ่ง ที่เห็นมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายยังหมกอยู่ ของอยู่ จมอยู่ ในกิเลสวัฏฏะ ไม่อาจข้ามพ้น ต้องมืดมนบอดบ้าในสังสารวัฏร่ำไป
    เมื่อพิจารณาจนถ้วนที่แล้ว ท่านบอกว่าเกิดความเบื่อหน่ายในการที่ต้องเวียนเกิดเวียนตายอยู่ร่ำไป ทำให้ท่านตั้งความปรารถนาขึ้นว่า ถ้ายังไม่หลุดพ้น ถ้าหากยังต้องเกิดอีก จะขอเว้นจากเรื่องเพศตรงข้ามทุกภพทุกชาติไป ขอบวชอุทิศพรหมจรรย์ถวายในพระพุทธศาสนาเพื่อให้พ้นกลมายาโลกเหล่านี้ตลอดไป
    ๓๓
    เกิดวัดใหม่ชื่อวัดเลียบ
    บริเวณป่าละเมาะด้านหน้าวัดใต้ ที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลหลีกจากหมู่คณะออกมาบำเพ็ญเพียรนี้ ต่อมาก็มีหมู่คณะตามมาปฏิบัติด้วย ต่างเห็นว่าเป็นที่สงบสงัดดี
    บรรดาพระที่มาบำเพ็ญภาวนานั้น ได้พากันปลูกกระต๊อบหลังเล็กๆ แยกกันอยู่ตามจุดที่แต่ละองค์ถูกอัธยาศัย ต่อมาก็สร้างศาลาหอฉันขึ้นเป็นการชั่วคราว จนกระทั่งสถานที่ใหม่นี้เกิดเป็นวัดขึ้นมาในภายหลัง นั่นคือ วัดเลียบ และก็เป็นวัดสังกัดคณะธรรมยุตไปโดยปริยาย
    ต่อมาทางเจ้าเมืองได้ตัดถนนผ่านด้านหน้าวัดใต้ ที่ดินในบริเวณนั้นจึงกลายเป็นวัด ๒ วัด ตั้งอยู่คนละฟากถนนคือฟากหนึ่งเป็นวัดใต้ที่อยู่เดิม และอีกฟากหนึ่งก็เป็นวัดเลียบ ได้มีการพัฒนามาเป็นลำดับจนเป็นวัดที่มีความมั่นคงและสวยงามในปัจจุบัน
    วัดใต้ กับ วัดเลียบ จึงเป็นเสมือนวัดพี่วัดน้องที่มีถนนคั่นกลางมาเท่าทุกวันนี้
    วัดเลียบ เมืองอุบลราชธานีแห่งนี้เอง เป็นวัดที่หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้มาถวายตัวเป็นศิษย์วัดอยู่กับหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโลกตั้งแต่ครั้งยังเป็นป่า ที่พักสงฆ์ยังเป็นเพียงกุฏิกระต๊อบหลังเล็กๆ อยู่ ซึ่งหลวงปู่มั่นก็ได้บวชเป็นสามเณร และบวชเป็นพระในเวลาต่อมา
    ดังนั้น วัดเลียบเมืองอุบลฯ จึงเป็นจุดเริ่มต้นในทางพระพุทธศาสนาของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่สายธุดงค์กรรมฐานในยุคปัจจุบัน
    สำหรับประวัติความเป็นมาของวัดเลียบ ตามที่ปรากฏในประวัติวัด ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๑ (ซึ่งผมคัดลอกมาจากหนังสือของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ อีกทีหนึ่ง) มีดังนี้ -
    “เมื่อจุลศักราช ๑๒๑๐ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๙๑ ปีวอก เอกศกเดือน ๑๒ ขึ้น ๑๐ ค่ำ วันพฤหัสบดี ได้ตั้งวัดเลียบ มีเนื้อที่ ๙ ไร่ ๑ งาน ๓๗ ตารางวา มีสมภารอยู่นับได้ ๑๐ รูป และมีพระอาจารย์ทิพย์เสนาแก่นทิพย์ ฉายา ทิพฺพเสโน เป็นหัวหน้าปกครองคณะสงฆ์ ต่อมาท่านได้มรณภาพลง สำนักสงฆ์แห่งนี้จึงร้างไป
    ต่อมา พระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) ได้มาเป็นสมภารเมื่อจุลศักราช ๑๒๕๔ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๓๕ ปีมะเส็ง เบญจศก เดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ำ วันอังคาร พร้อมภิกษุสามเณร
    ส่วนฆราวาสมี พระอุบลการประชานุกิจ (บุญชู) พระสุระพลชยากร (อุ่น) ท้าวกรมช้าง (ทองจัน) สังฆการีจารปัจฌา สังฆการีจารเกษ และทายกทายิกา ได้พร้อมกันมีศรัทธาสร้าง ขยายวัดออกทางด้านบูรพา กว้างได้ ๑๑ วา ยาว ๖๔ วา ๒ ศอก ด้านอุดร กว้าง ๑๘ วา ๒ ศอก ยาว ๕๓ วา และได้สร้างรั้วรอบวัดมีเสนาสนะ มีพัทธสีมา ๑ มีหอแจก ๑ หลัง หอฉัน ๑ หลัง มีกุฏิ ๔ หลัง โปง ๑ และได้ปลูกต้นไม้ ได้แก่ มะพร้าว ๒๑๐ ต้น หมาก ๖๐ ต้น มะม่วง ๔๐๐ ต้น หมากมี้ (ขนุน) ๓๒๘ ต้น มะปราง ๒๕ ต้น

    ต่อมาพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พร้อมด้วยท้าวสิทธิสาร และเพียเมืองจันได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานวิสุงคามสีมา ตามพระราชโองการที่ ๘๗/๓๐๓ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ ศ ๒๔๓๙ ตรงกับ ร.ศ. ๑๑๕ อันเป็นปีที่ ๒๙ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีขนาดด้านยาว ๗ วา ด้านกว้าง ๕ วา
    อุโบสถหลังเดิมมีขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๒ เมตร ก่อสร้างด้วยไม้ หลังคามุงด้วยสังกะสี ควบคุมการก่อสร้างโดยพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสี โล
    ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธาน นามว่า “พระพุทธจอมเมือง” ซึ่ง พระอาจารย์เสาร์เป็นผู้สร้าง...”
    <table id="table17" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">
    พระพุทธจอมเมือง พระประธานในโบสถ์วัดเลียบ
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ สร้างถวายรัชกาลที่ ๕
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๓๔
    ได้ศิษย์เอกชื่อว่ามั่น
    มีอยู่ช่วงหนึ่ง ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๓๔ - ๒๔๓๕ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้ออกธุดงค์มาพักที่กุดเม็ก ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านคำบง อำเภอโขงเจียม ออกไปประมาณ ๒ กิโลเมตร
    คำว่า “กุดเม็ก มาจากคำว่า กุด คือลุ่มน้ำที่ปลายขาดห้วงเรียกปลายกุด และ เม็ก คือต้นสะเม็ก หรือที่เราเรียกว่า ผักเม็ก ยอดสีน้ำตาลอ่อน มีรสฝาด เอามาจิ้มกับน้ำพริก หรือกินกับลาบนั่นเอง
    กุดเม็ก เป็นป่าร่มรื่นอยู่ติดกับลำห้วยยาง ที่ไหลลงมาจากภูหล่น มีน้ำอุดมสมบูรณ์ตลอดปี แม้ปัจจุบันนี้ชาวบ้านคำบงและหมู่บ้านใกล้เคียง ยังได้อาศัยน้ำที่นี่ดื่มกิน ยามขาดแคลนในหน้าแล้ง
    ข้อมูลนี้ได้จากหนังสือของท่านพระครูกมลภาวนากร เจ้าอาวาสวัดภูหล่น ซึ่งท่านได้บรรยายต่อไปว่า กุดเม็กนี้ยังเป็นป่าร่มรื่นดีอยู่ในปัจจุบัน เพราะชาวบ้านคำบงได้เห็นความสำคัญของสถานที่ของพระบูรพาจารย์ จึงได้ร่วมกันอนุรักษ์สถานที่แห่งนี้ไว้
    สมัยที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ มาพักบำเพ็ญเพียรอยู่นั้น กุดเม็กยังเป็นป่ารกชัฏไปตลอดแนวของลำห้วยยาง ผู้เฒ่าเล่าให้ฟังว่าพอถึงตอนกลางคืน แถวนั้นดูแสนเปลี่ยวยิ่งนัก ไม่มีใครกล้าเดินเข้าไปหาหลวงปู่ใหญ่คนเดียว ต้องไปกันหลายๆ คน
    ท่านพระครูกมลภานากร ได้ให้ข้อสังเกตโดยส่วนตัวของท่านว่า “ท่านหลวงปู่เสาร์ท่านชอบไปพักที่เป็นสัปปายะใกล้ๆ ลำห้วยลำน้ำเสมอเช่น ที่กุดน้ำใส เขตอำเภอพิบูลมังสาหาร มีส่วนคล้ายคลึงมากกับสถานที่กุดเม็ก คืออยู่ใกล้ลำห้วยเหมือนกัน ยิ่งเป็นวัดดอนธาตุ บ้านทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร ที่ท่านอยู่จำพรรษาหลายปีนั้น เป็นเกาะดอน ตั้งอยู่กลางลำน้ำมูลเลยทีเดียว อากาศร่มรื่นเย็นสบายดี”
    ที่เอ่ยถึงบ้านคำบง ข้างต้น พวกเราคงจำได้ใช่ไหมครับว่าเป็นบ้านเกิดของพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่สายพระป่าในปัจจุบัน
    หลวงปู่มั่น ท่านเคยบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๕ ปี ซึ่งตรงกับปีระกา พ.ศ. ๒๔๒๘ ที่โบสถ์วัดคำบงโดยมี ญาท่านโครต บ้านตุงลุงกลาง ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านคำบงประมาณ ๓ กม. เป็นบรรพชาจารย์ของท่าน
    หลวงปู่มั่นบวชเณรอยู่ได้ ๒ พรรษา เมื่อท่านอายุได้ ๑๗ ปี จึงได้ลาสิกขาเพื่อออกไปช่วยงานทางบ้าน ตามคำขอของบิดา
    หลวงปู่มั่น เมื่อวัยหนุ่ม นอกจากจะมีความขยันขันแข็งในการงานแล้ว ท่านยังเป็นหมอลำฝีปากดี ของหมู่บ้านด้วย ซึ่งเล่ากันว่าท่านสามารถลำเดินนิทานพื้นเมืองอิสานได้ไพเราะจับใจผู้ฟังมาก ถึงกับผู้เฒ่าผู้แก่นั่งฟังด้วยน้ำตาซึมไปเลย
    ในหนังสือของพระครูกมลภาวนากร เขียนไว้ดังนี้
    “ผู้เล่าประวัติ เล่าว่า หลวงปู่มั่น (ตอนเป็นฆราวาสอยู่) พบกับหลวงปู่เสาร์ครั้งแรกที่กุดเม็ก และได้มอบตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่เสาร์ได้ขอเอาหลวงปู่มั่นไปบวชจากโยมพ่อแม่ของท่าน ในสถานที่กุดเม็ก นี้เอง ผู้เล่าเล่าว่าหลวงปู่มั่น เทียวเข้าเทียวออกเป็นประจำ บางคืนก็ไม่กลับเข้าไปนอนที่บ้าน อยู่ฝึกสมาธิกัมมัฏฐานและเพื่ออุปัฏฐากรับใช้ท่านอาจารย์”
    ท่านพระครูกมลฯ ได้บันทึกคำบอกเล่าเป็นภาษาอิสานว่า
    “เผิ่นนั่นแหล่ว เที่ยวเข้าเทียวออกดู๋กว่าหมู่ ล้างบาตร เช็ดบาตร ต้มน้ำร้อนน้ำอุ่น รับเคนสิ่งของเผิ่นประจำ ฮอดบ่เข้าเมือนอนเฮือน เผิ่นว่าอยู่นั่งหัดกรรมฐาน... กะหลวงปู่เสาร์ นั่นแหล่วชวนเอาเผิ่นไปบวชนำ เผิ่นว่า โตไปบวชกับเฮาเนอ
    และเล่าต่อว่า ท่านหลวงปู่เสาร์ ได้ขอเอาหลวงปู่มั่น กับโยมพ่อโยมแม่ของท่านไปบวชที่กุดเม็ก นี้เอง
    ผมขออาสาถอดรหัสออกเป็นภาษาไทยกลาง ความว่า
    “ก็ท่าน (หลวงปู่มั่น) นั่นแหละ เทียวเข้าเทียวออกบ่อยกว่าคนอื่น ล้างบาตร เช็ดบาตร ต้มน้ำร้อนน้ำอุ่น คอยประเคนสิ่งของท่านเป็นประจำ ถึงขนาดไม่กลับไปนอนที่บ้าน ท่านว่าอยู่นั่งหัดกรรมฐาน... และก็หลวงปู่เสาร์เองเป็นผู้ชวนให้ท่านบวช ท่านชวนว่า ไปบวชกับเรา เน๊าะ !”
    (ที่แปลมานี้ เพื่อยืนยันกับท่านผู้อ่านว่า ผมก็ฮู้ภาษาอิสานคือกัน เด๊)
    และ.. ในปี พ ศ. ๒๔๓๖ เมื่อหลวงปู่ใหญ่เสาร์ บวชเป็นพระได้๑๔ พรรษา ก็ได้นำศิษย์เอกจากบ้านคำบง ที่ชื่อว่า มั่น แก่นแก้ว เข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุในคณะธรรมยุต ณ วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) โดยมีพระอริยกวี (อ่อน ธมฺมรกฺขิโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ได้รับสมณฉายาว่า ภูริทตฺโต
    หลังจากอุปสมบทแล้ว หลวงปู่มั่น ก็ได้ไปพำนักฝึกอบรมด้านสมถะและวิปัสสนากรรมฐานอยู่กับหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ที่วัดเลียบในเมืองอุบลฯ นั่นเอง
    ความใกล้ชิดผูกพันระหว่างหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ผู้เป็นอาจารย์กับ หลวงปู่มั่น ผู้เป็นศิษย์ มีความลึกซึ้งเช่นไร ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านส่วนใหญ่คงได้รับทราบจากหนังสือของท่านหลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน กันมาแล้วนะครับ
    อ้อ ! ผมไปเจอเกร็ดอีกตอนหนึ่งว่า หลวงปู่มั่นเกือบจะไม่ได้บวชในตอนนั้น พระอุปัชฌาย์จะไม่บวชให้
    ท่านพระครูกมลภาวนากร บันทึกคำบอกเล่าอีกตอนหนึ่งว่า
    “ท่านอาจารย์ใหญ่ที่อยู่เมืองอุบลฯ (หมายถึงหลวงปู่เสาร์) สั่งลงมาว่า ให้นำผู้ชื่อมั่นขึ้นไปบวช ท่าน (หลวงปู่มั่น) จึงได้ขึ้นไปพร้อมกับคณะญาติพี่น้องของท่าน”
    ท่านผู้เล่า ย้ำเป็นภาษาอิสานว่า “หั่งสิแม่นตัวของเป็นอาจารย์ของเผิ่น เผิ่นถือเป็นอาจารย์ เผิ่นสั่งมาอีกว่า ให้เอาผู้ลำหม่วนๆ นั่นเลอขึ้นมาบวช”
    หลวงปู่ใหญ่ ท่านบอกว่า ให้เอาคนที่ลำสนุกๆ (เก่งๆ) นั่นแหละขึ้นมาบวชกับท่าน
    เล่ากันว่าหลวงปู่มั่น สมัยเป็นหนุ่มท่านเป็นหมอลำ ลำเดินนิทานพื้นเมืองอิสานได้ไพเราะและกินใจมาก ผู้เฒ่าผู้แก่ฟังแล้วถึงกับน้ำตาไหล และการเป็นหมอลำที่เก่งนี้เองเป็นสาเหตุที่ทำให้ท่านเกือบไม่ได้บวชในครั้งนั้น
    เรื่องมีอยู่ว่า ในตอนกลางคืนก่อนวันบวช ก็มีมหรสพ คือ มีหมอลำในงานบวชนั้น บังเอิญหมอลำชายไม่มา ผู้เฒ่าผู้แก่และเพื่อนๆได้รบเร้าให้ท่าน (ผมเข้าใจว่าเป็น นาค) ขึ้นไปลำแทน ทนรบเร้าไม่ได้ท่านจึงขึ้นไปลำเพื่อสนองตอบคำเรียกร้องนั้น
    ด้วยเหตุการณ์คืนนั้นเอง “ท่านถูกอุปัชฌาย์ดุเอา จนจะไม่ยอมทำการอุปสมบทให้ และดุพวกญาติโยมที่ยุให้ท่านขึ้นไปลำด้วย จนพระอาจารย์ของท่าน ต้องได้เข้าไปขอขมาโทษแทน พระอุปัชฌาย์จึงยอมทำการอุปสมบทให้”
    ท่านพระครูกมลภาวนากร ท่านระมัดระวังในการเขียนมาก ท่านบอกว่าที่ผู้เฒ่าผู้แก่ อายุ ๙๐ - ๑๐๐ ปีกว่า เล่าเรื่องนี้ให้ฟัง โดยใช้สรรพนามว่า “อาจารย์ของท่าน” เช่น “อาจารย์ของท่านได้เข้าไปขอโทษแทน” หรือ “อาจารย์ของท่าน สั่งลงมาจากเมืองอุบลฯ ให้เอาผู้ชื่อว่ามั่นขึ้นไปบวช” ฯลฯ ท่านอาวุโสที่เล่าเรื่องนี้ไม่ได้ยืนยันและท่านพระครูกมลฯ เอง ท่านก็ไม่กล้าชี้ชัดว่า เป็นหลวงปู่เสาร์ ท่านว่า “ผู้เขียนเกรงว่าจะเป็นการล่วงเกินพระบูรพาจารย์ เพราะผู้เล่าประวัติก็ไม่ได้ยืนยันชัดเจน...”
    นี่คือความระมัดระวังของพระป่า ลูกศิษย์สายหลวงปู่ใหญ่เสาร์- หลวงปู่มั่น อะไรไม่แน่ใจ แม้เพียงเล็กน้อยท่านก็จะไม่ฝืนทำ
    ส่วนผู้เขียนเอง (นายปฐม) ไม่มีวินัย ๒๒๗ ข้อ เหมือนกับท่าน อยากจะฟันธงลงไปว่า “พระอาจารย์ของท่าน” ตามที่กล่าวข้างต้นน่าจะเป็น หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล นั่นเอง ท่านรักลูกศิษย์ของท่านมาก ถึงกับยอมขอขมาแทนลูกศิษย์ จึงได้บวชสมความตั้งใจ
    ก็ฝากให้ทานผู้รู้ช่วยพิจารณาตรงนี้ด้วยครับ !
    ในตอนนี้ก็ยังจบลงไม่ได้ ยังมีคำถามคาใจที่ท่านพระครูกมลภาวนากรได้ถามผู้เฒ่าผู้แก่ว่า “ใครเป็นครูอาจารย์แต่งกลอนให้ท่าน(หลวงปู่มั่น) ?”
    ได้รับคำตอบว่า “ท่านเรียนและค้นคว้าด้วยตัวท่านเอง เพราะเรื่องนิทานต่างๆ มีอยู่ในหนังสือใบลานและสมุดข่อยอยู่ในสมัยนั้นเช่น นิทานเรื่องกำพร้าไก่แก้ว ขุนทึง ขุนเทือง จำปาสี่ต้น ท้าวสุริวงศ์ ท้าวก่ำกาดำ ซึ่งเป็นนิทานพื้นเมืองอิสานที่นิยมกันอยู่ในสมัยนั้น”
    ลูกหลานคนอิสานสมัยนี้ ได้มีโอกาสรู้เรื่องนิทานพื้นบ้านดีๆเหล่านี้ไหมหนอ? หรือว่าเรื่องซินเดอเรลล่า เรื่องสโนไวท์ ฯลฯ จะมีคุณค่าน่ารู้มากกว่า
    <table id="table18" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    ซุ้มประตูวัดเลียบ
    </td> <td>
    วัดเลียบ และวัดใต้อยู่คนละฟากถนน
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๓๕
    วัดบูรพาราม เมืองอุบลฯ
    เนื่องจากหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ท่านชอบที่วิเวก ชอบความสงบ ไม่ระคนด้วยหมู่คณะ ซึ่งเป็นอุปนิสัยประจำองค์ท่าน
    ในเวลาต่อมา ที่วัดเลียบมีศิษย์มากเข้า มีพระเณรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ท่านจึงได้หาที่วิเวกแห่งใหม่ และท่านไปพบสถานที่แห่งหนึ่งอยู่ด้านตะวันออกของตัวเมือง ห่างจากวัดเลียบ ประมาณ ๑ กิโลเมตร
    สถานที่ตรงนั้นเป็นวัดเก่าแก่ ร้างมานานหลายปี มีโบสถ์หลังเล็กๆ อยู่หลังหนึ่ง ซึ่งอยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมมากแล้ว แต่พออาศัยเป็นที่บำเพ็ญเพียรได้ หากมีการซ่อมแซมทำความสะอาดขึ้น
    ในบริเวณวัดร้างแห่งนั้นมีต้นหนามคอม ขึ้นปกคลุมเต็มไปหมดไม่มีผู้ใดที่จะย่างกรายเข้าไปในที่แห่งนั้น หลวงปู่ใหญ่จึงหลบจากหมู่คณะออกมาใช้ที่นั่นเป็นที่นั่งสมาธิภาวนาและเดินจงกรม แสวงความวิเวกในเวลากลางวัน พอเห็นลงก็กลับไปประกอบกิจวัตร และพักผ่อนที่วัดเลียบ ตามปกติ
    หลวงปู่ใหญ่ หลบผู้คนไปบำเพ็ญเพียรที่โบสถ์ในวัดร้างแห่งนั้นทุกวัน ท่านมุ่งหวังที่จะให้วัดร้างแห่งนั้นถูกสร้างขึ้นมาเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อีกแห่งหนึ่ง
    หลวงปู่ใหญ่ เล่าว่า ทุกวันในตอนเช้า เวลาท่านไปถึงและตอนเย็นเวลาท่านจะกลับวัดเลียบ ท่านจะทราบพระประธานในโบสถ์ ทำวัตรสวดมนต์และอธิษฐานจิต ขอให้ผู้มีฤทธิ์ดลบันดาลให้สถานที่แห่งนี้ได้เป็นวัดที่สมบูรณ์ภายในอนาคตอันใกล้นั้น
    ในเวลาต่อมาหลวงปู่ใหญ่ได้พาหลวงปู่มั่น ศิษย์ของท่าน ออกแสวงวิเวก ไปภาวนาที่บ้านภูหล่น ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอโขงเจียม อยู่บนฝั่งแม่น้ำโขงคนละฝั่งกับประเทศลาว
    เมื่อหลวงปู่ใหญ่ ออกเที่ยวธุดงค์ไปทางภูหล่น ได้เพียง ๗ วัน พระอาจารย์สีทา ชยเสโน พระกรรมวาจาจารย์ของหลวงปู่ใหญ่ ก็ได้มาใช้สถานที่ที่วัดร้างแห่งนั้นเป็นที่บำเพ็ญเพียร เพราะเห็นว่าเป็นที่สงบดี
    พระอาจารย์สีทา เห็นโบสถ์ร้างแห่งนั้นก็เกิดศรัทธา อยากจะบูรณะสถานที่นั้นขึ้นเป็นวัดอีกครั้งหนึ่ง
    จากวันนั้นเป็นต้นมา ทุกวันที่ท่านไปบำเพ็ญเพียรที่วัดแห่งนั้น ท่านจะเอาศิษย์วัดติดตามไปด้วย ให้เอามีด พร้า จอบ เสียม ไปถางพงไม้ต่างๆ ที่ขึ้นเป็นป่ารกทึบ ทำความสะอาดและซ่อมแซมโบสถ์เพื่อให้สภาพดูดีขึ้น
    พระอาจารย์สีทา พาเด็กออกไปถากถางทุกวัน ทำวันละนิดละหน่อย ส่วนตัวของท่านก็ใช้เวลาตลอดทั้งวันบำเพ็ญเพียรโดยการเดินจงกรมบ้าง นั่งสมาธิภาวนาบ้าง ตามแบบฉบับของพระกรรมฐาน
    อยู่มาวันหนึ่ง เวลาบ่ายคล้อยมากแล้ว พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เจ้าเมืองอุบลราชธานีในสมัยนั้น ได้ขี่ช้างออกตรวจรอบเมืองมาพร้อมด้วยทหาร พอมาถึงบริเวณวัดร้างนั้นท่านข้าหลวงได้ยินเสียงคนตัดไม้ หักร้างถางพง ณ สถานที่นั้น
    ด้วยความสงสัย จึงใช้ให้ทหารเข้าไปดู แล้วกลับมารายงานว่า“ญาคูสีทา ท่านให้เด็กถางป่ารอบโบสถ์ร้าง”
    ท่านข้าหลวงใช้ให้ทหารวิ่งเข้าไปถามพระท่านอีกว่า “ท่านญาคูจะอยู่เองหรือ ? ”
    ทหารกลับมารายงานตามคำของพระอาจารย์สีทา ว่า “ถ้ามีคนศรัทธาสร้างวัดให้ก็จะอยู่ ถ้าไม่มีใครสร้างให้ก็จะไม่อยู่”
    เมื่อทราบความดังนั้น ท่านเจ้าเมืองก็ไม่ได้พูดอะไร ท่านเดินทางกลับเข้าเมือง
    ตกเย็น ท่านพระอาจารย์สีทา ก็พาเด็กเดินทางกลับวัดตามปกติ
    พอรุ่งขึ้นเช้าวันใหม่ ท่านข้าหลวงฯ ก็สั่งให้เบิกนักโทษจากเรือนจำทั้งหมด (เรือนจำสมัยนั้นอยู่ตรงที่ตั้งสโมสรข้าราชการในปัจจุบัน) ให้ไปถากถาง และทำความสะอาดบริเวณวัดร้างจนเตียนโล่ง เหลือไว้เฉพาะต้นไม้ใหญ่
    จากนั้นมาก็เริ่มต้นสร้างวัดขึ้นมาใหม่ ชื่อว่า วัดบูรพาราม และเป็นวัดที่มั่นคงเป็นปึกแผ่นมาจนทุกวันนี้
    เป็นอันว่าการอธิษฐานจิตของท่านหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล สัมฤทธิ์ผลตามที่ท่านปรารถนาในเวลาไม่นานนัก
    <table id="table19" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">
    ต้นขนุนและต้นพิกุล
    ที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ปลูกไว้ที่วัดเลียบ
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๓๖
    หลวงปู่มั่นต้องการลาสิกขา
    คงอยู่ในราวปี พ ศ. ๒๔๔๐ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นพระบวชใหม่ อายุพรรษาราว ๔ พรรษา ขณะนั้นท่านพำนักปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ที่วัดเลียบ เมืองอุบลฯ ซึ่งหลวงปู่ใหญ่ท่านเป็นสมภารอยู่
    หลวงปู่มั่น ท่านเป็นพระหนุ่มที่เพิ่งเริ่มต้นภาวนา จิตใจของท่านคงจะยังโลดแล่นคึกคะนองตามธรรมชาติของคนวัยหนุ่มโดยทั่วไป จิตใจยังไม่สนิทแนบแน่นในทางธรรม ท่านเกิดอยากจะลาสิกขาไปครองเพศฆราวาสเป็นกำลัง สุดที่จะหักห้ามจิตใจไว้ได้
    หลวงปู่มั่น จึงตัดสินใจเตรียมเสื้อผ้าและเครื่องใช้สำหรับฆราวาสไว้พร้อม รอโอกาสเหมาะสมจึงได้จัดขันดอกไม้ธูปเทียนตามประเพณีเข้าไปแสดงความประสงค์จะขอลาสิกขากับหลวงปู่ใหญ่
    จะเป็นด้วยบุญบารมีของหลวงปู่มั่น ที่จำเป็นจะต้องได้บำเพ็ญตนเป็นพุทธสาวกที่สามารถประกาศสัจธรรมได้อย่างกว้างขวาง หรือด้วยการที่หลวงปู่ใหญ่จะสามารถหยั่งรู้จิตใจและอนาคตของศิษย์ หรือด้วยองค์ประกอบทั้งสองอย่าง ก็สุดจะคาดเดา (ผมเชื่อว่า เป็นบุญของพวกเราผู้เป็นศิษย์รุ่นหลานเหลนด้วย ที่จะได้มีครูบาอาจารย์ที่ประกาศสัจธรรมได้ตรงตามคำสอนของพระพุทธองค์)
    เมื่อหลวงปู่มั่น เข้าไปบอกความประสงค์จะขอลาสิกขา ปรากฏว่าหลวงปู่ใหญ่ ไม่ได้กล่าวคำทัดทานเลยแม้แต่น้อย ท่านพูดด้วยน้ำเสียงสงบเย็นตามอุปนิสัยของท่านว่า
    “ถ้าท่านจะลาสึกก็สึกได้ ไม่ห้ามไม่หวง แต่ผมจะขอร้องและแนะนำท่านสักอย่างว่า การที่เราได้เกิดเป็นมนุษย์ มีโอกาสได้พบพระพุทธศาสนาเช่นนี้ เป็นของยากเหลือเกิน
    ฉะนั้น เมื่อเราได้ลาภอันประเสริฐ ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกิดเป็นลูกผู้ชายได้บวชครองผ้ากาสายะของพระพุทธองค์อันบริสุทธิ์เช่นนี้แล้ว ขออย่าได้ละโอกาสอันดีงามนี้ให้ล่วงเลยไปโดยปราศจากประโยชน์เลย
    การได้มาบวชมาประพฤติธรรมเป็นบารมีของเรา เราอาจจะยังไม่ถึงพร้อมจึงยังไม่สามารถทำให้บรรลุถึงมรรคผลนิพพานได้แต่ก็ช่วยอบรมบ่มนิสัยในทางที่ดีงามให้แก่เราได้พอสมควร
    ในโอกาสที่ท่านจะสึกหาลาเพศออกไปนี้ ผมอยากขอร้องให้ท่านบำเพ็ญเพียรอย่างเต็มที่สัก ๗ วัน เพื่อเป็นการสร้างสมบารมีให้เกิดเป็นอุปนิสัยติดตามตนไป ไม่ว่าจะไปทำอะไรจะได้มีชีวิตที่รุ่งเรืองสดใส
    ในช่วง ๗ วันก่อนสึกนี้ ขอให้ท่านปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ขยันเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ใช้ความสามารถทั้งหมดที่มีให้เต็มที่ ระมัดระวังปิดประตูทวารทั้งหมดให้เป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา
    ใช้ความเพียรให้เต็มที่ เพราะเป็นโอกาสสุดท้ายของท่านที่จะทำ ถ้าออกไปครองเพศฆราวาสแล้วไม่สามารถประกอบความเพียรเช่นนี้ได้ ด้วยการครองเพศฆราวาสนั้นมันวุ่นวาย ต้องต่อสู้ดิ้นรนจะหยุดนิ่งไม่ได้ โอกาสทำความเพียรของฆราวาสจึงยากแสนยาก ไม่เหมือนอยู่ในเพศบรรพชิตเช่นนี้
    ในช่วง ๗ วันสุดท้ายของการเป็นพระนั้น จึงขอให้ท่านเร่งความเพียรให้เต็มที่เถิด ถือธุดงควัตร ๑๓ ให้เคร่งครัดที่สุด ฉันเอกาเป็นวัตร ถือเนสัชชิก ไม่นอนทอดกายตลอดวันคืน และการเข้าเยี่ยมป่าช้า เป็นต้น
    ขอให้ท่านทำตามคำขอร้องของผมอย่างเคร่งครัด เมื่อครบ ๗ วันแล้วเราค่อยมาพูดเรื่องการลาสึกกันใหม่
    <table id="table20" border="0" width="122"><tbody><tr> <td rowspan="2" align="center"> [​IMG]</td> <td align="center"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center">
    [​IMG]
    </td> <td align="center"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="center">
    วัดบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
    </td></tr></tbody></table>
     
  8. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    [​IMG]
    ๒๙
    เร่งความเพียรอย่างเต็มที่
    เมื่อหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และพระเณรในวัดใต้ประกอบพิธีญัตติกรรม เป็นพระในสังกัดธรรมยุติกนิกายเรียบร้อยแล้ว ความกังวลใจที่เนื่องจากคำพูดกระทบกระเทียบเปรียบเปรยจากหมู่พวกในนิกายเดิมก็ลดลงไป สามารถปฏิบัติตามแนวทางธรรมยุตได้เต็มที่ไม่ต้องคอยเกรงอกเกรงใจหรือกล้าๆ กลัวๆ ต่อไปอีก
    ในการประกอบความเพียรนั้น หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และคณะต่างพากันรีบเร่งโดยไม่นิ่งนอนใจ เวลาที่ผ่านไปทุกขณะเป็นเวลาแห่งชีวิต คนเราจะตายในวินาทีใดก็ได้ ท่านจึงไม่ประมาท ตั้งตัวเป็นศัตรูคู่อาฆาตกับความเกียจคร้านโดยไม่เห็นแก่นอน ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง ไม่เห็นแก่ลาภสักการะ และสิ่งสรรเสริญเยินยอต่างๆ เพราะสิ่งเหล่านี้มันเป็นหนามแหลมคม ที่ทิ่มแทงสรรพสัตว์ ให้ได้รับความปวดแสบสาหัสสากรรจ์มานาน จนนับภพนับญาติไม่ถ้วน
    หลวงปู่ใหญ่ ยึดมั่นในหลักธุดงควัตร ๑๓ โดยถือเป็นเกราะเพื่อป้องกันความหลง ความเผลอไผล ในการดำเนินบนเส้นทางแห่งศีล สมาธิ ปัญญา โดยมีการเดินจงกรม การทำสมาธิภาวนา เป็นพาหนะนำไปสู่หลักชัย คือ มรรค ผล นิพาน แดนเกษมที่ชาวพุทธปรารถนาเป็นที่สุด
    ในประวัติ ไม่ว่าหลวงปู่ใหญ่ จะไปที่ใด อยู่ที่ใด จิตใจท่านมิได้เหินห่างคลาดเคลื่อนไปจากความเพียร นับแต่ไปบิณฑบาต ปัดตาด กวาดลานวัด ขัดกระโถน เย็บผ้า ย้อมผ้า เดินไปเดินมาในวัดและนอกวัด ตลอดจนการขบฉัน ยืน เดิน นั่ง นอน ทุกอิริยาบถ จะตั้งสติกำหนดอยู่กับความเพียรทุกขณะไม่ให้คลาดเคลื่อน ไม่ยอมให้อารมณ์ภายนอกมากระทบจิตใจให้วอกแวกแส่ส่ายไปตามอารมณ์นั้น หรือไม่ยอมให้จิตปรุงแต่งไปตามอารมณ์ จิตของท่านก็ได้รับความสงบเย็นเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
    <table id="table16" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    หลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    แสดงพระธรรมเทศนา
    ในวันเปิดพระเจดีย์หลวงปู่เสาร์ ณ วัดดอนธาตุ
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๓๐
    พระครูวิเวกพุทธกิจ
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระครูวิเวกพุทธกิจ ตั้งแต่เมื่อใด ไม่มีการบันทึกไว้
    เมื่อศึกษาประวัติ และข้อวัตรที่ท่านบำเพ็ญมาตลอดชีวิตจะเห็นว่า หลวงปู่ใหญ่ เป็นผู้ชอบความสงบอย่างแท้จริง
    ในบันทึกของหลวงพ่อโชติ อาภคฺโค ได้กล่าวถึงอุปนิสัยของหลวงปู่ใหญ่ ดังนี้ :-
    “อุปนิสัยที่แท้จริงของพระอาจารย์เสาร์ ท่านเป็นผู้สันโดษชอบความสงบ ไม่ระคนด้วยหมู่คณะ ไม่ชอบความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม
    ตลอดเวลาการบำเพ็ญสมณธรรม ถ้าที่ไหนมีความวุ่นวาย จุ้นจ้านท่านก็จะปลีกตัวออกหนีทันที
    อุปนิสัยของท่านเช่นนี้ จะเห็นได้จากการเที่ยวเพื่อบำเพ็ญเพียรและเผยแผ่สัจจธรรมของท่าน ท่านจะท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ ที่ห่างไกลผู้คน
    พอไปถึงสถานที่ที่สงบสงัด เหมาะสม ตั้งหลักลงที่ไหน ที่นั้นจะต้องกลายเป็นวัดเป็นสำนักปฏิบัติธรรมทันที สถานที่ที่ท่านเคยพักบำเพ็ญเพียรจึงเกิดเป็นวัดป่าเป็นร้อยๆ แห่งในภาคอิสาน และทางฝั่งประเทศลาว
    การเที่ยวไป แม้จะไปเป็นหมู่คณะ แต่จะเงียบสงบเหมือนกับไม่มีพระไม่มีคนในที่นั้นเลย
    ญาติโยมคนเฒ่าคนแก่ในสถานที่ต่างๆ ที่ท่านเคยจาริกผ่านไปเล่าให้ข้าพเจ้า (หลวงพ่อโชติ) ฟังว่า เมื่อท่านเดินทางมาถึงที่ปักกลดพัก มีพระเณรติดตามท่านมามากทีเดียว กระทั่งพระธุดงค์จรก็จะเที่ยวมากราบนมัสการฟังโอวาทจากท่านมิได้ขาด
    ทั้งๆ ที่มาเป็นจำนวนมากๆ อย่างนั้น ก็ดูเหมือนว่าไม่มีพระอยู่เลย ในวัดเงียบสงัด ไม่มีการจับกลุ่มพูดคุย ไม่มีพระเณรเดินเพ่นพ่านให้เห็น ไม่มีการหยอกล้อ แม้เสียงกระแอมไอก็ไม่มี
    ต่างองค์ต่างบำเพ็ญเพียรทางจิต นั่งสมาธิภาวนาหรือเดินจงกรมในที่ของตนโดยมิได้ประมาท
    เมื่อเข้าไปภายในวัด จะเห็นเพียงพระอาจารย์กับศิษย์อุปัฏฐากของท่านเท่านั้น พระนอกนั้นจะเข้าหาที่สงัดวิเวก ตั้งหน้าบำเพ็ญเพียรดูจิตดูใจของตน ไม่ได้มาชุมนุมพูดจากัน
    วัดทั้งวัดเหมือนกับเป็นวัดร้าง จะเห็นมีพระเณรก็ในเวลาเช้า พระจะออกมาบิณฑบาต มารวมฉันภัตตาหาร อีกครั้งก็ตอนเวลาเย็น พระจะออกมาปัดกวาดตาด ตักน้ำเป็นน้ำใส่โอ่งใส่ตุ่มทุกแห่ง
    ในเวลาที่พระมารวมกันเช่นนี้ จึงจะเห็นพระเณรมากันเต็มไปหมด แม้กระนั้นก็ตาม ท่านจะพูดกันเท่าที่จำเป็นและพูดเพียงเบาๆ พอได้ยินระหว่างคู่สนทนาเท่านั้น ทุกท่านทุกองค์ต่างพากันสำรวมปิดประตูทวารทั้งหมด (หู ตา จมูก ลิ้น กายใจ) อย่างเต็มที่ ทำทุกอย่างด้วยความสงบเสงี่ยมระวังกายระวังใจ ไม่ให้เผลอสติออกนอกกายนอกใจตน เป็นการปฏิบัติภาวนาทุกอิริยาบถ และทุกช่วงลมหายใจเข้าออก
    พระป่าท่านพยายามฝึกกันถึงขนาดนั้นจริงๆ เพราะท่านเห็นภัยในความเอิกเกริกเฮฮาสาไถย์ต่างๆ เพราะอย่างนี้เองพระธุดงค์กรรมฐานท่านจึงพากันได้ดิบได้ดีในทางธรรม เป็นที่เคารพศรัทธาแก่หมู่ชนทั่วไป
    บรรดาพระลูกศิษย์ที่ติดตามปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ใหญ่ในสมัยนั้น ก็ได้แก่บูรพาจารย์สายธุดงค์กรรมฐานในยุคต่อมานั้นเอง ซึ่งรวมทั้ง หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม สืบมาจนถึงหลวงพ่อพุธ ฐานิโย เป็นต้น
    ๓๑
    ไม่เอาเรื่องพิธีกรรมตลอดจนไสยศาสตร์ต่าง ๆ
    เกี่ยวกับเสียงรบกวนและความจุ้นจ้านวุ่นวายต่างๆ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล หรือ พระครูวิเวกพุทธกิจ ตามสมณศักดิ์ของท่าน ท่านได้เข้มงวดกวดขัน ไม่ยอมให้เกิดให้มีในวัดที่ท่านปกครองอยู่
    เป็นต้นว่า เสียงไก่ ซึ่งสมัยนั้นคนมักนิยมเอาไปปล่อยในวัด โดยเชื่อกันว่าเป็นการสเดาะเคราะห์ เสียกรรม หรือ “โผดสัตว์” ปล่อยสัตว์ เพื่อเป็นการต่ออายุ และทำให้ตนเองหมดเคราะห์หมดโศก
    นอกจากนี้ก็ความเชื่อเรื่องพิธีกรรมต่างา เช่น การต่อหลักปีค้ำโพธิ์ (เอาไม้ไปค้ำต้นโพธิ์) ค้ำไฮ เหล่านี้เป็นพิธีกรรมที่นิยมทำกันมาแต่บรรพกาล
    เรื่องต่างๆ เหล่านี้ หลวงปู่ใหญ่ ท่านสอนไม่ให้เชื่อ ไม่ให้ทำกันซึ่งไม่ใช่แนวทางตามหลักพระพุทธศาสนา เป็นการงมงายที่ปฏิบัติต่อๆ กันมา
    เกี่ยวกับการเอาไก่มาปล่อยในวัด หลวงปู่ใหญ่ จะไม่ยอมเป็นอันขาด ท่านแนะนำให้ไปปล่อยที่อื่น แต่ญาติโยมก็ยังขัดขืนดื้อดึงเอาไปแอบปล่อยหลังวัด
    พอท่านได้ยินเสียงไก่ขัน หรือส่งเสียง ท่านก็จะสั่งให้ลูกศิษย์ตามจับ แล้วเอาไปปล่อยที่อื่นไกลๆ เพราะท่านไม่ชอบเสียงและความจุ้นจ้านของมัน เนื่องจากรบกวนการประพฤติธรรมของบรรดาพระเณร
    นอกจากจะเป็นไก่ป่าจริงๆ ซึ่งมันพากันมาอาศัยอยู่ตามบริเวณวัด มันอยู่อย่างธรรมชาติจริงๆ ไม่จุ้นจ้านเหมือนไก่บ้าน (ซึ่งอาจติดนิสัยบ้านมาจากคนก็ได้)
    ปฏิปทาเหล่านี้เองเป็นเครื่องบ่งบอกให้เห็นว่าหลวงปู่ใหญ่ทานชอบความสงบสงัดและความวิเวกอย่างแท้จริง สมกับราชทินนามพระครูวิเวกพุทธกิจ ของท่าน
    อุปนิสัยที่ชอบความวิเวก ไม่ระคนด้วยหมู่คณะนี้ท่านเริ่มดำเนินอย่างชัดเจนตั้งแต่เริ่มอธิษฐานจิตเพื่อขอบวชตลอดชีวิต ต่อมาถึงการได้ฟังเทศน์จากอาชญาท่านเทวธมฺมี (ม้าว) การเข้าพิธีญัตติกรรมเป็นพระธรรมยุต ท่านมุ่งหน้าสู่ปฏิปทาแนวใหม่ เพื่อบำเพ็ญเพียรมุ่งสู่ความหลุดพ้นและหมดกิเลสอย่างแท้จริง
    ๓๒
    สลดสังเวชในกามกิเลส
    วัดใต้ ที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล พำนักจำพรรษาและเป็นสถานที่แห่งแรกที่ท่านเริ่มต้นการบำเพ็ญเพียร เป็นวัดที่อยู่นอกเมืองยังเป็นสถานที่เงียบสงบพอประกอบความเพียรได้ดีอยู่
    ต่อมาหมู่คณะก็มีมากขึ้น อารมณ์กิเลสก็มีมากเป็นเงาตามตัวท่านจึงต้องย้ายที่ใหม่เพื่อการบำเพ็ญเพียร
    ดังนั้น ทุกๆ วัน หลังจากทำภัตกิจในตอนเช้าเสร็จ หลวงปู่ใหญ่จะถือโอกาสหลีกเร้นจากหมู่คณะ ไปหาที่บำเพ็ญเพียรตามลำพังองค์เดียว เที่ยวไปตามป่าละเมาะด้านหน้าของวัดใต้
    หลวงปู่ใหญ่ เล่าให้ศิษย์ฟังว่า สถานที่นั้นถือว่าห่างไกลจากพระ ห่างไกลจากผู้คนแล้ว ก็ยังมีพวกหนุ่มสาวแอบไปพลอดรักกัน แอบกระทำกามกิจให้ท่านได้รู้ได้เห็นอยู่อีก แสดงถึงกิเลสตัณหาและเครื่องยั่วยวนใจนั้นมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง จึงขึ้นอยู่ที่ตัวเราว่าจะหนักแน่นมั่นคงเพียงใด
    ท่านเล่าให้ฟังว่า วันหนึ่ง หลังจากฉันภัตตาหารในตอนเช้าเสร็จแล้ว ท่านก็หลีกเร้นออกไปทำความเพียรดังที่เคยทำมาทุกวัน หลังจากเดินจงกรมพอประมาณแล้ว ท่านก็เข้าที่นั่งสมาธิภาวนาสงบนิ่งอยู่
    ตรงที่ท่านนั่งนั้นเป็นจอมปลวกสูงใหญ่ (ทางภาคอิสานเรียกโพนใหญ่) ท่านนั่งสมาธิไปจนถึงเวลาบ่ายคล้อย ก็เกิดได้ยินเสียงหญิงชายกระซิบกระซาบในเชิงพลอดรักกันในบริเวณนั้น ตอนแรกท่านคิดว่าเป็นเสียงที่เกิดในนิมิต ท่านก็สงบนิ่งดูอยู่
    สักพักหนึ่งท่านลืมตาขึ้น ก็เห็นภาพปรากฏขึ้นจริงต่อหน้าต่อตา มีหนุ่มสาวคู่หนึ่ง น่าจะเป็นเด็กที่เอาวัวควายมาเลี้ยง แล้วหลบมาพลอดรัก กระทำกามกิจกันอยู่ที่ตีนจอมปลวกนั้น พวกเขาไม่รู้สึกละอายแก่สิ่งใด คิดว่าคงไม่มีใครรู้เห็นการกระทำของพวกเขา
    หลวงปู่ใหญ่ คงไม่อยากให้พวกเขาต้องอับอายจึงหลับตาสงบนิ่ง โดยที่พวกเข้าคงไม่รู้ว่ามีคนอื่นอยู่แถวนั้นด้วย
    หลวงปู่ใหญ่ เล่าว่า ทั้งภาพและการกระทำที่ท่านพบเห็นนั้นชวนให้ปลงสังเวชเป็นอย่างยิ่ง ที่เห็นมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายยังหมกอยู่ ของอยู่ จมอยู่ ในกิเลสวัฏฏะ ไม่อาจข้ามพ้น ต้องมืดมนบอดบ้าในสังสารวัฏร่ำไป
    เมื่อพิจารณาจนถ้วนที่แล้ว ท่านบอกว่าเกิดความเบื่อหน่ายในการที่ต้องเวียนเกิดเวียนตายอยู่ร่ำไป ทำให้ท่านตั้งความปรารถนาขึ้นว่า ถ้ายังไม่หลุดพ้น ถ้าหากยังต้องเกิดอีก จะขอเว้นจากเรื่องเพศตรงข้ามทุกภพทุกชาติไป ขอบวชอุทิศพรหมจรรย์ถวายในพระพุทธศาสนาเพื่อให้พ้นกลมายาโลกเหล่านี้ตลอดไป
    ๓๓
    เกิดวัดใหม่ชื่อวัดเลียบ
    บริเวณป่าละเมาะด้านหน้าวัดใต้ ที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลหลีกจากหมู่คณะออกมาบำเพ็ญเพียรนี้ ต่อมาก็มีหมู่คณะตามมาปฏิบัติด้วย ต่างเห็นว่าเป็นที่สงบสงัดดี
    บรรดาพระที่มาบำเพ็ญภาวนานั้น ได้พากันปลูกกระต๊อบหลังเล็กๆ แยกกันอยู่ตามจุดที่แต่ละองค์ถูกอัธยาศัย ต่อมาก็สร้างศาลาหอฉันขึ้นเป็นการชั่วคราว จนกระทั่งสถานที่ใหม่นี้เกิดเป็นวัดขึ้นมาในภายหลัง นั่นคือ วัดเลียบ และก็เป็นวัดสังกัดคณะธรรมยุตไปโดยปริยาย
    ต่อมาทางเจ้าเมืองได้ตัดถนนผ่านด้านหน้าวัดใต้ ที่ดินในบริเวณนั้นจึงกลายเป็นวัด ๒ วัด ตั้งอยู่คนละฟากถนนคือฟากหนึ่งเป็นวัดใต้ที่อยู่เดิม และอีกฟากหนึ่งก็เป็นวัดเลียบ ได้มีการพัฒนามาเป็นลำดับจนเป็นวัดที่มีความมั่นคงและสวยงามในปัจจุบัน
    วัดใต้ กับ วัดเลียบ จึงเป็นเสมือนวัดพี่วัดน้องที่มีถนนคั่นกลางมาเท่าทุกวันนี้
    วัดเลียบ เมืองอุบลราชธานีแห่งนี้เอง เป็นวัดที่หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้มาถวายตัวเป็นศิษย์วัดอยู่กับหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโลกตั้งแต่ครั้งยังเป็นป่า ที่พักสงฆ์ยังเป็นเพียงกุฏิกระต๊อบหลังเล็กๆ อยู่ ซึ่งหลวงปู่มั่นก็ได้บวชเป็นสามเณร และบวชเป็นพระในเวลาต่อมา
    ดังนั้น วัดเลียบเมืองอุบลฯ จึงเป็นจุดเริ่มต้นในทางพระพุทธศาสนาของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่สายธุดงค์กรรมฐานในยุคปัจจุบัน
    สำหรับประวัติความเป็นมาของวัดเลียบ ตามที่ปรากฏในประวัติวัด ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๑ (ซึ่งผมคัดลอกมาจากหนังสือของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ อีกทีหนึ่ง) มีดังนี้ -
    “เมื่อจุลศักราช ๑๒๑๐ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๙๑ ปีวอก เอกศกเดือน ๑๒ ขึ้น ๑๐ ค่ำ วันพฤหัสบดี ได้ตั้งวัดเลียบ มีเนื้อที่ ๙ ไร่ ๑ งาน ๓๗ ตารางวา มีสมภารอยู่นับได้ ๑๐ รูป และมีพระอาจารย์ทิพย์เสนาแก่นทิพย์ ฉายา ทิพฺพเสโน เป็นหัวหน้าปกครองคณะสงฆ์ ต่อมาท่านได้มรณภาพลง สำนักสงฆ์แห่งนี้จึงร้างไป
    ต่อมา พระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) ได้มาเป็นสมภารเมื่อจุลศักราช ๑๒๕๔ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๓๕ ปีมะเส็ง เบญจศก เดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ำ วันอังคาร พร้อมภิกษุสามเณร
    ส่วนฆราวาสมี พระอุบลการประชานุกิจ (บุญชู) พระสุระพลชยากร (อุ่น) ท้าวกรมช้าง (ทองจัน) สังฆการีจารปัจฌา สังฆการีจารเกษ และทายกทายิกา ได้พร้อมกันมีศรัทธาสร้าง ขยายวัดออกทางด้านบูรพา กว้างได้ ๑๑ วา ยาว ๖๔ วา ๒ ศอก ด้านอุดร กว้าง ๑๘ วา ๒ ศอก ยาว ๕๓ วา และได้สร้างรั้วรอบวัดมีเสนาสนะ มีพัทธสีมา ๑ มีหอแจก ๑ หลัง หอฉัน ๑ หลัง มีกุฏิ ๔ หลัง โปง ๑ และได้ปลูกต้นไม้ ได้แก่ มะพร้าว ๒๑๐ ต้น หมาก ๖๐ ต้น มะม่วง ๔๐๐ ต้น หมากมี้ (ขนุน) ๓๒๘ ต้น มะปราง ๒๕ ต้น

