หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง จ.ร้อยเอ็ด

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย Specialized, 28 กรกฎาคม 2010.

  1. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ตอนที่


    ถามปัญหาเรื่องรักษาศีลข้อเดียว
    ในระยะที่พักอยู่ที่นั้นปรากฏว่ามีคนมาถามปัญหากับท่านมาก มีปัญหาของบางรายที่แปลกกว่าปัญหาทั้งหลายจึงได้นำมาลง มีใจความว่า
    “ได้ทราบว่าท่านรักษาศีลองค์เดียว มิได้รักษาถึง ๒๒๗ องค์ เหมือนพระทั้งหลายที่รักษากันใช่ไหม?”
    ท่านตอบว่า “ใช่ อาตมารักษาเพียงอันเดียว”
    เขาถามว่า “ที่ท่านรักษาเพียงอันเดียวนั้นคืออะไร”
    ท่านตอบว่า “คือใจ”
    เขาถามว่า “ส่วน ๒๒๗ นั้นท่านไม่ได้รักษาหรือ”
    ท่านตอบว่า “อาตมารักษาใจไม่ให้คิดพูดทำในทางผิด อันเป็นการล่วงเกินข้อห้ามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ จะเป็น ๒๒๗ หรือมากกว่านั้นก็ตาม บรรดาที่เป็นข้อทรงบัญญัติห้าม อาตมาก็เย็นใจว่า ตนมิได้ทำผิดต่อพุทธบัญญัติ ส่วนท่านผู้ใดจะว่าอาตมารักษาศีล ๒๒๗ หรือไม่นั้น สุดแต่ผู้นั้นจะคิดจะพูดเอาตามความคิดของตน เฉพาะอาตมาได้รักษาใจอันเป็นประธานของกายวาจาอย่างเข้มงวดกวดขันตลอดมา นับแต่เริ่มอุปสมบท”
    ถามว่า “การรักษาศีลต้องรักษาใจด้วยหรือ?”
    ท่านตอบว่า “ถ้าไม่รักษาใจจะรักษาอะไรถึงจะเป็นศีลเป็นธรรมที่ดีงามได้ นอกจากคนที่ตายแล้วเท่านั้นจะไม่ต้องรักษาใจ แม้กายวาจาก็ไม่จำต้องรักษา แต่ความเป็นเช่นนั้นของคนตาย นักปราชญ์ท่านไม่ได้เรียกว่าเขามีศีล เพราะไม่มีเจตนาเป็นเครื่องส่อแสดงออก ถ้าเป็นศีลได้ควรเรียกได้เพียงว่าศีลคนตาย ซึ่งไม่สำเร็จประโยชน์ตามคำเรียกแต่อย่างใด ส่วนอาตมามิใช่คนตาย จะรักษาศีลแบบคนตายนั้นไม่ได้ ต้องรักษาใจให้เป็นศีลเป็นธรรมสมกับใจเป็นผู้ทรงไว้ทั้งบุญทั้งบาปอย่างตายตัว”
    เขาถามว่า “ได้ยินในตำราว่าไว้ว่ารักษากายวาจาให้เรียบร้อยเรียกว่าศีล จึงเข้าใจว่า การรักษาศีลไม่จำต้องรักษาใจก็ได้ จึงได้เรียนถามอย่างนั้น”
    ท่านตอบว่า “ที่ว่ารักษากายวาจาให้เรียบร้อยเป็นศีลนั้นก็ถูก แต่ก่อนกายวาจาจะเรียบร้อยเป็นศีลได้นั้น ต้นเหตุเป็นมาจากอะไร ถ้าไม่เป็นมาจากใจผู้เป็นนายคอยบังคับกายวาจาให้เป็นไปในทางที่ถูก เมื่อเป็นมาจากใจ ใจจะควรปฏิบัติอย่างไรต่อตัวเองบ้าง จึงจะควรเป็นผู้ควบคุมกายวาจาให้เป็นศีลเป็นธรรมที่น่าอบอุ่นแก่ตนเอง และน่าเคารพเลื่อมใสแก่ผู้อื่นได้ ไม่เพียงแต่ศีลธรรมที่จำต้องอาศัยใจเป็นผู้คอยควบคุมรักษาเลย แม้กิจการอื่น ๆ จำต้องอาศัยใจเป็นผู้ควบคุมดูแลอยู่โดยดี การงานนั้น ๆ จึงจะเป็นที่เรียบร้อยไม่ผิดพลาด และทรงคุณภาพโดยสมบูรณ์ตามชนิดของมัน
    การรักษาโรคเขายังค้นหาสมุฏฐานของมัน จะควรรักษาอย่างไรจึงจะหายได้เท่าที่ควร ไม่เป็นโรคเรื้อรังต่อไป การรักษาศีลธรรมไม่มีใจเป็นตัวประธานพาให้เป็นไป ผลก็คือความเป็นผู้มีศีลด่างพร้อย ศีลขาด ศีลทะลุ ความเป็นผู้มีธรรมที่น่าสลดสังเวช ธรรมพาอยู่ธรรมพาไปอย่างไม่มีจุดหมาย ธรรมบอ ธรรมบ้า ธรรมแตก ซึ่งล้วนเป็นจุดที่ศาสนาจะพลอยได้รับเคราะห์กรรมไปด้วยอย่างแยกไม่ออก ไม่เป็นศีลธรรมอันน่าอบอุ่นแก่ผู้รักษา และไม่น่าเลื่อมใสแก่ผู้อื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องบ้างเลย
    อาตมาไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก บวชแล้วอาจารย์พาเที่ยวและอยู่ตามป่าตามเขา เรียนธรรมก็เรียนไปกับต้นไม้ใบหญ้า แม่น้ำลำธาร หินผาหน้าถ้ำ เรียนไปกับเสียงนกเสียงกา เสียงสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ ตามทัศนียภาพที่มีอยู่ตามธรรมชาติของมันอย่างนั้นเอง ไม่ค่อยได้เรียนในคัมภีร์ใบลานพอจะมีความรู้แตกฉานทางศีลธรรม การตอบปัญหาจึงเป็นไปตามนิสัยของผู้ศึกษาธรรมเถื่อน ๆ รู้สึกจนปัญญาที่ไม่สามารถค้นหาธรรมที่ไพเราะเหมาะสม มาอธิบายให้ท่านผู้สนใจฟังอย่างภูมิใจได้
    เขาถามท่านว่า “คำว่าศีลได้แก่สภาพเช่นไร และอะไรเป็นศีลอย่างแท้จริง?”
    ท่านตอบว่า “ความคิดในแง่ต่าง ๆ อันเป็นไปด้วยความมีสติ รู้สิ่งที่ควรคิดหรือไม่ควร ระวังการระบายออกทางทวารทั้งสาม คอยบังคับกายวาจาใจให้เป็นไปในขอบเขตของศีลที่เป็นสภาพปกติ ศีลที่เกิดจากการรักษาในลักษณะดังกล่าวมาชื่อว่ามีสภาพปกติ ไม่คะนองทางกายวาจาใจให้เป็นกิริยาที่น่าเกลียด นอกจากความปกติดีงามทางกายวาจาใจของผู้มีศีลว่าเป็นศีลเป็นธรรมแล้ว ก็ยากจะเรียกให้ถูกได้ว่า อะไรเป็นศีลเป็นธรรมที่แท้จริง เพราะศีลกับผู้รักษาศีลแยกกันได้ยาก ไม่เหมือนตัวบ้านเรือนกับเจ้าของบ้านเรือนซึ่งเป็นคนละอย่าง ที่พอจะแยกกันออกได้ไม่ยากนัก ว่านั่นคือตัวบ้านเรือน และนั่นคือเจ้าของบ้าน
    ส่วนศีลกับคนจะแยกจากกันอย่างนั้นเป็นการลำบาก เฉพาะอาตมาแล้วแยกไม่ได้ แม้แต่ผลคือความเย็นใจที่เกิดจากการรักษาศีลก็แยกกันไม่ออก ถ้าแยกออกได้ศีลก็อาจกลายเป็นสินค้ามีเกลื่อนตลาดไปนานแล้ว และอาจจะมีโจรมาแอบขโมยศีลธรรมไปขายจนหมดเกลี้ยงจากตัวไปหลายรายแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ศีลธรรมก็จะกลายเป็นสาเหตุก่อความเดือดร้อนแก่เจ้าของเช่นเดียวกับสมบัติอื่น ๆ ทำให้พุทธศาสนิกชนเกิดความเอือมระอาที่จะแสวงหาศีลธรรมกัน เพราะได้มาแล้วก็ไม่ปลอดภัย ดังนั้นความไม่รู้ว่าอะไรเป็นศีลอย่างแท้จริง จึงเป็นอุบายวิธีหลีกภัยอันอาจเกิดแก่ศีล และผู้มีศีลได้ทางหนึ่งอย่างแยบยลและเย็นใจ อาตมาจึงไม่คิดอยากแยกศีลออกจากตัวแม้แยกได้ เพราะระวังภัยยาก แยกไม่ได้อย่างนี้รู้สึกอยู่สบาย ไปไหนมาไหนและอยู่ที่ใดไม่ต้องห่วงว่าศีลจะหาย ตัวจะตายจากศีล แล้วกลับมาเป็นผีเฝ้ากองศีล เช่นเดียวกับคนเป็นห่วงสมบัติ ตายแล้วกลับมาเป็นผีเฝ้าทรัพย์ ไม่มีวันไปผุดไปเกิดได้ฉะนั้น
    พระมหาเถระถามปัญหาท่านพระอาจารย์มั่น
    โอกาสว่าง ๆ พระมหาเถระสั่งพระมาอาราธนานิมนต์ท่านอาจารย์มั่นไปหา เพื่อสัมโมทนียกถาเฉพาะ โดยปราศจากผู้คนพระเณรเข้าไปเกี่ยวข้อง
    พระมหาเถระถามประโยคแรกว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #F3F3F3" bgcolor="#f3f3f3" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="540">
    “ท่านชอบอยู่แต่ผู้เดียวในป่าในเขา ไม่ชอบเกี่ยวข้องกังวลกับพระเณรตลอดฆราวาส เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาท่านไปศึกษากับใครจึงจะผ่านปัญหานั้น ๆ ไปได้ แม้ผมเองอยู่ในพระนครที่เต็มไปด้วยนักปราชญ์เจ้าตำรับตำราพอช่วยปัดเป่าข้อข้องใจได้ บางคราวยังเกิดความงงงันอั้นตู้ไปได้ ไม่มีใครสามารถช่วยแก้ให้ตกไปได้ ยิ่งท่านอยู่เฉพาะองค์เดียวเป็นส่วนมาก ตามที่ทราบเรื่องตลอดมา เวลาเกิดปัญหาขึ้นมา ท่านศึกษาปรารภกับใคร หรือท่านจัดการกับปัญหานั้น ๆ ด้วยวิธีใด นิมนต์อธิบายให้ผมฟังด้วย”
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ท่านเล่าว่า
    ท่านกราบเรียนด้วยความอาจหาญเต็มที่ไม่มีสะทกสะท้านเลย เพราะได้ศึกษาจากหลักธรรมชาติอย่างนั้น จึงกราบเรียนท่านว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #FFFFF5" bgcolor="#fffff5" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="569">
    “ขอประทานโอกาส เกล้าฯ ฟังธรรมและศึกษาธรรมอยู่ทั้งกลางวันกลางคืนไม่มีอิริยาบถต่าง ๆ นอกจากหลับไปเสียเท่านั้น พอตื่นขึ้นมาใจกับธรรมก็เข้าสัมผัสกันทันที ขึ้นชื่อว่าปัญหาแล้วกระผมไม่มีเวลาที่หัวใจจะว่างอยู่เปล่า ๆ เลย มีแต่การถกเถียงโต้ตอบกันอยู่ทำนองนั้น ปัญหาเก่าตกไป ปัญหาใหม่เกิดขึ้นมา การถอดถอนกิเลสก็เป็นไปในระยะเดียวกันกับปัญหาแต่ละข้อตกไป ปัญหาใหม่เกิดขึ้นมาก็เท่ากับรบกันกับกิเลสใหม่ ปัญหาทั้งใกล้ทั้งไกล ทั้งวงกว้างวงแคบ ทั้งวงในวงนอก ทั้งลึกทั้งตื้น ทั้งหยาบทั้งละเอียด ล้วนเกิดขึ้นและปะทะกันที่หัวใจ ใจเป็นสถานที่รบข้าศึกทั้งมวล และเป็นที่ปลดเปลื้องกิเลสทั้งปวงในขณะที่ปัญหาแต่ละข้อตกไป
    ที่จะมีเวลาไปคิดว่าเมื่อปัญหาเกิดขึ้นเฉพาะหน้าเราจะไปศึกษาปรารภกับใครนั้น เกล้าฯ มิได้สนใจคิดให้เสียเวลายิ่งไปกว่าจะตั้งท่าฆ่าฟันห้ำหั่นกันกับปัญหา ซึ่งเป็นฉากของกิเลสแฝงมาพร้อม ให้สะบั้นหั่นแหลกกันลงไปเป็นทอด ๆ และถอดถอนกิเลสออกได้เป็นพัก ๆ เท่านั้น จึงไม่วิตกกังวลกับหมู่คณะว่าจะมาช่วยแก้ไขปลดเปลื้องกิเลสออกจากใจได้รวดเร็ว ยิ่งกว่าสติปัญญาที่ผลิตและฝึกซ้อมอยู่กับตนตลอดเวลา คำว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตนนั้น เกล้าฯ ได้ประจักษ์ใจตัวเองขณะปัญหาแต่ละข้อเกิดขึ้น และสามารถแก้ไขกันลงได้ทันท่วงที ด้วยอุบายวิธีของสติปัญญาที่เกิดกับตนโดยเฉพาะ มิได้ไปเที่ยวคว้ามาจากตำราหรือคัมภีร์ใดในขณะนั้น แต่ธรรมคือสติปัญญาในหลักธรรมชาติ หากผุดออกรับออกรบและแก้ไขกันไปในตัว และผ่านพ้นไปได้โดยลำดับไม่อับจน
    แม้จะมีอยู่บ้างที่เป็นปัญหาลึกลับและสลับซับซ้อน ที่จำต้องพิจารณากันอย่างละเอียดลออและกินเวลานานหน่อย แต่ก็ไม่พ้นกำลังของสติปัญญาที่เคยใช้ได้ผลมาแล้วไปได้ จำต้องทลายลงในเวลาหนึ่งจนได้ ด้วยเหตุดังที่กราบเรียนมา เกล้าฯ จึงมิได้สนใจใฝ่ฝันในการอยู่กับหมู่คณะ เพื่ออาศัยเวลาเกิดปัญหาจะได้ช่วยแก้ไข แต่สนใจไยดีต่อการอยู่คนเดียว ความเป็นผู้เดียวเปลี่ยวกายเปลี่ยวใจเป็นสิ่งที่พอใจแล้วสำหรับเกล้าฯ ผู้มีวาสนาน้อย แม้ถึงคราวเป็นคราวตายก็อยู่ง่ายตายสะดวก ไม่พะรุงพะรังห่วงหน้าห่วงหลัง สิ้นลมแล้วก็สิ้นเรื่องไปพร้อม ๆ กัน ต้องขอประทานโทษที่เรียนตามความโง่ของตนจนเกินไป ไม่มีความแยบคายแสดงออกพอเป็นที่น่าฟังบ้างเลย
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ท่านว่าพระมหาเถระฟังท่านกราบเรียนอย่างสนใจ และเลื่อมใสในธรรมที่เล่าถวายเป็นอย่างยิ่ง พร้อมกับอนุโมทนาว่า เป็นผู้สามารถสมกับชอบอยู่ในป่าในเขาคนเดียวจริง ๆ ธรรมที่แสดงออก ท่านว่า จะไปเที่ยวค้นดูในคัมภีร์ไม่มีวันเจอ เพราะธรรมในคัมภีร์ กับธรรมที่เกิดจากใจอันเป็นธรรมในหลักธรรมชาติต่างกันอยู่มาก แม้ธรรมในคัมภีร์ที่จารึกมาจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าว่าเป็นธรรมบริสุทธิ์ เพราะผู้จารึกเป็นคนจริงคือเป็นผู้บริสุทธิ์เหมือนพระองค์ แต่พอตกมานาน ๆ ผู้จารึกต่อ ๆ มาอาจไม่เป็นผู้บริสุทธิ์อย่างแท้จริงเหมือนรุ่นแรก ธรรมจึงอาจมีทางลดคุณภาพลงตามส่วนของผู้จารึกพาให้เป็นไป ฉะนั้น ธรรมในคัมภีร์กับธรรมที่เกิดขึ้นจากใจอย่างสด ๆ ร้อน ๆ จึงน่าจะต่างกันแม้เป็นธรรมด้วยกัน
    ผมหายสงสัยในข้อที่ถามท่านด้วยความโง่ของตนแล้ว แต่ความโง่ชนิดนี้ทำให้เกิดประโยชน์ได้ดี เพราะถ้าไม่ถามแบบโง่ ๆ ก็จะไม่ได้ฟังอุบายแบบฉลาดแหลมคมจากท่าน วันนี้ผมจึงเป็นทั้งฝ่ายขายทั้งความโง่และซื้อทั้งความฉลาด หรือจะเรียกว่าถ่ายความโง่เขลาออกไปไล่ความฉลาดเข้ามาก็ไม่ผิด
    ผมยังสงสัยอยู่อีกเป็นบางข้อ คือที่ว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #F3F3F3" bgcolor="#f3f3f3" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="540">
    พระสาวกท่านทูลลาพระศาสดาออกไปบำเพ็ญอยู่ในที่ต่าง ๆ เวลาเกิดปัญหาขึ้นมาก็กลับมาเฝ้าทูลถาม เพื่อทรงช่วยชี้แจงปัญหานั้น ๆ จนเป็นที่เข้าใจ แล้วทูลลาออกบำเพ็ญตามอัธยาศัย นั้นเป็นปัญหาประเภทใด พระสาวกจึงไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง ต้องมาทูลถามให้พระองค์ทรงช่วยชี้แจงแก้ไข
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ท่านกราบเรียนว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #FFFFF5" bgcolor="#fffff5" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="569">
    “เมื่อมีผู้ช่วยให้เกิดผลรวดเร็วโดยไม่ต้องเสียเวลานาน นิสัยคนเราที่ชอบหวังพึ่งผู้อื่นย่อมจะต้องดำเนินตามทางลัด ด้วยความแน่ใจว่าต้องดีกว่าตัวเองพยายามไปโดยลำพัง นอกจากทางไกลไปมาลำบากจริง ๆ ก็จำต้องตะเกียกตะกายไปด้วยกำลังสติปัญญาของตน แม้จะช้าบ้างก็ทนเอา เพราะพระพุทธเจ้าผู้ทรงรู้เห็นโดยตลอดทั่วถึงทรงแก้ปัญหาข้อข้องใจ ย่อมทำให้เกิดความกระจ่างแจ้งชัด และได้ผลรวดเร็วผิดกับที่แก้ไขโดยลำพังเป็นไหน ๆ ดังนั้นบรรดาสาวกที่มีปัญหาข้องใจจึงต้องมาทูลถามให้ทรงพระเมตตาแก้ไข เพื่อผ่านไปได้อย่างรวดเร็วสมปรารถนา แม้กระผมเอง ถ้าพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่และอยู่ในฐานะจะพอไปเฝ้าได้ก็ต้องไป และทูลถามปัญหาให้สมใจที่หิวกระหายมานาน ไม่ต้องมาถูไถคืบคลานให้ลำบากและเสียเวลาดังที่เป็นมา เพราะการวินิจฉัยโดยลำพังตัวเองเป็นการลำบากมาก แต่ต้องทำเพราะไม่มีที่พึ่ง นอกจากตัวต้องเป็นที่พึ่งของตัวดังที่เรียนแล้ว
    ความมีครูอาจารย์สั่งสอนโดยถูกต้องแม่นยำคอยให้อุบาย ทำให้ผู้ปฏิบัติตามดำเนินไปโดยสะดวกราบรื่นและถึงเร็ว ผิดกับการดำเนินไปแบบสุ่มเดาโดยลำพังตนเองอยู่มาก ทั้งนี้เกล้าฯ เห็นโทษในตัวเกล้าฯ เอง แต่ก็จำเป็นเพราะไม่มีอาจารย์คอยให้อุบายสั่งสอนในสมัยนั้น ทำไปแบบด้นเดาและล้มลุกคลุกคลาน ผิดมากกว่าถูก แต่สำคัญที่ความหมายมั่นปั้นมือเป็นเจตนาที่เด็ดเดี่ยวอาจหาญมาก ไม่ยอมลดละล่าถอย จึงพอมีทางทำให้สิ่งที่เคยขรุขระมาโดยลำดับ ค่อย ๆ กลับกลายคลายตัวออกทีละเล็กละน้อย พอให้ความราบรื่นชื่นใจได้มีโอกาสคืบคลานและเดินได้เป็นลำดับมา พอได้ลืมตาดูโลกดูธรรมได้เต็มตาเต็มใจดังที่เรียนให้ทราบตลอดมา
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ปัญหาระหว่างพระมหาเถระยังมีอยู่อีก แต่ที่เห็นว่าสำคัญได้นำมาลงบ้างแล้วจึงขอผ่าน
    ขณะท่านพักอยู่กรุงเทพฯ มีผู้มาอาราธนานิมนต์ไปฉันในบ้านเสมอ แต่ท่านขอผ่านเพราะไม่สะดวกแก่การปฏิบัติต่อสรีรกิจประจำวันหลังจากฉันเสร็จแล้ว
    พอควรแก่กาลแล้วท่านเริ่มออกเดินทางมาพักโคราช ตามคำอาราธนาของคณะศรัทธาชาวนครราชสีมา พักที่วัดป่าสาลวัน ขณะพักอยู่ที่นั้นก็มีท่านผู้สนใจมาถามปัญหาหลายราย
    ปัญหาที่อุบาสกชาวโคราชถาม
    มีปัญหาที่น่าคิดอยู่ข้อหนึ่ง ผู้เขียนฟังจากท่านแล้วยังจำได้ไม่หลงลืม ชะรอยปัญหานั้นจะกลับมาเป็นประวัติท่านอีกก็อาจเป็นได้ จึงบันดาลไม่ให้หลงลืม ทั้งที่ผู้เขียนเป็นคนชอบหลงลืมเก่ง ปัญหานั้นเป็นเชิงหยั่งหาความจริงในท่าน ว่าจะมีความจริงมากน้อยเพียงไร สมคำเล่าลือของประชาชนหรือหาไม่ เจ้าของปัญหาก็ลูกศิษย์กรรมฐานเพื่อมุ่งหาความจริงอยู่อย่างเต็มใจจริง ๆ
    เริ่มต้นปัญหาว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #F3F3F3" bgcolor="#f3f3f3" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="540">
    “เท่าที่ท่านอาจารย์มาโคราชคราวนี้ เป็นการมาเพื่ออนุเคราะห์ประชาชนตามคำนิมนต์เพียงอย่างเดียว หรือยังมีหวังเพื่อมรรคผลนิพพานอยู่ด้วยในการรับนิมนต์คราวนี้”
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ท่านตอบว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #FFFFF5" bgcolor="#fffff5" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="569">
    “อาตมาไม่หิว อาตมาไม่หลง จึงไม่หาอะไรให้ยุ่งไป อันเป็นการก่อทุกข์ใส่ตัว คนหิวอยู่เป็นปกติสุขไม่ได้จึงวิ่งหาโน่นหานี่ เจออะไรก็คว้าติดมือมา โดยไม่คำนึงว่าผิดหรือถูก ครั้นแล้วสิ่งที่คว้ามาก็มาเผาตัวเองให้ร้อนยิ่งกว่าไฟ อาตมาไม่หลงจึงไม่แสวงหาอะไร คนที่หลงจึงต้องแสวงหา ถ้าไม่หลงก็ไม่ต้องหา จะหาไปให้ลำบากทำไม อะไร ๆ ก็มีอยู่กับตัวเองอย่างสมบูรณ์อยู่แล้ว จะตื่นเงาและตะครุบเงาไปทำไม เพราะรู้แล้วว่าเงาไม่ใช่ตัวจริง ตัวจริงคือสัจจะทั้งสี่ก็มีอยู่ในกายในใจอย่างสมบูรณ์แล้ว และรู้จนหมดสิ้นแล้ว จะหาอะไรกันอีกถ้าไม่หลง ชีวิตลมหายใจยังมีและผู้มุ่งประโยชน์กับเรายังมี ก็สงเคราะห์กันไปอย่างนั้นเอง
    หาคนดีมีธรรมในใจนี้หายากยิ่งกว่าหาเพชรนิลจินดาเป็นไหน ๆ ได้คนเป็นคนเพียงคนเดียวย่อมมีคุณค่ามากกว่าได้เงินเป็นล้าน ๆ เพราะเงินล้าน ๆ ไม่สามารถทำความร่มเย็นให้แก่โลกได้อย่างถึงใจเหมือนได้คนดีมาทำประโยชน์ คนดีแม้เพียงคนเดียวยังสามารถทำความเย็นใจให้แก่โลกได้มากมายและยั่งยืน เช่น พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลายเป็นตัวอย่าง คนดีแต่ละคนมีคุณค่ามากกว่าเงินเป็นก่ายกอง และเห็นคุณค่าแห่งความดีของตนที่จะทำต่อไปมากกว่าเงิน แม้จะจนก็ยอมจน ขอแต่ให้ตัวดีและโลกมีความสุข
    แต่คนโง่ชอบเงินมากกว่าคนดีและความดี ขอแต่ได้เงินแม้ตัวจะเป็นอย่างไรไม่สนใจคิด ถึงจะชั่วช้าลามกหรือแสนโสมมเพียงไรก็ตาม ขนาดนายยมบาลเกลียดกลัวไม่อยากนับเข้าบัญชีผู้ต้องหา กลัวจะไปทำลายสัตว์นรกด้วยกันให้เดือดร้อนฉิบหายก็ไม่ว่า ขอแต่ได้เงินก็เป็นที่พอใจ ส่วนจะผิดถูกประการใด ถ้าบาปมีค่อยคิดบัญชีกันเองโดยเขาไม่ยุ่งเกี่ยว
    คนดีกับคนชั่วและสมบัติเงินทองกับธรรมคือคุณงามความดีผิดกันอย่างนี้แล ใครมีหูมีตาก็รีบคิดเสียแต่บัดนี้อย่าทันให้สายเกินไป จะหมดหนทางเลือกเฟ้น การให้ผลก็ต่างกันสุดแต่กรรมของตนจะอำนวย จะทักท้วงหรือคัดค้านไม่ได้ กรรมอำนวยให้อย่างใดต้องยอมรับเอาอย่างนั้น ฉะนั้นสัตว์โลกจึงต่างกัน ทั้งภพกำเนิด รูปร่าง ลักษณะ จริต นิสัย สุข ทุกข์อันเป็นสมบัติประจำตัวของแต่ละราย แบ่งหนักแบ่งเบากันไม่ได้ ใครมีอย่างไรก็หอบหิ้วไปเอง ดีชั่ว สุขทุกข์ก็ยอมรับ ไม่มีอำนาจปฏิเสธได้ เพราะไม่ใช่แง่กฎหมาย แต่เป็นกฎของกรรมหรือกฎของตัวเองที่ทำขึ้น มิใช่กฎของใครไปทำให้ ตัวทำเอาเอง ถามอาตมาเพื่ออะไรอย่างนั้น”
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    การตอบปัญหาท่านคราวนี้รู้สึกเข้มข้นพอดู นี้ทราบจากท่านเองและพระที่ติดตามเล่าให้ฟัง รู้สึกว่าถึงใจและจำไม่ลืม
    เขาตอบท่านว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #F3F3F3" bgcolor="#f3f3f3" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="540">
    “ขอประทานโทษ พวกกระผมเคยได้ยินกิตติศัพท์กิตติคุณท่านอาจารย์โด่งดังมานานแล้ว ไม่ว่าครูอาจารย์หรือพระเณรองค์ใดตลอดฆราวาส ใครพูดถึงอาจารย์ล้วนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า อาจารย์มิใช่พระธรรมดา ดังนี้จึงกระหายอยากฟังเมตตาธรรมท่าน แล้วได้เรียนถามไปตามความอยากความหิว แต่ไม่มีความฉลาดรอบคอบในการถามซึ่งอาจจะทำความกระเทือนแก่ท่านอยู่บ้าง กระผมก็สนใจปฏิบัติมานานพอสมควร จิตใจนับว่าได้รับความเย็นประจักษ์เรื่อยมา ไม่เสียชาติที่เกิดมาพบพระศาสนา และยังได้กราบไหว้ครูอาจารย์ผู้ศักดิ์สิทธิ์วิเศษด้วยการปฏิบัติและคุณธรรม แม้ปัญหาธรรมที่เรียนถามวันนี้ก็ได้รับความแจ้งชัดเกินคาดหมาย วันนี้เป็นหายสงสัยเด็ดขาดตามภูมิของคนยังมีกิเลส ที่ยังอยู่ก็ตัวเองเท่านั้นจะสามารถปฏิบัติให้ได้ให้ถึงมากน้อยเพียงใด”
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ท่านตอบซ้ำอีกว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #FFFFF5" bgcolor="#fffff5" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="569">
    “โยมถามมาอย่างนั้น อาตมาก็ต้องตอบไปอย่างนั้น เพราะอาตมาไม่หิวไม่หลง จะให้อาตมาไปหาอะไรอีก อาตมาเคยหิวเคยหลงมาพอแล้วครั้งปฏิบัติที่ยังไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรโน้น อาตมาแทบตายอยู่ในป่าในเขาคนเดียวไม่มีใครไปเห็น จนพอลืมหูลืมตาได้บ้าง จึงมีคนนั้นไปหาคนนี้ไปหา แล้วร่ำลือกันว่าวิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ ขณะอาตมาสลบสามหนรอดตายครั้งนั้น ไม่เห็นใครทราบและร่ำลือบ้าง จนเลยขั้นสลบและขั้นตายมาแล้ว จึงมาเล่าลือกันหาประโยชน์อะไร อยากได้ของดีที่มีอยู่กับตัวเราทุกคนก็พากันปฏิบัติเอาทำเอา เมื่อเวลาตายแล้วจึงพากันวุ่นวาย หานิมนต์พระมาให้บุญกุสลามาติกา นั่นไม่ใช่เกาถูกที่คันนะ จะว่าไม่บอก ต้องรีบเกาให้ถูกที่คันเสียแต่บัดนี้ โรคคันจะได้หาย คือเร่งทำความดีเสียแต่บัดนี้ จะได้หายห่วงหายหวงกับอะไร ๆ ที่เป็นสมบัติของโลก มิใช่สมบัติอันแท้จริงของเรา แต่พากันจับจองเอาแต่ชื่อของมันเปล่า ๆ ตัวจริงไม่มีใครเหลียวแล
    สมบัติในโลกเราแสวงหามาเป็นความสุขแก่ตัวก็พอหาได้ จะแสวงหามาเป็นไฟเผาตัวก็ทำให้ฉิบหายได้จริง ๆ ข้อนี้ขึ้นอยู่กับความฉลาดและความโง่เขลาของผู้แสวงหาแต่ละราย ท่านผู้พ้นทุกข์ไปได้ด้วยความอุตส่าห์สร้างความดีใส่ตนจนกลายเป็นสรณะของพวกเรา จะเข้าใจว่าท่านไม่เคยมีสมบัติเงินทองเครื่องหวงแหนอย่างนั้นหรือ เข้าใจว่าเป็นคนร่ำรวยสวยงามเฉพาะสมัยของพวกเราเท่านั้นหรือ จึงพากันรักพากันหวงพากันห่วงจนไม่รู้จักเป็นรู้จักตาย
    บ้านเมืองเราสมัยนี้ไม่มีป่าช้าสำหรับฝังหรือเผาคนตายอย่างนั้นหรือ จึงสำคัญว่าตนจะไม่ตาย และพากันประมาทจนลืมเนื้อลืมตัว กลัวแต่จะไม่ได้กินได้นอน กลัวแต่จะไม่ได้เพลิดได้เพลิน ประหนึ่งโลกจะดับสูญจากไปในเดี๋ยวนี้ จึงพากันรีบตักตวงเอาแต่ความไม่เป็นท่าใส่ตนแทบหาบไม่ไหว อันสิ่งเหล่านี้แม้แต่สัตว์เขาก็มิได้เหมือนมนุษย์เรา อย่าสำคัญตนว่าเก่งกาจสามารถฉลาดรู้ยิ่งกว่าเขาเลย ถึงกับสร้างความมืดมิดปิดตาทับถมตัวเองจนไม่มีวันสร่างซา เมื่อถึงเวลาจนตรอก อาจจนยิ่งกว่าสัตว์ ใครจะไปทราบได้ ถ้าไม่เตรียมทราบไว้เสียแต่บัดนี้ซึ่งอยู่ในฐานะที่ควร
    อาตมาต้องขออภัยด้วยถ้าพูดหยาบคายไป แต่คำพูดที่สั่งสอนให้คนละชั่วทำดียังจัดเป็นคำหยาบคายอยู่แล้ว โลกเราก็จะถึงคราวหมดสิ้นศาสนา เพราะไม่มีผู้ยอมรับความจริง การทำบาปหยาบคายมีมาประจำตนแทบทุกคนทั้งให้ผลเป็นทุกข์ ตนยังไม่อาจรู้ได้และตำหนิมันบ้างพอมีทางคิดแก้ไข แต่กลับตำหนิคำสั่งสอนว่าหยาบคาย นับว่าเป็นโรคที่หมดหวัง”
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ตอนนี้ต้องขออภัยท่านสุภาพชนทั้งหลาย ที่ได้บังอาจเขียนแบบคนไม่มีสติอยู่กับตัวเอาเลย ทั้งนี้ความมุ่งหมายเพื่อสงวนธรรมที่ท่านเมตตาแสดงในบางครั้งให้คงเส้นคงวาไว้บ้าง เพื่อบางท่านได้พิจารณาถือเอาความจริงในธรรมนี้ ไม่อยากให้ลดลงจากระดับเดิมของท่าน จึงพยายามหลับหูหลับตาเขียนไปตามเนื้อหา
    สำหรับปัญหาธรรมนั้นไม่ว่าท่านไปพักที่ไหน มีคนมาเรียนถามมิได้ขาด แต่ไม่สามารถจดจำได้ทุกบททุกบาท ทั้งอาจารย์ทั้งหลายที่กรุณาให้ต้นฉบับมาแต่ละองค์ และผู้เขียนจำมาเอง ประโยคใดที่สะดุดใจประโยคนั้นก็จำไว้ได้และบันทึกไว้ ประโยคที่ไม่สะดุดใจก็หลงลืมจำต้องปล่อยให้ผ่านไป
    ท่านพักนครราชสีมาพอสมควรแล้วออกเดินทางต่อไปจังหวัดอุดรธานี มาถึงขอนแก่น ทราบว่า พี่น้องชาวขอนแก่นไปรอรับท่านที่สถานีคับคั่ง และพร้อมกันอาราธนาท่านให้ลงแวะพักเมตตาที่ขอนแก่นก่อน แล้วค่อยเดินทางต่อไปอุดรฯ แต่ท่านไม่อาจแวะตามคำนิมนต์ได้ จึงพากันพลาดหวังไปบ้างในโอกาสที่ควรจะได้นั้น
    เมื่อท่านถึงอุดรฯ ทราบว่า ท่านตรงไปพักวัดโพธิสมภรณ์กับท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ก่อน มีประชาชนจากจังหวัดหนองคายบ้าง สกลนครบ้าง อำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดอุดรบ้าง มารอกราบนมัสการท่าน จากวัดโพธิสมภรณ์ก็ไปพักที่วัดโนนนิเวศน์และจำพรรษาที่นั่น
    เวลาท่านจำพรรษาที่วัดโนนนิเวศน์ ทราบว่าท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์วัดโพธิฯ ได้พาคณะศรัทธาทั้งข้าราชการและพ่อค้าประชาชนไปรับโอวาทท่านทุกวันพระตอนเย็น ๆ มิได้ขาด เพราะท่านเจ้าคุณธรรมฯ เองอุตส่าห์เดินทางไปอาราธนานิมนต์ท่านอาจารย์มั่น ที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งไกลแสนไกล และยังอุตส่าห์ด้นดั้นเข้าไปจนถึงที่อยู่ของท่านด้วย จึงได้องค์ท่านมาโปรดชาวอุดรฯ เป็นต้น สมความปรารถนา ท่านเจ้าคุณธรรมฯ จึงเป็นผู้มีพระคุณมากแก่พวกเราที่ได้เห็นได้ยินธรรมท่านเวลามาถึงอุดรฯ แล้ว
    ปกติท่านเจ้าคุณเป็นผู้สนใจในธรรมปฏิบัติเป็นประจำนิสัยมาดั้งเดิม ถ้าพูดคุยธรรมกับท่านนานเท่าไร ท่านไม่แสดงอาการเหน็ดเหนื่อยให้ปรากฏเลย ยิ่งเป็นธรรมฝ่ายปฏิบัติด้วยแล้ว ท่านยิ่งชอบเป็นพิเศษ ท่านรักและเลื่อมใสท่านอาจารย์มั่นมาก เวลาท่านพระอาจารย์อยู่อุดรฯ ท่านเป็นผู้เอาใจใส่เป็นพิเศษ และคอยสอบถามความสุขทุกข์ท่านอาจารย์จากใครต่อใครอยู่เสมอ นอกจากนั้นยังพยายามชักชวนให้ประชาชนไปรู้จักและสนิทสนมกับท่านอาจารย์อยู่เสมอ ถ้าเขาไม่กล้าไป ท่านเป็นผู้พาไปเองโดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย คุณธรรมท่านในข้อนี้รู้สึกว่าเด่นมากเป็นพิเศษและน่าเลื่อมใสมาก
    ออกพรรษาแล้วอากาศแห้งแล้ง ท่านอาจารย์ชอบออกไปวิเวกอยู่ตามบ้านนอกเพื่อบำเพ็ญสมณธรรมตามนิสัย บ้านหนองน้ำเค็มที่อยู่ห่างตัวเมืองราว ๓๐๐ เส้น เป็นหมู่บ้านที่ท่านชอบไปพักเป็นเวลานาน ๆ หมู่บ้านนี้มีป่าไม้ร่มรื่นดีเหมาะกับการบำเพ็ญธรรม ท่านพักจำพรรษาอยู่จังหวัดอุดรฯ นับว่าได้ทำประโยชน์แก่ประชาชนพระเณรอย่างมากมาย แถบจังหวัดและอำเภอใกล้เคียงกับจังหวัดอุดรฯ ที่ท่านพักอยู่ มีประชาชนและพระสงฆ์ทยอยกันมาบำเพ็ญกุศลและสดับธรรมท่านมิได้ขาด เพราะท่านเหล่านี้โดยมากก็เคยเป็นลูกศิษย์เก่าแก่ สมัยที่ท่านมาบำเพ็ญอยู่ก่อนเดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่แล้ว ดังนั้น เมื่อทราบว่าท่านมาจึงต่างมีความดีใจกระหยิ่มยิ้มแย้ม อยากมาพบมาเห็นและทำบุญให้ทานสดับตรับฟังโอวาทกับท่าน
    ในระยะนั้นอายุท่านยังไม่แก่นัก ราว ๗๐ ปี การไปมาในทิศทางใดก็พอสะดวกอยู่บ้าง ประกอบกับท่านมีนิสัยคล่องแคล่วว่องไวลุกง่ายไปเร็วอยู่ด้วย และไม่ชอบอยู่ในที่แห่งเดียวเป็นประจำ ชอบเที่ยวซอกแซกตามป่าตามเขาที่เห็นว่าสงบสงัดปราศจากสิ่งก่อกวน
    ปัญหาที่อุบาสกชาวอุดรฯ ถาม
    ที่อุดรฯ ก็ปรากฏว่า มีผู้มาเรียนถามปัญหาธรรมกับท่านบ่อย ๆ เช่นที่อื่น ๆ เหมือนกัน ปัญหาที่เขาถามท่านมีคล้ายคลึงกับปัญหาที่ผ่านมาแล้วก็มี ที่แปลกต่างกันออกไปตามความคิดเห็นของผู้ถามก็มี
    ที่คล้ายคลึงกันได้แก่ ปัญหาที่เกี่ยวกับบุพเพสันนิวาสของสัตว์ที่เคยสร้างความดีมาเป็นลำดับ ไม่ละนิสัยวาสนาของตนหนึ่ง บุพเพสันนิวาสของสามีภริยาที่เคยครองรักอยู่ร่วมกันมาหนึ่ง ทั้งสองข้อนี้ท่านว่ามีผู้สงสัยถามมากกว่าข้ออื่น ๆ ในข้อแรกท่านมิได้ระบุปัญหาที่เขาถามลงอย่างชัดเจนว่า เขาถามอย่างนั้น ๆ เป็นแต่ท่านปรารภแล้วอธิบายไปเองทีเดียวว่า สิ่งเหล่านี้ ต้องมีการริเริ่มก่อตั้งเจตนาขึ้นมา ให้เป็นทางเดินแห่งภพชาติของผู้จะเกี่ยวข้องกับตน และตนจะเกี่ยวข้องกับผู้นั้น
    ส่วนข้อต่อมาท่านระบุปัญหาที่เขาถามว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #F3F3F3" bgcolor="#f3f3f3" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="540">
    คำว่า บุพเพสันนิวาสนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า หญิงชายรักกันอย่างนี้เป็นบุพเพสันนิวาส รักกันอย่างนั้นไม่ใช่บุพเพสันนิวาส และอยู่ร่วมกันกับคนนี้เป็นบุพเพสันนิวาส อยู่ร่วมกันกับคนนั้นมิใช่บุพเพสันนิวาส
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ท่านตอบว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #FFFFF5" bgcolor="#fffff5" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="569">
    สำหรับพวกเรายากจะมีทางทราบได้ว่า รักอย่างนั้นและรักคนนั้นเป็นบุพเพสันนิวาส รักอย่างนั้นและรักคนนั้นมิใช่บุพเพสันนิวาส ก็รักและอยู่ร่วมกันไปแบบคนตาบอด เกิดความหิวจัดคว้าหาอาหารมารับประทานนั่นแล อะไรถูกมือก็รับไปพอประทังชีวิตไปวันหนึ่ง ๆ บุพเพสันนิวาสก็เช่นเดียวกัน ทั้งที่มีอยู่กับสัตว์บุคคลทั่วไป แต่จะคว้าถูกจุดของบุพเพสันนิวาส คือรักและอยู่ร่วมกับผู้เคยเป็นบุพเพสันนิวาสกันนั้น เป็นสิ่งที่หาเจอได้ยากมาก เนื่องจากกิเลสตัวรัก ๆ นี้มันมิได้ไว้หน้าใคร และมิได้รอคอยให้บุพเพสันนิวาสมาวินิจฉัยหรือตัดสินก่อนมัน ขอแต่ว่าเป็นหญิงหรือเป็นชายที่ต้องกับเพศและนิสัยของมันแล้ว เป็นต้องรักและคว้าดะไปเลย
    กิเลสตัวรักนี่แลพาให้คนเป็นนักต่อสู้แบบไม่รู้จักเป็นรู้จักตาย ไม่รู้จักสูงจักต่ำ ไม่รู้จักใกล้จักไกล ไม่รู้จักเลือกสรรปันแบ่งว่ามากไปหรือน้อยไป ควรหรือไม่ควรเพียงใด มีแต่จะสู้ตายเอาท่าเดียวไม่ยอมแพ้ แม้จะพลาดท่าหรือตายไปก็ยังไม่ยอมทิ้งลวดลายที่เคยเป็นนักต่อสู้เอาเลย นี่แลเรื่องของกิเลสตัวรัก มันแสดงตัวเด่นอยู่ในหัวใจของสัตว์โลกอย่างเปิดเผย ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจของใครเอาง่าย ๆ ผู้ต้องการมีหลักฐานและความมีประมาณเป็นเครื่องทรงตัวไว้บ้าง จึงไม่ควรปล่อยให้มันวิ่งแซงหน้าไปตามนิสัยโดยถ่ายเดียว ควรมีการหักห้ามกันบ้างพอมีทางตั้งตัว แม้จะไม่ทราบบุพเพสันนิวาสของตัว ก็ยังพอมีทางยับยั้งใจได้บ้าง ไม่ถูกมันจับถูไถเข้าถ้ำเข้ารูลงเหวตกบ่อไปท่าเดียว
    ความรู้บุพเพสันนิวาสของตนนี้ ถ้าไม่ใช่นักปฏิบัติจิตตภาวนา ซึ่งมีนิสัยในทางรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ก็ยากที่จะทราบได้ แต่อย่างไรก็ตาม เราควรมีสติหักห้ามมันอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้มันพาไหลลงสู่ที่โสมมแบบน้ำล้นฝั่งไม่มีอะไรกั้นก็แล้วกัน ยังพอจะมีหวังครองตัวไปได้ ไม่จอดจมหล่มลึกลงในกลางทะเลแห่งความรักอันไม่มีประมาณโดยถ่ายเดียว
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    เขาถามท่านอีกปัญหาหนึ่งว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #F3F3F3" bgcolor="#f3f3f3" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="540">
    “ระหว่างสามีภริยาที่อยู่ร่วมกันด้วยความผาสุกเย็นใจตลอดมา ไม่ประสงค์จะให้พลัดพรากจากกันในภพต่อไป เกิดในชาติใดภพใดขอให้ได้เป็นสามีภริยากันตลอดไป จะปฏิบัติอย่างไรจึงจะสมหวัง ถ้าต่างคนต่างตั้งความปรารถนาให้ได้พบกันทุกภพทุกชาติจะเป็นไปได้ไหม”
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ท่านตอบว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #FFFFF5" bgcolor="#fffff5" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="569">
    “ความปรารถนานั้นเป็นเพียงเส้นทางเดินของจิตใจผู้มุ่งหมายเท่านั้น ถ้าไม่ดำเนินตามความปรารถนาก็ไม่เกิดประโยชน์ตามความมุ่งหมาย เช่น คนต้องการเป็นคนร่ำรวย แต่เกียจคร้านในการแสวงหาทรัพย์ ความร่ำรวยก็เป็นไปไม่ได้ ต้องอาศัยความขวนขวายตามเจตนาจำนงที่ตั้งไว้ด้วยจึงจะสมหวัง
    นี่ก็เหมือนกัน ถ้าต้องการเป็นสามีภริยาครองรักกันอย่างมีความสุขทุกภพทุกชาติไป ไม่อยากพลัดพรากจากกัน ต้องมีจิตใจคือทรรศนะตรงกัน ต่างคนต่างอยู่ในขอบเขตของกันและกัน ไม่ชอบแสวงหาเศษหาเลยอันเป็นการทำลายจิตใจและความสุขความไว้วางใจกัน ต่างคนเป็นผู้รักศีลรักธรรม มีความประพฤติดีไว้วางใจกันได้ ความรู้ความเห็นลงรอยกัน ต่างพยายามรักษาความปรารถนาด้วยการทำดี ย่อมมีทางสมหวังได้ ไม่เหนือความพยายามของผู้ปรารถนาไปได้เลย แต่ถ้าความประพฤติทุกด้านแบบตรงกันข้าม หรือสามีดีแต่ภริยาชั่ว หรือภริยาดีแต่สามีชั่ว ต่างคนต่างทำความชอบใจ ไม่ลงรอยกัน แม้ต่างจะปรารถนาสักกี่ร้อยกี่พันครั้งก็ไม่มีทางสำเร็จ เพราะเป็นการทำลายความปรารถนาของตน”
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ท่านย้อนถามว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #FFFFF5" bgcolor="#fffff5" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="569">
    “โยมปรารถนาเพียงอยากอยู่ร่วมกันเท่านั้น ไม่ปรารถนาอะไรอื่นบ้างหรือ”
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    เขาตอบท่านว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #F3F3F3" bgcolor="#f3f3f3" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="540">
    “นอกนั้นก็ไม่ทราบว่าจะปรารถนาอะไรอีก เพราะความปรารถนาอยากได้เงินได้ทอง อยากได้บริษัทบริวาร อยากได้ยศถาบรรดาศักดิ์ อยากเป็นพระมหากษัตริย์ อยากไปสวรรค์นิพพาน ก็ยังอดลืมภริยาซึ่งเป็นที่รักไม่ได้อยู่นั่นเอง เพราะนี้เป็นจุดใหญ่แห่งความปรารถนาของโลก เลยต้องปรารถนาสิ่งนี้ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่สำหรับปุถุชนก่อน จากนั้นถ้าพอเป็นไปได้ค่อยพิจารณากันไป กระผมจึงเรียนถามเรื่องนี้ก่อน แม้กลัวท่านดุและอายท่านก็ทนเอา เพราะความจริงของโลกโดยมากเป็นกันอย่างนี้ทั้งนั้น เป็นแต่จะกล้าพูดหรือไม่เท่านั้น”
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ท่านหัวเราะแล้วถามเขาว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #FFFFF5" bgcolor="#fffff5" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="569">
    “ถ้าเป็นดังที่ว่านี้ โยมไปไหนก็จะต้องเอาแม่เด็กไปด้วยใช่ไหม”
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    เขาหัวเราะบ้างแล้วเรียนท่านว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #F3F3F3" bgcolor="#f3f3f3" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"><tbody><tr><td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="540">
    “กระผมอายจะเรียนท่านตามความหยาบของปุถุชนที่เป็นอยู่ภายใน แต่ความจริงแล้วเท่าที่กระผมยังบวชไม่ได้จนบัดนี้ ก็เพราะเป็นห่วงแม่เด็ก กลัวเขาจะว้าเหว่เป็นทุกข์ ไม่มีผู้ปรึกษาปรารภและให้ความอบอุ่นแก่เขาเท่าที่ควร ลูก ๆ นอกจากจะมารบ กวนขอเงินไปซื้อนั่นซื้อนี่ และเรื่องอื่น ๆ ซึ่งเป็นเรื่องกวนใจให้ยุ่งแล้ว ก็ยังมองไม่เห็นว่าเขาจะมีความสามารถทำให้แม่มีความอบอุ่น และสบายใจได้ในทางใดบ้าง ผมจึงอดเป็นห่วงเขามิได้
    อีกประการหนึ่งสวรรค์ชั้นนั้น ๆ ตามธรรมท่านบอกไว้ว่ามีทั้งเทวบุตรเทวธิดา ซึ่งแสดงว่ามีทั้งหญิงทั้งชายเหมือนแดนมนุษย์เรา และมีความสุขความสำราญด้วยเครื่องบำรุงบำเรอนานาชนิด ซึ่งเป็นสถานที่น่าไปและน่าอยู่มาก แต่พรหมโลกไม่ปรากฏว่ามีเทวบุตรเทวธิดาเหมือนมนุษย์และสวรรค์เลย เมื่อเป็นเช่นนั้นจะไม่ว้าเหว่ไปหรือ เพราะไม่มีผู้คอยปลอบโยนเอาอกเอาใจในเวลาเกิดความหงุดหงิดใจขึ้นมา ยิ่งนิพพานด้วยแล้วยิ่งไม่มีอะไรไปเกี่ยวข้องสัมผัสเอาเลย เป็นตัวของตัวโดยสมบูรณ์ทุกอย่าง ไม่ต้องอาศัยสิ่งอื่นผู้อื่นใดเข้าไปช่วยเหลือหรือเกี่ยวข้องบ้างเลย เป็นตัวของตัวแท้ ๆ แล้วจะมีอะไรเป็นที่ภาคภูมิใจและเทิดเกียรติว่า ผู้ถึงนิพพานแล้วเป็นผู้ได้รับความภาคภูมิใจ ทั้งเกียรติยศชื่อเสียงเรียงนามและความสุขความสบายจากบรรดาท่านผู้ถึงนิพพานด้วยกัน อย่างมนุษย์ผู้มีฐานะดีมีสมบัติมาก มีเกียรติยศสูงได้รับความยกย่องสรรเสริญจากเพื่อนมนุษย์หญิงชายด้วยกัน
    ท่านที่ไปนิพพานแล้วเห็นเงียบไปเลย ไม่มีพวกเดียวกันยกย่องสรรเสริญท่าน จึงทำให้สงสัยว่าการเงียบไปเลยเช่นนั้นจะเป็นความสุขได้อย่างไร กระผมต้องขอประทานโทษที่มาถามบ้า ๆ บอ ๆ ไม่เข้าเรื่องเข้าราวเหมือนคนที่มีสติทั่ว ๆ ไป แต่ก็เป็นความสงสัยทำให้ลำบากใจอยู่ไม่หาย ถ้าไม่ได้เรียนถามท่านผู้รู้ให้หายสงสัยเสียก่อน”
    </td></tr></tbody></table>
     
  2. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ท่านตอบว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #FFFFF5" bgcolor="#fffff5" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="569">
    “สวรรค์ พรหมโลก และนิพพานมิได้มีไว้เฉพาะคนขี้สงสัยแบบโยม แต่มีไว้สำหรับผู้มองเห็นคุณค่าของตัว และคุณค่าของสวรรค์ พรหมโลก และนิพพาน ว่าเป็นของดีมีคุณค่าต่างกันขึ้นไปตามลำดับชั้น และความดีของผู้ที่ควรจะได้จะถึงตามลำดับ คนแบบโยม สวรรค์ พรหมโลก และนิพพานคงมิได้ฝันถึงเลย แม้โยมจะไปก็ยังไปไม่ได้ถ้าแม่เด็กยังอยู่ หรือแม้แม่เด็กตายไป โยมก็จะอดคิดถึงไม่ได้ แล้วจะมีโอกาสคิดถึงสวรรค์นิพพานพอจะหาเวลาคิดเพื่อจะไปได้อย่างไร แม้พรหมโลกและนิพพานก็มิได้ดีกว่าแม่เด็กสำหรับความรู้สึกของโยม เพราะพรหมโลกและนิพพานบำรุงบำเรอโยมไม่เป็นเหมือนแม่เด็ก โยมจึงสงสัยและไม่อยากไป กลัวจะขาดผู้บำเรอ (ตอนนี้ท่านว่าทั้งท่านทั้งเขาหัวเราะถูกใจ)
    อันความสุขที่เกิดจากสิ่งต่าง ๆ นั้น แม้ในโลกมนุษย์เรายังต่างกันตามชนิดของสิ่งนั้น ๆ ที่มีรสต่างกัน แม้ประสาทเครื่องรับสิ่งเหล่านั้นที่มีอยู่ในร่างกายอันเดียวกัน ก็ยังนิยมรับสัมผัสต่าง ๆ กัน เช่น ตาชอบสัมผัสทางรูป หูชอบสัมผัสทางเสียง จมูกชอบสัมผัสทางกลิ่น ลิ้นชอบสัมผัสทางรส กายชอบสัมผัสทางเย็นร้อนอ่อนแข็ง ใจชอบสัมผัสทางอารมณ์ต่าง ๆ ตามหน้าที่และความนิยมของตน จะให้รสนิยมเหมือนกันย่อมไม่ได้ การรับประทานเป็นความสุขทางหนึ่ง การพักผ่อนนอนหลับเป็นความสุขทางหนึ่ง การครองรักตามประเพณีของโลกเป็นความสุขทางหนึ่ง แต่อย่าลืมว่า การทะเลาะกันเพราะความเห็นขัดแย้งกันด้วยเรื่องต่าง ๆ ก็เป็นความทุกข์ทางหนึ่ง ฉะนั้น โลกจึงไม่ขาดจากการสัมพันธ์ติดต่อกันกับสิ่งที่ตนเห็นว่าเป็นความสุขตลอดมา และจำต้องแสวงกันทั่วโลก จะขาดมิได้
    ความสุขในมนุษย์และสัตว์ที่ได้รับตามภูมิของตนเป็นความสุขประเภทหนึ่ง ความสุขในสวรรค์และพรหมโลกเป็นความสุขประเภทหนึ่ง ความสุขในพระนิพพานของท่านผู้สิ้นกิเลสเครื่องกังวลใจโดยประการทั้งปวงเป็นความสุขประเภทหนึ่ง ต่างจากความสุขที่โลกมีกิเลสทั้งหลายได้รับกัน จะให้เป็นความสุขเหมือนแม่เด็กเสียทุกอย่างแล้ว โยมก็ไม่จำเป็นต้องดูรูปฟังเสียง รับประทานอาหารพักผ่อนหลับนอน และแสวงหาคุณงามความดีมีการให้ทานรักษาศีลภาวนาเป็นต้นให้ลำบาก เพียงอยู่กับแม่เด็กเท่านั้น ความสุขจากสิ่งต่าง ๆ ก็ไหลมารวมในที่นั้นหมด ซึ่งเป็นการตัดปัญหาความยุ่งยากลงได้เยอะแยะ แต่คุณจะให้เป็นดังที่ว่านี้ได้ไหม?”
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    เขาตอบว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #F3F3F3" bgcolor="#f3f3f3" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="540">
    “โอ้โฮ จะได้อย่างไรท่านอาจารย์ แม้แต่กับแม่เด็กบางครั้งยังมีการทะเลาะกันได้ จะสามารถนำความสุขจากสิ่งต่าง ๆ มารวมกับเขาคนเดียวได้อย่างไร ก็ยิ่งจะทำให้ยุ่งใหญ่”
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ท่านเล่าว่า เขาเป็นคนมีนิสัยอาจหาญและตรงไปตรงมา ทั้งรักศีลรักธรรมดีมาก สำหรับฆราวาสที่มีความใฝ่ใจในธรรมและมีความจงรักภักดีต่อครูอาจารย์มากมาย ท่านจึงได้สละเวลาพูดคุยธรรมกันแบบพิเศษ เป็นกันเองแทบทุกครั้งที่เขามาเยี่ยมท่านเวลาปลอดจากแขก ปกติก็ไม่ค่อยมีใครสามารถมาถามท่านแบบเขาได้เลย เขาเป็นคนมีนิสัยรักลูกรักเมียมาก เคยมากราบเยี่ยมท่านบ่อยด้วยความรักเลื่อมในท่านมาก เวลามีแขกอยู่กับท่าน เขาเพียงมากราบแล้วก็หลีกหนีไป ทำงานอะไรช่วยพระเณรไปตามนิสัยของคนสนิทกับวัด ถ้าไม่มีคนนั่นแลเป็นโอกาสที่เขาจะกราบเรียนถามเรื่องอะไรต่าง ๆ ตามแต่เขาถนัด ท่านชอบเมตตาเขาด้วยแทบทุกครั้งที่เขามาสบโอกาส เหมาะ ๆ
    สำหรับท่านพระอาจารย์มั่นแล้ว ท่านฉลาดและรู้นิสัยของคนได้ดีมากหาที่ตำหนิมิได้ คนทุกชั้นทุกเพศทุกวัยมาหาท่าน การปฏิสันถารทางกิริยาจะไม่เหมือนกันเลย ทั้งการพูดธรรมดาและอรรถธรรมต้องต่างกันไปเป็นราย ๆ ของผู้มาเกี่ยวข้อง ดังที่เขียนผ่านมาบ้างแล้ว
    ท่านพักอยู่วัดโนนนิเวศน์ อุดรฯ พระมาจำพรรษากับท่านมากและที่มาอบรมศึกษามีมากตลอดมา วัดโนนนิเวศน์แต่สมัยก่อนที่ท่านพักอยู่มีความสงบมากกว่าทุกวันนี้ รถราผู้คนไม่มาก ผู้เข้าไปเกี่ยวข้องกับวัดโดยมากเป็นผู้หวังบุญกุศลจริง ๆ มิได้เข้าไปแบบทำลายทั้งที่มีเจตนาและไม่มีเจตนา การบำเพ็ญเพียรของพระเณรก็เต็มเม็ดเต็มหน่วยตามเวลาที่ต้องการ ฉะนั้นพระที่ทรงคุณธรรมทางใจจึงมีมากพอเป็นเครื่องอบอุ่นแก่ตัวเอง และประชาชนผู้หวังพึ่งความร่มเย็นของพระ
    การอบรมพระเณรที่อุดรฯ
    ตอนกลางคืนท่านอบรมพระเณร การแสดงธรรมโดยมากท่านเริ่มแต่ ศีล สมาธิ ปัญญา ขึ้นไปเป็นขั้น ๆ อย่างไม่มีจุดหมายว่าท่านจะไปจบในธรรมขั้นใด แสดงจนถึงวิมุตติหลุดพ้นอันเป็นจุดสำคัญของธรรม แล้วย้อนกลับมาแสดงเกี่ยวแก่ผู้ปฏิบัติว่าจะควรปฏิบัติตนอย่างไร จึงจะสามารถบรรลุจุดประสงค์ตามธรรมที่ท่านอบรมสั่งสอน
    การสอนพระในวงปฏิบัติ ท่านสอนเน้นลงในความเป็นผู้มีศีลสังวร โดยถือศีลเป็นสำคัญในองค์พระ พระจะสมบูรณ์ตามเพศของตนได้ต้องเป็นผู้หนักแน่นในศีล เคารพในสิกขาบทน้อยใหญ่ ไม่ล่วงเกินโดยเห็นว่าเป็นสิกขาบทเล็กน้อยไม่สำคัญอันเป็นลักษณะของความไม่ละอายบาป และอาจล่วงเกินได้ในสิกขาบททั่วไป เป็นผู้รักษาวินัยเคร่งครัด ไม่ยอมให้ศีลของตนด่างพร้อยขาดทะลุได้ อันเป็นเครื่องเสริมให้เป็นผู้มีความอบอุ่นกล้าหาญในสังคม ไม่กลัวครูอาจารย์หรือเพื่อนพรหมจรรย์จะรังเกียจหรือตำหนิ
    พระในใจจะสมบูรณ์เป็นขั้น ๆ นับแต่พระโสดา ฯลฯ ถึงพระอรหัตได้ ต้องเป็นผู้หนักในความเพียรเพื่อสมาธิและปัญญาทุกชั้นจะมีทางเกิดขึ้นและเจริญก้าวหน้า สามารถชำระล้างสิ่งสกปรกรุงรังภายในใจออกได้โดยสิ้นเชิง อนึ่งคำว่าพระควรเป็นผู้เยี่ยมด้วยความสะอาดแห่งความประพฤติทางกายวาจา และเยี่ยมด้วยจิตที่ทรงไว้ซึ่งคุณธรรม คือสมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะตามลำดับ ไม่ควรเป็นพระที่อับเฉาเศร้าใจ ไม่สง่าผ่าเผย หลบ ๆ ซ่อน ๆ เพราะปมด้อยคอยกระซิบอยู่ภายใน มีอะไรลึกลับทำให้ร้อนสุมอยู่ในใจนั้น มิใช่พระลูกศิษย์พระตถาคตผู้งดงามด้วยความประพฤติภายในภายนอก ไม่มีที่ต้องติ
    แต่ควรเป็นพระที่องอาจกล้าหาญต่อการละชั่วทำดี ดำเนินตามวิถีรอยพระบาทที่ศาสดาพาดำเนิน เป็นผู้ซื่อตรงต่อตนเองและพระธรรมวินัยตลอดเพื่อนฝูง อยู่ที่ใดไปที่ใดมีสุคโตเป็นที่รองรับ มีโอชารสแห่งธรรมเป็นที่ซึมซาบ มีความสว่างไสวอยู่ด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องส่องทาง ไม่อยู่อย่างจนตรอกหลอกตัวเองให้จนมุม นั่นคือพระลูกศิษย์พระตถาคตแท้ ควรสำเหนียกศึกษาอย่างถึงใจ ยึดไว้เป็นหลักอนาคตอันแจ่มใสไร้กังวล จะเป็นสมบัติที่พึงพอใจของผู้นั้นแน่นอน
    นี่เป็นปกตินิสัยที่ท่านอบรมพระปฏิบัติ
    หลังจากการประชุมแล้ว ท่านผู้ใดมีข้อข้องใจก็ไปศึกษากับท่านเป็นราย ๆ ไปตามโอกาสที่ท่านว่างกิจประจำวัน ซึ่งมีติดต่อกันที่ท่านต้องปฏิบัติไม่ลดละไม่ว่าจะอยู่ในที่ใด คือตอนเช้าออกจากที่ภาวนาแล้วลงเดินจงกรมก่อนบิณฑบาต พอได้เวลาแล้วก็ออกบิณฑบาต จากนั้นเข้าทางจงกรมเดินจงกรมจนถึงเที่ยงเข้าที่พัก พักจำวัดบ้างเล็กน้อย ลุกขึ้นภาวนาแล้วลงเดินจงกรม บ่าย ๔ โมงเย็นปัดกวาดลานวัดหรือที่พักอยู่ขณะนั้น สรงน้ำแล้วเข้าทางจงกรมอีกเป็นเวลาหลายชั่วโมง ออกจากที่จงกรมก็เข้าที่ไหว้พระสวดมนต์
    การสวดมนต์ท่านสวดมากและสวดนานเป็นชั่วโมง ๆ เสร็จแล้วนั่งสมาธิภาวนาต่อไปตั้งหลายชั่วโมง คืนหนึ่ง ๆ ท่านพักจำวัดราว ๔ ชั่วโมงเป็นอย่างมากในเวลาปกติ ถ้าเป็นเวลาพิเศษก็นั่งสมาธิภาวนาตลอดรุ่งไม่พักจำวัดเลย
    ในวัยหนุ่มท่านทำความเพียรเก่งมาก ยากจะมีผู้เสมอได้ แม้ในวัยแก่ยังไม่ทิ้งลวดลาย เป็นแต่ผ่อนลงบ้างตามวิบากที่ทรุดโทรมลงทุกวันเวลา ที่ผิดกับพวกเราอยู่มากคือจิตใจท่านไม่แสดงอาการอ่อนแอไปตามวิบากธาตุขันธ์เท่านั้น นี่คือวิธีการของท่านผู้ดีเป็นคติแก่โลกดำเนินมา มิได้ทอดทิ้งปล่อยวางหน้าที่ของตนนับแต่ต้นเป็นลำดับมา ไม่ลดละความเพียรซึ่งเป็นแรงหนุนอันสำคัญ แดนแห่งชัยชนะที่ท่านได้รับอย่างพอใจนั้นได้ที่เขาลึกในจังหวัดเชียงใหม่ที่เขียนผ่านมาแล้ว
    เราที่เกิดมาในชาติมนุษย์ซึ่งเป็นชาติที่พร้อมด้วยคุณสมบัติที่ควรจะได้จะถึงอยู่แล้ว แต่ละท่านที่จะได้ประสบความสำเร็จดังใจหมายเช่นท่านที่ได้ประสบมาแล้ว จนได้กลายมาเป็นประวัตินั้น แม้จะมีคนมากแทบล้นโลกสมัยปัจจุบัน แต่ผู้จะได้ประสบกับแดนสมหวังดังที่กล่าวมานี้มีจำนวนน้อยมากเหลือเกิน แทบจะไม่มีในโลกสมัยปัจจุบัน
    ที่แตกต่างกันมากทั้งนี้ เพราะความรู้ความเห็นความขะมักเขม้นและอิทธิบาท ๔ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ในทางจะให้เกิดผลดังมุ่งหมายมีมากน้อยต่างกันมาก ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้ต่างกันมากจนแทบไม่น่าเชื่อทั้งฝ่ายดีฝ่ายชั่ว แต่เป็นสิ่งที่โลกได้ประจักษ์ตาประจักษ์ใจกันมานานแล้ว จนหาทางปฏิเสธไม่ได้ นอกจากต้องยอมรับโดยทั่วกันตามสิ่งที่ปรากฏ ทั้งดีทั้งชั่ว ทั้งสุขทั้งทุกข์ ซึ่งเกิดขึ้นกับตนแต่ละราย ไม่มีทางสลัดปัดทิ้งได้เท่านั้น
    ท่านพระอาจารย์มั่นเป็นผู้มีประวัติอันงดงามมากในบรรดาครูอาจารย์สมัยปัจจุบัน เป็นประวัติที่ทรงดอกทรงผลตลอดต้นชนปลาย สวยงามมาทุกระยะ น่าเคารพเลื่อมใสของคนทุกชั้นทุกเพศทุกวัย กิตติศัพท์กิตติคุณฟุ้งขจรไปถึงไหน เกิดความหอมหวนชวนให้เคารพเลื่อมใสในที่นั้น แต่เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง เวลาท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านพุทธศาสนิกชนที่มีความรักใคร่ใฝ่ธรรมไม่ค่อยมีโอกาสได้ทราบ และได้เข้าใกล้ชิดสนิทกับท่านซึ่งมีอยู่มากมาย ทั้งที่ประสงค์อยากพบท่านผู้ดีมีคุณธรรมสูงอยู่ตลอดมา
    แต่เนื่องจากท่านไม่ค่อยชอบออกมาตามบ้านเมืองที่มีผู้คนชุกชุม ท่านเห็นเป็นความสะดวกสบายใจในการอยู่ในป่าเขาตลอดมาแต่ต้นจนอวสาน แม้พระสงฆ์ผู้มีความมุ่งมั่นต่ออรรถธรรมซึ่งมีอยู่มาก ก็ไม่ค่อยมีโอกาสได้เข้าไปถึงองค์ท่านได้ง่าย ๆ เพราะทางลำบากกันดาร รถราไม่มี การเข้าไปหาจนถึงที่อยู่ท่านต้องเดินทางเป็นวัน ๆ ผู้ไม่เคยเดินก็ไปไม่ไหว ทั้งความไม่กล้าหาญพอที่จะรับธรรมอันแท้จริงจากท่านบ้าง กลัวท่านจะไม่รับให้อยู่ด้วยบ้าง กลัวท่านจะดุบ้าง กลัวตัวจะปฏิบัติไม่ได้อย่างท่านบ้าง กลัวอาหารการเป็นอยู่จะขาดแคลนกันดารบ้าง กลัวจะฉันมื้อเดียวอย่างท่านไม่ได้บ้าง
    เรื่องที่จะเป็นอุปสรรคต่อการไปนั้น รู้สึกว่าสร้างไว้อย่างมากมาย จนไม่อาจจะฝ่าฝืนเล็ดลอดไปได้ ทั้งที่มีความมุ่งหวังอยู่อย่างเต็มใจ สิ่งเหล่านี้แลที่เป็นอุปสรรคต่อตัวเอง จึงปล่อยโอกาสให้ผ่านไปโดยไม่ได้รับประโยชน์อะไรจากความคิดชนิดต่าง ๆ เหล่านี้เลย กระทั่งได้ยินแต่ประวัติท่านที่ไม่มีรูปร่างเหลืออยู่แล้ว จึงได้ทราบว่าท่านเป็นพระเช่นไรในวงพระศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาที่ทรงมรรคทรงผลตลอดมานับแต่พระพุทธเจ้าเป็นพระองค์แรก ลำดับลำดากันลงมาถึงพระสาวกผู้ทรงมรรคทรงผล นับจำนวนไม่ได้ ถ่ายทอดกันเรื่อยมาด้วย สุปฏิบัติ อุชุ ญายะ สามีจิปฏิบัติ อันเป็นเหมือนทำนบใหญ่ที่ไหลออกมาแห่งน้ำอมตมหานิพพานจากจิตสันดานของทุกท่าน ผู้ทรงไว้ซึ่งปฏิปทา ตามทางศาสดาที่ประทานไว้
    ท่านพระอาจารย์มั่นเป็นองค์หนึ่งในจำนวนพระสาวกอันดับปัจจุบัน ซึ่งเพิ่งมรณภาพผ่านไปเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๒ ถ้ารวมเวลาที่ผ่านไปก็ราว ๒๐ ปีกว่าเท่านั้น แต่การมรณภาพท่านจะรอลงข้างหน้าเวลาเรื่องท่านดำเนินไปถึง แต่อย่างไรก็ตามการผ่านไปแห่งรูปธรรมนั้นเป็นของมีมาดั้งเดิม ทั้งยังจะมีต่อไปตลอดกาลเมื่อความเกิดของสิ่งสมมุติต่าง ๆ ยังเป็นไปอยู่ ความอัศจรรย์สำคัญที่ยังคงอยู่ คือ พระเมตตาคุณ พระปัญญาคุณ และพระวิสุทธิคุณของพระพุทธเจ้าที่สถิตอยู่กับพระศาสนาไม่ได้ผ่านไปด้วย แม้เมตตาคุณ ปัญญาคุณ และวิสุทธิคุณของท่านพระอาจารย์มั่นก็คงยังอยู่เช่นเดียวกับของพระศาสดา เพราะเป็นคุณสมบัติลักษณะเดียวกัน สำคัญอยู่ที่ผู้จะปฏิบัติให้เป็นไปตามพระโอวาทที่ท่านประทานไว้ จะสามารถตักตวงได้มากน้อยเพียงไร ในกาลอันควรที่กำลังเป็นไปอยู่กับพวกเราเวลานี้ นี่เป็นสิ่งที่ยังควรและน่าสนใจอยู่มาก สำหรับผู้ยังมีชีวิตครองตัวอยู่ ถ้าหาไม่แล้วหมดหนทาง ไม่มีสิ่งใดมาแก้ไขให้กลับคืนได้
    ตอนท่านแก้ปัญหาพี่น้องชาวนครราชสีมานั้น มีเนื้อความสะดุดใจผู้เขียนตลอดมา จึงขอถือเอาความย่อ ๆ มาลงอีกเล็กน้อย ว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #FFFFF5" bgcolor="#fffff5" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="569">
    อย่าทำความรู้ ความเห็นและความประพฤติทุกด้านเหมือนเราไม่มีป่าช้าอยู่กับตัว อยู่กับบ้านเมืองเรา อยู่กับญาติมิตรของเรา บทถึงคราวเป็นอย่างโลกที่มีป่าช้าทั่ว ๆ ไปขึ้นมา จะแก้ตัวไม่ทัน แล้วจะจมลงในที่ตนและโลกไม่ประสงค์อยากลงกัน จะคิดจะพูดจะทำอะไร ควรระลึกถึงป่าช้าคือความตายบ้าง เพราะกรรมกับป่าช้าอยู่ด้วยกัน ถ้าระลึกถึงป่าช้า ในขณะเดียวกันได้ระลึกถึงกรรมด้วย พอทำให้รู้สึกตัวขึ้นบ้าง อย่าอวดตัวว่าเก่งทั้ง ๆ ที่ไม่เหนืออำนาจของกรรม แม้อวดไปก็เป็นการทำลายตัวให้ล่มจมไปเปล่า ๆ ไม่ควรอวดเก่งกว่าศาสดาผู้รู้ดีรู้ชอบทุก ๆ อย่าง ไม่ลูบ ๆ คลำ ๆ เหมือนคนมีกิเลสที่อวดตัวว่าเก่ง สุดท้ายก็จนมุมของกรรมคือความเก่งของตัว (ผลร้ายที่เกิดจากการทำด้วยความอวดเก่งของตัวเอง)
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    นี้ฟังแล้วใจสะดุ้งและหมอบยอมจำนนต่อกรรมจริง ๆ ไม่ผยองพองตัวจนลืมตน ว่ามิใช่คนเดินดินเหมือนโลก ๆ เขา จึงได้นำมาลงซ้ำอีก ที่ลงมาแล้วบางตอนก็มีบกพร่องบ้าง ไม่สมบูรณ์ตามที่ท่านอธิบาย มาระลึกได้ทีหลังก็มี อย่างนี้เองความรู้ความจำของปุถุชนคนหนามันหลอก ๆ ลวง ๆ ขวางธรรมของจริงอยู่อย่างนี้เอง จึงขออภัยท่านผู้อ่านไว้ด้วยที่เขียนซ้ำบ้างเป็นบางตอน
    ท่านพระอาจารย์มั่นท่านมีความรู้ความสามารถ ประสาทธรรมให้แก่คณะลูกศิษย์ฝ่ายพระเป็นต้นโพธิ์ต้นไทรขึ้นมาหลายองค์ ซึ่งเป็นประเภทที่ปลูกให้เจริญเติบโตขึ้นยากอย่างยิ่ง เพราะเป็นประเภทที่ชอบมีอันตรายรอบด้าน
    ครูอาจารย์ที่เป็นลูกศิษย์ผู้ใหญ่ท่านยังมีอยู่หลายองค์ ที่ระบุนามมาบ้างแล้วตอนต้นก็มี คือ ท่านอาจารย์สิงห์ ท่านอาจารย์มหาปิ่น อุบลฯ ท่านอาจารย์เทสก์ ท่าบ่อ หนองคาย ท่านอาจารย์ฝั้น สกลนคร ท่านอาจารย์ขาว วัดถ้ำกลองเพล อุดรฯ ท่านอาจารย์พรหม บ้านดงเย็น อำเภอหนองหาร อุดรฯ แต่ท่านมรณภาพไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ท่านอาจารย์ลี วัด อโศการาม สมุทรปราการ ท่านอาจารย์ชอบ ท่านอาจารย์หลุย จังหวัดเลย ท่านอาจารย์อ่อน หนองบัวบาน ท่านอาจารย์สิม เชียงใหม่ ท่านอาจารย์ตื้อ เชียงใหม่ ท่านอาจารย์กงมา สกลนคร ที่หลงลืมจำไม่ได้ก็ยังมีอยู่มาก
    ท่านอาจารย์เหล่านี้ล้วนเป็นผู้มีคุณธรรมในลักษณะต่าง ๆ กัน องค์หนึ่งเด่นไปทางหนึ่ง อีกองค์หนึ่งเด่นไปทางหนึ่ง รวมแล้วท่านเป็นผู้น่ากราบไหว้บูชาอย่างสนิทใจแทบทุกองค์ บางท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมีประชาชนพระเณรรู้จักมาก บางท่านชอบเก็บตัว และชอบอยู่ในที่สงัดตามอัธยาศัย บรรดาลูกศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น บางท่านมีสมบัติมาก (คุณธรรม) แต่ไม่มีคนค่อยทราบก็มีอยู่หลายองค์ เพราะท่านชอบอยู่อย่างเงียบ ๆ ตามนิสัย นับว่าท่านสามารถปลูกพระให้เป็นต้นโพธิ์ธรรมได้มากกว่าทุกอาจารย์ในภาคอีสาน โพธิ์คือความรู้ความฉลาด ถ้าเป็นโพธิ์ของพระพุทธเจ้าก็เรียกว่าตรัสรู้ แต่เป็นอาจารย์ก็ควรเรียกตามฐานะ หรือตามวิสัยป่าของผู้เขียนว่าโพธิ์ธรรมซึ่งรู้สึกถนัดใจ
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #F3F3F3" bgcolor="#f3f3f3" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="540">
    การปลูกพระก็เหมือนที่โลกเลี้ยงลูกปลูกโพธิ์นั่นเอง การแนะนำสั่งสอนเพื่อปลูกฝังหลักฐานทางมรรยาท ความประพฤติตลอดความรู้ ความฉลาด ทางภายในถึงขั้นปกครองตนได้ ไม่มีภัยเข้าไปอาจเอื้อมทำลายได้ เพียงแต่ละองค์นับว่าเป็นสิ่งที่ทำให้เจริญได้ยากมาก เพราะการปลูกคุณธรรมให้ฝังลึกลงในหัวใจของคนมีกิเลสแสนแง่แสนงอนนั้น เป็นภาระที่หนักหน่วงถ่วงใจ ผู้เป็นอาจารย์แทบไม่มีเวลาปลงวางได้ และต้องเป็นผู้มีอำนาจเหนือกิเลสโดยประการทั้งปวงแล้ว จึงจะพอมีทางทำให้ผู้มารับการอบรมได้รับความซาบซึ้งถึงใจ และพอใจปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ นิสัยกับธรรมจะพอมีทางกลมกลืนกันได้ กลายเป็นผู้มีความมั่นคงทางใจไปโดยลำดับ
    ลำพังเราก็มีกิเลส ผู้มารับการอบรมต่างก็มีกิเลสเต็มตัวด้วยกัน ยากที่จะมีกำลังฉุดลากกันไปให้ถึงที่ปลอดภัยได้ จึงอยากจะพูดว่า สิ่งที่ทำได้ยากในโลกมนุษย์เราก็คือการสร้างพระธรรมดาให้เป็นพระที่น่ากราบไหว้บูชา และเสกสรรหรือส่งเสริมให้เลื่อนจากฐานะเดิมของจิตขึ้นสู่พระโลกุตระ คือพระโสดา พระสกิทาคา พระอนาคา และพระอรหันต์นั้น ยิ่งยากแสนยากขึ้นเป็นขั้น ๆ ดีไม่ดียังไม่แตกกิ่งแตกแขนงก็ถูกตัวแมลงมากัดมาไช มาโค่นรากแก้วรากฝอยให้โค่นล้มจมดินอย่างไม่เป็นท่าเสียมากกว่าจะเจริญเป็นต้นเป็นลำขึ้นมาพอทำประโยชน์ได้ โดยมากเราเคยเห็นกันมาอย่างนั้นแทบทั้งนั้น ไม่ค่อยมีรากฝังลึกพอจะทนลมทนฝนทนตัวแมลงกัดไชได้
    เราปลูกต้นไม้ชนิดต่าง ๆ ไว้ทำประโยชน์ ไม่กี่ปีก็ได้รับผล แต่ปลูกพระนี้กี่ปีคอยแต่จะโค่นล้มอยู่นั่นเอง แม้ไม่มีอะไรมาตอม แต่ตัวเองคอยส่ายแส่หาตัวแมลงมาตอมเพื่อทำลาย และตัวก็คอยทำลายตัวเองอยู่แล้ว จึงเป็นความเจริญได้ยากในการปลูกพระ ถ้าไม่เชื่อว่าเป็นความจริงก็เชิญเข้ามาลองบวชบำรุงตนด้วยสิกขาบทกฎบัญญัติที่ประทานไว้ดู น่ากลัวว่าข้าวเย็นก็จะหิวก่อนเวลาทั้งที่ตะวันยังไม่ตก เที่ยวก็อยากเที่ยวตลอดเวลาทั้งที่ศีรษะก็ไม่เหมือนโลกเขา ตาหูเป็นต้นต่างก็อยากดูอยากฟัง อยากดมกลิ่นลิ้มรส สัมผัสสิ่งอ่อนนุ่มภูมิใจ ไม่มีเวลาอิ่มพอตลอดเวลา โดยไม่เลือกว่าเช้าสายบ่ายเย็นอะไรเลย จนลืมว่าตัวเป็นอะไรขณะนี้ ส่วนจะสนใจบำรุงต้นโพธิ์ คือใจให้มีเหตุมีผลรู้จักอดทนต่อคำสั่งสอน น้อมเข้ามาฝึกฝนอบรมตนให้มีความสงบเย็นใจนั้น น่ากลัวจะไม่สนใจนำพาเสียแล้ว ต้นโพธิ์คือใจเมื่อขาดการบำรุง ก็มีแต่จะเหี่ยวแห้งยุบยอบลงโดยลำดับ สิ่งคอยทำลายก็นับวันเวลามีโอกาสหักรานไปทุกระยะ ต้นโพธิ์ต้นไหนบ้างจะทนตั้งโด่อยู่ได้ เพราะโพธิ์ของพระเป็นโพธิ์ที่มีหัวใจ จะต้องโอนไปเอนมาตามสิ่งร้าวราน ทนไม่ไหวก็โค่นล้มลงจมดินจมน้ำอย่างไม่เป็นท่าเท่านั้นเอง
    ฉะนั้น การปลูกโพธิ์จึงเป็นของปลูกยากอย่างนี้ ใครไม่เคยปลูกก็ไม่รู้ฤทธิ์ของมันซึ่งไม่ค่อยชอบปุ๋ยธรรมดาเหมือนต้นไม้ทั้งหลาย แต่แหวกไปชอบปุ๋ยประเภทสังหารทำลายเสียมาก ฉะนั้น โพธิ์ต้นนี้จึงมักอับเฉาและตายได้ง่ายกว่าต้นไม้ชนิดอื่น ๆ คือตายจากศีลธรรมความดีงามนั่นเอง ผู้เขียนเคยปลูกและบำรุงมาบ้าง และเคยทำลายมาบ้างด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงพอทราบฤทธิ์ของมันว่าเป็นธรรมชาติที่ปลูกยากบำรุงยาก คอยแต่จะอับเฉาเหี่ยวแห้งและฉิบหายอยู่ตลอดมา แม้ปัจจุบันนี้ก็ยังไม่อาจรับรองได้ว่า โพธิ์ต้นนี้จะเจริญขึ้นหรือเสื่อมลงไปถึงไหนเพียงไร เพราะปกติก็คอยแต่จะเสื่อมลงท่าเดียว ทั้ง ๆ ที่มองไม่เห็นว่ามีอะไรเจริญขึ้นพอให้เสื่อมลงอันเป็นของคู่กัน แต่ยังอุตส่าห์เสื่อมลงได้อยู่นั่นเอง
    ปุ๋ยประเภททำลายนี้ โพธิ์ชนิดนี้รู้สึกชอบและแสวงหามาทำลายตัวเองเป็นประจำแทบมองไม่ทัน โดยไม่มีใครมาเกี่ยวข้องและช่วยทำลาย ดังนั้นท่านที่อุตส่าห์ฝ่าฝืนและทรมานใจให้อยู่ในอำนาจได้จนกลายเป็นโพธิ์ขึ้นมาอย่างสมบูณ์ จึงเป็นผู้ที่น่ากราบไหว้สักการะอย่างถึงใจ สมัยปัจจุบันก็มีท่านอาจารย์มั่น เป็นต้น ซึ่งเป็นที่อบอุ่นแก่บรรดาศิษย์โดยทั่วกัน ทั้งนี้เพราะท่านสามารถบำรุงรักษาต้นโพธิ์ท่านไว้ได้จนทรงดอก ทรงผล ทรงต้น ทรงกิ่ง และทรงใบไว้ได้อย่างสมบูรณ์และร่มเย็นแก่ผู้เข้าอาศัยตลอดมา แม้ท่านมรณภาพผ่านไปแล้วเพียงได้อ่านประวัติก็ยังสามารถทำความดึงดูดจิตใจให้เกิดความเลื่อมใสในท่านและในธรรมขึ้นอีกมาก ประหนึ่งท่านยังมีชีวิตอยู่กับพวกเรามิได้พลัดพรากจากไปไหนเลยฉะนั้น
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    จำพรรษาที่วัดโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี
    ท่านพักจำพรรษาที่วัดโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี เป็นเวลา ๒ พรรษา นับแต่จากจังหวัดเชียงใหม่มา พอออกพรรษาปีที่สองแล้ว คณะศรัทธาทางจังหวัดสกลนคร มีคุณแม่นุ่ม ชุวานนท์ เป็นต้น ซึ่งเคยเป็นลูกศิษย์เก่าแก่ของท่าน พร้อมกันมาอาราธนานิมนต์ท่านให้ไปโปรดทางจังหวัดสกลนคร ซึ่งท่านเคยอยู่มาก่อน ท่านยินดีรับอาราธนา คณะศรัทธาทั้งหลายต่างมีความยินดีพร้อมกันเอารถมารับท่านไปที่จังหวัดสกลนคร ในปลายปีพ.ศ. ๒๔๘๔ ท่านไปพักวัดสุทธาวาส สกลนคร ขณะที่ท่านพักอยู่มีประชาชนพระเณรพากันมากราบเยี่ยมและฟังโอวาทท่านมิได้ขาด ท่านพักวัดสุทธาวาสครั้งนั้นมีผู้มาขอถ่ายภาพท่านไว้กราบไหว้บูชา
    ท่านอนุญาตให้ถ่ายภาพท่านคราวมาพักนครราชสีมาครั้งหนึ่ง คราวมาพักที่สกลนครครั้งหนึ่ง ที่บ้านฝั่งแดง อำเภอพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม คราวกลับจากงานฌาปนกิจศพท่านพระอาจารย์เสาร์ครั้งหนึ่ง ที่ท่านผู้เคารพเลื่อมใสในท่านได้รับแจกไว้สักการบูชาทุกวันนี้ ก็เนื่องมาจากที่ท่านอนุญาตให้ถ่ายสามวาระนั่นแล ไม่เช่นนั้นก็คงไม่มีอะไรปรากฏเป็นพยานแห่งความเลื่อมใสในทางรูปกายท่านบ้างเลย เพราะปกติท่านไม่ชอบให้ถ่ายอย่างง่าย ๆ กว่าจะอนุญาตให้ใครแต่ละครั้ง ผู้นั้นต้องรู้สึกอึดอัดใจอยู่ไม่น้อย ต้องนั่งถอยเข้าถอยออก และเปลี่ยนท่าเปลี่ยนทีอยู่หลายครั้ง จนเหงื่อแตกโชกไปทั้งตัวโดยไม่รู้สึก เพราะเคยทราบมาแล้วว่า ท่านไม่ค่อยอนุญาตให้ใครถ่ายเลย ดีไม่ดีถ้าเข้าไม่สบโอกาสอาจโดนดุก็ได้ จึงต้องกลัวกันทุกรายไป
    a8a8a8a8a8a8a8a8a8a
    ท่านพักวัดสุทธาวาสพอควรแล้ว ก็ออกเดินทางไปพักที่สำนักป่าบ้านนามน ซึ่งเป็นที่สงัดวิเวกดีทั้งกลางวันกลางคืน เหมาะกับอัธยาศัยท่านที่ชอบเช่นนั้นมาประจำนิสัย พระเณรที่ไปอาศัยอยู่กับท่านเห็นแล้วน่าเลื่อมใสอย่างจับใจ มีแต่องค์พูดน้อยแต่ชอบต่อยมาก ๆ กันทั้งนั้น คือท่านไม่ชอบพูดคุยกัน ต่างองค์ประกอบความเพียรตลอดเวลาในที่ของตน ๆ อยู่ในกระต๊อบเป็นหลัง ๆ บ้าง อยู่ในที่จงกรมในป่าริมที่พักบ้าง ถึงเวลาบ่าย ๔ โมงเย็นเวลาปัดกวาดลานวัด ถึงจะเห็นท่านเดินออกมาจากที่ต่าง ๆ แล้วปัดกวาดลานวัดโดยพร้อมเพรียงกัน จากนั้นก็พากันขนน้ำขึ้นใส่ตุ่มล้างเท้า ตุ่มล้างบาตร และสรงน้ำอย่างสงบเสงี่ยมงามตา ต่างองค์ต่างมีท่าอันสำรวม มีสติปัญญาพิจารณาธรรมไปกับกิจวัตรที่ทำ มิได้เลินเล่อเผลอตัวคะนองปากพูดไปต่าง ๆ
    พอเสร็จกิจวัตรแล้วต่างองค์ต่างปลีกตัวหาที่บำเพ็ญเพียรในที่และท่าต่าง ๆ ประหนึ่งไม่มีพระอยู่ในสำนักเลยฉะนั้น เพราะไม่มองเห็นพระยืนพูดนั่งคุยกันในที่ต่าง ๆ เลย ถ้าก้าวเข้าไปในป่าริมสำนัก จะเห็นแต่ท่านเดินจงกรมไปมาอยู่บ้าง นั่งสมาธิภาวนาอยู่บ้าง นั่งทำความสงบอยู่ในกระต๊อบเล็ก ๆ บ้าง อย่างนั้นเป็นประจำทุกวันเวลา นอกจากเวลาประชุม บิณฑบาตและเวลามีกิจจำเป็นอย่างอื่นหรือเวลาฉันจังหันเท่านั้น จึงจะเห็นท่านอยู่รวมกัน แม้ขณะบิณฑบาตก็ต่างองค์ต่างสำรวมระวังตั้งสติปัญญาใกล้ชิดติดแนบอยู่กับความเพียรไปตามสายทาง มิได้ไปแบบคนไม่มีสติอยู่กับตัว ตาส่งไปในสิ่งโน้น ปากพูดพล่ามกับคนนี้ อะไรเช่นนั้น ในอิริยาบถและความเคลื่อนไหวไปมาของพระท่านเป็นที่เย็นตาเย็นใจน่าเคารพเลื่อมใส
    ก่อนฉันต่างพิจารณาอาหารปัจจัยที่รวมอยู่ในบาตรด้วยอุบายที่เห็นภัย ไม่ให้ติดใจในอาหาร ไม่แสดงอาการเพลิดเพลินในอาหารชนิดต่าง ๆ ขณะฉันก็ทำความรู้สึกแบบคนมีสติอยู่กับตัวและฉันด้วยท่าสำรวม ไม่พูดคุยกันในเวลาฉัน และไม่มองโน้นมองนี่ การขบเคี้ยวอาหารก็มีสติระวังไม่ให้มีเสียงดังเกินความงาม อันเป็นที่รำคาญแก่ผู้อื่นที่ฉันอยู่ด้วยกัน
    หลังจากฉันเสร็จต่างเก็บสิ่งของบริขารและปัดกวาดเช็ดถูที่ฉันให้สะอาด แล้วล้างบาตรเช็ดบาตรให้แห้ง ผึ่งแดดครู่หนึ่ง แล้วเก็บไว้ในที่ควร หลังจากนั้นต่างเข้าหาที่วิเวกเพื่อความเพียร คือการฝึกอบรมใจตามแต่เห็นสมควรจะปฏิบัติต่อใจอย่างไร หนักบ้างเบาบ้าง โดยมิได้คำนึงถึงกับเวล่ำเวลาว่าเช้าสายบ่ายเย็น และความเพียรว่าทำมากไปหรือน้อยไป จุดที่หมายอย่างน้อยก็หวังให้จิตอยู่ในคำบริกรรมภาวนาที่นำมาบังคับหรือกำกับให้เป็นอารมณ์ที่พึ่งพิง เพื่อความสงบเย็นใจหนึ่ง เพื่อบังคับใจให้อยู่ในเหตุผลที่ปัญญาชี้แจงหรืออบรมในกรณีนั้น ๆ หนึ่ง เพื่อภูมิจิตภูมิธรรมขั้นละเอียดขึ้นไปโดยลำดับจนถึงจุดที่หมายหนึ่ง องค์ใดอยู่ในภูมิใดก็พยายามอบรมจิตของตนให้ดำเนินไปตามภูมินั้นไม่ลดละความเพียร
    คำว่าสติย่อมถือเป็นธรรมสำคัญของความเพียรทุก ๆ ประโยค และคำว่าปัญญาก็ย่อมถือเป็นสำคัญในเวลาที่ควรใช้ตามกาลของตน เพราะปัญญาเป็นธรรมจำเป็นไปตามภูมิของธรรม ส่วนสติเป็นธรรมจำเป็นตลอดไปในอิริยาบถต่างๆ กาลใดที่ขาดสติ กาลนั้นเรียกว่าขาดความเพียร แม้กำลังเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิอยู่ก็สักแต่ว่าเท่านั้น แต่มิได้เรียกว่าเป็นความเพียรชอบ
    ดังนั้นท่านจึงสอนเน้นลงในความมีสติมากกว่าธรรมอื่น ๆ เพราะสติเป็นรากฐานสำคัญของความเพียรทุกประเภทและทุกประโยคที่ทำ จนกลายเป็นมหาสติขึ้นมาและผลิตปัญญาให้เป็นไปตาม ๆ กัน ภูมิต้นเพื่อความสงบต้องใช้สติให้มาก ภูมิต่อไปสติกับปัญญาควรเป็นธรรมควบคู่กันไปตลอดสาย
    ท่านอาจารย์มั่นท่านสอนพระให้เด็ดเดี่ยวอาจหาญมาก ใครไม่ตั้งใจจริงจังอยู่กับท่านไม่ค่อยได้ ราว ๖-๗ คืนมีการประชุมธรรมครั้งหนึ่ง คืนนอกนั้นท่านเปิดโอกาสให้พระเณรเร่งความเพียร ผู้ใดมีข้อข้องใจไปเรียนถามท่านได้โดยไม่รอจนถึงวันประชุม ขณะอยู่กับท่านบรรยากาศรู้สึกอบอวลไปด้วยอรรถด้วยธรรม ประหนึ่งมรรคผลนิพพานราวกับอยู่แค่เอื้อมมือ เพราะความอบอุ่นและความมุ่งมั่นมีกำลังกล้า ต่างองค์ต่างเป็นเครื่องพยุงจูงใจกันในทางความเพียร ตลอดมรรยาทที่แสดงออก ราวกับต่างองค์ต่างเอื้อมเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานด้วยกัน จึงต่างองค์ต่างมีความขยันหมั่นเพียรมาก กลางวันกับกลางคืนเหมือนเป็นราตรีเดียวในการประกอบความเพียรของพระทั้งหลาย ถ้าเดือนมืดก็มองเห็นไฟโคมที่จุดด้วยเทียนไขสว่างไสวอยู่ทั่วบริเวณ ถ้าเดือนหงายก็ยังพอสังเกตได้ในการประกอบความเพียรของท่าน ซึ่งต่างองค์ต่างเร่งไม่ค่อยหลับนอนกัน
    เฉพาะองค์ท่าน (พระอาจารย์มั่น) สวดมนต์ภาวนาเก่งไม่แพ้ใครเลย สวดมนต์เป็นชั่วโมง ๆ ถึงจะหยุด และสวดเป็นประจำทุกคืนมิได้ขาด สูตรยาว ๆ เช่น ธรรมจักรและมหาสมัย เป็นต้น ท่านสวดเป็นประจำ นอกจากนั้นเวลามีโอกาสท่านยังแปลให้เราฟังอีกด้วย แต่การแปลสูตรต่าง ๆ ท่านแปลอิงภาคปฏิบัติโดยมาก คือแปลเอาใจความเลยทีเดียว ไม่ค่อยเป็นไปตามวิภัติ ปัจจัย ธาตุ อายตนนิบาต เพื่อรักษาศัพท์แสงเหมือนพวกเราแปลกัน แต่กลับได้ความชัดและเห็นจริงตามท่านอย่างหาที่ค้านไม่ได้เลย จึงเกิดอัศจรรย์ใจอย่างลึก ๆ ว่าการเรียนศัพท์เรียนแปล ท่านไม่ค่อยได้เรียนมากมายอะไรนัก แต่เวลาแปลทำไมท่านแปลเก่งกว่ามหาเปรียญเสียอีก พอยกศัพท์ปุ๊บก็แปลปั๊บในขณะนั้น อย่างคล่องแคล่วว่องไวแทบฟังไม่ทัน
    เช่น ท่านยกศัพท์ธรรมจักรหรือมหาสมัยสูตรขึ้นแปลเป็นบางตอน ที่สัมผัสกับธรรมท่านในเวลาเทศน์นั้น ๆ ท่านแปลอย่างรวดเร็วทันใจราวกับได้เปรียญ ๑๐ ประโยคฉะนั้น ที่ไม่อยากว่า ๙ ประโยคตามที่นิยมกันก็เพราะเคยได้ฟังท่านที่สอบได้เปรียญ ๙ ประโยคแปลมาบ้างแล้ว เวลาแปลยังอึกอัก ๆ และแปลเชื่องช้ามาก กว่าจะได้แต่ละศัพท์ละแสงรู้สึกกินเวลานาน นอกจากนั้น ยังไม่แน่ใจในคำแปลของตนอีกด้วยก็มี ส่วนท่านทั้งแปลก็รวดเร็ว ทั้งอาจหาญต่อความจริงที่แปลออกมา ทั้งเคยได้เห็นผลจากความหมายแห่งธรรมนั้น ๆ มาแล้วอย่างประจักษ์ใจ จึงไม่มีความสะทกสะท้านในการแปล
    แม้คาถาที่ผุดขึ้นจากใจท่านเป็นคำบาลีก็ยังมีแปลกจากบาลีอยู่บ้างไม่ตรงกันทีเดียว เช่น วาตา รุกฺขา น ปพฺพโต เป็นต้น ท่านแปลว่า ลมพัดต้นไม้ทั้งหลายให้แหลกวิจุณไป แต่ไม่สามารถพัดภูเขาหินให้หวั่นไหวได้ดังนี้ รู้สึกจะเป็นเชิงอรรถธรรมที่ผุดขึ้นทั้งความหมายที่นำออกมาแปลให้เราฟัง การกล่าวเกี่ยวกับเปรียญประโยค ๙ ประโยค ๑๐ นั้น กล่าวไปตามภาษาป่า ๆ ตามนิสัยอย่างนั้นเอง กรุณาให้อภัยอย่าได้ถือสาผู้เขียนซึ่งเป็นพระป่า เหมือนวานรที่เคยชินกับป่ามาแต่วันเกิด แม้จะจับมาเลี้ยงอยู่กับมนุษย์จนเชื่องชินก็คงเป็นนิสัยของตัวอยู่นั้นแล ไม่อาจเปลี่ยนแปลงตัวเองและมรรยาทให้เป็นเหมือนมนุษย์ได้ แม้การแปลของท่านกับของพวกเราที่ผู้เขียนบังอาจนำมาลงก็กรุณาให้อภัยด้วย ซึ่งอาจจะเห็นว่าสูงไปหรือต่ำไปที่ไม่ควรอาจเอื้อมนำมาลง
    จำพรรษาที่บ้านโคก
    ท่านพักบ้านนามนพอควรแล้วก็มาพักและจำพรรษาที่บ้านโคก ซึ่งห่างจากบ้านนามนราว ๒ กิโลเมตร ที่บ้านนี้มีความสงัดพอสมควร แต่อยู่ห่างจากหมู่บ้านไม่ถึงกิโลเมตร เพราะหาทำเลยากบ้าง ทั้งสองแห่งนี้มีพระเณรอยู่กับท่านไม่มากนักราว ๑๑–๑๒ องค์เท่านั้น พอดีกับเสนาสนะ ตอนที่ท่านมาพักบ้านโคกผู้เขียนก็ไปถึงท่านพอดี ท่านได้เมตตารับไว้แบบขอนซุงทั้งท่อน ไม่เป็นท่าเป็นทางอะไรเลย อยู่กับท่านแบบทัพพีอยู่กับแกงเราดี ๆ นี่เอง คิดแล้วน่าอับอายขายหน้าที่พระซุงทั้งท่อนไปอยู่กับท่านผู้ฉลาดปราดเปรื่องเลื่องลือระบือทั่วทั้งจักรวาล เบื้องบน เบื้องล่าง
    แต่พอเบาใจหน่อยในการเขียนประวัติท่าน ไม่ตีบตันอั้นตู้นักเหมือนที่แล้ว ๆ มา ซึ่งไปเที่ยวจดและอัดเทปเอาจากพระอาจารย์ทั้งหลายในที่ต่าง ๆ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ที่เคยอยู่กับท่านมาในยุคนั้น ๆ นับแต่เที่ยวจดบันทึกอยู่กว่าจะได้มาลงเป็นอักษรให้ท่านได้อ่าน ก็เสียเวลาไปเป็นปี ๆ แม้เช่นนั้นยังต้องมาเรียงตามลำดับกาลสถานที่เท่าที่จดจำได้ กว่าจะเข้ารูปรอยพออ่านได้ความก็แย่ไปเหมือนกัน
    ที่จะเขียนต่อไปนี้ แม้เรื่องราวของท่านจะไม่ประทับใจท่านผู้อ่านเท่าที่ควร แต่ก็ยังเบาใจสำหรับผู้เรียบเรียงอยู่บ้าง เพราะได้รู้เห็นท่านด้วยตาตนเองตลอดมาจนวาระสุดท้าย
    ท่านพาหมู่คณะจำพรรษาที่สำนักป่าบ้านโคกด้วยความผาสุกทั้งทางกายและจิตใจ ไม่มีการเจ็บไข้ได้ทุกข์ตลอดพรรษา ขณะที่พักอยู่ทั้งในและนอกพรรษา มีการประชุมธรรมเป็นประจำ ๖-๗ คืนต่อครั้ง การแสดงธรรมแต่ละครั้ง นับแต่ ๒ ชั่วโมงขึ้นไปถึง ๓-๔ ชั่วโมง ผู้ฟังนั่งทำจิตตภาวนาไปพร้อมอย่างเพลิดเพลินลืมเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าในขณะฟังธรรมท่าน แม้องค์ท่านเองก็รู้สึกเพลิดเพลินไปด้วยในการแสดงธรรมแก่พระเณรแต่ละครั้ง ท่านแสดงอย่างถึงเหตุถึงผลและถึงใจผู้ฟังซึ่งมุ่งต่ออรรถธรรมจริง ๆ ธรรมที่ท่านแสดงล้วนถอดออกมาจากใจที่รู้เห็นมาอย่างประจักษ์แล้วทั้งนั้น จึงไม่มีอะไรที่น่าสงสัยว่าไม่เป็นความจริง นอกจากจะสามารถปฏิบัติได้อย่างท่านแสดงหรือไม่เท่านั้น
    ขณะที่ฟังท่านแสดงทำให้จิตประหวัดถึงครั้งพุทธกาล ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุบริษัทโดยเฉพาะในสมัยนั้น แน่ใจว่าพระองค์ทรงหยิบยกเอาแต่ธรรมมหาสมบัติ คือมรรคผลนิพพานอออกแสดงล้วน ๆ ไม่มีธรรมอื่นแอบแฝงอยู่ในขณะนั้นเลย จึงสามารถทำให้ผู้ฟังบรรลุมรรคผลนิพพานไปตาม ๆ กัน ไม่ขาดวรรคขาดตอนตลอดวันเสด็จดับขันธปรินิพพาน เพราะพระพุทธเจ้าผู้ประกาศธรรม ก็เป็นผู้ทรงความบริสุทธิ์สุดส่วนแห่งธรรมในพระทัย พระธรรมที่แสดงออกก็เป็นธรรมประเสริฐอัศจรรย์ ทรงมรรคทรงผลล้วน ๆ ผู้ฟังจึงกลายเป็นผู้ทรงมรรคทรงผลไปตาม ๆ กัน
    ท่านอาจารย์มั่นแสดงธรรมก็ล้วนเป็นธรรมปัจจุบันกลั่นกรองออกจากใจล้วน ๆ มิได้แสดงแบบลูบ ๆ คลำ ๆ กำดำกำขาวออกมาให้ผู้ฟัง ซึ่งต่างมีความสงสัยอยู่แล้ว ให้เพิ่มความสงสัยยิ่งขึ้น แต่กลับเป็นธรรมเพื่อทำลายความสงสัยนั้น ๆ ให้ทลายหายไปทุกระยะที่แสดง ผู้ฟังธรรมประเภทอัศจรรย์จากท่านจึงมีทางบรรเทากิเลสไปได้มากมาย ยิ่งกว่านั้นก็มีทางให้สิ้นความสงสัยโดยประการทั้งปวงเสียได้
    วันที่ไม่มีการประชุมธรรม พอขึ้นจากทางจงกรม ราว ๒ ทุ่ม จะได้ยินเสียงท่านทำวัตรสวดมนต์เบา ๆ ทุกคืน เป็นเวลานาน ๆ กว่าจะจบ และนั่งสมาธิภาวนาต่อไปจนถึงเวลาท่านจำวัด ถ้าวันที่มีการประชุม จะได้ยินตอนหลังจากเลิกประชุมแล้วทุกคืนเช่นเดียวกัน และได้ยินท่านสวดอยู่เป็นเวลานาน เช่นเดียวกับคืนที่ท่านสวดแต่หัวค่ำ วันเช่นนั้นท่านต้องเลื่อนการจำวัดไปพักเอาตอนดึก ราวเที่ยงคืนหรือตีหนึ่งนาฬิกา บางครั้งผู้เขียนที่นึกคะนองบ้าขึ้นมา พอได้ยินเสียงท่านสวดมนต์ก็แอบเข้าไปฟังบ้าง เพื่อทราบว่าท่านสวดสูตรใดบ้างถึงได้นานนักหนากว่าจะจบแต่ละคืน พอแอบเข้าไปใกล้ ๆ เพื่อจะฟังให้ชัด แต่ท่านกลับหยุดนิ่งไปเสียเฉย ๆ นี่เอง พอเห็นท่าไม่ดี เราก็รีบออกมายืนรอฟังอยู่ห่าง ๆ หน่อย พอเราถอยออกมาท่านก็เริ่มสวดขึ้นอีก เราก็แอบเข้าไปฟังอีก ท่านก็หยุดนิ่งไปอีก เลยไม่ทราบชัดว่าท่านสวดสูตรใดกันบ้าง
    ถ้าจะขืนดื้อแอบรอฟังอยู่ที่นั้นนาน ๆ ก็กลัวฟ้าจะผ่าลงที่นั้น คือตะโกนดุออกมาในขณะนั้น แม้เช่นนั้นพอตื่นเช้าเวลาท่านออกจากที่พักมา เรามองดูท่านยังไม่เต็มตาเลย ท่านเองก็มองดูเราด้วยสายตาอันคมกล้าน่ากลัวมาก เลยเข็ดแต่วันนั้นไม่กล้าไปแอบฟังท่านสวดมนต์อีกต่อไป กลัวจะโดนอะไรอย่างหนัก ๆ เท่าที่สังเกตดู ถ้าขืนไปแอบฟังท่านอีกมีหวังโดนอะไรแน่ ๆ ข้อนี้มา ทราบเรื่องท่านได้ชัดเมื่อภายหลัง ว่าท่านทราบเรื่องต่าง ๆ ได้ดีจริง ๆ คิดดูเวลาเราไปยืนส่งจิตจดจ้องมองท่านแบบไม่มีสติเช่นนั้น ท่านจะไม่ทราบอย่างไรเล่า ต้องทราบอย่างเต็มใจทีเดียว เป็นแต่ท่านรอฟังดูเหตุการณ์กับพระที่ดื้อไม่เข้าเรื่องไปก่อน หากยังขืนทำอย่างนั้นอีกต่อไป ท่านถึงจะลงอย่างหนัก ที่แปลกใจอยู่มากคือเวลาเราแอบเข้าไปทีไร ท่านต้องหยุดสวดทุกครั้ง แสดงว่าท่านทราบได้อย่างชัดเจนทีเดียว
    กลางวันวันหนึ่งซึ่งผู้เขียนไปถึงใหม่ ๆ กำลังกลัวท่านเป็นกำลัง เผอิญเอนกายลงเลยเคลิ้มหลับไป ขณะที่เคลิ้มหลับไปนั้น ปรากฏว่าท่านมาดุใหญ่ว่า
    “ท่านมานอนเหมือนหมูอยู่ทำไมที่นี่ เพราะที่นี่มิใช่โรงเลี้ยงหมู ผมจึงไม่ส่งเสริมพระที่มาเรียนวิชาหมู เดี๋ยววัดนี้จะกลายเป็นโรงเลี้ยงหมูไป” ดังนี้
    เสียงท่านเป็นเสียงตะโกนดุด่าขู่เข็ญให้เรากลัวเสียด้วย จึงสะดุ้งตื่นทั้งหลับ และโผล่หน้าออกมาประตูมองหาท่าน ทั้งตัวสั่นใจสั่นแทบเป็นบ้าไปในขณะนั้น เพราะปกติก็กลัวท่านแทบตั้งตัวไม่ติดอยู่แล้ว แต่บังคับตนอยู่กับท่านด้วยเหตุผลที่เห็นว่าชอบธรรมเท่านั้น แถมท่านยังนำยาปราบหมูมากรอกเข้าอีก นึกว่าสลบไปในเวลานั้น พอโผล่หน้าออกมามองโน้นมองนี้ไม่เห็นท่านมายืนอยู่ตามที่ปรากฏ จึงค่อยมีลมหายใจขึ้นมาบ้าง
    พอได้โอกาสจึงไปกราบเรียนความเป็นไปถวายท่าน ท่านแก้เป็นอุบายปลอบโยนดีมาก แต่เราคิดว่าไม่ค่อยดีนักในบางตอน ซึ่งอาจทำให้คนนอนใจประมาท เมื่อได้รับคำปลอบโยนที่เคลือบด้วยน้ำตาลเช่นนั้น ท่านอธิบายนิมิตให้ฟังว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #FFFFF5" bgcolor="#fffff5" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="569">
    “เรามาหาครูอาจารย์ใหม่ ๆ ประกอบกับมีความระวังตั้งใจมาก เวลาหลับไปทำให้คิดและฝันไปอย่างนั้นเอง ที่ท่านไปดุว่าเราเหมือนหมูนั้น เป็นอุบายของพระธรรมท่านไปเตือน ไม่ให้เรานำลัทธินิสัยของหมูมาใช้ในวงของพระและพระศาสนา
    โดยมากคนเราไม่ค่อยคำนึงถึงความเป็นมนุษย์ของตัวว่ามีคุณค่าเพียงไร เวลาอยากทำอะไรทำตามใจชอบ ไม่คำนึงถึงความผิด ถูก ชั่ว ดี จึงเป็นมนุษย์เต็มภูมิได้ยาก ที่โบราณท่านว่ามนุษย์ขาดตาเต็งตาชั่งไม่เต็มบาทนั้น คือไม่เต็มตามภูมิของมนุษย์นั่นเอง เพราะเหตุแห่งความไม่รู้สึกตัวว่าเป็นมนุษย์ที่มีคุณสมบัติสูงกว่าสัตว์ จึงทำให้มนุษย์เราต่ำลงทางความประพฤติ จนกลายเป็นคนเสียหายที่ไม่มีอะไรวัดระดับได้ เหลือแต่ร่างความเป็นมนุษย์ เจ้าตัวยังไม่รู้ว่าตนได้เสียไปแล้วเพราะเหตุนั้น ๆ ผู้ที่ควรจะมีสติปัญญาพิจารณาตามได้บ้าง พระธรรมท่านมาสั่งสอนดังที่ท่านปรากฏนั้น เป็นอุบายที่ชอบธรรมดีแล้ว จงนำไปเป็นคติเตือนใจตัวเอง เวลาเกิดความเกียจคร้านขึ้นมาจะได้นำอุบายนั้นมาใช้เตือนสติกำจัดมันออกไป
    นิมิตเช่นนี้เป็นของดีหายาก ไม่ค่อยปรากฏแก่ใครง่ายๆ ผมชอบนิมิตทำนองนี้มาก เพราะจะพลอยได้สติเตือนตนมิให้ประมาทอยู่เนืองๆ ความเพียรจะได้เร่งรีบ จิตใจจะได้สงบอย่างรวดเร็ว ถ้าท่านมหานำอุบายที่พระธรรมท่านมาเทศน์ให้ฟังไปปฏิบัติอยู่เสมอ ๆ ใจท่านจะสงบได้เร็ว ดีไม่ดีอาจถึงธรรมก่อนพวกที่ปฏิบัติมาก่อนเหล่านี้ด้วยซ้ำ นิมิตที่เตือนท่านมหานั้นดีมาก มิใช่นิมิตที่สาปแช่งแบ่งเวรในทางไม่ดี เรามาอยู่กับครูอาจารย์อย่ากลัวท่านเกินไป ใจจะเดือดร้อนนั่งนอนไม่เป็นสุข ผิดถูกประการใดท่านจะสั่งสอนเราไปตามจารีตแห่งธรรม การกลัวท่านอย่างไม่มีเหตุผลนั้นไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย จงกลัวบาปกลัวกรรมที่จะนำทุกข์มาเผาลนตนให้มากกว่ากลัวอาจารย์
    ผมเองมิได้เตรียมรับหมู่คณะไว้เพื่อดุด่าเฆี่ยนตีโดยไม่มีเหตุผลที่ควร การฝึกทรมานตัวก็ทำไปตามคลองธรรมที่ท่านแสดงไว้ การอบรมสั่งสอนหมู่คณะก็จำต้องดำเนินไปตามหลักธรรม คือเหตุผล ถ้าปลีกแวะจากทางนั้นย่อมเป็นความผิด ไม่เกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ฉะนั้น นิมนต์อยู่เย็นใจและประกอบความเพียรให้เป็นชิ้นเป็นอัน อย่าลดละท้อถอยความเพียร ธรรมเป็นสมบัติกลางและเป็นสมบัติของทุกคนที่ใคร่ต่อธรรม พระพุทธเจ้ามิได้ผูกขาดไว้แก่ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ ต่างมีสิทธิครอบครองเป็นเจ้าของได้ด้วยการปฏิบัติดีของตนด้วยกัน อย่าลืมนิมิตอันดีงามซึ่งเป็นมงคลอย่างนี้ไปเสีย จงระลึกถึงอยู่เสมอ ลัทธินิสัยหมูจะได้ห่างไกลจากพระเรา มรรคผลนิพพานจะนับวันใกล้เข้ามาทุกเวลานาที แดนแห่งความพ้นทุกข์จะปรากฏเฉพาะหน้าในวันหรือเวลาหนึ่งแน่นอนหนีไม่พ้น
    ผมยินดีและอนุโมทนาด้วยนิมิตท่านมหาอย่างจริงใจ แม้ผมสั่งสอนตัวผมเองก็สั่งสอนแบบเผ็ดร้อนทำนองนี้เหมือนกัน และชอบได้อุบายต่าง ๆ จากอุบายเช่นนี้เสมอมา จึงจำต้องใช้วิธีแบบนี้บังคับตัวตลอดมา แม้บางครั้งยังต้องสั่งสอนหมู่คณะโดยวิธีนี้เหมือนกัน
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    นี้เป็นคำอธิบายแก้นิมิตที่ท่านใช้ปลอบโยนเด็กที่เริ่มฝึกหัดใหม่ ๆ กลัวจะเสียใจและท้อถอยปล่อยวางความเพียรเวียนไปเป็นมิตรกับหมู ท่านจึงหาอุบายสอนแบบนี้ นับว่าท่านแยบคายในเชิงการสอนมาก ยากจะหาผู้เสมอได้
    แม้ขณะที่ไปหาท่านซึ่งเป็นขณะที่จิตกำลังเจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วกลับเจริญ และเป็นขณะที่กำลังได้รับความทุกข์ร้อนและกระวนกระวายมาก ท่านก็มีอุบายสั่งสอนแบบอนุโลมไปตามทำนองนี้เหมือนกัน คือเวลาไปกราบท่าน ท่านถามว่าจิตเป็นอย่างไร ถ้าเป็นขณะที่จิตกำลังเจริญ ก็เรียนท่านว่าระยะนี้กำลังเจริญ ท่านก็ให้อุบายว่า
    “นั่นดีแล้ว จงพยายามให้เจริญมาก ๆ จะได้พ้นทุกข์เร็ว ๆ”
    ถ้าเวลาจิตกำลังเสื่อม ไปหาท่าน ท่านถามว่า “จิตเป็นอย่างไรเวลานี้”
    เราเรียนท่านตามตรงว่า “วันนี้จิตเสื่อมไปเสียแล้ว ไม่มีร่องรอยแห่งความสุขเหลืออยู่เลย”
    ท่านแสดงเป็นเชิงเสียใจไปด้วยว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #FFFFF5" bgcolor="#fffff5" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="569">
    “น่าเสียดายมันเสื่อมไปที่ไหนกันนา เอาเถอะท่านอย่าเสียใจ จงพยายามทำความเพียรเข้ามาก ๆ เดี๋ยวมันจะกลับมาอีกแน่ ๆ มันไปเที่ยวเฉย ๆ พอเราเร่งความเพียรมันก็กลับมาเอง หนีจากเราไปไม่พ้น
    เพราะจิตเป็นเหมือนสุนัขนั่นแล เจ้าของไปไหนมันต้องติดตามเจ้าของไปจนได้ นี่ถ้าเราเร่งความเพียรเข้าให้มาก จิตก็ต้องกลับมาเอง ไม่ต้องติดตามมันให้เสียเวลา มันหนีไปไหนไม่พ้นเราแน่ ๆ จงพยายามทำความเพียรเข้าให้มากเชียว มันจะกลับมาในเร็ว ๆ นี่แล ไม่ต้องเสียใจให้มันได้ใจ เดี๋ยวมันว่าเราคิดถึงมันมากมันจะไม่กลับมา จงปล่อยความคิดถึงมันเสีย แล้วให้คิดถึงพุทโธติด ๆ กันอย่าลดละ พอบริกรรมพุทโธถี่ยิบติด ๆ กันเข้า มันวิ่งกลับมาเอง คราวนี้แม้มันกลับมาก็อย่าปล่อยพุทโธ มันไม่มีอาหารกินเดี๋ยวมันก็วิ่งกลับมาหาเรา จึงนึกพุทโธเพื่อเป็นอาหารของมันไว้มาก ๆ เมื่อมันกินอิ่มแล้วต้องพักผ่อน เราสบายขณะที่มันพักสงบตัวไม่วิ่งวุ่นขุ่นเคืองเที่ยวหาไฟมาเผาเรา ทำจนไล่มันไม่ยอมหนีไปจากเรานั่นแล พอดีกับใจตัวหิวโหยอาหารไม่มีวันอิ่มพอ ถ้าอาหารพอกับมันแล้ว แม้ไล่หนีไปไหนมันก็ไม่ยอมไป ทำอย่างนั้นแล จิตเราจะไม่ยอมเสื่อมต่อไป คือไม่เสื่อมเมื่ออาหารคือพุทโธพอกับมัน จงทำตามแบบที่สอนนี้ท่านจะได้ไม่เสียใจเพราะจิตเสื่อมแล้วเสื่อมเล่าอีกต่อไป
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    นี่ก็เป็นอีกอุบายหนึ่งที่ท่านสอนคนที่แสนโง่ แต่ดีไปอย่างหนึ่งที่เชื่อท่านตามแบบโง่ของตน ไม่เช่นนั้นคงจะวิ่งตามหาใจดวงเสื่อมแล้วเสื่อมเล่าไม่มีวันเจอและหยุดได้
    ที่เขียนนี้เพื่อท่านผู้อ่านที่อาจได้ข้อคิดในแง่ต่าง ๆ ของคนฉลาดสั่งสอนคนโง่บ้างเท่าที่ควร แต่มิได้เขียนเพื่อชมเชยพระผู้แสนโง่ซึ่งรับคำชี้แจงอนุโลมและปลอบโยนจากท่านในเวลานั้น
    พอออกพรรษาแล้วท่านกลับไปพักที่บ้านนามนที่ท่านเคยพักอีก จากนั้นก็ไปพักที่บ้านห้วยแคนในป่า และพักวัดร้างชายเขา บ้านนาสีนวนหลายเดือน และไปป่วยเป็นไข้ที่บ้านนาสีนวนอยู่หลายวัน จึงหายด้วยอุบายแห่งธรรมโอสถที่ท่านเคยบำบัดองค์ท่านตลอดมา
    ตกเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕ ท่านออกเดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานีในงานฌาปนกิจศพท่านพระอาจารย์เสาร์ ที่เป็นอาจารย์ท่าน เสร็จงานศพแล้ว ท่านกลับมาจำพรรษาที่บ้านนามน
    ปีนี้ก็เป็นปีที่ท่านกลั่นกรองความเพียรของคณะลูกศิษย์โดยอุบายวิธีต่าง ๆ ทั้งเทศน์อบรม ทั้งใช้อุบายขู่เข็ญไม่ให้นอนใจในความเพียร ในพรรษาท่านเว้น ๔ คืนมีการประชุมครั้งหนึ่งจนตลอดพรรษา
    ปีนั้นปรากฏว่ามีพระได้กำลังทางจิตใจกันหลายองค์และมีความรู้ความเห็นแปลก ๆ ไปเล่าถวายท่าน ผู้เขียนพลอยได้ฟังด้วย แม้ไม่มีความรู้ความสามารถเหมือนท่านผู้อื่น ในพรรษานั้นก็พลอยมีอะไร ๆ เป็นเครื่องระลึกอย่างฝังใจมาจนบัดนี้ คงไม่มีวันหลงลืมตลอดชีวิต เพราะเป็นสิ่งที่ไม่น่าหลงลืมในชีวิตเป็นของหายากนี้
    ท่านพระอาจารย์มั่นเริ่มดุด่าขู่เข็ญเรานับแต่พรรษานั้นเป็นต้นมา จนกลายเป็นที่รองเช็ดเท้าท่านเรื่อยมา แต่ก่อนท่านมีแต่ใช้อุบายอนุโลม และเออออกับเราไปเรื่อย ๆ จากนั้นท่านคงคิดว่าควรจะเขกเสียบ้าง ขืนอนุโลมไปนานก็หนักอกเปล่า ๆ ผู้นั้นก็จะมัวนอนหลับแบบไม่มีวันตื่นขึ้นมองดูดินฟ้าอากาศ เดือนดาว ตะวันบ้างเลย
    พรรษานี้พระทั้งหลายรู้สึกตื่นเต้นกันมาก ทั้งทางความเพียรและความรู้ต่าง ๆ ที่เกิดจากจิตตภาวนา เวลาประชุมธรรมหรือเวลาธรรมดา มีผู้เล่าธรรมในใจถวายท่านเสมอเพื่อขอความอนุเคราะห์ชี้แจงจากท่าน และนำไปส่งเสริมเติมต่อจากจุดที่เห็นว่ายังบกพร่อง ท่านเองก็อนุเคราะห์เมตตาอย่างเต็มที่ที่มีผู้มาเรียนถาม ทำให้เกิดความเพลิดเพลินในธรรมอย่างมาก
    ขณะที่มีท่านผู้มาเรียนถามและท่านเป็นผู้ชี้แจงซึ่งเป็นเนื้อธรรมต่าง ๆ กันเป็นราย ๆ ไป ธรรมที่ท่านอธิบายแก้ไขและเพิ่มเติมแก่ผู้มาเล่าถวายและมาเรียนถามปัญหานั้น ไม่แน่นอนนัก ตามแต่ผู้เล่าถวายจะออกมาในรูปใด และเรียนถามปัญหาท่านในรูปใด ท่านก็อธิบายแก้ไขและเพิ่มเติมไปในรูปนั้นตามขั้นของผู้มาศึกษา ที่รู้สึกสนุกมากก็เวลาที่มีท่านผู้มีภูมิธรรมอันสูงมาเล่าถวายและเรียนถามปัญหาท่าน นั่นยิ่งได้ฟังอย่างถึงใจจริง ๆ ไม่อยากให้จบลงอย่างง่าย ๆ และอยากให้มีผู้มาถามท่านบ่อย ๆ เราผู้เป็นกองฉวยโอกาสอยู่ข้างหลังได้สนุกแอบดื่มธรรมอย่างจุใจหายหิวไปหลายวัน
    เวลาโอกาสดี ๆ ท่านเล่าอดีตชาติของท่านให้ฟังบ้าง เล่าการปฏิบัติบำเพ็ญนับแต่ขั้นเริ่มแรกให้ฟังบ้าง เล่าความรู้ความเห็นต่าง ๆ ทั้งภายในภายนอกที่เกิดจากจิตตภาวนาให้ฟังบ้าง เล่าวิถีจิตที่พยายามตะเกียกตะกายขึ้นจากตมจากโคลน จนถึงขณะที่จะหลุดพ้นจากโลกสมมุติ ตลอดขณะที่จิตหลุดพ้นไปจริง ๆ ให้ฟังบ้าง
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #FFFFF5" bgcolor="#fffff5" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="569">
    ตอนสุดท้ายนี้ทำให้เราผู้นั่งฟังอยู่ด้วยความกระหายในธรรมประเภทหลุดพ้น เกิดความกระวนกระวายอยากได้อยากถึงเป็นกำลัง จนเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจว่า เรานี้พอมีวาสนาบารมีควรจะบรรลุถึงแดนแห่งธรรมที่ท่านรู้เห็นได้ หรือจะมัวนอนจมดินจมโคลนอยู่ทำนองนี้เรื่อยไปไม่มีวันโผล่ขึ้นจากหล่มลึกได้บ้างเลยหรืออย่างไร ทำไมท่านรู้ได้เห็นได้หลุดพ้นได้ ส่วนเราทำไมจึงยังนอนไม่ตื่น เมื่อไรจะรู้จะเห็นจะหลุดพ้นได้เหมือนอย่างท่านบ้าง
    ที่คิดอย่างนี้ก็ดีอย่างหนึ่ง ทำให้มีมานะความมุ่งมั่นอดทน ความเพียรทุกด้านได้มีโอกาสดำเนินสะดวก มีความดูดดื่มในธรรมที่ท่านเมตตาอธิบายให้ฟังเป็นกำลังใจ ทำให้หายความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า มีศรัทธากล้าแข็ง มีเรี่ยวแรงที่จะลากเข็นภาระแม้หนักไปได้อย่างพอใจ
    ที่ท่านสอนว่าให้คบนักปราชญ์นั้น เป็นความจริงหาที่แย้งไม่ได้เลย ดังคณะลูกศิษย์เข้าอยู่อาศัยสดับตรับฟังความดีงามจากครูอาจารย์วันละเล็กละน้อย ทำให้เกิดกำลังใจและซึมซาบเข้าภายในไปทุกระยะ จนกลายเป็นคนดีตามท่านไปได้ แม้ไม่เหมือนท่านทุกกระเบียด ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ของลูกศิษย์ที่มีครูอาจารย์สั่งสอน อนึ่งการคบคนพาลก็ทำให้มีส่วนเสียได้มากน้อยตามส่วนแห่งความสัมพันธ์กัน ที่ท่านสอนไว้ทั้งสองภาคนี้มีความจริงเท่ากัน คือทำให้คนเป็นคนดีได้เพราะการคบกับคนดี และทำให้คนเสียได้เพราะการคบกับคนไม่ดี เราพอทราบได้ระหว่างลูกศิษย์กับอาจารย์ที่คบกันนาน ๆ อย่างน้อยลูกศิษย์นั้น ๆ ย่อมพอมีหลักยึดได้จากอาจารย์ และคนที่หลวมตัวเข้าไปอยู่กับคนพาล อย่างน้อยย่อมมีการแสดงออกในลักษณะแห่งคนพาลจนได้ มากกว่านั้นก็ดังที่เห็น ๆ กันไม่มีทางสงสัย นี่กล่าวถึงพาลภายนอก แต่ควรทราบว่า พาลภายในยังมีและฝังจมอยู่อย่างลึกลับในนิสัยของมนุษย์เราแทบทุกราย แม้สุภาพชนทั่ว ๆ ไปตลอดพระเณรเถรชีผู้ทรงเครื่องแบบของพระศาสนาอันเป็นเครื่องประกาศตนว่าเป็นลูกศิษย์พระตถาคตอย่างเปิดเผย
    คำว่าพาลในที่นี้หมายถึงความขลาดเขลาย่อหย่อนต่อกลมารยาของใจที่เป็นฝ่ายต่ำ ซึ่งคอยแสดงออกในทางชั่วและต่ำทรามโดยเจ้าตัวไม่รู้ หรือแม้รู้แต่เข้าใจว่าเป็นเพียงอยู่ภายในไม่ได้แสดงออกภายนอกให้เป็นสิ่งที่น่าเกลียด ความจริงขึ้นชื่อว่าของไม่ดีแล้ว จะมีอยู่ ณ ที่แห่งใด ย่อมเป็นของน่าเกลียดอยู่ในตัวของมันเอง ไม่ถึงกับต้องแสดงออกมาจึงจะเป็นของน่าเกลียด เพราะมันเป็นของน่าเกลียดน่ากลัวอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมปราชญ์ฉลาดแหลมคม จึงทรงสอนให้ละและถอดถอนโดยลำดับจนหมดสิ้นไป ไม่มีคำว่า “สิ่งไม่ดี” เหลืออยู่เลยนั่นแล ดังพระองค์และพระสาวกอรหันต์เป็นตัวอย่าง จัดว่าเป็นผู้หมดมลทินทั้งภายนอกภายใน อยู่ที่ใดก็เย็นกายสบายใจไม่มีสิ่งเสียดแทงรบกวน ท่านอาจารย์มั่นเป็นผู้หนึ่งในบรรดาท่านผู้หมดมลทินโดยสิ้นเชิง ในความรู้สึกของผู้เขียนที่ได้สังเกตตามสติกำลังตลอดมา จึงกล้าเขียนลงด้วยความสนิทใจ แม้จะถูกตำหนิก็ยอมรับความจริงที่แน่ใจแล้วนั้น ไม่ให้กระทบกระเทือนถึงองค์ท่านผู้ไปดีแล้วด้วยความหมดห่วงจากบ่วงแห่งมาร
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ออกพรรษาแล้วท่านยังพักบำเพ็ญวิหารธรรมอยู่ที่นั้นเป็นเวลานาน พรรษาต่อมาจึงมาจำพรรษาที่บ้านโคกอีก แต่มิได้จำสำนักเดิมที่เคยจำมาแล้ว สำนักใหม่แห่งนี้ท่านอาจารย์กงมา จิรปุญโญ สร้างถวาย ท่านมาจำพรรษาที่สำนักป่าแห่งนี้ด้วยความผาสุกทั้งทางกายและทางใจ การประชุมอบรมพระเณรย่อมดำเนินไปตามที่เคยปฏิบัติมา
    สรุปความในตอนนี้ท่านมาพักอยู่แถบบ้านห้วยแคน บ้านนาสีนวน บ้านโคก บ้านนามน ตำบลตองโขบ เขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ๓ พรรษาติด ๆ กัน ในระยะที่พักอยู่แถบนี้ทั้งในและนอกพรรษา
     