    ต่อมาพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พร้อมด้วยท้าวสิทธิสาร และเพียเมืองจันได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานวิสุงคามสีมา ตามพระราชโองการที่ ๘๗/๓๐๓ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ ศ ๒๔๓๙ ตรงกับ ร.ศ. ๑๑๕ อันเป็นปีที่ ๒๙ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีขนาดด้านยาว ๗ วา ด้านกว้าง ๕ วา
    อุโบสถหลังเดิมมีขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๒ เมตร ก่อสร้างด้วยไม้ หลังคามุงด้วยสังกะสี ควบคุมการก่อสร้างโดยพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสี โล
    ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธาน นามว่า “พระพุทธจอมเมือง” ซึ่ง พระอาจารย์เสาร์เป็นผู้สร้าง...”
    <table id="table17" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">
    พระพุทธจอมเมือง พระประธานในโบสถ์วัดเลียบ
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ สร้างถวายรัชกาลที่ ๕
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๓๔
    ได้ศิษย์เอกชื่อว่ามั่น
    มีอยู่ช่วงหนึ่ง ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๓๔ - ๒๔๓๕ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้ออกธุดงค์มาพักที่กุดเม็ก ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านคำบง อำเภอโขงเจียม ออกไปประมาณ ๒ กิโลเมตร
    คำว่า “กุดเม็ก มาจากคำว่า กุด คือลุ่มน้ำที่ปลายขาดห้วงเรียกปลายกุด และ เม็ก คือต้นสะเม็ก หรือที่เราเรียกว่า ผักเม็ก ยอดสีน้ำตาลอ่อน มีรสฝาด เอามาจิ้มกับน้ำพริก หรือกินกับลาบนั่นเอง
    กุดเม็ก เป็นป่าร่มรื่นอยู่ติดกับลำห้วยยาง ที่ไหลลงมาจากภูหล่น มีน้ำอุดมสมบูรณ์ตลอดปี แม้ปัจจุบันนี้ชาวบ้านคำบงและหมู่บ้านใกล้เคียง ยังได้อาศัยน้ำที่นี่ดื่มกิน ยามขาดแคลนในหน้าแล้ง
    ข้อมูลนี้ได้จากหนังสือของท่านพระครูกมลภาวนากร เจ้าอาวาสวัดภูหล่น ซึ่งท่านได้บรรยายต่อไปว่า กุดเม็กนี้ยังเป็นป่าร่มรื่นดีอยู่ในปัจจุบัน เพราะชาวบ้านคำบงได้เห็นความสำคัญของสถานที่ของพระบูรพาจารย์ จึงได้ร่วมกันอนุรักษ์สถานที่แห่งนี้ไว้
    สมัยที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ มาพักบำเพ็ญเพียรอยู่นั้น กุดเม็กยังเป็นป่ารกชัฏไปตลอดแนวของลำห้วยยาง ผู้เฒ่าเล่าให้ฟังว่าพอถึงตอนกลางคืน แถวนั้นดูแสนเปลี่ยวยิ่งนัก ไม่มีใครกล้าเดินเข้าไปหาหลวงปู่ใหญ่คนเดียว ต้องไปกันหลายๆ คน
    ท่านพระครูกมลภานากร ได้ให้ข้อสังเกตโดยส่วนตัวของท่านว่า “ท่านหลวงปู่เสาร์ท่านชอบไปพักที่เป็นสัปปายะใกล้ๆ ลำห้วยลำน้ำเสมอเช่น ที่กุดน้ำใส เขตอำเภอพิบูลมังสาหาร มีส่วนคล้ายคลึงมากกับสถานที่กุดเม็ก คืออยู่ใกล้ลำห้วยเหมือนกัน ยิ่งเป็นวัดดอนธาตุ บ้านทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร ที่ท่านอยู่จำพรรษาหลายปีนั้น เป็นเกาะดอน ตั้งอยู่กลางลำน้ำมูลเลยทีเดียว อากาศร่มรื่นเย็นสบายดี”
    ที่เอ่ยถึงบ้านคำบง ข้างต้น พวกเราคงจำได้ใช่ไหมครับว่าเป็นบ้านเกิดของพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่สายพระป่าในปัจจุบัน
    หลวงปู่มั่น ท่านเคยบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๕ ปี ซึ่งตรงกับปีระกา พ.ศ. ๒๔๒๘ ที่โบสถ์วัดคำบงโดยมี ญาท่านโครต บ้านตุงลุงกลาง ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านคำบงประมาณ ๓ กม. เป็นบรรพชาจารย์ของท่าน
    หลวงปู่มั่นบวชเณรอยู่ได้ ๒ พรรษา เมื่อท่านอายุได้ ๑๗ ปี จึงได้ลาสิกขาเพื่อออกไปช่วยงานทางบ้าน ตามคำขอของบิดา
    หลวงปู่มั่น เมื่อวัยหนุ่ม นอกจากจะมีความขยันขันแข็งในการงานแล้ว ท่านยังเป็นหมอลำฝีปากดี ของหมู่บ้านด้วย ซึ่งเล่ากันว่าท่านสามารถลำเดินนิทานพื้นเมืองอิสานได้ไพเราะจับใจผู้ฟังมาก ถึงกับผู้เฒ่าผู้แก่นั่งฟังด้วยน้ำตาซึมไปเลย
    ในหนังสือของพระครูกมลภาวนากร เขียนไว้ดังนี้
    “ผู้เล่าประวัติ เล่าว่า หลวงปู่มั่น (ตอนเป็นฆราวาสอยู่) พบกับหลวงปู่เสาร์ครั้งแรกที่กุดเม็ก และได้มอบตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่เสาร์ได้ขอเอาหลวงปู่มั่นไปบวชจากโยมพ่อแม่ของท่าน ในสถานที่กุดเม็ก นี้เอง ผู้เล่าเล่าว่าหลวงปู่มั่น เทียวเข้าเทียวออกเป็นประจำ บางคืนก็ไม่กลับเข้าไปนอนที่บ้าน อยู่ฝึกสมาธิกัมมัฏฐานและเพื่ออุปัฏฐากรับใช้ท่านอาจารย์”
    ท่านพระครูกมลฯ ได้บันทึกคำบอกเล่าเป็นภาษาอิสานว่า
    “เผิ่นนั่นแหล่ว เที่ยวเข้าเทียวออกดู๋กว่าหมู่ ล้างบาตร เช็ดบาตร ต้มน้ำร้อนน้ำอุ่น รับเคนสิ่งของเผิ่นประจำ ฮอดบ่เข้าเมือนอนเฮือน เผิ่นว่าอยู่นั่งหัดกรรมฐาน... กะหลวงปู่เสาร์ นั่นแหล่วชวนเอาเผิ่นไปบวชนำ เผิ่นว่า โตไปบวชกับเฮาเนอ
    และเล่าต่อว่า ท่านหลวงปู่เสาร์ ได้ขอเอาหลวงปู่มั่น กับโยมพ่อโยมแม่ของท่านไปบวชที่กุดเม็ก นี้เอง
    ผมขออาสาถอดรหัสออกเป็นภาษาไทยกลาง ความว่า
    “ก็ท่าน (หลวงปู่มั่น) นั่นแหละ เทียวเข้าเทียวออกบ่อยกว่าคนอื่น ล้างบาตร เช็ดบาตร ต้มน้ำร้อนน้ำอุ่น คอยประเคนสิ่งของท่านเป็นประจำ ถึงขนาดไม่กลับไปนอนที่บ้าน ท่านว่าอยู่นั่งหัดกรรมฐาน... และก็หลวงปู่เสาร์เองเป็นผู้ชวนให้ท่านบวช ท่านชวนว่า ไปบวชกับเรา เน๊าะ !”
    (ที่แปลมานี้ เพื่อยืนยันกับท่านผู้อ่านว่า ผมก็ฮู้ภาษาอิสานคือกัน เด๊)
    และ.. ในปี พ ศ. ๒๔๓๖ เมื่อหลวงปู่ใหญ่เสาร์ บวชเป็นพระได้๑๔ พรรษา ก็ได้นำศิษย์เอกจากบ้านคำบง ที่ชื่อว่า มั่น แก่นแก้ว เข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุในคณะธรรมยุต ณ วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) โดยมีพระอริยกวี (อ่อน ธมฺมรกฺขิโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ได้รับสมณฉายาว่า ภูริทตฺโต
    หลังจากอุปสมบทแล้ว หลวงปู่มั่น ก็ได้ไปพำนักฝึกอบรมด้านสมถะและวิปัสสนากรรมฐานอยู่กับหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ที่วัดเลียบในเมืองอุบลฯ นั่นเอง
    ความใกล้ชิดผูกพันระหว่างหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ผู้เป็นอาจารย์กับ หลวงปู่มั่น ผู้เป็นศิษย์ มีความลึกซึ้งเช่นไร ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านส่วนใหญ่คงได้รับทราบจากหนังสือของท่านหลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน กันมาแล้วนะครับ
    อ้อ ! ผมไปเจอเกร็ดอีกตอนหนึ่งว่า หลวงปู่มั่นเกือบจะไม่ได้บวชในตอนนั้น พระอุปัชฌาย์จะไม่บวชให้
    ท่านพระครูกมลภาวนากร บันทึกคำบอกเล่าอีกตอนหนึ่งว่า
    “ท่านอาจารย์ใหญ่ที่อยู่เมืองอุบลฯ (หมายถึงหลวงปู่เสาร์) สั่งลงมาว่า ให้นำผู้ชื่อมั่นขึ้นไปบวช ท่าน (หลวงปู่มั่น) จึงได้ขึ้นไปพร้อมกับคณะญาติพี่น้องของท่าน”
    ท่านผู้เล่า ย้ำเป็นภาษาอิสานว่า “หั่งสิแม่นตัวของเป็นอาจารย์ของเผิ่น เผิ่นถือเป็นอาจารย์ เผิ่นสั่งมาอีกว่า ให้เอาผู้ลำหม่วนๆ นั่นเลอขึ้นมาบวช”
    หลวงปู่ใหญ่ ท่านบอกว่า ให้เอาคนที่ลำสนุกๆ (เก่งๆ) นั่นแหละขึ้นมาบวชกับท่าน
    เล่ากันว่าหลวงปู่มั่น สมัยเป็นหนุ่มท่านเป็นหมอลำ ลำเดินนิทานพื้นเมืองอิสานได้ไพเราะและกินใจมาก ผู้เฒ่าผู้แก่ฟังแล้วถึงกับน้ำตาไหล และการเป็นหมอลำที่เก่งนี้เองเป็นสาเหตุที่ทำให้ท่านเกือบไม่ได้บวชในครั้งนั้น
    เรื่องมีอยู่ว่า ในตอนกลางคืนก่อนวันบวช ก็มีมหรสพ คือ มีหมอลำในงานบวชนั้น บังเอิญหมอลำชายไม่มา ผู้เฒ่าผู้แก่และเพื่อนๆได้รบเร้าให้ท่าน (ผมเข้าใจว่าเป็น นาค) ขึ้นไปลำแทน ทนรบเร้าไม่ได้ท่านจึงขึ้นไปลำเพื่อสนองตอบคำเรียกร้องนั้น
    ด้วยเหตุการณ์คืนนั้นเอง “ท่านถูกอุปัชฌาย์ดุเอา จนจะไม่ยอมทำการอุปสมบทให้ และดุพวกญาติโยมที่ยุให้ท่านขึ้นไปลำด้วย จนพระอาจารย์ของท่าน ต้องได้เข้าไปขอขมาโทษแทน พระอุปัชฌาย์จึงยอมทำการอุปสมบทให้”
    ท่านพระครูกมลภาวนากร ท่านระมัดระวังในการเขียนมาก ท่านบอกว่าที่ผู้เฒ่าผู้แก่ อายุ ๙๐ - ๑๐๐ ปีกว่า เล่าเรื่องนี้ให้ฟัง โดยใช้สรรพนามว่า “อาจารย์ของท่าน” เช่น “อาจารย์ของท่านได้เข้าไปขอโทษแทน” หรือ “อาจารย์ของท่าน สั่งลงมาจากเมืองอุบลฯ ให้เอาผู้ชื่อว่ามั่นขึ้นไปบวช” ฯลฯ ท่านอาวุโสที่เล่าเรื่องนี้ไม่ได้ยืนยันและท่านพระครูกมลฯ เอง ท่านก็ไม่กล้าชี้ชัดว่า เป็นหลวงปู่เสาร์ ท่านว่า “ผู้เขียนเกรงว่าจะเป็นการล่วงเกินพระบูรพาจารย์ เพราะผู้เล่าประวัติก็ไม่ได้ยืนยันชัดเจน...”
    นี่คือความระมัดระวังของพระป่า ลูกศิษย์สายหลวงปู่ใหญ่เสาร์- หลวงปู่มั่น อะไรไม่แน่ใจ แม้เพียงเล็กน้อยท่านก็จะไม่ฝืนทำ
    ส่วนผู้เขียนเอง (นายปฐม) ไม่มีวินัย ๒๒๗ ข้อ เหมือนกับท่าน อยากจะฟันธงลงไปว่า “พระอาจารย์ของท่าน” ตามที่กล่าวข้างต้นน่าจะเป็น หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล นั่นเอง ท่านรักลูกศิษย์ของท่านมาก ถึงกับยอมขอขมาแทนลูกศิษย์ จึงได้บวชสมความตั้งใจ
    ก็ฝากให้ทานผู้รู้ช่วยพิจารณาตรงนี้ด้วยครับ !
    ในตอนนี้ก็ยังจบลงไม่ได้ ยังมีคำถามคาใจที่ท่านพระครูกมลภาวนากรได้ถามผู้เฒ่าผู้แก่ว่า “ใครเป็นครูอาจารย์แต่งกลอนให้ท่าน(หลวงปู่มั่น) ?”
    ได้รับคำตอบว่า “ท่านเรียนและค้นคว้าด้วยตัวท่านเอง เพราะเรื่องนิทานต่างๆ มีอยู่ในหนังสือใบลานและสมุดข่อยอยู่ในสมัยนั้นเช่น นิทานเรื่องกำพร้าไก่แก้ว ขุนทึง ขุนเทือง จำปาสี่ต้น ท้าวสุริวงศ์ ท้าวก่ำกาดำ ซึ่งเป็นนิทานพื้นเมืองอิสานที่นิยมกันอยู่ในสมัยนั้น”
    ลูกหลานคนอิสานสมัยนี้ ได้มีโอกาสรู้เรื่องนิทานพื้นบ้านดีๆเหล่านี้ไหมหนอ? หรือว่าเรื่องซินเดอเรลล่า เรื่องสโนไวท์ ฯลฯ จะมีคุณค่าน่ารู้มากกว่า
    <table id="table18" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    ซุ้มประตูวัดเลียบ
    </td> <td>
    วัดเลียบ และวัดใต้อยู่คนละฟากถนน
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๓๕
    วัดบูรพาราม เมืองอุบลฯ
    เนื่องจากหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ท่านชอบที่วิเวก ชอบความสงบ ไม่ระคนด้วยหมู่คณะ ซึ่งเป็นอุปนิสัยประจำองค์ท่าน
    ในเวลาต่อมา ที่วัดเลียบมีศิษย์มากเข้า มีพระเณรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ท่านจึงได้หาที่วิเวกแห่งใหม่ และท่านไปพบสถานที่แห่งหนึ่งอยู่ด้านตะวันออกของตัวเมือง ห่างจากวัดเลียบ ประมาณ ๑ กิโลเมตร
    สถานที่ตรงนั้นเป็นวัดเก่าแก่ ร้างมานานหลายปี มีโบสถ์หลังเล็กๆ อยู่หลังหนึ่ง ซึ่งอยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมมากแล้ว แต่พออาศัยเป็นที่บำเพ็ญเพียรได้ หากมีการซ่อมแซมทำความสะอาดขึ้น
    ในบริเวณวัดร้างแห่งนั้นมีต้นหนามคอม ขึ้นปกคลุมเต็มไปหมดไม่มีผู้ใดที่จะย่างกรายเข้าไปในที่แห่งนั้น หลวงปู่ใหญ่จึงหลบจากหมู่คณะออกมาใช้ที่นั่นเป็นที่นั่งสมาธิภาวนาและเดินจงกรม แสวงความวิเวกในเวลากลางวัน พอเห็นลงก็กลับไปประกอบกิจวัตร และพักผ่อนที่วัดเลียบ ตามปกติ
    หลวงปู่ใหญ่ หลบผู้คนไปบำเพ็ญเพียรที่โบสถ์ในวัดร้างแห่งนั้นทุกวัน ท่านมุ่งหวังที่จะให้วัดร้างแห่งนั้นถูกสร้างขึ้นมาเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อีกแห่งหนึ่ง
    หลวงปู่ใหญ่ เล่าว่า ทุกวันในตอนเช้า เวลาท่านไปถึงและตอนเย็นเวลาท่านจะกลับวัดเลียบ ท่านจะทราบพระประธานในโบสถ์ ทำวัตรสวดมนต์และอธิษฐานจิต ขอให้ผู้มีฤทธิ์ดลบันดาลให้สถานที่แห่งนี้ได้เป็นวัดที่สมบูรณ์ภายในอนาคตอันใกล้นั้น
    ในเวลาต่อมาหลวงปู่ใหญ่ได้พาหลวงปู่มั่น ศิษย์ของท่าน ออกแสวงวิเวก ไปภาวนาที่บ้านภูหล่น ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอโขงเจียม อยู่บนฝั่งแม่น้ำโขงคนละฝั่งกับประเทศลาว
    เมื่อหลวงปู่ใหญ่ ออกเที่ยวธุดงค์ไปทางภูหล่น ได้เพียง ๗ วัน พระอาจารย์สีทา ชยเสโน พระกรรมวาจาจารย์ของหลวงปู่ใหญ่ ก็ได้มาใช้สถานที่ที่วัดร้างแห่งนั้นเป็นที่บำเพ็ญเพียร เพราะเห็นว่าเป็นที่สงบดี
    พระอาจารย์สีทา เห็นโบสถ์ร้างแห่งนั้นก็เกิดศรัทธา อยากจะบูรณะสถานที่นั้นขึ้นเป็นวัดอีกครั้งหนึ่ง
    จากวันนั้นเป็นต้นมา ทุกวันที่ท่านไปบำเพ็ญเพียรที่วัดแห่งนั้น ท่านจะเอาศิษย์วัดติดตามไปด้วย ให้เอามีด พร้า จอบ เสียม ไปถางพงไม้ต่างๆ ที่ขึ้นเป็นป่ารกทึบ ทำความสะอาดและซ่อมแซมโบสถ์เพื่อให้สภาพดูดีขึ้น
    พระอาจารย์สีทา พาเด็กออกไปถากถางทุกวัน ทำวันละนิดละหน่อย ส่วนตัวของท่านก็ใช้เวลาตลอดทั้งวันบำเพ็ญเพียรโดยการเดินจงกรมบ้าง นั่งสมาธิภาวนาบ้าง ตามแบบฉบับของพระกรรมฐาน
    อยู่มาวันหนึ่ง เวลาบ่ายคล้อยมากแล้ว พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เจ้าเมืองอุบลราชธานีในสมัยนั้น ได้ขี่ช้างออกตรวจรอบเมืองมาพร้อมด้วยทหาร พอมาถึงบริเวณวัดร้างนั้นท่านข้าหลวงได้ยินเสียงคนตัดไม้ หักร้างถางพง ณ สถานที่นั้น
    ด้วยความสงสัย จึงใช้ให้ทหารเข้าไปดู แล้วกลับมารายงานว่า“ญาคูสีทา ท่านให้เด็กถางป่ารอบโบสถ์ร้าง”
    ท่านข้าหลวงใช้ให้ทหารวิ่งเข้าไปถามพระท่านอีกว่า “ท่านญาคูจะอยู่เองหรือ ? ”
    ทหารกลับมารายงานตามคำของพระอาจารย์สีทา ว่า “ถ้ามีคนศรัทธาสร้างวัดให้ก็จะอยู่ ถ้าไม่มีใครสร้างให้ก็จะไม่อยู่”
    เมื่อทราบความดังนั้น ท่านเจ้าเมืองก็ไม่ได้พูดอะไร ท่านเดินทางกลับเข้าเมือง
    ตกเย็น ท่านพระอาจารย์สีทา ก็พาเด็กเดินทางกลับวัดตามปกติ
    พอรุ่งขึ้นเช้าวันใหม่ ท่านข้าหลวงฯ ก็สั่งให้เบิกนักโทษจากเรือนจำทั้งหมด (เรือนจำสมัยนั้นอยู่ตรงที่ตั้งสโมสรข้าราชการในปัจจุบัน) ให้ไปถากถาง และทำความสะอาดบริเวณวัดร้างจนเตียนโล่ง เหลือไว้เฉพาะต้นไม้ใหญ่
    จากนั้นมาก็เริ่มต้นสร้างวัดขึ้นมาใหม่ ชื่อว่า วัดบูรพาราม และเป็นวัดที่มั่นคงเป็นปึกแผ่นมาจนทุกวันนี้
    เป็นอันว่าการอธิษฐานจิตของท่านหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล สัมฤทธิ์ผลตามที่ท่านปรารถนาในเวลาไม่นานนัก
    <table id="table19" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">
    ต้นขนุนและต้นพิกุล
    ที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ปลูกไว้ที่วัดเลียบ
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๓๖
    หลวงปู่มั่นต้องการลาสิกขา
    คงอยู่ในราวปี พ ศ. ๒๔๔๐ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นพระบวชใหม่ อายุพรรษาราว ๔ พรรษา ขณะนั้นท่านพำนักปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ที่วัดเลียบ เมืองอุบลฯ ซึ่งหลวงปู่ใหญ่ท่านเป็นสมภารอยู่
    หลวงปู่มั่น ท่านเป็นพระหนุ่มที่เพิ่งเริ่มต้นภาวนา จิตใจของท่านคงจะยังโลดแล่นคึกคะนองตามธรรมชาติของคนวัยหนุ่มโดยทั่วไป จิตใจยังไม่สนิทแนบแน่นในทางธรรม ท่านเกิดอยากจะลาสิกขาไปครองเพศฆราวาสเป็นกำลัง สุดที่จะหักห้ามจิตใจไว้ได้
    หลวงปู่มั่น จึงตัดสินใจเตรียมเสื้อผ้าและเครื่องใช้สำหรับฆราวาสไว้พร้อม รอโอกาสเหมาะสมจึงได้จัดขันดอกไม้ธูปเทียนตามประเพณีเข้าไปแสดงความประสงค์จะขอลาสิกขากับหลวงปู่ใหญ่
    จะเป็นด้วยบุญบารมีของหลวงปู่มั่น ที่จำเป็นจะต้องได้บำเพ็ญตนเป็นพุทธสาวกที่สามารถประกาศสัจธรรมได้อย่างกว้างขวาง หรือด้วยการที่หลวงปู่ใหญ่จะสามารถหยั่งรู้จิตใจและอนาคตของศิษย์ หรือด้วยองค์ประกอบทั้งสองอย่าง ก็สุดจะคาดเดา (ผมเชื่อว่า เป็นบุญของพวกเราผู้เป็นศิษย์รุ่นหลานเหลนด้วย ที่จะได้มีครูบาอาจารย์ที่ประกาศสัจธรรมได้ตรงตามคำสอนของพระพุทธองค์)
    เมื่อหลวงปู่มั่น เข้าไปบอกความประสงค์จะขอลาสิกขา ปรากฏว่าหลวงปู่ใหญ่ ไม่ได้กล่าวคำทัดทานเลยแม้แต่น้อย ท่านพูดด้วยน้ำเสียงสงบเย็นตามอุปนิสัยของท่านว่า
    “ถ้าท่านจะลาสึกก็สึกได้ ไม่ห้ามไม่หวง แต่ผมจะขอร้องและแนะนำท่านสักอย่างว่า การที่เราได้เกิดเป็นมนุษย์ มีโอกาสได้พบพระพุทธศาสนาเช่นนี้ เป็นของยากเหลือเกิน
    ฉะนั้น เมื่อเราได้ลาภอันประเสริฐ ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกิดเป็นลูกผู้ชายได้บวชครองผ้ากาสายะของพระพุทธองค์อันบริสุทธิ์เช่นนี้แล้ว ขออย่าได้ละโอกาสอันดีงามนี้ให้ล่วงเลยไปโดยปราศจากประโยชน์เลย
    การได้มาบวชมาประพฤติธรรมเป็นบารมีของเรา เราอาจจะยังไม่ถึงพร้อมจึงยังไม่สามารถทำให้บรรลุถึงมรรคผลนิพพานได้แต่ก็ช่วยอบรมบ่มนิสัยในทางที่ดีงามให้แก่เราได้พอสมควร
    ในโอกาสที่ท่านจะสึกหาลาเพศออกไปนี้ ผมอยากขอร้องให้ท่านบำเพ็ญเพียรอย่างเต็มที่สัก ๗ วัน เพื่อเป็นการสร้างสมบารมีให้เกิดเป็นอุปนิสัยติดตามตนไป ไม่ว่าจะไปทำอะไรจะได้มีชีวิตที่รุ่งเรืองสดใส
    ในช่วง ๗ วันก่อนสึกนี้ ขอให้ท่านปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ขยันเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ใช้ความสามารถทั้งหมดที่มีให้เต็มที่ ระมัดระวังปิดประตูทวารทั้งหมดให้เป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา
    ใช้ความเพียรให้เต็มที่ เพราะเป็นโอกาสสุดท้ายของท่านที่จะทำ ถ้าออกไปครองเพศฆราวาสแล้วไม่สามารถประกอบความเพียรเช่นนี้ได้ ด้วยการครองเพศฆราวาสนั้นมันวุ่นวาย ต้องต่อสู้ดิ้นรนจะหยุดนิ่งไม่ได้ โอกาสทำความเพียรของฆราวาสจึงยากแสนยาก ไม่เหมือนอยู่ในเพศบรรพชิตเช่นนี้
    ในช่วง ๗ วันสุดท้ายของการเป็นพระนั้น จึงขอให้ท่านเร่งความเพียรให้เต็มที่เถิด ถือธุดงควัตร ๑๓ ให้เคร่งครัดที่สุด ฉันเอกาเป็นวัตร ถือเนสัชชิก ไม่นอนทอดกายตลอดวันคืน และการเข้าเยี่ยมป่าช้า เป็นต้น
    ขอให้ท่านทำตามคำขอร้องของผมอย่างเคร่งครัด เมื่อครบ ๗ วันแล้วเราค่อยมาพูดเรื่องการลาสึกกันใหม่
    <table id="table20" border="0" width="122"><tbody><tr> <td rowspan="2" align="center"> [​IMG]</td> <td align="center"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center">
    [​IMG]
    </td> <td align="center"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="center">
    วัดบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
    </td></tr></tbody></table>
     
  9. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๓๗
    หลวงปู่มั่นเปลี่ยนใจไม่สึก
    เมื่อหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล แนะนำหลวงปู่มั่น ลูกศิษย์ของท่านแล้ว หลวงปู่มั่น ท่านมีความดีใจมาก เพราะความหวังที่จะได้สึกมาเป็นฆราวาสลอยมาอยู่แค่เอื้อม แค่ ๗ วันเท่านั้นเอง
    หลวงปู่มั่น จึงตกลงรับปากกับครูอาจารย์ท่านอย่างแข็งขัน คือทำความเพียรให้เต็มที่เพื่อแลกกับการสึก
    หลังจากนั้นหลวงปู่มั่น ก็กราบลาไปเร่งทำความเพียรอย่างเต็มที่ หวังแต่เพียงเพื่อให้เป็นอุปนิสัยปัจจัยต่อไปทั้งในภพนี้และภพหน้า ตามคำที่ท่านอาจารย์ใหญ่บอก
    ส่วนหลวงปู่ใหญ่ ท่านก็เร่งทำความเพียรของท่านอย่างไม่หยุดหย่อน คือ ทุกวัน หลังฉันภัตตาหาร ท่านจะหลีกจากหมู่คณะไปบำเพ็ญเพียรที่โบสถ์วัดร้างจนถึงเวลาเย็นจึงกลับวัดตามปกติ
    เมื่อครบกำหนด ๗ วันตามสัญญา ท่านก็เรียกหาหลวงปู่มั่น เข้ามาพบ แล้วก็ถามความสมัครใจว่าจะสึกหรือไม่ ถ้าต้องการจะสึกก็จะสึกให้
    พร้อมกันนั้น หลวงปู่ใหญ่ ก็พูดในเชิงปรารภว่า “สมณะหรือนักบวชที่แท้จริง ต้องเป็นผู้ขวนขวายหาที่สงบเพื่อประกอบความเพียรชำระจิตใจของตน เพื่อทำให้ถึงที่สุดแห่งความทุกข์”
    แล้วท่านก็บอกความประสงค์ของท่านว่า ท่านจะออกธุดงค์แสวงวิเวกไปทางภูหล่น ที่นั่นมีภูเขายาวเป็นเทือกโอบล้อมอยู่ มีถ้ำอยู่หลายแห่ง เป็นที่สงบสงัดเหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนา
    หลวงปู่ใหญ่ บอกว่าท่านจะอยู่ที่ภูหล่น สักระยะหนึ่ง ต่อจากนั้นก็จะออกวิเวกไปเรื่อยๆ ไม่มีที่กำหนดหมาย สุดแต่ความพอใจและสมควรแก่สถานการณ์
    หลวงปู่มั่น รู้สึกตื่นเต้นดีใจที่พระอาจารย์ของท่านบอกความประสงค์เช่นนั้น ประกอบกับช่วง ๗ วันนี้ท่านเร่งประกอบความเพียรอย่างเต็มที่ ถือธุดงควัตรอย่างเคร่งครัด เกิดความมั่นใจในทางธรรมขึ้นมาก
    หลวงปู่มั่น ได้พิจารณาถึงความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิต หาแก่นสารแท้จริงไม่ได้ ไปหลงยึดถือเอาสิ่งไม่เป็นแก่นสารมาเป็นสาระ จึงได้พากันเวียนว่ายตายเกิดในวัฏทุกข์อยู่ร่ำไป ไม่มีที่สิ้นสุดคิดแล้วชวนสลดสังเวชเป็นอย่างยิ่ง
    เมื่อคิดพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ท่านจึงเลิกล้มความคิดที่จะสึก และตัดสินใจด้วยตัวท่านเองว่า จะขออยู่ปฏิบัติธรรมในเพศบรรพชิต อย่างมอบกายถวายชีวิตไม่ขอสึกอีกต่อไป
    เมื่อหลวงปู่ใหญ่ บอกข่าวเรื่องที่ท่านจะไปภูหล่นและธุดงค์ไปเรื่อยๆ หลวงปู่มั่น จึงขอติดตามไปด้วย
    หลวงปู่ใหญ่ ท่านอนุญาต และเห็นว่าเป็นโอกาสดีที่หลวงปู่มั่นจะได้ถือโอกาสแวะเยี่ยมบ้านเกิดของท่านด้วย
    ตั้งแต่นั้นมาทั้งอาจารย์ และศิษย์ คือหลวงปู่ใหญ่เสาร์และหลวงปู่มั่น ก็เที่ยวจาริกธุดงค์ไปด้วยกันหลายถิ่นหลายที่เรื่อยมา
    <table id="table21" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">
    ถ้ำที่ปฏิบัติธรรมของ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น
    บนภูหล่น อ ศรีเมืองใหม่ จ อุบลราชธานี
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๓๘
    ไปบำเพ็ญเพียรที่ภูหล่น
    ประมาณปี พ ศ ๒๔๔๐ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลกได้พาศิษย์ของท่าน คือ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งยังเป็นพระนวกะ บวชได้๔ พรรษา ออกเดินธุดงค์จากวัดเลียบ ในเมืองอุบลราชธานี ไปปฏิบัติภาวนาที่ภูหล่นซึ่งอยู่ในเขตอำเภอโขงเจียม (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอศรีเมืองใหม่) จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับฝั่งประเทศลาว
    หลวงปู่ใหญ่ ได้พาหลวงปู่มั่น แวะเยี่ยมบ้านเกิดของหลวงปู่มั่นที่บ้านคำบง ซึ่งอยู่ห่างจากภูหล่น ประมาณ ๕ กิโลเมตร เพื่อให้โอกาสลูกศิษย์ได้เยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง
    เมื่อหลวงปู่ใหญ่ และศิษย์เดินทางไปถึงบ้านคำบง บรรดาเพื่อนฝูงญาติมิตรของหลวงปู่มั่น และพี่น้องชาวบ้านคำบง ต่างพากันมากราบเยี่ยมเยียน ทักทาย โอภาปราศรัย และให้การอุปัฏฐากต้อนรับเป็นอย่างดี
    ท่านทั้งสองพักอยู่ที่บ้านคำบง ช่วงระยะเวลาหนึ่ง (ในบันทึกไม่ได้บอกว่ากี่วัน) หลวงปู่ใหญ่ เห็นว่าถ้าพักอยู่นานจะทำให้ศิษย์ของท่านฟุ้งซ่านมากขึ้น ท่านจึงออกอุบายขอร้องให้ชาวบ้านคำบงช่วยนำทางไปยังบ้านภูหล่น เพื่อสำรวจหาสถานที่เหมาะสมในการภาวนา
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์กับหลวงปู่มั่น ได้มาพักปักกลดที่ภูหล่นและออกสำรวจดูภูเขาหลายลูก ในที่สุดก็ได้กำหนดเอาสถานที่บนหลังเขาภูหล่นเป็นที่พักบำเพ็ญเพียร โดยจะอยู่ประจำสักระยะเวลาหนึ่งที่นานพอสมควร
    ภูหล่นเป็นภูเขาที่ไม่สูงนัก ขึ้นลงก็พอดี ไม่ถึงกับลำบาก ที่โคจรบิณฑบาตก็อยู่ไม่ไกล อีกทั้งบริเวณภูหล่นนั้นอากาศดี เหมาะแก่การทำความเพียรอบรมสมาธิภาวนา

    (คนไทยแต่ละภาคจะเรียกชื่อภูเขาต่างกัน ภาคอิสาน เรียก ภู ภาคเหนือเรียก ดอย ภาคกลางเรียก เขา และภาคใต้เรียก ควน)
    เล่ากันว่า ภูหล่น สมัยนั้นมีสัตว์ป่าชุกชุมมาก ตอนรุ่งเช้าเสียงนกร้องแข่งกับเสียงไก่ป่าขันกันเซ็งแซ่ พอตกตอนกลางคืนบางคืนเดือนมืด ครึ้มฟ้าครึ้มฝน ได้ยินเสียงสัตว์ป่านานาชนิด และเสียงเสือร้องคำราม บางคืนเงียบสงัดน่ากลัวมาก ต้องเข้าที่ภาวนาทั้งคืนไม่ได้หลับนอนเลย
    ในบันทึกของท่านพระครูกมลภาวนากร มีดังนี้
    “ผู้เล่าประวัติเล่าว่า หลวงปู่มั่น ท่านชอบอากาศบริเวณหลังเขา (หมายถึงบนสันเขา) ท่านนั่งสมาธิ ได้รับความสงบติดต่อกันทั้งกลางวันกลางคืน จนได้เกิดนิมิตและอุคคหนิมิตหลายสิ่งหลายอย่าง ทำให้เกิดปีติดื่มด่ำเปี่ยมล้นท้นจิตใจ อย่างที่ไม่เคยประสบความสุขสงบอันลึกล้ำเช่นครั้งนี้จากที่ไหนมาก่อน จิตใจค่อยถ่ายถอนจากความฟุ้งซ่าน
    ท่านได้เข้าไปเรียนให้ท่านพระอาจารย์เสาร์ ทราบถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติ ที่ได้รับความรู้แปลกๆ ใหม่ๆ เกิดขึ้น
    ท่านพระอาจารย์เสาร์กล่าวว่า ได้แล้วท่านมั่น ท่านมาบำเพ็ญอบรมสมาธิบนสถานที่แห่งนี้เพียงเวลาไม่นาน ท่านก็ได้กำลังใจที่ตั้งมั่นในสมาธิ และได้รับผลคือเกิดปีติ ความเย็นอกเย็นใจในสถานที่แห่งนี้ ให้ท่านพยายามรักษาความบริสุทธิ์ใจ และกำลังสมาธิที่เกิดขึ้นนั้นอย่าให้เสื่อม เรื่องต่างๆ เกี่ยวกับญาติโยม ผมจะรับหน้าที่แทนเอง
    <table id="table22" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td align="center">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> <td>
    ภูหล่น อำเภอศรีเมืองใหม่
    จ อุบลราชธานี

    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๓๙
    คำบอกเล่าจากหลวงปู่โทน
    หลวงปู่โทน กนฺตสีโล เป็นศิษย์อาวุโสองค์หนึ่งของหลวงปู่มั่น ขณะที่เล่าเรื่องภูหล่นนั้น ท่านอายุได้ ๙๓ ปี ท่านขึ้นไปปฏิบัติธรรมที่ภูหล่นครั้งสุดท้าย เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ท่านขึ้นมาทำวัตร (สักการะ) ณ สถานที่ของพ่อแม่ครูอาจารย์ ซึ่งท่านเคยมาปฏิบัติธรรมด้วย
    หลังจากหลวงปู่โทน กลับลงจากภูหล่น ได้ ๕ - ๖ เดือน ก็เกิดอาพาธ และมรณภาพก่อนที่จะออกพรรษาเพียง ๑๐ วัน ที่สำนักของท่าน คือ วัดบูรพา บ้านสะพือ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
    ส่วนภูหล่น ต่อมาภายหลังได้เป็นสำนักสงฆ์ และเป็นวัดภูหล่น โดยมี พระครูกมลภาวนากร (หลวงพ่อสีทน กมโล) เป็นเจ้าอาวาส และเป็นผู้บูรณะพัฒนาขึ้นมา เป็นสถานที่ที่เหมาะในการบำเพ็ญภาวนาในปัจจุบัน โดยได้รับการสนับสนุนจากหลวงปู่กิ ธมมุตฺตโม วัดป่าสนามชัย อ.พิบูลมังสาหาร และพระครูพิบูลธรรมภาณ (หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค วัดภูเขาแก้ว อ พิบูลมังสาหาร จ อุบลราชธานี
    หลวงปู่โทน เล่าว่า “ภูหล่นสมัยนั้นไม่เหมือนปัจจุบันนี้หรอก สัตว์ป่ามีแทบทุกชนิด” แล้วท่านก็เปลี่ยนสำเนียงเป็น “นามมึ้อเซ้าจั่งซี้เสียงนกกก นกแกง นกกาเวา ฮ้องสนั่น เสียงไก่ป่าขันกันเป็นแซวๆ” นี่คือบรรยากาศ นามมื้อเซ้า คือยามเช้า
    “บางคืนเดือนมืด ครึ้มฟ้าครึ้มฝน ได้ยินเสียงสัตว์ป่าต่างๆ และเสียงเสือร้อง และเงียบสงัดน่ากลัวมาก ต้องเข้าที่ภาวนาทั้งคืนไม่ได้นอน”
    หลวงปู่โทน เล่าถึงช่วงที่ท่านมาปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่ใหญ่เสาร์และหลวงปู่มั่น เมื่อครั้งกระโน้น ให้ท่านพระครูกมลฯ ฟังว่า “นั่น.ผมนั่งอยู่ตรงนั้น ฝูงลิง ๓๐ - ๔๐ ตัวมันมานั่งล้อมดูเรา ไม่หนีไปไหน เวลานั่งสมาธิ มันจะมานั่งล้อมเราอยู่ใกล้ๆ เราได้เข้าไปเรียนเรื่องนี้กับหลวงปู่มั่น ท่านบอกว่าให้สวดกรณีฯ และแผ่เมตตา มันก็หนีหรอก”
    (สวดกรณีฯ คือ บทสวดกรณียเมตตสูตร เป็นบทแผ่เมตตา โดยเฉพาะเวลาไปพักตามป่าตามเขา ในช่วงที่ผู้เขียนฝึกนั่งกลดเดินจงกรมใหม่ๆ เมื่อกว่า ๒๐ ปีมาแล้ว เคยกลัวผีมาก ถึงกับเวลาเข้ากลดแล้วไม่กล้าลืมตาจนตลอดคืน กลัวจะเห็นอะไรที่เราไม่อยากเห็น หลวงพ่อพุธ ฐานิโย บอกให้สวดมนต์บทกรณียเมตตสูตร ทำให้มั่นใจหายกลัวได้ ใครที่กลัวผีลองดูนะครับ และควรศึกษาความเป็นมาของพระสูตรบทนี้ด้วย น่าสนใจมาก มีอยู่ในบทสวดมนต์ทำวัตรทั่วไป - ปฐม)
    หลวงปู่โทน เล่าต่อว่า “ตอนกลางคืน หมีมันไล่กัดกันขึ้นมาที่บนหลังภูหล่น กัดกันเอาเป็นเอาตาย ไม่ยอมไปที่อื่น และคืนหนึ่งเสือมันขึ้นมาหมอบอยู่ข้างๆ ต้นกระบก หัวทางเดินจงกรมของท่านอาจารย์ใหญ่ (หลวงปู่เสาร์) แต่ตอนกลางคืนที่มันมาไม่เห็นมันนะ ตอนเช้ามาแล้วจึงเห็นรอยของมันหมอบอยู่ใกล้ๆ
    ท่านหลวงปู่เสาร์ ท่านได้เล่าเรื่องนี้ให้โยมชาวบ้านที่ขึ้นมาในตอนเช้าฟัง และให้ชาวบ้านขึ้นมาช่วยขนหินขนดินก่อเป็นถ้ำ มีประตูเข้าออกเปิดปิดได้ โดยเอาดินโคลนผสมกับเศษหินเล็กๆ และฟางข้าวทำอยู่หลายวันจึงแล้วเสร็จ
    ท่านพระครูกมลฯ ถามว่า “หลวงปู่ทั้งสองท่านได้ทำด้วยหรือถ้ำนี้?” ข
    หลวงปู่โทน : “ก็ท่านนั่นแหละเป็นผู้บอกแนะวิธีทำยกหินเฝือดิน (ฉาบดินโคลน) ทำช่วยกันทั้งพระทั้งโยมนั่นแหละ ทำเสร็จยังไม่นานดินโคลนที่ฉาบทาผนังถ้ำบางแห่งยังไม่แห้งสนิทดี เสือมันขึ้นมาตอนกลางคืน
    คืนนั้นครึ้มฟ้าครึ้มฝนและลมด้วย มันมาเดินวนเวียนอยู่ที่บริเวณรอบๆ ถ้ำ
    ท่านพระครูฯ : “มีผู้อยู่ในถ้ำนั้นไหม ?”
    หลวงปู่โทน : ก็ท่านอาจารย์ใหญ่ (หลวงปู่เสาร์) ท่านอยู่ข้างใน (เสือ) มันเดินวนเวียนไปมาเหมือนจะหาทางเข้า และมันได้เอาเท้าตะปบที่ข้างประตูด้านซ้าย ซึ่งยังเป็นรอยติดอยู่ที่ถ้ำข้างประตูมาจนถึงทุกวันนี้
    หลวงปู่โทน เล่าต่อไปว่า “วันหนึ่ง ตอนใกล้ค่ำ ท่าน (น่าจะเป็นหลวงปู่มั่น - ปฐม) จะให้ขึ้นเขาอีกลูกหนึ่งและจะให้ไปกับท่าน แต่ไม่ได้ขึ้นไปกับท่าน...ภูเขาที่อยู่ในบริเวณแถวๆ นี้ มีหลายลูก ท่านหลวงปู่มั่นท่านเที่ยวขึ้นไปบำเพ็ญสมาธิภาวนาเกือบทุกลูก ท่านเป็นคนกล้ามาก ท่านเล่าว่า ถ้าได้ไปอยู่ในที่เปลี่ยวๆ รู้สึกได้กำลังจิตดีมากในการทำสมาธิ แล้วต่อมาท่าน (ทั้งสององค์) ก็ได้แยกกันที่ภูหล่น”
    บันทึกของท่านพระครูกมลภาวนากร มีต่อจากนี้ว่า “ผู้เล่าประวัติ (หลวงปู่โทน) ไม่ได้ระบุให้ผู้เขียนฟังว่า ท่านหลวงปู่เสาร์ พร้อมกับหลวงปู่มั่น ท่านลงจากภูหล่น ด้วยสาเหตุอะไร? ท่านไปไหน? ปี พ ศ. เท่าไร ?
    ประวัติความเป็นมาในช่วงนี้จึงได้ขาดหายไป และไม่มีโอกาสเรียนถามท่านได้อีกเลย ท่านผู้เล่าประวัติก็ได้แยกจากท่านไปด้วยเหมือนกัน
    ประวัติที่ท่าน (หลวงปู่โทน) เล่าให้ผู้เขียน (พระครูกมลภาวนากร) ฟังบางตอนก็จบลงเพียงเท่านี้
    แต่มีโยมผู้เฒ่าที่พอจำเหตุการณ์ได้ในตอนนั้นเล่าว่า ท่านหลวงปู่มั่น ได้ออกจากภูหล่น ได้เดินธุดงค์ไปกับอาจารย์ของท่าน (ไป) ทางฝั่งลาว และยังได้ยืนยันว่าท่านได้อยู่จำพรรษาที่ภูหล่น ๒ พรรษา บางคนว่า ๔ - ๕ พรรษา บางคนว่าท่านอยู่ถึง ๖ - ๗ ปี
    ส่วนผู้ที่ยืนยันฝ่ายหลัง (ท่านพระครูหมายถึงตัวท่านเอง - ปฐม) คิดเอาเองว่า ท่านอาจเลยมาพักที่ภูหล่น และได้เล่าต่อมาว่า ท่านได้นำทองของเก่าแก่หลายอย่างมาจากทางฝั่งลาว มาหล่อเป็นพระพุทธรูปที่กุดเล็กได้สององค์ โดยทำเตาหลอมเททองด้วยตัวท่านเอง และประดิษฐานไว้ที่ วัดบ้านคำบง บ้านเกิดของท่าน (หลวงปู่มั่น) ซึ่งชาวบ้านคำบงและพระสงฆ์ได้เก็บรักษาไว้จนถึงทุกวันนี้
    ในหนังสือ พระปรมาจารย์สายพระกัมมัฏฐาน :ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร ได้เขียนถึงเหตุการณ์ในตอนนี้ว่า
    “ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร ได้อบรมแนะนำการปฏิบัติกัมมัฏฐานแก่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร จนรู้แน่ชัดว่า มีกำลังสมาธิพอแก่การบำเพ็ญเพียรโดยลำพังได้ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร จึงได้ปลีกวิเวกไปแสวงหาที่ปฏิบัติแห่งใหม่ และให้ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ปฏิบัติอบรมภาวนาที่ภูหล่น เป็นเวลาประมาณ ๒ ปี
    ต่อมา ท่านพระอาจารย์มั่น ได้เดินรุกขมูลร่วมกับท่านพระอาจารย์เสาร์ ไปธุดงค์ฝั่งลาว และท่านทั้งสองได้กลับมาเยี่ยมบ้านคำบงอีกครั้ง พร้อมกับสร้างพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ ๒ องค์ ที่ กุดเม็ก โดยทำเตาหลอมและหล่อพระด้วยองค์ท่านเอง
    <table id="table23" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">
    กุดเม็ก บ้านคำบง ต สงยาง อ ศรีเมืองใหม่ จ อุบลราชธานี
    และพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ ๒ องค์ ที่หลวงปู่ทั้งสองเป็นผู้สร้าง
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ภาค ๓ : ธุดงค์แดนไกล
    ๔๐
    ออกธุดงค์โปทางฝั่งลาว
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กับลูกศิษย์คือ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตพักบำเพ็ญเพียรอยู่ที่ภูหล่น ราว ๒ ปี
    หลวงปู่ใหญ่ เห็นว่าลูกศิษย์ของท่านได้ฝึกทำความเพียรจนจิตมีกำลังกล้าแข็งพอสมควรแล้ว จึงได้พาออกธุดงค์ข้ามแม่น้ำโขงไปทางฝั่งประเทศลาว
    การออกธุดงค์ครั้งนั้นอยู่ระหว่างปี พ ศ. ๒๔๔๒ - ๒๔๔๓ ไปกัน๓ องค์ มี หลวงปู่ใหญ่เสาร์ หลวงปู่มั่น ซึ่งเป็นพระหนุ่ม อายุพรรษาประมาณ ๖ พรรษา และสามเณรอีก ๑ รูป
    ทั้งสามองค์พากันเดินลัดเลาะไปตามป่าเขาขึ้นไปทางทิศเหนือเรื่อยไป จนไปถึงเมืองหลวงพระบาง นอกจากแสวงหาที่วิเวกเพื่อบำเพ็ญเพียรแล้ว หลวงปู่ใหญ่ ยังมีความประสงค์ที่จะเสาะหาครูอาจารย์กรรมฐานที่เก่งๆ พอที่จะช่วยแนะนำการภาวนาให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
    หลังจากเที่ยวเสาะหาอยู่ระยะหนึ่ง ก็ไม่พบว่าจะมีใครที่สามารถให้ความรู้ด้านกรรมฐานได้ดีกว่าแนวทางที่ตัวท่านเองกับลูกศิษย์กำลังปฏิบัติอยู่ จึงตัดสินใจกลับมาทางฝั่งไทยคืน
    ทั้งสามองค์เดินย้อนลงมาทางแขวงคำม่วน ตลอดเส้นทางเป็นป่าดงดิบ และภูเขาเพิงผาสลับซับซ้อนเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรอย่างยิ่ง
    หลวงปู่ใหญ่ พาศิษย์เดินธุดงค์ลงมาถึงเขตเมืองท่าแขก ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับจังหวัดนครพนมของไทย ระยะนั้นเป็นช่วงใกล้จะเข้าพรรษา จึงได้พักบำเพ็ญสมณธรรมและจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำแห่งหนึ่ง อยู่ไม่ห่างจากหมู่บ้านชาวป่า เรียกว่า บ้านถ้ำ
    ภูมิประเทศแถบนั้นเป็นป่าเขาที่อุดมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิดมีทั้งช้าง เสือ หมี และผีร้ายนานาประการ ตลอดจนไข้มาเลเรียก็ชุกชุม แต่เป็นที่สงบวิเวกเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรเป็นอย่างยิ่ง
    ทั้งหมดนี้ได้จากบันทึกของ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร ซึ่งท่านได้รับการบอกเล่ามาจากหลวงปู่มั่นโดยตรง ในบันทึกมีต่อไปว่า
    “ในระหว่างพรรษานั้น ท่านอาจารย์เสาร์ และสามเณรได้จับไข้มาเลเรีย มีอาการหนักบ้างเบาบ้าง ก็ไม่ถึงกับร้ายแรงจริง..
    วันหนึ่งมีคณะอุบาสกอุบาสิกาได้นำผ้ามาบังสุกุล ท่านอาจารย์เสาร์ ต้องการจะตัดจีวร เรา (หลวงปู่มั่น) ก็ต้องจัดทำทุกอย่างกว่าจะเย็บเสร็จ เพราะต้องเย็บด้วยมือ ใช้เวลาถึง ๗ วันจึงเสร็จ
    หลวงปู่มั่น เล่าว่า “...(จีวร) ยังไม่เสร็จดีเลย ไข้มันเกิดมาจับเอาเราเข้าให้แล้ว ทำให้เราต้องเกิดความวิตกกังวลขึ้นมา นึกในใจว่าเณรก็ไข้ อาจารย์ก็ไข้ เราก็กลับจะมาไข้เสียอีก ถ้าต่างคนต่างหนักใครเล่าจะดูแลรักษากัน ถ้าเกิดล้มตายกันเข้า ใครจะเอาใครไปทิ้งไปเผากันเล่า
    เจ้ากรรมเอ๋ย อยู่ด้วยกันสามองค์ก็เจ็บป่วยไปตามๆ กัน ยิ่งกว่านั้น อาจารย์ของเรานั่นแหละจะร้อนใจมาก
    หลวงปู่มั่น เล่าให้หลวงพ่อวิริยังค์ ฟังต่อไปว่า
    “...เราได้คิดมานะขึ้นมาในใจว่า บัดนี้เราไม่มีทางเลือกทางอื่นแล้ว ที่จะมาระงับเวทนานี้ได้ เพราะยาจะฉันแก้ไข้ก็ไม่มีเลย มีแต่กำลังอานุภาพแห่งภาวนานี้เท่านั้น
    เรามาอยู่สถานที่นี้ ก็เพื่อจะอบรมตนในทางเจริญกรรมฐานภาวนา เราจะมาคิดแส่ส่ายไปทางอื่นหาควรไม่ เราต้องเอาธรรมเป็นที่พึ่งจึงจะถูก แม้จะตายขอให้ตายด้วยการภาวนา ไม่ต้องท้อถอยอ่อนแอ จะต้องเป็นผู้กล้าหาญจึงจะจัดว่าเป็นนักพรตได้
    แล้วเราก็ตัดสินใจปฏิบัติบูชาพระพุทธศาสนาด้วยข้อปฏิบัตินั้น
    แล้วหลวงปู่มั่น ก็กำหนดบริกรรมว่า พุทโธ ๆ ๆ ไป จนใจเริ่มสงบเย็น ซึ่งท่านบอกว่าในขณะนั้น ท่านยังไม่สันทัดในการเจริญกรรมฐานเท่าไร
    “ครั้นบริกรรม พุทโธๆๆ ก็นึกถึงคำสอนของอาจารย์ขึ้นมาว่า กายนี้เป็นที่อาศัยของจิตและเป็นทางเดินของจิต เปรียบเหมือนแผ่นดิน ย่อมมีทางน้อยใหญ่เป็นที่สัญจรของหมู่สัตว์ทุกหมู่เหล่า
    กายนี้ก็เหมือนกัน ย่อมเป็นที่อยู่อาศัยของจิต และเป็นที่เที่ยวไปมาของจิตฉันนั้น
    ถ้าจิตมามัวยึดถือกายนี้ว่าเป็นตนอยู่เมื่อใด ย่อมได้รับความทุกข์ความเศร้าโศกเสียใจ มีความเดือดร้อนวุ่นวายอยู่เป็นนิตย์...
    หลวงปู่มั่น เล่าต่อไปว่า
    “เมื่อหมดหนทางเพราะไม่มีใครช่วยแล้ว เรานั่งสมาธิเข้าที่อยู่ โดยการเสียสละกำหนดจิตแล้วทำความสงบ ทำให้เป็นหนึ่งแน่วแน่ ไม่ให้ออกนอกเป็นอารมณ์ได้เลย
    เพราะขณะนั้นทุกขเวทนากล้าจริงๆ พอกำหนดความเป็นหนึ่งนิ่งจริงๆ ครู่หนึ่ง ปรากฏว่าศีรษะลั่นเปรี๊ยะปร๊ะไปหมด จนเหงื่อไหลออกมาเหมือนรดน้ำ
    เมื่อออกจากสมาธิปรากฏว่า ไข้ได้หายไปราวกับปลิดทิ้ง
    นี่เป็นการระงับอาพาธด้วยธรรมโอสถเป็นครั้งแรกของเรา เราได้พยาบาลอาจารย์ของเราได้เต็มที่..
    การเดินทางในครั้งนี้นั้น ได้เป็นเช่นนี้หลายหน บางครั้งมาเลเรียขึ้นสมองแทบเอาชีวิตไม่รอด
    หลวงปู่ใหญ่ ท่านเห็นว่า การจะเดินธุดงค์ในถิ่นทุรกันดารเช่นนั้นต่อไปคงจะไม่เป็นผลดี พอออกพรรษาแล้วท่านก็พาศิษย์เดินทางกลับประเทศ ไทย
    ๔๑
    ป้างหย่อนเกิดจากแรงพยาบาทของหญิง
    เรื่องตอนนี้ได้รับการถ่ายทอดจาก หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ดังนี้ -
    “ท่านอาจารย์เสาร์ ได้เล่าเรื่องประวัติท่านอาจารย์มั่นให้ผู้เขียน (หลวงปู่เทสก์) ฟังว่า ท่านมั่นเป็นลูกศิษย์ที่ดี พรรษาตั้ง ๑๐ กว่าแล้วยังตักน้ำให้อาจารย์อาบอยู่ ด้านการภาวนาก็เก่งมาก เราไม่เป็นไม่เห็นสิ่งต่างๆ แต่ท่านมั่นก็เห็นและเป็นไปต่างๆ
    เมื่อครั้งมาเที่ยวประเทศลาวครั้งแรก ท่านพูดน่าขบขันมาก บอกว่า ท่าน (หลวงปู่เสาร์) ป่วยเป็นโรคป้างหย่อน คือ ม้ามหย่อนนั่นเอง เจ็บไม่หายสักที
    ภาวนาวันหนึ่ง เกิดรู้ขึ้นมาว่า มีผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งอิจฉาพยาบาทท่านอยู่ไม่หาย ตั้งแต่สมัยท่านยังหนุ่ม สึกออกจากสามเณรไป เกิดชอบรักกัน เมื่อจะร่วมรัก ไปเห็นของสกปรกของผู้หญิงคนนั้น จึงไม่กล้าสำเร็จความใคร่ ผู้หญิงเลยอาย เกิดความพยาบาทอาฆาตจองเวร
    ไม่ได้ดอก ถ้าไม่พาผมกลับไปเมืองอุบลฯ ไปให้เขาอโหสิให้เสียก่อนจึงจะหาย
    เมื่อท่านกลับไปเมืองอุบลฯ แล้ว ได้เรียกผู้หญิงคนนั้นกับแม่เขามาหา ท่านอาจารย์เสาร์ได้เล่าเรื่องความจริงให้เขาฟังทุกประการ ถ้าหากเป็นความจริงอย่างนั้น ก็ให้อโหสิกรรมกันเสีย การผูกกรรมทำเวรกันเป็นกรรมอันยืดยาวมาก อันนี้ยังดีที่ยังไม่ได้ตายจากกัน อโหสิกรรมให้กันเสียก็จะแล้วกันไป
    เมื่อพูดแล้ว ผู้หญิงคนนั้นก็ยิ้มๆ ได้ขันน้ำแล้วไปกรวดน้ำที่ตีนบันได เป็นอันว่าอโหสิกรรมกันหมดเท่านั้น
    (เรื่องกรรมนี้เป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก ถ้ายังนั่งสมาธิ - ภาวนายังไม่ถึงที่ ก็จะไม่เข้าใจ ท่านที่สนใจโปรดหาอ่านได้ที่ ชีวิตนี้สำคัญนัก เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นเล่มบางๆ ๔๐ กว่าหน้าเท่านั้น พระองค์อธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจได้ง่ายๆ เป็นพระปรีชาอย่างยิ่ง - ปฐม)
    ๔๒
    จำพรรษาที่พระธาตุพนม
    เมื่อออกพรรษาแล้ว หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ก็พาหลวงปู่มั่นและสามเณร รอนแรมตามฝั่งโขงเรื่อยลงมา อาศัยบิณฑบาตตามหมู่บ้าน ซึ่งมีเป็นหย่อมๆ ของชนเผ่าต่างๆ ได้แก่ ชาวภูไท ไทยดำ ลาวโซ่ง เป็นต้น ซึ่งชนแต่ละเผ่านี้ล้วนแต่นับถือพระสงฆ์องคเจ้า ชอบทำบุญ
    หลวงปู่มั่น ได้พูดถึงตัวท่านเองในขณะนั้นว่า “...แต่ขณะนี้ตัวของเราเองก็ยังมองไม่เห็นธรรมของจริง ยังหาที่พึ่งแก่ตนเองยังไม่ได้ จะไปสอนผู้อื่นก็เห็นจะทำให้ตัวของเราเนิ่นช้า จึงไม่แสดงธรรมอะไร นอกจากเดินทางไป พักบำเพ็ญสมณธรรมไปตามแต่จะได้”
    จากหนังสือของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ เขียนถึงการเดินทางในตอนนี้ว่า หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ได้พาศิษย์ “เดินมาจนถึงปากเซบั้งไฟ จึงพากันนั่งเรือข้ามมาฝั่งขวาคือฝั่งประเทศไทย ขึ้นฝั่งที่ท่าน้ำหน้าวัดพระธาตุพนม และหยุดพักที่วัดพระธาตุพนม”
    (การเรียกฝั่งซ้ายฝั่งขวานั้น ท่านให้ยืนหันหลังไปทางต้นน้ำหันหน้าไปทางที่น้ำไหลลง ฝั่งที่อยู่ทางซ้ายมือของเราถือเป็นฝั่งซ้ายและฝั่งทางขวามือเราก็เป็นฝั่งขวา-ปฐม)
    ในปีนั้นน่าจะเป็นปี พ.ศ. ๒๔๔๓ หลวงปู่มั่น ได้เล่าถึงสภาพของพระธาตุพนมในสมัยนั้นว่า :-

    “ขณะนั้น พระธาตุพนมไม่มีใครเหลียวแลดอก มีแต่เถาวัลย์นานาชนิดปกคลุมจนมิดเหลือแต่ยอด ต้นไม้รกรุงรังไปหมด”
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ หลวงปู่มั่น กับสามเณร ได้พักอยู่ที่นั่นเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม
    จากบันทึกของหลวงพ่อโชติ อาภคฺโค ได้กล่าวถึงท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ) ซึ่งต่อมาเป็นเจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ ได้ร่วมคณะธุดงค์ในครั้งนั้นด้วย ดังนี้ :-
    “สมัยหนึ่งท่านรวมกันอยู่ มีท่านพระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น และท่านเจ้าคุณปัญญาพิศาลเถร ออกปฏิบัติธรรมร่วมกัน เที่ยวบำเพ็ญไปตามฝั่งแม่น้ำโขง พอจวนเข้าพรรษาในปีนั้น ท่านหวนกลับมาฝั่งไทย ข้ามแม่น้ำโขงมาทางฝั่งจังหวัดนครพนม เข้าพักที่ธาตุพนม ประมาณปี ๒๔๔๓ พระธาตุพนมสมัยนั้นยังไม่สูงเหมือนสมัยนี้..”
    ในบันทึกของ หลวงพ่อโชติ มีต่อไปว่า :-
    “ปี พ.ศ. ๒๔๔๔ พระครูวิโรจน์รัตโนบล เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี วัดทุ่งศรีเมือง ได้ไปบูรณะพระธาตุพนม
    ท่านเล่าว่า สมัยนั้นพระธาตุพนมรกทึบ มีต้นไม้ เครือเถาวัลย์ขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะต้นยางใหญ่นั้นใหญ่จนคนโอบไม่หุ้ม
    ตรงบริเวณฐานและส่วนกลางของพระธาตุจะมองไม่เห็นองค์พระธาตุเลย ไม่มีคนกล้าไปแตะต้องถากถางได้ เพราะกลัวอาถรรพ์ต่างๆ นานา ซึ่งเป็นอำนาจลึกลับเร้นลับที่คนไม่สามารถเข้าไปที่นั่น
    บันทึกของหลวงพ่อโชติ ได้พูดถึงคณะของหลวงปู่ใหญ่ ว่า :-
    “ท่านพระอาจารย์เสาร์ ปกติวิสัยท่านชอบกุฏิน้ำ ถ้ามีสระท่านจะให้ทำยื่นไปในสระน้ำ แล้วทำสะพานเข้าไป ถ้าริมน้ำท่านจะให้ทำใกล้น้ำที่สุด
    อยู่ที่ธาตุพนมก็เหมือนกัน ตรงบริเวณพระธาตุมีสระน้ำอยู่สระหนึ่ง น้ำใสมาก มีดอกบัวบานสะพรั่ง และจอกแหน
    ท่านพระอาจารย์เสาร์ จึงให้ทำกุฏิน้ำให้ท่าน ส่วนพระอาจารย์มั่นและท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร ทำที่พักกุฏิริมรอบพระธาตุ ปีพ.ศ. ๒๔๙๘ ผู้เขียน (หลวงพ่อโชติ) ไปไหว้พระธาตุพนมยังเห็นกุฏิพระอาจารย์เสาร์ในสระข้างโรงเรียน
    <table id="table24" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    ภาพ พระธาตุพนม
    วาดจากภาพถ่ายของนักสำรวจชาวฝรั่งเศส เมื่อ พ ศ. ๒๔๐๙
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๔๓
    แสงประหลาดที่พระธาตุพนม
    พระธาตุพนมในสมัยก่อน ประชาชนแถวนั้นคงไม่รู้ถึงความสำคัญ จึงไม่มีใครสนใจเท่าใดนัก เมื่อคณะของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้มาพำนักจำพรรษา จึงได้เปิดเผยความลี้ลับและความศักดิสิทธิ์ ประชาชนและทางบ้านเมืองจึงได้ตื่นตัว ต่อมากได้มีการบูรณะขึ้นมาจนกลายเป็นปูชนียวัตถุที่สำคัญของภาคอิสาน และของประเทศไทยในปัจจุบัน
    จึงนับได้ว่าการมาพำนักของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พระปัญญาพิศาลเถร (หลวงปู่หนู ฐิตปญฺโญ) และคณะ ในปี พ ศ. ๒๔๔๓ จึงถือเป็นคุณมหาศาล ที่ทำให้ชนรุ่นหลังได้พระธาตุพนมสถานศักดิ์สิทธิ์เพื่อการกราบไหว้มาจนทุกวันนี้
    ในบันทึกของหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร ที่ได้ฟังจากปากของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เมื่อปี พ ศ ๒๔๘๖ บันทึกไว้ดังนี้
    “ท่านเล่าไปเคี้ยวหมากไปอย่างอารมณ์ดีว่า ขณะนั้นพระธาตุพนมไม่มีใครเหลียวแลดอก มีแต่เถาวัลย์นานาชนิดปกคลุมจนมิดเหลือแต่ยอด ต้นไม้รกรุงรังไปหมด
    ทั้งสาม ศิษย์อาจารย์ก็พากันพักอยู่ที่นั่นเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ขณะที่ท่านอยู่กันนั้น พอตกเวลากลางคืนประมาณ ๔ - ๕ ทุ่ม จะปรากฏมีแสงเขียววงกลมเท่ากับลูกมะพร้าว และมีรัศมีสว่างเป็นทางผุดออกจากยอดพระเจดีย์ แล้วก็ลอยห่างออกไปจนสุดสายตา และเมื่อถึงเวลาก่อนจะแจ้ง ตี ๓ - ๔ แสงนั้นจะลอยกลับเข้ามาจนถึงองค์พระเจดีย์ แล้วก็หายวับเข้าองค์พระเจดีย์ไป
    ทั้งสามองค์ ศิษย์อาจารย์ได้เห็นเป็นประจักษ์เช่นนั้นทุกๆ วัน ท่านอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร จึงพูดว่าที่พระเจดีย์นี้ต้องมีพระบรมสารีริกธาตุอย่างแน่นอน
    ในบันทึกของหลวงพ่อโชติ อาภคฺโค เล่าถึงเหตุการณ์เดียวกัน
    “นับแต่วันแรกของการอธิษฐานเข้าพรรษา พระอาจารย์เสาร์ได้เห็นแสงฉัพพรรณรังสี พวยพุ่งออกมาจากองค์พระธาตุในระยะหัวค่ำ ครั้นพอจวนสว่างก็ปรากฏแสงสีต่างๆ ลอยพวยพุ่งเข้าสู่องค์พระธาตุเหมือนเดิม
    ปรากฏการณ์ที่แปลกประหลาดนั้น ปรากฏขึ้นโดยตลอดจนออกพรรษา
    ท่านพระอาจารย์เสาร์ท่านเชื่อแน่ว่า พระธาตุนี้บรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าอย่างไม่ต้องสงสัย
    ท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ได้ไปเสาะหาข้อมูลในภายหลังได้บันทึกไว้ดังนี้ :-
    “เรื่องแสงประหลาดลอยออกจากพระธาตุฯ มีผู้รู้เห็นกันมากมาย เรื่องนี้มีการเล่าขานสู่กันฟังในหมู่ลูกหลานชาวเมืองพนม (ชาวธาตุพนม) ว่า ตกมื้อสรรวันดี ยามค่ำคืนกะสิมีแสงคือลูกไฟลอยจากพระธาตุให้ไทบ้านไทเมืองพนมได้เห็นกันทั่ว
    ข้าพเจ้าได้สอบถามจากคุณเฉลิม ตั้งไพบูลย์ เจ้าของร้านเจียบเซ้ง จำหน่ายยารักษาโรค ผู้ตั้งรกรากอยู่ที่ถนนกุศลรัษฎากร อันเป็นถนนจากท่าน้ำตรงไปยังวัดพระธาตุพนม ท่านเล่าให้ฟังว่า
    สมัยก่อนนั้น (เมื่อ ๔๐ ปีย้อนหลัง) ท่านยังได้เห็นแสงจากองค์พระธาตุอยู่บ่อยๆ คือตอนกลางคืนราว ๓ - ๔ ทุ่ม จะมีแสงสว่างคล้ายหลอดไฟ ๖๐ แรงเทียน เป็นทรงกลมเท่าผลส้ม ลอยออกจากองค์พระธาตุฯ ในระดับสูงเท่ายอดมะพร้าว (๔๐ - ๕๐ เมตร) ลอยขนานกับพื้นในระดับความเร็วกว่าคนวิ่ง พุ่งไปทางทิศตะวันออก ผ่านหลังคาบ้านของท่าน... แล้วลอยข้ามโขง (แม่น้ำโขง) ไปจนลับสายตา... พอตกดึกจวนสว่างก็จะลอยกลับมาในแนวเดิม แล้วลับหายเข้าสู่องค์พระธาตุฯ เหมือนเดิม ผู้คนแถวนี้ได้เคยเห็นกันอยู่บ่อยๆ ปัจจุบันนี้ไม่มีปรากฏให้เห็นอีก
    หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้พูดถึงการบำเพ็ญสมณธรรมที่พระธาตุพนมในครั้งนั้นว่า “การพักอยู่ในบริเวณของพระธาตุพนมนี้ทำให้จิตใจเบิกบานมาก และทำให้เกิดอนุสรณ์รำลึกถึงพระพุทธเจ้าได้อย่างดียิ่ง”
     