  3. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ตอนที่ ๑๐


    การติดต่อสั่งสอนพวกเทพฯ และชาวมนุษย์ ท่านว่า ท่านดำเนินไปโดยสม่ำเสมอ เฉพาะพวกเทพไม่ค่อยมีมากและไม่มาบ่อยนักเหมือนอยู่จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้คงเกี่ยวกับสถานที่มีความเงียบสงัดต่างกัน จะมีบ้างก็หน้าเทศกาลโดยมาก เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันเข้าพรรษา กลางพรรษา และวันปวารณาออกพรรษาเท่านั้น วันนอกนั้นไม่ค่อยมีพวกเทพฯ มาเกี่ยวข้องเหมือนเวลาท่านพักอยู่ที่เชียงใหม่
    ในพรรษาพระเณรไม่มีมากเพราะเสนาสนะมีจำกัด พอดีกับพระเณรที่อาศัยอยู่กับท่านโดยเฉพาะเท่านั้น ส่วนพระเณรจากทิศต่าง ๆ ที่ไปรับการอบรมกับท่านตอนนอกพรรษานั้นมีไม่ขาด เข้า ๆ ออก ๆ สับเปลี่ยนกันเสมอมา ท่านอุตส่าห์เมตตาสั่งสอนด้วยความเอ็นดูสงสารอย่างสม่ำเสมอ
    พอตกหน้าแล้งของพรรษาที่สาม ก็มีญาติโยมจากบ้านหนองผือนาในไปอาราธนาท่านให้มาโปรดที่หมู่บ้านนั้น ท่านรับคำนิมนต์เขาแล้ว ไม่นาน ญาติโยมก็พร้อมกันไปรับท่านมาพักและจำพรรษาที่บ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ท่านออกเดินทางจากบ้านโคกมาบ้านหนองผือด้วยเท้าเปล่า และพักแรมมาตามรายทางราว ๓-๔ คืนจึงถึงหมู่บ้านหนองผือ เพราะทางเต็มไปด้วยป่าดงพงลึก ต้องด้นดั้นซอกซอนมาตลอดสายจนถึงหมู่บ้านหนองผือ
    เพียงไม่กี่วันที่มาถึงบ้านหนองผือ ท่านเริ่มป่วยเป็นไข้มาลาเรียแบบจับสั่น ชนิดเปลี่ยนหนาวเป็นร้อนและเปลี่ยนร้อนเป็นหนาว ซึ่งเป็นการทรมานอย่างยิ่งอยู่แรมเดือน
    ไข้ประเภทนี้ใครโดนเข้ารู้สึกจะเข็ดหลาบไปตาม ๆ กัน เพราะเป็นไข้ชนิดที่ไม่รู้จักหายลงได้ เป็นเข้ากับรายใดแล้วตั้งแรมปีก็ไม่หาย คงแอบมาเยี่ยม ๆ มอง ๆ อยู่ทำนองนั้น คือหายไปตั้ง ๑๕ วันหรือเดือนหนึ่ง นึกว่าหายสนิทแล้วก็กลับมาเป็นเข้าอีก หรือตั้งเป็นเดือน ๆ แล้วก็กลับมาเป็นอีก ซึ่งเคยเขียนเรื่องไข้ประเภทนี้บ้างแล้วว่า ถ้าลูกเขยเป็น ก็อาจทำเอาจนพ่อตาแม่ยายเบื่อ ถ้าพ่อตาหรือแม่ยายเป็น ก็ทำเอาจนลูกเขยเบื่อ เพราะทำงานหนักหนาอะไรไม่ได้ แต่รับประทานได้มาก นอนหลับสนิทดีชนิดไม่รู้จักตื่น และบ่นได้เก่งชนิดไม่หยุดปาก พอให้คนดีเบื่อกันดีนั่นแล ผู้เป็นไข้ชนิดนี้ใครไม่เบื่อเป็นไม่มี เพราะเป็นไข้ที่น่าเบื่อเอามากทีเดียว ทั้งนี้เนื่องจากสมัยนั้นไม่มียาแก้กันให้หายเด็ดขาดได้เหมือนสมัยนี้ เมื่อเป็นเข้าแล้วต้องปล่อยให้หายไปเอง มิฉะนั้นก็กลายเป็นโรคเรื้อรังไปเป็นปี ๆ ถ้าเป็นเด็กโดยมากก็ลงพุง จนกลายเป็นเด็กพุงโตหรือพุงโร หน้าไม่มีสีสันวรรณะเลย
    ไข้ประเภทนี้ชอบเป็นกับคนที่เคยอยู่บ้านทุ่ง ๆ แล้วย้ายภูมิลำเนาเข้าไปอยู่ในป่าตามไร่นา แม้คนที่เคยอยู่ป่าเป็นประจำมาแล้วก็ยังเป็นได้ แต่ไม่ค่อยรุนแรงเหมือนคนมาจากทางทุ่ง และชอบเป็นกับพระธุดงคกรรมฐานที่ชอบเที่ยวซอกแซกไปตามป่าตามเขาโดยมาก สำหรับผู้เขียนแล้ว ถ้าเป็นสิ่งที่มีค่าควรออกอวดโลกได้เกี่ยวกับไข้ชนิดเข็ดหลาบตลอดวันตายนี้ ก็คงได้อวดอย่างเต็มภูมิไม่ยอมแพ้ใครอย่างง่าย ๆ ทีเดียว เพราะเคยโดนมามากมายหลายครั้ง และรู้ฤทธิ์ของมันชนิดไม่กล้าสู้ตลอดวันตายเลย ขณะเขียนก็ยังกลัวอยู่เลย แม้มาอยู่บ้านหนองผือปีแรกก็โดนไข้นี้ดัดสันดานจนตลอดพรรษาและเตลิดถึงหน้าแล้งไม่ยอมหายสนิทได้เลย จะไม่ให้เข็ดหลาบอย่างไรเพราะพระก็คือคนที่มีหัวใจและรู้จักสุข ทุกข์ ดี ชั่วอย่างเต็มใจเช่นเดียวกับคนทั่ว ๆ ไปนั่นเอง สิ่งที่น่าเข็ดน่ากลัวจึงต้องเข็ดต้องกลัวเช่นเดียวกับคนทั้งหลาย
    ท่านพักอยู่ที่หนองผือ ปรากฏมีพระเณรมากขึ้นโดยลำดับ เฉพาะภายในวัดในพรรษาหนึ่ง ๆ ก็มีถึง ๒๐-๓๐ กว่าองค์อยู่แล้ว นอกจากนั้นยังมีพระเณรพักและจำพรรษาอยู่ตามหมู่บ้านเล็ก ๆ แถบใกล้เคียงอีกหลายแห่ง แห่งละ ๒ องค์บ้าง ๓ องค์บ้าง ๔-๕ องค์บ้าง แห่งละ ๙-๑๐ องค์บ้าง วันประชุมทำอุโบสถ ปรากฏมีพระมารวมทำอุโบสถถึง ๓๐-๔๐ องค์ก็มี รวมทั้งในวัดและบริเวณใกล้เคียงแล้วมีพระเณรไม่ต่ำกว่า ๕๐-๖๐ องค์ นอกพรรษายังมีมากกว่านั้นในบางครั้ง และมีมากตลอดมานับแต่ท่านไปจำพรรษาที่นั้น
    เวลากลางวันพระเณรต่างปลีกตัวเข้าไปอยู่ในป่าลึกนอกบริเวณวัดเพื่อประกอบความเพียร เพราะป่าดงที่ตั้งสำนักรู้สึกกว้างขวางมากเป็นสิบ ๆ กิโลเมตร ยิ่งด้านยาวด้วยแล้วแทบจะหาที่สุดป่าไม่เจอ เพราะยาวไปตามภูเขาที่มีติดต่อกันไปอย่างสลับซับซ้อนจนไม่อาจพรรณนาได้
    อำเภอพรรณานิคมทางด้านทิศใต้ โดยมากมีแต่ป่าแต่เขาทั้งนั้น จนไปจดจังหวัดกาฬสินธุ์ ฉะนั้นเวลาท่านพระอาจารย์มั่นไปพักอยู่วัดหนองผือ จึงเป็นจุดศูนย์กลางแห่งพระธุดงคกรรมฐานดีมาก ที่ท่านต้องมารวมฟังปาฏิโมกข์และฟังโอวาทตามโอกาสตลอดเวลา เกิดข้อข้องใจทางด้านภาวนาขึ้นมาก็มาศึกษาได้สะดวก
    พอออกพรรษาหน้าแล้ง ท่านผู้ประสงค์จะขึ้นไปพักอยู่บนเขาก็ได้ ในถ้ำหรือเงื้อมผาก็ได้ จะพักอยู่ตามป่าดงธรรมดาก็สะดวก เพราะหมู่บ้านมีประปรายอยู่เป็นแห่ง แห่งละ ๑๐ หลังคาเรือนบ้าง ๒๐-๓๐ หลังคาเรือนบ้าง แม้บนไหล่เขาก็ยังมีหมู่บ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาศัยทำไร่ทำสวนอยู่แทบทั่วไป แห่งละ ๕-๖ หลังคา ซึ่งปลูกเป็นกระต๊อบเล็ก ๆ พอได้อาศัยเขาโคจรบิณฑบาต
    บ้านหนองผือตั้งอยู่ในหุบเขาซึ่งทั้งสี่ด้านหรือสี่ทิศมีป่าและภูเขาล้อมรอบ แต่เป็นหุบเขาที่กว้างขวางพอสมควร ประชาชนทำนากันได้สะดวกเป็นแห่ง ๆ ไป ป่ามีมาก ภูเขาก็มีมาก สนุก เลือกหาที่วิเวกเพื่ออัธยาศัยได้อย่างสะดวกเป็นที่ ๆ ไป ฉะนั้นพระธุดงค์จึงมีมากในแถบนั้น และมีมากทั้งหน้าแล้งหน้าฝน
    สมัยที่ท่านอาจารย์มั่นพักอยู่ พระธุดงค์ทยอยกันเข้าออกวัดหนองผือไม่ค่อยขาดแต่ละวัน ทั้งมาจากป่า ทั้งลงมาจากภูเขาที่บำเพ็ญมาฟังการอบรม ทั้งออกไปป่าและขึ้น ภูเขาเพื่อสมณธรรม ทั้งมาจากอำเภอ จังหวัดและภาคต่าง ๆ มารับการอบรมกับท่านมิได้ขาด ยิ่งหน้าแล้งพระยิ่งหลั่งไหลมาจากที่ต่าง ๆ ตลอดประชาชนจากอำเภอและจังหวัดต่าง ๆ ทั้งใกล้และไกล พากันมากราบเยี่ยมและฟังโอวาทท่านมิได้ขาด แต่ล้วนเดินด้วยเท้าเปล่ากันทั้งนั้น นอกจากผู้หญิงที่ไม่เคยคิดเดินทางไกลและคนแก่เท่านั้น ที่ว่าจ้างล้อเกวียนเขาไปส่งถึงวัดหนองผือ
    ทางจากอำเภอพรรณนานิคมเข้าไปถึงหมู่บ้านหนองผือ ถ้าไปทางตรง แต่ต้องเดินตัดขึ้นหลังเขาไปราว ๕๐๐ เส้น ถ้าไปทางอ้อมโดยไม่ต้องขึ้นเขาก็ราว ๖๐๐ เส้น ผู้ไม่เคยเดินทางไปไม่ตลอด เพราะทางตรงไม่มีหมู่บ้านในระหว่างพอได้อาศัยหรือพักแรม ส่วนทางอ้อมยังพอมีหมู่บ้านบ้างห่าง ๆ ซึ่งไม่ค่อยสะดวกนัก พระที่ไปหาท่านต้องเดินด้วยเท้ากันทั้งนั้น เพราะไม่มีทางที่รถยนต์พอเข้าไปได้ แม้รถมีก็เฉพาะที่วิ่งตามทางใหญ่จากจังหวัดถึงตัวจังหวัดเท่านั้น ทั้งไม่ค่อยมีมากเหมือนสมัยนี้ ไปผิดเวลาบ้างก็มีหวังตกรถและเสียเวลาไปอีกหนึ่งวัน
    พระธุดงค์ปกติท่านชอบเดินด้วยเท้ากัน ไม่ชอบขึ้นรถขึ้นรา เพราะไม่สะดวกเกี่ยวกับคนมาก เวลาท่านเดินธุดงค์ท่านถือเป็นความเพียรไปพร้อมในเวลานั้นด้วย ไม่ว่าจะไปป่าใดหรือภูเขาลูกใด เพียงตั้งความมุ่งหมายไว้แล้วท่านก็เดินจงกรมไปกับการเดินทางนั่นแล โดยไม่คิดว่าจะถึงหมู่บ้านวันหรือค่ำเพียงไร ท่านถือเสียว่าค่ำที่ไหนก็พักนอนที่นั่น ตื่นเช้าค่อยเดินทางต่อไป ถึงหมู่บ้านแล้วเข้าโคจรบิณฑบาตมาฉันตามมีตามเกิด ไม่กระวนกระวายในอาหารว่าดีหรือเลวประการใด เพียงยังอัตภาพให้เป็นไปในวันหนึ่ง ๆ เท่านั้น ท่านถือเป็นความสบายสำหรับธาตุขันธ์แล้ว จากนั้นก็เดินทางต่อไปอย่างเย็นใจจนถึงที่หมาย
    อันดับต่อไป ท่านเดินเที่ยวหาทำเลที่เหมาะกับอัธยาศัย จนกว่าจะพบที่มุ่งหมายไว้ แต่น้ำเป็นสิ่งสำคัญในการพักบำเพ็ญ เมื่อได้ทำเลที่เหมาะแล้ว จากนั้นก็เร่งความพากเพียร เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ทั้งกลางวันกลางคืน
    มีสติประคองใจ มีปัญญาเป็นเครื่องรำพึงในธรรมทั้งหลายที่มาสัมผัสกับอายตนะ พยายามเกลี้ยกล่อมใจด้วยธรรมที่ถูกกับจริต ให้มีความสงบเย็นเป็นสมาธิ เมื่อจิตถอนขึ้นมาจากสมาธิแล้ว พิจารณาธรรมทั้งหลายโดยทางปัญญา ทั้งข้างนอกคือทัศนียภาพที่สัมผัสกันอยู่ตลอดเวลา ทั้งข้างในคือธาตุขันธ์อายตนะที่แสดงอาการกระเพื่อมตัวอยู่ทุกขณะ ไม่มีเวลาสงบนิ่งอยู่ได้ ว่าเป็นวิปริณามธรรม มีความแปรปรวนอยู่เสมอมาและเสมอไป ใจไม่นิ่งนอนอยู่กับอะไร ซึ่งจะเป็นเหตุให้ติดข้องพัวพัน
    กำหนดคลี่คลายดูร่างกายจิตใจให้เห็นชัดด้วยปัญญา จนรู้เท่า และปล่อยวางไปเป็นระยะ ๆ ปัญญาทำการขุดค้นทั้งรากแก้วรากฝอยและต้นตอของกิเลสทุกประเภทไม่ลดละ มีความเพลิดเพลินอยู่กับความเพียรสืบเนื่องกับธรรมทั้งหลาย สิ่งที่มาสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับใจก็พิจารณาลงในธรรม คือไตรลักษณ์ เพื่อความรู้แจ้งและถอดถอนไปโดยลำดับ
    เมื่อมีข้อข้องใจเกิดขึ้นที่ไม่แน่ใจว่าถูกหรือผิด ก็รีบมาเรียนถามท่าน พอได้รับคำชี้แจงเป็นที่แน่ใจแล้ว ก็กลับไปบำเพ็ญเพื่อความก้าวหน้าของจิตต่อไป
    พระธุดงคกรรมฐานจำนวนมากที่อาศัยอยู่กับท่านอาจารย์มั่นเพื่อการศึกษาอบรม เมื่อที่พักในสำนักท่านมีไม่เพียงพอ ท่านก็แยกย้ายกันไปอยู่ในที่ต่าง ๆ โดยปลีกออกไปอยู่ที่ละองค์บ้าง ๒ องค์บ้าง ต่างองค์ต่างไปเที่ยวหาที่วิเวกสงัดของตน และต่างองค์ต่างอยู่ตามหมู่บ้านต่าง ๆ ที่มีอยู่ในป่าและในภูเขา ซึ่งไม่ห่างจากสำนักท่านนัก พอไปมาหาสู่กันได้สะดวก ราว ๖-๗ กิโลเมตรบ้าง ๘-๙ กิโลเมตรบ้าง ๑๑-๑๒ กิโลเมตรบ้าง ๑๕-๑๖ กิโลเมตรบ้าง หรือราว ๒๐-๓๐ กิโลเมตรบ้าง ตามแต่ทำเลเหมาะกับอัธยาศัย ที่อยู่ไกลราว ๒๐ กิโลเมตรขึ้นไป เวลามากราบเยี่ยมท่านก็พักค้างคืนฟังการอบรมพอสมควรก่อนแล้วค่อยกลับไปที่พักของตน บางท่านอาจจะไม่เข้าใจว่ากิโลเมตรหนึ่งมีประมาณกี่เส้น จึงขอชี้แจงไว้พร้อมนี้คือกิโลเมตรหนึ่งมี ๒๕ เส้น ๔ กิโลเมตรก็เท่ากับ ๑๐๐ เส้น โปรดเทียบตามหลักเกณฑ์ที่ให้ไว้นี้
    หนทางตามบ้านป่าบ้านเขาไม่เหมือนทางถนนจากอำเภอไปสู่อำเภอ จากจังหวัดไปสู่จังหวัดดังที่เห็น ๆ กัน แต่เป็นทางของชาวบ้านป่าบ้านเขา เขาเดินท่องเที่ยวหากันอย่างนั้นมาดั้งเดิม และเป็นความเคยชินของเขาอย่างนั้น นานวันจึงจะไปหากันครั้งหนึ่ง ทางจึงเต็มไปด้วยป่าดงพงลึกและขวากหนาม บางแห่งถ้าไม่สังเกตให้มากอาจเดินผิดทาง และหลงเข้าป่าเข้าเขาซึ่งไม่มีหมู่บ้านเลยก็ได้
    ระหว่างทางบางตอนไม่มีหมู่บ้านคนเลย มีแต่ป่าแต่เขาทั้งนั้น และยาวตั้ง ๒๐-๓๐ กิโลเมตรถึงจะพบหมู่บ้านชาวป่าชาวเขาก็มี ระหว่างทางนั้นสำคัญมาก ถ้าเกิดไปหลงทางเข้าแล้วมีหวังนอนค้างป่าค้างเขาและอดอาหารแน่นอน ทั้งอาจไม่ถูกหมู่บ้านเลยก็ได้ นอกจากจะพบพวกนายพรานที่เที่ยวล่าสัตว์ และอาศัยเขาบอกทาง หรือเขานำออกไปหาทางไปยังหมู่บ้านจึงจะพ้นภัย
    อุบายในการบำเพ็ญเพียร
    พระธุดงคกรรมฐานผู้หวังในธรรมอย่างยิ่ง ท่านรู้สึกลำบากอยู่ไม่น้อยในการอยู่ การบำเพ็ญ การเดินทาง และการแสวงหาครูอาจารย์ผู้อบรมโดยถูกต้องและราบรื่นชื่นใจ เช่น ท่านอาจารย์มั่น มาพบเห็นท่านแล้วดีอกดีใจเหมือนลูกเล็ก ๆ เห็นพ่อแม่เราดี ๆ นี่เอง ทั้งรักทั้งเคารพทั้งเลื่อมใส และอะไร ๆ รวมเป็นความไว้วางใจหมดทุกอย่าง หรือจะเรียกว่าหมดชีวิตจิตใจรวมลงในท่านองค์เดียวก็ถูก เพราะนิสัยพระธุดงคกรรมฐานมีความเชื่อถือและเคารพรักอาจารย์มาก ขนาดสละชีวิตแทนได้โดยไม่อาลัยเสียดายเลย แม้จะแยกย้ายกันไปอยู่ในที่ต่าง ๆ ก็ตาม แต่ท่านมีความผูกพันในอาจารย์มากผิดธรรมดา
    การอยู่ การบำเพ็ญ หรือการไปมาแม้จะลำบาก ท่านพอใจที่จะพยายาม ขอแต่มีครูอาจารย์คอยให้ความอบอุ่นก็พอ ความเป็นอยู่หลับนอน การขบฉันท่านทนได้ อดบ้างอิ่มบ้าง ท่านทนได้ เพราะใจท่านมุ่งต่อธรรมเป็นสำคัญกว่าสิ่งอื่นใด
    บางคืนท่านนอนตากฝนทั้งคืนทนหนาวจนตัวสั่นเหมือนลูกนก ท่านก็ยอมทนเพราะความเห็นแก่ธรรม เวลาท่านสนทนาธรรมกันเกี่ยวกับการบำเพ็ญการพักอยู่ในที่ต่าง ๆ กันและการไปมาตามป่าตามเขา รู้สึกว่าน่าฟังมาก ทั้งน่าสงสารท่านเหมือนสัตว์อยู่ในป่าตัวหนึ่ง ไม่มีราคาอะไรเลย เพราะความลำบากจนมุม ที่อยู่หลับนอนในบางครั้งเหมือนของสัตว์ เพราะความจำเป็นบังคับที่จำต้องอดทน
    การบำเพ็ญ ท่านมีอุบายวิธีต่าง ๆ กันไปตามจริตนิสัยชอบ คืออดนอนบ้าง ผ่อนอาหารบ้าง อดอาหารบ้าง กี่คืนหรือกี่วันตามแต่ความเหมาะสมกับจริตและธาตุขันธ์จะพอทนได้ เดินจงกรมแต่หัวค่ำตลอดสว่างบ้าง นั่งสมาธิหลาย ๆ ชั่วโมงบ้าง นั่งสมาธิแต่หัวค่ำจนสว่างบ้าง ไปนั่งสมาธิอยู่ทางเสือเข้าถ้ำของมันบ้าง ไปนั่งสมาธิอยู่ที่ด่านอันเป็นทางมาของเสือบ้าง ไปนั่งสมาธิอยู่ในป่าช้าที่กำลังเผาผีอยู่ในวันนั้นบ้าง ไปนั่งอยู่ริมเหวลึก ๆ บ้าง กลางคืนดึก ๆ เดินเที่ยวบนภูเขา พอไปเจอทำเลเหมาะ ๆ คือที่น่ากลัวมากก็นั่งสมาธิอยู่เสียที่นั้นบ้าง ไปนั่งสมาธิใต้ร่มไม้กลางภูเขาดึก ๆ คอยให้เสือมาที่นั้นจิตจะได้สงบในขณะนั้นบ้าง
    วิธีเหล่านี้ท่านมีความมุ่งหมายลงในจุดเดียวกัน คือเพื่อทรมานจิตให้หายพยศ ซึ่งก็เป็นไปตามความมุ่งหมายจริง ๆ โดยมากท่านได้อุบายจากวิธีเหล่านี้ แต่ละวิธีของแต่ละนิสัย ทำให้ท่านมีกำลังใจทำได้ตามวิธีที่ถูกกับจริตนิสัยของตน ฉะนั้นท่านจึงชอบอุบายวิธีทรมานต่าง ๆ กัน แม้ท่านอาจารย์มั่นเองก็เคยทำมา และส่งเสริมพระที่ฝึกและทรมานโดยวิธีต่าง ๆ ว่าเป็นผู้ฉลาดฝึกอบรมตน วิธีเหล่านี้พระธุดงค์ท่านยังทำของท่านอยู่มิได้ลดละตลอดมา
    การฝึกตัวให้เป็นคนมีคุณค่าทำใจให้มีราคาย่อมเป็นสิ่งที่ฝืนอยู่บ้าง ความยากลำบากนั้นไม่สำคัญเท่าผลที่จะทำให้เป็นคนดี มีความสุข มีขื่อมีแป และมีธรรมเป็นเครื่องกำกับรักษา ไม่ว่าโลกหรือธรรมเคยถือกันมาอย่างนั้น นอกจากสิ่งของที่ใช้การอะไรไม่ได้หมดความหมายไร้ค่าและคนตายแล้วเท่านั้นจึงไม่มีการรักษากัน คนเรายังมีคุณค่าควรจะได้รับจากการปรับปรุงรักษาอยู่ จึงควรสงวนรักษาตัวอย่างยิ่ง ผลแห่งการรักษาจะยังผู้นั้นให้เป็นคนดีมีความสุขความเจริญ ทั้งปัจจุบันและอนาคตไม่มีสิ้นสุด ดังนั้น ที่พระธุดงค์ท่านปฏิบัติบำเพ็ญโดยไม่เห็นแก่ความยากลำบากมาเป็นอุปสรรค จึงเป็นการเบิกทางเพื่อความก้าวหน้าแห่งธรรมภายในใจ อันเป็นที่น่ากราบไหว้บูชาอย่างยิ่ง
    ตราบใดที่ยังมีผู้สนใจและปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมอยู่ พระศาสนาก็ยังดำรงคงอยู่กับโลกตลอดไป และแสดงผลให้โลกที่ใคร่ต่อธรรมเห็นอยู่ตามลำดับที่ปฏิบัติได้ ตรงกับหลักพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ทำจริง รู้จริง และสอนโลกด้วยธรรมจริง ผู้เชื่อถือศาสนาก็เป็นผู้ทำจริงเพื่อความรู้จริงเห็นจริง ไม่เหลาะแหละย่อหย่อนอ่อนความสามารถ อันเป็นการกดถ่วงและลดคุณค่าของพระศาสนาลงให้พาหิรชนเขาดูถูกเหยียดหยามดังที่ทราบกันอยู่ เพราะศาสนาที่แท้จริงเป็นคุณธรรมที่ควรนำออกแสดงได้อย่างเปิดเผยทั่วไตรโลกธาตุ โดยไม่มีความสะท้านหวั่นไหวว่าไม่จริง เพราะเป็นธรรมที่จริงตามหลักธรรมชาติด้วย ศาสดาที่สอนก็เป็นผู้บริสุทธิ์และทรงสอนตามความจริงแห่งธรรมด้วย นอกจากจะไม่สนใจหรือไม่สามารถค้นให้ถึงความจริงตามที่ศาสนาสอนไว้เท่านั้น จึงอาจเป็นไปตามความรู้ความเห็นที่ไม่มีประมาณของแต่ละหัวใจที่มีธรรมชาติหนึ่งปิดบังอย่างลึกลับและฝังลึกอยู่ในใจ ทั้งปกปิดดวงใจไว้ตลอดกาล ซึ่งศาสนาแทงทะลุปรุโปร่งไปหมดแล้ว
    ขออภัยที่เขียนเลยเถิดไปบ้างตามนิสัยของคนไม่มีหลักยึดที่แน่นอน ขอย้อนอธิบายวิธีฝึกทรมานต่าง ๆ ที่พระธุดงค์ท่านชอบทำเป็นประจำนิสัยตลอดมาอีกเล็กน้อย พอทราบความมุ่งหมายและผลที่เกิดจากวิธีนั้น ๆ บ้าง
    วิธีฝึกทรมานต่าง ๆ ที่พระธุดงค์ท่านชอบทำ
    การฝึกแต่ละวิธีท่านเห็นผลประจักษ์ใจเป็นลำดับ คือทำให้จิตที่มีความพยศลำพองเพราะร่างกายมีกำลังมาก ให้ลดลงด้วยวิธีผ่อนอาหาร อดอาหารหรืออดนอน ตลอดการหักโหมด้วยวิธีต่าง ๆ คือเดินจงกรมนาน ๆ บ้าง นั่งสมาธิภาวนานาน ๆ บ้าง เพื่อใจจะได้มีกำลังก้าวหน้าไปตามแถวแห่งธรรมด้วยความสะดวก เพื่อใจที่หวาดกลัวต่ออันตรายมีเสือหรือผีเป็นต้น แล้วย้อนเข้ามาสู่ภายในอันเป็นที่สถิตอยู่ของใจอย่างแท้จริง จนเกิดความสงบและกล้าหาญขึ้นมา ซึ่งเป็นการบรรเทาหรือกำจัดความหวาดกลัวต่าง ๆ เสียได้ เพื่อจิตได้รู้กำลังความสามารถของตนในเวลาเข้าที่คับขันคือความจนตรอกจนมุม หรือคราวเกิดทุกขเวทนากล้าจนถึงเป็นถึงตายจริง ๆ จะมีทางต่อสู้เพื่อชัยชนะเอาตัวรอดได้
    ตามปกติถ้าไม่เข้าที่คับขันสติปัญญาไม่ค่อยเกิด และไม่อาจรู้ความสามารถของตน การหาวิธีทรมานต่าง ๆ ตามจริตนิสัยและความแยบคายของแต่ละรายนั้น เป็นวิธีฝึกซ้อมสติปัญญา ให้มีความสามารถอาจหาญ และทราบกำลังของตนได้ดี ไม่สะทกสะท้านต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ไม่เลือกกาลสถานที่ ผลที่ปรากฏแก่ผู้ชอบฝึกทรมานตนด้วยวิธีต่าง ๆ คือ ผู้ที่เคยกลัวผีมาดั้งเดิม ก็หายกลัวผีได้ ด้วยวิธีฝืนใจเข้าไปเยี่ยมป่าช้า ผู้เคยกลัวสัตว์ร้ายต่าง ๆ มีเสือเป็นต้น ก็หายกลัวได้ ด้วยวิธีฝืนใจเข้าไปอยู่ในที่เปลี่ยวอันเป็นที่น่ากลัว ผู้มักเห็นแก่ปากแก่ท้อง ชอบโลเลในอาหารปัจจัย ก็บรรเทาหรือหายเสียได้ ด้วยการผ่อนอาหารหรืออดอาหาร
    ตามปกตินิสัยของคนเราโดยมากย่อมชอบอาหารดี ๆ รับประทานได้มาก ๆ ถือว่าเป็นความสุขเพราะถูกกับใจ ผู้มักโลภไม่เคยมีความพอดีแอบซ่อนอยู่ด้วยได้เลย แม้ใจจะทุกข์เพียงไรก็ไม่ค่อยสนใจ คิดว่ามีสาเหตุเป็นมาจากอะไร แต่ผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อความรู้สิ่งเกี่ยวข้องกับตนอันมีมากมายและต่าง ๆ กัน จำต้องพิจารณาและทรมานกันบ้าง เพื่อรู้ฤทธิ์ของกันและกัน
    ดังนั้นพระธุดงค์บางองค์ ท่านจึงทรมานท่านจนเป็นที่น่าสงสารอย่างจับใจก็มี คืออาหารดี ๆ ตามสมมุตินิยมที่ท่านได้มา หรือมีผู้นำมาถวาย พอเห็นจิตแสดงอาการอยากได้ จนเป็นที่น่าเกลียด อยู่ภายใน ท่านกลับทรมานใจเสีย ไม่ยอมเอาอาหารชนิดนั้น แต่กลับไปเอาชนิดที่จิตไม่ต้องการไปเสียอย่างนั้น ถ้าจิตต้องการมาก ท่านก็เอาแต่เพียงเล็กน้อย หรือบางคราวท่านบังคับให้ฉันข้าวเปล่า ๆ ทั้งที่อาหารมีอยู่ อย่างนี้ก็มี
    อาหารบางชนิดเป็นคุณแก่ร่างกายแต่กลับเป็นภัยแก่ใจ คือทับถมจิตใจ ภาวนายากหรือไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ทั้งที่ทำความเพียรดังที่เคยทำมาเป็นประจำ เมื่อทราบว่าเป็นเพราะเหตุใด จิตจึงไม่ก้าวหน้า ท่านก็พยายามตัดต้นเหตุนั้นออกไป โดยไม่ยอมเสียดาย และตามใจที่เป็นเจ้ากิเลสตัวโลโภ สมกับท่านมาฝึกทรมานใจกับครูอาจารย์จริง ๆ มิได้ปล่อยตามใจที่เคยเอาแต่ใจตัวมาจนเป็นนิสัย
    การฉันท่านก็ฝึกให้มีประมาณและขอบเขตจำกัด การหลับนอน ท่านก็ฝึกให้นอนและตื่นตามเวลาที่กำหนดไว้ ไม่ปล่อยให้นอนตามใจชอบหรือตามยถากรรม การไปมาในทิศทางใด ควรหรือไม่ควร ท่านก็ฝึก แม้ไม่ผิดพระวินัยแต่ผิดธรรม ท่านก็บังคับไม่ให้ฝ่าฝืน ในสิ่งที่เห็นว่าไม่ควรนั้น ๆ
    การพยายามปลูกธรรมให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นโดยลำดับ ภายในใจ ไม่ให้เสื่อมทรามลง จึงแสนปลูกยากอย่างยิ่ง แทบพูดได้ว่า ไม่มีอะไรจะลำบากยากเย็นเสมอเหมือนเลย
    ส่วนการปลูกโลก ผู้เขียนอยากจะพูดว่า มันคอยแต่จะแย่งเกิดและเจริญขึ้น เพื่อทำลายจิตใจเราอยู่ทุกขณะที่เผลอ จนไม่ชนะที่จะปราบปรามมัน เพียงนาทีหนึ่งมันก็แอบเข้ามาเกิดและเจริญในใจเสียแล้ว ไม่รู้ว่ากี่ประเภท โดยมากก็เป็นประเภทสังหารทำลายตัวเรานั่นแล มันเกิดและเจริญเร็วที่สุด ชั่วพริบตาเดียวเท่านั้นก็มองไม่ทั่ว ตามแก้ไม่ทัน
    สิ่งที่เกิดง่ายแต่ทำลายยาก คือต้นราคะตัณหา ตัวทำความพินาศบาดหัวใจ นี่แลเป็นสิ่งที่เก่งกล้าสามารถกว่าอะไรในโลก ไม่ว่าท่าน ว่าเรา ต่างก็ชอบมันเสียด้วย มันจึงได้ใจ และก่อความพินาศให้โลกอย่างไม่มีประมาณ และไม่เกรงขามใครเลย ที่มีกลัวอยู่บ้างก็ผู้มีธรรมในใจ และที่กลัวจริง ๆ คือพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ท่านเท่านั้น มันไม่กล้าเข้าไปแอบได้ เพราะท่านทำลายโรงลิเกละครและโรงอะไร ๆ ของมันพังพินาศไปหมดแล้ว มันจึงกลับมาเล่นงานกับพวกเรา ผู้ยังอยู่ใต้อำนาจของมัน
    พระธุดงค์ท่านแทบเป็นแทบตายในการฝึกทรมานตน ก็เพราะกิเลสสองสามตัวนี่แลเป็นเหตุ และทำการกีดขวางถ่วงใจท่านให้ได้รับความลำบาก แม้เปลี่ยนเพศเป็นพระ มีผ้าเหลืองซึ่งเป็นเครื่องหมายของท่านผู้ชนะมารมาแล้วมาครองประกาศตัว แต่กิเลสประเภทนี้มันยังไม่ยอมเกรงกลัวท่านบ้างเลย แถมมันยังพยายามตามฉุดลากท่านให้เปลื้องผ้าเหลืองอยู่ตลอดไป ไม่ยอมปล่อยตัวเอาง่าย ๆ ทั้งไม่เลือกวัยเสียด้วย
    ท่านจึงจำต้องตะเกียกตะกายด้วยการฝึกทรมานโดยวิธีต่าง ๆ ที่เห็นว่าเป็นวิธีกำจัดมันออกจากใจได้ ยากก็ทน ลำบากก็ทำ ทุกข์ก็ต้องต่อสู้ ไม่ยอมถอยหลัง เดี๋ยวมันจะหัวเราะเยาะเข้าอีก ยิ่งขายทั้งหน้า ขายทั้งผ้าเหลือง ขายทั้งเพศนักบวช ที่เป็นเพศแห่งนักต่อสู้ไม่ยอมจนมุม และขายทั้งศาสนา ซึ่งเป็นหลักใหญ่ของมวลมนุษย์ ยิ่งเป็นความเสียหายอย่างใหญ่หลวง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จำต้องพลีชีพเพื่อกู้หน้า กู้ผ้าเหลือง กู้เพศแห่งนักบวช และกู้พระศาสนาและองค์พระศาสดาไว้ดีกว่าจะตายแบบล่มจมป่นปี้
    เหล่านี้เป็นอุบายที่พระธุดงค์ท่านนำมาพร่ำสอนตัวเพื่อความกล้าหาญชาญชัย เทิดไว้ซึ่งธรรมดวงเลิศ อันจักนำให้ถึงแดนประเสริฐพ้นทุกข์ไปได้ในวันหนึ่งโดยไม่สงสัย เพราะทางพ้นทุกข์ถึงความเป็นผู้ประเสริฐมีอยู่กับศาสนธรรมที่ประทานไว้นี้เท่านั้น ที่เป็นทางตรงแน่วต่อความพ้นทุกข์โดยประการทั้งปวงไม่สงสัย ไม่มีอยู่ในที่อื่นใดที่จะพอหลบหลีกปลีกตัว และผ่อนคลายไปได้ โดยไม่ต้องลำบากในการขวนขวาย นอกนั้นเต็มไปด้วยขวากหนามที่จะคอยทิ่มแทงร่างกายจิตใจให้เป็นทุกข์ จนหาที่ปลงวางไม่ได้ ตลอดกัปกัลป์ ไม่มีประมาณว่าจะผ่านพ้นไปได้
    แม้ท่านอาจารย์มั่น ก่อนหน้าท่านจะปรากฏองค์ขึ้นมา ให้พวกเราได้กราบไหว้เป็นขวัญใจ และเป็นอาจารย์สั่งสอนบรรดาศิษย์ ท่านก็เคยเป็นมาแล้วชนิดตายไม่มีป่าช้า คือสิ้นลมที่ไหนปล่อยร่างกันที่นั่น ไม่อาลัยเสียดายชีวิตยิ่งกว่าธรรม ดังที่เขียนผ่านมาบ้างแล้ว
    เวลาเป็นอาจารย์สั่งสอนศิษย์ ท่านสั่งสอนอย่างเด็ด ๆ เผ็ด ๆ ร้อน ๆ ด้วยอุบายอันแหลมคม ตามแนวทางท่านเคยดำเนินและเห็นผลมาแล้วนั่นแล ท่านสั่งสอนแบบปลุกจิตปลุกใจ และฟื้นฟูความฉลาดให้ทันกับกลมารยาของกิเลส ที่เคยเป็นนายบนหัวใจคนมานาน เพื่อการถอดถอนทำลายกิเลสออกให้หมด จะได้หมดโทษหมดภัยอยู่สบาย ไปอย่างผู้สิ้นทุกข์ ไม่ต้องมีการวกเวียนเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติ แต่ความทุกข์ที่ฝังอยู่ในใจไม่ยอมเปลี่ยน
    แม้จะเปลี่ยนภพกำเนิดไปสักเท่าไร ก็เท่ากับเปลี่ยนเครื่องมือสังหารตนอยู่นั่นเอง จึงไม่ควรยินดีในการเกิดเป็นนั่นเป็นนี่ อันเป็นลักษณะนักโทษย้ายที่อยู่หลับนอนในเรือนจำ ซึ่งไม่มีอะไรดีขึ้นเลย
    การเกิดตาย นักปราชญ์ท่านถือเป็นภัยโดยจริงใจ เหมือนย้ายที่ที่ถูกไฟไหม้ แม้จะย้ายที่อยู่ไปไหนก็ไม่พ้นจากการระวังภัยอยู่นั่นเอง
    เหล่านี้นำมาลงเพียงเล็กน้อยสำหรับโอวาทที่ท่านอาจารย์มั่นสั่งสอนพระธุดงค์ตลอดมา ที่นำมาลงบ้างนี้พอเป็นคติแก่ท่านที่ชอบในอุบายท่าน
    การให้โอวาทวันทำอุโบสถและวันประชุมฟังธรรม
    การให้โอวาทวันทำอุโบสถและวันประชุมฟังธรรมโดยเฉพาะ มีน้ำหนักแห่งธรรมต่างกันอยู่มาก วันอุโบสถมีพระมามากจากสำนักต่าง ๆ ราว ๔๐-๕๐ องค์ การสั่งสอนแม้จะเด็ดเดี่ยวและลึกซึ้ง ก็ไม่เหมือนวันประชุมธรรมในสำนักท่านโดยเฉพาะ
    วันประชุมรู้สึกเด็ดและซึ้งจริง ๆ อำนาจแห่งธรรมที่แสดงออกแต่ละครั้ง ขณะท่านให้โอวาท ในความรู้สึกของผู้ฟังทั่ว ๆ ไป ประหนึ่งโลกธาตุดับสนิทไปตามกิเลสที่ท่านเทศน์ ขับไล่ออกจากดวงใจพระธุดงค์ ปรากฏเฉพาะธรรมกับใจที่เข้าสัมผัสกันอยู่ขณะนั้นเท่านั้น เป็นความซาบซึ้งตรึงใจและอัศจรรย์อย่างบอกไม่ถูก
    แม้หลังจากนั้นยังปรากฏเหมือนไม่มีอะไรเหลืออยู่ในใจ จิตหมอบอยู่เป็นเวลาหลายวัน เพราะอำนาจธรรมที่ท่านแสดงอย่างเผ็ดร้อน ประหนึ่งท่านท้าทายกิเลสทั้งหลาย พอผ่านไปหลายวันกิเลสค่อย ๆ โผล่หน้าออกมาทีละน้อย ๆ นานไปพองตัวขึ้นอีก พอดีถึงวันประชุมท่านก็ปราบให้อีก พอบรรเทาเบาบางให้สบายใจไปได้เป็นระยะ ๆ
    ด้วยเหตุดังกล่าวมา พระธุดงค์ทั้งหลายผู้ใคร่ต่อธรรมแดนพ้นทุกข์ จึงมีใจผูกพันในอาจารย์มากผิดธรรมดา เพราะการถอดถอนกิเลสนั้น ทั้งทำโดยลำพังตนเอง ทั้งมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาจารย์ ผู้คอยให้อุบายด้วยอย่างแยกไม่ออก บางครั้งพระไปบำเพ็ญเพียรอยู่โดยลำพัง พอเกิดข้อข้องใจซึ่งเป็นเรื่องของกิเลสขึ้นมา ไม่สามารถแก้ไขโดยลำพังได้ ต้องรีบมาเล่าถวายอาจารย์เพื่อท่านได้ชี้แจงให้ฟัง
    พอมาเล่าถวาย ท่านก็อธิบายให้ฟังตามสาเหตุนั้น ๆ ย่อมได้สติและหายสงสัยไปในขณะนั้นนั่นเอง บางครั้งกำลังเกิดความสงสัยวุ่นวายอยู่กับจุดใดจุดหนึ่งที่สลับซับซ้อน เหลือที่จะแก้ให้ตกได้ โดยลำพังสติปัญญาของตน พอท่านอธิบายธรรมไปถึงจุดนั้น ปรากฏเหมือนท่านเข้าไปทำลายความสงสัยของตนเสียได้ และผ่านไปได้ในขณะนั้นเป็นพัก ๆ
    ในระหว่างนักปฏิบัติด้วยกันจะทราบภูมิของกันและกัน
    ในวงพระปฏิบัติระหว่างเพื่อนนักปฏิบัติด้วยกัน และระหว่างลูกศิษย์กับอาจารย์ จะทราบภูมิของกันและกันได้ และทำให้เกิดความเคารพเลื่อมใสต่อกันมาก ย่อมทราบจากการสนทนาธรรมกันทางภาคปฏิบัติ เมื่อเล่าความจริงที่จิตประสบและผ่านไปสู่กันฟัง ย่อมทราบถึงภูมิจิตภูมิธรรมของผู้นั้นทันทีว่าอยู่ในภูมิใด บรรดาศิษย์ที่ทราบภูมิของอาจารย์ได้ ย่อมทราบในขณะที่เล่าธรรมภายในจิตของตนถวายท่าน หรือเล่าตอนที่จิตติดขัดอยู่กับอารมณ์ที่ยังแยกจากกันไม่ออก ว่าจะควรปฏิบัติต่อกันอย่างไร ถ้าอาจารย์เป็นผู้รู้หรือผ่านไปแล้ว ท่านจะต้องอธิบายเพิ่มเติมต่อจากที่ตนเล่าถวายท่านแล้วนั้น หรือชี้แจงตอนที่ตนกำลังติดขัดอยู่ ให้ทะลุปรุโปร่งอย่างไม่มีที่ขัดข้องต้องติใด ๆ เลย
    อีกประการหนึ่งลูกศิษย์เกิดความสำคัญตนผิด คิดว่าตนผ่านพ้นไปโดยสิ้นเชิงแล้ว แต่ท่านทราบว่าเป็นความเห็นที่ยังไม่ตรงตามความเป็นจริงที่ท่านผู้เห็นมาโดยถูกต้อง ท่านจำต้องอธิบายเหตุผลและชี้แจงให้ฟังตามจุดที่ผู้นั้นสำคัญผิด จนยอมรับเหตุผลอันถูกต้องจากท่านเป็นตอน ๆ ไปจนถึงที่ปลอดภัย
    เมื่อต่างได้สนทนากันตามจุดต่าง ๆ แห่งธรรม จนเป็นที่ทราบและลงกันได้ ย่อมยอมรับความจริงจากกันโดยไม่มีอะไรมาประกาศยืนยัน เพราะหลักความจริงเป็นเครื่องยืนยันกันพร้อมมูลแล้ว
    นี่แลเป็นหลักพิสูจน์ภูมิของนักปฏิบัติธรรมด้วยกันว่า ท่านผู้ใดอยู่ในภูมิจิตภูมิธรรมขั้นใด นับแต่ขั้นอาจารย์ลงมาหาพระปฏิบัติทั่ว ๆ ไป ท่านทราบกันได้ด้วยหลักฐานดังกล่าวมา
    ส่วนการทราบด้วยญาณวิถีนั้นเป็นเรื่องภายในอีกขั้นหนึ่ง ผู้เขียนไม่อาจนำมายืนยัน จึงขอมอบไว้กับท่านผู้มีความชำนาญในทางนี้เป็นกรณีพิเศษ จะพึงปฏิบัติเองเป็นราย ๆ ไป
    ที่บรรดาศิษย์มีความเคารพเลื่อมใสท่านอาจารย์มั่นอย่างถึงใจ ฝากเป็นฝากตายถวายชีวิตจริง ๆ เพราะความใกล้ชิดสนิททั้งภายนอกภายใน เกี่ยวกับการสนทนากับท่านอยู่เสมอนั่นแล ทำให้จิตยอมรับความจริงจากท่านอย่างสนิทและตายใจ มิได้เป็นแบบสักแต่ว่าเห็น ได้ยินคำเล่าลือจากที่ใกล้ที่ไกลแล้วเชื่อสุ่ม ๆ ไปอย่างนั้น
    เฉพาะผู้เขียนซึ่งเป็นพระที่มีทิฐิจัด ไม่ยอมลงใครเอาง่าย ๆ แล้ว ยอมรับว่าเป็นตัวเก่งที่น่ารำคาญและน่าเกลียดอยู่ไม่น้อยผู้หนึ่ง ในการโต้เถียงกับท่านอาจารย์มั่น เป็นนักโต้เถียงจนลืมสำนึกตัวว่า เวลานี้เรามาในนามลูกศิษย์เพื่อศึกษาธรรมกับท่าน หรือมาในนามอาจารย์เพื่อสอนธรรมแก่ท่านเล่า อย่างนี้ก็มีในบางครั้ง
    แต่ก็ยังภูมิใจในทิฐิของตน ที่ไม่ยอมเห็นโทษและกลัวท่าน แม้ถูกท่านสับเขกลงจนกะโหลกศีรษะจะไม่มีชิ้นต่อกันเวลานั้น หลักใหญ่ก็เพื่อทราบความจริงว่าจะมีอยู่กับทิฐิเรา หรือจะมีอยู่กับความรู้ความฉลาดของท่านผู้เป็นอาจารย์ ขณะที่กำลังโต้แย้งกันอยู่อย่างชุลมุนวุ่นวาย
    แต่ทุกครั้งที่โต้กันอย่างหนัก ความจริงเป็นฝ่ายท่านเก็บกวาดไว้หมด แต่ความเหลวไหลไร้ความจริงมากองอยู่กับเราผู้ไม่เป็นท่า ที่เหลือแต่ใจสู้จนไม่รู้จักตาย พอโต้เถียงกับท่านยุติลง เราเป็นฝ่ายนำไปขบคิดเลือกเฟ้นและยอมรับความจริงของท่านไปเป็นตอน ๆ ส่วนใดที่เราเหลว ก็กำหนดโทษของตนไว้ และยอมรับความจริงจากท่านด้วยการเทิดทูนบนเศียรเกล้า ตอนใดที่ไม่เข้าใจซึ่งยังลงกันไม่ได้ วันหลังมีโอกาสขึ้นไปโต้กับท่านใหม่ แต่ทุกครั้งต้องศีรษะแตกลงมาด้วยเหตุผลของท่านมัดตัวเอา แล้วอมความยิ้มในธรรมของท่านลงมา
    องค์ท่านเองทั้งที่ทราบเรื่องพระบ้าทิฐิจัดได้ดี แทนที่จะดุด่าหรือหาอุบายทรมานให้หายบ้าเสียบ้าง แต่ขณะที่ท่านมองหน้าเราทีไร อดยิ้มไม่ได้ ท่านคงนึกหมั่นไส้ หรือนึกสงสาร คนแสนโง่แต่ชอบต่อสู้แบบไม่รู้จักตาย ผู้เขียนจึงมิใช่คนดีมาแต่เดิม แม้กระทั่งปัจจุบันนี้ ขนาดอาจารย์ยังกล้าต่อสู้ไม่ละอายตัวเองเลย แต่ดีอย่างหนึ่งที่ได้ความรู้แปลก ๆ จากวิธีนั้นมาเป็นคติสอนตนเรื่อยมาจนทุกวันนี้ ท่านเองก็ไม่เคยถือสาอะไรเลย นอกจากนึกขันไปด้วยเท่านั้น เพราะนาน ๆ จะมีพระหัวดื้อมากวนใจเสียครั้งหนึ่ง ปกติไม่ค่อยมีท่านผู้ใดมาสนทนาและถกเถียงท่าน พอให้พระเณรในวัดตื่นตกใจและงงไปตาม ๆ กันบ้างเลย
    เมื่อกลับมาอิสานก็มีผู้มาศึกษาธรรมกับท่านมากทั้งพระและฆราวาส
    หลังจากที่ท่านผ่านดงหนาป่าทึบ คือ วัฏวนที่เชียงใหม่ตามที่เขียนผ่านมาแล้ว ท่านไปพักอยู่ในสถานที่ใดนานหน่อย สถานที่นั้นรู้สึกจะมีความหมายอยู่อย่างลึกลับสำหรับท่าน โดยมิได้บอกใครให้ทราบ พอสังเกตได้ตอนมาจากเชียงใหม่มาแวะพักที่นครราชสีมา ก็มีพระและฆราวาสที่มีนิสัยใคร่ธรรมเป็นหลักใจและภาวนาดีอยู่หลายท่าน เข้ามาศึกษาธรรมกับท่านในขณะมาพักที่นั้น หลังจากนั้นก็ได้ติดตามไปอบรมศึกษากับท่านที่จังหวัดอุดรธานีบ้าง ที่สกลนครบ้าง เสมอมาจนวาระสุดท้าย
    ทั้งพระและฆราวาสที่กล่าวถึงนี้ ก็ได้เป็นผู้มั่นคงทางด้านจิตตภาวนาตลอดมา ฝ่ายพระก็ได้กลายเป็นอาจารย์ที่มีหลักธรรมมั่นคงในใจ กลายเป็นผู้มีชื่อเสียงและเป็นอาจารย์สั่งสอนบรรดาศิษย์ทั้งพระ ฆราวาสหญิงชายตลอดมาถึงปัจจุบันนี้ ฝ่ายฆราวาสก็เป็นผู้มั่นคงทางจิตตภาวนาและศรัทธาอย่างอื่น ๆ เรื่อยมาจนทุกวันนี้ และเป็นผู้นำฝ่ายอุบาสกสีกา ทั้งด้านจิตใจและการเสียสละต่าง ๆ เป็นที่น่าชมเชยในแถบนั้นตลอดมา
    เวลาท่านมาพักจำพรรษาที่อุดรฯ ก็มีท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ซึ่งเป็นพระสำคัญและเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ อุดรฯ เป็นผู้นำทั้งฝ่ายพระและประชาชน ให้รู้จักคุ้นเคยกับท่านอาจารย์ซึ่งเป็นพระสำคัญ ตลอดการทำบุญให้ทานและรับการอบรมสั่งสอนจากท่าน ประกอบกับท่านเจ้าคุณท่านก็เคยเป็นลูกศิษย์ท่านอาจารย์มั่นมาดั้งเดิมที่ท่านรักและเมตตามากเสมอมา จึงได้มาอนุเคราะห์เป็นวาระสุดท้าย
    เวลาไปพักที่บ้านนามน จังหวัดสกลนคร ก็มีอุบาสิกานุ่งขาวแก่ ๆ คนหนึ่งเป็นหัวหน้าสำนักอยู่ในหมู่บ้านนั้นเป็นสาเหตุ ท่านได้เมตตาสั่งสอนอุบาสิกาแก่คนนั้นโดยสม่ำเสมอ อุบาสิกาคนนั้นภาวนาดี มีหลักใจทางด้านจิตตภาวนา ท่านเองก็ชมเชยว่าแกภาวนาดี ซึ่งนาน ๆ จะได้พบสักรายหนึ่ง
    ท่านมาพักบ้านหนองผือ นาใน ก็ทราบว่ามีสถานที่และผู้เกี่ยวข้องเป็นสาเหตุสำคัญไม่ด้อยกว่าที่อื่น ๆ สถานที่ที่บ้านหนองผือตั้งอยู่นั้นเป็นศูนย์กลาง มีภูเขาล้อมรอบแต่เนื้อที่ในหุบเขานั้นกว้างขวางมาก และเหมาะเป็นทำเลบำเพ็ญสมณธรรมของพระธุดงค์ทั้งหลายได้ดี
    ในหมู่บ้านหนองผือนั้นมีอุบาสิกาแก่นุ่งห่มขาวคนหนึ่งอายุราว ๘๐ ปี เช่นเดียวกับอุบาสิกาบ้านนามน เป็นนักภาวนาสำคัญคนหนึ่งที่ท่านเมตตาแกเป็นพิเศษเสมอมา แกพยายามตะเกียกตะกายออกไปศึกษาธรรมกับท่านเสมอ แกพยายามเดินด้วยเท้ากับไม้เท้าเป็นเครื่องพยุงออกไปหาท่านอาจารย์ กว่าจะถึงวัดต้องพักเหนื่อยระหว่างทางถึงสามสี่ครั้ง ทั้งเหนื่อยทั้งหอบน่าสงสารมาก
     