  10. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๕๐
    ขบถผีบุญที่มณฑลอิสาน
    เหตุการณ์ขบถผีบุญ ที่มณฑลอุบล เป็นเรื่องที่ดังมากในสมัยนั้น ผมเองเคยได้ยินแต่ชื่อ ไม่ทราบเรื่องราวที่แท้จริง เผอิญเรื่องนี้มีความเกี่ยวพันกับหลวงปู่มั่น อยู่บ้างเล็กน้อย คือ ชื่อของหัวหน้าผีบุญ ที่เรียกว่า อ้ายมั่น (อ้าย แปลว่า พี่ หรือ ลูกพี่) ต่อมาก็เรียกว่า องค์มั่นผู้วิเศษ ชื่อไปพ้องกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ของพวกเราเข้า เลยก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ก่อเรื่องกวนใจให้ครูบาอาจารย์ในสมัยนั้นพอสมควร
    เรื่องขบถผีบุญ ที่นำเสนอ ณ ที่นี้ เป็นผลการศึกษาค้นคว้าของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ อีกตามเคย ต้องขอบพระคุณที่ท่านอุตส่าห์ค้นคว้าและเรียบเรียงสาระสำคัญมาให้พวกเราได้อ่านกัน
    ผมเองก็ แหะ !.แหะ ! คัดลอกมาทั้งดุ้น เพื่อเสนอท่านผู้อ่านดังต่อไปนี้ครับ :-
    อาจารย์สมบัติ ตั้งชื่อหัวข้อว่า กรณีขบถผีบุญหรือผู้มีบุญ” มีรายละเอียด ดังนี้ :-
    เนื่องจากมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกัน ควรที่จะนำลงมาพิมพ์ไว้เพื่อประโยชน์แก่คนรุ่นหลังที่อาจจะยังไม่ทราบ นั่นคือเกิดเหตุการณ์เรื่องขบถผีบุญ หรือขบถผู้มีบุญ ขึ้นที่มณฑลอุบล เมื่อ ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๓) ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
    เหตุการณ์เริ่มต้นจากการที่มีข้อความเป็นคำพยากรณ์ซึ่งนัยว่ามาจากหนังสือผูกที่จารลงใบลาน เป็นถ้อยคำปริศนา ความว่า
    “...ถึงกลางเดือนหก ปีฉลู จะเกิดเภทภัยใหญ่หลวง หินแร่ (หินลูกรัง) จะกลายเป็นเงินทอง ฟักเขียวฟักทองจะกลายเป็นช้างม้า ควายทุยเผือกและหมูจะกลายเป็นยักษ์กินคน ท้าวธรรมิกราช (ผู้มีบุญ) จะมาเป็นใหญ่ในโลกนี้ ใครอยากพ้นเหตุร้ายก็ให้คัดลอกบทความลายแทงให้รู้กันต่อๆ ไป ถ้าใครเป็นคนบริสุทธิ์ ไม่ได้กระทำชั่วบาปกรรมใดๆ แล้ว ให้เอาหินแฮ่มาเก็บรวบรวมไว้ รอท้าวธรรมิกราช มาชุบเป็นเงินเป็นทองขึ้น ถ้าใครได้กระทำชั่วต่างๆ แต่เพื่อแสดงตนให้เป็นคนบริสุทธิ์ ก็ต้องมีการล้างบาปโดยจัดพิธีนิมนต์พระสงฆ์มารดน้ำมนต์ให้ ถ้ากลัวตายก็ให้ฆ่าควายทุยเผือกเสียก่อนกลางเดือนหก อย่าทันให้มันกลายเป็นยักษ์ต่างๆ นานา ผู้ที่เป็นสาวโสดก็ให้รีบมีผัว มิฉะนั้นยักษ์จะกินหมด...”
    (ข้อความข้างต้น มีที่สะดุดใจมากตอนที่ว่า “ใครอยากพ้นเหตุร้ายก็ให้คัดลอกบทความลายแทงให้รู้กันต่อๆ ไป” ข้อความตรงนี้คุ้นๆ ไหมครับ ทุกวันก็ยังมีอยู่บ่อยๆ ในลักษณะจดหมายลูกโซ่ ให้คัดลอกข้อความแล้วส่งต่อหลายๆ ชุด ถ้าใครทำก็บอกว่าจะเจริญ แล้วถ้าใครไม่ทำก็จะพบความหายนะต่างๆ นานา เข้าใจว่าหลายๆ ท่านคงเคยได้รับและหลายท่านก็ส่งมาให้ผมบ่อย ผมก็ฉีกทิ้งทุกครั้ง แล้วท่านยังกลัวยังเชื่อในเรื่องนี้อยู่หรือครับ - ปฐม)
    อาจารย์พิศิษฐ์ เขียนต่อไปว่า :-
    ข้อความดังกล่าวนี้ ได้แพร่หลายไปในหมู่ชนชาวอิสานแถบมณฑลอุบล สร้างความสะเทือนขวัญ ปั่นป่วนหวาดผวา ให้กับชาวบ้านเป็นอันมาก
    เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ สืบเนื่องมาจากหลายสาเหตุ เช่น สาเหตุความขัดแย้งกันระหว่างผู้ปกครองส่วนกลางจากกรุงเทพฯ กับผู้ปกครองส่วนท้องถิ่น “เจ้าเมืองเก่า” และความขัดแย้งระหว่างชนชั้นผู้ปกครองกับราษฎรอิสานอันเนื่องมาจากสภาพความแร้นแค้นขัดสนทางเศรษฐกิจ ความกดดันทางจิตใจ ประกอบกับความเชื่อถือในเรื่องภูตผีปีศาจ พิธีกรรมทางไสยศาสตร์ ที่ยังครอบงำชีวิตจิตใจและวิถีชีวิตของชาวบ้านตามชนบทอยู่เป็นส่วนใหญ่
    ราษฏรส่วนมากจึงเกิดความไม่พอใจข้าราชการเกี่ยวกับการเข้ามาขูดรีดเงินส่วยโดยไม่เป็นธรรม อีกทั้งเหตุการณ์ภาวะแห่งการแผ่ขยายอำนาจ เข้ามาในภาคพื้นดินสองฝั่งลุ่มน้ำโขง ของมหาอำนาจประเทศฝรั่งเศสในช่วงนี้ (พ.ศ. ๒๔๓๖ - ๒๔๔๕) ที่กองทัพแห่งสยามประเทศจำต้องยอมเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงทั้งหมด ถอยมาอยู่ฝั่งขวา
    จากเหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ ทำให้มีข่าวลือต่างๆ เช่น
    “ผู้มีบุญจะมาแต่ตะวันออก”
    “เจ้าเก่าหมดอำนาจ ศาสนาก็สิ้นแล้ว”
    “บัดนี้ฝรั่งเข้าไปเต็มกรุงเทพฯ แล้ว กรุงจะเสียแก่ฝรั่งแล้ว”
    ส่วนทางบ้านเมืองนั้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ซึ่งในสมัยนั้นทรงเป็นข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว (พ.ศ. ๒๔๓๖) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ (พ.ศ. ๒๔๔๒) แล้ว เปลี่ยนชื่อเป็น มณฑลอิสาน(พ.ศ. ๒๔๔๓) พระองค์ได้ทรงบันทึกเอาไว้ในหนังสือทูลสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (เสนาบดี หรือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในสมัยนั้น) ว่า :-
    “ตามซึ่งไต่สวนขึ้นไป ได้ความเป็นพยายามมาตั้งแต่ปี ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๒) มาแล้ว...เดิมมาเป็นหมอลำ เที่ยวลำคำผญา (สุภาษิตคำกลอนของอิสาน) บ่งความไปในส่วนผู้มีบุญจะมาแต่ตะวันออก
    ข่าวลือจึงมาจากตะวันออก เพราะเดินเป็นสายไปทาง เดชอุดม ขุขันธ์ ทางหนึ่ง, ไปทางศรีสะเกษ สุรินทร์ ทางหนึ่ง, มาทางเขมราฐ อำนาจเจริญ เกษมสีมา ผาสีดอน กันทวิไชย หนองเลา วาปีปทุม มาหนองซำ พยัคฆ์ ไปทางกาฬสินธุ์ และเสลภูมิ
    ดูจะเห็นว่าการแพร่ของขบวนการผีบุญได้แผ่ขยายไปเร็วมากสมัยนั้นไม่มีสื่อมวลชนประเภททีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ หากแต่แพร่ขยายไปทางสื่อหมอลำ)
    หมอลำได้กระจายไปตามท้องถิ่นต่างๆ ทั่วเมืองอุบลฯ และใกล้เคียง เนื้อหาของกลอนลำ เป็นการสรรเสริญผู้มีบุญ ว่าจะมาจากทิศตะวันออก และโจมตีการเข้ามาปกครองของกรุงเทพฯ เป็นต้นว่า
    “ลือแซะแซงแซ่ลำโขง หนองซำเป็นเขตลาสีมา ฝูงไทยใจฮ้ายตายสิ้นบ่หลง”
    ความหมายของกลอนลำข้างต้น หมายความว่า
    “มีข่าวเล่าลือไปทั่วลำน้ำโขง จนไปถึงหนองซำ เมื่อผู้มีบุญมาเกิดแล้ว ชาวกรุงเทพฯ พวกใจโหดร้ายก็จะตายสิ้นไม่มีเหลือ (ด้วยอำนาจอิทธิฤทธิ์ของผู้มีบุญ)”
    ปรากฏว่าชาวบ้านนิยมฟังกลอนลำประเภทนี้มากและเริ่มเห็นคล้อยตามคำพยากรณ์ และคำโฆษณาชวนเชื่อกันเพิ่มมากขึ้นในทุกท้องที่ อันเป็นช่องทางให้มีผู้แอบอ้างกระทำตนเป็นผู้วิเศษสวมรอยข่าวโคมลอยขึ้นมา
    ผู้แอบอ้างต่างตั้งสำนักขึ้นชวนเชื่อชาวบ้านให้เข้ามาอยู่ในอารักขาโดยมีเจ้าสำนักกระทำตนเป็นผีบุญ เป็นผู้วิเศษ ที่สามารถปัดเป่าความชั่วร้ายให้หายไปได้
    บรรดาชาวบ้านซึ่งตกอยู่ในความหวาดกลัวอยู่แล้วต่างก็อยากจะแสวงหาที่พึ่งอยู่พอดี ซึ่งทันทีที่มีผู้วิเศษอวดอ้างฤทธิ์เดชปรากฏขึ้นจึงได้พากันแห่ไปหา เพื่อที่จะให้ช่วยเหลือคุ้มครองภัยต่างๆ
    เหตุการณ์ตอนขบถผีบุญนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าเอาไว้ในหนังสือพระนิพนธ์เรื่อง นิทานโบราณคดี ที่พระองค์ทรงรับสั่งเอาไว้ว่า เรื่องราวเหล่านี้เป็นเรื่องเกร็ดนอกพงศาวดาร เขียนรักษาไว้ให้เป็นประโยชน์แก่ลูกหลานและผู้อื่นต่อไป ว่า :-
    “ข่าวที่มีผู้วิเศษรับจะช่วยป้องกันภัยรู้ไปถึงไหน ก็มีราษฎรที่นั่นพากันไปหา โดยประสงค์เพียงจะขอให้เสกเป่ารดน้ำมนต์ให้ก็มี ที่นึกว่าเป็นท้าวธรรมิกราชผีบุญ มาบำรุงโลก เลยสมัครเข้าเป็นพรรคพวกติดตามผู้วิเศษนั้นก็มี ผู้วิเศษไปทางไหนหรือพักอยู่ที่ไหน พวกชาวบ้านก็รับรองเลี้ยงดู เลยเป็นเหตุให้มีคนเข้าเป็นสมัครพรรคพวกมากขึ้นโดยลำดับ เมื่อผู้วิเศษนั้นเห็นว่ามีคนนับถือกลัวเกรงมาก ก็เลยแสดงตนโดยเปิดเผย ว่าเป็นท้าวธรรมิกราชผีบุญ ที่จะมาดับยุคเข็ญตามคำพยากรณ์”
    ในตอนแรก ฝ่ายรัฐบาลไม่ประสงค์จะเข้าไปยุ่งด้วย เพราะไม่แน่ใจว่าเรื่องผีบุญ หรือผู้มีบุญนี้จะเป็น “ความผิดแท้” (คือเจ้าหน้าที่ไม่แน่ใจว่าจะเอาความผิดในข้อกฎหมายใด)
    และเกรงว่า “ถ้าห้ามไป กำลังตื่นคนนั้นตำราว่า ไม่ได้ จะกลายเป็นยาบำรุงไป” (คือเจ้าหน้าที่กลัว มวลชน เพราะตอนนั้นชาวบ้านไม่พอใจข้าราชการอยู่แล้ว ขืนทางการเข้าไปยุ่งก็จะเป็นการเติมเชื้อไฟให้ลุกโชนรุนแรงขึ้น - ปฐม)
    (ด้วยทางราชการประเมินสถานการณ์อย่างนี้) ทำให้ผู้มีบุญ หรือผีบุญ มีโอกาสเกลี้ยกล่อมและซ่องสุมผู้คนได้มากขึ้น จนต่อมาได้พากันตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ไม่ขึ้นกับทางการบ้านเมืองอีกต่อไป มีการปกครองกันเองในกลุ่ม มีกองกำลังคุ้มกันตนเอง
    กลุ่มผีบุญ มีหลายกลุ่ม ที่เป็นกลุ่ม หรือ กอง ขนาดใหญ่ มีอยู่๓ กลุ่ม หรือ กอง ดังนี้ :-
    ผีบุญกลุ่มที่หนึ่ง เรียกว่า กองอ้ายเล็ก หรือ อ้ายเหล็ก (ภาษาไทยกลางก็ต้องว่า กลุ่มพี่เล็ก หรือ พี่เหล็ก) เป็นผีบุญคนแรกที่อ้างตัวเป็น พระยาธรรมิกราช เป็นผู้มาดับยุคเข็ญให้ประชาชน ตั้งสำนักขึ้นที่บ้านหนองซำ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย เมืองสุวรรณภูมิ (คนพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม กับ ร้อยเอ็ด ในปัจจุบัน)
    ผีบุญกลุ่มที่สอง เรียกว่า กองอ้ายบุญจัน เป็นน้องชายพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน เมื่อพี่ชายถึงแก่กรรมได้เกิดการขัดแย้งกับทางการ จึงร่วมมือกับท้าวทัน บุตรพระยาขุขันธ์ฯ พร้อมด้วยหลวงรัตน อดีตกรมการเมือง พากันไปตั้งตัวเป็นผู้มีบุญอยู่ที่สันเขาบรรทัด เขตเมืองขุขันธ์ (เขตปฏิบัติการก็อยู่แถวศรีสะเกษ สุรินทร์บุรีรัมย์)
    ผีบุญกลุ่มที่สาม เรียกว่า กองอ้ายมั่น เป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด กลุ่มนี้ที่ไปมีส่วนพัวพันทำให้ทางการเข้าใจผิด เพราะชื่อและข้อมูลบางอย่างเกิดไปพ้องกับหลวงปู่มั่น ของเรา ดังกล่าวแล้ว
    ผีบุญอ้ายมั่น ตั้งตัวเป็น องค์ปราสาททอง หรือ องค์หาสาตรทอง ในภาษาอิสาน อยู่ที่บ้านกระจีน แขวงเมืองเขมราฐ (ใกล้ถิ่นของหลวงปู่มั่น) เคยร่วมมือกับ องค์แก้ว ทางฝั่งลาว มีราษฎรนิยมทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวาแม่น้ำโขง
    ต่อมาได้เข้าสมทบกับกองกำลังของท้าวสน นายอำเภอโขงเจียม และกับกองอ้ายเล็ก (กลุ่มที่หนึ่ง) ที่ยกกำลังมาจาก หนองซำ นำกำลังประมาณ ๒,๕๐๐ คนเศษ ยกเข้าปล้นและเผาเมืองเขมราฐ อีกทั้งได้สังหาร ท้าวโพธิราช กรมการเมือง และจับตัว ท้าวธรรมกิตติกา กรมการเมือง และพระเขมรัฐเดชนารักษ์ ผู้รักษาเมือง ไปเป็นตัวประกัน แล้วถอดนักโทษออกทั้งหมด ทำให้ได้สมัครพรรคพวกเพิ่มขึ้นอีกมาก
    หลังการกระทำอุกอาจครั้งนั้น พวกผีบุญทั้งหลายก็กลายเป็นขบถขึ้นแต่นี้ไป และได้เพิ่มความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยส่งกำลังไปบุกล้อมจับท้าวกรมช้าง กรมการเมืองอุบลฯ ที่ออกมารักษาการนายอำเภอพนานิคม แล้วฆ่าทิ้งเสีย เป็นการข่มขวัญข้าราชการและประชาชน ทำให้ผู้คนตื่นกลัว ยินยอมเข้าเป็นพรรคพวกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
    พวกราษฎรต่างพากันแห่เข้าไปขอให้พวกผีบุญช่วยขับไล่ป้องกันภัย “องค์ผีบุญ” ก็เป่าคาถา รดน้ำมนต์ให้ตามประสงค์ พร้อมโอภาปราศรัยด้วยเป็นอย่างดี ราษฎรทั้งหลายต่างพากันเข้านับถือ องค์มั่นผู้วิเศษ
    ในการนี้ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เจ้าเมืองอุบลฯ ได้รายงานเหตุการณ์ต่างๆ ให้ทางกรุงเทพฯ (กระทรวงมหาดไทย) ทราบและขอกำลังทหารพร้อมอาวุธปืนไปโดยด่วน จำนวน ๔๐๐ - ๕๐๐ คน
    พร้อมกันนั้น ทางจังหวัดอุบลฯ ก็จัดทหารไปคอยสกัดพวกผีบุญอยู่ที่วารินชำราบ บ้านตุงลุง เมืองเกษมสีมา บ้านลืออำนาจ และได้ส่งกองกำลังออกไปจับพวกผีบุญอีกหลายกอง
    ในตอนแรก กองกำลังที่ไปทางเมืองขุขันธ์ โดยการนำของร้อยโทหวั่น ได้ทำการปราบปรามผีบุญกองอ้ายบุญจัน ลงได้อย่างราบคาบ อ้ายบุญจันตายในที่รบ ที่เหลือก็แตกสลายหนีไป ไม่มีให้พบเห็นอีกเลยตลอดท้องที่เมืองขุขันธ์ เมืองศรีสะเกษ และอิสานตอนใต้
    ส่วนศึกใหญ่หลวงซึ่งอยู่ทางตะวันออกและทางเหนือนั้นล้วนตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพวกผีบุญที่เป็นสมัครพรรคพวกขององค์มั่น ผู้ที่กำลังโด่งดังสุดขีด
    ศึกยกแรก (ตามคำของอาจารย์พิศิษฐ์) นั้น ทางการประสบความพ่ายแพ้อย่างหมดรูป คือ หน่วยของร้อยเอกหม่อมราชวงศ์ร้าย คุมกำลังพลตระเวน ๑๒ นาย กับคนนำทางและชาวบ้านที่เกณฑ์มาอีกเป็นจำนวน ๑๐๐ คน ได้เกิดปะทะกับกองระวังหน้าของพวกผีบุญจำนวนร้อยคนเศษ ใกล้บ้านขุหลุ (ไม่ทราบอยู่ที่ไหนเหมือนกัน)
    พวกผีบุญร้องขู่ว่า “ผู้ใดไม่สู้ ให้วางอาวุธ หมอบลงเสีย”
    พวกชาวบ้านที่โดนเกณฑ์มา ก็พากันหมอบกราบพวกผีบุญเสียหมดสิ้น เหลือแต่หม่อมราชวงศ์ร้ายกับพลตระเวน ๑๒ นาย ที่ได้ต่อกรกับพวกผีบุญ พร้อมกับล่าถอยกลับไปกราบทูลให้เสด็จในกรมฯ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เจ้าเมืองอุบล) ทรงทราบ
    จากชัยชนะครั้งนั้นทำให้บรรดาสาวกของเหล่าผีบุญได้ใจ มีความฮึกเหิมถึงขนาดประกาศว่า จะยกพวกเข้ามาตีเมืองอุบลราชธานี แล้วผนวกร่วมกับดินแดนสองฝั่งลุ่มน้ำโขง จัดตั้งอาณาจักรใหม่ ที่ไม่ขึ้นต่อกรุงเทพฯ และฝรั่งเศส
    สร้างความขุ่นเคืองให้กับเสด็จในกรมฯ ยิ่งนัก พระองค์จึงทรงให้ พันตรี หลวงสรกิจพิศาล ผู้บังคับการทหารอุบลราชธานี จัดทหารออกไปสืบดูเหตุการณ์ที่แท้จริงอีกครั้ง
    (แสดงว่าการข่าวของทางราชการสมัยนั้นสู้สมัยนี้ไม่ได้ ใช่ไหมครับ !)
    พันตรี หลวงสรกิจฯ จึงได้จัดส่ง ร้อยตรีหลี กับทหารจำนวน ๑๕ คนออกไปสืบดูร่องรอยของเหล่าขบถทางอำเภอพนา อำเภอตระการ (ตระการพืชผล) ปรากฏว่าพวกทหารได้ไปเสียท่า โดนพวกผีบุญล้อมจับฆ่าตายถึง ๑๑ คน เหลือพลตระเวนหนีรอดกลับมาได้ ๔ คนเท่านั้น
    ทางการเห็นว่ารอให้เพลี่ยงพล้ำมากไปกว่านี้ไม่ได้อีกแล้ว (เอาเป็นว่า เครื่องเพิ่งร้อน) การปราบปรามขั้นเด็ดขาดจึงเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๕ (หลังปล่อยให้ลุกลามอยู่ ๒ ปี) โดยรับสั่งให้ร้อยเอกหลวงชิตสรการ (จิตร มัธยมจันทร์) นายทหารปืนใหญ่ กับร้อยตรีอิน คุมทหาร ๒๔ คน พลเมือง ๒๐๐ คน อาวุธปืน ๑๐๐ กระบอก ปืนใหญ่อีก ๒ กระบอก ออกไปปราบขบถ
    ขณะเดียวกันก็กราบทูลไปยัง กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (เสนาบดี กระทรวงมหาดไทย) เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๕ (ร.ศ. ๑๒๑) ว่า
    “ทหารอุบลราชธานีคิดใช้หลายทางหมดตัว เรียกตำรวจภูธรขึ้นหมดกำลังก็ยังไม่พอใช้ ถ้าเกณฑ์มา เชื่อใจชาวบ้านไม่ได้ว่าจะไม่วิ่งเข้าหาผีบุญอีก ขอทหารหรือตำรวจปืนดีๆ รีบไปช่วยเร็วๆ อีกสัก ๔๐๐”
    แล้ว ทหารจากมณฑลนครราชสีมา จึงถูกส่งไปปราบขบถ โดยแบ่งออกเป็น ๔ กองพัน กองพันละ ๒ กองร้อย ยกไปมณฑลอิสาน ๒ กองพัน และเตรียมพร้อมอยู่ที่เมืองนครราชสีมาอีก ๒ กองพัน ทหารทุกคนได้รับจ่ายปืนคนละ ๑ กระบอก กระสุนคนละ ๑๐๐ นัดและเสบียงติดตัวอยู่ไปได้ ๕ วัน
    อาจารย์พิศิษฐ์เขียนว่า “เป็นกองทัพที่ทันสมัยที่สุดในขณะนั้น”
    เชิญกลับมาดูด้าน ร้อยเอกหลวงชิตสรการ ได้ยกกำลังเข้าสู่บ้านสะพือ (อ.พิบูลมังสาหาร) ในวันที่ ๔ เมษายน (พ.ศ. ๒๔๔๕) ตอนกลางคืน ได้จัดให้กองกำลังส่วนหนึ่งตั้งพักตรงบ้านสา อีกส่วนหนึ่งตั้งค่ายอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสม ห่างจากค่ายพวกผีบุญประมาณ ๕๐ เส้น(๒ กิโลเมตร)
    “ที่ตรงนั้นเป็นทางเดินเข้ามาเมืองอุบลฯ สองข้างเป็นป่าไม้ ต้องเดินเข้าในตรอก”
    จัดให้พระสุนทรกิจวิมล (คูณ สังโขบล) เป็นปีกขวา เพียซามาตย์ (แท่ง) เป็นปีกซ้าย ตั้งปืนใหญ่ไว้ใต้ซุ้มไม้ในป่าทึบ ใกล้ทางเลี้ยวออกมาจากบ้านสะพือ หมายยิงถล่มในทางตรอกนั้น แล้วให้ซุ่มกำลังไว้ในป่าสองข้างทางอีก
    วันรุ่งขึ้น ได้เกิดปะทะกับพวกขบถผีบุญ ยิงถล่มสู้รบใส่พวกผีบุญ เกือบ ๔ โมง จึงกำชัยชนะได้โดยเด็ดขาด (ต้องร้องว่า โอโฮ !ง่ายจัง !)
    พวกขบถผีบุญถูกถล่มเสียชีวิตไป ๒๐๐ คนเศษ บาดเจ็บอีกไม่น้อยกว่า ๕๐๐ คน แถมถูกจับเป็นได้ ๑๒๐ คน
    ส่วนองค์มั่นผู้หัวหน้าผีบุญ ได้หลบหนีไปพร้อมกับสมุนราว ๑๐ คน
    จากนั้นก็มีการกวาดล้างจับกุมพวกผีบุญไปทั่วมณฑลอิสาน สั่งปราบปรามอย่างเด็ดขาด มีตราสั่งไปถึงทุกหัวเมือง ดังนี้ :-
    “อย่าให้มีการหลบหนีไปได้เป็นอันขาด ถ้าหากผู้ใดปกปิดพวกเหล่าภัยและเอาใจช่วยให้หลบหนีไปได้ จะเอาโทษแก่ผู้ปิดบังและเจ้าหน้าที่หัวเมืองนั้นๆ อย่างหนัก”
    เป็นอันว่าพวกขบถผีบุญก็แตกฉานซ่านกระเซ็นไป
    แล้วที่มาเกี่ยวกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ศิษย์ของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ก็เพราะความบังเอิญที่มีส่วนไปพ้องกันหลายอย่าง
    องค์มั่น หัวหน้าผีบุญที่พาพวกหลบหนีไป ถูกตามล่าอย่างหนัก ตอนนี้ข่าวกรองของทางราชการเกิดการสับสนในข้อมูล เพราะ
    หนึ่ง ชื่อไปซ้ำกันกับหลวงปู่มั่น
    สอง เป็นคนอยู่ใน ถิ่น แขวง เขต เมืองเดียวกัน
    สาม มีความสามารถเฉพาะตัวเป็น หมอลำกลอน คล้ายกัน
    สี่ เครื่องนุ่มห่มแต่งกายก็คล้ายคลึงกัน คือพวกผีบุญระดับหัวหน้า จะแต่งกายต่างไปจากสาวกคนอื่นๆ ซึ่งรายงานทางราชการบอกว่า “นุ่งห่มผ้าขาวจีบ ห่มครองอย่างพระหรือสามเณร”
    ห้า ผีบุญที่เป็นพระสงฆ์ก็มีหลายรูป
    และที่สำคัญยิ่งก็คือ
    หก ในช่วงนั้น หลวงปู่มั่น ได้ธุดงค์ ติดตามหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ข้ามไปทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและมาพักบำเพ็ญเพียรอยู่ที่พระธาตุพนม แสดงว่าท่านหลบหนีไปจากเมืองอุบลฯ และไปในทิศทางเดียวกันกับที่องค์มั่นผีบุญ หลบหนีไป
    สมัยนั้นไม่มีบัตรประจำตัว ไม่มีรูปถ่าย ไม่มีเอกสารยืนยันคงจะยุ่งกันพอสมควร
    อาจารย์พิศิษฐ์ ก็ไม่ได้เขียนตอนจบว่า มีการ “เคลียร์” กันอย่างไร แต่ท่านลงท้ายว่า ”ครูบาอาจารย์รุ่นต่อๆ มา จึงได้มีเรื่องเล่าถึงการตามล่าผีบุญองค์มั่น ที่มาเกี่ยวข้องอย่างบังเอิญเหลือหลายกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ผู้ที่เราเคารพเทิดทูนอยู่เหนือเศียรเกล้าฉะนี้ แล”
    โอ ! โล่งใจ !
    ผมเอง (ปฐม) ก็ไม่ได้ถามอาจารย์พิศิษฐ์ ว่าท่านเขียนโยงเหตุการณ์ขึ้นมา หรือเหตุการณ์เป็นอย่างนั้นจริงๆ แต่... ผมก็เชื่อว่าหลวงปู่ของเรา ท่านสร้างบารมีมามาก คงไม่กลับไปเป็น แพะ ให้พวกเจ้าหน้าที่เอาไปสร้างผลงานให้กับตนเองได้หรอก ใช่ไหมครับ ?
    ท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ได้ให้ความรู้ต่อท้ายไปอีกว่า “หลังจากการจบสิ้นของกรณีขบถผีบุญหรือขบถผู้มีบุญแล้วไม่นานนัก อีก ๒ เดือนต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ก็ทรงตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๕ ให้เป็นกิจจะลักษณะในรูปของกฎหมายเป็นครั้งแรก อีกทั้งยังทรงโปรดให้จัดพิมพ์หนังสือพระไตรปิฎกขึ้นเป็นครั้งแรกอีกด้วย”
    ก็ขอบคุณท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ที่อุตส่าห์ค้นเรื่องดีๆ มาให้เราได้ศึกษา ทำให้ผมมีกำลังใจที่จะลอกผลงานของท่านต่อไป ขอบคุณครับ
    ๕๑
    อาราธนาอยู่โปรดชาวนครพนม
    ในปี พ ศ. ๒๔๔๕ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดเลียบ กับสหธรรมิกของท่าน คือ หลวงปู่หนู ฐิตปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดใต้ (ภายหลังมีสมณศักดิ์เป็นพระปัญญาพิศาลเถร เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ) ได้ออกธุดงค์ไปจังหวัดนครพนม
    ในหนังสือของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ระบุว่า หลวงปู่ทั้งสององค์ ได้พักปักกลดอยู่ใต้ต้นโพธิ์สุดเขตเมืองนครพนมทางด้านทิศใต้ เข้าใจว่าจะเป็นแถวบริเวณโรงฆ่าสัตว์เทศบาลจังหวัดนครพนมในปัจจุบัน
    ได้มีประชาชนชาวบ้านจำนวนมากไปสนทนารับการอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ทั้งสององค์ ข้าหลวงประจำเมืองนครพนมคือ พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (เลื่อง ภูมิรัตน์) ได้ทราบเรื่อง จึงไปนมัสการและสนทนาธรรมด้วย
    มีตอนหนึ่ง ท่านเจ้าเมืองได้ปรารภถึงปัญหาของพระเณรในจังหวัด ได้ขอคำปรึกษาหารือและขอให้หลวงปู่ทั้งสองได้ช่วยคิดอ่านแก้ไข พร้อมทั้งกราบเรียนหลวงปู่ให้พำนักโดยตั้งวัดธรรมยุตขึ้นในจังหวัดนครพนมด้วย
    ท่านเจ้าเมืองกราบเรียนว่า “กระผมขอโอกาสกราบเรียนนมัสการครูบาอาจารย์ พวกกระผมมีศรัทธาปสาทะอย่างเต็มที่ ต้องการอยากได้วัดคณะธรรมยุติกนิกาย ไว้เป็นศรีสง่าคู่บ้านเมืองของจังหวัดนครพนมสืบไป เกล้ากระผมในนามเจ้าเมือง ซึ่งเป็นตัวแทนของชาวจังหวัดนครพนม ขอกราบอาราธนาให้ครูบาอาจารย์เป็นประมุขประธานเป็นพ่อแม่เป็นที่พึ่งต่อไป”
    หลวงปู่ใหญ่ ท่านยิ้มตามลักษณะของท่าน แล้วพูดขึ้นว่า
    “เมื่อญาติโยมมีศรัทธาอันแรงกล้าอย่างนั้นก็ดีแล้ว อาตมาขออนุโมทนาสาธุการ แต่ทว่าเวลานี้อาตมายังเป็นพระเที่ยวอยู่ จะอยู่ประจำตามที่นิมนต์อาราธนานั้นคงยังไม่ได้ คงจะอยู่ได้ชั่วครั้งชั่วคราวอย่างนี้แหละ เอายังงี้ดีไหม เมื่อโยมมีความปรารถนาอันแรงกล้า อยากได้พระอยากได้วัดคณะธรรมยุตแล้ว ให้โยมไปหาพระมาสักรูปหนึ่ง พยายามเลือกเฟ้นเอาผู้มีอุปนิสัยพอเป็นไปได้ด้วยศีลาจารวัตร มีความอดทนแล้วอาตมาจะเอาไปญัตติกรรม ทำทัฬหีกรรมใหม่ เพื่อให้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ กับจะส่งไปเรียนที่กรุงเทพฯ เมื่อสำเร็จแล้วจึงจะส่งกลับมาเป็นหัวหน้าเป็นผู้นำสร้างวัด สร้างความเจริญในพระพุทธศาสนาต่อไป ”
    พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ ข้าหลวงประจำจังหวัดนครพนมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำแนะนำของหลวงปู่ใหญ่ จึงได้ให้คนของท่านออกสืบเสาะเลือกเฟ้นหาพระภิกษุตามที่หลวงปู่ใหญ่บอก ใช้เวลาหลายวัน
    ในที่สุดได้คัดเลือกพระภิกษุมา ๔ รูป ได้แก่ พระจันทร์ เขมิโย, พระสา อธิคโม, พระหอม จนฺทสาโร และพระสังข์ รกฺขิตธมฺโม กับสามเณรอีก ๑ รูปที่ติดตามพระจันทร์ เขมิโยจากท่าอุเทน ชื่อ สามเณรจูม จันทร์วงศ์
    เวลานั้นท่านหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กับ หลวงปู่หนู ฐิตปญฺโญ ยังพักรออยู่ที่พระธาตุพนม
    ท่านข้าหลวงได้นำพระภิกษุและสามเณรทั้ง ๕ รูปเข้าถวายตัวเป็นศิษย์ เพื่อให้หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กับ หลวงปู่หนูช่วยรับเอาเป็นธุระแนะนำสั่งสอนและฝึกอบรมต่อไป พระคุณเจ้าทั้งสองก็รับไว้ด้วยความยินดี
    จากการติดตามศึกษาประวัติครูอาจารย์พระกรรมฐานในภายหลังจะปรากฏชื่อเพียง ๒ องค์ คือ พระจันทร์ เขมิโย ภายหลังมีสมณศักดิ์เป็น พระเทพสิทธาจารย์ ประชาชนชาวนครพนมเรียกว่า “เจ้าคุณปู่” เพราะเป็นปู่ใหญ่พระธรรมยุตองค์แรกของจังหวัดนครพนม กับสามเณรจูม จันทร์วงศ์ ภายหลังมีสมณศักดิ์เป็น พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) แห่งวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี มีบทบาทสำคัญยิ่งในวงศ์พระกรรมฐานสายหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น นั่นเอง
    ส่วนพระภิกษุอีก ๓ องค์ ไม่เห็นกล่าวถึง หรือมีการกล่าวถึงแต่ผู้เขียนหาไม่พบ
    ในบันทึกมีว่า “ท่านเจ้าเมืองได้นำพระจันทร์ เขมิโย ไปถวายตัวเป็นศิษย์ของพระอาจารย์เสาร์ ที่ยังรออยู่ที่พระธาตุพนมเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว จึงได้พากันเดินทางธุดงค์กลับจังหวัดอุบลราชธานี รอนแรมผ่านป่าดงดิบผืนใหญ่ชื่อดงบัง ที่แสนลำเค็ญ แล้วเข้าเขตอำนาจเจริญ ใช้เวลาร่วมเดือนจึงลุถึงวัดเลียบ ในตัวเมืองอุบลราชธานี”
    ๕๒
    คำบอกเล่าของเจ้าคุณปู่
    จากปากคำของท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ (หลวงปู่จันทร์ เขมิโย) หรือที่ชาวนครพนมเรียกว่า “เจ้าคุณปู่” ได้พูดถึงการติดตามไปปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ที่จังหวัดอุบลราชธานี ดังนี้ :-
    ในปลายปี พ ศ. ๒๔๔๕ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่หนู (พระปัญญาพิศาลเถร) ก็ได้อำลาประชาชนชาวจังหวัดนครพนม เดินทางกลับสู่จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยพระภิกษุ ๔ รูป คือ หลวงปู่จันทร์ เขมิโย พระภิกษุสา พระภิกษุหอม พระภิกษุสังข์ และสามเณรอีก ๓ รูป ในจำนวน ๓ รูปนี้ มี สามเณรจูม จันทร์วงศ์ (ต่อมาได้เป็นพระธรรมเจดีย์) รวมอยู่ด้วย
    คณะของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ได้จาริกธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ หยุดพักรอนแรมกลางป่าดงพงไพร ได้พบสัตว์ป่านานาชนิด มีเสือ ช้าง ละอง ละมั่ง ควายป่า เป็นต้น
    เมื่อเจอสัตว์ป่า หลวงปู่ใหญ่ ก็สั่งให้คณะนั่งลงกับพื้นดิน แล้วกำหนดจิตแผ่เมตตาให้สัตว์เหล่านั้น พระภิกษุสามเณรทุกรูปก็แคล้วคลาดปลอดภัย
    ท่านเจ้าคุณปู่เล่าว่า “ในการบำเพ็ญกรรมฐานในป่านั้น ประการสำคัญต้องทำตนให้เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์มักจะมีความวิตกกังวล คงจะทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในตัวเอง ต่อจากนั้นก็มีอันเป็นไป หากมีศีลบริสุทธิ์ จิตก็สงบเป็นสมาธิได้ง่าย และอีกประการหนึ่ง จะต้องยึดมั่นในพระรัตนตรัย ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณอยู่เสมอ”
    ท่านเจ้าคุณปู่ เล่าต่อไปว่า การธุดงค์ไปกับหลวงปู่ใหญ่ในครั้งนั้น ทำให้การฝึกฝนด้านกรรมฐานของท่าน นับว่าก้าวรุดหน้าไปกว่าเดิมมาก ทั้งนี้เพราะท่านหลวงปู่ใหญ่ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานได้พยายามถ่ายทอดความรู้และอบรมท่านอย่างเคร่งครัดยิ่ง
    “ตอนนั้น พอเราธุดงค์ถึงสถานที่อันวิเวกเหมาะแก่การปฏิบัติแห่งไหน ท่านพระอาจารย์เสาร์ จะหยุดพักและพวกเราเร่งบำเพ็ญเพียรอบรมจิตอย่างหนักทันที ท่านให้พยายามกำจัดมหาโจรภายใน อันหมายถึงตัวกิเลส คือ ความโลภ โกรธ หลง ให้เบาบางลงไปให้ได้และให้ทำจนหมดสิ้นไปจากจิตใจ ตามกำลังความสามารถ
    การปฏิบัติกรรมฐานภายในป่านั้น หลักสำคัญประการแรก ผู้ปฏิบัติจะต้องทำตนให้บริสุทธิ์ด้วยศีล เพราะในป่าเขาลำเนาไพรมีเทพารักษ์ สัตว์ร้ายนานาชนิด ดังนั้น ต้องคอยตรวจสอบศีลของเราอยู่เสมอ ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์เมื่อไรแล้ว ก็มักจะมีอันเป็นไปในทางไม่ดีเสมอ
    และเมื่อมีศีลบริสุทธิ์แล้ว ก็ต้องรักษาจิตของเราให้บริสุทธิ์ด้วยระวังอย่าให้จิตเอนเอียงไปหารากเหง้าแห่งกิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ
    หลังจากนั้น เมื่อศีลและจิตบริสุทธิ์ ก็ต้องตรวจความเห็นของตนว่ามีความบริสุทธิ์หรือไม่ ความเห็นของเราตรงต่อคุณธรรมจริงหรือไม่ เมื่อเราอุทิศชีวิตของตนต่อพระรัตนตรัยอย่างแท้จริงแล้ว มีอะไรเกิดขึ้นแก่ชีวิตเราบ้าง
    ควรยึดมั่นเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ยอมสละทุกอย่างเพื่อพระรัตนตรัย แม้ชีวิตของเราก็ต้องยอมเสียสละ จึงจะสามารถรู้แจ้งเห็นจริงในชีวิต สามารถหยั่งจิตลงในคุณแห่งพระรัตนตรัยอย่างมั่นคง ไม่หวั่นไหว จนถึงคุณอันสูงสุดในพระศาสนา จึงจะประสบตัววิปัสสนาอย่างแท้จริง
    ท่านเจ้าคุณปู่ บอกต่อไปว่า “สำหรับการเจริญกรรมฐานนั้น หากยังไม่พบตัววิปัสสนาแล้ว จะไม่สามารถพบกับความสุขอย่างแท้จริงได้
    การเข้าถึงพระพุทธเจ้า ประการแรกก็คือ การไม่ทำความชั่วทุกอย่าง อันได้แก่ การรักษาศีลของตนให้บริสุทธิ์ การทำความดี มีความดี มีความเฉลียวฉลาดให้พร้อมอยู่เสมอ ก็คือการเข้าถึงพระศาสนาด้วยการบำเพ็ญสมาธิ และการเข้าถึงพระศาสนาด้วยการทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
    ท่านเจ้าคุณปู่ เล่าถึงการเดินทางในครั้งนั้นว่า ท่านต้องใช้เวลาอยู่หลายสัปดาห์จึงเดินทางถึงจังหวัดอุบลราชธานี
    จากนั้น ท่านหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ได้นำคณะพระเณรเข้าไปพำนักอยู่ที่วัดเลียบ ซึ่งเป็นสำนักของท่าน และ ณ สถานที่นั้นเอง ท่านเจ้าคุณปู่ ก็ได้พบกับ ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต
    ดังนั้น นอกจากเจ้าคุณปู่ จะร่ำเรียนความรู้ในทางธรรมจากหลวงปู่ใหญ่เสาร์แล้ว ท่านยังได้มีโอกาสร่วมศึกษาหาความรู้และปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น อีกระยะหนึ่งด้วย
    ท่านเจ้าคุณปู่ พำนักอยู่ที่วัดเลียบ จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๔๖ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ จึงนำท่านไปแปรญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุต ที่พระอุโบสถวัดศรีอุบลรัตนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี โดยมีพระสงฺฆรกฺขิโต (พูน) วัดศรีทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปัญญาพิศาลเถร (ฐิตปญฺโญ หนู) วัดใต้ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูประจักษ์อุบลคุณ (ญาณสโย สุ้ย) วัดสุปัฏนาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาเดิมคือ เขมิโย
    หลังจากที่อุปสมบทแล้ว ท่านเจ้าคุณปู่ ก็กลับมาพำนักที่วัดเลียบ ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติกับหลวงปู่ใหญ่เสาร์ สำหรับการศึกษาด้านปริยัติธรรม ท่านก็สนใจศึกษาอย่างเอาจริงเอาจัง พยายามศึกษาพระปริยัติธรรมแผนใหม่ ได้แก่ วิชาธรรมะ วิชาวินัย วิชาพุทธประวัติ และวิชาอธิบายกระทู้ธรรม ซึ่งพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ได้นำมาเผยแพร่ที่อุบลฯ
    ส่วนแนวทางปฏิบัติกรรมฐาน ท่านเจ้าคุณปู่ได้ฝึกอบรมในสำนักของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ท่านอาจารย์ใหญ่มั่น และหลวงปู่หนู (พระปัญญาพิศาลเถร) จนมีความรู้ทั้งด้านปริยัติและด้านปฏิบัติอย่างแท้จริง มีจิตใจมั่นคงแนบแน่นต่อธรรมะอย่างไม่สั่นคลอน
    ท่านเจ้าคุณปู่ พูดถึงการศึกษาด้านปริยัติของท่านในสมัยที่พำนักอยู่วัดเลียบ อุบลราชธานีว่า นอกจากการปฏิบัติกรรมฐานอย่างคร่ำเคร่งแล้ว ท่านยังได้ศึกษาหลักพระพุทธศาสนาแผนใหม่ด้วยคือ ศึกษาวิชาวินัย วิชาธรรม วิชาพุทธประวัติ และวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม ตลอดจนการศึกษาทบทวนบทบาลีไวยากรณ์แบบเก่า จากคัมภีร์มูลกัจจายน์ ตามที่เคยศึกษามาก่อนด้วย ท่านว่า
    “บาลีไวยากรณ์ที่แต่งขึ้นใหม่ มีความเข้าใจได้ง่ายกว่าแบบเก่า เมื่ออาตมาได้ศึกษาคัมภีร์ต่างๆ แล้ว จึงได้ศึกษาพระวินัยอันเป็นข้อปฏิบัติโดยตรงของพระสงฆ์จากคัมภีร์จุลวรรค ศึกษาบทสวดมนต์และขัดตำนานบทสวดมนต์ต่างๆ ศึกษาแบบแผนพิธีกรรมต่างๆ ของคณะธรรมยุตในแต่ละสำนักวัดต่างๆ”
    ท่านเจ้าคุณอยู่พำนักร่ำเรียนทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติที่วัดเลียบ เมืองอุบลฯ อยู่ ๓ ปีเต็มๆ นอกจากอยู่เรียนในสำนักแล้ว บางโอกาสท่านยังได้ออกธุดงค์แสวงความวิเวก ติดตามพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต ด้วย
    ท่านเจ้าคุณปู่ เคยออกธุดงค์ร่วมกับพระอาจารย์ใหญ่มั่นไปบำเพ็ญเพียรอยู่บนภูเขาแห่งหนึ่ง ในเขตจังหวัดสกลนคร และท่านพูดว่า
    “แต่ในระยะหลัง อาตมาไม่ค่อยอยากไปพบท่านพระอาจารย์มั่นหรอก เพราะพออาตมาจะไปทีไร ท่านจะทราบล่วงหน้าทุกที แล้วท่านก็จัดสถานที่พักให้ยกใหญ่ มโหฬารมาก ทั้งที่ท่านอยู่ในป่าในเขา สร้างความยุ่งยากลำบากให้แก่ท่านเปล่าๆ
    ท่านพูดกับอาตมาเสนอว่า อาตมาเป็นเจ้าคุณ
    ต่อมาภายหลัง ท่านเจ้าคุณปู่ ก็ได้เป็นเจ้าคุณจริงๆ ตามที่หลวงปู่มั่น ออกปากปรารภ ซึ่งเรื่องการรู้ใจคนและการทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าของหลวงปู่มั่น นั้น เป็นที่ทราบกันอย่างกว้างขวางในหมู่พระกรรมฐานด้วยกันมาช้านานแล้ว
    <table id="table29" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> พระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) แถวหน้า ซ้าย
    พระธรรมเจดีย์ (พนฺธุโล จูม) แถวหน้า ขวา
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๕๓
    บทเรียนที่ต้องจำฝังใจ
    เมื่อหลวงปู่จันทร์ เขมิโย หรือท่านเจ้าคุณปู่ ของชาวจังหวัดนครพนม มาอยู่ศึกษาอบรมในสำนักของพระอาจารย์ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล จนเวลาล่วงเข้า ๓ ปี พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ ข้าหลวงประจำเมืองนครพนมได้ทำหนังสือไปนมัสการ หลวงปู่ใหญ่ พร้อมทั้งอีกฉบับส่งไปกราบทูลพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ (พระองค์เจ้าชายชุมพลสมโภช เป็นพระโอรสองค์ที่ ๑๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ข้าหลวงต่างพระองค์ในรัชกาลที่ ๕ ประจำมณฑลอุบลฯ
    “เพื่อขอนิมนต์ตัวพระภิกษุจันทร์ เขมิโย และคณะกลับไปตั้งสำนักคณะธรรมยุติกนิกายขึ้นที่เมืองนครพนม”
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ จึงได้พา เจ้าคุณปู่ เข้าพบ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ท่านเจ้าเมืองอุบลฯ
    พระองค์ท่านทอดพระเนตรเห็นเจ้าคุณปู่ ยังเป็นพระหนุ่มน้อยอยู่ จึงรับสั่งด้วยความห่วงใย (เชิงสบประมาท) ว่า
    “นี่นะหรือพระที่ท่านอาจารย์เสาร์จะให้นำคณะธรรมยุตไปตั้งที่เมืองนครพนม ดูรูปร่างลักษณะเล็ก บาง ยังหนุ่มแน่นมาก จะไม่ทำให้ครูอาจารย์และวงศ์ธรรมยุตต้องเศร้าหมองเสียหายไปด้วยหรือ เพราะประสบการณ์ยังอ่อน หาพอที่จะรักษาตัวและหมู่คณะไว้ได้ไม่ จะไปตายเพราะผู้หญิง ฉันเกรงว่าจะเอาบาตรไปทำเป็นรังไก่เสียก่อนนะซิ”
    ท่านเจ้าคุณปู่เล่าว่า ตอนนั้นท่านเป็นพระวัยหนุ่มแน่น เมื่อถูกท่านเจ้าเมืองสบประมาทเช่นนั้น ท่านถึงกับตัวสั่นระคนไปด้วยความน้อยใจ เสียใจ จนถึงกับกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ไปด้วย ท่านอยากจะแทรกแผ่นดินหนีไปในบัดนั้นเลย
    และด้วยคำพูดอันรุนแรงของท่านเจ้าเมืองในครั้งนั้นเองที่ทำให้ท่านเจ้าคุณปู่ ยิ่งมุมานะ มีใจมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าเพื่อที่จะลบคำสบประมาทนั้นให้ได้
    ด้วยเหตุการณ์ที่ถูกสบประมาทอย่างรุนแรงในครั้งนั้นเองได้เป็นแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งที่ทำให้ท่านเจ้าคุณปู่ ได้ขยันศึกษาหาความรู้ บำเพ็ญสมณธรรมค้ำตน จนครองเพศบรรพชิตได้ดิบได้ดีสืบต่อมา
    ถ้าสมัยใหม่ ต้องว่า ทำวิกฤติให้เป็นโอกาส นั่นเอง
    ทางฝ่ายหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล เมื่อได้ฟังท่านเจ้าเมืองตรัสดังนั้น ท่านเพียงแต่ยิ้มด้วยนิสัยใจเย็นของท่าน แล้วจึงถวายพระพรเล่าถึงปฏิปทา จรรยามารยาท และความหนักแน่นในพระธรรมวินัยของพระลูกศิษย์ให้ทรงทราบทุกประการ
    หลังจากได้ฟังคำบอกเล่าเช่นนั้นแล้ว ท่านเจ้าเมืองก็ทรงอนุญาตให้เจ้าคุณปู่ และคณะเดินทางกลับไปนครพนม พร้อมกับทรงออกหนังสือรับรอง เป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้ มีใจความว่า
    “ให้นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในเส้นทางที่เดินผ่าน ให้จัดคนตามส่งตลอดทาง พร้อมทั้งให้จัดที่พักแลภัตตาหารถวายด้วย”
    คณะของเจ้าคุณปู่ ใช้เวลาเดินทางจากอุบลฯ ถึงนครพนมเป็นเวลา ๒๑ วัน ท่านเจ้าเมืองนครพนมได้จัดขบวนออกไปต้อนรับแห่แหนเข้าเมือง แล้วนิมนต์ให้พำนักอยู่ ณ วัดศรีขุนเมือง
    วัดศรีขุนเมือง เป็นวัดโบราณที่รกร้างมานาน ได้รับการบูรณะขึ้นสำหรับเป็นที่พำนักของพระสงฆ์ธรรมยุต ที่ขึ้นมาตั้ง ณ จังหวัดนครพนมเป็นครั้งแรก โดยคณะของเจ้าคุณปู่ ในครั้งนั้น
    ภายหลังต่อมาวัดนี้ได้รับการขนานนามใหม่ว่า วัดศรีเทพประดิษฐาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ นับเป็นวัดธรรมยุตวัดแรกในจังหวัดนครพนม โดยมีเจ้าคุณปู่ ซึ่งยังเป็นพระอันดับ พรรษา ๔ เป็นผู้นำคณะธรรมยุตขึ้นมาประดิษฐาน ณ จังหวัดนครพนม เป็นครั้งแรก
    ปี พ.ศ. ๒๔๔๓ เจ้าคุณปู่ พร้อมด้วยคณะอีก ๓ รูป คือ พระสาร พระจูม พนฺธุโล (หลังสุดเป็น พระธรรมเจดีย์) และ สามเณรจันทร์ ได้เข้ามาศึกษาเล่าเรียนในกรุงเทพมหานครในสำนักของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวโร เจริญ) วัดเทพศิรินทราวาส แต่ครั้งยังเป็นพระเทพกวี
    หลังจากเล่าเรียนอยู่ ณ วัดเทพศิรินทราวาส ๖ ปี เจ้าคุณปู่ จึงได้กลับมาประจำอยู่ ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม เมื่อพ.ศ. ๒๔๕๘
    วัดศรีเทพประดิษฐาราม จึงเป็นแหล่งกำเนิดการศึกษาทั้งฝายพระปริยัติธรรมและฝ่ายสามัญศึกษาของจังหวัดนครพนม ซึ่งความสำเร็จทั้งปวงนี้เกิดจากความวิริยะอุตสาหะของเจ้าคุณปู่โดยแท้
    โดยที่เจ้าคุณปู่ได้บำเพ็ญคุณประโยชน์ต่อการพระศาสนาและการศึกษาของบ้านเมืองเป็นอันมาก จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์มาโดยลำดับ คือ พ.ศ. ๒๔๖๐ ในรัชกาลที่ ๖ เป็นที่ พระครูสีลสัมบัน, พ.ศ. ๒๔๗๓ ในรัชกาลที่ ๗ เลื่อนขึ้นเป็นที่ พระครูสารภาณพนมเขต รองเจ้าคณะจังหวัด, พ.ศ. ๒๔๗๘ เลื่อนเป็น พระครูสารภาณมุนี เจ้าคณะจังหวัด, พ ศ. ๒๔๘๐ เลื่อนขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระสารภาณมุนี, พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพสิทธาจารย์
    เจ้าคุณปู่ หรือ พระเทพสิทธาจารย์ (เขมิโยเถร จันทร์) มรณภาพเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๖ สิริอายุได้ ๙๒ ปี
    กรณีของพระเทพสิทธาจารย์ หรือ เจ้าคุณปู่ ของจังหวัดนครพนม นี้ เป็นปฏิปทาอีกอย่างหนึ่งของ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนุตสีโล ซึ่งนอกจากการมุ่งปฏิบัติธรรมกรรมฐานแล้ว ท่านยังส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาภาคปริยัติธรรมด้วย เพราะเป็นธรรมที่เกี่ยวเนื่องกัน จะขาดเสียอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้
    เมื่อพูดถึงการเริ่มต้นคณะสงฆ์ธรรมยุตในจังหวัดนครพนมแล้ว ผู้เขียนจะขออนุญาตนำบันทึกของ พระญาณวิศิษฏ์ หรือ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม แม่ทัพใหญ่แห่งกองทัพธรรม ที่ได้บันทึกถึงการเผยแพร่ธรรมด้านวิปัสสนาธุระของกองทัพธรรมในจังหวัดนครพนมดังนี้ :-
    “พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก, พระอาจารย์บุญมา มหายโส, พระอาจารย์ทอง อโสโก, พระอาจารย์สนธิ์, พระอาจารย์คำ คมฺภีโร, พระอาจารย์จรัส พร้อมด้วยภิกษุสามเณรหมวดละ ๗ องค์ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระในท้องที่จังหวัดนครพนม
    เมื่อไปถึงจังหวัดนครพนมแล้ว ท่านได้แยกกันอยู่ตามสำนักต่างๆ ดังนี้ :-
    ๑. พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก อยู่สำนักวัดโพธิชัย ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌายะ
    ๒. พระอาจารย์บุญมา มหายโส อยู่สำนักวัดอรัญญิกาวาส จังหวัดนครพนม ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูไพโรจน์ปัญญาคุณ
    ๓. พระอาจารย์ทอง อโสโก อยู่สำนักสงฆ์วัดป่าเกาะแก้ว อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
    ๔. พระอาจารย์สนธิ์ อยู่สำนักสงฆ์วัดถ้ำบ้านนาโสก อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
    ๕. พระอาจารย์คำ คมฺภีโร อยู่สำนักสงฆ์วัดป่าสิลาวิเวก อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม
    ๖. พระอาจารย์จรัส อยู่สำนักสงฆ์วัดป่าท่าควาย อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
    พระเถระทั้ง ๖ องค์ จึงถือว่าเป็นบูรพาจารย์สายวิปัสสนาธุระรุ่นแรกของจังหวัดนครพนม
    ๕๔
    พระธรรมเจดีย์(จูม พนฺธุโล)
    : ตัวอย่างการลนับลนุนด้านปริยัติธรรมของหลวงปู่ใหญ่
    การยกเรื่องของท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) แห่ง วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี มากล่าวในที่นี้ ก็เพื่อจะให้เห็นอีกตัวอย่างหนึ่งว่า แม้หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และ หลวงปู่มั่นจะให้น้ำหนักความสำคัญทางด้านวิปัสสนาธุระ แต่ท่านทั้งสองก็สนับสนุนการศึกษาด้านปริยัติเหมือนกัน
    ในกรณีของ เจ้าคุณปู่ แห่งจังหวัดนครพนมที่กล่าวมาแล้ว เป็นตัวอย่างหนึ่ง และกรณีของพระธรรมเจดีย์ นี้ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง
    ท่านผู้อ่านคงจำได้ว่า ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ สมัยเป็นสามเณรจูม ได้ติดตามเจ้าคุณปู่ไปรับการศึกษาอบรมกับหลวงปู่ใหญ่เสาร์และหลวงปู่มั่น ที่จังหวัดอุบลราชธานี ถึง ๔ ปี ก่อนจะกลับมาร่วมตั้งวัดธรรมยุตแห่งแรกในจังหวัดนครพนม คือ วัดศรีขุนเมือง และเปลี่ยนชื่อภายหลังเป็น วัดศรีเทพประดิษฐาราม ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น
    นอกจากการศึกษาด้านปริยัติขั้นต้นในจังหวัดอุบลราชธานีแล้วท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ สมัยยังเป็นสามเณรจูม ได้เคยติดตามหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กับหลวงปู่มั่น ออกปฏิบัติธรรมตามป่าเขาในช่วงออกพรรษาหลายครั้ง จึงได้รับการฝึกหัดด้านวิปัสสนากรรมฐานเป็นอย่างดี
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ คงจะมองเห็นอุปนิสัยและมองการณ์ไกลจึงได้สนับสนุนสามเณรจูมให้ก้าวหน้าในด้านปริยัติธรรม ซึ่งต่อมาสามเณรจูม ก็ได้ไปศึกษาพระปริยัติธรรมในกรุงเทพฯ เมืองหลวง จนได้เป็นพระมหาเปรียญ แล้วกลับมาบริหารและจัดการศึกษาแก่คณะสงฆ์ในภาคอิสาน นับเป็นการปกครองและจรรโลงหมู่คณะและทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญขึ้นเป็นอย่างมาก
    ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ได้เป็นพระอุปัชฌายะให้การบวชแก่พระสายธรรมยุต ท่านจึงมีลูกศิษย์ลูกหามาก จะว่าเต็มบ้านเต็มเมืองก็ได้ ท่านจึงเป็นที่เคารพนับถือของพระสงฆ์ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา และประชาชนทั่วไป อย่างกว้างขวาง แม้แต่ท่านหลวงปู่ใหญ่และหลวงปู่มั่นก็ให้ความเชื่อถือลูกศิษย์องค์นี้มาก
    แม้ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ จะมีภาระในด้านการปกครองสงฆ์ และด้านการศึกษาของสงฆ์อย่างมากมาย ท่านก็ไม่เคยละทิ้งด้านการปฏิบัติพระกรรมฐาน ตามที่พระอาจารย์ใหญ่ทั้งสอง ได้เคยพาดำเนินมา ซึ่งองค์ท่านเองก็ปฏิบัติอย่างเสมอต้นเสมอปลายและสนับสนุนพระสายกรรมฐานอย่างเต็มที่
    ท่านผู้อ่านคงจำได้ว่า ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์องค์นี้ เป็นพระผู้ใหญ่ที่เดินทางไปอาราธนาหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่จังหวัดเชียงใหม่ ให้กลับมาโปรดลูกศิษย์ลูกหาทางภาคอิสาน หลังจากหลวงปู่มั่น ได้ไปอยู่ทางภาคเหนือติดต่อกันนานถึง ๑๒ ปี
    จึงกล่าวได้ว่า การที่พระป่าสายหลวงปู่มั่น ได้แพร่ขยายไปอย่างกว้างขวางนั้น ส่วนหนึ่งก็ด้วยการสนับสนุนของท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) นี้เอง
    สำหรับประวัติย่อของท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) มีดังนี้ :-
    พระธรรมเจดีย์ มีนามเดิมว่า จูม นามสกุล จันทรวงศ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๑ ณ บ้านท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม บิดา - มารดาชื่อ นายคำสิงห์ นางเขียว จันทรวงศ์ ท่านเป็นบุตรคนที่ ๓ มีพี่น้องทั้งหมด ๙ คน
    ปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ได้บรรพชาเป็นสามเณร ทีวัดโพนแก้ว อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม มีพระอาจารย์เหง้า เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสังกัดธรรมยุติกนิกาย ชื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๔๔๐ ณ วัดมหาชัย อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระครูแสง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีมา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูสารภาณพนมเขต (เจ้าคุณปู่) เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระปริยัติธรรมด้วยความขยันหมั่นเพียร สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ที่สำนักเรียนวัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร
    ตั้งแต่ปี พ ศ. ๒๔๖๖ - ๒๔๙๖ ได้ปฏิบัติศาสนกิจด้วยความขยันหมั่นเพียรและเป็นผลดีแก่พระศาสนา จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ เมืองอุดรธานี เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะมณฑลอุดรธานีและสมาชิกสังฆสภา เป็นต้น
    ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ได้เลื่อนสมณศักดิ์ตามลำดับดังนี้ คือพระครูสังฆวุฒิกร, พระครูชิโนวาทธำรง, พระญาณดิลก, พระราชเวที, พระเทพกวี, และสุดท้าย พระธรรมเจดีย์
    ท่านได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฏาคม พ ศ. ๒๕๐๕ สิริรวมอายุได้ ๗๔ ปี อายุพรรษา ๕๔
    <table id="table30" border="0" width="475"><tbody><tr> <td>
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td align="center">
    นั่งแถวหน้า จากซ้าย
    พระเทพสิทธาจาย์ (จันทร์ เขมิโย), พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล), พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส)
    นั่งแถวที่สอง จากซ้าย
    หลวงปู่ขาว อนาลโย พระอาจารยฝั้น อาจาโร, พระอาจารย์กว่า สุมโน, พระครูอุดมธรรมคุณ (ทองสุข สุจิตฺโต), พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ
    ยืนแถวหลัง จากซ้าย
    พระญาณวิริยะ (วิริยังค์ สิรินฺธโร), หลวงพ่อบัว สิริปุณฺโณ, พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    </td></tr></tbody></table>
     