  4. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    บางทีท่านอาจารย์ก็ทำท่าดุเอาบ้างว่า โยมจะออกมาทำไม มันเหนื่อยไม่รู้หรือ แม้แต่เด็ก ๆ เขายังรู้จักเหนื่อย แต่โยมแก่จนอายุ ๘๐-๙๐ ปีแล้วทำไมไม่รู้จักเหนื่อยเมื่อยล้า มาให้ลำบากทำไม แกเรียนตอบท่านอย่างอาจหาญตามนิสัยที่ตรงไปตรงมาของแก จากนั้นท่านก็ถามเกี่ยวกับจิตตภาวนาและอธิบายธรรมให้ฟัง
    อุบาสิกาแก่คนนี้นอกจากแกภาวนาดีมีหลักเกณฑ์ทางจิตแล้ว แกยังมีปรจิตตวิชชา คือสามารถรู้พื้นเพดีชั่วแห่งจิตของผู้อื่นได้ด้วยและมีนิสัยชอบรู้สิ่งแปลก ๆ ภายนอกด้วย เวลาแกมารับการอบรมกับท่านอาจารย์ แกเล่าความรู้แปลก ๆ ถวายท่านด้วยความอาจหาญมาก ท่านทั้งขบขันทั้งหัวเราะ ทั้งเมตตาว่ายายแก่นี้อาจหาญจริง ไม่กลัวใคร แม้พระเณรจะนั่งฟังอยู่เวลานั้นร่วมครึ่งร้อย แกพูดของแกอย่างสบาย ไม่สนใจว่าใครจะคิดอะไร ที่น่าฟังมากก็ตอนที่แกทายใจท่านอาจารย์อย่างอาจหาญมาก ไม่กลัวท่านจะว่าจะดุอะไรบ้างเลย
    แกทายว่าจิตหลวงพ่อพ้นไปนานแล้ว
    “ฉันทราบจิตหลวงพ่อมานานแล้ว จิตหลวงพ่อไม่มีใครเสมอ ทั้งในวัดนี้หรือที่อื่น ๆ จิตหลวงพ่อประเสริฐเลิศโลกแล้ว หลวงพ่อจะภาวนาไปเพื่ออะไรอีก”
    ท่านตอบแกทั้งหัวเราะว่า “ภาวนาไปจนวันตายไม่มีถอย ใครถอยผู้นั้นมิใช่ศิษย์ตถาคต”
    ดังนี้ ซึ่งเป็นอุบายสั่งสอนไปในตัว แกเรียนท่านว่า
    “ถ้าไปได้ก็พอไป แต่นี่จิตหลวงพ่อหมดทางไปทางมาแล้ว มีแต่ความสว่างไสวและความประเสริฐเต็มดวงจิตอยู่แล้ว หลวงพ่อจะภาวนาไปไหนอีกเล่า ฉันดูจิตหลวงพ่อสว่างไสวครอบโลกไปหมดแล้ว อะไรมาผ่านหลวงพ่อก็ทราบหมด ไม่มีอะไรปิดบังจิตหลวงพ่อได้เลย แต่จิตฉันมันยังไม่ประเสริฐอย่างจิตหลวงพ่อ จึงต้องออกมาเรียนถามเพื่อหลวงพ่อได้ชี้แจงทางเดินให้ถึงความประเสริฐอย่างหลวงพ่อด้วยดังนี้”
    ขณะที่ฟังแกสนทนากับท่านอาจารย์รู้สึกว่าแกภาวนาดีจริง ๆ เวลาภาวนาติดขัดแกต้องพยายามเดินคืบคลานออกมาด้วยไม้เท้าเป็นเพื่อนร่วมทาง ท่านอาจารย์ก็เมตตาแกเป็นพิเศษด้วย ทุกครั้งที่แกมาจะได้รับคำชี้แจงจากท่านทางด้านจิตตภาวนาด้วยดี
    ขณะที่แกมาหาท่านอาจารย์ พระเณรต่างองค์ต่างมาแอบอยู่แถวบริเวณข้าง ๆ ศาลาฉัน ซึ่งเป็นที่ที่ยายแก่มาสนทนาธรรมกับท่าน เพื่อฟังปัญหาธรรมทางจิตตภาวนาระหว่างท่านอาจารย์กับยายแก่สนทนากัน เท่าที่ฟังดูแล้ว รู้สึกน่าฟังอย่างเพลินใจ เพราะเป็นปัญหาที่รู้เห็นขึ้นจากการภาวนาล้วน ๆ เกี่ยวกับอริยสัจทางภายในบ้าง เกี่ยวกับพวกเทพพวกพรหมภายนอกบ้าง ทั้งภายในและภายนอก เมื่อยายแก่เล่าถวายจบลง ถ้าท่านเห็นด้วยท่านก็ส่งเสริมเพื่อเป็นกำลังใจในการพิจารณาธรรมส่วนนั้นให้มากยิ่งขึ้น ถ้าตอนใดที่ท่านไม่เห็นด้วย ก็อธิบายวิธีแก้ไข และสั่งสอนให้ละวิธีนั้นไม่ให้ทำต่อไป
    ยายแก่มาเล่าถวายท่านถึงการรู้จิตท่านและรู้จิตพระเณรในวัด รู้สึกน่าฟังมาก พระเณรทั้งแสดงอาการหวาด ๆ บ้าง แสดงอาการอยากฟังแกเล่าบ้าง แกว่านับแต่จิตท่านอาจารย์ลงถึงจิตพระเณร ความสว่างไสวลดหลั่นกันลงมาเป็นลำดับลำดา เหมือนดาวใหญ่กับดาวเล็ก ๆ ทั้งหลายที่อยู่ด้วยกันฉะนั้น รู้สึกน่าดูและน่าชมเชยมาก ที่มองดูจิตพระจิตเณรมีความสว่างไสวและสง่าผ่าเผย ไม่เป็นจิตที่อับเฉาเฝ้าทุกข์ที่กลุ้มรุมดวงใจ แม้เป็นจิตพระหนุ่มและสามเณรน้อย ๆ ก็ยังน่าปีติยินดีและน่าเคารพนับถือตามภูมิของแต่ละองค์ ที่อุตส่าห์พยายามชำระขัดเกลาได้ตามฐานะของตน ๆ
    บางครั้งแกมาเล่าถวายท่านเรื่องแกขึ้นไปพรหมโลก ว่าเห็นแต่พระจำนวนมากมายในพรหมโลก ไม่เห็นมีฆราวาสสลับปนอยู่บ้างเลย ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
    ท่านตอบว่า “เพราะที่พรหมโลกโดยมากมีแต่พระที่ท่านบำเพ็ญจิตสำเร็จธรรมขั้นอนาคามีผลแล้ว เวลาท่านตายก็ไปเกิดในพรหมโลก ส่วนฆราวาสมีจำนวนน้อยมากที่บำเพ็ญตนจนได้สำเร็จธรรมขั้นอนาคามีผล แล้วไปเกิดและอยู่ในพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่ง ฉะนั้น โยมจึงเห็นแต่พระไม่เห็นฆราวาสสับปนอยู่เลย อีกประการหนึ่ง ถ้าโยมสงสัยทำไมจึงไม่ถามพระท่านบ้าง เสียเวลาขึ้นไปถึงแล้ว มาถามอาตมาทำไม”
    แกหัวเราะแล้วเรียนท่านว่า “ลืมเรียนถามพระท่าน เวลาลงมาแล้วจึงระลึกได้ก็มาเรียนถามท่าน ต่อไปถ้าไม่ลืมเวลาขึ้นไปอีกจึงจะเรียนถามพระท่าน”
    ท่านอาจารย์ตอบปัญหายายแก่มีความหมายเป็นสองนัย นัยหนึ่งตอบตามความจริง นัยสองตอบเป็นเชิงแก้ความสงสัยของยายแก่ที่ถาม ต่อมาท่านห้ามไม่ให้แกออกรู้สิ่งภายนอกมากไป เสียเวลาพิจารณาธรรมภายในซึ่งเป็นทางมรรคทางผลโดยตรง ยายแก่ก็ปฏิบัติตามท่าน ท่านอาจารย์เองชมเชยยายแก่คนนั้นให้พระฟังเหมือนกันว่า แกมีภูมิธรรมสูงที่น่าอนุโมทนา พวกพระเรามีหลายองค์ที่ไม่อาจรู้ได้เหมือนยายแก่
    คงเป็นด้วยเหตุเหล่านี้ที่ทำให้ท่านพักอยู่วัดหนองผือนานกว่าที่อื่น ๆ บ้าง คือวัดหนองผือเป็นศูนย์กลางของคณะปฏิบัติทั้งหลายทั้งที่เที่ยวอยู่ในที่ต่าง ๆ แถบนั้น ทั้งที่พักอยู่ตามสำนักต่าง ๆ ที่ไปมาหาสู่ท่านได้อย่างสะดวกสบาย ทั้งทำเลบำเพ็ญสมณธรรมมีมาก หาเลือกได้ตามชอบใจ เพราะมีทั้งป่าธรรมดา มีทั้งภูเขา มีทั้งถ้ำ ซึ่งเหมาะแก่ผู้แสวงหาที่บำเพ็ญอยู่มาก
    ท่านอาจารย์มั่นพักอยู่วัดหนองผือ ๕ พรรษา เฉพาะองค์ท่านเองพักอยู่กับที่ ไม่ค่อยได้ไปเที่ยววิเวกทางไหนเหมือนเมื่อก่อน เพราะอายุท่านราว ๗๕ ปีเข้าไปแล้ว สุขภาพก็นับวันทรุดลง เพียงพักอยู่เป็นร่มเงาของบรรดาศิษย์ที่กำลังแสวงหาธรรมได้อาศัยความร่มเย็น ก็เป็นที่ภาคภูมิใจพอแล้ว
    ท่านพักอยู่ที่นี่ เหตุการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับภูตผีเทวดาไม่ค่อยมีมาก มีมาหาท่านก็เป็นบางสมัย ไม่ค่อยมีบ่อยนักเหมือนท่านพักอยู่ที่เชียงใหม่ แต่ท่านทำประโยชน์แก่พระเณรและประชาชนได้มากกว่าที่อื่น ๆ
    เมื่อป่วยต้องใช้ธรรมโอสถแทนยา
    ในเขตจังหวัดสกลนคร ที่วัดหนองผือโดยมากเป็นป่าดงพงลึกไข้ป่าชุกชุมมาก พระเณรไปกราบเยี่ยมท่าน ท่านต้องสั่งให้รีบออกถ้าจวนเข้าหน้าฝน ถ้าหน้าแล้งก็อยู่ได้นานหน่อย
    ผู้ป่วยต้องใช้ความอดทนเพราะยาแก้ไข้ไม่มีใช้กันเลยในวัดนั้น เนื่องจากยาหายาก ไม่เหมือนสมัยทุกวันนี้ ถ้าเป็นไข้จำต้องใช้ธรรมโอสถแทนยา คือต้องพิจารณาทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้นด้วยสติปัญญาอย่างเข้มแข็งและแหลมคม ไม่เช่นนั้นก็แก้ทุกขเวทนาไม่ได้ ไข้ไม่สร่างไม่หายได้เร็วกว่าธรรมดาที่ควรเป็นได้
    ผู้ที่สติปัญญาผ่านทุกขเวทนาในเวลาเป็นไข้ไปได้อย่างอาจหาญ ย่อมได้หลักยึดทั้งเวลาปกติและเวลาเจ็บไข้ได้ทุกข์ ตลอดเวลาจวนตัวจริง ๆ ไม่ท้อแท้อ่อนแอและเสียทีในวาระสุดท้าย เป็นผู้กำชัยชนะในทุกขสัจไว้ได้อย่างประจักษ์ใจ และอาจหาญต่อคติธรรมดา คือความตาย การรู้ทุกขสัจด้วยสติปัญญาจริง ๆ ไม่มีการอาลัยในเวลาต่อไป จิตยึดความจริงที่เคยพิจารณารู้แล้วเป็นหลักใจตลอดไป เมื่อถึงคราวจวนตัวเข้ามา สติปัญญาประเภทนั้นจะเข้ามาเทียมแอกเพื่อลากเข็นทุกข์ ด้วยการพิจารณาให้ถึงความปลอดภัยทันที ไม่ยอมทอดธุระนอนจมทุกข์อยู่ดังแต่ก่อนที่ยังไม่เคยกำหนดรู้ทุกข์เลย แต่สติปัญญาประเภทนี้จะเข้าประชิดข้าศึกทันที
    กิริยาท่าทางภายนอกก็เป็นเหมือนคนไข้ทั่ว ๆ ไป คือมีการอิดโหยโรยแรงเป็นธรรมดา แต่กิริยาภายในคือใจกับสติปัญญาจะเป็นลักษณะทหารเตรียมออกแนวรบ ไม่มีการสะท้านหวั่นไหวต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นมากน้อยในขณะนั้น มีแต่การค้นหามูลความจริงของกาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งเป็นที่รวมแห่งทุกข์ในขณะนั้นอย่างเอาจริงเอาจัง ไม่กลัวว่าตนสู้หรือทนทุกข์ไม่ไหว กลัวแต่สติปัญญาจะไม่รู้รอบทันกับเวลาที่ต้องการเท่านั้น การพิจารณาธรรมของจริงมีทุกขสัจเป็นต้น กับผู้ต้องการรู้ความจริงอยู่อย่างเต็มใจที่เคยรู้เห็นมาแล้วนั้น ท่านไม่ถือเอาความลำบากมาเป็นเครื่องกีดขวางทางเดินให้เสียเวลา และทำความอ่อนแอแก่ตนอย่างไร้ประโยชน์ที่ควรจะได้เลย มีแต่คิดว่าทำอย่างไรจึงจะรู้ ทำอย่างไรจึงจะเห็นความจริงดังที่เคยเห็นประจักษ์มาแล้ว ก็ต้องทำอย่างนั้นจนรู้ประจักษ์ขึ้นมาในปัจจุบัน ไม่พ้นมือสติปัญญาศรัทธาความเพียรไปได้
    เมื่อรู้ความจริงแล้ว ทุกข์ก็จริง กายก็จริง ใจก็จริง ต่างอันต่างจริง ไม่มีอะไรรังควานรังแกบีบคั้นกัน สมุทัยที่ก่อเหตุให้เกิดทุกข์ก็สงบตัวลง ไม่คิดปรุงว่ากลัวทุกข์กลัวตายหรือกลัวไข้ไม่หายอันเป็นอารมณ์เขย่าใจให้ว้าวุ่นขุ่นมัวไปเปล่า ๆ เมื่อสติปัญญารู้รอบแล้ว ไข้ก็สงบลงในขณะนั้น หรือแม้ไข้ยังไม่สงบลงในขณะนั้น แต่ไม่กำเริบรุนแรงต่อไป และไม่ทับใจให้เกิดทุกขเวทนาไปด้วย ที่เรียกว่าป่วยกายป่วยใจ กลายเป็นไข้สองซ้อน
    การพิจารณาทุกขเวทนาในเวลาเจ็บไข้ได้ทุกข์ พระธุดงค์ท่านชอบพิจารณาเป็นข้อวัตรของการฝึกซ้อมสติปัญญาให้ทันกับเรื่องของตัว โดยมากก็เรื่องทุกข์ ทั้งทุกข์กาย ทั้งทุกข์ใจ รายใดขณะที่กำลังเป็นไข้แสดงอาการระส่ำระสายกระวนกระวาย ในวงพระปฏิบัติท่านถือว่ารายนั้นไม่เป็นท่าทางจิตใจ เกี่ยวกับสมาธิและปัญญา ไม่สามารถประคองตัวได้ในเวลาจำเป็นเช่นนั้น ไม่สมกับสร้างสติปัญญาเครื่องปราบปรามและป้องกันตัวไว้เพื่อสงคราม คือ ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นจากเหตุต่าง ๆ แต่แล้วกลับเหลวไหลไร้มรรยาทขาดสติปัญญา แต่รายใดสำรวมสติอารมณ์ได้ด้วยสติปัญญา ไม่แสดงอาการทุรนทุรายในเวลาเช่นนั้น ท่านชมและถือว่ารายนั้นดีจริง สมเกียรติพระปฏิบัติที่เป็นนักต่อสู้ สมกับปฏิบัติมาเพื่อต่อสู้จริง ๆ เห็นผลในการปฏิบัติของตนและประกาศตนให้หมู่คณะเห็นประจักษ์โดยทั่วกันอีกด้วย
    วงพระธุดงค์ท่านถือกันตรงนี้เป็นสำคัญ แม้องค์ที่ถูกภัยคุกคามนั้น ท่านก็ถือท่านเหมือนกันว่าจะไม่ยอมแพ้แม้จนตายไปในเวลานั้น คือไม่ยอมแพ้ทางสติปัญญาอันเป็นเครื่องพิจารณาเพื่อหาทางออกอย่างปลอดภัยไร้กังวล เมื่อสุดวิสัยจะอยู่ต่อไปไม่ได้แล้ว
    ดังนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงความจริงดังที่ท่านสั่งสอนไว้แล้ว จึงเป็นผู้เชื่อต่อความจริง ไม่ยอมถอยทัพกลับแพ้ข้าศึกที่เผชิญหน้าอยู่ในขณะนั้น ต้องต่อสู้จนตาย ร่างกายทนไม่ไหวก็ปล่อยให้ตายไป แต่ใจกับสติปัญญาเครื่องรักษาและป้องกันตัว ท่านไม่ยอมปล่อยวาง พยายามฉุดลากกันไปจนได้ ไม่ให้ไร้ผลในส่วนที่ตนมุ่งหมาย สมกับเป็นนักรบหวังชัยชนะเพื่อเอาตัวรอด พาไปจอดในที่เหมาะสมและปลอดภัยจริง ๆ
    ธรรมบทว่า ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ นั้นเห็นประจักษ์อยู่กับใจผู้ปฏิบัติตามหลักความจริงไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอื่นแน่นอน นอกจากปฏิบัติแบบสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกไม่จริงไม่จังเท่านั้น ผลก็ไม่ทราบว่าจะให้เป็นความจริงมาได้อย่างไร นอกจากจะมาขัดกับความจริงเท่านั้น ไม่มีอย่างอื่นที่จะพอสันนิษฐานได้ เพราะคำว่าธรรมแล้วต้องเหตุกับผลลงกันได้ จึงจะเรียกว่า สวากขาตธรรม ตามที่ประทานไว้
    พระธุดงค์ท่านมุ่งปฏิบัติเพื่อเห็นผลในปัจจุบันทันตาจากศาสนธรรมมากกว่าอื่น ในบรรดาผลที่จะควรปรากฏในปัจจุบัน เช่น สมาธิความสงบเย็นใจ ปัญญาการถอดถอนลูกศรคือกิเลสประเภทต่าง ๆ ออกจากใจ ซึ่งทั้งสองประเภทนี้เป็นความสุขเย็นใจขึ้นไปเป็นขั้น ๆ ที่ควรจะเห็นได้ประจักษ์ใจในทิฏฐธรรมปัจจุบัน ท่านจึงหมายมั่นหมั่นเพียรเพื่อรู้เห็นในปัจจุบัน อันเป็นการตัดปัญหาข้อขัดข้องและกดถ่วงใจไปเป็นพัก ๆ ถ้าควรพ้นไปได้ในวันนี้ เดือนนี้ ปีนี้ หรือชาตินี้ ก็ขอให้พ้นไปด้วยความเพียรที่กำลังตะเกียกตะกายอยู่อย่างสุดกำลังตลอดมา
    แม้ท่านอาจารย์เองก็อบรมพระเณรด้วยอุบายการปลุกจิตปลุกใจ ไม่ให้ท้อแท้อ่อนแอต่อหน้าที่ของตน ทั้งในยามปกติและเวลาเจ็บไข้ได้ทุกข์ ท่านเทศน์ปลุกใจให้เป็นนักต่อสู้เพื่อกู้ตัวเองให้พ้นภัยไปทุกระยะ ยิ่งเวลาป่วยไข้ด้วยแล้ว รายใดแสดงอาการอ่อนแอและกระวนกระวาย ไม่สำรวมมรรยาทและสติอารมณ์ด้วยแล้ว รายนั้นต้องถูกเทศน์อย่างหนัก ดีไม่ดีไม่ให้พระเณรไปพยาบาลรักษาเสียด้วย โดยเห็นว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #FFFFF5" bgcolor="#fffff5" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="590">
    ความอ่อนแอความกระวนกระวายและร้องครางต่าง ๆ ไม่ใช่ทางระงับโรคและบรรเทาทุกข์แต่อย่างใด คนดี ๆ เราทำเอาก็ได้ไม่เห็นยากเย็นอะไร ทั้งไม่ใช่ทางของพระผู้มีเพศอันอดทนและใคร่ครวญเลย ไม่ควรนำมาใช้ในวงปฏิบัติ จะกลายเป็นโรคระบาดติดต่อก่อแขนงออกไป เป็นตัวอย่างไม่ดีแก่ผู้อื่นยึดเอาอย่าง กลายเป็นโรคเลอะเทอะไปด้วยการร้องครางทิ้งเนื้อทิ้งตัวเหมือนสัตว์จะตายดิ้นรนกระเสือกกระสนฉะนั้น
    เราเป็นพระและเป็นนักปฏิบัติ อย่ายึดเอาลัทธิสัตว์มาใช้จะกลายเป็นพระลัทธิสัตว์ ศาสนาของสัตว์ไปทั่วทุกหนทุกแห่ง จนกลายเป็นพระโลกแตกศาสนาโลกแตกไป ซึ่งมิใช่ลัทธิของพุทธศาสนาเลย อาการหนักหรือเบาแม้จะไม่แสดงออกมา คนดีมีสติพอรู้เรื่องและดูกันรู้ เพราะการเจ็บไข้ได้ทุกข์ ใครก็เคยมีเคยเป็นมาด้วยกัน ถ้าหายได้ด้วยการกระวนกระวายร้องครางก็ไม่ต้องรักษากันด้วยหยูกยา ใครเป็นขึ้นผู้นั้นร้องครางขึ้นเสียไข้ก็หายไปเอง ยิ่งง่ายนิดเดียวไม่ต้องรักษาให้ลำบากและเสียเวลาเปล่า ๆ นี่เวลาเป็นไข้ เราร้องครางไข้มันหายไหมล่ะ ถ้าไม่หายจะร้องครางประกาศความโง่ความไม่เป็นท่าของตัวให้คนอื่นเบื่อกันทำไม
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    นี่คือกัณฑ์เทศน์รายที่ไม่เป็นท่าต้องได้รับจากท่าน และทำให้ท่านผู้อื่นรำคาญด้วยความไม่เป็นท่าของเธอองค์นั้น แต่รายที่เข้มแข็งและสงบสติอารมณ์ด้วยดี ไม่แสดงอาการทุรนทุราย เวลาท่านไปเยี่ยมไข้ ท่านต้องแสดงความยินดีด้วย แสดงความชมเชยและเทศน์ให้ฟังอย่างจับใจและเพลินไปในขณะนั้น แม้ไข้หายไปแล้วก็แสดงความชมเชยในลำดับต่อไปอยู่เสมอ และแสดงความพอใจความไว้วางใจด้วยว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #FFFFF5" bgcolor="#fffff5" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%;border:solid maroon 1.5pt; padding:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt" valign="top" width="590">
    ต้องอย่างนั้น จึงสมกับเป็นนักรบในสงครามกองทุกข์ไม่ต้องบ่นให้ข้าศึกว่า มามากหรือมาน้อย มาเท่าไรก็รบมันเท่านั้น จนสุดกำลังอาวุธและความสามารถขาดดิ้น ไม่ถอยทัพกลับยอมแพ้ให้ข้าศึกมาเหยียบย่ำซ้ำเติม เราเป็นนักรบในวงปฏิบัติ ไม่ต้องบ่นให้การเจ็บไข้ได้ทุกข์ว่าทุกข์มากทุกข์น้อย ทุกข์มีเท่าไรกำหนดรู้ให้หมด
    เพราะทุกข์มากหรือน้อยล้วนเป็นสัจธรรมของจริงด้วยกัน ผู้ประสงค์อยากรู้ของจริงแต่กลัวทุกข์ไม่ยอมพิจารณาจะรู้ของจริงได้อย่างไร พระพุทธเจ้าทรงรู้ของจริงก็เพราะการพิจารณา มิใช่เพราะการร้องครางต่าง ๆ ดังพระไม่เป็นท่าประกาศขายตัวอยู่เวลานี้ พระองค์ได้ตรัสไว้หรือเปล่าว่า ถ้าต้องการรู้ความจริงต้องร้องต้องครวญคราง ผมเรียนน้อยจึงไม่เจอธรรมบทนี้ การร้องครางมันอยู่ในคัมภีร์ไหนก็ไม่ทราบ ใครเรียนมาก ถ้าพบเห็นพระองค์ตรัสไว้ดังที่ว่านั้น นิมนต์นำมาบอกผมบ้าง เผื่อจะไม่ต้องสั่งสอนใครให้พิจารณาและอดทนกันให้ลำบาก ต่างคนต่างร้องเอาครางเอาให้เป็นของจริงขึ้นมาเต็มโลกธาตุโน้น จะได้เห็นนักปราชญ์ที่ สำเร็จมรรคผลด้วยการครวญครางขึ้นในโลก แข่งธรรมของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้ได้สองพันกว่าปีแล้ว ว่าไม่เป็นของจริงล้าสมัยไปแล้ว
    ธรรมของนักปราชญ์รุ่นหลังนี้เป็นธรรมใหม่และจริงทันสมัย ไม่ต้องพิจารณาให้ลำบาก เพียงแต่ครางเอาครางเอาเท่านั้นก็สำเร็จมรรคผลรวดเร็วทันใจ สมกับสมัยที่คนชอบผลดีมีความสุขด้วยการทำเหตุชั่ว ๆ ซึ่งกำลังจะเกลื่อนโลกอยู่แล้ว ต่อไปน่ากลัวโลกจะคับแคบไม่มีที่ให้นักปราชญ์สมัยใหม่อยู่ ผมมันหัวโบราณ พระพุทธเจ้าว่าอย่างไรก็เชื่อตามอย่างนั้น ไม่กล้าลัดคิว กลัวเวลาเท้าพ้นจากพื้นแล้วจะกลับเอาศีรษะและปากลงฟาดกับพื้นตายแบบไม่เป็นท่า น่าอนาถใจเหลือประมาณ
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ธรรมเหล่านี้จะได้ฟังเวลาท่านเทศน์ สอนพระที่อ่อนแอไม่อดทนและเข้มแข็งต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นในเวลาป่วย หรือเวลาฝึกทรมานตนด้วยตปธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเกิดความอ่อนแอท้อถอยขึ้นมาในระหว่างการบำเพ็ญ ไม่สามารถพิจารณาด้วยอุบายต่าง ๆ จนผ่านพ้นไปได้ด้วยความพากเพียรของนักต่อสู้ จึงมักได้ฟังธรรมประเภทเผ็ดร้อนจากท่านเสมอ แต่ผู้สนใจจริง ๆ ธรรมดังกล่าวกลับเป็นธรรมโอสถ เครื่องปลุกประสาทให้เกิดความอาจหาญร่าเริงในการบำเพ็ญ ไม่ลดหย่อนอ่อนกำลังลงง่าย ๆ มีทางกำชัยชนะได้เป็นพัก ๆ จนถึงแดนแห่งความเกษมได้ด้วยธรรมเหล่านี้ เพราะเป็นธรรมปลุกให้ตื่นตัวตื่นใจ ไม่นอนจมอยู่กับความเกียจคร้านอ่อนแอ อันเป็นทางเดินของวัฏทุกข์ประจำวัฏวน
    เรื่องพระที่มรณภาพในวัดหนองผือ
    ระยะที่ท่านอาจารย์พักอยู่วัดหนองผือมีพระตายในวัด ๒ องค์ ตายบ้านนาในอีก ๑ องค์ องค์แรกอายุราวกลางคน ท่านองค์นี้บวชเพื่อปฏิบัติโดยเฉพาะ และปฏิบัติอยู่กับท่านอาจารย์แบบเข้า ๆ ออก ๆ เรื่อยมาแต่สมัยท่านอยู่เชียงใหม่ และติดตามท่านจากเชียงใหม่มาอุดรฯ สกลนคร แล้วมามรณภาพที่วัดหนองผือ ทางด้านจิตตภาวนาท่านดีมาก ทางสมาธิ ส่วนทางปัญญากำลังเร่งรัดโดยมีท่านอาจารย์เป็นผู้คอยให้นัยเสมอมา ท่านมีนิสัยเคร่งครัดเด็ดเดี่ยวมาก เทศน์ก็เก่งและจับใจไพเราะมาก ทั้งที่ไม่ได้หนังสือสักตัว เทศน์มีปฏิภาณไหวพริบปัญญาฉลาด สามารถยกข้อเปรียบเทียบมาสาธกให้ผู้ฟังเข้าใจได้อย่างง่าย ๆ
    แต่น่าเสียดาย ท่านป่วยเป็นวัณโรคกระเสาะกระแสะมานาน มาหนักมากและมรณะที่วัดหนองผือ ตอนเช้าเวลาประมาณ ๗ น. ด้วยท่าทางอันสงบสมเป็นนักปฏิบัติทางจิตมานานพอสมควรจริง ๆ เห็นอาการท่านในขณะจวนตัวและสิ้นลมแล้วเกิดความเชื่อเลื่อมใสในท่าน และในอุบายวิธีของจิตที่ได้รับการฝึกอบรมมาเท่าที่ควร ก่อนจะมาถึงวาระสุดท้ายซึ่งเป็นขณะที่ต้องช่วยตัวเองโดยเฉพาะ ไม่มีใครแม้รักสนิทอย่างแยกไม่ออกจะเข้าไปเกี่ยวข้องได้ จิตจะมีทางต้านทานสู้กับสิ่งเป็นภัยแก่ตนได้อย่างเต็มกำลังฝีมือที่มีอยู่และแยกตัวออกได้โดยปลอดภัย เพราะวาระสุดท้ายเป็นข้าศึกศัตรูต่อตัวเองอย่างสำคัญ ใครมีอุบายฉลาดหรือขลาดเขลาเมามัวเพียงไร ก็ต้องมาเผชิญกับเหตุการณ์อันนี้จนได้ ผู้ช่วยตัวเองได้ก็ดีไป ผู้ช่วยตัวเองไม่ได้ก็จมไป และจมอยู่ในความไม่เป็นท่าของตนโดยไม่มีใครช่วยได้
    ฉะนั้นที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า โก นุ หาโส กิมานนฺโท เป็นต้น ซึ่งแปลเอาความว่า ก็เมื่อโลกอันความมืดด้วย ราคะ โทสะ โมหะ เหมือนไฟกองใหญ่ไหม้ลุกโพลงอยู่ทั้งวันทั้งคืนเช่นนี้ ยังพากันหัวเราะเฮฮาหน้ายิ้มอยู่ได้ ทำไมไม่พากันแสวงหาที่พึ่งเสียแต่บัดนี้เล่า? อย่าพากันอยู่แบบนี้ เดี๋ยวจะพากันไปแบบนี้ ตายแบบนี้ แล้วก็เสวยผลทนทุกข์แบบนี้กันอีกไม่มีสิ้นสุดได้ดังนี้ ทั้งนี้ก็เพื่อเตือนหมู่ชนไม่ให้ลืมตัวจนเกินไป พระคาถาที่ทรงเตือนไว้นั้นฟังแล้วน่าอับอายแทบมุดหน้าลงในดิน กลัวพระองค์จะทรงมองหน้าตนที่เพลิดเพลินไม่รู้จักตาย อายก็อาย อยากก็อยาก รักก็รัก เกลียดก็เกลียดเพราะนิสัยของปุถุชนมันหากดื้อด้านอย่างนี้แต่ไหนแต่ไรมา ไม่ทราบจะทำอย่างไรจึงจะละได้ นี้เหมือนเป็นคำที่ทูลตอบพระองค์ด้วยความละอายที่ตนละไม่ได้ตามคำที่ทรงตำหนิ
    ที่เขียนเรื่องพระองค์ที่มรณภาพในวัดหนองผือแทรกลงในประวัติท่านบ้าง เนื่องจากเห็นว่าเป็นคติแก่พวกเราอยู่บ้าง ซึ่งกำลังเดินทางไปสู่จุดนั้นด้วยกัน ได้พิจารณาเพื่อตัวเองในวาระต่อไป
    ขณะท่านองค์นั้นจะสิ้นลม ท่านอาจารย์มั่นและพระสงฆ์ซึ่งกำลังจะออกบิณฑบาต ได้พากันแวะไปปลงธรรมสังเวชที่กำลังแสดงอยู่อย่างเต็มตา พอท่านสิ้นลมแล้วชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งเป็นขณะที่ท่านอาจารย์กำลังยืนรำพึงอยู่อย่างสงบ ได้พูดออกมาด้วยท่าทางเคร่งขรึมว่า “ไม่น่าวิตกกับเธอหรอก เธอขึ้นไปอุบัติที่อาภัสรา พรหมโลกชั้น ๖ เรียบร้อยแล้ว” นับว่าหมดปัญหาไปสำหรับท่านในครั้งนี้ แต่เสียดายอยู่หน่อยหนึ่ง ถ้าท่านมีชีวิตยืดเวลาเร่งวิปัสสนาให้มากยิ่งกว่านี้บ้าง ก็มีหวังได้ขึ้นพรหมโลก ๕ ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่งแล้วเตลิดถึงที่สุดเลย ไม่ต้องกลับมาวกเวียนในวัฏวนนี้อีก
    ที่เป็นปัญหาอยู่มากเวลานี้ก็คือพวกเรา ไม่ทราบว่าใครจะเตรียมไปชั้นไหนกันแน่บ้าง จะไปชั้นเดียรัจฉาน เปรต ผี นรกอเวจี หรือชั้นมนุษย์ เทวบุตร เทวธิดา อินทร์ พรหม หรือนิพพาน ชั้นใดกันแน่ ฉะนั้นเพื่อความแน่ใจจงดูเข็มทิศคือใจของตน ๆ ให้ดี ว่าเบนหน้าไปทางใดมาก เป็นทางดีหรือชั่ว ควรพิจารณาด้วยดีแต่บัดนี้ ตายแล้วไม่มีทางแก้ไขได้อีก ใคร ๆ ก็ทราบกันทั่วโลกว่าความตายคือแดนสุดวิสัย ทำอะไรต่อไปอีกไม่ได้ดังนี้
    องค์ที่สองเป็นไข้ป่า ท่านเป็นพระชาวอุบลฯ นับแต่เริ่มป่วยรวมเวลาประมาณหนึ่งเดือนก่อนท่านจะมรณภาพ มีพระองค์หนึ่งท่านพิจารณาเห็นเหตุการณ์ของท่านผู้ป่วยอย่างไรไม่ทราบ วันนั้นตอนเย็น ท่านขึ้นไปกราบท่านอาจารย์และสนทนาธรรมกันในแง่ต่าง ๆ จนเรื่องวกเวียนมาถึงท่านผู้ป่วย พระองค์นั้นได้โอกาสจึงกราบเรียนเหตุการณ์ที่ตนปรากฏถวายท่านว่า คืนนี้ไม่ทราบว่าจิตเป็นอะไรไป กำลังพิจารณาธรรมอยู่ดี ๆ พอสงบลงไปปรากฏว่าเห็นท่านอาจารย์ไปยืนอยู่หน้ากองฟืนที่ใครก็ไม่ทราบเตรียมขนมากองไว้ว่า “ให้เผาท่าน…..ตรงนี้เอง ตรงนี้เหมาะกว่าที่อื่น ๆ ดังนี้” ทำไมจึงปรากฏอย่างนั้นก็ไม่ทราบ หรือผู้ป่วยจะไปไม่รอดจริงหรือ แต่ดูอาการก็ไม่เห็นรุนแรงนักที่ควรจะเป็นได้อย่างที่ปรากฏนั้น
    พอพระองค์นั้นกราบเรียนจบลง ท่านก็พูดขึ้นทันทีว่าผมพิจารณาทราบมานานแล้ว อย่างไรก็ไปไม่รอด แต่เธอไม่เสียทีแม้จะไปไม่รอดสำหรับความตาย เหตุการณ์แสดงบอกเกี่ยวกับจิตใจเธอสวยงามมาก สุคติเป็นที่ไปของเธอแน่ แต่ใคร ๆ อย่าไปพูดเรื่องนี้ให้เธอฟังเด็ดขาด เมื่อเธอทราบเรื่องนี้จะเสียใจแล้วจะทรุดทั้งกายและเสียทั้งใจ สุคติที่เธอควรจะได้อยู่แล้วจะพลาดไปได้ เพราะความเสียใจเป็นเครื่องทำลาย พออยู่ต่อมาไม่กี่วัน พระที่ป่วยก็เกิดปุบปับขึ้นในทันทีทันใดตอนค่อนคืน พอ ๓ นาฬิกากว่า ๆ ก็สิ้นลมไปด้วยความสงบ
    จึงทำให้คิดเรื่องท่านอาจารย์เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ว่า พออะไรมาผ่านท่านคงพิจารณาไปเรื่อย ๆ ในทุกเรื่อง เมื่อทราบเหตุการณ์ชัดเจนแล้วก็ปล่อยไว้ตามสภาพของสิ่งนั้น ๆ
    แนะนำศิษย์ที่เป็นไข้ป่าในการพิจารณาทุกขเวทนา
    กลางวันวันหนึ่ง มีพระเป็นไข้มาลาเรียในวัดนั้น วันนั้นปรากฏว่าไข้เริ่มหนักแต่เช้า เจ้าตัวก็ไม่ไปบิณฑบาตและไม่ฉันจังหันด้วย พระที่ป่วยต่อสู้กับทุกขเวทนาด้วยการพิจารณาแต่เช้าจนบ่าย ๓ โมงไข้จึงสร่าง ตอนกลางวันที่ท่านกำลังพิจารณาอยู่ ปรากฏว่ากำลังเรี่ยวแรงอ่อนเพลียมาก ท่านเลยเพ่งจิตให้อยู่กับจุดใดจุดหนึ่งของทุกขเวทนาที่กำลังกำเริบหนัก โดยไม่คิดทดสอบแยกแยะเวทนาด้วยปัญญาแต่อย่างใด พอดีเวลานั้นเป็นเวลาที่ท่านอาจารย์ท่านพิจารณาดูพระองค์นั้นกำลังปฏิบัติอยู่อย่างชัดเจน แล้วย้อนจิตกลับมาตามเดิม
    พอบ่าย ๔ โมง ท่านที่ป่วยมาหาท่านอาจารย์พอดี ท่านก็ตั้งปัญหาถามขึ้นทันที โดยพระนั้นไม่ทราบสาเหตุบ้างเลยว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #FFFFF5" bgcolor="#fffff5" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%;border:solid maroon 1.5pt; padding:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt" valign="top" width="590">
    ทำไมท่านจึงพิจารณาอย่างนั้นเล่า? การเพ่งจิตจ้องอยู่ไม่ใช้ปัญญาพิจารณาแยกแยะ กาย เวทนา จิต ให้รู้เรื่องของกันและกัน ท่านจะทราบความจริงของกาย ของเวทนา ของจิตได้อย่างไร แบบท่านเพ่งจ้องอยู่นั้นมันเป็นแบบฤๅษี แบบหมากัดกัน ไม่ใช่แบบพระผู้ต้องการทราบความจริงในธรรมทั้งหลาย มีเวทนาเป็นต้น ต่อไปอย่าทำอย่างนั้น มันผิดทางที่จะให้รู้ให้เห็นความจริงทั้งหลายที่มีอยู่ในกาย ในเวทนา ในจิต
    ตอนกลางวันผมได้พิจารณาดูท่านแล้วว่า ท่านจะปฏิบัติอย่างไรบ้างกับทุกขเวทนาที่กำลังแสดงอยู่ในเวลาเป็นไข้ พอดีไปเห็นท่านกำลังเพ่งจิตจ่ออยู่กับเวทนาเฉย ๆ ไม่ใช้สติปัญญาคลี่คลายดูกาย ดูเวทนา ดูจิตบ้างเลย พอเป็นทางให้สงบและถอดถอนทุกขเวทนาในเวลานั้น เพื่อไข้จะได้สงบลงดังนี้
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    อนุเคราะห์ศิษย์ตามจริตของแต่ละท่าน
    การอนุเคราะห์เมตตาแก่บรรดาศิษย์ ท่านมิได้เลือกกาลสถานที่ แต่อนุเคราะห์ด้วยวิธีต่าง ๆ ตามที่เห็นสมควรจะทำได้เมื่อไรและแก่ผู้ใด ท่านเมตตาอนุเคราะห์อย่างนั้นเสมอมา
    บางทีท่านก็บอกตรง ๆ ว่า
    ท่านองค์นี้ไปภาวนาอยู่ที่ถ้ำโน้นดีกว่ามาอยู่กับหมู่คณะอย่างนี้ นิสัยท่านชอบถูกดัดสันดานอยู่เป็นนิตย์ นี่ก็ไปให้เสือช่วยดัดเสียบ้าง จิตจะได้กลัวและหมอบสงบลงได้ พอเห็นอรรถเห็นธรรมและอยู่สบายบ้าง อยู่อย่างนี้ไม่ดี คนหัวดื้อต้องมีสิ่งแข็ง ๆ คอยดัดบ้างถึงจะอ่อน เช่นเสือเป็นต้น พอเป็นคู่ทรมานกันได้ คนกลัวเสือก็ต้องเอาเสือเป็นครู ดีกว่าอาจารย์ที่ตนไม่กลัวเป็นครู กลัวผีก็ควรเอาผีเป็นครูคู่ทรมาน จิตกลัวอะไรก็เอาสิ่งนั้นเป็นครูคู่ทรมาน จัดว่าเป็นผู้ฉลาดในการฝึกทรมานตน
    พระองค์นั้นแต่ก่อนที่ยังไม่บวชเธอเคยเป็นนักเลงมาแล้ว จึงมีนิสัยกล้าหาญและตรงไปตรงมา ว่าจะอยู่ต้องอยู่ ว่าจะไปต้องไป และมีนิสัยหัวดื้ออยู่บ้าง แต่ดื้อแบบพระ พอได้รับโอวาทอย่างเด็ด ๆ เช่นนั้นแล้ว เธอก็ตัดสินใจจะไปตามคำที่ท่านบอก โดยให้เหตุผลแก่ตัวเองว่า
    พระขนาดท่านอาจารย์มั่นนี้จะบอกเราไปให้เสือกินนั้น เป็นไปไม่ได้แน่ ๆ เราต้องไปอยู่ถ้ำนั้นตามคำที่ท่านบอก ตายก็ยอมตาย ไม่ต้องเสียดายชีวิตเพื่อได้เห็นเหตุเห็นผลในคำที่ท่านบอก ว่ามีความจริงมากน้อยเพียงไร เราเคยได้ยินแต่คนอื่นบอกเล่าว่า ท่านพูดอะไรต้องมีเหตุผลแฝงอยู่ในคำพูดนั้นอย่างสมบูรณ์เสมอไป คือท่านพิจารณาด้วยความละเอียดถี่ถ้วนแล้วถึงได้พูดออกมา ผู้ที่ทราบความหมายของท่านพยายามปฏิบัติตามย่อมได้ผลทุกรายไป
    ก็คำที่ท่านพูดกับเราคราวนี้เป็นคำพูดที่หนักแน่นมาก ซึ่งประกอบด้วยเมตตาพร้อมทั้งความเห็นแจ้งภายใน ประหนึ่งท่านควักเอาหัวใจเราไปขยี้ขยำดูจนทราบเรื่องทุกอย่างแล้ว ถ้าเราไม่เชื่อและปฏิบัติตามท่าน เมตตาบอกอย่างตรงไปตรงมาในคราวนี้ เราก็ไม่ใช่พระ เราก็คือนาย….ดี ๆ นั้นเอง อย่างไรก็ตาม เราต้องไปอยู่ในถ้ำนั้นแน่นอนในครั้งนี้ จะตายก็ตายไป เมื่อไม่ตายขอให้รู้ธรรมแปลกประหลาดในที่นั้นจนได้ คำพูดท่านบ่งบอกชื่อเราอย่างชัดเจนไม่มีเงื่อนงำแฝงอยู่เลย แม้คำที่ท่านว่า “เราหัวดื้อไม่ยอมลงใครง่าย ๆ” นั้น ก็เป็นเครื่องวัดความถูกต้องได้อย่างสมบูรณ์แล้ว เรายังไม่สามารถรู้เรื่องเราได้เท่าท่านเลย เท่าที่ทราบบ้างก็เป็นดังท่านว่าจริง ๆ เราจึงเป็นคนชนิดที่ท่านว่าร้อยเปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นอุบายที่ท่านบอกเครื่องทรมานคือเสือให้เรา จึงเป็นคำที่ไม่ควรขัดแย้งอย่างยิ่ง นอกจากจะปฏิบัติตามท่านเท่านั้น
    ความจริงท่านองค์นี้มีนิสัยหัวดื้อไม่ลงใครง่าย ๆ ดังท่านอาจารย์ว่าจริง ๆ พอเธอนำคำพูดของท่านไปคิดเป็นที่ปลงใจแล้ว วันหลังก็มากราบลาท่านไปถ้ำนั้น พอขึ้นไปกราบ ท่านถามทันทีว่า
    “ท่าน….จะไปไหน เห็นครองผ้าเต็มยศมาหา ทำนองจะออกแนวรบอย่างเอาจริงเอาจัง”
    เธอตอบท่านตามนิสัยว่า “กระผมจะไปตายในถ้ำที่ท่านอาจารย์บอกให้ไป”
    ท่านอาจารย์พูดสวนขึ้นมาทันทีว่า “ผมบอกท่านให้ไปตายในถ้ำนั้นจริง ๆ ดังท่านว่าหรือ ผมบอกให้ท่านไปภาวนาต่างหากเล่า”
    เธอตอบท่านว่า “ความจริงท่านอาจารย์บอกกระผมให้ไปภาวนาต่างหาก มิได้บอกให้ไปตาย แต่กระผมทราบจากพระท่านเล่าว่า ถ้ำนั้นมีเสือโคร่งใหญ่อยู่ในถ้ำข้างบนของถ้ำที่กระผมจะไปอยู่นั้นเป็นประจำ ซึ่งถ้ำนั้นอยู่ไม่ห่างจากถ้ำที่กระผมจะไปอยู่นักเลย และทราบว่ามันเคยเข้า ๆ ออก ๆ ขึ้น ๆ ลง ๆ ถ้ำนั้นเสมอ เวลามันจะไปเที่ยวหากินที่ไหน ก็ลงมาผ่านหน้าถ้ำที่กระผมจะไปพักเสมอ จึงไม่แน่ใจในชีวิตเวลาไปพักอยู่ที่นั้น ฉะนั้น เวลาท่านอาจารย์ถาม กระผมจึงเรียนตอบตามความรู้สึกที่หวาดต่อมันอยู่เสมอมา”
    ท่านถามว่า “ก็ถ้ำนั้นเคยมีพระไปอยู่มาแล้วหลายองค์และหลายครั้ง ก็ไม่ปรากฏว่าเสือมาเอาท่านไปกิน แต่เวลาท่านไปอยู่ที่นั้น ทำไมเสือจะมาคว้าเอาไปกินเล่า? เนื้อท่านกับเนื้อพระเหล่านั้นต่างกันอย่างไรจึงทำให้เสือกลัวและกล้าและหิวโหยอยากกินต่างกันนักเล่า? ท่านไปได้เนื้อหอมหวานมาจากไหนเสือถึงได้ชอบนัก ถึงกับต้องจดจ้องมองดู และคอยจะกินเฉพาะท่านเพียงองค์เดียวเท่านั้น”
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #FFFFF5" bgcolor="#fffff5" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%;border:solid maroon 1.5pt; padding:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt" valign="top" width="590">
    จากนั้นท่านก็อบรมสั่งสอนเกี่ยวกับมายาของใจที่หลอกลวงคนได้ร้อยแปดพันนัย ยากที่จะตามทันได้ง่ายๆ ถ้าไม่ใช่นักทดสอบและวิพากษ์วิจารณ์จริงๆ จะทรมานใจดวงแสนปลิ้นปล้อนให้หายพยศได้ยาก นี่ยังไม่ถึงไหนก็ยอมเชื่อกิเลสกระซิบใจยิ่งกว่าเชื่ออาจารย์เสียแล้ว จะไปรอดหรือท่าน?
    ความตายนั้นพวกเรายังไม่เคยตายกันแต่โลกกลัวกันมาก ส่วนความเกิดอันเป็นเหยื่อล่อปลาทำให้ความตายปรากฏตัวขึ้นมา ไม่ค่อยมีใครกลัวกัน ใคร ๆ ก็อยากเกิดกันทั้งโลก ไม่ทราบอยากเกิดอะไรกันนักหนา เท่าที่เกิดมาเพียงร่างเดียวก็แสนทุกข์แสนกังวลพออยู่แล้ว ถ้ามนุษย์เราแยกแขนงเกิดได้เหมือนแขนงไม้ไผ่แล้ว ก็ยิ่งอยากเกิดกันมาก เพียงคนเดียวก็อยากแตกแขนงออกไปเป็นร้อยคนพันคน โดยไม่คิดถึงเวลาจะตายเลย ว่าจะพร้อมกันกลัวความตายทีละตั้งร้อยคนพันคน โลกนี้ต้องเป็นไฟแห่งความกลัวตายกันจนไม่มีที่อยู่แน่ ๆ เลย เราเป็นนักปฏิบัติทำไมจึงกลัวตายนัก ยิ่งกว่าฆราวาสที่ไม่เคยได้รับการอบรมมาเลย และทำไมจึงปล่อยใจให้กิเลสย่ำยีหลอกหลอนจนกลายเป็นคนสิ้นคิดไปได้ ทั้งที่ความคิดและสติปัญญามีอยู่ ทำไมจึงไม่นำออกมาใช้เพื่อขับไล่กิเลสกองต้มตุ๋นที่ซ่องสุมอยู่ในหัวใจให้แตกกระจายออกไปบ้าง จะได้เห็นความโง่เขลาของตัวที่เคยมัวเมาเฝ้ากิเลสมานานไม่เคยเห็นฤทธิ์ของมัน
    สนามชัยของนักรบก็คือความกล้าตายในสงครามนั่นเอง ถ้าไม่กล้าตายก็ไม่ต้องเข้าสู่แนวรบ ความกล้าตายนั่นแลเป็นทางมาแห่งชัยชนะข้าศึกศัตรู ถ้าท่านมุ่งต่อแดนพ้นทุกข์ด้วยความเห็นทุกข์จริง ๆ ท่านก็ต้องเห็นความกลัวตายนั้นว่าเป็นกิเลสพอกพูนทุกข์บนหัวใจ แล้วตามแก้ไขกันที่สนามชัยอันเป็นที่เหมาะสมดังที่ผมชี้บอก ท่านก็จะเห็นโทษแห่งความกลัวว่าเป็นตัวเขย่าก่อกวนใจให้กระเพื่อมขุ่นมัว และเป็นทุกข์ในวันใดหรือเวลาหนึ่งแน่นอน ดีกว่าท่านจะนั่งกอดนอนกอดความกลัวตายนั้นไว้เผาลนหัวอกให้เกิดความทุกข์ร้อนนอนครางอยู่ในใจ ไม่มีวันปลดปล่อยได้ดังที่เป็นอยู่เวลานี้
    ท่านจะเชื่อธรรม เชื่อครูอาจารย์ ว่าเป็นความเลิศประเสริฐศักดิ์สิทธิ์ หรือท่านจะเชื่อความกลัวที่กิเลสปล่อยมายั่วหัวอกให้มีความสะทกสะท้านหวั่นไหว จนไร้สติปัญญาเครื่องปลดเปลื้องแก้ไขตน มองไปทางไหนมีแต่เสือจะมากัดมาฉีกไปกินเป็นอาหารอยู่ทำนองนั้น นิมนต์นำไปคิดให้ถึงใจ ธรรมที่ผมเคยปฏิบัติดัดสันดานตนและเคยได้ผลมาแล้ว ก็มีดังที่พูดให้ท่านฟังนี้แล นอกนั้นผมยังมองไม่เห็น ขอจงคิดให้ดีตัดสินใจให้ถูก
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    นับแต่ขณะที่ท่านเทศน์กัณฑ์หนัก ๆ ให้ฟังแล้ว เธอว่าขณะนั้นใจเหมือนจะออกแสงแพรวพราวขึ้นด้วยความกล้าหาญเพราะความปีติในธรรม พอท่านเทศน์จบลงก็กราบลาท่านลงมา และเตรียมตัวออกเดินทางไปถ้ำในขณะนั้น
    เมื่อไปถึงถ้ำด้วยความกล้าหาญและเอิบอิ่มด้วยปีติยังไม่หาย ก็ปลงบริขารลงจากบนบ่าเที่ยวดูทำเลที่พักตามบริเวณนั้น แต่ตาเจ้ากรรม ใจเจ้าเวร ทำให้ระลึกถึงเสือขึ้นมาได้ว่า ถ้ำนี้มีเสือ พร้อมกับสายตาที่มองลงไปพื้นบริเวณหน้าถ้ำ ก็ไปเจอเอารอยเท้าเสือที่เหยียบไว้แต่เมื่อไรไม่ทราบอย่างถนัดตา ใจรู้สึกสะท้านกลัวขึ้นมาในขณะนั้นแทบเป็นบ้าไปได้ จนลืมโอวาทท่านอาจารย์ที่สอนไว้ และลืมความกล้าหาญที่เคยออกแสงแพรวพราวขณะที่นั่งฟังเทศน์อยู่วัดหนองผือเสียโดยสิ้นเชิง มีแต่ความกลัวเต็มหัวใจ พยายามแก้ความกลัวด้วยวิธีต่าง ๆ ก็ไม่หาย ต้องเดินไปกลบรอยเสือด้วยฝ่าเท้าออกจนหมดก็ยังไม่หายกลัว แต่มีเบาลงเล็กน้อยที่มองไปไม่เห็นรอยมันอีก
    นับแต่ขณะที่เหลือบมองลงไปเจอรอยเสือ จนกระทั่งกลางคืนตลอดรุ่งยังแก้กันไม่ตก แม้กลางวันก็ยังกลัว ยิ่งตกกลางคืนยิ่งเพิ่มความกลัวหนักเข้า ราวกับบริเวณที่พักนั้นเต็มไปด้วยเสือทั้งสิ้น จากนั้นไข้มาลาเรียชนิดจับสั่นก็เริ่มกำเริบขึ้นอีก เท่ากับตกนรกทั้งเป็นอยู่ในถ้ำนั้น ไม่มีความสบายกายสบายใจเอาเลย แต่น่าชมเชยท่านที่ใจแข็งแกร่ง ไม่ยอมลดละความพยายามทรมานตนให้หายกลัวด้วยอุบายวิธีต่าง ๆ ตลอดไป ไข้ก็กำเริบรุนแรงขึ้นตาม ๆ กัน หรือจะเป็นเพราะธรรมบันดาลก็สุดจะคาดถึง ทั้งทุกข์เพราะกลัวเสือ ทั้งทุกข์เพราะไข้กำเริบ จนไม่เป็นตัวของตัว แทบเป็นบ้าไปได้ในเวลานั้น นาน ๆ ระลึกถึงโอวาทและพระคุณของท่านอาจารย์มั่นได้ทีหนึ่ง หัวใจที่เต็มไปด้วยไฟ คือความทุกข์ทรมานก็สงบลงได้พักหนึ่ง
    ตอนไข้กำเริบรุนแรงเป็นเหตุให้ท่านระลึกสละตายขึ้นมาได้ ก็รีบถามตัวเองในขณะนั้นว่า
    ก่อนจะมาอยู่ที่นี่ก็ได้คิดอย่างเต็มใจแล้วว่าจะมาสละตาย เวลาท่านอาจารย์ถามว่าจะไปไหน ได้ตอบท่านว่าจะไปตายในถ้ำนั้น แล้วก็มาด้วยความอาจหาญต่อความตายราวกับจะเหาะเหินเดินฟ้าได้ แต่เมื่อมาถึงถ้ำอันเป็นที่ตายจริง ๆ แล้ว ทำไมจึงกลับไม่อยากตาย และมีความกลัวตายจนตั้งตัวไม่ติด ใจเราคนเดียวกัน มิได้ไปเที่ยวหาเอาหัวใจคนขี้ขลาดหวาดกลัวของผู้ใดและของสัตว์ตัวใดมาสวมใส่เข้า พอจะกลายเป็นผู้ใหม่และสัตว์ตัวใหม่ที่ขี้ขลาดขี้กลัวขึ้นมาในเราคนเดียวกัน แล้วทำไมเวลาอยู่โน้นเป็นอย่างหนึ่ง บทมาอยู่ที่นี้กลับเป็นอีกอย่างหนึ่ง เราจะเอาอย่างไรกันแน่ รีบตัดสินใจเดี๋ยวนี้อย่าชักช้า
    เอาอย่างนี้ดีไหม เราจะตัดสินใจให้ คือ หนึ่ง ออกไปนั่งภาวนาอยู่ริมเหว ถ้าเผลอสติก็ให้มันตกลงไปตายอยู่ในเหว ให้แร้งกาแมลงวันมาจัดการศพให้เลย ไม่ต้องให้ยุ่งยากกับชาวบ้าน เพราะเราเป็นพระไม่เป็นท่า อย่าให้ใครมาแตะต้องกายของพระไม่เป็นท่าให้แปดเปื้อนเขา แล้วกลายเป็นคนไม่เป็นท่าไปหลายคนเลย สอง ออกไปนั่งภาวนาอยู่ทางขึ้นถ้ำเสือ เวลาเสือออกไปเที่ยวหากิน อย่าให้มันต้องลำบาก จะได้โดดคาบคอพระไม่เป็นท่าองค์นี้ไปเป็นอาหารว่างของมันในคืนนี้ จะเอาข้อไหนให้เลือกเอาเดี๋ยวนี้อย่าเนิ่นนาน เราจะพาจัดการเดี๋ยวนี้
    ว่าแล้วก็ออกจากมุ้งมายืนอยู่หน้าถ้ำขณะหนึ่งรอการตัดสินใจ สุดท้ายก็ตกลงเอาตามข้อที่หนึ่ง คือออกไปนั่งภาวนาอยู่ริมเหวอย่างหมิ่นเหม่ที่สุด ถ้าเผลอก็ต้องมอบศพให้สัตว์จำพวกที่พูดฝากไว้แล้วเหล่านั้นแน่นอน แล้วก็เตรียมนั่งภาวนาหันหน้าไปทางเหวลึก หันหลังออกมาทางที่เสือเดินขึ้นถ้ำ บริกรรมภาวนาด้วยพุทโธ กับคำว่า ถ้าประมาทต้องตายในบัดเดี๋ยวใจไม่ชักช้า ขณะที่นั่งบริกรรมภาวนาได้ทำความสังเกตดูใจว่า จะกลัวตกเหวตายหรือจะกลัวเสือกินตาย ปรากฏว่ากลัวตกเหวตายเป็นกำลัง และตั้งสติมิได้พลั้งเผลอจากคำบริกรรมด้วยธรรมสองบทนั้น ตามแต่จิตจะระลึกได้บทใดเวลาใด
    พอภาวนาตั้งท่าตายอยู่ริมเหวลึกไม่นานเลย จิตก็รวมสงบตัวลงอย่างรวดเร็ว และลงถึงฐานของอัปปนาสมาธิเลย รวดเดียวดับเงียบไปเลยในขณะนั้น หมดความกังวลวุ่นวายที่เป็นไฟเผาใจ เหลือแต่เจ้าของของผู้กลัวตายคือจิตดวงเดียวเท่านั้น ทรงตัวอยู่อย่างอัศจรรย์
    ความกลัวตายได้หายไปโดยสิ้นเชิง นับแต่เวลา ๔ ทุ่มจนถึง ๔ โมงเช้าของวันรุ่งขึ้นจิตจึงได้ถอนขึ้นมา มองดูตะวันขึ้นครึ่งฟ้าแล้ว วันนั้นเลยไม่ต้องลงไปบิณฑบาตและไม่ฉันจังหันด้วย พอจิตถอนขึ้นมาความกลัวไม่ทราบหายหน้าไปไหนหมด ปรากฏแต่ความอาจหาญกับความอัศจรรย์ที่ไม่เคยปรากฏมาเท่านั้น ไข้ก็ถอนหายขาดในคืนวันนั้น ไม่มีอีกต่อไปเลย ท่านว่าธรรมโอสถรักษาได้ทั้งโรคมาลาเรีย ทั้งโรคขี้กลัวเสือ
    นับแต่วันนั้นทั้งไข้ทั้งความกลัวไม่มีมารบกวนร่างกายและจิตใจอีกเลย อยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ ไปที่ไหนก็ไปได้อย่างสบายหายห่วง เสือจะมาหรือไม่มาเลยไม่สนใจคิด นอกจากคิดอยากให้เสือมาบ้าง จะได้ทดลองจิตด้วยวิธีเดินเข้าไปหาเสือ โดยไม่มีความสะทกสะท้านแม้แต่น้อยเลยเท่านั้น ทั้งได้ระลึกถึงพระคุณท่านอาจารย์อย่างเทิดทูนบนศีรษะอยู่ตลอดเวลา ว่าเราได้เห็นฤทธิ์ของกิเลสตัวกลัว ๆ เพราะท่านสอน
    พอท่านจับเคล็ดของจิตได้แล้ว ท่านฝึกทรมานจิตด้วยวิธีนั้นตลอดมา คือชอบเที่ยวแสวงหาที่น่ากลัวมากเป็นที่นั่งสมาธิภาวนา แม้ท่านพักอยู่ในถ้ำนั้นนับแต่วันนั้นมาแล้วก็ฝึกแบบนั้นตลอดไป โดยเที่ยวหานั่งภาวนาอยู่ในที่ต่าง ๆ เช่น ทางเสือขึ้นถ้ำบ้าง ทางเสือเคยเดินผ่านไปมาบ้าง ขณะที่นั่งภาวนาในที่พักท่านก็ไม่ลดมุ้งลง โดยความหมายว่า ถ้าลดมุ้งลงจิตจะไม่นึกกลัวเสือแล้วจะไม่รวมสงบลงได้อย่างใจหมาย หรือนั่งภาวนาอยู่หน้าถ้ำบ้าง นอกมุ้งบ้าง ตามแต่วิธีที่เห็นว่าจิตจะรวมลงได้เร็ว และสนิทเต็มฐานของสมาธิ
    คืนหนึ่งจิตไม่ยอมสงบลงได้ แม้จะนั่งภาวนานานเพียงไร ท่านเลยนึกถึงเสือโคร่งตัวที่เคยขึ้น ๆ ลง ๆ และไปมาอยู่เสมอในแถบบริเวณนั้น ว่าวันนี้เสือตัวนี้ไปไหนกันนะ มาช่วยให้จิตเราภาวนารวมสงบลงบ้างเป็นไร ถ้าเสือมามันไม่ได้ภาวนายากเย็นอะไรเลย จิตคอยแต่จะรวมลงท่าเดียว หลังจากท่านคิดรำพึงถึงเสือโคร่งคู่มิตรไม่นานนัก ราวครึ่งชั่วโมงก็ได้ยินบาทย่างเท้าของเสือตัวนั้นเดินขึ้นมาบนถ้ำอย่างเป็นจังหวะจะโคนจริง ๆ เวลานั้นราว ๒ นาฬิกา พอได้ยินเสียงเสือเดินขึ้นมา ท่านก็เตือนจิตว่าบัดนี้เสือขึ้นมาแล้วนะจะมัวเพลินอยู่นี้ ไม่กลัวเสือคาบคอไปกินหรือ จะลงหาที่ซ่อนตัวเพื่อหลบภัยก็รีบลงมาซิ ถ้าไม่อยากเป็นอาหารเสือ
    พอคิดเท่านั้นก็กำหนดจิตสมมุติเอาเสือตัวกำลังเดินมานั้นโดดคาบที่คอของตน ปรากฏว่าพอกำหนดเอาเสือโดดมาคาบคอเท่านั้น จิตก็รวมลงสู่สมาธิอย่างรวดเร็วและถึงฐานอัปปนาสมาธิในขณะนั้น หายเงียบไปเลยทั้งเสือทั้งคนในความหมาย ยังเหลือแต่ความสงบอันราบคาบเป็นเอกจิต เอกธรรม ที่เต็มไปด้วยความอัศจรรย์สุดจะคาดในเวลานั้น
    นับแต่เวลาจิตรวมสงบลงเวลา ๒ นาฬิกา จนถึง ๑๐ โมงเช้า (๔ โมงเช้า) จึงถอนขึ้นมา รวมเป็นเวลา ๘ ชั่วโมงเต็ม ตอนออกจากสมาธิมองดูตะวันครึ่งฟ้า เลยต้องงดไม่ไปบิณฑบาต และไม่ฉันในวันนั้น ขณะที่จิตรวมลงอย่างเต็มที่ถึงฐานของอัปปนาสมาธิ ตามจริตนิสัยของจิตที่รวมลงอย่างรวดเร็วเหมือนคนตกเหวตกบ่อนั้น ต้องดับอายตนะภายในไม่รับทราบกับอายตนะภายนอกโดยประการทั้งปวงในเวลานั้น จิตของท่านองค์นี้ก็มีนิสัยเช่นนั้น ฉะนั้น เวลารวมสงบลงเต็มที่แล้วจึงหมดความรู้สึกกับสิ่งภายนอก
    ตอนออกจากสมาธิแล้ว จึงเดินไปดูตรงที่ได้ยินเสียงเสือมา เป็นเสือมาจริง ๆ หรือหูมันหลอกต่างหาก เวลาไปดูก็เห็นรอยเสือโคร่งใหญ่คู่มิตรตัวนั้นเดินผ่านมาด้านหลังท่านจริง ๆ ห่างกันประมาณ ๒ วา มันเดินขึ้นไปถ้ำที่อยู่ประจำของมัน โดยมิได้สนใจเดินวกเวียนดูคู่มิตรของมันเลย จึงน่าแปลกและอัศจรรย์อยู่มาก ท่านว่าพอจิตรวมลงเท่านั้น เรื่องทั้งหลายก็ดับไปหมดในขณะนั้น จนกว่าจิตจะถอนขึ้นมาถึงจะมีสิ่งมาเกี่ยวข้อง
    การฝึกจิตโดยลำพังโดยไม่มีเหตุมาบังคับ รวมสงบได้ยากไม่เหมือนมีเหตุอันตรายมาเกี่ยวข้องในเวลานั้น ซึ่งรวมได้เร็วที่สุด ชั่ววินาทีเดียวเท่านั้นก็ลงถึงที่เลยไม่ชักช้า ฉะนั้นผมจึงชอบไปเที่ยวแสวงหาอยู่ในที่กลัว ๆ สะดวกแก่การฝึกจิตดีมาก ไม่อยากอยู่ในที่ที่เป็นป่าเป็นเขาหรือถ้ำธรรมดา แต่ต้องเป็นป่าเสือ เขาที่มีเสือหรือถ้ำที่มีเสือ อย่างนั้นถูกกับจริตของผมซึ่งเป็นคนหยาบ ดังที่เป็นมานี่แล ผมจึงจำต้องชอบอยู่ในที่เช่นนั้น
    มีแปลกอยู่ตอนหนึ่งที่ผมพักอยู่ถ้ำนั้น นอกจากจิตได้รับความสงบตามความมุ่งหมายแล้ว ยังมีความรู้แปลก ๆ เกี่ยวกับพวกรุกขเทพและคนตายได้อีก บางคืนมีรุกขเทพเข้ามาหา (ตอนนี้ขอเรียนเพียงเท่านี้ : ผู้เขียน) และเวลาคนตายในบ้านต้องทราบจนได้ ไม่ทราบว่ามีอะไรมาบอก แต่ทราบขึ้นภายในใจเองและแน่ทุกครั้งเสียด้วย ถ้าจะว่าความรู้โกหกก็ไม่กล้าตำหนิ เราพักอยู่ในถ้ำนั้น ก็อยู่ห่างไกลจากหมู่บ้านตั้งหลายกิโลเมตรทางร่วมสองร้อยเส้น เขายังมานิมนต์ไปมาติกาบังสุกุลคนตายจนได้ ซึ่งเป็นการลำบากแก่เรามาก พอคนในบ้านตาย ต้องทราบแล้วว่าพรุ่งนี้ต้องเดินบุกป่าฝ่าดงไปป่าช้าอีกแล้ว และเขาก็มารบกวนจริง ๆ ด้วย บอกเขา ๆ ก็ไม่ฟัง โดยให้เหตุผลว่าพระหายากจึงต้องมารบกวนท่าน นึกว่าโปรดสัตว์เอาบุญเถิดดังนี้ เราก็จำต้องไปเพราะความเห็นใจและสงสาร ถ้าเวลาอดอาหารซึ่งเป็นเวลาที่ต้องเร่งความเพียรอย่างยิ่ง ไม่อยากให้เรื่องใด ๆ มากวนใจ แต่ก็ต้องมีจนได้
    เธอว่าพักอยู่ที่ถ้ำนั้นได้กำลังใจดีมาก โดยอาศัยเสือคู่มิตรตัวนั้นช่วยพยุงจิตให้เสมอมา ซึ่งเว้นเพียงคืนหนึ่งหรือสองคืน มันก็ขึ้นหรือลงมาเพื่อเที่ยวหากินตามภาษาสัตว์ที่มีปากมีท้องโดยไม่สนใจกับเราเลย ทั้ง ๆ ที่มันเดินผ่านหลังเราไปมาทุกครั้งที่ออกหากิน เพราะทางออกมีเพียงเท่านั้น ไม่ทราบจะให้มันไปที่ไหน นิสัยเธอองค์นี้แปลกอยู่บ้าง ที่เวลากลางคืนดึก ๆ ก็ออกจากถ้ำไปเที่ยวนั่งภาวนาอยู่ตามหินดานบนภูเขา อย่างไม่สนใจกับสัตว์เสืออะไรเลย และชอบเที่ยวไปองค์เดียวเป็นนิสัย
    ที่เขียนเรื่องเธอองค์นี้แทรกลงบ้างก็โดยเห็นว่า พอเป็นคติอยู่บ้างเป็นบางตอน ที่เป็นคนเอาจริงเอาจังจนเห็นข้อเท็จจริงจากใจดวงพยศและสามารถดัดกันลงได้ สิ่งที่เคยเห็นว่าเป็นภัยก็กลับถือมาเป็นมิตรในความเพียรได้ เช่น เสือเป็นต้น ซึ่งเป็นสัตว์ที่ไม่น่าไว้ใจได้เลยยังยึดเอามาเป็นเครื่องปลุกใจทางความเพียรได้ จนเห็นผลประจักษ์ใจ
    วัตรปฏิบัติที่วัดหนองผือ
    ท่านอาจารย์มั่นพักอยู่ที่วัดหนองผือด้วยความผาสุก พระธุดงค์ที่ไปอาศัยร่มเงาท่านก็ปรากฏว่าได้กำลังจิตใจกันมาก แม้จะมีจำนวน ๒๐-๓๐ องค์ในพรรษา ต่างก็ตั้งใจปฏิบัติต่อหน้าที่ของตน ๆ ไม่มีเรื่องราวที่น่าให้ท่านหนักใจ มีความสามัคคีกลมกลืนกันดีมากราวกับอวัยวะอันเดียวกัน ตอนออกบิณฑบาตรู้สึกน่าดูมาก เดินกันเป็นแถวยาวเหยียดไปตลอดสายทาง ชาวบ้านจัดที่นั่งเป็นม้ายาวไว้สำหรับพระสงฆ์ท่านนั่งอนุโมทนาทาน หลังจากใส่บาตรเสร็จแล้ว ท่านฉันรวมที่โรงฉันแห่งเดียวกัน โดยนั่งเรียงแถวกันตามลำดับพรรษา เมื่อเสร็จแล้วต่างองค์ต่างล้างและเช็ดบาตร ใส่ถลกนำไปเก็บไว้เรียบร้อย แล้วต่างองค์เข้าหาทางจงกรมในป่ากว้าง ๆ ติดกับวัด ทำความเพียร เดินจงกรมนั่งสมาธิตามอัธยาศัย
    จวนบ่าย ๔ โมงเย็นถึงเวลาปัดกวาดลานวัด ต่างก็ทยอยกันออกมาจากที่ทำความเพียรของตน ๆ พร้อมกันปัดกวาดลานวัด เสร็จแล้วขนน้ำขึ้นใส่ตุ่มใส่ไห น้ำฉันน้ำล้างเท้าล้างบาตรและสรงน้ำ หลังจากนั้นต่างก็เข้าหาทางจงกรมทำความเพียรตามเคย ถ้าไม่มีการประชุมอบรมก็ทำความเพียรต่อไปตามอัธยาศัยจนกว่าจะถึงเวลาพักผ่อน ปกติ ๗ วันท่านจัดให้มีการประชุมครั้งหนึ่ง แต่ผู้ประสงค์จะไปศึกษาธรรมเป็นพิเศษกับท่านก็ได้ โดยไม่ต้องรอจนถึงวันประชุม หรือผู้มีความขัดข้องจะเรียนถามปัญหาธรรมกับท่านก็ได้ตามโอกาสที่ท่านว่าง เช่น ตอนหลังจังหัน ตอนบ่าย ๆ ตอนราว ๕ โมง และตอน ๒ ทุ่มกลางคืน
    เวลาท่านสนทนาหรือแก้ปัญหาธรรมกันตอนกลางคืนเงียบ ๆ รู้สึกน่าฟังมาก เพราะมีปัญหาแปลก ๆ จากบรรดาศิษย์ซึ่งมาจากที่ต่าง ๆ ที่ตนพักบำเพ็ญ เป็นปัญหาเกี่ยวกับธรรมภายในบ้าง เกี่ยวกับสิ่งภายนอก เช่น พวกกายทิพย์บ้าง ฟังแล้วทำให้เพลิดเพลินอยู่ภายใน ไม่อยากให้จบสิ้นลงง่าย ๆ ทั้งเป็นคติทั้งเป็นอุบายแก้ใจในขณะนั้น เพราะผู้มาศึกษากับท่านมีภูมิธรรมทางภายในเหลื่อมล้ำต่ำสูงต่างกันเป็นราย ๆ ไปและมีความรู้แปลก ๆ ตามจริตนิสัยมาเล่าถวายท่าน จึงทำให้เกิดความรื่นเริงใจไปกับปัญหาธรรมนั้น ๆ ไม่มีสิ้นสุด
    เวลามีโอกาสท่านก็เล่านิทานที่เป็นคติให้ฟังบ้าง เล่าเรื่องความเป็นมาของท่านในชาติปัจจุบันแต่สมัยเป็นฆราวาส จนได้บวชเป็นเณรเป็นพระให้ฟังบ้าง บางเรื่องก็น่าขบขันน่าหัวเราะ บางเรื่องก็น่าสงสารท่าน และน่าอัศจรรย์เรื่องของท่าน ซึ่งมีมากมายหลายเรื่อง
    ฉะนั้นการอยู่กับครูบาอาจารย์นาน ๆ จึงทำให้จริตนิสัยของผู้ไปศึกษา มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางดีตามท่านวันละเล็กละน้อยทั้งภายนอกภายใน จนกลมกลืนกับนิสัยท่านตามควรแก่ฐานะของตน ทั้งมีความปลอดภัยมาก มีทางเจริญมากกว่าทางเสื่อมเสีย ธรรมค่อยซึมซาบเข้าสู่ใจโดยลำดับ เพราะการเห็นการได้ยินได้ฟังอยู่เสมอ ความสำรวมระวังอันเป็นทางส่งเสริมสติปัญญาให้มีกำลังก็มากกว่าปกติ เพราะความเกรงกลัวท่านเป็นสาเหตุไม่ให้นอนใจ ต้องระวังกายระวังใจอยู่รอบด้าน แม้เช่นนั้นท่านยังจับเอาไปเทศน์ให้เราและหมู่คณะฟังจนได้ ซึ่งบางเรื่องน่าอับอายหมู่คณะ แต่ก็ยอมทนเอา เพราะเราโง่ไม่รอบคอบต่อเรื่องของตัว
    เวลาอยู่กับท่านมีความเย็นกายเย็นใจเจือด้วยความปีติอย่างบอกไม่ถูก แต่ถ้าใจไม่เป็นธรรมก็ให้ผลตรงข้าม คือเกิดความรุ่มร้อนไปทุกอิริยาบถ เพราะความคิดผิดของตัวในความรู้สึกของตนเป็นอย่างนี้
    สำหรับท่านผู้อื่นก็ไม่อาจทราบได้ เรามันเป็นคนหยาบต้องอาศัยท่านคอยสับคอยเขกให้อยู่เสมอ จึงพอมีลมหายใจสืบต่อกันไปได้ กิเลสตัณหาไม่แย่งเอาไปกินเสียหมด ยิ่งเวลาท่านเล่าเรื่องจิตท่านในเวลาบำเพ็ญให้ฟังเป็นระยะ ๆ ก็ยิ่งเพิ่มกำลังใจมากขึ้น ราวกับจะเหาะเหินเดินเมฆบนอากาศได้ ปรากฏว่ากายเบาใจเบายิ่งกว่าสำลี แต่เวลาไปทำความเพียรเข้าจริง ๆ ให้สมกับใจที่จะเหาะลอยอยู่ขณะนั้น แต่กลับกลายเป็นเหมือนลากภูเขาทั้งลูก ทั้งหนักทั้งฝืด ซึ่งน่าโมโหแทบมุดดินลงได้อยู่ใต้พิภพ ไม่อยากให้ใครเห็นหน้าเลย พอดีกับจิตที่หยาบคายร้ายเลวเอาเสียจริง ๆ ไม่ยอมฟังอะไรกับใครเอาง่าย ๆ
    นี้เขียนตามความหยาบความหนาของตัวให้ท่านได้อ่านบ้าง เพื่อทราบความจมดิ่งของใจที่ถูกบรรจุเครื่องทำลายและกดถ่วงไว้อย่างอัดแน่น ว่าเป็นจิตที่แสนจะฉุดลากและฝึกทรมานยาก ถ้าไม่เอาจริง ๆ กับมัน ต้องนับวันจะพาเจ้าของจมดิ่งลงสู่ความต่ำทรามได้อย่างไม่เลือกกาลสถานที่และเพศวัยเลย ท่านผู้พยายามฝึกจิตดวงแสนพยศมาประจำกำเนิดภพชาติให้หายพยศ ดำรงตนอยู่โดยอิสระเสียได้ จึงเป็นบุคคลที่น่ากราบไหว้บูชาอย่างยิ่ง ดังพระพุทธเจ้าและพระสาวกเป็นตัวอย่างสมัยปัจจุบัน พูดตามความสนิทใจของผู้เขียนก็คือ พระอาจารย์มั่นที่พวกเรากำลังอ่านประวัติท่านอยู่เวลานี้ ที่เป็นผู้หนึ่งในบรรดาปัจฉิมสาวกของพระพุทธองค์
    ไม่ลดหย่อนในเรื่องวัตรปฏิบัติแม้ในยามชรา
    ท่านเป็นผู้อาจหาญชาญชัยทางข้อวัตรปฏิบัติเครื่องดำเนิน ไม่ยอมลดหย่อนผ่อนคลายไปตามอำนาจฝ่ายต่ำตลอดมา แม้ก้าวเข้าวัยชราควรจะอยู่สบายตามวิบากขันธ์ ไม่ต้องขวนขวายกับกิจการภายใน คือสมณธรรมทางสมาธิภาวนา แต่การเดินจงกรมภาวนาตามเวลาที่เคยทำมานั้น พระหนุ่ม ๆ ยังสู้ไม่ได้ และกิจภายนอกเกี่ยวกับการอบรมสั่งสอนบรรดาศิษย์ ท่านก็อนุเคราะห์ด้วยจิตเมตตาเสมอมาไม่เคยทอดอาลัย
    การเทศน์อบรมโดยมากท่านมักเทศน์ไปตามนิสัยที่เคยเด็ดเดี่ยวมาแล้ว ไม่ค่อยทิ้งลวดลายของนักต่อสู้ตลอดมา คือ เทศน์เป็นเชิงปลุกใจผู้ฟังให้มีความอาจหาญร่าเริงในปฏิปทาเพื่อแดนพ้นทุกข์เป็นส่วนมากกว่าจะเทศน์อนุโลม อันเป็นการกล่อมใจของคนที่มีนิสัยอ่อนแอประจำสันดานอยู่แล้ว ให้เคลิ้มหลับไปขณะที่ฟังและวาระต่อไป
    พระอาจารย์มั่นท่านเป็นผู้เทิดทูนศาสนธรรมไว้ได้ทั้งทางปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธธรรมเต็มภูมิที่สมัยสาวกหายาก เฉพาะอย่างยิ่งธุดงควัตร ๑๓ ข้อที่แทบจะขาดความสนใจในวงพุทธบริษัทอยู่เสมอมา ไม่ค่อยมีผู้ฟื้นฟูขึ้นมาปฏิบัติกันให้เป็นเนื้อเป็นหนังบ้าง เหมือนธรรมอื่น ๆ ที่ธุดงค์เหล่านี้ปรากฏเด่นในสายตา และเกิดความสนใจปฏิบัติกันในวงพระธุดงค์ทั้งหลายสมัยปัจจุบัน ก็เพราะท่านอาจารย์เสาร์ ท่านอาจารย์มั่น เป็นผู้พาดำเนินอย่างเอาจริงตลอดมาในภาคอีสาน
    ธุดงค์ทั้ง ๑๓ ข้อนี้ท่านอาจารย์ทั้งสองเคยปฏิบัติมาแทบทุกข้อตามสถานที่และโอกาส เป็นแต่เพียงไม่ได้ปฏิบัติเป็นประจำ เหมือนธุดงค์ข้อที่ระบุไว้ในประวัติท่านซึ่งเขียนผ่านมาแล้วเท่านั้น คือป่าช้าท่านก็เคยอยู่มาจนจำเจ อัพโพกาสท่านก็เคยอยู่มา โคนไม้ท่านก็เคยอยู่มาจนเคยชิน ที่ได้เห็นพระธุดงค์ทางภาคอีสานซึ่งเป็นสายของท่านอาจารย์ทั้งสองปฏิบัติกันมา ก็ล้วนดำเนินตามที่ท่านพาดำเนินให้เห็นร่องรอยมาแล้วทั้งนั้น
    ท่านอาจารย์เสาร์ ท่านอาจารย์มั่น ท่านฉลาดแหลมคมมาก รู้ความสำคัญของธุดงค์ทั้ง ๑๓ ข้อว่า เป็นเครื่องมือปิดช่องทางออกแห่งกิเลสของพระธุดงค์ได้ดีมาก เพราะถ้าไม่มีธุดงค์เหล่านี้ช่วยปิดช่องไว้บ้าง กิเลสของพระธุดงค์ที่สักแต่ชื่อก็รู้สึกจะเพ่นพ่านเอามาก และอาจจะทำความรำคาญแก่ประสาทของผู้อื่นพอดู
    แต่พระธุดงค์ที่มีธรรมเหล่านี้ช่วยบ้าง ก็พอทำให้เบาใจแก่ตัวเองและผู้อื่นจะทนดูได้ ไม่แสลงตาแสลงใจเกินไป ธุดงค์แต่ละข้อรู้สึกเป็นธรรมกระซิบใจได้ดีไม่เผลอตัวไปมาก และไม่เผลอตัว พอจิตคิดไปในทางผิดซึ่งเป็นข้าศึกกับธุดงค์ข้อใด ใจกลับรู้สึกได้ในธุดงค์ข้อนั้นทันที แล้วทำความระวังและแก้ไขตนต่อไป
    ประโยชน์แห่งการถือธุดงควัตร
    ธุดงค์เป็นธรรมละเอียดลออมาก และมีความหมายอย่างเต็มตัวทุกข้อไป ทั้งสามารถแก้กิเลสในหัวใจของสัตว์ได้โดยสิ้นเชิงด้วยธุดงค์ข้อนั้น ๆ อย่างไม่มีปัญหา ขอแต่ผู้ปฏิบัติคิดให้ถึงความจริงของธุดงค์ข้อนั้น ๆ แล้วนำมาปฏิบัติต่อตนเองด้วยดีเท่านั้น จะเห็นว่ากิเลสทุกประเภทอยู่ในข่ายของธุดงค์เหล่านั้น จะเป็นธรรมปราบปรามให้สิ้นซากไปทั้งสิ้น ไม่มีกิเลสตัวใดจะเหนืออำนาจธุดงค์ไปได้ เท่าที่กิเลสไม่ค่อยกลัวเรานักก็เพราะเรากลัวธุดงค์จะทำความลำบากให้แก่ตนที่ปฏิบัติตาม ส่วนกิเลสจะทำความลำบากแก่เราเพียงไร เมื่อไม่มีธุดงคธรรมเป็นเครื่องปราบปรามนั้น รู้สึกจะเป็นช่องโหว่ของตน จึงเป็นช่องทางให้เผลอตัวไปตำหนิธุดงค์ว่าปฏิบัติยากเสียบ้าง หรือบางหัวใจอาจคิดไปว่า ธุดงค์ล้าสมัยเสียบ้างก็ไม่อาจทราบได้
    ในขณะที่ความคิดกลับเป็นข้าศึกแก่ตน กิเลสจึงได้รับความนิยมนับถืออยู่อย่างลึกลับโดยผู้ชมเชยก็ไม่อาจทราบได้ แต่ผลของมันที่เกิดจากการส่งเสริมชมเชยผลิตออกมาให้โลกได้รับเสวยนั้น เป็นสิ่งเปิดเผยอยู่ตลอดเวลา แทบพูดได้ว่าเป็นอกาลิโก การปฏิบัติตามธุดงค์ไม่ว่าข้อใดย่อมเป็นความสง่างามน่าดู ทั้งเป็นผู้เลี้ยงง่าย กินง่าย นอนง่าย เครื่องใช้สอยของผู้มีธุดงค์อยู่ในใจบ้างย่อมถือเป็นความสบายไปตลอดสาย เป็นผู้เบากายเบาใจไม่พระรุงพระรังทั้งทางอารมณ์และเครื่องเป็นอยู่ต่าง ๆ
    ธุดงค์เหล่านี้ แม้ฆราวาสจะเลือกนำไปใช้ในบางข้อเพื่อเป็นประโยชน์แก่ตน ก็ย่อมได้เช่นเดียวกับพระ เพราะกิเลสของฆราวาสกับกิเลสของพระมันเป็นประเภทเดียวกัน ธุดงค์เป็นธรรมแก้กิเลสจึงควรนำไปปฏิบัติเพื่อแก้กิเลสได้เช่นเดียวกัน ตามฐานะและเพศของตนจะอำนวย ธุดงค์เป็นคุณธรรมที่สูงอย่างลึกลับ ยากที่เราจะทราบได้ตามความจริงของธุดงค์แต่ละข้อ ผู้เขียนเองก็ตะเกียกตะกายเขียนไปแบบป่า ๆ ตามนิสัยอย่างนั้นแล ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจในธุดงค์เท่าที่ควรอะไรเลย แต่หัวใจมีก็เขียนสุ่ม ๆ ไปอย่างนั้นเองจึงขออภัยด้วย
    คุณสมบัติของธุดงค์ทั้งหลายไม่อาจพรรณนาให้จบสิ้นลงได้ เพราะเป็นธรรมที่ละเอียดสุขุมมาก ทั้งสามารถทำให้ผู้รักใคร่ใฝ่ใจปฏิบัติในธุดงค์ สำเร็จได้ในคุณธรรมตั้งแต่ขั้นต่ำจนถึงขั้นอริยชน ไม่นอกไปจากธุดงค์เหล่านี้เลย ท่านอาจารย์มั่นเป็นอาจารย์ผู้นำบรรดาศิษย์พาดำเนินมาตลอดสายจนถึงวาระสุดท้าย หมดกำลังแล้วจึงปล่อยวางพร้อมกับสังขารที่ติดแนบกับองค์ท่าน
    ฉะนั้นธุดงควัตรจึงเป็นธรรมจำเป็น สำหรับผู้มุ่งชำระกิเลสทุกประเภทภายในใจให้สิ้นไป จะทอดธุระว่า ธุดงค์ไม่ใช่ธรรมจำเป็นเสียมิได้ แต่จะไม่ขออธิบายคุณสมบัติของธุดงค์แต่ละข้อว่ามีคุณค่าและความจำเป็นแก่เราอย่างไรบ้าง กรุณาท่านผู้สนใจพิจารณาตีแผ่เอาเอง อาจได้ความละเอียดและเกิดประโยชน์แก่ตัวท่านเองมากกว่าผู้อื่นอธิบายให้ฟังเสียอีก ผู้เขียนเคยพิจารณาและเห็นผลมาบ้างตามประสา นับแต่เริ่มออกปฏิบัติจนทุกวันนี้เท่าที่สามารถ เพราะเห็นว่าเป็นธรรมจำเป็นประจำตัวตลอดมาและตลอดไป ท่านผู้มุ่งต่อความสิ้นกิเลสทั้งประเภทที่หยาบโลน และประเภทที่ละเอียดสุด จึงไม่ควรมองข้ามธุดงค์ไป โดยเห็นว่าไม่สามารถถอดถอนกิเลสได้
     
  5. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ตอนที่ ๑๑


    ท่านพระอาจารย์มั่นเริ่มป่วย และเริ่มลาวัฏวนเป็นครั้งสุดท้าย
    พอท่านจำพรรษาวัดหนองผือปีที่ ๔ ผ่านไปแล้ว ตกหน้าแล้งราวเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ ทางจันทรคติจำได้ว่าเป็นวันขึ้น ๑๔ เดือน ๔ เป็นวันสังขารท่านเริ่มแสดงอาการไม่สนิทที่จะครองขันธ์ต่อไป ดังที่เป็นมาแล้ว ๗๙ ปี วันนั้นเป็นวันที่ท่านเริ่มป่วยอันเป็นสาเหตุลุกลามไปถึงจุดสุดท้ายของสังขารที่ครองตัวมาเป็นเวลานาน วันนั้นได้แสดงความสั่นสะเทือนขึ้นมาแก่ขันธปัญจกท่านและพระสงฆ์ในวงใกล้ชิด โดยเริ่มแรกมีไข้และไอผสมกันไม่มากนัก มีอาการรุม ๆ ไปแทบทั้งวันทั้งคืน ไม่ค่อยมีเวลาสร่างนับแต่วันแรกเป็น ท่านแสดงออกเป็นอาการผิดปกติที่น่าวิตกด้วยแล้ว ทำให้คนดีไม่น่าไว้ใจเลย องค์ท่านทราบอย่างประจักษ์ไม่มีทางสงสัยว่าไข้คราวนี้เป็นไข้ครั้งสุดท้าย ไม่มีทางหายได้ด้วยวิธีและยาขนานใด ๆ ทั้งสิ้น
    ฉะนั้น ท่านจึงเผดียงให้บรรดาศิษย์ทราบตั้งแต่เริ่มแรกเป็น และไม่สนใจกับหยูกยาอะไรเลย นอกจากแสดงอาการเป็นความรำคาญเวลามีผู้นำยาเข้าไปถวายให้ฉันเท่านั้น โดยบอกว่า
    ไข้นี้มันเป็นไข้ของคนแก่ ซึ่งหมดความสืบต่อใด ๆ อีกแล้ว ไม่ว่ายาขนานใดมาใส่จะไม่มีวันหาย มีเพียงลมหายใจที่รอวันตายอยู่เท่านั้น เช่นเดียวกับไม้ที่ตายยืนต้น แม้จะรดน้ำพรวนดินให้ฟื้นเพื่อผลิดอกออกใบ ก็ไม่มีทางเป็นไปได้ รออยู่พอถึงวันโค่นล้มลงจมดินของมันเท่านั้น ไข้ที่เริ่มเป็นอยู่เวลานี้ก็เป็นไข้ประเภทนั้นนั่นแล จะผิดกันอะไรเล่า ผมได้พิจารณาประจักษ์ใจแล้วแต่ไข้ยังไม่เริ่มปรากฏโน้น ฉะนั้น จึงได้เตือนหมู่เพื่อนเสมอว่า อย่าพากันนอนใจ รีบเร่งทางความเพียรขณะที่ผมยังมีชีวิตอยู่ ติดขัดอะไรจะได้ช่วยแก้ไขให้ทันกับเหตุการณ์ อย่าให้ผิดพลาดและเสียเวลานาน
    ผมจะอยู่กับหมู่เพื่อนไปอีกไม่นาน จะจากไปตามกฎของอนิจฺจํที่เดินตามสังขารอยู่ทุกเวลาไม่ลดละ อย่างไรก็ไม่เลย ๓ ปี นี่เป็นคำที่เคยเตือนล่วงหน้ามาได้ ๓ ปีเข้านี้แล้ว จะให้ผมเตือนอย่างไรอีก จะพูดให้เคลื่อนจากที่แน่ใจอยู่แล้วนี้ไปไม่ได้ งานของวัฏจักรที่ทำบนร่างกายจิตใจของคนและสัตว์ เขาทำของเขาอยู่ทุกเวลานาที นี้ก็เป็นงานครั้งสุดท้ายของเขาที่ทำอยู่บนร่างกายผม ซึ่งจะเสร็จสิ้นไปภายในไม่กี่เดือนนี้ จะให้เขาเปลี่ยนแปลงงานเขาอย่างไรได้ดังนี้
    อาการท่านนับแต่วันเริ่มเป็นมีแต่ทรงกับทรุดไปวันละเล็กละน้อย ค่อย ๆ ขยับไปโดยไม่สนใจกับหยูกยาอะไรทั้งสิ้น เวลาถูกอาราธนาให้ท่านฉันยา รู้สึกท่านแสดงความรำคาญอย่างเห็นได้ชัดทุก ๆ ครั้งที่ขอรบกวน แต่ทนคนหมู่มากไม่ไหว เพราะคนนั้นว่ายานั้นดี คนนี้ก็ว่ายานี้ดี ฉันแล้วหาย ใครฉันแล้วมีแต่หายกัน จึงอยากขออาราธนาท่านอาจารย์ได้โปรดเมตตาบ้าง จะได้หายและโปรดบรรดาลูกศิษย์ลูกหาไปนาน ๆ
    ท่านเตือนเสมอว่า ยาไม่เป็นประโยชน์กับไข้ของผมในครั้งนี้ มีแต่ฟืนเท่านั้นจะเข้ากันได้สนิท
    ท่านพูดห้ามเท่าไรก็ยิ่งขอวิงวอน จึงได้ฉันให้เสียบ้างทีละนิดทีละหน่อย ตามคำขอร้องของคนหมู่มาก พอไม่ให้เสียใจนักว่าท่านทอดอาลัยในสังขารเกินไป
    เมื่อข่าวว่าท่านป่วยไปถึงไหน ใครทราบก็มาถึงทั้งนั้น ทั้งพระทั้งฆราวาสพากันหลั่งไหลมาแทบทุกทิศทุกทาง มิได้คำนึงว่าทางไกลหรือใกล้ หน้าแล้งหรือหน้าฝน ผู้คนหลั่งไหลเข้าไปเยี่ยมท่านยิ่งกว่าฝนที่ทั้งตกทั้งพรำเสียอีก บ้านหนองผืออยู่ในป่าและหุบเขา ทั้งห่างไกลจากถนนใหญ่ สายอุดร-สกลฯ ราว ๕๐๐–๖๐๐ เส้น มิได้สนใจว่าไกลและลำบาก ซึ่งโดยมากเดินกันด้วยเท้าเปล่าเข้าไปหาท่าน นอกจากคนแก่ ๆ เดินไม่ไหวก็ว่าจ้างล้อเกวียนเขาเข้าไป
    เฉพาะท่านเองชอบอยู่องค์เดียวเงียบ ๆ ตามอัธยาศัย แม้พระเณรก็ไม่อยากให้เข้าไปเกี่ยวข้องถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ดังนั้น เมื่อมีผู้คนพระเณรเข้าไปเกี่ยวข้องมาก ๆ รู้สึกขัดกับอัธยาศัยที่ท่านไม่เคยดำเนินมา จึงไม่อยากเกี่ยวข้องกับเรื่องใด ๆ ทั้งสิ้น เพียงพระเณรซึ่งเป็นลูกศิษย์ใกล้ชิดภายในวัด ท่านยังไม่ประสงค์ให้เข้าไปเกี่ยวข้องเลย แต่ความจำเป็นมีก็จำต้องอนุโลมผ่อนผันเป็นบางกาล แม้เช่นนั้น ก็จำต้องระมัดระวังกันอย่างมาก ขณะเข้าไปเกี่ยวข้องท่านด้วยกิจธุระจำเป็น ไม่ให้เข้าไปแบบสุ่มสี่สุ่มห้า
    ตลอดข้อวัตรที่ควรทำถวายท่านในเวลาจำเป็น ต้องจัดพระเณรองค์ที่เห็นสมควรไว้ใจได้ เป็นผู้จัดทำถวายเป็นคราว ๆ ไป สิ่งที่เกี่ยวกับท่านต้องมีพระผู้อาวุโสและฉลาดพอควร เป็นผู้คอยควบคุมดูแลให้เห็นสมควรก่อนค่อยทำลงไปทุกกรณี เพราะท่านอาจารย์เป็นผู้รอบคอบและละเอียดมากตามปกตินิสัย ผู้เข้าไปเกี่ยวข้องจึงควรได้รับการพิจารณากันพอสมควร เพื่อไม่ให้ขัดกับอัธยาศัยท่านซึ่งเป็นเวลาที่จำเป็นอย่างยิ่ง
    เมื่อมีประชาชนพระเณรมาจากที่ต่าง ๆ ประสงค์จะเข้ากราบเยี่ยมท่าน ทางวัดต้องขอให้รออยู่ที่สมควรก่อน แล้วมีพระผู้เคยปฏิบัติทางนี้ เห็นเป็นกาลอันควรแล้ว เข้าไปกราบเรียนให้ท่านทราบ เมื่อท่านอนุญาตแล้วค่อยมาบอกให้เข้าไป และเมื่อมีพระในวัดองค์สมควรนำเข้าไปกราบท่าน มีอะไรท่านก็แสดงโปรดท่านเหล่านั้นตามอัธยาศัย พอสมควรแล้วก็พากราบลาท่านออกมา
    การพาแขกเข้ากราบเยี่ยมท่าน ทางวัดได้ปฏิบัติอย่างนี้ตลอดมา และพาเข้ากราบเยี่ยมเป็นคราว ๆ ไป ตามแต่แขกมีมากน้อยซึ่งมาในเวลาต่างกัน เฉพาะพระอาจารย์ที่เคยเป็นลูกศิษย์ท่านมาแล้ว และมีความสนิทกับท่านเป็นพิเศษ ก็เป็นเพียงไปกราบเรียนให้ท่านทราบว่า ท่านอาจารย์นั้นจะมากราบเยี่ยม เมื่อท่านอนุญาตแล้วก็เข้ากราบเยี่ยม และสนทนาธรรมกันตามอัธยาศัยทั้งสองฝ่าย
    อาการป่วยท่านค่อยเป็นไปเรื่อย ๆ ไม่ผาดโผนรุนแรง แต่ไม่ค่อยเป็นปกติสุขได้ ถ้าเป็นสงครามก็แบบสงครามใต้ดิน ค่อยขยับเข้าทีละเล็กทีละน้อยจนกลายเป็นสงครามไปทั่วดินแดน และกลายเป็นแดนยึดครองไปทั่วพิภพ ไม่มีส่วนเหลือเลย พอท่านซึ่งเป็นจุดหัวใจของส่วนรวมเริ่มป่วยลงเท่านั้น มองดูพระเณรในวัดรู้สึกเศร้าหมองทางอาการ ไม่ค่อยแช่มชื่นเบิกบานเหมือนแต่ก่อน มองดูหน้าตากันก็มองแบบเศร้า ๆ ไม่ผ่องใสทางอาการ ตลอดการสนทนากัน ก็ต้องยกเรื่องป่วยท่านอาจารย์ขึ้นสนทนาก่อนจะกระจายไปเรื่องอื่น ๆ แล้วก็ต้องมายุติกันที่เรื่องของท่านอีก
    แต่การให้โอวาทสั่งสอนพระเณร ท่านยังคงมีเมตตาอนุเคราะห์อยู่อย่างสม่ำเสมอมิได้ทอดธุระ เป็นแต่ไม่ได้ชี้แจงข้ออรรถข้อธรรมให้ละเอียดลออได้เต็มความเมตตาเหมือนแต่ก่อนเท่านั้น พออธิบายธรรมจบลงและชี้แจงจุดสงสัยของผู้เรียนถามเสร็จสิ้นลงแล้ว ก็สั่งให้เลิกกัน ไปประกอบความเพียร องค์ท่านเองก็เข้าพักผ่อน
    ขณะที่ท่านแสดงธรรมปรากฏว่าไม่มีความไม่สบายแฝงอยู่เลย แสดงอย่างฉะฉานร่าเริง เสียงดังและกังวาน ลักษณะอาการอาจหาญเหมือนคนไม่ป่วยเป็นอะไรเลย การเร่งและเน้นหนักในธรรมเพื่อผู้ฟัง ก็เน้นลงอย่างถึงใจจริง ๆ ไม่มีความสะทกสะท้านใด ๆ ปรากฏในเวลานั้น ทุกอาการที่แสดงออกเหมือนท่านไม่ได้เป็นอะไรเลย พอจบการแสดงแล้วถึงจะทราบว่า อาการท่านอ่อนเพลียและต้องการพักผ่อน พอทราบอาการเช่นนั้นต่างก็รีบให้โอกาสท่านได้พักผ่อนตามอัธยาศัย
    ท่านเทศน์อัศจรรย์ครั้งสุดท้าย
    วันมาฆบูชา เดือนสามเพ็ญ พ.ศ. ๒๔๙๒ ก่อนท่านจะเริ่มป่วยเล็กน้อย วันนั้นท่านเริ่มเทศน์แต่เวลา ๒ ทุ่มจนถึงเวลา ๖ ทุ่มเที่ยงคืน รวมเป็นเวลา ๔ ชั่วโมง อำนาจธรรมที่ท่านแสดงในวันนั้นเป็นความอัศจรรย์ประจักษ์ใจของพระธุดงค์ ที่มารวมกันอยู่เป็นจำนวนมากโดยทั่วกัน ประหนึ่งโลกธาตุดับสนิทไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย ปรากฏแต่กระแสธรรมท่านแผ่ครอบไปหมดทั่วไตรโลกธาตุ โดยยกพระอรหันต์ ๑,๒๕๐ องค์ที่ต่างมาเองสู่ที่ประชุม ณ พุทธสถาน โดยไม่มีใครอาราธนานิมนต์หรือนัดแนะขึ้น แสดงว่าท่านเป็นวิสุทธิบุคคลล้วน ๆ ไม่มีคนมีกิเลสเข้าสับปนเลยแม้คนเดียว
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #FFFFF5" bgcolor="#fffff5" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="590">
    การแสดงโอวาทปาฏิโมกข์พระพุทธเจ้าทรงแสดงเองเป็นวิสุทธิอุโบสถ คืออุโบสถในท่ามกลางแห่งบุคคลผู้บริสุทธิ์ล้วน ๆ ไม่เหมือนพวกเราซึ่งแสดงปาฏิโมกข์ในท่ามกลางแห่งบุคคลผู้มีกิเลสล้วน ๆ ไม่มีบุคคลผู้สิ้นกิเลสสับปนอยู่เลยแม้คนเดียว ฟังแล้วน่าสลดสังเวชอย่างยิ่งที่พวกเราก็เป็นคนผู้หนึ่ง หรือเป็นพระองค์หนึ่งในความเป็นศากยบุตรของพระองค์ องค์เดียวกัน แต่มันเป็นเพียงชื่อไม่มีความจริงแฝงอยู่บ้างเลย เหมือนคนที่ชื่อว่าพระบุญ เณรบุญ และนายบุญ นางบุญ แต่เขาเป็นคนขี้บาปหาบแต่โทษและอาบัติใส่ตัวแทบก้าวเดินไปไม่ได้
    สมัยโน้นท่านทำจริงจึงพบแต่ของจริง พระจริง ธรรมจริงไม่ปลอมแปลง ตกมาสมัยพวกเรากลายเป็นมีแต่ชื่อเสียงเรืองนามสูงส่งจรดพระอาทิตย์ พระจันทร์ แต่ความทำต่ำยิ่งกว่าขุมนรกอเวจี แล้วจะหาความดี ความจริง ความบริสุทธิ์มาจากไหน เพราะสิ่งที่ทำมันกลายเป็นงานพอกพูนกิเลสและบาปกรรมไปเสียมาก มิได้เป็นงานถอดถอนกิเลสให้สิ้นไปจากใจ แล้วจะเป็นวิสุทธิอุโบสถขึ้นมาได้อย่างไรกัน
    บวชมาเอาแต่ชื่อเสียงเพียงว่าตนเป็นพระเป็นเณรแล้วก็ลืมตัว มัวแต่ยกว่าตนเป็นผู้มีศีลมีธรรม แต่ศีลธรรมอันแท้จริงของพระของเณรตามพระโอวาทของพระองค์แท้ ๆ นั้นคืออะไร ก็ยังไม่เข้าใจกันเลย ถ้าเข้าใจในโอวาทปาฏิโมกข์ท่านสอนว่าอย่างไร นั่นแลคือองค์ศีลองค์ธรรมแท้ ท่านแสดงย่อเอาแต่ใจความว่า การไม่ทำบาปทั้งปวงหนึ่ง การยังกุศลคือความฉลาดให้ถึงพร้อมหนึ่ง การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้วหนึ่ง นี่แลเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    การไม่ทำบาป ถ้าทางกายไม่ทำแต่ทางวาจาก็ทำอยู่ ถ้าทางวาจาไม่ทำแต่ทางใจก็ทำ และสั่งสมบาปวันยังค่ำจนถึงเวลาหลับ พอตื่นจากนอนก็เริ่มสั่งสมบาปต่อไปจนถึงขณะหลับอีก เป็นอยู่ทำนองนี้ โดยมิได้สนใจคิดว่าตัวทำบาปหรือสั่งสมบาปเลย แม้เช่นนั้นยังหวังใจอยู่ว่า ตนมีศีลมีธรรม และคอยเอาแต่ความบริสุทธิ์จากความมีศีลมีธรรมที่ยังเหลือแต่ชื่อนั้น ฉะนั้นจึงไม่เจอความบริสุทธิ์ กลับเจอแต่ความเศร้าหมองวุ่นวายภายในใจอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ก็เพราะตนแสวงหาสิ่งนั้นก็ต้องเจอสิ่งนั้น ถ้าไม่เจอสิ่งนั้นจะให้เจออะไรเล่า คนเราแสวงหาสิ่งใดก็ต้องเจอสิ่งนั้นเป็นธรรมดา เพราะเป็นของมีอยู่ในโลกสมมุติอย่างสมบูรณ์ ที่ท่านแสดงอย่างนี้ แสดงโดยหลักธรรมชาติของศีลธรรมทางด้านปฏิบัติ เพื่อนักปฏิบัติได้ทราบอย่างถึงใจ
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ลำดับต่อไปท่านแสดงสมาธิ ปัญญา ตลอดวิมุตติหลุดพ้นอย่างเต็มภูมิและเปิดเผยไม่ปิดบังลี้ลับอะไรเลยในวันนั้น แต่จะไม่ขออธิบาย เพราะเคยอธิบายและเขียนลงบ้างแล้ว
    ขณะนั้นผู้ฟังทั้งหลายนั่งเงียบเหมือนหัวตอ ตลอดกัณฑ์ไม่มีเสียงอะไรรบกวนธรรมที่ท่านกำลังแสดงอย่างเต็มที่เลย
    ตอนสุดท้ายแห่งการแสดงธรรม ท่านพูดทำนองพูดที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ว่ากัณฑ์นี้เทศน์ซ้ำเฒ่า ต่อไปจะไม่ได้เทศน์ทำนองนี้อีก แล้วก็จบลง
    คำนั้นได้กลายเป็นความจริงขึ้นมาดังท่านพูดไว้ นับแต่วันนั้นแล้วท่านมิได้เทศน์ทำนองนั้นอีกเลย ทั้งเนื้อธรรมและการแสดงนาน ๆ ผิดกับครั้งนั้นอยู่มาก หลังจากนั้นอีกหนึ่งเดือนท่านเริ่มป่วยกระเสาะกระแสะเรื่อยมา จนถึงวาระสุดท้ายแห่งขันธ์เสียจนได้
    แม้จะป่วยแต่ก็ไม่ทิ้งวัตรที่เคยปฏิบัติ
    แม้ท่านจะได้รับความลำบากทางขันธ์ เพราะโรคภัยเบียดเบียนจนสุขภาพทรุดลงเป็นลำดับก็ตาม แต่การบิณฑบาต ฉันในบาตร และฉันมื้อเดียวที่เคยดำเนินมา ท่านก็ยังอุตส่าห์ประคองของท่านไปไม่ยอมลดละปล่อยวาง เมื่อไม่สามารถไปสุดสายบิณฑบาตได้ ท่านก็พยายามไปเพียงครึ่งหมู่บ้าน แล้วกลับวัด ต่อมาญาติโยมและพระอาจารย์ทั้งหลายเห็นท่านลำบากมากก็ปรึกษากัน ตกลงขออาราธนานิมนต์ท่านไปแค่ประตูวัดแล้วกลับ ถ้าจะขออาราธนาท่านไว้ไม่ให้ไปเลย ท่านไม่ยอม โดยให้เหตุผลว่าเมื่อยังพอไปได้อยู่ต้องไป ฉะนั้นจำต้องอนุโลมตามท่านไม่ให้ขัดอัธยาศัย ท่านเองก็พยายามไป ไม่ยอมลดละความเพียรเอาเลย จนไปไม่ไหวจริง ๆ ท่านยังขอบิณฑบาตบนศาลาโรงฉัน พยายามจนลุกเดินไม่ได้ จึงยอมหยุดบิณฑบาต แม้เช่นนั้นยังขอฉันในบาตรและฉันมื้อเดียวตามเดิม
    เราคนดีต้องอนุโลมตามความประสงค์ท่านทุกระยะไป ด้วยความอัศจรรย์ในความอดทนของนักปราชญ์ชาติอาชาไนย ไม่ยอมทิ้งลวดลายที่เคยเป็นนักต่อสู้ให้กิเลสยื้อแย่งแข่งดีได้เลย ถ้าเป็นพวกเราน่ากลัวจะถูกหามลงมาฉันจังหันนับแต่วันเริ่มรู้สึกว่าไม่สบาย ซึ่งเป็นที่น่าอับอายกิเลสที่คอยหัวเราะเยาะคนไม่เป็นท่าอยู่ตลอดเวลา ที่มานอนคอยเขียงให้กิเลสสับฟันหั่นแหลกอย่างไม่มีชิ้นดี อันเป็นที่น่าสังเวชเอาหนักหนา ถ้ายังรู้สึกเสียดายเรา ซึ่งเป็นคนทั้งคนที่คอยจะเป็นเขียงให้กิเลสสับฟัน ก็ควรระลึกถึงปฏิปทาของท่านอาจารย์มั่นตอนนี้ไว้บ้าง เผื่อได้ยึดมาเป็นเครื่องมือป้องกันตัวในการต่อสู้กับกิเลส จะไม่กลายเป็นเขียงให้มันหมดทั้งตัว ยังพอมีเครื่องหมายสัตบุรุษพุทธบริษัทติดตัวอยู่บ้าง
    อาการท่านรู้สึกหนักเข้าโดยลำดับ จนคนดีที่เกี่ยวข้อง ไม่พากันนิ่งนอนใจได้ ตอนกลางคืนต้องจัดวาระกันคอยรักษาท่านอย่างลับ ๆ คราวละ ๓-๔ องค์เสมอ แต่มิได้เรียนให้ท่านทราบ นอกจากท่านจะทราบทางภายในโดยเฉพาะเท่านั้น ทั้งนี้เกรงว่าท่านจะห้ามไม่ให้ทำ โดยเห็นว่าเป็นภาระกังวลวุ่นวายเกินไป พระเณรที่อยู่รักษาท่านตามวาระก็ให้อยู่ใต้ถุนกุฎีท่านอย่างเงียบ ๆ วาระละ ๒-๓ ชั่วโมง ตลอดรุ่งทุกคืน ซึ่งเริ่มแต่ยังไม่เข้าพรรษา พอเห็นอาการท่านหนักมากก็ปรึกษากัน แล้วกราบเรียนขอถวายความปลอดภัยให้ท่าน โดยมาขอนั่งสมาธิภาวนาที่เฉลียงข้างนอกกุฎีท่านคราวละ ๒ องค์ ท่านก็อนุญาต จึงได้จัดให้พระอยู่บนกุฎีท่านครั้งละ ๒ องค์ อยู่ใต้ถุน ๒ องค์ตลอดไป ไม่ให้ขาดได้ นอกจากพระที่จัดเป็นวาระไว้ประจำแล้ว ยังมีพระในวัดมาลอบ ๆ มอง ๆ คอยสังเกตการณ์อยู่เสมอมิได้ขาดตลอดคืน
    พอออกพรรษาแล้ว พระและครูบาอาจารย์ที่จำพรรษาอยู่ในที่ต่าง ๆ ก็ทยอยกันมากราบเยี่ยมและปฏิบัติท่านมากขึ้นเป็นลำดับ อาการท่านรู้สึกหนักเข้าทุกวันไม่น่าไว้ใจ ท่านจึงได้ประชุมเตือนบรรดาศิษย์ให้ทราบ ในการที่จะปฏิบัติต่อท่านด้วยความเหมาะสมว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #FFFFF5" bgcolor="#fffff5" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="590">
    การป่วยของผมจวนถึงวาระเข้าทุกวัน จะพากันอย่างไรก็ควรคิดเสียแต่บัดนี้จะได้ทันกับเหตุการณ์ ผมน่ะต้องตายแน่นอนในคราวนี้ดังที่เคยพูดไว้แล้วหลายครั้ง แต่การตายของผมเป็นเรื่องใหญ่ของสัตว์และประชาชนทั่ว ๆ ไปอยู่มาก ด้วยเหตุนี้ผมจึงเผดียงท่านทั้งหลายให้ทราบว่า ผมไม่อยากตายอยู่ที่นี่ ถ้าตายที่นี่จะเป็นการกระเทือนและทำลายชีวิตสัตว์ไม่น้อยเลย สำหรับผมตายเพียงคนเดียว แต่สัตว์ที่จะพลอยตายเพราะผมเป็นเหตุนั้นมีจำนวนมากมาย เพราะคนจะมามาก ทั้งที่นี้ไม่มีตลาดแลกเปลี่ยนซื้อขายกัน
    นับแต่ผมบวชมาไม่เคยคิดให้สัตว์ได้รับความลำบากเดือดร้อน โดยไม่ต้องพูดถึงการฆ่าเขาเลย มีแต่ความเมตตาสงสารเป็นพื้นฐานของใจตลอดมา ทุกเวลาได้แผ่เมตตาจิตอุทิศส่วนกุศลแก่สัตว์ไม่เลือกหน้า โดยไม่มีประมาณตลอดมา เวลาตายแล้วจะกลายเป็นศัตรูคู่เวรแก่สัตว์ ให้เขาล้มตายลงจากชีวิตที่แสนรักสงวนของแต่ละตัว เพราะผมเป็นเหตุเพียงคนเดียวนั้น ผมทำไม่ลง อย่างไรขอให้นำผมออกไปตายที่สกลนคร เพราะที่นั้นเขามีตลาดอยู่แล้ว คงไม่กระเทือนชีวิตของสัตว์มากเหมือนที่นี่ เพียงผมป่วยยังไม่ถึงตายเลย ผู้คนพระเณรก็พากันหลั่งไหลมาไม่หยุดหย่อน และนับวันมากขึ้นโดยลำดับ ซึ่งพอเป็นพยานอย่างประจักษ์แล้ว ยิ่งผมตายลงไปผู้คนพระเณรจะพากันมามากเพียงไร ขอได้พากันคิดเอาเอง
    เพียงผมคนเดียวไม่คิดคำนึงถึงความทุกข์เดือดร้อนของผู้อื่นเลยนั้น ผมตายได้ทุกกาลสถานที่ ไม่อาลัยเสียดายร่างกายอันนี้เลย เพราะผมได้พิจารณาทราบเรื่องของมันตลอดทั่วถึงแล้วว่า เป็นเพียงส่วนผสมแห่งธาตุรวมกันอยู่ชั่วระยะกาล แล้วก็แตกทำลายลงไปสู่ธาตุเดิมของมันเท่านั้น จะมาอาลัยเสียดายหาประโยชน์อะไร เท่าที่พูดนี้ก็เพื่อความอนุเคราะห์สัตว์ อย่าให้เขาต้องมาพร้อมกันตายเป็นป่าช้าผีดิบวางขายเกลื่อนอยู่ตามริมถนนหนทาง อันเป็นที่น่าสมเพชเวทนาเอาหนักหนาเลย ซึ่งยังไม่สุดวิสัยที่จะควรพิจารณาแก้ไขได้ในเวลานี้ ฉะนั้นจึงขอให้รีบจัดการให้ผมได้ออกไปทันกับเวลาที่ยังควรอยู่ในระยะนี้ เพื่ออนุเคราะห์สัตว์ที่รอตายตามผมอยู่เป็นจำนวนมาก ให้เขาได้มีความปลอดภัยในชีวิตของเขาโดยทั่วกัน หรือใครมีความเห็นอย่างไร ก็พูดได้ในเวลานี้
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ทั้งพระและญาติโยมรวมฟังกันอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่มีใครพูดขึ้น มีแต่ความสงบเงียบแห่งบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความผิดหวัง ดังบทธรรมท่านว่า ยมฺปิจฺฉํ น ลภติ ตมฺปิ ทุกฺขํ ปรารถนาไม่สมหวังย่อมเป็นทุกข์ คือท่านจะอยู่วัดหนองผือก็ต้องตาย จะออกไปสกลนครก็ต้องตาย ไม่มีหวังทั้งนั้น ที่ประชุมจึงต่างคนต่างเงียบ หมดทางแก้ไขทุกประตู จึงเป็นอันพร้อมกันยินดีและตกลงตามความเห็นและความประสงค์ท่าน
    ทีแรกญาติโยมบ้านหนองผือทั้งบ้านแสดงความประสงค์ว่า ขอให้ท่านตายที่นี่ เขาจะเป็นผู้จัดการศพท่านเอง แม้จะทุกข์จนข้นแค้นแสนเข็ญเพียงไรก็ตาม แต่ศรัทธาความเชื่อเลื่อมใสในครูอาจารย์มิได้จน ยังมีเต็มเปี่ยมในสันดาน จึงขอจัดการศพท่านจนสุดความสามารถขาดดิ้น ไม่ยอมให้ใครดูหมิ่นเหยียดหยามว่า ชาวบ้านหนองผือไม่มีความสามารถ เผาศพท่านอาจารย์เพียงองค์เดียวก็ไม่ไหม้ ปล่อยให้เขาเอาท่านไปทิ้งเสียที่อื่น ดังนี้ไม่ให้มี อย่างไรก็ขอพร้อมกันทั้งบ้าน มอบกายถวายชีวิตต่อท่านอาจารย์ องค์เป็นสรณะของชาวบ้านหนองผือ จนหมดลมหายใจ ไม่ยอมให้ใครเอาท่านไปไหน จนกว่าชาวหนองผือไม่มีลมหายใจครองขันธ์แล้ว จึงจะยอมให้เอาท่านไป
    แต่พอได้ยินคำท่านให้เหตุผลโดยธรรมแล้ว ก็พากันแสดงความเสียดาย โดยพูดอะไรไม่ได้ จำต้องยอมทั้งที่มีความเลื่อมใสและอาลัยเสียดายท่านแทบใจจะขาด ปราศจากลมหายใจในขณะนั้น จึงเป็นที่น่าเห็นใจพี่น้องชาวหนองผือเป็นอย่างยิ่ง และขอจารึกเหตุการณ์คือความเสียสละอย่างถึงเป็นถึงตาย เพื่อถวายบูชาท่านอาจารย์ครั้งนี้ไว้ในหทัยของผู้เขียน ในนามท่านผู้อ่านทั้งหลายด้วย ซึ่งคงจะมีความรู้สึกต่อพี่น้องชาวหนองผือเช่นเดียวกัน
    วันประชุมนั้นมีครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่หลายท่านที่เป็นลูกศิษย์ท่านมาร่วมด้วย ท่านอาจารย์เองเป็นผู้ชี้แจงเรื่องที่ไม่ควรให้ท่านอยู่วัดหนองผือต่อไป ด้วยเหตุดังที่เขียนผ่านมาแล้ว เมื่อทั้งฝ่ายพระสงฆ์และฝ่ายชาวบ้านต่างทราบคำชี้แจงจากท่านในที่ประชุมด้วยกัน และไม่มีใครคัดค้านแล้ว ก็ตกลงกันทำแคร่สำหรับหามท่านออกจากวัดหนองผือไปสกลนคร วันที่กลายเป็นวันมหาเศร้าโศกโลกหวั่นไหว เพราะความวิโยคพลัดพรากจากสิ่งที่รักเลื่อมใสสุดจิตสุดใจ ก็ได้ระเบิดขึ้นแก่ชาวบ้านชาววัดอย่างสุดจะอดกลั้นไว้ได้นั้น คือวันที่ประชาชนญาติโยมและพระสงฆ์จำนวนมาก เตรียมแคร่มารอรับท่านอาจารย์ที่บันไดกุฎี
    หลังจากฉันเสร็จแล้ว พร้อมกันเตรียมจะหามท่านออกไปสกลนคร จุดนี้เป็นจุดที่เริ่มระเบิดหัวใจพี่น้องชาวหนองผือทั้งบ้านใกล้บ้านไกล ที่ต่างมาแสดงความหมดหวังครั้งสุดท้ายในบริเวณนั้น ตลอดพระสงฆ์สามเณรเป็นจำนวนมาก ทั้งสองฝ่ายต่างเกิดความสลดสังเวชน้ำตาไหลซึมเป็นจุดแรก
    จุดที่สองขณะที่พระอาจารย์ทั้งหลายพยุงท่านอาจารย์ลงมาจากกุฎี เพื่ออาราธนาขึ้นสู่แคร่และเตรียมเคลื่อนที่นี้ เป็นตอนที่ปล่อยความเลื่อมใสอาลัยรักสุดประมาณที่อัดอั้นตันใจอยู่ภายในออกมาอย่างเต็มที่ ทั้งหญิงทั้งชายตลอดพระเณรก็อดกลั้นน้ำตาไว้ไม่ได้ จำต้องปล่อยให้เป็นไปตามความโศกาดูรในขณะนั้น
    แม้ผู้เขียนเองซึ่งยังจะติดตามท่านออกไปด้วย ก็ยังอดแสดงความไม่เป็นท่าออกมาไม่ได้ เมื่อเห็นบรรยากาศเต็มไปด้วยความซบเซาเหงาหงอยอยู่รอบด้าน ทั้งเสียงร้องไห้สั่งเสีย ทั้งคำขอร้องอาราธนาวิงวอนท่านอาจารย์ ขอให้ออกไปหายโรคหายภัย อย่าได้ออกไปล้มหายตายจากทำลายซากจากพวกญาติโยมที่กำลังรอคอยอยู่ด้วยความโศกศัลย์กันแสงสุดที่จะอดกลั้นได้ แทบหัวอกจะแตกตายอยู่แล้วเวลานี้ ขอท่านได้เมตตาสงสารสัตว์มาก ๆ เพราะเห็นแก่ความยากจนบ้างเถิด ที่ปวงข้าพเจ้าทั้งหลายเกิดทุกข์มากแทบเหลือทนครั้งนี้ เพราะสมบัติอันล้นค่าที่เคยอุปัฏฐากรักษามาเป็นเวลาหลายปี ได้หลุดมือพลัดพรากจากไป สุดวิสัยที่จะกั้นกางไว้ได้
    เสียงร้องไห้รำพันด้วยความระทมขมขื่น ราวกับคลื่นทะเลไหลซัดเข้ามาท่วมทับหัวใจตามรายทางที่ท่านผ่านไป คนทั้งบ้าน ทั้งหญิงทั้งชาย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เหมือนจะถึงความมืดมิดปลิดชีพไปตามท่านกันทั้งบ้าน ตลอดต้นไม้ใบหญ้าที่ไม่มีวิญญาณรับรู้อะไรเลย ก็เป็นประหนึ่งยุบยอบกรอบเกรียมไปตาม ๆ กัน ขณะที่ท่านเริ่มเคลื่อนจากรมณียสถานอันเป็นที่เคยให้ความสุขสำราญแก่ท่านและพระสงฆ์ พร้อมด้วยหมู่ชนจำนวนมากที่มาอาศัยพึ่งร่มเงาตลอดมา สถานที่นั้นจึงเป็นเหมือนวัดร้างขึ้นในทันทีทันใด ทั้งที่มีพระอยู่จำนวนมาก เพราะปราศจากต้นไม้ใหญ่ใบดกหนาที่เต็มไปด้วยความร่มเย็นผาสุกแก่ผู้มาอาศัยตลอดมา
    เสียงที่กำลังแสดงความระบมปวดร้าวของประชาชน ผู้หวังมอบกายถวายชีวิตไว้กับพระศาสนา มีท่านอาจารย์เป็นองค์พยานซึ่งกำลังพลัดพรากจากไปอยู่เวลานี้ เป็นเสียงที่จะอดสังเวชสงสารเหลือประมาณมิได้ พอผ่านบ้านและเสียงพิไรรำพันที่แสนจะอดกลั้นความทุกข์ความสงสารไปแล้ว ต่างก็เดินระงมทุกข์ไปตามหลังท่าน แม้มีพระเณรและประชาชนนับเป็นจำนวนร้อย ๆ ก็ล้วนมีหน้าอันเคร่งขรึม ไม่มีท่านผู้ใดจะแสดงความเบิกบานแจ่มใส คงมีแต่ความระทมขมขื่นที่จำต้องกล้ำกลืนด้วยความฝืนอดฝืนทนไปตามๆ กัน ตลอดทางเป็นความเงียบเหงาเศร้าโศกของหมู่ชน ที่ต่างเดินไปเหมือนคนไร้ญาติขาดมิตร ไม่มีใครพูดใครคุยเรื่องต่าง ๆ แฝงขึ้นมาบ้างเลย ต่างคนต่างเงียบ แต่หัวใจเต็มไปด้วยความครุ่นคิดไปในความหมดหวัง ทั้งท่านและเรารู้สึกมีทางเดินแห่งวิถีของใจไปในทำนองเดียวกันว่า พวกเราเป็นพวกที่หมดหวัง
    ขออภัยเขียนตามความรู้สึกเท่ากับกำลังเอาท่านอาจารย์ไปทิ้ง ทั้งที่ท่านยังครองขันธ์อยู่อย่างไม่สงสัย การที่จะมีหวังได้ท่านกลับมาอีกนั้นคงเป็นไปไม่ได้แล้ว ยิ่งคิดยิ่งเศร้า แต่ก็เป็นเรื่องที่อดคิดไม่ได้ ต่างคนต่างเดินไปตามทางด้วยความเงียบเหงาเศร้าใจ และคิดแต่เรื่องของความหมดหวังกันทั้งนั้น สำหรับผู้เขียนเองขอสารภาพตัวว่าไม่เป็นท่าเอาอย่างมาก ตลอดทางมีแต่ความรำพึงรำพันถึงความหมดหวังที่พึ่ง ไม่มีที่อาศัยใด ๆ อีกแล้ว เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาดังที่เคยเกิดอยู่เสมอไม่เว้นแต่ละวัน
    ระหว่างทางจากหนองผือ ถึงอำเภอพรรณานิคม ตามสายทางที่ไปนั้นราว ๖๐๐ เส้น แม้เช่นนั้นก็มิได้สนใจว่าใกล้หรือไกล สิ่งที่สนใจอย่างฝังลึกก็คือความอาลัยอาวรณ์ยังไม่อยากให้ท่านจากไปในเวลานี้ เพราะเป็นเวลาที่ตนกำลังอาการหนักมากเกี่ยวกับปัญหาทางภายใน คิดวนไปเวียนมาก็มาลงเอยที่ความหมดหวังไม่มีทางสืบต่อกันได้เลย มีแต่คิดว่าต้องหมดหวังท่าเดียว
    อาการของท่านรู้สึกสงบมากตลอดทางที่ไกลแสนไกล มิได้แสดงอาการใด ๆ เลย เหมือนคนนอนหลับเราดี ๆ นี่เอง ทั้งที่ท่านมิได้หลับ พอไปถึงสถานที่มีป่าไม้ร่มเย็นสำหรับคนหมู่มาก ก็ขออาราธนาท่านพักชั่วคราว สิ่งที่ไม่คาดฝันได้เกิดขึ้นอีกวาระหนึ่งจากความอดรนทนไม่ได้ คือทั้งน่ารักทั้งน่าสงสาร ทั้งอาลัยอ้อยอิ่ง เวลาท่านถามออกมาว่า “มาถึงไหนแล้ว” ดังนี้ ทำไมจึงไพเราะซาบซึ้งจับใจเอาหนักหนาและเป็นเหมือนท่านไม่ได้เป็นอะไรเลย
    “ทูลหัวทูลกระหม่อมจอมไตรภพ จะสลัดปัดทิ้งคนอนาถาที่กำลังหายใจอยู่ แต่หัวใจจะขาดดิ้นอยู่ขณะนี้ไปเสียแล้วหรือ ดวงหทัยที่บริสุทธิ์ซึ่งเคยเต็มไปด้วยเมตตาอนุเคราะห์ให้พอหายใจได้ตลอดมา ได้ถอดถอนกลับคืนสู่ความไม่มีอะไรเหลืออยู่หมดแล้วหรือ”
    ขณะนั้นความรู้สึกได้เกิดขึ้นทันทีทันใด ใครจะว่าเป็นบ้าก็ยอมรับว่าเป็นจริงในท่านอาจารย์องค์นี้ เป็นบ้าขนาดตายแทนท่านได้เลยโดยไม่มีอุทธรณ์ร้อนใจในชีวิตของตัวเอาเลย ขอแต่ท่านแสดงความประสงค์จะเอาอะไรด้วยในตัวของเรา จะไม่มีคำว่า “เสียดายชีวิตเลย” จะมีแต่คำว่า “พร้อมอยู่แล้วที่จะพลีชีพทุกขณะ” เท่านั้น ไม่มีคำเป็นอุปสรรคเข้ามาแฝงได้อย่างเด็ดขาด แต่สุดวิสัย แม้จะขอถวายอะไรท่านก็ไม่อาจรับได้ เพราะในโลกธาตุนี้ต้องเดินทางสายเดียวกันไม่มีทางปลีก และออกจากคำว่า “เกิดแล้วต้องตายจะเป็นอื่นไปไม่ได้” เลย
    ออกจากวัดหนองผือ มุ่งสู่วัดบ้านภู่
    การออกเดินทางจากวัดหนองผือ เริ่มแต่เวลาประมาณ ๙ นาฬิกา มุ่งหน้าไปพักวัดบ้านภู่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ชั่วระยะก่อน พอท่านหายเหนื่อยบ้างแล้วเดินทางต่อไปสกลนคร ไปถึงวัดบ้านภู่ราว ๑๗ น.กว่า ๆ ยังไม่มืด การเดินทางกินเวลาหลายชั่วโมงเพราะเดินอ้อมเขา เพื่อความสะดวกสำหรับองค์ท่าน และคนแก่ที่พยายามตะเกียกตะกายตามส่งท่านมีมากทั้งหญิงทั้งชาย พอไปถึงวัดบ้านภู่แล้วก็อาราธนาท่านเข้าพักที่ศาลาเตี้ย ๆ เพื่อสะดวกแก่การถวายการอุปัฏฐากรักษา ตลอดประชาชนพระเณรที่มากราบเยี่ยมอาการท่านก็สะดวก
    นับแต่วันอาราธนาท่านไปพักที่นั่น อาการมีแต่ทรุดลงโดยลำดับ ประชาชนพระเณรก็หลั่งไหลมามากเต็มไปหมด ทั้งเช้าทั้งบ่ายและเย็น ตลอดกลางคืน เพราะใครก็หิวกระหายอยากมาเห็นหน้าและกราบเยี่ยมท่าน ซึ่งจำนวนมากไม่เคยเห็นหน้าท่านเลย ได้ยินแต่ชื่อเสียงกิตติศัพท์กิตติคุณเล่าลือกันว่า ท่านเป็นพระอรหันต์ทั้งองค์ในสมัยปัจจุบันไม่สงสัย และกำลังจะนิพพานอยู่แล้วในเร็ว ๆ นี้ ใครมีวาสนาก็ได้เห็นท่าน ใครไม่มีวาสนาก็เกิดมาตายเปล่า จึงต่างก็อยากมากราบไหว้บูชาพอเป็นขวัญตาขวัญใจที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์กับโลกเขาทั้งคน อย่าให้เสียชาติวาสนาไปเปล่า ๆ เลย
    พอเช้าวันหลังท่านถามว่า เมื่อไรจะพาผมไปสกลนคร ผมมิได้ตั้งใจจะมาตายที่นี้ ต้องพาผมไปสกลฯ ให้ได้ อย่ารอไว้นาน
    พระอาจารย์ที่เป็นลูกศิษย์ท่านก็เรียนถวายว่า รอให้ท่านอาจารย์พอหายเหนื่อยบ้างแล้วจะอาราธนาไปสกลฯ ตามความประสงค์
    ท่านก็หยุดไปบ้าง พอวันหลังก็เริ่มถามอีกทำนองที่เคยถามแล้ว พระอาจารย์ก็เรียนถวายท่าน ท่านก็หยุดไปเป็นระยะ วันหลังก็ถามอีก
    จะพาผมไปสกลฯ เมื่อไร อย่ารอช้า จะไม่ทันเวลา
    ที่อาราธนาท่านมาพักวัดนั้นราว ๑๐ วัน นับแต่เวลาล่วงไป ๔-๕ วันแล้ว ท่านเร่งให้พาท่านไปสกลนครวันหนึ่งหลายครั้ง พระอาจารย์ทั้งหลายก็นิ่งบ้าง เรียนถวายท่านบ้าง ท่านก็เร่งและดุเอาบ้างว่า
    จะให้ผมตายอยู่ที่นี่เชียวหรือ ผมบอกแล้วแต่ต้นทางก่อนจะมาว่าผมจะไปตายที่สกลนคร นี้ก็จวนเต็มทีแล้ว รีบพาผมไปอย่ารอนาน
    ใน ๓ คืนสุดท้ายท่านเร่งใหญ่ มีแต่จะให้พาไปสกลนครโดยถ่ายเดียว เฉพาะคืนสุดท้ายท่านไม่ยอมพักหลับเลย และเรียกพระมาด้วยอาการรีบด่วน เป็นเชิงบ่งบอกอย่างชัดแจ้งว่าท่านจะไม่สามารถทรงขันธ์อยู่ต่อไปอีกได้ ให้รีบพาท่านไปในคืนวันนั้นเพื่อทันกับเวลา นอกจากนั้นยังบอกให้พระพยุงท่านนั่งขัดสมาธิหันหน้าไปทางสกลนคร พอออกจากสมาธิก็บอกพระว่าให้เตรียมพาท่านไปสกลนครในคืนวันนั้น
    พวกเราต้องไปตามพระผู้ใหญ่มาเรียนท่านว่า พรุ่งนี้เช้าจะอาราธนาท่านไปสกลนครตามความประสงค์ ท่านจึงสงบลงบ้าง แต่ไม่ยอมนอนและบอกอย่างไม่ปิดบังด้วยว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #FFFFF5" bgcolor="#fffff5" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="569">
    “ผมจวนเต็มที่แล้ว จะรอต่อไปไม่ได้ ถ้าได้ไปในคืนนี้ยิ่งเหมาะ จะได้ทันกับเหตุการณ์ซึ่งกำลังเร่งรัดอยู่อย่างเต็มที่ ผมไม่อยากจะแบกขันธ์ซึ่งเป็นไฟทั้งกองนี้อยู่นาน อยากจะปล่อยทิ้งเสียให้หายกังวลในขันธ์ อันเป็นกองแห่งมหันตทุกข์ความกังวลอันใหญ่หลวงนี้
    ผมจวนเต็มที่แล้ว พวกท่านยังไม่ทราบหรือว่าผมจะตายในเร็ว ๆ นี้ จะเอาผมไว้ให้ทรมานขันธ์โดยไม่เกิดประโยชน์อะไรอีก เหตุผลก็ได้ชี้แจงให้ฟังจนเป็นที่เข้าใจกันหมดแล้วถึงได้มาที่นี้ แต่แล้วทำไมจึงยังขืนเอาผมไว้อีกเล่า ที่นี่เป็นสกลนครหรือ ทำไมไม่รีบพาผมไป จงรีบพาผมไปเดี๋ยวนี้ รอไว้ทำไมกันอีก คนตายแล้วทำเป็นปลาร้าหรือน้ำปลาได้หรือ ผมบอกแล้วว่าเวลานี้ธาตุขันธ์ผมเต็มทนแล้ว จะทนอยู่ต่อไปอีกไม่ได้ ยังไม่มีใครสนใจฟังและปฏิบัติตามที่ผมบอกอยู่หรือ คำพูดขนาดนี้ยังไม่พากันฟังเสียงเลย แล้วพวกท่านจะไปหาของจริงจากอะไรที่ไหนกัน
    ถ้ายังพากันดื้อทั้งที่ผมยังมีชีวิตอยู่ และไม่พากันเชื่อฟังต่อหน้าต่อตาเช่นนี้ เวลาผมตายไปแล้วพวกท่านจะเป็นคนดีมีเหตุผลจากอะไร คำพูดทั้งหมดนี้ผมพูดด้วยเหตุผลที่ตรองทราบว่าเป็นความจริงล้วน ๆ แล้ว แต่พวกท่านยังขืนดื้อไม่ทำตาม ผมรู้สึกจะหมดความหวังกับพวกท่านในอนาคตว่า จะเป็นผู้สามารถทรงศาสนาไปได้ด้วยความมีเหตุผลได้อย่างไรกัน
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ท่านเอาหนักมากในคืนสุดท้าย ทั้งไม่ยอมหลับนอนอีกด้วย ที่ท่านไม่ยอมหลับนั้นอาจเป็นเพราะเวลาหลับไป น่ากลัวจะเตลิดเลยก็ได้ พวกเราที่อยู่ด้วยกันมากต่อมากไม่มีใครสามารถทราบความมุ่งหมายท่านตอนนี้ เลยต้องเดาเอามาลง ถ้าผิดไปจากความจริงก็กรุณาอภัยด้วย
    ออกจากวัดบ้านภู่ไปสกลนคร
    ตอนเช้าราว ๗ น.กว่า ๆ รถแขวงการทางสกลนครก็มารับท่านพอดี โดยมีคุณแม่นุ่ม ชุวานนท์ เป็นผู้นำหน้ามาอาราธนานิมนต์ท่านให้ไปสกลนคร ท่านก็รับคำทันที มีเพียงพูดว่า “รถมากี่คัน จะพอกับพระเณรจำนวนมากซึ่งจะติดตามไปด้วยหรือเปล่า” เท่านั้น
    เขาเรียนท่านว่า “มีรถมา ๓ คัน แม้พระท่านไปไม่หมดก็จะขอมารับท่านไปจนหมดทุกองค์ที่ท่านประสงค์จะไป”
    ท่านทราบแล้วนิ่ง พอฉันเสร็จแล้ว หมอก็เตรียมฉีดยานอนหลับถวายท่านเพื่อกันความกระเทือนเวลารถวิ่ง เพราะทางไม่ดีเลยสมัยนั้น ขรุขระเต็มไปด้วยหลุมด้วยบ่อ พอฉีดยาถวายแล้วก็อาราธนาท่านขึ้นนอนบนแคร่ หามออกไปขึ้นรถ ซึ่งจอดรออยู่ฟากทุ่งนาเข้ามารับไม่ได้ หลังจากฉีดยาถวายแล้วราว ๑๐ นาที ท่านก็เริ่มหลับและเริ่มออกเดินทางตรงไปจังหวัดสกลนคร ถึงโน้นเที่ยงวันพอดี
    เมื่อถึงสกลนครเรียบร้อยแล้ว ก็อาราธนาท่านลงจากรถและขึ้นพักบนกุฎีวัดสุทธาวาส โดยที่ท่านกำลังหลับอยู่ และหลับไปจนถึงเที่ยงคืนคือ ๖ ทุ่ม จึงเริ่มตื่น
    พอตื่นจากหลับขึ้นมาไม่นานนัก ราวตี ๑ น. อาการที่ท่านเคยพูดซ้ำ ๆ ซาก ๆ ให้บรรดาลูกศิษย์ที่ชักหูตึงและใจสับสนวุ่นวายฟัง ก็เริ่มแสดงให้เห็นชัดขึ้นทุกระยะเหมือนจะบอกว่า นี่นะท่านทั้งหลายเห็นหรือยัง ที่ผมเคยบอกไม่หยุดปากว่าให้รีบพาผมมาสกลนคร จะได้รีบปลดปล่อยสิ่งรกรุงรังที่เต็มไปด้วยมหันตทุกข์ออกให้หมดในเร็ว ๆ ซึ่งบัดนี้เริ่มแสดงอาการขึ้นมาแล้ว ถ้ายังไม่เห็นก็จงพากันดู และถ้าไม่เชื่อคำที่ผมบอกตลอดมา ก็จงพากันฟังและดูเสียให้เต็มตาและคิดให้เต็มใจ ที่ผมพูดแล้วกับสิ่งที่กำลังเห็นประจักษ์ตาอยู่เวลานี้เป็นความจริงดังที่เคยพูดไว้หรือเปล่า ต่อไปจงอย่าพากันเป็นพระหูกระทะตาไม้ไผ่ ใจไม่มีความรู้สึกนึกคิดไตร่ตรองดังที่เคยเป็นมาแล้ว จะเป็นคนใจจืดจางว่างเปล่าจากสติปัญญาเครื่องไตร่ตรอง แล้วจะหาทางเอาตัวรอดไปไม่ได้ เรื่องที่กำลังเกิดอยู่ขณะนี้เป็นต้นเหตุ จงพากันคิดอ่าน อย่านอนใจ ดังนี้
    ช่วงเวลาที่ลาขันธ์
    ขณะที่ท่านเริ่มแสดงอาการลาขันธ์ คือ ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา อันเป็นกองมหันตทุกข์ในโลกสมมุติที่นักปราชญ์ทั้งหลายไม่พึงปรารถนาอยากพบเห็นอีกต่อไป เป็นเวลาดึกสงัดปราศจากเสียงและผู้คนพลุกพล่าน แต่ไม่นานนักก็เริ่มเห็นครูบาอาจารย์มีท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี เป็นต้น ทยอยกันมากุฎีท่านด้วยอาการรีบร้อน นับแต่ขณะที่พระไปเรียนข่าวท่านอาจารย์ให้ทราบ พระอาจารย์ทั้งหลายก็รีบพร้อมกันนั่งอย่างท่านที่เคยเห็นภัยมาแล้วด้วยท่าอันสงบ แต่ใจต่างมีความรุ่มร้อนอ่อนใจ กระวนกระวายไปตามอาการที่กำลังแสดงอยู่อย่างสะดุดตาสะดุดใจไม่ลดละในขณะนั้น ราวกับจะเตือนให้เห็นชัดว่าจะต้องผ่านไปนาทีใดนาทีหนึ่งในเร็ว ๆ นี้อย่างแน่นอน
    การนั่งดูอาการท่านนั่งเป็นสามแถว แถวแรกเป็นพระผู้ใหญ่มีท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์เป็นประธาน และพระอาจารย์รองลำดับออกมาจนถึงสามเณร ต่างนั่งด้วยท่าอันสงบอย่างยิ่ง ตาจับจ้องมองดูอาการท่านราวกับว่าลืมแล้วหลับไม่ลง ริมตาล่างเยิ้มไปด้วยน้ำตาที่สุดจะอดกลั้นด้วยความอาลัยอาวรณ์อย่างบอกไม่ถูก ต่างตกอยู่ในตรอกแห่งความสิ้นหวังไม่มีทางแก้ไข หัวใจมีก็สูดลมไปพอถึงวันของเขาเท่านั้น
    องค์ท่านเบื้องต้นนอนสีหไสยาสน์ คือตะแคงข้างขวา แต่เห็นว่าท่านจะเหนื่อย เลยค่อย ๆ ดึงหมอนที่หนุนอยู่ข้างหลังท่านออกนิดหนึ่ง เลยกลายเป็นท่านอนหงายไป พอท่านรู้สึกก็พยายามขยับตัวกลับคืนท่าเดิม แต่ไม่สามารถทำได้เพราะหมดกำลัง พระอาจารย์ใหญ่ก็ช่วยขยับหมอนที่หนุนหลังท่านเข้าไป แต่ดูอาการท่านรู้สึกเหนื่อยมากเลยต้องหยุด กลัวจะกระเทือนท่านมากไป ดังนั้น การนอนท่านในวาระสุดท้ายจึงเป็นท่าหงายก็ไม่ใช่ ท่าตะแคงข้างขวาก็ไม่เชิง เป็นเพียงท่าเอียง ๆ อยู่เท่านั้น เพราะสุดวิสัยที่จะแก้ไขได้อีก อาการท่านกำลังดำเนินไปอย่างไม่หยุดยั้ง บรรดาศิษย์ซึ่งโดยมากมีแต่พระกับเณร ฆราวาสมีน้อยที่นั่งอาลัยอาวรณ์ด้วยความหมดหวังอยู่ขณะนั้น ประหนึ่งลืมหายใจไปตาม ๆ กัน เพราะจิตพะว้าพะวงอยู่กับอาการท่านซึ่งกำลังแสดงอย่างเต็มที่ เพื่อถึงวาระสุดท้ายอยู่แล้ว
    ลมหายใจท่านปรากฏว่าค่อยอ่อนลงทุกทีและละเอียดไปตาม ๆ กัน ผู้นั่งดูลืมกะพริบตาเพราะอาการท่านเต็มไปด้วยความหมดหวังอยู่แล้ว ลมค่อยอ่อนและช้าลงทุกทีจนแทบไม่ปรากฏ วินาทีต่อไปลมก็ค่อย ๆ หายเงียบไปอย่างละเอียดสุขุม จนไม่มีใครสามารถรู้ได้ว่าท่านได้สิ้นไปแล้วแต่วินาทีใด เพราะอวัยวะทุกส่วนมิได้แสดงอาการผิดปกติเหมือนสามัญทั่ว ๆ ไปเคยเป็นกัน ต่างคนต่างสังเกตจ้องมองจนตาไม่กะพริบ สุดท้ายก็ไม่ได้เรื่องพอให้สะดุดใจเลยว่า ขณะท่านลาขันธ์ลาโลกที่เต็มไปด้วยความกังวลหม่นหมองคือขณะนั้น ดังนี้
    พอเห็นท่าไม่ได้การ ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์พูดเป็นเชิงไม่แน่ใจขึ้นมาว่า “ไม่ใช่ท่านสิ้นไปแล้วหรือ” พร้อมกับยกนาฬิกาขึ้นดูเวลา ขณะนั้นเป็นเวลาตี ๒ นาฬิกา ๒๓ นาที จึงได้ถือเวลานั้นเป็นเวลามรณภาพของท่าน พอทราบว่าท่านสิ้นไปแล้วเท่านั้น มองดูพระเณรที่นั่งรุมล้อมท่านอยู่เป็นจำนวนมาก เห็นแต่ความโศกเศร้าเหงาหงอยและน้ำตาบนใบหน้าที่ไหลซึมออกมา ทั้งไอทั้งจามทั้งเสียงบ่นพึมพำไม่ได้ถ้อยได้ความ ใครอยู่ที่ไหนก็ได้ยินเสียงอุบอิบพึมพำทั่วบริเวณนั้น บรรยากาศเต็มไปด้วยความเงียบเหงาเศร้าใจอย่างบอกไม่ถูก เราก็เหลือทน ท่านผู้อื่นก็เหลือทน ปรากฏว่าเหลือแต่ร่างครองตัวอยู่เวลานั้น
    ต่างองค์ต่างนิ่งเงียบไปพักหนึ่งราวกับโลกธาตุได้ดับลง ในขณะเดียวกับขณะที่ท่านอาจารย์ลาสมมุติคือขันธ์ก้าวเข้าสู่แดนเกษม ไม่มีสมมุติความกังวลใด ๆ เข้าไปเกี่ยวข้องวุ่นวายอีก ผู้เขียนแทบหัวอกจะแตกตายไปกับท่านจริง ๆ เวลานั้น ทำให้รำพึงรำพันและอัดอั้นตันใจไปเสียทุกอย่าง ไม่มีทางคิดพอขยับขยายจิตที่กำลังว้าวุ่นขุ่นเป็นตมเป็นโคลนไปกับการจากไปของท่าน พอให้เบาบางลงบ้างจากความแสนรักแสนอาลัยอาวรณ์ที่สุดจะกล่าว ที่ท่านว่าตายทั้งเป็นเห็นจะได้แก่คนไม่เป็นท่าคนนั้นนั่นแล
    พอความเงียบสร่างซาลงบ้าง พระผู้ใหญ่ก็สั่งให้จัดที่นอนให้เรียบร้อย และอาราธนาท่านให้นอนอยู่กับที่ที่ท่านมรณภาพไปก่อน พรุ่งนี้เช้าค่อยพิจารณาปรึกษาหารือกันใหม่ หลังจากนั้นครูบาอาจารย์พระเณรก็ทยอยกันออกจากห้องท่านลงไปอยู่ข้างล่างบ้าง ยังอยู่เฉลียงนอกห้องบ้าง มีตะเกียงเจ้าพายุจุดอยู่อย่างสว่างไสวทั่วบริเวณ แต่บรรดาศิษย์กลับมืดมนอนธการเหมือนมืดมิดปิดตา ไม่รู้ทางออกทางเข้าทางไปทางมา ราวกับถูกวางยาสลบให้ง่วงงุนวกเวียนอยู่ที่นั้นหนีไปไหนไม่ได้ บางท่านเป็นลมราวจะสลบล้มลงสิ้นใจไปพร้อมกับขณะท่านสิ้นลม เหมือนอะไร ๆ ก็สิ้นสุดไปตามท่านเสียสิ้นเวลานั้น
    เกิดความโกลาหลอลหม่านแบบไม่มีใครช่วยใครได้อย่างลึกลับ ในสมาคมมหาวิโยคพลัดพรากในยามดึกสงัด ต่างองค์ต่างงุ่มง่ามลูบคลำไปตามความเซ่อซ่าลืมสติสตัง มิได้กำหนดทิศทางมืดแจ้งอะไรเลย เพราะอำนาจความเสียใจไร้ชิ้นดีที่เกิดจากความพลัดพรากแห่งดวงประทีบ ที่เคยให้ความสว่างไสวมาประจำชีวิตจิตใจได้ดับวูบสิ้นสุดลง ปราศจากความอบอุ่นชุ่มเย็นเหมือนก่อนมา ราวกับว่าทุกสิ่งได้ขาดสะบั้นหั่นแหลกเป็นจุณวิจุณไปเสียสิ้น ไม่มีสิ่งเป็นที่พึ่งพอเป็นที่หายใจได้เลย มันสุดมันมุดมันด้านมันตีบตันอั้นตู้ไปเสียหมดภายในใจ ราวกับโลกธาตุนี้ไม่มีอะไรเป็นสาระพอเป็นที่เกาะของจิตผู้กำลังกระหายที่พึ่งได้อาศัยเกาะ พอได้หายใจแม้เพียงวินาทีหนึ่งเลย
    ทั้งที่สัตว์โลกทั่วไตรภพอาศัยกันประจำภพกำเนิดตลอดมา แต่จิตเรามันอาภัพอับวาสนาเอาอย่างไรนักหนา จึงเห็นโลกธาตุเป็นเหมือนยาพิษเอาเสียหมดในเวลานั้น ไม่อาจเป็นที่พึ่งได้ ปรากฏแต่ท่านพระอาจารย์มั่นองค์เดียวเป็นชีวิตจิตใจเพื่อฝากอรรถฝากธรรม และฝากเป็นฝากตายทุกขณะลมหายใจเอาเลย
    ส่วนพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์สาวก ใจก็ไม่ปรากฏว่าประมาท หากแต่ท่านอยู่ลึกตามความรู้สึกในขณะนั้น ไม่สามารถอาจเอื้อมรื้อฟื้นขึ้นมาเป็นที่พึ่ง และเป็นสักขีพยานได้อย่างใจหวังเหมือนท่านอาจารย์มั่น ซึ่งท่านอยู่ตื้น ๆ ทั้งเห็น ๆ และซึมซาบถึงจิตใจอยู่ทุกขณะที่ฟังท่านอบรมชี้แจงข้ออรรถข้อธรรมในเวลาสงสัยเรียนถามท่าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาชนิดใดที่ตนไม่สามารถแก้ไขได้โดยลำพัง พอแบกมาเรียนถวายท่าน และท่านเมตตาอนุเคราะห์ชี้แจงให้เท่านั้น เป็นตกไปในทันทีทันใด มิได้เผาลนหัวใจอยู่ต่อไปนานเลย
    นี้เป็นจุดที่สลักลึกลงในหัวใจ ทำให้เกิดความกระเทือนใจมากเวลาท่านพลัดพรากจากไป เพราะไม่สนใจคิดว่าจะมีใครแก้ได้นอกจากท่านเท่านั้น แล้วใครจะมามีแก่ใจเมตตาแก่เรา และเราจะมีแก่ใจไปเรียนถามใครเล่า นอกจากนับวันจะนั่งกอดเข่าเฝ้าความโง่และกองทุนของตนอยู่เท่านั้น ไม่มีทางออกอย่างง่าย ๆ เหมือนเวลาอยู่กับท่าน คิดไปเท่าไรก็มีแต่ความอัดอั้นตันใจที่จะหาทางออกโดยลำพังอย่างปลอดภัยไร้ทุกข์ ซึ่งไม่มีทางเอาเลยในความโง่ของตนขณะนั้น มีแต่ความระบมงมทุกข์อยู่ท่าเดียว นั่งอยู่เหมือนคนตายสิ้นท่าแห่งความคิดเพื่อเอาตัวรอด ไม่มีความคิดใดที่จะพาไปสู่ความปลอดโปร่งโล่งใจได้เลย ลืมเหน็ดลืมเหนื่อยลืมเวล่ำเวลา นั่งรำพึงแบบคนตายทั้งที่ยังหายใจอยู่ ในชีวิตของพระเพิ่งมีเพียงครั้งนี้เป็นชีวิต
    ใจที่ขุ่นมัวกลัวทุกข์และว้าวุ่นเอาหนักหนาที่ปราศจากผู้เมตตาช่วยเหลือ เป็นชีวิตที่มืดมิดปิดตาย หาทางออกไม่ได้เอาเลย ตาชำเลืองไปเห็นองค์ท่านที่นอนปราศจากลมหายใจและความรู้สึกใด ๆ ด้วยความสงบทีไร น้ำตาร่วงพรู น้ำตาร่วงพรูอย่างไม่เป็นท่าทุกที ทางภายในลมสะอึกสะอื้นในหัวอกหนุนให้เกิดความตีบตันขึ้นมาปิดคอหอย แทบจะไปเสียในขณะนั้น มีสติระลึกขึ้นมาชั่วขณะว่า เราจะไม่ขาดใจตายไปกับท่านเดี๋ยวนี้เสียหรือ
    พยายามพร่ำสอนตนว่า ท่านตายไปด้วยความหมดห่วงหมดอาลัยอันเป็นเรื่องของกิเลสโดยสิ้นเชิง แต่เราตายไปด้วยความห่วงความอาลัยจะเป็นข้าศึกต่อตัวเอง ความอาลัยเสียดายและความตายของเราไม่เกิดประโยชน์อะไรแก่เราและแก่ท่าน เวลาท่านมีชีวิตอยู่ก็มิได้สั่งสอนให้เราคิดถึงท่านและตายกับท่านแบบนี้ แบบนี้เป็นแบบที่แฝงอยู่กับโลกที่เขาใช้กันตลอดมา แม้จะมีธรรมในใจอันเป็นสาเหตุให้คิดถึงท่าน แต่ก็ยังแฝงอยู่กับแบบของโลกที่เคยใช้กัน จึงไม่ค่อยเป็นประโยชน์สำหรับนักบวช เฉพาะอย่างยิ่งคือตัวเราที่กำลังมุ่งธรรมขั้น….อยู่อย่างเต็มใจจึงไม่ควรคิดอย่างยิ่ง
    พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคต ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ฉะนั้นความคิดถึงแบบนี้จึงยังไม่เข้ากับธรรมเหล่านี้ได้สนิท สิ่งที่จะเข้ากันได้สนิท คือการปฏิบัติตนตามคำสอนที่ท่านอาจารย์สอนไว้แล้วอย่างไรด้วยความถูกต้องแม่นยำ นั่นเป็นความคิดถึงท่านโดยถูกต้อง แม้จะตายเพราะการฝึกทรมานตนตามหลักธรรมก็ชื่อว่าตายอย่างถูกต้อง ควรคิดและปฏิบัติตนตามแบบนี้ จะสมกับว่าเรามาศึกษากับท่านเพื่อเหตุเพื่อผล อย่าทำความอาลัยเสียดายท่านแบบโลกมาขวางธรรม จะเป็นเสี้ยนหนามแก่ตัวเปล่า ๆ จึงพอได้สติสตังคิดน้อมเอาธรรมมายับยั้งชโลมใจที่กำลังถูกมรสุมพัดผันทั้งดวง และพอมีชีวิตรอดมาได้ ไม่จมลงด้วยแบบไม่เป็นท่าเสียแต่ครั้งนั้น
    การจัดงานศพท่านพระอาจารย์
    พอรุ่งเช้าทั้งพระผู้ใหญ่ทั้งข้าราชการทุกแผนกในตัวจังหวัด ทราบข่าวมรณภาพของท่านอาจารย์ ต่างก็รีบออกมากราบเยี่ยมศพท่าน และปรึกษาหารือกิจการเกี่ยวกับศพท่านว่าจะควรปฏิบัติอย่างไร เพื่อความเหมาะสมและเป็นการถวายเกียรติโดยควรแก่ฐานะ ที่ท่านเป็นพระอาจารย์องค์สำคัญที่ประชาชนเคารพเลื่อมใสมากแทบทั่วประเทศไทย พร้อมกับนำเรื่องท่านไปออกข่าวทางวิทยุและหนังสือพิมพ์ เพื่อประชาชนที่เป็นลูกศิษย์และท่านที่เคารพเลื่อมใสในท่าน ซึ่งอยู่ในที่ต่าง ๆ ทั้งใกล้และไกลได้ทราบโดยทั่วกัน พอข่าวท่านมรณภาพกระจายไปถึงไหน ทั้งประชาชนและพระเณรทั้งใกล้และไกล ต่างพากันหลั่งไหลมากราบเยี่ยมศพท่านถึงที่นั้นมิได้ขาด นับแต่วันมรณภาพจนถึงวันถวายฌาปนกิจศพท่าน ทั้งที่มากลับและมาค้างคืน โดยมากที่มาจากทางไกลก็จำต้องค้างคืน เพราะการคมนาคมไม่ค่อยสะดวกเหมือนทุกวันนี้
    วัตถุไทยทานที่ต่างท่านต่างนำมาถวายบูชาท่านมีมากต่อมาก จนเหลือหูเหลือตาไม่อาจพรรณนานับได้ นับแต่วันท่านเริ่มออกมาพักที่วัดบ้านภู่ อำเภอพรรณานิคม เครื่องไทยทานที่มีผู้ศรัทธาในท่านนำมาถวายบูชามิได้ขาดเลย เหมือนน้ำเหมือนท่าที่ไหลรินในฤดูฝนฉะนั้น ตามปกติเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่เป็นผู้มีอติเรกลาภมากอยู่แล้ว ไม่ว่าท่านจะพักในป่าในเขาหรือในที่เช่นไร ย่อมมีเทวบุตรเทวธิดาผู้ใจบุญ พยายามขวนขวายและด้นดั้นซอกซอนเข้าไปถวายท่านจนได้
    ปกตินิสัยท่านเป็นนักเสียสละอยู่แล้ว มีมาได้มาเท่าไร ท่านบำเพ็ญทานสงเคราะห์ไปเรื่อย ๆ ไม่มีคำว่าตระหนี่ถี่เหนียวหรือเสียดาย ไม่ว่าวัตถุชนิดไร มีราคาต่ำหรือสูง ท่านให้ทานได้เสมอกันหมด พูดถึงความจนของพระก็น่าจะไม่มีท่านผู้ใดจนไปกว่าท่าน การได้มาก็รู้สึกเด่นอยู่มาก แต่ทางเข้าคือได้มากับทางออกคือการบริจาคทาน รู้สึกกว้างเท่ากัน หรือทางออกอาจกว้างกว่าเสียอีก เราพอทราบได้ เวลาได้มาแล้วไม่กี่วันท่านให้ทานไปหมด เวลาไม่มีมาแต่บางโอกาสท่านอาจคิดอยากสงเคราะห์ผู้อื่นอยู่บ้างตามนิสัย เป็นเพียงท่านไม่ออกปากพูดเท่านั้น ท่านไปพักที่ใดวัดแถวใกล้เคียงจะได้รับการสงเคราะห์โดยทั่วถึง ฉะนั้น แม้ท่านมรณภาพแล้ว ข่าวไปถึงไหนศรัทธาญาติโยมก็มักจะมาถึงนั้น พร้อมทั้งเครื่องบริจาคติดตัวมาด้วย เวลาตั้งศพท่านไว้ศาลาวัดสุทธาวาส จึงมีท่านผู้ศรัทธามาบริจาคทำบุญมิได้ขาด
    ศพท่านทั้งฝ่ายพระผู้ใหญ่และข้าราชการเห็นต้องกันว่า ควรเก็บไว้จนถึงเดือนสามข้างขึ้น คือต้นปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ค่อยถวายฌาปนกิจศพท่าน ด้วยเหตุนี้จึงได้พร้อมกันจัดหีบถาวรเพื่อบรรจุศพท่าน
    ในวันต่อมาเวลาบ่าย ๔ โมง ประชาชน พระ เณรจำนวนมากมายพร้อมกันสรงน้ำศพท่าน เสร็จแล้วใช้ผ้าขาวพับห่อพันองค์ท่านหลายชั้น ภายนอกจีวรที่ครองถวายเรียบร้อยแล้วอาราธนาเข้าในหีบศพถาวร หลังจากนั้นคณะศรัทธามากท่าน มีท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์เป็นประธาน ปรึกษากันตกลงจัดให้มีการสวดมนต์ถวายท่านทุกคืน และมีการแสดงธรรมด้วยในวาระเดียวกัน ส่วนหีบศพท่านด้านหน้าปิดด้วยกระจก เพื่อท่านผู้มาแต่ไกลยังไม่เห็นองค์ท่าน ประสงค์อยากดูย่อมเป็นความสะดวก ไม่เสียใจว่ามาถึงแล้วไม่ได้เห็นท่าน
    การสวดมนต์ถวายท่าน มีประชาชนและพระเณรมาร่วมพิธีวันละมาก ๆ งานคราวนี้ได้เห็นน้ำใจพี่น้องชาวสกลนครเรา ทั้งท่านข้าราชการทุกแผนก ตลอดพ่อค้าประชาชนทั่วหน้ากันที่มีศรัทธาแข็งแรงและห้าวหาญในการบริจาค และเอาการเอางานในธุระหน้าที่ไม่มีความย่อท้ออ่อนแอเลย นับแต่วันท่านอาจารย์ไปถึงและมรณภาพจนถึงวันงานถวายฌาปนกิจศพท่าน พี่น้องชาวสกลนครเรา ต่างวิ่งเต้นขวนขวายที่จะให้พระเณรได้รับความสะดวกในปัจจัยสี่ และกิจการใหญ่โตที่ขวางหน้าอยู่ให้สำเร็จไปด้วยดีและมีเกียรติ โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยและสิ้นเปลืองใด ๆ ทั้งสิ้น
    พระมากมายที่มากราบนมัสการเยี่ยมศพท่านอาจารย์ในระหว่างก่อนจะถึงวันงานเป็นเวลาสามเดือน และพระเณรอยู่ประจำเพื่อดูแลกิจการจำนวนเป็นร้อยขึ้นไป พี่น้องทั้งหลายมิได้ย่อท้อ ทั้งผู้ใหญ่ผู้น้อยต่างพร้อมใจกันมีศรัทธาใส่บาตร จนกว่าพระเณรจำนวนมากจะผ่านไปหมดทุกองค์แทบเป็นลม แม้เช่นนั้นก็ไม่ยอมลดละความเพียร คงพร้อมกันพยายามโดยสม่ำเสมอ อาหารบิณฑบาตไม่เคยบกพร่องเลย มีแต่เหลือเฟือตลอดสาย ไม่ว่าพระเณรจะมาเพิ่มมากเพียงไร ไม่มีวิตกวิจารณ์ว่าอาหารจะบกพร่องขาดเกิน ผู้เขียนเห็นด้วยตาตัวเองตลอดงาน จึงอดที่จะจารึกความดีงามและความพร้อมเพรียงสามัคคีของพี่น้องลงสู่จิตใจอย่างลึกไม่มีวันหลงลืมมิได้
    ผู้เขียนไม่นึกไม่ฝันว่าจะได้เห็นความอดทน ความทนทาน ความเสียสละทุกด้านของพี่น้องดังกล่าวขนาดนี้ พอเห็นแล้วถึงใจจำติดตาติดใจไม่ลืมเลย จึงขอชมเชยสรรเสริญพี่น้องชาวสกลนครเราไว้ในที่นี้ด้วยว่า เป็นศรัทธาแม่เหล็กไม่มีย่อหย่อนอ่อนกำลังต่อภาระหน้าที่ทุกด้านในการนี้ ผู้เขียนมีความอบอุ่นไว้วางใจอย่างฝังลึกตลอดมา นับแต่ได้เห็นเหตุการณ์สำคัญครั้งนั้นมาแล้วด้วยตาตัวเอง จึงขอจารึกไว้ในใจตลอดจนอวสาน ไม่มีวันหลงลืมเลย
     
  6. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    พระเณรที่มาช่วยดูแลงานที่ควรทำเพื่อเตรียมรับท่านที่มาในงาน โดยมีฆราวาสญาติโยมเป็นแรงงาน ก็น่าเห็นใจทั้งสองฝ่าย เพราะเพียงระหว่างที่ยังไม่ถึงวันงานก็มีพระเณรมากอยู่แล้ว ยิ่งถึงวันงานเข้าจริง ๆ ได้กะการกันไว้ว่า ทั้งพระเณรและฆราวาสที่จะมาในงานนี้ต้องเป็นจำนวนหมื่นขึ้นไป ฉะนั้นจำต้องพากันเตรียมจัดทำปะรำต่าง ๆ ทั้งที่พัก ทั้งโรงครัวไว้มากเท่าที่จะมากได้ เพื่อความสะดวกในงาน ซึ่งเป็นงานใหญ่และมีประชาชนจะมาร่วมเป็นจำนวนมาก โดยเริ่มงานตั้งแต่ท่านเริ่มมรณภาพไปจนถึงวันงานก็พอดี
    พอจวนวันงานจะมาถึง พระเณรและประชาชนนับวันหลั่งไหลมาทุกทิศทุกทางทั้งใกล้ทั้งไกล จนเจ้าหน้าที่คอยต้อนรับแทบเป็นลม รับไม่หวาดไม่ไหว จวนวันเข้าเท่าไรยิ่งล้นไหลกันมา จนหาที่พักให้ไม่ได้พอกับจำนวนคนและพระเณรที่มา พอถึงวันงานเข้าจริง ๆ บริเวณวัดทั้งกุฎี ทั้งป่ากว้าง ๆ ในวัดเต็มไปด้วยพระเณรที่มาจากที่ต่าง ๆ มองดูกลดขาวเปรี๊ยะไปทั้งป่า เฉพาะภายในวัดสุทธาวาสมีพระเณรทั้งหมดในวันงานกว่า ๘๐๐ ที่พักอยู่ตามวัดต่าง ๆ พอไปมาหาสู่งานได้สะดวกมีจำนวนมากพอดู
    เมื่อรวมพระเณรที่มาในงานทั้งพักในวัดและนอกวัดมีจำนวนกว่า ๑,๐๐๐ รูป ส่วนฆราวาสญาติโยมที่พักอยู่ในวัดก็นับไม่ไหว เพราะเหลือหูเหลือตาที่จะนับอ่านได้ ที่พักอยู่ตามร่มไม้ทุ่งนาก็มีแยะ ที่พักอยู่ในตัวเมืองก็มาก ตามโรงแรมต่าง ๆ เต็มไปหมด จนไม่มีโรงแรมให้พักพอกับจำนวนคน เวลามารวมในงานแล้วนับไม่ได้ เพียงคาดคะเนเอาประมาณหลายหมื่น แต่แปลกและน่าอัศจรรย์อยู่อย่างหนึ่ง ที่ไม่มีเสียงดังสมคนมากมายเหมือนงานทั้งหลายที่เคยมีกัน ได้ยินเฉพาะเครื่องกระจายเสียงที่ทำการโฆษณาประจำงานในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวกับงานของวัดเท่านั้น
    งานนี้ไม่มีมหรสพคบงันใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะเป็นงานกรรมฐานล้วน ๆ เครื่องไทยทานที่ประชาชนต่างมีศรัทธานำมาสมโภชโมทนาช่วยเหลือในงานนี้ อยากจะพูดว่า กองเท่าภูเขาลูกย่อย ๆ เรานี่เอง ข้าวกี่ร้อยกระสอบ อาหารกี่สิบกี่ร้อยรถยนต์ที่ต่างท่านต่างขนมา มาด้วยกำลังศรัทธาอย่างไม่อัดไม่อั้น ผ้าที่นำมาเพื่อถวายบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลถวายท่านอาจารย์ก็อยากจะพูดว่า กองใหญ่ยิ่งกว่าโรงงานทอผ้าเสียอีก ซึ่งผู้เขียนก็ไม่เคยไปเห็นโรงงานทอผ้าเลย ไม่ทราบว่าใหญ่โตขนาดไหน แต่กองผ้าของคณะศรัทธาทั้งแผ่นดินที่ต่างท่านต่างนำมานี้รู้สึกมากกว่านั้น จึงกล้าเดาด้วยความกล้าหาญไม่กลัวผิด
    ตอนนี้ขออภัยท่านผู้อ่านมาก ๆ ด้วยผู้เขียนชักเพ้อไป เพราะความภูมิใจในไทยทานของท่านนักใจบุญทั้งหลาย ไม่นึกว่าคนไทยเราจะเป็นนักใจบุญถึงขนาดนั้น เห็นเครื่องแสดงน้ำใจออกมาแล้วจึงอัศจรรย์ท่านศรัทธาทั้งหลายมาจนบัดนี้ ว่าคนไทยเราเป็นนักเสียสละ นักสังคหวัตถุคือนักให้ทานอย่างไม่อั้นไม่เสียดาย ฉะนั้น เมืองไทยเราแม้จะเป็นเมืองเล็กในสายตาของเมืองใหญ่ทั้งหลาย แต่การเสียสละให้ทานด้วยศรัทธาและด้วยความเมตตานี้ แม้แต่เมืองใหญ่ ๆ ก็สู้ไม่ได้ สมกับเมืองไทยเป็นเมืองพุทธศาสนาที่สั่งสอนคนให้มีความเมตตาต่อกัน เมืองไทยเราจึงเป็นเมืองของคนมีอัธยาศัยกว้างขวาง ไม่คับแคบตีบตันตลอดมาแต่ดึกดำบรรพ์
    งานนี้ก็เช่นกัน เป็นงานที่สมบูรณ์พูนผลเสียทุกอย่าง จากบรรดาศรัทธาผู้เสียสละทั้งหลาย ต่างมาบริจาคให้ทานอย่างไม่อั้น หม้อข้าวหม้อแกง อาหารคาวหวานต่าง ๆ เห็นแล้วเลยน่ากลัวมากกว่าจะน่าฉัน เพราะใหญ่โตมาก หิ้วคนเดียวไม่ไหว ต้องช่วยกันหิ้วหรือหามเข้ามาสู่ปะรำที่พระท่านฉัน
    ทำเลที่ฉันต้องจัดหลายแห่ง แห่งละประมาณ ๓๐–๔๐ องค์บ้าง ๕๐–๖๐ องค์บ้าง ทั่วไปหมด ตามกุฎีพระเถระบ้าง แห่งละ ๙–๑๐ องค์ แต่สะดวกในการจัดแจกอาหารที่ไม่ต้องจัดสำรับให้วุ่นวายและสิ้นเปลืองสำรับและถ้วยชาม เพราะมีแต่พระกรรมฐานเสียมากราว ๙๐ เปอร์เซ็นต์ ที่ต้องจัดสำรับถวายก็มีพระผู้ใหญ่ฝ่ายปกครองและพระผู้ติดตามไม่มากนัก เมื่อยกหม้อข้าวหม้อแกงถวายพระท่านแล้วก็จัดใส่บาตรกันเอง คาวหวานรวมลงในบาตรใบเดียวเท่านั้น เพราะปกติท่านเคยฉันสำรวมอยู่แล้ว
    อาหารมีมากจนเหลือเฟือ ตลอดงานไม่มีอดอยากขาดแคลนเลย ด้วยอำนาจศรัทธาของพุทธศาสนิกชน และอำนาจบารมีท่านอาจารย์มั่นท่านคุ้มครองรักษา ไม่เคยปรากฏว่ามีการดื่มเหล้าเมาสุราและทะเลาะวิวาทฆ่าตี และฉกลักขโมยปล้นจี้สิ่งของของกันและกันเลย
    เมื่อเก็บสิ่งของที่มีผู้ทำตกหายได้ ก็นำไปมอบกองโฆษณาให้ประกาศหาเจ้าของ ถ้าเป็นสิ่งของมีค่า ผู้โฆษณาไม่บอกรูปลักษณะ เป็นเพียงประกาศให้ทราบว่าของมีค่าของท่านผู้ใดตกหายเชิญมาติดต่อแสดงหลักฐานที่กองโฆษณา ถ้ารูปลักษณะตรงกันแล้วก็มอบให้เจ้าของไป ถ้าเป็นสิ่งของธรรมดาก็บอกชื่อสิ่งของหรือรูปลักษณะให้เจ้าของมารับเอาไป ถ้าเป็นเงินก็บอกเพียงว่าเงินตกหาย ไม่บอกจำนวนหรือสิ่งบรรจุเงิน เช่น กระเป๋า เป็นต้น ให้เจ้าของมาบอกจำนวนและสิ่งบรรจุเอาเอง เมื่อบอกได้ถูกต้องก็มอบให้เจ้าของไปตามธรรมเนียม
    งานนี้มี ๓ คืนกับ ๔ วัน และงานนี้เป็นงานที่แปลกและอัศจรรย์เป็นพิเศษ คือคนมามากต่อมากแต่ไม่มีการส่งเสียงหนึ่ง ไม่ทะเลาะวิวาทฆ่าตีกันหนึ่ง ไม่มีการขโมยของกันล้วงกระเป๋ากันหนึ่ง เก็บสิ่งของมีค่าได้ยังอุตส่าห์นำไปมอบให้เจ้าหน้าที่กองโฆษณาหนึ่ง ไม่มีคนดื่มเหล้าเมาสุรามาอาละวาดเกะกะในบริเวณงานหนึ่ง พระเณรก็สงบเสงี่ยมงามตาน่าเคารพเลื่อมใสหนึ่ง แต่ละข้อยากจะมีในงานหนึ่ง ๆ จึงอดจะเรียกว่าเป็นงานแปลกมิได้
    ตอนกลางคืนราว ๒ ทุ่มมีการสวดมนต์และมาติกาบังสุกุลถวายท่านทุกคืน และมีการแสดงธรรมทุกคืน ตอนเช้าหลังจากเสร็จแล้วมีการมาติกาบังสุกุลไปเรื่อย ๆ ไม่ค่อยมีกำหนดเวลาตายตัวนัก เพราะศรัทธาและพระเณรมีมาก ถ้าจะรอทำตามเวลาคงไม่ทันกับเหตุการณ์ ดังนั้นจึงเปิดโอกาสให้ตามแต่ท่านผู้ใดจะมีศรัทธานิมนต์พระมากน้อยได้ตามกำลังและเวลาที่ต้องการ การนิมนต์พระต้องผ่านทางกองโฆษณาทำหน้าที่แทน ถ้าจะเที่ยวตามนิมนต์เป็นไม่เจอพระองค์ที่ต้องการ เพราะพระมากต่อมาก ที่จำต้องนิมนต์ทางเครื่องกระจายเสียงโดยเห็นว่าเป็นความสะดวกกว่า เพราะรายชื่อของพระเณรที่มาในงาน ทางกองบัญชีพระได้จดชื่อและฉายาท่านไว้พร้อมแล้วแต่ขณะท่านมาถึงวัดทีแรก ทั้งนี้เนื่องจากกองโฆษณาได้ประกาศอยู่เสมอว่า พระเณรอาคันตุกะที่เข้ามาในงานขอนิมนต์ไปแจ้งรายชื่อและฉายาที่กองโฆษณาทุกรูปไป มีเจ้าหน้าที่เตรียมรอคอยอยู่พร้อมแล้ว เพื่อทราบจำนวนพระเณรที่มาในงานนี้ เวลานิมนต์ในกิจธุระจะได้ถูกกับชื่อและฉายาของพระเณรองค์นั้น ๆ
    การบิณฑบาตของพระในงานนี้ นอกจากวันงานท่านไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ แถวนั้นและไปในเมือง วันงานคณะศรัทธาทั้งหลายอาราธนานิมนต์ท่านรับบิณฑบาตตามบริเวณงาน นอกวัดบ้าง ในวัดบ้าง หลายแห่งที่ศรัทธาเตรียมใส่บาตรท่าน งานนี้ท่านทำพิธีเปิดมีกำหนด ๓ คืนกับ ๔ วัน ซึ่งเริ่มแต่วันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๓ ถวายฌาปนกิจศพท่านคืนของวันขึ้น ๑๓ ค่ำราว ๖ ทุ่ม พอรุ่งเช้าของวันขึ้น ๑๔ ค่ำก็เป็นวันเก็บอัฐิท่าน ส่วนวันที่และเดือนอะไรนั้นจำไม่ค่อยได้ กรุณานำไปเทียบกับปฏิทินร้อยปีอาจพอทราบได้
    การดำเนินงานเกี่ยวกับมาติกาบังสุกุลอุทิศถวายท่านนั้น เริ่มมาแต่วันเริ่มงานเรื่อยมาทั้งกลางวันกลางคืนไม่มีกำหนดตายตัว ดังที่เรียนมาบ้างแล้ว เพราะท่านที่ศรัทธาจะถวายบังสุกุลมีมากต่อมาก จะรอให้ทำตามกำหนดเวลารู้สึกไม่สะดวก เพราะท่านที่มาในงานโดยมากมาจากที่ไกล ๆ กันทั้งนั้น เมื่อมาถึงควรจะทำได้เมื่อไร ควรเปิดโอกาสให้บำเพ็ญตามความสะดวก ท่านผู้ใดต้องการพระหรือเณรจำนวนเท่าไร ก็ติดต่อกับหน่วยโฆษณาให้อาราธนานิมนต์ให้ รู้สึกเป็นความสะดวกและได้ถือปฏิบัติทำนองนี้ตลอดงาน
    ส่วนเมรุเป็นที่บรรจุศพท่าน ได้จัดขึ้นในบริเวณที่พระอุโบสถอยู่เวลานี้ รู้สึกสวยงามมาก สมเกียรติ ทำเป็นจตุรมุข มีลวดลายแปลกประหลาดมาก ผู้เขียนไม่ชำนาญในรูปลักษณะตลอดชื่อของลวดลายต่าง ๆ ที่นายช่างผู้ชำนาญงานทำถวายท่าน ถ้าจำไม่ผิดวันขึ้น ๑๑ ค่ำ เป็นวันอาราธนาท่านไปสู่เมรุ ก่อนหน้าเล็กน้อยบรรดาลูกศิษย์ทั้งพระและประชาชนได้พร้อมกันทำวัตรขอขมาโทษท่านเป็นที่เรียบร้อย หลังจากนั้นก็อาราธนาไปสู่เมรุ ตอนนี้คงอดทนไม่ไหว ได้เกิดโกลาหลวุ่นวายกันขึ้นอีกจนได้ คราวนี้เป็นคณะลูกศิษย์ฝ่ายฆราวาสหญิงชาย พอเริ่มอาราธนาท่านเคลื่อนที่ไปสู่เมรุ ต่างมีอากัปกิริยาที่ไม่ค่อยแจ่มใสขึ้นมาในขณะนั้น น้ำหูน้ำตากิริยาเศร้าโศกและเสียงร้องไห้เริ่มแสดงออกเป็นลำดับ
    นับแต่ขณะท่านเคลื่อนจากที่ไปสู่เมรุรู้สึกวุ่นวายสับสนพอดู ในสังคมแห่งความวิโยคพลัดพรากจากไปแห่งท่านผู้มีบุญหนาเมตตาราวมหาสมุทรสุดขอบเขตไม่มีประมาณ บรรดาลูกศิษย์บริวารต่างร้องไห้ด้วยความอาลัยเสียดาย เพราะครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายในการพลัดพรากจากร่างกายหายสูญความสมมุติที่เคยก่อภพก่อชาติ พาให้ได้นามว่าเกิด แก่ เจ็บ ตาย ต่อกันเป็นสายยาวเหยียดไม่มีเบื้องต้น เบื้องปลาย ท่านอาจารย์ได้ทำลายกงกรรมของวัฏจักรเสียสิ้นแล้ว บัดนี้ก้าวเข้าสู่เมืองแก้วอันประเสริฐคือพระนิพพาน ไม่มีวันกลับมาวุ่นวายกับกองสังขารอันเป็นสถานที่หลั่งน้ำตาอีกต่อไป
    บรรดาลูกศิษย์ที่ร้องไห้ถึงท่านครั้งนี้ เพราะความเคารพรักเสียดายที่ได้เคยประสิทธิ์ประสาทธรรมโสรจสรงประพรมดวงใจให้หายง่วงเหงาเมามัว พอมีสติระลึกบาปบุญได้ก็ระลึกถึงพระคุณท่าน อยากได้ไว้เป็นแก้วบูชาเป็นขวัญตาขวัญใจต่อไปอีก ต่อเมื่อสุดวิสัยจะห้ามได้ จึงขอถวายน้ำใจเป็นความอาลัยรักด้วยน้ำตาเป็นเครื่องสักการบูชาว่า คณะลูกศิษย์เหล่านี้บุญน้อย แต่ยังมีวาสนาบารมีได้มาพบเห็น ในคราวพลัดพรากจากไปของท่านผู้ทรงมหาคุณบุญหนักศักดิ์ยิ่ง เป็นผู้สิ้นกิเลสถึงความวิเศษศักดิ์สิทธิ์สมัยปัจจุบันที่แสนหาได้ยาก นาน ๆ ถึงจะได้พบเห็นเป็นขวัญตาขวัญใจที่ใฝ่ฝันมานานสักองค์หนึ่ง
    แม้ท่านได้ผ่านพ้นกองทุกข์ในสงสารถึงพระนิพพานอันเป็นบรมสุขแล้ว ก็ขออาราธนาเมตตาโปรดโสรจสรงมวลสัตว์ผู้ยากจน ซึ่งกำลังตกอยู่ในความสุดวิสัย ได้แต่พากันร้องไห้พิไรรำพันถึงอยู่เวลานี้บ้างเถิดเจ้าพระคุณบุญล้นฝั่ง ซึ่งฝังเพชรไว้ในหัวใจ เมื่อใดพวกข้าพเจ้าทั้งหลายจะพอมีทางรอดตาข่ายแห่งมาร ได้มีวาสนาถึงพระนิพพานตามพระคุณท่านก็ไม่มีทางทราบได้ เพราะกรรมหนักกรรมหนาเกิดมาอาภัพวาสนา จึงเพียงได้มาชมบารมีพระคุณท่านเป็นขวัญใจบูชาไว้ด้วยน้ำตาดังที่เป็นอยู่ขณะนี้แล
    เหล่านี้เป็นคำร้องไห้วิงวอนปรารถนาของพุทธบริษัททั้งหลาย ที่แสนอาลัยเสียดายในความพลัดพรากจากไปของท่าน จนศพท่านที่อาราธนาเข้าสู่เมรุเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อาการที่น่าเวทนาสงสารเหล่านั้นจึงค่อย ๆ สงบลง
    พอได้เวลาที่กำหนดไว้ ๖ ทุ่มคือเที่ยงคืน ก็พร้อมกันเริ่มถวายเพลิงจริง แต่ผู้คนในขณะนั้นประหนึ่งจะล้นแผ่นดินแออัดยัดเยียดเบียดเสียดกันจนจะหาทางเดินไม่ได้ เพราะต่างคนต่างมุ่งอยากดูอยากเห็นในวาระสุดท้ายเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ใจไปนาน ฉะนั้นจึงพากันเฝ้ารออยู่จนถึงเวลาที่กำหนดไว้ พอถึงเวลาถวายเพลิงท่านจริง ขณะนั้นปรากฏมีเมฆก้อนหนึ่งขนาดย่อม ๆ ไหลผ่านเข้ามาและโปรยละอองฝนมาเพียงเบา ๆ พร้อมกับขณะที่ไฟเริ่มแสดงเปลวและโปรยอยู่ประมาณ ๑๕ นาที เมฆก็ค่อย ๆ จางหายไปในท่ามกลางแห่งความสว่างแห่งแสงพระจันทร์ข้างขึ้น
    จึงเป็นที่น่าประหลาดและอัศจรรย์อย่างสุดจะคาดจะเดาได้ถูก ว่าทำไมจึงดลบันดาลให้เห็นเป็นความแปลกหูแปลกตาขึ้นมาในท่ามกลางความสว่างแห่งแสงเดือนเช่นนั้น เพราะปกติฟ้าก็แจ้งขาวดาวสว่างในฤดูแล้งธรรมดาเราดี ๆ นี่เอง แต่พอถึงเวลาเข้าจริง ๆ มีเมฆลอยมาและมีละอองฝนโปรยปรายลงมา ทำให้แปลกตาสะดุดใจระลึกไว้ไม่ลืมจนบัดนี้ เหตุการณ์ทั้งนี้บรรดาท่านที่อยู่ในวงงานขณะนั้น ไม่มีใครกล้าปฏิเสธได้ว่าไม่จริง เรื่องมิได้เป็นไปในทำนองนั้น เป็นแต่ผู้เขียนอุตริขึ้นมาเอง เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ ผู้เขียนประสบมาเองอย่างประจักษ์ตาและสะดุดใจตลอดมา พอท่านที่อยู่ในวงงานขณะนั้นได้อ่านตอนนี้ อย่างไรต้องเพิ่มความจำและความสะดุดใจขึ้นมาในทันทีว่า เหตุการณ์ได้เป็นอย่างนั้นจริง ๆ
    การถวายเพลิงท่านมิได้ถวายด้วยฟืนหรือถ่านดังที่เคยทำกันมา แต่ถวายด้วยไม้จันทน์ที่มีกลิ่นหอม ซึ่งบรรดาศิษย์ท่านผู้เคารพเลื่อมใสในท่าน สั่งมาจากฝั่งแม่น้ำโขงประเทศลาวเป็นพิเศษจนเพียงพอกับความต้องการและผสมด้วยธูปหอมเป็นเชื้อเพลิงตลอดสาย ผลเป็นความเรียบร้อยเช่นเดียวกับที่เผาด้วยฟืนหรือถ่าน นับแต่ขณะเริ่มถวายเพลิงท่านได้มีกรรมการทั้งพระและฆราวาสคอยดูแลกิจการอยู่เป็นประจำตลอดงานนั้น และมีการรักษาอยู่ตลอดไป จนถึงเวลาเก็บอัฐิท่าน
    เวลา ๙ น.ของวันรุ่งขึ้นก็เริ่มเก็บอัฐิท่านและแจกไปตามจังหวัดต่าง ๆ ที่มีผู้มาในงานนี้ เพื่อนำไปเป็นสมบัติกลาง ๆ โดยมอบกับพระในนามของจังหวัดนั้น ๆ เชิญไปบรรจุไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ตามแต่จะเห็นควร ส่วนประชาชนก็มีการแจกเหมือนกัน แต่คนมากต่อมากไม่อาจปฏิบัติได้โดยทั่วถึง เท่าที่จำได้ผู้มาในนามของจังหวัดนั้น ๆ และได้รับแจกอัฐิท่านไปมี ๒๐ กว่าจังหวัด
    ตอนเก็บอัฐิท่านพึ่งผ่านไปนั้น ก็น่าสงสารประชาชนอย่างพูดไม่ออกบอกไม่ถูกอีกวาระหนึ่ง ซึ่งทำให้ประทับตาประทับใจอย่างมาก คือพอคณะกรรมการเก็บอัฐิท่านเสร็จเรียบร้อยลงเท่านั้น ผู้คนชายหญิงต่างชุลมุนวุ่นวายกันเข้าเก็บกวาดเอาเถ้าและถ่านที่เศษเหลือจากที่เก็บแล้วไปสักการบูชา ได้คนละเล็กละน้อย จนสถานที่นั้นเตียนเกลี้ยงยิ่งกว่าล้างด้วยน้ำและเช็ดถูให้เกลี้ยงเสียอีก พอได้ออกมาต่างคนต่างยิ้มแย้มแจ่มใสดีใจอย่างบอกไม่ถูก เหมือนตัวจะเหาะลอยในขณะนั้น มองดูในมือต่างคนต่างกำแน่นราวกับจะมีใคร ๆ มาแย่งชิงเอาดวงใจในกำมือไปเสียฉะนั้น นี้เป็นเหตุการณ์ที่น่าสงสารสังเวชอีกเหตุการณ์หนึ่ง ไม่ด้อยกว่าเหตุการณ์ทั้งหลายที่ผ่านมาในงานท่านอาจารย์มั่นครั้งนี้
    แล้วยังครั้งสุดท้ายแถมเข้าไปอีก คือก่อนจะพากันกลับไปถิ่นฐานบ้านเรือนของตนๆ โดยมากพากันไปกราบลาท่านอาจารย์ที่เมรุ ซึ่งเป็นความมั่นว่า ท่านย้ายจากศาลาไปอยู่เมรุแล้ว ขณะก้มกราบท่านถึงวาระที่สามจบลงต่างพากันนั่งนิ่งไปครู่หนึ่ง เป็นลักษณะรำพังรำพันด้วยความอาลัยเสียดายอย่างสุดซึ้ง แล้วแสดงอาการไว้อาลัยด้วยน้ำตาสะอึกสะอื้นอย่างน่าสงสาร คิดถึงใจเราใจท่านที่มีความรู้สึกคิดนึกและกตัญญูกตเวทีในท่านผู้ทรงพระคุณอย่างล้นพ้น ก็อดที่จะกลั้นความอาลัยเสียดายไว้ไม่ได้เช่นเดียวกัน พอคณะนั้นผ่านออกมาด้วยความเศร้าโศกหน้าชุ่มด้วยน้ำตา คณะนี้ก็ก้าวเข้าไปกราบลาท่าน ด้วยกิริยาท่าทางของคนที่มีความจงรักภักดีและเศร้าโศก เพราะความวิโยคพลัดพรากแห่งสิ่งที่เทิดทูนบนหัวใจ ได้จากไปไม่มีวันกลับคืน เป็นความสับเปลี่ยนเวียนกันไปมาอยู่ที่บริเวณเมรุท่านเป็นชั่วโมง ๆ กว่าเรื่องที่น่าสงสารสังเวชจะสงบลง จึงทำให้ปลงธรรมสังเวชอย่างติดตาติดใจตลอดมา
    รวมความแล้วใจเป็นธรรมชาติที่ใหญ่โตกว่าอะไรในโลก เรื่องและอาการทั้งหลายที่เป็นมาเหล่านี้ เป็นสาเหตุมาจากใจอันเป็นรากฐานสำคัญ ประชาชนพระเณรจำนวนหมื่น ๆ ที่มาในงานนี้ก็เรื่องหัวใจพาให้มา ท่านอาจารย์ที่เป็นจุดดึงดูดจิตใจของประชาชน ก็ขึ้นอยู่กับท่านเป็นใจที่บริสุทธิ์หรือธรรมทั้งดวง ซึ่งใคร ๆ ปรารถนากันทั่วโลก จึงเป็นเครื่องดึงดูดจิตใจของคนผู้รู้จักบุญบาปให้คิดอยากมากราบไหว้บูชาท่าน แม้ไม่ได้ส่วนกุศลชนิดตักตวงเอาตามใจหวัง ก็ยังพอเป็นอุปนิสัยปัจจัยสืบต่อภพแห่งความเป็นมนุษย์อย่าให้ขาดสูญสิ้นซากไปเสียทีเดียว ยังดีกว่าเป็นคนหน้าด้านไปแย่งเกิดในกำเนิดสัตว์นรกและสัตว์เดียรัจฉานเป็นร้อยเป็นพันชนิดไม่มีประมาณ เสวยความทุกข์ทรมานในภพนั้น ๆ ตลอดอนันตกาล ไม่มีวันหลุดพ้นไปได้ ซึ่งเป็นการเกิดมาเหยียบย่ำซ้ำเติมตัวเองไม่มีชิ้นดี พอเป็นที่ยึดที่อาศัยได้ในภพหนึ่ง ๆ บ้างเลย ที่เรียกว่าเป็นคนหมดหวัง
    ด้วยเหตุนี้เรื่องในสากลโลกจึงรวมลงที่ใจ เป็นผู้ควบคุมเครื่องจักรน้อยใหญ่ให้สิ่งทั้งหลายหมุนไปตามวิถีทางเดินของใจ ที่หนักไปในทางใด ถ้าใจหนักไปในทางดีทุกสิ่งที่ทำลงไปย่อมให้ผลเป็นสุขโดยสม่ำเสมอทั้งปัจจุบันและอนาคต ปรากฏแต่ความมีหวังและสมหวังเรื่อยไปไม่ขัดสนจนตรอก จะออกซอกไหนซอยใดก็เป็นซอกเป็นซอยที่คอยอำนวยความสะดวกปลอดภัยให้ผู้เป็นเจ้าของได้รับความสุขความเจริญเสมอไป จนถึงแดนแห่งความสมหวัง คือเกิดทุกภพทุกชาติมีแต่ความสมหวังตลอดไป ดังครูบาอาจารย์ที่มีคนเคารพเลื่อมใสและระลึกถึงท่านเป็นขวัญใจอยู่เวลานี้
    เพราะใจท่านเป็นใจกุศลแต่ขั้นต้นจนถึงขั้นสูงสุด ที่คนทั้งหลายสรรเสริญท่านอย่างสมเกียรติว่าท่านปรินิพพานก็มีอยู่มาก คำว่าปรินิพพานนี้จะมีได้เฉพาะท่านผู้สิ้นกิเลสอาสวะโดยสิ้นเชิงแล้วเท่านั้น ท่านสิ้นความสืบต่อแห่งสังขารไม่มีลมปราณเหมือนเวลายังมีชีวิตอยู่ โลกทั้งหลายเรียกว่า “ตาย”แต่พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ท่านตาย โลกเรียกว่า “ปรินิพพาน” ท่านอาจารย์มั่นก็มีคนถวายเกียรติท่านว่าปรินิพพานมากเหมือนกัน ผู้เขียนไม่มีเหตุผลที่ควรจะนำมาคัดค้าน จำต้องยอมจำนนและอนุโมทนาตามคำที่โลกถวายเป็นเกียรติท่านในวาระสุดท้าย เพราะเท่าที่เคยได้อยู่และรับโอวาทท่านตลอดมาเป็นเวลานานปีพอสมควร ก็ไม่มีที่ค้านธรรมท่านได้เลย นอกจากทำให้ซึ้งใจอย่างบอกไม่ถูก ว่าเป็นอมตธรรมอย่างสมบูรณ์ที่ออกมาจากใจที่บริสุทธิ์จริง ๆ เท่านั้น ฉะนั้นใจประเภทนี้จึงหาไม่มีในโลกมนุษย์ปุถุชนเรา ร้อยทั้งร้อยไม่มีเจอเลย ถ้าต้องการเจอก็จำต้องพยายามชำระแก้ไขใจของปุถุชนให้กลายเป็นใจอริยชนขั้นสุดยอดขึ้นมา ใจดวงนั้นอยู่ที่ไหนก็อยู่อย่างอริยจิตอริยธรรมตลอดเวลาอกาลิโก
    ที่ว่าใจเป็นใหญ่กว่าสิ่งทั้งหลายในโลกนั้น คือใจเป็นผู้ปกครองสมบัติทั้งมวล แต่สิ่งทั้งหลายดังกล่าวดีหรือชั่วต้องขึ้นอยู่กับใจผู้เป็นใหญ่และรับผิดชอบ ถ้าใจพาชั่ว โลกแม้จะใหญ่โตเพียงไรก็มีทางบรรลัยได้อย่างไม่มีปัญหา ดังนั้นใจจึงควรได้รับการอบรมหรือศึกษา พอจะปกครองตัวปกครองโลกให้เป็นไปโดยความสะดวกปลอดภัยเท่าที่ควร ตัวก็เป็นบุคคลน่าอยู่ ไม่เดือดร้อนรำคาญ โลกก็เป็นโลกน่าอยู่ ไม่เป็นโลกที่ยุ่งเหยิงวุ่นวายจนเกินไป
    หลังงานถวายเพลิง เหล่าศิษย์กระจัดกระจาย
    พอถวายเพลิงท่านอาจารย์มั่นผ่านไปแล้ว ปรากฏว่าพระเณรสายของท่านมีความกระวนกระวายระส่ำระสายมากพอดู เพราะปราศจากที่พึ่งที่ยึดทางใจ ระเหเร่ร่อนไปทางทิศใต้ทิศเหนือเหมือนว่าวเชือกขาดอยู่บนอากาศฉะนั้น เพราะความร้อนรุ่มกลุ้มใจเหมือนพ่อแม่ตายจาก มีแต่ลูกกำพร้าตัวเล็ก ๆ ไม่มีความรู้ความสามารถปกครองตนได้ ฉะนั้นวงคณะปฏิบัติสายของท่านรู้สึกสั่นสะเทือนไปมากในระยะที่ผ่านไปใหม่ ๆ กว่าจะจับกันเป็นกลุ่มเป็นกอเป็นหลักเป็นฐานได้ ก็นับว่าพอเห็นโทษแห่งความไม่มีครูอาจารย์มากพอดู ฉะนั้นการผ่านไปของครูบาอาจารย์องค์มีคุณสมบัติสำคัญแต่ละองค์มิใช่เรื่องเล็กน้อย เป็นความสะเทือนในวงพระสงฆ์และผู้ปฏิบัตินั้น ๆ มาก จนอาจพูดได้ว่าแผ่นดินถล่มไปพักหนึ่ง ถ้าคณะลูกศิษย์มีความสามารถตั้งตัวได้ด้วยข้อปฏิบัติและทางจิตใจพอทรงตัวและทรงหมู่คณะไว้ได้ ไม่เดือดร้อนเหลวไหลในกาลต่อไป
    การสูญเสียท่านผู้เป็นหัวหน้าที่ดี ไม่ว่าทางครอบครัว สังคม บริษัทห้างร้าน วงราชการงานแผ่นดินแผนกต่าง ๆ และคณะสงฆ์ ตลอดวงพระปฏิบัติทุก ๆ แขนง ย่อมเป็นความสูญเสียอันใหญ่หลวงไปตาม ๆ กัน ผู้น้อยซึ่งหวังความเจริญก้าวหน้าทั้งปัจจุบันและอนาคต จึงไม่ควรนิ่งนอนใจในการเตรียมตัวเตรียมใจไว้ต้อนรับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะต้องประสบอยู่โดยดีในวันหรือเวลาหนึ่งแน่นอน
    ผู้เขียนได้เห็นโทษครั้งยิ่งใหญ่สมัยท่านพระอาจารย์มั่นมรณภาพผ่านไปเพียงองค์เดียวเท่านั้น แต่ในสายตาและความรู้สึกปรากฏว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องท่านมีความซบเซาเหงาหงอย และอยากจะพูดว่าล้มละลายไปตาม ๆ กันมากมาย ทั้งนักบวชและฆราวาส จนไม่อาจประมาณได้ เช่นเดียวกับสิ่งก่อสร้างที่ส่วนมั่นคงได้ถูกทำลายลง ส่วนอื่น ๆ ก็พลอยเสียหายไปด้วยฉะนั้น
    ผู้เขียนได้รับความกระเทือนใจอย่างหนักมาแต่ครั้งนั้น จึงทำให้หวั่นวิตกต่ออนาคตของพระเณรในวงปฏิบัติที่ขาดครูอาจารย์ผู้ให้ความร่มเย็น ว่าเป็นทางไหลมาแห่งความเสื่อมเสียได้อย่างง่ายดาย ถ้าไม่รีบเร่งตักตวงเสียแต่ขณะนี้ที่กำลังมีครูอาจารย์คอยแนะนำสั่งสอนอยู่ เวลาท่านจากไป ตัวเราเองแม้ยังมีลมหายใจอยู่แต่ไม่มีหลักยึดก็เท่ากับตายทั้งเป็น
    ผู้เขียนได้เคยเห็นโทษของตัวที่ไม่เป็นท่ามาแต่ครั้งนั้นแล้วว่าเหลวจริง ๆ ด้วยมรสุมประดังกันเข้าพัดผันดวงใจ มรสุมลูกหนึ่งพัดมาว่าเราหมดที่พึ่งแล้ว ลูกหนึ่งพัดมาว่าต่อไปนี้เราจะพึ่งใคร ลูกหนึ่งพัดมาว่าท่านไปแล้วสบายหายห่วงส่วนเรายังอยู่แต่ลมหายใจ แต่ใจเหมือนคนตายแล้ว เพราะขาดหลักยึดและขาดอย่างหมดหวังเคว้งคว้างเกาะอะไรไม่ติดเลย ลูกหนึ่งพัดมาว่าอะไร ๆ มันจะสุดจะสิ้นไปตามท่านเสียแล้ว ลูกหนึ่งว่าต่อไปนี้เราจะอยู่กับใคร พ่อก็จากไปเสียแล้ว
    ลูกหนึ่งว่าคราวนี้ถึงคราวล่มจมของเราเสียแล้วหรือ จึงพอจะตั้งไข่พ่อก็มาตายจาก กรรมเราหนักเอาเสียจริง ๆ คราวนี้ ลูกหนึ่งอุทานออกมาว่า โอ้โฮ เจ้ากรรมช่างทรมานคนอนาถาถึงขนาดนี้เชียวหนอ ลูกหนึ่งว่าตายจมแน่แล้วคราวนี้ซึ่งเป็นคราวหัวเลี้ยวหัวต่อเสียด้วย ระหว่างกิเลสกับธรรมกำลังรบกันอย่างเต็มกำลัง มีท่านอาจารย์เป็นผู้เมตตาช่วยอุบายการรบอยู่ทุกเวลา ต่อไปใครจะมีแก่ใจมาเมตตาช่วยเหลือเราอีก เราไม่เคยมีความทุกข์จนหาทางออกไม่ได้เหมือนคราวนี้ นี้เป็นคราวตกนรกหลุมความหมดหวังพัดผันหัวใจให้ขาดดิ้นสิ้นความหมาย ยังไม่ตายแต่ทำให้สิ้นความหวังเสียทุกอย่างในคราวนี้
    ทั้งนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดแก่ผู้เขียนในครั้งท่านอาจารย์มั่นมรณภาพลงไป ทำให้เข็ดหลาบกราบไหว้ ไม่อยากให้วงคณะปฏิบัติต้องประสบความทุกข์ทรมานดังที่เคยประสบมาแล้วทั้งที่ยังไม่มีหลักยึดพอจะพึ่งตัวเองได้ จึงได้พยายามเตือนหมู่คณะเสมอมา กลัวว่าจะนอนหลับทับสิทธิ์ที่ควรจะได้จะถึงจนเกินไป บทเวลาตะวันอัสดงคตแล้วจึงจะวิ่งหาที่พึ่งเพื่อหลบซ่อนผ่อนคลาย กลัวจะตายทั้งเป็นดังที่เคยเห็นมาแล้ว ไม่ประสงค์จะให้หมู่คณะพบเห็นด้วยอีก จึงรีบช่วยตักเตือนให้พากันรีบเร่งความเพียรเวลาเดือนยังสว่างไสว ใจยังกำลังเอางาน สังขารก็กำลังอำนวย แม้เจ้าตัวประสงค์ความร่ำรวยศีลธรรมตลอดมรรคผลนิพพานก็ยังพอทำได้ ไม่เป็นคนทุกข์ไร้เข็ญใจทั้งที่สมบัติมีอยู่เต็มโลกตลอดมา
    อัฐิท่านพระอาจารย์มั่นกลายเป็นพระธาตุ
    เมื่อต่างท่านที่ได้รับแจกอัฐิท่านอาจารย์ไปแล้ว ต่างก็เชิญไปไว้ในสถานที่ควรของตน ๆ เพื่อสักการบูชาแทนองค์ท่าน หลังจากนั้นเรื่องก็ค่อยเงียบหายไป เพราะต่างคนต่างพรากจากกันในคราวเป็นไปสู่ถิ่นฐานบ้านเรือนของตน จนกาลล่วงไปแล้ว ๔ ปี คุณวัน คมนามูล เจ้าของร้านศิริผลพานิชและโรงแรมสุทธิผล จังหวัดนครราชสีมา ไปถวายผ้าป่าจังหวัดสกลนคร ได้รับแจกอัฐิส่วนบนของท่านอาจารย์มั่นชิ้นหนึ่งจากเจ้าอาวาสวัดสุทธาวาส ซึ่งเป็นวัดที่ท่านอาจารย์มั่นมรณภาพ กลับมาถึงบ้านได้เชิญอัฐิชิ้นนั้นรวมลงในผอบอันเดียวกันกับที่บรรจุอัฐิท่านอาจารย์อยู่แล้วแต่สมัยได้รับแจกมาจากงานศพท่าน
    พอเปิดผอบออกเท่านั้น สิ่งที่ไม่เคยคาดฝันก็ปรากฏขึ้นในผอบคือ อัฐิชุดแรกที่ได้รับแจกไปจากงานศพท่านได้กลายเป็นพระธาตุเสียหมด เจ้าของเกิดความอัศจรรย์จนตัวแทบลอย เมื่อเห็นเหตุการณ์เช่นนั้นจึงให้คนรีบไปดูอัฐิส่วนที่เก็บไว้โรงแรมสุทธิผลอีก ที่นั้นก็กลายเป็นพระธาตุเช่นกันอีก รวมทั้งสองแห่งจึงเป็นพระธาตุ ๓๔๔ องค์ ยังเหลือติดผอบอยู่บ้างเป็นผง ๆ เล็กน้อย ต่อมาไม่นานนัก จำนวนผงนั้นก็ได้กลายเป็นพระธาตุเสียจนหมดอีก จึงรวมเป็นพระธาตุจากอัฐิของท่านพระอาจารย์มั่น ๓๔๔ องค์ นี้เป็นรายแรกที่ปรากฏความอัศจรรย์จากอัฐิกลายเป็นพระธาตุ
    จากนั้นเรื่องก็เล่าลือไปทุกหนทุกแห่ง ผู้คนทราบถึงไหนก็มาขอพระธาตุกับคุณวันไปสักการบูชากันถึงนั่น คุณวันเองก็เป็นคนมีนิสัยใจบุญอยู่แล้ว จึงเห็นใจท่านที่มาขอและแจกกันไปคนละเล็กละน้อย คือคนละ ๑ องค์บ้าง ๒-๓ องค์บ้าง ผู้เขียน คุณวันก็ได้กรุณาให้ไปสองครั้ง ครั้งแรก ๕ องค์ ครั้งที่สอง ๒ องค์ รวมเป็น ๗ องค์ด้วยกัน พอได้มาแล้วก็โฆษณาใหญ่ว่าตัวได้ของดีมา ได้ของดีมา ปากไม่เป็นสุข เป็นสุขเฉพาะใจคือดีใจที่ได้อัฐิจากคุณวันมา
    สุดท้ายก็มาเสียเปรียบ (ต้องขออภัยเรียนอย่างตรงไปตรงมา) ผู้หญิงเรียบวุธไปเลย แต่ชอบกลที่ไม่มีเสียใจเลยทั้งที่รู้ว่าเสียเปรียบ จากนั้นปากก็เป็นสุข ไม่มีอะไรโฆษณาอีก คือพอได้ยินว่าได้ของดีมาใครก็ขอดู ซึ่งมีแต่ผู้หญิงทั้งนั้น ขณะนั้นคนนั้นก็ขอดู ก็หยิบให้ดู หยิบให้ดูจนหมดทุกองค์ พอดูเสร็จแล้วคนนั้นก็ขอเอาเลย คนนี้ก็ขอเอาเลย พร้อมกับห่อกันมุบมิบ แล้วทีนี้ใครจะกล้าขอคืนล่ะ ถ้าไม่อยากเสียเปรียบสองซ้อน เรื่องมันเป็นอย่างนี้ที่มิได้มีพระธาตุท่านอาจารย์มั่นติดตัวมาจนบัดนี้ ทราบภายหลังว่า คุณวันเองก็แบ่งให้ท่านที่มาขอไปสักการบูชาแทบไม่มีเหลือแล้ว เลยไม่กล้าไปรบกวนอีก
    เท่าที่ทราบ อัฐิท่านอาจารย์มั่นกลายเป็นพระธาตุ ที่ร้านคุณวัน นครราชสีมา เป็นแห่งแรก หลังจากนั้นก็ค่อย ๆ กลายเป็นพระธาตุเรื่อยไป ไม่ว่าที่ไหน ใครบูชาไว้ที่ไหนก็กลายเป็นพระธาตุขึ้นมาเป็นลำดับ จนกระทั่งทุกวันนี้ก็ยังเป็นไปเรื่อย ๆ แต่เป็นกันอย่างมุบมิบซุบซิบเฉพาะครัวเรือน ไม่กล้าบอกให้ใครทราบ เกรงจะถูกขอ เพราะเป็นของหายากและคุณค่าสูงไม่มีประมาณ อาจพูดได้ว่าผู้ไม่มีนิสัยวาสนาเกี่ยวกับท่านก็ยากจะได้พระธาตุท่านมาไว้บูชา กรุณาดูแต่ผู้เขียนซึ่งได้มาแล้วยังไม่มีวาสนารักษาท่านไว้ได้ ต้องให้ท่านผู้อื่นไปรักษาแทนสบายไปเลย
    พระธาตุท่านอาจารย์มั่นยังเป็นที่น่าแปลกและอัศจรรย์อยู่หลายอย่าง คือพระธาตุ ๒ องค์ เจ้าของอธิษฐานขอให้เป็น ๓ องค์เพื่อให้ครบรัตนะ คือ พุทธ ธรรม สงฆ์ ก็กลายเป็น ๓ องค์ได้จริง ๆ ผู้มีอยู่ ๒ องค์อธิษฐานขอให้เป็น ๓ องค์ เช่นที่คนอื่นเขาเป็น แต่กลับรวมเป็นองค์เดียวก็มี เจ้าของเสียใจมาก มาเล่าให้ผู้เขียนฟังและขอคำชี้แจง
    ผู้เขียนได้อธิบายให้ทราบบ้างว่า พระธาตุท่านอาจารย์มั่นกลายเป็น ๓ องค์ก็ดี กลายเป็นองค์เดียวก็ดี หรือยังมิได้กลายเป็นพระธาตุเลยก็ดี ทั้งนี้ก็คืออัฐิธาตุที่ออกจากองค์ท่านอันเดียวกัน จึงไม่ควรเสียใจ การที่พระธาตุ ๒ องค์กลับมาเป็นองค์เดียวก็เป็นอภินิหารของท่านอยู่แล้ว เราจะหาความอัศจรรย์จากอะไรอีก แม้ผมท่านที่ปลงออกมีผู้เก็บไว้บูชาในที่ต่าง ๆ ก็กลายเป็นพระธาตุได้เช่นเดียวกับอัฐิซึ่งมีอยู่หลายแห่ง
    ที่เป็นดังนี้เข้าใจว่า อัฐิหรือผมท่านที่เก็บไว้นาน ๆ ไปอาจจะกลายเป็นพระธาตุไปตาม ๆ กัน ดังอัฐิท่านที่ค่อย ๆ กลายเป็นพระธาตุมาเป็นลำดับนี้แล แต่ทั้งอัฐิธาตุท่าน ทั้งพระธาตุท่าน แม้จะถูกเก็บรักษาไว้สักการบูชาอยู่กับท่านผู้ใด ก็ไม่มีใครบอกใครให้ทราบเลย มีแต่ปิดเงียบท่าเดียวเท่านั้น ทุกวันนี้ เพราะต่างคนต่างรักต่างคนต่างสงวน แต่ถ้าถูกถามรายที่อัฐิท่านกลายเป็นพระธาตุ เจ้าของก็จะบอกอย่างอาจหาญว่า อัฐิท่านกลายเป็นพระธาตุได้แน่นอนไม่สงสัย ถ้าถามต่อไปว่า คุณมีพระธาตุหรืออัฐิท่านอาจารย์มั่นบ้างหรือเปล่า? จะแสดงอาการยิ้มแล้วตอบเพียงว่า แม้มีก็นิดเดียวแจกให้ใครไม่ได้ อันเป็นเชิงกันท่าไว้ในตัวกลัวผู้อื่นจะขอ จึงทราบได้ยากเฉพาะทุกวันนี้ ว่าอัฐิหรือพระธาตุท่านมีอยู่กับท่านผู้ใดบ้าง แม้แต่พระหรือครูอาจารย์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ ถามยังไม่อาจบอกตรง จึงน่าเห็นใจท่านที่มีความเคารพเลื่อมใสและรักสงวนท่านมาก
    ฉะนั้นท่านพระอาจารย์มั่นจึงเป็นพระอาจารย์สำคัญองค์หนึ่ง ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และล่วงลับผ่านไปแล้ว เวลายังมีชีวิตอยู่ก็เป็นจุดยับยั้งผ่อนคลายความตึงเครียดแห่งจิตใจบรรดาศิษย์ทั้งพระและฆราวาสเป็นอย่างดีตลอดมา เราพอทราบได้ตามที่มีผู้มาเล่าให้ฟัง ขณะจิตคิดจะทำความชั่วบ้าง ขณะจิตกำลังลุกเป็นไฟเนื่องจากเหตุการณ์บางอย่างบังคับบ้าง ขณะเกิดความเคียดแค้นอย่างสุดขีด จะตัดสินใจฆ่าคนอยู่ในนาทีนั้นบ้าง พอระลึกถึงท่านอาจารย์มั่นขึ้นมาได้เท่านั้น เหตุการณ์ที่เป็นอยู่ภายในเหล่านั้น ราวกับน้ำดับไฟสงบลงทันทีทันใด และเห็นโทษแห่งความผิดของตัวขึ้นในขณะนั้น อยากก้มลงกราบองค์ท่านทันทีที่ระลึกได้ สิ่งที่คิดว่าจะทำนั้นเลยหายราวกะปลิดทิ้ง นี่เป็นฝ่ายฆราวาสเล่าให้ฟัง แม้ที่มิได้เล่าก็เข้าใจว่ายังมีอยู่มาก และสามารถแก้ความผิดของตัวได้ในลักษณะเดียวกัน ด้วยอำนาจความระลึกถึงท่านด้วยความเคารพเลื่อมใส
    ส่วนพระที่ได้รับความยับยั้งใจไปตามเพศของตน เพราะอำนาจความเชื่อความเลื่อมใสในท่านก็เข้าใจว่ามีจำนวนไม่น้อยเช่นเดียวกัน เท่าที่ท่านอบรมคนให้เป็นคนดีนั้นนับจำนวนไม่ถ้วน เริ่มแต่วันท่านอุปสมบทและสั่งสอนมาจนถึงวันมรณภาพ ถ้านับเวลาสั่งสอนผู้คนพระเณรก็ไม่ต่ำกว่า ๔๐ ปี ในระหว่าง ๑ ปีถึง ๔๐ ปีนั้น มีพระเณรและฆราวาสมารับการอบรมกับท่านมากเพียงไร เฉพาะพระที่มีหลักฐานมั่นคงทางด้านจิตใจและข้อปฏิบัติมีจำนวนมากมาย ท่านอาจารย์เหล่านี้จะเป็นครูอาจารย์สั่งสอนผู้คนพระเณรให้มีหลักยึดต่อไปในอนาคต ซึ่งสืบเนื่องมาจากท่านอาจารย์มั่นเป็นผู้ให้กำเนิดความรู้ทั้งภายในและภายนอกมาก่อน มิฉะนั้นก็หาทางเดินไม่ได้แม้ตัวเอง โดยไม่ต้องพูดถึงการสั่งสอนคนอื่นให้เป็นคนดีได้เลย
    ด้วยเหตุนี้ การวางรากฐานจิตใจให้มั่นคงต่อเหตุผลอรรถธรรมความถูกต้องดีงามเป็นขั้น ๆ จึงเป็นงานชิ้นใหญ่และหนักมากกว่างานชิ้นใด ๆ ในโลกที่พวกเราเคยทำ และเคยบ่นกันว่ายาก ๆ เพราะงานนั้นเป็นเพียงสิ่งคล้อยตามจิตใจของผู้พาดำเนินเท่านั้น หลักใหญ่ของงานทุกแขนงและทุกชิ้นอย่างแท้จริงขึ้นอยู่กับใจทั้งสิ้น นอกจากนั้นยังเกี่ยวกับงานผิดถูกชั่วดีอีกว่าใครเป็นผู้บงการและพาดำเนินถ้าไม่ใช่ใจ ถ้าใจเป็นผู้ชี้ขาดและพาดำเนิน ใจได้รับการศึกษาอบรมพอทราบเรื่องของตัวเกี่ยวกับความผิดถูกชั่วดีอย่างไรบ้างเพียงไร จึงจะประคองตัวและงานนั้น ๆ ไปด้วยความราบรื่นชื่นใจ ตลอดความปลอดภัยอันเกิดจากผลงานที่ตนทำทุกอย่าง เมื่อกล่าวถึงจิตใจ บรรดาท่านที่เคยทราบความลึกซึ้งหนาบางของท่านอาจารย์มั่นมาบ้างแล้ว จะต้องกราบท่านอย่างสนิทใจ ระลึกไว้มิได้ลืม ทั้งเวลาท่านยังมีชีวิตอยู่และเวลาท่านจากไปแล้ว อดระลึกถึงความกตัญญูกตเวทีในท่านมิได้อย่างแน่นอน แม้ชีวิตจะขาดไปก็ยอมถวายไปเลย
    ท่านอาจารย์มั่นเป็นอาจารย์เอกทางด้านพัฒนาจิตใจคน อาจพูดได้ว่าเกือบทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ถูกจุดสำคัญของโลกด้วย เพราะใจที่ได้รับการพัฒนาด้วยอรรถด้วยธรรมด้วยดี ความเสียหายไม่ค่อยมี หรืออาจพูดได้อย่างเต็มปากว่า จิตที่ได้รับการพัฒนาเต็มที่แล้ว แน่ใจว่าความเสียหายไม่มี ทั้งงานและผลของงานก็เป็นที่แน่ใจ โลกที่ได้รับการพัฒนาจิตใจไปพร้อม ๆ กันด้วยดีย่อมเป็นโลกที่เจริญจริง ประชาชนมีความสงบสุข มิใช่เจริญแต่ด้านวัตถุอย่างเดียว แต่ใจร้อนเหมือนไฟ มีแต่การเบียดเบียนทำลายกัน เอารัดเอาเปรียบกัน ฉ้อโกงกัน เร็วยิ่งกว่าเจ้าบอนนี่ขึ้นโลกพระจันทร์ ซึ่งไม่ผิดอะไรกับความเจริญแห่งไฟในแดนนรก
    ถ้ายังไม่ทราบว่าแดนนรกมีความเจริญด้วยความรุ่มร้อนขนาดไหน ก็ควรดูโลกที่ปราศจากการพัฒนาจิตใจ ซึ่งมีแต่ความรุงรังไปด้วยสิ่งสกปรกที่ระบายออกจากท่อไอเสียคือใจ ความประพฤติการกระทำทุกด้านเป็นสิ่งขวางโลก ขวางธรรม ขวางหู ขวางตา ขวางใจไปหมด ไม่มีอะไรน่าดูน่าชมเลย เต็มไปด้วยสิ่งไม่พึงปรารถนา ฉะนั้นท่านผู้มีความฉลาดแหลมคม จึงนิยมการพัฒนาจิตใจก่อนพัฒนาสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นเพียงบริวารของใจเท่านั้น เมื่อพัฒนาใจดีแล้ว การระบายออกทางกายวาจา ความประพฤติ การกระทำตลอดทุกด้าน ย่อมกลายเป็นของสะอาดไปตามส่วนใหญ่คือใจ โลกย่อมมีความสงบสุขสมกับคนฉลาดด้วยจิตพัฒนาปกครองโลก ปกครองตน โดยทางเหตุผลอรรถธรรม
    ความฉลาดของมนุษย์ที่ปราศจากธรรมจะฉลาดเพียงไร ยังไม่ควรเป็นที่ไว้ใจและชมเชยโดยถ่ายเดียวได้ แม้จะฉลาดแสดงความสามารถขึ้นชมดวงดาว พระอาทิตย์ พระจันทร์บนฟ้าได้ก็ยังไม่ถือเป็นจุดสำคัญ ความฉลาดถ้ายังขืนระบายสิ่งที่เป็นพิษเป็นภัยออก เพื่อความเดือดร้อนแก่ตนและผู้อื่นอยู่ อย่างไม่สำนึกตัวว่าเป็นความผิด ความรู้ความฉลาดนั้นยังไม่อาจเลยภูมิของสัตว์เดียรัจฉานที่เคยเป็นอยู่ด้วยการเบียดเบียนและกัดฉีกกันกิน โดยถือว่าเป็นความฉลาดและเป็นความสุขของเขาซึ่งอยู่ในภูมินั้น ๆ
    ความฉลาดที่รับรองกันตามหลักเหตุผลที่ยังตนและโลกให้เจริญนั้น ไม่จำต้องออกใบประกาศนียบัตรให้โชว์ก็ได้ แต่การระบายออกทางใจและความประพฤติสิ่งกระทำอันเป็นไปเพื่อตนและโลกได้รับความสุขความเย็นใจด้วยนั้น ถือว่าเป็นผลงานที่ออกจากความฉลาดอย่างแท้จริง และเป็นประกาศนียบัตรอยู่ในตัวพร้อมแล้ว ไม่จำต้องหาใบประกาศมาบังหน้าและอวดโลกเพื่ออำนาจในทางผิดอย่างลึกลับ ซึ่งผลคือความเดือดร้อนของผู้ได้รับ มิได้เป็นของลับ ๆ ไปด้วย แต่เป็นความทุกข์ร้อนอยู่อย่างเปิดเผย ดังที่เห็น ๆ กันอยู่อย่างเต็มตา รู้อยู่อย่างเต็มใจ นอกจากไม่พูดกันเท่านั้น ทั้งนี้หากมิใช่โทษของการมองข้ามการพัฒนาภายในคือใจแล้ว ใครจะเชื่อกันได้ลงคอว่า การพัฒนาแต่ด้านวัตถุด้วยทั้งใจที่รกรุงรังด้วยสนิมคือกิเลส ความเห็นแก่ตัวและพวกพ้องของตัวทำให้โลกเจริญ ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขโดยทั่วกันดังนี้ นอกจากคนที่ตายหมดความรู้สึกดีชั่วทุกอย่างแล้วเท่านั้น จะไม่มีความขัดใจและคิดแย้งการกระทำดังที่ว่า
    เมื่อนำมาเทียบระหว่างผู้มีการพัฒนาทางใจกับผู้ไม่ได้พัฒนาทางใจเลย การงานและผลของงานต่างกันราวฟ้ากับดิน ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงไม่ทรงชมเชยสมาธิสมาบัติเพื่อความเหาะเหินเดินอากาศดำดินดำน้ำ เหาะข้ามทะเลต่าง ๆ ว่าเป็นผู้ฉลาดเลื่องลือ แต่ทรงชมเชยผู้พยายามฝึกอบรมตนโดยวิธีต่าง ๆ เพื่อความดีงาม จะเป็นทางสมาธิสมาบัติหรือทางใดก็ตาม ด้วยความรอบคอบต่อการระบายออกทางความประพฤติการกระทำ มิให้เกิดโทษแก่ตนและผู้อื่นว่าเป็นผู้ฉลาด เพราะความน่าอยู่ของโลกทั่วไป ย่อมขึ้นอยู่กับความสุขใจเป็นหลักใหญ่ แม้ร่างกายและความเป็นอยู่ในด้านต่าง ๆ จะมีอดบ้างอิ่มบ้างตามคติธรรมดาของโลกอนิจฺจํ แต่ก็ยังน่าอยู่ เพราะผู้พาอยู่พาไปคือใจมีความสุขเท่าที่ควร ไม่แผดเผาเร่าร้อน จนทำให้คิดอยากย้ายภพย้ายชาติย้ายบ้านเรือนและสถานที่อยู่ต่าง ๆ
    เหตุที่อัฐิกลายเป็นพระธาตุ
    ปัญหาเรื่องอัฐิท่านพระอาจารย์มั่น พระอาจารย์เสาร์ กลายเป็นพระธาตุ ปรากฏว่ากระจายไปในที่ต่าง ๆ จนทำให้เกิดความสงสัยกันก็มี ในระยะอัฐิท่านกลายเป็นพระธาตุใหม่ ๆ บางท่านมาถามว่า อัฐิของพระอรหันต์ก็ดี ของสามัญชนก็ดี ต่างก็เป็นธาตุดินชนิดเดียวกัน ส่วนอัฐิของสามัญชนทำไมจึงกลายเป็นพระธาตุไม่ได้ เฉพาะอัฐิของพระอรหันต์ทำไมจึงกลายเป็นพระธาตุได้ ทั้งสองนี้มีความแปลกต่างกันอย่างไรบ้าง ก็ได้อธิบายให้ฟังเท่าที่สามารถแต่เพียงโดยย่อว่า
    เรื่องอัฐินั้น ปัญหาส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับใจเป็นสำคัญ คำว่าจิตแม้เป็นจิตเช่นเดียวกัน แต่มีอำนาจและคุณสมบัติต่างกันอยู่มาก คือจิตของพระอรหันต์ท่านเป็นอริยจิต เป็นจิตที่บริสุทธิ์ ส่วนจิตของสามัญชนเป็นเพียงสามัญจิต เป็นจิตที่มีกิเลสโสมมต่าง ๆ
    เมื่อจิตผู้เป็นเจ้าของเข้าครองอยู่ในร่างใด และจิตเป็นจิตประเภทใด ร่างนั้นอาจกลายไปตามสภาพของจิตผู้เป็นใหญ่พาให้เป็นไป เช่น จิตพระอรหันต์เป็นจิตที่บริสุทธิ์ อาจมีอำนาจซักฟอกธาตุขันธ์ให้เป็นธาตุที่บริสุทธิ์ไปตามส่วนของตน อัฐิท่านจึงกลายเป็นพระธาตุได้ แต่อัฐิของสามัญชนทั่ว ๆ ไป แม้จะเป็นธาตุดินเช่นเดียวกัน แต่จิตผู้เป็นเจ้าของเต็มไปด้วยกิเลส และไม่มีอำนาจซักฟอกธาตุขันธ์ให้เป็นของบริสุทธิ์ได้ อัฐิจึงกลายเป็นธาตุขันธ์ที่บริสุทธิ์ไปไม่ได้ จำต้องเป็นสามัญธาตุไปตามจิตของคนมีกิเลสอยู่โดยดี หรือจะเรียกไปตามภูมิของจิตภูมิของธาตุว่า อริยจิต อริยเหตุ และสามัญจิต สามัญธาตุก็คงไม่ผิด เพราะคุณสมบัติของจิตของธาตุระหว่างพระอรหันต์กับสามัญชนต่างกัน อัฐิจำต้องต่างกันอยู่โดยดี ผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ขึ้นมานั้น ทุกองค์เวลานิพพานแล้วอัฐิต้องกลายเป็นพระธาตุด้วยกันทั้งสิ้นดังนี้
    ข้อนี้ผู้เขียนยังไม่แน่ใจว่าจะเป็นไปได้อย่างนั้นทุก ๆ องค์ เฉพาะจิตท่านที่สำเร็จพระอรหัตภูมิเป็นจิตที่บริสุทธิ์เต็มภูมินับแต่ขณะที่สำเร็จ ส่วนร่างกายที่เกี่ยวโยงไปถึงอัฐิเวลาถูกเผาแล้วจะกลายเป็นพระธาตุได้เช่นเดียวกันทุกองค์หรือไม่ ยังเป็นปัญหาอยู่บ้าง
    ระหว่างกาลเวลาที่บรรลุ ถึงวันท่านนิพพาน มีเวลาสั้นยาวต่างกัน องค์ที่บรรลุแล้วมีเวลาทรงขันธ์อยู่นาน เวลานิพพานแล้วอัฐิย่อมมีทางกลายเป็นพระธาตุได้โดยไม่มีปัญหา เพราะระยะเวลาที่ทรงขันธ์อยู่ จิตที่บริสุทธิ์ก็ย่อมทรงขันธ์เช่นเดียวกับความสืบต่อแห่งชีวิตด้วยการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย มีลมหายใจ เป็นต้น และมีการเข้าสมาบัติประจำอิริยาบถ ซึ่งเป็นการซักฟอกธาตุขันธ์ให้บริสุทธิ์ไปตามส่วนของตนโดยลำดับด้วยในขณะเดียวกัน เวลานิพพานแล้วอัฐิจึงกลายเป็นพระธาตุดังที่เห็น ๆ กันอยู่
    ส่วนองค์ที่บรรลุแล้วมิได้ทรงขันธ์อยู่นานเท่าที่ควร แล้วนิพพานไปเสียนั้น อัฐิท่านจะกลายเป็นพระธาตุได้เหมือนพระอรหันต์ทั้งหลายที่มีโอกาสอยู่นานหรือไม่ เป็นความไม่สนิทใจ เพราะจิตไม่มีเวลาอยู่กับธาตุขันธ์นาน และมิได้ซักฟอกด้วยสมาธิสมาบัติดังกล่าวมา
    ท่านที่เป็น ทันธาภิญญา คือรู้ได้ช้าค่อยเป็นค่อยไป เช่นบำเพ็ญไปถึงขั้นอนาคามีผลแล้วติดอยู่นานจนกว่าจะก้าวขึ้นขั้นอรหัตภูมิได้ คือต้องพิจารณาท่องเที่ยวไปมาอยู่ในระหว่างอรหัตมรรคกับอรหัตผลจนกว่าจิตจะชำนิชำนาญและมีกำลังเต็มที่จึงผ่านไปได้ ในขณะที่กำลังพิจารณาอยู่ในขั้นอรหัตมรรคเพื่ออรหัตผล ก็เป็นอุบายวิธีซักฟอกธาตุขันธ์ในตัวด้วย เวลานิพพานแล้วอัฐิอาจกลายเป็นพระธาตุได้
    ส่วนท่านที่เป็น ขิปปาภิญญา คือรู้ได้เร็วและนิพพานไปเร็วหลังจากบรรลุแล้ว ท่านเหล่านี้ไม่แน่ใจว่าอัฐิจะกลายเป็นพระธาตุได้หรือประการใด เพราะจิตที่บริสุทธิ์ไม่มีเวลาทรงและซักฟอกธาตุขันธ์อยู่นานเท่าที่ควร ส่วนสามัญจิตของสามัญชนทั่ว ๆ ไปนั้น ไม่อยู่ในข่ายที่อัฐิจะควรแปรเป็นพระธาตุได้ด้วยกรณีใด ๆ จึงขอกล่าวเท่าที่กล่าวผ่านมาแล้ว
    อัศจรรย์แห่งพระธาตุท่านพระอาจารย์มั่น
    เฉพาะองค์ท่านพระอาจารย์มั่น นอกจากอัฐิกลายเป็นพระธาตุให้เห็นอย่างประจักษ์แล้ว พระธาตุยังแสดงความอัศจรรย์ให้เห็นหลายอย่าง ดังที่เขียนผ่านมาบ้างแล้วว่า ผู้มีพระธาตุสององค์อธิษฐานขอให้เป็นสามองค์ ก็เป็นสามองค์ได้ ผู้มีสององค์อธิษฐานขอให้เป็นสามองค์ แต่กลับเป็นองค์เดียวก็ได้ ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้เลย แต่ได้เป็นไปเสียแล้ว
    ผู้ได้มาสององค์จากท่านผู้มีเมตตาจิตมอบให้ พอตกเย็นมาเปิดดูกลับเป็นสามองค์ก็ได้ รายนี้เป็นความแปลก เพราะชั่วระยะเวลาเช้าไปถึงเย็นเท่านั้นก็มาเพิ่มได้
    ท่านผู้นี้เป็นข้าราชการผู้ใหญ่มีศรัทธาในองค์ท่านพระอาจารย์มั่นมาก และเป็นผู้ให้ความสะดวกตลอดการช่วยเหลือต่าง ๆ แทบทุกกรณีที่เกี่ยวกับงานท่านพระอาจารย์มั่น นับแต่วันแรกที่ท่านไปถึงวัดสุทธาวาสจนตลอดงาน พระผู้ใหญ่เห็นใจและสงสารมาก เมื่อคุณวัน นครราชสีมา ถวายพระธาตุท่านอาจารย์มั่นมา ท่านจึงมอบให้ข้าราชการผู้นี้ตอนเช้า พอได้รับพระธาตุจากท่านแล้ว ขณะนั้นไม่มีกล่องหรือผอบจะใส่ มีแต่ขวดยานัตถุ์เปล่าติดกระเป๋าเสื้อ จึงได้เอาใส่พระธาตุไปพลาง ขณะเชิญพระธาตุเข้ากระเป๋าเสื้อก็ปิดกระดุมเสื้อด้วยดี ขวดก็ปิดฝาด้วยดี กลัวพระธาตุจะสูญหายไปเสีย
    นับแต่ขณะที่ได้พระธาตุจากมือพระผู้ใหญ่แล้ว ปรากฏว่าใจมีความปีติยินดีเป็นล้นพ้น ลุกจากที่นั้นก็ไปทำงานเลยทีเดียว และเกิดความอิ่มเอิบตื้นตันใจตลอดวัน ประหนึ่งจิตมิได้คิดเหินห่างจากพระธาตุที่ได้รับมานั้นเลยทั้งวัน
    พอเลิกจากงานไปถึงบ้านก็โฆษณาใหญ่ว่าตนได้ของประเสริฐมา ในชีวิตไม่เคยมี คนในบ้านต่างก็มารุมดู จากนั้นก็เอาผอบมาใส่พระธาตุทันที พอเปิดฝาขวดออกเชิญพระธาตุท่านอาจารย์มั่นออกมา โดยไม่คาดฝันว่าจะพบความอัศจรรย์ที่แสดงออกมาจากพระธาตุท่าน คือพอเชิญพระธาตุออกจากขวดก็ได้เห็นกลายเป็นสามองค์ในขณะนั้น ยิ่งเพิ่มความอัศจรรย์ในองค์ท่านและเกิดความปีติในพระธาตุยิ่งขึ้น แทบจะเหาะลอยไปทั้งตัว พร้อมกับประกาศความอัศจรรย์ของท่านอาจารย์มั่นว่าเป็นองค์พระอรหันต์ให้ภรรยาและลูก ๆ ฟังในขณะนั้น อย่างไม่คิดว่าใครจะหาว่าเป็นบ้าเป็นบออะไรเลย
    ภรรยาและลูก ๆ ยังไม่แน่ใจ เกรงว่าที่รับพระธาตุมาจะจำจำนวนผิดไป
    ฝ่ายสามีก็เถียงใหญ่แบบไม่ยอมฟังเสียงใครเลยว่า พระธาตุสององค์ที่ท่านเจ้าคุณ….ให้มาเมื่อเช้านี้จำไม่ผิดแน่ เพราะขณะรับจากท่านก็รับด้วยความสนใจและเลื่อมใสอย่างบอกไม่ถูก แม้อยู่ที่ทำงานก็มิได้ลืมพระธาตุตลอดวันว่าได้พระธาตุมาสององค์ ได้พระธาตุมาสององค์ จนกลายเป็นคำบริกรรมเหมือนคนภาวนาแล้วจะให้หลงลืมได้อย่างไร ถ้าใคร ๆ ยังไม่ลงใจว่าเป็นความจริง พรุ่งนี้เช้าเราจะไปเรียนถามท่านเจ้าคุณท่านใหม่ เห็นจริงกันพรุ่งนี้เอง
    ฝ่ายคนในบ้านไม่ยอม อยากรู้ในวันนี้เดี๋ยวนี้ ขอให้ไปเรียนถามท่านเดี๋ยวนี้ ตกลงต้องไปเดี๋ยวนั้นและเรียนถามว่า ที่ท่านเมตตาให้พระธาตุกระผมเมื่อเช้านี้กี่องค์
    ท่านตอบว่าให้สององค์ ทำไมถามอย่างนั้น พระธาตุหายหรือ
    ข้าราชการผู้นั้นตอบด้วยความตื้นตันใจว่า พระธาตุมิได้หายแต่กลับได้เพิ่มขึ้นอีกหนึ่ง รวมเป็นสามองค์ด้วยกัน ที่กระผมเรียนถามก็เพราะเวลาไปถึงบ้านแล้ว เปิดฝาขวดออกดู เพื่อจะเชิญพระธาตุเข้าในผอบ แทนที่จะมีสององค์ตามที่เข้าใจ แต่กลับมีสามองค์ เลยทำให้กระผมเกิดความดีใจจนตัวสั่น รีบบอกกับลูกเมีย แต่ไม่มีใครเชื่อว่าเป็นความจริงเลย เกรงว่าผมอาจจำผิดก็ได้ เลยเคี่ยวเข็ญให้กระผมมาเรียนถามท่านอีกครั้ง จึงได้มาตามคำเขาแล้วก็เป็นความจริง ยิ่งทำให้กระผมดีใจเสียใหญ่
    ว่าอย่างไร? เชื่อหรือยังทีนี้? นี่เป็นคำพูดกับภรรยาที่มาด้วย
    ภรรยายิ้มแล้วพูดว่า ก็เกรงจะจำผิดและหาเรื่องไปโกหกกันเล่นก็ต้องพูดอย่างนั้น เป็นความจริงดังที่ว่าก็ต้องเชื่อ ใครจะฝืนความจริงเพื่อประโยชน์อะไร
    ท่านเจ้าคุณก็ยิ้มและเล่าตามความจริงให้ภรรยาฟัง ว่า
    อาตมาได้ให้คุณ….. สององค์จริงเมื่อเช้านี้ เพราะเห็นว่าเป็นผู้มีคุณต่อท่านอาจารย์มั่นมาก ตลอดพระสงฆ์ เรื่อยมาแต่วันท่านมรณภาพจนเสร็จงาน อาตมายังจำไม่ลืม เมื่อได้พระธาตุท่านอาจารย์มั่นมาจากคุณวัน คมนามูล ร้าน ศิริผลพานิช นครราชสีมา ก็เลยสงวนไว้ เพื่อนำมามอบให้เป็นที่ระลึก ซึ่งเป็นของหายากในสมัยปัจจุบัน เพิ่งจะพบอัฐิกลายเป็นพระธาตุเฉพาะของท่านอาจารย์มั่นเพียงองค์เดียว นอกนั้นก็ได้ยินแต่ตำราท่านบอกไว้ ยังไม่เห็นตัวจริงประจักษ์ตา
    บัดนี้ได้เห็นเป็นพยานหลักฐานอย่างแท้จริงเสียแล้ว กรุณารักษาไว้ในที่สมควร เดี๋ยวท่านหายไปก็ยิ่งลำบากมากกว่าเป็นความสุขใจในเวลาท่านมาเพิ่มให้เป็นไหน ๆ จะว่าอาตมาไม่บอก เพราะพระธาตุท่านอาจารย์มั่นเป็นของอัศจรรย์มาก ยิ่งท่านมาได้ง่าย ๆ อย่างนี้ บทเวลาท่านไปเพราะความเคารพเราไม่พอยิ่งไปได้ง่าย กรุณาเชิญท่านไว้ที่สูง เคารพบูชาท่านทุกเช้าเย็น ท่านอาจบันดาลความเป็นสิริมงคลเกินคาดให้เวลาใดก็ได้
    อาตมาเชื่อท่านร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า เป็นพระผู้บริสุทธิ์มานานแล้ว แต่ไม่กล้าบอกใครได้ง่าย ๆ กลัวเขาจะหาว่าเป็นบ้า เพราะคนเรามีนิสัยเชื่อในสิ่งที่ดีได้ยาก แต่เชื่อในสิ่งไม่ดีได้ง่าย จึงหาคนดีได้ยาก หาคนชั่วได้ง่าย แม้ในตัวเราเอง ถ้าสังเกตดูก็พอทราบได้ว่า ใจชอบคิดในทางชั่วมากกว่าทางดีเป็นประจำนิสัย
    พอท่านแนะจบลง ท่านข้าราชการกับภรรยาก็กราบนมัสการลาท่านกลับ ด้วยความชื่นบานหรรษาอย่างบอกไม่ถูกทั้งสองคน
    นี่แลพระธาตุท่านพระอาจารย์มั่นเป็นความแปลกและอัศจรรย์ดังที่นำมาลง เพื่อท่านผู้อ่านได้พิจารณาหามูลเหตุแห่งความอัศจรรย์ของพระธาตุดังกล่าวนี้ต่อไป ส่วนการค้นหาหลักฐานและเหตุผลมาพิสูจน์ดังที่โลกใช้กันนั้น รู้สึกจะพิสูจน์ได้ยาก อาจมองไม่เห็นร่องรอยเลยก็ได้สำหรับเรื่องทำนองนี้ เพราะสุดวิสัยสำหรับพวกเราที่มีกิเลสจะตามรู้ได้ เพียงแต่ธาตุดินที่อยู่ในส่วนร่างกายท่านผู้บริสุทธิ์กับอยู่ในตัวเรา ก็แสดงให้เห็นเป็นของแปลกต่างกันอย่างชัดเจนอยู่แล้ว ว่าอัฐิท่านกลายเป็นพระธาตุได้อย่างประจักษ์ตา ส่วนร่างกายของพวกเราที่มีกิเลส แม้มีจำนวนล้าน ๆ คน ไม่มีรายใดสามารถเป็นไปได้อย่างท่าน จึงควรเรียกได้ว่า ท่านเป็นบุคคลที่แปลกต่างจากมนุษย์ทั้งหลายอยู่มากจนเทียบกันไม่ได้ ยิ่งใจที่บริสุทธิ์ด้วยแล้วยิ่งเพิ่มความประเสริฐและอัศจรรย์จนไม่มีนิมิตเครื่องหมายใด ๆ มาเทียบได้เลย เป็นจิตที่โลกทั้งหลายควรเคารพบูชาจริง ๆ จึงต้องยอมบูชากัน
    ตามปกติโลกผู้มีความหยิ่งในชาติของตนประจำนิสัย ไม่ค่อยยอมลงกับใครหรืออะไรได้อย่างง่าย ๆ แต่เมื่อหาทางคัดค้านไม่ได้ก็จำต้องยอม เพราะอยากเป็นคนดี เมื่อเห็นของดีแล้วไม่ยอมรับก็รู้สึกจะโง่เกินไป ไม่สมภูมิเป็นมนุษย์ ดังท่านอาจารย์มั่นเป็นต้นในสมัยปัจจุบัน บรรดาพระเณรเถรชีที่เข้าไปถึงองค์ท่านจริง ๆ และได้รับคำแนะนำสั่งสอนจากท่านจนเป็นที่เข้าใจแล้ว เท่าที่สังเกตมา ยังไม่เคยเห็นรายใดจะดื้อด้านหาญสู้ท่านด้วยทิฐิมานะ ไม่ยอมลงกับความจริงที่สั่งสอนเลย เห็นแต่ยอมรับแบบเอาชีวิตเข้าแลกได้โดยไม่อาลัยเสียดายเลย
    ถ้าเทียบความจริงที่ท่านแสดงออกมาจากความบริสุทธิ์ ที่รู้จริงเห็นจริงในธรรมทุกขั้นแต่ละบทละบาทนั้น มีความถูกต้องตายตัวอย่างที่ค้านไม่ได้ เช่นเดียวกับผู้บวก ลบ คูณ หาร ด้วยความรู้สึกที่ถูกต้องเชี่ยวชาญนั่นเอง เช่น หนึ่งบวกกับหนึ่งต้องเป็นสอง สองบวกสองต้องเป็นสี่ เป็นต้น จะบวกลบคูณหารทวีขึ้นไปสูงเท่าไร ก็มีแต่ความถูกต้องแม่นยำตามหลักวิชา ไม่มีผิดพลาดคลาดเคลื่อน จะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่บวกลบคูณหาร เมื่อถูกต้องตามหลักแล้วก็ไม่มีใครคัดค้านได้ว่าผิดวิสัย
    ผู้ที่มาคัดค้านหลักที่ถูกต้องแล้ว แม้มีจำนวนมากคนเพียงไร ก็เท่ากับมาประกาศขายความโง่ไม่เป็นท่าของตนให้ความจริงหัวเราะเปล่า ๆ ฉะนั้นกฎความถูกต้องจึงไม่นิยมว่า ควรมีอยู่ในเด็กหรือผู้ใหญ่ หญิง ชาย หรือชาติ ชั้น วรรณะใด ๆ ทั้งสิ้น ย่อมเป็นที่ยอมรับกันอย่างหาที่ค้านไม่ได้ หลักธรรมที่พระพุทธเจ้าและสาวกผู้รู้ถึงมูลความจริงโดยตลอดทั่วถึงแล้ว ย่อมสามารถแสดงออกได้อย่างเต็มภูมิ โดยไม่มีความสะทกสะท้านหวั่นไหวใด ๆ ทั้งสิ้น
     