  11. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๔๔
    เริ่มต้นบูรณะพระธาตุพนม
    จากบันทึกของหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร ตามคำบอกเล่าของหลวงปู่มั่น เกี่ยวกับการเริ่มต้นบูรณะพระธาตุพนม มีว่า :-
    “ดังนั้น ท่าน (หลวงปู่ใหญ่เสาร์) จึงได้ชักชวนญาติโยมทั้งหลายในละแวกนั้น ซึ่งก็มีอยู่ไม่กี่หลังคาเรือน และส่วนมากก็เป็นชาวนา ได้มาช่วยกันถากถางทำความสะอาดบริเวณองค์พระเจดีย์นั้น ได้พาญาติโยมทำอยู่เช่นนี้ ๓ เดือนเศษ จึงค่อยสะอาดเป็นที่เจริญหูเจริญตามาตราบเท่าทุกวันนี้
    เมื่อญาติโยมทำความสะอาดเสร็จแล้ว ท่านอาจารย์ก็พาญาติโยมในละแวกนั้นทำมาฆบูชา ซึ่งขณะนั้นผู้คนแถวนั้นยังไม่รู้ถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด ทำให้พวกเขาเหล่านั้นเกิดศรัทธาเลื่อมใสอย่างจริงจัง จนได้ชักชวนกันมารักษาอุโบสถ ฝึกหัดกรรมฐานทำสมาธิกับท่านอาจารย์จนได้ประสบผลตามสมควร
    บันทึกของหลวงพ่อวิริยังค้ามีต่อไปว่า
    “...จากนั้นท่านทั้งสามก็ได้ออกเดินทางจาริกต่อไป และแสวงหาความสงบตามป่าดงพงพีไปเรื่อยๆ โดยมุ่งหวังเพื่อบรรลุธรรม แต่ก็ยังไม่สมความตั้งใจไว้
    ต่อมาพระอาจารย์เสาร์ ก็พากลับจังหวัดอุบลราชธานีอันเป็นถิ่นเดิมของท่าน
    ในบันทึกของหลวงพ่อโชติ อาภคฺโค มีดังนี้.:-
    “ท่านพระอาจารย์เสาร์ จึงได้ข่าวประกาศให้ญาติโยมจังหวัดนครพนมได้ทราบว่า พระธาตุพนมนี้เป็นพระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นพระธาตุที่บรรจุอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า ขอให้ชาวบ้านชาวเมืองทั้งหลายช่วยกันถากถาง ทำความสะอาดบริเวณพระธาตุ แล้วทำบุญอุทิศถวายกุศลแด่พระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาของเรา
    เมื่อชาวบ้านชาวเมืองได้รู้เช่นนั้นแล้ว ก็พากันบังเกิดปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง เอิกเกริกโกลาหลกันเป็นการใหญ่
    ครั้นถึงวันเพ็ญเดือน ๓ ท่านพระอาจารย์ ก็พาญาติโยมทั้งหลายทำบุญ อันมีพระอาจารย์มั่น และท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร รวมอยู่ด้วย จนเป็นประเพณีสืบๆ ต่อกันมามิได้ขาด จนกระทั่งบัดนี้
    หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค ได้เปรียบเทียบเชิงอุปมาอุปมัยในการค้นพบพระธาตุพนม ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และคณะศิษย์ ดังนี้ :-
    “เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๓ หลังจากที่ชาวเมืองนครพนมจมอยู่ในความมืดบอดเป็นเวลานาน ปล่อยให้พระธาตุเป็นป่ารกทึบ และแล้วพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่น และท่านเจ้าคุณปัญญาพิศาลเถรได้นำเอาแสงสว่างดวงประทีปธรรมของพระพุทธองค์ สองทางให้ได้เห็นหนทางแห่งการปฏิบัติธรรมเป็นเครื่องดำเนินต่อไป”
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ได้เล่าให้ หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส ศิษย์อุปัฏฐากฟังว่า ทีแรก ชาวเมืองได้ขอให้หลวงปู่ใหญ่เป็นผู้บูรณะ แต่ท่านบอกว่า “เราไม่ใช่เจ้าของ เดี๋ยวเจ้าของผู้ซ่อมแซมจะมาทำเอง”
    และเจ้าของ ที่หลวงปู่ใหญ่พูดไว้ก็คือ พระครูวิโรจน์รัตโนบล หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ท่านพระครูดีโลด นั่นเอง
    ๔๕
    บันทึกการบูรณะพระธาตุพนม
    บันทึกการบูรณะพระธาตุพนม หลังจากหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และศิษย์มาพักจำพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ แล้ว ก็ได้มีการบูรณะพระธาตุพนมอย่างจริงจังขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ (การบูรณะครั้งที่ ๕) ตามหนังสืออุรังคนิทาน ตำนานพระธาตุพนมที่ท่านเจ้าคุณพระธรรมราชานุวัตร (แก้ว กนฺโตภาโส) ได้กล่าวไว้ ดังนี้ -
    “ครั้นถึง พ ศ. ๒๔๔๔ มีพระเถระนักปฏิบัติชาวเมืองอุบลฯ ๓ รูป เดินธุดงค์มาจำพรรษาอยู่วัดสระพัง (ตะพัง) ซึ่งเป็นสระโบราณใหญ่อยู่บริเวณนอกกำแพงวัดทางด้านหรดีองค์ธาตุพนม คือ พระอุปัชฌาย์ทา ๑ พระอาจารย์เสาร์ ๑ พระอาจารย์มั่น ๑
    ท่านและคณะได้มานมัสการพระบรมธาตุ และพิจารณาดูแล้วมีความเลื่อมใส เห็นว่าพระธาตุพนมเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุอันแท้จริง แต่เป็นที่น่าสลดใจ เมื่อเห็นองค์พระธาตุเศร้าหมอง รกร้างตามบริเวณทั่วไป
    ทั้งพระวิหารหลวง ซึ่งพระเจ้าโพธิศาล (พ ศ. ๒๐๗๓ - ๒๑๐๓) แห่งนครหลวงพระบางได้สร้างไว้ (ตามประวัติพระธาตุพนมบูรณะครั้งที่๒) ก็พังทลายกลายเป็นกองอิฐปูนอยู่ภายในกำแพงพระธาตุ ถ้าได้ผู้สามารถเป็นหัวหน้าบูรณะจะเป็นมากุศลสาธารณะแก่พระพุทธศาสนาและบ้านเมืองมิใช่น้อย
    จึงแต่งตั้งให้ตัวหน้าเฒ่าแก่ชาวบ้านธาตุพนม เดินทางลงไปเมืองอุบล ให้อาราธนาเอาท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนตโร) วัดทุ่งศรีเมือง จ อุบลฯ แต่เมื่อท่านดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูอุดรพิทักษ์คณาเดช ขอให้ท่านขึ้นมาเป็นหัวหน้าซ่อมแซมพระบรมธาตุ ท่านก็ยินดีรับขึ้นมาตามความประสงค์ (ท่านมีคุณสมบัติพิเศษ โอบอ้อมอารี จนได้นิมิตนามว่า “พระครูดีโลด” คืออะไรก็ดีหมด)
    ท่านเป็นพระเถระผู้เชี่ยวชาญทางการฝีมือ ศิลปกรรม การก่อสร้าง แกะสลักทั้งไม้ อิฐ ปูน เป็นนักปกครองชั้นดี ทั้งเป็นนักปฏิบัติมีจิตตานุภาพและจิตวิทยาสูง เป็นที่นิยมของประชาชน ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต มีศิษย์มากอยู่ ผู้ใดได้พบปะสนทนาด้วยแล้ว ต่างมีความเคารพรัก
    เมื่อท่านพระครูฯ รับนิมนต์ เดินทางมาถึงแล้วได้ประชุมหารือทั้งชาววัดและชาวบ้าน
    ชั้นแรกชาวบ้านจะยอมให้ทำแต่เพียงทาปูนลานพระธาตุ ให้มีที่กราบไหว้เท่านั้น มิยอมให้ซ่อมองค์พระธาตุเพราะเกรงกลัวเภทภัยทั้งหลายซึ่งเคยเป็นมาแล้วแต่หนหลัง
    ท่านพระครูฯ ไม่ยอม บอกว่าถ้ามิได้บูรณะพระธาตุแต่ยอดถึงดิน แต่ดินถึงยอดแล้วจะมิทำ
    ชาวบ้านไม่ตกลง เลิกประชุมกัน
    ครั้นต่อมาในวันนั้น มีอารักษ์เข้าสิงคน ขู่เข็ญผู้ขัดขวาง จะทำให้ถึงวิบัติ ชาวบ้านเกิดความกลัวจึงกลับมาวิงวอนให้ท่านพระครูฯทำตามใจชอบ
    ท่านพระครูวิโรจน์ฯ ได้เริ่มบูรณะแต่เดือนอ้าย ขึ้น ๑๔ค่ำ จนถึงเดือน ๓ เพ็ญ ได้ฉลอง มีประชาชนหลั่งไหลมาจากจตุรทิศ ช่วยเหลือจนมืดฟ้ามัวดินเป็นประวัติการณ์นับแต่หลังจากบ้านเมืองเป็นจลาจลมา (เกิดศึกสงครามระหว่างไทยกับญวน ทำให้ผู้คนแตกตื่นอพยพหนีหายไปจำนวนมาก และช่วงนั้นเกิดกรณีกบฏผีบุญ ขึ้นที่มณฑลอุบล เมื่อสมัย ร.ศ. ๑๑๗ ตรงกับ พ ศ ๒๔๔๓ สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ด้วย)
    มีผู้ศรัทธาร่วมบริจาคทรัพย์เพื่อบูรณะพระธาตุเป็นจำนวนมาก
    การบูรณะ ได้ชำระต้นโพธิ์เล็กที่เกาะจับอยู่ออก ขูดไคลน้ำและกะเทาะสะทายที่ชำรุดออก โบกปูน ทาสีใหม่ ประดับกระจกสีในที่บางแห่ง และลงรักปิดทองยอดตามที่อันควร สิ้นทองเปลว ๓ แสนแผ่น หมดเงินหนัก ๓๐๐ บาท ทองคำ ๕๐ บาทเศษ แก้วเม็ด ๒๐๐ แก้วประดับ ๑๒ หีบ หล่อระฆังโบราณด้วยทองแดง ๑ ลูก หนัก ๒ แสน (๒๔๐ กก.) ไว้ตีเป็นพุทธบูชา
    ทั้งหมดนี้ผมลอกมาจากหนังสือของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ อีกต่อหนึ่ง (จะหาว่าผมขโมยมาก็ยอมรับครับ)
    ๔๖
    กลับมาเยี่ยมบ้านคำบงบ้านเกิดหลวงปู่มั่น
    ข้อมูลในตอนนี้ได้จากการสืบค้นของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ เหตุการณ์ช่วงนี้ไม่ได้ระบุวันเดือนปีที่แน่นอน แต่เป็นเหตุการณ์ภายหลังจากหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ได้นำลูกศิษย์ของท่าน คือ หลวงปู่มั่น ธุดงค์ออกจากภูหล่น ข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปทางฝั่งลาว แล้วกลับมาฝั่งไทยพักบำเพ็ญเพียรที่พระธาตุพนมระยะหนึ่ง แล้วก็เดินธุดงค์กลับมาจังหวัดอุบลราชธานี
    ในช่วงนี้ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กับหลวงปู่มั่น ได้เดินทางไปที่บ้านคำบง อำเภอโขงเจียม บ้านเกิดของหลวงปู่มั่นอีกครั้งหนึ่ง
    ข้อมูลจากท่านอาจารย์พิศิษฐ์ บอกว่า ผู้เฒ่าชาวบ้านคำบง เล่าว่าหลวงปู่ทั้งสอง ได้รับการถวายทองคำมาจำนวนหนึ่ง ได้นำมาหล่อเป็นพระพุทธรูปที่ บ้านกุดเม็ก โดยทำเตาหลอม และเททองหลอมด้วยตัวของท่านเอง
    ชาวบ้านเล่าว่า พระอาจารย์ กับ ศิษย์ ได้ช่วยกันหล่อพระพุทธรูปขึ้น ๒ องค์ องค์ใหญ่หลวงปู่ใหญ่เสาร์เป็นคนหล่อและหลวงปู่มั่นหล่อพระพุทธรูปองค์เล็ก
    อาจารย์พิศิษฐ์ บรรยายว่า
    “...พระพุทธรูปสององค์นี้เป็นทองสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักราว ๗ - ๙ นิ้ว ข้าพเจ้าคาดไม่ถึงว่าจะมีน้ำหนักมากมายจนเกือบยกไม่ขึ้นปานนี้ ต่อเมื่อได้ยกขึ้นพิจารณาดูอย่างละเอียดใกล้ชิดแล้ว จึงได้ทราบว่าเป็นพระพุทธรูปที่หล่อตันทั้งองค์ จะมีกลวงนิดหน่อยก็ตรงส่วนฐานของพระพุทธรูปเท่านั้นเอง พระพุทธรูป ๒ องค์นี้ชาวบ้านคำบงและพระสงฆ์ทั้งหลาย พากันเคารพหวงแหนมาก โดยได้เก็บรักษาไว้อย่างปลอดภัยมาจนถึงทุกวันนี้”
    <table id="table25" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    พระพุทธรูป ๒ องค์นี้ ชาวบ้านคำบงและพระสงฆ์ทั้งหลาย พากันเคารพหวงแหนมาก โดยได้เก็บรักษาไว้อย่างปลอดภัยมาจนถึงทุกวันนี้
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๔๗
    การทำบุญฉลองการบูรณะพระธาตุพนม
    การบูรณะพระธาตุพนมในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ โดยพระครูวิโรจน์รัตโนบล หรือ พระครูดีโลด เป็นการบูรณะครั้งที่ ๕ โดย “ได้เริ่มบูรณะแต่เดือนอ้าย ขึ้น ๑๔ ค่ำ จนถึงเดือน ๓ เพ็ญ ได้ฉลอง มีประชาชนหลั่งไหลมาจากจตุรทิศ... จนมืดฟ้ามัวดิน...”
    ในบันทึกของหลวงพ่อโชติ อาภคฺโค ได้กล่าวถึงงานฉลองพระธาตุพนม ดังนี้ :-
    “ในงานมหามงคลวันนั้นท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (หนู) เป็นผู้แสดงธรรม น้ำเสียงของท่าน สำนวนภาษา อรรถาธิบาย อุปมาอุปมัย ความสงบ กิริยาท่าทาง ดำเนินไปเยี่ยงผู้เห็นภัยด้วยความงดงามยิ่ง ไพเราะเพราะพริ้งเป็นที่ชื่นชมโสมนัส เลื่อมใสศรัทธา ประทับใจผู้ฟัง เป็นอย่างมาก ข้อความที่ท่านยกขึ้นแสดงแต่ละอย่าง ก็ซึ้ง สมบูรณ์ด้วยเหตุผล จนผู้ฟังบังเกิดความเห็นคล้อยตามไปทุกอย่าง ไม่มีแม้เสียงเคลื่อนไหว แทบจะไม่หายใจ เงียบกริบ นั่งเป็นระเบียบฟังอย่างเป็นสมาธิ ไม่มีเสียงกระแอมไอแม้กระทั่งเขยื้อนตัว เป็นต้น
    น้ำเสียงของท่านเป็นกังวานชัดเจน ในสมัยนั้น ถึงไม่มีเครื่องขยายเสียง แต่กระแสเสียงของท่าน แม้จะพูดธรรมดาก็ได้ยินโดยทั่วเพราะความสงบเงียบนั่นเอง
    นี่ละหนอ เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมท่ามกลางบริษัทมากๆ ต้องกินเนื้อที่กว้างไกล สมัยพุทธกาลก็ไม่มีเครื่องขยายเสียงทำไมคนจึงได้ยินโดยทั่วกัน
    ก็คงเป็นเหมือนเช่นครั้งท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถรท่านแสดงธรรมทั่วพระธาตุพนมนั่นเอง เพราะอาศัยความเงียบ ความสำรวมของผู้ฟัง น้ำเสียงจึงแผ่ไปทั่วทุกอณูของสถานที่บริเวณอย่างชัดเจน ซึ่งต่างจากปัจจุบันนี้เป็นไหนๆ
    การแสดงความเคารพเป็นกิจเบื้องแรกในบวรพุทธศาสนา ผู้ที่ขาดความอ่อนน้อม แข็งกระด้าง ก็อย่าหวังเลยว่าจะทำมรรคผลนิพพานให้เกิดขึ้นได้ ความเคารพนั้น แสดงออกได้ ๓ ทาง คือ กาย วาจา ใจ
    ก่อนฟังเทศน์ บริษัททั้งหลายสมาทานเอาไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่งที่เคารพยึดถือ ต้องแสดงความเคารพอย่างสูงสุดหยุดนิ่ง
    เมื่อครูอาจารย์ขึ้นเทศน์อบรม ถึงจะเป็นใครก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเถระ พระเถรเณรน้อย หรือเจ้าฟ้าเจ้าคุณก็ตาม เราจะต้องให้ความเคารพเสมอภาคกันหมด เพราะผู้เทศน์ผู้แสดงธรรมท่านเอาพระธรรมของพระพุทธเจ้ามาอบรมสั่งสอนเรา เมื่อเราแสดงออกซึ่งความไม่เคารพ คือไม่ตั้งใจสงบนิ่งด้วยกาย วาจา ใจ ซึ่งแสดงว่าเราไม่มีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ ที่เราอุตส่าห์สมาทานเอาเป็นสรณะแต่เบื้องแรก เมื่อเป็นเช่นนั้น การสมาทาน การฟังเทศน์ จะมีประโยชน์มีความหมายอะไร ไม่มีอานิสงส์แม้แต่น้อย สักแต่ว่าเป็นทุกขเวทนา เป็นบาปกรรมเปล่าๆ
    แม้ในบันทึกจะไม่ได้กล่าวถึงเนื้อหาของพระธรรมเทศนา ก็ได้บ่งบอกถึงบรรยากาศของการฟังเทศน์ของคนในสมัยนั้น ว่าเป็นไปด้วยความเคารพศรัทธา และความตั้งใจฟังอย่างแท้จริง
    <table id="table26" border="0"> <tbody><tr> <td rowspan="3" align="center"> [​IMG]</td> <td align="center">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td align="center"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="center"> พระองค์ล่างสุดคือ พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร)
    หรือ พระครูดีโลด พระผู้บูรณะพระธาตุพนม

    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ๔๘
    พระครูวิโรจน์รัตโนบล พระผู้บูรณะพระธาตุพนม
    ผมขออนุญาตนำเสนอประวัติและข้อมูลโดยย่อของท่าน
    พระครูวิโรจน์รัตโนบล ผู้นำในการบูรณะพระธาตุพนมในครั้งนั้น ไว้ ณ ที่นี้ด้วย เพราะโอกาสที่ท่านผู้อ่านจะไปค้นหาประวัติเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก
    ท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร) หรือ “พระครูดีโลด” เกิดวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๓๙๘ ที่บ้านหมู่ที่ ๑ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
    ท่านอุปสมบทเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๑ ที่วัดป่าน้อย (วัดมณีวนาราม) เจ้าอธิการจันลา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์คำ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ดี เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ท่านได้รับการศึกษาเบื้องต้นคือ การเรียนอักษรขอม อักษรธรรม อักษรไทยน้อย หนังสือไทย การคิดเลข จากท่านราชบรรเทา
    เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้เล่าเรียน ท่องบ่น สวดมนต์น้อย สวดมนต์กลาง ได้แก่ เจ็ดตำนาน สิบสองตำนานในปัจจุบัน สวดมนต์ปลาย ได้แก่ ปาฏิโมกข์ สัททสังคหสูตร เรียนมูลกัจจายน์ และเรียนวิชาช่างศิลป์ (ช่างปั้น เขียน แกะสลัก) จากอาจารย์ชื่อ ราชบรรเทาอีกด้วย
    หลังจากอุปสมบทระยะหนึ่ง ก็ย้ายไปอยู่ที่วัดทุ่งศรีเมือง ต่อมาเมื่อเจ้าอาวาสมรณภาพ ท่านจึงได้เป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมือง สืบมา
    เกียรติประวัติของท่าน พอสรุปได้ดังนี้
    ๑.การปกครอง พ ศ. ๒๔๓๔ เป็นเจ้าคณะแขวง อำเภออุตตรุปรนิคม (อำเภอม่วงสามสิบ) ต่อมาเป็นเจ้าคณะอำเภอ และเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ รวมเวลาเป็นเจ้าคณะบริหารคณะสงฆ์รวม ๓๗ ปี

    ๒.การสาธารณูปการ เนื่องจากท่านเป็นช่างศิลป์ ท่านได้รับอาราธนาให้ดำเนินการปฏิสังขรณ์ และสร้างถาวรวัตถุที่สำคัญ คือ
    (๑) ปฎิสังขรณ์พระธาตุพนม พ.ศ. ๒๔๔๔
    (๒) ปฏิสังขรณ์วิหารพระเหลาเทพนิมิต
    (๓) เป็นกรรมการสร้างอุโบถวัดสุปัฏนารามวรวิหาร หลังปัจจุบัน และ
    (๔) เป็นประธานหล่อพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ พระประธานวัดสุปัฏนารามวรวิหาร พระประธานวัดบ้านท่าบ่อ พระประธานวัดบ้านหนองไหล เป็นต้น
    ๓.เกียรติคุณทางอาคม ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในอินโดจีน กองทหารหน่วยบุกยึดนครจำปาศักดิ์ได้มาตั้งฐานปฏิบัติการอยู่ที่อุบลราชธานี พระกล้ากลางสมร ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา ได้นิมนต์ท่านพระครูวิโรจน์ฯ เป็นผู้ประสาทพรแก่ทหารและขุนบุรัสการบดี ผู้แทนสมัยนั้นได้นำเอารูปถ่ายของพระครูวิโรจน์ฯ มาทำเป็นเหรียญมอบให้ ปรากฏว่าทหารหาญรุ่นนั้นปลอดภัยเป็นส่วนใหญ่ เหรียญรุ่นนั้นจึงเป็นที่ต้องการอย่างแพร่หลาย
    ท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล มรณภาพเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ อายุได้ ๘๗ ปี
    (ข้อมูลจาก พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ชมรมพุทธศาสน์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ๒๕๔๖ )
    <table id="table27" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร)
    พระผู้บูรณะพระธาตุพนม (ครั้งที่ ๕)
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๔๙
    ตำนานพระธาตุพนม
    ตำนานพระธาตุพนม โดยย่อ มีดังนี้
    ในตำนานพระธาตุพนมตอนหนึ่ง ได้กล่าวถึงพุทธประวัติโดยย่อไว้อย่างน่าสนใจว่า ครั้งหนึ่งในตอนปัจฉิมโพธิกาล (ช่วงท้ายที่พระองค์ยังทรงขันธ์อยู่) พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์ที่เป็นปัจฉาสมณะ ได้เสด็จออกจากพระเชตวันโดยทางอากาศ ผินพระพักตร์มาทางเบื้องบูรพาทิศ เสด็จประทับที่ดอนกอนเนา นั้นก่อน แล้วเสด็จไปหนองคันแทเสื้อน้ำ (เวียงจันทน์) ทรงทอดพระเนตรเห็นแลนคำ (ตะกวด) แลบลิ้น แล้วทรงทำนายชะตาเมืองล้านช้างไว้ตามนิมิตของแลนคำนั้น
    <table id="table32" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> พระพุทธบาทบัวบก
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    จากนั้นก็ได้โปรดสัตว์มาตามลำแม่น้ำโขง (เดิมเรียก ขลนที) และได้ประทับรอยพระบาทมาโดยลำดับ มีรอยพระบาทบัวบก (อำเภอผือ อุดรธานี) พระบาทโพนเพล (ฝั่งซ้ายตรงกับอำเภอโพนพิสัย) พระบาทเวินปลา (เหนือบ้านสำราญ อำเภอเมืองนครพนม) แล้วมาพักแรมที่ภูกำพร้า หรือกปณศรี (ที่ตั้งพระธาตุพนม) ๒ ราตรี
    รุ่งขึ้นเสด็จไปชำระพระบาทที่ริมแม่น้ำแห่งหนึ่ง เอาบาตรคล้องไว้ที่กิ่งไม้พุทรา ใต้ป่าไม้แป้งต้นหนึ่ง เดี๋ยวนี้เรียกว่า โพธิห้อยบาตร อยู่ริมแม่น้ำก่ำ ใต้พระธาตุพนมประมาณ ๒ กิโลเมตร
    จากนั้นได้เสด็จไปประทับอยู่ใต้ต้นรังต้นหนึ่ง ซึ่งอยู่ใต้ปากเซบั้งไฟ พญาเมืองศรีโคตบูร ได้อาราธนาให้เข้าไปบิณฑบาตในเมืองแล้วได้กลับมาฉันที่ภูกำพร้า
    <table id="table33" align="right" border="0" height="198" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> พระธาตุอิงฮัง
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ที่โคนต้นรังอันเป็นที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในครั้งนั้น ต่อมาในราว พ ศ. ๕๐๐ พญาสุมิตธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกขนคร (นครพนมในปัจจุบัน) ได้สร้างเจดีย์ครอบไว้เพื่อเป็นพุทธบูชา คนทั้งหลายพากันเรียกว่า พระธาตุอิงฮัง (พิงต้นรัง) อยู่ห่างจากสุวรรณเขตไปทางเหนือประมาณ ๑๔ กิโลเมตร
    เมื่อพระพุทธองค์ทรงทำภัตตกิจที่ภูกำพร้าเสร็จแล้วได้ทรงพยากรณ์เมืองศรีโคตบูร ปรารภถึงภูกำพร้า และเมืองมรุกขนคร แล้วได้เสด็จไปเมืองหนองหานหลวง ได้เทศนาโปรด พญาสุวรรณภิงคาร และ พระนางเทวี พร้อมทั้งบริวารทั้งหลาย ให้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์ดีแล้ว จึงได้เสด็จไปประทับรอยพระบาทไว้ที่ภูน้ำรอดเชิงชุม ได้ทรงตรัสว่า ณ สถานที่นั้น พระพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์ได้มาประสานรอยบาทไว้แล้ว
    <table id="table34" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> พระธาตุเชิงชุม
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    พญาสุวรรณภิงคาร ทรงศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัยอย่างแรงกล้า ได้ทรงสละมงกุฎทองคำถวายเป็นพุทธบูชาไว้ที่รอยพระบาทนั้น และทรงสร้างเจดีย์ครอบไว้ ๑ องค์ คนทั้งหลายเรียกว่าพระธาตุเชิงชุม มาจนกระทั่งบัดนี้ ที่อยู่ในตัวเมืองสกลนคร)
    เมื่อพระพุทธองค์ได้โปรดพญาสุวรรณภิงคาร และพระนางเทวีแล้ว ได้เสด็จไปประทับที่แท่นศิลาอาสน์ ณ ดอยคูหาลูกหนึ่งทรงทอดพระเนตรเห็นเมืองหนองหานหลวง เมืองศรีโคตบูร และภูกำพร้า (ธาตุพนม) ทรงระลึกถึงพระมหากัสสปเถระ ทันใดนั้น เมื่อพระมหากัสสปเถระ ได้ทราบวาระจิตของพระองค์แล้ว ก็ได้มาเฝ้าโดยทางอากาศ
    พระพุทธองค์ตรัสกับพระเถระว่า “ดูกรกัสสปะ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว เธอจงนำเอาอุรังคธาตุแห่งเราตถาคตไปประดิษฐานไว้ที่ภูกำพร้าโน้นเถิด เธออย่าได้ละทิ้งคำสั่งของเราตถาคตนี้เสีย”
    พระมหากัสสปเถระ เมื่อได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้วก็ชื่นชมยินดี ยกอัญชลีขึ้นกล่าวว่า “สาธุ สาธุ !” ดังนี้ แล้วก็กลับไปที่อยู่ของตน
    ภูเขาลูกที่พระพุทธองค์ประทับขณะนั้น คนทั้งหลายเรียกว่าดอยแท่น ในกาลต่อมาเรียกว่า ภูเพ็ก ตั้งอยู่ในเขตตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
    จากภูเพ็ก พระองค์เสด็จไปภูกูเวียง ดอยนันทดังฮีแล้วเสด็จกลับพระเชตวันมหาวิหาร อยู่มาไม่นานก็เสด็จดับขันธ์ไปรินิพพาน ณ เมืองกุสินารา
    ในตำนานพระธาตุพนมได้กล่าวต่อไปอีกว่า เมื่อพระมหากัสสปเถระ ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศาสดาเสร็จแล้ว ได้อัญเชิญเอาพระอุรังคธาตุของพระองค์มาประดิษฐานไว้ที่ภูกำพร้าตามพระดำรัสที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสั่งไว้
    <table id="table35" align="right" border="0" height="198" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> พระธาตุภูเพ็ก
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ในระหว่างการเดินทาง พระมหากัสสปเถระ พร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ พระองค์ ได้พักอยู่ที่ดอยแท่นหรือภูเพ็กก่อน รุ่งขึ้นได้ไปบิณฑบาตที่เมืองหนองหานหลวง เพื่อโปรดพญาสุวรรณภิงคารและแจ้งข่าวการปรินิพพานของพระพุทธเจ้าให้ทรงทราบ
    กล่าวถึง เมืองหนองหานหลวง อันมี พญาสุวรรณภิงคาร และพระนางนารายณ์เจงเวง เป็นต้น พอได้ทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าทรงปรินิพพานแล้ว ก็มีความหวังอยู่ว่าตนเองจะได้รับส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุนั้น จึงได้สร้างเจดีย์ขึ้น ๒ องค์ด้วยศิลาล้วนๆ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
    <table id="table36" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> พระธาตุนารายณ์เจงเวง หรือ ธาตุนางเวง
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ในการสร้างเจดีย์ขึ้นครั้งนั้น ได้แบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือฝายชายมีพญาสุวรรณภิงคาร เป็นหัวหน้าสร้างที่ภูเพ็ก ฝ่ายหญิงมีพระนางนารายณ์เจงเวง เป็นหัวหน้า สร้างขึ้น ณ สวนอุทยานห่างจากตัวเมืองสกลนครไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๖ กม. เดี๋ยวนี้เรียกว่า ธาตุนางเวง
    ทั้งสองฝ่ายได้ให้สัญญากันว่า ถ้าเจดีย์ของฝ่ายใดสร้างเสร็จก่อนจะได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในที่สุดของทางฝ่ายหญิงเสร็จก่อน
    เมื่อพระมหากัสสปเถระได้เดินทางมาถึงแล้ว ทั้งสองฝ่ายต่างผิดหวังไม่มีใครได้รับส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุที่พระมหากัสสปเถระอัญเชิญมา โดยพระเถระได้ชี้แจงให้ทราบว่า ที่พระธาตุนางเวงก็ดีและที่ภูเพ็กก็ดี ไม่ใช่ภูกำพร้า และถ้าจะนำเข้าบรรจุในเจดีย์ที่สร้างด้วยการพนันขันแข่งกันนี้ก็จะผิดพุทธประสงค์ และไม่เป็นศิริมงคลแก่บ้านเมือง
    พระมหากัสสปเถระ จึงให้พระอรหันต์ไปอัญเชิญพระอังคารคือ เถ้าถ่านจากที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ณ เมืองกุสินารา มาบรรจุในเจดีย์ทั้งสององค์นั้น
    พระมหากัสสปะเถระ พร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ออกจากเมืองหนองหานหลวง ตรงมาที่ดอยกปณคีรี หรือ ภูกำพร้าธาตุพนม ซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำขลนที หรือแม่น้ำโขง ได้ทำการก่อสร้างเจดีย์ด้วยอิฐ ก่อเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยมสูงประมาณ ๘ เมตร แล้วอัญเชิญพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าบรรจุไว้ข้างใน
    สำหรับประวัติการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมหรือเรียกตามแผ่นทองจารึกไว้ในสมัยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก แห่งนครเวียงจันทน์มาบูรณะใน พ.ศ. ๒๒๓๖ - ๔๕ ว่า “ธาตุปะนม” เป็นพุทธเจดีย์ที่บรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนพระอุระ) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    มีรูปทรงสี่เหลี่ยมประดับตกแต่งด้วยศิลปลวดลายอันวิจิตรประณีตทั้งองค์ มีความหมายทางพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง สูงจากระดับพื้นดิน ๕๓ เมตร ฉัตรทองคำสูง ๔ เมตร รวมเป็น ๕๗ เมตร
    ในตำนานพระธาตุพนมกล่าวไว้ว่า องค์พระธาตุพนมสร้างครั้งแรกในราว พ.ศ. ๘ ในสมัยอาณาจักรศรีโคตบูร กำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ โดยท้าวพญาทั้ง ๕ อันมีพญาศรีโคตบูร เป็นต้น และพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ อันมีพระมหากัสสปเถระ เป็นประมุข
    ลักษณะการก่อสร้างในสมัยแรกนั้น ใช้ดินดิบก่อขึ้นเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยม แล้วเผาให้สุกทีหลัง กว้างด้านละสองวาของพระมหากัสสปเถระ สูงสองวา ข้างในเป็นโพรงมีประตูเปิดปิดทั้งสี่ด้าน เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุของพระพุทธองค์ที่พระมหากัสสปเถระอัญเชิญมา ประดิษฐานไว้ข้างใน แล้วปิดประตูทั้งสี่ด้าน แต่ยังปิดไม่สนิททีเดียวยังเปิดให้คนเข้าไปสักการบูชาได้อยู่ในบางโอกาส
    ในตำนานพระธาตุพนมบอกว่า “ยังมิได้ฐาปนาให้สมบูรณ์” ซึ่งหมายความว่า ยังมิได้ปิดประตูพระธาตุให้มิดชิด พึ่งมาสถาปนาให้สมบูรณ์ในราว พ.ศ. ๕๐๐
    ท้าวพญาทั้ง ๕ ผู้มาเป็นประมุขประธานในการก่อสร้างพระธาตุในครั้งนั้น เป็นเจ้าผู้ครองนครในแคว้นต่างๆ คือ
    ๑.พญาจุลณีพรหมทัต ครองแคว้นจุลณี ก่อด้านตะวันออก
    ๒ พญาอินทปัตถานคร ครองเมืองอินทปัตถานคร ก่อด้านใต้
    ๓.พญาคำแดง ครองเมืองหนองหานน้อย ก่อด้านตะวันตก
    ๔ พญานันทเสน ครองเมืองศรีโคตบูร ก่อด้านเหนือ
    ๕.พญาสุวรรณภิงคาร ครองเมืองหนองหานหลวง ก่อขึ้นรวบยอดเข้าเป็นรูปฝาละมี
    ประวัติการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมยุคต่อมา มีดังนี้
    บูรณะครั้งที่ ๑ ในราว พ.ศ. ๕๐๐ โดยมีพญาสุมิตธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกขนคร และพระอรหันต์ ๕ องค์ เป็นประธานการบูรณะครั้งนั้น ได้เอาอิฐซึ่งเผาให้สุกดีแล้ว มาก่อต่อเติมจากยอดพระธาตุองค์เดิมให้สูงขึ้นไปอีกประมาณ ๒๔ เมตร แล้วอัญเชิญพระอุรังคธาตุจากอุโมงค์เดิม ขึ้นไปประดิษฐานไว้ใหม่ที่ใจกลางพระธาตุชั้นที่สอง แล้วปิดประตูอย่างมิดชิด หรือสถาปนาไว้อย่างสมบูรณ์ (อยู่สูงจากพื้นดิน ๑๔.๗๐ เมตร)
    บูรณะครั้งสอง เมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๗ โดยมีพระยานครหลวงพิชิตราชธานีศรีโคตบูร แห่งเมืองโคตบูร เป็นประธาน ได้โบกสะทายตีนพระธาตุทั้งสี่ด้าน และสร้างกำแพงรอบพระธาตุพร้อมทั้งซุ้มประตูและเจดีย์หอข้าวพระทางทิศตะวันออกพระธาตุ ๑ องค์
    บูรณะครั้งที่สาม เมื่อ พ ศ. ๒๒๓๖ - ๔๕ โดยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก แห่งนครเวียงจันทน์ เป็นประธาน ได้ใช้อิฐก่อต่อเติมจากพระธาตุชั้นที่สองให้สูงขึ้นไปอีกเป็น ๔๓ เมตร ได้มีการปรับปรุงที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุใหม่ โดยสร้างอูบสำริดครอบเจดีย์ศิลาอันเป็นที่บรรจุบุษบกและผอบพระอุรังคธาตุไว้อย่างแน่นหนา และได้บรรจุพระพุทธรูปเงิน ทอง แก้วมรกตและอัญมณีอันมีค่าต่างๆ ไว้ภายในอูบสำริดไว้มากมาย มีจารึกนามพระธาตุพนมว่า “ธาตุปะนม” (ประนม)
    บูรณะครั้งที่สี่ ใน พ.ศ. ๒๓๕๐ - ๕๖ โดยมีเจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทนเป็นประธาน ได้ทำฉัตรใหม่ด้วยทองคำประดับด้วยเพชรพลอยสีต่างๆ ประมาณ ๒๐๐ เม็ด และได้ทำพิธียกฉัตรขึ้นสู่ยอดเจดีย์ในปี ๒๓๕๖
    บูรณะครั้งที่ห้า ใน พ.ศ. ๒๔๔๔ โดยมีพระครูวิโรจน์รัตโนบล วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธาน ได้ซ่อมแซมโบกปูนองค์พระธาตุใหม่ ลงรักปิดทองส่วนบน ประดับแก้วติดดาวที่ระฆัง แผ่แผ่นทองคำหุ้มยอด ปูลานพระธาตุ ซ่อมแซมกำแพงชั้นในและชั้นกลาง
    บูรณะครั้งที่หก ใน พ.ศ. ๒๔๘w - ๘๔ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ให้กรมศิลปากร อันมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นหัวหน้า สร้างเสริมครอบพระธาตุองค์เดิมด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กตั้งแต่ชั้นที่ ๓ ขึ้นไป และต่อยอดให้สูงขึ้นไปอีก ๑๐ เมตร รวมเป็น๕๗ เมตร
    มีเหตุการณ์ที่ทำความสะเทือนใจมาสู่ชาวพุทธ คือเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ เวลา ๑๙.๓๘ น องค์พระธาตุพนมได้หักล้มลงไปทางทิศตะวันออกทั้งองค์ ทับวัตถุก่อสร้างต่างๆ ซึ่งอยู่บริเวณนั้นได้แก่ หอพระทางทิศเหนือและทิศใต้ ศาลาการเปรียญและพระวิหารหอพระแก้วเสียหายหมด ทั้งนี้เพราะฐานหรือพระธาตุชั้นที่ ๑ ซึ่งสร้างแต่สมัยแรกนั้นเก่าแก่มาก ไม่สามารถทานน้ำหนักส่วนบนได้จึงพังทลายลงมาหมดทั้งองค์
    ต่อมาก็ได้ทำการรื้อถอน และได้สร้างขึ้นมาใหม่ สำเร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้จัดพระราชพิธีบรรจุพระอุรังคธาตุระหว่างวันที่ ๒๑ - ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จมาเป็นองค์ประธาน และทรงบรรจุพระอุรังคธาตุ
    หมายเหตุ: ทั้งหมดนี้สรุปมาจากหนังสือ ประมวลภาพประวัติศาสตร์พระธาตุพนม ซึ่งวัดพระธาตุพนมวรวิหารจัดพิมพ์ สำหรับท่านที่สนใจประวัติศาสตร์อิสานโบราณและตำนานพระธาตุพนมโปรดอ่าน อุรังคนิทาน : ตำนานพระธาตุพนม (พิสดาร) โดย พระธรรมราชานุวัตร อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม
    <table id="table28" border="0" width="122"><tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    พระธาตุพนมองค์เดิม
    </td></tr></tbody></table>
     
  12. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๔๔
    เริ่มต้นบูรณะพระธาตุพนม
    จากบันทึกของหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร ตามคำบอกเล่าของหลวงปู่มั่น เกี่ยวกับการเริ่มต้นบูรณะพระธาตุพนม มีว่า :-
    “ดังนั้น ท่าน (หลวงปู่ใหญ่เสาร์) จึงได้ชักชวนญาติโยมทั้งหลายในละแวกนั้น ซึ่งก็มีอยู่ไม่กี่หลังคาเรือน และส่วนมากก็เป็นชาวนา ได้มาช่วยกันถากถางทำความสะอาดบริเวณองค์พระเจดีย์นั้น ได้พาญาติโยมทำอยู่เช่นนี้ ๓ เดือนเศษ จึงค่อยสะอาดเป็นที่เจริญหูเจริญตามาตราบเท่าทุกวันนี้
    เมื่อญาติโยมทำความสะอาดเสร็จแล้ว ท่านอาจารย์ก็พาญาติโยมในละแวกนั้นทำมาฆบูชา ซึ่งขณะนั้นผู้คนแถวนั้นยังไม่รู้ถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด ทำให้พวกเขาเหล่านั้นเกิดศรัทธาเลื่อมใสอย่างจริงจัง จนได้ชักชวนกันมารักษาอุโบสถ ฝึกหัดกรรมฐานทำสมาธิกับท่านอาจารย์จนได้ประสบผลตามสมควร
    บันทึกของหลวงพ่อวิริยังค้ามีต่อไปว่า
    “...จากนั้นท่านทั้งสามก็ได้ออกเดินทางจาริกต่อไป และแสวงหาความสงบตามป่าดงพงพีไปเรื่อยๆ โดยมุ่งหวังเพื่อบรรลุธรรม แต่ก็ยังไม่สมความตั้งใจไว้
    ต่อมาพระอาจารย์เสาร์ ก็พากลับจังหวัดอุบลราชธานีอันเป็นถิ่นเดิมของท่าน
    ในบันทึกของหลวงพ่อโชติ อาภคฺโค มีดังนี้.:-
    “ท่านพระอาจารย์เสาร์ จึงได้ข่าวประกาศให้ญาติโยมจังหวัดนครพนมได้ทราบว่า พระธาตุพนมนี้เป็นพระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นพระธาตุที่บรรจุอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า ขอให้ชาวบ้านชาวเมืองทั้งหลายช่วยกันถากถาง ทำความสะอาดบริเวณพระธาตุ แล้วทำบุญอุทิศถวายกุศลแด่พระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาของเรา
    เมื่อชาวบ้านชาวเมืองได้รู้เช่นนั้นแล้ว ก็พากันบังเกิดปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง เอิกเกริกโกลาหลกันเป็นการใหญ่
    ครั้นถึงวันเพ็ญเดือน ๓ ท่านพระอาจารย์ ก็พาญาติโยมทั้งหลายทำบุญ อันมีพระอาจารย์มั่น และท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร รวมอยู่ด้วย จนเป็นประเพณีสืบๆ ต่อกันมามิได้ขาด จนกระทั่งบัดนี้
    หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค ได้เปรียบเทียบเชิงอุปมาอุปมัยในการค้นพบพระธาตุพนม ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และคณะศิษย์ ดังนี้ :-
    “เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๓ หลังจากที่ชาวเมืองนครพนมจมอยู่ในความมืดบอดเป็นเวลานาน ปล่อยให้พระธาตุเป็นป่ารกทึบ และแล้วพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่น และท่านเจ้าคุณปัญญาพิศาลเถรได้นำเอาแสงสว่างดวงประทีปธรรมของพระพุทธองค์ สองทางให้ได้เห็นหนทางแห่งการปฏิบัติธรรมเป็นเครื่องดำเนินต่อไป”
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ได้เล่าให้ หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส ศิษย์อุปัฏฐากฟังว่า ทีแรก ชาวเมืองได้ขอให้หลวงปู่ใหญ่เป็นผู้บูรณะ แต่ท่านบอกว่า “เราไม่ใช่เจ้าของ เดี๋ยวเจ้าของผู้ซ่อมแซมจะมาทำเอง”
    และเจ้าของ ที่หลวงปู่ใหญ่พูดไว้ก็คือ พระครูวิโรจน์รัตโนบล หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ท่านพระครูดีโลด นั่นเอง
    ๔๕
    บันทึกการบูรณะพระธาตุพนม
    บันทึกการบูรณะพระธาตุพนม หลังจากหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และศิษย์มาพักจำพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ แล้ว ก็ได้มีการบูรณะพระธาตุพนมอย่างจริงจังขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ (การบูรณะครั้งที่ ๕) ตามหนังสืออุรังคนิทาน ตำนานพระธาตุพนมที่ท่านเจ้าคุณพระธรรมราชานุวัตร (แก้ว กนฺโตภาโส) ได้กล่าวไว้ ดังนี้ -
    “ครั้นถึง พ ศ. ๒๔๔๔ มีพระเถระนักปฏิบัติชาวเมืองอุบลฯ ๓ รูป เดินธุดงค์มาจำพรรษาอยู่วัดสระพัง (ตะพัง) ซึ่งเป็นสระโบราณใหญ่อยู่บริเวณนอกกำแพงวัดทางด้านหรดีองค์ธาตุพนม คือ พระอุปัชฌาย์ทา ๑ พระอาจารย์เสาร์ ๑ พระอาจารย์มั่น ๑
    ท่านและคณะได้มานมัสการพระบรมธาตุ และพิจารณาดูแล้วมีความเลื่อมใส เห็นว่าพระธาตุพนมเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุอันแท้จริง แต่เป็นที่น่าสลดใจ เมื่อเห็นองค์พระธาตุเศร้าหมอง รกร้างตามบริเวณทั่วไป
    ทั้งพระวิหารหลวง ซึ่งพระเจ้าโพธิศาล (พ ศ. ๒๐๗๓ - ๒๑๐๓) แห่งนครหลวงพระบางได้สร้างไว้ (ตามประวัติพระธาตุพนมบูรณะครั้งที่๒) ก็พังทลายกลายเป็นกองอิฐปูนอยู่ภายในกำแพงพระธาตุ ถ้าได้ผู้สามารถเป็นหัวหน้าบูรณะจะเป็นมากุศลสาธารณะแก่พระพุทธศาสนาและบ้านเมืองมิใช่น้อย
    จึงแต่งตั้งให้ตัวหน้าเฒ่าแก่ชาวบ้านธาตุพนม เดินทางลงไปเมืองอุบล ให้อาราธนาเอาท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนตโร) วัดทุ่งศรีเมือง จ อุบลฯ แต่เมื่อท่านดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูอุดรพิทักษ์คณาเดช ขอให้ท่านขึ้นมาเป็นหัวหน้าซ่อมแซมพระบรมธาตุ ท่านก็ยินดีรับขึ้นมาตามความประสงค์ (ท่านมีคุณสมบัติพิเศษ โอบอ้อมอารี จนได้นิมิตนามว่า “พระครูดีโลด” คืออะไรก็ดีหมด)
    ท่านเป็นพระเถระผู้เชี่ยวชาญทางการฝีมือ ศิลปกรรม การก่อสร้าง แกะสลักทั้งไม้ อิฐ ปูน เป็นนักปกครองชั้นดี ทั้งเป็นนักปฏิบัติมีจิตตานุภาพและจิตวิทยาสูง เป็นที่นิยมของประชาชน ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต มีศิษย์มากอยู่ ผู้ใดได้พบปะสนทนาด้วยแล้ว ต่างมีความเคารพรัก
    เมื่อท่านพระครูฯ รับนิมนต์ เดินทางมาถึงแล้วได้ประชุมหารือทั้งชาววัดและชาวบ้าน
    ชั้นแรกชาวบ้านจะยอมให้ทำแต่เพียงทาปูนลานพระธาตุ ให้มีที่กราบไหว้เท่านั้น มิยอมให้ซ่อมองค์พระธาตุเพราะเกรงกลัวเภทภัยทั้งหลายซึ่งเคยเป็นมาแล้วแต่หนหลัง
    ท่านพระครูฯ ไม่ยอม บอกว่าถ้ามิได้บูรณะพระธาตุแต่ยอดถึงดิน แต่ดินถึงยอดแล้วจะมิทำ
    ชาวบ้านไม่ตกลง เลิกประชุมกัน
    ครั้นต่อมาในวันนั้น มีอารักษ์เข้าสิงคน ขู่เข็ญผู้ขัดขวาง จะทำให้ถึงวิบัติ ชาวบ้านเกิดความกลัวจึงกลับมาวิงวอนให้ท่านพระครูฯทำตามใจชอบ
    ท่านพระครูวิโรจน์ฯ ได้เริ่มบูรณะแต่เดือนอ้าย ขึ้น ๑๔ค่ำ จนถึงเดือน ๓ เพ็ญ ได้ฉลอง มีประชาชนหลั่งไหลมาจากจตุรทิศ ช่วยเหลือจนมืดฟ้ามัวดินเป็นประวัติการณ์นับแต่หลังจากบ้านเมืองเป็นจลาจลมา (เกิดศึกสงครามระหว่างไทยกับญวน ทำให้ผู้คนแตกตื่นอพยพหนีหายไปจำนวนมาก และช่วงนั้นเกิดกรณีกบฏผีบุญ ขึ้นที่มณฑลอุบล เมื่อสมัย ร.ศ. ๑๑๗ ตรงกับ พ ศ ๒๔๔๓ สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ด้วย)
    มีผู้ศรัทธาร่วมบริจาคทรัพย์เพื่อบูรณะพระธาตุเป็นจำนวนมาก
    การบูรณะ ได้ชำระต้นโพธิ์เล็กที่เกาะจับอยู่ออก ขูดไคลน้ำและกะเทาะสะทายที่ชำรุดออก โบกปูน ทาสีใหม่ ประดับกระจกสีในที่บางแห่ง และลงรักปิดทองยอดตามที่อันควร สิ้นทองเปลว ๓ แสนแผ่น หมดเงินหนัก ๓๐๐ บาท ทองคำ ๕๐ บาทเศษ แก้วเม็ด ๒๐๐ แก้วประดับ ๑๒ หีบ หล่อระฆังโบราณด้วยทองแดง ๑ ลูก หนัก ๒ แสน (๒๔๐ กก.) ไว้ตีเป็นพุทธบูชา
    ทั้งหมดนี้ผมลอกมาจากหนังสือของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ อีกต่อหนึ่ง (จะหาว่าผมขโมยมาก็ยอมรับครับ)
    ๔๖
    กลับมาเยี่ยมบ้านคำบงบ้านเกิดหลวงปู่มั่น
    ข้อมูลในตอนนี้ได้จากการสืบค้นของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ เหตุการณ์ช่วงนี้ไม่ได้ระบุวันเดือนปีที่แน่นอน แต่เป็นเหตุการณ์ภายหลังจากหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ได้นำลูกศิษย์ของท่าน คือ หลวงปู่มั่น ธุดงค์ออกจากภูหล่น ข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปทางฝั่งลาว แล้วกลับมาฝั่งไทยพักบำเพ็ญเพียรที่พระธาตุพนมระยะหนึ่ง แล้วก็เดินธุดงค์กลับมาจังหวัดอุบลราชธานี
    ในช่วงนี้ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กับหลวงปู่มั่น ได้เดินทางไปที่บ้านคำบง อำเภอโขงเจียม บ้านเกิดของหลวงปู่มั่นอีกครั้งหนึ่ง
    ข้อมูลจากท่านอาจารย์พิศิษฐ์ บอกว่า ผู้เฒ่าชาวบ้านคำบง เล่าว่าหลวงปู่ทั้งสอง ได้รับการถวายทองคำมาจำนวนหนึ่ง ได้นำมาหล่อเป็นพระพุทธรูปที่ บ้านกุดเม็ก โดยทำเตาหลอม และเททองหลอมด้วยตัวของท่านเอง
    ชาวบ้านเล่าว่า พระอาจารย์ กับ ศิษย์ ได้ช่วยกันหล่อพระพุทธรูปขึ้น ๒ องค์ องค์ใหญ่หลวงปู่ใหญ่เสาร์เป็นคนหล่อและหลวงปู่มั่นหล่อพระพุทธรูปองค์เล็ก
    อาจารย์พิศิษฐ์ บรรยายว่า
    “...พระพุทธรูปสององค์นี้เป็นทองสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักราว ๗ - ๙ นิ้ว ข้าพเจ้าคาดไม่ถึงว่าจะมีน้ำหนักมากมายจนเกือบยกไม่ขึ้นปานนี้ ต่อเมื่อได้ยกขึ้นพิจารณาดูอย่างละเอียดใกล้ชิดแล้ว จึงได้ทราบว่าเป็นพระพุทธรูปที่หล่อตันทั้งองค์ จะมีกลวงนิดหน่อยก็ตรงส่วนฐานของพระพุทธรูปเท่านั้นเอง พระพุทธรูป ๒ องค์นี้ชาวบ้านคำบงและพระสงฆ์ทั้งหลาย พากันเคารพหวงแหนมาก โดยได้เก็บรักษาไว้อย่างปลอดภัยมาจนถึงทุกวันนี้”
    <table id="table25" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    พระพุทธรูป ๒ องค์นี้ ชาวบ้านคำบงและพระสงฆ์ทั้งหลาย พากันเคารพหวงแหนมาก โดยได้เก็บรักษาไว้อย่างปลอดภัยมาจนถึงทุกวันนี้
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๔๗
    การทำบุญฉลองการบูรณะพระธาตุพนม
    การบูรณะพระธาตุพนมในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ โดยพระครูวิโรจน์รัตโนบล หรือ พระครูดีโลด เป็นการบูรณะครั้งที่ ๕ โดย “ได้เริ่มบูรณะแต่เดือนอ้าย ขึ้น ๑๔ ค่ำ จนถึงเดือน ๓ เพ็ญ ได้ฉลอง มีประชาชนหลั่งไหลมาจากจตุรทิศ... จนมืดฟ้ามัวดิน...”
    ในบันทึกของหลวงพ่อโชติ อาภคฺโค ได้กล่าวถึงงานฉลองพระธาตุพนม ดังนี้ :-
    “ในงานมหามงคลวันนั้นท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (หนู) เป็นผู้แสดงธรรม น้ำเสียงของท่าน สำนวนภาษา อรรถาธิบาย อุปมาอุปมัย ความสงบ กิริยาท่าทาง ดำเนินไปเยี่ยงผู้เห็นภัยด้วยความงดงามยิ่ง ไพเราะเพราะพริ้งเป็นที่ชื่นชมโสมนัส เลื่อมใสศรัทธา ประทับใจผู้ฟัง เป็นอย่างมาก ข้อความที่ท่านยกขึ้นแสดงแต่ละอย่าง ก็ซึ้ง สมบูรณ์ด้วยเหตุผล จนผู้ฟังบังเกิดความเห็นคล้อยตามไปทุกอย่าง ไม่มีแม้เสียงเคลื่อนไหว แทบจะไม่หายใจ เงียบกริบ นั่งเป็นระเบียบฟังอย่างเป็นสมาธิ ไม่มีเสียงกระแอมไอแม้กระทั่งเขยื้อนตัว เป็นต้น
    น้ำเสียงของท่านเป็นกังวานชัดเจน ในสมัยนั้น ถึงไม่มีเครื่องขยายเสียง แต่กระแสเสียงของท่าน แม้จะพูดธรรมดาก็ได้ยินโดยทั่วเพราะความสงบเงียบนั่นเอง
    นี่ละหนอ เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมท่ามกลางบริษัทมากๆ ต้องกินเนื้อที่กว้างไกล สมัยพุทธกาลก็ไม่มีเครื่องขยายเสียงทำไมคนจึงได้ยินโดยทั่วกัน
    ก็คงเป็นเหมือนเช่นครั้งท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถรท่านแสดงธรรมทั่วพระธาตุพนมนั่นเอง เพราะอาศัยความเงียบ ความสำรวมของผู้ฟัง น้ำเสียงจึงแผ่ไปทั่วทุกอณูของสถานที่บริเวณอย่างชัดเจน ซึ่งต่างจากปัจจุบันนี้เป็นไหนๆ
    การแสดงความเคารพเป็นกิจเบื้องแรกในบวรพุทธศาสนา ผู้ที่ขาดความอ่อนน้อม แข็งกระด้าง ก็อย่าหวังเลยว่าจะทำมรรคผลนิพพานให้เกิดขึ้นได้ ความเคารพนั้น แสดงออกได้ ๓ ทาง คือ กาย วาจา ใจ
    ก่อนฟังเทศน์ บริษัททั้งหลายสมาทานเอาไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่งที่เคารพยึดถือ ต้องแสดงความเคารพอย่างสูงสุดหยุดนิ่ง
    เมื่อครูอาจารย์ขึ้นเทศน์อบรม ถึงจะเป็นใครก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเถระ พระเถรเณรน้อย หรือเจ้าฟ้าเจ้าคุณก็ตาม เราจะต้องให้ความเคารพเสมอภาคกันหมด เพราะผู้เทศน์ผู้แสดงธรรมท่านเอาพระธรรมของพระพุทธเจ้ามาอบรมสั่งสอนเรา เมื่อเราแสดงออกซึ่งความไม่เคารพ คือไม่ตั้งใจสงบนิ่งด้วยกาย วาจา ใจ ซึ่งแสดงว่าเราไม่มีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ ที่เราอุตส่าห์สมาทานเอาเป็นสรณะแต่เบื้องแรก เมื่อเป็นเช่นนั้น การสมาทาน การฟังเทศน์ จะมีประโยชน์มีความหมายอะไร ไม่มีอานิสงส์แม้แต่น้อย สักแต่ว่าเป็นทุกขเวทนา เป็นบาปกรรมเปล่าๆ
    แม้ในบันทึกจะไม่ได้กล่าวถึงเนื้อหาของพระธรรมเทศนา ก็ได้บ่งบอกถึงบรรยากาศของการฟังเทศน์ของคนในสมัยนั้น ว่าเป็นไปด้วยความเคารพศรัทธา และความตั้งใจฟังอย่างแท้จริง
     