  7. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ตอนที่ ๑๒


    ท่านอาจารย์มั่นเป็นผู้ทรงความรู้จริงเห็นจริงเต็มภูมินิสัยวาสนาท่านผู้หนึ่ง ดังนั้นบรรดาความรู้ที่เกี่ยวกับภายในภายนอกที่ท่านรู้เห็นอย่างประจักษ์ใจ จึงสามารถแสดงออกได้อย่างเต็มภูมิ โดยไม่สนใจว่าใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อ จะตำหนิหรือชมเชยใด ๆ เลย ภูมิธรรมภายใน นับแต่ศีล สมาธิ ปัญญาทุกขั้น ตลอดถึงวิมุตติพระนิพพาน ท่านแสดงออกมาอย่างอาจหาญและเปิดเผย ตามแต่ผู้ฟังจะยึดได้น้อยมากเท่าที่กำลังความสามารถจะอำนวย ธรรมภายนอกเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ไม่มีประมาณ เช่น เทวบุตร เทวธิดา อินทร์ พรหม ภูตผีชนิดต่าง ๆ ท่านก็แสดงอย่างองอาจกล้าหาญ สุดแต่ผู้ฟังจะพิจารณาตามได้หรือไม่เพียงไร ผู้มีนิสัยไปในแนวเดียวกับท่าน ย่อมได้รับความเพิ่มพูนส่งเสริม หรือต่อเติมความรู้ที่มีอยู่แล้วให้กว้างขวางและแม่นยำมากขึ้น ทำให้รู้วิธีปฏิบัติต่อวิชาแขนงนั้น ๆ ดียิ่งขึ้น และปฏิบัติต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้สะดวกและทันท่วงที
    ให้พระลูกศิษย์รับแขกเทวดาแทน
    ลูกศิษย์ท่านบางองค์พอเป็นพยานท่านได้บ้างในบางกรณี เกี่ยวกับเหตุการณ์ภายนอก แม้ไม่แตกฉานเหมือนท่าน จะขอยกตัวอย่างพอเป็นหลักพิจารณา เช่น
    บางคืนท่านต้อนรับแขกเทวดาหลายพวกจนดึก ไม่ได้พักผ่อน รู้สึกเหนื่อยมากต้องการพักผ่อนร่างกายบ้าง แขกเทพฯ พวกหนึ่งพากันมาขอฟังธรรมท่านอีกตอนดึก ๆ ท่านจำต้องบอกว่าคืนนี้เหนื่อยมากแล้ว เพราะรับแขกเทพฯ มาสองสามพวกแล้วจะขอพักผ่อน ขอเชิญพากันไปฟังธรรมท่านองค์นั้น พอท่านบอกแล้วพวกเทพฯ ก็พากันไปหาพระองค์นั้น และบอกกับท่านตามที่ท่านอาจารย์สั่งมา ท่านก็แสดงธรรมให้ฟังพอสมควรแล้วพากันกลับ
    พอตื่นเช้าพระองค์นั้นก็มาเรียนถามท่านอาจารย์ว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #F3F3F3" bgcolor="#f3f3f3" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="540">
    คืนนี้พวกเทวดาไปหากระผม โดยบอกว่าก่อนจะมาหาท่านที่นี่ก็ได้พากันไปหาท่านอาจารย์ขอฟังธรรมท่าน แต่ท่านบอกว่าท่านรับแขกหลายพวกแล้วรู้สึกเหนื่อยมากจะขอพักผ่อน ขอให้พากันไปฟังธรรมท่านองค์นั้น จึงได้พากันมาหาท่านดังนี้ ข้อที่พวกเทวดาพูดอย่างนั้นเป็นความจริงประการใด หรือเขามาโกหกหาอุบายฟังเทศน์กระผมต่างหาก กระผมไม่แน่ใจ จึงได้มาเรียนถามท่านอาจารย์อีกครั้งหนึ่งดังนี้
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ท่านอาจารย์ตอบว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #FFFFF5" bgcolor="#fffff5" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="569">
    ก็ผมรับแขกตั้งสองสามพวกเหนื่อยจะตายอยู่แล้ว พอพวกหลังมา ผมก็ได้บอกเขามาหาท่านจริง ๆ ดังที่เขาอ้างนั่นแล
    พวกเทวดาไม่โกหกพระหรอก ไม่เหมือนมนุษย์ที่แสนปลิ้นปล้อนหลอกลวงไว้ใจไม่ค่อยได้ เขาว่าจะมาต้องมา และว่าจะมาเวลาเท่าไรต้องมาเวลาเท่านั้น ผมเคยสมาคมกับพวกเทพฯ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างมานานแล้ว ไม่เคยเห็นเขาพูดโกหกหลอกลวงเลย เขามีสัตย์มีศีลยิ่งกว่ามนุษย์หลายเท่า ความสัตย์เขาถือกันมาก เป็นชีวิตจิตใจจริง ๆ ไปทำเคลื่อนให้เขาเห็นไม่ได้ เขาตำหนิเอามากมาย ถ้าแก้ไม่มีเหตุผลความจริงเขาไม่ยอมนับถือเอาเลย ผมเคยถูกเขาตำหนิเอาบ้างเหมือนกัน แต่เรามิได้มีเจตนาจะโกหกเขา เป็นแต่เวลาเข้าสมาธิเพลินไปในบางครั้งซึ่งเลยภูมิรับแขก กว่าจะถอนจิตขึ้นมาเขามารออยู่นานแล้ว เมื่อถูกเขาต่อว่า เราก็บอกตามเหตุผลว่าเราพักจิตมิได้ถอนขึ้นมาตามเวลา ซึ่งเขาก็ยอมรับ
    บางครั้งผมก็ว่าให้เขาเหมือนกันว่าพระเพียงองค์เดียว ส่วนเทวดาเป็นหมื่น ๆ แสน ๆ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่าง ตลอดรุกขเทวดา ซึ่งมาจากที่ต่าง ๆ ต่างก็มุ่งมาหาแต่พระองค์เดียว ใครจะไปชนะต้อนรับได้ทุกหมู่ทุกพวกและตรงตามเวล่ำเวลาเอาเสียทุกครั้ง บางทีสุขภาพไม่ค่อยดียังต้องทนรับแขก ซึ่งมีความลำบากมากเพียงไร ควรเห็นใจบ้าง บางทีกำลังเข้าพักในสมาธิอย่างเพลิน ๆ ก็ต้องถอนออกมารับแขก เคลื่อนเวลาบ้างเล็กน้อยก็คอยแต่จะตำหนิติเตียนกัน ถ้าเป็นเช่นนี้เดี๋ยวจะอยู่คนเดียวให้สบาย ไม่ต้องต้อนรับใครให้เสียเวลาและเหนื่อยเปล่าจะว่าอย่างไร
    เมื่อถูกเราว่า ดังนั้น เขายอมรับสารภาพและขอโทษทันที ถ้าเป็นพวกที่เคยมาและรู้เรื่องของเราดีแล้ว แม้จะเคลื่อนคลาดไปบ้างไม่ตรงตามเวลา เขาก็ไม่ถือสาหาโทษกับเราเอาง่าย ๆ นัก นอกจากพวกที่ไม่เคยมาอาจมีอยู่บ้าง เพราะเขาถือสัตย์มากตามนิสัยของพวกเทพฯ ทั้งหลาย ไม่ว่าเบื้องบนเบื้องล่าง ตลอดรุกขเทวดาเหมือนกันหมด
    บางครั้งเขาก็กลัวเป็นบาปเหมือนกันที่ได้ทราบว่า เรากำลังเข้าพักในสมาธิ ต้องถอนออกมาต้อนรับเขา ซึ่งพอดีถูกเขาว่าให้เราว่าไม่รักษาสัตย์ บางครั้งเราก็ว่าให้เขาหนักบ้างเหมือนกัน ว่า
    เรารักษาสัตย์ยิ่งกว่าชีวิต อย่าว่าแต่เพียงยิ่งกว่าเทวดาเลย แต่ที่ไม่ได้ออกมาตามเวลาเพราะความจำเป็นในธรรม ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าการรักษาสัตย์เพื่อเทวดาเป็นไหน ๆ เทวดาทั้งหลายในขั้นต่าง ๆ บนสวรรค์และพรหมโลกทุกชั้น แม้จะมีกายทิพย์อันละเอียดกว่ากายอาตมาที่เป็นมนุษย์ก็ตาม แต่ธรรมและจิตตลอดความสัตย์ที่อาตมารักษาอยู่เป็นประจำ มีความละเอียดสุขุมยิ่งกว่ากายกว่าจิตและกว่าความสัตย์ของเทวดา อินทร์ พรหมเป็นร้อยเท่าพันทวี แต่มิใช่ฐานะที่อาตมาจะมาพูดพล่าม ๆ แบบคนไม่มีสติอยู่กับตัว ที่พูดขณะนี้ก็เพื่อท่านทั้งหลายได้ทราบและระลึกกันเสียบ้างว่า ธรรมที่อาตมารักษาอยู่มีความสำคัญเพียงไร จะได้ไม่พากันคิดอะไร ๆ ตำหนิออกมาเอาง่าย ๆ โดยไม่พิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน
    พอแสดงความจริงที่จำเป็นต่อหน้าที่ของเราให้เขาทราบ ต่างพากันเห็นโทษกลัวเป็นบาปกันมากมายและพากันขอขมาโทษ เราก็บอกว่าเรามิได้ถือโทษอะไรกับใคร ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าสัตว์ มนุษย์ เทวดา อินทร์ พรหม นาค ครุฑที่มีอยู่ทั่วไตรโลกธาตุ เราถือธรรมที่เต็มไปด้วยความเมตตา สงสารโลก ปราศจากความริษยาเบียดเบียนใด ๆ ทั้งมวล อิริยาบถทั้งสี่เราอยู่ด้วยธรรมคือความบริสุทธิ์ใจล้วน ๆ พวกเทวดาทั้งหลายมีเพียงเจตนาที่เป็นกุศลและคำสัตย์เท่านั้น ยังไม่เป็นของอัศจรรย์เท่าที่ควรจะชมเชย ส่วนพระพุทธเจ้าและสาวกท่านมีทั้งความสัตย์ที่บริสุทธิ์ ธรรมที่บริสุทธิ์ และพระทัยที่บริสุทธิ์ล้วน ๆ โดยไม่มีสัตว์โลกแม้รายหนึ่งจะสามารถล่วงรู้ได้ ว่าเป็นธรรมชาติที่ประเสริฐและอัศจรรย์เพียงไร
    ความสัตย์ที่เทวดาทั้งหลายยึดถือกันอยู่ประจำนิสัยนั้น เป็นเพียงความสัตย์ที่อยู่ในข่ายแห่งสมมุติ ซึ่งใคร ๆ ก็พอทราบและรักษากันได้ ไม่สุดวิสัย ส่วนความสัตย์ ธรรม พระทัยและใจที่บริสุทธิ์ อันเป็นสมบัติของพระองค์และพระสาวกโดยเฉพาะนั้น ไม่มีใครสามารถรู้และรักษาได้ ถ้ายังไม่ก้าวเข้าถึงภูมินั้นก่อน ส่วนอาตมาจะมีภูมิความสัตย์ชั้นวิมุตติธรรมเพียงไรหรือไม่นั้น ไม่ใช่ฐานะที่มาอวดอ้างกัน แต่โปรดทราบเพียงว่า ศีลสัตย์ที่เทวดารักษากันอยู่เวลานี้ มิใช่ศีลสัตย์ที่วิเศษเหมือนของพระพุทธเจ้าและสาวกท่าน
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ท่านว่าให้พวกเทวดาขนาดนี้ ถ้าเป็นมนุษย์เราน่ากลัวจะเกิดความอับอายหรืออะไร ๆ ก็ยากจะเดาได้ แต่ทราบว่าเทวดาทั้งหลายยินดีฟังธรรมท่านด้วยความสนใจจดจ่อ และเห็นโทษของตนที่ได้ล่วงเกินท่านด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จากนั้นต่างทำความระมัดระวังด้วยจิตใจยินดีเป็นอย่างยิ่ง มิได้คิดถือโกรธถือโทษในท่านเลยแม้แต่น้อย ท่านว่าน่าชมเชยเป็นอย่างยิ่งสมกับเขาเป็นสัตว์ชั้นสูงจริง ๆ ดังนี้
    ที่ยกตัวอย่างมาเพียงย่อ ๆ นี้พอเป็นแนวแห่งความคิดเกี่ยวกับสิ่งลึกลับที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเนื้อ ถ้ามีผู้รู้เห็นด้วย สิ่งนั้น ๆ ก็มิได้ลึกลับเสมอไป เช่นเดียวกับธรรมาภิสมัย ถ้าทรงรู้ได้เฉพาะพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวก็ราวกับเป็นธรรมลึกลับ ต่อเมื่อสาวกรู้ตามเห็นตามได้ ธรรมนั้นก็หมดความลึกลับ แม้สิ่งลึกลับดังกล่าวก็เช่นเดียวกัน ผู้ที่เห็นจำนวนมากน้อยเหล่านั้นไม่ถือเป็นของลึกลับ แต่ผู้ที่ยังไม่รู้ไม่เห็นจำนวนเท่าไร ก็ยังเป็นของลึกลับสำหรับคนจำนวนนั้น สิ่งลึกลับทางภายในที่เคยเด่นในครั้งพุทธกาล มีพระพุทธเจ้าและสาวกเป็นผู้ได้เห็นได้ชม และสิ่งลึกลับทางภายนอกก็มีพระพุทธเจ้าและสาวก ผู้มีนิสัยในทางนั้นได้เห็นได้ชมเท่านั้น มิได้สาธารณะแก่ผู้ที่ยังไม่รู้ไม่เห็น ส่วนคนในครั้งพุทธกาลที่ไม่สามารถอาจรู้เห็นได้ อย่างมากก็เพียงได้ยินคำบอกเล่า แล้วนำมาพิจารณาพอให้เกิดผลเป็นความเชื่อตาม และเกิดความสุขใจทั้งที่ตนยังไม่ได้รู้เห็นและพอให้เกิดผล ไม่เชื่อว่ามีว่าเป็นได้ กลายเป็นความขัดข้องแก่ตัวอยู่เพียงเท่านั้น คงไม่มีส่วนตามพระพุทธเจ้า และสาวกท่านผู้ได้ชมอย่างเต็มพระทัยและเต็มใจ
    แม้สมัยนี้ก็คงเป็นทำนองเดียวกัน สิ่งลึกลับทั้งภายในภายนอกจะเปิดเผยขึ้นมาได้เฉพาะที่ควรแก่วิสัยเท่านั้น ผู้ไม่สามารถก็คงได้ยินแต่คำบอกเล่า แม้จะเชื่อตามหรือจะไม่เชื่อ ตลอดการคัดค้าน ก็คงไม่มีเหตุผลมายืนยันเหมือนด้านวัตถุ ผู้เขียนก็นับเข้าในจำนวนผู้คิดอยากจะคัดค้าน แต่ไม่มีเหตุผลเพียงพอเฉย ๆ จึงยอมหมกตัวนิ่งอยู่ และเขียนประวัติท่านอาจารย์มั่นด้วยความบอกเล่าจากท่าน และจากบรรดาครูบาอาจารย์ที่เคยอยู่กับท่านมาในยุคนั้น ๆ แบบเถรตรง ไม่มีความแยบคายภายในตัวบ้างเลย แต่ความเชื่อเลื่อมใสในองค์ท่านอาจารย์มั่นนั้นยอมรับว่า มีมากเต็มหัวใจ
    ถ้ามีท่านผู้เคารพเชื่อถือได้มาพูดอะไรเป็นความจริงตามที่พูดมาบอกว่า ให้ท่านตายแทนท่านอาจารย์มั่นเสีย แล้วจะอาราธนานิมนต์ท่านอาจารย์มั่นที่มรณภาพไปแล้วกลับมาสั่งสอนโลก ซึ่งจะเกิดประโยชน์แก่โลกอย่างมากมาย อย่างท่านนี้อยู่ไปทำไม ทำประโยชน์แก่โลกก็ไม่ได้ เพราะความโง่เขลาตัวเดียวนี่เองที่เด่นที่สุดสำหรับท่าน ท่านจะยินดีตายเพื่อเปลี่ยนท่านอาจารย์มั่นกลับมาสั่งสอนโลกไหม เพียงเท่านี้ ผู้เขียนจะถามเอาความจริงทันทีว่า ท่านอาจารย์มั่นจะฟื้นกลับมาถ้าผมตายแทนท่านแล้วจริงหรือ ถ้าท่านผู้นั้นตอบเป็นความจริงว่าจริง เท่านี้ จะรับทันที และรีบให้จัดการเพื่อตายในเดี๋ยวนั้น โดยไม่ต้องขอรอเวลาแม้วินาทีหนึ่งเลย
    เพราะคิดหนักใจกับความโง่ของตนอยู่มากตลอดมา แม้ไม่มีใครมาบอกให้ตายแทนท่านอาจารย์มั่น ทั้งรู้สึกเสียใจขณะที่เขียนประวัติท่านว่าตนโง่มาก แม้ท่านเมตตาเล่าอะไรให้ฟังทุกแง่ทุกมุมก็จำไม่ได้เท่าที่ควร ปล่อยให้หลุดหายไปเสียมากต่อมาก เพราะภาชนะรับไม่ดี ที่ได้มาเขียนบ้างนี้ต้องขออภัย ถ้าเทียบกับสัตว์ก็คงเป็นชนิดสัตว์เลี้ยงที่ไล่ไม่ยอมหนีนั่นแล จึงยังตกค้างอยู่ในความจำพอได้มาลงให้ท่านผู้อ่านคันฟันไปด้วย เพราะอ่านไม่ถึงใจ
    ความลึกลับดังกล่าวมา ในสมัยปัจจุบันก็มีท่านอาจารย์มั่นเป็นผู้รื้อฟื้นขึ้นมาพอเป็นขวัญใจบ้าง สำหรับผู้ได้ยินจากท่านเมตตาทั้งภายในและภายนอก แต่ผู้รู้ตามท่านบ้างในความลี้ลับทั้งสองนี้รู้สึกมีน้อยมาก แทบไม่มี ประหนึ่งท่านปฏิบัติเพื่อความตาดีใจสว่าง เราปฏิบัติเพื่อความตาบอดใจมืด จึงไม่ยอมรู้เห็นอย่างท่านบ้าง พอได้เขียนแทรกลงในประวัติท่านแม้ไม่มาก นี้เป็นความจนใจของผู้เขียนเอง มิได้สนใจบรรดาความรู้ความเห็นต่าง ๆ ที่ท่านแสดงให้ฟังอย่างฉะฉาน เท่าที่สังเกตดูลูกศิษย์ที่พอรู้เห็นตามท่านได้บ้าง ทั้งภายในภายนอก ไม่ปรากฏว่ามีรายใดคัดค้านท่านเลย แต่กลับเป็นพยานแก่กันและกันในสิ่งที่ตนรู้เห็นและสิ่งที่ท่านรู้เห็นเป็นอย่างดีอีกด้วย พอแสดงให้ผู้ไม่รู้ไม่เห็นมีเงื่อนพิจารณาว่าอาจมีมูลความจริง ในสิ่งที่ตนไม่รู้ไม่เห็นนั้น ๆ ได้เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ธรรม และทรงรู้เห็นเหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นพระองค์แรก แล้วมีพระสาวกรู้เห็นตามและกลายเป็นพยานของกันและกัน ฉะนั้นเรื่องที่ท่านอาจารย์มั่นรู้เห็นทั้งภายในภายนอกในสมัยปัจจุบัน ก็มิได้เป็นของลี้ลับเสมอไป เมื่อยังมีผู้รู้เห็นตามท่านได้อยู่ แม้ไม่มากราย
    แก้ปัญหาให้อุบาสิกาไม่ต้องไปเกิดในท้องหลานสาว
    ยังมีเรื่องลี้ลับอีกเรื่องหนึ่งซึ่งน่าพิจารณาและน่าสงสัยอยู่มาก ในสมาคมแห่งบุคคลผู้ชอบเป็นคนนักสงสัยเช่นพวกเรา คือ
    เมื่อท่านพักอยู่วัดบ้านหนองผือ นาใน มีอุบาสิกานุ่งขาวห่มขาวคนหนึ่งซึ่งมีความเคารพเลื่อมใสท่านมาก มาเล่าเรื่องของตัวเองถวายท่านว่า ขณะแกนั่งภาวนาตลอดกลางคืนยามดึกสงัด พอจิตรวมสงบลงสนิทไม่แสดงกิริยาใด ๆ ปรากฏแต่ความสงบนิ่งอยู่เฉพาะในเวลานั้น ทำให้แกเห็นกระแสจิตอันละเอียดยิ่งออกจากดวงจิตเป็นสายใยยาวเหยียด ออกนอกกายนอกใจไปสู่ภายนอก แกเกิดความสงสัย จึงตามดูว่ากระแสจิตนี้มันขโมยส่งออกไปแต่เมื่อไร ส่งไปเกี่ยวข้องกับอะไรและส่งไปเพื่ออะไร พอแกตามกระแสจิตอันละเอียดนั้นไป ก็ทราบชัดในขณะนั้นว่า กระแสจิตแกเริ่มไปจับจองที่เกิดเอาไว้ในท้องหลานสาวคนหนึ่งในหมู่บ้านเดียวกัน ทั้งที่ตัวแกยังไม่ตาย
    พอทราบเช่นนั้นก็เกิดความตกใจ เลยต้องย้อนจิตกลับคืนมาที่เดิม และถอนจิตออกจากสมาธิ แกใจไม่ดีเลยนับแต่ขณะนั้นมา และในระยะเดียวกัน หลานสาวคนนั้นก็เริ่มตั้งครรภ์มาได้หนึ่งเดือนแล้วเช่นกัน พอตื่นเช้าวันหลังแกรีบออกมาวัด เล่าเรื่องนั้นถวายท่านอาจารย์ฟังดังที่กล่าวมา ขณะนั้นผู้เขียนกับพระเณรหลายท่านก็นั่งฟังอยู่ด้วย ต่างองค์ต่างงงไปตาม ๆ กัน ขณะที่ได้ฟังแกเล่าเรื่องแปลก ๆ ที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน เฉพาะผู้เขียนสนใจอยากทราบเรื่องนี้เป็นพิเศษอยู่อย่างกระหาย ว่าท่านอาจารย์ท่านจะอธิบายไปในแง่ใดบ้างให้หญิงแก่คนนั้นฟัง ขณะนั้นทุกคนนั่งนิ่งเงียบราวกับไม่หายใจ นัยน์ตาต่างชำเลืองดูท่านอาจารย์ด้วยความกระหายอยากฟังในเดี๋ยวนั้น ๆ
    ท่านอาจารย์เองนั่งหลับตานิ่งเงียบอยู่ครู่หนึ่งราว ๒ นาที แล้วจึงอธิบายธรรมให้แก่โยมแก่คนนั้นฟังว่า
    “เมื่อจิตรวมสงบลง คราวต่อไปให้โยมตรวจดูกระแสจิตด้วยดี ถ้าเห็นกระแสนั้นส่งออกไปภายนอกดังที่โยมว่านั้น ให้กำหนดจิตตัดกระแสนั้นให้ขาดด้วยปัญญา ถ้ากำหนดตัดขาดด้วยปัญญาจริง ๆ ต่อไปกระแสนั้นจะไม่ปรากฏ แต่โยมต้องกำหนดดูกระแสจิตนั้นด้วยดีและกำหนดตัดให้ขาดด้วยปัญญาจริง ๆ อย่าทำเพียงสักแต่ว่าทำเท่านั้น เดี๋ยวเวลาตายโยมจะไปเกิดในท้องหลานสาวนะจะหาว่าอาตมาไม่บอก นี่คือคำบอกของอาตมา จงจำให้ดี ถ้าโยมกำหนดตัดกระแสจิตนั้นไม่ขาด เวลาโยมตายต้องไปเกิดในท้องหลานสาวแน่ ๆ ไม่สงสัย”
    พอแกได้รับคำแนะนำจากท่าน แล้วก็กลับบ้าน ราวสองวันแกกลับมาหาท่านอีกด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสมาก แม้คนไม่มีญาณ ยังทราบได้จากสีหน้าของแกที่บ่งบอกอย่างชัดเจนว่า สมประสงค์แล้ว พอแกนั่งลงเท่านั้น ท่านอาจารย์ก็ถามเป็นเชิงเล่นบ้าง จริงบ้างทันทีว่า
    “เป็นอย่างไร ห้ามอยู่หรือเปล่า ที่จะไปเกิดกับหลานสาวทั้งที่ตัวยังไม่ตายน่ะ”
    แกเรียนตอบท่านทันทีเลยว่า “โยมตัดขาดแล้วคืนแรก คือพอจิตรวมสงบลงสนิทแล้วกำหนดดู ก็เห็นเด่นชัดดังที่เคยเห็นมาแล้ว โยมก็กำหนดตัดด้วยปัญญาดังหลวงพ่อบอกจนขาดกระเด็นไปเลย คืนนี้โยมกำหนดดูอีกอย่างละเอียดเพื่อความแน่ใจ วานนี้จึงยังไม่ออกมา ไม่ปรากฏว่ามีอีก หายเงียบไปเลย วันนี้อยู่ไม่ได้ต้องออกมาเล่าถวายหลวงพ่อฟัง”
    ท่านเริ่มประโยคแรกว่า
    นี่แลความละเอียดของจิต จะทราบได้จากการภาวนาเท่านั้น วิธีอื่นไม่มีทางทราบได้ โยมเกือบเสียตัวให้กิเลสตัวนี้จับไสไปเกิดในท้องหลานสาวแบบไม่รู้สึกตัว แต่ยังดีภาวนารู้เรื่องของมันเสียก่อน แล้วรีบแก้ไขกันทันเหตุการณ์
    ฝ่ายผู้หญิงคนนั้น พอทางนี้ตัดกระแสจิตขาดจากความสืบต่อก็แท้งในระยะเดียวกัน
    อยู่มาไม่นานนักปัญหาเกี่ยวกับการไปเกิดทั้งที่เจ้าของยังไม่ตาย และปัญหาเกี่ยวกับการแท้งบุตรก็เกิดขึ้นในวงคณะสงฆ์ด้วยกัน เพราะคนอื่นไม่มีใครทราบ ตัวยายแก่ก็ไม่เคยบอกเรื่องแกให้ใครทราบ แกมาเล่าถวายเฉพาะท่านอาจารย์องค์เดียว แต่พระหลายองค์ซึ่งนั่งฟังอยู่ด้วยก็พลอยได้ทราบเรื่องของแกอย่างละเอียดทุกแขนงไป ฉะนั้นปัญหานี้จึงเกิดขึ้นในวัดหนองผือ โดยพระสงฆ์นำปัญหาทั้งสองข้อนี้เรียนถามท่านอาจารย์
    ในปัญหาแรกว่า คนยังไม่ตายทำไมจึงเริ่มไปเกิดในท้องเขาแล้ว
    ท่านตอบว่า ก็เพียงเริ่มนี่นา ยังมิได้ไปเกิด แม้กิจอื่น ๆ ก็ยังมีทางเริ่มได้ทั้งที่ยังไม่ลงมือทำ นี่แกก็เพียงเริ่มจะไปเกิดเท่านั้น แต่ยังมิได้ไปเกิด จึงยังไม่เป็นปัญหาและอุปสรรคแก่คำว่าคนยังไม่ตาย แต่ไปเกิดแล้ว ถ้าแกรู้ไม่ทันก็มีหวังไปตั้งบ้านเรือนคือเกิดในท้องหลานสาวแน่ ๆ
    ปัญหาที่สองว่า การตัดกระแสจิตที่กำลังสืบเนื่องเกี่ยวโยงกันระหว่างยายแก่กับหญิงคนนั้น ไม่เป็นการทำลายชีวิตมนุษย์หรืออย่างไร
    ท่านตอบว่า จะทำลายอะไรก็เพียงตัดกระแสจิตเท่านั้น มิได้ตัดหัวคนที่เกิดเป็นตนเป็นตัวแล้ว จิตแท้ยังอยู่กับยายแก่ ส่วนกระแสจิตแกส่งไปยึดไว้ที่หลานสาว พอแกรู้ก็รีบแก้ไขคือตัดกระแสจิตของตนเสีย มิให้ไปเกี่ยวข้องอีกต่อไป เรื่องก็ยุติกันไปเท่านั้น
    ที่สำคัญก็ตอนที่ยายแก่มาเล่าถวายท่านว่า กระแสจิตตนขโมยไปจับจองเอาท้องหลานสาวเป็นที่เกิดโดยเจ้าตัวไม่รู้ ท่านอาจารย์เองก็มิได้คัดค้านว่าที่รู้อย่างนั้นไม่จริง ไม่ถูก ควรพิจารณาเสียใหม่ แต่กลับตอบไปตามร่องรอยที่ยายแก่รู้เห็น จึงเป็นเรื่องที่น่าคิดอยู่มาก
    เมื่อพิจารณาให้ดีแล้วก็มีสาเหตุที่พาให้จิตส่งไปเกี่ยวเกาะกับหลานสาวได้ คือยายแก่เล่าว่า แกรักหลานสาวคนนี้มากเสมอมา มีเมตตาห่วงใยและติดต่อเกี่ยวข้องกับหลานสาวคนนี้เสมอ แต่มิได้คิดว่าจะมีสิ่งลึกลับคอยแอบขโมยไปก่อเหตุเช่นนั้นขึ้นมา ถึงกับจะต้องไปเกิดเป็นลูกเขาอีก ถ้าไม่ได้หลวงพ่อช่วยวิธีแก้ไขก็คงไม่พ้นไปเกิดในท้องหลานสาวแน่นอน
    ท่านอาจารย์มั่นว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #FFFFF5" bgcolor="#fffff5" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 95%; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="569">
    จิตนี้พิสดาร เกินกว่าความรู้ความสามารถของคนธรรมดาจะตามรู้ตามรักษาได้ โดยมิให้เป็นภัยแก่ตัวผู้เป็นเจ้าของ ดังที่ยายแก่พูดไม่มีผิด ถ้าแกไม่มีหลักใจทางสมาธิภาวนาอยู่บ้าง แกไม่มีทางรู้วิถีทางเดินของใจได้เลย ทั้งเวลาเป็นอยู่และเวลาตายไป ฉะนั้นการทำสมาธิภาวนา จึงเป็นวิธีปฏิบัติต่อใจได้ดีและถูกทาง ยิ่งเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อด้วยแล้ว สติปัญญายิ่งมีความสำคัญมากในการตามรู้และรักษาจิต ตลอดการต้านทานทุกขเวทนาไม่ให้มาทับจิตในเวลาจวนตัว ซึ่งเป็นเวลาเอาแพ้เอาชนะกันจริง ๆ
    ถ้าพลาดท่าขณะนั้นก็เท่ากับพลาดไปอย่างน้อยภพหนึ่งชาติหนึ่ง เช่น ไปเกิดเป็นสัตว์ชนิดใดก็ต้องเสียเวลานานเท่าชีวิตของสัตว์ในภพภูมินั้น ๆ ขณะที่เสียเวลายังต้องเสวยกรรมในกำเนิดนั้นไปด้วย ถ้าจิตดีมีสติพอประคองตัวได้ อย่างน้อยก็มาเกิดเป็นมนุษย์ มากกว่านั้นก็ไปเกิดในเทวสถาน ชมวิมานและเสวยทิพย์สมบัติอยู่นานปีถึงจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก เวลามาเกิดเป็นมนุษย์ก็ไม่ลืมศีลธรรมที่ตนเคยบำเพ็ญรักษามาแต่บุพเพชาติ ทำให้เพิ่มอำนาจวาสนาบุญญาภิสมภารขึ้นโดยลำดับ จนจิตมีกำลังแก่กล้าสามารถรักษาตัวได้ การตายก็เป็นเพียงการเปลี่ยนร่างจากต่ำขึ้นไปสูง จากสั้นไปหายาว จากหยาบไปหาละเอียด จากวัฏจักรไปเป็นวิวัฏจักร ดังพระพุทธเจ้าและสาวกท่านเปลี่ยนภพเปลี่ยนภูมิ เปลี่ยนเครื่องเสวยมาเป็นลำดับ สุดท้ายก็หมดสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงให้เป็นอะไรต่อไปอีก เพราะจิตที่ได้รับการอบรมไปทุกภพทุกชาติจนฉลาดเหนือสิ่งใด ๆ กลายเป็นนิพพานสมบัติขึ้นมาอย่างสมพระทัยและสมใจ ซึ่งล้วนไปจากการฝึกฝนอบรมจิตให้ดีไปโดยลำดับทั้งสิ้น
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ด้วยเหตุนี้นักปราชญ์ทั้งหลายจึงไม่ท้อถอยในการสร้างกุศล อันเป็นสวัสดีมงคลแก่ตนทุกเพศทุกวัย จนสุดวิสัยที่จะทำได้ไม่เลือกกาล ต้องขออภัยท่านผู้อ่านมาก ๆ ที่เขียนวกไปเวียนมาทั้งที่พยายามจนสุดกำลัง แต่ความหลงลืมรู้สึกจะออกหน้าออกตาอยู่ตลอดเวลาจึงทำให้ยุ่ง หยิบหน้าใส่หลังหยิบหลังใส่หน้าไม่รู้จักจบสิ้นลงได้ ทั้งนี้เรื่องท่านผ่านไปไกลจนแทบพูดได้ว่าเกือบจบแล้ว ผู้เขียนก็ยังเก็บไม่หมดเพราะความหลงลืมตัวเดียวเท่านั้น พาให้วุ่นไม่เลิกแล้วไปได้ อ่านต่อไปท่านก็ยังจะได้เห็นความเหลวไหลของผู้เขียนไปตลอดสาย เกี่ยวกับเรื่องสับสนระคนกัน ไม่เรียงลำดับไปตามแถวตามแนวที่ควรจะเป็น
    อีกเรื่องหนึ่งที่น่าคิดก็คือ
    ให้พญานาคแสดงรอยให้ปรากฏเป็นหลักฐาน
    ที่วัดหนองผือนั่นเอง เช้าวันหนึ่งขณะที่ท่านออกจากที่ภาวนาแล้วออกมาจากห้อง ท่านถามขึ้นมาเลยโดยไม่มีใครเริ่มเรื่องไว้ก่อนว่า
    “พากันไปดูซิที่ใต้ถุนกุฎีเรา เห็นรอยงูใหญ่ออกไปจากที่นั่นหรือเปล่า คืนนี้พญานาคมาเยี่ยมฟังธรรม ก่อนจะไปเราบอกให้แสดงรอยไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายให้พระเณรดูกันตอนเช้าบ้าง”
    พระก็เรียนตอบท่านว่า “มีรอยงูตัวใหญ่มาก ซึ่งออกจากใต้ถุนท่านอาจารย์เข้าไปในป่าโน้น งูตัวนี้มาจากไหนก็ไม่รู้ ที่อื่นรอยไม่ปรากฏ แต่มาปรากฏเอาตรงใต้ถุนนี้เท่านั้น ลานวัดเตียน ๆ รอยมาจากทางไหนก็พอจะเห็นได้ แต่นี่ไม่เห็นมาจากที่อื่นเลย มามีเฉพาะใต้ถุนนี้แห่งเดียวนอกนั้นไม่มี”
    ท่านตอบว่า “จะให้มีมาจากที่ไหนกันก็พญานาคลงไปจากกุฎีเราเมื่อคืนนี้ ก่อนจะไปเราบอกให้แสดงรอยไว้ใต้ถุนกุฎีเรา” ดังนี้
    ถ้ามีพระเณรเห็นรอยงูก่อนแล้วขึ้นไปเรียนถามท่านเป็นต้นเหตุก่อนก็จะไม่น่าคิดนัก แต่นี้ท่านถามออกมาเลยทีเดียว โดยไม่มีใครปรารภเรื่องนี้ไว้ก่อน ประกอบกับรอยงูใหญ่ที่ใต้ถุนท่านก็มีจริง ๆ ดังที่ท่านถามด้วย นี้แสดงว่าท่านรู้เห็นทางใน และให้พญานาคแสดงรอยไว้ให้พระเณรดูทางตาเนื้อ เพราะตาในบอด ไม่สามารถมองเห็นได้เวลาพญานาคมาเยี่ยมฟังธรรมท่าน
    แล้วก็พากันเรียนถามท่านในโอกาสว่าง ๆ ว่า เวลาพญานาคมาหาท่านอาจารย์ เขามาในร่างแห่งงูหรือในร่างอะไร
    ท่านตอบว่า พวกนี้เอาแน่นอนไม่ได้ ถ้ามาเพื่ออรรถเพื่อธรรมดังที่มาหาเรา ก็มาในร่างแห่งมนุษย์เป็นชั้น ๆ ตามแต่ยศใครสูงหรือต่ำ ถ้าเป็นพญานาคก็มาในร่างแห่งกษัตริย์ มีบริวารห้อมล้อมมา กิริยาอาการทั้งหมดเหมือนกิริยาของกษัตริย์ทั้งสิ้น การสนทนาก็เหมือนพระสนทนากับกษัตริย์ ใช้ราชาศัพท์กันเป็นพื้น บรรดาบริวารที่มาด้วยก็เหมือนข้าราชการตามเสด็จพระมหากษัตริย์ ต่างมีมรรยาทเรียบร้อยสวยงาม มีความเคารพกันมากยิ่งกว่ามนุษย์เรา ขณะที่นั่งฟังธรรมไม่มีใครแสดงกิริยากระดุกกระดิกอันเป็นการแสดงความรำคาญ ขณะสนทนาธรรมก็มีเฉพาะหัวหน้าเป็นผู้ทำหน้าที่แทน ใครสงสัยก็พูดกับหัวหน้า หัวหน้าก็เรียนถามท่านแทน ท่านก็อธิบายให้ฟังตามจุดที่สงสัย จนเป็นที่เข้าใจแล้วก็พากันลากลับ
    ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่พวกเราจะพอเชื่อตามท่านได้แม้ตนไม่รู้ คือ
    รู้ว่าของที่ถวายไม่บริสุทธิ์
    มีพระองค์หนึ่งเห็นท่านชอบสูบบุหรี่ตราไก่ เลยสั่งโยมไปแลกเปลี่ยนมาถวายท่าน เวลาเขานำมาให้แล้วก็นำไปถวายท่าน ขณะนั้นท่านก็ยังไม่ว่าอะไร คงยังไม่มีเวลาพิจารณา เพราะขณะที่พระนำบุหรี่ไปถวาย เป็นเวลาที่ท่านกำลังพูดธรรมะอยู่ จึงพากันฟังธรรมท่านไปเรื่อย ๆ จนจบแล้วพากันกลับมา พอเช้าวันหลังพระองค์นั้นขึ้นไปหาท่านอีก ท่านบอกว่า
    “บุหรี่กล่องนี้ให้เอาไปเสีย ผมไม่สูบ เพราะเป็นบุหรี่หลายเจ้าของ”
    ทางพระองค์นั้นเรียนท่านว่า “บุหรี่นี่เป็นของกระผมคนเดียว ที่สั่งให้โยมไปแลกเปลี่ยนมาวานนี้มิได้เป็นของหลายเจ้า กระผมสั่งเขาให้หามาถวายท่านอาจารย์โดยเฉพาะ”
    ท่านก็พูดยืนคำอยู่อย่างนั้นว่า “ให้เอาไปเสีย เพราะบุหรี่นี้มีหลายเจ้าของเป็นกรรมสิทธิ์ไม่บริสุทธิ์ จะสูบเอาประโยชน์อะไร”
    พระองค์นั้นก็ไม่กล้าเรียนท่านอีกเพราะกลัวถูกดุ ต้องจำใจถือบุหรี่กล่องนั้นกลับมา แล้วเรียกโยมคนที่สั่งให้ไปแลกเปลี่ยนนั้นมาถามเรื่องราวว่า เขาทำอย่างไรกันแน่
    เมื่อถามโยมคนนั้นก็ทราบว่า เขาเอาปัจจัยซึ่งเหลือจากที่แลกเปลี่ยนสมณบริขารของพระหลายองค์ ที่สั่งเขามาแลกเปลี่ยนบุหรี่กล่องนั้นมา
    ท่านถามเขาว่า พระองค์ใดบ้างที่สั่งและปัจจัยขององค์ใดบ้างที่โยมเอามาแลกเปลี่ยนบุหรี่กล่องนี้มา
    เขาก็บอกว่าขององค์นั้น ๆ พอทราบเรื่องละเอียดแล้ว ท่านก็รีบไปหาพระที่โยมระบุนามและบอกเรื่องราวของบุหรี่ให้ท่านทราบ ต่างก็แสดงความยินดีต่อท่านอยู่แล้ว จึงพอใจอนุโมทนาโดยทั่วกันในขณะนั้น
    พระองค์นั้นจึงได้นำบุหรี่กล่องนั้นไปถวายท่านอีก โดยกราบเรียนสารภาพตัวว่าเป็นความผิดของตัวจริง ๆ ที่ไม่ได้ไต่ถามโยมผู้ไปแลกเปลี่ยนโดยละเอียดถี่ถ้วนก่อน แต่แล้วก็เป็นความจริงดังท่านอาจารย์ว่าจริง ๆ บัดนี้กระผมได้ถามโยมดูแล้วว่า เป็นของหลายเจ้าที่เขาเอารวมกันซื้อมา ส่วนพระทั้งหลายพอทราบ ต่างยินดีถวายท่านอาจารย์ด้วยกันทั้งหมด
    ท่านก็รับบุหรี่กล่องนั้นไว้โดยมิได้พูดอะไรต่อไป แม้หลังจากวันนั้นแล้วก็หายเงียบไปเลย พอพระองค์นั้นกลับมาพูดเรื่องบุหรี่กับหมู่เพื่อนที่ตนไปคัดค้านท่านแต่ไม่ได้ผล สุดท้ายก็ถูกตามคำท่าน พระที่ได้ยินคำนี้เกิดความแปลกใจว่าท่านรู้ได้อย่างไร เพราะไม่มีใครไปกราบเรียนท่านเลย
    ท่านหนึ่งพูดค้านขึ้นในสมาคมหนู (สภาลับของพระที่แอบคุยกัน) ว่า
    ก็ถ้าท่านเหมือนพวกเรา ๆ ก็จะว่าท่านรู้ท่านฉลาดอย่างไรล่ะ เพราะท่านต่างจากพวกเราทุกด้านนั้นเอง จึงได้เคารพและชมว่าท่านฉลาดจริง ที่พวกเราพากันมารุมอาศัยพึ่งร่มเงาท่านอยู่ ก็เพราะเห็นความสามารถท่านต่างจากพวกเราราวฟ้ากับดินนั่นแล ผมเองไม่สงสัย แม้ไม่รู้อย่างท่านก็ยังเชื่อว่า ท่านรู้กว่าผม ฉลาดกว่าผมทุกด้าน ไม่มีอะไรต้องติ จึงได้มามอบกายถวายชีวิตให้ท่านดุด่าสั่งสอน โดยมิได้มีทิฐิมานะแสดงออกให้กระเทือนใจท่านแม้แต่น้อย ทั้งที่กิเลสมีอยู่กับใจ แต่กิเลสมันคงกลัวท่านเหมือนกัน จึงไม่กล้าแสดงออกมาบ้างเลย
    ผมเข้าใจว่าเพราะความยอมตน ความกลัว ความเคารพเลื่อมใสท่าน ซึ่งมีอำนาจมากกว่ากิเลสประเภทเลว ๆ ที่เคยต่อสู้กับครูหรือกับใคร ๆ มาประจำนิสัย แต่พอมาถึงท่านแล้วมันหมอบราบไปเสียหมด ไม่มีกิเลสตัวใดกล้าออกมาเพ่นพ่านเหมือนอยู่กับอาจารย์อื่น ๆ ถ้าทราบว่าเรายังไม่ยอมลงท่าน ผมเองก็ไม่กล้ามาอยู่กับท่าน แม้ขืนอยู่ไปคงไม่เกิดประโยชน์ นอกจากจะเกิดโทษโดยถ่ายเดียวเท่านั้น
    จะว่าอะไร แค่นำของไปถวายท่านดังที่เห็น ๆ มา เพียงเราคิดไม่ดีในตอนกลางคืน พอตกตอนเช้าไปกุฎีท่าน มองดูสายตาท่านแหลมคม ราวกับจะฉีกเราให้แหลกละเอียดไปในขณะนั้นทีเดียว ถ้าเห็นอาการอย่างนั้นอย่าขืนเข้าไปรับบริขารหรืออะไร ๆ จากมือท่าน ท่านเป็นไม่ยอมให้คนแบบนั้นรับเด็ดขาด ที่ท่านทำอย่างนั้น ก็เพื่ออุบายทรมานความดื้อด้านของเราโดยทางอ้อม ยิ่งกว่านั้นก็ใส่ปัญหาแทงเข้าไปในขั้วหัวใจเราให้เจ็บแสบอยู่นาน ๆ เพื่อจะได้เข็ดหลาบเสียที แต่แปลกใจปุถุชนเรานี้มันเข็ดแต่ไม่หลาบ คือเข็ดขณะที่ถูกของแข็งและเจ็บแสบลงลึกในเวลานั้น พอท่านแสดงอาการธรรมดากับตนบ้าง เอาอีกแล้ว เกิดเรื่องอีกจนได้
    ทั้งที่ไม่มีเจตนาจะคิดสิ่งที่เห็นว่าเป็นภัยแก่ตน แต่มันตามอาจารย์ของเจ้าบอนนี่ (ลิง) ไม่ทันสักที เพราะมันรวดเร็วยิ่งกว่าลิงร้อยตัวเป็นไหน ๆ พอมาหาท่านอีกดูท่าทางแล้วชักจะเข้าไม่ติด มีสีหน้าและสายตาแปลก ๆ พอให้ระวังยาก ๆ อยู่นั่นแล แม้เช่นนั้นมันยังไม่รู้สึกเข็ดหลาบเลย คือไม่เห็นภัยไปนาน พอไป ๆ ชักจะเห็นสิ่งที่เคยเป็นภัยนั้น ๆ ว่าเป็นมิตรโดยไม่รู้สึกตัวอีกแล้ว ฉะนั้น จึงว่ามันเข็ดแต่ไม่หลาบ ถ้าทั้งเข็ดทั้งหลาบก็รู้สึกตัวและกลัวสิ่งนั้นไปนาน ๆ ใจก็สงบเย็นไม่รุ่มร้อน เวลามาหาท่านก็ไม่ได้ระวังนักว่าท่านจะดุด่าต่าง ๆ จิตผมเป็นอย่างนี้จึงหนีจากท่านไปไหนไม่ค่อยได้ เพราะไม่ไว้ใจตัวเอง อยู่กับท่านมันกลัวและระวังอยู่เสมอ ใจก็ไม่กล้าคิดไปนอกลู่นอกทางนัก หากมีบ้างก็รู้ได้เร็ว รีบฉุดมาทันกับเหตุการณ์ ไม่ถึงกับแสดงผลร้อนให้ปรากฏ
    ผมน่ะเชื่อท่านชนิดหมอบราบเลยทุกวันนี้ ว่าท่านอาจารย์มั่นท่านรู้วาระจิตผมจริง ๆ ส่วนท่านจะรู้วาระจิตใครหรือไม่ผมไม่สนใจ สนใจเฉพาะเรื่องท่านกับผมเท่านั้น เพราะผมมันเป็นคนชอบดื้อไม่เข้าเรื่อง น่าให้ท่านดัดสันดาน ท่านจึงดัดเสียบ้างพอให้เข็ด คือบางทีมันคิดบ้า ๆ ไปก็มี เมื่อมาอยู่กับท่านใหม่ ๆ โดยคิดว่า เขาว่าท่านอาจารย์มั่นนี้รู้จิตใจคน ใครคิดอะไรท่านรู้ได้หมด ท่านจะรู้ได้หมดจริง ๆ หรือ ถ้าท่านรู้ได้หมดจริง ๆ สำหรับเราไม่จำเป็นที่ท่านจะสนใจรู้ไปหมด ขอให้ท่านรู้แต่ความคิดของเราที่คิดอยู่ขณะนี้ก็พอแล้ว ถ้าท่านรู้แม้เพียงขณะจิตที่เราคิดต่อท่านอยู่เวลานี้เท่านั้น เราจะยอมกราบท่านอย่างราบเลย นอกนั้นเราไม่คิดเข้าบัญชีว่าเป็นเรื่องสำคัญสำหรับท่านเลย
    พอตกตอนเย็นไปหาท่าน ดูท่าทางแทบนั่งไม่ติดพื้นเสียแล้ว ตาท่านจับจ้องมาหาเราราวกับไม่กะพริบตาเอาเลย ขณะที่ตาจ้องมาก็เหมือนจะตะโกนจี้ใจเราอยู่ทุกขณะด้วย พอท่านเริ่มเทศน์ให้พระฟัง เราไม่ค่อยได้เรื่องอะไร ได้แต่ความร้อนใจอย่างเดียวและกลัวท่านจะดุเราคนเดียวที่ไปดื้อทดลองท่าน พอท่านเริ่มเทศน์ไม่นานนัก ธรรมที่เต็มไปด้วยไม้เรียวชนิดต่าง ๆ ก็เริ่มเฉียดหลัง เฉียดไปเฉียดมาและเฉียดใกล้เฉียดไกลเข้ามาทุกที บางทีเฉียดมาขั้วหัวใจจนร้อนวูบและตัวไหวโดยไม่รู้สึกตัว ยิ่งกลัวใจก็ยิ่งร้อนไม่เป็นสุขเลย ขณะนั่งฟังท่านเฆี่ยนท่านตีด้วยอุบายต่าง ๆ พอจวนจะจบการแสดงธรรม ทนไม่ไหวต้องยอมท่านทางภายในว่า เท่าที่คิดไปนั้นก็เป็นเพียงอยากทราบเรื่องท่านอาจารย์เท่านั้น ว่าจะรู้ใจคนอื่นจริงไหม มิได้มีความคิดจะดูถูกเหยียดหยามว่าไม่มีคุณธรรมอย่างอื่น มาบัดนี้ได้ยอมรับแล้ว ว่าท่านอาจารย์สามารถและเก่งจริง กระผมขอมอบกายถวายชีวิตต่อท่านอาจารย์ตลอดวันตาย ขอท่านได้เมตตาอนุเคราะห์สั่งสอนต่อไปเถิด อย่าได้เกิดความอิดหนาระอาใจด้วยเรื่องเพียงเท่านี้เสียก่อนเลย
    เราคิดยอมตนเพียงเท่านี้ การแสดงธรรมที่กำลังเผ็ดร้อนก็ค่อย ๆ อ่อนลง ๆ สุดท้ายก็แย้มปัญหาออกมาฝากไว้วาระสุดท้ายอีกว่า ความผิดความถูกมีอยู่กับตัวทำไมจึงไม่สนใจดูบ้าง เสือกไปหาดูเรื่องผิดเรื่องถูกของคนอื่นเพื่อประโยชน์อะไร ความคิดชนิดนั้นหรือที่พาให้เราเป็นคนเก่งคนดี แม้จะรู้ว่าคนอื่นเก่งคนอื่นดี แต่ถ้าเจ้าของไม่เก่งไม่ดีมันก็อยู่แค่นั้นเองไปไม่รอด ถ้าอยากรู้เรื่องของคนอื่นว่าดีหรือไม่ดีเพียงไร ก็ต้องดูเรื่องของตัวให้รอบคอบทุกด้านก่อน เรื่องของคนอื่นก็รู้ไปเอง ไม่จำต้องทดลอง คนลองไม่ใช่คนเก่งคนดี ถ้าเก่งถ้าดีจริงแล้วไม่ต้องลองก็รู้ แล้วก็จบธรรมเพียงเท่านั้น
    ผมเองเกือบสลบในขณะนั้น เหงื่อแตกโชกไปทั้งตัว ยอมท่านอย่างหมอบราบและเข็ดหลาบจนป่านนี้ ไม่เคยไปหาญลองดีกับท่านอีกเลย คราวนี้เป็นคราวเข็ดหลาบขนาดหนักสำหรับเรื่องที่เกี่ยวกับท่าน ถ้าเรื่องอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับท่านมันเข็ดขนาดนี้ ผมคงพ้นทุกข์ไปนานแล้ว แต่มันไม่เข็ดแบบนี้จึงน่าโมโหจะตายไป
    นี่เป็นเรื่องพระท่านแอบสนทนากันในสภาหนู ผู้เขียนก็อยู่ในสภานั้นด้วย และมีส่วนได้เสียไปด้วยกัน จึงได้นำเรื่องนี้มาลงโดยมีบุหรี่ตราไก่เป็นต้นเหตุ พอเป็นข้อคิดว่า ความจริงของความจริงมีอยู่ทุกแห่งทุกหนและทุกเวลาอกาลิโก ขอแต่ปฏิบัติให้ถึงความจริงทำจริง ต้องรู้ตามความสามารถและภูมิวาสนาของตนแน่นอน ไม่ว่าธรรมภายในคือสัจธรรม และธรรมภายนอกคือความรู้แขนงต่าง ๆ ตามภูมินิสัยวาสนาของแต่ละรายที่สร้างมา และความปรารถนาที่ตั้งไว้ไม่เหมือนกัน แต่ผลส่วนใหญ่คือมรรคผลนิพพานนั้น เมื่อถึงแล้วเหมือนกัน
    ท่านอาจารย์มั่นท่านเป็นอาจารย์ที่ผู้อยู่ใกล้ชิดจะลืมเรื่องต่าง ๆ และปฏิปทาที่ท่านพาดำเนินไม่ได้ตลอดไปเมื่อยังมีลมหายใจอยู่ บรรดาลูกศิษย์ท่านที่เป็นพระเถระผู้ใหญ่เวลานี้มีอยู่หลายองค์ด้วยกัน แต่ละองค์มีนิสัยวาสนาและปฏิปทาเครื่องดำเนินภายใน ตลอดความรู้อรรถธรรมและความรู้พิเศษแปลกต่างกันไปเป็นราย ๆ
    เท่าที่เขียนตอนต้นได้ระบุนามลูกศิษย์ท่านผ่านมาบ้างแล้ว ที่ยังมิได้ระบุนามท่านก็มี จึงได้เรียนไว้ว่า เมื่อดำเนินเรื่องท่านเจ้าของประวัติไปพอสมควร หากมีเวลาก็จะระบุนามคณะลูกศิษย์ท่านต่อไปอีกดังนี้ จึงได้เริ่มฟื้นนามลูกศิษย์ท่านขึ้นมาอีก พอทราบบ้างว่าท่านดำเนินและรู้กันอย่างไร ท่านประสบเหตุการณ์ต่าง ๆ มาอย่างไรบ้างแต่ละองค์ตามคติธรรมดา พระพุทธเจ้าทรงเผชิญความลำบากและรู้ธรรมอย่างไรบ้าง บรรดาสาวกก็ย่อมเดินตามรอยพระบาทที่ทรงพาดำเนิน ตลอดความรู้ความเห็นก็เป็นไปตามร่องรอยของศาสดาแบบศิษย์มีครู บรรดาลูกศิษย์ท่านอาจารย์มั่นก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันทางปฏิปทาเครื่องดำเนิน ส่วนการประสบเหตุการณ์ภายนอกที่น่าตื่นเต้นหวาดเสียว มีต่าง ๆ กันไปตามสถานที่อยู่บำเพ็ญและที่เที่ยวไป ไม่เหมือนกัน
    เมื่อกล่าวมาถึงตอนนี้ ก็ทำให้ระลึกเลื่อมใสและบูชาท่านอาจารย์องค์หนึ่งซึ่งเป็นศิษย์ผู้ใหญ่ท่านอาจารย์ ที่มีการเที่ยวธุดงคกรรมฐานแตกต่างจากหมู่คณะอยู่บ้าง จึงขอประทานโทษนำเรื่องท่านออกมาลงให้ท่านผู้อ่านได้ทราบบ้างในสมัยปัจจุบันว่า สิ่งที่เคยมีในครั้งพุทธกาลอันเป็นส่วนภายนอกอาจยังมีในสมัยนี้ได้อยู่บ้างหรืออย่างไร คือเราเคยได้ยินหรือได้เห็นในหนังสือ ว่าช้างมาถวายอารักขา และลิงมาถวายรวงผึ้งแด่พระพุทธเจ้าเป็นต้น เรื่องคล้ายคลึงกันในสมัยนี้ก็อาจเป็นเรื่องของท่านอาจารย์องค์นี้ จึงขอประทานออกนามท่านด้วย เพื่อเป็นหลักฐานไว้กับเรื่องที่กำลังดำเนินอยู่ขณะนี้
    เรื่องพระอาจารย์ชอบฝ่าดงเสือ
    ท่านมีนามว่า “ท่านพระอาจารย์ชอบ” อายุคงย่างเข้า ๗๐ ปี จำไม่ถนัด ทราบว่าท่านบวชมานาน การปฏิบัติท่านชอบอยู่ในป่าในเขาตลอดมาจนถึงปัจจุบัน นิสัยท่านชอบออกเดินทางในเวลาค่ำคืน ท่านจึงชอบเจอสัตว์จำพวกค่ำคืนมีเสือเป็นต้นเสมอ
    บ่ายวันหนึ่งท่านออกเดินทางจากหล่มสัก เพชรบูรณ์ มุ่งไปทางจังหวัดลำปาง เชียงใหม่ พอจวนจะเข้าดงหลวงก็พบชาวบ้าน เขาบอกท่านด้วยความเป็นห่วงว่า
    ขอนิมนต์ท่านพักอยู่หมู่บ้านแถบนี้ก่อน เช้าวันหลังค่อยเดินทางต่อไป เพราะดงนี้กว้างมาก ถ้าตกบ่ายแล้วเดินทางไม่ทะลุดงได้เลย ถ้าเดินไม่ทะลุป่าในตอนกลางวัน โดยมากคนมักเป็นอาหารเสืออยู่เสมอ เพราะความไม่รู้ระยะทางใกล้ไกล ดังนี้พอบ่ายไปแล้วเดินทางไม่ทะลุแน่ และตอนกลางคืนเสือออกมาเที่ยวหากินทุกคืน ถ้าเจอคนแล้วมันก็ถือเป็นอาหารของมันเลย ไม่มีรายใดผ่านปากเสือไปได้ นี่ก็กลัวพระคุณเจ้าจะเป็นเช่นนั้น จึงไม่อยากให้ไปในเวลาบ่ายแล้วเช่นวันนี้ ป้ายประกาศเขาปิดไว้เพื่อผู้เดินทางจะได้อ่าน และทราบเรื่องของดงยักษ์นี้แล้วไม่กล้าไป ยักษ์จะได้ไม่กินเป็นอาหารของมัน
    ท่านถามเขาว่า ยักษ์อะไรกัน เคยได้ยินแต่โบราณท่านว่าไว้ แต่ทุกวันนี้ไม่เคยได้เห็นได้ยินเลย เพิ่งมาได้ยินเอาวันนี้เอง
    เขาเรียนท่านว่า ยักษ์เสือโคร่งใหญ่ลายพาดกลอนนั่นเองท่าน มิใช่ยักษ์อื่นที่ไหนหรอก ถ้าไปไม่ทะลุดง เสือต้องกินเป็นอาหารแน่นอน จึงขอนิมนต์ท่านกลับคืนไปพักค้างที่บ้านแถบนี้เสียก่อน พรุ่งนี้เช้าฉันเสร็จแล้วค่อยเดินทางต่อไป
    แต่ท่านไม่ยอมกลับและจะขอเดินทางต่อไปในวันนั้น เขาเรียนถามท่านด้วยความเป็นห่วงว่า
    บ่ายขนาดนี้ใครจะเดินเร็วขนาดไหนต้องมืดอยู่กลางดงใหญ่นี้ไม่มีทางพ้นไปได้เลย
    ท่านไม่ฟังเสียงเขาเลย มีแต่จะไปท่าเดียว
    เขาถามท่านว่า “ท่านกลัวเสือไหม”
    ท่านตอบเขาว่า “กลัว แต่จะไป”
     
  8. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ชาวบ้านเรียนท่านว่า “หากมันมาเจอแล้ว อย่างไรมันก็ไม่หนีคนเลย ต้องกินเป็นอาหารแน่นอน ถ้าท่านกลัวเสือกินคน ท่านก็ไม่ควรไป เพราะถ้าขืนไป มันก็กินท่านจนได้”
    ท่านตอบว่า “ถ้ากรรมมาถึงตัวแล้วก็ยอมเป็นอาหารของมันไปเสีย ถ้ากรรมยังสืบต่ออยู่มันคงไม่กิน”
    ว่าแล้วก็ลาเขา ออกเดินทางไปอย่างไม่อาลัยเสียดายชีวิตเลย
    พอก้าวเข้าในดงมองดูสองฟากทางมีแต่รอยเสือตะกุยดิน ทั้งขี้ทั้งเยี่ยวทั้งเก่าทั้งใหม่เต็มไปตลอดทาง ท่านก็เดินภาวนาเรื่อยไป ดูรอยเสือตามทางเรื่อยไป ใจก็ไม่กลัว พอมืดก็ถึงกลางดงพอดี ในขณะเดียวกันก็ได้ยินเสียงเสือโคร่งใหญ่กระหึ่มตามมาข้างหลัง ตัวหนึ่งกระหึ่มมาทางด้านหน้า ต่างร้องมาหากัน ตัวอยู่ข้างหลังก็ร้องใกล้เข้ามาจวนจะทันท่าน ตัวอยู่ข้างหน้าก็ร้องใกล้เข้ามาหาท่าน และต่างตัวต่างร้องใกล้เข้ามาทุกที ๆ ผลสุดท้ายทั้งตัวอยู่ข้างหน้าทั้งตัวอยู่ข้างหลังก็มาถึงท่านพร้อมกัน พอมาถึงท่านแล้วยิ่งกระหึ่มใหญ่
    พอเห็นท่าไม่ดี ท่านก็หยุดยืนนิ่งปลงอนิจฺจํว่า เราคงครั้งนี้แน่เป็นครั้งยุติของชีวิต เพราะมองไปดูตัวอยู่ข้างหน้า ก็กำลังทำท่าทำทางจะโดดมาตะครุบท่าน ชำเลืองตาไปดูตัวอยู่ข้างหลัง ก็กำลังทำท่าจะโดดมาตะครุบท่านอยู่เช่นเดียวกัน แต่ละตัวอยู่ห่างจากท่านราววาเศษเท่านั้น ขณะนั้นปรากฏว่าจิตกลัวจนเลยกลัว ยืนตัวแข็งโด่อยู่กับที่ แต่สติยังดีจึงกำหนดจิตให้ดีไม่ให้เผลอ แม้จะตายในขณะนั้นเพราะเสือกินก็ไม่ให้เสียที
    พอได้สติก็กำหนดย้อนกลับจากเสือเข้ามาหาตัวโดยเฉพาะ จิตก็รวมลงอย่างสนิทในขณะนั้น ความรู้ผุดขึ้นมาว่า เสือกินไม่ได้แน่นอน ดังนี้ จากนั้นก็หายเงียบไปเลยทั้งเสือทั้งคน ไม่รู้สึกว่าตนยืนอยู่หรือนั่งอยู่ ความรู้สึกเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ภายนอก ตลอดร่างกายได้หายไปโดยสิ้นเชิงในเวลานั้น ความหมายว่าเสือก็หายไปพร้อม ๆ กัน ยังเหลืออยู่เฉพาะความรู้ที่เด่นดวงเพียงอันเดียวทรงตัวอยู่ในขณะนั้น จิตรวมลงอย่างเต็มที่ คือถึงฐานแห่งสมาธิแท้และนานเป็นเวลาหลายชั่วโมงจึงถอนขึ้นมา
    พอจิตถอนขึ้นมาตัวเองยังยืนอยู่อย่างเดิม บ่าแบกกลดและสะพายบาตร มือข้างหนึ่งหิ้วโคมไฟเทียนไข ส่วนไฟดับแต่เมื่อไรไม่ทราบได้เพราะจิตรวมอยู่นาน
    พอจุดไฟสว่างขึ้น แล้วตามองไปดูเสือสองตัวนั้นเลยไม่เห็น ไม่ทราบว่าพากันหายไปไหนเงียบ ขณะที่จิตถอนขึ้นมานั้นมิได้คิดกลัวอะไรเลย แต่มีความอาจหาญเต็มดวงใจ ขณะนั้นแม้เสือจะมาอีกสักร้อยตัวพันตัวใจก็ไม่มีสะทกสะท้านเลย เพราะได้เห็นฤทธิ์ของใจและของธรรมประจักษ์แล้ว เมื่อจิตถอนขึ้นมาแล้วยังเกิดความอัศจรรย์ตัวเองว่า รอดปากเสือมาได้อย่างไรกัน และอัศจรรย์จนไม่มีอะไรเทียบได้
    ขณะนั้นทำให้เกิดความรักความสงสารเสือตัวนั้น ว่าเป็นคู่มิตรมาให้อรรถให้ธรรมเราอย่างถึงใจ แล้วก็พากันหายไปราวกับปาฏิหาริย์ ทำให้คิดถึงมันมากแทนที่จะกลัวเหมือนครั้งแรกพบ
    ท่านว่าเสือโคร่งทั้งสองตัวนั้นใหญ่มาก ตัวขนาดม้าที่แข่งอยู่ที่สนามม้านางเลิ้ง กรุงเทพฯ เราดี ๆ นี่เอง แต่ตัวมันยาวกว่าม้ามากมาย หัวมันวัดผ่าศูนย์กลางคงได้ราว ๔๐ เซนติเมตร ใหญ่พิลึก ไม่เคยพบเคยเห็นนับแต่เกิดมา ฉะนั้นเมื่อเห็นมันทีแรกจึงยืนตัวแข็งโด่ราวกับตายไปแล้ว เพียงแต่ยังมีสติดีอยู่เท่านั้น
    หลังจากจิตถอนขึ้นมาแล้วมีแต่ความรื่นเริงเย็นใจ คิดว่าไปที่ไหนไปได้ทั้งนั้น ไม่คิดกลัวอะไรเลยในโลก และมิได้คิดว่าจะมีอะไรสามารถทำลายได้ เพราะได้เชื่อจิตเชื่อธรรมว่าเป็นเอกในโลกทั้งสามอย่างเต็มใจเสียแล้ว
    หลังจากนั้นก็ออกเดินทางด้วยวิธีจงกรมไปในตัว อย่างเยือกเย็นเห็นผลในธรรมเต็มดวงใจ ไม่หวั่นไหว จิตมีความระลึกคิดถึงเสือคู่มิตรทั้งสองตัวนั้นมิได้ลืมเลย ถ้าเผื่อเห็นมันอีกคราวนี้ คิดว่าจะเดินเข้าไปลูบคลำหลังมันเล่นได้อย่างสบาย ราวกับสัตว์เลี้ยงในบ้านเราดี ๆ นี่เอง แต่มันจะยอมให้เราลูบคลำหรือไม่เท่านั้น
    การเดินทางในคืนวันนั้น หลังจากพบเสือแล้วมีแต่ความวิเวกวังเวงและรื่นเริงในใจไปตลอดทาง จนสว่างก็ยังไม่ทะลุดงเลย กว่าพ้นดงไปถึงหมู่บ้านก็ราว ๙ น.กว่า จึงเตรียมครองผ้าเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านนั้น พอชาวบ้านเห็นท่านเข้าไปบิณฑบาตต่างก็ร้องบอกกันมาใส่บาตร พอใส่บาตรเสร็จ เขาก็ตามท่านออกมาที่พักซึ่งวางบริขารที่ไม่จำเป็นไว้ที่นั้น และถามถึงการมาของท่าน ท่านก็บอกว่า มาจากที่โน้น ๆ ดังที่เขียนผ่านมาแล้ว มีความประสงค์จะเที่ยววิเวกไปเรื่อย ๆ
    บ้านแถบนั้นเป็นบ้านป่าบ้านดงกันทั้งนั้น พอเห็นท่านผ่านมาจากทางดงหลวงผิดเวลา จึงพากันถามท่าน ก็ทราบว่า ท่านเดินผ่านดงหลวงมาตลอดคืน ไม่ได้พักหลับนอนที่ไหนเลย
    พวกเขาพากันตกใจว่าท่านมาได้อย่างไร เพราะทราบกันดีว่าใครก็ตามถ้าผ่านดงนี้มาผิดเวลา ต้องเป็นอาหารเสือโคร่งใหญ่ในดงนี้กันแทบทั้งนั้น แล้วท่านมาได้อย่างไร เสือถึงไม่เอาท่านเป็นอาหารเล่า
    เขาถามท่านว่า ขณะท่านเดินผ่านดงใหญ่มาเจอเสือบ้างหรือเปล่าตลอดคืนที่มา
    ท่านก็บอกว่าเจอเหมือนกัน แต่มันไม่ได้ทำอะไรอาตมา
    เขาไม่อยากจะเชื่อท่าน เพราะเสือเหล่านี้คอยดักกินคนที่ตกค้างในป่าในเวลาค่ำคืนอยู่เป็นประจำ เมื่อท่านเล่าพฤติการณ์ระหว่างท่านกับเสือเจอกันให้เขาฟังแล้ว เขาถึงได้ยอมเชื่อว่า เป็นอภินิหารของท่านโดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับรายอื่น ๆ ซึ่งเป็นอาหารเสือแทบทั้งนั้น
    เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าคิดอยู่ไม่น้อย เพราะปกติคนที่เดินผ่านดงที่ว่านี้ โดยมากก็มักเป็นอาหารเสือกันดังกล่าว ความไม่รู้หนทางและระยะทางใกล้ไกล ตลอดอันตรายต่าง ๆ ที่อาจมีในระหว่างทาง นับว่าเป็นอุปสรรคแก่การเดินทาง ไม่ว่าทางภายในคือทางใจ และทางภายนอกคือทางเดินด้วยเท้า ย่อมอาศัยผู้เคยเดินเป็นผู้นำทางจึงจะปลอดภัย นี่เป็นเรื่องควรคิดสำหรับพวกเราผู้กำลังเดินทาง เพื่อความปลอดภัยและความสุขความเจริญแก่ตนทั้งปัจจุบันและอนาคต ไม่ควรประมาทว่าตนเคยคิดเคยพูดเคยทำและเคยเดิน โดยมากมักเป็นความเคยในทางที่ผิดมาแล้ว จึงชอบพาคนไปในทางผิดอยู่เสมอโดยไม่เลือกวัยและเพศ ถ้าเดินไม่ถูกทาง
    ท่านอาจารย์องค์นี้ชอบจะพบเหตุการณ์ทำนองนี้อยู่เสมอ ในชีวิตนักบวชที่ท่านดำเนินมา
    พระอาจารย์ชอบ พบเสือมาอารักขาเฝ้าปากถ้ำ
    อีกครั้งหนึ่งท่านไปเที่ยวธุดงค์ในประเทศพม่า พักบำเพ็ญเพียรอยู่ในถ้ำ เสือชอบมาหาท่านเสมอแต่ไม่ทำอะไรท่าน วันหนึ่งราว ๕ โมงเย็น ท่านนั่งภาวนาอยู่ในถ้ำ โดยมิได้คาดฝันว่าจะมีสัตว์มีเสือที่อาจหาญขนาดนั้นมาหาท่าน พอออกจากที่ภาวนาพอดีตามองไปหน้าถ้ำ เห็นเสือโคร่งใหญ่ลายพาดกลอนตัวหนึ่งเดินขึ้นมาหน้าถ้ำที่ท่านกำลังพักอยู่ มันตัวใหญ่มาก น่ากลัวพิลึก แต่ท่านไม่คิดกลัวมัน คงจะเป็นเพราะท่านเคยเห็นสัตว์พรรค์นี้มาบ่อยครั้งก็เป็นได้ พอมันเดินขึ้นมา มันก็มองเห็นท่าน และท่านก็มองเห็นมันพอดีเช่นเดียวกัน
    ขณะที่มันมองมาเห็นท่าน แทนที่มันจะแสดงอาการกลัวหรือแสดงอาการคำรามให้ท่านกลัว แต่มันทำอาการเฉย ๆ เหมือนสุนัขบ้าน ไม่แสดงอาการกลัวและอาการขู่คำรามใด ๆ ทั้งสิ้น พอมันขึ้นมาถึงถ้ำแล้ว ตามันมองโน้นมองนี้แล้วกระโดดขึ้นไปนั่งอยู่บนก้อนหินด้านทางขึ้นถ้ำสูงประมาณ ๑ เมตร ห่างจากท่านประมาณ ๓ วา นั่งเลียแข้งเลียขาอยู่นั้นอย่างสบายแบบทองไม่รู้ร้อน และไม่สนใจกับท่านเลยทั้งที่มันก็เห็นและรู้อยู่ว่าท่านอยู่ที่นั้น
    การนั่งของมันนั่งแบบสุนัขบ้าน พอนั่งเลียแข้งเลียขาเหนื่อยก็นอนหมอบแบบสุนัขอีกเช่นกัน แล้วเลียแข้งขาและลำตัวแบบไม่สนใจกับอะไรทั้งสิ้น
    ท่านว่า ท่านก็ไม่กล้าออกไปเดินจงกรมที่หน้าถ้ำใกล้ชิดกับที่มันกำลังนอนอยู่ได้เช่นกัน เพราะทำให้รู้สึกหวาดเสียวเล็กน้อย เนื่องจากไปไม่เคยพบเคยเห็นมาในชีวิต ที่เสือป่าทั้งตัวมาทำตัวเป็นเหมือนสัตว์เลี้ยงในบ้านเช่นนั้น แต่ก็นั่งภาวนาได้ตามธรรมดา ไม่นึกกลัวว่ามันจะมาทำอะไรให้ตน
    ตอนมันขึ้นมาทีแรกท่านก็นั่งอยู่แคร่เล็ก ๆ นั่นเอง ส่วนมันนาน ๆ จะมองมาดูเราสักครั้งหนึ่ง และมองแบบไม่สนใจจดจ้อง มองอย่างธรรมดา ๆ ในลักษณะเป็นมิตรมาแต่ครั้งไหนก็ยากจะพูดถูก นับแต่มันมานั่งนอนเลียแข้งเลียขาอยู่ที่นั้นก็นานพอสมควร นึกว่ามันจะหนีไปที่ไหนต่อไป แต่ที่ไหนได้มันกลับอยู่สบายไปเลย ไม่สนใจว่าจะไปไหนอีก
    ตอนมันมาถึงทีแรกท่านก็นั่งอยู่นอกมุ้ง จนมืดแล้วท่านจึงเข้าในมุ้ง เวลาจุดไฟและแสงไฟสว่างไปหาตัวมัน มันก็ไม่สนใจกับท่าน คงอยู่ทำนองที่มันเคยอยู่นั่นแล จนดึกดื่นได้เวลาพักท่านก็พักตามปกติ ท่านตื่นนอนราว ๓ น. และจุดเทียนไขสว่างขึ้นมองไปดู มันยังนอนอยู่ที่เก่า แบบไม่สนใจกับท่านอีกเช่นเคย พอล้างหน้าล้างตาเสร็จแล้ว ท่านก็นั่งขัดสมาธิภาวนาต่อไปจนสว่าง เวลาออกจากที่ภาวนารื้อมุ้งขึ้นเก็บ มองไปดูมันยังนอนสบายอยู่เหมือนสุนัขนอนอยู่ในบ้านเราดี ๆ นี่เอง
    จนกระทั่งถึงเวลาจะออกบิณฑบาต ทางออกบิณฑบาตก็จำต้องเดินผ่านมันไปที่นั่นเอง ท่านเกิดนึกสงสัยขึ้นมาว่า เวลาเราเดินผ่านมันไปที่นั่น มันจะมีความรู้สึกอย่างไร และจะทำอะไรเราบ้างหรือเปล่าหนอ
    จนครองผ้าเสร็จ มันก็ยังนอนมองมาทางเราด้วยสายตาอ่อน ๆ ที่น่าสงสารเหมือนสุนัขมองดูเจ้าของฉะนั้น ท่านเลยตัดสินใจว่าต้องไปตรงนั้นแล ซึ่งห่างจากตัวมันราว ๑ เมตรกว่าเท่านั้น ที่อื่นไม่มีทางพอจะด้นดั้นหลีกไปได้
    เวลาจะไป ทราบว่า ท่านพูดกับมันบ้างว่า นี่ถึงเวลาออกบิณฑบาตแล้ว เราก็มีท้องมีปากมีความหิวกระหายเหมือนสัตว์โลกทั่วไป เราจะขอทางออกไปบิณฑบาตมาฉันหน่อยนะ จงให้ทางเราบ้าง ถ้าเจ้าอยากอยู่ที่นี่ต่อไปก็ได้ หรือจะไปเพื่อหาอยู่หากินที่ไหนก็ตามใจสะดวก เราไม่ว่า
    ทราบว่า มันนอนฟังท่านเหมือนสุนัขนอนฟังเจ้าของพูดกับมันฉะนั้น พอพูดจบคำท่านก็เดินผ่านออกมาที่มันกำลังนอนอยู่อย่างสบายนั่นแล
    ขณะที่ท่านเดินผ่านมันออกมา ตามันชำเลืองดูท่านแบบแสงตาอ่อน ๆ เหมือนจะบอกว่า ไปเถอะท่าน ไม่ต้องกลัวหรอก ที่มานี้ก็มาเพื่อรักษาอันตรายให้ท่านนั่นเอง แล้วท่านก็เดินเข้าบิณฑบาตในหมู่บ้าน
    ทราบว่า ท่านมิได้บอกใครให้ทราบเลย กลัวเขาจะมาทำลายมัน พอบิณฑบาตกลับมาถึงที่มันเคยนอน มองหาที่ไหนก็ไม่เจอ ไม่ทราบมันหายไปทางไหนเงียบไปเลย นับตั้งแต่วันนั้นก็ไม่เคยเห็นมันมาหาท่านอีก จนกระทั่งท่านจากที่นั้นไป
    ท่านว่าคงไม่ใช่เสือในป่าธรรมดาเรา อาจเป็นเสือเทพบันดาล จึงทำตัวเหมือนสัตว์เลี้ยงในบ้านได้ดี ไม่ทำให้เป็นที่น่ากลัวอะไรเลย นับแต่ขณะมันขึ้นมาหาทีแรกจนกระทั่งมันจากไป จึงเป็นสัตว์ที่น่ารักน่าสงสารอย่างยิ่งตัวหนึ่ง
    ท่านว่าท่านคิดถึงมันอยู่หลายวัน นึกว่ามันจะมาหาท่านอยู่เรื่อย แต่ไม่เห็นกลับมาอีกเลย ได้ยินแต่เสียงมันร้องในเวลากลางคืนดึกสงัดแทบทุกคืน จะเป็นเสียงมันหรือเสียงเสือตัวอื่น ๆ ก็ไม่ทราบ เพราะแถบนั้นเสือชุมมากจริง ๆ คนขี้ขลาดไปอยู่ไม่ได้ สำหรับท่านเองท่านบอกว่าไม่นึกกลัวมันเลย ยิ่งเห็นมันมานอนเฝ้าอยู่จนตลอดรุ่ง และมีกิริยาท่าทางเหมือนสัตว์บ้านด้วยแล้ว ยิ่งทำให้รักและสงสารมันมากกว่าจะกลัวมันเสียอีก จากนั้นแล้วยิ่งทำให้เรามีความเชื่อธรรมในแง่ต่าง ๆ เป็นพิเศษขึ้นอีกแยะ
    เทวดามาใส่บาตรพระอาจารย์ชอบ
    ท่านว่าท่านไปอยู่ประเทศพม่าถึง ๕ ปี จนพูดภาษาพม่าได้คล่องปากคล้ายกับภาษาของตัว เหตุที่ท่านจะได้กลับมาไทยเราเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นกับอังกฤษเข้าไปวุ่นวายในเมืองพม่าเต็มไปหมด ไม่ว่าในเมือง บ้านป่า ภูเขา พวกทหารอังกฤษไปเที่ยวค้นจนหมด เพราะคนอังกฤษเคียดแค้นคนไทยมากเวลานั้น หาว่าเข้ากับญี่ปุ่น ถ้าค้นพบคนไทยไม่ว่าหญิงชายและนักบวชจะฆ่าทิ้งให้หมดไม่มีข้อยกเว้น
    ชาวบ้านที่ท่านอาศัยเขาอยู่ รู้สึกเขาเคารพเลื่อมใสและรักท่านมาก พอเห็นทหารอังกฤษมาเที่ยวจุ้นจ้านมาก กลัวท่านจะไม่ปลอดภัย พวกเขารีบปรึกษากัน พาท่านไปซ่อนอยู่ในเขาลึกที่พวกทหารอังกฤษไม่สามารถค้นพบ
    แต่ทราบว่า เขามาพบท่านเข้าวันหนึ่งเหมือนกัน ขณะที่กำลังนั่งอนุโมทนาให้พรชาวบ้านอยู่ พวกชาวบ้านหน้าเสียไปหมด เขาไต่ถามท่านก็บอกว่ามาอยู่ที่นี่นานแล้ว ท่านมิได้เกี่ยวกับการบ้านเมือง ท่านเป็นพระ ไม่รู้เรื่องอะไรกับใครเลย
    พวกชาวบ้านก็ช่วยพูดกันอย่างเต็มที่ด้วยเหตุผลว่า พระท่านมิเกี่ยวกับการสงครามแบบฆราวาส จะมาเกี่ยวข้องเอาเรื่องเอาราวกับท่านนั้นไม่ถูก ถ้าเอาเรื่องกับท่านก็เท่ากับทำลายหัวใจของคนชาวพม่าซึ่งไม่มีความผิด ให้เกิดความเสียหายโดยใช่เหตุ นับว่าทำไม่ถูกอย่างยิ่ง ประการหนึ่งท่านมาอยู่ที่นี่แต่ก่อนสงคราม ท่านไม่รู้เรื่องอะไรกับการบ้านเมืองอะไรเลย แม้คนพม่าเองยังไม่เห็นว่าท่านเป็นภัยแก่ประเทศ ทั้งที่ประเทศพม่ากำลังตกอยู่ในภาวะสงคราม ถ้าทำลายท่านก็เท่ากับทำลายคนพม่าทั้งประเทศด้วย ชาวพม่าไม่เห็นดีด้วยในการทำเช่นนั้น
    ทหารอังกฤษหลายคนยืนพูดกันอยู่ประมาณครึ่งชั่วโมงเกี่ยวกับเรื่องท่าน จากนั้นเขาก็แนะว่าให้รีบพาท่านหนีจากที่นี่เสียโดยเร็ว เดี๋ยวพวกอื่นมาจะลำบาก บางทีเขาไม่ฟังคำขอร้อง ท่านอาจเป็นอันตรายได้
    องค์ท่านเอง ขณะเขาจับจ้องมองดูด้วยท่าทางเป็นศัตรู ท่านมีแต่เจริญเมตตาและระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อยู่ตลอดเวลา เมื่อเขาผ่านไปแล้ว ญาติโยมก็พาท่านไปส่งและพาไปอยู่ในภูเขาที่ลึกลับไม่ให้เขาค้นพบ ไม่ให้ท่านลงมาบิณฑบาต พอถึงเวลาชาวบ้านพากันแอบเอาจังหันไปถวายท่าน
    นับแต่วันนั้นผ่านไป ทหารอังกฤษมากวนเรื่อย ถ้าพบท่านเห็นท่านคงทำลายจริง ๆ เขามาวุ่นวายถามหาท่านวันหนึ่งหลาย ๆ พวก
    พวกญาติโยมเห็นท่าไม่ดี กลัวท่านจะไม่ปลอดภัย จึงได้พาท่านไปส่งให้หลบหนีกลับมาเมืองไทยเรา โดยเขามาส่งใส่ทางในป่าในเขาซึ่งเป็นทางปลอดภัย และพวกทหารอังกฤษเข้าไปไม่ถึง เขาบอกทางท่านอย่างละเอียดไม่ให้ปลีกแวะทางเดิมที่เขาบอก แม้ทางจะรกแสนรกก็ให้พยายามไปตามนั้น ทางนั้นเป็นทางเดินเท้าของพวกชาวป่า เขาเดินท่องเที่ยวหากันจนทะลุถึงเมืองไทยเรา
    พอเขาบอกทางให้เรียบร้อยแล้ว ท่านก็เริ่มออกเดินทางทั้งกลางวันกลางคืน ทั้งไม่ได้หลับนอน ทั้งไม่ได้ฉันอะไรเลย นอกจากน้ำเท่านั้น ทั้งเดินบุกป่าฝ่าเขาแทบเป็นแทบตาย ในป่ามีแต่รอยสัตว์เต็มไปหมด มีเสือ ช้าง เป็นต้น มิได้นึกว่าชีวิตจะรอดพ้นมาได้ นึกแต่ว่าจะตายท่าเดียว เพราะหลงป่าถ้าเดินผิดทางเสียนิดเดียว
    ตอนเช้าวันคำรบสี่ราว ๙ นาฬิกา เป็นเรื่องอัศจรรย์เกินคาด ส่วนจะจริงเท็จแค่ไหนกรุณานำไปพิจารณาเมื่ออ่านพบเรื่องซึ่งกำลังดำเนินอยู่ขณะนี้
    พอท่านเดินไปถึงไหล่เขาแห่งหนึ่ง ปรากฏว่ามีความเมื่อยหิวอ่อนเพลียเป็นกำลัง คิดว่าจะไปไม่ตลอด เหมือนใจจะขาดในเวลานั้นจนได้ เพราะเดินทางมาได้สามวันกับสามคืนเต็ม ๆ แล้ว ไม่ได้พักนอนและฉันอะไรที่ไหนเลย นอกจากนั่งพักพอบรรเทามหันตทุกข์จากการเดินทางชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น
    พอมาถึงที่นั้นเกิดความคิดขึ้นมาว่า เราก็เดินทางเสี่ยงความตายมาทุกลมหายใจ จนกระทั่งบัดนี้ก็พอผ่านมาได้ยังไม่ตาย ลมหายใจก็ยังไม่ขาดความสืบต่อ แต่นับแต่ขณะแรกที่เราออกเดินทางมาจนบัดนี้ ไม่เคยเห็นบ้านคนเลยแม้หลังคาเรือนหนึ่ง พอได้อาศัยโคจรบิณฑบาตประทังชีวิตไว้บ้าง นี่เราเลยจะตายทิ้งเสียเปล่า ๆ จะไม่มีคนมาชุบชีวิตไว้ด้วยอาหารเพียงมื้อหนึ่งบ้างหรือ
    เรามาด้วยความลำบากยากเย็นในคราวนี้ ซึ่งไม่มีคราวไหนในชีวิตของเราจะทุกข์มากเหมือนครั้งนี้ ก็เพื่อหลบภัยสงครามอันเป็นเรื่องของความตายที่มนุษย์กลัวกัน แต่แล้วก็จะมาตายเพราะสงครามอดอยากหิวโหย และการเดินทางแบบล้มทั้งยืนนี้หรือ ถ้าเทวบุตรเทวธิดาชั้นฟ้าบนสวรรค์มีดังพระพุทธเจ้าตรัสไว้ และว่าพวกนี้มีตาทิพย์หูทิพย์ มองเห็นได้ไกลจริงดังว่า ก็จะไม่มองเห็นพระซึ่งกำลังจะสิ้นลมตายอยู่เวลานี้บ้างหรืออย่างไร เราเชื่อคำของพระพุทธองค์ตรัสไว้ แต่เทพฯ ทั้งหลายที่เคยได้รับความอนุเคราะห์จากพระมามากต่อมากทั้งครั้งโน้นและครั้งนี้ จะเป็นผู้มีใจอันจืดดำจนถึงขนาดนี้เชียวหรือ ถ้าไม่ใจจืดก็ขอได้แสดงน้ำใจให้พระที่กำลังจะตายอยู่ขณะนี้ได้เห็นบ้าง จะได้ชมว่าเทวธิดาเทวบุตรทั้งหลายเป็นผู้มีใจสูงและสะอาดจริง ดังชาวมนุษย์สรรเสริญ (ที่ท่านพูดอย่างนี้ทราบว่าท่านก็เคยมีอะไร ๆ กับพวกนี้อยู่เหมือนกัน แต่ขอผ่านไป)
    เป็นที่น่าประหลาดและอัศจรรย์ บาปมี บุญมี เห็นผลทันตา ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ พอท่านนึกอย่างนั้นจบลงไม่กี่นาทีเลย ขณะที่กำลังเดินโซซัดโซเซไปนั้น ก็ได้เห็นสุภาพบุรุษคนหนึ่งแต่งตัวหรูหราผิดคนชาวป่าอยู่มากราวฟ้ากับดิน กำลังนั่งนิ่งยกเครื่องไทยทานขึ้นจบอยู่บนศีรษะ ข้างทางที่ท่านจะเดินผ่านไปในหุบเขาอันลึก ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ ขณะนั้นท่านเกิดความอัศจรรย์ขนลุกซู่ ๆ ไปทั้งตัว ลืมความเมื่อยหิวอ่อนเพลียไปหมด ปรากฏว่าความอัศจรรย์เต็มหัวใจ เมื่อมองเห็นสุภาพบุรุษผู้ใจบุญนั่งรอใส่บาตรอยู่ข้างหน้าห่างกับท่านประมาณ ๔ วา ข้างพุ่มไม้
    พอท่านเดินไปถึง สุภาพบุรุษนั้นพูดขึ้นประโยคแรกว่า “นิมนต์พระคุณเจ้าพักฉันจังหันพอบรรเทาความหิวโหยอ่อนเพลียที่นี่ก่อน มีกำลังแล้วค่อยเดินทางต่อไป คงจะพ้นดงหนาป่าทึบในวันนี้แน่นอน”
    ท่านเองก็หยุดปลงบริขาร จัดบาตรเตรียมรับบาตรกับสุภาพบุรุษนั้น เสร็จแล้วก็เข้ารับบาตร น่าอัศจรรย์ไม่ว่าข้าวว่ากับหวานคาวทุกชิ้นที่บุรุษนั้นใส่บาตร ขณะที่เทลงในบาตร ปรากฏว่าหอมตลบอบอวลไปทั้งป่าและทั่วพิภพ ข้าวกับก็พอดีกับความต้องการไม่มากไม่น้อย ซึ่งล้วนแต่มีโอชารสอย่างมหัศจรรย์ทั้งสิ้นชนิดบอกไม่ถูก ถ้าพูดมากเขาก็จะว่าโกหก แต่ความจริงได้กลายเป็นความอัศจรรย์ต่อหน้าต่อตา จนไม่สามารถพูดอย่างไรจึงจะถูกกับความจริงที่ประจักษ์ตาประจักษ์ใจในขณะนั้น
    พอใส่บาตรเสร็จท่านถามว่า “โยมมาจากไหน บ้านโยมอยู่ที่ไหน อาตมาเดินทางมาได้สามคืนกับสี่วันนี้แล้ว ไม่เคยเจอบ้านคนเลย”
    สุภาพบุรุษนั้นตอบท่านว่า “ผมมาจากโน้น” ชี้มือไปสูง ๆ พิกล “บ้านผมอยู่โน้น”
    ท่านถามว่า “ทำไมถึงรู้ว่าพระจะมาที่นี่และมาคอยใส่บาตรถูก”
    เขายิ้มนิดแต่ไม่ตอบว่ากระไรเลย จากนั้นท่านก็อนุโมทนาให้พร พอให้พรเสร็จเขาก็พูดเป็นประโยคสุดท้ายว่า “โยมจะได้ลาท่านกลับไปเพราะบ้านอยู่ไกล” ดังนี้ ซึ่งปกติเขาเป็นคนพูดน้อย แต่มีท่าทางองอาจมากผิดคนธรรมดา ผิวกายทุกส่วนผ่องใสมากขนาดกลางคนตามวัย รูปร่างก็ปานกลางไม่สูงนักต่ำนัก กิริยาสำรวมดีมาก
    พอเขาลาท่านแล้วก็ลุกจากที่ ท่านพยายามคอยสังเกตเพราะเขาเป็นคนที่ผิดสังเกตอยู่แล้ว เมื่อเขาเดินออกไปประมาณ ๔ วา ก็ลับกับไม้ต้นหนึ่งซึ่งไม่ใหญ่โตนัก แล้วหายไปเลย คอยจะผ่านออกไปก็ไม่เห็น ตาจับจ้องคอยดูเท่าไรก็ไม่เห็น ยิ่งทำให้ผิดสังเกต ท่านจึงลุกจากที่นั่งเดินไปดูที่ต้นไม้ที่เขาผ่านไปก็ไม่เห็น มองไปมาที่ไหน ซึ่งถ้ามีคนอยู่บริเวณนั้นต้องเห็นแน่นอน แต่นี่ไม่เห็นเลยแต่บัดนั้น ยิ่งทำให้ท่านผิดสังเกตและเกิดความสงสัยยิ่งขึ้น บุรุษนั้นทำให้ท่านประหลาดใจมาก
    เมื่อไม่เห็นท่านก็กลับมาเริ่มฉันจังหัน ข้าวก็ดีแกงก็ดี หยิบชิ้นไหนขึ้นมามันมิใช่อาหารในเมืองมนุษย์ที่เคยฉันมาธรรมดา ความหอมหวนชวนชื่นและรสชาติเอร็ดอร่อย มันเป็นเรื่องอัศจรรย์ไปเสียหมด ทั้งข้าวและอาหารหวานคาวล้วนพอดิบพอดีกับความต้องการของธาตุทุกส่วน อะไร ๆ ซึ่งช่างพอดีเอาเสียทุกอย่างไม่เคยพบเคยเห็น
    ขณะที่ฉันปรากฏว่าโอชารสของอาหารวิ่งซ่านไปทุกขุมขน ประกอบกับความหิวโหยก็กำลังบีบบังคับอย่างเต็มที่อยู่ด้วย เลยไม่ทราบว่ารสความหิวหรือรสอาหารเทวดากันแน่ อาหารที่สุภาพบุรุษถวายทั้งสิ้นท่านฉันหมดพอดี และพอเหมาะกับความต้องการของธาตุ ไม่มากไม่น้อย ไม่ขาดไม่เกิน ถ้าสมมุติว่าอาหารยังเหลืออยู่อีกแม้เพียงเล็กน้อยก็คงฉันต่อไปอีกไม่ได้
    พอฉันเสร็จก็เริ่มออกเดินทางด้วยท่าทางแข็งแรงเปล่งปลั่งอาจหาญสุดจะคาด ราวกับมิใช่คนที่กำลังจะสิ้นลมหายใจอยู่ในครู่ก่อน ๆ นั่นเลย ทั้งเดินทางทั้งคิดเรื่องบุรุษลึกลับไปตลอดทาง จนลืมเหน็ดเหนื่อย และลืมระยะทางว่า ยังใกล้ยังไกล เป็นทางผิดหรือทางถูก ลืมสนใจทั้งสิ้น พอตกเย็นก็พ้นดงหนาป่าใหญ่พอดี ตรงกับคำสุภาพบุรุษทำนายไว้ทุกประการ ก้าวเข้าเขตประเทศไทยเราด้วยความปีติยินดีมาตลอดทาง วันนั้นหายความทุกข์ทรมานกายทรมานใจตลอดวัน
    เมื่อเข้าถึงเขตไทยอันเป็นแดนที่เกิดของตน จึงเกิดความแน่ใจว่าเรายังไม่ตายสำหรับคราวนี้ ท่านว่าบุรุษนั้นต้องเป็นทวยเทพชาวไตรภพแน่นอน ไม่ใช่คนธรรมดาสามัญที่ตั้งบ้านเรือนอยู่แถบนั้นเลย คิดดูเวลาจากสุภาพบุรุษคนนั้นมาแล้วก็ไม่ปรากฏว่าได้พบบ้านเรือนที่ไหนอีกเลย ทางสายนี้น่าแปลกใจ ซึ่งน่าจะมีหมู่บ้านอยู่บ้างในระหว่างทางอย่างน้อยสักแห่งหนึ่ง เลยทำให้สงสัยไปเสียหมด กระทั่งหนทางเดินเพื่อหลบภัย
    การหลบภัยก็หลบเอาเสียจริง ๆ หลบกระทั่งผู้คนไม่เจอ จังหันก็ไม่เจอ หลบจนแทบเจอภัยคือความอดตายถึงผ่านมาได้
    ท่านว่าการที่ผ่านความตายและความรอดตายมาได้ครั้งนี้ ทำให้ท่านอดคิดไปในแง่เทวาปาฏิหาริย์ไม่ได้ เพราะทางที่มาล้วนเต็มไปด้วยอันตรายรอบด้าน ช้าง เสือ หมี งู ชุกชุมมากตลอดเวลา แต่ตลอดทางที่ผ่านมาไม่เคยเจอจำพวกสัตว์ร้ายเหล่านี้เลย นอกจากจำพวกเนื้อที่ไม่เป็นภัยต่อชีวิตเราเท่านั้น ถ้าอย่างธรรมดาแล้ว ท่านว่าอย่างน้อยต้องเจอในวันหรือคืนหนึ่ง ๆ ถึงห้าจำพวก เฉพาะเสือกับช้างเป็นสำคัญ น่ากลัวจะยังไม่ข้ามวันข้ามคืน ต้องทอดทิ้งร่างกายไว้กับสัตว์ร้ายจำพวกใดจำพวกหนึ่งแน่นอน
    แต่ที่ยังผ่านมาได้ราวกับปาฏิหาริย์เช่นนี้จะไม่อัศจรรย์อย่างไร ต้องเป็นเรื่องของธรรมบันดาลหรือเทวาฤทธิ์บันดาลอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างแน่นอน เพราะก่อนจะมา ชาวบ้านก็วิตกห่วงใยด้วยกันทั้งบ้านว่ากลัวเราจะไปไม่รอด อันตรายที่เกิดจากสัตว์มีเสือ ช้าง เป็นต้น แต่เขาก็หาทางหลีกเลี่ยงช่วยเราไม่ได้ ถ้าขืนก็ไม่ได้ คือขืนอยู่พม่าอีกต่อไปก็ยิ่งแน่ต่ออันตรายจากสงครามและทหารอังกฤษ จึงช่วยกันคิดเพื่อแบ่งหนักให้เป็นเบาลงบ้าง โดยส่งเราข้ามเขตอันตรายของมนุษย์กระหายเลือดไปเสีย เพื่ออนาคตของเราที่อาจจะยังสืบต่อไปอีกนาน ถ้าเขาไม่ฆ่าเสียในระยะนี้ จึงได้ฝืนเดินฝ่าอันตรายนานาชนิดมาแทบเอาตัวไม่รอดดังนี้
    กรุณาท่านผู้อ่านพิจารณาดู ผู้เขียนได้ยินมาอย่างนี้ไม่กล้าตัดสินเอาคนเดียว แบ่งให้ท่านผู้อื่นได้มีส่วนวินิจฉัยด้วย แต่อดที่จะอัศจรรย์ในเหตุการณ์ไม่ได้ ที่ไม่น่าเป็นไปได้แต่ก็เป็นไปให้เห็นอย่างชัดเจน นับว่าชีวิตธุดงคกรรมฐานของท่านอาจารย์องค์นี้สมบุกสมบันมาก
    นอกนั้นยังมีประสบการณ์ปลีก ๆ ย่อย ๆ เรื่อยมา เพราะท่านชอบอยู่แต่ป่าแต่เขาตลอดมา ไม่ค่อยเห็นท่านเข้ามาเกี่ยวข้องกับฝูงชน ท่านอยู่ลึกไม่มีใครกล้าเข้าไปนิมนต์ถึง
    พระปฏิบัติสายท่านพระอาจารย์มั่นท่านมักอยู่แต่ในป่าในเขา เนื่องจากองค์ท่านอาจารย์เองพาดำเนินมาและส่งเสริมบรรดาศิษย์ในทางนั้น เท่าที่สังเกตท่านตลอดมา ท่านชอบพูดชมป่าชมเขาประจำนิสัย ที่ท่านชอบอยู่ป่าอยู่เขาตลอดมา ท่านว่าแม้รู้ธรรมมากน้อย หยาบละเอียดเพียงไรก็ชอบรู้อยู่ตามป่าตามเขาแทบทั้งนั้น ไม่ค่อยรู้ธรรม พอให้มีความสงบเย็นเพราะอยู่ในที่เกลื่อนกล่นบ้างเลย แม้ธรรมที่นำมาสั่งสอนหมู่คณะอยู่ทุกวันนี้ ก็ได้มาจากความรอดตายในป่าในเขานั่นแล
    หลังจากมรณภาพแล้วก็ยังมาสอนศิษย์ทางนิมิต
    หลังจากท่านมรณภาพแล้วโดยทางรูปกาย แต่ความสัมพันธ์ระหว่างนิมิตที่ปรากฏเป็นองค์แทนท่าน กับความรู้ทางจิตตภาวนาของบรรดาศิษย์ที่มีนิสัยในทางนี้ก็มีต่อกันอยู่เสมอมา ราวกับท่านยังมีชีวิตอยู่ การภาวนาเกิดขัดข้องอย่างไรบ้าง ท่านก็มาแสดงบอกอุบายวิธีแก้ไขโดยทางนิมิต เหมือนองค์ท่านแสดงจริง ๆ ทำนองพระอรหันต์มาแสดงธรรมให้ท่านฟังในที่ต่าง ๆ ดังที่เขียนผ่านมาแล้ว ถ้าจิตของผู้นั้นอยู่ในภูมิใด และขัดข้องธรรมแขนงใด ที่ไม่สามารถแก้ไขโดยลำพังตนเองได้ ท่านก็มาแสดงธรรมแขนงนั้นจนเป็นที่เข้าใจ แล้วนิมิตคือรูปภาพขององค์ท่านก็หายไป หลังจากนั้นก็นำธรรมเทศนาที่ท่านแสดงให้ฟังในขณะนั้น มาแยกแยะหรือตีแผ่ออกตามกำลังสติปัญญาของตนให้กว้างขวางออกไป และได้อุบายเพิ่มขึ้นอีกตามภูมิที่ตนสามารถ
    ท่านที่มีนิสัยในทางออกรู้สิ่งต่าง ๆ ย่อมมีทางรับอุบายจากท่านที่มาแสดงให้ฟังได้ตลอดไป ที่เรียกว่าฟังธรรมทางนิมิตภาวนา ท่านมาแสดงธรรมให้ฟังทางนิมิต ผู้รับก็รับรู้ทางนิมิต ซึ่งเป็นความลึกลับอยู่บ้างสำหรับผู้ไม่เคยปรากฏ หรือผู้ไม่เคยได้ยินมาเลย อาจคิดว่าผู้รับในทางนิมิตเป็นความเหลวไหลหลอกลวงก็ได้ แต่ความจริงก็เป็นอย่างนั้น
    พระปฏิบัติที่มีนิสัยในทางนี้ ท่านรับเหตุการณ์ในทางนี้ด้วย อันเป็นความรู้พิเศษเฉพาะราย ๆ มิได้ทั่วไปแก่ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย คือเป็นไปตามภูมินิสัยวาสนา ดังท่านอาจารย์มั่นฟังพระโอวาทของพระพุทธเจ้าที่เสด็จไปโปรด และฟังธรรมที่พระสาวกมาแสดง โดยทางนิมิตเสมอมา บรรดาศิษย์ที่มีนิสัยคล้ายคลึงท่านก็มีทางทราบได้จากนิมิตที่ท่านมาแสดง หรือพระพุทธเจ้าและพระสาวกมาแสดง ถ้าเทียบก็น่าจะเหมือนพุทธนิมิตของพระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธมารดาในชั้นดาวดึงส์สวรรค์ฉะนั้น
    แต่เรื่องของพระพุทธเจ้าเป็นเรื่องใหญ่มาก จิตใจคนน้อมเชื่อได้ง่ายกว่าเรื่องทั่ว ๆ ไป แม้มีมูลความจริงเท่ากัน จึงเป็นการยากที่จะพูดให้ละเอียดยิ่งกว่าที่เห็นว่าควร ดังนั้นผู้เขียนจึงไม่สะดวกใจที่จะเขียนให้มากไปกว่านี้ และขอมอบไว้กับท่านผู้ปฏิบัติ จะทราบเรื่องเหล่านี้ด้วยความรู้อันเป็นปัจจัตตังของตัวเอาเองดีกว่าผู้อื่นอธิบายให้ฟัง เพราะเป็นความแน่ใจต่างกันอยู่มาก สำหรับผู้เขียนมีความรู้สึกอย่างนั้น
    อะไรก็ตามถ้าตนมีความสามารถพอเห็นได้ฟังได้ สูดกลิ่นลิ้มรส และรู้เห็นทุกสิ่งได้ด้วยตัวเอง ก็ไม่อยากรับทราบจากผู้อื่นมาเล่าให้ฟัง เพราะแม้ทราบแล้ว บางอย่างก็อดสงสัยและคิดตำหนิติเตียนไม่ได้ แม้ผู้มีเมตตาจิตเล่าให้ฟังด้วยความบริสุทธิ์ใจ เพราะเรามันปุถุชนไม่บริสุทธิ์นี่ จึงมักจะชนดะไปเรื่อยไม่ค่อยลงใครเอาง่าย ๆ ฉะนั้นจึงควรให้ตนรู้เอาเอง ผิดกับถูกก็ตัวรับเอาเสียเอง ไม่ต้องให้คนอื่นพลอยรำคาญ ทนฟังคำตำหนิติเตียนจากตน ดังท่านว่าบาปใครบุญใครก็รับเอาเอง ทุกข์ก็แบกหามเอง สุขก็เสวยเอง รู้สึกว่าถูกต้องและง่ายดีด้วย
    บทสรุป
    ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ผู้เขียนได้พยายามหมดภูมิเพียงเท่านี้ ในชีวิตก็น่าจะมีครั้งเดียวเท่านี้ ไม่สามารถจะเขียนให้ละเอียดลออและไพเราะเพราะพริ้งยิ่งกว่านี้ได้อีก ผิดถูกประการใดก็หวังได้อภัยจากท่านผู้อ่านดังที่เคยให้มาแล้ว ที่เขียนมาแต่ต้นจนเข้าขั้นสรุปความพยายามก็นับว่ากินเวลานานพอควร แต่เรื่องท่านแม้จะเขียนไปอีกราวสามปีก็คงไม่จบ ส่วนความสามารถแห่งการจดจำและการเขียน หากหมดกำลังเอาเอง ทั้งที่อยากเขียนให้พี่น้องทั้งหลายได้อ่านสมใจที่พวกเราไม่เคยเห็นองค์ท่านก็อาจมีอยู่มาก ที่ได้อ่านประวัติท่านอยู่เวลานี้ ตลอดการปฏิบัติดำเนินที่ท่านพยายามฝึกตนมานับแต่วันบวชจนถึงวันมรณภาพ แม้ได้เห็นบ้างเพียงประวัติท่าน ทั้งที่ไม่สมบูรณ์เต็มภูมิแห่งเรื่องที่บรรจุอยู่ในองค์ท่าน
    ท่านพระอาจารย์มั่น เป็นผู้มีประวัติงดงามมากมาแต่เป็นฆราวาส ท่านมีนิสัยสมเป็นนักปราชญ์มาดั้งเดิม ไม่ปรากฏว่าได้ทำความเสียหายและกระทบกระเทือนจิตใจท่านผู้ใดมาก่อนเลย ตลอดบิดามารดาวงศาคณาญาติ ท่านปฏิบัติตัวราบรื่นปลอดภัยตลอดมา เวลามาบวชก็พยายามบำเพ็ญตนจนเป็นหลักฐานมั่นคงในองค์ท่าน และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจประชาชนพระเณรตลอดมาจนวันอวสานสุดท้าย นี้คือท่านผู้สว่างมาและสว่างไป ควรเป็นคติตัวอย่างอันดีเยี่ยมในสมัยปัจจุบันได้ผู้หนึ่ง โดยปราศจากความเคลือบแคลงสงสัย
    การบำเพ็ญประโยชน์ตนก็เยี่ยมยอดเฉียบขาด ไม่มีกิเลสตัวใดแซงหน้าท่านไปได้ ทำความบำราบปราบปรามจนหมดเกลี้ยงไม่เหลือหลอ จนได้นามจากบรรดาศิษย์ผู้ใกล้ชิดและเคารพนับถือว่า ท่านเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในสมัยปัจจุบัน
    การบำเพ็ญประโยชน์แก่โลกก็ไม่มีอะไรเคลื่อนคลาดขาดสติปัญญา พอจะแทรกแซงคัดค้านได้ว่าท่านพาดำเนินผิดทาง นับแต่ขั้นต้นจนอวสานแห่งธรรม เป็นผู้สามารถฉลาดรู้ทั้งภายใน คือ จริตนิสัยของผู้มาอบรมศึกษา ทั้งภายนอกเกี่ยวกับการสังคมสงเคราะห์โลกทั่วไป ไม่นิยมว่าเป็นคนป่าคนเขาคนฉลาดชาติชั้นวรรณะสูงต่ำประการใด ท่านเต็มไปด้วยการเมตตาอันหาที่เปรียบมิได้
    แม้วันใกล้จะลาโลกลาขันธ์ เมื่อลูกศิษย์ผู้จนตรอกออกซอยไม่ได้ เข้าไปกราบเรียนถามปัญหาข้ออรรถข้อธรรม แทนที่ท่านจะปล่อยวางไปตามขันธ์เสียทุกอย่าง แต่เมตตาจิตประจำนิสัยมิได้ปล่อยวาง ยังอุตส่าห์เมตตาอนุเคราะห์สั่งสอนจนสิ้นสงสัยไปในขณะนั้น บรรดาศิษย์แต่ละองค์ได้ปัจฉิมโอวาทไว้เป็นขวัญใจคนละบทละบาท ไม่เสียชาติที่ได้มาพบเห็นท่านผู้ประเสริฐเลิศโลก ยังได้ยึดไว้เป็นสรณะอย่างสนิทติดใจตลอดมา บรรดาศิษย์ผู้ใหญ่หลายท่าน ที่ได้รับประสิทธิ์ประสาทธรรมจากท่านมาเป็นหลักยึด ต่างก็ตั้งตัวเป็นหลักฐานทางด้านจิตใจได้ จนกลายเป็นครูอาจารย์สั่งสอนสานุศิษย์สืบทอดกันมา ไม่ขาดทุนสูญอริยทรัพย์อันเลิศไปเสีย ส่วนศิษย์ผู้น้อยและย่อย ๆ ลงไปที่จะเป็นกำลังของศาสนาต่อไปก็ยังมีอยู่มาก และท่านที่มีสมบัติ (คุณธรรม) แต่มิได้ปรากฏตัวเปิดเผยก็ยังมีอยู่หลายท่าน ซึ่งล้วนเป็นลูกศิษย์ที่ท่านเมตตาเป่ากระหม่อมกล่อมธรรมลงในดวงใจมาแล้วทั้งนั้น
    บรรดาการพัฒนาหมู่ชนและการเข้าถึงประชาชน ควรพูดได้ว่าท่านเป็นอาจารย์เอกในการพัฒนาจิตใจคนให้เข้าถึงอรรถถึงธรรมถึงเหตุถึงผล ให้รู้ดีรู้ชั่ว อันเป็นหลักสากลของการปกครองโลก เพราะการพัฒนาจิตใจเป็นการพัฒนาที่ถูกกับจุดศูนย์กลางของโลกของธรรมอย่างแท้จริง โลกจะเสื่อมพินาศ ธรรมจะฉิบหาย ต้องขึ้นอยู่กับจิตเป็นผู้เสื่อมฉิบหายมาก่อน การเคลื่อนไหวคือการทำจึงเป็นประโยคสังหารโลกทำลายธรรมตามกันมา ถ้าใจได้รับการอบรมด้วยดี การเคลื่อนไหวทางกายวาจา ก็เป็นประโยคส่งเสริมโลกให้เจริญ ธรรมก็รุ่งเรืองเป็นเงาตามตัว ก็คนที่ได้รับการอบรมธรรมจนเข้าถึงจิตใจแล้วจะทำความฉิบหายได้ลงคอละหรือ ไม่เคยเห็นมีในคติธรรมดาที่เป็นมาแล้ว นอกจากความรู้ประเภทนกขุนทองท่องได้คล่องปาก จำได้คล่องใจ แต่ธรรมนิสัยไม่เข้าถึงใจเท่านั้น
    ท่านเป็นผู้เข้าถึงจิตใจประชาชนพระเณรแท้ ผู้เคารพเลื่อมใสท่านอย่างถึงใจแล้ว แม้ชีวิตก็ยอมถวายได้ไม่อาลัยเสียดาย ทุกสิ่งถ้าลงได้เข้าถึงใจแล้ว ไม่ว่าดีหรือชั่ว ย่อมเป็นแรงผลักดันอย่างไม่มีแรงใด ๆ เทียบเท่าได้ในโลก ไม่เช่นนั้นคนเราไม่กล้าทำความดีหรือความชั่วอย่างสมใจได้ ที่ทำได้อย่างไม่สะทกสะท้านและกลัวตาย ก็เพราะใจได้เข้าถึงสิ่งนั้น ๆ โดยไม่มีทางหลบหลีกแล้ว นี่พูดเฉพาะทางดีเกี่ยวกับความเคารพเลื่อมใสในท่านอาจารย์มั่นว่าเป็นอย่างนั้นจริง ๆ เท่าที่ทราบในวงปฏิบัติด้วยกัน เฉพาะอย่างยิ่ง คือ พระที่ธรรมเข้าถึงใจแล้วท่านแสดงความอาจหาญมาก ว่าความเชื่อความเลื่อมใสท่านไม่มีอะไรเทียบได้เลย แม้ชีวิตที่แสนรักสงวนมาดั้งเดิมยังกล้าสละเพื่อท่านได้ด้วยอำนาจความเชื่อความเลื่อมใสที่มีกำลังแรง สิ่งนี้สละไม่ได้ ส่วนชีวิตสละได้ไม่ยากเลยดังนี้
    เพียงเท่านี้ก็พอทราบได้ว่าท่านเป็นเหมือนแม่เหล็กที่ดึงดูดจิตใจคนได้อย่างอัศจรรย์ ทั้งยังชีวิตอยู่และผ่านไปแล้วเฉพาะความเคารพรักและเลื่อมใสในท่าน สำหรับผู้เขียนคนไม่เป็นท่ามาดั้งเดิม รู้สึกว่าแปลกต่างคนทั้งหลายอยู่มาก ว่าท่านเพิ่งผ่านไปโดยทางขันธ์เมื่อวานนี้เท่านั้น ทั้งที่ได้ ๒๐ ปีเต็มแล้ว ส่วนทางจิตใจท่านเหมือนไม่ได้ผ่านไปเลย คงเมตตาต่อเราอยู่ตลอดเวลา
    สุดท้ายแห่งประวัติท่าน จึงขอนำธรรมที่ท่านแสดงในระยะที่เริ่มป่วยมาถึงระยะปัจฉิมโอวาทมาลงเท่าที่จำได้ เพราะความสลักใจในองค์ท่านตลอดมา ในเนื้อธรรมที่แสดงในระยะเริ่มป่วยคล้ายกับเป็นคำเตือนสงฆ์ว่า
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #FFFFF5" bgcolor="#fffff5" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr style="height: 1584.0pt"> <td style="width: 0pt; height: 0pt; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="540">
    นับแต่ขณะท่านเริ่มป่วยคราวนี้ เป็นการป่วยในลักษณะที่เริ่มถอดถอนรากเหง้าเค้ามูลชีวิตธาตุขันธ์เกี่ยวกับการผสมทุกส่วนของร่างกาย ให้ลดความคงที่ดีงามลง เป็นของชำรุดใช้การใช้งานไม่ได้โดยลำดับ
    นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป การห่วงธาตุขันธ์ความเป็นความตายนั้น ผมได้พิจารณามานานแล้วเกือบ ๖๐ ปี ไม่มีสิ่งเป็นที่น่าห่วงใยเสียดายใด ๆ ทั้งสิ้นแล้ว ผมหายสงสัยกับสิ่งเหล่านี้โดยสิ้นเชิงแล้ว นับแต่ขณะธรรมของจริงเต็มส่วนเข้าถึงใจมาจนบัดนี้ มองดูสิ่งใดทั้งในกายทั้งนอกกาย มันเป็นสภาพอันเดียวกันกับสิ่งอันมีอยู่ในกายเรา ที่เริ่มสลายตัวลงวันละเล็กละน้อยนี้ เพื่อความเป็นของเดิมเขา แม้สมมุติว่ายังเป็นกายเราอยู่ก็ตาม มันก็คือสิ่งเดียวกันกับธาตุทั่ว ๆ ไปนั้นเอง
    สิ่งที่ผมเป็นห่วงใยอยู่เวลานี้คือท่านผู้มาศึกษาทั้งหลาย ทั้งมาจากที่ใกล้และที่ไกล กลัวจะไม่ได้อะไรเป็นหลักใจ เมื่อผมผ่านไปแล้ว จึงได้เตือนอยู่เสมอว่า อย่าพากันประมาทนอนใจว่ากิเลสคือเชื้อแห่งภพความเกิดตายไม่มีทางสิ้นสุด เป็นของเล็กน้อยไม่เป็นภัยแก่ตน แล้วไม่กระตือรือร้นเพื่อแก้ไขถอดถอนเสียแต่กาลที่ยังควรอยู่ เมื่อถึงกาลที่สุดวิสัยแล้ว จะทำอะไรกับกิเลสเหล่านี้ไม่ได้นะ จะว่าไม่บอกไม่เตือน คนและสัตว์ทุกข์ทรมานมาประจำโลก อย่าเข้าใจว่าเป็นมาจากอะไร แต่เป็นมาจากกิเลสตัณหาที่เห็นว่าไม่สำคัญและไม่เป็นภัยนั่นแล ผมค้นดูทางมาของการเกิดตาย และการมาของกองทุกข์มากน้อยจนเต็มความสามารถของสติปัญญาที่มีอยู่แล้ว ไม่มีอะไรเป็นตัวเหตุชักจูงจิตใจให้มาหาที่เกิดตายและรับความทุกข์ทรมานมากน้อยเลย มีแต่กิเลสตัวที่สัตว์โลกเห็นว่าไม่สำคัญและมองข้ามไปมาอยู่นี้ทั้งสิ้นเป็นตัวการสำคัญ
    ทุกท่านที่มีกิเลสประเภทดังกล่าวบนหัวใจด้วยกัน มีความรู้สึกอย่างไรบ้าง หรือยังเห็นว่าไม่สำคัญเช่นเดียวกับโลกทั้งหลายอยู่ด้วยหรือ ถ้าเห็นอย่างนั้น การมาอยู่และอบรมกับผมจะเป็นเวลานานเพียงไร ก็เท่ากับท่านทั้งหลายมาทำตัวเป็นทัพพีขวางหม้ออยู่นานเพียงนั้น ถ้าต้องการเป็นเหมือนลิ้นผู้รอรับรส ก็ควรฟังธรรมที่ผมแสดงอย่างถึงใจทุกครั้งให้ถึงใจ อย่าพากันเป็นทัพพีขวางธรรมอยู่นานนักเลยจะตายทิ้งเปล่า ๆ ยิ่งกว่าสัตว์ตายที่เนื้อหนังยังเป็นประโยชน์อยู่บ้าง ส่วนคนประมาทยังเป็นอยู่หรือตายไปก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย
    ผมเริ่มป่วยก็ได้บอกมาโดยลำดับมาว่า ผมเริ่มตายไปโดยลำดับเช่นเดียวกัน การตายด้วยความเพียงพอทุกอย่างเป็นการตายที่หมดกังวลพ้นทุกข์ แม้จะไปอยู่ที่ไหนก็ไม่มีอะไรบกพร่อง แต่ผู้เพียงพอทุกอย่างแล้วไม่จำเป็นต้องคาดต้องหวังสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้น อยู่กับความเพียงพอนี้เอง แต่การตายด้วยกิเลสความไม่มีอิ่มพอจะไปอยู่โลกไหน ความไม่อิ่มพอก็ติดแนบอยู่ที่ดวงใจ ต้องทำให้เป็นทุกข์ตามส่วนของกิเลสที่ยังมีในใจอยู่นั่นเอง ท่านทั้งหลายอย่าไปคาดโลกนั้นโลกนี้ว่าน่าสนุกสนานรื่นเริงบันเทิงใจ เวลาตายไปอยากไปอยู่โลกนั้นโลกนี้ อันความอยากความไม่เพียงพอกวนใจอยู่ก่อนที่ยังไม่ตาย ท่านทั้งหลายยังไม่มองดูมันว่าเป็นข้าศึกเครื่องรบกวนใจ แล้วพวกท่านจะไปหาเอาความสุขจากอะไรที่ไหนกัน ถ้าท่านทั้งหลายไม่หมดความหวังว่าจะไปโลกนั้นโลกนี้อยู่อย่างนี้แล้ว ผมเองก็หมดปัญญาไปด้วยท่านทั้งหลายแล้วเวลานี้
    การเป็นพระถ้าใจยังไม่มีความสงบเยือกเย็นทางสมาธิธรรมแล้ว อย่าเข้าใจว่าตนจะได้รับความสุขเย็นใจในที่ไหน ๆ เลย แต่จะไปเจอเอาแต่ความรุ่มร้อนที่แอบแฝงไปกับหัวใจที่ไม่มีความสงบนั้นนั่นแล จงพากันรีบชำระแก้ไขให้พอเห็นช่องทางเดินของจิตเสียแต่บัดนี้เป็นต้นไป ใครเพียร ใครอาจหาญ ใครอดทนในการต่อสู้กับกิเลสตัวฝืนธรรมอยู่ตลอดเวลา ผู้นั้นจะเจอร่มเงาแห่งความสงบเย็นใจในโลกนี้ ในบัดนี้และในใจดวงนี้ ไม่เนิ่นนานเหมือนการท่องเที่ยวที่เจือไปด้วยสุขด้วยทุกข์อยู่ทุกภพทุกชาติ ไม่มีวันจบสิ้นลงได้นี้
    ธรรมทุกบททุกบาทที่ศาสนาสอนไว้ ล้วนเป็นธรรมรื้อขนสัตว์ผู้เชื่อฟังพระองค์ให้พ้นทุกข์ไปโดยลำดับ จนถึงขั้นธรรมที่ไม่กลับมาหลงโลกที่เคยเกิดตายนี้อีกต่อไป ท่านผู้ไม่หวังมาเกิดอีก ต้องประมวลโลกทั้งสามภพลงในไตรลักษณ์ที่หมุนไปด้วย อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ตามขั้นหยาบละเอียดของภพชาตินั้น ๆ ด้วยปัญญาจนปราศจากความสงสัย อุปาทานที่ว่ายึด ๆ ชนิดแกะไม่ออกนั้น จะถอนตัวออกมาอย่างรวดเร็วจนมองไม่ทันนั่นแล ขอแต่ปัญญาเครื่องตัดสิ่งกดถ่วงให้คมกล้าเถอะ ไม่มีอะไรจะเป็นเครื่องมือแก้กิเลสทุกประเภทอย่างทันสมัยเหมือนสติปัญญาเลยในสามภพนี้
    พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทุกพระองค์ แก้กิเลสทุกประเภทด้วยสติปัญญาทั้งนั้น มิได้แก้ด้วยอะไรอื่นนอกจากนี้เลย จึงไม่ทราบยกย่องอะไรว่าเป็นเอกยิ่งกว่าสติปัญญานี้ไป ธรรมนอกนั้นก็มิได้ประมาทว่าไม่ดี หากแต่เป็นเครื่องช่วยส่งเสริมกำลัง เช่นเดียวกับเสบียงอาหารในการรบสงครามฉะนั้น ส่วนผู้รบกับเครื่องมือในการรบนั้นสำคัญ ผู้รบในที่นี้หมายถึงความมุ่งมั่นปั้นมืออย่างเอาจริงเอาจัง ไม่ถอยทัพกลับมาเกิดตายให้กิเลสหัวเราะเยาะอีก
    เครื่องมือชิ้นเอกคือ สติปัญญาทุกขั้น ต้องติดแนบกับตัวอย่าให้ห่างจากใจ จิตติดอยู่ตรงไหนจงพิจารณาเข้าไปไม่ต้องกลัวตาย เพราะความเพียรกล้าเพื่อรื้อภพชาติออกจากใจ เมื่อถึงคราวตายก็ขอให้ตายอย่างมีชัย อย่าตายแบบผู้พ่ายแพ้จะช้ำใจไปนาน จงเพียรต่อสู้จนวัฏสงสารได้ร้างเมืองเพราะไม่มีใครมาเกิด ลองดูซิเมืองวัฏสงสารจะร้างไปไม่มีสัตว์โลกผู้ยังมีความหลงมาเกิดอีกจริง ๆ หรือ ทำไมการทำความเพียรเพียงเล็กน้อยกลัวแต่วัฏฏะจะร้าง กลัวจะไม่ได้กลับมาเกิดตายอีก และทำไมจึงคอยแต่จะเที่ยวจับจองภพชาติอยู่ทุกขณะจิตที่คิดทั้งที่ยังไม่ตาย ความย่อหย่อนต่อความเพียรนี่แหละ คือความขยันต่อการเกิดตาย และเป็นลักษณะจับจองภพชาติไม่ให้บกพร่องจากใจ ใจจึงมิได้บกพร่องจากทุกข์ตลอดมา
    การสั่งสอนหมู่คณะผมก็ได้คุ้ยเขี่ยธรรมมาสอนอย่างเปิดเผยไม่มีปิดบังลี้ลับเลย บรรดาธรรมที่ควรแก่การรู้เห็นในวงสัจธรรมหรือสติปัฏฐานสี่ เว้นแต่ธรรมที่เป็นไปตามนิสัยวาสนาโดยเฉพาะเป็นราย ๆ ไม่เกี่ยวแก่การบรรลุ เช่น ความรู้ปลีกย่อยต่าง ๆ ดังที่เคยเล่าให้ฟังเป็นกรณีพิเศษเสมอมา ใครจะรู้เห็นอะไรขึ้นมาผมยินดีฟังและแก้ไขเต็มกำลังอยู่เสมอ เวลาผมตายไปแล้วจะลำบาก หาผู้แก้ไขได้ยากมากนะ ธรรมทางด้านปฏิบัติไม่เหมือนทางด้านปริยัติ ผิดกันอยู่มาก ผู้ไม่เคยรู้เคยเห็นสมาธิ ปัญญา มรรค ผล นิพพานมาก่อน แต่จะมาสามารถสั่งสอนคนอื่นให้ถูกต้องเพื่อมรรค ผล นิพพานนั้นไม่ได้
    ตอนสุดท้ายแห่งธรรมที่พอยึดได้ว่าเป็นปัจฉิมโอวาท เพราะท่านมาลงเอยในสังขารธรรมเช่นเดียวกับพระปัจฉิมโอวาท ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่สงฆ์เวลาจะเสด็จปรินิพพาน โดยท่านยกเอาพระธรรมบทนั้นขึ้นมาว่า
    ดูก่อนพระภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราเตือนท่านทั้งหลาย สังขารธรรมทั้งหลายไม่เที่ยง มีความเกิดหรือเจริญขึ้น แล้วเสื่อมไป ดับไป จงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด
    จากนั้นท่านก็อธิบายต่อใจความว่า
    คำว่าสังขารในพระปัจฉิมโอวาทนั้นเป็นยอดธรรม พระองค์ทรงประมวลมาในคำว่าสังขารทั้งสิ้น แต่พระประสงค์ทรงมุ่งสังขารภายในมากกว่าสังขารอื่นใดในขณะนั้น เพื่อเห็นความสำคัญของสังขารอันเป็นตัวสมุทัย เครื่องก่อกวนจิตให้หลงตามไม่สงบลงเป็นตัวของตัวได้ เมื่อพิจารณาสังขาร คือความคิดปรุงของใจทั้งหยาบละเอียด รู้ตลอดทั่วถึงแล้ว สังขารเหล่านั้นก็ดับ เมื่อสังขารดับใจก็หมดการก่อกวน แม้มีการคิดปรุงอยู่บ้างก็เป็นไปตามปกติของขันธ์ ที่เรียกว่าขันธ์ล้วน ๆ ไม่แฝงขึ้นมาด้วยกิเลสตัณหาอวิชชา ถ้าเทียบกับการนอนก็เป็นการนอนหลับอย่างสนิท ไม่มีการละเมอเพ้อฝันมาก่อกวนในเวลาหลับ ถ้าหมายถึงจิตก็คือ วูปสมจิต เป็นจิตสงบที่ไม่มีกิเลสนอนเนื่องอยู่ภายใน
    จิตของพระพุทธเจ้าและสาวกทั้งปวงเป็นจิตประเภทนี้ทั้งนั้น ท่านจึงไม่หลงใหลใฝ่ฝันหาอะไรกันอีก นับแต่ขณะที่จิตประเภทนี้ปรากฏขึ้น คำว่า สอุปาทิเสสนิพพาน ก็มีมาพร้อมกัน ความสิ้นกิเลสก็สิ้นไปในขณะเดียวกัน ความเป็นพระอรหันต์ก็เป็นขึ้นพร้อมในขณะเดียวกัน จึงเป็นธรรมอัศจรรย์ไม่มีอะไรเทียบได้ในโลกทั้งสาม
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    พอแสดงธรรมถึงที่นี้แล้วท่านก็หยุด นับแต่วันนั้นมาไม่ปรากฏว่าได้แสดงที่ไหนในเวลาใดอีกเลย จึงได้ยึดเอาว่าเป็นปัจฉิมโอวาท และได้นำลงในประวัติท่านเป็นวาระสุดท้าย สมนามว่าเป็นปัจฉิมโอวาท
    ประวัติท่านพระอาจารย์มั่นแต่ต้นจนจบนี้ ผู้เขียนได้พยายามคัดเลือกสุดกำลังสติปัญญาทุก ๆ ประโยค แล้วนำมาลงเท่าที่เห็นว่าจะเกิดประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านทั่ว ๆ ไป ส่วนที่เห็นว่าจะไม่เกิดประโยชน์ หรือไม่เป็นมงคลก็งดเสียมิได้นำลง
    เรื่องทั้งหมดที่เที่ยวจดบันทึกมาจากอาจารย์ทั้งหลายซึ่งเป็นลูกศิษย์ท่าน ตลอดความจดจำของตน นำมาลงได้ราว ๗๐% ปล่อยให้ผ่านไปเสียทั้งที่เสียดายราว ๓๐% แม้ส่วนที่เข้าใจว่าได้คัดเลือกแล้วนำลง ก็ไม่แน่ใจนักว่าจะเกิดประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านเพียงไรเลย อาจมีที่แสลงแทงตาแทงใจอยู่จนได้ตามนิสัยความไม่รอบคอบที่เคยเป็นมา ประวัติท่านรู้สึกสวยงามลึกซึ้งละเอียดลออมากทั้งภายนอกภายใน ยากจะมีผู้เสมอเหมือนได้ในสมัยปัจจุบันเท่าที่ผ่าน ๆ มา ถ้าจะเขียนให้สมบูรณ์ตามประวัติท่านจริง ๆ ก็น่าจะไม่ผิดอะไรกับประวัติของพระสาวกอรหันต์ที่ท่านเชี่ยวชาญในสมัยพุทธกาลเลย
    ขณะนั่งฟังท่านเมตตาอธิบายธรรมภาคต่าง ๆ ตลอดเหตุการณ์ไม่มีประมาณที่มาเกี่ยวข้องกับท่านให้ฟัง ใจเกิดความอัศจรรย์ในองค์ท่านเหลือประมาณ ประหนึ่งท่านทำหน้าที่ประกาศธรรมแทนพระศาสดาและพระสาวกอรหันต์ผู้เชี่ยวชาญแห่งพุทธกาล ให้พวกเราได้เห็นได้ฟังอย่างถึงใจ ราวกับมองเห็นภาพพระองค์และพระสาวกทั้งหลายเสด็จมาโปรดโสรจสรงอยู่เฉพาะหน้าฉะนั้น แต่จะนำมาลงตามความรู้ความเห็นของท่านเสียทุกแง่ทุกมุมนั้นรู้สึกอายตัวเอง ซึ่งเป็นเพียงร่างของพระป่า ๆ รูปหนึ่งปลอมแทรกในวงพระศาสนาเท่านั้น และอาจเป็นการทำลายเกียรติอันสูงส่งของท่านที่ควรรักสงวนอย่างยิ่งให้เสียไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แม้ได้เคยเขียนไว้ในต้นประวัติท่านมาแล้วว่า จะเขียนทำนองเกจิอาจารย์ที่เขียนประวัติพระพุทธเจ้าและประวัติพระสาวกทั้งหลาย แต่อดกระดากใจที่ตนมิได้เป็นเกจิอาจารย์อย่างท่านมิได้ จึงได้เขียนเท่าที่ความรู้สึกอำนวย แม้จะไม่สมบูรณ์แบบตามประวัติท่าน ก็กรุณาให้อภัย ผู้เขียนมีสติปัญญาน้อย ดังที่เคยเรียนไว้เสมอมา
    ผู้เรียบเรียงจึงขอเริ่มยุติประวัติท่านด้วยความสุดกำลังความสามารถเพียงเท่านี้ ในประวัติท่านนับแต่ต้นจนถึงวาระสุดท้าย หากมีคลาดเคลื่อนเลื่อนลอยไม่เข้าหลักเข้าเกณฑ์ประการใด ก็กราบขอโทษท่านพระอาจารย์มั่นผู้เป็นบิดาอนุเคราะห์เมตตา เป็นผู้ให้ศรัทธากำเนิดแห่งธรรมทั้งปวงแก่ผู้เขียนไว้ ณ ที่นี่ ด้วยความเคารพบนเศียรเกล้า ขออำนาจแห่งเมตตาธรรมที่ได้เคยโสรจสรงแก่หมู่ชนให้มีความร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา จงมาปกเกล้าปกกระหม่อมจอมขวัญปวงประชา ขอให้มีโอกาสวาสนาศรัทธาแก่กล้า ได้ดำเนินตามร่องรอยแห่งธรรมที่ได้ประสิทธิ์ประสาทไว้ดังใจหวัง ขอความจีรังถาวรแห่งประเทศเขตแดนไทย จงเจริญรุ่งเรืองไปด้วยความสม่ำเสมอ ปราศจากข้าศึกศัตรูหมู่ภัยเวร อย่าได้มีเคราะห์เข็ญเวรภัยมาก่อกวนตลอดกาล ขอให้มีแต่ความสุขความสำราญเป็นคู่เคียงกับพระศาสนาตราบเท่าฟ้าดินสลายเถิด
    สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอเรียนอภัยโทษจากท่านผู้อ่านทั้งหลาย หากข้อความในหนังสือนี้ไม่ถูกต้อง ทำให้ท่านผู้อ่านเกิดข้อข้องใจ ไม่สบายจิต เพราะเรื่องและสำนวนโวหารไม่ไพเราะเหมาะสมด้วยประการใด ก็กรุณาให้อภัยแก่พระป่าตามเคย เพราะนิสัยป่าเป็นสิ่งยากที่จะแก้ไขให้อำนวยสวยงามได้เหมือนโลกทั่ว ๆ ไป การเขียนประวัติท่านทุกวรรคทุกตอน ได้พยายามเพื่อความถูกต้องเหมาะสมตามเนื้อเรื่องตลอดมา แต่นิสัยความไม่รอบคอบที่เคยเป็นมานั้น ขอสารภาพว่าสุดจะแก้ให้หายได้ ฉะนั้นการเขียนนี้คงต้องมีความเคลื่อนคลาดทำให้ท่านผู้อ่านเวียนศีรษะจนได้ จึงได้เรียนความเหลวไหลให้ทราบเรื่อยมา
    ประวัติท่านพระอาจารย์มั่นนี้ ตามความเข้าใจของตัวที่ให้ชื่อเอาเองว่า สำเร็จ ก็ได้คิดมานานพอสมควร จึงได้พยายามเที่ยวจดบันทึกเอาจากพระอาจารย์ทั้งหลายที่เป็นลูกศิษย์ เคยอยู่กับท่านมาในยุคนั้น ๆ บ้าง จากความจำของตัวที่ท่านเคยเล่าให้ฟังบ่อยครั้งบ้าง ก่อนจะรวบรวมมาพอได้ลงให้ท่านได้อ่านแบบเวียนศีรษะ เพราะความสับสนแห่งสำนวนและเนื้อเรื่องที่คละเคล้ากันก็เป็นเวลาแรมปี ในเนื้อเรื่องที่จดบันทึกมาและความจำของผู้เขียนเองดังกล่าวแล้ว ถ้าคิดเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ก็ออกได้ราว ๗๐ เปอร์เซ็นต์ เท่าที่เห็นว่าไม่ลึกและสับสนเกินไป ที่ต้องปล่อยให้ผ่านไปราว ๓๐ เปอร์เซ็นต์นั้น โดยเห็นว่าเป็นธรรมที่เรียนยากเขียนยาก อ่านยาก และคิดอ่านไตร่ตรองตามยาก เกรงจะไม่เกิดผลเท่าที่ควรตามเจตนาที่นำมาลง จึงยอมให้ผ่านไปทั้งที่เสียดาย เท่าที่นำมาลงแล้ว บางตอนยังรู้สึกไม่สะดวกใจทั้งที่เป็นความจริงตามท่านเล่าให้ฟัง แต่ก็ฝืนเอาบ้างที่เห็นว่าพอฝืนได้ ส่วนที่ฝืนไม่ได้เลยก็จำต้องยอม ดังนั้นส่วนที่ผ่านไปจึงยอมให้ผ่านตามเหตุผลที่เรียนมานี้
    เฉพาะที่ออกแล้วเป็นความยอมรับการติชมโดยไม่มีข้อแก้ตัว คือยินดีรับคำติด้วยความรู้สึกสำนึกโทษของตัวว่าเป็นความโง่มาแล้วตลอดสายแห่งประวัติท่าน และยินดีรับความชมด้วยความภาคภูมิ ที่หนังสือนี้ยังพอเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านอยู่บ้าง จากการตะเกียกตะกายในการนี้ ส่วนกุศลทั้งมวลขอได้เป็นสมบัติของท่านผู้อ่านและท่านผู้เกี่ยวข้องโดยสมบูรณ์ หากจะพึงมีได้แก่ผู้เขียนจากการเรียบเรียงประวัติท่านอยู่บ้าง ก็ขอรับและขอแบ่งส่วนแก่ทุกท่านที่มีความเคารพเลื่อมใสในองค์ท่านพระอาจารย์มั่น ให้มีส่วนเท่า ๆ กันกับผู้เขียนด้วย
    ในอวสานแห่งการเรียบเรียงนี้ ขอบุญญานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และบุญญาบารมีท่านพระอาจารย์มั่น พร้อมทั้งบารมีของผู้เขียนที่มีมากน้อย ตลอดสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลก จงมาคุ้มครองรักษาท่านผู้อ่านทั้งหลาย และท่านบรรณาธิการแห่งศรีสัปดาห์ พร้อมทั้งศรีสัปดาห์ที่อุตส่าห์พยายามช่วยเหลือ และล้มลุกคลุกคลานตามผู้เขียนที่ส่งต้นฉบับมาให้ช่วยนำลงแต่ต้นจนจบประวัติท่าน โดยไม่เห็นแก่ความลำบากรำคาญใด ๆ ในทุกกรณีที่เกี่ยวแก่การนี้และการอื่น ๆ ที่ผู้เขียนขอร้องให้ช่วยเหลือตลอดมา ขอได้พร้อมกันปราศจากโรคาพยาธิ และสิ่งอัปมงคลทั้งหลาย มีแต่ความสุขกายสบายใจ ปรารถนาสิ่งใดในขอบเขตแห่งธรรม จงสมหวังดังใจหมายโดยทั่วกันเทอญฯ
    ตุลาคม ๒๕๑๔
     
  9. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ตอนที่ ๑๓


    ปัญหา ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
    จากหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับลงวันที่ 23 มี.ค.251
    ได้มีท่านผู้มีใจกรุณามอบหนังสือให้ผมเล่มหนึ่ง เป็นหนังสือประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ซึ่งท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าบ้านตาด อุดรธานี เป็นผู้เรียบเรียง หนังสือเล่มนี้ผมเข้าใจว่าได้พิมพ์แจกไปแล้วเป็นจำนวนมาก เล่มที่ผมได้รับมานี้เป็นเล่มที่เพิ่งได้พิมพ์ขึ้นใหม่ และผมก็เพิ่งได้เคยอ่านหนังสือเล่มนี้ในคราวนี้ ที่ได้นำเอาหนังสือเรื่องนี้มาเขียนถึงในคอลัมน์นี้ ก็เพราะเห็นว่าหนังสือเล่มเป็นหนังสือที่น่าอ่านอยู่มาก ใครที่ยังไม่เคยอ่านก็ควรจะได้หามาอ่านเสีย ที่ว่าเป็นหนังสือที่น่าอ่านนั้น ผมหมายถึงวิธีเขียนหนังสือของท่านอาจารย์พระมหาบัว ผู้เรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ขึ้นเป็นสำคัญ เมื่อจับหนังสือเล่มนี้ขึ้นอ่าน ก็สังเกตได้ทันทีว่าท่านผู้เรียบเรียง ท่านได้เขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นตามสบายของท่าน
    เมื่อผู้เขียนหนังสือเขียนตามสบาย ใจของคนอ่านก็เกิดความรู้สึกว่าตามสบายคล้อยตามไป และอ่านหนังสือนั้นตามสบายเช่นเดียวกัน เมื่อเกิดความรู้สึกว่าหนังสือเล่มนี้อ่านได้ตามสบาย แต่ในขั้นแรกแล้ว ผมเองก็เริ่มอ่านตามสบายเรื่อย ๆ ไป และถ้าไม่มีธุระบางอย่างมาขัดข้องเสียแล้วก็คิดว่า คงจะได้อ่านเรื่อยไปจนจบในรวดเดียวนั้น อย่างไรก็ตาม เมื่ออ่านจบแล้วก็เกิดความนับถือเลื่อมใสในท่านเจ้าของประวัติ คือพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระเป็นอย่างยิ่ง ในการเขียนประวัติของพระอาจารย์มั่นนั้น ท่านอาจารย์พระมหาบัวได้เขียนอย่างตามสบายของท่านจริง ๆ กล่าวคือนึกถึงเรื่องอะไรออก ท่านก็เขียนลงไว้ มิได้เขียนประวัติอย่างคนอื่นเขียนตามธรรมดา แต่ก็มีการสอดแทรกธรรมะที่พระอาจารย์มั่นได้สั่งสอนสานุศิษย์ของท่านไว้ ในหลายที่หลายแห่งโดยตลอด นอกจากนั้นก็ยังได้เขียนถึงเหตุการณ์อันน่าสนใจ น่าตื่นเต้นอีกมากมายหลายอย่างในชีวิตของพระอาจารย์มั่น ลงไว้เป็นระยะ ๆ ไป
    การอ่านหนังสือธรรมะล้วน ๆ นั้น มักจะเป็นงานหนักของคนส่วนมาก เพราะต้องใช้สติปัญญามากอยู่ในการอ่าน เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันถูกต้อง และสติปัญญานั้นเมื่อใช้มากเข้า ก็เกิดความเหน็ดเหนื่อยทางสมองขึ้นได้ การอ่านหนังสือธรรมะจึงอ่านได้รวดเดียวจบไม่ง่าย เฉพาะตัวผมเองไม่เคยปรากฏว่าทำได้ แต่หนังสือที่ท่านอาจารย์พระมหาบัวแต่งขึ้นนี้ ท่านมีวิธีเขียนของท่านจากข้อความอันเป็นธรรมะไปยังข้อความเกี่ยวกับเหตุการณ์อื่นที่น่าตื่นเต้นบ้าง น่าสนใจบ้าง จนความเหน็ดเหนื่อยในการอ่านนั้นไม่เกิดขึ้น เพราะเมื่อเหนื่อยธรรมะแล้วก็มีเรื่องอื่นที่เรียกร้องความสนใจในทางอื่นมาให้อ่านต่อไป ในจังหวะที่พอดีทุกครั้งไป เป็นการพักสมองไปในตัว
    เมื่อได้อ่านหนังสือเล่มนี้จบลงแล้ว ก็เกิดความรู้สึกขึ้นในใจว่า ได้อ่านชีวิตของนักต่อสู้ที่มีความแข็งแกร่งและมีกำลังมากคนหนึ่ง รูปเรื่องที่เกิดขึ้นในใจนั้น เป็นเรื่องของการต่อสู้ระหว่างพระอาจารย์มั่นกับความโง่หลงงมงายของมนุษย์ ข้อความที่ท่านอาจารย์พระมหาบัวเก็บเอามาลงไว้ในหนังสือ จากเทศนาของพระอาจารย์มั่นในหลายที่หลายแห่งนั้นแสดงให้เห็นได้ชัดว่า ท่านต้องทำการต่อสู้อย่างหนักกับกิเลสตัณหาของมนุษย์ และความโง่หลงงมงายของมนุษย์ หรือมิฉะนั้นการโต้ตอบของท่านกับผู้ที่มาตั้งปัญหาถามท่านต่าง ๆ นั้น ก็แสดงให้เห็นถึงการต่อสู้นั้นเช่นเดียวกัน
    เป็นต้นว่า ท่านเทศน์สั่งสอนพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นสานุศิษย์ของท่านว่า อย่านึกว่าเมื่อได้มาบวชแล้ว จะต้องเป็นคนดีที่อยู่ในศีลธรรมเสมอไป เพราะบาปนั้นทำได้ถึงสามทาง คือทางกายกรรม ทางวจีกรรม และทางมโนกรรม ถึงแม้ว่าพระภิกษุสงฆ์จะไม่ทำบาปด้วยกายและด้วยวาจา ก็ยังไม่แน่นักว่าพระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นจะเป็นผู้พ้นจากบาปแล้วหรือไม่ เพราะอาจยังทำบาปทางใจอยู่ก็ได้ และตราบใดที่ยังทำบาปทางใจอยู่แล้ว กลับไปนึกเสียว่าตนเป็นผู้ที่อยู่ในศีลธรรมอันดีแล้ว พระเช่นนั้นจะยิ่งสั่งสมบาปให้มากหนักขึ้นไปอีก ฟังดูแล้วก็จับใจ
    เมื่อท่านจาริกไปถึงเมืองนครราชสีมา มีผู้มาถามท่านว่า ในการที่ท่านมายังนครราชสีมาคราวนี้ ท่านมีความประสงค์ที่จะมาแสวงหามรรคผลอันใด ท่านตอบว่าอาตมาเป็นคนไม่หิวเสียแล้ว ธรรมดาของคนไม่หิวก็ย่อมไม่แสวงหาอันใดทั้งสิ้น ฟังแล้วก็สะใจดีพิลึก
    ทั้งที่หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่อ่านสนุกอ่านเพลิน แต่ขณะที่อ่านนั้นก็เกิดความกังวลขึ้นเรื่อย ๆ ท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระนั้น ท่านเป็นอาจารย์ทางวิปัสสนา ซึ่งมีผู้เคารพนับถือยกย่องมาก เมื่อได้อ่านประวัติของท่านก็เกิดความสนใจ จนกลายเป็นความร้อนใจที่จะได้ทราบถึงการปฏิบัติของท่านในทางวิปัสสนา แต่หนังสือเล่มนี้ก็มิได้บอกไว้ คงบอกแต่วัตรปฏิบัติของท่าน เช่นท่านนั่งสมาธิเวลาใด เดินจงกรมเวลาใด ฉันอาหารจากบาตรเป็นประจำและฉันวันละหน เหล่านี้เท่านั้น นอกจากนั้นก็มีเรื่องเกี่ยวกับการเดินทางของท่านเพื่อไปพำนักอยู่ในที่วิเวกตามป่าเขาหรือในถ้ำ ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าตื่นเต้น น่าสนใจดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
    โดยเฉพาะเรื่องระหว่างพระอาจารย์มั่น และสัตว์ป่าต่าง ๆ ที่ท่านได้พบเห็น เช่น เสือบ้าง ฝูงลิงบ้าง และช้างบ้างนั้น แสดงให้เห็นเมตตาอันมีต่อสัตว์ทั้งปวงของพระพุทธศาสนาอย่างเด่นชัด เมตตาของพระอาจารย์มั่นอันมีต่อสัตว์ทั้งปวงนี้ มาปรากฏเป็นแสงสว่างขึ้นในตอนท้ายของหนังสือ พระอาจารย์มั่นไปอาพาธหนักอยู่ที่บ้านผือ อันเป็นบ้านป่านอกอำเภอเมืองสกลนคร เมื่อท่านทราบแน่ว่าท่านจะต้องถึงกาลกิริยาในครั้งนั้น ท่านก็เร่งเร้าให้บรรดาศิษย์ทั้งหลายของท่าน พาตัวท่านไปยังตัวจังหวัดสกลนคร เพื่อที่จะได้มรณภาพที่นั้น ท่านได้กล่าวว่า หากท่านมรณภาพลงที่บ้านผือ อันเป็นละแวกที่ไม่มีตลาดขายอาหารแล้ว ผู้คนที่มาเคารพศพท่านเป็นจำนวนมากมาย เมื่อท่านมรณภาพแล้วก็จะต้องซื้ออาหารจากบ้านผือนั้นเอง ทำให้ชาวบ้านต้องฆ่าสัตว์มาขายเป็นอาหารเพิ่มขึ้นกว่าปกติ ท่านไม่สามารถที่จะทนดูชีวิตสัตว์จำนวนมากมายต้องถูกทำลายลงเพราะท่านมรณภาพแต่องค์เดียวได้ จึงขอให้ท่านได้ไปมรณภาพเสียที่ตัวจังหวัดสกลนคร เพราะที่นั่นมีตลาดสดพอที่ผู้คนจะซื้ออาหารได้สะดวก
    เรื่องประทับใจต่าง ๆ เหล่านี้มีมากเหลือเกินในหนังสือเล่มนี้ แต่ถึงอย่างนั้น ความกังวลใจเพราะอยากจะได้สดับธรรมขั้นสูงกว่านั้นก็ยังมีอยู่ ในการเขียนหนังสือเล่มนี้ท่านอาจารย์พระมหาบัว เขียนด้วยความเคารพเลื่อมใส และความกตัญญูต่อพระอาจารย์มั่นผู้เป็นอาจารย์ของท่าน เมื่ออ่านแล้วก็เกิดความเข้าใจขึ้นว่า เพราะเหตุใดในพระไตรปิฎกซึ่งได้รจนาขึ้นภายหลังพระพุทธเจ้านิพพานแล้วหลายร้อยปี จึงเต็มไปด้วยปาฏิหาริย์ต่าง ๆ และเรื่องที่คนในสมัยปัจจุบันอาจเห็นว่าเหลือเชื่อ
    ท่านอาจารย์พระมหาบัวท่านเขียนไว้ว่า เมื่อครั้งพระอาจารย์มั่นออกไปอยู่ตามป่าตามเขาหรืออยู่ในถ้ำที่จังหวัดเชียงใหม่นั้น มีพระอินทร์และเทวดาทั้งหลาย คือเทวดาเบื้องล่างและเบื้องบน ตลอดจนพญานาคมาฟังธรรมจากท่านเป็นเนืองนิจ เทวดาที่มาจากประเทศเยอรมันก็มี ครั้งหนึ่งเทวดาที่มาฟังธรรมจากพระอาจารย์มั่นนั้นมีจำนวนมากจนท่านต้องกำหนดตารางสอน แบ่งเวลาให้เทวดาฟังธรรมเป็นพวก ๆ ไป เท่าที่ทราบจากหนังสือเล่มนี้ เทวดาที่จังหวัดสกลนครมีน้อยกว่าเทวดาที่เชียงใหม่ ขอให้ชาวจังหวัดสกลนครนึกเสียว่าเป็นกรรมก็แล้วกัน อย่าน้อยอกน้อยใจไปเลย
    แต่ในเรื่องนี้ก็มีสิ่งที่น่าสังเกตอยู่ว่า ในหนังสือเล่มนี้เองปรากฏว่า พระอาจารย์มั่นท่านตอบในเรื่องบางเรื่องอย่างมีเหตุผลดีที่สุด เป็นต้นว่ามีผู้มาถามท่านว่าผีมีจริงไหม? ท่านก็ตอบว่า ผีที่ทำให้คนเกิดความกลัวและเป็นทุกข์กันนั้น เป็นผีที่คนคิดขึ้นที่ใจว่าผีมีอยู่ที่นั้นบ้างที่นี้บ้าง ผีจะมาทำลายบ้างต่างหาก จึงพาให้เกิดความกลัวและเป็นทุกข์ขึ้นมา ถ้าอยู่ธรรมดาไม่ก่อเรื่องผีขึ้นที่ใจ ก็ไม่เกิดความกลัวและไม่เป็นทุกข์ ฉะนั้นผีจึงเกิดขึ้นจากการก่อเรื่องของผู้กลัวผีขึ้นที่ใจ มากกว่าผีจะมาจากที่อื่น หรือเมื่อมีผู้มาตั้งปัญหาถามท่านว่ามนุษย์เกิดมาจากไหน? ท่านตอบว่ามนุษย์เราต่างก็มีพ่อมีแม่เป็นแดนเกิด แม้ผู้ถามก็มิได้เกิดจากโพรงไม้ แต่มีพ่อแม่เป็นผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูมาเหมือนกันจึงไม่ควรถาม ถ้าจะตอบว่ามนุษย์เกิดจากอวิชชาตัณหาก็ยิ่งจะมืดมิดปิดตายิ่งกว่าไม่ตอบเป็นไหน ๆ เพราะไม่เคยรู้ว่าอวิชชาตัณหาคืออะไร ทั้งที่มีอยู่กับตนทุกคน เว้นพระอรหันต์เท่านั้น
    พระอาจารย์มั่นท่านได้ถือโอกาสในการตอบปัญหาเหล่านี้ แสดงธรรมต่อไปเพื่อให้มนุษย์เกิดปัญญา ลักษณะเช่นนี้ของพระอาจารย์มั่นดูเหมือนจะมีคุณวิเศษในสายตาของผมยิ่งกว่าปาฏิหาริย์ใด ๆ ทั้งสิ้น แต่เรื่องเทวดามาฟังธรรมนั้นก็ช่างเถิด เพราะในพระไตรปิฎกก็มีพูดถึงบ่อย ๆ ว่าเทวดามาฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า ในอรรถกถาพระพุทธโฆษาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า เทวดาลงมาฟังธรรมจากพระอรหันต์จึงมิใช่เรื่องแปลกประหลาด เรื่องที่แปลกประหลาดอย่างยิ่งนั้นก็คือในหนังสือเล่มนี้บอกว่า เมื่อพระอาจารย์มั่นอยู่ในถ้ำ มีพระอรหันต์หลายองค์มาสนทนาธรรมกับท่าน นอกจากสนทนาธรรมแล้ว พระอรหันต์ยังแสดงท่านิพพานของแต่ละองค์ให้พระอาจารย์มั่นดูอีกด้วย เมื่ออ่านถึงตอนนี้แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นกับใจนั้นเกินไปกว่าความกังวล แต่เป็นความเดือดร้อนทีเดียว พระอรหันต์ที่นิพพานไปแล้ว มาสนทนาธรรมกับคนที่ยังไม่นิพพาน แล้วแสดงท่านิพพานให้ดูนั้น ไม่มีในพระบาลีเป็นแน่นอนครับ
    เมื่ออุปสีวมานพมาทูลถามปัญหาพระพุทธเจ้าเรื่องพระอรหันต์นั้น อุปสีวมานพได้ทูลถามว่าที่ว่าพระอรหันต์ดับไปแล้วนั้น ท่านดับโดยสิ้นเชิง หรือว่าเป็นแต่ไม่มีตัวหรือจักเป็นผู้ตั้งอยู่ยั่งยืนหาอันตรายมิได้
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ประมาณแห่งเบญจขันธ์ของผู้ที่ดับขันธปรินิพพานแล้ว มิได้มีกิเลสซึ่งเป็นเหตุกล่าวผู้นั้นว่าไปเกิดเป็นอะไร ของผู้นั้นก็มิได้มี เมื่อธรรมทั้งหลายอันผู้นั้นขจัดได้หมดไปแล้ว ก็ตัดทางแห่งถ้อยคำที่จะพูดถึงผู้นั้นว่าเป็นอะไรเสียทั้งหมด หมายความว่า พระอรหันต์นั้นดับถึงขนาดที่ไม่มีเรื่องที่จะพูดถึงท่านอีกต่อไป
    อ่านประวัติของพระอาจารย์มั่นจบแล้วก็ได้แต่ถามตนเองว่า ที่หลวงพ่อมั่นท่านต่อสู้กับความโง่หลงงมงายมนุษย์นั้น ท่านได้ชัยชนะทำให้ใครได้ฉลาดขึ้นหรือไม่ หรือว่าท่านตายเปล่า?
    gggggggggg
    <table style="border-collapse: collapse; border: medium none; background: #FFFFF5" bgcolor="#fffff5" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" width="95%"> <tbody><tr> <td style="width: 0pt; border: 1.5pt solid maroon; padding-left: 5.4pt; padding-right: 5.4pt; padding-top: 0cm; padding-bottom: 0cm" valign="top" width="569">
    อันเนื่องมาแต่ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
    ม.ล.จิตติ นพวงศ์
    คัดจากหนังสือพิมพ์ศรีสัปดาห์
    ฉบับที่ ๑๐๗๕ วันศุกร์ที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๑๕
    ปัญหาที่เป็นเหตุให้ต้องมาเขียนเรื่องนี้มีอยู่ว่า เป็นไปได้หรือที่พระอรหันต์จะมาสนทนาธรรมกับท่านพระอาจารย์มั่น จนกระทั่งถึงแสดงท่านิพพานให้ท่านดูต่าง ๆ กัน ในเมื่อไม่ปรากฏในพระบาลีว่า พระอรหันต์นิพพานไปแล้วจะมาทำเช่นนั้น
    เหตุผลเท่านั้นที่ทำให้มนุษย์สูงกว่าสัตว์ ทำให้คนฉลาดแตกต่างจากคนโง่ แต่ก็ต้องเป็นเหตุผลที่ถูกต้องตามความจริงแท้ มิใช่สักแต่ว่าเป็นเหตุที่คนทรามปัญญาคว้ามาถือ และก็ไม่ถือไว้ตามลำพังตน ยังพยายามจะให้คนอื่นทั้งหลายถือไว้เหมือนตนด้วย ให้กลายเป็นผู้ทรามปัญญาเหมือนตนด้วย
    ก็ถูกต้อง ที่ไม่มีปรากฏในพระบาลีว่าพระอรหันต์ที่นิพพานไปแล้วจะมาสนทนาธรรมกับคนที่ยังไม่นิพพาน แต่ก็ไม่มีปรากฏในพระบาลีเลยว่า พระอรหันต์ที่นิพพานแล้วจะมาทำเช่นนั้นไม่ได้เป็นอันขาด ในกรณีนี้ เหตุผลต้องอยู่ที่ตรงนี้ อะไรที่ไม่ถูกนำมาเอ่ยถึง ไม่จำเป็นต้องไม่มีอยู่ ปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาที่แท้จริงทั้งหลายท่านทราบ ในขณะที่ปราชญ์จอมปลอมไม่อาจรู้ได้ ว่านอกจากที่ปรากฏในพระบาลียังมีอะไร ๆ ที่อัศจรรย์วิจิตรพิสดารอีกมากนัก ผู้ที่เกิดมาไม่เคยปฏิบัติธรรม หมกมุ่นวุ่นวายอยู่แต่กับความสกปรกโสโครกทุกลมหายใจเข้าออก จะรู้จักสิ่งบริสุทธิ์สูงส่งหาใดเสมอเหมือนมิได้ได้อย่างไร
    ระหว่างพระกับมาร ใครหลงเชื่อมาร มารก็พาไปนรกเท่านั้น ท่านอาจารย์มั่นก็ตาม ท่านอาจารย์พระมหาบัวก็ตาม ท่านเป็นพระ หรือถ้าไม่อยากจะเชื่อใครทั้งนั้นในเรื่องนี้ อยากจะเชื่อตัวเองก็ต้องทำตัวเองให้เหมือนท่านอาจารย์ท่านเสียก่อน ให้เห็นเท็จและจริงด้วยตัวเองเสียก่อนนั่นแหละ แล้วจึงควรอ้าปากวิจารณ์เรื่องนี้ ไม่เช่นนั้นก็จะไม่พ้นต้องเป็นคนโง่ตัวใหญ่ ที่คิดจะยกตัวให้สูงขึ้นด้วยการพยายามปีนป่ายเหยียบย่ำกระทืบยอดเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ ท่ามกลางสายตาของพุทธศาสนิกชน จะพ้นสภาพย่อยยับไปไม่ได้เลย
    การเข้าใจความพระบาลีให้ถูกต้องนั้น อย่าคิดว่าง่าย ต่อให้ได้ชื่อว่า เป็นปราชญ์ทางโลก อ่านหนังสือหมดโลกก็ตาม ถ้าพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์นิพพานแล้วจะต้องดับสิ้น ถึงขนาดที่ไม่มีเรื่องจะพูดถึงท่านได้อีกต่อไปจริง แล้วทุกวันนี้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มีอยู่อย่างไรในเมื่อท่านนิพพานไปเสียแล้ว หรือทุกวันนี้ไม่มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เสียแล้ว ที่ให้ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งสูงสุดกันนั้น หมายถึงให้ถือลม ถือแล้งหรอกหรือ ไม่มีความจริงกระนั้นหรือ
    ปฏิเสธเสียก่อนว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์สรณะสูงสุดของเราไม่มีในปัจจุบัน ปฏิเสธเสียก่อนว่าพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพไม่มีในปัจจุบันแล้วนั่นแหละจึงปฏิเสธเรื่องราวระหว่างพระอรหันต์ที่ท่านนิพพานแล้วกับท่านพระอาจารย์มั่นได้
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    gggggggggg
    ตอบปัญหาของท่านผู้ถามเกี่ยวกับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
    โดย พระมหาบัว ญาณสัมปันโน
    วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี
    นับตั้งแต่วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๑๕ เป็นต้นมา ได้มีสุภาพบุรุษสุภาพสตรีหลายท่านทั้งใกล้และไกล ทยอยกันมาถามปัญหาธรรมในแง่ต่าง ๆ ทั้งอุตส่าห์มาด้วยตัวเอง ทั้งมีจดหมายมาถามมิได้ขาด แทบตอบไม่หวาดไม่ไหว ต้นเรื่องมีสาเหตุสืบเนื่องมาจากหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๑๕ โดยท่านคึกฤทธิ์เป็นผู้เขียนขึ้น ความจริงท่านก็เขียนดีน่าฟังอยู่แล้ว ไม่น่าจะมีปัญหาที่ควรยุ่งเหยิงวุ่นวายถึงขนาดที่กำลังเป็นอยู่เวลานี้ เพื่อช่วยกันแบ่งเบาไปบ้าง จึงขอเรียนตอบด้วยการเล่าเรื่องท่านอาจารย์มั่นให้ฟัง ซึ่งบางเรื่องเห็นว่าเหมาะสมกับเหตุการณ์ที่กำลังเป็นอยู่
    เพียงเท่านี้ก็พอทำให้คิดและทราบได้ในหลักใจของชาวพุทธเราว่า ยังมีท่านที่ลังเลสงสัยธรรมทางพระพุทธศาสนา ทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติอยู่มาก จึงทำให้วิตกถึงปฏิเวธธรรมที่เป็นผลแสดงขึ้นในลักษณะต่าง ๆ กัน จากการปฏิบัติของท่านผู้บำเพ็ญอยู่ไม่น้อยว่า น่าจะเป็นธรรมสุดเอื้อมหมดหวังในสมัยปัจจุบัน เพราะความจริงใจในธรรมมีน้อย เนื่องจากถูกทุ่มเทไปทางอื่นเสียมาก มิได้คำนึงเหตุผลพอประมาณ จึงอดคิดเป็นห่วงมิได้ในเรื่องดังกล่าวมา
    เฉพาะองค์ท่านพระอาจารย์มั่นที่ผู้เขียนเทิดทูนสุดจิตสุดใจนั้น แม้ท่านจะถูกวิพากษ์วิจารณ์และตำหนิติชมในลักษณะยกขึ้นทุ่มลง หรือด้วยวิธีการใด ๆ จนไม่มีชิ้นส่วนอะไรติดต่อกัน และกลายเป็นผุยผงไปตามอากาศก็ตาม ผู้เขียนมิได้มีอะไรหวั่นวิตกไปด้วยท่านเลย แม้กิเลสจะแสนหนาแน่นภายในใจอยู่ขณะนี้ก็เถิด แต่ที่ไม่แน่ใจอยู่เวลานี้ คือความรู้ภายในของท่านพระอาจารย์มั่น ประเภทที่ลึกลับซับซ้อนเกินกว่าความคาดคิดด้นเดาของสามัญธรรมดาทั่วไป เฉพาะอย่างยิ่งผู้ครองพระไตรปิฎก แต่ไม่เคยสนใจมองดูหัวใจตนว่าเป็นอย่างไรบ้างเลย มีแต่เที่ยวกวาดต้อนล่าธรรม ท่านที่รู้เห็นจากการปฏิบัติทางจิตตภาวนาในแง่ต่าง ๆ ไม่มีประมาณนั้น ให้เข้าสู่วงจำกัดคือพระไตรปิฎกโดยถ่ายเดียวนั่นแล ที่น่าเป็นห่วงมาก กลัวว่าอกจะแตกไปเสียก่อน ทั้งที่ธรรมท่านที่กำลังถูกกวาดต้อน ก็ยังไม่เข้าสู่จุดมุ่งหมายให้หมดสิ้นไปได้
    เมื่อมีเหตุอันควรกล่าวถึงองค์ท่านอาจารย์มั่นอีก ผู้เขียนก็จะกล่าวถึงความรู้ท่านที่ยังไม่เคยกล่าวเสียบ้าง เผื่อท่านที่มีความสามารถในทางนี้ จะได้ช่วยกวาดต้อนติชมไปตามนิสัย ซึ่งอาจเป็นการช่วยสังคายนากลั่นกรองธรรมเถื่อนให้หมดสิ้นไป เหลือไว้แต่ธรรมของจริงล้วน ๆ หากอยู่ในฐานะที่ควรเป็นได้ ลำพังผู้เขียนเพียงคนเดียวไม่อาจเห็นความผิดพลาดและความบกพร่องของท่านและของตนได้โดยทั่วถึง จึงขอเล่าเรื่องท่านแต่เพียงเอกเทศไว้ ณ ที่นี้บ้าง
    ท่านเคยเล่าให้สานุศิษย์ฟังในโอกาสต่าง ๆ กันอยู่เสมอมาว่า วันคืนหนึ่ง ๆ ธรรมประเภทต่าง ๆ ปรากฏขึ้นภายในใจท่านเสมอจนไม่อาจคณนา สิ่งไม่เคยคาดคิดว่าจะรู้เห็นก็รู้เห็นขึ้นมาเรื่อย ๆ จึงทำให้ท่านแน่ใจ หายสงสัยในธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นในพระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลายหลังจากตรัสรู้และบรรลุธรรมแล้ว จนถึงกาลเสด็จปรินิพพาน ว่ามีมากต่อมาก ราวท้องฟ้ามหาสมุทรสุดจะประมาณได้ ธรรมที่เป็นพระวิสัยของพระพุทธเจ้าทรงรู้เห็นโดยเฉพาะ ไม่อยู่ในวิสัยของสาวกจะพึงรู้ได้ก็ดี ธรรมที่อยู่ในวิสัยของสาวกบางองค์อาจรู้ตามได้ แต่ไม่อาจแสดงให้แก่ใครรู้และเข้าใจได้ก็ดี ยังมีอีกมากมาย
    ท่านว่าธรรมที่ไม่ได้จารึกไว้ในพระบาลีแห่งพระไตรปิฎกนั้น เทียบกับน้ำในมหาสมุทร ส่วนธรรมที่มาในพระไตรปิฎกนั้น เทียบกับน้ำในตุ่มในไหเท่านั้นเอง จึงน่าเสียดายที่พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ผู้เชี่ยวชาญนิพพานไปแล้วตั้งหลายร้อยปี จึงมีผู้คิดได้และจารึกธรรมเหล่านั้นขึ้นสู่คัมภีร์ตามความสามารถของตน ซึ่งโดยมากการจารึกก็ขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของผู้จัดทำอีกเช่นกัน จึงไม่แน่ใจว่าจะได้ธรรมที่ถูกต้องแม่นยำถึงใจเสมอไป ไว้ต้อนรับอนุชนรุ่นหลังได้อ่านได้ชมเพียงไร เฉพาะความรู้สึกของผมเองว่าธรรมที่ออกจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า ซึ่งฉายออกมาจากพระทัยที่บริสุทธิ์นั้น เป็นธรรมถึงใจสุดจะกล่าว เพราะเป็นธรรมที่ถึงเหตุถึงผลอยู่กับพระทัยที่บริสุทธิ์ล้วน ๆ แล้ว จึงเป็นธรรมที่อัศจรรย์และมีอานุภาพมากผิดธรรมดา ผู้รับจากพระโอษฐ์จึงมีทางบรรลุมรรคผลได้ง่าย และมีจำนวนมากมายเหลือจะพรรณนา บรรดาธรรมเหล่านั้น ไม่ว่าพระพุทธเจ้าและสาวกแสดงย่อมเห็นผลประจักษ์แก่ผู้รับฟังอย่างถึงใจ
    ส่วนพระไตรปิฎกที่พวกเราศึกษาจดจำกันมานั้น มีใครบ้างได้บรรลุมรรคผลในขณะที่กำลังฟังและศึกษาอยู่ แต่มิได้ปฏิเสธว่าไม่มีผล เมื่อเป็นเช่นนี้ธรรมทั้งสองนั้น ธรรมใดเป็นธรรมที่มีคุณค่าและน้ำหนักมากกว่ากันเล่า? ลองพิจารณาดูซิพวกท่าน ถ้าว่าผมหาเรื่องป่าเถื่อนมาพูด สำหรับผมเองมีความรู้สึกอย่างนี้ และเชื่ออย่างเต็มใจว่า ธรรมจากพระโอษฐ์นั่นแล คือธรรมประเภทถอนรากถอนโคนกิเลสทุกประเภทได้อย่างถึงใจทันควัน ดังพระองค์ทรงใช้ถอดถอนกิเลสแก่มวลสัตว์มาแล้วจนสะเทือนโลกทั้งสาม ผมจึงไม่ประสงค์และส่งเสริมให้ท่านทั้งหลายเย่อหยิ่งทำตัวเป็นตัวบุ้งตัวหนอนคอยกัดแทะกระดาษแห่งคัมภีร์ใบลานอยู่เปล่า ๆ โดยไม่สนใจพิจารณาสัจธรรมอันประเสริฐที่มีอยู่กับตัว แต่มัวไปยึดธรรมที่ศึกษามาถ่ายเดียว ซึ่งเป็นสมบัติของพระพุทธเจ้ามาเป็นสมบัติของตนด้วยความเข้าใจผิด ว่าตนเรียนรู้และฉลาดพอตัวแล้ว ทั้งที่กิเลสยังกองเต็มหัวใจ ยิ่งกว่าภูเขาไฟมิได้ลดน้อยลงบ้างเลย จงพากันมีสติคอยระวังตัว อย่าให้เป็นคนประเภทใบลานเปล่า ๆ เรียนเปล่าและตายทิ้งเปล่า ไม่มีธรรมอันเป็นสมบัติของตัวอย่างแท้จริงติดตัวบ้างเลย
    การกล่าวทั้งนี้ผมมิได้กล่าวเพื่อประมาทธรรมของพระพุทธเจ้า ธรรมย่อมเป็นธรรม ทั้งธรรมในใจและธรรมนอกใจ คือธรรมในบาลีพระไตรปิฎก แต่ธรรมในพระทัยที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเอง พุทธบริษัทได้บรรลุมรรคผลต่อพระพักตร์ของพระองค์แต่ละครั้งมีจำนวนมาก ส่วนธรรมที่จารึกขึ้นสู่คัมภีร์ใบลานนั้นมีผลผิดกันอยู่มาก ดังที่ปรากฏในตำรา ฉะนั้นธรรมในพระทัยจึงเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ล้วน ๆ แต่เมื่อพระองค์และพระสาวกซึ่งเป็นเจ้าของเสด็จเข้าสู่นิพพานแล้ว จึงมีผู้จารึกภายหลัง ซึ่งอาจแฝงไปด้วยความรู้ความเห็นของผู้จดจารึก อันเป็นเครื่องยังธรรมนั้น ๆ ให้ลดคุณภาพและความศักดิ์สิทธิ์ลงตามส่วน ใครก็ไม่อาจทราบได้
    นี่เป็นคำที่ท่านพระอาจารย์มั่นเคยพูดอยู่เสมอ กรุณาท่านที่สงสัยถามมาโดยทางจดหมาย วินิจฉัยตามที่เรียนมานี้ ส่วนที่นอกเหนือไปจากคำที่ท่านเคยพูดไว้ ผู้เขียนไม่อาจวินิจฉัยให้หายสงสัยได้ เพียงแต่ประคองร่างสืบชีวิตไปเป็นวัน ๆ ก็ยังหกล้มก้มกราบอยู่แล้ว จึงกรุณาเห็นใจและขออภัยมาก ๆ ไว้ ณ ที่นี้ด้วย
    ส่วนท่านที่ถามมาตามหนังสือสยามรัฐตอนสุดท้ายว่า ที่หลวงพ่อมั่นท่านต่อสู้กับความโง่หลงงมงายของมนุษย์ ท่านได้ชัยชนะทำให้ใครได้ความฉลาดขึ้นหรือไม่? หรือว่าท่านตายเปล่า? สำหรับท่านผู้เขียนประวัติท่านมีความเห็นอย่างไรบ้าง? นั้น ถ้าพอมีสติระลึกตนได้อยู่บ้างว่ายังโง่ ยังหลงงมงายอยู่หรือไม่ หรือฉลาดจนถึงไหนแล้ว และเห็นว่าวิธีการที่ท่านดำเนินเป็นนิยยานิกธรรมอยู่บ้าง ธรรมนั้นและวิธีนั้นก็ควรจะทำคนโง่ให้ฉลาด และทำคนหลงให้รู้สึกตัวได้ ไม่ตายเปล่าแบบท่านอาจารย์มั่นซึ่งกำลังเป็นปัญหาอยู่เวลานี้ ไม่มีใครอาจแก้ให้ตกไปได้ ถ้าไม่แก้ที่ตนซึ่งกำลังเป็นปัญหาตัวใหญ่อยู่กับทุกคนว่า จะตายเปล่า หรือจะตายที่เต็มไปด้วยอะไรบ้างด้วยกัน ไม่มีข้อยกเว้น
    และท่านที่ถามอย่างกว้างขวาง แล้วมาสรุปความลงว่า การวิจารณ์ว่าเรื่องพระอรหันต์มาสนทนาธรรมและมาแสดงท่านิพพานต่าง ๆ กัน ให้ท่านอาจารย์มั่นดู มิได้มีในพระบาลีนั้นจริงไหม? การวิจารณ์เป็นความจริงหรือไม่? ถูกต้องหรือไม่? ท่านเป็นผู้เรียบเรียงจะวินิจฉัยว่าอย่างไร? ขอคำแนะนำด้วย
    ปัญหาเหล่านี้เข้าใจว่า ได้เรียนตอบลงในคำบอกเล่าของท่านพระอาจารย์มั่นซึ่งเขียนผ่านมาแล้ว ผู้เขียนมิใช่คนวิเศษวิโสเป็นคนใหญ่คนโต มีความรู้ความฉลาดเลื่องลือมาจากโลกไหน ก็เป็นคนสามัญธรรมดาที่มีกิเลสเต็มหัวใจเราดี ๆ นี่เอง ท่านผู้วิจารณ์และท่านผู้อ่านทั้งหลายก็เข้าใจว่า คงเป็นคนสามัญธรรมดาด้วยกัน ส่วนท่านพระอาจารย์มั่นซึ่งเป็นเจ้าของประวัตินั้น ท่านเป็นพระประเภทใด ผู้เขียนไม่กล้าอาจเอื้อมวิจารณ์ทำนายท่านได้ กลัวตกนรกทั้งเป็น ยังอาลัยเสียดายอยากอยู่ในโลกเหมือนคนทั่ว ๆ ไปอยู่
    การที่ความรู้ความเห็นของท่านพระอาจารย์มั่น จะมีในพระบาลีหรือไม่นั้น ถ้าพระไตรปิฎกมิได้ตั้งตัวเป็นกองปราบปรามผูกขาด ผู้ปฏิบัติก็มีสิทธิ์จะรู้ได้ในธรรมทั้งหลายตามวิสัยของตน ดังพระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลายทรงรู้เห็นมาก่อนพระไตรปิฎกยังไม่อุบัติ ถ้าธรรมเหล่านี้และท่านเหล่านี้จะพอเป็นความจริง เป็นความถูกต้องได้และเป็นสรณะของโลกได้ ก็เป็นมาก่อนพระบาลีแล้ว ถ้าปลอมก็ปลอมมาแล้วอย่างไม่มีปัญหา จึงขอให้ท่านวินิจฉัยเลือกเอาตามชอบใจว่า จะเอา พุทฺธํ ธมฺมํ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ หรืออะไร ๆ ผ่านสายตาสัมผัสใจก็ สรณํ คจฺฉามิ ร่ำไปแบบกินไม่เลือก แต่เวลาเจอก้าง……..
     
  10. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๓. ประวัติพระอาจารย์มั่น ฉบับสมบูรณ์

    โดย พระอาจารย์วิริยังค์

    (เพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหา ควรอ่าน

    "ใต้สามัญสำนึก" ซึ่งเป็นประวัติบางส่วน

    ของท่านอาจารย์วิริยังค์ในส่วนที่เกี่ยวข้อง

    กับ พระอาจารย์มั่นด้วย)



    ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ฉบับสมบูรณ์
    พระญาณวิริยาจรรย์ (พระอาจารย์วิริยังค์)
    เจ้าอาวาส วัดธรรมมงคล แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ
    ตอนที่ ๑


    การเขียนประวัติของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระของข้าพเจ้า โดยการได้ยินได้ฟังจากตัวของท่านเองและครูบาอาจารย์ของข้าพเจ้า ตลอดถึงลูกศิษย์ของท่าน เพราะท่านอาจารย์มั่น ฯ นี้ท่านเป็นนักผจญภัย เพื่อต่อสู้กับกิเลสอย่างยอดเยี่ยม จึงเป็นประวัติที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าเองตั้งแต่เป็นสามเณร เพียงแต่ได้ยินอาจารย์ของข้าพเจ้าเล่าให้ฟัง ก็รู้สึกเลื่อมใสจริง ๆ จนอยากจะพบท่านทีเดียว แต่ประวัติของท่านอาจารย์มั่นฯ นั้น เข้าใจว่าตัวข้าพเจ้าเองไม่สามารถจะพรรณนาได้หมดแน่ เพราะเหลือวิสัยเนื่องจากมีอะไรหลายอย่างที่เป็นสิ่งลึกลับอยู่ แต่ว่าความจริงแล้วการแนะนำพร่ำสอนในธรรมทั้งหลายนั้น ข้าพเจ้ายอมรับอย่างไม่มีข้อแม้เลยว่า เป็นธรรมที่มีเหตุผลและเป็นผลที่ได้รับจริง ๆ จนข้าพเจ้าต้องอุทานมาคนเดียวขณะที่เพิ่งจะมาอยู่กับท่านว่า เรามาอยู่กับท่านอาจารย์มั่น ฯ เพียงเดือนเดียว แจ่มแจ้งในธรรมดีกว่าอยู่กับท่านอาจารย์ของข้าพเจ้าถึง ๘ ปี แต่อะไรที่ทำให้ข้าพเจ้าต้องอุทานออกมาเช่นนี้นี่แหละที่จะเป็นต้นเหตุให้เขียนประวัติของท่านอาจารย์มั่น ฯ ต่อไป
    คำแรก ที่ข้าพเจ้าได้ฟังจากท่านอาจารย์มั่นฯ แม้ว่าวันแรกที่ข้าพเจ้าไปพบวันนั้นต้องเดินไปเป็นหนทางถึง ๒๐ กิโลเมตร พอสรงน้ำเสร็จเข้าไปกราบท่าน ไม่ต้องมีพิธีรีตองอะไร แสดงธรรมเลยทีเดียว ท่านแสดงว่า
    มัชฌิมา ทางกลาง หมายถึงอะไร หมายทางพอดี ของพอดีนั้นมีความสำคัญ ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างขาดความพอดี ใช้ไม่ได้ ไม้ที่จะตัดเป็นบ้านขาดความพอดีก็เป็นบ้านไม่ได้ จีวร เสื้อผ้า ตัดยาวไป สั้นไปก็ใช้ไม่ได้ อาหารมากไปก็ไม่ได้ น้อยไปก็ไม่ได้ ความเพียรมากไปก็ไม่ดี น้อยไปก็ไม่ได้ มัชฌิมา ทางกลางคือ ขจัดสิ่งที่ไม่พอดี ให้พอดีนั่นเอง กามสุขลฺลิกานุโยค คือ การปฏิบัติตกไปในทางรัก อตฺตกิลมถานุโยค คือ ตกไปในทางชัง นี่คือการไม่พอดี ทำสมาธิหลงไปในความสุขก็ตกไปในทางรัก ทำสมาธิไม่ดีในบางคราว เศร้าใจ ตกไปในทางชัง การขจัดเสียซึ่งส่วนทั้งสองนั้น คือการเดินเข้าสู่อริยะมรรค.การถึงอริยมรรคนั่นคือการถึงต้นบัญญัติ การถึงต้นบัญญัติคือการถึง พุทธ
    ยาขนานนี้เองเป็นยาขนานแรกที่ท่านอาจารย์มั่น ฯ ส่งให้ข้าพเจ้าฉัน มันช่างเป็นขนานที่หนักเอาการ แต่เป็นธรรมที่ซาบซึ้งตรึงใจเป็นที่สุด
    พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ เป็นพระปรมาจารย์ทางกัมมัฏฐาน ท่านได้แสดงความสามารถในด้านนี้อย่างสูงทุกประการ ตามความเป็นจริงก็ปรากฏอย่างมีศิษย์คนใดจะกล้าปฏิเสธ คุณธรรมต่าง ๆ ที่ได้ปรากฏขึ้นนั้น ฝังอยู่ในดวงจิตของผู้เป็นศิษย์อย่างไม่มีทางเลือนลาง เป็นความจริงเหลือเกินที่ว่า ท่านได้ฟื้นฟูการปฏิบัติธรรมชั้นสูงของพระพุทธศาสนา จนเป็นที่รับรองจากปัญญาชนทั้งหลาย ผลประโยชน์เกิดจากการฟื้นฟูการปฏิบัติธรรมนั้น ย่อมปรากฏอยู่แก่ผู้ที่น้อมตัวเข้าเป็นศิษย์ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน แม้ว่าบางคนอาจะไม่เคยเห็นหน้าท่าน เพียงแต่เป็นชั้นหลานเหลน หรือเพียงอ่านประวัติของท่านก็ทำให้เกิดความเลื่อมใสอย่างซาบซึ้งตรึงใจแล้ว
    การอ่านประวัติของท่านอาจารย์มั่น ฯ ผู้อ่านควรจะได้ตระหนักถึงข้อปฏิบัติปฏิปทาอันจะได้นำมาเป็นตัวอย่าง ก็จะทำให้เกิดประโยชน์มากที่เดียว เพราะท่านได้ทำตัวของท่านเป็นตัวอย่างที่ดีเลิศ กับทั้งยังมีความเมตตาต่อนักบวชด้วยกันอย่างมากที่สุด มองเห็นการณ์ไกลได้เป็นอย่างดี ข้าพเจ้าใคร่จะเขียนให้ใกล้ความจริงเป็นที่สุด ซึ่งแม้จะเป็นยาขมบ้าง เข้าใจว่าอาจจะแก้โรคให้แก่ท่านในภายหลัง เพราะยาขมใครก็ไม่อยากรับประทาน จะรับประทานก็ต่อเมื่อถึงคราวจำเป็น แต่ยาขมก็ได้ช่วยชีวิตมนุษย์มาแล้วมากต่อมากมิใช่หรือ ๆ
    สถานเดิม
    ท่านเกิดในตระกูล แก่นแก้ว.บิดาชื่อคำด้วง มารดาชื่อนางจันทร์ เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องอยู่ ๙ คน แต่ ๗ คนนั้นได้ถึงแก่กรรม คงเหลือ ๒ คน ท่านเป็นคนหัวปี ท่านมีร่างกายสง่าผ่าเผย หน้าตาคมสัน เป็นลักษณะน่าเคารพบูชา เป็นผู้รักการรักงาน เป็นที่ไว้วางใจได้ในการงานที่ได้รับ.มอบหมาย จึงเป็นที่รักแก่บิดามารดาอย่างยิ่ง ท่านได้ศึกษาวิชาหนังสือไทย-ไทยน้อย-ขอม จากสำนักอา ได้ศึกษารู้เร็ว จนอาออกปากชมว่าฉลาดมาก เมื่ออ่านหนังสือได้แล้ว ท่านก็ได้ค้นคว้าหนังสือประวัติศาสตร์และนวนิยายของภาคอีสาน (เขาเรียกกันว่าลำพื้นลำแผ่น) เมื่อผู้เขียนอยู่กับท่าน ๆ จะเล่าถึงนิยายเก่ามีอันเป็นคติมาก เช่น เสียวสวาทเป็นต้น
    เป็นธรรมดาอยู่เองของสังสารวัฏต้องมีการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้มนุษย์เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย การหมุนเวียนนี้แหละ สำหรับผู้ดีมีวาสนา ก็หากหาแต่ความดีเท่านั้นให้เป็นทุนในการท่องเที่ยว เมื่อพอแก่ความต้องการก็เท่ากับสะสมบุญมาก ซึ่งในมงคลคาถามีว่า ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา ผู้มีบุญทำไว้แล้วแต่ปางก่อน บุญย่อมผูกนิสัยให้ดีและชอบการพ้นทุกข์เสมอไป ดังในปัจฉิมภาวิกชาติของพระบรมศาสดาของเราทั้งหลาย บารมีได้ส่งให้พระองค์ออกบรรพชาแสวงหาโมกขธรรม โดยเกิดขึ้นในพระหฤทัยของพระองค์เอง จนกระทำให้สำเร็จพระโพธิญาณในที่สุด แม้พระสาวกทั้งหลายก็เช่นกัน เมื่อบุญติดตามผูกอุปนิสัย ก็เป็นเหตุให้น้อมเข้ามาบรรพชาอุปสมบท ในขอบเขตของพระบรมศาสดา พ้นทุกข์ไป
    พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ ก็เห็นจะเป็นเช่นกับพระสาวกเหล่านั้น จึงมีเหตุปัจจัยแนะนำจิตของท่าน ให้น้อมไปเพื่อบรรพชา ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ ๑๗ ปี บิดาขอร้องให้ลาสิกขาไปช่วยงานทางบ้าน ท่านก็ได้ลาสิกขาไปช่วยเต็มความสามารถในการนั้น แม้ท่านลาสิกขาไปแล้ว ก็ลาแต่กายเท่านั้น ส่วนใจยังครองเพศบรรพชิต จึงทำให้ท่านระลึกอยู่ไม่วาย เป็นเพราะเหตุปัจจัยดังกล่าวแล้ว ท่านจึงเบื่อฆราวาสวิสัย
    ครั้นเมื่ออายุ ๒๒ ปี จึงลาบิดามารดาอุปสมบท ท่านทั้ง ๒ ก็อนุญาต ท่านได้เข้าไปเล่าเรียนธรรมที่สำนักท่านอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถระ วัดเลียบ อุบลราชธานี ต่อมาได้อุปสมบทเป็นภิกษุภาวะในพระพุทธศาสนา ที่วัดศรีทอง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี พระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌายะ พระครูศรีทา ชยเสโน เป็นกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๔ นามมคธที่อุปัชฌาย์ตั้งชื่อ ภูริทตฺโต
    ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านเป็นผู้ไม่ชอบอยู่นิ่ง ชอบแต่จะพยายามหาทางก้าวหน้าเรื่อยไป แม้แต่ท่านบวชเข้ามาใหม่ ก็มิใช่เพื่อบวชแล้วก็ฉันและจำวัด ได้มาอยู่กับพระผู้ปฏิบัติก็อยากจะทำให้เห็นจริงเห็นจึงไปเสียเลย ความไม่ชอบอยู่นิ่งของท่านนี้เอง ทำให้ท่านต้องชักไซ้ไต่ถามหาความจริงเอากับท่านอาจารย์เสาร์อยู่ตลอดเวลา ท่านได้รบเร้าให้อาจารย์สอนกัมมัฏฐานให้ยิ่งขึ้น แต่อาจารย์ก็หมดความรู้จะสอนต่อไป
    ท่านอาจารย์เสาร์ท่านเอ็นดูศิษย์คนนี้ของท่านอย่างยิ่ง เรียกว่าศิษย์คนโปรดก็ว่าได้ ท่านจึงพาศิษย์ของท่านไปทุกหนทุกแห่ง ตามป่า เขา ลำเนาไพร เพื่อแสวงหาความสงบ แต่ก็ยังไม่ได้ผลเต็มที่ จึงได้พาธุดงค์ข้ามไปฝั่งประเทศลาว จนถึงเมืองหลวงพระบาง เมื่อได้ยินได้ฟังว่าอาจารย์ไหนเก่งทางสอนกัมมัฏฐาน ก็จะได้แวะไปพักอยู่และขอเรียนกัมมัฏฐานด้วย แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ยิ่งไปกว่าที่ท่านได้ปฏิบัติเรียนรู้มาแล้ว
    ที่สุดก็ย้อนลงมาที่เมืองท่าแขก อยู่ฝั่งซ้าย (เขตอินโดจีน) ซึ่งเป็นภูมิประเทศอันประกอบด้วยป่าเขาลำเนาไพรมีหมู ช้าง เสือ หมี ผีร้ายนานาประการ ตลอดจนไข้มาเลเรียก็ชุกชุม แต่เป็นที่ประกอบไปด้วยความวิเวกวังเวงสงัดยิ่งนัก ซึ่งสมควรแก่ผู้แสวงหาบำเพ็ญสมณธรรมอยู่อาศัย จะได้ยังความไม่ประมาทให้เป็นไปในตน ปีนั้นท่านได้พักบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่ถ้ำแห่งหนึ่งใกล้กับบ้านถ้ำ ท่านทั้ง ๓ ได้พักจำพรรษาอยู่ที่นั้น
    ในระหว่างพรรษานั้น ท่านอาจารย์เสาร์ และสามเณรได้จับไข้มาเลเรีย มีอาหารหนักบ้าง เป็นบ้าง ก็ไม่ถึงกับร้ายแรงจริง ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า
    วันหนึ่งมีคณะอุบาสกอุบาสิกาได้นำผ้ามาบังสุกุล ท่านอาจารย์เสาร์จะต้องการตัดจีวร เราก็ต้องจัดทำทุกอย่าง กว่าจะเย็บเสร็จเพราะต้องเย็บด้วยมือ ใช้เวลาถึง ๗ วันจึงเสร็จ พอยังไม่เสร็จดีเลย ไข้มันเกิดมาจับเอาเราเข้าให้แล้ว ทำให้เราต้องเกิดความวิตกกังวลขึ้นมา นึกในใจว่า เณรก็ไข้ อาจารย์ก็ไข้ เราก็กลับจะมาไข้เสียอีก ถ้าต่างคนต่างหนักใครเล่าจะดูแลรักษากัน ถ้าเกิดล้มตายกันเข้า ใครจะเอาใครไปทิ้งไปเผากันเล่า เจ้ากรรมเอ๋ยอยู่ด้วยกัน ๓ องค์ก็เจ็บป่วยไปตาม ๆ กัน ยิ่งกว่านั้นอาจารย์ของเรานั่นแหละจะร้อนใจมาก
    ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านก็เล่าต่อไปว่า
    เราได้คิดมานะขึ้นมาในใจว่า บัดนี้เราไม่มีทางเลือกทางอื่นแล้ว ที่จะมาระงับเวทนานี้ได้ เพราะยาจะฉันแก้ไข้ก็ไม่มีเลย มีแต่กำลังอานุภาพแห่งภาวนานี้เท่านั้น เพราะว่าเรามาอยู่สถานที่นี้ก็เพื่อจะอบรมตน ในทางเจริญกัมมัฏฐานภาวนา เราจะมาคิดแส่ส่ายไปทางอื่นหาควรไม่ เราต้องเอาธรรมเป็นที่พึ่งจึงจะถูก แม้จะตายขอให้ตายด้วยการภาวนา ไม่ต้องท้อถอยอ่อนแอ จะต้องเป็นผู้กล้าหาญจึงจะจัดว่าเป็นนักพรตได้
    แล้วเราก็ตัดสินใจปฏิบัติบูชาพระพุทธศาสนาด้วยข้อปฏิบัตินั้น
    ท่านจึงกำหนดพุทโธเป็นบริกรรมต่อไป เพราะขณะนั้นท่านก็ยังไม่สันทัดในการเจริญกัมมัฏฐานเท่าไร ครั้นบริกรรมพุทโธ ๆ ๆ ก็นึกถึงคำสอนของอาจารย์ขึ้นมาว่า
    กายนี้เป็นที่อาศัยของจิตและเป็นทางเดินของจิต เปรียบเสมือนแผ่นดิน ย่อมมีทางน้อยใหญ่เป็นที่สัญจรของหมู่สัตว์ทุกหมู่เหล่า กายนี้ก็เหมือนกัน ย่อมเป็นที่อยู่อาศัยของจิต และเป็นที่เที่ยวไปมาของจิตฉันนั้น ถ้าจิตมามัวยึดถือกายนี้ว่าเป็นตนอยู่เมื่อใด ย่อมได้รับความทุกข์ความเศร้าโศกเสียใจมีความเดือดร้อนวุ่นวายอยู่เป็นนิตย์
    ท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านเล่าให้ข้าพเจ้าฟัง และก็ฟังกันหลายองค์ ว่า
    เมื่อหมดหนทางเพราะไม่มีใครช่วยแล้ว เรานั่งสมาธิเข้าที่อยู่โดยการเสียสละ กำหนดจิตแล้วทำความสงบ ทำให้เป็นหนึ่งแน่วแน่ ไม่ให้ออกนอกเป็นอารมณ์ได้เลย เพราะขณะนั้นทุกข์เวทนากล้าจริง ๆ พอกำหนดความเป็นหนึ่งนิ่งจริง ๆ ครู่หนึ่งปรากฏว่า ศีรษะลั่นเปรี๊ยะปร๊ะไปหมด จนเหงื่อไหลออกมาเหมือนรดน้ำ เมื่อออกจากสมาธิปรากฏว่าไข้ได้หายไปราวกับปลิดทิ้ง นี่เป็นระงับอาพาธด้วยธรรมโอสถเป็นครั้งแรกของเรา เราได้พยาบาลอาจารย์ของเราได้เต็มที่
    การเดินทางในครั้งนี้นั้นได้เป็นเช่นนี้หลายหน บางครั้งมาเลเรียขึ้นสมองแทบเอาชีวิตไม่รอด เมื่อลูกศิษย์อาจารย์ปรึกษากันเห็นว่าไม่มีผลในการเดินธุดงค์อันทุรกันดารเช่นนี้แล้ว ต่างก็ชวนกันกลับประเทศไทย.
    สถาปนาพระธาตุพนม
    ท่านอาจารย์มั่นฯ ได้เล่าขณะที่ข้าพเจ้าทำหมากถวายท่านเวลากลางวันต่อไปอีกว่า
    พวกเราก็ต้องเดินทางหลังจากออกพรรษาแล้ว รอนแรมตามฝั่งแม่น้ำโขงเรื่อยลงมา ณ ตามฝั่งแม่น้ำโขงนั้นก็มีหมู่บ้านเป็นหย่อม ๆ หลายก๊ก เช่น ภูไท ไทยดำ ลาวโซ่ง
    ท่านเล่าว่า
    ภูไทมีศรัทธาดีกว่าทุกก๊ก แต่ภูไทนี้การภาวนาจิตใจอ่อน รวมง่าย รักษาไม่ใคร่เป็น ส่วนลาวโซ่งนั้นไม่ใคร่เอาไหนเลย แต่ทุก ๆ ก๊กก็ทำบุญนับถือพุทธทั้งนั้น เขาให้พวกเราได้มีชีวิตอยู่ก็นับว่าดี แต่ขณะนี้ตัวของเราเองก็ยังมองไม่เห็นธรรมของจริง ยังหาที่พึ่งแก่ตนยังไม่ได้ จะไปสอนผู้อื่นก็เห็นจะทำให้ตัวของเราเนิ่นช้า จึงไม่แสดงธรรมอะไร นอกจากเดินทางไป พักไป บำเพ็ญสมณธรรมไป ตามแต่จะได้
    ครั้นแล้วท่านอาจารย์เสาร์ก็พาข้ามแม่น้ำโขงกลับประเทศไทย ที่ท่าข้ามตรงกับพระธาตุพนมพอดี
    ท่านเล่าไปเคี้ยวหมากไปอย่างอารมณ์ดีว่า
    ขณะนั้นพระธาตุพนมไม่มีใครเหลียวแลดอก มีแต่เถาวัลย์นานาชนิดปกคลุมจนมิดเหลือแต่ยอด ต้นไม้รกรุงรังไปหมด ทั้ง ๓ ศิษย์อาจารย์ก็พากันพักอยู่ที่นั้น เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ขณะที่ท่านอยู่กันนั้น พอตกเวลากลางคืนประมาณ ๔-๕ ทุ่ม จะปรากฏมีแสงสีเขียววงกลมเท่ากับลูกมะพร้าว และมีรัศมีสว่างเป็นทาง ผุดออกจากยอดพระเจดีย์ แล้วก็ลอยห่างออกไปจนสุดสายตา และเมื่อถึงเวลาก่อนจะแจ้ง ตี ๓-๔ แสงนั้นก็จะลอยกลับเข้ามาจนถึงองค์พระเจดีย์แล้วก็หายวับเข้าองค์พระเจดีย์ไป
    ทั้ง ๓ องค์ศิษย์อาจารย์ได้เห็นเป็นประจักษ์เช่นนั้นทุกๆ วัน ท่านอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถระ จึงพูดว่า
    ที่พระเจดีย์นี้ต้องมีพระบรมสาริกธาตุอย่างแน่นอน
    ในตอนนี้ผู้เขียนกับพระอาจารย์มั่น ฯ ได้เดินธุดงค์มาพักอยู่ที่วัดอ้อมแก้วมี ๒ องค์เท่านั้น และมีตาปะขาวตามมาด้วยหนึ่งคน ท่านจึงมีโอกาสเล่าเรื่องราวเบื้องหลังให้ข้าพเจ้าฟัง ซึ่งน่าจะเป็นประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดี ผู้เขียนจำได้ว่าเป็นปีที่พระราชทานเพลิงศพพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถระ คุณนายพวงจากจังหวัดอุบลราชธานี จะตีตั๋วให้ไปทางเครื่องบิน ท่านบอกว่า เราจะเดินเอา จึงได้พาผู้เขียนพร้อมด้วยตาปะขาวบ๊อง ๆ คนหนึ่งซึ่งไม่ค่อยจะเต็มเต็งเท่าไรนักไปด้วย เดินไปพักไป แนะนำธรรมะแก่ผู้เขียนไปพลาง จนไปถึงพระธาตุพนม เขตจังหวัดนครพนม แล้วท่านก็พาผู้เขียนพักอยู่ที่นี่และได้ฟังเรื่องราวของพระธาตุพนม ซึ่งจะได้เล่าสู่กันฟังต่อไปข้างหน้า โดยจะเล่าถึงการสถาปนาพระธาตุพนม
    ดังนั้น ท่านจึงได้ชักชวนญาติโยมทั้งหลายในละแวกนั้น ซึ่งก็มีอยู่ไม่กี่หลังคาเรือน และส่วนมากก็เป็นชาวนา ได้มาช่วยกันถากถางทำความสะอาดรอบบริเวณองค์พระเจดีย์นั้น ได้พาญาติโยมทำอยู่เช่นนี้ถึง ๓ เดือนเศษๆ จึงค่อยสะอาด เป็นที่เจริญหูเจริญตามาตราบเท่าทุกวันนี้
    เมื่อญาติโยมทำความสะอาดเสร็จแล้ว ท่านอาจารย์ก็พาญาติโยมในละแวกนั้นทำมาฆบูชา ซึ่งขณะนั้น ผู้คนแถวนั้นยังไม่รู้ถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด ทำให้พวกเขาเหล่านั้นเกิดศรัทธาเลื่อมใสอย่างจริงจัง จนได้ชักชวนกันมารักษาอุโบสถ ฝึกหัดกัมมัฏฐานทำสมาธิกับท่านอาจารย์จนได้ประสบผลตามสมควร การพักอยู่ในบริเวณของพระธาตุพนมทำให้จิตใจเบิกบานมาก และทำให้เกิดอนุสรณ์รำลึกถึงพระพุทธเจ้าได้อย่างดียิ่ง
    ท่านอาจารย์มั่นฯ ได้เล่าต่อไปว่า
    ก่อนท่านจะกลับประเทศไทย ท่านเป็นโรคริดสีดวงจมูกประจำตัวมานาน โรคนั้นมักจะกำเริบบ่อย ๆ จึงทำให้ท่านกำหนดเอาเวทนาเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งความเพียรที่ท่านกำหนดเอาเวทนาเป็นอารมณ์อย่างมิได้ท้อถอยนั้น วันหนึ่งจิตของท่านได้รวมเป็นอัปปนาสมาธิ ขณะที่จิตถอยออกจากอัปปนาสมาธิแล้ว ได้ปรากฏความรู้ที่น่าอัศจรรย์ขึ้นมาว่า โรคนี้เป็นโรคที่เกิดขึ้นมาจากกรรมในปัจจุบัน เนื่องจากได้กระทำกรรมไว้ และเมื่อได้พิจารณาตามรูปเรื่องจนเห็นสมจริงตามความรู้นั้นทุกประการแล้ว จิตก็รวมลงเป็นอัปปนาสมาธิอีก คราวนี้ปรากฏว่ามีอีกาตัวหนึ่งมาจับอยู่บนศีรษะ แล้วมันก็เอาจะงอยปากจิกกินจมูกของท่านจนหมดไป ตั้งแต่นั้นมา โรคริดสีดวงจมูกของท่านก็หายเป็นปกติ นี่เป็นการระงับความอาพาธด้วยธรรมโอสถเป็นครั้งที่สอง
    จากนั้นท่านทั้ง ๓ ก็ได้ออกเดินทางจาริกต่อไป และแสวงหาความสงบตามป่าดงพงพีไปเรื่อย ๆ โดยมุ่งหวังเพื่อบรรลุธรรม แต่ก็ยังไม่สมความตั้งใจไว้ ต่อมาพระอาจารย์เสาร์ ก็พากลับจังหวัดอุบลราชธานี.อันเป็นถิ่นเดิมของท่าน
    พ.ศ. ๒๔๕๙
    การแสวงหาธรรมะต่อไปในประเทศพม่า
    ความไม่หยุดยั้ง มุ่งหวังหาความจริงเพื่อจะต่อสู้กับกิเลสโดยทุกทางของพระอาจารย์มั่น ฯ เป็นไปอย่างไม่คอยเวลา แม้จะต้องใช้เวลาปีแล้วปีเล่าในการมุมานะ แทบว่าจะหมดหนทางอยู่แล้วก็ตาม แท้จริงพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาก็ยังมิได้เสื่อมคลายไปไหนเลย.มีแต่การที่จะหยิบยกขึ้นมาปฏิบัติให้ได้ผลเท่านั้น เพราะท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านต้องการแสวงหาความจริงที่ไม่มีความวิปริต ท่านเองปฏิบัติ พระอาจารย์พาปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาพร้อมทั้งแนะแนวทาง แต่ท่านก็ยังรู้สึกตัวเองว่า ยังไม่พบความจริง ยังไม่เป็นที่พอใจ
    ท่านเล่าให้ผู้เขียนฟัง ซึ่งขณะนอนพักอยู่ที่บ้านนาสีนวน ตำบลหนองเหียน อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ในโอกาสที่ผู้เขียนกำลังถวายนวดเป็นประจำ คือในตอนเช้า หลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้วก็เริ่มนวดถวายไปจนถึง ๑๑.๐๐ น. ตอนกลางคืนหลังจากเดินจงกรมแล้ว ๒ ทุ่มเศษถวายนวดจนถึง ๕ ทุ่มหรือกว่านั้น โอกาสที่เล่าถึงการไปธุดงค์ที่ประเทศพม่าครั้งนี้ ผู้เขียนสนใจเป็นพิเศษว่า เราอาจจะมีโอกาสไปสักครั้งบ้าง จึงทำให้ผู้เขียนพยายามจดจำการเล่าของท่าน ซึ่งท่านเองอาจจะรู้จักใจของผู้เขียนที่มีความสนใจและฝังใจ ท่านจึงเล่าให้ฟังโดยละเอียดถี่ถ้วนใช้เวลาหลายวัน และผู้เขียนเองก็พยายามซักถามท่านอยู่เสมอ จึงทำให้เกิดรสชาติขึ้นมาก
    ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ท่านอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ ท่านก็ได้พบเพื่อนสหธัมมิกอีก ๑ องค์และมีชื่อมั่นเหมือนกับชื่อของท่าน แต่ปัจจุบันท่านองค์นั้นยังมีชีวิตอยู่ โดยเป็นเจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม.อำเภอปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ คือพระเทพมงคลปัญญาจารย์ ท่านอาจารย์มั่นฯ กับท่านเจ้าคุณ ฯ เทพมงคลปัญญาจารย์ได้ปรึกษาหารือกันว่า.เราจะต้องถวายชีวิตแต่พระพุทธศาสนา เดินธุดงค์แสวงหาที่วิเวก เมื่อตกลงสละชีวิตร่วมกันแล้ว ก็ออกเดินทางคือไปโดยไม่มีจุดหมาย ไม่ว่าสถานที่นั้นจะเป็นประเทศอะไร จะต้องมีหนังสือเดินทางข้ามแดนหรือไม่ก็ตาม เพราะถือเอาการอยู่ป่าเป็นสำคัญ เห็นที่ไหนเหมาะดีก็อยู่ทำความเพียรไป แต่พอจะเกิดความเคยชินก็เดินทางต่อไปอีก.
    เมื่อท่านทั้ง ๒ เดินทางข้ามภูเขาไป แต่ละลูก ๆ นั้น เห็นภูเขาที่สูงชันน่ากลัวทั้งสิ้น ขณะที่ไปก็พบแต่พวกชาวเขาพูดกันไม่รู้เรื่อง
    ท่านเล่าว่า ดีมากที่ไม่รู้ภาษากัน มีแต่เพียงว่าเขาให้อาหารแก่เราพอปะทังชีวิตก็พอแล้ว
    ในขณะที่ท่านทั้ง ๒ กำลังเดินทางข้ามภูเขาลูกแล้วลูกเล่า ก็ถึงเมืองทางเขตพม่า พวกชาวบ้านเป็นไทยใหญ่เป็นส่วนมาก พวกเขาพอรู้ภาษาไทยบ้างเล็กน้อย พวกชาวบ้านเห็นเข้าแล้วก็เกิดความเลื่อมใส นิมนต์ให้ท่านพักอยู่ ท่านก็พักชั่วคราว ตามที่ท่านสังเกตดู พวกเขาเป็นคนที่มีศีลธรรมดี เวลาเขาขายของกันนั้น เจ้าของร้านบางทีก็ไม่อยู่เฝ้าหน้าร้าน เขาเขียนราคาติดสิ่งของไว้เสร็จ คนซื้อไม่เห็นเจ้าของร้านก็เอาเงินวางไว้ให้ แล้วหยิบเอาของนั้นไปตามราคา การลักการขโมยไม่มี ผู้คนมีรูปร่างหน้าตาสะอาด
    ท่านรำพึงว่า ธรรมะอะไรหนอ ที่ทำให้พวกเขาเหล่านี้มีศีลธรรมอันดีงาม น่าแปลกใจจริง
    เพื่อการแสวงหาเฉพาะธรรมะเท่านั้น ท่านทั้ง ๒ จึงไม่พยายามที่จะสอนใครและหาความสนิทสนมกับใคร ๆ เพราะต้องการปฏิบัติมากกว่า อันแดนพม่ากับแดนไทยนี้ ท่านเล่าว่า มันกีดกันด้วยภูเขาลูกใหญ่จริงๆ.ไม่เหมือนทางภาคอีสานของไทย ถ้าเปรียบเทียบกันแล้วภูเขาลูกเล็ก ๆ ทั้งนั้น
    เสือ-ช้าง งูจงอาง-หมี-วัวกระทิง ท่านอาจารย์ไม่พบบ้างหรือก็ผู้เขียนถาม
    ท่านตอบว่า
    ไม่ต้องพูดถึงหรอก ตลอดระยะทางก็มีแต่เฉพาะพวกมันทั้งนั้น ก็เข้าไปป่าทึบซึ่งเป็นเขตของมัน แม้แต่พวกเราจะจำวัดในป่ากัน ๒ องค์ ก็ไม่อยู่ใกล้กัน เสียงช้างและเสือน่ะหรือ อ๋อ ชินต่อพวกมันเสียแล้ว แม้แต่จะเดินสวนทางผ่านกันไปก็ทำเหมือนไม่รู้ไม่ชี้
    การเดินทางของเราทั้ง ๒ คราวนี้ มิได้มีการสนทนาธรรมเท่าใด.เพราะต่างเอาความเพียรเป็นสำคัญ เมื่อจะพึงได้รับความสงบเย็นใจก็ถือว่าใช้ได้ บางครั้งเดินไปเหนื่อย หยุด หยุดทำไม ก็นั่งสมาธิ ถ้าไม่พบบ้านเรือนเลยก็ต้องอดอาหาร
    ก็เทวดาไม่ใส่บาตรหรือครับผู้เขียนย้อนถาม
    เทวดาก็คือคนใจบุญ เห็นมีแต่ต้นไม้จะมีเทวดาที่ไหนมาใส่บาตร
    เราทั้งสองอดอาหารโดยการเดินทาง บางครั้งนานถึง ๓ วันเพราะไม่มีบ้านคน.ดื่มเฉพาะน้ำ แต่ไม่ได้กระทบกระเทือนจิตใจของเราแต่อย่างใดเลย มันเป็นความพอใจ จึงไม่เห็นจะเป็นการหนักใจอะไร เข็มทิศก็ไม่มี
    การเดินทางมิหลงแย่หรือครับ ก็ ผู้เขียนชักถาม
    เราก็ถามชาวบ้านเขาไปเรื่อย ๆ ไปถูกผิดบ้างตามเรื่อง ส่วนการผจญกับสัตว์ป่าน่ะหรือ ก็ไม่เห็นเป็นสิ่งน่าอัศจรรย์อะไร วิริยังค์ (ชื่อผู้เขียน)
    นายพรานป่าพวกเขาไปตามป่าดงพงพี พบงูฆ่างู พบเสือฆ่าเสือ พบช้างฆ่าช้าง นอนกลางดงกลางป่าไม่เห็นเขาจะกลัวอะไร พวกพรานทั้งหลายซึ่งเป็นนักล่าสัตว์ เขาผจญกับพวกสัตว์ร้ายมากกว่าเรา เราไม่จำเป็นจะต้องถือว่าการผจญกับพวกสัตว์ร้ายเป็นเรื่องสำคัญ เราถือว่าการปฏิบัติที่เรากำลังจะต่อสู้กับกิเลสภายในนี้แหละสำคัญกว่า
    การเดินทางอย่างทุรกันดารและยาวไกลคราวนี้ ก็ทำให้เกิดผลทางใจแก่เราไม่น้อยเลย เป็นเหตุให้เกิดความกล้าหาญในทางใจขึ้นอีกมาก
    ท่านก็พยายามหาอาจารย์ผู้สอนกัมมัฏฐานหลายต่อหลายท่าน ตามทางที่ไปจนถึงพระธาตุชเวดากอง ซึ่งใช้เวลาทั้งหมดถึง ๘ เดือน แต่ยังไม่ได้ผลเป็นที่พอใจ และก็ไม่ผิดอะไรกับที่ไปประเทศลาว จึงทำให้ท่านคิดจะกลับประเทศไทยต่อไปอีก
    ตามข่าวเล่าลือว่าอาจารย์ที่ประเทศพม่านี้เก่งในทางการสอนและปฏิบัติกัมมัฏฐานมาก ท่านได้เสาะแสวงหา ตั้งปัญหาถามทุกอย่าง คำตอบยังไม่เป็นที่พอใจ เพราะเหมือนกับที่เราทำอยู่เดี๋ยวนี้ มิได้ยิ่งขึ้นไป แม้เราจะถามให้สูงขึ้นซึ่งอรรถปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติทางใจ แต่เราก็ไม่มีปัญญา เรามีความรู้เท่าไร ก็ถามเขาเท่านั้น มิใช่ถามเพื่อการลองภูมิ เหมือนกับคนทั้งหลายที่อวดดี ถามเพื่อจะแก้ตัวเอง เมื่อไม่มีความรู้ที่จะถาม ถามก็แต่ที่เรามีอยู่มันก็จนใจ และก็ไม่เห็นค่า มีประโยชน์อะไรที่จะอยู่ต่อไป ถ้าหากว่าเราจะพึงได้รับความรู้ก้าวหน้าต่อไปอีก เราก็เห็นจะไม่ห่วงอะไรข้างหลังเลย เพราะไม่เห็นมีอะไรจะให้ห่วง
    ดังนั้นเราทั้งสองจึงตัดสินใจกลับ ปีนี้กลับโดยการเดินไม่ทันเสียแล้ว จึงต้องจำพรรษาอยู่ที่บนเขาแห่งหนึ่งในเขตเมืองมะละแหม่ง เป็นเพียงสำนักสงฆ์มีพระอยู่องค์เดียว เมื่ออาศัยอยู่ที่นั้น มีกุฏิที่กำบังแดดฝนถูกต้องตามพระวินัยนิยม ก็เร่งความเพียรไปตามที่พอจะทำได้
    นับเป็นการเดินทางผจญภัยและหยุดจำพรรษาพักผ่อน ทั้งสองก็ปรึกษากันว่าออกพรรษาแล้วจะเข้าไปประเทศไทยที่ไหนดี. แต่ท่านมั่นบอกว่าพอแล้ว ผมจะกลับเข้ากรุงเทพฯ ส่วนพระอาจารย์มั่นฯ เห็นว่า การปล่อยให้ท่านมั่นกลับเข้ากรุงเทพฯ องค์เดียวคงไม่ดีแน่ ท่านจึงได้ไปส่งและพักแรมอยู่ที่วัดสระประทุม ฯ ด้วยกัน ครั้งนั้นพอดีมีคนเยอรมัน ๒ คน มีศรัทธาเลื่อมใสท่านมั่น ช่วยสร้างกุฏิถวาย และรู้จักคุ้นเคยกับพระอาจารย์มั่น ฯ ซึ่งท่านเล่าว่าชาวเยอรมันที่มีนิสัยดี รู้จักบุญบาป มาทำบุญในประเทศไทย เท่ากับเป็นเทวดาตั้งแต่ยังไม่ตายทีเดียว
    อ้าวก็ฝรั่งชาติอื่นเล่าครับผู้เขียนย้อนถาม
    ก็เรายังไม่เคยเห็นเขาทำบุญเลย เราก็เลยไม่ต้องพูดถึงเขา
    หลังจากนั้นท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็มุ่งธุดงค์องค์เดียว.คราวนี้ไม่มีใครเป็นเพื่อน แล้วตรงไปยังจังหวัดเลย เพราะจังหวัดเลยมีภูมิลำเนาเป็นป่าใหญ่ มีภูเขาและถ้ำใหญ่ มาก ตามปรกติถ้ำใหญ่ ๆ ท่านไม่ค่อยจะชอบ ท่านชอบถ้ำเล็ก ๆ มีภูเขาไม่ใคร่สูงนัก พอขึ้นลงได้สบาย จึงจะอยู่นาน ท่านจึงค้นพบถ้ำหนึ่งชื่อถ้ำผาบิ้ง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
    ณ ที่ถ้ำผาบิ้งนี้ ต้องนับว่าเป็นสถานที่สัปปายะแก่ผู้บำเพ็ญความเพียรเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในขณะที่เขียนนี้พระอาจารย์หลุยซึ่งเป็นศิษย์คนสำคัญของพระอาจารย์มั่น รูปหนึ่งได้อาศัยอยู่และกำลังพัฒนาให้เป็นที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม
    ท่านพระอาจารย์มั่นฯ เล่าว่า ในครั้งแรกของการมาที่ถ้ำนี้หลังจากกรากกรำมาจากประเทศพม่าแล้ว ก็รู้สึกว่าได้รับความสงบมากพอสมควร การอยู่ที่ถ้ำผาบิ้งแต่องค์เดียว จึงเป็นการทำความเพียรที่ได้ผลมาก แต่ก็ยังไม่ได้ปัญญา หรือเป็นที่แน่ใจอย่างไรเลย เพราะท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านเป็นผู้ที่รักความจริง สิ่งปลอมแปลงหรือสิ่งหลอกลวงท่านไม่ชอบ ขณะที่ผู้เขียนนั่งฟังท่านเล่า ได้ปรารภถึงผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในครั้งนั้นว่า การเชื่อมงคลตื่นข่าวนี้ไม่ดีเลย ยิ่งเป็นพระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา ทำว่าตนไปอยู่ถ้ำอยู่เขาหวังเพื่อให้ดังแล้วมีคนไปหามาก นั่นคือพาให้เขาหลง
    ขณะที่ท่านเล่านั้นมีพระอาจารย์รูปหนึ่งอยู่ที่ภูค้อ มีคนไปหามาก ท่านไม่ฉันข้าวอยู่แต่ในถ้ำ ท่านพระอาจารย์มั่นฯ พูดกับผู้เขียนว่า.พวกเธออย่าทำอย่างนั้น อย่าไปอยู่ถ้ำอยู่เขาให้คนแห่กันไปหามันบ่แม่นหมายความว่ามันไม่ถูก ท่านบอกนักบวชที่อยู่ถ้ำอยู่เขาเพียงต้องการวิเวก จะไปเที่ยวป่าวประกาศไปหาพระในถ้ำให้เอิกเกริกนั้นผิดวิสัย
    อย่าว่าแต่ใครเลย แม้แต่อาจารย์ของข้าพเจ้าผู้เขียนเองก็ถูกท่านดุเอา ตอนที่ท่านพระอาจารย์มั่นฯ อยู่วัดบ้านหนองผือ ท่านเคยพูดว่า
    กงมา เธอไปอยู่ในถ้ำ และเที่ยวทำโน่นทำนี่ เขาเล่าลือ มันบ่แม่นหนา ให้อยู่อย่างสงบจริง ๆ จึงจะถูก
    ซึ่งผู้เขียนได้ยินมากับหูอย่างนี้
    แม้ท่านจะมาอยู่ที่ถ้ำผาบิ้งนี้นาน แต่ท่านก็พยายามหลบหลีกผู้คนที่จะมาเห็นตัวท่านว่าวิเศษ ดูเอาเถิดแม้แต่กลดของท่าน ท่านเล่าว่า
    เรายังต้องเอาร่มจีนกางแล้วเอาผ้ามุ้งมาย้อมกลัก ทำอย่างนี้ต้องการจะไม่ให้เขามาหาของขลัง เพราะเขาจะได้เข้าใจว่า เราไม่ใช่พระธุดงค์
    ท่านพระอาจารย์มั่น ๆ พยายามหลบหลีกการมีชื่อเสียงและชุมนุมชนวุ่นวาย ซึ่งตรงกันข้ามกับพระที่อยู่ถ้ำป่าเขา เพื่อต้องการหาชื่อเสียงให้วุ่นวายไป เพราะพระภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นธรรมะป่าอะไร ๆ ทำนองนั้น ต้องการอยากจะหาชื่อเสียงให้กับตัวเองด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา ส่วนท่านพระอาจารย์มั่นฯ หาเป็นเช่นนั้นไม่ ท่านรักความสงบโดยไม่เห็นแก่หน้าใครเลย ใครจะมารบกวนความสงบของท่านไม่ได้
    ดูแต่วันหนึ่งท่านอยู่บ้านนามน เวลาเย็นท่านกำลังเดินจงกรมอยู่ มีคุณโยมนุ่ม ชุวานนท์ คหบดีจากจังหวัดสกลนคร จะเข้าไปถวายสิ่งของและนมัสการ เดินเข้าไป ๓-๔ คน เวลานั้น ท่านยังต้องไล่ตะคอกให้ออกจากวัดไปโดยเร็ว เพราะเวลานี้ต้องการความสงบ อย่ามายุ่ง จนคุณโยมต้องวิ่งหนีกลับกันจ้าละหวั่น ซึ่งผู้เขียนก็ได้เห็นมาด้วยตาตัวเอง
    นี่แหละจึงเห็นได้ว่า ท่านอาจารย์มั่น ฯ มิได้ต้องการมีชื่อเสียงโด่งดัง ไม่ต้องการอามิสอันจะนำมาซึ่งการทำลายความสงบอันเป็นยอดปรารถนา
    คุณโยมที่อ้างถึงนี้เป็นโยมที่เคยอุปัฏฐากมาตั้งแต่พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถระครั้งยังมีชีวิตอยู่นั้น แทนที่ท่านอาจารย์มั่น ฯ จะเอาอกเอาใจ แต่ท่านต้องขับไล่ไสส่งไปเพราะมาก่อกวนความสงบ
    ต่อมาภายหลังคุณโยมนุ่มก็ได้เข้าใจเรื่องนี้ดี จึงได้มานมัสการในเวลาอันสมควร
    ณ ที่ถ้ำผาบิ้งนี้ท่านบอกว่า ยังไม่สามารถจะแก้ความสงสัยของการปฏิบัติได้ แม้ว่าจะคิดการดำเนินการปฏิบัติอย่างทุรกันดารแสนที่จะตรากตรำแล้ว สงบก็ถึงที่สุดแล้ว วิเวกก็ถึงที่สุดแล้ว นั่งสมาธิก็ถึงที่สุดแล้ว เขาป่าก็ถึงที่สุดแล้ว เขาถ้ำไหนที่ใดก็ถึงที่สุดแล้ว ในที่สุดท่านก็เดินทางกลับมายังวัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานีอีก เพื่อมาพบกับท่านอาจารย์เสาร์ จากนั้นเมื่อท่านพักอยู่ที่วัดเลียบ ท่านก็พยายามทำความเพียรอย่างเต็มกำลัง เพราะวัดเลียบในสมัยนั้นสงบสงัด ไม่พลุกพล่านเหมือนในปัจจุบันนี้
    สุบินนิมิตเกิดขึ้น
    เหมือนกับธรรมะบันดาล โดยความที่ท่านอาจารย์มั่นฯ ได้ประโยคพยายามอย่างจรดเหนือจรดใต้รอบฟ้าแดนดินก็ว่าได้ และยังไม่ได้สมดังความมุ่งหมาย ถ้าเป็นอย่างเรา ๆ ท่านๆ เห็นท่าจะต้องล้มเลิกการปฏิบัติเสียแล้ว เพราะลำบากแสนสาหัสจริงๆ ท่านยังพูดกับผู้เขียนเสมอ ๆ ขณะที่ผู้เขียนตำหมากถวายท่านตอนกลางวันว่า
    วิริยังค์เอ๋ย มันแสนสาหัสสากรรจ์จริง ๆ หนา เราได้ตรากตรำทำมา เกือบจะเอาชีวิตไปทิ้งเสียที่ในกลางป่าดงพงไพรโดยไม่รู้ ไม่เห็นอะไร มันสาหัสก็แสนสาหัส มันสากรรจ์ก็แสนจะสากรรจ์ แต่มันก็มีอะไรอยู่อย่างหนึ่งที่ทำให้เราต่อสู้ไม่เคยกลัว และก็ไม่ถอยให้แก่มันแม้แต่ก้าวเดียว ก็เป็นเหมือนกับธรรมะบันดาล คือค่ำคืนวันหนึ่งขณะที่เราได้หลับไปแล้ว แต่การหลับของเราในขณะนั้นก็เหมือนจะตื่น เพราะต้องกำหนดจิตให้มีสติไว้เสมอๆ
    ท่านเล่าว่า
    เราก็ฝันไปว่า เราเดินออกจากบ้านไปตามหนทางแล้ว ก็เข้าสู่ป่าที่รกชัฏมีทั้งหนามและไม้รกรุงรัง
    ท่านก็เดินผ่านป่านั้นเรื่อยไป ก็ได้พบกับต้นชาดต้นหนึ่งที่ล้มตาย มีกิ่งก้านผุไปหมด ท่านก็ขึ้นบนขอนไม้ชาดที่ล้มนั้น ปรากฏว่าเป็นขอนไม้ที่ใหญ่โตมากทีเดียว แม้ท่านขึ้นไปบนขอนไม้ชาดแล้วจึงสังเกตดูก็รู้ว่าเป็นต้นชาดที่ตายสนิท ไม่มีทางจะงอกงามขึ้นมาได้อีก มองไปข้างหน้าเป็นท้องทุ่งเวิ้งว้าง ปลอดโปร่งกว่าทางที่ผ่านมา
    ขณะนั้นปรากฏว่ามีม้าสีขาวตัวหนึ่งวิ่งมาจากทางไหนไม่ทราบ แล้วก็เข้ามาเทียบข้างขอนไม้ชาดที่ท่านกำลังยืนอยู่นั้น ท่านก็ขึ้นบนหลังม้าขาวนั้นทันที ม้าก็พาท่านวิ่งห้อเต็มเหยียดไปกลางทุ่ง พอสุดทุ่งก็พอดีพบตู้พระไตรปิฎกตั้งตระหง่านอยู่ข้างหน้า ม้าก็ได้หยุดลงตรงนั้นพอดี แต่ท่านมิได้เปิดตู้พระไตรปิฎกนั้น ก็พอดีรู้สึกตัวตื่นขึ้นเสียก่อน
    ครั้นเมื่อท่านตื่นขึ้นก็ได้ทบทวนตามเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ได้สุบินนิมิตนี้ เกิดความมั่นใจและทำนายนิมิตนั้นตามลำดับว่า
    ที่เราออกจากบ้านไปนั้น คือเราได้ออกจากความเป็นฆราวาส แต่ไปพบป่ารกชัฏ แสดงว่าเราได้เดินทางไปแต่ยังไม่ถูกทางจริงจึงต้องลำบากอย่างหนัก แต่การที่เราได้ขึ้นบนขอนไม้ชาดที่งอกอีกไม่ได้นั้น แสดงว่าเราอาจจะเป็นชาติสุดท้ายด้วยการแสวงหาธรรมในทางที่ถูกต้องต่อไป ทุ่งว่างเป็นทางที่จะปลอดโปร่งในการที่จะดำเนินการปฏิบัติที่ไม่มีความลำบากนัก การที่เราได้ขี่ม้าขาว หมายถึงการเดินไปสู่ความบริสุทธิ์อย่างรวดเร็ว การไปพบตู้พระไตรปิฎกแต่ไม่ได้เปิดดูตู้นั้น คือเราไม่ได้ถึงปฏิสัมภิทาญาณ ถ้าได้เปิดตู้นั้นดูก็คงแตกฉานกว่านี้ นี่เป็นเพียงพบตู้ก็ถึงเพียงปฏิสัมภิทานุศาสน์ มีการสอนผู้อื่นได้บ้างเท่านั้น
    เมื่อเหมือนบุญบันดาลเช่นนี้ ก็ทำให้ท่านเกิดความมั่นใจขึ้นมาอีกมากในการที่จะดำเนินการปฏิบัติต่อไป
    ท่านเล่าว่า จากนั้นท่านได้พยายามอยู่อย่างเดียว คือเมื่อจิตได้พลังเกิดความสงบ และความแกร่งขึ้นในจิตนั้นแล้ว ท่านก็ไม่ให้มันสงบเหมือนแต่ก่อน เพราะแต่ก่อนนั้นถือเอาความสงบเป็นใหญ่ แต่ตอนนี้ท่านพยายามที่จะกำหนดจิต พิจารณากายคตาอย่างหนัก. ท่านได้ใช้กระแสจิตกำหนดเข้าสู่กายทุกส่วน ทั้งยืน เดิน นั่ง นอน. ให้จิตนี้จดจ่ออยู่ที่กายตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อพิจารณาให้เกิดความเบื่อหน่าย
    บางครั้งท่านเดินจงกรมอยู่ ปรากฏว่าท่านได้เดินลุยเหยียบไปบนร่างของคนตายซึ่งนอนเรียงรายอยู่ทั่วไป การกระทำเช่นนี้ใช้เวลานานหลายเดือน ทั้งก็รู้สึกว่าจะเกิดปัญญาขึ้นมาบ้าง ซึ่งก็ไม่เหมือนเมื่อคราวทำจิตให้สงบ ไม่เกิดปัญญาเลย มีแต่อยู่เฉยสบายๆ ก็สบายจริง แต่ก็ได้แต่สบาย ไม่ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ยังบังเกิดความหวั่นไหวไปตามกิเลสอยู่ ครั้งนี้รู้สึกว่าความหวั่นไหวตามอารมณ์ชักชะงักลง จึงปลงใจว่าน่าจะถูกหนทางแล้วกระมัง
    วันหนึ่งท่านนิมิตเป็นอุคคหะขึ้น (หมายความว่านิมิตในสมาธิ) เห็นคนตายนอนอยู่ตรงหน้า ห่างจากตัวท่านราว ๑ ศอก หันหน้าข้าหาท่าน ขณะนั้นมีสุนัขตัวหนึ่งเข้ามากัดซากศพนั้น ดึงเอาไส้ออกมาเคี้ยวกินอยู่ เมื่อเห็นนิมิตปรากฏอย่างนั้น ท่านก็กำหนดพิจารณาให้เกิดความเบื่อหน่ายสังเวชสลดมิได้ท้อถอย ทำให้เห็นอยู่ทุกอิริยาบถ แล้วก็กำหนดขยายส่วนต่าง ๆ ออกไปได้ตามความปรารถนา แม้จะกำหนดอย่างนั้นให้เต็มทั่วทั้งวัดและทั้งโลกก็ได้ หรือกำหนดให้ย่อยยับดับสูญไม่มีอะไรเหลือก็ทำได้ เรียกว่ากำหนดให้เป็นไปตามความปรารถนาทุกอย่าง
    ท่านได้พิจารณาซากศพนี้เป็นเวลานาน และยิ่งกำหนดยิ่งพิจารณาไปเท่าไร จิตก็ยิ่งปรากฏสว่างไสวขึ้นมาก จึงได้ปรากฏเป็นดวงแก้วขึ้น แล้วทิ้งการกำหนดอสุภ โดยกำหนดเอาเฉพาะดวงแก้วนั้นเป็นอารมณ์
    วาระต่อไปจึงปรากฏเห็นเป็นนิมิตอันหนึ่ง คล้ายกับภูเขาอยู่ข้างหน้า คิดอยากจะไปดู บางทีอาจจะเป็นหนทางที่อาจจะปฏิบัติได้ดีบ้างกระมัง ปรากฏในนิมิตสมาธิต่อไปอีกว่า ได้เดินเข้าไปมองเห็นเป็นชั้น ๆ มีถึง ๕ ชั้น จึงก้าวขึ้นไปจากชั้นที่ ๑ ถึงชั้นที่.๕ เป็นบันไดแก้วแล้วหยุดอยู่บนชั้นนั้น แต่แล้วก็กลับคืน และในขณะนั้นปรากฏว่าได้สะพายดาบอันคมกล้าไปด้วยเล่มหนึ่ง พร้อมทั้งสวมรองเท้าวิเศษอีกด้วย
    ในคืนต่อไปทำสมาธิเข้าไปถึงชั้นเดิมอีก แต่คราวนี้ปรากฏเป็นกำแพงแก้วอยู่ข้างหน้า ที่กำแพงแก้วนั้นมีประตูเข้าออกได้ จึงคิดอยากจะเข้าไปดูว่ามีอะไรอยู่ข้างในนั้น จึงเอามือผลักบานประตูเดินเข้าไป เห็นมีทางอยู่ทางหนึ่งเป็นสายตรง ได้เดินเข้าไปตามทางสายนั้น ข้างทางด้านขวามือมีที่สำหรับนั่ง และมีพระกำลังนั่งสมาธิอยู่ประมาณ ๒ - ๓ รูป ที่อยู่ของพระนั้นคล้ายกับประทุนเกวียน แต่เราไม่ค่อยจะเอาใจใส่เท่าไรนักจึงเดินต่อไป.ข้างทางทั้ง ๒ มีถ้ำเงื้อมอยู่มาก และได้เห็นดาบสคนหนึ่ง แต่ก็ไม่เอาใจอีก แล้วก็เดินทางต่อไปจนถึงหน้าผาซึ่งสูงชันมาก คิดจะเดินต่อไปอีกก็ไม่ได้ จึงหยุดเพียงแค่นั้นแล้วกลับมาตามทางเดิม
    ในคืนต่อไปก็ได้เข้าจิตสมาธิดำเนินไปตามทางเดิมทุกประการ เมื่อไปถึงหน้าผานั้นปรากฏว่ามียนต์อยู่อันหนึ่งคล้ายๆ กับอู่ มีสายหย่อนลงมาจากหน้าผานั้น จึงได้ขึ้นยนต์ พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ยนต์ก็ชักพาขึ้นไปบนยอดเขาลูกนั้น แต่บนเขานั้นมีสำเภาใหญ่อยู่ลำหนึ่ง ได้ขึ้นบนสำเภาลำนั้นอีก ข้างในสำเภามีโต๊ะสี่เหลี่ยมอยู่ตัวหนึ่ง บนโต๊ะมีผ้าสีขาวละเอียดปูไว้ เมื่อมองไปมองมาทั้ง ๔ ทิศ เห็นมีแสงประทีปตั้งไว้รุ่งโรจน์ชัชวาล ประทีปนั้นคล้ายกับติดเชื้อด้วยน้ำมัน จึงได้ขึ้นนั่งบนโต๊ะนั้น และได้ฉันจังหัน (ฉันเช้า) ที่นั้นด้วย ของฉันก็มีข้าวและแกงกับอีกหลายอย่าง เวลาฉันเสร็จแล้วมองข้างหน้าเห็นฝั่งโน้นไกลลิบ จะไปต่ออีกก็ไม่ได้เพราะมีเหวลึกขวางหน้าอยู่ และสะพานที่จะข้ามก็ไม่มี จึงต้องกลับสู่ทางเดิม
    คืนหลังต่อมาก็ได้เข้าสมาธิจึงไปตามเดิมนั่นเอง แต่พอมาถึงสำเภาลำนั้น ก็ยังคิดอยากจะข้ามเหวต่อไป ปรากฏว่ามีสะพานเล็ก ๆ พอข้ามไปได้ เมื่อข้ามไปถึงฝั่งข้างโน้นแล้ว เห็นเป็นกำแพงใหญ่สูงมาก และประกอบไปด้วยค่ายคู ประตูและหอรบครบบริบูรณ์ ด้านหน้ากำแพงมีถนนใหญ่อยู่สายหนึ่ง จากทิศใต้ไปทิศเหนือ นึกอยากไป แต่ผลักประตูไม่ออก จึงต้องกลับทางเดิม
    คืนหลังต่อมาอีกก็ได้เข้าสมาธิจิตไปตามทางเดิมนั้นอีก ในคืนวันนั้น เมื่อไปถึงระหว่างตอนที่จะข้ามสะพานครั้งเหวลึกนั้น ปรากฏว่ามีสะพานใหญ่กว่าวันก่อนมาก ขณะที่เดินไปตามสะพานถึงระหว่างกลางนั้น ก็ได้พบกับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ซึ่งเดินสวนทางมาแล้วกล่าวว่า อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค แล้วก็เดินต่อไป ครั้นไปถึงประตูแล้วมองเห็นประตูเล็ก จึงผลักประตูเล็กออกไปได้ เข้าไปผลักประตูใหญ่ก็ได้อีก เมื่อเดินเข้าไปก็เห็นมีกำแพงและมีเสาธงตั้งอยู่กลางเวียง กำแพงนั้นสูงตระหง่านบานใจยิ่งนัก ที่ข้างหน้ามีถนนสะอาดเตียนราบรื่นและมีหลังคามุงไว้ มีประทีปโคมไฟติดไว้ตามเพดานสว่างไสว ข้างหลังถนนเห็นมีโบสถ์หลังหนึ่ง จึงเดินเข้าไปในโบสถ์นั้น ภายในโบสถ์มีทางสำหรับเดินจงกรม และมีดวงประทีปตามไว้สว่างไสวอยู่ ๒ ข้างทางเดิน คิดอยากจะเดินจงกรม จึงได้เดินกลับไปกลับมาอยู่ ณ ที่นั้น และเห็นธรรมาสน์อันวิจิตรไปด้วยเงินตั้งอยู่. จึงได้ขึ้นไปนั่งบนธรรมาสน์นั้น ข้างบนธรรมาสน์มีบาตรอยู่ใบหนึ่ง เมื่อเปิดดูก็พบมีดโกนอยู่เล่มหนึ่ง.
    พอมาถึงตอนนี้ไม่มีนิมิตอะไรอีกต่อไป คงหยุดเพียงแค่นี้ ทุกวันทุกคืนได้เข้าจิตทำนองนี้จนเกิดความชำนิชำนาญ จะเข้าออกเวลาไหนก็ตามใจชอบ พอถึงที่ของมันแล้วจะสงัดจากอารมณ์ทั้งหลาย แม้เสียงก็ไม่ได้ยิน ทุกขเวทนาก็ไม่ปรากฏ เป็นเช่นนี้อยู่ถึง ๓ เดือน และทุกครั้งที่เข้าจิตไปนั้น ดาบและรองเท้าก็ต้องมีพร้อมทุกคราวไป จนสำคัญตนว่า ตนของตนถึงความบริสุทธิ์แน่จริง หมดจดจากกิเลสแล้ว
    การเกิดนิมิตที่ท่านเล่ามานี้ ผู้เขียนได้เขียนจากปากคำของท่านเอง ขณะที่ท่านอาจารย์มั่น.ฯ นั่งอยู่ที่ศาลาเวลาบ่าย ๒ โมงเศษ ผู้เขียนสนใจเป็นพิเศษขอจดลงในสมุดบันทึกเลย และท่านก็บอกผู้เขียนว่า ระวังอย่าได้ไปหลงในนิมิตเช่นนี้ เพราะมันวิเศษจริง ๆ ผู้ปฏิบัติทางจิตชอบจะมาติดอยู่เพียงแค่นี้แล้วสำคัญตนผิด เราเองก็สำคัญตัวเราเองมาแล้ว และมันก็น่าจะหลง เพราะเป็นสิ่งอัศจรรย์มาก ที่วิปัสสนูปกิเลสก็คือความเห็นเช่นนี้.
    ท่านเล่าต่อไปว่า ถึงแม้จะสำคัญว่าตนบริสุทธิ์แล้วก็ตาม แต่ยังมีความสงสัยอยู่เหมือนกัน จึงได้มีการกำหนดรู้ เมื่อเวลาจิตออกจากความสงบแล้ว ปรากฏว่ายังมีวี่แววแสดงอาการกระทบกระเทือน ในเมื่ออารมณ์มากระทบย่อมอ่อนไหวไปตาม เมื่อคิดค้นดูเหตุการณ์ด้วยตนเองแล้ว เห็นว่าลักษณะจิตที่ดำเนินไปอย่างนี้ คงจะยังไม่ตรงต่ออริยมรรคอริยผลแน่ จึงพยายามไม่ให้จิตมันลงไปเหมือนเดิม ถึงมันจะลงก็ไม่ยอมให้มันลง กำหนดกายคตาเป็นอารมณ์ พยายามแก้ไขตัวเองอยู่เดือนเศษ
    ในวันหนึ่งหลังจากที่มิให้จิตมันหลงไปตามนิมิตต่าง ๆนั้นได้แล้ว กำหนดเฉพาะกายคตา จิตได้เข้าถึงฐานปรากฏว่าได้เลิกหนังของตนออกหมด แล้วแหวะภายในกาย ได้พิจารณาทบทวนอยู่ในร่างกายอย่างละเอียด แต่ก็ใช้เวลาพักจิต มิใช่พิจารณาไปโดยได้มีการหยุดพัก แต่เมื่อพักจิตก็รู้ว่าปัญญาได้เกิดขึ้นพอควร มีอาการไม่ตื่นเต้นและไม่หวั่นไหว จึงได้เปล่งอุทานว่า
    นี่แหละจึงจัดว่ารวมถูก เพราะไม่ใช่จิตรวมสงบก็อยู่เฉย ที่สงบนั้นต้องสงบแล้วพิจารณาอยู่ในกัมมัฏฐาน คืออยู่ในการพิจารณาดูตัวทุกข์คือ กายนี้เป็นตัวทุกข์ และให้เห็นตัวทุกข์อยู่จึงจะได้ชื่อว่าดำเนินจิตอยู่ในองค์มรรค
    ท่านอาจารย์มั่นฯได้เล่าถึงตอนนี้ จึงพูดขยายความต่อไปอีกว่า
    เราจะต้องตรวจค้นให้รู้จริงเห็นจริงอยู่ที่กายกับจิตเท่านั้น จึงจะถูกอริยมรรคปฏิปทา จนครั้งหนึ่งปรากฏว่าร่างกายของท่านแตกออกเป็น ๒ ภาค แล้วก็ได้กำหนดจิตให้นิ่ง จนเกิดความสังเวชสลดใจ จึงถือเอาหลักนั้นเป็นการเริ่มต้น เพราะเห็นว่าถูกต้องแล้วเป็นปฏิปทาดำเนินต่อไป
    พ ศ ๒๔๕๕
    ธุดงค์ผจญภัยองค์เดียวถึงถ้ำไผ่ขวาง
    ท่านได้พิจารณาในตัวของท่านเองว่า ที่เราบำเพ็ญถูกบ้างผิดบ้าง แต่ก็พอจะรู้ทางถูกทางผิดบ้างแล้ว ถ้าเราจะอยู่ที่วัดเลียบต่อไป การทำความเพียรของเราก็จะไม่สามารถทำถึงขั้นอุกฤษฏ์ได้ เพราะยังเกี่ยวข้องกังวลบางสิ่งบางประการ จึงตัดสินใจออกป่าแต่ผู้เดียว โดยท่านเอาร่มจีนมาแทนกลด เพราะถ้าเอากลดไปด้วยแล้ว ก็จะทำให้คนทั้งหลายเข้าใจว่าเป็นพระธุดงค์ ก็จะมารบกวนหาของขลังอย่างโน้นอย่างนี้ เป็นที่กังวลเป็นอุปสรรคต่อการประกอบความเพียร ท่านเห็นพระธุดงค์ไปที่พระพุทธบาท ถึงกับเขียนไว้ข้างมุ้งกลดเลยว่า มีพระให้เช่า ท่านบอกว่าท่านที่ธุดงค์โดยมุ่งหวังชื่อเสียงลาภสักการะนั้นอย่าธุดงค์ดีกว่า เราเข้าป่าเพื่อแสวงหาธรรมปฏิบัติ ก็ควรจะยกความกังวลทั้งหลายออกไปเสีย
    ท่านเดินธุดงค์ออกจากจังหวัดอุบลราชธานีครั้งนั้นด้วยการเดินเท้าเปล่า รอนแรมผ่านดงพญาเย็นเรื่อยมาแทบจะกล่าวได้ว่าท่านได้ผ่านภูเขาแทบทุกลูกในประเทศไทย แต่แล้วก็ยังไม่เหมาะในการทำความเพียร ในที่สุดการธุดงค์ของท่านในครั้งนั้น ก็ลุมาถึงถ้ำไผ่ขวาง ข้างน้ำตกสาริกา เขตจังหวัดนครนายก ซึ่งในสมัยนั้นยังคงเป็นป่าทึบและดงดิบ อยู่กลางป่าจึงดาษดื่นไปด้วยสิงห์สาราสัตว์ เช่นเสือ ช้างที่ดุร้าย พร้อมทั้งงูเห่าและงูจงอาง ท่านเล่าว่า เดินเข้าไปเย็นยะเยียบเงียบจากเสียงภายนอก มีแต่เสียงของพวกสัตว์นานาชนิด มันเป็นสิ่งที่เราปรารถนาและต้องการอยู่แล้ว เพราะจะพยายามทรมานตัวเอง.
    เมื่อท่านได้มุ่งหน้าเข้าไปยังถ้ำน้ำตกสาริกาบนภูเขา ในระหว่างทางได้พบหมู่บ้านไม่กี่หลังคาเรือนซึ่งเป็นชาวไร่ พวกเขาจึงถามท่านว่า
    ท่านหลวงพ่อครับ จะไปไหน ?
    ท่านตอบว่า จะไปบำเพ็ญสมณธรรมในเขาลูกนี้
    บรรดาชาวไร่เหล่านั้นก็พากันตกตะลึง พยายามทัดทานท่านว่า
    อย่าเข้าไปเลยหลวงพ่อ เพราะพระที่เข้าไป ในถ้ำนี้มรณภาพไปแล้วถึง ๖ องค์ ขอให้อยู่กับพวกผมที่บ้านนี้เถิด อย่าเข้าไปเลย
    ท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็ตอบไปว่า เออ โยมขอให้อาตมาเป็นองค์ที่ ๗ ก็แล้วกัน
    ท่านไม่ยอมฟังคำทัดทานของชาวบ้าน ได้เดินธุดงค์เข้ายังถ้ำภูเขาลูกนั้นต่อไป
    ถ้ำแห่งนั้นเป็นถ้ำที่ไม่ใหญ่โตเท่าใดนัก มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมอยู่หนาแน่นจนมืดครึ้ม เป็นที่น่าสะพรึงกลัว ซึ่งเป็นที่พระธุดงค์ได้มรณภาพถึง ๖.องค์ ชาวบ้านแถวนั้นเขาเข้ามานำเอาศพไปบำเพ็ญกุศลกันตามมีตามเกิด ท่านอาจารย์มั่น ฯ เมื่อทอดอาลัยในชีวิตแล้ว ก็วางบริขารไว้แห่งหนึ่งตรงปากถ้ำ จัดการสถานที่แล้วเดินดูรอบๆ บริเวณ ได้ยินแต่เสียงจักจั่นเรไรร้อง พวกนกส่งเสียงกระจิ๊บกระจ๊าบ ก็ยิ่งทำให้เกิดความวังเวงยิ่งขึ้น
    เมื่อเวลาตอนพลบค่ำสนธยา รอบ ๆ บริเวณนั้นเต็มไปด้วยความสงัดเงียบ.ถ้าเป็นคนที่มีจิตใจไม่แข็งพอก็อาจจะเป็นบ้าไปเพราะความกลัวเสียก็ได้ แต่ท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านเคยชินในเรื่องนี้เสียแล้ว จึงไม่มีอะไรจะมาทำให้จิตใจของท่านเกิดหวั่นไหว เมื่อค่ำลงสนิทแล้วท่านก็เริ่มบำเพ็ญความเพียรด้วยการนั่งสมาธิตลอดคืน ปรากฏว่าสว่างไสวไปทั่วหมด ซึ่งนับว่าเป็นนิมิตอันดีเป็นอย่างมากในค่ำคืนวันนั้น
    รุ่งขึ้นท่านก็ออกบิณฑบาตที่บ้านไร่นั้น นำอาหารกลับมาฉันที่ถ้ำ เมื่อฉันเสร็จแล้วท่านก็พักกลางวันไปสักชั่วโมง เพราะเหน็ดเหนื่อยมาตลอดคืนที่แล้ว แต่พอลุกขึ้นท่านก็รู้สึกหนักตัวไปหมด และหนักผิดปกติจนท่านแปลกใจ
    เมื่อท่านไปถ่ายอุจจาระก็รู้สึกว่าเป็นท้องร่วง.เมื่อสังเกตดูอุจจาระก็พบว่าทุกอย่างไม่ย่อยเลย ข้าวสุกก็ยังเป็นเมล็ด แตงโมก็ยังเป็นชิ้นอยู่ ถ่ายออกมาก็ยังมีสภาพเหมือนเดิม ท่านเข้าใจว่าเหตุนี้เอง พระเหล่านั้นมรณภาพ ตัวเราเองก็เห็นจะตายแน่เหมือนพระเหล่านั้น
    ท่านจึงเดินเที่ยวหาบริเวณที่อันจะทำให้เกิดความหวาดเสียว ซึ่งต้องเป็นที่เหมาะ เพราะจะต้องทำกันให้ถึงที่สุด แล้วท่านก็เหลือบไปเห็นหินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งตั้งอยู่บนปากเหวลึก แล้วท่านก็ทดลองโยนหินลงไป กว่าจะได้ยินเสียงก็กินเวลาอึดใจหนึ่ง ท่านก็กะว่าที่ตรงนี้เหมาะแล้ว ถ้าเราจะต้องตายก็ขอให้ตายตรงนี้ ให้ท่านหล่นลงไปในเหวนี้เสียเลย จะได้ไม่ต้องเป็นที่วุ่นวายแก่ใครๆ ซึ่งจะต้องกังวลทำศพให้เรา ในค่ำวันนี้ท่านตั้งปณิธานว่า
    เอาละ ถ้าเราไม่รู้แจ้งเห็นจริงก็จะไม่ลุกจากที่นั่งนี้เป็นอันขาด
    และในค่ำคืนวันนั้นเอง เมื่อท่านกำหนดจิตตามที่ท่านฝึกฝนไว้ตอนหลังสุดตามอุบายนั้น ก็เกิดการสว่างไสวดุจกลางวัน ซึ่งปรากฏเห็นแม้กระทั่งเมล็ดทราย โดยปรากฏเห็นเหมือนกันทั้งกลางวันและกลางคืน. ความผ่องใสของใจนี้ทำให้พิจารณาเห็นอะไรได้ทุกอย่างที่ผ่านมา แจ้งประจักษ์ขึ้นมาในปัจจุบันทั้งหมด
    การนั่งสมาธิคราวนี้ท่านใช้เวลา ๓ วัน ๓ คืน โดยไม่แตะต้องอาหารเลย การพิจารณาถึงกายคตาตลอดถึงธรรมะต่าง ๆ ท่านได้ตัดความสงสัยทุกอย่างโดยสิ้นเชิงในการปฏิบัติจิต ในขณะที่การพิจารณาธรรมทั้งหลายอย่างได้ผลนั่นเอง นิมิตอย่างหนึ่งได้ปรากฏขึ้นแก่ท่าน คือเห็นเป็นลูกสุนัขกินนมแม่อยู่ ท่านได้ใคร่ครวญดูว่า นิมิตที่เกิดขึ้นนี้ จะต้องมีเหตุ เพราะขณะจิตขั้นนี้จะไม่มีนิมิตเข้ามาเจือปนได้ คือเลยชั้นที่จะมีนิมิต ท่านกำหนดพิจารณาโดยกำลังของกระแสจิต ก็เกิดญาณคือความรู้ขึ้นว่า ลูกสุนัขนั้นหาใช่อื่นไกลไม่ คือตัวเราเอง เรานี้ได้เคยเกิดเป็นสุนัขอยู่ตรงนี้มานับครั้งไม่ถ้วน คงหมุนเวียนเกิดตายอยู่ในชาติของสุนัข
    ท่านใคร่ครวญต่อไปว่า ก็ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น คือเหตุใดจึงต้องเป็นสุนัขอยู่อย่างนั้น
    ได้ความว่า ภพ คือความยินดีในอัตภาพของตน สุนัขก็ยินดีอยู่ในภพของมัน จึงต้องอยู่ในภพของมันตลอดไป
    ขณะท่านทราบว่าตนต้องเกิดเป็นสุนัขนั้น ได้ถึงซึ่งความสลดจิตมากที่สุด แม้ความสว่างไสวของจิตก็ยังคงเจิดจ้าอยู่ตลอดระยะเวลานั้น ท่านจึงพิจารณาค้นความจริงในจิตของท่านว่า เหตุอันใดที่ต้องทำให้เกิดความพะว้าพะวงห่วงหน้าห่วงหลังอยู่ในขณะนี้ แม้จะได้รับความสลดอย่างยิ่งนี้แล้ว ก็ยังจะพิจารณาให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้ ก็เมื่อความละเอียดของจิตเกิดขึ้นพร้อมกับความสว่างไสวแล้วนั้น ความจริงที่ยังไม่ทราบมาก่อนได้เกิดขึ้นแก่ท่านแล้วก็คือ
    การปรารถนาพระสัมมาสัมโพธิญาณ
    ท่านจึงหวนรำลึกต่อไปว่า เราได้ปรารถนามานานสักเท่าใด
    ก็เพียงสมัยพระพุทธกาลนี่เอง ไม่นานนัก
    ท่านจึงตัดสินใจที่จะไม่ต้องการพุทธภูมิอีกต่อไป เพราะเหตุที่มาสังเวชตนที่ตกเป็นทาสของกิเลส อันเป็นเหตุให้เกิดเป็นสุนัขเสียนับภพนับชาติไม่ถ้วน
    ด้วยเหตุนี้ท่านจึงนึกถึงธรรมะที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ ก็มาระลึกได้ว่า ปฐมเทศนาเป็นบทบาทสำคัญซึ่งจะเป็นทางบรรลุธรรม เพราะว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมนี้ จากความเห็นจริงที่พระองค์ได้ทรงรู้ แล้วนำออกมาแสดง เช่นที่พระพุทธองค์ทรงแสดงถึงอริยสัจจ์ ๔ ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คือ
    ทุกข์ ควรกำหนดรู้
    สมุทัย ควรละ
    นิโรธ ควรทำให้แจ้ง
    มรรค ควรเจริญให้มาก
    ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านได้มาคำนึงถึงธรรมะอันเป็นหัวใจของพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตรเช่นนี้แล้ว ท่านก็มาพิจารณาต่อไปอีกว่า
    ทุกข์ คืออะไร ในปฐมเทศนาแสดงว่า ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นทุกข์ และใครเล่าเกิด-แก่-เจ็บ ตาย ก็คืออัตภาพร่างกายของเรานี่เอง ฉะนั้นร่างกายนี้จึงถือได้ว่า เป็นอริยสัจจธรรม การพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงในกายนี้ ก็เท่ากับรู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจจ์นั่นเอง ดูแต่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ด้วยพระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ ๒ คืออนัตตลักขณสูตร พระพุทธองค์ทรงยก รูป ขึ้นมาให้พระปัญจวัคคีย์พิจารณา คือทรงแสดงว่า
    รูปํ ภิกขเว อนตฺตา รูปไม่ใช่ตน
    ปริวัตน์ที่ ๒ ว่า ตํ กึ มญฺญสิ ภิกฺขเว รูปํ นิจฺจํ วา อนิจฺจํ วาติ ภิกษุที่หลายท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
    ปริวัตน์ที่ ๓ ว่า ตสฺมา ติห ภิกฺขเว รูปํ อตีตํ วา อนาคตํ วา ปจฺจุปนฺนํ วา เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย รูปในอดีต อนาคต หรือรูปปัจจุบัน
    สพฺพํ รูปํ รูปทั้งปวง
    เนตํ มม เนโส หมสฺมิ น เม โส อตฺตา ติ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนเรา
    เอวเมตํ ยถาภูตํ สมฺมปฺปญฺญา ยทตฺตพฺพํ จงพิจารณาข้อความนี้ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบ
    ท่านพระอาจารย์มั่น ฯ ได้พิจารณาว่า การพิจารณาตัวทุกข์นี้ก็คือรูปกายนี่เอง พระปัญจวัคคีย์แม้จะได้บรรลุธรรมในเบื้องต้นแล้วแต่ยังไม่เพียงพอ พระพุทธองค์จึงต้องทรงเน้นหนักลงไปที่กายนี่เอง โดยทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร เพี่อจะให้พระปัญจวัคคีย์ได้บรรลุธรรมชั้นสูงสุด
    ท่านพระอาจารย์มั่น ฯ ได้คำนึงถึงปฏิปทาของพระพุทธองค์ตอนที่จะตรัสรู้ ที่ทรงนั่งสมาธิในวันวิสาขะเพ็ญเดือน ๖ นั้น ตอนปฐมยาม ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือพระญาณอันเป็นเหตุให้ระลึกชาติในหนหลังได้ นี่คือการพิจารณา กาย จุดสำคัญจุดแรกเนื่องจากอัตภาพ แต่ละอัตภาพที่พระพุทธองค์ทรงระลึกนั้นมีทั้ง สุข ทุกข์ มีทั้ง เกิด แก่ เจ็บ ตาย นับภพนับชาติไม่ถ้วน เป็นการยืนยันว่า พระพุทธองค์ก่อนที่จะได้ตรัสรู้ ทรงพิจารณา กาย เพราะญาณเป็นที่ระลึกชาติหนหลังได้นั้น ต้องรู้ถึงการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย นี่คืออัตภาพแต่ละอัตภาพ ซึ่งต้องมีทุกข์ครบถ้วนทุกประการในการที่พระพุทธองค์ทรงระลึกนั้น
    ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านได้คำนึงว่า การพิจารณาทุกข์ พระพุทธองค์ทรงดำเนินมาแล้วแต่ปฐมยามนั่นเอง ท่านจึงได้ความชัดในใจของท่าน แล้วก็ได้นำเอาการระลึกชาติ ในการที่ท่านได้เกิดเป็นสุนัขอันแสนนานนั้น มาเป็นเหตุพิจารณาให้เกิดความแจ่มแจ้งขึ้นในจิตนั้น เพื่อให้เพียงพอแก่ความต้องการแห่งสัจธรรม ดำเนินให้เป็นไปตามความเป็นจริงนี้ เรียกว่า ญาณ คือการหยั่งรู้ ท่านได้ความรู้ว่า เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความเพียงพอ (อิ่มตัว) ของญาณแต่ละครั้ง มิใช่เป็นสิ่งที่จะนึกคิดเอา หรือน้อมเอาเพื่อให้เป็นไป แต่ต้องเกิดจากความจริงที่ว่า ต้องพอเพียงแห่งความต้องการ (อิ่มตัว)
    การเป็นขึ้นจากการพิจารณาโดยความเป็นจริงแห่งกำลังของจิตที่ได้รับการอบรมมาพอแล้ว เช่นผลไม้มันต้องพอควรแก่ความต้องการของมัน จึงจะสุก ห่อข้าวที่ถูกไฟ หุงด้วยไฟ มันต้องการไฟเพียงพอกับความต้องการของมันจึงจะสุก แม้การพิจารณากายที่เรียกว่าตัวทุกข์นี้ก็เช่นเดียวกัน กว่าจะกลับกลายเป็นญาณขึ้นมาได้ ต้องอาศัยการพิจารณาจนเพียงพอแก่ความต้องการ (จุดอิ่มตัว) แต่ละครั้ง เช่นกำลังของการพิจารณานี้ มันอาจจะอยู่ได้ชั่วขณะหรือเวลา สุดแล้วแต่กำลังของญาณ เช่นนิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่าย จะตั้งอยู่ในใจนานเท่าไรนั้น สุดแล้วแต่การพิจารณากายเห็นชัด ด้วยสามารถแห่งพลังจิต การพิจารณาทุกข์ เป็นเหตุให้เกิดญาณนี้ ถ้าเกิดความเพียงพอกำลังเข้าเมื่อใด ญาณนั้นจึงจะเป็นกำลังตัดกิเลสได้เมื่อนั้น
     