  13. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๔๔
    เริ่มต้นบูรณะพระธาตุพนม
    จากบันทึกของหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร ตามคำบอกเล่าของหลวงปู่มั่น เกี่ยวกับการเริ่มต้นบูรณะพระธาตุพนม มีว่า :-
    “ดังนั้น ท่าน (หลวงปู่ใหญ่เสาร์) จึงได้ชักชวนญาติโยมทั้งหลายในละแวกนั้น ซึ่งก็มีอยู่ไม่กี่หลังคาเรือน และส่วนมากก็เป็นชาวนา ได้มาช่วยกันถากถางทำความสะอาดบริเวณองค์พระเจดีย์นั้น ได้พาญาติโยมทำอยู่เช่นนี้ ๓ เดือนเศษ จึงค่อยสะอาดเป็นที่เจริญหูเจริญตามาตราบเท่าทุกวันนี้
    เมื่อญาติโยมทำความสะอาดเสร็จแล้ว ท่านอาจารย์ก็พาญาติโยมในละแวกนั้นทำมาฆบูชา ซึ่งขณะนั้นผู้คนแถวนั้นยังไม่รู้ถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด ทำให้พวกเขาเหล่านั้นเกิดศรัทธาเลื่อมใสอย่างจริงจัง จนได้ชักชวนกันมารักษาอุโบสถ ฝึกหัดกรรมฐานทำสมาธิกับท่านอาจารย์จนได้ประสบผลตามสมควร
    บันทึกของหลวงพ่อวิริยังค้ามีต่อไปว่า
    “...จากนั้นท่านทั้งสามก็ได้ออกเดินทางจาริกต่อไป และแสวงหาความสงบตามป่าดงพงพีไปเรื่อยๆ โดยมุ่งหวังเพื่อบรรลุธรรม แต่ก็ยังไม่สมความตั้งใจไว้
    ต่อมาพระอาจารย์เสาร์ ก็พากลับจังหวัดอุบลราชธานีอันเป็นถิ่นเดิมของท่าน
    ในบันทึกของหลวงพ่อโชติ อาภคฺโค มีดังนี้.:-
    “ท่านพระอาจารย์เสาร์ จึงได้ข่าวประกาศให้ญาติโยมจังหวัดนครพนมได้ทราบว่า พระธาตุพนมนี้เป็นพระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นพระธาตุที่บรรจุอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า ขอให้ชาวบ้านชาวเมืองทั้งหลายช่วยกันถากถาง ทำความสะอาดบริเวณพระธาตุ แล้วทำบุญอุทิศถวายกุศลแด่พระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาของเรา
    เมื่อชาวบ้านชาวเมืองได้รู้เช่นนั้นแล้ว ก็พากันบังเกิดปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง เอิกเกริกโกลาหลกันเป็นการใหญ่
    ครั้นถึงวันเพ็ญเดือน ๓ ท่านพระอาจารย์ ก็พาญาติโยมทั้งหลายทำบุญ อันมีพระอาจารย์มั่น และท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร รวมอยู่ด้วย จนเป็นประเพณีสืบๆ ต่อกันมามิได้ขาด จนกระทั่งบัดนี้
    หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค ได้เปรียบเทียบเชิงอุปมาอุปมัยในการค้นพบพระธาตุพนม ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และคณะศิษย์ ดังนี้ :-
    “เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๓ หลังจากที่ชาวเมืองนครพนมจมอยู่ในความมืดบอดเป็นเวลานาน ปล่อยให้พระธาตุเป็นป่ารกทึบ และแล้วพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่น และท่านเจ้าคุณปัญญาพิศาลเถรได้นำเอาแสงสว่างดวงประทีปธรรมของพระพุทธองค์ สองทางให้ได้เห็นหนทางแห่งการปฏิบัติธรรมเป็นเครื่องดำเนินต่อไป”
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ได้เล่าให้ หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส ศิษย์อุปัฏฐากฟังว่า ทีแรก ชาวเมืองได้ขอให้หลวงปู่ใหญ่เป็นผู้บูรณะ แต่ท่านบอกว่า “เราไม่ใช่เจ้าของ เดี๋ยวเจ้าของผู้ซ่อมแซมจะมาทำเอง”
    และเจ้าของ ที่หลวงปู่ใหญ่พูดไว้ก็คือ พระครูวิโรจน์รัตโนบล หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ท่านพระครูดีโลด นั่นเอง
    ๔๕
    บันทึกการบูรณะพระธาตุพนม
    บันทึกการบูรณะพระธาตุพนม หลังจากหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และศิษย์มาพักจำพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ แล้ว ก็ได้มีการบูรณะพระธาตุพนมอย่างจริงจังขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ (การบูรณะครั้งที่ ๕) ตามหนังสืออุรังคนิทาน ตำนานพระธาตุพนมที่ท่านเจ้าคุณพระธรรมราชานุวัตร (แก้ว กนฺโตภาโส) ได้กล่าวไว้ ดังนี้ -
    “ครั้นถึง พ ศ. ๒๔๔๔ มีพระเถระนักปฏิบัติชาวเมืองอุบลฯ ๓ รูป เดินธุดงค์มาจำพรรษาอยู่วัดสระพัง (ตะพัง) ซึ่งเป็นสระโบราณใหญ่อยู่บริเวณนอกกำแพงวัดทางด้านหรดีองค์ธาตุพนม คือ พระอุปัชฌาย์ทา ๑ พระอาจารย์เสาร์ ๑ พระอาจารย์มั่น ๑
    ท่านและคณะได้มานมัสการพระบรมธาตุ และพิจารณาดูแล้วมีความเลื่อมใส เห็นว่าพระธาตุพนมเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุอันแท้จริง แต่เป็นที่น่าสลดใจ เมื่อเห็นองค์พระธาตุเศร้าหมอง รกร้างตามบริเวณทั่วไป
    ทั้งพระวิหารหลวง ซึ่งพระเจ้าโพธิศาล (พ ศ. ๒๐๗๓ - ๒๑๐๓) แห่งนครหลวงพระบางได้สร้างไว้ (ตามประวัติพระธาตุพนมบูรณะครั้งที่๒) ก็พังทลายกลายเป็นกองอิฐปูนอยู่ภายในกำแพงพระธาตุ ถ้าได้ผู้สามารถเป็นหัวหน้าบูรณะจะเป็นมากุศลสาธารณะแก่พระพุทธศาสนาและบ้านเมืองมิใช่น้อย
    จึงแต่งตั้งให้ตัวหน้าเฒ่าแก่ชาวบ้านธาตุพนม เดินทางลงไปเมืองอุบล ให้อาราธนาเอาท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนตโร) วัดทุ่งศรีเมือง จ อุบลฯ แต่เมื่อท่านดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูอุดรพิทักษ์คณาเดช ขอให้ท่านขึ้นมาเป็นหัวหน้าซ่อมแซมพระบรมธาตุ ท่านก็ยินดีรับขึ้นมาตามความประสงค์ (ท่านมีคุณสมบัติพิเศษ โอบอ้อมอารี จนได้นิมิตนามว่า “พระครูดีโลด” คืออะไรก็ดีหมด)
    ท่านเป็นพระเถระผู้เชี่ยวชาญทางการฝีมือ ศิลปกรรม การก่อสร้าง แกะสลักทั้งไม้ อิฐ ปูน เป็นนักปกครองชั้นดี ทั้งเป็นนักปฏิบัติมีจิตตานุภาพและจิตวิทยาสูง เป็นที่นิยมของประชาชน ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต มีศิษย์มากอยู่ ผู้ใดได้พบปะสนทนาด้วยแล้ว ต่างมีความเคารพรัก
    เมื่อท่านพระครูฯ รับนิมนต์ เดินทางมาถึงแล้วได้ประชุมหารือทั้งชาววัดและชาวบ้าน
    ชั้นแรกชาวบ้านจะยอมให้ทำแต่เพียงทาปูนลานพระธาตุ ให้มีที่กราบไหว้เท่านั้น มิยอมให้ซ่อมองค์พระธาตุเพราะเกรงกลัวเภทภัยทั้งหลายซึ่งเคยเป็นมาแล้วแต่หนหลัง
    ท่านพระครูฯ ไม่ยอม บอกว่าถ้ามิได้บูรณะพระธาตุแต่ยอดถึงดิน แต่ดินถึงยอดแล้วจะมิทำ
    ชาวบ้านไม่ตกลง เลิกประชุมกัน
    ครั้นต่อมาในวันนั้น มีอารักษ์เข้าสิงคน ขู่เข็ญผู้ขัดขวาง จะทำให้ถึงวิบัติ ชาวบ้านเกิดความกลัวจึงกลับมาวิงวอนให้ท่านพระครูฯทำตามใจชอบ
    ท่านพระครูวิโรจน์ฯ ได้เริ่มบูรณะแต่เดือนอ้าย ขึ้น ๑๔ค่ำ จนถึงเดือน ๓ เพ็ญ ได้ฉลอง มีประชาชนหลั่งไหลมาจากจตุรทิศ ช่วยเหลือจนมืดฟ้ามัวดินเป็นประวัติการณ์นับแต่หลังจากบ้านเมืองเป็นจลาจลมา (เกิดศึกสงครามระหว่างไทยกับญวน ทำให้ผู้คนแตกตื่นอพยพหนีหายไปจำนวนมาก และช่วงนั้นเกิดกรณีกบฏผีบุญ ขึ้นที่มณฑลอุบล เมื่อสมัย ร.ศ. ๑๑๗ ตรงกับ พ ศ ๒๔๔๓ สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ด้วย)
    มีผู้ศรัทธาร่วมบริจาคทรัพย์เพื่อบูรณะพระธาตุเป็นจำนวนมาก
    การบูรณะ ได้ชำระต้นโพธิ์เล็กที่เกาะจับอยู่ออก ขูดไคลน้ำและกะเทาะสะทายที่ชำรุดออก โบกปูน ทาสีใหม่ ประดับกระจกสีในที่บางแห่ง และลงรักปิดทองยอดตามที่อันควร สิ้นทองเปลว ๓ แสนแผ่น หมดเงินหนัก ๓๐๐ บาท ทองคำ ๕๐ บาทเศษ แก้วเม็ด ๒๐๐ แก้วประดับ ๑๒ หีบ หล่อระฆังโบราณด้วยทองแดง ๑ ลูก หนัก ๒ แสน (๒๔๐ กก.) ไว้ตีเป็นพุทธบูชา
    ทั้งหมดนี้ผมลอกมาจากหนังสือของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ อีกต่อหนึ่ง (จะหาว่าผมขโมยมาก็ยอมรับครับ)
    ๔๖
    กลับมาเยี่ยมบ้านคำบงบ้านเกิดหลวงปู่มั่น
    ข้อมูลในตอนนี้ได้จากการสืบค้นของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ เหตุการณ์ช่วงนี้ไม่ได้ระบุวันเดือนปีที่แน่นอน แต่เป็นเหตุการณ์ภายหลังจากหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ได้นำลูกศิษย์ของท่าน คือ หลวงปู่มั่น ธุดงค์ออกจากภูหล่น ข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปทางฝั่งลาว แล้วกลับมาฝั่งไทยพักบำเพ็ญเพียรที่พระธาตุพนมระยะหนึ่ง แล้วก็เดินธุดงค์กลับมาจังหวัดอุบลราชธานี
    ในช่วงนี้ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กับหลวงปู่มั่น ได้เดินทางไปที่บ้านคำบง อำเภอโขงเจียม บ้านเกิดของหลวงปู่มั่นอีกครั้งหนึ่ง
    ข้อมูลจากท่านอาจารย์พิศิษฐ์ บอกว่า ผู้เฒ่าชาวบ้านคำบง เล่าว่าหลวงปู่ทั้งสอง ได้รับการถวายทองคำมาจำนวนหนึ่ง ได้นำมาหล่อเป็นพระพุทธรูปที่ บ้านกุดเม็ก โดยทำเตาหลอม และเททองหลอมด้วยตัวของท่านเอง
    ชาวบ้านเล่าว่า พระอาจารย์ กับ ศิษย์ ได้ช่วยกันหล่อพระพุทธรูปขึ้น ๒ องค์ องค์ใหญ่หลวงปู่ใหญ่เสาร์เป็นคนหล่อและหลวงปู่มั่นหล่อพระพุทธรูปองค์เล็ก
    อาจารย์พิศิษฐ์ บรรยายว่า
    “...พระพุทธรูปสององค์นี้เป็นทองสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักราว ๗ - ๙ นิ้ว ข้าพเจ้าคาดไม่ถึงว่าจะมีน้ำหนักมากมายจนเกือบยกไม่ขึ้นปานนี้ ต่อเมื่อได้ยกขึ้นพิจารณาดูอย่างละเอียดใกล้ชิดแล้ว จึงได้ทราบว่าเป็นพระพุทธรูปที่หล่อตันทั้งองค์ จะมีกลวงนิดหน่อยก็ตรงส่วนฐานของพระพุทธรูปเท่านั้นเอง พระพุทธรูป ๒ องค์นี้ชาวบ้านคำบงและพระสงฆ์ทั้งหลาย พากันเคารพหวงแหนมาก โดยได้เก็บรักษาไว้อย่างปลอดภัยมาจนถึงทุกวันนี้”
    <table id="table25" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    พระพุทธรูป ๒ องค์นี้ ชาวบ้านคำบงและพระสงฆ์ทั้งหลาย พากันเคารพหวงแหนมาก โดยได้เก็บรักษาไว้อย่างปลอดภัยมาจนถึงทุกวันนี้
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๔๗
    การทำบุญฉลองการบูรณะพระธาตุพนม
    การบูรณะพระธาตุพนมในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ โดยพระครูวิโรจน์รัตโนบล หรือ พระครูดีโลด เป็นการบูรณะครั้งที่ ๕ โดย “ได้เริ่มบูรณะแต่เดือนอ้าย ขึ้น ๑๔ ค่ำ จนถึงเดือน ๓ เพ็ญ ได้ฉลอง มีประชาชนหลั่งไหลมาจากจตุรทิศ... จนมืดฟ้ามัวดิน...”
    ในบันทึกของหลวงพ่อโชติ อาภคฺโค ได้กล่าวถึงงานฉลองพระธาตุพนม ดังนี้ :-
    “ในงานมหามงคลวันนั้นท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (หนู) เป็นผู้แสดงธรรม น้ำเสียงของท่าน สำนวนภาษา อรรถาธิบาย อุปมาอุปมัย ความสงบ กิริยาท่าทาง ดำเนินไปเยี่ยงผู้เห็นภัยด้วยความงดงามยิ่ง ไพเราะเพราะพริ้งเป็นที่ชื่นชมโสมนัส เลื่อมใสศรัทธา ประทับใจผู้ฟัง เป็นอย่างมาก ข้อความที่ท่านยกขึ้นแสดงแต่ละอย่าง ก็ซึ้ง สมบูรณ์ด้วยเหตุผล จนผู้ฟังบังเกิดความเห็นคล้อยตามไปทุกอย่าง ไม่มีแม้เสียงเคลื่อนไหว แทบจะไม่หายใจ เงียบกริบ นั่งเป็นระเบียบฟังอย่างเป็นสมาธิ ไม่มีเสียงกระแอมไอแม้กระทั่งเขยื้อนตัว เป็นต้น
    น้ำเสียงของท่านเป็นกังวานชัดเจน ในสมัยนั้น ถึงไม่มีเครื่องขยายเสียง แต่กระแสเสียงของท่าน แม้จะพูดธรรมดาก็ได้ยินโดยทั่วเพราะความสงบเงียบนั่นเอง
    นี่ละหนอ เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมท่ามกลางบริษัทมากๆ ต้องกินเนื้อที่กว้างไกล สมัยพุทธกาลก็ไม่มีเครื่องขยายเสียงทำไมคนจึงได้ยินโดยทั่วกัน
    ก็คงเป็นเหมือนเช่นครั้งท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถรท่านแสดงธรรมทั่วพระธาตุพนมนั่นเอง เพราะอาศัยความเงียบ ความสำรวมของผู้ฟัง น้ำเสียงจึงแผ่ไปทั่วทุกอณูของสถานที่บริเวณอย่างชัดเจน ซึ่งต่างจากปัจจุบันนี้เป็นไหนๆ
    การแสดงความเคารพเป็นกิจเบื้องแรกในบวรพุทธศาสนา ผู้ที่ขาดความอ่อนน้อม แข็งกระด้าง ก็อย่าหวังเลยว่าจะทำมรรคผลนิพพานให้เกิดขึ้นได้ ความเคารพนั้น แสดงออกได้ ๓ ทาง คือ กาย วาจา ใจ
    ก่อนฟังเทศน์ บริษัททั้งหลายสมาทานเอาไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่งที่เคารพยึดถือ ต้องแสดงความเคารพอย่างสูงสุดหยุดนิ่ง
    เมื่อครูอาจารย์ขึ้นเทศน์อบรม ถึงจะเป็นใครก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเถระ พระเถรเณรน้อย หรือเจ้าฟ้าเจ้าคุณก็ตาม เราจะต้องให้ความเคารพเสมอภาคกันหมด เพราะผู้เทศน์ผู้แสดงธรรมท่านเอาพระธรรมของพระพุทธเจ้ามาอบรมสั่งสอนเรา เมื่อเราแสดงออกซึ่งความไม่เคารพ คือไม่ตั้งใจสงบนิ่งด้วยกาย วาจา ใจ ซึ่งแสดงว่าเราไม่มีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ ที่เราอุตส่าห์สมาทานเอาเป็นสรณะแต่เบื้องแรก เมื่อเป็นเช่นนั้น การสมาทาน การฟังเทศน์ จะมีประโยชน์มีความหมายอะไร ไม่มีอานิสงส์แม้แต่น้อย สักแต่ว่าเป็นทุกขเวทนา เป็นบาปกรรมเปล่าๆ
    แม้ในบันทึกจะไม่ได้กล่าวถึงเนื้อหาของพระธรรมเทศนา ก็ได้บ่งบอกถึงบรรยากาศของการฟังเทศน์ของคนในสมัยนั้น ว่าเป็นไปด้วยความเคารพศรัทธา และความตั้งใจฟังอย่างแท้จริง
     
  14. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17

    <table id="table26" border="0"> <tbody><tr> <td rowspan="3" align="center"> [​IMG]</td> <td align="center">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td align="center"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="center"> พระองค์ล่างสุดคือ พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร)
    หรือ พระครูดีโลด พระผู้บูรณะพระธาตุพนม

    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ๔๘
    พระครูวิโรจน์รัตโนบล พระผู้บูรณะพระธาตุพนม
    ผมขออนุญาตนำเสนอประวัติและข้อมูลโดยย่อของท่าน
    พระครูวิโรจน์รัตโนบล ผู้นำในการบูรณะพระธาตุพนมในครั้งนั้น ไว้ ณ ที่นี้ด้วย เพราะโอกาสที่ท่านผู้อ่านจะไปค้นหาประวัติเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก
    ท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร) หรือ “พระครูดีโลด” เกิดวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๓๙๘ ที่บ้านหมู่ที่ ๑ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
    ท่านอุปสมบทเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๑ ที่วัดป่าน้อย (วัดมณีวนาราม) เจ้าอธิการจันลา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์คำ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ดี เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ท่านได้รับการศึกษาเบื้องต้นคือ การเรียนอักษรขอม อักษรธรรม อักษรไทยน้อย หนังสือไทย การคิดเลข จากท่านราชบรรเทา
    เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้เล่าเรียน ท่องบ่น สวดมนต์น้อย สวดมนต์กลาง ได้แก่ เจ็ดตำนาน สิบสองตำนานในปัจจุบัน สวดมนต์ปลาย ได้แก่ ปาฏิโมกข์ สัททสังคหสูตร เรียนมูลกัจจายน์ และเรียนวิชาช่างศิลป์ (ช่างปั้น เขียน แกะสลัก) จากอาจารย์ชื่อ ราชบรรเทาอีกด้วย
    หลังจากอุปสมบทระยะหนึ่ง ก็ย้ายไปอยู่ที่วัดทุ่งศรีเมือง ต่อมาเมื่อเจ้าอาวาสมรณภาพ ท่านจึงได้เป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมือง สืบมา
    เกียรติประวัติของท่าน พอสรุปได้ดังนี้
    ๑.การปกครอง พ ศ. ๒๔๓๔ เป็นเจ้าคณะแขวง อำเภออุตตรุปรนิคม (อำเภอม่วงสามสิบ) ต่อมาเป็นเจ้าคณะอำเภอ และเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ รวมเวลาเป็นเจ้าคณะบริหารคณะสงฆ์รวม ๓๗ ปี

    ๒.การสาธารณูปการ เนื่องจากท่านเป็นช่างศิลป์ ท่านได้รับอาราธนาให้ดำเนินการปฏิสังขรณ์ และสร้างถาวรวัตถุที่สำคัญ คือ
    (๑) ปฎิสังขรณ์พระธาตุพนม พ.ศ. ๒๔๔๔
    (๒) ปฏิสังขรณ์วิหารพระเหลาเทพนิมิต
    (๓) เป็นกรรมการสร้างอุโบถวัดสุปัฏนารามวรวิหาร หลังปัจจุบัน และ
    (๔) เป็นประธานหล่อพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ พระประธานวัดสุปัฏนารามวรวิหาร พระประธานวัดบ้านท่าบ่อ พระประธานวัดบ้านหนองไหล เป็นต้น
    ๓.เกียรติคุณทางอาคม ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในอินโดจีน กองทหารหน่วยบุกยึดนครจำปาศักดิ์ได้มาตั้งฐานปฏิบัติการอยู่ที่อุบลราชธานี พระกล้ากลางสมร ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา ได้นิมนต์ท่านพระครูวิโรจน์ฯ เป็นผู้ประสาทพรแก่ทหารและขุนบุรัสการบดี ผู้แทนสมัยนั้นได้นำเอารูปถ่ายของพระครูวิโรจน์ฯ มาทำเป็นเหรียญมอบให้ ปรากฏว่าทหารหาญรุ่นนั้นปลอดภัยเป็นส่วนใหญ่ เหรียญรุ่นนั้นจึงเป็นที่ต้องการอย่างแพร่หลาย
    ท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล มรณภาพเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ อายุได้ ๘๗ ปี
    (ข้อมูลจาก พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ชมรมพุทธศาสน์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ๒๕๔๖ )
    <table id="table27" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร)
    พระผู้บูรณะพระธาตุพนม (ครั้งที่ ๕)
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๔๙
    ตำนานพระธาตุพนม
    ตำนานพระธาตุพนม โดยย่อ มีดังนี้
    ในตำนานพระธาตุพนมตอนหนึ่ง ได้กล่าวถึงพุทธประวัติโดยย่อไว้อย่างน่าสนใจว่า ครั้งหนึ่งในตอนปัจฉิมโพธิกาล (ช่วงท้ายที่พระองค์ยังทรงขันธ์อยู่) พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์ที่เป็นปัจฉาสมณะ ได้เสด็จออกจากพระเชตวันโดยทางอากาศ ผินพระพักตร์มาทางเบื้องบูรพาทิศ เสด็จประทับที่ดอนกอนเนา นั้นก่อน แล้วเสด็จไปหนองคันแทเสื้อน้ำ (เวียงจันทน์) ทรงทอดพระเนตรเห็นแลนคำ (ตะกวด) แลบลิ้น แล้วทรงทำนายชะตาเมืองล้านช้างไว้ตามนิมิตของแลนคำนั้น
    <table id="table32" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> พระพุทธบาทบัวบก
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    จากนั้นก็ได้โปรดสัตว์มาตามลำแม่น้ำโขง (เดิมเรียก ขลนที) และได้ประทับรอยพระบาทมาโดยลำดับ มีรอยพระบาทบัวบก (อำเภอผือ อุดรธานี) พระบาทโพนเพล (ฝั่งซ้ายตรงกับอำเภอโพนพิสัย) พระบาทเวินปลา (เหนือบ้านสำราญ อำเภอเมืองนครพนม) แล้วมาพักแรมที่ภูกำพร้า หรือกปณศรี (ที่ตั้งพระธาตุพนม) ๒ ราตรี
    รุ่งขึ้นเสด็จไปชำระพระบาทที่ริมแม่น้ำแห่งหนึ่ง เอาบาตรคล้องไว้ที่กิ่งไม้พุทรา ใต้ป่าไม้แป้งต้นหนึ่ง เดี๋ยวนี้เรียกว่า โพธิห้อยบาตร อยู่ริมแม่น้ำก่ำ ใต้พระธาตุพนมประมาณ ๒ กิโลเมตร
    จากนั้นได้เสด็จไปประทับอยู่ใต้ต้นรังต้นหนึ่ง ซึ่งอยู่ใต้ปากเซบั้งไฟ พญาเมืองศรีโคตบูร ได้อาราธนาให้เข้าไปบิณฑบาตในเมืองแล้วได้กลับมาฉันที่ภูกำพร้า
    <table id="table33" align="right" border="0" height="198" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> พระธาตุอิงฮัง
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ที่โคนต้นรังอันเป็นที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในครั้งนั้น ต่อมาในราว พ ศ. ๕๐๐ พญาสุมิตธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกขนคร (นครพนมในปัจจุบัน) ได้สร้างเจดีย์ครอบไว้เพื่อเป็นพุทธบูชา คนทั้งหลายพากันเรียกว่า พระธาตุอิงฮัง (พิงต้นรัง) อยู่ห่างจากสุวรรณเขตไปทางเหนือประมาณ ๑๔ กิโลเมตร
    เมื่อพระพุทธองค์ทรงทำภัตตกิจที่ภูกำพร้าเสร็จแล้วได้ทรงพยากรณ์เมืองศรีโคตบูร ปรารภถึงภูกำพร้า และเมืองมรุกขนคร แล้วได้เสด็จไปเมืองหนองหานหลวง ได้เทศนาโปรด พญาสุวรรณภิงคาร และ พระนางเทวี พร้อมทั้งบริวารทั้งหลาย ให้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์ดีแล้ว จึงได้เสด็จไปประทับรอยพระบาทไว้ที่ภูน้ำรอดเชิงชุม ได้ทรงตรัสว่า ณ สถานที่นั้น พระพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์ได้มาประสานรอยบาทไว้แล้ว
    <table id="table34" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> พระธาตุเชิงชุม
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    พญาสุวรรณภิงคาร ทรงศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัยอย่างแรงกล้า ได้ทรงสละมงกุฎทองคำถวายเป็นพุทธบูชาไว้ที่รอยพระบาทนั้น และทรงสร้างเจดีย์ครอบไว้ ๑ องค์ คนทั้งหลายเรียกว่าพระธาตุเชิงชุม มาจนกระทั่งบัดนี้ ที่อยู่ในตัวเมืองสกลนคร)
    เมื่อพระพุทธองค์ได้โปรดพญาสุวรรณภิงคาร และพระนางเทวีแล้ว ได้เสด็จไปประทับที่แท่นศิลาอาสน์ ณ ดอยคูหาลูกหนึ่งทรงทอดพระเนตรเห็นเมืองหนองหานหลวง เมืองศรีโคตบูร และภูกำพร้า (ธาตุพนม) ทรงระลึกถึงพระมหากัสสปเถระ ทันใดนั้น เมื่อพระมหากัสสปเถระ ได้ทราบวาระจิตของพระองค์แล้ว ก็ได้มาเฝ้าโดยทางอากาศ
    พระพุทธองค์ตรัสกับพระเถระว่า “ดูกรกัสสปะ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว เธอจงนำเอาอุรังคธาตุแห่งเราตถาคตไปประดิษฐานไว้ที่ภูกำพร้าโน้นเถิด เธออย่าได้ละทิ้งคำสั่งของเราตถาคตนี้เสีย”
    พระมหากัสสปเถระ เมื่อได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้วก็ชื่นชมยินดี ยกอัญชลีขึ้นกล่าวว่า “สาธุ สาธุ !” ดังนี้ แล้วก็กลับไปที่อยู่ของตน
    ภูเขาลูกที่พระพุทธองค์ประทับขณะนั้น คนทั้งหลายเรียกว่าดอยแท่น ในกาลต่อมาเรียกว่า ภูเพ็ก ตั้งอยู่ในเขตตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
    จากภูเพ็ก พระองค์เสด็จไปภูกูเวียง ดอยนันทดังฮีแล้วเสด็จกลับพระเชตวันมหาวิหาร อยู่มาไม่นานก็เสด็จดับขันธ์ไปรินิพพาน ณ เมืองกุสินารา
    ในตำนานพระธาตุพนมได้กล่าวต่อไปอีกว่า เมื่อพระมหากัสสปเถระ ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศาสดาเสร็จแล้ว ได้อัญเชิญเอาพระอุรังคธาตุของพระองค์มาประดิษฐานไว้ที่ภูกำพร้าตามพระดำรัสที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสั่งไว้
    <table id="table35" align="right" border="0" height="198" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> พระธาตุภูเพ็ก
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ในระหว่างการเดินทาง พระมหากัสสปเถระ พร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ พระองค์ ได้พักอยู่ที่ดอยแท่นหรือภูเพ็กก่อน รุ่งขึ้นได้ไปบิณฑบาตที่เมืองหนองหานหลวง เพื่อโปรดพญาสุวรรณภิงคารและแจ้งข่าวการปรินิพพานของพระพุทธเจ้าให้ทรงทราบ
    กล่าวถึง เมืองหนองหานหลวง อันมี พญาสุวรรณภิงคาร และพระนางนารายณ์เจงเวง เป็นต้น พอได้ทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าทรงปรินิพพานแล้ว ก็มีความหวังอยู่ว่าตนเองจะได้รับส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุนั้น จึงได้สร้างเจดีย์ขึ้น ๒ องค์ด้วยศิลาล้วนๆ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
    <table id="table36" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> พระธาตุนารายณ์เจงเวง หรือ ธาตุนางเวง
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ในการสร้างเจดีย์ขึ้นครั้งนั้น ได้แบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือฝายชายมีพญาสุวรรณภิงคาร เป็นหัวหน้าสร้างที่ภูเพ็ก ฝ่ายหญิงมีพระนางนารายณ์เจงเวง เป็นหัวหน้า สร้างขึ้น ณ สวนอุทยานห่างจากตัวเมืองสกลนครไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๖ กม. เดี๋ยวนี้เรียกว่า ธาตุนางเวง
    ทั้งสองฝ่ายได้ให้สัญญากันว่า ถ้าเจดีย์ของฝ่ายใดสร้างเสร็จก่อนจะได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในที่สุดของทางฝ่ายหญิงเสร็จก่อน
    เมื่อพระมหากัสสปเถระได้เดินทางมาถึงแล้ว ทั้งสองฝ่ายต่างผิดหวังไม่มีใครได้รับส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุที่พระมหากัสสปเถระอัญเชิญมา โดยพระเถระได้ชี้แจงให้ทราบว่า ที่พระธาตุนางเวงก็ดีและที่ภูเพ็กก็ดี ไม่ใช่ภูกำพร้า และถ้าจะนำเข้าบรรจุในเจดีย์ที่สร้างด้วยการพนันขันแข่งกันนี้ก็จะผิดพุทธประสงค์ และไม่เป็นศิริมงคลแก่บ้านเมือง
    พระมหากัสสปเถระ จึงให้พระอรหันต์ไปอัญเชิญพระอังคารคือ เถ้าถ่านจากที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ณ เมืองกุสินารา มาบรรจุในเจดีย์ทั้งสององค์นั้น
    พระมหากัสสปะเถระ พร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ออกจากเมืองหนองหานหลวง ตรงมาที่ดอยกปณคีรี หรือ ภูกำพร้าธาตุพนม ซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำขลนที หรือแม่น้ำโขง ได้ทำการก่อสร้างเจดีย์ด้วยอิฐ ก่อเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยมสูงประมาณ ๘ เมตร แล้วอัญเชิญพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าบรรจุไว้ข้างใน
    สำหรับประวัติการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมหรือเรียกตามแผ่นทองจารึกไว้ในสมัยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก แห่งนครเวียงจันทน์มาบูรณะใน พ.ศ. ๒๒๓๖ - ๔๕ ว่า “ธาตุปะนม” เป็นพุทธเจดีย์ที่บรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนพระอุระ) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    มีรูปทรงสี่เหลี่ยมประดับตกแต่งด้วยศิลปลวดลายอันวิจิตรประณีตทั้งองค์ มีความหมายทางพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง สูงจากระดับพื้นดิน ๕๓ เมตร ฉัตรทองคำสูง ๔ เมตร รวมเป็น ๕๗ เมตร
    ในตำนานพระธาตุพนมกล่าวไว้ว่า องค์พระธาตุพนมสร้างครั้งแรกในราว พ.ศ. ๘ ในสมัยอาณาจักรศรีโคตบูร กำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ โดยท้าวพญาทั้ง ๕ อันมีพญาศรีโคตบูร เป็นต้น และพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ อันมีพระมหากัสสปเถระ เป็นประมุข
    ลักษณะการก่อสร้างในสมัยแรกนั้น ใช้ดินดิบก่อขึ้นเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยม แล้วเผาให้สุกทีหลัง กว้างด้านละสองวาของพระมหากัสสปเถระ สูงสองวา ข้างในเป็นโพรงมีประตูเปิดปิดทั้งสี่ด้าน เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุของพระพุทธองค์ที่พระมหากัสสปเถระอัญเชิญมา ประดิษฐานไว้ข้างใน แล้วปิดประตูทั้งสี่ด้าน แต่ยังปิดไม่สนิททีเดียวยังเปิดให้คนเข้าไปสักการบูชาได้อยู่ในบางโอกาส
    ในตำนานพระธาตุพนมบอกว่า “ยังมิได้ฐาปนาให้สมบูรณ์” ซึ่งหมายความว่า ยังมิได้ปิดประตูพระธาตุให้มิดชิด พึ่งมาสถาปนาให้สมบูรณ์ในราว พ.ศ. ๕๐๐
    ท้าวพญาทั้ง ๕ ผู้มาเป็นประมุขประธานในการก่อสร้างพระธาตุในครั้งนั้น เป็นเจ้าผู้ครองนครในแคว้นต่างๆ คือ
    ๑.พญาจุลณีพรหมทัต ครองแคว้นจุลณี ก่อด้านตะวันออก
    ๒ พญาอินทปัตถานคร ครองเมืองอินทปัตถานคร ก่อด้านใต้
    ๓.พญาคำแดง ครองเมืองหนองหานน้อย ก่อด้านตะวันตก
    ๔ พญานันทเสน ครองเมืองศรีโคตบูร ก่อด้านเหนือ
    ๕.พญาสุวรรณภิงคาร ครองเมืองหนองหานหลวง ก่อขึ้นรวบยอดเข้าเป็นรูปฝาละมี
    ประวัติการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมยุคต่อมา มีดังนี้
    บูรณะครั้งที่ ๑ ในราว พ.ศ. ๕๐๐ โดยมีพญาสุมิตธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกขนคร และพระอรหันต์ ๕ องค์ เป็นประธานการบูรณะครั้งนั้น ได้เอาอิฐซึ่งเผาให้สุกดีแล้ว มาก่อต่อเติมจากยอดพระธาตุองค์เดิมให้สูงขึ้นไปอีกประมาณ ๒๔ เมตร แล้วอัญเชิญพระอุรังคธาตุจากอุโมงค์เดิม ขึ้นไปประดิษฐานไว้ใหม่ที่ใจกลางพระธาตุชั้นที่สอง แล้วปิดประตูอย่างมิดชิด หรือสถาปนาไว้อย่างสมบูรณ์ (อยู่สูงจากพื้นดิน ๑๔.๗๐ เมตร)
    บูรณะครั้งสอง เมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๗ โดยมีพระยานครหลวงพิชิตราชธานีศรีโคตบูร แห่งเมืองโคตบูร เป็นประธาน ได้โบกสะทายตีนพระธาตุทั้งสี่ด้าน และสร้างกำแพงรอบพระธาตุพร้อมทั้งซุ้มประตูและเจดีย์หอข้าวพระทางทิศตะวันออกพระธาตุ ๑ องค์
    บูรณะครั้งที่สาม เมื่อ พ ศ. ๒๒๓๖ - ๔๕ โดยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก แห่งนครเวียงจันทน์ เป็นประธาน ได้ใช้อิฐก่อต่อเติมจากพระธาตุชั้นที่สองให้สูงขึ้นไปอีกเป็น ๔๓ เมตร ได้มีการปรับปรุงที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุใหม่ โดยสร้างอูบสำริดครอบเจดีย์ศิลาอันเป็นที่บรรจุบุษบกและผอบพระอุรังคธาตุไว้อย่างแน่นหนา และได้บรรจุพระพุทธรูปเงิน ทอง แก้วมรกตและอัญมณีอันมีค่าต่างๆ ไว้ภายในอูบสำริดไว้มากมาย มีจารึกนามพระธาตุพนมว่า “ธาตุปะนม” (ประนม)
    บูรณะครั้งที่สี่ ใน พ.ศ. ๒๓๕๐ - ๕๖ โดยมีเจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทนเป็นประธาน ได้ทำฉัตรใหม่ด้วยทองคำประดับด้วยเพชรพลอยสีต่างๆ ประมาณ ๒๐๐ เม็ด และได้ทำพิธียกฉัตรขึ้นสู่ยอดเจดีย์ในปี ๒๓๕๖
    บูรณะครั้งที่ห้า ใน พ.ศ. ๒๔๔๔ โดยมีพระครูวิโรจน์รัตโนบล วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธาน ได้ซ่อมแซมโบกปูนองค์พระธาตุใหม่ ลงรักปิดทองส่วนบน ประดับแก้วติดดาวที่ระฆัง แผ่แผ่นทองคำหุ้มยอด ปูลานพระธาตุ ซ่อมแซมกำแพงชั้นในและชั้นกลาง
    บูรณะครั้งที่หก ใน พ.ศ. ๒๔๘w - ๘๔ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ให้กรมศิลปากร อันมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นหัวหน้า สร้างเสริมครอบพระธาตุองค์เดิมด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กตั้งแต่ชั้นที่ ๓ ขึ้นไป และต่อยอดให้สูงขึ้นไปอีก ๑๐ เมตร รวมเป็น๕๗ เมตร
    มีเหตุการณ์ที่ทำความสะเทือนใจมาสู่ชาวพุทธ คือเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ เวลา ๑๙.๓๘ น องค์พระธาตุพนมได้หักล้มลงไปทางทิศตะวันออกทั้งองค์ ทับวัตถุก่อสร้างต่างๆ ซึ่งอยู่บริเวณนั้นได้แก่ หอพระทางทิศเหนือและทิศใต้ ศาลาการเปรียญและพระวิหารหอพระแก้วเสียหายหมด ทั้งนี้เพราะฐานหรือพระธาตุชั้นที่ ๑ ซึ่งสร้างแต่สมัยแรกนั้นเก่าแก่มาก ไม่สามารถทานน้ำหนักส่วนบนได้จึงพังทลายลงมาหมดทั้งองค์
    ต่อมาก็ได้ทำการรื้อถอน และได้สร้างขึ้นมาใหม่ สำเร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้จัดพระราชพิธีบรรจุพระอุรังคธาตุระหว่างวันที่ ๒๑ - ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จมาเป็นองค์ประธาน และทรงบรรจุพระอุรังคธาตุ
    หมายเหตุ: ทั้งหมดนี้สรุปมาจากหนังสือ ประมวลภาพประวัติศาสตร์พระธาตุพนม ซึ่งวัดพระธาตุพนมวรวิหารจัดพิมพ์ สำหรับท่านที่สนใจประวัติศาสตร์อิสานโบราณและตำนานพระธาตุพนมโปรดอ่าน อุรังคนิทาน : ตำนานพระธาตุพนม (พิสดาร) โดย พระธรรมราชานุวัตร อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม
    <table id="table28" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    พระธาตุพนมองค์เดิม
    </td></tr></tbody></table>​
     
  15. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๕๐
    ขบถผีบุญที่มณฑลอิสาน
    เหตุการณ์ขบถผีบุญ ที่มณฑลอุบล เป็นเรื่องที่ดังมากในสมัยนั้น ผมเองเคยได้ยินแต่ชื่อ ไม่ทราบเรื่องราวที่แท้จริง เผอิญเรื่องนี้มีความเกี่ยวพันกับหลวงปู่มั่น อยู่บ้างเล็กน้อย คือ ชื่อของหัวหน้าผีบุญ ที่เรียกว่า อ้ายมั่น (อ้าย แปลว่า พี่ หรือ ลูกพี่) ต่อมาก็เรียกว่า องค์มั่นผู้วิเศษ ชื่อไปพ้องกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ของพวกเราเข้า เลยก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ก่อเรื่องกวนใจให้ครูบาอาจารย์ในสมัยนั้นพอสมควร
    เรื่องขบถผีบุญ ที่นำเสนอ ณ ที่นี้ เป็นผลการศึกษาค้นคว้าของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ อีกตามเคย ต้องขอบพระคุณที่ท่านอุตส่าห์ค้นคว้าและเรียบเรียงสาระสำคัญมาให้พวกเราได้อ่านกัน
    ผมเองก็ แหะ !.แหะ ! คัดลอกมาทั้งดุ้น เพื่อเสนอท่านผู้อ่านดังต่อไปนี้ครับ :-
    อาจารย์สมบัติ ตั้งชื่อหัวข้อว่า กรณีขบถผีบุญหรือผู้มีบุญ” มีรายละเอียด ดังนี้ :-
    เนื่องจากมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกัน ควรที่จะนำลงมาพิมพ์ไว้เพื่อประโยชน์แก่คนรุ่นหลังที่อาจจะยังไม่ทราบ นั่นคือเกิดเหตุการณ์เรื่องขบถผีบุญ หรือขบถผู้มีบุญ ขึ้นที่มณฑลอุบล เมื่อ ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๓) ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
    เหตุการณ์เริ่มต้นจากการที่มีข้อความเป็นคำพยากรณ์ซึ่งนัยว่ามาจากหนังสือผูกที่จารลงใบลาน เป็นถ้อยคำปริศนา ความว่า
    “...ถึงกลางเดือนหก ปีฉลู จะเกิดเภทภัยใหญ่หลวง หินแร่ (หินลูกรัง) จะกลายเป็นเงินทอง ฟักเขียวฟักทองจะกลายเป็นช้างม้า ควายทุยเผือกและหมูจะกลายเป็นยักษ์กินคน ท้าวธรรมิกราช (ผู้มีบุญ) จะมาเป็นใหญ่ในโลกนี้ ใครอยากพ้นเหตุร้ายก็ให้คัดลอกบทความลายแทงให้รู้กันต่อๆ ไป ถ้าใครเป็นคนบริสุทธิ์ ไม่ได้กระทำชั่วบาปกรรมใดๆ แล้ว ให้เอาหินแฮ่มาเก็บรวบรวมไว้ รอท้าวธรรมิกราช มาชุบเป็นเงินเป็นทองขึ้น ถ้าใครได้กระทำชั่วต่างๆ แต่เพื่อแสดงตนให้เป็นคนบริสุทธิ์ ก็ต้องมีการล้างบาปโดยจัดพิธีนิมนต์พระสงฆ์มารดน้ำมนต์ให้ ถ้ากลัวตายก็ให้ฆ่าควายทุยเผือกเสียก่อนกลางเดือนหก อย่าทันให้มันกลายเป็นยักษ์ต่างๆ นานา ผู้ที่เป็นสาวโสดก็ให้รีบมีผัว มิฉะนั้นยักษ์จะกินหมด...”
    (ข้อความข้างต้น มีที่สะดุดใจมากตอนที่ว่า “ใครอยากพ้นเหตุร้ายก็ให้คัดลอกบทความลายแทงให้รู้กันต่อๆ ไป” ข้อความตรงนี้คุ้นๆ ไหมครับ ทุกวันก็ยังมีอยู่บ่อยๆ ในลักษณะจดหมายลูกโซ่ ให้คัดลอกข้อความแล้วส่งต่อหลายๆ ชุด ถ้าใครทำก็บอกว่าจะเจริญ แล้วถ้าใครไม่ทำก็จะพบความหายนะต่างๆ นานา เข้าใจว่าหลายๆ ท่านคงเคยได้รับและหลายท่านก็ส่งมาให้ผมบ่อย ผมก็ฉีกทิ้งทุกครั้ง แล้วท่านยังกลัวยังเชื่อในเรื่องนี้อยู่หรือครับ - ปฐม)
    อาจารย์พิศิษฐ์ เขียนต่อไปว่า :-
    ข้อความดังกล่าวนี้ ได้แพร่หลายไปในหมู่ชนชาวอิสานแถบมณฑลอุบล สร้างความสะเทือนขวัญ ปั่นป่วนหวาดผวา ให้กับชาวบ้านเป็นอันมาก
    เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ สืบเนื่องมาจากหลายสาเหตุ เช่น สาเหตุความขัดแย้งกันระหว่างผู้ปกครองส่วนกลางจากกรุงเทพฯ กับผู้ปกครองส่วนท้องถิ่น “เจ้าเมืองเก่า” และความขัดแย้งระหว่างชนชั้นผู้ปกครองกับราษฎรอิสานอันเนื่องมาจากสภาพความแร้นแค้นขัดสนทางเศรษฐกิจ ความกดดันทางจิตใจ ประกอบกับความเชื่อถือในเรื่องภูตผีปีศาจ พิธีกรรมทางไสยศาสตร์ ที่ยังครอบงำชีวิตจิตใจและวิถีชีวิตของชาวบ้านตามชนบทอยู่เป็นส่วนใหญ่
    ราษฏรส่วนมากจึงเกิดความไม่พอใจข้าราชการเกี่ยวกับการเข้ามาขูดรีดเงินส่วยโดยไม่เป็นธรรม อีกทั้งเหตุการณ์ภาวะแห่งการแผ่ขยายอำนาจ เข้ามาในภาคพื้นดินสองฝั่งลุ่มน้ำโขง ของมหาอำนาจประเทศฝรั่งเศสในช่วงนี้ (พ.ศ. ๒๔๓๖ - ๒๔๔๕) ที่กองทัพแห่งสยามประเทศจำต้องยอมเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงทั้งหมด ถอยมาอยู่ฝั่งขวา
    จากเหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ ทำให้มีข่าวลือต่างๆ เช่น
    “ผู้มีบุญจะมาแต่ตะวันออก”
    “เจ้าเก่าหมดอำนาจ ศาสนาก็สิ้นแล้ว”
    “บัดนี้ฝรั่งเข้าไปเต็มกรุงเทพฯ แล้ว กรุงจะเสียแก่ฝรั่งแล้ว”
    ส่วนทางบ้านเมืองนั้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ซึ่งในสมัยนั้นทรงเป็นข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว (พ.ศ. ๒๔๓๖) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ (พ.ศ. ๒๔๔๒) แล้ว เปลี่ยนชื่อเป็น มณฑลอิสาน(พ.ศ. ๒๔๔๓) พระองค์ได้ทรงบันทึกเอาไว้ในหนังสือทูลสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (เสนาบดี หรือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในสมัยนั้น) ว่า :-
    “ตามซึ่งไต่สวนขึ้นไป ได้ความเป็นพยายามมาตั้งแต่ปี ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๒) มาแล้ว...เดิมมาเป็นหมอลำ เที่ยวลำคำผญา (สุภาษิตคำกลอนของอิสาน) บ่งความไปในส่วนผู้มีบุญจะมาแต่ตะวันออก
    ข่าวลือจึงมาจากตะวันออก เพราะเดินเป็นสายไปทาง เดชอุดม ขุขันธ์ ทางหนึ่ง, ไปทางศรีสะเกษ สุรินทร์ ทางหนึ่ง, มาทางเขมราฐ อำนาจเจริญ เกษมสีมา ผาสีดอน กันทวิไชย หนองเลา วาปีปทุม มาหนองซำ พยัคฆ์ ไปทางกาฬสินธุ์ และเสลภูมิ
    ดูจะเห็นว่าการแพร่ของขบวนการผีบุญได้แผ่ขยายไปเร็วมากสมัยนั้นไม่มีสื่อมวลชนประเภททีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ หากแต่แพร่ขยายไปทางสื่อหมอลำ)
    หมอลำได้กระจายไปตามท้องถิ่นต่างๆ ทั่วเมืองอุบลฯ และใกล้เคียง เนื้อหาของกลอนลำ เป็นการสรรเสริญผู้มีบุญ ว่าจะมาจากทิศตะวันออก และโจมตีการเข้ามาปกครองของกรุงเทพฯ เป็นต้นว่า
    “ลือแซะแซงแซ่ลำโขง หนองซำเป็นเขตลาสีมา ฝูงไทยใจฮ้ายตายสิ้นบ่หลง”
    ความหมายของกลอนลำข้างต้น หมายความว่า
    “มีข่าวเล่าลือไปทั่วลำน้ำโขง จนไปถึงหนองซำ เมื่อผู้มีบุญมาเกิดแล้ว ชาวกรุงเทพฯ พวกใจโหดร้ายก็จะตายสิ้นไม่มีเหลือ (ด้วยอำนาจอิทธิฤทธิ์ของผู้มีบุญ)”
    ปรากฏว่าชาวบ้านนิยมฟังกลอนลำประเภทนี้มากและเริ่มเห็นคล้อยตามคำพยากรณ์ และคำโฆษณาชวนเชื่อกันเพิ่มมากขึ้นในทุกท้องที่ อันเป็นช่องทางให้มีผู้แอบอ้างกระทำตนเป็นผู้วิเศษสวมรอยข่าวโคมลอยขึ้นมา
    ผู้แอบอ้างต่างตั้งสำนักขึ้นชวนเชื่อชาวบ้านให้เข้ามาอยู่ในอารักขาโดยมีเจ้าสำนักกระทำตนเป็นผีบุญ เป็นผู้วิเศษ ที่สามารถปัดเป่าความชั่วร้ายให้หายไปได้
    บรรดาชาวบ้านซึ่งตกอยู่ในความหวาดกลัวอยู่แล้วต่างก็อยากจะแสวงหาที่พึ่งอยู่พอดี ซึ่งทันทีที่มีผู้วิเศษอวดอ้างฤทธิ์เดชปรากฏขึ้นจึงได้พากันแห่ไปหา เพื่อที่จะให้ช่วยเหลือคุ้มครองภัยต่างๆ
    เหตุการณ์ตอนขบถผีบุญนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าเอาไว้ในหนังสือพระนิพนธ์เรื่อง นิทานโบราณคดี ที่พระองค์ทรงรับสั่งเอาไว้ว่า เรื่องราวเหล่านี้เป็นเรื่องเกร็ดนอกพงศาวดาร เขียนรักษาไว้ให้เป็นประโยชน์แก่ลูกหลานและผู้อื่นต่อไป ว่า :-
    “ข่าวที่มีผู้วิเศษรับจะช่วยป้องกันภัยรู้ไปถึงไหน ก็มีราษฎรที่นั่นพากันไปหา โดยประสงค์เพียงจะขอให้เสกเป่ารดน้ำมนต์ให้ก็มี ที่นึกว่าเป็นท้าวธรรมิกราชผีบุญ มาบำรุงโลก เลยสมัครเข้าเป็นพรรคพวกติดตามผู้วิเศษนั้นก็มี ผู้วิเศษไปทางไหนหรือพักอยู่ที่ไหน พวกชาวบ้านก็รับรองเลี้ยงดู เลยเป็นเหตุให้มีคนเข้าเป็นสมัครพรรคพวกมากขึ้นโดยลำดับ เมื่อผู้วิเศษนั้นเห็นว่ามีคนนับถือกลัวเกรงมาก ก็เลยแสดงตนโดยเปิดเผย ว่าเป็นท้าวธรรมิกราชผีบุญ ที่จะมาดับยุคเข็ญตามคำพยากรณ์”
    ในตอนแรก ฝ่ายรัฐบาลไม่ประสงค์จะเข้าไปยุ่งด้วย เพราะไม่แน่ใจว่าเรื่องผีบุญ หรือผู้มีบุญนี้จะเป็น “ความผิดแท้” (คือเจ้าหน้าที่ไม่แน่ใจว่าจะเอาความผิดในข้อกฎหมายใด)
    และเกรงว่า “ถ้าห้ามไป กำลังตื่นคนนั้นตำราว่า ไม่ได้ จะกลายเป็นยาบำรุงไป” (คือเจ้าหน้าที่กลัว มวลชน เพราะตอนนั้นชาวบ้านไม่พอใจข้าราชการอยู่แล้ว ขืนทางการเข้าไปยุ่งก็จะเป็นการเติมเชื้อไฟให้ลุกโชนรุนแรงขึ้น - ปฐม)
    (ด้วยทางราชการประเมินสถานการณ์อย่างนี้) ทำให้ผู้มีบุญ หรือผีบุญ มีโอกาสเกลี้ยกล่อมและซ่องสุมผู้คนได้มากขึ้น จนต่อมาได้พากันตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ไม่ขึ้นกับทางการบ้านเมืองอีกต่อไป มีการปกครองกันเองในกลุ่ม มีกองกำลังคุ้มกันตนเอง
    กลุ่มผีบุญ มีหลายกลุ่ม ที่เป็นกลุ่ม หรือ กอง ขนาดใหญ่ มีอยู่๓ กลุ่ม หรือ กอง ดังนี้ :-
    ผีบุญกลุ่มที่หนึ่ง เรียกว่า กองอ้ายเล็ก หรือ อ้ายเหล็ก (ภาษาไทยกลางก็ต้องว่า กลุ่มพี่เล็ก หรือ พี่เหล็ก) เป็นผีบุญคนแรกที่อ้างตัวเป็น พระยาธรรมิกราช เป็นผู้มาดับยุคเข็ญให้ประชาชน ตั้งสำนักขึ้นที่บ้านหนองซำ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย เมืองสุวรรณภูมิ (คนพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม กับ ร้อยเอ็ด ในปัจจุบัน)
    ผีบุญกลุ่มที่สอง เรียกว่า กองอ้ายบุญจัน เป็นน้องชายพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน เมื่อพี่ชายถึงแก่กรรมได้เกิดการขัดแย้งกับทางการ จึงร่วมมือกับท้าวทัน บุตรพระยาขุขันธ์ฯ พร้อมด้วยหลวงรัตน อดีตกรมการเมือง พากันไปตั้งตัวเป็นผู้มีบุญอยู่ที่สันเขาบรรทัด เขตเมืองขุขันธ์ (เขตปฏิบัติการก็อยู่แถวศรีสะเกษ สุรินทร์บุรีรัมย์)
    ผีบุญกลุ่มที่สาม เรียกว่า กองอ้ายมั่น เป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด กลุ่มนี้ที่ไปมีส่วนพัวพันทำให้ทางการเข้าใจผิด เพราะชื่อและข้อมูลบางอย่างเกิดไปพ้องกับหลวงปู่มั่น ของเรา ดังกล่าวแล้ว
    ผีบุญอ้ายมั่น ตั้งตัวเป็น องค์ปราสาททอง หรือ องค์หาสาตรทอง ในภาษาอิสาน อยู่ที่บ้านกระจีน แขวงเมืองเขมราฐ (ใกล้ถิ่นของหลวงปู่มั่น) เคยร่วมมือกับ องค์แก้ว ทางฝั่งลาว มีราษฎรนิยมทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวาแม่น้ำโขง
    ต่อมาได้เข้าสมทบกับกองกำลังของท้าวสน นายอำเภอโขงเจียม และกับกองอ้ายเล็ก (กลุ่มที่หนึ่ง) ที่ยกกำลังมาจาก หนองซำ นำกำลังประมาณ ๒,๕๐๐ คนเศษ ยกเข้าปล้นและเผาเมืองเขมราฐ อีกทั้งได้สังหาร ท้าวโพธิราช กรมการเมือง และจับตัว ท้าวธรรมกิตติกา กรมการเมือง และพระเขมรัฐเดชนารักษ์ ผู้รักษาเมือง ไปเป็นตัวประกัน แล้วถอดนักโทษออกทั้งหมด ทำให้ได้สมัครพรรคพวกเพิ่มขึ้นอีกมาก
    หลังการกระทำอุกอาจครั้งนั้น พวกผีบุญทั้งหลายก็กลายเป็นขบถขึ้นแต่นี้ไป และได้เพิ่มความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยส่งกำลังไปบุกล้อมจับท้าวกรมช้าง กรมการเมืองอุบลฯ ที่ออกมารักษาการนายอำเภอพนานิคม แล้วฆ่าทิ้งเสีย เป็นการข่มขวัญข้าราชการและประชาชน ทำให้ผู้คนตื่นกลัว ยินยอมเข้าเป็นพรรคพวกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
    พวกราษฎรต่างพากันแห่เข้าไปขอให้พวกผีบุญช่วยขับไล่ป้องกันภัย “องค์ผีบุญ” ก็เป่าคาถา รดน้ำมนต์ให้ตามประสงค์ พร้อมโอภาปราศรัยด้วยเป็นอย่างดี ราษฎรทั้งหลายต่างพากันเข้านับถือ องค์มั่นผู้วิเศษ
    ในการนี้ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เจ้าเมืองอุบลฯ ได้รายงานเหตุการณ์ต่างๆ ให้ทางกรุงเทพฯ (กระทรวงมหาดไทย) ทราบและขอกำลังทหารพร้อมอาวุธปืนไปโดยด่วน จำนวน ๔๐๐ - ๕๐๐ คน
    พร้อมกันนั้น ทางจังหวัดอุบลฯ ก็จัดทหารไปคอยสกัดพวกผีบุญอยู่ที่วารินชำราบ บ้านตุงลุง เมืองเกษมสีมา บ้านลืออำนาจ และได้ส่งกองกำลังออกไปจับพวกผีบุญอีกหลายกอง
    ในตอนแรก กองกำลังที่ไปทางเมืองขุขันธ์ โดยการนำของร้อยโทหวั่น ได้ทำการปราบปรามผีบุญกองอ้ายบุญจัน ลงได้อย่างราบคาบ อ้ายบุญจันตายในที่รบ ที่เหลือก็แตกสลายหนีไป ไม่มีให้พบเห็นอีกเลยตลอดท้องที่เมืองขุขันธ์ เมืองศรีสะเกษ และอิสานตอนใต้
    ส่วนศึกใหญ่หลวงซึ่งอยู่ทางตะวันออกและทางเหนือนั้นล้วนตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพวกผีบุญที่เป็นสมัครพรรคพวกขององค์มั่น ผู้ที่กำลังโด่งดังสุดขีด
    ศึกยกแรก (ตามคำของอาจารย์พิศิษฐ์) นั้น ทางการประสบความพ่ายแพ้อย่างหมดรูป คือ หน่วยของร้อยเอกหม่อมราชวงศ์ร้าย คุมกำลังพลตระเวน ๑๒ นาย กับคนนำทางและชาวบ้านที่เกณฑ์มาอีกเป็นจำนวน ๑๐๐ คน ได้เกิดปะทะกับกองระวังหน้าของพวกผีบุญจำนวนร้อยคนเศษ ใกล้บ้านขุหลุ (ไม่ทราบอยู่ที่ไหนเหมือนกัน)
    พวกผีบุญร้องขู่ว่า “ผู้ใดไม่สู้ ให้วางอาวุธ หมอบลงเสีย”
    พวกชาวบ้านที่โดนเกณฑ์มา ก็พากันหมอบกราบพวกผีบุญเสียหมดสิ้น เหลือแต่หม่อมราชวงศ์ร้ายกับพลตระเวน ๑๒ นาย ที่ได้ต่อกรกับพวกผีบุญ พร้อมกับล่าถอยกลับไปกราบทูลให้เสด็จในกรมฯ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เจ้าเมืองอุบล) ทรงทราบ
    จากชัยชนะครั้งนั้นทำให้บรรดาสาวกของเหล่าผีบุญได้ใจ มีความฮึกเหิมถึงขนาดประกาศว่า จะยกพวกเข้ามาตีเมืองอุบลราชธานี แล้วผนวกร่วมกับดินแดนสองฝั่งลุ่มน้ำโขง จัดตั้งอาณาจักรใหม่ ที่ไม่ขึ้นต่อกรุงเทพฯ และฝรั่งเศส
    สร้างความขุ่นเคืองให้กับเสด็จในกรมฯ ยิ่งนัก พระองค์จึงทรงให้ พันตรี หลวงสรกิจพิศาล ผู้บังคับการทหารอุบลราชธานี จัดทหารออกไปสืบดูเหตุการณ์ที่แท้จริงอีกครั้ง
    (แสดงว่าการข่าวของทางราชการสมัยนั้นสู้สมัยนี้ไม่ได้ ใช่ไหมครับ !)
    พันตรี หลวงสรกิจฯ จึงได้จัดส่ง ร้อยตรีหลี กับทหารจำนวน ๑๕ คนออกไปสืบดูร่องรอยของเหล่าขบถทางอำเภอพนา อำเภอตระการ (ตระการพืชผล) ปรากฏว่าพวกทหารได้ไปเสียท่า โดนพวกผีบุญล้อมจับฆ่าตายถึง ๑๑ คน เหลือพลตระเวนหนีรอดกลับมาได้ ๔ คนเท่านั้น
    ทางการเห็นว่ารอให้เพลี่ยงพล้ำมากไปกว่านี้ไม่ได้อีกแล้ว (เอาเป็นว่า เครื่องเพิ่งร้อน) การปราบปรามขั้นเด็ดขาดจึงเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๕ (หลังปล่อยให้ลุกลามอยู่ ๒ ปี) โดยรับสั่งให้ร้อยเอกหลวงชิตสรการ (จิตร มัธยมจันทร์) นายทหารปืนใหญ่ กับร้อยตรีอิน คุมทหาร ๒๔ คน พลเมือง ๒๐๐ คน อาวุธปืน ๑๐๐ กระบอก ปืนใหญ่อีก ๒ กระบอก ออกไปปราบขบถ
    ขณะเดียวกันก็กราบทูลไปยัง กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (เสนาบดี กระทรวงมหาดไทย) เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๕ (ร.ศ. ๑๒๑) ว่า
    “ทหารอุบลราชธานีคิดใช้หลายทางหมดตัว เรียกตำรวจภูธรขึ้นหมดกำลังก็ยังไม่พอใช้ ถ้าเกณฑ์มา เชื่อใจชาวบ้านไม่ได้ว่าจะไม่วิ่งเข้าหาผีบุญอีก ขอทหารหรือตำรวจปืนดีๆ รีบไปช่วยเร็วๆ อีกสัก ๔๐๐”
    แล้ว ทหารจากมณฑลนครราชสีมา จึงถูกส่งไปปราบขบถ โดยแบ่งออกเป็น ๔ กองพัน กองพันละ ๒ กองร้อย ยกไปมณฑลอิสาน ๒ กองพัน และเตรียมพร้อมอยู่ที่เมืองนครราชสีมาอีก ๒ กองพัน ทหารทุกคนได้รับจ่ายปืนคนละ ๑ กระบอก กระสุนคนละ ๑๐๐ นัดและเสบียงติดตัวอยู่ไปได้ ๕ วัน
    อาจารย์พิศิษฐ์เขียนว่า “เป็นกองทัพที่ทันสมัยที่สุดในขณะนั้น”
    เชิญกลับมาดูด้าน ร้อยเอกหลวงชิตสรการ ได้ยกกำลังเข้าสู่บ้านสะพือ (อ.พิบูลมังสาหาร) ในวันที่ ๔ เมษายน (พ.ศ. ๒๔๔๕) ตอนกลางคืน ได้จัดให้กองกำลังส่วนหนึ่งตั้งพักตรงบ้านสา อีกส่วนหนึ่งตั้งค่ายอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสม ห่างจากค่ายพวกผีบุญประมาณ ๕๐ เส้น(๒ กิโลเมตร)
    “ที่ตรงนั้นเป็นทางเดินเข้ามาเมืองอุบลฯ สองข้างเป็นป่าไม้ ต้องเดินเข้าในตรอก”
    จัดให้พระสุนทรกิจวิมล (คูณ สังโขบล) เป็นปีกขวา เพียซามาตย์ (แท่ง) เป็นปีกซ้าย ตั้งปืนใหญ่ไว้ใต้ซุ้มไม้ในป่าทึบ ใกล้ทางเลี้ยวออกมาจากบ้านสะพือ หมายยิงถล่มในทางตรอกนั้น แล้วให้ซุ่มกำลังไว้ในป่าสองข้างทางอีก
    วันรุ่งขึ้น ได้เกิดปะทะกับพวกขบถผีบุญ ยิงถล่มสู้รบใส่พวกผีบุญ เกือบ ๔ โมง จึงกำชัยชนะได้โดยเด็ดขาด (ต้องร้องว่า โอโฮ !ง่ายจัง !)
    พวกขบถผีบุญถูกถล่มเสียชีวิตไป ๒๐๐ คนเศษ บาดเจ็บอีกไม่น้อยกว่า ๕๐๐ คน แถมถูกจับเป็นได้ ๑๒๐ คน
    ส่วนองค์มั่นผู้หัวหน้าผีบุญ ได้หลบหนีไปพร้อมกับสมุนราว ๑๐ คน
    จากนั้นก็มีการกวาดล้างจับกุมพวกผีบุญไปทั่วมณฑลอิสาน สั่งปราบปรามอย่างเด็ดขาด มีตราสั่งไปถึงทุกหัวเมือง ดังนี้ :-
    “อย่าให้มีการหลบหนีไปได้เป็นอันขาด ถ้าหากผู้ใดปกปิดพวกเหล่าภัยและเอาใจช่วยให้หลบหนีไปได้ จะเอาโทษแก่ผู้ปิดบังและเจ้าหน้าที่หัวเมืองนั้นๆ อย่างหนัก”
    เป็นอันว่าพวกขบถผีบุญก็แตกฉานซ่านกระเซ็นไป
    แล้วที่มาเกี่ยวกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ศิษย์ของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ก็เพราะความบังเอิญที่มีส่วนไปพ้องกันหลายอย่าง
    องค์มั่น หัวหน้าผีบุญที่พาพวกหลบหนีไป ถูกตามล่าอย่างหนัก ตอนนี้ข่าวกรองของทางราชการเกิดการสับสนในข้อมูล เพราะ
    หนึ่ง ชื่อไปซ้ำกันกับหลวงปู่มั่น
    สอง เป็นคนอยู่ใน ถิ่น แขวง เขต เมืองเดียวกัน
    สาม มีความสามารถเฉพาะตัวเป็น หมอลำกลอน คล้ายกัน
    สี่ เครื่องนุ่มห่มแต่งกายก็คล้ายคลึงกัน คือพวกผีบุญระดับหัวหน้า จะแต่งกายต่างไปจากสาวกคนอื่นๆ ซึ่งรายงานทางราชการบอกว่า “นุ่งห่มผ้าขาวจีบ ห่มครองอย่างพระหรือสามเณร”
    ห้า ผีบุญที่เป็นพระสงฆ์ก็มีหลายรูป
    และที่สำคัญยิ่งก็คือ
    หก ในช่วงนั้น หลวงปู่มั่น ได้ธุดงค์ ติดตามหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ข้ามไปทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและมาพักบำเพ็ญเพียรอยู่ที่พระธาตุพนม แสดงว่าท่านหลบหนีไปจากเมืองอุบลฯ และไปในทิศทางเดียวกันกับที่องค์มั่นผีบุญ หลบหนีไป
    สมัยนั้นไม่มีบัตรประจำตัว ไม่มีรูปถ่าย ไม่มีเอกสารยืนยันคงจะยุ่งกันพอสมควร
    อาจารย์พิศิษฐ์ ก็ไม่ได้เขียนตอนจบว่า มีการ “เคลียร์” กันอย่างไร แต่ท่านลงท้ายว่า ”ครูบาอาจารย์รุ่นต่อๆ มา จึงได้มีเรื่องเล่าถึงการตามล่าผีบุญองค์มั่น ที่มาเกี่ยวข้องอย่างบังเอิญเหลือหลายกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ผู้ที่เราเคารพเทิดทูนอยู่เหนือเศียรเกล้าฉะนี้ แล”
    โอ ! โล่งใจ !
    ผมเอง (ปฐม) ก็ไม่ได้ถามอาจารย์พิศิษฐ์ ว่าท่านเขียนโยงเหตุการณ์ขึ้นมา หรือเหตุการณ์เป็นอย่างนั้นจริงๆ แต่... ผมก็เชื่อว่าหลวงปู่ของเรา ท่านสร้างบารมีมามาก คงไม่กลับไปเป็น แพะ ให้พวกเจ้าหน้าที่เอาไปสร้างผลงานให้กับตนเองได้หรอก ใช่ไหมครับ ?
    ท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ได้ให้ความรู้ต่อท้ายไปอีกว่า “หลังจากการจบสิ้นของกรณีขบถผีบุญหรือขบถผู้มีบุญแล้วไม่นานนัก อีก ๒ เดือนต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ก็ทรงตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๕ ให้เป็นกิจจะลักษณะในรูปของกฎหมายเป็นครั้งแรก อีกทั้งยังทรงโปรดให้จัดพิมพ์หนังสือพระไตรปิฎกขึ้นเป็นครั้งแรกอีกด้วย”
    ก็ขอบคุณท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ที่อุตส่าห์ค้นเรื่องดีๆ มาให้เราได้ศึกษา ทำให้ผมมีกำลังใจที่จะลอกผลงานของท่านต่อไป ขอบคุณครับ
     
  16. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๕๐
    ขบถผีบุญที่มณฑลอิสาน
    เหตุการณ์ขบถผีบุญ ที่มณฑลอุบล เป็นเรื่องที่ดังมากในสมัยนั้น ผมเองเคยได้ยินแต่ชื่อ ไม่ทราบเรื่องราวที่แท้จริง เผอิญเรื่องนี้มีความเกี่ยวพันกับหลวงปู่มั่น อยู่บ้างเล็กน้อย คือ ชื่อของหัวหน้าผีบุญ ที่เรียกว่า อ้ายมั่น (อ้าย แปลว่า พี่ หรือ ลูกพี่) ต่อมาก็เรียกว่า องค์มั่นผู้วิเศษ ชื่อไปพ้องกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ของพวกเราเข้า เลยก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ก่อเรื่องกวนใจให้ครูบาอาจารย์ในสมัยนั้นพอสมควร
    เรื่องขบถผีบุญ ที่นำเสนอ ณ ที่นี้ เป็นผลการศึกษาค้นคว้าของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ อีกตามเคย ต้องขอบพระคุณที่ท่านอุตส่าห์ค้นคว้าและเรียบเรียงสาระสำคัญมาให้พวกเราได้อ่านกัน
    ผมเองก็ แหะ !.แหะ ! คัดลอกมาทั้งดุ้น เพื่อเสนอท่านผู้อ่านดังต่อไปนี้ครับ :-
    อาจารย์สมบัติ ตั้งชื่อหัวข้อว่า กรณีขบถผีบุญหรือผู้มีบุญ” มีรายละเอียด ดังนี้ :-
    เนื่องจากมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกัน ควรที่จะนำลงมาพิมพ์ไว้เพื่อประโยชน์แก่คนรุ่นหลังที่อาจจะยังไม่ทราบ นั่นคือเกิดเหตุการณ์เรื่องขบถผีบุญ หรือขบถผู้มีบุญ ขึ้นที่มณฑลอุบล เมื่อ ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๓) ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
    เหตุการณ์เริ่มต้นจากการที่มีข้อความเป็นคำพยากรณ์ซึ่งนัยว่ามาจากหนังสือผูกที่จารลงใบลาน เป็นถ้อยคำปริศนา ความว่า
    “...ถึงกลางเดือนหก ปีฉลู จะเกิดเภทภัยใหญ่หลวง หินแร่ (หินลูกรัง) จะกลายเป็นเงินทอง ฟักเขียวฟักทองจะกลายเป็นช้างม้า ควายทุยเผือกและหมูจะกลายเป็นยักษ์กินคน ท้าวธรรมิกราช (ผู้มีบุญ) จะมาเป็นใหญ่ในโลกนี้ ใครอยากพ้นเหตุร้ายก็ให้คัดลอกบทความลายแทงให้รู้กันต่อๆ ไป ถ้าใครเป็นคนบริสุทธิ์ ไม่ได้กระทำชั่วบาปกรรมใดๆ แล้ว ให้เอาหินแฮ่มาเก็บรวบรวมไว้ รอท้าวธรรมิกราช มาชุบเป็นเงินเป็นทองขึ้น ถ้าใครได้กระทำชั่วต่างๆ แต่เพื่อแสดงตนให้เป็นคนบริสุทธิ์ ก็ต้องมีการล้างบาปโดยจัดพิธีนิมนต์พระสงฆ์มารดน้ำมนต์ให้ ถ้ากลัวตายก็ให้ฆ่าควายทุยเผือกเสียก่อนกลางเดือนหก อย่าทันให้มันกลายเป็นยักษ์ต่างๆ นานา ผู้ที่เป็นสาวโสดก็ให้รีบมีผัว มิฉะนั้นยักษ์จะกินหมด...”
    (ข้อความข้างต้น มีที่สะดุดใจมากตอนที่ว่า “ใครอยากพ้นเหตุร้ายก็ให้คัดลอกบทความลายแทงให้รู้กันต่อๆ ไป” ข้อความตรงนี้คุ้นๆ ไหมครับ ทุกวันก็ยังมีอยู่บ่อยๆ ในลักษณะจดหมายลูกโซ่ ให้คัดลอกข้อความแล้วส่งต่อหลายๆ ชุด ถ้าใครทำก็บอกว่าจะเจริญ แล้วถ้าใครไม่ทำก็จะพบความหายนะต่างๆ นานา เข้าใจว่าหลายๆ ท่านคงเคยได้รับและหลายท่านก็ส่งมาให้ผมบ่อย ผมก็ฉีกทิ้งทุกครั้ง แล้วท่านยังกลัวยังเชื่อในเรื่องนี้อยู่หรือครับ - ปฐม)
    อาจารย์พิศิษฐ์ เขียนต่อไปว่า :-
    ข้อความดังกล่าวนี้ ได้แพร่หลายไปในหมู่ชนชาวอิสานแถบมณฑลอุบล สร้างความสะเทือนขวัญ ปั่นป่วนหวาดผวา ให้กับชาวบ้านเป็นอันมาก
    เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ สืบเนื่องมาจากหลายสาเหตุ เช่น สาเหตุความขัดแย้งกันระหว่างผู้ปกครองส่วนกลางจากกรุงเทพฯ กับผู้ปกครองส่วนท้องถิ่น “เจ้าเมืองเก่า” และความขัดแย้งระหว่างชนชั้นผู้ปกครองกับราษฎรอิสานอันเนื่องมาจากสภาพความแร้นแค้นขัดสนทางเศรษฐกิจ ความกดดันทางจิตใจ ประกอบกับความเชื่อถือในเรื่องภูตผีปีศาจ พิธีกรรมทางไสยศาสตร์ ที่ยังครอบงำชีวิตจิตใจและวิถีชีวิตของชาวบ้านตามชนบทอยู่เป็นส่วนใหญ่
    ราษฏรส่วนมากจึงเกิดความไม่พอใจข้าราชการเกี่ยวกับการเข้ามาขูดรีดเงินส่วยโดยไม่เป็นธรรม อีกทั้งเหตุการณ์ภาวะแห่งการแผ่ขยายอำนาจ เข้ามาในภาคพื้นดินสองฝั่งลุ่มน้ำโขง ของมหาอำนาจประเทศฝรั่งเศสในช่วงนี้ (พ.ศ. ๒๔๓๖ - ๒๔๔๕) ที่กองทัพแห่งสยามประเทศจำต้องยอมเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงทั้งหมด ถอยมาอยู่ฝั่งขวา
    จากเหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ ทำให้มีข่าวลือต่างๆ เช่น
    “ผู้มีบุญจะมาแต่ตะวันออก”
    “เจ้าเก่าหมดอำนาจ ศาสนาก็สิ้นแล้ว”
    “บัดนี้ฝรั่งเข้าไปเต็มกรุงเทพฯ แล้ว กรุงจะเสียแก่ฝรั่งแล้ว”
    ส่วนทางบ้านเมืองนั้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ซึ่งในสมัยนั้นทรงเป็นข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว (พ.ศ. ๒๔๓๖) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ (พ.ศ. ๒๔๔๒) แล้ว เปลี่ยนชื่อเป็น มณฑลอิสาน(พ.ศ. ๒๔๔๓) พระองค์ได้ทรงบันทึกเอาไว้ในหนังสือทูลสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (เสนาบดี หรือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในสมัยนั้น) ว่า :-
    “ตามซึ่งไต่สวนขึ้นไป ได้ความเป็นพยายามมาตั้งแต่ปี ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๒) มาแล้ว...เดิมมาเป็นหมอลำ เที่ยวลำคำผญา (สุภาษิตคำกลอนของอิสาน) บ่งความไปในส่วนผู้มีบุญจะมาแต่ตะวันออก
    ข่าวลือจึงมาจากตะวันออก เพราะเดินเป็นสายไปทาง เดชอุดม ขุขันธ์ ทางหนึ่ง, ไปทางศรีสะเกษ สุรินทร์ ทางหนึ่ง, มาทางเขมราฐ อำนาจเจริญ เกษมสีมา ผาสีดอน กันทวิไชย หนองเลา วาปีปทุม มาหนองซำ พยัคฆ์ ไปทางกาฬสินธุ์ และเสลภูมิ
    ดูจะเห็นว่าการแพร่ของขบวนการผีบุญได้แผ่ขยายไปเร็วมากสมัยนั้นไม่มีสื่อมวลชนประเภททีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ หากแต่แพร่ขยายไปทางสื่อหมอลำ)
    หมอลำได้กระจายไปตามท้องถิ่นต่างๆ ทั่วเมืองอุบลฯ และใกล้เคียง เนื้อหาของกลอนลำ เป็นการสรรเสริญผู้มีบุญ ว่าจะมาจากทิศตะวันออก และโจมตีการเข้ามาปกครองของกรุงเทพฯ เป็นต้นว่า
    “ลือแซะแซงแซ่ลำโขง หนองซำเป็นเขตลาสีมา ฝูงไทยใจฮ้ายตายสิ้นบ่หลง”
    ความหมายของกลอนลำข้างต้น หมายความว่า
    “มีข่าวเล่าลือไปทั่วลำน้ำโขง จนไปถึงหนองซำ เมื่อผู้มีบุญมาเกิดแล้ว ชาวกรุงเทพฯ พวกใจโหดร้ายก็จะตายสิ้นไม่มีเหลือ (ด้วยอำนาจอิทธิฤทธิ์ของผู้มีบุญ)”
    ปรากฏว่าชาวบ้านนิยมฟังกลอนลำประเภทนี้มากและเริ่มเห็นคล้อยตามคำพยากรณ์ และคำโฆษณาชวนเชื่อกันเพิ่มมากขึ้นในทุกท้องที่ อันเป็นช่องทางให้มีผู้แอบอ้างกระทำตนเป็นผู้วิเศษสวมรอยข่าวโคมลอยขึ้นมา
    ผู้แอบอ้างต่างตั้งสำนักขึ้นชวนเชื่อชาวบ้านให้เข้ามาอยู่ในอารักขาโดยมีเจ้าสำนักกระทำตนเป็นผีบุญ เป็นผู้วิเศษ ที่สามารถปัดเป่าความชั่วร้ายให้หายไปได้
    บรรดาชาวบ้านซึ่งตกอยู่ในความหวาดกลัวอยู่แล้วต่างก็อยากจะแสวงหาที่พึ่งอยู่พอดี ซึ่งทันทีที่มีผู้วิเศษอวดอ้างฤทธิ์เดชปรากฏขึ้นจึงได้พากันแห่ไปหา เพื่อที่จะให้ช่วยเหลือคุ้มครองภัยต่างๆ
    เหตุการณ์ตอนขบถผีบุญนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าเอาไว้ในหนังสือพระนิพนธ์เรื่อง นิทานโบราณคดี ที่พระองค์ทรงรับสั่งเอาไว้ว่า เรื่องราวเหล่านี้เป็นเรื่องเกร็ดนอกพงศาวดาร เขียนรักษาไว้ให้เป็นประโยชน์แก่ลูกหลานและผู้อื่นต่อไป ว่า :-
    “ข่าวที่มีผู้วิเศษรับจะช่วยป้องกันภัยรู้ไปถึงไหน ก็มีราษฎรที่นั่นพากันไปหา โดยประสงค์เพียงจะขอให้เสกเป่ารดน้ำมนต์ให้ก็มี ที่นึกว่าเป็นท้าวธรรมิกราชผีบุญ มาบำรุงโลก เลยสมัครเข้าเป็นพรรคพวกติดตามผู้วิเศษนั้นก็มี ผู้วิเศษไปทางไหนหรือพักอยู่ที่ไหน พวกชาวบ้านก็รับรองเลี้ยงดู เลยเป็นเหตุให้มีคนเข้าเป็นสมัครพรรคพวกมากขึ้นโดยลำดับ เมื่อผู้วิเศษนั้นเห็นว่ามีคนนับถือกลัวเกรงมาก ก็เลยแสดงตนโดยเปิดเผย ว่าเป็นท้าวธรรมิกราชผีบุญ ที่จะมาดับยุคเข็ญตามคำพยากรณ์”
    ในตอนแรก ฝ่ายรัฐบาลไม่ประสงค์จะเข้าไปยุ่งด้วย เพราะไม่แน่ใจว่าเรื่องผีบุญ หรือผู้มีบุญนี้จะเป็น “ความผิดแท้” (คือเจ้าหน้าที่ไม่แน่ใจว่าจะเอาความผิดในข้อกฎหมายใด)
    และเกรงว่า “ถ้าห้ามไป กำลังตื่นคนนั้นตำราว่า ไม่ได้ จะกลายเป็นยาบำรุงไป” (คือเจ้าหน้าที่กลัว มวลชน เพราะตอนนั้นชาวบ้านไม่พอใจข้าราชการอยู่แล้ว ขืนทางการเข้าไปยุ่งก็จะเป็นการเติมเชื้อไฟให้ลุกโชนรุนแรงขึ้น - ปฐม)
    (ด้วยทางราชการประเมินสถานการณ์อย่างนี้) ทำให้ผู้มีบุญ หรือผีบุญ มีโอกาสเกลี้ยกล่อมและซ่องสุมผู้คนได้มากขึ้น จนต่อมาได้พากันตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ไม่ขึ้นกับทางการบ้านเมืองอีกต่อไป มีการปกครองกันเองในกลุ่ม มีกองกำลังคุ้มกันตนเอง
    กลุ่มผีบุญ มีหลายกลุ่ม ที่เป็นกลุ่ม หรือ กอง ขนาดใหญ่ มีอยู่๓ กลุ่ม หรือ กอง ดังนี้ :-
    ผีบุญกลุ่มที่หนึ่ง เรียกว่า กองอ้ายเล็ก หรือ อ้ายเหล็ก (ภาษาไทยกลางก็ต้องว่า กลุ่มพี่เล็ก หรือ พี่เหล็ก) เป็นผีบุญคนแรกที่อ้างตัวเป็น พระยาธรรมิกราช เป็นผู้มาดับยุคเข็ญให้ประชาชน ตั้งสำนักขึ้นที่บ้านหนองซำ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย เมืองสุวรรณภูมิ (คนพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม กับ ร้อยเอ็ด ในปัจจุบัน)
    ผีบุญกลุ่มที่สอง เรียกว่า กองอ้ายบุญจัน เป็นน้องชายพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน เมื่อพี่ชายถึงแก่กรรมได้เกิดการขัดแย้งกับทางการ จึงร่วมมือกับท้าวทัน บุตรพระยาขุขันธ์ฯ พร้อมด้วยหลวงรัตน อดีตกรมการเมือง พากันไปตั้งตัวเป็นผู้มีบุญอยู่ที่สันเขาบรรทัด เขตเมืองขุขันธ์ (เขตปฏิบัติการก็อยู่แถวศรีสะเกษ สุรินทร์บุรีรัมย์)
    ผีบุญกลุ่มที่สาม เรียกว่า กองอ้ายมั่น เป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด กลุ่มนี้ที่ไปมีส่วนพัวพันทำให้ทางการเข้าใจผิด เพราะชื่อและข้อมูลบางอย่างเกิดไปพ้องกับหลวงปู่มั่น ของเรา ดังกล่าวแล้ว
    ผีบุญอ้ายมั่น ตั้งตัวเป็น องค์ปราสาททอง หรือ องค์หาสาตรทอง ในภาษาอิสาน อยู่ที่บ้านกระจีน แขวงเมืองเขมราฐ (ใกล้ถิ่นของหลวงปู่มั่น) เคยร่วมมือกับ องค์แก้ว ทางฝั่งลาว มีราษฎรนิยมทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวาแม่น้ำโขง
    ต่อมาได้เข้าสมทบกับกองกำลังของท้าวสน นายอำเภอโขงเจียม และกับกองอ้ายเล็ก (กลุ่มที่หนึ่ง) ที่ยกกำลังมาจาก หนองซำ นำกำลังประมาณ ๒,๕๐๐ คนเศษ ยกเข้าปล้นและเผาเมืองเขมราฐ อีกทั้งได้สังหาร ท้าวโพธิราช กรมการเมือง และจับตัว ท้าวธรรมกิตติกา กรมการเมือง และพระเขมรัฐเดชนารักษ์ ผู้รักษาเมือง ไปเป็นตัวประกัน แล้วถอดนักโทษออกทั้งหมด ทำให้ได้สมัครพรรคพวกเพิ่มขึ้นอีกมาก
    หลังการกระทำอุกอาจครั้งนั้น พวกผีบุญทั้งหลายก็กลายเป็นขบถขึ้นแต่นี้ไป และได้เพิ่มความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยส่งกำลังไปบุกล้อมจับท้าวกรมช้าง กรมการเมืองอุบลฯ ที่ออกมารักษาการนายอำเภอพนานิคม แล้วฆ่าทิ้งเสีย เป็นการข่มขวัญข้าราชการและประชาชน ทำให้ผู้คนตื่นกลัว ยินยอมเข้าเป็นพรรคพวกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
    พวกราษฎรต่างพากันแห่เข้าไปขอให้พวกผีบุญช่วยขับไล่ป้องกันภัย “องค์ผีบุญ” ก็เป่าคาถา รดน้ำมนต์ให้ตามประสงค์ พร้อมโอภาปราศรัยด้วยเป็นอย่างดี ราษฎรทั้งหลายต่างพากันเข้านับถือ องค์มั่นผู้วิเศษ
    ในการนี้ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เจ้าเมืองอุบลฯ ได้รายงานเหตุการณ์ต่างๆ ให้ทางกรุงเทพฯ (กระทรวงมหาดไทย) ทราบและขอกำลังทหารพร้อมอาวุธปืนไปโดยด่วน จำนวน ๔๐๐ - ๕๐๐ คน
    พร้อมกันนั้น ทางจังหวัดอุบลฯ ก็จัดทหารไปคอยสกัดพวกผีบุญอยู่ที่วารินชำราบ บ้านตุงลุง เมืองเกษมสีมา บ้านลืออำนาจ และได้ส่งกองกำลังออกไปจับพวกผีบุญอีกหลายกอง
    ในตอนแรก กองกำลังที่ไปทางเมืองขุขันธ์ โดยการนำของร้อยโทหวั่น ได้ทำการปราบปรามผีบุญกองอ้ายบุญจัน ลงได้อย่างราบคาบ อ้ายบุญจันตายในที่รบ ที่เหลือก็แตกสลายหนีไป ไม่มีให้พบเห็นอีกเลยตลอดท้องที่เมืองขุขันธ์ เมืองศรีสะเกษ และอิสานตอนใต้
    ส่วนศึกใหญ่หลวงซึ่งอยู่ทางตะวันออกและทางเหนือนั้นล้วนตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพวกผีบุญที่เป็นสมัครพรรคพวกขององค์มั่น ผู้ที่กำลังโด่งดังสุดขีด
    ศึกยกแรก (ตามคำของอาจารย์พิศิษฐ์) นั้น ทางการประสบความพ่ายแพ้อย่างหมดรูป คือ หน่วยของร้อยเอกหม่อมราชวงศ์ร้าย คุมกำลังพลตระเวน ๑๒ นาย กับคนนำทางและชาวบ้านที่เกณฑ์มาอีกเป็นจำนวน ๑๐๐ คน ได้เกิดปะทะกับกองระวังหน้าของพวกผีบุญจำนวนร้อยคนเศษ ใกล้บ้านขุหลุ (ไม่ทราบอยู่ที่ไหนเหมือนกัน)
    พวกผีบุญร้องขู่ว่า “ผู้ใดไม่สู้ ให้วางอาวุธ หมอบลงเสีย”
    พวกชาวบ้านที่โดนเกณฑ์มา ก็พากันหมอบกราบพวกผีบุญเสียหมดสิ้น เหลือแต่หม่อมราชวงศ์ร้ายกับพลตระเวน ๑๒ นาย ที่ได้ต่อกรกับพวกผีบุญ พร้อมกับล่าถอยกลับไปกราบทูลให้เสด็จในกรมฯ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เจ้าเมืองอุบล) ทรงทราบ
    จากชัยชนะครั้งนั้นทำให้บรรดาสาวกของเหล่าผีบุญได้ใจ มีความฮึกเหิมถึงขนาดประกาศว่า จะยกพวกเข้ามาตีเมืองอุบลราชธานี แล้วผนวกร่วมกับดินแดนสองฝั่งลุ่มน้ำโขง จัดตั้งอาณาจักรใหม่ ที่ไม่ขึ้นต่อกรุงเทพฯ และฝรั่งเศส
    สร้างความขุ่นเคืองให้กับเสด็จในกรมฯ ยิ่งนัก พระองค์จึงทรงให้ พันตรี หลวงสรกิจพิศาล ผู้บังคับการทหารอุบลราชธานี จัดทหารออกไปสืบดูเหตุการณ์ที่แท้จริงอีกครั้ง
    (แสดงว่าการข่าวของทางราชการสมัยนั้นสู้สมัยนี้ไม่ได้ ใช่ไหมครับ !)
    พันตรี หลวงสรกิจฯ จึงได้จัดส่ง ร้อยตรีหลี กับทหารจำนวน ๑๕ คนออกไปสืบดูร่องรอยของเหล่าขบถทางอำเภอพนา อำเภอตระการ (ตระการพืชผล) ปรากฏว่าพวกทหารได้ไปเสียท่า โดนพวกผีบุญล้อมจับฆ่าตายถึง ๑๑ คน เหลือพลตระเวนหนีรอดกลับมาได้ ๔ คนเท่านั้น
    ทางการเห็นว่ารอให้เพลี่ยงพล้ำมากไปกว่านี้ไม่ได้อีกแล้ว (เอาเป็นว่า เครื่องเพิ่งร้อน) การปราบปรามขั้นเด็ดขาดจึงเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๕ (หลังปล่อยให้ลุกลามอยู่ ๒ ปี) โดยรับสั่งให้ร้อยเอกหลวงชิตสรการ (จิตร มัธยมจันทร์) นายทหารปืนใหญ่ กับร้อยตรีอิน คุมทหาร ๒๔ คน พลเมือง ๒๐๐ คน อาวุธปืน ๑๐๐ กระบอก ปืนใหญ่อีก ๒ กระบอก ออกไปปราบขบถ
    ขณะเดียวกันก็กราบทูลไปยัง กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (เสนาบดี กระทรวงมหาดไทย) เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๕ (ร.ศ. ๑๒๑) ว่า
    “ทหารอุบลราชธานีคิดใช้หลายทางหมดตัว เรียกตำรวจภูธรขึ้นหมดกำลังก็ยังไม่พอใช้ ถ้าเกณฑ์มา เชื่อใจชาวบ้านไม่ได้ว่าจะไม่วิ่งเข้าหาผีบุญอีก ขอทหารหรือตำรวจปืนดีๆ รีบไปช่วยเร็วๆ อีกสัก ๔๐๐”
    แล้ว ทหารจากมณฑลนครราชสีมา จึงถูกส่งไปปราบขบถ โดยแบ่งออกเป็น ๔ กองพัน กองพันละ ๒ กองร้อย ยกไปมณฑลอิสาน ๒ กองพัน และเตรียมพร้อมอยู่ที่เมืองนครราชสีมาอีก ๒ กองพัน ทหารทุกคนได้รับจ่ายปืนคนละ ๑ กระบอก กระสุนคนละ ๑๐๐ นัดและเสบียงติดตัวอยู่ไปได้ ๕ วัน
    อาจารย์พิศิษฐ์เขียนว่า “เป็นกองทัพที่ทันสมัยที่สุดในขณะนั้น”
    เชิญกลับมาดูด้าน ร้อยเอกหลวงชิตสรการ ได้ยกกำลังเข้าสู่บ้านสะพือ (อ.พิบูลมังสาหาร) ในวันที่ ๔ เมษายน (พ.ศ. ๒๔๔๕) ตอนกลางคืน ได้จัดให้กองกำลังส่วนหนึ่งตั้งพักตรงบ้านสา อีกส่วนหนึ่งตั้งค่ายอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสม ห่างจากค่ายพวกผีบุญประมาณ ๕๐ เส้น(๒ กิโลเมตร)
    “ที่ตรงนั้นเป็นทางเดินเข้ามาเมืองอุบลฯ สองข้างเป็นป่าไม้ ต้องเดินเข้าในตรอก”
    จัดให้พระสุนทรกิจวิมล (คูณ สังโขบล) เป็นปีกขวา เพียซามาตย์ (แท่ง) เป็นปีกซ้าย ตั้งปืนใหญ่ไว้ใต้ซุ้มไม้ในป่าทึบ ใกล้ทางเลี้ยวออกมาจากบ้านสะพือ หมายยิงถล่มในทางตรอกนั้น แล้วให้ซุ่มกำลังไว้ในป่าสองข้างทางอีก
    วันรุ่งขึ้น ได้เกิดปะทะกับพวกขบถผีบุญ ยิงถล่มสู้รบใส่พวกผีบุญ เกือบ ๔ โมง จึงกำชัยชนะได้โดยเด็ดขาด (ต้องร้องว่า โอโฮ !ง่ายจัง !)
    พวกขบถผีบุญถูกถล่มเสียชีวิตไป ๒๐๐ คนเศษ บาดเจ็บอีกไม่น้อยกว่า ๕๐๐ คน แถมถูกจับเป็นได้ ๑๒๐ คน
    ส่วนองค์มั่นผู้หัวหน้าผีบุญ ได้หลบหนีไปพร้อมกับสมุนราว ๑๐ คน
    จากนั้นก็มีการกวาดล้างจับกุมพวกผีบุญไปทั่วมณฑลอิสาน สั่งปราบปรามอย่างเด็ดขาด มีตราสั่งไปถึงทุกหัวเมือง ดังนี้ :-
    “อย่าให้มีการหลบหนีไปได้เป็นอันขาด ถ้าหากผู้ใดปกปิดพวกเหล่าภัยและเอาใจช่วยให้หลบหนีไปได้ จะเอาโทษแก่ผู้ปิดบังและเจ้าหน้าที่หัวเมืองนั้นๆ อย่างหนัก”
    เป็นอันว่าพวกขบถผีบุญก็แตกฉานซ่านกระเซ็นไป
    แล้วที่มาเกี่ยวกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ศิษย์ของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ก็เพราะความบังเอิญที่มีส่วนไปพ้องกันหลายอย่าง
    องค์มั่น หัวหน้าผีบุญที่พาพวกหลบหนีไป ถูกตามล่าอย่างหนัก ตอนนี้ข่าวกรองของทางราชการเกิดการสับสนในข้อมูล เพราะ
    หนึ่ง ชื่อไปซ้ำกันกับหลวงปู่มั่น
    สอง เป็นคนอยู่ใน ถิ่น แขวง เขต เมืองเดียวกัน
    สาม มีความสามารถเฉพาะตัวเป็น หมอลำกลอน คล้ายกัน
    สี่ เครื่องนุ่มห่มแต่งกายก็คล้ายคลึงกัน คือพวกผีบุญระดับหัวหน้า จะแต่งกายต่างไปจากสาวกคนอื่นๆ ซึ่งรายงานทางราชการบอกว่า “นุ่งห่มผ้าขาวจีบ ห่มครองอย่างพระหรือสามเณร”
    ห้า ผีบุญที่เป็นพระสงฆ์ก็มีหลายรูป
    และที่สำคัญยิ่งก็คือ
    หก ในช่วงนั้น หลวงปู่มั่น ได้ธุดงค์ ติดตามหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ข้ามไปทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและมาพักบำเพ็ญเพียรอยู่ที่พระธาตุพนม แสดงว่าท่านหลบหนีไปจากเมืองอุบลฯ และไปในทิศทางเดียวกันกับที่องค์มั่นผีบุญ หลบหนีไป
    สมัยนั้นไม่มีบัตรประจำตัว ไม่มีรูปถ่าย ไม่มีเอกสารยืนยันคงจะยุ่งกันพอสมควร
    อาจารย์พิศิษฐ์ ก็ไม่ได้เขียนตอนจบว่า มีการ “เคลียร์” กันอย่างไร แต่ท่านลงท้ายว่า ”ครูบาอาจารย์รุ่นต่อๆ มา จึงได้มีเรื่องเล่าถึงการตามล่าผีบุญองค์มั่น ที่มาเกี่ยวข้องอย่างบังเอิญเหลือหลายกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ผู้ที่เราเคารพเทิดทูนอยู่เหนือเศียรเกล้าฉะนี้ แล”
    โอ ! โล่งใจ !
    ผมเอง (ปฐม) ก็ไม่ได้ถามอาจารย์พิศิษฐ์ ว่าท่านเขียนโยงเหตุการณ์ขึ้นมา หรือเหตุการณ์เป็นอย่างนั้นจริงๆ แต่... ผมก็เชื่อว่าหลวงปู่ของเรา ท่านสร้างบารมีมามาก คงไม่กลับไปเป็น แพะ ให้พวกเจ้าหน้าที่เอาไปสร้างผลงานให้กับตนเองได้หรอก ใช่ไหมครับ ?
    ท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ได้ให้ความรู้ต่อท้ายไปอีกว่า “หลังจากการจบสิ้นของกรณีขบถผีบุญหรือขบถผู้มีบุญแล้วไม่นานนัก อีก ๒ เดือนต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ก็ทรงตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๕ ให้เป็นกิจจะลักษณะในรูปของกฎหมายเป็นครั้งแรก อีกทั้งยังทรงโปรดให้จัดพิมพ์หนังสือพระไตรปิฎกขึ้นเป็นครั้งแรกอีกด้วย”
    ก็ขอบคุณท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ที่อุตส่าห์ค้นเรื่องดีๆ มาให้เราได้ศึกษา ทำให้ผมมีกำลังใจที่จะลอกผลงานของท่านต่อไป ขอบคุณครับ
     