  11. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ตอนที่ ๒
    [​IMG]
    การผจญอันตรายภายใน
    ท่านอาจารย์มั่นฯ เล่าต่อไปว่า ณ ค่ำคืนระหว่างแห่งการดำเนินจิตก็กำลังสว่างไสวและได้ผลนั้น สิ่งที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นมาในเวลา ๒๓.๐๐ น ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว คือมีอาการสั่นสะเทือนขึ้นทั้งภูเขา ดูรู้สึกเหมือนกับว่า ภูเขาลูกที่ท่านนั่งอยู่นั้น จะพลิกคว่ำ ซึ่งขณะนั้นท่านกำลังนั่งหลับตาทำสมาธิอยู่อย่างได้ผล บางครั้งจะได้ยินเหมือนเสียงต้นไม้หักเป็นระนาวทีเดียว อากาศเป็นเหมือนกับมืดลมมืดฝน เป็นลักษณะที่น่าสะพรึงกลัวอย่างยิ่ง เกือบจะทำให้ท่านต้องลืมตาออกมาทีเดียว แต่ท่านก็หาได้ลืมตาดูตามลักษณะอาการที่เกิดขึ้นนั้นไม่
    ท่านได้พิจารณาเป็นอนุโลมิกญาณในอริยสัจธรรม พร้อมกับเหตุอันน่าสะพรึงกลัวนั้น ก็ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ขณะที่เป็นอยู่อย่างนั้นนานเท่าใดไม่อาจทราบได้ ท่านได้กำหนดสติอย่างมั่นคง และได้คำนึงถึง สติ นี้เป็นอย่างดีและชัดเจนขึ้นอย่างยิ่งว่า สติอันที่จะเรียกได้ว่ามีกำลังนั้น ต้องมาต่อสู้และผจญภัย เพื่อเป็นการทดสอบว่า จะเกิดความหวั่นไหวต่อเหตุการณ์ทั้งภายในและภายนอก จะยังคงพิจารณาอยู่กับร่องรอยได้หรือไม่ ท่านได้พิสูจน์แล้วว่า ความหวั่นไหวแห่งสติในขณะนั้นไม่มีเลย ยังคงรักษาระดับการพิจารณา อันเป็นอนุโลมิกญาณได้อย่างปกติ
    เหตุการณ์หาได้หยุดยั้งลงแต่เพียงแต่นั้นไม่ ยังคงดำเนินอย่างรุนแรงขึ้นทุกขณะ มันประดุจว่าร่างกายของท่านแทบจะถูกบดไปเป็นผุยผง เป็นจุณวิจุณไปทีเดียว เหตุการณ์เช่นนั้นเกิดเป็นเวลานาน พลันอาการประหลาดก็เกิดขึ้นมาอีก คือมีอาการร่างกายใหญ่โตขึ้นสูงเท่ากับต้นไม้ใหญ่.ถือตะบองเหล็กซึ่งมีรัศมีดังเปลวไฟแปร๊บปร๊าบ เดินย่างสามขุมตรงรี่เข้ามาหาท่านอย่างผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจ พร้อมกับตวาดว่า
    จงลุกจากที่นี่เดี๋ยวนี้ มิฉะนั้นจะต้องตาย
    ว่าแล้วก็เงื้อตะบองขึ้นสุดแขน ขณะท่านอาจารย์มั่น ฯ กำลังพิจารณาอนุโลมิกญาณอย่างได้ผล ก็มาผจญกับสิ่งลึกลับ อันไม่เคยปรากฏมาแต่กาลก่อน ซึ่งมันทำให้ท่านแทบจะเผลอลืมตาขึ้นมาดู แต่ท่านก็ระงับสภาพอันน่าละพึงกลัวนั้นเสียได้.ไม่สะทกสะท้านต่อเหตุการณ์เหล่านั้น กำหนดสติอันทรงพลังของท่าน และท่านก็มั่นใจในสติอันที่ได้อบรมจนเป็นมหาสตินั้น
    ณ ที่นั้น การที่เกิดความมหัศจรรย์เช่นนี้ต้องถือว่าเป็นอันตรายต่อการบำเพ็ญจิตขั้นละเอียดเป็นที่สุด เพราะถ้าเสียทีตกใจลืมตา หรือสติอ่อนจะผ่านขั้นนี้ไม่ได้เลย หลังจากท่านอาจารย์มั่น ฯ ถูกยักษ์ตนนั้นมันตะคอกเอาแล้ว ท่านก็กำหนดในใจ พูดตอบยักษ์ไปว่า
    เราไม่ลุก
    ทันใดนั้นเองปรากฏว่ายักษ์ได้หวดตะบองอันใหญ่นั้นลงยังร่างของท่านอย่างน่าใจหายใจคว่ำ ท่านรู้สึกประดุจว่าตัวของท่านจมลงดินลงไปลึกประมาณ ๑๐ วา
    แต่ทันใดนั้นก็ปรากฏว่าตัวของท่านลอยขึ้นเหนือแผ่นดินอีก ขณะที่มีอาการเช่นนั้นท่านหาได้ลืมสติไม่ กำหนดเป็นอนุโลมิกญาณ อยู่ตลอดไป จึงยังแน่วแน่จดจ่ออยู่ ณ ที่เดียว ซึ่งขณะนั้นเป็นการพิจารณาจุดสุดยอดของญาณ
    ท่านว่า เป็นสิ่งที่อัศจรรย์อย่างยิ่ง คำว่าชีวิตความตายมิได้มีความหมายเลยในขณะนั้น ชีวิตมิได้เป็นสิ่งมีค่า เท่ากับการพิจารณาจุดสุดยอดแห่งอนุโลกมิกญาณในขณะนั้นเลย จึงหาได้เกิดความหวาดกลัว หรือสะดุ้งแต่ประการใดไม่ !
    เหตุการณ์ก็หาได้หยุดลงแต่เพียงนั้นก็หาไม่ ทันใดเจ้ายักษ์ตนนั้น มันก็ถอนต้นไม้ใหญ่ ซึ่งเป็นต้นตะเคียน อยู่ข้างหลังของท่าน ต้นตะเคียนนั้นใหญ่ขนาด ๑๐ อุ้ม ใหญ่มากทีเดียว มันเอามือทั้งสองข้างฉุดต้นตะเคียน เหมือนกับยกหม้อน้ำ ปรากฏว่ารากตะเคียนได้หลุดขึ้นจากดินพร้อมกับดินแถว ๆ นั้นกระจายไปหมด ปรากฏว่าก้อนดินหล่นกระจายถูกต้องร่ายกายทั่วไป และพร้อมกันนั้น มันก็ยกต้นตะเคียนขึ้น พร้อมด้วยความโกรธตาแดงยังกับลูกไฟ ยกขึ้นสูงเหนือภูเขาลูกนั้น ฟาดลงมายังร่างของท่านดังสะท้านหวั่นไหว ปรากฏว่าร่างกายของท่านทรุดแบนละเอียดติดอยู่กับก้อนหินนั้น และพร้อมกันนั้นก็ปรากฏว่าหินก้อนที่ท่านนั่งอยู่นั้น ก็แตกละเอียดเป็นจุณไปในชั่วพริบตานั้นเอง ขณะนั้นเกือบจะทำให้ท่านต้องเผลอลืมตาขึ้นมาดูความเห็นไปต่าง ๆ แต่ว่าท่านได้คำนึงถึงมหาสติอันเป็นเครื่องบังคับกำกับการพิจารณาในจุดสุดยอดแห่งธรรมอันละเอียดอ่อน ทำให้ท่านได้พิจารณาอย่างเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง แม้เหตุการณ์อันเป็นเครื่องทำให้เกิดอาการหวั่นไหว ท่านก็มิได้มีความหวั่นไหวเลย
    ในที่นี้ท่านได้คำนึงต่อไปว่า มีสิ่งหนึ่งอันเป็นประการสำคัญ ซึ่งเป็นมลทินของใจ นั่นคือการพะว้าพะวัง ของการปรารถนาพระโพธิญาณ และก็กลับไม่ปรารถนาเช่นนั้น หันมาเพื่อความพ้นทุกข์ อันจะพึงได้บรรลุธรรมอันยิ่งใหญ่ในขณะนั้น นี่เองที่ทำให้มีมลทิน.เป็นเครื่องสะกิดใจไว้ แต่เมื่อได้สละแล้ว ท่านจึงมิได้คำนึงถึงสิ่งอื่น อันเป็นเหตุให้ต้องประสบสิ่งอันเป็นที่หวาดกลัวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นแล้ว ปรากฏว่าทุกอย่างในโลกนี้มีสภาพเป็นอันเดียว ดุจหน้ากลองชัย โลกนี้ราบลงหมด คือสว่างราบเตียน ร่างกายของท่านก็ปรากฏว่าประมวลกันเข้าดังเดิม และปรากฏว่ายักษ์ตนนั้นจำแลงตัวเป็นมนุษย์ ลงมากราบไหว้ขอขมาลาโทษท่าน แล้วมันก็หายไป
    ขณะนั้น ไก่ขันกระชั้นแล้ว แสดงว่าใกล้แจ้ง ซึ่งประมาณเวลาราวๆ ตี ๓ หรือตี ๔ เห็นจะได้ ท่านได้คำนึงถึงญาณ ๓ ในอริยมรรค คือสัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ จิตที่บำเพ็ญถึงจุดอิ่มตัวเป็นญาณ ซึ่งมิใช่ว่าจะถือเป็นชั้นนั้น ชั้นนี้ เพราะถือว่าได้สำเร็จ การเข้าใจว่าได้ชั้นนั้นชั้นนี้คือการไม่เป็นผลสำเร็จ ซึ่งเป็นการหลงสมุทัยไปทีเดียวเลย
    ท่านคำนึงถึงญาณว่า เป็นจุดอิ่มตัว เหมือนกับการรับประทานอาหาร มันมีจุดอิ่มตัว พอมันพอเพียงแก่ความต้องการแล้วก็อิ่มไม่ต้องพูดอะไรให้มาก มีอาหารรับประทานเข้าไปก็แล้วกัน ญาณก็เช่นเดียวกัน บำเพ็ญให้ถูกต้อง โดยการพิจารณาทุกข์ เมื่อถึงจุดอิ่มตัวเมื่อไรก็รู้เอง เหมือนคนรับประทานอาหารอิ่มเมื่อไรเขารู้ตัวของเขาเอง เช่นเมื่อพิจารณา กาย คือตัวทุกข์ นั้นแล้ว พอเมื่อเห็นกายเขาก็เกิดความสังเวชสลดจิต แล้วก็เกิดความเบื่อหน่าย ความเบื่อหน่ายเป็นญาณ เพราะมันจะเกิดขึ้นเอง จะมาสมมุติให้เกิดขึ้นไม่ได้ คำว่า สัจจะ คือความจริง เช่นกับการพิจารณาเห็นตัวทุกข์ ชื่อว่าเห็นจริงมิได้เดาเอา เช่นเห็นว่าผมเป็นธาตุดินอย่างนี้เป็น สัจจญาณ การดำเนินญาณคือความจริงให้ปรากฏอยู่เสมอชื่อว่า กิจจญาณ การถึงจุดละวาง เหมือนกับคนอิ่มอาหาร ละไปแล้วซึ่งความหิว โดยอัตโนมัติเป็น กตญาณ
    ท่านได้คำนึงถึงสมุทัยว่า อันกามตัณหา ความใคร่ในกาม ภวตัณหา ความอยากมีอยากเป็น วิภวตัณหา ความไม่อยากมีอยากเป็น ที่จริงแล้วคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับจิตในขณะที่กำลังบำเพ็ญญาณนั้นเอง เพราะกิเลสเกิดขึ้นตอนเจริญปัญญาญาณนี้สำคัญนัก จะเกิดการถือตัวอย่างก้าวไปไกล แก้ไม่หลุด คือเมื่อเห็นญาณ ความหยั่งรู้เกิดขึ้น ซึ่งละเอียดและอัศจรรย์ เลยยึดเอาว่า เป็นพระนิพพานเสียเลย นี่แหละ กิเลสปัญญา เพราะตอนที่ผู้บำเพ็ญจะสำคัญตนว่าบรรลุแล้ว มิหนำซ้ำยังตั้งตนเป็นนักพยากรณ์เสียอีกว่า คนนั้นได้ชั้นนั้น คนนี้ได้ชั้นนี้ บางครั้งเกิดอัศจรรย์ขึ้นมาในจิต ว่าละกิเลสได้หมด แล้วมีธรรมมาบอกเกิดขึ้นเมื่อวันนั้นเดือนนั้น เราได้บรรลุชั้นนั้นชั้นนี้แล้ว ถ้าหากว่ามีผู้รู้เท่าไม่ถึงการณ์ บัญญัติเราเข้าให้อีกว่า แน่แล้ว สำเร็จแล้ว ทีนี้ก็จะทำให้จิตต้องนึกว่าสำเร็จ บรรลุ และถือตนหนักขึ้น ดังนั้นในสมุทัยสัจจ์ พระพุทธองค์จึงทรงแสดงว่า ปหาตพฺพนฺติ เม ภิกขเว ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมุทัย ควรละ ก็ละตรงที่เรียกง่าย ๆว่า วิปัสสนูปกิเลสดังกล่าวนั้นแล้ว
    ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านได้คำนึงถึงเรื่องนี้ เพื่อความรอบคอบของจิตที่กำลังเนินไปอย่างได้ผลว่า เมื่อไม่ข้องอยู่ในอุปาทาน และห่วงอยู่ในความที่จะเข้าใจตัวเองว่า บรรลุชั้นนั้นชั้นนี้ได้แล้ว เพราะว่าท่านขณะที่กำลังบำเพ็ญวิปัสสนาญาณนั้น ได้ทราบชัดว่า วิปัสสนา นั้นคือความเห็นแจ้ง แต่ธรรมดาแล้วก็คงเห็นแจ้งเฉย ๆ เช่นเห็นว่าเป็นธาตุเป็นขันธ์ เกิดขึ้นจากตาในด้านการพิจารณา แต่ยังไม่ใช่ญาณ การที่จะเป็นญาณขึ้นมาได้นั้น ต้องถึงจุดอิ่มตัว เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง เช่นพิจารณารู้แจ้งเห็นจริงในขันธ์ทั้งหลายแล้ว พิจารณาไม่หยุดยั้ง จนถึงจุดอิ่มตัว ญาณ คือความเบื่อหน่ายเกิดขึ้น นี่แหละจึงจะชื่อว่า เป็นวิปัสสนาญาณ ความเบื่อหน่ายที่เกิดขึ้นเองเนื่องจากการบำเพ็ญวิปัสสนาให้เพียงพอ เช่นเดียวกับความอิ่มเกิดขึ้นจากความเพียงพอของการรับประทานอาหารนั่นเอง เพราะความเกิดเอง ในที่เรียกว่า สันทิฏฐิโก ความเห็นเอง นิโรธ ควรทำให้แจ้ง การทำให้ไม่ให้คนหลง ในมรรคผลนิพพานนั่นเอง เพระผู้ปฏิบัติทั้งหลายงมงายในความเป็นเช่นนี้มาก ในเมื่อไม่ใช้ปัญญาญาณเพราะไปใช้แต่สิ่งสำคัญตนจึงต้องใช้การทำให้แจ้ง มันจะเป็นอย่างไรขึ้นก็ช่าง เราทำไป แล้วธรรมที่ดำเนินไปก็บรรลุเป็นหมายเอง
    ในวาระสุดท้าย ท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า เราได้กำหนดทวนกระแสจิต คือเมื่อพิจารณาไปแล้วทุกอย่าง นับมาแต่การพิจารณาดูตัวทุกข์ คือขันธ์ทั้ง ๕ นั้นแล้ว และพิจารณาให้เป็นวิปัสสนา คือให้เห็นว่าขันธ์ทั้ง ๕ เท่านั้นเป็นธาตุ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และพิจารณาที่ธรรมทั้งหลายอันละเอียดวิเศษที่สุด จนเข้าใจว่าเป็นผู้บรรลุ ขจัดออกไปทั้งหมดโดยอนุโลมิกญาณแล้ว ท่านก็ทวนกระแสจิต กลับมาหา ฐิติภูตํ คือที่ตั้งของจิต ที่ท่านอาจารย์กล่าวว่า เป็นต้นเหตุการณ์ทวนกระแสจิตที่เป็นอนุโลมิกญาณ ให้เห็นว่า ใครผู้รู้ ใครผู้เห็น คือให้รู้ว่าเป็นผู้ไม่ตาย ให้เห็นว่าเป็นธาตุ เพราะได้พิจารณาเห็นโดยญาณนั้นเป็นความจริง อันตัว ผู้รู้ เห็นอยู่ที่ไหน อาศัยญาณที่บำเพ็ญขึ้นจนพอแก่ความต้องการ อันที่เรียกว่า อนุโลมิกญาณนั้นแล้ว ก็จะปรากฏว่าได้เห็นตัว ผู้รู้ ผู้เห็น ผู้ไม่ตาย คราวนี้ก็จะถือได้ว่าเป็นองค์มรรค ภาเวตพฺพนฺติ เม ภิกฺขเว มรรคควรเจริญให้มาก ผู้ที่มาเห็นตัว ผู้เห็น กล่าวว่า เป็นผู้หายความสงสัยแล้วโดยสิ้นเชิง ไม่ต้องห่วงว่าอาจารย์โน้นถูก อาจารย์นี้ผิด เรากำลังทำนี้จะถูกหรือจะผิด ไม่มีในจิตของผู้เป็นเช่นนี้ ถ้ายังไม่ถึงเช่นนี้ ก็จะยังสงสัยอยู่ร่ำไป แม้ใครจะมาเทศน์ให้ฟังเท่าไรก็แก้สงสัยไม่ได้
    ท่านเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า ขณะนั้นปรากฏว่าโลกนี้เตียนราบประดุจหน้ากลองชัย เรียบเอาจริง ๆ ท่านได้ย้ำให้ข้าพเจ้าฟัง แต่การราบเรียบเหมือนหน้ากลองชัย คือการอยู่ในสภาพอันเดียวกัน ได้แก่ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย และความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน แต่การปรากฏขึ้นในจิตนั้น เป็นเช่นนั้นเพราะว่าไม่มีอะไรมาข้องอยู่กับใจ ในจิตนั้นเป็นเช่นนั้น เพราะท่านพูดกับข้าพเจ้าต่อไปว่า นี้เป็นการที่ได้หนทางเป็นครั้งแรก ในใจของเราให้หายสงสัยว่า จะเป็นอะไรต่อไป แน่ชัดในใจโดยปราศจากการกังขา
    ในที่นี้จึงรวมไว้ซึ่ง อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ เป็นที่รวมกำลังทั้งหมดเท่ากับเป็นการรวมกองทัพธรรมใหญ่ พร้อมที่จะขยี้ข้าศึก คือ กิเลส ให้ย่อยยับลงไป ในเมื่อการรวมกำลังนี้สมบูรณ์เต็มที่แต่ละครั้ง เพราะความที่ได้ขยี้ข้าศึกคือกิเลสนี้เอง จึงเกิดเป็นวิสุทธิ ๗ ประการ ครั้นเมื่อเป็นดังนี้บริบูรณ์แล้ว คำว่าชั้นนั้นชั้นนี้ก็ไม่ต้องกล่าวถึง เพราะเหตุได้ตัดเสียแล้วซึ่งอุปาทาน ท่านได้เล่าเป็นเชิงแนะนำผู้เขียน เป็นลำดับตามวาระแห่งจิตของการดำเนินของท่าน จนผู้เขียนไม่อาจนำมาเขียนให้หมดไปทุกคำได้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของคำพูดที่ท่านได้แสดงให้ผู้เขียนฟังเท่านั้น เป็นอันว่า ๓ วัน ๓ คืนของการพิจารณานั้น ท่านได้รู้แจ้งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ และควรเห็น ได้รับผลคือความจริงในพระพุทธศาสนาในครั้งนั้น
    ท่านเล่าต่อไป ว่า ในวันนั้นท่านได้พิจารณารู้แจ้งเห็นจริง แล้วก็ลุกขึ้นเดินจงกรมเสียเวลาก่อนแจ้ง รู้สึกเบาตัวไปหมด.ได้เวลาไปบิณฑบาตตอนเช้า ท่านได้นุ่งสบงห่มจีวร ซ้อนสังฆาฏิเป็นปริมณฑล กับบาตรสะพายไว้ข้าง ประดุจอุ้ม แล้วก็เข้าไปสู่หมู่บ้านที่ท่านเคยไปแต่กาลก่อนนั้น
    อันชาวบ้านต่างก็พากันเชื่อว่าท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้ตายไปเสียแล้ว เพราะไม่ได้มาบิณฑบาตตั้ง ๓ วัน เนื่องจากพระธุดงค์มาตายที่นี่หลายองค์ ท่านอาจารย์มั่น ฯ องค์นี้จะต้องเหมือนกับองค์อื่น ๆ ซึ่งชาวบ้านต่างก็พากันสงสัยตั้งแต่เริ่มแรกแล้ว ซึ่งพอท่านอาจารย์มั่น ฯ มาอยู่วันเดียว บิณฑบาตวันเดียวก็หายไปเฉย ๆ แต่ก่อนๆ พระธุดงค์ที่มาอยู่ที่นั้น บางองค์ก็ ๓ เดือน ๖ เดือนจึงตาย แต่ท่านอาจารย์ มั่นฯ องค์ใหม่นี้ทำไมจึงตายเร็วนักเพียงสองสามวันเท่านั้น ชาวบ้านบางคนที่สนใจเป็นพิเศษ พอไม่เห็นท่านมาบิณฑบาต ก็ได้ไปเยี่ยมท่านที่ถ้ำ แต่ก็ไม่เห็น เพราะที่ท่านนั่งสมาธินั้นลี้ลับมาก ครั้นจะค้นให้ทั่วก็กลัวจะเป็นการรบกวนสมาธิของท่าน ถ้าท่านกำลังนั่งสมาธิ แต่ถ้าหากท่านตายจริง หลายวันแล้วเดี๋ยวก็จะเน่าเฟะ ก็จะลำบาก ชาวบ้านต่างก็โจษขานกันไป และคิดที่จะหาหนทางเอาศพมาบำเพ็ญกุศลกัน
    แต่ที่ไหนได้ รุ่งขึ้นเช้าวันที่ ๓ นั้น ก็ปรากฏเห็นโฉมหน้าของท่านอาจารย์มั่นฯ กำลังออกมาบิณฑบาตโดยปกติแล้ว ทุกคนก็บังเกิดความเลื่อมใส ต่างก็ถามท่านว่า
    ท่านอาจารย์ครับ ๓ วันที่แล้วมาทำไมจึงไม่มาบิณฑบาต
    ท่านอาจารย์ได้ตอบว่า ก็เราได้ต่อสู้กับความโง่ของตัวเองนั่นแหละโยม เห็นจิตสงบดีจึงไม่ได้มา
    แต่ชาวบ้านก็ยังไม่แน่ใจว่า ท่านจะอยู่ไปได้ตลอดหรือไม่
    หลังจากท่านบิณฑบาตกลับไปที่ถ้ำแล้วนั้น จากนั้นอาการต่าง ๆ ก็ปกติดี อาหารทุกอย่างย่อยเป็นปกติ ร่างกายของท่านสมบูรณ์ ในตอนนี้ท่านได้พักผ่อนบำเพ็ญความเพียรตามปกติ และท่านก็หวนพิจารณาถึงพระที่มรณภาพไปแล้ว ๖ องค์ ว่าเป็นเพราะเหตุใด ก็ได้ทราบว่า ประพฤติเป็นศีลวิบัติโดยลักษณะต่าง ๆ กัน
    องค์ที่ ๑ ได้มาอยู่ ๒ เดือน ๒๙ วันก็มรณภาพ องค์นี้ผิดวินัยข้อที่เก็บอาหารเป็นสันนิธิ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ในโภชนวรรค สิกขาบทที่ ๗ เวลาไปบิณฑบาตแล้ว มีอาหารบางสิ่งที่ไม่บูดเสียแล้วเก็บไว้ฉันในวันต่อไป
    องค์ที่ ๒ อยู่ได้ ๓ เดือนกับ ๑๐ วัน ก็มรณภาพ ส่วนองค์ที่ ๒ นี้ ได้ตัดต้นไม้ในป่าด้วยตนเอง แล้วนำมาทำร้านเพื่อเป็นที่สำหรับนั่งและนอนนอกถ้ำ เพราะว่าจะนั่งนอนกับหินและดินก็ชุ่มชื้น นี่ก็เป็นอาบัติปาจิตตีย์ในสิกขาบทที่ ๑ แห่งภูตคามวรรค
    องค์ที่ ๓ อยู่ได้ ๔ เดือนกับ ๒๒ วันก็มรณภาพ องค์ที่ ๓ นี้ได้ขุดดิน โดยที่แถวนั้นมีมันป่ามาก ก็ขุดเอามันมาไว้และต้มฉันเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่สมณะไม่ควรทำ และผิดวินัยตามพุทธบัญญัติข้อ ๑ ของ ภูตคามวรรค และข้อที่ ๑๐ ของมุสาวาทวรรค
    องค์ที่ ๔ ได้มาพักอยู่ ๕ เดือนกับ ๒๐ วัน ก็มรณภาพที่ถ้ำนี้ ชาวบ้านได้นำศพไปบำเพ็ญกุศลตามประเพณี องค์นี้ได้ทำผิดวินัยที่เก็บอาหารบิณฑบาตมาได้ แล้วเอาไว้ฉันต่อไป และได้ไปเก็บผลไม้ต่าง ๆ ในป่ามาเองซึ่งเป็นการผิดวินัยข้อ ๘ ของโภชนวรรคปาจิตตีย์ และข้อที่ ๑ ของภูตคามวรรคปาจิตตีย์
    องค์ที่ ๕ อยู่ได้ ๖ เดือนกับ ๒๘ วันก็มรณภาพ องค์นี้ได้ไปเก็บผลไม้จากต้นไม้ เพราะในป่านั้นก็มีผลไม้ป่าต่าง ๆ เป็นต้นว่า ไม้เต็ง ไม้พอง ผลนมวัวเป็นต้น ท่านได้ไปเก็บเองจากต้นมาฉันเอง นี่เป็นอาบัติปาจิตตีย์ข้อที่ ๑ ขอภูตคามวรรคและข้อที่ ๑๐ ของโภชนวรรค
    องค์ที่ ๖ อยู่ได้ ๗ เดือนกับ ๑๒ วันแล้วก็ขอให้โยมพาไปส่งที่วัดเดิมของท่านที่ขอนแก่น เมื่อกลับไปอยู่วัดเดิมได้ ๑ เดือน ท่านก็มรณภาพ องค์นี้ก็เก็บอาหารต่าง ๆ ที่เป็นสันนิธิ เป็นอาบัติโดยที่ได้ทำอยู่เป็นอาจิณ แล้วตัวท่านเองก็มิได้รู้ถึงสมุฏฐานแห่งการเป็นอาบัติ จึงต้องศีลวิบัติอันเป็นเหตุให้ถึงแก่ชีวิต และการจะเดินธุดงค์และอยู่ป่านั้น ข้อสำคัญต้องรักษาขนบธรรมเนียมพร้อมด้วยพระธรรมวินัยของพุทธบัญญัติอย่างเคร่งครัด จึงจะเป็นไปเพื่อความสะดวกสบายได้
    ในวันหนึ่งท่านได้นั่งสมาธิปลอดโปร่งมาก แต่ว่าการที่ท่านได้มาอยู่ที่ถ้ำนี้ นับแต่ท่านพบแสงสว่างแห่งธรรม ท่านก็ได้รับผลแห่งความสงบตลอดทั้งกลางวันกลางคืน ในคืนนั้น ท่านพิจารณาถึงการแนะนำสั่งสอนธรรมอันเป็นภายในนี้ว่า เราแนะนำพร่ำสอนไฉนหนอ จึงจะเป็นผล ท่านก็กำหนดพิจารณาดูในขณะนั้นว่า
    การแนะนำในขั้นต้นนี้ ควรจะต้องดำเนินไปเฉพาะพระภิกษุสามเณรเป็นประการสำคัญ เพราะพระภิกษุสามเณรแม้องค์เดียว ถ้าได้เห็นธรรมเป็นที่แน่ชัดแล้ว จะไปสอนอุบาสกอุบาสิกาได้เป็นจำนวนมาก และก่อนแต่ที่จะสอนใครก็ควรต้องพิจารณาจิตใจของผู้นั้นว่า ควรจะได้รับธรรมะอย่างไร ผู้นั้นควรจะนำไปปฏิบัติอย่างไร
    ท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านย้ำกับผู้เขียนว่า
    ถ้าเราไม่พึงรู้ถึงความเป็นจริง คืออุปนิสัยวาสนาและปุพเพนิวาสแต่กาลก่อน ซึ่งจะเป็นเหตุให้เราได้ทราบชัดว่า ผู้ใดควรได้รับธรรมกัมมัฏฐานอะไร และจะสามารถรู้ซึ้งในกัมมัฏฐานได้แล้ว เราจะยังไม่สอนใครเลยทีเดียว
    ฉะนั้นการสอนกัมมัฏฐานของท่านจึงได้ผลเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ปรากฏต่อมาว่าเมื่อท่านสอนใครแล้วต้องได้ผล เพราะเราจะเห็นผู้เป็นอาจารย์กัมมัฏฐานองค์สำคัญ ๆ ที่ได้ทำประโยชน์แก่พุทธศาสนาอยู่ในเวลานี้ ก็เป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์มั่นฯ เป็นส่วนมาก เพราะได้รับการฝึกฝนมาอย่างถูกต้องจากท่านอาจารย์มั่น ฯ นั้นเอง
    ณ ที่นี่เองท่านก็ได้รู้จักภาษาสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในป่า เป็นต้นว่า ลิงบ้าง นกบ้าง มันคุยกัน มิใช่ว่าท่านจะได้ยินเพียงแต่มีเสียงจี๊ด ๆ แจ๊ด ๆ หรือ กรี๊ด ๆ แกร๊ด ๆ แต่ว่ามันก็ใช้ภาษาของมัน ซึ่งบางครั้งท่านอาจารย์เล่าว่า
    พวกนกจะรู้ภาษากันก็หาไม่ พวกมันก็ได้ตักเตือนกันอยู่ แต่มีบางตัวบางพวกก็ไม่เชื่อฟัง มันรู้เรื่องของมนุษย์ได้ดีว่า มนุษย์บางคนมีจิตใจโหดร้าย มาขโมยเอาลูกเขาไปทั้ง ๆ ที่เขาก็หวงแสนหวง แต่พวกนกหนูทั้งหลาย บางครั้งไปหากิน ลักขโมยมนุษย์ตามไร่ตามสวนนั้น หาใช่ว่าพวกมันจะไม่รู้ก็หาไม่ พวกเขาก็ได้ตักเตือนกันอยู่ แต่พวกมันก็ไม่ยอมเชื่อฟัง แต่บางทีพวกนักล่าลิง ได้ยิงลิงแล้วเอามาลอกหนังกินเสียนั้น พวกลิงมันก็เห็นว่ามนุษย์นี้น่ากลัวยิ่งนัก แต่พวกที่ไม่เคยเห็นว่ามนุษย์ฆ่าพวกมัน ๆ จะไม่กลัว แต่ว่าพวกมันเห็นว่าเป็นตัวอะไรแปลกน่ากลัว นี้เป็นภาษาสัตว์ ซึ่งผู้ใดได้รู้และเข้าใจภาษาของมันแล้ว ก็จะทำให้ได้รู้อะไรแปลก ๆ ขึ้นมาก
    และในบริเวณนั้นมีลิงอยู่ฝูงหนึ่งที่ไต่ยั้วเยี้ยอยู่ตามข้าง ๆ ถ้ำ บางครั้งพวกมันจะหายไป เพราะไปเที่ยวหากินตามที่ไกล ครั้นพอเวลาเย็นมันก็จะกลับมาอยู่ข้างถ้ำ ต่างก็สนทนากันทุกวัน บ้างก็ทะเลาะกัน บางทีก็สัพยอกหยอกกันตามภาษาของมัน ท่านอาจารย์มั่นฯ ได้เล่าให้พวกเราฟังว่า
    น่าขำ บางตัวมันจะว่า มึงได้อะไรมาไม่แบ่งกู กูได้มาก็ยังแบ่งให้มึง บางทีไปเจอลูกผลไม้อะไรที่อร่อยในลูกเดียวกัน.มันก็ต้องยื้อแย่งกันจนต้องกัดกัน ตัวหน้าหรือจ่าฝูงต้องมาห้าม บางทีเขาชอบพอกันระหว่างตัวเมียกับตัวผู้ มันก็ว่า ฉันชอบเธอ อะไรทำนองนั้น แต่ที่ดีที่สุดนั้นคือเขาจะมีการยำเกรงหัวหน้ากันมาก เชื่อกันจริงๆ พอหัวหน้าให้สัญญาณมันจะต้องเงียบ ให้สัญญาณหากินกันได้ ก็รีบไปหากิน ให้สัญญาณกลับก็จะกลับกันทันที
    มีอยู่สี่ห้าตัวซึ่งเป็นลิงชั้นหัวหน้า พากันมานั่งอยู่บนก้อนหินก้อนหนึ่งชำเลืองคอยดูท่านอาจารย์อยู่ตลอดเวลา แต่ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านก็มิได้เอาใจใส่ แล้วมันก็สนทนากันว่า ฤๅษีนี้ดีมากไม่เหมือนฤๅษีองค์ก่อนๆ ฤๅษีองค์ก่อนๆ นั้น บางทีก็ขว้างปาเรา เหมือนกับจะกินเรา และทำผิดทำเนียมของฤๅษี ไม่ทำความเพียรเหมือนฤๅษีเราองค์นี้นั่นเองถึงได้ต้องตายกันไปจนหมด เราเข้าใจว่าฤๅษีองค์นี้คงไม่ตายแน่เพราะฤๅษีองค์นี้ร่างกายท่านผ่องใสมาก
    ท่านอาจารย์ท่านได้ยินพวกมันพูดกันโดยตลอด โดยที่ท่านรู้และเข้าใจภาษาสัตว์ ท่านก็นึกในใจว่า
    พวกสัตว์เดียรัจฉานแท้ๆ มันก็ยังรู้อะไรๆ ดีเหมือนกัน ไม่ใช่จะมาเพียงแต่ส่งเสียงร้องกันเจี๊ยก ๆ จ๊ากๆ แต่มันก็มีความหมายเป็นอย่างยิ่ง ดูแต่เราฟังภาษาแขกภาษาจีน ภาษาฝรั่งเถอะ ถ้าเราไม่เข้าใจก็จะไม่รู้เรื่องอะไร คือไม่ผิดอะไรกับที่เราฟังอึ่งอ่างมันร้อง พวกนกหนูปูปีกมันส่งเสียงร้อง และเราก็จะไม่รู้ว่าเขาพูดอะไรกัน แต่ถ้าใครได้เรียนตามภาษานั้น ๆ ก็จะรู้ได้ทันทีว่า เขาพูดอะไรกัน
    ในการผ่องใสแห่งจิตที่ได้รับในถ้ำสาริกา จังหวัดนครนายก ของท่านพระอาจารย์มั่น ฯ จึงเป็นที่พอใจของท่าน ที่ได้เข้าถึงธรรมอันละเอียดทั้งฌานทั้งญาณ ทำให้ท่านแน่ใจถึงความรู้ของท่านอย่างแท้จริง ครั้นท่านได้บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ ณ ที่นี้ จวบใกล้จะเข้าพรรษาแล้ว ท่านจึงได้ออกเดินธุดงค์ต่อไป ผ่านจังหวัดสระบุรี ได้ไปถึงจังหวัดลพบุรี และได้พักอยู่ที่ถ้ำสิงห์โต เขาช่องลม (ปัจจุบันนี้เรียกเขาพระงาม ) ปีนั้นเป็นปี พ.ศ. ๒๔๔๖
    ขณะที่ท่านพระอาจารย์มั่นฯ ไปพักอยู่สถานที่นั้นเป็นที่สงบสงัดเงียบยิ่งนัก ท่านได้พักเพื่อบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่นั่นหลายวัน และในขณะที่ท่านอยู่ ถ้ำเขาช่องลมนั้นท่านบำเพ็ญความเพียร หวนระลึกถึงความเป็นจริงที่ท่านได้ปรากฏแล้วให้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น ท่านได้ระลึกว่า
    สาวกของพระพุทธเจ้า.จะต้องถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นมูลเหตุ ถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นแบบฉบับ และถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่อาศัย
    โดยนัยนี้ท่านก็ได้รู้ขึ้นภายในสมาธิ คำว่าถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นมูลเหตุนั้น ได้แก่การที่จะปฏิบัติให้เป็นไปเพื่อความถูกต้อง หรือต้องการความจริงแท้ ต้องดูความจริงอันเป็นมูลเหตุที่ทำให้พระพุทธองค์ได้ออกบรรพชาในเบื้องต้น ซึ่งพระองค์ได้เสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง นับตั้งแต่ราชบัลลังก์ พระมเหสี ราชสมบัติ แม้ที่สุดพระเกศา การเสียสละเช่นความสุขอันเป็นไปด้วยราชสมบัตินั้น พระพุทธองค์มีผู้คนคอยยกย่องสรรเสริญ คอยปฏิบัติวัฏฐาก แล้วได้เสียสละมานอนกับดินกินกับหญ้าใต้โคนต้นไม้ ถึงกับอดอาหารเป็นต้น การเสียสละเหล่านี้เพื่อประโยชน์อะไร เพื่อให้ถึงซึ่งวิโมกขธรรม คือธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นจากการ เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย และเมื่อพระองค์จะได้ตรัสรู้ ก็ทรงนั่งสมาธิใต้ร่มไม้ อันเป็นสถานที่สงบสงัด และได้ทรงพิจารณาซึ่งความจริงคือ อริยสัจ ๔ นั้น นี้เป็นมูลเหตุอันเป็นเบื้องแรกของพระองค์ สาวกผู้ที่จะเจริญตามรอยพระยุคลบาทนั้น จำเป็นที่จะต้องระลึกถึงความเป็นจริงของพระพุทธองค์ในข้อนี้ นำมาเป็นสิ่งพิสูจน์ปฏิปทาของตนที่กำลังดำเนินอยู่ว่า ในการปฏิบัติหรือการบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา พวกเราได้พากันถือเอาต้นเหตุให้พึงระลึกถึงความจริงของตนที่ว่าได้เสียสละโดยความเป็นจริงหรือไม่ เพราะถ้าไม่ถือเอาความจริงตามปฏิปทาของพระพุทธองค์ในข้อนี้ ก็จะเรียกได้ว่า ไม่ถือเอาพระองค์เป็นมูลเหตุ คือบางหมู่บางเหล่าถือการปฏิบัติเพียงแต่เป็นโล่ห์บังหน้า แล้วก็มีเบื้องหลังที่ไม่มีการเสียสละหรือทำไปอย่างมีการยุ่งยากพัวพัน จะสละก็สละไม่จริง ซึ่งบางทีแม้แต่เป็นบรรพชิต แล้วก็ยังมีจิตใจโลภโมโทสัน ไม่สละแม้แต่อารมณ์ ยังจะถือว่าข้าพเจ้ามียศถาบรรดาศักดิ์อะไรเทือกนั้น
    บางทีการอยู่ป่าเอามาเพียงเพื่อเป็นเลศบางประการ ทำเป็นว่าเรานี้อยู่ป่าอยู่เขา เหมือนจะออกวิเวกให้เป็นที่บำเพ็ญความสงบ แต่กลับเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความห่วงใยอาลัย ยุ่งยากด้วยการก่อสร้าง สะสมด้วยเครื่องกังวลนานับประการ นี้ไม่ได้ถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นมูลเหตุ
    ขณะที่ท่านอาจารย์มั่นฯ กำลังเกิดความสว่างผ่องใส อันเป็นภายในนั้น ท่านพยายามพิจารณาหาความจริง เพื่อเป็นแนวทางในอันที่จะปฏิบัติตัวของท่านให้ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมที่แท้จริง และจะได้แนะนำให้คนอื่นทำให้ถูกทางต่อไป ท่านจึงได้พิจารณาต่อไปถึงคำว่า
    พระพุทธองค์ตรัสว่า ให้เอาเราเป็นเนติแบบฉบับ
    ท่านได้คำนึงว่า พระพุทธองค์ได้ทรงปฏิบัติตัวของพระองค์ให้เป็นแบบอย่างจริง ๆ มิใช่เพียงทรงสอนคนอื่นแล้วพระองค์ไม่ทรงปฏิบัติ เช่นตอนแรกหลังจากตรัสรู้แล้ว จะทรงรับข้าวมธุปายาสจาก ตปุสสะ และ ภัลลิกะ ก็ทรงหาบาตรเพื่อรับ และพระองค์ก็ทรงทำพุทธกิจ
    บุพพณฺเห บิณฺฑบาตญฺจ รุ่งเช้าพระองค์เสด็จไปบิณฑบาต
    สายณฺเห ธมฺมเทสนํ ตอนป่ายพระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดพุทธบริษัท คืออุบาสกอุบาสิกา
    ปโทเส ภิกฺขุ โอวาทํ พอพลบค่ำพระองค์ก็ทรงประทานโอวาทแก่พระภิกษุและสามเณร
    อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหานํ ตอนกลางคืนทรงแก้ปัญหาเทวดาทั้งหลาย
    ปจฺจุสฺเสฺว คเตกาเล ภพฺพา ภพฺเพ วิโลกานํ ในเวลาใกล้รุ่งพระพุทธองค์ก็ทรงตรวจดูว่า สัตว์โลกจะมีผู้ใดบ้างที่มีวาสนาบารมีอันจะพึงได้รับพระธรรมเทศนา พระองค์ทรงใคร่ครวญแล้วทรงทราบว่า ผู้ใดสมควรจะได้รับผลแห่งธรรม พระองค์ก็จะเสด็จไปโปรดให้เขาเหล่านั้นได้รับผลแห่งธรรม
    นอกจากนั้นพระองค์จะทรงปฏิบัติตามธรรมวินัยที่พระองค์ทรงบัญญัติ เช่น การทรงจีวร การฉันเฉพาะในบาตร แม้กระทั่งจวนจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระองค์ก็ยังทรงอุ้มบาตรไว้ตลอดเวลา
    นับแต่วันที่พระองค์ตรัสรู้แล้ว พระองค์จะทรงเปี่ยมพระทัยถึงความมีพระเมตตาต่อมนุษย์ทุกถ้วนหน้า ไม่เลือกชั้นวรรณะ ทรงกระทำประโยชน์ให้แก่เขาทั้งหลาย โดยมิได้คิดเพื่อจะเอาสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นเครื่องตอบแทนเลย ทรงเสียสละอย่างจริงใจแท้ แม้บางครั้งพระองค์จะทรงเหน็ดเหนื่อย ด้วยการบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างหนัก แต่พระองค์ก็ทรงกระทำอย่างที่ไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยนั้นแต่ประการใด
    ท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านได้พิจารณาถึงเนติแบบฉบับ รำพึงถึงความจริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นแล้ว ก็ได้คำนึงต่อไปอีก
    การที่ให้ถือเอาพระพุทธองค์เป็นแบบฉบับนี้ ย่อมเป็นประการสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าสาวกไม่ถือเอาพระพุทธองค์เป็นแบบอย่างแล้ว จะเป็นเพียงอาศัยการอยู่ในพุทธศาสนา เพียงเพื่อหาความสุขอันไม่ถูกทาง เช่นไม่มีเมตตากรุณา ไม่มีการเสียสละ แม้แต่จะปฏิบัติธรรมวินัย ถึงจะเป็นบรรพชิตแล้วก็ยังไม่ยอมเสียสละ เอาแต่ความโลภ ความโกรธ ความหลง เอาแต่ความเพลินเพลินในกามคุณ หาอุบายวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งความโลภ โกรธ หลง แม้แต่การเที่ยวไปบิณฑบาตก็หาว่าเสียเกียรติ หรือว่าการแสดงธรรม ก็ต้องมีกัณฑ์เทศน์เป็นเครื่องตอบแทน จะบำเพ็ญศาสนกิจ ก็ต้องหวังปัจจัยลาภ ในที่สุดก็ลืมความเป็นสมณะเสียสิ้น นี้คือไม่ถือเอาพระพุทธองค์เป็นเนติแบบฉบับ
    ท่านอาจารย์มั่นฯ พยายามใคร่ครวญในข้อนี้มากที่สุด เพราะท่านมาทราบแน่แท้แก่ใจแล้วว่า การบำเพ็ญกัมมัฏฐานในสมัยนั้นได้เสื่อมลงมาก ไม่ใคร่จะตรงความจริงทั้งภายในทั้งภายนอก ท่านมาคำนึงว่า การปฏิบัติจิตนี้จะต้องประกอบพร้อมทั้งภายในภายนอก เช่นภายนอก การรักษาไว้ซึ่งพระวินัยน้อยใหญ่นี้สำคัญยิ่ง ถ้าผิดพระวินัยแม้แต่อาบัตินิดเดียวก็จะทำให้จิตละเอียดไม่ได้.เช่นการปฏิบัติเรื่องของบาตร ถ้าล้างแล้วไม่เช็ดเก็บไว้ในที่สมควรก็จะเป็นอาบัติทุกกฎ หรือการฉันจุ๊บ ๆ จั๊บ ๆ เป็นอาบัติทุกกฎ
    อาบัติเล็กน้อยจะล่วงละเมิดไปไม่ได้เลย ต้องรักษาให้เรียบร้อยจริง ๆ นอกจากอาบัติแล้วก็มีการรักษาธุดงค์ ข้อวัตรต่างๆ เช่นฉันหนเดียว การฉันในบาตร การบิณฑบาต เป็นต้น อันเป็นการนำไปสู่การขัดเกลากิเลสหยาบ ๆ นั้น ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านพิจารณาว่าก็เป็นแบบฉบับที่พระบรมศาสดาได้กระทำเป็นแบบฉบับมาแล้ว ถ้าหากว่าผู้ต้องการความสงบ ความก้าวหน้าแห่งการบำเพ็ญจิตแล้วจะละเลยเสียไม่ได้
    และอีกประการคือรักษาวัตรต่าง ๆ จากวัตรหลายประการเช่น อุปัชฌายวัตร อาจริยวัตร อาคันตุกวัตร เวจจกุฎีวัตร เสนาสนวัตร ภัตตาวัตร และเสขิยวัตร เหล่านี้นั้นย่อมเป็นปัจจัยแก่การปฏิบัติจิตทั้งนั้น ซึ่งถือเป็นการปฏิบัติเพื่อศีลวิสุทธิ์ และจิตวิสุทธิ์ ท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านปรารภในใจของท่านว่า บุคคลผู้เป็นสาวกของพระพุทธองค์นี้ ถ้าไม่ถือเอาพระพุทธองค์เป็นแบบฉบับแล้วจะไม่สามารถนำหมู่คณะไปสู่ความเจริญได้ เพราะพระพุทธองค์ได้ทรงเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ ทิ้งความจริงอันเป็นแบบฉบับที่ดีไว้แล้วเพื่อให้สาวกทั้งหลายได้เอาเป็นตัวอย่าง และตัวอย่างอันนี้ได้รับความเจริญยั่งยืนนานมาแล้ว เพราะเหตุแห่งแบบอย่างที่พระพุทธองค์ได้ทรงบำเพ็ญมานั้นเอง ที่ทำให้พระพุทธศาสนามั่นคงถาวรเจริญมาแล้ว การนำเอาพระพุทธองค์เป็นเนติแบบฉบับจึงเป็นการนำความเจริญได้แน่แท้แก่ตนและบุคคลอื่น ท่านได้คำนึงถึงข้อต่อไป ที่พระพุทธองค์ตรัสว่า
    ให้เอาเราเป็นที่พึ่งอาศัย คือว่าผู้ที่เป็นพุทธบริษัทนั้นควรจะได้รู้ข้อเท็จจริงในที่พึ่ง พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงว่า
    พาหุ เว สรณํยนฺติ ปพฺพตานิ วนานิ จ อารามรุกฺขเจตยานิ มนุสฺสา ภยตชฺชิตา
    เนตํ โข สรณํ เขมํ เนตํ สรณมุตฺตมํ เนตํ สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ
    โย. จ พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณํ คโต จตฺตาริ อริยสจฺจานิ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ
    ทุกขํ ทุกฺขสมุปฺปาทํ ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ ทุกฺขูปสมคามินํ
    เอตํ โข สรณํ เขมํ เอตํ สรณมุตฺตมํ เอตํ สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺข ปมุจฺจติ
    มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมากถูกภัยคุกคามแล้ว พากันไปถือภูเขา ป่า อารามและต้นไม้ที่เป็นเจดีย์ ว่าเป็นที่พึ่ง
    นั้นไม่ใช่ที่พึ่งอันเกษม นั้นไม่ใช่ที่พึ่งอันอุดม พวกเขาพากันพึ่งสิ่งเหล่านี้แล้ว ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงไปได้
    ส่วนผู้ใดมาถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง มาเห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบ ก้าวล่วงทุกข์ด้วยมรรค ๘
    นี่แหละเป็นที่พึ่งอันเกษม นี่แหละเป็นที่พึ่งอันอุดม พวกเขาอาศัยที่พึ่งนี้ ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
    การที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไม่ให้ถือเอาสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง นอกจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็เพราะว่าการถือเอาสิ่งอื่นมาเป็นที่พึ่งนั้น เป็นเรื่องงมงาย เช่น ต้นไม้ใหญ่ ตั้งศาลพระภูมิ ถือว่าผีเจ้าเข้าทรง เหล่านี้นั้นเป็นเรื่องของความไม่แน่ใจในพระองค์ ซึ่งท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านได้พิจารณาเห็นว่า การเชื่อเช่นนั้น จะทำให้ผิดการดำเนินสู่จุดที่หมายแห่งความจริงในพระพุทธศาสนา แม้ในการบำเพ็ญจิตในเบื้องต้นก็จะทำให้ไขว้เขว เพราะขาดองค์คุณคือศรัทธา คนธรรมดาสามัญที่ยังไม่ได้บวชก็พอทำเนา แต่ผู้ที่บวชแล้ว เช่นพระภิกษุสงฆ์นี้ ย่อมจะต้องแสดงออกถึงความเชื่อมั่นในพระพุทธองค์ จึงได้เข้ามาบรรพชาอุปสมบท แต่พระภิกษุสงฆ์บางองค์กลับมาเป็นเสียเอง เช่นพาเขาไปตั้งศาลพระภูมิ หาวันตั้งศาลพระภูมิ นี้เป็นการแสดงถึงความไม่แน่ใจของท่านต่อองค์พระพุทธเจ้า ผู้เป็นบรมศาสดาของท่านเอง ท่านเหล่านั้นหาได้คิดไม่ว่า การกระทำเช่นนั้นคือการทรยศ อาศัยผ้ากาสาวพัสตร์ โดยการอยู่ได้ด้วยปัจจัยบริโภค ไม่อดอยากปากแห้ง แต่กลับถือเอาศาสนาคร่ำครึที่พระพุทธองค์ได้ทรงตำหนิแล้ว นำเอามาใช้ ทั้ง ๆ ที่ตนเองก็ออกปากว่า ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต แต่เหตุไฉนเล่า จึงไปสนับสนุนการนับถือศาสนาอื่น อันที่เรียกว่าพระภูมิบ้าง อะไรอื่นบ้าง นั้นคือการทรยศต่อพระพุทธศาสนา ท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านว่า ข้อนี้สำคัญ เพราะจะเป็นเบื้องต้นของการจะดำเนินไปหาที่สุดแห่งทุกข์ เพราะทุก ๆ คนที่เป็นศาสนิกชนต้องกล่าวว่า
    ข้าพเจ้าถึงซึ่งพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
    แต่เขาไฉนจึงไปถือเอาผีป่า พระภูมิ ซึ่งมันหาตัวจริงมิได้เป็นที่พึ่ง เมื่อขั้นต้นทำไม่ได้แล้วต่อไปจะทำอะไรให้ยิ่งใหญ่ขึ้นไปกว่านั้นได้ เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย ทางฝ่ายพระสงฆ์นั้นถือว่าเป็นผู้มีความเชื่อมั่นใจในพระพุทธองค์อย่างแน่นแฟ้นแล้ว จึงได้ยอมเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง ออกจากความเป็นฆราวาสมาทรงไว้ซึ่งผ้ากาสาวพัตร์ จึงต้องไม่เป็นผู้ทรยศต่อองค์พระบรมศาสดา ท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านว่า
    คำว่าศรัทธา คือความเชื่อนี้ จึงถือว่าเป็นรากฐานที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และเช่นท่านพระอริยบุคคลชั้นต้น คือพระโสดาบัน ท่านเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยศรัทธา มีข้ออันท่านพระโสดาบันละได้อันเนื่องมาจากมรรคนั้นมี ๓ ประการคือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ความเห็นถือว่าเป็นตัวตน ความลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความลูบคลำในศีล คืองมงายในสิ่งไม่ควรจะยึดถือ เช่นนับถือภูต-ผี-พระภูมิเป็นต้น นี่เป็นสิ่งแสดงว่าการจะเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าได้อย่างแท้จริงนั้น ต้องเริ่มต้นด้วยถือเอาพระพุทธองค์เป็นที่พึ่ง ความจริงแล้วการนับถือพระพุทธองค์นั้นก็คือต้องการให้เอาพระพุทธองค์เป็นมูลเหตุ และเป็นแบบฉบับนั้นเอง แม้ว่าเราจะยังไม่เป็นอริยโสดาก็ตาม แต่เราก็ต้องปฏิบัติเพื่อความเป็นอริยศาสดาเป็นต้น ความที่เป็นบุคคลอ้างตนเป็นอุบาสกอุบาสิกา พระภิกษุสามเณร แต่พากันหลงเชื่องมงาย.เช่นเชื่อ ศาลพระภูมิ เชื่อผีเจ้าเข้าทรง พระภูมิเจ้าที่ อะไรอย่างนี้ จะอ้างตนว่าเป็นภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา นั้นดูเป็นการไม่สมควรเลย
    ท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านว่า
    เราต้องการสอนคนให้เข้าถึงอริยสัจธรรม ถึงความเป็นอริยบุคคล ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องย้ำถึงความจริงข้อนี้ให้หนักที่สุด เพราะถ้าไม่เข้าใจถึงความจริงแห่งความเชื่อนี้แล้ว จะเป็นการกั้นหนทางที่จะเข้าสู่ความจริงเป็นอริยเสีย เราทุกคนก็พยายามอย่างยิ่งที่จะปรารถนาพระนิพพาน แม้การบำเพ็ญการกุศลต่าง ๆ ก็กล่าวกันว่า นิพพานปจโยโหตุ ขอให้เป็นปัจจัยแห่งพระนิพพานเถิด แม้ว่าเราจะพึงทราบว่าผู้ใดผู้หนึ่ง ทรงความเป็นอริยบุคคล เราก็จะให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง นี้เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า คุณธรรมอันสูง คือความเป็นอริยนี้ เป็นยอดปรารถนาของบรรดาพุทธศาสนิกชน
    ก็แต่ว่าเบื้องต้นในการดำเนินไปสู่ความเป็นอริยนี้ จำเป็นที่จะต้องมองดูความจริงข้อนี้คือ
    ให้ถือเอาเราเป็นที่พึ่งอาศัย อันเป็นพระดำรัสของพระพุทธเจ้า
    ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านได้เน้นหนักในข้อที่ว่า ต้องไม่ถือสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งนอกจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี้ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานในการปฏิบัติเพื่อความก้าวหน้า ซึ่งท่านได้คำนึงความข้อนี้ว่า ต้องให้ผู้ที่จะดำเนินจิตตามเรา เราจะต้องแนะนำให้เห็นจริงในข้อนี้เสียก่อน จึงจะสอบความจริงในชั้นต่อไป เป็นอันได้ความละเอียดแน่ชัดพร้อมกับความสว่างไสวภายในของท่านในข้อความ ๓ ประการ แห่งพระดำรัสของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือ
    ๑ ให้ถือเราเป็นมูลเหตุ ๒ ให้ถือเราเป็นเนติแบบฉบับ ๓ ให้ถือเราเป็นที่พึ่งอาศัย
    เมื่อรุ่งเช้าวันนั้นเป็นวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ เป็นวันปลอดโปร่งที่สุดแล้ว ท่านคงบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ตามปกติ.อยู่มาวันหนึ่ง ท่านนั่งกำหนดพิจารณาความละเอียดอยู่ในถ้ำสิงห์โตนั้น ได้ระลึกไปถึงท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์) ณ ที่วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ว่าท่านกำลังทำอะไรอยู่ที่วัดนั้น ก็ปรากฏว่าท่านเจ้าคุณอุบาลี ฯ ท่านกำลังนั่งสมาธิอยู่ที่ศาลาเหลือง บนธรรมาสน์ ในเวลานั้นเป็นเวลาราว ๒๓.๐๐ น.เศษ นั่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และกำลังพิจารณาถึงปฏิจจสมุปบาทว่า อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพ ภพเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ เมื่อเป็นชาติก็ต้องมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ และการพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ นี้เหตุมาจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย และเมื่อยังมีอวิชชาอยู่ตราบใด ก็จะต้องมี เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ตราบนั้น
    ท่านเจ้าคุณอุบาลี ฯ ท่านก็ได้คำนึงถึงพระพุทธเจ้า ที่ทรงพิจารณาถึง ปฏิจจสมุปบาท ว่าพระองค์ท่านได้ทวนกระแสกลับ ดูตัวอวิชชา ท่านจึงได้เริ่มทวนกระแสว่า เพราะเหตุใดท่านจึงต้องแก่ ตาย โศกเศร้าเสียใจ ร้องไห้รำพัน คับแค้นแน่นใจ เพราะความพลัดพรากจากของชอบใจ พลาดหวัง ท่านได้พิจารณาถึงสิ่งเหล่านี้ เพราะได้เกิดมาเป็นอัตภาพแห่งมนุษย์ จะต้องประสบความเป็นเช่นนี้ทุกคน อัตภาพคือความเกิดนั้นมาจากอะไร ก็มาจากภพ
    คำว่าภพก็คือสัตว์ทั้งหลายที่พึงอาศัยอยู่ ขณะนี้เรากำลังอาศัยอยู่ในภพ ซึ่งมันเป็นผลมาจากอะไร ก็เป็นผลมาจากอุปทาน คือความเข้าไปยึดมั่นถือมั่น เพราะจิตเศร้าหมองติดพันอยู่กับสิ่งใด ด้วยเหตุแห่งการยึดมั่น จิตก็จะไปก่อกำเนิด ณ ที่นั้น เช่นบุคคลที่ทำจิตไปในทางฌาน เพ่งอยู่ในความละเอียดคือไม่มีรูป ก็จะไปเกิดในภพเป็นอรูปภพ เพ่งอยู่ในความละเอียดในรูป ก็จะไปเกิดในภพคือรูปภพ และถ้าได้ฝึกจิตเป็นธรรมดา ก็จะไปเกิดในกามภพ เช่น มนุษย์ สัตว์ดิรัจฉาน เปรต นรก เป็นต้น สุดแล้วแต่จิต ไปประหวัดกับอะไร ก็จะไปถือกำเนิดในสิ่งนั้น สุดแล้วแต่กรรมของคนที่จะประหวัดเห็นดีไป
    ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ท่านก็พิจารณาไปก็ได้ถอยกลับมาจากที่ว่า ก่อนอุปาทานนี้มาจากอะไร คือมาจากตัณหา คือความทะเยอทะยาน อันความทะเยอทะยานนี้ คือกามตัณหา
    ความทะเยอทะยานในกามคุณ คือความใคร่ในรูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นต้น
    ความทะเยอทะยานในภวะ คือความมีความเป็น ต้องการอยาก รูปสวยรวยทรัพย์ ต้องการอยากเป็นคุณหญิงคุณนาย ต้องการอยากมียศถาบรรดาศักดิ์
    ทะเยอทะยานในวิภวะ คือความไม่อยากมีไม่อยากเป็น คือไม่อยากมีความทุกข์ ความอดอยากปากแห้ง ไม่อยากเสื่อมจากยศถาบรรดาศักดิ์ที่ตนกำลังเฟื่องฟูอยู่
    ความทะเยอทะยานเหล่านี้ ก็มาจากเวทนา คือความเสวยทุกข์ เสวยสุข ทุกข์ที่เกิดเป็นมีขึ้นมาแล้ว และได้รับผลอยู่ทุกกาลเวลาแห่งความเกิดขึ้น ได้รับอันเนื่องมาจากความได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ ขณะที่เสวยทุกข์นั้น ก็ต้องการแต่ความสุขเป็นต้น แต่ผลหาได้มีแต่ความสุขไม่ ต้องมีทุกข์ด้วย
    ความเสวยสุขเสวยทุกข์นี้เนื่องมาจากอายตนะ คือมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เช่นมีตาไปเห็นรูป ก็เกิดความสุขทุกข์ หูได้ยินเสียง จมูกได้ดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องสัมผัส ใจกระทบอารมณ์ เกิดความสุขทุกข์ ก็นับเนื่องมาจากนามรูป เพราะนามกับรูปที่ก่อกำเนิด เกิดขึ้นมาเป็นคน คนเรานี้มีนามกับรูปจึงเป็นตัวขึ้นมาได้
    ท่านเจ้าคุณอุบาลี ฯ ท่านได้พิจารณาถอยร่นปฏิจสมุปบาท มาจนถึงรูปนามนี้แล้ว ท่านเกิดความสงสัยว่า ถอยจากรูปนามยังมีวิญญาณและสังขาร แล้วจึงขึ้นต้นด้วยอวิชชา และวิญญาณ สังขารนี้ก็มีแล้วในนามรูป เหตุไฉน จึงมามีสังขารและวิญญาณ โดยเฉพาะของตัวมันอีก เมื่อท่านสงลัยแล้วก็ได้เลิกพิจารณาในวันนั้น.
    อยู่มาวันหนึ่งท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ก็ได้มาเที่ยวที่เขาพระงาม ลพบุรี เพราะโดยปรกติแล้วท่านจะไปที่นี่บ่อยๆ ซึ่งท่านชอบสถานที่นี้มาก จนภายหลังท่านได้สร้างพระใหญ่ หน้าตักกว้างถึง ๑๒ วากว่า และวันนั้นเป็นวันที่ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ได้มาที่เขาพระงามตามปกติ ซึ่งขณะนั้นท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็ได้พักบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ ณ ที่นั้นเหมือนกัน เมื่อได้ทราบว่าท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ มา ท่านก็ไปนมัสการและได้สนทนาปราศรัยตามปกติ เมื่อได้สนทนาเรื่องอื่นไปพอสมควรแล้ว ท่านอาจารย์มั่นฯ ก็ได้ถามขึ้นว่า
    เมื่อคืนวันที่ ๑๐ ค่ำที่แล้ว คือเดือน. ๘ นั้น ท่านเจ้าคุณนั่งสมาธิอยู่ที่ศาลาเหลือง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ ๒๓.๐๐ น. เศษ ได้พิจารณาถึงปฏิจสมุปบาท หวนกลับไปกลับมา แล้วเกิดความสงสัยขึ้นมาตอนหนึ่งใช่ไหมครับ
    ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ เมื่อได้ฟังคำถามเช่นนั้นถึงกับตกตะลึง ไม่นึกเลยว่าท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านจะมาล่วงรู้ถึงการพิจารณาของเราที่ได้พิจารณาด้วยตัวเองโดยมิได้บอกให้ใครรู้เลย
    ท่านจ้าคุณอุบาลีฯ จึงพูดถามอาจารย์มั่น ฯ ว่า
    ก็ท่านอาจารย์ว่าอย่างไรเล่า ที่ผมสงสัย อธิบายให้ผมฟังบ้างได้ไหม ?
    ท่านอาจารย์มั่นจึงตอบว่า ได้. แล้วท่านก็ได้อธิบายถวายท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ว่า
    ปฏิจสมุปบาท ข้อที่ว่าวิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูปนั้นแล ในนามรูปก็มีทั้งวิญญาณและสังขาร ซึ่งมันจะมีการแตกต่างกันดังนี้ คือ
    สังขาร วิญญาณ ที่ต่อจากอวิชานั้น เรียกว่าสังขารกรรม วิญญาณกรรม แตกต่างกับสังขาร-วิญญาณ-ของนามรูป
    สังขารวิญญาณของนามรูปนั้น เป็นสังขารวิญญาณวิบาก เนื่องจากเป็นการปรุงแต่งที่สำเร็จรูปแล้ว สังขารกรรม วิญญาณกรรม เป็นการปรุงแต่งที่กำลังทำอยู่ คือว่า สังขารกรรม วิญญาณกรรม เป็นภาวะที่ไม่เป็นอิสระอยู่ภายใต้อำนาจของกรรม มี (อวิชชา) เป็นหางเรือใหญ่ อาศัยสังขารการปรุงแต่งอาศัย วิญญาณความรู้สึกในขณะที่กำลังปรับปรุงภพ อันจะเป็นแนวทางแห่งการก่อให้เกิด ซึ่งในขณะนั้นจิตเป็นประธานอาศัยสังขารปรุงแต่ง อาศัยวิญญาณความรู้สึก ในขณะที่กำลังปรุงภพ อันจะต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของสังขารกรรม วิญญาณกรรม ทั้ง ๒ นั้นสืบเนื่องมาจากจิต ณ ที่นี้จึงแล้วแต่กรรมจะจำแนกไป คือให้สังขารและวิญญาณนี้เห็นดีไป เมื่อเห็นดีไปอย่างไร จิตก็จะไปตั้งก่อให้เกิดไปตามนั้นเพราะที่นี้จึงเป็นสถานที่กำลังปรุงแต่งภพ ถ้าพิจารณาแล้วจะรู้สึกมันละเอียด และพึงจะรู้จริงได้ต่อเมื่อจิตได้ดำเนินตามอริยสัจจ และเป็นวิปัสสนาอันแก่กล้าแล้วนั้นทีเดียว ที่กระผมได้อธิบายมานี้เป็นสักแต่แนวทางเท่านั้น ตามความเป็นจริงต้องมีตาภายในคือกระแสจิต กระแสธรรมเท่านั้น ที่จะเขาไปรู้จริงได้
    เมื่อท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ได้ฟังดังนั้นก็ถึงกับอุทานขึ้นว่า
    อ้อ เราเข้าใจแล้ว ท่านอาจารย์รู้ใจผมได้ดีมาก และถูกต้องทุกประการ และแก้สงสัยให้ผมได้ราวกับปลิดทิ้ง ผมพยายามพิจารณาเรื่องนี้มานาน แต่ยังไม่แจ่มแจ้ง พึ่งจะแจ่มแจ้งในเวลานี้เอง
    หลังจากนั้นท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ก็ได้เดินทางกลับไปกรุงเทพฯ.อยู่ที่วัดบรมนิวาสนั้น ท่านเจ้าคุณก็ได้ประกาศความดีของท่านอาจารย์มั่นฯ ให้แก่พระภิกษุสามเณรทั้งหลายฟังว่า
    ท่านอาจารย์มั่นฯ เป็นอาจารย์กัมมัฏฐานที่มีความสามารถมากที่สุดในยุคนี้ ถ้าใครต้องการจะศึกษาธรรมปฏิบัติแล้ว จงไปศึกษากับท่านอาจารย์มั่น ฯ เถิด เธอทั้งหลายจะได้ความรู้จากธรรมปฏิบัติอันลึกซึ้งจากท่านอาจารย์มั่น ฯ
    ท่านเจ้าคุณอุบาลีได้กล่าวเช่นนี้กับพระภิกษุสงฆ์สามเณรทั้งหลายอยู่เสมอๆ ทำให้พระภิกษุสามเณรผู้ใคร่การปฏิบัติธรรม สนใจในท่านอาจารย์มั่นฯ มากขึ้น ต่างก็ต้องการจะไปศึกษาปฏิบัติธรรมกับท่าน
    ในปีนั้นเป็น พ.ศ. ๒๔๕๗ ท่านก็ได้รับการขอร้องจากท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ให้จำพรรษาที่กรุงเทพ ฯ ท่านได้เลือกเอาวัดสระปทุมเป็นที่จำพรรษา เพราะเป็นวัดที่สงบสงัดดี
    ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดสระปทุม ท่านก็พยายามมาที่วัดบรมนิวาสทุกๆ วันธรรมสวนะ ฟังท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ เทศน์ พอหลังจากฟังเทศน์แล้ว ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ก็จะให้เข้าไปหาท่านอยู่ ๒ ต่อ ๒ และขอศึกษาธรรมปฏิบัติกับท่านอาจารย์มั่นฯ ตลอดระยะเวลาพรรษา ในตอนนี้ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านเล่าว่า
    วัดสระปทุมมีอาจารย์สอนกัมมัฏฐานอยู่องค์หนึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงมาก ท่านสอบแบบอานาปานสติ คือให้ตั้งใจอยู่ที่ลมแล้วก็กำหนดตั้งไว้ เช่นครั้งแรกให้ตั้งอยู่ที่กระหม่อม เมื่อดีแล้วก็ลดลงมาที่หน้าผาก เมื่อดีแล้วก็ให้ตั้งอยู่ที่ปลายจมูก เมื่อดีแล้วก็ให้ตั้งอยู่ที่หน้าอก เมื่อดีแล้วก็ให้ตั้งอยู่ที่สะดือ กำหนดลม พร้อมกับบริกรรมว่า พุทโธๆ ให้นับพุทธ ๑-๒-๓-๔-๕-๖-๗-๘-๙-๑๐-๒๐-๓๐-๔๐-๕๐-๖๐-๗๐-๘๐-๙๐-๑๐๐ แล้วทวนกลับ ๑๐๐-๙๐-๘๐-๗๐-๖๐-๕๐-๔๐-๓๐-๒๐-๑๐-๔-๓-๒-๑ ทวนไปทวนมา ท่านได้สังเกตดู คนบางคนได้รับความเย็นใจมากพอสมควร นับว่าเป็นทางที่ให้เกิดความสงบได้ แต่ท่านเล่าว่ามันเป็นการเกินความจำเป็นที่จะกำหนดเช่นนั้น เพราะเมื่อเรามีความสงบแล้วก็ควรปล่อย แล้วรักษาแต่สติให้คงอยู่ไม่ต้องนับ แต่เมื่อท่านสังเกตดูเหตุการณ์แล้ว ท่านก็ไม่ว่าหรือตำหนิอะไรในที่นั้น แม้เขาจะทำอยู่เช่นนั้นก็ไม่เห็นบาปกรรมอะไร เป็นกุศลแก่เขาอย่างมากมายอยู่แล้ว เมื่อผู้ใดบำเพ็ญภาวนาก็เป็นเหตุ เป็นบ่อเกิดกุศลผลบุญอย่างที่บุคคลจะพึงกระทำได้ยาก การที่ท่านเดินไปวัดบรมนิวาสทุกวันพระนั้น แม้เส้นทางจากวัดสระปทุมดูเหมือนก็จะไกลมิใช่น้อยแต่กลับเป็นใกล้ เพราะขณะที่เดินไป ท่านภาวนาไปด้วย
    ในวันหนึ่งขณะที่ท่านกำลังเดินไปนั้น กำหนดจิตสงบลง ปรากฏว่าเหมือนกับแผ่นดินยุบลงไป แลดูไปทุกอย่างที่ไม่มีอะไรที่จะถือได้ว่าตัวตน เดินเหมือนกับชั่วอึดใจเดียวก็ถึงวัดบรมนิวาส
    ในวันนั้นเป็นเวลากลางวัน ขณะที่ท่านเดินออกจากวัดบรมนิวาสไปถึง ถนนหลวง ขณะที่กำลังเดินไปอยู่นั้น ท่านเล่าว่าเวลาจึงกำลังดูดดื่มในอรรถปฏิบัติมาก ทั้งเดินไปทั้งเจริญอสุภกัมมัฏฐานไปเรื่อย ๆ ขณะนั้นได้มองเห็นผู้หญิงแขกคนหนึ่งกำลังเดินอยู่ข้างหน้า ประเดี๋ยวเดียวผู้หญิงแขกคนนั้น ปรากฏว่ามีร่างกายอ้วนขึ้นทุกที นึกแปลกใจว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น แต่ก็ได้มองดูไปเรื่อย ๆ หนักเข้า มันมิใช่อ้วนเสียแล้วนั้นคือทั้งตัวกำลังพองเน่าขึ้นอืด อันจะให้เป็นของน่าเกลียดนั้นเอง พอมันขึ้นเต็มที่ของมันแล้วก็เปื่อยเน่า มีน้ำเลือดและน้ำหนองไหลเยิ้มไปทั้งตัว แล้วมีพวกหมู่หนอนชอนไชและแมลงวันไต่ตอมไปมา น่าเกลียดจริง ๆ ในที่สุดเลือดเนื้อและหนังเอ็นก็ได้เปื่อยเน่าย่อยยับไปหมด เหลือแต่โครงกระดูกติดต่อกันไว้เท่านั้น แล้วก็ได้เห็นโครงกระดูกนั้นเดินไปได้ จะปรากฏเป็นชายหรือหญิงก็หาไม่ จึงได้เกิดความอัศจรรย์เป็นอย่างมาก
    ทั้งนี้ก็เพราะท่านมิได้ตั้งใจที่จะพิจารณาให้ร่างกายนั้นเป็นอสุภอะไร เพียงเพียงมองดูธรรมดา ๆ เท่านั้นแต่มันก็สามารถเป็นไปได้ จึงได้นึกถึงประวัติของพระเถระองค์หนึ่งในครั้งพุทธกาล นัยว่าท่านกำหนดเอากายคตาสติเป็นอารมณ์เหมือนกัน
    วันหนึ่งขณะที่ท่านกำลังเดินอยู่นั้น สามีภรรยาคู่หนึ่งเกิดทะเลาะกัน ฝ่ายภรรยาก็หลบหน้าสามีไป ได้เดินทางผ่านมาพบกับพระเถระองค์นั้นเข้า เบื้องต้นหญิงคนนั้นก็ได้แสดงอาการยิ้มแย้มไปบ้าง พระเถระเมื่อมองไปเห็นฟันของหญิงคนนั้นเข้าแล้ว ได้ปรากฏเห็นเป็นร่างกระดูกไปทั้งตัว แล้วก็เห็นเป็นร่างกระดูกเดินได้ จึงมิได้รู้จักว่าคน ๆ นั้นเป็นหญิงหรือชาย
    ครั้นเมื่อสามีเขาตามมาพบพระเถระแล้วถามท่านว่า ได้พบผู้หญิงคนหนึ่งเดินผ่านมาทางนี้หรือไม่ ท่านจึงบอกเขาไปว่าได้เห็นแต่ร่างกระดูกร่างหนึ่งเดินผ่านไปแต่ไม่ทราบว่าเป็นหญิงหรือชาย
    ตั้งแต่วันนั้นต่อมาท่านจึงได้รู้เรื่องว่าการเจริญอสุภะ เมื่อเป็นไปแก่กล้าแล้ว สามารถเห็นเป็นอสุภะไปได้ทั้งนอกและใน จึงได้หมดความสงสัยในเรื่องนี้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
    ท่านอาจารย์มั่นฯท่านเล่าให้ฟังว่า
    ตามข้างทางจากวัดบรมนิวาสไปวัดสระปทุมในสมัยนั้น บนทุ่งนาบ้าง เป็นสวนบ้าง แม้แต่ที่วัดบรมนิวาสเอง ก็มีแต่หนามหวายเกิดอยู่เต็มบริเวณ
    ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ หลังจากท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้จำพรรษาที่กรุงเทพฯ ในปีนั้นแล้ว ท่านก็พิจารณาภายในพรรษานั้นว่า เราควรจะได้แนะนำสั่งสอนธรรมปฏิบัติที่เราจะได้รู้ ได้เห็นมา ซึ่งเป็นธรรมที่ยากนักจะรู้ได้ เราอุตส่าห์พยายามมาเป็นเวลานับสิบๆ ปี ควรจะได้แนะนำบรรดาผู้ที่ควรแก่การปฏิบัติให้ได้รู้และจะได้แนะนำกันต่อ ๆไป
    ครั้นเมื่อออกพรรษาแล้วท่านก็ได้ลาท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ กลับไปจังหวัดอุบล ฯ จำพรรษาที่วัดบูรพา ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ นั้น ท่านมีพรรษาได้ ๒๕ พรรษา ขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่นั้น ท่านก็พิจารณาว่า ใครหนอจะเป็นผู้ควรแก่การสั่งสอน
    ในขณะนั้นท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นครูสอนนักเรียนอยู่เหมือนกับครูอื่น ๆ เป็นครูที่สอนวิชาสามัญแก่นักเรียนเป็นเวลาหลายปีมาแล้ว ท่านอาจารย์สิงห์ ท่านได้ยินกิตติศัพท์ว่า ท่านอาจารย์มั่นฯ เป็นพระนักปฏิบัติที่เคร่งครัดมาก ก็ใคร่ที่จะได้ศึกษาธรรมปฏิบัติ ในวันหนึ่งหลังจากเลิกสอนนักเรียนแล้ว ท่านก็ได้ไปนมัสการท่านอาจารย์มั่นฯ ที่วัดบูรพา ขณะนั้นเป็นเวลา ๑ ทุ่มแล้ว เมื่อเข้าไปเห็นท่านอาจารย์มั่นฯ กำลังเดินจงกรมอยู่ ท่านก็รออยู่ครู่ใหญ่ จนท่านอาจารย์เลิกจากการเดินจงกรม เหลือบไปเห็นท่านอาจารย์สิงห์ซึ่งนั่งอยู่ที่โคนต้นมะม่วง ท่านจึงได้เรียกและพากันขึ้นไปบนกุฏิ หลังจากท่านอาจารย์สิงห์กราบแล้ว ท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็ได้พูดขึ้นว่า
    เราได้รอเธอมานานแล้ว ที่อยากจะพบและต้องการชักชวนให้ปฏิบัติธรรมด้วยกัน
    เมื่อได้ยินเช่นนั้น ท่านอาจารย์สิงห์ถึงกับตกตะลึง เพราะท่านได้ทราบจิตใจของท่านอาจารย์สิงห์มาก่อน เนื่องจากท่านอาจารย์ได้ตั้งใจมาหลายเวลาแล้วที่จะขอมาพบกับท่าน เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ปฏิบัติธรรมด้วย พอท่านอาจารย์สิงห์ฯ ได้ฟังเช่นนั้นก็รีบตอบท่านไว้ว่า
    กระผมอยากจะปฏิบัติธรรมกับท่านมานานแล้ว
    กล่าวจบท่านอาจารย์มั่น ฯ จึงได้อธิบายให้ฟังว่า
    การบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์นั้นจักต้องปฏิบัติกัมมัฏฐาน คือพิจารณา ตจปัญจกกัมมัฏฐาน เป็นเบื้องแรกเพราะเป็นหนทางพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงตรัสรู้ธรรมด้วยการปฏิบัติอริยสัจจธรรม ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
    เมื่ออธิบายไปพอสมควร ท่านก็แนะนำวิธีนั่งสมาธิ ท่านอาจารย์มั่น ฯ เป็นผู้นำนั่งสมาธิในตอนนั้นเป็นเวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง ท่านอาจารย์สิงห์ก็เกิดความสงบ แล้วจิตสว่างไสวขึ้นทันที เป็นการอัศจรรย์ยิ่ง ภายหลังจากนั่งสมาธิเสร็จแล้ว ท่านอาจารย์มั่นฯ ก็ได้อธิบายถึงวิธีพิจารณากาย โดยใช้กระแสจิตพิจารณาจนเป็นที่พอใจแล้ว ท่านอาจารย์สิงห์ก็ได้ลากลับไป
    จากนั้นมาท่านก็พยายามนั่งสมาธิทุกวัน จนเกิดความเย็นใจเกิดขึ้นเป็นลำดับ อยู่มาวันหนึ่งท่านอาจารย์สิงห์ก็ไปสอนนักเรียนตามปรกติ ซึ่งเด็กนักเรียนในสมัยนั้น เรียนรวมกันทั้งชายและหญิง และอายุการเรียนก็มาก ต้องเรียนถึงอายุ ๑๘ ปี เป็นการบังคับให้เรียนจบ ป. ๔
    ขณะที่ท่านกำลังสอนนักเรียน มองดูเด็กนักเรียนเห็นแต่โครงกระดูกนั่งอยู่เต็มห้องไปหมด ไม่มีหนังหุ้มอยู่เลยสักคนเดียว จำนวนนักเรียนประมาณ ๓๘ คนได้มองเห็นเช่นนั้นไปหมดทุกคนเลย แม้ท่านจะพยายามขยี้ตาดูก็เห็นเป็นเช่นนั้น ที่สุดก็เกิดความสังเวชใจขึ้นแก่ท่านเป็นอย่างมาก แล้วก็เกิดความเบื่อหน่ายต่อสังขารเป็นอย่างยิ่ง. จึงนับเป็นสิ่งมหัศจรรย์นัก เพราะธรรมดาปฏิภาคนิมิตต้องเกิดในขณะหลับตาอยู่ในฌานจริง ๆ แต่ท่านกลับเห็นทั้งหลับคาและลืมตา อาการที่ท่านเห็นเป็นอยู่เช่นนั้นเป็นเวลานาน จนนักเรียนพากันสงสัยว่า ทำไมครูจึงนั่งนิ่งอยู่เช่นนั้น ทุกคนเงียบกริบ เวลาได้ล่วงไปนานโขทีเดียว ตาของท่านจึงค่อยปรากฏเห็นร่างของเด็ก นักเรียนในชั้นเหล่านั้นมีเนื้อหนังขึ้นจนปรากฏเป็นปรกติ หลังจากนั้นท่านก็พูดกับเด็กนักเรียนทั้งหลายเป็นการอำลาว่า
    นักเรียนทุกคน บัดนี้ครูจะได้ขอลาออกจากความเป็นครูตั้งแต่บัดนี้แล้ว เนื่องจากครูได้เกิดความรู้ในพระพุทธศาสนา ได้เห็นความจริงเสียแล้ว
    เมื่อได้ล่ำลาศิษย์ของท่านเสร็จ ท่านก็จัดกลด อัฐบริขารของพระธุดงค์ออกจากวัดเดิมที่ท่านอยู่ ติดตามท่านอาจารย์มั่นฯ ไปทุกหนทุกแห่ง เพื่อบำเพ็ญสมณธรรมให้ยิ่ง.จนกระทั่งได้เห็นอรรถธรรมที่ควรรู้ควรเห็น
    ในปีนี้เองท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านได้คิดถึงพระกรรมวาจาจารย์ของท่านคือพระครูสีทา ชยเสโน เพราะหลังจากท่านได้พบกับความจริงแห่งการปฏิบัติแล้วนั้น ท่านใคร่จะให้อาจารย์ของท่านได้รับแสงสว่างแห่งธรรมนี้บ้าง ในวันหนึ่ง ท่านจึงได้เข้าไปนมัสการที่วัด และพูดขอโอกาสที่จะเล่าความจริงแห่งการปฏิบัติธรรมถวาย เมื่อท่านพระครูให้โอกาสท่านเล่าถวายแล้ว ท่านอาจารย์มั่น ฯ จึงได้เริ่มเล่าความจริงที่ท่านได้ประสบมา ในขณะที่ท่านบำเพ็ญกัมมัฏฐานอยู่ที่ถ้ำไผ่ขวาง น้ำตกสาริกานั้นว่า
    การปฏิบัตินี้เป็นทางที่จะเห็นทางพาให้พ้นทุกข์ คือมรรค ๘
    มรรค ๘ ข้อต้นนั้น ได้แก่สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ เห็นชอบ เห็นอะไร เห็นอริยสัจ ๔
    อริยสัจ ๔ คืออะไร คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
    มรรคคือ มรรค ๘ ฉะนั้นเมื่อปฏิบัติสัมมาทิฏฐิข้อเดียว จึงเท่ากับปฏิบัติทั้งหมด ๘ ทุกข์คืออะไร คือ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ใครคือผู้เกิดผู้ตาย ร่างกายของเรานี้ ฉะนั้นร่างกายของเรานี้จึงเป็นตัวทุกข์ เพราะจิตเข้าไปยึดมั่น
    การบำเพ็ญจิตให้สงบจนเกิดกำลังแล้ว ก็ไม่ควรที่จะทำความสงบอย่างเดียว เพราะถ้าทำแต่ความสงบไม่พิจารณาทุกขสัจจ์ ก็จะเป็นเฉพาะฌาน ก็จะเป็นมิจฉาสมาธิ เป็นสมาธิผิดไม่พ้นทุกข์ ต้องพิจารณาทุกข์จึงจะพ้นทุกข์ คือต้องใช้กระแสจิตที่เป็นกำลังอันเกิดจากความสงบนั้นมาพิจารณา เพราะกระแสจิตนี้ได้รับการอบรมจากสมาธิแล้วเป็นกำลังมหาศาล ซึ่งไม่ควรนำไปใช้ทางอื่นเสีย ควรใช้พิจารณาตัวทุกข์ คือร่างกายนี้ให้เห็นชัดเจนจนกระทั่งเกิดนิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่าย เจริญให้มาก กระทำให้มาก ญาณเกิดขึ้นจนกว่าจะแก่รอบ
    เมื่อท่านพระครูได้ฟังแล้ว ท่านก็เกิดความเลื่อมใสว่า ธรรมเช่นนี้ แม้เราที่ได้เรียนมาแล้วแต่ไม่เข้าใจ เพราะปริยัตินั้นเพียงแต่เรียนพอเข้าใจ แต่ไม่รู้วิธีการที่ใช้ คราวนี้รู้วิธีการที่จะทำอะไรกับสิ่งนั้นแล้ว เอาละเราขอขอบใจเธอมาก
    ท่านอาจารย์มั่นฯ เมื่อได้สนทนากับท่านอาจารย์ของท่านพอสมควรแล้วก็ลากลับไป เมื่อท่านพระครูได้บำเพ็ญกัมมัฏฐาน ตามแนวของท่านอาจารย์มั่นฯ มาเป็นเวลานาน ครั้นแล้ววันหนึ่งก็เกิดความอัศจรรย์ขึ้น ซึ่งสามารถพิจารณาเห็นกายและเกิดนิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่าย และสามารถทวนกระแสจิตเห็นตัวผู้รู้ผู้เห็นตามความเป็นจริงแล้วสิ้นกังขาความสงสัยในใจซึ่งสัตถุศาสนา จึงได้ให้พระไปนิมนต์พระอาจารย์มั่นฯ มาพบและเล่าให้ฟัง ท่านอาจารย์มั่นฯ ก็ว่าทำถูกแล้ว ต่อไปนี้ก็ขอให้เจริญให้มาก เมื่อพอเพียงแก่ความต้องการแล้วก็จะพึงรู้เอง
    เมื่อท่านพระครู ฯ ได้ให้ท่านอาจารย์มั่นฯ ได้รู้เห็นเป็นพยานในการเห็นธรรมในกาลนั้นแล้วท่านได้รำพึงว่า
    ศิษย์ของเราองค์นี้นับว่าเห็นผู้มีความกตัญญูกตเวทีมากเหลือเกิน เพราะเมื่อได้รู้ได้เห็นธรรมอันแท้จริงแล้วก็ไม่ลืมครูบาอาจารย์. อุตส่าห์มาแนะนำให้เราได้รู้ได้เห็น และเป็นการถูกต้องแม้เราเป็นพระผู้เฒ่า เป็นถึงอาจารย์ถ้าจะพึงมัวถือแต่มานะทิฏฐิก็คงไม่สามารถฟังธรรมจากศิษย์ที่มีความสามารถในธรรมได้ แต่ก็ดีที่มีศิษย์เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ได้เป็นประโยชน์แก่ชนบทเป็นอันมาก อันว่าศิษย์นั้นถ้าดี ผู้เป็นครูเป็นอาจารย์ก็พลอยได้รับเกียรติและชื่อเสียงตามไปด้วย นี่ก็เป็นเช่นนั้น
    ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นธรรมโดยทั่วไป สุดแล้วแต่ผู้ใดจะมีความสามารถ เมื่อผู้มีความสามารถมากก็แนะนำบอกกล่าวแก่ผู้มีความสามารถน้อย ก็จะทำให้สัตถุศาสนากว้างขวางออกไป มิใช่ว่าใครจะว่าเราใหญ่เราโต เป็นอาจารย์เป็นอุปัชฌาย์ เรามียศถาบรรดาศักดิ์แล้วนำเอาสิ่งเหล่านั้นมาเป็นเครื่องกีดขวางการที่จะศึกษาหาธรรมอันยิ่งให้ตน นี่เป็นทางเสื่อมเสียแก่ตน.และผู้อื่นอย่างใหญ่หลวง แต่เราเองมิได้คิดเช่นนั้น เราได้ตั้งหน้าตั้งตาบำเพ็ญสมณธรรมตามที่ศิษย์ของเราแนะนำให้จนเกิดผล และเราเองบัดนี้ก็จะสามารถสอนใครต่อใครให้ดำเนินตามแนวนี้ อันเป็นทางถูกต้องแก้ความสงสัยได้
    ขณะนั้นท่านอาจารย์มั่น.ฯ เห็นท่านพระครูฯ นั่งนิ่งเฉยอยู่นาน ท่านก็เลยอำลากลับ และในปีนี้เองท่านก็ได้พบโยมมารดาของท่าน ซึ่งท่านได้ตั้งใจไว้ว่าท่านจะโปรดโยมด้วยธรรมทั้งหลายที่รู้มาแล้ว ท่านจึงเดินทางไปพบกับโยมที่บ้านตำบลบ้านบง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลฯ
    เมื่อโยมได้เห็นท่านก็มีความดีอกดีใจมาก เพราะท่านได้จากไปเสียนาน เมื่อท่านได้ปราศรัยเล่าถึงการเดินทางธุดงค์ ทั้งในและต่างประเทศตลอดจนได้แสงสว่างแห่งธรรมได้แก่โยมฟัง จนเป็นที่พอใจแล้ว ท่านก็ย้อนมาพูดถึงการปฏิบัติโดยขอร้องให้โยมพยายามปฏิบัติจิตอันเป็นทางแห่งความพ้นทุกข์ ทางโยมมารดาก็ตกลงที่จะปฏิบัติตามที่ได้แนะให้
    นับแต่ที่ท่านอาจารย์มั่นฯ ได้แนะนำให้แล้ว โยมมารดาก็ได้มีความสนใจเป็นกรณีพิเศษ ได้ทำตามคำแนะนำทุกประการ และจิตก็เป็นไปได้ตามจริงที่เกิดขึ้น ได้รับความเย็นใจมีศรัทธาแก่กล้า ลาลูกหลานออกบวชเป็นชี โดยมีท่านอาจารย์เสาร์บวชให้
    ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านเล่าว่า
    โยมมีความเพียรมาก แม้ว่าจะแก่แล้วก็ตาม อธิษฐานนอนตะแคงข้างขวาตลอดชีวิต มีการเดินธุดงค์ไปในที่กันดารเช่นเดียวกับพระสงฆ์ รับประทานอาหารเพียงมื้อเดียวตลอดชีวิต มีความเพียรมั่นคงไม่ท้อถอย แม้แต่ท่านอาจารย์มั่น ฯ เองก็ชมว่ามารดาของท่านมีความเพียรแก่กล้า หลังจากที่โยมได้บำเพ็ญกัมมัฏฐานตามคำแนะนำของท่านอาจารย์มั่นฯ มาหลายปี ท่านอาจารย์มั่นฯ ก็ทราบว่า อินทรีย์ของการอบรมจิตได้แก่กล้าแล้ว ท่านได้แนะนำวิธีสุดท้ายคือ
    การบำเพ็ญวิปัสสนาญาณให้เกิดความแก่รอบของญาณโดยอุบาย ซึ่งท่านได้ยกตัวอย่างของ ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เมื่ออินทรีย์แก่กล้าแล้วพระพุทธองค์ได้ทรงให้ปัญจวัคคีย์ พิจารณา รูป เวทนา เป็นต้น โดยปัญญาตามความเป็นจริง ปัญญาในที่นี้ได้แก่ ญาณ หรือความรู้อันเกิดจากกระแสธรรมอันยิ่ง
    โยมมารดาของท่านได้รับการอบรมมากแล้ว ก็พิจารณาตามนั้น จนเป็นที่พอแก่ความต้องการ โดยการเจริญให้มากกระทำให้มาก มีความรู้ความสามารถทวนกระแสจิตเข้าถึงซึ่งฐิติภูตัง และเจริญต่อไปจนเป็นการพอโดยการอบรมเป็นอินทรีย์ บังเกิดความรู้แจ่มแจ้ง ตัดความสงสัยแล้วโดยสิ้นเชิง และได้ออกอุทานต่อหน้าพระอาจารย์มั่นฯ ว่า
    เราหายสงสัยแล้ว เราจะไม่มาเกิดอีกแล้ว จึงนับว่าเป็นที่พอใจของท่านอาจารย์มั่น ฯ เป็นอย่างยิ่ง แล้วท่านอาจารย์มั่นฯ ก็ได้บอกแก่โยมมารดาของท่านว่า
    บัดนี้อาตมาภาพได้ทดแทนบุญคุณของคุณโยมหมดแล้ว เป็นการทดแทนที่ได้สิ้นสุดลงเป็นการสุดท้าย
    จากนั้นท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านได้พยากรณ์มารดาของท่านกับพระบางองค์ว่า
    มารดาของท่านได้เป็นอริยบุคคลชั้นที่ ๓ ( ตามคำบอกเล่าของท่านอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ) หลังจากนั้น เมื่อสังขารของโยมแก่หง่อมแล้ว ความชราเข้าครอบงำ ลูกหลานขอให้รับประทานอาหารในตอนเย็นก็ไม่ยอม โยมมารดาของท่านพูดว่า เราต้องมีศีล ๘ เป็นวิรัติตลอดชีวิตของเรา เมื่อถึงกาลที่โยมมารดาของท่านจะสิ้นชีวิต ท่านก็ได้บอกถึงวัน เดือน ปี เวลาบ่าย ๓ โมงเย็นว่าจะถึงแก่กรรม เมื่อถึงกาลนั้นก็ได้ถึงแก่กรรมตามที่พูดไว้ด้วยความสงบจริง ๆ ในตอนสุดท้ายเมื่อท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้ทราบวันเวลาแล้วท่านก็ได้ไปทำฌาปนกิจศพมารดาของท่านด้วยตัวท่านเอง
    ส่วนท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ซึ่งได้พำนักอยู่ที่วัดสุทัศนาราม ในเมืองอุบลราชธานี ได้ออกจากการเป็นครูแล้ว เพราะผลแห่งการปฏิบัติธรรมที่ได้รับการแนะนำจากท่านอาจารย์มั่นฯ ซึ่งปรากฏว่าได้รับผลเป็นที่น่าพึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง
    ในระหว่างเดือนเดียวกันนั้น พระปิ่น ปญฺญาพโล ผู้เป็นน้องชายของท่านก็พลอยได้ไปศึกษาด้วย และได้เกิดความเลื่อมใสในอุบายทางด้านการปฏิบัติพอสมควร ท่านอาจารย์สิงห์ได้ตกลงใจอย่างแน่วแน่ ในการเปลี่ยนจากพระปริยัติเป็นพระธุดงค์เพื่อติดตามท่านอาจารย์มั่นฯ ต่อไป ส่วนพระปิ่นเป็นผู้น้องชายขอลาไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ โดยปฏิญาณว่าจะขอศึกษาสัก ๕-๖ ปี แล้วจึงจะลาออกปฏิบัติตามภายหลัง เมื่อท่านพักศึกษาอยู่ที่วัดบวรนิเวศฯ ครบกำหนด ๕ ปี และสอบได้เปรียญ ๕ ประโยคแล้ว ก็ได้ออกไปปฏิบัติตามคำปฏิญาณของของท่านจริงๆ โดยติดตามท่านอาจารย์ไปทุกหนทุกแห่ง ตามป่าเขาอันเป็นสถานที่วิเวก
    ในสมัยนั้นพระเปรียญที่ออกเที่ยววิเวกธุดงค์กัมมัฏฐาน ท่านนับว่าเป็นองค์แรก ซึ่งแต่กาลก่อนนานมาแล้วไม่เคยมีปรากฏเลย นับเป็นศุภนิมิตที่ดีอย่างยิ่ง เมื่อท่านออกธุดงค์คราวนี้ ท่านก็ได้นามว่า พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ขณะนั้นท่านมีอายุ ๓๐ ปี พรรษาที่ ๘
    ในคราวเดียวกันกับที่ท่านออกธุดงค์ในคราวนั้น มีพระที่ออกธุดงค์ไป เพื่อจะศึกษากับท่านอาจารย์มั่นฯ ด้วยกัน ๓ องค์เท่านั้น คือ ๑ พระอาจารย์คำพวย ๒ พระอาจารย์เทสก์ เทสรํสี ๓. พระอาจารย์ทอน บ้านหัววัว อ.ลุมพุก จ.อุบลฯ
     