  17. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๕๑
    อาราธนาอยู่โปรดชาวนครพนม
    ในปี พ ศ. ๒๔๔๕ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดเลียบ กับสหธรรมิกของท่าน คือ หลวงปู่หนู ฐิตปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดใต้ (ภายหลังมีสมณศักดิ์เป็นพระปัญญาพิศาลเถร เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ) ได้ออกธุดงค์ไปจังหวัดนครพนม
    ในหนังสือของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ระบุว่า หลวงปู่ทั้งสององค์ ได้พักปักกลดอยู่ใต้ต้นโพธิ์สุดเขตเมืองนครพนมทางด้านทิศใต้ เข้าใจว่าจะเป็นแถวบริเวณโรงฆ่าสัตว์เทศบาลจังหวัดนครพนมในปัจจุบัน
    ได้มีประชาชนชาวบ้านจำนวนมากไปสนทนารับการอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ทั้งสององค์ ข้าหลวงประจำเมืองนครพนมคือ พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (เลื่อง ภูมิรัตน์) ได้ทราบเรื่อง จึงไปนมัสการและสนทนาธรรมด้วย
    มีตอนหนึ่ง ท่านเจ้าเมืองได้ปรารภถึงปัญหาของพระเณรในจังหวัด ได้ขอคำปรึกษาหารือและขอให้หลวงปู่ทั้งสองได้ช่วยคิดอ่านแก้ไข พร้อมทั้งกราบเรียนหลวงปู่ให้พำนักโดยตั้งวัดธรรมยุตขึ้นในจังหวัดนครพนมด้วย
    ท่านเจ้าเมืองกราบเรียนว่า “กระผมขอโอกาสกราบเรียนนมัสการครูบาอาจารย์ พวกกระผมมีศรัทธาปสาทะอย่างเต็มที่ ต้องการอยากได้วัดคณะธรรมยุติกนิกาย ไว้เป็นศรีสง่าคู่บ้านเมืองของจังหวัดนครพนมสืบไป เกล้ากระผมในนามเจ้าเมือง ซึ่งเป็นตัวแทนของชาวจังหวัดนครพนม ขอกราบอาราธนาให้ครูบาอาจารย์เป็นประมุขประธานเป็นพ่อแม่เป็นที่พึ่งต่อไป”
    หลวงปู่ใหญ่ ท่านยิ้มตามลักษณะของท่าน แล้วพูดขึ้นว่า
    “เมื่อญาติโยมมีศรัทธาอันแรงกล้าอย่างนั้นก็ดีแล้ว อาตมาขออนุโมทนาสาธุการ แต่ทว่าเวลานี้อาตมายังเป็นพระเที่ยวอยู่ จะอยู่ประจำตามที่นิมนต์อาราธนานั้นคงยังไม่ได้ คงจะอยู่ได้ชั่วครั้งชั่วคราวอย่างนี้แหละ เอายังงี้ดีไหม เมื่อโยมมีความปรารถนาอันแรงกล้า อยากได้พระอยากได้วัดคณะธรรมยุตแล้ว ให้โยมไปหาพระมาสักรูปหนึ่ง พยายามเลือกเฟ้นเอาผู้มีอุปนิสัยพอเป็นไปได้ด้วยศีลาจารวัตร มีความอดทนแล้วอาตมาจะเอาไปญัตติกรรม ทำทัฬหีกรรมใหม่ เพื่อให้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ กับจะส่งไปเรียนที่กรุงเทพฯ เมื่อสำเร็จแล้วจึงจะส่งกลับมาเป็นหัวหน้าเป็นผู้นำสร้างวัด สร้างความเจริญในพระพุทธศาสนาต่อไป ”
    พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ ข้าหลวงประจำจังหวัดนครพนมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำแนะนำของหลวงปู่ใหญ่ จึงได้ให้คนของท่านออกสืบเสาะเลือกเฟ้นหาพระภิกษุตามที่หลวงปู่ใหญ่บอก ใช้เวลาหลายวัน
    ในที่สุดได้คัดเลือกพระภิกษุมา ๔ รูป ได้แก่ พระจันทร์ เขมิโย, พระสา อธิคโม, พระหอม จนฺทสาโร และพระสังข์ รกฺขิตธมฺโม กับสามเณรอีก ๑ รูปที่ติดตามพระจันทร์ เขมิโยจากท่าอุเทน ชื่อ สามเณรจูม จันทร์วงศ์
    เวลานั้นท่านหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กับ หลวงปู่หนู ฐิตปญฺโญ ยังพักรออยู่ที่พระธาตุพนม
    ท่านข้าหลวงได้นำพระภิกษุและสามเณรทั้ง ๕ รูปเข้าถวายตัวเป็นศิษย์ เพื่อให้หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กับ หลวงปู่หนูช่วยรับเอาเป็นธุระแนะนำสั่งสอนและฝึกอบรมต่อไป พระคุณเจ้าทั้งสองก็รับไว้ด้วยความยินดี
    จากการติดตามศึกษาประวัติครูอาจารย์พระกรรมฐานในภายหลังจะปรากฏชื่อเพียง ๒ องค์ คือ พระจันทร์ เขมิโย ภายหลังมีสมณศักดิ์เป็น พระเทพสิทธาจารย์ ประชาชนชาวนครพนมเรียกว่า “เจ้าคุณปู่” เพราะเป็นปู่ใหญ่พระธรรมยุตองค์แรกของจังหวัดนครพนม กับสามเณรจูม จันทร์วงศ์ ภายหลังมีสมณศักดิ์เป็น พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) แห่งวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี มีบทบาทสำคัญยิ่งในวงศ์พระกรรมฐานสายหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น นั่นเอง
    ส่วนพระภิกษุอีก ๓ องค์ ไม่เห็นกล่าวถึง หรือมีการกล่าวถึงแต่ผู้เขียนหาไม่พบ
    ในบันทึกมีว่า “ท่านเจ้าเมืองได้นำพระจันทร์ เขมิโย ไปถวายตัวเป็นศิษย์ของพระอาจารย์เสาร์ ที่ยังรออยู่ที่พระธาตุพนมเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว จึงได้พากันเดินทางธุดงค์กลับจังหวัดอุบลราชธานี รอนแรมผ่านป่าดงดิบผืนใหญ่ชื่อดงบัง ที่แสนลำเค็ญ แล้วเข้าเขตอำนาจเจริญ ใช้เวลาร่วมเดือนจึงลุถึงวัดเลียบ ในตัวเมืองอุบลราชธานี”
    ๕๒
    คำบอกเล่าของเจ้าคุณปู่
    จากปากคำของท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ (หลวงปู่จันทร์ เขมิโย) หรือที่ชาวนครพนมเรียกว่า “เจ้าคุณปู่” ได้พูดถึงการติดตามไปปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ที่จังหวัดอุบลราชธานี ดังนี้ :-
    ในปลายปี พ ศ. ๒๔๔๕ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่หนู (พระปัญญาพิศาลเถร) ก็ได้อำลาประชาชนชาวจังหวัดนครพนม เดินทางกลับสู่จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยพระภิกษุ ๔ รูป คือ หลวงปู่จันทร์ เขมิโย พระภิกษุสา พระภิกษุหอม พระภิกษุสังข์ และสามเณรอีก ๓ รูป ในจำนวน ๓ รูปนี้ มี สามเณรจูม จันทร์วงศ์ (ต่อมาได้เป็นพระธรรมเจดีย์) รวมอยู่ด้วย
    คณะของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ได้จาริกธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ หยุดพักรอนแรมกลางป่าดงพงไพร ได้พบสัตว์ป่านานาชนิด มีเสือ ช้าง ละอง ละมั่ง ควายป่า เป็นต้น
    เมื่อเจอสัตว์ป่า หลวงปู่ใหญ่ ก็สั่งให้คณะนั่งลงกับพื้นดิน แล้วกำหนดจิตแผ่เมตตาให้สัตว์เหล่านั้น พระภิกษุสามเณรทุกรูปก็แคล้วคลาดปลอดภัย
    ท่านเจ้าคุณปู่เล่าว่า “ในการบำเพ็ญกรรมฐานในป่านั้น ประการสำคัญต้องทำตนให้เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์มักจะมีความวิตกกังวล คงจะทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในตัวเอง ต่อจากนั้นก็มีอันเป็นไป หากมีศีลบริสุทธิ์ จิตก็สงบเป็นสมาธิได้ง่าย และอีกประการหนึ่ง จะต้องยึดมั่นในพระรัตนตรัย ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณอยู่เสมอ”
    ท่านเจ้าคุณปู่ เล่าต่อไปว่า การธุดงค์ไปกับหลวงปู่ใหญ่ในครั้งนั้น ทำให้การฝึกฝนด้านกรรมฐานของท่าน นับว่าก้าวรุดหน้าไปกว่าเดิมมาก ทั้งนี้เพราะท่านหลวงปู่ใหญ่ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานได้พยายามถ่ายทอดความรู้และอบรมท่านอย่างเคร่งครัดยิ่ง
    “ตอนนั้น พอเราธุดงค์ถึงสถานที่อันวิเวกเหมาะแก่การปฏิบัติแห่งไหน ท่านพระอาจารย์เสาร์ จะหยุดพักและพวกเราเร่งบำเพ็ญเพียรอบรมจิตอย่างหนักทันที ท่านให้พยายามกำจัดมหาโจรภายใน อันหมายถึงตัวกิเลส คือ ความโลภ โกรธ หลง ให้เบาบางลงไปให้ได้และให้ทำจนหมดสิ้นไปจากจิตใจ ตามกำลังความสามารถ
    การปฏิบัติกรรมฐานภายในป่านั้น หลักสำคัญประการแรก ผู้ปฏิบัติจะต้องทำตนให้บริสุทธิ์ด้วยศีล เพราะในป่าเขาลำเนาไพรมีเทพารักษ์ สัตว์ร้ายนานาชนิด ดังนั้น ต้องคอยตรวจสอบศีลของเราอยู่เสมอ ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์เมื่อไรแล้ว ก็มักจะมีอันเป็นไปในทางไม่ดีเสมอ
    และเมื่อมีศีลบริสุทธิ์แล้ว ก็ต้องรักษาจิตของเราให้บริสุทธิ์ด้วยระวังอย่าให้จิตเอนเอียงไปหารากเหง้าแห่งกิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ
    หลังจากนั้น เมื่อศีลและจิตบริสุทธิ์ ก็ต้องตรวจความเห็นของตนว่ามีความบริสุทธิ์หรือไม่ ความเห็นของเราตรงต่อคุณธรรมจริงหรือไม่ เมื่อเราอุทิศชีวิตของตนต่อพระรัตนตรัยอย่างแท้จริงแล้ว มีอะไรเกิดขึ้นแก่ชีวิตเราบ้าง
    ควรยึดมั่นเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ยอมสละทุกอย่างเพื่อพระรัตนตรัย แม้ชีวิตของเราก็ต้องยอมเสียสละ จึงจะสามารถรู้แจ้งเห็นจริงในชีวิต สามารถหยั่งจิตลงในคุณแห่งพระรัตนตรัยอย่างมั่นคง ไม่หวั่นไหว จนถึงคุณอันสูงสุดในพระศาสนา จึงจะประสบตัววิปัสสนาอย่างแท้จริง
    ท่านเจ้าคุณปู่ บอกต่อไปว่า “สำหรับการเจริญกรรมฐานนั้น หากยังไม่พบตัววิปัสสนาแล้ว จะไม่สามารถพบกับความสุขอย่างแท้จริงได้
    การเข้าถึงพระพุทธเจ้า ประการแรกก็คือ การไม่ทำความชั่วทุกอย่าง อันได้แก่ การรักษาศีลของตนให้บริสุทธิ์ การทำความดี มีความดี มีความเฉลียวฉลาดให้พร้อมอยู่เสมอ ก็คือการเข้าถึงพระศาสนาด้วยการบำเพ็ญสมาธิ และการเข้าถึงพระศาสนาด้วยการทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
    ท่านเจ้าคุณปู่ เล่าถึงการเดินทางในครั้งนั้นว่า ท่านต้องใช้เวลาอยู่หลายสัปดาห์จึงเดินทางถึงจังหวัดอุบลราชธานี
    จากนั้น ท่านหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ได้นำคณะพระเณรเข้าไปพำนักอยู่ที่วัดเลียบ ซึ่งเป็นสำนักของท่าน และ ณ สถานที่นั้นเอง ท่านเจ้าคุณปู่ ก็ได้พบกับ ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต
    ดังนั้น นอกจากเจ้าคุณปู่ จะร่ำเรียนความรู้ในทางธรรมจากหลวงปู่ใหญ่เสาร์แล้ว ท่านยังได้มีโอกาสร่วมศึกษาหาความรู้และปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น อีกระยะหนึ่งด้วย
    ท่านเจ้าคุณปู่ พำนักอยู่ที่วัดเลียบ จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๔๖ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ จึงนำท่านไปแปรญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุต ที่พระอุโบสถวัดศรีอุบลรัตนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี โดยมีพระสงฺฆรกฺขิโต (พูน) วัดศรีทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปัญญาพิศาลเถร (ฐิตปญฺโญ หนู) วัดใต้ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูประจักษ์อุบลคุณ (ญาณสโย สุ้ย) วัดสุปัฏนาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาเดิมคือ เขมิโย
    หลังจากที่อุปสมบทแล้ว ท่านเจ้าคุณปู่ ก็กลับมาพำนักที่วัดเลียบ ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติกับหลวงปู่ใหญ่เสาร์ สำหรับการศึกษาด้านปริยัติธรรม ท่านก็สนใจศึกษาอย่างเอาจริงเอาจัง พยายามศึกษาพระปริยัติธรรมแผนใหม่ ได้แก่ วิชาธรรมะ วิชาวินัย วิชาพุทธประวัติ และวิชาอธิบายกระทู้ธรรม ซึ่งพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ได้นำมาเผยแพร่ที่อุบลฯ
    ส่วนแนวทางปฏิบัติกรรมฐาน ท่านเจ้าคุณปู่ได้ฝึกอบรมในสำนักของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ท่านอาจารย์ใหญ่มั่น และหลวงปู่หนู (พระปัญญาพิศาลเถร) จนมีความรู้ทั้งด้านปริยัติและด้านปฏิบัติอย่างแท้จริง มีจิตใจมั่นคงแนบแน่นต่อธรรมะอย่างไม่สั่นคลอน
    ท่านเจ้าคุณปู่ พูดถึงการศึกษาด้านปริยัติของท่านในสมัยที่พำนักอยู่วัดเลียบ อุบลราชธานีว่า นอกจากการปฏิบัติกรรมฐานอย่างคร่ำเคร่งแล้ว ท่านยังได้ศึกษาหลักพระพุทธศาสนาแผนใหม่ด้วยคือ ศึกษาวิชาวินัย วิชาธรรม วิชาพุทธประวัติ และวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม ตลอดจนการศึกษาทบทวนบทบาลีไวยากรณ์แบบเก่า จากคัมภีร์มูลกัจจายน์ ตามที่เคยศึกษามาก่อนด้วย ท่านว่า
    “บาลีไวยากรณ์ที่แต่งขึ้นใหม่ มีความเข้าใจได้ง่ายกว่าแบบเก่า เมื่ออาตมาได้ศึกษาคัมภีร์ต่างๆ แล้ว จึงได้ศึกษาพระวินัยอันเป็นข้อปฏิบัติโดยตรงของพระสงฆ์จากคัมภีร์จุลวรรค ศึกษาบทสวดมนต์และขัดตำนานบทสวดมนต์ต่างๆ ศึกษาแบบแผนพิธีกรรมต่างๆ ของคณะธรรมยุตในแต่ละสำนักวัดต่างๆ”
    ท่านเจ้าคุณอยู่พำนักร่ำเรียนทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติที่วัดเลียบ เมืองอุบลฯ อยู่ ๓ ปีเต็มๆ นอกจากอยู่เรียนในสำนักแล้ว บางโอกาสท่านยังได้ออกธุดงค์แสวงความวิเวก ติดตามพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต ด้วย
    ท่านเจ้าคุณปู่ เคยออกธุดงค์ร่วมกับพระอาจารย์ใหญ่มั่นไปบำเพ็ญเพียรอยู่บนภูเขาแห่งหนึ่ง ในเขตจังหวัดสกลนคร และท่านพูดว่า
    “แต่ในระยะหลัง อาตมาไม่ค่อยอยากไปพบท่านพระอาจารย์มั่นหรอก เพราะพออาตมาจะไปทีไร ท่านจะทราบล่วงหน้าทุกที แล้วท่านก็จัดสถานที่พักให้ยกใหญ่ มโหฬารมาก ทั้งที่ท่านอยู่ในป่าในเขา สร้างความยุ่งยากลำบากให้แก่ท่านเปล่าๆ
    ท่านพูดกับอาตมาเสนอว่า อาตมาเป็นเจ้าคุณ
    ต่อมาภายหลัง ท่านเจ้าคุณปู่ ก็ได้เป็นเจ้าคุณจริงๆ ตามที่หลวงปู่มั่น ออกปากปรารภ ซึ่งเรื่องการรู้ใจคนและการทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าของหลวงปู่มั่น นั้น เป็นที่ทราบกันอย่างกว้างขวางในหมู่พระกรรมฐานด้วยกันมาช้านานแล้ว
    <table id="table29" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> พระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) แถวหน้า ซ้าย
    พระธรรมเจดีย์ (พนฺธุโล จูม) แถวหน้า ขวา
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๕๓
    บทเรียนที่ต้องจำฝังใจ
    เมื่อหลวงปู่จันทร์ เขมิโย หรือท่านเจ้าคุณปู่ ของชาวจังหวัดนครพนม มาอยู่ศึกษาอบรมในสำนักของพระอาจารย์ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล จนเวลาล่วงเข้า ๓ ปี พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ ข้าหลวงประจำเมืองนครพนมได้ทำหนังสือไปนมัสการ หลวงปู่ใหญ่ พร้อมทั้งอีกฉบับส่งไปกราบทูลพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ (พระองค์เจ้าชายชุมพลสมโภช เป็นพระโอรสองค์ที่ ๑๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ข้าหลวงต่างพระองค์ในรัชกาลที่ ๕ ประจำมณฑลอุบลฯ
    “เพื่อขอนิมนต์ตัวพระภิกษุจันทร์ เขมิโย และคณะกลับไปตั้งสำนักคณะธรรมยุติกนิกายขึ้นที่เมืองนครพนม”
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ จึงได้พา เจ้าคุณปู่ เข้าพบ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ท่านเจ้าเมืองอุบลฯ
    พระองค์ท่านทอดพระเนตรเห็นเจ้าคุณปู่ ยังเป็นพระหนุ่มน้อยอยู่ จึงรับสั่งด้วยความห่วงใย (เชิงสบประมาท) ว่า
    “นี่นะหรือพระที่ท่านอาจารย์เสาร์จะให้นำคณะธรรมยุตไปตั้งที่เมืองนครพนม ดูรูปร่างลักษณะเล็ก บาง ยังหนุ่มแน่นมาก จะไม่ทำให้ครูอาจารย์และวงศ์ธรรมยุตต้องเศร้าหมองเสียหายไปด้วยหรือ เพราะประสบการณ์ยังอ่อน หาพอที่จะรักษาตัวและหมู่คณะไว้ได้ไม่ จะไปตายเพราะผู้หญิง ฉันเกรงว่าจะเอาบาตรไปทำเป็นรังไก่เสียก่อนนะซิ”
    ท่านเจ้าคุณปู่เล่าว่า ตอนนั้นท่านเป็นพระวัยหนุ่มแน่น เมื่อถูกท่านเจ้าเมืองสบประมาทเช่นนั้น ท่านถึงกับตัวสั่นระคนไปด้วยความน้อยใจ เสียใจ จนถึงกับกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ไปด้วย ท่านอยากจะแทรกแผ่นดินหนีไปในบัดนั้นเลย
    และด้วยคำพูดอันรุนแรงของท่านเจ้าเมืองในครั้งนั้นเองที่ทำให้ท่านเจ้าคุณปู่ ยิ่งมุมานะ มีใจมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าเพื่อที่จะลบคำสบประมาทนั้นให้ได้
    ด้วยเหตุการณ์ที่ถูกสบประมาทอย่างรุนแรงในครั้งนั้นเองได้เป็นแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งที่ทำให้ท่านเจ้าคุณปู่ ได้ขยันศึกษาหาความรู้ บำเพ็ญสมณธรรมค้ำตน จนครองเพศบรรพชิตได้ดิบได้ดีสืบต่อมา
    ถ้าสมัยใหม่ ต้องว่า ทำวิกฤติให้เป็นโอกาส นั่นเอง
    ทางฝ่ายหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล เมื่อได้ฟังท่านเจ้าเมืองตรัสดังนั้น ท่านเพียงแต่ยิ้มด้วยนิสัยใจเย็นของท่าน แล้วจึงถวายพระพรเล่าถึงปฏิปทา จรรยามารยาท และความหนักแน่นในพระธรรมวินัยของพระลูกศิษย์ให้ทรงทราบทุกประการ
    หลังจากได้ฟังคำบอกเล่าเช่นนั้นแล้ว ท่านเจ้าเมืองก็ทรงอนุญาตให้เจ้าคุณปู่ และคณะเดินทางกลับไปนครพนม พร้อมกับทรงออกหนังสือรับรอง เป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้ มีใจความว่า
    “ให้นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในเส้นทางที่เดินผ่าน ให้จัดคนตามส่งตลอดทาง พร้อมทั้งให้จัดที่พักแลภัตตาหารถวายด้วย”
    คณะของเจ้าคุณปู่ ใช้เวลาเดินทางจากอุบลฯ ถึงนครพนมเป็นเวลา ๒๑ วัน ท่านเจ้าเมืองนครพนมได้จัดขบวนออกไปต้อนรับแห่แหนเข้าเมือง แล้วนิมนต์ให้พำนักอยู่ ณ วัดศรีขุนเมือง
    วัดศรีขุนเมือง เป็นวัดโบราณที่รกร้างมานาน ได้รับการบูรณะขึ้นสำหรับเป็นที่พำนักของพระสงฆ์ธรรมยุต ที่ขึ้นมาตั้ง ณ จังหวัดนครพนมเป็นครั้งแรก โดยคณะของเจ้าคุณปู่ ในครั้งนั้น
    ภายหลังต่อมาวัดนี้ได้รับการขนานนามใหม่ว่า วัดศรีเทพประดิษฐาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ นับเป็นวัดธรรมยุตวัดแรกในจังหวัดนครพนม โดยมีเจ้าคุณปู่ ซึ่งยังเป็นพระอันดับ พรรษา ๔ เป็นผู้นำคณะธรรมยุตขึ้นมาประดิษฐาน ณ จังหวัดนครพนม เป็นครั้งแรก
    ปี พ.ศ. ๒๔๔๓ เจ้าคุณปู่ พร้อมด้วยคณะอีก ๓ รูป คือ พระสาร พระจูม พนฺธุโล (หลังสุดเป็น พระธรรมเจดีย์) และ สามเณรจันทร์ ได้เข้ามาศึกษาเล่าเรียนในกรุงเทพมหานครในสำนักของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวโร เจริญ) วัดเทพศิรินทราวาส แต่ครั้งยังเป็นพระเทพกวี
    หลังจากเล่าเรียนอยู่ ณ วัดเทพศิรินทราวาส ๖ ปี เจ้าคุณปู่ จึงได้กลับมาประจำอยู่ ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม เมื่อพ.ศ. ๒๔๕๘
    วัดศรีเทพประดิษฐาราม จึงเป็นแหล่งกำเนิดการศึกษาทั้งฝายพระปริยัติธรรมและฝ่ายสามัญศึกษาของจังหวัดนครพนม ซึ่งความสำเร็จทั้งปวงนี้เกิดจากความวิริยะอุตสาหะของเจ้าคุณปู่โดยแท้
    โดยที่เจ้าคุณปู่ได้บำเพ็ญคุณประโยชน์ต่อการพระศาสนาและการศึกษาของบ้านเมืองเป็นอันมาก จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์มาโดยลำดับ คือ พ.ศ. ๒๔๖๐ ในรัชกาลที่ ๖ เป็นที่ พระครูสีลสัมบัน, พ.ศ. ๒๔๗๓ ในรัชกาลที่ ๗ เลื่อนขึ้นเป็นที่ พระครูสารภาณพนมเขต รองเจ้าคณะจังหวัด, พ.ศ. ๒๔๗๘ เลื่อนเป็น พระครูสารภาณมุนี เจ้าคณะจังหวัด, พ ศ. ๒๔๘๐ เลื่อนขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระสารภาณมุนี, พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพสิทธาจารย์
    เจ้าคุณปู่ หรือ พระเทพสิทธาจารย์ (เขมิโยเถร จันทร์) มรณภาพเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๖ สิริอายุได้ ๙๒ ปี
    กรณีของพระเทพสิทธาจารย์ หรือ เจ้าคุณปู่ ของจังหวัดนครพนม นี้ เป็นปฏิปทาอีกอย่างหนึ่งของ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนุตสีโล ซึ่งนอกจากการมุ่งปฏิบัติธรรมกรรมฐานแล้ว ท่านยังส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาภาคปริยัติธรรมด้วย เพราะเป็นธรรมที่เกี่ยวเนื่องกัน จะขาดเสียอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้
    เมื่อพูดถึงการเริ่มต้นคณะสงฆ์ธรรมยุตในจังหวัดนครพนมแล้ว ผู้เขียนจะขออนุญาตนำบันทึกของ พระญาณวิศิษฏ์ หรือ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม แม่ทัพใหญ่แห่งกองทัพธรรม ที่ได้บันทึกถึงการเผยแพร่ธรรมด้านวิปัสสนาธุระของกองทัพธรรมในจังหวัดนครพนมดังนี้ :-
    “พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก, พระอาจารย์บุญมา มหายโส, พระอาจารย์ทอง อโสโก, พระอาจารย์สนธิ์, พระอาจารย์คำ คมฺภีโร, พระอาจารย์จรัส พร้อมด้วยภิกษุสามเณรหมวดละ ๗ องค์ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระในท้องที่จังหวัดนครพนม
    เมื่อไปถึงจังหวัดนครพนมแล้ว ท่านได้แยกกันอยู่ตามสำนักต่างๆ ดังนี้ :-
    ๑. พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก อยู่สำนักวัดโพธิชัย ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌายะ
    ๒. พระอาจารย์บุญมา มหายโส อยู่สำนักวัดอรัญญิกาวาส จังหวัดนครพนม ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูไพโรจน์ปัญญาคุณ
    ๓. พระอาจารย์ทอง อโสโก อยู่สำนักสงฆ์วัดป่าเกาะแก้ว อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
    ๔. พระอาจารย์สนธิ์ อยู่สำนักสงฆ์วัดถ้ำบ้านนาโสก อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
    ๕. พระอาจารย์คำ คมฺภีโร อยู่สำนักสงฆ์วัดป่าสิลาวิเวก อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม
    ๖. พระอาจารย์จรัส อยู่สำนักสงฆ์วัดป่าท่าควาย อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
    พระเถระทั้ง ๖ องค์ จึงถือว่าเป็นบูรพาจารย์สายวิปัสสนาธุระรุ่นแรกของจังหวัดนครพนม
    ๕๔
    พระธรรมเจดีย์(จูม พนฺธุโล)
    : ตัวอย่างการลนับลนุนด้านปริยัติธรรมของหลวงปู่ใหญ่
    การยกเรื่องของท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) แห่ง วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี มากล่าวในที่นี้ ก็เพื่อจะให้เห็นอีกตัวอย่างหนึ่งว่า แม้หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และ หลวงปู่มั่นจะให้น้ำหนักความสำคัญทางด้านวิปัสสนาธุระ แต่ท่านทั้งสองก็สนับสนุนการศึกษาด้านปริยัติเหมือนกัน
    ในกรณีของ เจ้าคุณปู่ แห่งจังหวัดนครพนมที่กล่าวมาแล้ว เป็นตัวอย่างหนึ่ง และกรณีของพระธรรมเจดีย์ นี้ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง
    ท่านผู้อ่านคงจำได้ว่า ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ สมัยเป็นสามเณรจูม ได้ติดตามเจ้าคุณปู่ไปรับการศึกษาอบรมกับหลวงปู่ใหญ่เสาร์และหลวงปู่มั่น ที่จังหวัดอุบลราชธานี ถึง ๔ ปี ก่อนจะกลับมาร่วมตั้งวัดธรรมยุตแห่งแรกในจังหวัดนครพนม คือ วัดศรีขุนเมือง และเปลี่ยนชื่อภายหลังเป็น วัดศรีเทพประดิษฐาราม ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น
    นอกจากการศึกษาด้านปริยัติขั้นต้นในจังหวัดอุบลราชธานีแล้วท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ สมัยยังเป็นสามเณรจูม ได้เคยติดตามหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กับหลวงปู่มั่น ออกปฏิบัติธรรมตามป่าเขาในช่วงออกพรรษาหลายครั้ง จึงได้รับการฝึกหัดด้านวิปัสสนากรรมฐานเป็นอย่างดี
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ คงจะมองเห็นอุปนิสัยและมองการณ์ไกลจึงได้สนับสนุนสามเณรจูมให้ก้าวหน้าในด้านปริยัติธรรม ซึ่งต่อมาสามเณรจูม ก็ได้ไปศึกษาพระปริยัติธรรมในกรุงเทพฯ เมืองหลวง จนได้เป็นพระมหาเปรียญ แล้วกลับมาบริหารและจัดการศึกษาแก่คณะสงฆ์ในภาคอิสาน นับเป็นการปกครองและจรรโลงหมู่คณะและทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญขึ้นเป็นอย่างมาก
    ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ได้เป็นพระอุปัชฌายะให้การบวชแก่พระสายธรรมยุต ท่านจึงมีลูกศิษย์ลูกหามาก จะว่าเต็มบ้านเต็มเมืองก็ได้ ท่านจึงเป็นที่เคารพนับถือของพระสงฆ์ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา และประชาชนทั่วไป อย่างกว้างขวาง แม้แต่ท่านหลวงปู่ใหญ่และหลวงปู่มั่นก็ให้ความเชื่อถือลูกศิษย์องค์นี้มาก
    แม้ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ จะมีภาระในด้านการปกครองสงฆ์ และด้านการศึกษาของสงฆ์อย่างมากมาย ท่านก็ไม่เคยละทิ้งด้านการปฏิบัติพระกรรมฐาน ตามที่พระอาจารย์ใหญ่ทั้งสอง ได้เคยพาดำเนินมา ซึ่งองค์ท่านเองก็ปฏิบัติอย่างเสมอต้นเสมอปลายและสนับสนุนพระสายกรรมฐานอย่างเต็มที่
    ท่านผู้อ่านคงจำได้ว่า ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์องค์นี้ เป็นพระผู้ใหญ่ที่เดินทางไปอาราธนาหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่จังหวัดเชียงใหม่ ให้กลับมาโปรดลูกศิษย์ลูกหาทางภาคอิสาน หลังจากหลวงปู่มั่น ได้ไปอยู่ทางภาคเหนือติดต่อกันนานถึง ๑๒ ปี
    จึงกล่าวได้ว่า การที่พระป่าสายหลวงปู่มั่น ได้แพร่ขยายไปอย่างกว้างขวางนั้น ส่วนหนึ่งก็ด้วยการสนับสนุนของท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) นี้เอง
    สำหรับประวัติย่อของท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) มีดังนี้ :-
    พระธรรมเจดีย์ มีนามเดิมว่า จูม นามสกุล จันทรวงศ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๑ ณ บ้านท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม บิดา - มารดาชื่อ นายคำสิงห์ นางเขียว จันทรวงศ์ ท่านเป็นบุตรคนที่ ๓ มีพี่น้องทั้งหมด ๙ คน
    ปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ได้บรรพชาเป็นสามเณร ทีวัดโพนแก้ว อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม มีพระอาจารย์เหง้า เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสังกัดธรรมยุติกนิกาย ชื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๔๔๐ ณ วัดมหาชัย อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระครูแสง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีมา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูสารภาณพนมเขต (เจ้าคุณปู่) เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระปริยัติธรรมด้วยความขยันหมั่นเพียร สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ที่สำนักเรียนวัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร
    ตั้งแต่ปี พ ศ. ๒๔๖๖ - ๒๔๙๖ ได้ปฏิบัติศาสนกิจด้วยความขยันหมั่นเพียรและเป็นผลดีแก่พระศาสนา จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ เมืองอุดรธานี เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะมณฑลอุดรธานีและสมาชิกสังฆสภา เป็นต้น
    ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ได้เลื่อนสมณศักดิ์ตามลำดับดังนี้ คือพระครูสังฆวุฒิกร, พระครูชิโนวาทธำรง, พระญาณดิลก, พระราชเวที, พระเทพกวี, และสุดท้าย พระธรรมเจดีย์
    ท่านได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฏาคม พ ศ. ๒๕๐๕ สิริรวมอายุได้ ๗๔ ปี อายุพรรษา ๕๔
    <table id="table30" border="0" width="475"><tbody><tr> <td>
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td align="center">
    นั่งแถวหน้า จากซ้าย
    พระเทพสิทธาจาย์ (จันทร์ เขมิโย), พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล), พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส)
    นั่งแถวที่สอง จากซ้าย
    หลวงปู่ขาว อนาลโย พระอาจารยฝั้น อาจาโร, พระอาจารย์กว่า สุมโน, พระครูอุดมธรรมคุณ (ทองสุข สุจิตฺโต), พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ
    ยืนแถวหลัง จากซ้าย
    พระญาณวิริยะ (วิริยังค์ สิรินฺธโร), หลวงพ่อบัว สิริปุณฺโณ, พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    </td></tr></tbody></table>
     
  18. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๕๑
    อาราธนาอยู่โปรดชาวนครพนม
    ในปี พ ศ. ๒๔๔๕ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดเลียบ กับสหธรรมิกของท่าน คือ หลวงปู่หนู ฐิตปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดใต้ (ภายหลังมีสมณศักดิ์เป็นพระปัญญาพิศาลเถร เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ) ได้ออกธุดงค์ไปจังหวัดนครพนม
    ในหนังสือของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ระบุว่า หลวงปู่ทั้งสององค์ ได้พักปักกลดอยู่ใต้ต้นโพธิ์สุดเขตเมืองนครพนมทางด้านทิศใต้ เข้าใจว่าจะเป็นแถวบริเวณโรงฆ่าสัตว์เทศบาลจังหวัดนครพนมในปัจจุบัน
    ได้มีประชาชนชาวบ้านจำนวนมากไปสนทนารับการอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ทั้งสององค์ ข้าหลวงประจำเมืองนครพนมคือ พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (เลื่อง ภูมิรัตน์) ได้ทราบเรื่อง จึงไปนมัสการและสนทนาธรรมด้วย
    มีตอนหนึ่ง ท่านเจ้าเมืองได้ปรารภถึงปัญหาของพระเณรในจังหวัด ได้ขอคำปรึกษาหารือและขอให้หลวงปู่ทั้งสองได้ช่วยคิดอ่านแก้ไข พร้อมทั้งกราบเรียนหลวงปู่ให้พำนักโดยตั้งวัดธรรมยุตขึ้นในจังหวัดนครพนมด้วย
    ท่านเจ้าเมืองกราบเรียนว่า “กระผมขอโอกาสกราบเรียนนมัสการครูบาอาจารย์ พวกกระผมมีศรัทธาปสาทะอย่างเต็มที่ ต้องการอยากได้วัดคณะธรรมยุติกนิกาย ไว้เป็นศรีสง่าคู่บ้านเมืองของจังหวัดนครพนมสืบไป เกล้ากระผมในนามเจ้าเมือง ซึ่งเป็นตัวแทนของชาวจังหวัดนครพนม ขอกราบอาราธนาให้ครูบาอาจารย์เป็นประมุขประธานเป็นพ่อแม่เป็นที่พึ่งต่อไป”
    หลวงปู่ใหญ่ ท่านยิ้มตามลักษณะของท่าน แล้วพูดขึ้นว่า
    “เมื่อญาติโยมมีศรัทธาอันแรงกล้าอย่างนั้นก็ดีแล้ว อาตมาขออนุโมทนาสาธุการ แต่ทว่าเวลานี้อาตมายังเป็นพระเที่ยวอยู่ จะอยู่ประจำตามที่นิมนต์อาราธนานั้นคงยังไม่ได้ คงจะอยู่ได้ชั่วครั้งชั่วคราวอย่างนี้แหละ เอายังงี้ดีไหม เมื่อโยมมีความปรารถนาอันแรงกล้า อยากได้พระอยากได้วัดคณะธรรมยุตแล้ว ให้โยมไปหาพระมาสักรูปหนึ่ง พยายามเลือกเฟ้นเอาผู้มีอุปนิสัยพอเป็นไปได้ด้วยศีลาจารวัตร มีความอดทนแล้วอาตมาจะเอาไปญัตติกรรม ทำทัฬหีกรรมใหม่ เพื่อให้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ กับจะส่งไปเรียนที่กรุงเทพฯ เมื่อสำเร็จแล้วจึงจะส่งกลับมาเป็นหัวหน้าเป็นผู้นำสร้างวัด สร้างความเจริญในพระพุทธศาสนาต่อไป ”
    พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ ข้าหลวงประจำจังหวัดนครพนมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำแนะนำของหลวงปู่ใหญ่ จึงได้ให้คนของท่านออกสืบเสาะเลือกเฟ้นหาพระภิกษุตามที่หลวงปู่ใหญ่บอก ใช้เวลาหลายวัน
    ในที่สุดได้คัดเลือกพระภิกษุมา ๔ รูป ได้แก่ พระจันทร์ เขมิโย, พระสา อธิคโม, พระหอม จนฺทสาโร และพระสังข์ รกฺขิตธมฺโม กับสามเณรอีก ๑ รูปที่ติดตามพระจันทร์ เขมิโยจากท่าอุเทน ชื่อ สามเณรจูม จันทร์วงศ์
    เวลานั้นท่านหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กับ หลวงปู่หนู ฐิตปญฺโญ ยังพักรออยู่ที่พระธาตุพนม
    ท่านข้าหลวงได้นำพระภิกษุและสามเณรทั้ง ๕ รูปเข้าถวายตัวเป็นศิษย์ เพื่อให้หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กับ หลวงปู่หนูช่วยรับเอาเป็นธุระแนะนำสั่งสอนและฝึกอบรมต่อไป พระคุณเจ้าทั้งสองก็รับไว้ด้วยความยินดี
    จากการติดตามศึกษาประวัติครูอาจารย์พระกรรมฐานในภายหลังจะปรากฏชื่อเพียง ๒ องค์ คือ พระจันทร์ เขมิโย ภายหลังมีสมณศักดิ์เป็น พระเทพสิทธาจารย์ ประชาชนชาวนครพนมเรียกว่า “เจ้าคุณปู่” เพราะเป็นปู่ใหญ่พระธรรมยุตองค์แรกของจังหวัดนครพนม กับสามเณรจูม จันทร์วงศ์ ภายหลังมีสมณศักดิ์เป็น พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) แห่งวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี มีบทบาทสำคัญยิ่งในวงศ์พระกรรมฐานสายหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น นั่นเอง
    ส่วนพระภิกษุอีก ๓ องค์ ไม่เห็นกล่าวถึง หรือมีการกล่าวถึงแต่ผู้เขียนหาไม่พบ
    ในบันทึกมีว่า “ท่านเจ้าเมืองได้นำพระจันทร์ เขมิโย ไปถวายตัวเป็นศิษย์ของพระอาจารย์เสาร์ ที่ยังรออยู่ที่พระธาตุพนมเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว จึงได้พากันเดินทางธุดงค์กลับจังหวัดอุบลราชธานี รอนแรมผ่านป่าดงดิบผืนใหญ่ชื่อดงบัง ที่แสนลำเค็ญ แล้วเข้าเขตอำนาจเจริญ ใช้เวลาร่วมเดือนจึงลุถึงวัดเลียบ ในตัวเมืองอุบลราชธานี”
    ๕๒
    คำบอกเล่าของเจ้าคุณปู่
    จากปากคำของท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ (หลวงปู่จันทร์ เขมิโย) หรือที่ชาวนครพนมเรียกว่า “เจ้าคุณปู่” ได้พูดถึงการติดตามไปปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ที่จังหวัดอุบลราชธานี ดังนี้ :-
    ในปลายปี พ ศ. ๒๔๔๕ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่หนู (พระปัญญาพิศาลเถร) ก็ได้อำลาประชาชนชาวจังหวัดนครพนม เดินทางกลับสู่จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยพระภิกษุ ๔ รูป คือ หลวงปู่จันทร์ เขมิโย พระภิกษุสา พระภิกษุหอม พระภิกษุสังข์ และสามเณรอีก ๓ รูป ในจำนวน ๓ รูปนี้ มี สามเณรจูม จันทร์วงศ์ (ต่อมาได้เป็นพระธรรมเจดีย์) รวมอยู่ด้วย
    คณะของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ได้จาริกธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ หยุดพักรอนแรมกลางป่าดงพงไพร ได้พบสัตว์ป่านานาชนิด มีเสือ ช้าง ละอง ละมั่ง ควายป่า เป็นต้น
    เมื่อเจอสัตว์ป่า หลวงปู่ใหญ่ ก็สั่งให้คณะนั่งลงกับพื้นดิน แล้วกำหนดจิตแผ่เมตตาให้สัตว์เหล่านั้น พระภิกษุสามเณรทุกรูปก็แคล้วคลาดปลอดภัย
    ท่านเจ้าคุณปู่เล่าว่า “ในการบำเพ็ญกรรมฐานในป่านั้น ประการสำคัญต้องทำตนให้เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์มักจะมีความวิตกกังวล คงจะทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในตัวเอง ต่อจากนั้นก็มีอันเป็นไป หากมีศีลบริสุทธิ์ จิตก็สงบเป็นสมาธิได้ง่าย และอีกประการหนึ่ง จะต้องยึดมั่นในพระรัตนตรัย ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณอยู่เสมอ”
    ท่านเจ้าคุณปู่ เล่าต่อไปว่า การธุดงค์ไปกับหลวงปู่ใหญ่ในครั้งนั้น ทำให้การฝึกฝนด้านกรรมฐานของท่าน นับว่าก้าวรุดหน้าไปกว่าเดิมมาก ทั้งนี้เพราะท่านหลวงปู่ใหญ่ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานได้พยายามถ่ายทอดความรู้และอบรมท่านอย่างเคร่งครัดยิ่ง
    “ตอนนั้น พอเราธุดงค์ถึงสถานที่อันวิเวกเหมาะแก่การปฏิบัติแห่งไหน ท่านพระอาจารย์เสาร์ จะหยุดพักและพวกเราเร่งบำเพ็ญเพียรอบรมจิตอย่างหนักทันที ท่านให้พยายามกำจัดมหาโจรภายใน อันหมายถึงตัวกิเลส คือ ความโลภ โกรธ หลง ให้เบาบางลงไปให้ได้และให้ทำจนหมดสิ้นไปจากจิตใจ ตามกำลังความสามารถ
    การปฏิบัติกรรมฐานภายในป่านั้น หลักสำคัญประการแรก ผู้ปฏิบัติจะต้องทำตนให้บริสุทธิ์ด้วยศีล เพราะในป่าเขาลำเนาไพรมีเทพารักษ์ สัตว์ร้ายนานาชนิด ดังนั้น ต้องคอยตรวจสอบศีลของเราอยู่เสมอ ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์เมื่อไรแล้ว ก็มักจะมีอันเป็นไปในทางไม่ดีเสมอ
    และเมื่อมีศีลบริสุทธิ์แล้ว ก็ต้องรักษาจิตของเราให้บริสุทธิ์ด้วยระวังอย่าให้จิตเอนเอียงไปหารากเหง้าแห่งกิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ
    หลังจากนั้น เมื่อศีลและจิตบริสุทธิ์ ก็ต้องตรวจความเห็นของตนว่ามีความบริสุทธิ์หรือไม่ ความเห็นของเราตรงต่อคุณธรรมจริงหรือไม่ เมื่อเราอุทิศชีวิตของตนต่อพระรัตนตรัยอย่างแท้จริงแล้ว มีอะไรเกิดขึ้นแก่ชีวิตเราบ้าง
    ควรยึดมั่นเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ยอมสละทุกอย่างเพื่อพระรัตนตรัย แม้ชีวิตของเราก็ต้องยอมเสียสละ จึงจะสามารถรู้แจ้งเห็นจริงในชีวิต สามารถหยั่งจิตลงในคุณแห่งพระรัตนตรัยอย่างมั่นคง ไม่หวั่นไหว จนถึงคุณอันสูงสุดในพระศาสนา จึงจะประสบตัววิปัสสนาอย่างแท้จริง
    ท่านเจ้าคุณปู่ บอกต่อไปว่า “สำหรับการเจริญกรรมฐานนั้น หากยังไม่พบตัววิปัสสนาแล้ว จะไม่สามารถพบกับความสุขอย่างแท้จริงได้
    การเข้าถึงพระพุทธเจ้า ประการแรกก็คือ การไม่ทำความชั่วทุกอย่าง อันได้แก่ การรักษาศีลของตนให้บริสุทธิ์ การทำความดี มีความดี มีความเฉลียวฉลาดให้พร้อมอยู่เสมอ ก็คือการเข้าถึงพระศาสนาด้วยการบำเพ็ญสมาธิ และการเข้าถึงพระศาสนาด้วยการทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
    ท่านเจ้าคุณปู่ เล่าถึงการเดินทางในครั้งนั้นว่า ท่านต้องใช้เวลาอยู่หลายสัปดาห์จึงเดินทางถึงจังหวัดอุบลราชธานี
    จากนั้น ท่านหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ได้นำคณะพระเณรเข้าไปพำนักอยู่ที่วัดเลียบ ซึ่งเป็นสำนักของท่าน และ ณ สถานที่นั้นเอง ท่านเจ้าคุณปู่ ก็ได้พบกับ ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต
    ดังนั้น นอกจากเจ้าคุณปู่ จะร่ำเรียนความรู้ในทางธรรมจากหลวงปู่ใหญ่เสาร์แล้ว ท่านยังได้มีโอกาสร่วมศึกษาหาความรู้และปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น อีกระยะหนึ่งด้วย
    ท่านเจ้าคุณปู่ พำนักอยู่ที่วัดเลียบ จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๔๖ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ จึงนำท่านไปแปรญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุต ที่พระอุโบสถวัดศรีอุบลรัตนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี โดยมีพระสงฺฆรกฺขิโต (พูน) วัดศรีทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปัญญาพิศาลเถร (ฐิตปญฺโญ หนู) วัดใต้ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูประจักษ์อุบลคุณ (ญาณสโย สุ้ย) วัดสุปัฏนาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาเดิมคือ เขมิโย
    หลังจากที่อุปสมบทแล้ว ท่านเจ้าคุณปู่ ก็กลับมาพำนักที่วัดเลียบ ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติกับหลวงปู่ใหญ่เสาร์ สำหรับการศึกษาด้านปริยัติธรรม ท่านก็สนใจศึกษาอย่างเอาจริงเอาจัง พยายามศึกษาพระปริยัติธรรมแผนใหม่ ได้แก่ วิชาธรรมะ วิชาวินัย วิชาพุทธประวัติ และวิชาอธิบายกระทู้ธรรม ซึ่งพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ได้นำมาเผยแพร่ที่อุบลฯ
    ส่วนแนวทางปฏิบัติกรรมฐาน ท่านเจ้าคุณปู่ได้ฝึกอบรมในสำนักของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ท่านอาจารย์ใหญ่มั่น และหลวงปู่หนู (พระปัญญาพิศาลเถร) จนมีความรู้ทั้งด้านปริยัติและด้านปฏิบัติอย่างแท้จริง มีจิตใจมั่นคงแนบแน่นต่อธรรมะอย่างไม่สั่นคลอน
    ท่านเจ้าคุณปู่ พูดถึงการศึกษาด้านปริยัติของท่านในสมัยที่พำนักอยู่วัดเลียบ อุบลราชธานีว่า นอกจากการปฏิบัติกรรมฐานอย่างคร่ำเคร่งแล้ว ท่านยังได้ศึกษาหลักพระพุทธศาสนาแผนใหม่ด้วยคือ ศึกษาวิชาวินัย วิชาธรรม วิชาพุทธประวัติ และวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม ตลอดจนการศึกษาทบทวนบทบาลีไวยากรณ์แบบเก่า จากคัมภีร์มูลกัจจายน์ ตามที่เคยศึกษามาก่อนด้วย ท่านว่า
    “บาลีไวยากรณ์ที่แต่งขึ้นใหม่ มีความเข้าใจได้ง่ายกว่าแบบเก่า เมื่ออาตมาได้ศึกษาคัมภีร์ต่างๆ แล้ว จึงได้ศึกษาพระวินัยอันเป็นข้อปฏิบัติโดยตรงของพระสงฆ์จากคัมภีร์จุลวรรค ศึกษาบทสวดมนต์และขัดตำนานบทสวดมนต์ต่างๆ ศึกษาแบบแผนพิธีกรรมต่างๆ ของคณะธรรมยุตในแต่ละสำนักวัดต่างๆ”
    ท่านเจ้าคุณอยู่พำนักร่ำเรียนทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติที่วัดเลียบ เมืองอุบลฯ อยู่ ๓ ปีเต็มๆ นอกจากอยู่เรียนในสำนักแล้ว บางโอกาสท่านยังได้ออกธุดงค์แสวงความวิเวก ติดตามพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต ด้วย
    ท่านเจ้าคุณปู่ เคยออกธุดงค์ร่วมกับพระอาจารย์ใหญ่มั่นไปบำเพ็ญเพียรอยู่บนภูเขาแห่งหนึ่ง ในเขตจังหวัดสกลนคร และท่านพูดว่า
    “แต่ในระยะหลัง อาตมาไม่ค่อยอยากไปพบท่านพระอาจารย์มั่นหรอก เพราะพออาตมาจะไปทีไร ท่านจะทราบล่วงหน้าทุกที แล้วท่านก็จัดสถานที่พักให้ยกใหญ่ มโหฬารมาก ทั้งที่ท่านอยู่ในป่าในเขา สร้างความยุ่งยากลำบากให้แก่ท่านเปล่าๆ
    ท่านพูดกับอาตมาเสนอว่า อาตมาเป็นเจ้าคุณ
    ต่อมาภายหลัง ท่านเจ้าคุณปู่ ก็ได้เป็นเจ้าคุณจริงๆ ตามที่หลวงปู่มั่น ออกปากปรารภ ซึ่งเรื่องการรู้ใจคนและการทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าของหลวงปู่มั่น นั้น เป็นที่ทราบกันอย่างกว้างขวางในหมู่พระกรรมฐานด้วยกันมาช้านานแล้ว
    <table id="table29" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> พระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) แถวหน้า ซ้าย
    พระธรรมเจดีย์ (พนฺธุโล จูม) แถวหน้า ขวา
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๕๓
    บทเรียนที่ต้องจำฝังใจ
    เมื่อหลวงปู่จันทร์ เขมิโย หรือท่านเจ้าคุณปู่ ของชาวจังหวัดนครพนม มาอยู่ศึกษาอบรมในสำนักของพระอาจารย์ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล จนเวลาล่วงเข้า ๓ ปี พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ ข้าหลวงประจำเมืองนครพนมได้ทำหนังสือไปนมัสการ หลวงปู่ใหญ่ พร้อมทั้งอีกฉบับส่งไปกราบทูลพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ (พระองค์เจ้าชายชุมพลสมโภช เป็นพระโอรสองค์ที่ ๑๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ข้าหลวงต่างพระองค์ในรัชกาลที่ ๕ ประจำมณฑลอุบลฯ
    “เพื่อขอนิมนต์ตัวพระภิกษุจันทร์ เขมิโย และคณะกลับไปตั้งสำนักคณะธรรมยุติกนิกายขึ้นที่เมืองนครพนม”
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ จึงได้พา เจ้าคุณปู่ เข้าพบ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ท่านเจ้าเมืองอุบลฯ
    พระองค์ท่านทอดพระเนตรเห็นเจ้าคุณปู่ ยังเป็นพระหนุ่มน้อยอยู่ จึงรับสั่งด้วยความห่วงใย (เชิงสบประมาท) ว่า
    “นี่นะหรือพระที่ท่านอาจารย์เสาร์จะให้นำคณะธรรมยุตไปตั้งที่เมืองนครพนม ดูรูปร่างลักษณะเล็ก บาง ยังหนุ่มแน่นมาก จะไม่ทำให้ครูอาจารย์และวงศ์ธรรมยุตต้องเศร้าหมองเสียหายไปด้วยหรือ เพราะประสบการณ์ยังอ่อน หาพอที่จะรักษาตัวและหมู่คณะไว้ได้ไม่ จะไปตายเพราะผู้หญิง ฉันเกรงว่าจะเอาบาตรไปทำเป็นรังไก่เสียก่อนนะซิ”
    ท่านเจ้าคุณปู่เล่าว่า ตอนนั้นท่านเป็นพระวัยหนุ่มแน่น เมื่อถูกท่านเจ้าเมืองสบประมาทเช่นนั้น ท่านถึงกับตัวสั่นระคนไปด้วยความน้อยใจ เสียใจ จนถึงกับกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ไปด้วย ท่านอยากจะแทรกแผ่นดินหนีไปในบัดนั้นเลย
    และด้วยคำพูดอันรุนแรงของท่านเจ้าเมืองในครั้งนั้นเองที่ทำให้ท่านเจ้าคุณปู่ ยิ่งมุมานะ มีใจมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าเพื่อที่จะลบคำสบประมาทนั้นให้ได้
    ด้วยเหตุการณ์ที่ถูกสบประมาทอย่างรุนแรงในครั้งนั้นเองได้เป็นแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งที่ทำให้ท่านเจ้าคุณปู่ ได้ขยันศึกษาหาความรู้ บำเพ็ญสมณธรรมค้ำตน จนครองเพศบรรพชิตได้ดิบได้ดีสืบต่อมา
    ถ้าสมัยใหม่ ต้องว่า ทำวิกฤติให้เป็นโอกาส นั่นเอง
    ทางฝ่ายหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล เมื่อได้ฟังท่านเจ้าเมืองตรัสดังนั้น ท่านเพียงแต่ยิ้มด้วยนิสัยใจเย็นของท่าน แล้วจึงถวายพระพรเล่าถึงปฏิปทา จรรยามารยาท และความหนักแน่นในพระธรรมวินัยของพระลูกศิษย์ให้ทรงทราบทุกประการ
    หลังจากได้ฟังคำบอกเล่าเช่นนั้นแล้ว ท่านเจ้าเมืองก็ทรงอนุญาตให้เจ้าคุณปู่ และคณะเดินทางกลับไปนครพนม พร้อมกับทรงออกหนังสือรับรอง เป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้ มีใจความว่า
    “ให้นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในเส้นทางที่เดินผ่าน ให้จัดคนตามส่งตลอดทาง พร้อมทั้งให้จัดที่พักแลภัตตาหารถวายด้วย”
    คณะของเจ้าคุณปู่ ใช้เวลาเดินทางจากอุบลฯ ถึงนครพนมเป็นเวลา ๒๑ วัน ท่านเจ้าเมืองนครพนมได้จัดขบวนออกไปต้อนรับแห่แหนเข้าเมือง แล้วนิมนต์ให้พำนักอยู่ ณ วัดศรีขุนเมือง
    วัดศรีขุนเมือง เป็นวัดโบราณที่รกร้างมานาน ได้รับการบูรณะขึ้นสำหรับเป็นที่พำนักของพระสงฆ์ธรรมยุต ที่ขึ้นมาตั้ง ณ จังหวัดนครพนมเป็นครั้งแรก โดยคณะของเจ้าคุณปู่ ในครั้งนั้น
    ภายหลังต่อมาวัดนี้ได้รับการขนานนามใหม่ว่า วัดศรีเทพประดิษฐาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ นับเป็นวัดธรรมยุตวัดแรกในจังหวัดนครพนม โดยมีเจ้าคุณปู่ ซึ่งยังเป็นพระอันดับ พรรษา ๔ เป็นผู้นำคณะธรรมยุตขึ้นมาประดิษฐาน ณ จังหวัดนครพนม เป็นครั้งแรก
    ปี พ.ศ. ๒๔๔๓ เจ้าคุณปู่ พร้อมด้วยคณะอีก ๓ รูป คือ พระสาร พระจูม พนฺธุโล (หลังสุดเป็น พระธรรมเจดีย์) และ สามเณรจันทร์ ได้เข้ามาศึกษาเล่าเรียนในกรุงเทพมหานครในสำนักของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวโร เจริญ) วัดเทพศิรินทราวาส แต่ครั้งยังเป็นพระเทพกวี
    หลังจากเล่าเรียนอยู่ ณ วัดเทพศิรินทราวาส ๖ ปี เจ้าคุณปู่ จึงได้กลับมาประจำอยู่ ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม เมื่อพ.ศ. ๒๔๕๘
    วัดศรีเทพประดิษฐาราม จึงเป็นแหล่งกำเนิดการศึกษาทั้งฝายพระปริยัติธรรมและฝ่ายสามัญศึกษาของจังหวัดนครพนม ซึ่งความสำเร็จทั้งปวงนี้เกิดจากความวิริยะอุตสาหะของเจ้าคุณปู่โดยแท้
    โดยที่เจ้าคุณปู่ได้บำเพ็ญคุณประโยชน์ต่อการพระศาสนาและการศึกษาของบ้านเมืองเป็นอันมาก จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์มาโดยลำดับ คือ พ.ศ. ๒๔๖๐ ในรัชกาลที่ ๖ เป็นที่ พระครูสีลสัมบัน, พ.ศ. ๒๔๗๓ ในรัชกาลที่ ๗ เลื่อนขึ้นเป็นที่ พระครูสารภาณพนมเขต รองเจ้าคณะจังหวัด, พ.ศ. ๒๔๗๘ เลื่อนเป็น พระครูสารภาณมุนี เจ้าคณะจังหวัด, พ ศ. ๒๔๘๐ เลื่อนขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระสารภาณมุนี, พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพสิทธาจารย์
    เจ้าคุณปู่ หรือ พระเทพสิทธาจารย์ (เขมิโยเถร จันทร์) มรณภาพเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๖ สิริอายุได้ ๙๒ ปี
    กรณีของพระเทพสิทธาจารย์ หรือ เจ้าคุณปู่ ของจังหวัดนครพนม นี้ เป็นปฏิปทาอีกอย่างหนึ่งของ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนุตสีโล ซึ่งนอกจากการมุ่งปฏิบัติธรรมกรรมฐานแล้ว ท่านยังส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาภาคปริยัติธรรมด้วย เพราะเป็นธรรมที่เกี่ยวเนื่องกัน จะขาดเสียอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้
    เมื่อพูดถึงการเริ่มต้นคณะสงฆ์ธรรมยุตในจังหวัดนครพนมแล้ว ผู้เขียนจะขออนุญาตนำบันทึกของ พระญาณวิศิษฏ์ หรือ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม แม่ทัพใหญ่แห่งกองทัพธรรม ที่ได้บันทึกถึงการเผยแพร่ธรรมด้านวิปัสสนาธุระของกองทัพธรรมในจังหวัดนครพนมดังนี้ :-
    “พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก, พระอาจารย์บุญมา มหายโส, พระอาจารย์ทอง อโสโก, พระอาจารย์สนธิ์, พระอาจารย์คำ คมฺภีโร, พระอาจารย์จรัส พร้อมด้วยภิกษุสามเณรหมวดละ ๗ องค์ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระในท้องที่จังหวัดนครพนม
    เมื่อไปถึงจังหวัดนครพนมแล้ว ท่านได้แยกกันอยู่ตามสำนักต่างๆ ดังนี้ :-
    ๑. พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก อยู่สำนักวัดโพธิชัย ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌายะ
    ๒. พระอาจารย์บุญมา มหายโส อยู่สำนักวัดอรัญญิกาวาส จังหวัดนครพนม ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูไพโรจน์ปัญญาคุณ
    ๓. พระอาจารย์ทอง อโสโก อยู่สำนักสงฆ์วัดป่าเกาะแก้ว อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
    ๔. พระอาจารย์สนธิ์ อยู่สำนักสงฆ์วัดถ้ำบ้านนาโสก อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
    ๕. พระอาจารย์คำ คมฺภีโร อยู่สำนักสงฆ์วัดป่าสิลาวิเวก อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม
    ๖. พระอาจารย์จรัส อยู่สำนักสงฆ์วัดป่าท่าควาย อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
    พระเถระทั้ง ๖ องค์ จึงถือว่าเป็นบูรพาจารย์สายวิปัสสนาธุระรุ่นแรกของจังหวัดนครพนม
    ๕๔
    พระธรรมเจดีย์(จูม พนฺธุโล)
    : ตัวอย่างการลนับลนุนด้านปริยัติธรรมของหลวงปู่ใหญ่
    การยกเรื่องของท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) แห่ง วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี มากล่าวในที่นี้ ก็เพื่อจะให้เห็นอีกตัวอย่างหนึ่งว่า แม้หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และ หลวงปู่มั่นจะให้น้ำหนักความสำคัญทางด้านวิปัสสนาธุระ แต่ท่านทั้งสองก็สนับสนุนการศึกษาด้านปริยัติเหมือนกัน
    ในกรณีของ เจ้าคุณปู่ แห่งจังหวัดนครพนมที่กล่าวมาแล้ว เป็นตัวอย่างหนึ่ง และกรณีของพระธรรมเจดีย์ นี้ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง
    ท่านผู้อ่านคงจำได้ว่า ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ สมัยเป็นสามเณรจูม ได้ติดตามเจ้าคุณปู่ไปรับการศึกษาอบรมกับหลวงปู่ใหญ่เสาร์และหลวงปู่มั่น ที่จังหวัดอุบลราชธานี ถึง ๔ ปี ก่อนจะกลับมาร่วมตั้งวัดธรรมยุตแห่งแรกในจังหวัดนครพนม คือ วัดศรีขุนเมือง และเปลี่ยนชื่อภายหลังเป็น วัดศรีเทพประดิษฐาราม ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น
    นอกจากการศึกษาด้านปริยัติขั้นต้นในจังหวัดอุบลราชธานีแล้วท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ สมัยยังเป็นสามเณรจูม ได้เคยติดตามหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กับหลวงปู่มั่น ออกปฏิบัติธรรมตามป่าเขาในช่วงออกพรรษาหลายครั้ง จึงได้รับการฝึกหัดด้านวิปัสสนากรรมฐานเป็นอย่างดี
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ คงจะมองเห็นอุปนิสัยและมองการณ์ไกลจึงได้สนับสนุนสามเณรจูมให้ก้าวหน้าในด้านปริยัติธรรม ซึ่งต่อมาสามเณรจูม ก็ได้ไปศึกษาพระปริยัติธรรมในกรุงเทพฯ เมืองหลวง จนได้เป็นพระมหาเปรียญ แล้วกลับมาบริหารและจัดการศึกษาแก่คณะสงฆ์ในภาคอิสาน นับเป็นการปกครองและจรรโลงหมู่คณะและทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญขึ้นเป็นอย่างมาก
    ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ได้เป็นพระอุปัชฌายะให้การบวชแก่พระสายธรรมยุต ท่านจึงมีลูกศิษย์ลูกหามาก จะว่าเต็มบ้านเต็มเมืองก็ได้ ท่านจึงเป็นที่เคารพนับถือของพระสงฆ์ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา และประชาชนทั่วไป อย่างกว้างขวาง แม้แต่ท่านหลวงปู่ใหญ่และหลวงปู่มั่นก็ให้ความเชื่อถือลูกศิษย์องค์นี้มาก
    แม้ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ จะมีภาระในด้านการปกครองสงฆ์ และด้านการศึกษาของสงฆ์อย่างมากมาย ท่านก็ไม่เคยละทิ้งด้านการปฏิบัติพระกรรมฐาน ตามที่พระอาจารย์ใหญ่ทั้งสอง ได้เคยพาดำเนินมา ซึ่งองค์ท่านเองก็ปฏิบัติอย่างเสมอต้นเสมอปลายและสนับสนุนพระสายกรรมฐานอย่างเต็มที่
    ท่านผู้อ่านคงจำได้ว่า ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์องค์นี้ เป็นพระผู้ใหญ่ที่เดินทางไปอาราธนาหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่จังหวัดเชียงใหม่ ให้กลับมาโปรดลูกศิษย์ลูกหาทางภาคอิสาน หลังจากหลวงปู่มั่น ได้ไปอยู่ทางภาคเหนือติดต่อกันนานถึง ๑๒ ปี
    จึงกล่าวได้ว่า การที่พระป่าสายหลวงปู่มั่น ได้แพร่ขยายไปอย่างกว้างขวางนั้น ส่วนหนึ่งก็ด้วยการสนับสนุนของท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) นี้เอง
    สำหรับประวัติย่อของท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) มีดังนี้ :-
    พระธรรมเจดีย์ มีนามเดิมว่า จูม นามสกุล จันทรวงศ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๑ ณ บ้านท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม บิดา - มารดาชื่อ นายคำสิงห์ นางเขียว จันทรวงศ์ ท่านเป็นบุตรคนที่ ๓ มีพี่น้องทั้งหมด ๙ คน
    ปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ได้บรรพชาเป็นสามเณร ทีวัดโพนแก้ว อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม มีพระอาจารย์เหง้า เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสังกัดธรรมยุติกนิกาย ชื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๔๔๐ ณ วัดมหาชัย อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระครูแสง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีมา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูสารภาณพนมเขต (เจ้าคุณปู่) เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระปริยัติธรรมด้วยความขยันหมั่นเพียร สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ที่สำนักเรียนวัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร
    ตั้งแต่ปี พ ศ. ๒๔๖๖ - ๒๔๙๖ ได้ปฏิบัติศาสนกิจด้วยความขยันหมั่นเพียรและเป็นผลดีแก่พระศาสนา จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ เมืองอุดรธานี เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะมณฑลอุดรธานีและสมาชิกสังฆสภา เป็นต้น
    ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ได้เลื่อนสมณศักดิ์ตามลำดับดังนี้ คือพระครูสังฆวุฒิกร, พระครูชิโนวาทธำรง, พระญาณดิลก, พระราชเวที, พระเทพกวี, และสุดท้าย พระธรรมเจดีย์
    ท่านได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฏาคม พ ศ. ๒๕๐๕ สิริรวมอายุได้ ๗๔ ปี อายุพรรษา ๕๔
    <table id="table30" border="0" width="475"><tbody><tr> <td>
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td align="center">
    นั่งแถวหน้า จากซ้าย
    พระเทพสิทธาจาย์ (จันทร์ เขมิโย), พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล), พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส)
    นั่งแถวที่สอง จากซ้าย
    หลวงปู่ขาว อนาลโย พระอาจารยฝั้น อาจาโร, พระอาจารย์กว่า สุมโน, พระครูอุดมธรรมคุณ (ทองสุข สุจิตฺโต), พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ
    ยืนแถวหลัง จากซ้าย
    พระญาณวิริยะ (วิริยังค์ สิรินฺธโร), หลวงพ่อบัว สิริปุณฺโณ, พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    </td></tr></tbody></table>
     
  19. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๕๕
    สนับสนุนการเรียนปริยัติธรรม
    แต่ไม่สนับสนุนการตั้งสำนักเรียน
    จากกรณีของพระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) หรือเจ้าคุณปู่ กับกรณีของ พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) รวมทั้งกรณีครูบาอาจารย์องค์อื่นๆ อีก แสดงให้เห็นว่าหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลท่านสนับสนุนการเรียนด้านปริยัติธรรม เพื่อให้ลูกศิษย์ที่มีนิสัยชอบในทางนี้ได้เจริญก้าวหน้าทางด้านการปกครองและบริหารการศาสนา แต่หลวงปู่ใหญ่ท่านไม่สนับสนุนให้ตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักปฏิบัติด้านวิปัสสนากรรมฐาน หรือในวัดป่าทั่วไป
    ปฏิปทาในเรื่องนี้จะเห็นได้จากเมื่อหลวงปู่ใหญ่ ได้รับการนิมนต์จาก โยมนุ่ม ชุวานนท์ ให้ไปพำนักที่ป่าช้าดงปู่ตา นอกเมืองสกลนครซึ่งต่อมากลายเป็น วัดป่าสุทธาวาส สถานที่หลวงปู่มั่น ได้ละวางสังขารในปี พ.ศ. ๒๔๙๒
    ในสมัยที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล พร้อมด้วยบรรดาศิษย์ที่เป็นพระภิกษุและสามเณรพักจำพรรษาที่วัดป่าสุทธาวาส สกลนคร นี้ได้มีพระมหาเปรียญรูปหนึ่ง ชื่อ พระมหาปาน เดินทางมาจากวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ เพื่อศึกษาด้านธรรมปฏิบัติกับหลวงปู่ใหญ่
    ท่านพระมหาปาน ได้เข้ากราบเรียนหลวงปู่ใหญ่ เพื่อขอเปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรม โดยที่ท่านมหารับจะเป็นครูสอนให้ บรรดาพระภิกษุสามเณรที่วัดป่าสุทธาวาส ก็แสดงความกระตือรือร้นที่จะเรียนด้วย
    หลวงปู่ใหญ่ ท่านเห็นว่าไม่ควรจะทัดทานในตอนนั้น จึงได้อนุญาตให้ทดลองทำดูว่าผลจะเป็นอย่างไร พร้อมทั้งกำชับพระเณรอย่าให้ละทิ้งการปฏิบัติด้านภาวนาด้วย
    เมื่อหลวงปู่ใหญ่ ท่านยินยอมให้พระเณรเข้าเรียนหลักสูตรนักธรรมได้ตามความสมัครใจ ปรากฏว่ามีพระเณรสมัครใจเรียนเป็นจำนวนมาก การเรียนการสอนกดำเนินไปด้วยดี พอใจทั้งผู้สอนและ ผู้เรียน
    บรรดาพระเณรที่วัดป่าสุทธาวาส เมื่อก่อนนั้นต่างก็มุ่งมั่นที่จะเอาดีด้านการปฏิบัติภาวนา และทำกันอย่างจริงจัง พอเริ่มเรียนด้านปริยัติ ในตอนแรกๆ ก็ตั้งใจเรียนและปฏิบัติข้อวัตรต่างๆ ควบคู่ไปด้วยกัน ดูคงเส้นคงวาเป็นปกติ
    พอเรียนไปได้หน่อย การนั่งสมาธิ การเดินจงกรมก็เริ่มลดน้อยลง ตั้งใจท่องบ่นบทเรียนเป็นส่วนใหญ่ พอถึงกลางพรรษา เรื่องการเดินจงกรมก็หายหมด ทางเดินจงกรมกลายเป็นทางมดทางปลวกไปสิ้น การนั่งสมาธิก็ไม่มี หนักๆ เข้า วัตรปฏิบัติต่างๆ ในขันธวัตรแทบไม่มีเหลือเลย ทั้งๆ ที่ข้อวัตรเหล่านี้ถือเป็นชีวิตจิตใจของผู้มุ่งปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมอย่างแท้จริง
    หนักกว่านั้น การสวดมนต์ทำวัตรก็ไปบ้างไม่ไปบ้าง ขาดๆ หายๆ ต่างก็หันไปเอาดีทางด้านหนังสือกันเลยหมด การปฏิบัติตามพระธรรมวินัยก็ดูย่อหย่อน ขาดๆ เกินๆ ไม่เอาจริงเอาจังเหมือนแต่ก่อน
    เพื่อไม่ให้การปฏิบัติหย่อนยานของพระกลายเป็นความเคยชินไป หลวงปู่ใหญ่ จึงสั่งห้ามการเรียนการสอนด้านปริยัติในวัดป่าสุทธาวาสโดยเด็ดขาด ให้พระหันมาเอาดีด้านการปฏิบัติภาวนาอย่างแท้จริง
    สำหรับพระเณรที่ใฝ่ใจศึกษาเล่าเรียนทางด้านพระปริยัติธรรมหลวงปู่ใหญ่ ท่านจะสนับสนุนโดยส่งให้ไปเรียนตามสำนักต่างๆ เช่นสำนักปริยัติธรรมใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ ซึ่งลูกศิษย์ของท่านต่างก็เจริญก้าวหน้าเป็นพระมหาเปรียญ และมีสมณศักดิ์ในระดับต่างๆ จำนวนมากมาย
    แนวปฏิบัติในทำนองเดียวกันนี้ จะถือปฏิบัติสืบเนื่องต่อกันมา ผู้เขียนขอยกตัวอย่างสำนักที่ผู้เขียนเกี่ยวข้องด้วยอย่างมาก คือสำนักวัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ ของท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    ที่วัดนี้มีสอนทั้งด้านปริยัติธรรม และด้านสมาธิภาวนา แต่เป็นขั้นเริ่มต้นเท่านั้น
    หลังจากนั้นก็แยกการศึกษาเป็นสองสาย คือ พระเณรที่ใฝ่ใจด้านปริยัติ ต้องการเรียนเป็นมหาเปรียญระดับสูงๆ ขึ้นไป ก็จะส่งต่อไปยังสำนักเรียนที่จังหวัดนครราชสีมา หรือส่งเข้ามาเรียนต่อที่วัดบวรนิเวศ ในกรุงเทพมหานคร
    อีกสายหนึ่ง คือ พระเณรที่สนใจด้านปฏิบัติภาวนาก็จะส่งไปภาวนากับหลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมภรณ์ จ.สกลนคร หรือกับ ท่านหลวงตา พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี เป็นต้น
    นอกจากนี้ก็มีวัดเล็กวัดน้อยที่เป็นวัดสาขา อยู่ในถ้ำ ในป่าในเขา แถบชายแดนด้านสุรินทร์ บุรีรัมย์ และ ศรีสะเกษ อีก ๓๐ – ๔๐ วัด สำหรับพระและฆราวาสที่มุ่งปฏิบัติภาวนาอย่างแท้จริง
    วัดบูรพาราม ซึ่งเป็นวัดหลัก อยู่ในตัวเมืองสุรินทร์ ก็จะคอยดูแล เจือจาน วัดเล็กวัดน้อยเหล่านั้น เพื่อไม่ให้พระเณรต้องกังวลกับการเรี่ยไรบอกบุญต่างๆ ท่านจะได้บำเพ็ญภาวนาอย่างแท้จริง โดยที่ผู้เขียนเองได้ร่วมกับท่านเจ้าคุณพระโพธินันทมุนี (หลวงพ่อสมศักดิ์) จัดตั้งทุนนิธิกัมมัฏฐานหลวงปู่ดูลย์ อตุโล เพื่อสนับสนุนเจือจานวัดเล็กวัดน้อยตามป่าตามเขาแถบชายแดนนั้นเอง
    ตัวอย่างที่ท่านผู้อ่านพอจะทราบกันดี เช่น การที่ผู้เขียนจัดพิมพ์หนังสือ หลวงปู่ฝากไว้ อยู่ตลอดเวลา คือพิมพ์แล้วพิมพ์อีกหลายครั้งก็เป็นการหารายได้เข้าทุนนิธิฯ ดังกล่าวนั่นเอง
    ไหนๆ ผู้พูดเรื่องนี้แล้ว ก็ขออนุญาตตอบคำถามที่หลายท่านสงสัยว่า ทำไมผู้เขียนชอบพาคณะไปทำบุญที่วัดใหญ่ๆ เช่น วัดบูรพาราม สุรินทร์ แทนที่จะไปทำที่วัดยากจน ?
    ความจริงแล้ว วัดเล็กวัดน้อยพวกเราก็ทำ แต่เน้นที่วัดปฏิบัติหรือ วัดป่า สำหรับวัดใหญ่ เช่น วัดบูรพาราม พวกเราไปทำบุญที่วัดเดียวซึ่งเป็นวัดศูนย์กลาง แล้วปัจจัยไทยทานเหล่านั้นจะถูกแบ่งเฉลี่ยแจกจ่ายไปยังวัดเล็กวัดน้อยที่มีความจำเป็นอีกต่อไป แทนที่จะกระจุกหรือจมอยู่ที่เดียว
    อีกประเด็นหนึ่ง ที่คนชอบพูดว่า เขาชอบทำบุญกับคนยากจนมากกว่าทำกับวัดซึ่งรวยแล้ว อันนี้ก็ถือเป็นความชอบส่วนตัวก็เป็นบุญเหมือนกัน ก็น่าอนุโมทนา
    ถ้าผู้เขียนถามว่า ทำไมพวกเขาจึงชอบถวายเงินกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ สมเด็จพระเทพฯ ทั้งๆ ที่พระองค์ก็มีพร้อมแล้ว คำตอบก็คือพระองค์ท่านเป็นเนื้อนาบุญที่ดีอย่างยอดเยี่ยมย่อมบังเกิดผลอย่างมหาศาลนั่นเอง เงินที่พวกเราทูลเกล้าฯ ถวายจะกระจายผลไปสู่ทุกส่วนของประเทศชาติต่อไป
    ฉันใดก็ฉันนั้น ใช่ไหมครับ ?
    ขออภัยที่เขียนโยงออกไปนอกเรื่องเสียไกล คิดว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกันก็แล้วกันนะครับ
    ๕๖
    สิบปีที่ประวัติขาดช่วงไป
    ประวัติของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๔๙-๒๔๕๘ เป็นช่วงเวลาประมาณ ๑๐ ปี ไม่สามารถหาหลักฐานได้ชัดเจน
    จากการศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ผม (นายปฐม) พอจะประมวลเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับหลวงปู่ใหญ่ ได้ดังนี้
    ๑.หลวงปู่ใหญ่ ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดเลียบในเมืองอุบลฯ ประมาณ ๑๐ ปี เริ่มจากปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ถ้านับไป ๑๐ ปี ก็จะเป็นเจ้าอาวาสถึงปี พ.ศ. ๒๔๔๕
    ถ้าดูจากเรื่องราวของเจ้าคุณปู่ของชาวนครพนม คือ พระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) จากตอนที่ผ่านมา ซึ่งเจ้าคุณปู่ ติดตามหลวงปู่ใหญ่ จากนครพนมเมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๔๔๕ มาอยู่รับการศึกษาอบรมที่ วัดเลียบ อุบลราชธานี เป็นเวลา ๔ ปี ก่อนจะกลับไปตั้งวัดธรรมยุตแห่งแรกที่จังหวัดนครพนม
    จึงพอสรุปได้ว่า จากปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ไป หลวงปู่ใหญ่พักจำพรรษาอยู่ที่วัดเลียบ เมืองอุบลฯ อย่างน้อย ๔ ปี ถึง พ.ศ. ๒๔๔๙ ไม่ได้อยู่ในฐานะเจ้าอาวาส แต่เป็นพระผู้ใหญ่ประจำสำนัก และในช่วงนี้ท่านไปๆ มาๆ ระหว่างวัดเลียบ กับ วัดบูรพาราม ในเมืองอุบลฯ และตามปกติ ในช่วงออกพรรษาหลวงปู่ใหญ่ จะพาคณะศิษย์ออกท่องธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ พอใกล้จะเข้าพรรษาก็กลับมาจำพรรษาที่วัดเลียบ
    ๒.การออกธุดงค์กับหลวงปู่มั่นลูกศิษย์ของท่าน พอประมวลได้ว่า เมื่อกลับจากนครพนมมาอยู่ที่เมืองอุบลฯ แล้ว ทั้งสององค์ได้กลับไปพำนักที่ภูหล่นอีกครั้งหนึ่ง แล้วทั้งสององค์ได้พาชาวบ้านหล่อพระพุทธรูปทองสำริด ๒ องค์ หน้าตัก ๗ และ ๙ นิ้ว ไว้ที่บ้านกุดเม็ก องค์ใหญ่แทนหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และองค์เล็กแทนหลวงปู่มั่น ประดิษฐานอยู่คู่กันจนถึงทุกวันนี้
    <table id="table1" align="left" border="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="left">
    ภูผากูด คำชะอี จ.มุกดาหาร
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    หลังจากพำนักที่วัดเลียบระยะหนึ่ง หลวงปู่มั่น ได้แยกเดินธุดงค์ไปทางภาคกลาง แล้วขึ้นเหนือไปในเขตพม่า กลับลงมาส่งสหธรรมิกท่านที่กรุงเทพฯ แล้วไปธุดงค์ที่จังหวัดเลย กลับมาอยู่วัดเลียบระยะหนึ่ง แล้วไปภาวนาที่ถ้ำไผ่ขวาง น้ำตกสาริกา จังหวัดนครนายก บรรลุธรรมขั้นพระอนาคามี จำพรรษาที่กรุงเทพฯ ระยะหนึ่ง แล้วจึงกลับมาอุบลฯ แล้วตามไปจำพรรษาอยู่กับหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ที่ ภูผากูด คำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙
    (จะเสนอรายละเอียดในตอนต่อไป)
    ๓.การออกธุดงค์กับพระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ) ท่านเป็นพระสหธรรมิกรุ่นราวคราวเดียวกัน หลวงปู่ใหญ่ เป็นเจ้าอาวาสวัดเลียบ และ หลวงปู่หนูเป็นเจ้าอาวาสวัดใต้ ซึ่งสองวัดนี้อยู่คนละฟากถนนกัน
    หลวงปูทั้งสององค์ ออกธุดงค์ด้วยกันหลายครั้งทั้งฝั่งไทยและฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง รวมทั้งไปที่นครพนม
    มีช่วงหนึ่ง หลวงปู่ทั้งสององค์ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ พักอยู่ที่วัดปทุมวนาราม ได้รับข่าวว่าพระผู้ใหญ่จะแต่งตั้งหลวงปู่ใหญ่ ให้เป็นเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส และให้หลวงปู่หนู เป็นเจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม แต่หลวงปู่ใหญ่ ท่านไหวตัวทัน หนีออกจากวัดทั้งกลางคืน เดินธุดงค์ไปเรื่อยๆ เลยไม่ถูกจับตัวเป็นเจ้าอาวาส แต่หลวงปู่หนู ท่านหลีกไม่ทัน จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ และครองวัดนี้จนมรณภาพ
    เรื่องของหลวงปู่ใหญ่ มาปรากฏชัดเจนอีกครั้งในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ เมื่อท่านมาพักจำพรรษาที่ภูผากูด คำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ดังจะกล่าวรายละเอียดในตอนต่อไป
    ก่อนจะถึงเรื่องราวที่ภูผากูด จะขอยกการบันทึกเหตุการณ์ของครูบาอาจารย์สององค์ คือ บันทึกของหลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี กับบันทึกของหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร มาเสนอเพื่อทบทวนความจำของพวกเราอีกสัก ๒ ตอนยาวๆ ครับ
    ๕๗
    บันทึกของหลวงปู่เทสก์
    จากตอนที่แล้ว ผมบอกว่าจะนำเสนอบันทึก ๒ ตอนยาวๆ ก่อนจะถึงเรื่องของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ โดยตรง ตอนที่พักอยู่ที่ภูผากูด
    ตอนนี้เป็นบันทึกของหลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี ซึ่งยังไม่ยาว ตอนต่อไปเป็นตอนที่ยาวจริงๆ
    หลวงปู่เทสก์ ได้บันทึกเรื่องราวของหลวงปู่ใหญ่เสาร์กับหลวงปู่มั่น ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๔๙ - ๒๔๕๘ ดังนี้
    ท่านพระอาจารย์เสาร์ และท่านพระอาจารย์มั่น ได้นำพระและเณรที่พระยายศสุนทร (เจ้าเมืองนครพนม) หามาให้ลงไปเมืองอุบลฯ แล้วส่งไปเรียนกรุงเทพฯ ต่อไป ส่วนท่านทั้งสองนั้นอยู่วัดเลียบเรื่อยมา
    ตอนนี้ไม่ทราบว่าท่านอยู่นานเท่าไร ท่านจึงได้ออกเที่ยวอีก แต่ไม่ทราบว่าเที่ยวไปที่ไหนบ้าง ไปคราวนี้ดูจะไป ๓ องค์ด้วยกัน คือท่านอาจารย์มั่น และท่านอาจารย์เสาร์ อาจารย์หนู อีกองค์หนึ่งต่อมาทีหลังเขาเลยจับเป็นสมภารที่วัดสระประทุม (วัดปทุมวนารามที่กรุงเทพฯ นี้เอง จนกระทั่งได้เป็นเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร แล้วกมรณภาพในที่นั้นเอง
    ตอนนี้ไม่ทราบว่าท่านไปเที่ยวที่ไหนบ้าง ได้ทราบแต่ว่าท่านอาจารย์มั่น ไปเที่ยวพม่าพร้อมด้วยท่านเจ้าคุณพระเทพมงคลปัญญาจารย์ (ภายหลังเป็น พระธรรมปาโมกข์ บุญมั่น มนฺตาสโย เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม รูปที่ ๖ ต่อจากพระปัญญาพิศาลเถร - หนู) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดสระประทุมเดี๋ยวนี้ (หมายถึง เมื่อตอนนั้น) กับพระเมืองโขง (ฝั่งประเทศลาว) องค์หนึ่ง ชื่ออะไรจำไม่ได้
    ตอนนี้ท่านเจ้าคุณวิริยังค์ (วัดธรรมมงคล สุขุมวิท ๑๐๑ กรุงเทพฯ ) พูดว่า ท่านหลวงปู่มั่นไปเที่ยวพม่าเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ แล้วกลับจากพระธาตุชะเวดากอง เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า กลับมาจำพรรษาที่มอระแมง (เมืองมะละแหม่ง)
    ออกพรรษากลับมาเมืองไทย ส่งพระอาจารย์ (บุญ) มั่น กลับวัด แล้วเดินธุดงค์ไปจังหวัดเลย ไปจำพรรษาที่ถ้ำผาบิ้ง
    ออกพรรษาแล้วกลับไปพักที่วัดเลียบ เมืองอุบลราชธานี เกิดภาพนิมิตหลายเรื่องหลายอย่าง กำหนดให้คนตายเต็มวัดทั้งวัดก็ได้ ขึ้นไปบนชั้นฟ้าสวรรค์ เห็นวิมานปราสาทเหลือที่จะคณานับ แล้วกลับลงไปเล่าให้ท่านอาจารย์เสาร์ฟัง ท่านก็บอกว่า ผมไม่เป็นอย่างนั้น ไม่ทราบว่าจะพูดอย่างไร
    พ ศ. ๒๔๕๕ ท่าน (หลวงปู่มั่น) ออกธุดงค์ไปคนเดียว เดินด้วยเท้าเปล่า มาอยู่ถ้ำไผ่ขวาง ลพบุรี และได้จำพรรษาที่ถ้ำสาริกา น้ำตกนครนายก จนเกิดความรู้ในธรรมชัดเจนขึ้นในใจ อันเป็นเหตุให้กล้าหาญจะออกเผยแพร่ธรรมต่อไป
    ตอนนี้เจ้าคุณวิริยังค์ไม่ได้พูด แต่ท่านเล่าให้ผู้เขียน (หลวงปู่เทสก์) ฟังว่า ขณะที่อยู่ถ้ำไผ่ขวาง นั้นปรากฏเห็นท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ นั่งหันหน้า ไปทางทิศตะวันออก อยู่ที่วัดบรมนิวาส กำลังพิจารณาปฏิจจสมุปปบาทอยู่ ท่านเกิดสงสัย แล้วกำหนดเวลา วันที่เท่านั้น เดือนที่เท่านั้น เมื่อเข้ามากรุงเทพฯ จึงเรียนถามท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ท่านก็ตอบว่า เป็นอย่างนั้นจริง เจ้าคุณอุบาลีฯ ได้พูดในที่ประชุมว่า ท่านมั่นเป็นกัลยาณมิตร ควรสมาคม
    พ.ศ. ๒๔๕๔ จวนเข้าพรรษา (หลวงปู่มั่น) เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี ไปลพบุรี พักที่ถ้ำสิงโต เขาช่องลม (ปัจจุบันเรียกว่า เขาพระงาม) จำพรรษาที่นี่
    พ.ศ. ๒๔๕๗ เจ้าคุณอุบาลีฯ นิมนต์ (หลวงปู่มั่น) ไปจำพรรษาที่วัดสระประทุม (วัดปทุมวนาราม) กรุงเทพฯ
    พ ศ ๒๔๕๘ ดำริถึงหมู่คณะว่า สมควรจะสอนธรรมต่างๆ ที่ได้รู้เห็นมา แล้วจึงลาเจ้าคุณอุบาลีฯ กลับไปจำพรรษาที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลฯ กับ อาจารย์สีทา (ชยเสโน) ซึ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์ของท่าน ปีนี้พรรษาท่าน (หลวงปู่มั่น) ได้ ๒๕ ปี
    ตอนนี้ท่านอาจารย์สิงห์ (ขนฺตยาคโม)ซึ่งขณะนั้นเป็นครูโรงเรียนอยู่ และมหาปิ่น (ปญฺญาพโล) น้องชายของท่านอีกองค์หนึ่ง ได้ข่าวก็เข้าไปศึกษา เกิดศรัทธาเลื่อมใส ลาออกจากครูโรงเรียน แล้วติดตามท่าน (หลวงปู่มั่น)ไป ส่วนท่านมหาปิ่นน้องชายนั้น ขอลาไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ เสียก่อน แล้วจะตามไปทีหลัง
    ส่วนท่านอาจารย์มั่น และท่านอาจารย์เสาร์ ได้ออกเที่ยวธุดงค์ไปทางอำเภอหนองสูง จังหวัดนครพนม โดยมีท่านอาจารย์สิงห์ติดตามไปด้วย และยังมีอีกคนหนึ่งที่สึกแล้วชื่อหนู ติดตามไปอีกด้วย
    พอไปถึงอำเภอหนองสูง คำชะอี ท่านอาจารย์สิงห์ เป็นไข้ป่าอย่างหนัก จนญาติพี่น้องของท่านให้หามกลับคืนมา (เมืองอุบลฯ)
    ท่านอาจารย์เสาร์ ไปถึงอำเภอหนองสูง คำชะอี แล้ว ก็ตั้งสำนักอยู่ ณ ที่นั้น ตอนนี้ไม่ทราบว่า ท่านอาจารย์มั่น จำพรรษาอยู่ที่ไหน แต่เข้าใจว่าอยู่ในบริเวณเดียวกัน
    ก็จบบันทึกของหลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี แล้วก็ไปต่อกับตอนพำนักที่ถ้ำจำปา ภูผากูด ข้ามตอนยาวๆ ไปอีกตอน
    ตอนต่อไปเป็นบันทึกของ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร เป็นเรื่องราวของ หลวงปู่มั่น ในช่วง ๑๐ ปี ที่แยกจากหลวงปู่เสาร์ แล้วไปต่อกับตอนถัดไปคือ พำนักที่ถ้ำจำปา ภูผากูด ดังที่กล่าวมาแล้ว
    ตอนต่อไปนี้เป็นตอนที่ยาวที่สุด มีหลายสิบหน้าผมไม่อยากตัดออก ขอนำเสนอเต็มๆ เลย ทนอ่านสักหน่อยก็แล้วกันนะครับ
    <table id="table9" border="0" width="459"> <tbody><tr> <td align="center"> [​IMG]</td> <td align="center"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="center"> วัดถ้ำจำปากันตสีลาวาส อ หนองสูง จ มุกดาหาร
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๕๘
    ช่วงสิบปีที่หลวงปู่มั่นแยกไปบำเพ็ญเพียร
    เรื่องราวในส่วนนี้สรุปย่อมาจากบันทึกของหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร วัดธรรมมงคล สุขุมวิท ๑๐๑ พระโขนง กรุงเทพฯ
    หลวงพ่อวิริยังค์ได้ติดตามอาจารย์ของท่าน คือ หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ ไปกราบหลวงปู่มั่นที่วัดป่าบ้านหนองผือ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร และมีโอกาสถวายอุปัฏฐากหลวงปู่มั่น ๓ - ๔ ปี ได้ฟังเรื่องราวต่างๆ จากปากของหลวงปู่มั่น โดยตรง
    บันทึกที่เป็นเรื่องราวช่วง ๑๐ ปีดังกล่าว มีความยาวมากกว่า ๖๐ หน้า ผมขอนำเสนอ ณ ที่นี้อย่างย่นย่อที่สุดดังต่อไปนี้ ครับ -
    ... จากนครพนมในครั้งนั้น หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้พาหลวงปู่มั่น และคณะศิษย์เดินธุดงค์กลับมายังจังหวัดอุบลราชธานีแล้วพักอยู่ที่วัดเลียบเช่นเดิม
    ในส่วนขององค์หลวงปู่มั่น ท่านพักที่วัดเลียบ อยู่ระยะหนึ่ง แล้วกราบลาหลวงปู่ใหญ่ ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ได้พบกับพระองค์หนึ่ง ชื่อ มั่น เหมือนกับท่าน (จากข้อมูลที่สืบค้นได้ พบว่า พระมั่น องค์นี้ก็คือหลวงปู่บุญมั่น มนฺตาสโย เป็นเจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม รูปที่ ๖ สมณศักดิ์ครั้งสุดท้ายเป็นเจ้าคุณชั้นธรรมที่พระธรรมปาโมกข์)
    หลวงปู่มั่น กับหลวงปู่บุญมั่น ออกธุดงค์เดินทางด้วยเท้าข้ามป่าเขาหลายแห่งไปจนถึงเขตประเทศพม่า ตั้งใจแสวงหาความวิเวกไปเรื่อยๆ โดยไม่สนใจว่าเป็นเขตประเทศอะไร พอพบสถานที่เหมาะก็ปักกลดบำเพ็ญภาวนา พอเริ่มรู้สึกคุ้นกับสถานที่ คุ้นกับญาติโยมก็ต้องย้ายไปที่ใหม่ เพื่อไม่ให้ติดสถานที่ ไม่ให้ติดญาติโยม และที่สำคัญคือไม่ให้ติดความสุขอันเป็นอุปสรรคขัดขวางการปฏิบัติไปสู่ความหลุดพ้น
    หลวงปู่มั่นบอกว่า ชาวพม่าที่ท่านพบล้วนมีศรัทธาต่อศาสนามาก ให้ความอนุเคราะห์ต่อพระสงฆ์เป็นอย่างดี แต่พูดกันไม่รู้เรื่อง ซึ่งท่านเห็นว่าเป็นการดีที่ไม่ต้องพูดกันให้มีเรื่องกวนใจ สามารถปฏิบัติภาวนาได้เต็มที่
    หลวงปู่ทั้งสอง ได้พำนักในที่ต่างๆ เป็นการชั่วคราวเพื่อฉลองศรัทธาชาวบ้าน ท่านไม่คิดจะอยู่ที่ใดเป็นเวลานานๆ เพราะท่าน “ไม่ได้มาเพื่อเอาคน แต่มาเพื่อหาทางพ้นทุกข์”
    ช่วงนี้หลวงปู่มั่น ยังไม่ได้สอนธรรมะให้แกใคร เพราะท่าน “ต้องการความหลุดพ้นของตนก่อน ถ้าตนหลุดพ้นแล้วจึงจะช่วยให้คนอื่นหลุดพ้นตามได้” ท่านจึงมุ่งปฏิวัติอย่างเดียวโดยไม่สนใจใครทั้งนั้น
    ในท่ามกลางป่าเขา สัตว์ป่า เช่น เสือ ช้าง งูจงอาง หมี วัว กระทิง มีชุกชุม ท่านรู้สึกเคยชินกับพวกสัตว์เหล่านั้น “แม้จะเดินสวนทางผ่านกันไป ต่างก็ทำเหมือนไม่รู้ไม่ชี้ซึ่งกันและกัน”
    หลวงปู่ทั้งสององค์ ได้พักจำพรรษาที่สำนักสงฆ์แห่งหนึ่งอยู่บนภูเขาในเขตเมืองมะละแหม่ง ซึ่งมีพระพม่าอยู่เพียงองค์เดียว การปฏิบัติทางจิตมีความก้าวหน้าพอสมควร
    ออกพรรษาแล้ว หลวงปู่มั่น กับหลวงปู่บุญมั่น ก็เดินทางกลับประเทศไทย ท่านเดินทางด้วยเท้าไปส่งหลวงปู่บุญมั่น ที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ พักอยู่ที่นั่นระยะหนึ่ง แล้วหลวงปู่มั่น ก็ออกเดินธุดงค์ต่อไปเพียงลำพังองค์เดียว มุ่งสู่จังหวัดเลย ไปพำนักบำเพ็ญเพียรที่ถ้ำผาบิ้ง อำเภอวังสะพุง (ต่อมาภายหลัง หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ได้ไปสร้างเป็นวัด ชื่อ วัดถ้ำผาบิ้ง ในปัจจุบันนี้)
    การอยู่ภาวนาที่ถ้ำผาบิ้ง แต่องค์เดียว “เป็นการทำความเพียรที่ได้ผลมาก แต่ก็ยังไม่ได้ปัญญาเป็นที่แน่ใจได้เลย”
    หลวงปู่มั่น เล่าว่า “แม้ผ่านการปฏิบัติมาอย่างทุรกันดาร จิตได้รับความสงบถึงที่สุดแล้ว วิเวกถึงที่สุดแล้ว นั่งสมาธิถึงที่สุดแล้ว อยู่ถ้ำมาก็ถึงที่สุดแล้ว แต่ความสงสัยก็ยังไม่สิ้นไปเสียที”
    อยู่ถ้ำผาบิ้ง นานพอสมควร หลวงปู่มั่น ก็เดินทางกลับวัดเลียบ เมืองอุบลราชธานี สำนักของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ พระอาจารย์ของท่าน
    เมื่อหลวงปู่มั่น ท่านมาอยู่กับหลวงปู่ใหญ่เสาร์ เมื่อใดก็ตามหลวงปู่มั่น จะทำตัวประหนึ่งพระบวชใหม่ ดูแลหลวงปู่ใหญ่ทุกอย่างด้วยความเคารพ นับตั้งแต่ล้างบาตร เทกระโถน ปูอาสนะ ถวายน้ำอาบ บีบนวด และอุปัฏฐากทุกอย่าง ซึ่งท่านทำอย่างเสมอต้นเสมอปลายจนรู้สึกว่าอาจารย์และศิษย์คู่นี้มีความ ผูกพันกันอย่างมากและนี่ก็เป็นต้นแบบที่ศิษย์สายกรรมฐานปฏิบัติต่อครู อาจารย์ของตน สืบต่อมาจนปัจจุบัน
    ที่วัดเลียบ เมืองอุบลฯ หลวงปู่มั่น ได้เพียรปฏิบัติภาวนาอย่างไม่ลดละ การดำเนินชีวิตของท่านมีความก้าวหน้าโดยลำดับ มีนิมิตสำคัญที่น่าสนใจ ๒ ครั้ง
    ครั้งที่หนึ่ง หลวงปู่มั่น เล่าว่า คืนหนึ่ง “เราได้หลับไปแล้ว แต่การหลับของเราในขณะนั้นเหมือนจะตื่น เพราะต้องกำหนดจิตให้มีสติไว้เสมอ”
    ท่านรู้สึกว่าฝันไป (สุบินนิมิต) ว่าเดินออกจากบ้านเข้าสู่ป่าที่รกชัฏ พบต้นไม้ใหญ่ ชื่อ ต้นชาด ถูกโค่นล้มอยู่กับพื้น กิ่งก้านผุพังหมดแล้ว ท่านขึ้นไปยืนบนขอนต้นชาด มองเห็นทุ่งกว้างอยู่เบื้องหน้า แล้วมีม้าขาววิ่งมาหยุดอยู่ใกล้ๆ ท่านขึ้นไปนั่งบนหลัง แล้วม้าก็วิ่งผ่านทุ่งไปจนสุด พบตู้พระไตรปิฎกตั้งตระหง่านอยู่ ท่านไม่ได้เปิดดู แล้วก็รู้สึกตัวตื่น
     
  20. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ท่านได้ทบทวนเรื่องที่ฝัน เกิดความรู้สึกมั่นใจในการปฏิบัติภาวนาของท่าน ภายหลัง ท่านเล่าคำทำนายฝันให้ฟังว่า ที่ออกจากบ้าน ก็คือออกจากเพศฆราวาส ไปพบป่ารกชัฏ แสดงว่ายังไปไม่ถูกทางจริงจึงต้องลำบากหนัก ที่ท่านขึ้นไปยืนบนขอนชาดที่ผุพังแล้ว แสดงว่าชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของท่าน เหมือนขอนชาดย่อมไม่สามารถงอกขยายพืชพันธุ์ต่อไปได้ ท่านต้องแสวงหาต่อไป ทุ่งโล่ง หมายถึงแนวทางที่ถูกต้อง เป็นทางที่ไม่ลำบากนัก การได้ขี่ม้าขาว หมายถึงการเดินทางไปสู่ความบริสุทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว การพบตู้พระไตรปิฎกแต่ก็ได้เปิดดู ก็คือท่านคงมิได้ถึง ปฏิสัมภิทาญาณ ถ้าได้เปิดดูก็คงจะแตกฉานกว่านี้ ท่านเพียงได้ความรู้ถึงปฏิสัมภิทานุศาสตร์ สามารถสอนผู้อื่นได้เพียงบางส่วนเท่านั้น
    ขณะอยู่ที่วัดเลียบ หลวงปู่มั่นได้เร่งความเพียรหนักขึ้น ได้เปลี่ยนวิธีการ คือ พอจิตดำเนินถึงขั้นสงบนิ่งแล้ว แต่ไม่หยุดที่ความสงบนิ่งเหมือนแต่ก่อน ยกกายขึ้นพิจารณา เรียก กายคตาสติ โดยกำหนดจิตเข้าสู่กายทุกส่วน ทั้งยืน เดินนั่ง นอนให้จิตจดจ่อที่กายตลอดเวลา พิจารณาให้เป็นอสุภะ จนเกิดความเบื่อหน่ายในจิต (นิพพิทาญาณ) บางครั้งขณะเดินจงกรมอยู่ ปรากฏเดินลอยอยู่ท่ามกลางซากศพก็มี เหตุการณ์ เช่นนี้ ปรากฏขึ้นเป็นเดือน ท่านว่า ปรากฏปัญญาขึ้นบ้าง ไม่เหมือนตอนทำจิตให้สงบอยู่อย่างเดียว เหมือนที่ผ่านมา ซึ่งได้แต่ความสุข ความอิ่มใจเฉยๆ ไม่เกิดปัญญา ยิ่งกว่านั้นยังเกิดความหวั่นไหวไปตามอารมณ์กิเลสอยู่ แต่การปฏิบัติคราวหลังนี้ ความรู้สึกหวั่นไหวได้ชะงักลง จึงปลงใจว่าน่าจะไปถูกทาง
    นิมิตครั้งที่สอง เกิดจากการปฏิบัติภาวนา เห็นนิมิตในสมาธิเกิดต่อเนื่องขึ้นไปเป็นลำดับ เกิดอยู่นานถึง ๓ เดือน
    หลวงปู่มั่น เล่าว่า วันหนึ่งเกิดนิมิตในสมาธิว่า เห็นคนตายนอนอยู่ห่างจากตัวท่านราว ๑ ศอก มีสุนัขกำลังกัดทึ้งดึงไส้ออกมาเคี้ยวกินอยู่ ท่านกำหนดจิตพิจารณาดูซากศพทุกส่วน กำหนดขยายส่วนต่างๆ ขึ้นพิจารณาจนเห็นเด่นชัด สามารถกำหนดขยายให้ใหญ่ขึ้นหรือย่อให้เล็กลงได้ตามต้องการ (ปฏิภาคนิมิต) ยิ่งพิจารณาไปจิตก็ยิ่งสว่างไสว ปรากฏเป็นดวงแก้วขึ้นมา แล้วทิ้งการกำหนดอสุภะ มากำหนดเอาเฉพาะดวงแก้วเป็นอารมณ์
    วาระต่อไป ได้ปรากฏนิมิตเป็นภูเขาสูงอยู่ข้างหน้า ท่านกำหนดจิตขึ้นไปดู เห็นมี ๕ ชั้น เดินขึ้นไปจนถึงชั้นที่ ๕ พบบันได้แก้ว แล้วหยุดอยู่ที่นั่น ไปต่อไม่ได้จึงเดินทางกลับ ท่านได้พบว่าตัวท่านได้สะพายดาบและรองเท้าวิเศษไปด้วยทุกครั้งที่เกิดนิมิตเช่นนั้น
    ในครั้งต่อไป เมื่อทำสมาธิ ก็เกิดนิมิตและดำเนินไปเหมือนเดิมแต่ไปได้ไกลกว่าเดิม พบเห็นสิ่งต่างๆ มากขึ้น มีอยู่ครั้งหนึ่ง ได้เดินสวนทางกับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท วัดบรมนิวาส) ท่านเจ้าคุณฯเปล่งเป็พาษาบาลีว่า “อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค” แล้วก็เดินต่อไป
    นิมิตในสมาธิเช่นนี้ เกิดเหตุการณ์ต่อเนื่องกันไปนานถึง ๓ เดือน จนในที่สุดไม่มีนิมิตอะไรต่อไปอีกแล้ว มีแต่ความสุขสงบเหลือที่จะประมาณได้ จนท่านเองสำคัญว่า “ตนของตนถึงความบริสุทธิ์แน่จริง หมดจากกิเลสแล้ว”
    ยังครับ ! อย่าเพิ่งดีใจ !
    หลวงปู่มั่น ได้ยกประสบการณ์ในครั้งนั้นมาเป็นตัวอย่างสั่งสอนศิษย์ว่า “ระวัง อย่าได้หลงในนิมิตเช่นนั้น เพราะมันวิเศษจริงๆ ผู้ปฏิบัติทางจิตชอบจะมาติดอยู่เพียงแค่นี้ แล้วสำคัญตนผิด... เราเองก็เป็นมาแล้ว และมันก็น่าจะหลงใหลเพราะเป็นสิ่งอัศจรรย์มาก ที่เรียกว่าวิปัสสนูปกิเลสก็คือความเป็นเช่นนี้”
    (ไปเที่ยวนรก เที่ยวสวรรค์ ไปกราบเจดีย์พระเกศแก้วจุฬามณี หรือแม้กระทั่งไปท่องในแดนนิพพาน ก็ตาม กิเลสหาได้หมดลงไม่ รู้สึกมีความสุขจริง ได้เห็นจริง...แต่ สิ่งที่เห็นนั้นไม่จริง นั่งเมื่อไรก็จะไปดูสวรรค์ แล้วตรงไหนจะเป็นการละวาง ละครับท่าน ? - ปฐม)
    หลังจากที่หลวงปู่มั่น รู้ตัวว่าหลงไปตามนิมิตต่างๆ แล้วท่านกลับมากำหนด กายคตาสติ จิตได้เข้าถึงฐาน ปรากฏว่าได้เลิกหนังของตนออกหมด แล้วแหวะในกาย พิจารณาทบทวนในร่างกายอย่างละเอียด แล้วพักจิต (ไม่ใช่พิจารณาไปเรื่อยโดยไม่พัก ภาษาพระท่านว่า เดินจิต แล้ว พักจิต สลับกันไป เดินจิตอย่างเดียวจิตอ่อนพลังแล้วฟุ้งซ่าน พักจิต นานไปก็ติดสุข เป็นการเข้าฌานเหมือนฤๅษีชีไพรไป - ปฐม)
    ขณะที่พักจิตก็รู้ว่าปัญญาได้เกิดขึ้นพอควร มีอาการไม่ตื่นเต้นไม่หวั่นไหว จึงได้เปล่งอุทานว่า :-
    “นี่แหละจึงจัดว่ารวมถูก เพราะไม่ใช่จิตสงบแล้วก็อยู่เฉย ที่สงบนั้นต้องสงบแล้วพิจารณาอยู่ในกัมมัฏฐานคือ อยู่ในการพิจารณาตัวทุกข์ และให้เห็นตัวทุกข์อยู่ จึงจะได้ชื่อว่าดำเนินจิตอยู่ในองค์มรรค...ฯลฯ... เราจะต้องตรวจค้นให้รู้จริงเห็นจริงอยู่ที่กายกับจิตเท่านั้น จึงจะถูกอริยมรรคปฏิปทา”
    หลวงปู่มั่น เล่าว่า มีครั้งหนึ่ง ปรากฏในนิมิตว่าร่างกายของท่านแตกออกเป็น ๒ ภาค ท่านกำหนดจิตให้นิ่งจนเกิดความสังเวชสลดใจ เห็นทุกข์ของการเวียนว่ายตายเกิด จึงถือเอาหลักที่ทำมาเป็นการเริ่มต้น เพราะมั่นใจว่าปฏิบัติถูกต้องเป็นทางดำเนินจิตของท่านต่อไป
    ไปภาวนาที่ถ้ำไผ่ขวาง น้ำตกสาริกา นครนายก
    การปฏิบัติภาวนาในช่วงที่อยู่วัดเลียบ เมืองอุบลฯ แม้จะก้าวหน้าไปโดยลำดับ แต่หลวงปู่มั่น ตระหนักว่า “ยังไปได้ไม่ไกลเท่าไร” ท่านจึงได้กราบลาหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ออกธุดงค์เข้าป่าเพียงลำพังองค์เดียว ไปทางนครราชสีมา แสวงวิเวกไปเรื่อยๆ จนถึงบริเวณน้ำตกสาริกา จังหวัดนครนายก เป็นป่าทึบเต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์ เป็นสถานที่น่าประหลาดสำหรับพระธุดงค์
    หลวงปู่มั่น มุ่งหน้าสู่ถ้ำไผ่ขวาง ชาวบ้านได้ทัดทานไว้เนื่องจากมีพระธุดงค์ไปมรณภาพที่ถ้ำแห่งนั้นถึง ๖ องค์แล้ว แต่หลวงปู่ตอบชาวบ้านว่า “ขอให้อาตมาเป็นองค์ที่ ๗ ก็แล้วกัน”
    หลวงปู่มั่น ศิษย์เอกของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ท่านมีความเด็ดเดี่ยว ปฏิบัติธรรมแบบมุ่งมั่นไม่กลัวตาย หากแต่กลัวกิเลสที่ย่ำยีจิตใจทำให้รุ่มร้อนมากกว่า
    ถ้ำแห่งนั้นเป็นถ้ำที่ไม่ใหญ่โตนัก มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมหนาแน่น บรรยากาศน่าสะพรึงกลัว ยิ่งตอนพลบค่ำยิ่งวังเวง แต่หลวงปู่ท่านเคยชินกับสภาพเช่นนั้นมากแล้ว จึงไม่มีอะไรทำจิตของท่านหวั่นไหวได้
    หลังจากจัดแจงสถานที่และเดินดูรอบๆ บริเวณแล้ว พอค่ำลงสนิท ท่านก็เริ่มบำเพ็ญภาวนาโดยนั่งสมาธิตลอดคืน ปรากฏว่าในจิตเกิดสว่างไสวอย่างประหลาด นับเป็นนิมิตที่ดียิ่ง
    รุ่งเช้า หลวงปู่มั่น ก็ออกบิณฑบาตที่หมู่บ้านชาวไร่นั้น หลังจากฉันแล้ว ท่านก็พักผ่อนไปสักหนึ่งชั่วโมง พอลุกขึ้นรู้สึกตัวหนักไปหมด หนำซ้ำเกิดท้องร่วงอย่างแรง เมื่อสังเกตดูอุจจาระ พบว่า อาหารที่ฉันเข้าไปไม่ย่อยเลย ข้าวสุกยังเป็นเม็ด อาหารที่รับเข้าไปยังอยู่ในสภาพเดิม ท่านจึงเข้าใจว่าพระธุดงค์องค์ก่อนๆ ที่มรณภาพไปก็คงเป็นเพราะเหตุนี้ ได้รำพึงกับองค์ท่านเองว่า “เราเองก็เห็นจะตายแน่เหมือนพระเหล่านั้น”
    หลวงปู่มั่น ได้หาที่ที่น่าหวาดเสียวที่สุด เห็นว่าริมปากเหวเหมาะที่สุดที่จะนั่งบำเพ็ญเพียร ท่านตั้งใจแน่วแน่ว่า “หากจะตายขอตายตรงนี้ ขอให้ร่างกายหล่นลงไปในเหวนี้ จะได้ไม่ต้องเป็นที่วุ่นวายเดือดร้อนแก่ใครๆ ”
    ตั้งแต่บัดนั้น หลวงปู่มั่น ได้ตั้งปณิธานแน่วแน่ว่า “ถ้าไม่รู้แจ้งเห็นจริงในธรรม ก็จะไม่ลุกจากที่นั่งนี้เป็นอันขาด”
    หลวงปู่ได้นั่งสมาธิอยู่ ณ จุดนั้นติดต่อกันเป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืนโดยไม่ขยับเขยื้อนและไม่ลืมตาเลย
    หลวงปู่ เริ่มกำหนดจิตต่อจากที่เคยดำเนินการครั้งหลังสุด ได้เกิดการสว่างไสวดุจกลางวัน ความผ่องใสของจิตสามารถเห็นทุกสิ่งทุกอย่างตามต้องการ แม้จะกำหนดดูเม็ดทรายก็เห็นได้อย่างชัดเจนทุกเม็ด แม้จะพิจารณาดูทุกอย่างที่ผ่านมา ก็แจ้งประจักษ์ขึ้นในปัจจุบันหมด
    ในขณะที่จิตของท่านดำเนินไปอย่างได้ผล ก็ปรากฏเห็นเป็นลูกสุนัขกำลังกินนมแม่ ท่านพิจารณาใคร่ครวญดู ว่าทำไมจึงเกิดมีนิมิตมาปน ทั้งๆ ที่จิตของท่านเลยขั้นที่จะนิมิตแล้ว เมื่อกำหนดจิตพิจารณาก็เกิดญาณรู้ขึ้นว่า “ลูกสุนัขนั้นก็คือตัวเราเอง เราเคยเกิดเป็นสุนัขอยู่ตรงนี้มานับอัตภาพไม่ถ้วน เวียนเกิดเวียนตายเป็นสุนัขอยู่หลายชาติ ”
    เมื่อพิจารณาโดยละเอียดได้ความว่า [B][COLOR=navy]ภพ[/COLOR][/B] คือความยินดีในอัตภาพของตน สุนัขก็ยินดีในอัตภาพของมัน จึงต้องเวียนอยู่ในภพของมันตลอดไป
    เมื่อหลวงปู่มั่น ทราบความเป็นไปในอดีตชาติของท่านก็ได้ถึงความสลดจิตเป็นอย่างมาก
    ความสว่างไสวในจิตของท่านยังคงเจิดจ้าอยู่ แต่ทำไมยังมีการห่วงหน้าพะวงหลังอยู่ ไม่สามารถพิจารณาธรรมให้ยิ่งขึ้นไปได้ เมื่อตรวจสอบดูก็พบความจริงที่ท่านไม่เคยทราบมาก่อน นั่นคือ [FONT=Cordia New]“[B][COLOR=navy]การปรารถนาพระสัมมาสัมโพธิญาณ[/COLOR][/B]” ของท่าน โอ ! แล้วจะต้องเวียนตายเวียนเกิดไปอีกกี่หมื่นกี่แสนชาติ จึงจะถึง คิว ได้เป็นพระพุทธเจ้าสมความปรารถนา[/FONT]
    [FONT=Cordia New]หลวงปู่มั่น ได้ย้อนพิจารณาถึงภพชาติในอดีตปรากฏว่า ท่านเคยมีตำแหน่งเป็นเสนาบดีเมืองกุรุรัฐ (กรุงเดลฮี ในปัจจุบัน) พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดชาวกุรุรัฐ พระองค์ทรงแสดงมหาสติปัฏฐานสูตร หลวงปู่ในชาตินั้นก็ได้เจริญสติปัฏฐาน แล้วยกจิตขึ้นอธิษฐานว่า [/FONT] [FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]“ขอให้ข้าพเจ้าได้เป็นพระพุทธเจ้าเช่นพระองค์เถิด”[/FONT][/FONT]
    [FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]ได้ความว่า หลวงปู่มั่นได้ปรารภโพธิญาณมาตั้งแต่บัดนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านต้องชะงักในการพิจารณาอริยสัจเพื่อทำจิตให้หลุดพ้นได้ ต้องสร้างบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ไปอีกชั่วกัปชั่วกัลป์ ถ้าไม่ปล่อยวางความปรารถนานั้น[/FONT]
    [/FONT][FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]หลวงปู่มั่น ยังเห็นต่อไปอีกว่า หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี เคยเป็นหลานชายของท่านในชาติที่เป็นเสนาบดีเมืองกุรุรัฐ นั้น ภายหลังเมื่อหลวงปู่เทสก์ตามท่านไปอยู่ที่เชียงใหม่ หลวงปู่เคยบอกหลวงปู่เทสก์ว่า [/FONT] [/FONT] [FONT=Tahoma] [FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]“เธอเคยเกิดเป็นหลานเราที่กรุงกุรุรัฐ ฉะนั้น เธอจึงดื้อดึงไม่ค่อยจะฟังเรา และสนิทสนมกับเรายิ่งกว่าใคร”[/FONT][/FONT][/FONT]
    [FONT=Tahoma][FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]ต่อจากนั้น หลวงปู่มั่น ได้ระลึกถึง หลวงปู่ใหญ่เสาร์ พระอาจารย์ของท่าน ก็ปรากฏว่า หลวงปู่ใหญ่ก็ได้เคยปรารถนาเป็นพระปัจเจกโพธิญาณ (พระปัจเจกพุทธเจ้า) จึงไม่สามารถที่จะกระตือรือร้น ที่จะทำจิตให้ถึงที่วิมุตติได้[/FONT]
    [FONT=Cordia New] หลวงปู่มั่นตั้งใจไว้ว่าจะต้องหาโอกาสไปกราบอาราธนาให้หลวงปู่ใหญ่เสาร์ได้ละวางความปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าในชาตินี้ให้ได้ นี่คือความกตัญญูส่วนหนึ่งของท่าน[/FONT]
    [FONT=Cordia New]หลังจากที่ได้ใคร่ครวญสิ่งต่างๆ แล้ว หลวงปู่มั่น รู้สึกสลดใจที่เคยเกิดเป็นสุนัขนับอัตภาพไม่ถ้วน และยังจะต้องเวียนวายตายเกิดเพื่อสร้างบารมีต่อไปอีกนานแสนนาน ท่านจึงได้อธิษฐานจิตหยุดการปรารถนาพระโพธิญาณ ตั้งใจแน่วแน่ที่จะขอบรรลุธรรมในชาติปัจจุบัน[/FONT]
    [FONT=Cordia New]ต่อจากนั้น หลวงปู่มั่น ได้พิจารณาธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ จึงระลึกได้ว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ที่ทรงแสดงในปฐมเทศนาเป็นทางบรรลุที่แท้จริง พระองค์ทรงแสดงจากความเป็นจริงที่พระองค์ได้ทรงรู้ แล้วนำออกแสดงโปรดพระปัญจวัคคีย์ ทรงแสดงถึง อริยสัจ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และทรงย้ำว่า[/FONT]
    [/FONT][FONT=Tahoma][B] [COLOR=navy][FONT=Cordia New]ปริเญยฺยนฺ เม ภิกฺขเว[/FONT][/COLOR][/B][/FONT][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][FONT=Cordia New] ทุกข์พึงกำหนดรู้ [B][COLOR=navy]ปริญาตนฺ เม ภิกฺขเว[/COLOR][/B] เราได้กำหนดรู้แล้ว [B][COLOR=navy]ปหาตพฺพนฺติ เม ภิกฺขเว[/COLOR][/B] สมุทัยควรละ [B][COLOR=navy]ปหีนนฺติ เม ภิกฺขเว[/COLOR][/B] เราได้ละแล้ว [B][COLOR=navy]สทฺฉกาตพฺพนฺติ เม ภิกฺขเว[/COLOR][/B] นิโรธควรทำให้แจ้ง เราทำให้แจ้งแล้ว [B][COLOR=navy]ภาเวตพฺพนฺติ เม ภิกฺขเว[/COLOR][/B] มรรคควรเจริญให้มาก [B][COLOR=navy]ภาวิตนฺติ เม ภิกฺขเว[/COLOR][/B] เราก็เจริญให้มากแล้ว[/FONT][/FONT][/FONT]
    [FONT=Tahoma][FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New] เมื่อได้ระลึกถึงธรรมะอันเป็นหัวใจของพระธัมมจักกัปปวัตนสูตรคือ อริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ ควรกำหนดรู้ สมุทัย ควรละ นิโรธควรทำให้แจ้ง และ มรรค ควรเจริญให้มาก ดังนี้แล้ว หลวงปู่มั่นก็ได้พิจารณาอริยสัจไปตามลำดับ[/FONT]
    [FONT=Cordia New]หลวงปู่ได้พิจารณากายคตาสติ โดยยกเอาการระลึกชาติที่เกิดเป็นสุนัขมาเป็นตัวทุกข์ จนกระทั่งเกิดความแจ่มแจ้งขึ้นในจิต กลายเป็นญาณ คือ การหยั่งรู้ที่เกิดจากการดำเนินทางจิตจนพอเพียงแก่ความต้องการ (อิ่มตัว) ไม่ใช่เกิดจากการนึกเอาคิดเอา หรือน้อมเอาเพื่อให้เป็นไป แต่เกิดจากการพิจารณาโดยความเป็นจริงแห่งกำลังของจิตที่ได้รับการฝึกอบรมมาพอแล้ว[/FONT]
    [FONT=Cordia New](ตัวอย่างเช่น ผลไม้ มันจะต้องพอแก่ความต้องการของมันจึงจะสุกได้ ไม่ใช่นึกเอาคิดเอา หรือ ข้าว จะสุกได้ก็ต้องได้รับความร้อนที่พอแก่ความต้องการของมัน)[/FONT]
    [/FONT][FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]ในการพิจารณากาย ที่เป็นตัวทุกข์ก็เช่นกัน กว่าจะกลับกลายเป็นญาณ ขึ้นมาได้ ก็ต้องอาศัยการพิจารณาทางจิต จนเพียงพอแก่ความต้องการ คือ อิ่มตัวในแต่ละครั้ง จะเกิดเป็นนิพพิทาญาณ คือความเบื่อหน่าย จะตั้งอยู่ในใจได้ ก็เมื่อการพิจารณากายได้เห็นชัดด้วยความสามารถแห่งพลังจิต... [/FONT] [/FONT] [FONT=Tahoma] [FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]“การพิจารณาทุกข์เป็นเหตุให้เกิด นิพพิทาญาณ ถ้าเกิดความเพียงพอแห่งกำลังเข้าเมื่อใด ญาณนั้นจึงจะเป็นกำลังตัดกิเลสได้”[/FONT][/FONT][/FONT]
    [FONT=Tahoma][FONT=Tahoma] [/FONT][FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]โดยย่นย่อ หลวงปู่มั่นได้พิจารณาอริยสัจ ๔ จนเกิดญาณรู้แจ้งขึ้นในจิตโดยลำดับ ในวาระสุดท้าย หลวงปู่ได้กำหนดทบทวนกระแสจิตกลับมาหา [B][COLOR=navy]ฐีติภูตํ[/COLOR][/B] คือ ที่ตั้งของจิต จนปรากฏตัว [/FONT] [/FONT] [FONT=Tahoma] [FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]“[B][COLOR=navy]ผู้รู้ - ผู้เห็น[/COLOR][/B]” และ “[B][COLOR=navy]ผู้ไม่ตาย[/COLOR][/B]” ท่านพิจารณาทบทวนกลับไปกลับมา จนหมดความสงสัยทุกอย่างโดยสิ้นเชิง[/FONT][/FONT][/FONT]
    [FONT=Tahoma][FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New] ความจริงมีเรื่องราวการพิจารณาธรรมของหลวงปู่มั่นต่อไปอีกหลายอย่าง ครั้นจะนำเสนอในที่นี้ก็จะยาวและออกนอกเรื่องมากไป[/FONT]
    [/FONT][FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]ท่านที่ต้องการทราบเพิ่มเติม โปรดอ่านได้ที่หนังสือ [/FONT] [/FONT] [FONT=Tahoma] [FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]“หลวงปู่มั่นภูริทตโต : ประวัติ ข้อวัตรและปฏิปทา” โครงการหนังสือบูรพาจารย์เล่ม ๑”[/FONT][/FONT][/FONT]
    [FONT=Tahoma][FONT=Tahoma] [/FONT] [B] หรือถ้าต้องการอ่านรายละเอียดอย่างพิสดาร โปรดอ่านได้ที่หนังสือ [B][COLOR=navy]ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต[/COLOR][/B] เขียนโดย หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร วัดธรรมมงคล สุนมวิท ๑๐๑ พระโขนง กรุงเทพฯ[/B]

    [FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]เมื่อออกจากถ้ำไผ่ขวาง หลวงปู่มั่น ไปพักบำเพ็ญเพียรที่ถ้ำสิงโต เขาช่องลม หรือที่เรียกว่า เขาพระงาม จังหวัดลพบุรี ในปัจจุบันประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๖[/FONT]
    [FONT=Cordia New]พ ศ ๒๔๕๗ หลวงปู่มั่น ได้รับการขอร้องจากท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ให้ลงมาจำพรรษาที่กรุงเทพฯ เพื่อโปรดพระเณรและประชาชนที่สนใจในธรรมปฏิบัติ ท่านพักจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม[/FONT]
    [/FONT][FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]พ.ศ. ๒๔๕๘ หลวงปู่มั่น อายุ ๔๗ ปี อายุพรรษา ๒๕ ได้เดินทางกลับอิสาน พักจำพรรษาที่ วัดบูรพาราม ในเมืองอุบลฯ มีช่วงหนึ่งขณะที่ท่านกำลังพิจารณาว่า [/FONT] [/FONT] [FONT=Tahoma] [FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]“ใครหนอจะเป็นผู้ควรแก่การสั่งสอน” ก็พอดีกับหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม เข้าไปกราบถวายตัวเป็นศิษย์[/FONT][/FONT][/FONT]
    [FONT=Tahoma][FONT=Tahoma] [/FONT][FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]หลวงปู่มั่น ทักทายเป็นประโยคแรกว่า [/FONT] [/FONT] [FONT=Tahoma] [FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]“เราได้รอเธอมานานแล้ว ที่อยากจะพบและต้องการชักชวนให้ปฏิบัติธรรมด้วยกัน”[/FONT][/FONT][/FONT]
    [FONT=Tahoma][FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม (วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา) องค์นี้จึงเป็นศิษย์รุ่นแรก ได้ติดตามปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่น ได้รับความไว้วางใจและมอบหมายให้เป็นผู้ปกครองดูแลพระภิกษุสามเณรสายกรรมฐานแทน เมื่อครั้งหลวงปู่มั่นท่านปลีกตัวไปอยู่ภาคเหนือนานถึง ๑๒ ปี และหลวงปู่สิงห์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นแม่ทัพใหญ่แห่งกองทัพธรรม[/FONT]
    [FONT=Cordia New]ในปีเดียวกันนั้นหลวงปู่มั่น ได้ไปโปรดโยมมารดาจนเกิดศรัทธาแก่กล้า ลาลูกหลานออกบวชชีจนตลอดชีวิต[/FONT]
    [FONT=Cordia New]ปี พ.ศ. ๒๔๕๙ หลังออกพรรษา หลวงปู่มั่น ได้ธุดงค์ไปหาหลวงปู่ใหญ่เสาร์ พระอาจารย์ของท่านซึ่งทราบว่าจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำภูผากูด บ้านหนองสูง อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนม (ในขณะนั้น) เพื่อหาโอกาสให้สติหลวงปู่ใหญ่ได้วางการปรารถนาพระปัจเจกโพธิ ทำให้หลวงปู่ใหญ่ได้ปฏิบัติก้าวหน้าต่อไป จนบรรลุ หมดความสงสัยในพระธรรม สำเร็จคุณธรรมสูงสุดในพระพุทธศาสนาดังใจปรารถนา[/FONT]
    [/FONT] [/FONT] [/FONT] [/FONT] [/FONT] [/FONT] [/FONT] [/FONT]
    ๕๙
    พำนักที่ถ้ำจำปา ภูผากูด
    ตามประวัติทราบว่า หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล พักบำเพ็ญเพียรอยู่ที่ถ้ำภูผากูด ต.หนองสูง อ คำชะอี จ.นครพนม (ปัจจุบันขึ้นอยู่กับจังหวัดมุกดาหาร) เป็นเวลา ๕ ปี แต่ไม่ได้ระบุว่าตั้งแต่ปีใดถึงปีใด
    แต่จากประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้ระบุว่าในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ หลวงปู่มั่น ได้ไปกราบ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ที่ถ้ำภูผากูด ด้วยจุดประสงค์หลักเพื่อให้สติหลวงปู่ใหญ่ ได้ละวางความปรารถนาพระปัจเจกโพธิ เพื่อจะได้บรรลุธรรมสูงสุดคือ อรหันตภูมิ ในชาติปัจจุบัน
    เรื่องนี้หลวงปู่มั่น ท่านทราบด้วยญาณในขณะที่บาเพ็ญเพียรอยู่ที่ถ้ำไผ่ขวาง น้ำตกสาริกา จังหวัดนครนายก ตามที่กล่าวแล้วในตอนต้น
    หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร ได้บันทึกเหตุการณ์จากการบอกเล่าของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ดังนี้ :-
    “.. (พ.ศ. ๒๔๕๙). เมื่อออกพรรษาที่วัดบูรพาฯ จังหวัดอุบลฯท่านอาจารย์มั่น ได้กราบลาพระกรรมวาจาจารย์ (พระครูสีทา ชยเสโน) เพื่อไปติดตามพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร ซึ่งขณะนั้นท่านจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำภูผากูด
    เมื่อทราบแน่แล้ว ท่านอาจารย์มั่น ก็ได้เดินโดยเท้า เช่นพระธุดงค์ทั้งหลาย ท่านเล่าว่าทางรถยนต์ไม่มีรถยนต์วิ่ง...นับเป็นเวลาเดือนๆ ก็ไม่เห็นสักคันหนึ่ง
    ตามทางที่ท่านไปก็เป็นดงดิบ ล้วนแต่ต้นไม้ใหญ่ๆ เช่น ต้นตะเคียน ต้นยาง ต้นประดู่ ต้นตระแบก และสารพัดไม้นั้นเป็นไม้ใหญ่บางต้น ๙ อ้อม ๑๐ อ้อม แลดูไม่เห็นพระอาทิตย์ทีเดียว เป็นป่าเปลี่ยวจริงๆ ขณะที่เดินธุดงค์เห็นว่าที่ไหนเหมาะก็แวะพักทำความเพียรกันเป็นเวลา ๕ วัน หรือ ๗ วัน
    ขณะที่ท่านอาจารย์มั่น กำลังเดินธุดงค์ระหว่างทางยังไม่ถึงถ้ำภูผากูด นั้น ท่านได้คิดถึงท่านอาจารย์ของท่านมาก และก็วันหนึ่งหลังจากการพักผ่อนเดินทางซึ่งเร่งเดินเป็นวันๆ มาแล้วอย่างเหน็ดเหนื่อยท่านได้พิจารณาถึงท่านอาจารย์เสาร์ที่เป็นอาจารย์ ของท่านและได้ระลึกถึงที่ท่านได้ทราบภายในญาณเมื่อคราวที่ท่านอยู่ที่ถ้ำสา ริกา ว่า ท่านอาจารย์ของท่านปรารถนาพระปัจเจกโพธิ ถ้าหากว่าท่านยังมีจิตกังวลในการปรารถนาเช่นนั้น การทำความเพียรเพื่อความพ้นทุกข์ก็จะสำเร็จไปไม่ได้...
    ถ้าเราไปพบท่านอาจารย์ของเรา เราก็จะต้องแนะนำให้ท่านเลิกจากการปรารถนาเช่นนั้นเสีย...
    “...ท่านก็ไค้ธุดงค์เรื่อยๆ ไปจนใกล้จะถึงถ้ำภูผากูด โดยรอบบริเวณภูเขาอันเป็นถ้ำแห่งนี้นั้น เป็นภูมิประเทศที่เป็นป่าไม้เต็ง ไม้รัง ไม้แดง ไม้มะค่า แต่ไม่เป็นดงทึบเหมือนกับดงอื่นๆ จึงทำให้บริเวณนั้นมีอากาศปลอดโปร่งดี ถ้ำแห่งภูเขาแถวนั้นก็ไม่อับชื้น ทั่วบริเวณจึงเป็นสถานที่ที่จะพึงอาศัยเป็นเวลาแรมปีได้
    ถ้าเป็นดงดิบมองไม่เห็นพระอาทิตย์แล้ว จะอยู่กันนานไม่ได้เพราะจะทำให้สุขภาพเสีย โดยที่ท่านอาจารย์เสาร์ท่านได้เลือกเอาสถานที่แห่งนี้อยู่ถึง ๕ ปี และท่านก็ยังมีสุขภาพดีเป็นปกติเหมือนกับอยู่ในวัดธรรมดา
    นับว่าท่านอาจารย์เสาร์ มีความรู้ความชำนาญในการอยู่ป่าอย่างยิ่ง
    ท่านอาจารย์มั่น ท่านว่า เราได้เดินมองพิเคราะห์ดูแล้ว เป็นที่เหมาะสมจริงๆ เพราะมีธารน้ำเล็กๆ ไหลไม่ขาด อยู่ที่ตรงกลางทางที่จะขึ้นถ้ำพอดี
    คำว่า ภูผากูด คือ มีผักกูดขึ้นอยู่ตามตลิ่งธารน้ำนั้นมาก เมื่อผักกูดขึ้น ผักที่จะขึ้นตามผักกูดมากเช่นผักหนาม ผักเต่าเกียด
    ในคราวนั้น ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ทราบว่าท่านอาจารย์มั่นธุดงค์ไป ท่านก็ธุดงค์ตามไปติดๆ กับท่านอาจารย์มั่น แต่พอก่อนจะถึงถ้ำภูผากูด ท่านก็ล้มเจ็บเป็นไข้ จึงได้เดินทางกลับมารักษาตัวอยู่ที่จังหวัดอุบลฯ เมื่อท่านหายป่วยแล้วก็ได้ติดตามท่านอาจารย์มั่นไปเพื่อหวังในการศึกษาธรรมปฏิบัติอีก โดยมิได้มีการย่นย่อท้อถอยแต่ประการใด
    <table id="table31" border="0" width="482"> <tbody><tr> <td align="center"> [​IMG]</td> <td align="center"> [​IMG]</td> <td align="center"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> เชิงเขาถ้ำจำปา</td> <td colspan="2" align="center"> ถ้ำจำปาที่หลวงปู่เสาร์เคยจำพรรษา
    </td></tr></tbody></table>​
     

แชร์หน้านี้

Loading...