  12. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ตอนที่ ๓
    [​IMG]
    พ.ศ. ๒๔๕๙
    ถ้ำภูผากูด กิ่งคำชะอี จังหวัดนครพนม
    เมื่อออกพรรษา ที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลฯ ท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้กราบลาพระกรรมวาจาจารย์ เพื่อไปติดตามพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร ซึ่งขณะนั้นท่านจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำภูผากูด เมื่อทราบแน่แล้วท่านอาจารย์มั่นฯ ก็ได้เดินโดยเท้าเช่นพระธุดงค์ทั้งหลาย ท่านเล่าว่า ทางรถยนต์ไม่มีรถยนต์วิ่ง นับเป็นเวลาเดือน ๆ ก็ไม่เห็นสักคันหนึ่ง ตามทางที่ท่านไปก็เป็นดงดิบ ล้วนแต่ต้นไม้ใหญ่ ๆ เช่น ต้นตะเคียน ต้นยาง ต้นประดู่ ต้นตะแบก และสารพัดไม้นั้นเป็นไม้ใหญ่ บางต้น ๙ อ้อม ๑๐ อ้อม แลดูไม่เห็นพระอาทิตย์ทีเดียว เป็นป่าเปลี่ยวจริงๆ ขณะที่เดินธุดงค์เห็นว่าที่ไหนเหมาะ ก็แวะพักทำความเพียรกันเป็นเวลา ๕ วัน หรือ ๗ วัน
    ขณะที่ท่านอาจารย์มั่น ฯ กำลังเดินธุดงค์ระหว่างทางยังไม่ถึงถ้ำภูผากูดนั้น ท่านได้คิดถึงอาจารย์ของท่านมากและก็วันหนึ่งหลังจาการพักผ่อนการเดินทาง ซึ่งเร่งเดินเป็นวัน ๆ มาแล้วอย่างเหน็ดเหนื่อย ท่านได้พิจารณาถึงท่านอาจารย์เสาร์ที่เป็นอาจารย์ของท่าน และได้ระลึกถึงที่ท่านได้ทราบภายในญาณเมื่อคราวที่ท่านอยู่ที่ถ้ำสาริกาว่า ท่านอาจารย์ของท่านปรารถนาปัจเจกโพธิ
    ถ้าหากว่าท่านยังมีจิตกังวลในการปรารถนาเช่นนั้น การทำความเพียรเพื่อความพ้นทุกข์ก็จะสำเร็จไปไม่ได้ เช่นเดียวกับเราเหมือนกัน เพื่อความปรารถนาพระโพธิญาณยังฝังอยู่ในจิต เราก็ไม่สามารถดำเนินจิตเข้าสู่อริยสัจจ์ เพื่อความหมดจดจากกิเลสได้ ถ้าเราไปพบท่านอาจารย์ของเรา ๆ ก็จะต้องแนะนำให้ท่านเลิกจากการปรารถนาเช่นนั้นเสีย จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่หนอ
    นี้เป็นการรำพึงภายในการเป็นสมาธิละเอียดของท่านอาจารย์มั่นฯ แต่เมื่อท่านได้สละความคิดนั้นเพื่อมิให้กังวลใจแล้ว และท่านก็ได้ธุดงค์เรื่อยๆ ไปจนใกล้จะถึงถ้ำภูผากูด โดยรอบบริเวณภูเขาอันเป็นถ้ำแห่งนี้นั้นเป็นภูมิประเทศที่เป็นป่าไม้เต็ง ไม้รัง ไม้แดง ไม้มะค่า แต่ไม่เป็นดงทึบเหมือนกับดงอื่นๆ จึงทำให้บริเวณนั้นมีอากาศปลอดโปร่งดี ถ้ำแห่งภูเขาแถวนั้นก็ไม่อับชื้น ทั่วบริเวณจึงเป็นสถานที่ที่จะพึงอาศัยเป็นเวลาแรมปีได้ ถ้าเป็นดงดิบมองไม่เห็นพระอาทิตย์แล้วจะอยู่กันนานไม่ได้เพราะจะทำให้สุขภาพเสีย
    โดยที่ท่านอาจารย์เสาร์ท่านได้เลือกเอาสถานที่แห่งนี้อยู่ถึง ๕ ปี และท่านก็ยังมีสุขภาพดีเป็นปรกติเหมือนกับอยู่ในวัดธรรมดา นับว่าท่านอาจารย์เสาร์มีความรู้ความชำนาญในการอยู่ป่าอย่างยิ่ง
    ท่านอาจารย์มั่น ๆ ท่านว่าเราได้เดินมองพิเคราะห์ดูแล้วเป็นที่เหมาะสมจริง ๆ เพราะมีธารน้ำเล็กๆ ไหลไม่ขาด อยู่ที่ตรงกลางทางที่จะขึ้นถ้ำพอดี คำว่าภูผากูด คือมีผักกูดขึ้นอยู่ตามตลิ่งธารน้ำนั้นมาก เมื่อผักกูดขึ้น ผักที่จะขึ้นตามผักกูดมาก็เช่นผักหนาม ผักเต่าเกียด
    ในคราวนั้นท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ทราบว่าท่านอาจารย์มั่น ฯ ธุดงค์ไป ท่านก็ธุดงค์ตามไปติด ๆ กับท่านอาจารย์มั่นฯ แต่พอก่อนจะถึงถ้ำภูผากูด ท่านก็ล้มเจ็บเป็นไข้จึงได้เดินทางกลับมารักษาตัวอยู่ที่จังหวัดอุบล ฯ เมื่อท่านหายป่วยแล้วก็ได้ติดตามท่านอาจารย์มั่นฯ ไป เพื่อหวังในการศึกษาธรรมปฏิบัติอีก โดยมิได้มีการย่นย่อท้อถอยแต่ประการใด
    ครั้นเมื่อท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านได้เดินจนกระทั่งถึงและขึ้นไปบนถ้ำภูผากูด เมื่อวางบริขารไว้ส่วนหนึ่งแล้ว ท่านก็เข้าไปนมัสการท่านอาจารย์เสาร์ ซึ่งท่านอาจารย์เสาร์ได้รู้ล่วงหน้าและเตรียมสถานที่ไว้คอยรับศิษย์รักอันจากกันไป นานอยู่แล้ว ท่านอาจารย์ มั่นฯ ได้เข้าไปกราบนมัสการสนทนาปราศรัยตามสมควรแล้วก็ไปพัก ณ บริเวณแห่งหนึ่ง ตามอัธยาศัย และท่านอาจารย์มั่นฯ ก็ตั้งใจจะจำพรรษา ณ ถ้ำนี้กับท่านอาจารย์เสาร์
    ในระหว่างพรรษาทั้งศิษย์และอาจารย์ก็ได้ปรึกษาสนทนาในเรื่องธรรมปฏิบัติแทบทุกวัน อยู่มาวันหนึ่งท่านอาจารย์มั่นฯ ได้พูดขึ้นว่า
    ท่านอาจารย์ได้พิจารณาอริยสัจธรรมหรือไม่ ?
    ท่านอาจารเสาร์ได้ตอบว่าเราก็ได้พิจารณาเหมือนกัน
    ได้ผลเป็นอย่างไรบ้าง ? ท่านอาจารย์มั่นฯ ถาม
    ได้ผลเหมือนกันแต่ไม่ชัดเจนท่านอาจารย์เสาร์ตอบ
    เพราะเหตุไรบ้างครับ ? ท่านอาจารย์มั่น ฯ ถาม
    เราได้พยายามอยู่ คือพยายามคิดถึงความแก่ความตาย แต่ว่าบางคราวมันก็ไม่แจ่มแจ้งท่านอาจารย์เสาร์ตอบ
    ถ้าเช่นนั้นคงมีอะไรเป็นเครื่องห่วงหรือกระมัง ? ท่านอาจารย์มั่นฯ ถาม
    เราก็พยายามพิจารณาเหมือนกัน แต่ก็หาสิ่งขัดข้องไม่ได้ ท่านอาจารย์เสาร์ตอบ และได้กล่าวต่อไปว่า ความจริงความสว่างของดวงจิตนั้นก็เป็นปรกติดีอยู่ แม้มันจะดีบ้าง ไม่ดีบ้าง มันก็เรื่องธรรมดาของสมาธิ แต่ว่าเมื่อจิตพิจารณาทีไรรู้สึกว่าไม่ก้าวไป
    ท่านอาจารย์ มั่นฯ จึงกล่าวว่า กระผมคิดว่าคงมีอะไรสักอย่างเป็นเครื่องห่วง
    ท่านอาจารย์เสาร์ตอบว่า และเธอรู้ไหมว่าเรามีอะไรเป็นเครื่องห่วง ?
    ท่านอาจารย์มั่นฯ เห็นเป็นโอกาสที่จะได้ถวายความรู้ในครั้งอยู่ถ้ำสาลิกาโน้นจึงได้ตอบทันทีว่า ท่านอาจารย์ห่วงเรื่องการปรารถนาเรื่องปัจเจกโพธิกระมังครับ
    ท่านอาจารย์เสาร์ตอบว่า
    แน่ทีเดียว ในจิตใจเราตั้งอยู่ว่า จะขอให้รู้ธรรมเองโดยมิต้องให้ใครมาแนะนำหรือบอกให้ และมันก็ตั้งอยู่ในใจของเรามาตลอด
    ท่านอาจารย์มั่น ฯ จึงขอความกรุณาแล้วบอกท่านอาจารย์เสาร์ว่า ขอให้ท่านอาจารย์อย่าเป็นห่วงเลย ขอให้พิจารณาอริยสัจเพื่อความพ้นทุกข์เสียแต่ชาตินี้เถิด เพราะกระผมเองก็ปรารถนาพระโพธิญาณ และกระผมก็ได้ละความปรารถนานั้นแล้ว เนื่องด้วยว่าการท่องเที่ยวในสังสารวัฏฎ์นี้มันนานเหลือเกิน
    ในวันนั้นท่านอาจารย์เสาร์ต้องประหลาดใจที่ศิษย์ของท่านได้ล่วงรู้ถึงความจริง อันปรากฏอยู่ในใจของท่าน ซึ่งท่านไม่เคยปริปากบอกใครเลย ฉะนั้นจึงทำให้ท่านรู้สึกว่า ท่านอาจารย์มั่นฯ นี้ ต้องมีความดีความจริงความชัดเจนในใจอย่างแน่นอน ในวันนั้นก็ได้คุยกันเพียงเท่านี้แล้วก็เลิกกันไป
    อยู่มาวันหนึ่งท่านอาจารย์เสาร์ได้ไปนั่งอยู่ที่สงัดเฉพาะองค์เดียว เริ่มด้วยการพิจารณาถึงอริยสัจจ์โดยอุบายอย่างหนึ่งคือ การพิจารณากายจนชัดแจ้งประจักษ์เกิดนิพพิทาญาณความเบื่อหน่ายขึ้น และท่านก็เริ่มดำเนินจิต เจริญให้มาก กระทำให้มากจนเป็นญาณ สามารถทวนกระแสมาถึงที่ตั้งของจิตได้ และวันนั้นท่านก็ตัดเสียซึ่งความสงสัยได้อย่างเด็ดขาด เมื่อได้รับการอธิบายจากท่านอาจารย์มั่นฯ ซ้ำอีกว่า เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ควรจะเจริญให้มากจนกว่าจะพอแก่ความต้องการ เมื่อจวนถึงกาลปวารณาออกพรรษาท่านก็ทราบชัดถึงความเป็นจริงทุกประการ และท่านก็บอกแก่อาจารย์มั่นฯ ว่า เราได้เลิกการปรารถนาพระปัจเจกโพธิแล้ว และเราก็ได้เห็นธรรมจริงแล้ว
    เมื่อท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้ฟังก็ได้พูดให้ความแน่ใจว่า เป็นจริงเช่นนั้นแล้ว ต่างก็มีความอิ่มเอิบในธรรม ระยะเวลานั้นท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านมีพรรษา ๒๖ พรรษา ท่านได้ปฏิบัติท่านอาจารย์เสาร์เหมือนกับท่านเป็นพระใหม่ คือปฏิบัติตั้งแต่การล้างบาตร ซักจีวร ปูที่นอน ตักน้ำถวายสรง ถูหลัง ทุกประการ ซึ่งแม้อาจารย์เสาร์จะห้ามไม่ให้ทำ แต่ท่านก็ปฏิบัติได้โดยมิได้มีการแข็งกระด้างแต่ประการใด
    ก่อนเข้าพรรษาปรากฏว่ามารดาของท่านอาจารย์มั่น ฯ ซึ่งยังกระหายต่อการปฏิบัติศึกษาธรรมอยู่มิวาย จึงอุตส่าห์ล้มลุกคลุกคลานตามวิบากของคนแก่ติดตามไปที่ถ้ำภูผากูด เพื่อศึกษาอบรมตนให้รู้แจ้งเห็นจริงในธรรมปฏิบัติ ท่านอาจารย์เสาร์จึงได้บวชชีให้อยู่ปฏิบัติ ณ ถ้ำนี้โดยจองเอาที่เงื้อมแห่งหนึ่งเป็นที่ปฏิบัติธรรม เร่งความเพียรทั้งกลางวันทั้งกลางคืนอยู่ที่ถ้ำนั้น
    ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม หลังจากหายป่วยแล้วก็ติดตามไปปฏิบัติกับท่านอาจารย์มั่น คือไปทุกหนทุกแห่ง ซึ่งเริ่มติดตามพบที่ถ้ำในปีนี้เอง
    พ.ศ.๒๔๖๐
    บ้านดงปอ ห้วยหลวง อำเภอเพ็ง
    ในพรรษานี้ ท่านอาจารย์มั่น ฯ จำพรรษาที่ป่าแห่งหนึ่ง ที่บ้านดงปอ ต.ห้วยหลวง อ.เพ็ง หลังจากที่ท่านได้เปิดศักราชแห่งการปฏิบัติธรรมอย่างได้ผลแล้ว ท่านก็เริ่มอบรมพระภิกษุสามเณรอย่างเด็ดเดี่ยวจริงจัง เพื่อผลงานในด้านนี้ของพระพุทธศาสนาจะได้เด่นขึ้น อันจักเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
    ในปีนี้บรรดาพระภิกษุที่หลายผู้เคยได้รับรสพระธรรมจากท่าน และผู้ที่ได้เคยสดับแต่กิตติศัพท์ก็ได้ติดตามมาปฏิบัติกับท่าน
    การจำพรรษาของท่าน ท่านไม่ต้องการอยู่รวมกันหลายองค์ เพราะจะทำให้ไม่วิเวก ดังนั้นท่านจึงตรวจดูเฉพาะองค์ที่กำลังจะได้รับผลที่แน่นอนให้จำพรรษาอยู่กับท่าน เพื่อที่จะได้แนะนำตลอดระยะเวลา เพื่อความก้าวหน้าไม่หยุดยั้งของศิษย์
    ส่วนผู้ที่กำลังจะทำการอบรมเพื่อรอความแก่กล้าของสมาธิ ท่านก็แนะนำให้ไปอยู่แห่งละองค์สององค์ จะได้อบรมตนให้ยิ่งไม่ต้องกังวลกับใคร แต่พอเมื่อสงสัยในการปฏิบัติเกิดขึ้น ท่านเหล่านั้นจะมาหาให้ท่านอาจารย์ช่วยแก้ความสงสัยเป็นราย ๆ ไป การที่บรรดาศิษย์ได้ไปอยู่ตามสถานที่ต่าง.ๆ มิใช่ว่าท่านจะทอดธุระเสียแต่อย่างใด ท่านต้องใช้ญาณภายในตรวจตราพร้อมทั้งคอยสดับตรับฟังข่าวอยู่ตลอดเวลา ท่านพิจารณาเห็นเหตุการณ์ของศิษย์แล้วถ้าเป็นเหตุสำคัญ ท่านจะใช้ให้พระหรือโยมไปตามพระองค์นั้นมาหาท่านทันที เพื่อจะได้แก้ไขเหตุการณ์ให้ดำเนินไปเพื่อความถูกต้อง และได้ผลเป็นประมาณ
    เช่นคราวหนึ่ง ท่านจำพรรษาอยู่ที่บ้านโคก ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร มีอาจารย์องค์หนึ่งพักอยู่บนภูเขาเรียกกันว่าภูค้อ อาจารย์องค์นั้นไม่ฉันอาหารตลอด ๓ เดือน ผู้คนได้แตกตื่นกันไปหาท่านอย่างล้นหลาม แต่อาจารย์องค์นั้นไม่ได้เป็นศิษย์ของท่านอาจารย์มั่น ฯแต่อย่างใด ท่านจึงเพียงแต่แนะนำศิษย์ของท่านว่า การไปอยู่ป่าอยู่เขาทำอย่างนั้นไม่ถูกต้อง เพราะไปทำอภินิหารอดอาหาร อยู่ถ้ำเพื่อที่จะให้คนไปหาเป็นการผิดวิสัย พวกเราอย่าได้พากันทำเช่นนั้นเพราะตามความเป็นจริงแล้ว การอยู่ป่าต้องทำตัวเก็บตัวแสวงหาความสงบด้วยใจจริง โดยความบริสุทธิ์ในการแสวงหาธรรมปฏิบัติ การอยู่ป่าอยู่เขาโดยการเพื่อแสวงหาลาภหาปัจจัยนั้นไม่ถูกต้อง พวกเธอถ้าหากว่าจะพึงแสวงหาความสงบแล้ว ต้องอย่าไปทำอะไรที่ชวนให้คนหลงตามไปหา ซึ่งมันจะไม่เป็นการบริสุทธิ์ใจของนักปฏิบัติ
    การควบดุมการปฏิบัติของศิษย์นั้น ท่านพิถีพิถันมาก พยายามติดตามดูความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ถ้าท่านได้พิจารณาเห็นว่าศิษย์รูปนั้นจะเป็นผู้มีนิสัย วาสนาเป็นผู้ที่ปฏิบัติเข้มแข็งและจะพึงเห็นอรรถเห็นธรรมในเบื้องหน้าแล้ว ท่านยิ่งจะติดตามคอยแนะนำการปฏิบัติให้ทุกระยะ ตัวอย่างเช่น ท่านอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ผู้เป็นน้องชายของท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้เข้ามามอบตัวเป็นศิษย์ของท่าน หลังจากนั้นท่านก็ได้พิจารณาเห็นว่าท่านมหาปิ่นนี้มีบุญวาสนา ได้บำเพ็ญมาพอสมควรที่จะเห็นอรรถธรรมได้ ท่านจึงพยายาม.แนะนำธรรมปฏิบัติให้อย่างละเอียดและลึกซึ้ง
    อยู่มาวันหนึ่งท่านอาจารย์มหาปิ่น ท่านนั่งพักอยู่ในกุฏิหลังเล็กมุงหลังคาแฝกในเสนาสนะป่าซึ่งท่านก็ได้ผ่านการนั่งสมาธิมาแล้ว ๒ ชั่วโมง เป็นเวลาประมาณ ๒๓.๐๐ น.เศษ พลางท่านก็ได้นึกไปถึงอาจารย์มั่นฯ ว่า
    ท่านอาจารย์มั่นมิได้ร่ำเรียนพระปริยัติธรรมมากเหมือนเรา ท่านจะมีความรู้กว้างขวางได้อย่างไร เราได้ร่ำเรียนมาถึง ๕ ประโยค จะต้องมีความรู้กว้างขวางมากกว่าท่าน และที่ท่านสอนเราอยู่เดี๋ยวนี้จะถูกหรือมิถูกประการไรหนอ
    ก็ขณะนั้นเองท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านนั่งอยู่กุฏิของท่านห่างกันคนละมุมวัด ท่านก็ทราบวาระจิตของท่านมหาปิ่นทันทีว่า กำลังจะคิดดูถูกท่านอยู่ และการคิดเช่นนี้ย่อมเป็นภัยแก่การบำเพ็ญสมณธรรมอย่างยิ่ง ท่านจึงลุกขึ้นถือไม้เท้าเดินไปที่กุฏิมหาปิ่นทันที และเอาไม้เท้าเคาะข้างฝาที่ทำด้วยใบไม้ดังปั๊บ ๆ แล้วก็ส่งเสียงขึ้นว่า
    ท่านมหาปิ่น นี่เธอจะมานั่งดูถูกเราด้วยเหตุไร ? การคิดเช่นนี้เป็นภัยต่อการบำเพ็ญสมณธรรมจริงหนา มหา
    มหาปิ่นได้ฟังตกใจสุดขีด เพราะมิได้นึกฝันเลยว่า เรานั่งคิดอยู่คนเดียวในเวลาที่ดึกสงัดเช่นนี้ ท่านอาจารย์มั่น ฯ จะมาล่วงรู้วาระจิตของเราได้ จึงรีบลุกขึ้นจากกุฏิตรงเข้าไปกราบเท้าท่านอาจารย์มั่น ฯ รีบกราบเรียนว่า
    กระผมกำลังนึกถึงท่านอาจารย์ในด้านอกุศลจิต กระผมขอกราบเท้า จงอโหสิกรรมให้แก่กระผมเถิด ตั้งแต่วันนี้ต่อไปกระผมจะบังคับจิตมิให้นึกคิดถึงสิ่งที่เป็นอกุศลจิตอย่างนี้ต่อไปอีก
    (ตรงนี้ผู้เขียนขอแทรกข้อความตอนเชียงใหม่ให้ผู้อ่านได้ทราบตอนสำคัญไว้ เพราะจะรอเขียนตอนท่านอยู่เชียงใหม่ก็จะไม่ทันใจผู้เขียนและผู้อ่าน)
    เมื่อท่านพักอยู่บนภูเขากับพวกมูเซอร์ ในจังหวัดเชียงใหม่ มีพระหลวงตา (หมายถึงผู้มีครอบครัวแล้วถึงบวช) ๓ องค์ ได้พยายามติดตามถามข่าวหาท่านอาจารย์มั่นฯ อยู่ถึง ๓ ปี จึงได้ข่าวว่าอยู่บนภูเขากับพวกมูเซอร์ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อรู้ชัดแน่แล้วจึงรีบไปเพื่อที่จะได้พบท่านทั้ง ๓ หลวงตาก็เดินทางปีนป่ายภูเขาขึ้นอย่างความตั้งใจจริง ไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากแต่ประการใด เพราะตั้งใจมานานแล้ว พึ่งจะใกล้ความสำเร็จ ซึ่งทั้ง ๓ หลวงตาคงจะเข้าใจว่า เมื่อพบท่านแล้วคงจะได้ธรรมแสงสว่างไม่ยากนัก จึงได้อุตส่าห์ติดตามเป็นเวลานาน ก็พอดีเป็นเวลาเย็นประมาณบ่าย ๕ โมง จึงได้ถึงสถานที่อาจารย์มั่นฯ อยู่ เมื่อถึงแล้วก็เข้าไปนมัสการท่าน ท่านกำลังฉันน้ำร้อนอยู่ มีพระเณรอยู่ด้วย ๒-๓ องค์ คอยปรนนิบัติอยู่ เมื่อหลวงตาทั้ง ๓ กราบแล้วท่านก็ถามว่า เธอตามหาเรามานานแล้ว วันนี้มาจากไหน สามหลวงตาก็งงเป็นที่สุดว่าท่านรู้ได้อย่างไร และก็ตอบพร้อมกันว่า วันนี้มาจากอำเภอสันทราย แล้วท่านก็ให้พระไปจัดสถานที่อยู่ให้ตามจะพึงมี
    จำเดิมแต่นั้นหลวงตาทั้งสามก็พยายามปฏิบัติตามโอวาทของท่านอยู่อย่างเต็มความสามารถ ทั้งสามหลวงตาเล่าว่า ไม่ว่าพวกฉันจะนึกอยากฟังธรรมข้อใด ท่านจะต้องเทศน์ธรรมข้อนั้นให้ฟังโดยไม่ต้องออกปากถามเลย ฉันอัศจรรย์ใจจริง แต่....อยู่มาวันหนึ่ง ฉันทั้งสามได้ไปนั่งอยู่บนหินก้อนใหญ่งามมาก หลังหินเสมอเรียบดี พวกเราก็นั่งประชุมสนทนากัน. ก็พูดถึงเรื่องทางบ้านว่า ป่านนี้ภรรยาของเราอยู่กันอย่างไรหนอ ลูกของฉันมี ๔ คน ลูกหญิงเป็นสาวยังไม่ได้แต่งงานเลย อีกองค์ก็พูดว่า ภรรยาน่ากลัวจะไปมีผัวใหม่ อาจจะทิ้งลูกเสียก็ได้และก็พูดกันหลายอย่างเป็นเวลากว่าชั่วโมง ทุกองค์ก็ต่างกลับมา แต่ก็มิได้อาลัยในคำพูดเหล่านั้นดอก พูดแล้วก็แล้วกันไป
    แต่ที่ไหนได้ท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้รู้เรื่องราวของเราหมด และในวันนั้นก็ได้มีพระภิกษุสามเณรทุกแห่งที่อยู่แถวใกล้ๆ นั้นมาประชุมกันหมด ท่านก็ยกเอาเรื่องทั้งสามหลวงตาขึ้นมาพูดในท่ามกลางบริษัทว่า
    ดูสิ ทั้งสามหลวงตานี่ อุตส่าห์มาอยู่ป่า บวชแล้วยังคิดถึงมาตุคามลูกเมีย มันจะมีประโยชน์อะไรที่จะมาอยู่ในกลางป่าเช่นนี้ซึ่งไม่ควรเลย น่าอับอายท่านผู้รู้ นี่แน่ะ หลวงตา เธอเป็นพระกี่เปอร์เซ็นต์
    เท่านั้นเองพวกเราทั้งสามอายเพื่อนอย่างหนัก นั่งก้มหน้า เมื่อเลิกประชุมแล้วพวกเราทั้งสามก็ร้อนไปหมด จึงเป็นอันว่าพวกเราอยู่ไม่ไหว คืนนั้นประมาณเที่ยงคืนพวกเราก็เก็บบาตร กลดหนีกันทั้งคืน ปากก็พูดว่า อรหํ ๆ ๆ ทั้งเดินหนีไปมิได้อำลาท่านเลย โดยมิได้คำนึงว่าทางที่เดินมานั้นมีทั้งหมีทั้งเสือทั่วไป แต่พวกเรากลัวท่านอาจารย์มั่นฯ มากกว่าเสืออีก
    พ.ศ. ๒๔๖๑
    ถ้ำผาบิ้ง จังหวัดเลย
    หลังจากอยู่ปฏิบัติและถวายความรู้ในธรรมปฏิบัติอันยิ่งแก่อาจารย์ของท่านแล้ว ท่านเห็นหมู่คณะตามท่านมามากรู้สึกกังวลขึ้น ท่านจึงปลีกตัวออกจากหมู่ เดินธุดงค์ไปแต่องค์เดียวจนบรรลุถึงถ้ำผาบิ้ง จังหวัดเลย ในปีนี้ท่านต้องการพิจารณาถึงความจริงทั้งหลายอันเกิดแก่การบำเพ็ญในตนของท่าน และต้องการวัดผลการปฏิบัติที่ท่านไค้แนะนำสั่งสอนแก่บรรพชิต และคฤหัสถ์ว่า ผลต่างๆของการปฏิบัตินั้น ได้เป็นไปตามความมุ่งหมายมาเดิมหรือไม่ และเป็นผลที่ถูกต้องทำนองคลองธรรมคำสอนของพระพุทธองก์จริงหรือไม่
    เมื่อได้ใคร่ครวญทั้งความนึกคิดอันเป็นภายนอก และพิจารณาตามญาณอันเป็นภายใน ท่านก็พอใจในผลงานเหล่านั้นว่าเป็นประโยชน์มาก สมควรที่จะยอมเสียสละในการแนะนำสั่งสอนพุทธบริษัทต่อไป
    ในวันหนึ่งขณะท่านนั่งสมาธิได้รับความสว่างอยู่นั้น ท่านหวนพิจารณาถึงความรู้ของท่านและที่ได้แนะนำสั่งสอนผู้อื่น ได้ปรากฏว่า อันที่จริงอริยธรรมเหล่านี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้วอย่างชัดเจน แต่เพราะเหตุที่ผู้ศึกษาไม่ได้ทำให้เป็นจริงขึ้น จึงปรากฏว่าเป็นสิ่งที่ลึกลับยากแก่การจะรู้จริงได้ แม้ว่าพระพุทธองค์จะทรงแสดงแจ้งชัดสักเท่าใดก็ตาม เช่นพระองค์แสดงอนัตตลักขณสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ให้ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์นั้น พระองค์ก็ทรงแสดงชี้ลงไปที่กายคือรูปของปัญจวัคคีย์นั่นเอง ได้ทรงแสดงว่า รูปํ ภิกฺขเว อนตฺตา รูปไม่ใช่ตน แม้รูปของปัญจวัคคีย์ก็มีอยู่แล้ว ทำไมปัญจวัคคีย์จึงไม่พิจารณาเอาเองเล่า มารู้แจ้งเห็นจริงเอาตอนที่พระพุทธเจ้าทรงชี้ให้ดู จึงค่อยมาได้สำเร็จ
    ข้อนี้ก็เป็นเช่นกับตัวของเรานั้นเอง ได้อุตส่าห์เที่ยวไปแสวงหาอาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิกระทั่งทั่วประเทศไทยและต่างประเทศ แต่ครั้นจะมารู้จริงได้ก็คือการมาศึกษาปฏิบัติเอาโดยตนเอง ตามแนวของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง แต่ว่าเท่าที่เราเองได้เข้าใจนั้นก็เพราะเราไปเห็นความจริงเท่านั้น ทั้งๆ ที่ความจริงก็อยู่ใกล้นิดเดียว แต่ว่าการรู้ปฏิบัติเพื่อความรู้จริงนี้มันเป็นสิ่งที่แปลก เพราะเห็นว่าการทำจิตเป็นนามธรรม เมื่อเกิดความอัศจรรย์หรือความสบาย ก็ไปเข้าใจเสียว่าดีเสียแล้ว จึงเป็นเหตุให้ไม่สามารถจะรู้ยิ่งขึ้นได้ จึงไม่ควรตำหนิผู้ที่เขาพากันทำสมาธิแล้วหลงใหลไปตามโลกียฌาณหรือตามวิปัสสนูปกิเลส เพราะเขาเหล่านั้นก็ได้รับความสงบความเย็นใจซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้ยาก แต่ที่ควรตำหนิก็เพราะว่า เขาไม่พยายามหาโลกุตรธรรมนั่น แม้แต่เราในเบื้องแรก เราก็ได้พบโลกียฌาน ฌานมากมาย ซึ่งมันก็ทำให้เราต้องหลงใหลมันไปพักใหญ่ แต่เราพยายามที่จะแสวงหาให้ยิ่งขึ้น เราจึงไม่ติดอยู่เพียงแค่นั้น
    อันการติดอยู่หรือเข้าใจผิดในธรรมปฏิบัติจิตอันเป็นภายในนี้ มันไม่ไปนรกดอก แต่ว่าการที่ไปติดมัน มันทำให้ต้องล่าช้าต่อการรู้ยิ่งเห็นจริงต่างๆ หาก เราเองเมื่อได้ความรู้แจ้งนี้แล้ว จึงได้พยายามเพื่อความที่จะทำจิตให้ก้าวหน้าโดยไม่หยุดยั้ง ทุกหมู่ทุกจำพวกในบรรดาผู้บำเพ็ญจิตในกัมมัฦฐานทั้งหลายนั้น ต่างก็มุ่งหวังเพื่อความดีความเจริญทุกหมู่ทุกคณะ แต่เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั่นเอง ที่ทำให้เขาต้องเสียประโยชน์
    ท่านได้ปรารภไปถึงอาฬารดาบสกาลามโคตร และอุทกดาบสรามบุตร ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า ฉิบหายเสียจากคุณอันใหญ่ เนื่องด้วยดาบสทั้ง ๒ นั้น ได้มรณะไปเสียก่อนที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้ ความจริงดาบสทั้งสองก็เป็นผู้สำเร็จฌานชั้นสูงกันทั้งนั้น อันว่าฌานชั้นสูงนี้ ก็เป็นการให้ความสุขอันยิ่งแก่ผู้ได้สำเร็จอยู่มากแล้ว แต่เพราะเหตุใดเล่าพระพุทธองค์จึงทรงแสดงว่า ฉิบหายเสียจากคุณอันใหญ่ ก็เพราะว่ายังไม่หมดจากกิเลส เพราะเพียงแต่ข่มกิเลสไว้ เหมือนกับศิลาทับหญ้าเท่านั้น
    อันที่จริงฌานชั้นสูงนั้น ก็เป็นเบื้องต้นแห่งการดำเนินไปสู่ความหมดจิตจากกิเลส แต่เพราะความที่ดาบสนั้นไม่เข้าใจวิธีแห่งการอันจะพึงทำจิตเข้าลู่อริยสัจเท่านั้น ข้อนี้เป็นประการสำคัญนัก เพราะการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็เพราะเหตุนี้คือ อริยสัจจ์นี้ แต่ท่านได้พิจารณาคือไปอีกว่า การบำเพ็ญจิตต้องอาศัยปัญญาจึงจะรู้ถูกผิด และมิใช่จะเอาแต่ทำจิตอย่างเดียว ต้องมีสิ่งแวดล้อมภายนอกอีก อาทิเช่นธรรมวินัยทั้งอย่างหนักและอย่างเบา แม้ว่าจะพยายามทำจิตสักเท่าใดก็ตาม ถ้าประพฤติผิดพระวินัยน้อยใหญ่แล้วจะทำจึงย่อมไม่บังเกิดผล
    พร้อมกันนั้นต้องเป็นผู้สันโดษมักน้อย รักษาธุดงควัตรต่าง ๆ อันเป็นเครื่องขัดเกลากิเลสหยาบ ด้วยว่าสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย ที่จะต้องพยายามปฏิบัติให้เป็นอันดี เท่ากับเป็นเครื่องบำรุงส่งเสริม เช่นกับรถยนต์ เครื่องยนต์กลไกต่างๆ ถึงเป็นเครื่องดีมากสักเท่าใดก็ตาม ถ้าขาดการบำรุงรักษา ก็ไม่สามารถที่จะให้ผลแก่ผู้ใช้ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย หรือเช่นต้นไม้ต่าง ๆ ถ้าเราจะปลูกบ้านให้ได้ผลก็ต้องบำรุงรักษาจึงจะให้ผลแก่เจ้าของได้
    การบำเพ็ญจิตก็เช่นเดียวกัน ควรจะได้กำหนดข้อปฏิบัติอันเป็นการสันโดษมักน้อยเอาไว้ โดยการฉันหนเดียว การฉันในบาตร การบิณฑบาต การปัดกวาดทำความสะอาดเสนาสนะ การอยู่โคนต้นไม้ การอยู่ป่า การมีจีวรเพียงแต่ไตรจีวร การรักษาวัตรทั้งหลายมีเสขิยวัตรและอาจาริยวัตรเป็นต้น
    ในปีนั้นท่านได้พิจารณาเหตุการณ์ต่าง ๆ อันที่จักนำไปเพื่อความเจริญในการปฏิบัติธรรม เพื่อจะได้กำหนดแนวทางปฏิบัติที่แน่นอนแก่บรรดาศิษย์ทั้งหลาย พร้อมกันนั้นท่านได้ทำตัวของท่านให้เป็นตัวอย่างอีกด้วย ทั้งการที่แก้ไขความประพฤติเพื่อให้เป็นการเหมาะสมจากมรรยาทที่ต่ำไปหาที่สูง อันนี้ก็ต้องทดสอบในธรรมวินัยให้เป็นไปในทางที่ถูกต้องด้วย
    หลังจากที่ท่านพิจารณาถึงหลักพระธรรมวินัย ของพระพุทธองค์ทั้งภายนอกนามตำรับตำรา และภายในคือการพิจารณาหาความจริงอันเป็นข้อเท็จจริงซึ่งจะป้องกันความงมงายต่าง ๆ เช่นสีผ้าท่านก็กำหนดได้ว่าในครั้งพุทธกาลใช้ผ้าลีอะไร ท่านยังทราบว่าพระอนุรุธเถระเจ้า ใช้ผ้าสีคร่ำอ่อน พระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรเถระใช้สีวัวโทนและท่านพระมหากัสสปะใช้ผ้าสีคร่ำเป็นต้น
    บางครั้งท่านได้คำนึงถึงท่านพระสารีบุตรซึ่งครั้งหนึ่งได้ชวนพระโมคคัลลานะไปบำเพ็ญสมณธรรม ณ ถ้ำแห่งหนึ่งเป็นเวลาหลายวัน อยู่มาวันหนึ่งท่านพระสารีบุตรได้ป่วยเพราะโรคปวดท้องกำเริบขึ้น อันพระโมคคัลลานะถามว่า ท่านเป็นโรคนี้เคยฉันยาอะไรจึงหาย พระสารีบุตรตอบว่า โรคนี้ต้องได้ฉันข้าวมธุปายาสมีน้ำอ้อยผสมกับน้ำตาลกรวดจึงหาย
    ขณะนั้นเทวดาที่สิงอยู่ในถ้ำนั้นได้ยินก็ต้องการที่จะให้พระเถระได้ฉัน จึงรีบไปยังบ้านอันเป็นโคจรตามของพระเถระทั้งสองแล้วก็เข้าไปสิงในร่างของเด็ก ทำอาการให้เด็กชักดิ้นชักงอ อันบิตามารดาต้องพยายามแก้ไขทุกอย่างเด็กก็ไม่ทุเลา เทวดาที่สิงจึงบอกว่า นี่ พวกท่านต้องการให้ลูกหายไหม
    บิดามารดาตอบว่า ข้าพเจ้าต้องการเป็นที่สุด
    เทวดาที่สิงอยู่ในร่างเด็กก็บอกว่า ท่านจงทำข้าวมธุปายาส มีน้ำอ้อยผสมน้ำตาลกรวดไปถวายท่านพระสารีบุตรเท่านั้นเอง บุตรของท่านก็จะหายทันที
    อันบิดามารดาของเด็กรับว่า เพียงเท่านั้นข้าพเจ้าทำได้ และพระเถระนี้ข้าพเจ้าก็เลื่อมใสท่านเป็นอย่างยิ่ง
    แล้วเทวดานั้นก็ออกจากร่างเด็กๆ ก็หายทันที
    รุ่งเช้าพระโมคคัลลานะออกบิณฑบาตแต่เช้า ได้ไปถึงบ้านนั้น อันเขาทั้งหลายได้ถวายอาหารแก่พระโมคคัลลานะแล้วก็ถวายข้าวมธุปายาส และขอร้องให้ไปถวายแก่พระสารีบุตร อันพระโมคคัลลานะนำมาแล้วก็น้อมเข้าไปถวาย ท่านพระสารีบุตรได้พิจารณาว่าอาหารนี้ไม่บริสุทธิ์ท่านจะนำมาทำไม
    เพราะเหตุใดท่านพระโมคคัลลานะถาม
    เพราะว่าเทวดาไปบังคับเขาพระสารีบุตรตอบ ส่วนท่านพระโมคคัลลานะได้พิจารณาก็ทราบทันที แล้วพระโมคคัลลานะจึงอุทานว่า เราตาบอดไปเชียว
    แล้วนำมธุปายาสนั้นไปเททิ้ง พระสารีบุตรก็กำหนดจิตให้บริสุทธิ์ หายจากโรคปวดท้องทันที
    ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านได้พูดเป็นอุบายว่า ความบริสุทธิ์ของศีลนี้เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความผ่องใสเป็นทางให้เกิดความจริงได้ เพราะศีลมีทั้งอย่างหยาบและอย่างละเอียด
    ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านได้พูดเสมอว่า ท่อนไม้ยางใหญ่ๆ มันเข้าตาคนไม่ได้หรอก ผงธุลีเล็กๆ ต่างหากมันเข้าตาคน
    ในราตรีหนึ่งระหว่างกาลเข้าพรรษา ขณะที่กำลังบำเพ็ญสมณธรรมอยู่เกิดความสงบเยือกเย็นมาก จนเกิดแสงสว่างพุ่งไปสู่พระอภิธรรมทั้ง ๗ พระคัมภีร์ขึ้นมาแล้วได้พิจารณากำหนดพิจารณาแยบคายค้นคว้าสามารถรู้ได้ทั้งอรรถและทั้งแปล อย่างคล่องแคล่ว ได้พิจารณาอย่างละเอียดตลอดคืนยันรุ่ง พอรุ่งเช้าออกจากสมาธิแล้ว ความรู้เหล่านั้นปรากฏว่าลบเลือนไปเสียเป็นส่วนมาก ยังจำได้เฉพาะที่สำคัญ พอรู้ความหมายเฉพาะเรื่องหนึ่งๆ เท่านั้น ท่านได้พิจารณาวาสนาบารมีของท่าน แล้วคำนึงถึงว่าเมื่อแจ่มแจ้งแล้วทำไมจึงลบเลือนไปเสีย
    ท่านได้ทราบในญาณของท่านว่า ปฏิสัมภิทานุสาสน์ ความรู้ที่จะพึงแตกฉานในพระธรรมวินัยนี้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น จะได้มีความแตกฉานเป็นปฎิสัมภิทาญาณก็หามิได้
    เช้าวันนี้เมื่อเข้าไปบิณฑบาตในบ้าน มีโยมผู้ชายคนหนึ่งมาใส่บาตรแล้วพูดขึ้นว่า เมื่อคืนนี้ผมฝันเห็นท่านเปิดเอาหนังสือพระไตรปิฎกออกมาอ่านเป็นอันมาก ท่านคงภาวนาดีในคืนนี้ ท่านได้ยินโยมพูดก็เพียงแต่ยิ้มแย้มนิดหน่อยแล้วก็เดินบิณฑบาตต่อไป
    พ.ศ. ๒๔๖๒
    เสนาสนะป่าบ้านค้อ อำเภอผือ จังหวัดอุดรธานี
    ในปีนี้ท่านจำพรรษาอยู่ที่เสนาสนะป่าบ้านค้อ อำเภอผือ เป็นปีที่เริ่มแนะนำข้อปฏิบัติแก่พระภิกษุเป็นส่วนมาก ซึ่งปรากฏว่าท่านอาจารย์สุวรรณ สุจินฺโณ ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ท่านอาจารย์ตื้อ ท่านอาจารย์แหวน สุจิณฺโณ ท่านอาจารย์หนูใหญ่ ได้ติดตามมาปฏิบัติอยู่กับท่าน ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านได้แนะนำเพื่อความก้าวหน้าแห่งการดำเนินจิตเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากท่านทุกองค์เหล่านี้ได้บำเพ็ญ ได้ผลในทางปฏิบัติกันมาแล้ว เพียงเพื่อจะอบรมให้เกิดความแก่กล้าขึ้นเท่านั้น
    ท่านได้แนะนำถึงข้อสำคัญในเรื่องความหลงในญาณว่า ผู้ต้องการพ้นทุกข์จริงๆ แล้ว ต้องไม่หลงในความเป็นเหล่านั้น ท่านได้อธิบายว่า ญาณคือความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นในระหว่างแห่งความสงบ เป็นต้นว่าญาณระลึกชาติหนหลังได้ ญาณรู้จักเหตุการณ์ในอดีต ญาณรู้จักเหตุการณ์ในอนาคต รู้จักวาระจิต ความนึกคิดของบุคคลอื่นเป็นต้น เหล่านี้ล้วนแต่เป็นวิชาที่น่าอัศจรรย์มากทีเดียว แต่ถ้าหากว่าหลงและติดอยู่ในญาณเหล่านี้แล้ว จะทำให้เกิดความเนิ่นช้าในการปฏิบัติ เมื่อเข้าสู่อริยสัจธรรม แต่ญาณเหล่านี้เป็นอุปกรณ์อย่างดีพิเศษ ในอันที่ดำเนินจิตเข้าสู่อริยลัจจ์หรือการทรมานบุคคลบางคน แต่ว่าจะต้องรู้ว่ามันเป็นญาณ อย่ายินดีหรือติดอยู่เพียงเท่านี้ เพราะเท่ากับว่ามันเป็นผลพลอยได้ เกิดจากการบำเพ็ญจิตเข้าสู่อริยสัจจ์นั่นเอง ถ้าหากว่าเราไปยินดีหรือไปติดอยู่เพียงเท่านี้แล้ว ก็จะก้าวเข้าไปสู่ความพ้นไปจากทุกข์ไม่ได้
    แม้แต่พระเทวทัตในสมัยครั้งพุทธกาลก็สำเร็จญาณถึง ๕ ประการแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้สมกับความประสงค์ แต่หลงอยู่ในความรู้ญาณของตน เกิดทิฐิมานะว่าคนเก่งตนดี ถึงกับต้องการจะเป็นพระพุทธเจ้าแทนเอาเลยทีเดียว แต่ที่ไหนได้ ในที่สุด โดยอาศัยความหลงญาณ กลับต้องเสื่อมหมดทุกอย่าง ไม่พ้นทุกข์ ไม่เข้าถึงอริยสัจ แต่กลับตกนรกไปเลย.
    ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านเน้นว่า ญาณเหล่านี้มันน่าคิดจริง ๆ เพราะมันวิเศษแท้ ทั้งเยือกเย็นทั้งสว่างผ่องใส ทั้งรู้อะไรที่เป็นอดีต อนาคต ตามความประสงค์ ผู้ที่ไม่เข้าใจความจริง ที่ไปติด ณ ที่นี้ เราจะสังเกตเห็นได้ตรงที่เกิดทิฐิขึ้นมาอย่างหนึ่ง คือการถือตัวว่าดีกว่าใคร ๆ ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นครูบาอาจารย์หรือเพื่อนสหธรรมิกหรือศิษย์ หาว่าศิษย์สู้เราไม่ได้ ใครก็สู้เราไม่ได้ ทิฐิชนิดนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ตัวของตัวเองไม่รู้ตัวเอง ซึ่งท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านเปรียบว่า มีจระเข้ตัวหนึ่งใหญ่เหลือเกินอยู่ในท้องทะเล มันไม่รู้ว่าหางของมันอยู่ไหน เมื่อมันไม่รู้ มันเห็นหางของมัน มันก็กินหางของมัน กินไป ๆ จนเหลือแค่หัว เลยม้ำช้ำหมดเลย
    และท่านก็อธิบายว่า การหลงตัวด้วยญาณนี้มันละเอียดนัก เราจะสังเกตได้อีกอย่างหนึ่ง คือการขาดจากความรอบคอบบางสิ่งบางประการ เพราะเหตุแห่งการถือตัว เช่นการกล่าวคำดูถูกดูหมิ่นต่อเพื่อนสหธรรมิกด้วยกัน หรือต่อครูบาอาจารย์ของตน หรือบุคคลใด บุคคลหนึ่ง ซึ่งตนไม่เห็นด้วยกับการดำเนิน
    ญาณทุกญาณ ท่านอาจารย์มั่นฯ กล่าวว่า มันต้องเสื่อม มันจะคงตัวอยู่ได้ตลอดไปหาได้ไม่ แม้จะใช้ความพยายามสักเท่าใดก็ตาม คือว่าครั้งแรก ๆ ก็ดูเหมือนจะเป็นความจริงได้ แต่ต่อไปก็เลือนเข้า ๆ กลับกลายเป็นความนึกคิด โดยอาศัยสัญญาเก่า นี้คือความเสื่อมแห่งญาณ ลูกศิษย์มีหลายองค์ ที่ต้องเสื่อมลงจากญาณเหล่านี้อย่างน่าเสียดาย ดังนั้นเพื่อป้องกันความเสื่อม จึงต้องรีบดำเนินจิต เข้าสู่อริยสัจจ์เสียเลย เพราะความที่จิตเข้าสู่อริยสัจจ์ได้แล้ว มันก็ห่างจากความเสื่อมเข้าไปทุกที ๆ
    ท่านยกตัวอย่างว่าท่านอาจารย์หนูใหญ่ อายุคราวเดียวกับท่านอาจารย์ฝั้น อาจาโร ไม่พยายามดำเนินจึงเข้าสู่อริยสัจจ์แต่ว่ามีวิญญาณแหลมคมดี เอาแต่ญาณภายนอกอย่างเดียว จึงเสื่อมไปได้ คือท่านอาจารย์หนูใหญ่นั้น ปรากฏว่า เมื่อปฏิบัติไปแล้วเกิดญาณรู้ความจริงบางอย่างได้อย่างคล่องแคล่ว เป็นที่ปรึกษาหารือแก่สหธรรมมิกด้วยกันได้เป็นอย่างดี ทั้งมีความรู้พิเศษเป็นที่น่าอัศจรรย์มาก เมื่อหมู่คณะที่อยู่รวมสำนักกับท่านประพฤติผิดธรรมวินัยในข้อวัตรปฏิบัติแม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม ท่านสามารถรู้ได้ด้วยญาณของท่าน ทั้งๆ ที่ท่านก็ไม่ได้รู้ไม่ได้เห็นแต่ประการใด
    อาทิเช่นครั้งหนึ่ง เวลาตอนบ่าย สามเณรทั้งหลายได้จัดน้ำปานะ (อัฏฐบาล) ถวายพระเวลาที่พระทั้งหลายกำลังดื่มอยู่นั้น ขณะนั้นท่านอาจารย์หนูใหญ่ กำลังทำสมาธิอยู่ในความสงบ ได้ปรากฏเห็นพระเหล่านั้นในญาณ ของท่านว่า กำลังฉันอาหารกันอยู่ ท่านจึงไปที่ท่ามกลางหมู่คณะนั้นแล้วกล่าวว่า พวกเรากำลังฉันสิ่งของที่เจือด้วยอนามิสแน่ เพราะมันไม่บริสุทธิ์ ซึ่งพระภิกษุสามเณรทั้งหลายกำลังฉันน้ำปานะกันอยู่ พากันสงสัย และสามเณรผู้ทำก็ยืนยันว่าบริสุทธิ์ไม่มีอะไร เพราะทำมากับมือ แต่อาจารย์หนูใหญ่ก็ยืนยันว่าไม่บริสุทธิ์แน่ จึงได้มีการตรวจค้นกันขึ้น ได้พบเมล็ดข้าวสุกติดอยู่ที่ก้นภาชนะนั้นจริง ๆ เพราะเหตุนั้นหมู่คณะทั้งหลายจึงเกรงขามท่านมาก เพราะเมื่ออยู่ใกล้ ๆ กับท่านแล้วต้องระวัง ระวังความนึกคิด เป็นเหตุให้เกิดสติสัมปชัญญะขึ้นมาก
    แต่นั้นแหละเป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง เมื่อท่านอาจารย์หนูใหญ่ได้ออกไปไกลจากอาจารย์มั่น ฯไม่ค่อยจะได้เข้าไปศึกษาบ่อยๆ เมื่อภายหลังได้เกิดญาณเสื่อมจากคุณธรรมส่วนยิ่งโดยไม่รู้สึกตัว ต่อสู้กับกิเลสมาก คือไปไม่ได้ จึงลาสิกขาบท ไปอยู่ในฆราวาสวิสัย ยอมอยู่ใต้อำนาจของกิเลสต่อไป
    ท่านอาจารย์มั่นฯหลังจากเล่าความเป็นไป ของท่านอาจารย์หนูใหญ่ให้เป็นตัวอย่างแล้ว ท่านก็เน้นลงไปอีกว่า บุคคลผู้ที่ได้ญาณนี้แล้วถ้าเป็นเช่นนี้ย่อมเป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งทีเดียว เพราะเท่ากับกับได้สมบัติมหาศาลแล้วรักษาสมบัติไม่ได้ หรือใช้สมบัติไม่เป็น ไม่ได้ประโยชน์จากสมบัตินั้น ผู้ที่ได้ญาณก็เหมือนกันว่าจะทำมันขึ้นมาได้แสนยากลำบากนัก แต่เมื่อได้มาแล้วไม่รู้จักรักษาและไม่รู้จักทำให้มันเป็นประโยชน์ จึงเป็นสิ่งที่นักปฏิบัติทั้งหลายควรสังวรเป็นอย่างยิ่ง
    สำหรับเรื่องญาณ หรือความสงบ ถ้าหากไปหลงมันเข้าปล่อยให้เกิดแต่ความสงบอย่างเดียวย่อมไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควรจะได้ เพราะสถานที่นั้นเป็นที่สบายอย่างยิ่งและน่าอยู่ มันทำให้เกิดความสุขอย่างน่าพิศวง และเป็นสถานที่น่าคิดอยู่ของหมู่โยคาวจรทั้งหลายจริงๆ มิหนำซ้ำบางทีท่านก็หลงไปถึงกับว่าที่นี่เองเป็นที่หมดไปจากกิเลส อันที่จริงแล้วที่นี่เองจำเป็นต้องแก้ไขตัวของตัวเองอย่างหนัก เหมือนกันกับคนที่กำลังนั่งนอนสบาย และจะให้ทำงานหนักก็จำเป็นต้องทั้งบังคับทั้งปลอบ
    ท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านชี้ตัวอย่างท่านอาจารย์เทสก์ เทสรงฺสี (พระนิโรธรังสีฯ) ว่า ท่านเทสก์นี้ได้ติดอยู่ในญาณนี้นานยิ่งกว่าใครๆ ในระยะที่ท่านเทสก์หลงอยู่ในญาณนั้น เราได้พยายามแก้ไขอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้คลายจากความเป็นเช่นนี้นั้น กว่าจะได้ผลต้องใช้เวลาถึง ๑๒ ปี เพราะท่านอาจารย์เทสก์ได้ติดอยู่ในญาณถึง ๑๒ ปี ครั้นเมื่อท่านอาจารย์เทสก์แก้ไขตัวของท่านได้แล้วถึงกับอุทานว่า เราหลงไปถึง ๑๒ ปี ถ้าไม่ได้ท่านอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิแก้ไขเราแล้วก็จะต้องติดไปจนตาย
    ท่านอาจารย์มั่นฯ ได้เน้นหนักว่า การแก้ไขสิ่งของที่ดีที่เกิดขึ้นนี้ลำบากกว่าแก้สิ่งของไม่ดี เพราะความไม่ดีรู้กันในหมู่ผู้หวังดี หาทางแก้ไขได้ง่าย ส่วนความดีที่ต้องติดดีนี่แก้ไขยาก ผู้ติดดีจึงต้องใช้ความพยายามหลายอย่าง เพราะขั้นนี้มันเป็นขั้นปัญญา เนื่องจากการเกิดขึ้นภายในนั้นมีพร้อมทั้งเหตุและผล จนทำให้เชื่อเอาจนได้ จะไปว่าอะไรแต่อย่างอื่นที่ไกลจากอริยสัจธรรม แม้แต่วิปัสสนาซึ่งก็เป็นทางไปสู่อริยสัจจ์อยู่แล้ว แต่ผู้ดำเนินไม่มีความรอบรู้พอ กลับกลายเป็นวิปัสสนูปกิเลสไปได้ การเป็นวิปัสสนูปกิเลสนั้นคือ
    โอภาโส แสงสว่างไม่มีประมาณ แสงสว่างที่เกิดจากจิตที่สงบยิ่งเกิดแสงสว่างขึ้น เป็นแสงสว่างที่จะหาสิ่งเปรียบเทียบยาก ผู้บำเพ็ญจิตเบื้องต้น พอจิตสงบแล้วเกิดนิมิต เห็นแสงสว่าง เท่านั้นไม่จัดเข้าในวิปัสสนู เพราะแสงสว่างที่จัดเข้าในวิปัสสนูนี้ เป็นแสงที่เกิดจากการเห็นของธรรมชาติ แม้การเห็นเป็นธรรมชาติ เป็นของจริงก็ตาม การที่จะถือเอาของจริงแม้นั้นก็ผิด เพราะความจริงที่เห็นนี้สำหรับพิจารณาด้วยญาณต่างหาก ไม่ใช่จะให้ติดข้องพัวพัน ถ้าติดข้องก็เกิดเป็นกิเลส ก็เลยยึดเข้าไปหาว่าได้ชั้นนั้นชั้นนี้ เลยยิ่งเหลวไปใหญ่ แสงสว่างที่เห็นของจริงนี้ท่านจึงจัดเป็นวิปัสสนูเพราะไปหลงเข้าแล้วหาว่าดี แม้เพียงเท่านี้ ความจริงมันเป็นเพียงเครื่องมือพิจารณาต่อไป ท่านจึงห้ามติด
    ญาณะ ความรู้ไม่มีประมาณ ความรู้ที่เกิดในขั้นต้น เป็นต้นว่ารู้ว่าจิตสงบ หรือรู้อยู่เฉพาะหน้าบ้าง อย่างนี้ไม่จัดเข้าในขั้นนี้ ความรู้ที่จัดเป็นวิปัสสนูนั้น คือความรู้ที่หยั่งรู้ว่า จิตเรานี้ว่ามีความสว่างจริง เช่นเห็นธาตุ ว่าเป็นธาตุจริง ชนิดนี้เราไม่เคยเห็นไม่เคยรู้มาก่อน แน่ล่ะ ถ้าจะเป็นของจริง เลยเข้าใจว่ารู้นี้เป็นธรรมแท้ จึงเป็นกิเลส เป็นเหตุให้ถือตัว แต่ความจริงแล้วท่านให้ใช้ความรู้นี้พิจารณาให้ยิ่งเท่านั้น มิใช่ให้ถือเอาความรู้ ก็เท่ากับถือเอาเครื่องมือว่าเป็นของจริง ท่านจึงห้ามติด
    ปีติ ความอิ่มใจอันแรงกล้า ความอิ่มใจซาบซ่านในตัวอันเกิดขึ้นแก่ผู้ฝึกสมาธิในขั้นต้น ไม่จัดเข้าในชั้นนี้ ปีติที่จัดเป็นวิปัสสนูปกิเลสนั้น คือความเยือกเย็นอันได้เห็นในสิ่งที่เราไม่เคยเห็น เช่นเห็นว่า ธาตุทั้งหลาย สักแต่ว่าธาตุ เป็นธรรมธาตุแห่งสภาพจริงๆ ความปีติเยือกเย็นอย่างที่ไม่เคยพบ ก็จะได้พบ เมื่อพบเข้าเลยเกิดความอิ่มใจอย่างแรงกล้า เข้าใจว่าเป็นของจริงทำให้ติด เกิดกิเลสเป็นเหตุให้ยึดถือว่า เป็นธรรมพิเศษหรืออมตธรรม ก็เลยจะเป็นทางให้ยึดแล้วก็ทำให้เนิ่นช้า ท่านจึงห้ามติด
    ปัสสัทธิ ความสงบยิ่ง การทำจิตสงบชั่วครั้งชั่วคราวของผู้เริ่มความเพียรไม่นับเข้าในชั้นนี้ ปัสสัทธิที่จัดเป็นวิปัสสนูฯ นั้น คือความสงบที่มีกำลังอันอาจจะจำแนกธาตุออกไปได้ว่าธาตุนั้นเป็นดิน เป็นน้ำเป็นต้น เพราะสงบจริง จึงจะเห็นธาตุเป็นธาตุจริง ซึ่งสามารถจะให้จิตหลง เพราะความสงบนี้เยือกเย็นมากขึ้นเป็นกำลัง แม้จะทำให้เกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ แต่ถ้าไปติดเพียงเท่านั้นแล้วก็เข้าใจว่าเป็นของจริง กลับกลายเป็นกิเลส ท่านจึงห้ามติด
    สุขะ ความสุขอันลึกซึ้ง ความสุขเกิดแก่จิตของผู้ฝึกหัดใหม่นั้น แม้ครั้งสองครั้งหรือชั่วครั้งชั่วคราวไม่จัดเข้าในชั้นนี้ สุขะที่จัดเป็นวิปัสสนูฯ นั้นเป็นผลไปจากการเห็นธาตุทั้งหลายว่าเป็นจริง เกิดความสงบสุขยิ่งขึ้นเป็นลำดับ ความสุขนี้จะมีชั้นสูงขึ้นตามลำดับแห่งการเห็นตามเป็นจริงแห่งธรรมธาตุ ถ้าติดก็เป็นกิเลส เป็นเหตุให้พอใจเพียงแค่นั้น จะไม่ก้าวหน้าต่อไป ท่านจึงห้ามติด
    อธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อ ของจริงเป็นสิ่งที่มีอยู่ เป็นฐิติธรรม อาศัยอวิชชาเป็นเครื่องปิดบังจึงไม่สามารถจะเข้าถึงได้ แต่เมื่อพอแก่ความต้องการแล้วก็เป็นอันว่าถึงได้แน่นอน เมื่อทำไม่พอแก่ความต้องการแล้วก็ถึงไม่ได้ เหมือนกับคนทั้งหลายจะพากันเดินทางจากต่างจังหวัดเข้าสู่กรุงเทพฯ เช่นเขาทั้งหลายอยู่เชียงใหม่ แต่กรุงเทพนั้นน่ะมีจริง พอเขาเดินมาถึงลำปาง เขาก็พากันน้อมใจเชื่อว่า ลำปางนี่แหละคือ กรุงเทพ ฯ เขาเหล่านั้นก็ลงรถไฟโดยถือเอาลำปางเป็นกรุงเทพฯ เมื่อน้อมใจเชื่อเช่นนี้เป็นอันถึงกรุงเทพ ฯ ไม่ได้ กรุงเทพมีจริงแต่ต้องขึ้นรถไฟรถยนต์จากเชียงใหม่ไปให้พอแก่ความต้องการ ก็จะต้องถึงจนได้ อันการบำเพ็ญจิตยิ่งบำเพ็ญยิ่งละเอียดขึ้นเป็นลำดับ น่าทึ่งน่าอัศจรรย์มากมายเหลือจะนับจะประมาณ มีสิ่งประหลาดมากมายทีเดียวจึงเป็นสิ่งที่คล้ายกับธรรมชั้นสูง โดยเหมือนกับมีธรรมผุดขึ้นมาบอกว่า ถึงธรรมชั้นนั้นชั้นนี้บ้าง ได้เห็นอริยสัจจ์บ้าง ได้เห็นจะบรรลุบ้าง อะไรมากมายที่จะเกิดขึ้นน้อมใจเชื่อมันแล้ว เป็นกิเลสตัวใหญ่กางกั้นความดี ที่กำลังจะก้าวหน้าไปอย่างน่าเสียดาย
    ปัคคาหะ ความเพียรอาจหาญ การบำเพ็ญจิตจนเกิดความดี ความงาม ความที่ละเอียดอ่อน โดยอาศัยพลังงานแห่งจิต โดยที่ต้องการให้ถึงเร็ว เป็นการเร่งเกินแก่ความพอดี อย่างไม่คำนึงถึงว่าร่างกายมันจะเป็นอย่างไร เอาใจเป็นใหญ่ หักโหมความเพียรอย่างไม่ปรานีปราสัย นี่ก็เป็นทางเสียหาย เพราะเหตุใด ท่านจึงจัดเป็นอุปกิเลสแห่งวิปัสสนาด้วยเล่า ก็เพราะว่าในที่นี้นับว่าเป็นความปรารถนาอย่างรุนแรงของใจ จนอาจจะเป็นอันตรายได้ โดยขาดมัตตัญญู ความเป็นผู้รู้จักประมาณไป จึงกลายตัวมาเป็นอุปกิเลส ซึ่งทำให้เกิดความมัวหมอง ถึงกับจะกางกั้นความเจริญชั้นสูงต่อไป แต่การจะถือเอาวิปัสสนูฯ ข้อนี้มาทำให้เกิดหย่อนความเพียร เรื่องก็ยิ่งเสียหายกันไปใหญ่อีก ในที่นี้ท่านต้องการความพอดี เหมือนกับการรับประทานอาหาร ความอิ่ม นี่คือความพอดี ถ้าเรารับประทานไม่อิ่ม แต่เราถือว่า อิ่มนี่คือไม่พอดี ถ้าเรารับประทาน อิ่มยิ่งเติมเข้าไป ก็เกินความพอดี เราจะต้องทราบความละเอียดที่เกิดผลตามสมควร จึงจะชื่อว่าพอดี ไม่หักโหมเกินไป จนเป็นเหตุให้ถือเอาความเพียรข่มผู้อื่นอันจะกลับกลายเป็นกิเลสไป
    อุปฐานะ สติกล้า สตินี้ไม่น่าจะเป็นอุปกิเลส เพราะสตินี้เองสามารถดำเนินจิตให้ตั้งเที่ยงอยู่ได้ แต่ว่าไม่ว่าอะไรทุกสิ่งทุกอย่างจะดีสักเท่าไรก็ตาม ถ้าเกินไปก็ใช้ไม่ได้ แม้สติกำหนดเพ่งกันเกินไป กำหนดอยู่ในกายานุปัสสนา ไม่รู้จักพักผ่อน เกินแก่ความต้องการไม่ช้าก็ต้องเลอะเลือน ธรรมดาการใช้สติกำหนดต้องรู้จักพักตามสมควร เพราะถ้าไม่รู้จักพักแล้ว เมื่อมันเกิดความเลอะเลือนขึ้น ความสงสัยก็ตามมา ก็จะกลับกลายเป็นอุปกิเลสไป
    อุเบกขา ความวางเฉย การจัดอุเบกขาเป็นวิปัสสนู ฯ นั่นคือการไปเข้าใจเอาเองว่า นี่เป็นวิมุตติธรรม หรือความละเอียดแห่งจิต เท่านี้ถือว่าเป็นการบรรลุธรรมชั้นสูง เลยวางเฉย ถือว่าเป็นสิ่งแน่นอน ยังไม่ถึงอริยสัจจ์เต็มที่ มาวางเฉยเสียก่อนเป็นการคำนึงเอง หรือเป็นการ ชิงสุกก่อนห่าม ท่านจึงจัดว่าเป็นเครื่องเศร้าหมอง นักปฏิบัติควรระวังเป็นพิเศษในข้อนี้ อย่าไปวางเฉยเอาง่าย ๆ ต้องพิจารณาให้ถ่องแท้เสียก่อน
    นิกันติ ความพอใจ ความพอใจแม้จะเป็นธรรมชั้นละเอียดก็ยังใช้ไม่ได้ เพราะจะเป็นการพอใจอยู่เพียงหนทาง ไม่เชื่อว่าพอใจในสถานที่ต้องการ เพราะการถึงสถานที่ที่ต้องการนั้น มิใช่เป็นความพอใจ แต่เป็นความจริง และของจริงนั้นเมื่อเป็นขึ้น ย่อมเป็นสิ่งล่วงพ้นจากความพอใจที่จะพึงกำหนดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ถ้าทำความพอใจในธรรมละเอียดไม่ดี จะกลายเป็นอัตถวาทุปาทานไปเสีย จะเสียงานใหญ่ในการที่จะบำเพ็ญให้ก้าวหน้าต่อไป.
    ท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านได้เน้นหนักลงไปถึง ฌาน และญาณนี้หนักมากในพรรษานี้ เพื่อให้ศิษย์ทั้งหลายได้สำเหนียก เพื่อความก้าวหน้าของตน
     
  13. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ตอนที่ ๔
    [​IMG]
    พ.ศ. ๒๔๖๓
    เสนาสนะ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
    การจำพรรษาของท่านอาจารย์มั่นฯ นั้น โดยส่วนมากท่านย้ายสถานที่อยู่เสมอ ทั้งนี้เพื่อจะได้บำเพ็ญประโยชน์ให้ได้มาก ๆ และมิให้จำเจที่จะต้องเกิดความกังวลอีกด้วย และแม้ว่าท่านจะไปจำพรรษาที่ไหนก็ตาม บรรดาลูกศิษย์ผู้หวังดีจะต้องติดตามไป เพื่อศึกษาธรรมปฏิบัติจากท่านเพื่อให้ก้าวหน้าต่อไป แม้ว่าจะได้ทราบชัดถึงหนทางที่ท่านได้แนะนำให้อย่างแจ่มแจ้งแล้วก็ตาม แต่ข้อละเอียดบางประการ ก็ต้องอาศัยการอบรมจากท่านอยู่อย่างใกล้ชิด
    ในปีนี้พระภิกษุสามเณรรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ก็เริ่มมากขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากว่า ก่อนนี้ การปฏิบัติโดยเฉพาะ การบำเพ็ญสมณธรรมนั้นเป็นของลึกลับมาก ยากแก่การที่มาดำเนินกันอย่างง่าย ๆ แต่ท่านพระอาจารย์มั่น ฯ ก็มาเปิดศักราชการปฏิบัติ โดยกำหนดการปฏิบัติอย่างง่ายๆ ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือพระภิกษุสามเณร ก็สามารถทำได้ด้วยกันทั้งนั้น และก็ได้ประสบผลอย่างทันตาด้วย โดยไม่ต้องไปเสียเวลายกครู ยกขัน ๕ ขัน ๘ เหมือนอย่างแต่ก่อน แม้สามเณรองค์เล็กก็สามารถปฏิบัติให้เกิดความอัศจรรย์ได้ อันพุทธบริษัทในสมัยนั้นบางจำพวกก็ยังพากันกล่าวถึงว่า มรรคผลธรรมวิเศษนั้นหมดเขตหมดสมัยแล้ว จึงได้พากันไม่สนใจต่อการบำเพ็ญสมณธรรม เพราะถือว่าเปล่าประโยชน์ แต่ท่านพระอาจารย์มั่นฯ ท่านได้มาเปิดศักราชแห่งการปฏิบัติจิต แก้ไขความคิดเห็นของผู้ที่ยังหลงงมงายเหล่านั้นโดยสิ้นเชิง เพราะว่าสามเณรองค์เล็ก ๆ เมื่อปฏิบัติแล้วก็ได้รับผลแห่งความเย็นใจ และฆราวาสผู้ปฏิบัติก็ได้รับผลเป็นที่พึงพอใจอย่างฉับพลัน ความจริงที่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่น้อมนำมาเชื่อและปฏิบัติตามนี้ จึงได้ลบความเชื่อถือที่ว่ามรรคผลหมดเขตหมดสมัย
    การที่ท่านอาจารย์มั่นฯ ได้เผยแพร่ความจริงของการปฏิบัติ ที่เป็นการเผยแพร่โดยให้บุคคลที่น้อมตัวเข้ามาเชื่อได้เห็นเอง คือให้กระทำแล้วได้รู้เองว่า รสของพระสัทธรรมนั้นเป็นอย่างไร ด้วยเหตุนี้เกียรติคุณของท่านจึงแพร่ไปอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้ลูกศิษย์ของท่านมีมากขึ้นในระยะเวลาอันสั้น ตัวท่านและศิษย์ที่มารับการอบรมก็ได้รับรสพระสัทธรรม และช่วยให้บุคคลอื่นนอกนั้นมาร่วมเป็นสมาชิกในการดำเนินการปฏิบัติจิต และก็บรรดาผู้ที่น้อมตัวเข้ามาเป็นศิษย์ของท่าน ก็เป็นอันรับรองได้เลยทีเดียวว่า จะต้องได้รับผลแน่นอน เพราะปรากฏในภายหลังว่า ศิษย์ของท่านได้กลับกลายเป็นผู้มีความสำคัญ ในการเผยแพร่การปฏิบัติที่มีชื่อเสียงเกียรติคุณ ทำประโยชน์แด่พระพุทธศาสนาเป็นอันมาก
    ทั้งนี้เนื่องมาจากว่า ท่านได้กำหนดวางรากฐานการปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสมแก่กาลสมัย เพราะการกำหนดมาตรการอันเป็นสิ่งที่ท่านได้กำหนดพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนจริง ๆ ปรากฏตามประวัติที่ท่านต้องออกไปอยู่ในถ้ำแต่ผู้เดียวบ้าง ศึกษาจากครูบาอาจารย์บ้าง และการที่ท่านได้ทำความรอบคอบในการวางรากฐานแห่งการปฏิบัตินี่เอง เป็นผลให้เกิดความมั่นคงในวงการของนักปฏิบัติผู้นับเนื่องในความเป็นศิษย์ของท่าน และการที่ท่านจะวางมาตรการของท่าน ก็ต้องวางให้ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงไว้ ดังนั้นท่านจึงได้อ้างถึงพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมแก่ใคร เพราะอะไร ท่านได้แสดงเสมอว่า พระปัญจวัคคีย์เมื่อจะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ พระองค์ก็ทรงชี้ลงไปที่รูปของพระปัญจวัคคีย์เอง มิได้ทรงแสดงเกินกว่ารูปพระปัญจวัคคีย์เลย เช่นทรงแสดงว่า รูปํ ภิกฺขเว อนตฺตา ดูก่อนพระภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ตน ปัญจวัคคีย์ก็มีรูปมาแต่ไหน ๆ แต่ทำไมไม่ได้สำเร็จพระอรหันต์ มาสำเร็จเอาตอนที่พระพุทธองค์ทรงชี้ให้ คนเราก็เช่นเดียวกัน แม้เราพากันพิจารณาดูรูปก็ต้องไม่ผิดหนทางแน่นอน ท่านได้อ้างอิงอย่างมีหลักฐานเช่นนั้น จึงเป็นที่น่าเชื่อถืออย่างยิ่งแก่บุคคลที่เข้ามาศึกษาธรรมปฏิบัติกับท่าน
    ณ ที่ท่าบ่อนี้เอง บัดนี้ได้กลับกลายมาเป็นวัดป่าอันเป็นสถานที่บำเพ็ญกัมมัฏฐานเป็นเหตุให้เกิดมีผู้บุญขึ้นมาอีกมาก ได้นามว่า วัดอรัญญวาสี มีพระอาจารย์เทสก์ เทสรงฺสี พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์สุวรรณ พระอาจารย์หลายและองค์อื่นๆ อีกมาก ที่ได้มาเห็นว่าสถานที่นี้ดี เหมาะแก่ การบำเพ็ญสมณธรรม และได้มาบำเพ็ญแล้วก็ได้รับประโยชน์ทางใจจากสถานที่นี้มากมายทีเดียว
    พ.ศ. ๒๔๖๔ เสนาสนะป่าบ้านห้วยทราย กิ่งคำชะอี
    จังหวัดนครพนม
    ท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้จำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านห้วยทราย เขตจังหวัดนครพนม ปรากฏว่าได้มีพระภิกษุ ๕ รูปและสามเณรอีก ๕ รูป ร่วมจำพรรษากับท่าน ในปีนี้ท่านได้เริ่มศักราชแห่งการแก้ความเห็นผิดแก่ชาวบ้านตามท้องถิ่นที่ท่านได้ไปพักพาอาศัย โดยการแนะนำถึงพระไตรสรณคมน์ว่า การนับถือพระพุทธเจ้าและพระธรรม พระสงฆ์นั้นเป็นประการสำคัญ การนับถือภูตผีปีศาจต่างๆ ของประชาชนแถบนี้ ในสมัยนับถือกันหนักมาก ซึ่งท่านก็พยายามแสดงเหตุผลและพยายามให้เข้าใจจริง จนทำให้ประชาชนเหล่านั้นได้ละความถืออย่างผิดๆ นั้น เช่นเขานับถือว่า บิดามารดาตายแล้วก็มาอาศัยอยู่ที่หิ้ง คอยทำให้ลูกหลานเจ็บป่วย ตลอดจนการปลูกศาลเจ้าที่.พระภูมิเจ้าที่ เป็นต้น เมื่อประชาชนละความเห็นผิดนั้นแล้ว ก็ให้ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะเสียหมด พร้อมทั้งปลูกศรัทธาในการเจริญกัมมัฏฐานภาวนา ซึ่งปรากฏ ว่าประชาชนในถิ่นนั้นจนตราบเท่าทุกวันนี้ ได้เป็นผู้เกิดความสนใจ ในการเจริญกัมมัฏฐานภาวนาสืบต่อกันมา และท่านได้พักอยู่ที่เสนาสนะป่าบ้านห้วยทรายนี้ประมาณ ๑๐ เดือนจึงได้เดินธุดงค์ต่อไป
    ท่านอาจารย์เสาร์ ท่านพักอยู่ที่ถ้ำภูผากูดถึง ๕ พรรษา ออกพรรษาแล้วไปพักจำพรรษาในเขตท้องถิ่นของอำเภอมุกดาหาร และกิ่งอำเภอคำชะอีไปๆ มาๆ เมื่อท่านอาจารย์มั่นฯ ออกจากบ้านห้วยทรายแล้ว ท่านต่างก็ได้ร่วมทางเดินธุดงค์ออกขึ้นไปทางทิศเหนือขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงบ้านหนองลาด บ้านม่วงไข่พรรณา ซึ่งเป็นบ้านที่ใกล้บ้านเดิมของท่านอาจารย์ฝั้น อาจาโร และออกเดินธุดงค์ไปทางบ้านหนองแวง บ้านโพนเชียงหวาง ตามหนทางถิ่นนี้เป็นป่าดงพงพีเต็มไปด้วยไม้เต็งรัง ไม้แดง ไม้ตะเคียน เป็นป่าทึบ ท่านได้พักพิงและพาหมู่คณะศิษย์ทำความเพียรเป็นระยะไป และได้ลูกศิษย์เพิ่มขึ้นตามระยะทาง ทั้งที่เป็นพระภิกษุสามเณรและเด็ก
    จากนั้นท่านก็ธุดงค์ต่อไป ถึงบ้านหนองใส บ้านตาลโกน บ้านตาลเนิ้ง อันเป็นบ้านเดิมของท่านอาจารย์วัน อุตฺตโม บริเวณถิ่นนี้มีหมู่บ้านเป็นหย่อมๆ พวกเขาส่วนมากเป็นชาวนา การไปตามแถวถิ่นนี้ท่านจะแนะนำหมู่ชนให้ละจากการนับถือภูตผีปีศาจ โดยความหลงผิดเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นตัวอย่างให้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นศิษย์ของท่านได้เจริญรอยตามที่ท่านได้ทำมาแล้ว คือให้ละจากการถือผิด ให้เป็นพุทธบริษัทที่แท้จริง พร้อมทั้งปลูกศรัทธาในการเจริญกัมมัฏฐานภาวนาไปด้วย
    จากนั้นท่านก็ธุดงค์ต่อไปเรื่อยๆ จนถึงบ้านหนองปลาไหล บ้านพังโคน กิ่งวาริชภูมิ แม้ในขณะที่ท่านพาหมู่คณะที่เป็นศิษย์ธุดงค์ไปตามหมู่เขาลำนาไพรนี้ เมื่อพักอยู่นานๆ เข้าก็จะมีทั้งพระภิกษุสามเณร และอุบาสก อุบาสิกา สนใจจากทางไกลๆ เข้ามาศึกษาธรรมปฏิบัติกับท่าน เพราะเหตุว่าการปฏิบัติแต่ก่อนนี้เป็นสิ่งลี้ลับ กลับมาเปิดเผยจะแจ้งขึ้น ท่านผู้ใดได้บำเพ็ญตามท่าน แม้แต่อุบาสกอุบาสิกา ซึ่งเป็นฆราวาสมาบำเพ็ญก็ได้ผลอย่างน่าประหลาด ผู้ที่เป็นพระภิกษุจะมาอยู่ดูดายไม่ปฏิบัติ ก็จะด้อยกว่าฆราวาสด้านปฏิบัติธรรม ก็จะเป็นการทำให้ฆราวาสดูถูกดูแคลนได้ จึงปรากฏว่า บรรดาพระภิกษุทั้งหลายเกิดการตื่นตัวขึ้น มาหาท่านเพื่อขอมอบตัวเป็นศิษย์ ทั้งพระผู้ใหญ่อันเป็นพระเถระ และพระผู้น้อย ทั้งพระเก่า ๆ ที่เป็นพระเถระซึ่งติดตามท่านไปห่าง ๆ ก็สามารถสอนธรรมกัมมัฏฐานได้เช่นท่านเหมือนกัน การเดินธุดงค์จึงเป็นการเผยแพร่พระธรรมปฏิบัติไปในตัวด้วย
    ในขณะนั้นพระอุปัชฌาย์เกิ่ง อธิมุตตโก ท่านอาจารย์ดี วัดม่วงไข่พรรณาก็ได้มาขอเรียนกัมมัฏฐานภาวนาจากท่านอาจารย์มั่นฯ จนปรากฏว่าได้ผลอย่างมหัศจรรย์ จึงได้พาหมู่คณะอันเป็นศิษย์เข้ามาศึกษาธรรมปฏิบัติอีกด้วย ระยะนี้เริ่มมีผู้สนใจในการปฏิบัติกับท่านเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเป็นคณะหมู่ใหญ่ขึ้น เขตในท้องถิ่นนั้นและเขตใกล้เคียงได้เกิดศรัทธา ปฏิบัติเห็นอรรถธรรม ต้องการบรรพชาอุปสมบท แต่ขณะนั้นท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านยังไม่ได้เป็นอุปัชฌาย์ จึงได้นิมนต์ท่านพระครูอดิสัยคุณาธาร (อากโร คำ ) ที่วัดศรีสะอาด เจ้าคณะจังหวัดเลยมาเป็นอุปัชฌาย์
    การทำการอุปสมบทในสมัยนั้น เป็นการเริ่มต้นวางระเบียบการบวชตาผ้าขาวแต่ก่อนที่จะทำการบรรพชาอุปสมบท การบวชตาผ้าขาว คือการรักษาศีล ๘ และให้รับประทานอาหารเพียงมื้อเดียว และฝึกหัดดัดแปลงนิสัยใจคอ ทั้งฝึกสมาธิให้เป็นประดุจพระหรือสามเณรไปตั้งแต่ยังเป็นตาผ้าขาวนี้เสียก่อน ถ้าการฝึกยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ก็ยังไม่บรรพชาอุปสมบทให้ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาหลายเดือนหรือหลายปี การฝึกผู้จะบวชนั้นปรากฏว่าเรียบร้อยดีมาก
    ระเบียบนี้จึงได้มีขึ้นในคณะกัมมัฏฐานจนถึงปัจจุบัน คือผู้ที่จะบวชเป็นการถาวร ต้องทำการฝึกหัดให้ปฏิบัติกัมมัฏฐาน ตลอดจนพระวินัยเป็นการเตรียมเพื่อจะทำการบรรพชาอุปสมบท
    ในแถวๆ บ้านโพนเชียงหวางนี้มีผู้มีบุญวาสนาได้ปวารณาตนเข้ามาปฏิบัติอยู่ด้วยท่านอาจารย์มั่น ฯ และลูกศิษย์ของท่านมาก ทั้งปรากฏเป็นผู้เข้มแข็งในการเจริญสมณธรรมเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งปรากฏในภายหลังว่าได้เป็นพระอาจารย์ผู้สันทัดในการสอนกัมมัฏฐานมากขึ้นในแถบนั้น.
    การธุดงค์ที่ให้เกิดประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น ที่ท่านอาจารย์มั่นฯ ได้ดำเนินขึ้นในปีนั้น เป็นการวางแผนแบบใหม่ขึ้นคือ เมื่อถึงคราวที่จะทำประโยชน์แก่ผู้อื่น ท่านก็จัดผู้ทรงคุณธรรมภายในและมีปฏิภาณเฉลียวฉลาดในการแสดงธรรมเป็นหัวหน้าชุดละ ๓ - ๔ องค์ ท่านเป็นหัวหน้าไปพักบ้านหนึ่งบ้านใด อาจจะเป็น ๗ วัน ๑๐ วัน ๑ เดือน สุดแล้วแต่ความเหมาะสมอันจะเป็นประโยชน์ได้ และหัวหน้าตามหลังท่านมาก็พักอยู่ตามทาง ตามบ้านที่ท่านพักตามกำหนดที่ท่านอาจารย์มั่นฯ พัก และทำการสอนกัมมัฏฐานภาวนา ติดตามท่านมาตลอดแห่งหนทางการไปธุดงค์ และการที่จะตัดสินใจไปที่ใดนั้นเป็นหน้าที่ของท่านอาจารย์มั่น ฯ ซึ่งการไปไม่ว่าจะเป็นที่ใด ท่านจะพิจารณาอย่างรอบคอบว่าจะพึงเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง คือชาวบ้านเหล่านั้น และกุลบุตรในแถบถิ่นนั้นจะพึงมีบุญวาสนาพอจะรับธรรมปฏิบัติจากท่านได้ ท่านก็จะพาคณะเดินทางไปยังประเทศตำบลนั้น
    นี้เป็นวิธีที่ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโมนำเอามาเป็นแบบดำเนินการหลังจากท่านอาจารย์มั่น ฯ เดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่แล้ว ท่านได้มอบศิษย์ทั้งหลายให้อยู่ในความปกครองของท่านอาจารย์สิงห์ทั้งหมด ท่านอาจารย์สิงห์ ท่านได้ดำเนินธุดงค์พิธีนี้ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๑ โดยได้เดินทางมาจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งปรากฏว่าได้มีวัดเสนาสนะป่า อันเป็นแหล่งสถานที่บำเพ็ญสมณธรรมแก่ภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา เป็นอันมาก นับเป็นจำนวนพันๆ แห่งทีเดียว
    อีกวิธีหนึ่ง การธุดงค์นั้น ท่านจัดให้ไปแสวงหาความสงบโดยเฉพาะ วิธีนี้ได้จัดขึ้นให้เป็นประโยชน์เฉพาะภิกษุสามเณร คือผู้ที่บวชใหม่ หรือบวชเก่า แต่ยังปฏิบัติไม่ได้ผลเท่าที่ควรจะได้ ก็ต้องไปธุดงค์ คือจะต้องแสวงหาสถานที่ไกลจากบ้านพอสมควร อาจจะเป็นป่าไม้ หรือภูเขา หรือเป็นถ้ำ หรือเป็นป่าช้า พักอยู่บำเพ็ญสมณธรรมโดยเฉพาะ ไม่สอนอุบาสกอุบาสิกา แนะนำกันในระหว่างพระภิกษุสามเณร อบรมกันให้ยิ่งด้วยการกำหนดจิตพยายามช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แก้ความสงสัยที่เกิดขึ้นหลังจากการเกิดผลขึ้นจากบำเพ็ญ ถ้าหากว่าแก้กันไม่ไหวก็จะนำไปหาท่านอาจารย์ใหญ่ เพื่อแก้ไขความสงสัยทั้งหลาย
    การอยู่นั้นสุดแล้วแต่สถานที่ ถ้าเป็นที่สงบสงัดดี บำเพ็ญสมณธรรมได้ผล ก็อยู่นาน ถ้าเป็นที่ไม่ค่อยสงบหรือไม่ได้ผลในการบำเพ็ญสมณธรรมเท่าไร ก็จะอยู่ไม่นาน การธุดงค์แบบนี้จะอยู่กันชั่วคราวทุกสถานที่ แต่ถ้าเป็นสัปปายะดีก็อาจจะอยู่เป็นเวลาหลายวัน หลายเดือน นี้หมายความว่าได้ประโยชน์ในการบำเพ็ญจริงๆ
    แม้การจำพรรษาก็เหมือนกัน ท่านจะต้องแสวงที่ๆ จะพึงได้ประโยชน์แก่การบำเพ็ญสมณธรรมจริงๆ จึงพยายามหาวิธีการปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งพระอมฤตธรรม จึงปรากฏว่าได้ดำเนินถูกต้องตามทำนองคลองธรรมอย่างแต่กาลก่อน เช่นที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ว่า
    อรญฺเญ รุกฺขมูเล วา สุญฺญาคาเร จ ภิกฺขโว
    ในป่า ใต้โคนต้นไม้ เรือนว่างเปล่าเป็นที่สงบสงัด สมควรแก่บุคคลผู้ต้องการด้วยความเพียรและอมฤตธรรมจะพึงอยู่อาศัย
    ครั้งนั้นแม้แต่พระที่เป็นหลวงตา บวชเมื่อแก่ ซึ่งเป็นชาวบ้านโพนเชียงหวางองค์หนึ่ง ได้ติดตามมาปฏิบัติกับท่านอาจารย์มั่นฯ และเคร่งครัดต่อการปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง มีความเพียรอันกล้าหาญ จนบังเกิดผลมีความรู้ฉลาดในการปฏิบัติจิต แม้หลวงตานี้จะมิได้เรียนทางปริยัติมาเลย แต่อาศัยการเจริญภาวนาค้นคว้าพระธรรมวินัยเฉพาะด้านจิต ท่านก็แตกฉานจนถึงเป็นที่พึ่งเก่นักศึกษาธรรมปฏิบัติรุ่นหลังต่อมาได้ ซึ่งปรากฏเป็นที่เคารพนับถือของหมู่คณะได้เป็นอย่างดี
    พ.ศ. ๒๔๖๕
    เสนาสนะป่า บ้านหนองลาด อ. สว่างแดนดิน จ. สกลนคร
    ท่านอาจารย์เสาร์ และท่านอาจารย์มั่น ฯ พร้อมทั้งศิษย์ของท่านอาจารย์ทั้ง ๒ รุ่นแรก และผู้เข้ามาฝึกหัดใหม่ รวมกันจำนวนมาก จำพรรษาอยู่ที่เสนาสนะป่า บ้านหนองลาด (ปัจจุบันเป็น ร.ร.ประชาบาล) อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร นับเป็นเวลา ๗ ปี ที่ท่านอาจารย์ได้เริ่มแนะนำการปฏิบัติธรรมที่ง่าย และได้ผลจริงจังจนถึงปีนี้ และได้มีผู้ที่ได้รับธรรมชั้นสูงจากท่านจนสามารถสอนธรรมกรรมฐานแทนท่านได้ก็มากองค์ มาในปีนี้ท่านอาจารย์ใหญ่ทั้ง ๒ ใคร่จะได้ปรับปรุงแผนการให้ได้ผลยิ่งขึ้น ทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ จึงได้มีการรวมประชุมบรรดาสานุศิษย์ทั้งหลายให้มาจำพรรษา ณ ที่นี้
    แม้ท่านอาจารย์ทั้ง ๒ ก็ได้ปรึกษาหารือเกี่ยวกับธรรมปฏิบัติเป็นประจำ ท่านอาจารย์เสาร์ ก็ได้มอบให้ท่านอาจารย์มั่น ฯ เป็นผู้วางแผนงาน ตลอดถึงแนะนำธรรมปฏิบัติ เพื่อให้ทุกองค์ได้ยึดเป็นแนวการปฏิบัติ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
    ทางฝ่ายบรรพชิต ท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านได้ยืนยันถึงการที่ได้ปฏิบัติมาและแนะนำมาก่อนแล้วนั้น เป็นทางดำเนินถูกต้องแล้ว ว่าแต่ใครๆ อย่าไปแหวกแนวเข้าก็แล้วกัน เพราะเมื่อดำเนินมาเป็นเวลา ๗ ปีนี้ เกิดผลสมความตั้งใจแล้วคือการปฏิบัติตามอริยสัจจธรรม โดยเฉพาะท่านย้ำถึงการพิจารณากายนี้เป็นหลักประกันที่สำคัญยิ่ง ท่านได้ยกตัวอย่างมากมาย นับแต่พระบรมศาสดา และพระสาวกทั้งหลายซึ่งผู้ที่จะผ่านเข้าสู่อริยสัจจ์นั้นจะไม่พิจารณากายไม่มีเลย ข้อนี้ท่านยืนยันอย่างแน่วแน่
    การที่ท่านย้ำลงในข้อการพิจารณาโดยอุบายต่าง ๆ นั้น เพราะกลัวศิษย์จะพากันเข้าใจผิดว่าเป็นการพิจารณาที่ไม่ถูก อาจจะเข้าใจไขว้เขว แล้วจะเป็นการเสียผลเป็นอย่างยิ่ง ทั้งท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้วิตกว่ากลัวผู้ที่ไม่เข้าใจโดยละเอียดถ่องแท้จะพากันเขวหนทางและพาให้หมู่คณะที่อยู่ในปกครองเขวหนทางตามไปด้วย เพราะท่านได้นิมิตในภายในสมาธิของท่าน ณ ค่ำคืนวันหนึ่ง ท่านนิมิตว่า
    ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า เราได้พาพระภิกษุสามเณรเป็นจำนวนมาก เข้าไปบิณฑบาตในละแวกบ้าน ขณะนั้นก็ได้เกิดนิมิตในสมาธิเป็นที่น่าประหลาดใจขึ้น คือ พระภิกษุสามเณรที่ตามเรามาดี ๆ ก็เกิดมีพวกหนึ่งแซงซ้ายบ้าง ขวาบ้าง ขึ้นหน้าเราไป บางพวกก็เลยเดินออกไปนอกทางเสีย และก็มีอีกพวกหนึ่งที่เดินตามเราไป
    การนิมิตเช่นนี้ ท่านได้เล่าให้ศิษย์ของท่านฟังทุก ๆ องค์ พร้อมทั้งอธิบายว่า
    ที่มีพวกภิกษุสามเณรแซงท่านขึ้นไปข้างหน้านั้น คือบางพวกจะพากันอวดตัวว่าเก่งว่าดีแล้ว ก็จะละจากข้อปฏิบัติที่เราได้พาดำเนิน ครั้นแล้วก็จะเกิดความเสื่อมเสีย ไม่ได้ผลตามที่เคยได้ผลมาแล้ว ซึ่งเขาเหล่านั้นก็จะมาอ้างเอาว่าเป็นศิษย์ของเรา แต่ที่ไหนได้พากันหลีกเลี่ยงการปฏิบัติต่างๆ ที่เรากำหนดให้ไว้ ที่สุดแม้แต่สิ่งเล็กๆ น้อย ๆ เช่นสีจีวรเป็นต้น การจะปฏิบัติเพื่อการพิจารณากายอันนับเนื่องด้วยอริยสัจจธรรมก็ยิ่งห่างไกล
    จำพวกหนึ่งเดินออกนอกทาง คือจำพวกนี้เพียงแต่ได้ยินกิตติศัพท์เราแล้ว ก็อ้างเอาว่าเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์มั่น ฯ บางทีจะยังไม่เคยเห็นหน้าเราเสียด้วยซ้ำ และก็หาได้รู้อุบายแยบคายในการปฏิบัติแต่อย่างใดไม่ หรือพวกที่เคยอยู่กับเรามา เมื่ออยู่กับเราก็คงเคร่งครัดเพราะกลัว แต่พอออกจากเราไปแล้ว ก็ไม่นำพาในข้อธรรมและการปฏิบัติของเรา เพียงแต่มีชื่อว่าเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์มั่น ฯ เท่านั้นแต่ไม่มีข้อปฏิบัติอันใดที่จะถือได้ว่าเป็นแนวทางเป็นตัวอย่างอันนำมาจากเราเลย
    จำพวกหนึ่งที่เดินตามหลังเราไปนั้น จำพวกนี้เป็นผู้ดำเนินตามคำแนะนำของเราทั้งภายนอกและภายใน เป็นผู้ใคร่ต่อธรรม ต้องการพ้นทุกข์ในวัฏฏสงสาร พยายามศึกษาหาความรู้ทุก ๆ ประการที่มีความสนใจ ต่อหน้าหรือลับหลังก็เหมือนกัน รับข้อปฏิบัติแม้เล็กน้อยรักษาไว้ด้วยชีวิตจิตใจ เพราะจำพวกนี้ได้รับผลแห่งการปฏิบัติมากับเราแล้ว เกิดผลอันละเอียดอ่อนจากข้อวัตรปฏิบัติเหล่านี้ ก็เป็นที่แน่นอนว่าจะแปรผันเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้
    พวกที่ออกนอกลู่นอกทางนั้นคือ เขาเหล่านั้นไม่ได้รับผลอย่างจริงจังจากการปฏิบัติอยู่กับเรา เพราะเหตุที่ไม่ได้ผลจริงนั้นเอง ทำให้เกิดความลังเลสงสัยไม่แน่ใจ แต่พวกที่เดินตามเราย่อมได้รับความเจริญ
    การที่ท่านได้เล่าถึงเหตุการณ์ในอนาคตของศิษย์ของท่าน เพื่อเตือนสติให้ระลึกถึงความที่ว่า ธรรมปฏิบัติที่ท่านได้อุตส่าห์ลงทุนลงแรง พากเพียรพยายามทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จนบังเกิดผลมหาศาล จะพึงอยู่นานได้เพียงไรนั้น ก็แล้วแต่ศิษย์ทั้งหลายจะพากันมีสติหรือพากเพียร เพื่อให้เกิดผลจริงจัง จะรักษาการปฏิบัติเหล่านี้ได้ ถ้าใครจักพึงกล่าวว่าเป็นศิษย์ท่านอาจารย์มั่นฯ เขาก็จะได้รักษาไว้ซึ่งข้อวัตรปฏิบัติของท่านอาจารย์มั่น ฯ ผลลัพธ์ที่จะได้ก็จะได้สมจริง
    นอกจากการที่ท่านได้เน้นหนักในการรักษาแผนกการสอนและแนวทางด้านการปฏิบัติของพระภิกษุสามเณรแล้ว ท่านมาแสดงถึงพุทธบริษัททางด้านฆราวาส
    ทางฆราวาสท่านเน้นหนักการเชื่อถือ เพราะปรากฏว่าพุทธบริษัทบางจำพวกพากันไปนิยมนับถือในสิ่งที่ผิดเสียมาก เช่นนับถือภูตผีปีศาจ นับถือศาลเจ้าที่ นับถือการเข้าทรง นับถือเทพเจ้าต่างๆ นับถือศาลพระภูมิ นับถือต้นไม้ใหญ่ นับถืออารามเก่าแก่ ซึ่งการนับถือสิ่งเหล่านี้นั้น มันผิดจากคำสอนพระพุทธเจ้าโดยแท้ เป็นการนับถือที่งมงายมาก ผู้ที่เป็นพุทธบริษัทไม่ควรที่จะนับถือสิ่งเหล่านี้เลย เพราะเมื่อไปนับถือสิ่งเหล่านี้เข้า ก็เท่ากับเป็นอ่อนการศึกษามากหรือขาดปัญญาในพระพุทธศาสนา เขาเหล่านั้นได้ปฏิญาณตนว่าได้ถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งแล้วกลับมีจิตใจกลับกลอกหลอกหลอนตนเอง ไม่นับถือจริง เพราะถ้านับถือจริง ก็ต้องไม่นับถือสิ่งที่งมงาย ที่พระพุทธองค์ทรงตำหนิแล้ว ดังนั้นจึงปรากฏในภายหลังว่า ภิกษุผู้เป็นชั้นหัวหน้าผู้ที่ได้รับการอบรมจากท่านอาจารย์มั่น ฯ แล้ว จะต้องรู้จักวิธีการแก้ไขผู้นับถือผิดเกี่ยวกับภูตผีปีศาจเป็นต้นได้ทุกองค์ ถ้าแก้สิ่งงมงายเหล่านี้ไม่เป็น หรือพลอยนับถือไปกับเขาเสียเลย ก็จะรู้ได้ทันทีว่าไม่ใช่ศิษย์ท่านอาจารย์มั่น ฯ แน่นอน เพราะว่าการแก้เรื่องภูตผีปีศาจเหล่านี้เป็นเรื่องใหญ่ เนื่องจากการนับถือที่ฝังอยู่ในสันดานมานานแล้ว และสถานที่อันเป็นเทวสถานหรือภูตผีอยู่ ก็จะถือว่ามันศักดิ์สิทธิ์ พากันหวาดเสียวไม่กล้าจะถ่ายถอนหรือกำจัดออกไป
    ท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้แนะนำทั้งวิธีการจัดการเกี่ยวกับการถอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และวิธีการแนะนำโดยอุบายต่าง ๆ เมื่อท่านแนะวิธีแล้ว ท่านจะใช้ให้ไปทดลองปฏิบัติงานดูถึงผลงานที่ท่านเหล่านั้นไปปฏิบัติงาน
    ท่านอาจารย์มั่นฯ ได้อธิบายว่าอันที่จริงการนับถืองมงายนี้เกิดจากการไม่เข้าใจถ่องแท้ในพระพุทธศาสนา หรือขาดการศึกษาอย่างแท้จริงในพระพุทธศาสนานั้นเอง ยิ่งชาวชนบทห่างไกลความเจริญแล้ว ก็ยิ่งมีแต่เชื่อความงมงายกับสิ่งเหล่านี้อย่างเป็นล่ำเป็นสันจึงเป็นสิ่งที่แก้ยากมากทีเดียว ไม่ต้องพูดถึงว่าชาวชนบทจะพากันหลงงมงายหรอก แม้แต่ชาวเมืองหลวงอย่างในกรุงเทพฯ ก็ตาม ยังพากันหลงงมงายในสิ่งเหล่านั้นมาก เช่น เจ้าพ่อนั้นเจ้าพ่อนี้ บางแห่งก็พากันสร้างเป็นเทวสถานแล้วก็ไปบูชาถือเอาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไปก็มีมากมาย
    ในเรื่องเหล่านั้นพระเถระบางองค์ถือว่าไม่สำคัญ แต่ท่านได้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกทีเดียว เพราะการจะเข้าถึงซึ่งความเป็นพระอริยะในขั้นแรกคือพระโสดาบัน ก็จะต้องแก้ไขถึงความเชื่อถือในเรื่องความงมงายเหล่านี้ให้หมดไป เพราะท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านต้องการสอนคนให้พ้นทุกข์จริงๆ สอนคนให้ เป็นอริยะกันจริงๆ ซึ่งบางคนพากันบำเพ็ญภาวนา ได้รับการยกย่องจากพระอาจารย์ของตนว่ามีธรรมปฏิบัติชั้นสูงเกิดขึ้นในใจแล้ว แต่เขานั้นยังมีความหลงงมงายในการนับถือเหล่านั้น ใช้ไม่ได้เป็นอันขาด
    ชั้นสูงในที่นี้ท่านหมายเอาถึงอริยสัจจ์ เพราะวิกิจฉาความลังเสสงสัยต้องไม่มีแก่ใจของบุคคลผู้มุ่งหน้าปฏิบัติเพื่อความเป็นอริยะ
    ในปีนี้ท่านได้แนะนำแก่พระภิกษุแทบจะถือได้ว่าล้วนแต่หัวหน้าทั้งนั้น จึงเท่ากับท่านได้แนะแนวสำคัญให้แก่บรรดาศิษย์โดยแท้ จึงปรากฏว่า หลังจากท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้ธุดงค์ไปจังหวัดเชียงใหม่แล้ว มอบศิษย์ทั้งหลายให้แก่ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ซึ่งศิษย์เหล่านี้เป็นศิษย์ชั้นหัวกะทิทั้งนั้น จึงเป็นกำลังให้ท่านอาจารย์สิงห์ฯ ในการที่จะปราบพวกนับถือผิดมีภูตผีได้เป็นอย่างดี นับแต่ท่านได้พาคณะออกจากจังหวัดอุบล เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ นั้นแล้ว ก็เริ่มแก้ไขสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ โดยการเข้าไปอยู่ที่นั้น แนะนำประชาชนให้ทราบถึงข้อเท็จจริง จนเป็นที่เชื่อมั่นแล้ว พากันละจากการนับถือภูตผีกันมากมายทีเดียว ในจังหวัดทั้งหลายมี อุบล-ขอนแก่น-กาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด-มหาสารคาม-นครราชสีมา ตามที่ท่านคณาจารย์เหล่านี้ผ่านไปแล้ว จะปรากฏได้ถูกแนะนำให้เลิกจากการนับถือที่งมงายลงมากมาย นั้นเป็นสมัยตื่นตัว และพากันได้ทราบความจริงอย่างมากมาย ซึ่งชาวชนบทจะไม่เคยได้รับธรรมคำสั่งสอนเช่นนี้มาก่อนเลย
    พ.ศ.๒๔๖๖
    เสนาสนะ บ้านหนองบัวลำภู อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี
    ในพรรษานี้ท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้จำพรรษาที่เสนาสนะป่า. บ้านหนองบัวลำภู อ.หนองบัวลำภู จ อุดรธานี นับเป็นปีที่ ๘ แห่งการแนะนำการปฏิบัติธรรม ซึ่งบังเกิดผลอย่างดียิ่ง ทั้งนี้เนื่องจากท่านมีญาณสามารถรู้อุปนิสัยของบุคคล ท่านจึงเลือกสอนบุคคลที่ควรแก่การสอน บุคคลใดไม่มีนิสัยที่จะพึงปฏิบัติให้เกิดผล ท่านก็ไม่สอนให้เสียเวลา โดยเฉพาะท่านก็ใช้เวลาสอนพระภิกษุสามเณรเสียเป็นส่วนใหญ่ เพราะท่านมีอุดมคติในใจของท่านอยู่ว่า พระภิกษุสามเณรถ้าหากสอนให้ได้ผลดีแล้ว พระภิกษุสามเณรนั้นแม้องค์เดียวก็สามารถสอนฆราวาสได้นับเป็นจำนวนร้อยจำนวนพัน
    เหตุนั้นท่านจึงพยายามอบรมและแนะนำพระภิกษุสามเณรจริง ๆ และก็บังเกิดผลจริง ๆ ผ่านมา ๘ ปี ได้ผลอย่างอัศจรรย์ยิ่ง เพราะได้เพิ่มผู้รู้ผู้ฉลาดในการปฏิบัติอย่างหนาแน่นก่อนจะเข้าพรรษานี้ ท่านอาจารย์กู่ พระอาจารย์หลวงตาพิจารย์ ท่านอาจารย์กว่า สุมโน เป็นสามเณร และท่านอาจารย์เทสก์ เทสรงฺสี กับท่านอาจารย์ภูมี ฐิตธมฺโม พระอาจารย์หลวงตาชา พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล พระครูปลัดอ่อนตา ที่อยู่วัดบ้านเดื่อ
    ในและนอกพรรษาท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้อยู่ ณ ที่นี้เป็นเวลานาน ได้ทำการอบรมในข้อปฏิบัติเพื่อให้ซึ้งยิ่งขึ้น เพราะการปฏิบัติจิตใจเมื่อปฏิบัติไปจนเป็นจริงขึ้นมาแล้วจึงจะได้ศึกษาความจริง นั้นหมายความว่าต้องเป็นขึ้นมาในตัวของแต่ละบุคคลการแนะนำโดยการอธิบายล่วงหน้า คือการบอกแนวทางนั้น ท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านก็อธิบายเพื่อความมั่นใจ และที่แท้คือการพูดด้วยความเป็นจริงที่เกิดขึ้นนั้นเป็นประการสำคัญ อย่างนี้เรียกว่าภูมิจิต ซึ่งเป็นคำที่ท่านพร่ำเสมอว่า ภูมิจิต ภูมิจิตของใครดำเนินไปได้แค่ไหน นี้เป็นเรื่องที่จะต้องได้ถามกันอยู่ตลอดเวลา
    เรื่องการสอบสวนถึงภูมิจิตนี้ เมื่อใครพระเณรรูปใดเข้ามาศึกษายังใหม่ พวกเราก็ไต่ถามกันเองและแนะนำกันเองไป เพราะมาตอนหลัง ๆ นี้ ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านสอนเฉพาะภูมิจิตชั้นสูงแล้ว ฉะนั้นในเบื้องต้นใครมีความรู้พอสมควรก็แนะนำกันในฐานะเป็นพี่เลี้ยง การกระทำเช่นนี้มิได้ถือว่าเป็นการเสียเกียรติของผู้ที่เริ่มเข้ามาปฏิบัติใหม่ เป็นการแบ่งภาระจากท่านอาจารย์มั่นฯ เพราะการศึกษาขั้นต้นนั้น ผู้ที่ได้เคยศึกษากับท่านอาจารย์มั่น ฯ มาก่อนแล้ว ก็ย่อมให้คำแนะนำได้อย่างเดียวกับท่านอาจารย์มั่น ฯ เช่นเดียวกัน ยิ่งครั้งหลังสุดเมื่อท่านอาจารย์มั่น ฯ อายุ ๗๐ กว่าปีขึ้นไปแล้ว ท่านไม่สอนเลยทีเดียวในเบื้องต้น เมื่อผู้ใดพระเณรองค์ใดเข้ามาฝึกใหม่ ท่านจะให้พระเก่าที่ได้รับการศึกษาแล้วแนะนำให้
    แม้เมื่อครั้งท่านเจ้าคุณอริยเวที (มหาเขียน) ท่านพระครู.... (พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน) เข้ามาศึกษาธรรมปฏิบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ - ๒๔๘๘ ทั้ง ๒ องค์ ยังต้องรับการฝึกหัดแนะนำจากท่านวิริยังค์ สิรินฺธโร เสียก่อน เพราะท่านวิริยังค์แม้ขณะนั้นพรรษาพระเพียง ๒ - ๓ พรรษาเท่านั้น แต่ได้ปฏิบัติมานาน เชี่ยวชาญการแนะนำทางจิต ซึ่งสามารถสอนให้ปฏิบัติเบื้องต้นได้ ทั้ง ๒ องค์ คือพระมหาเขียนและพระมหาบัว ก็ต้องศึกษากับท่านวิริยังค์เสียก่อน ทั้งนี้เพื่อให้ได้ลู่ทางในอันที่จะศึกษาชั้นสูงต่อไปกับท่านอาจารย์มั่น ฯ เป็นการแบ่งเบาภาระการสอนของท่านอาจารย์มั่น ฯ
    แม้ตัวเราเอง ขณะที่อยู่กับท่านอาจารย์มั่นฯ ก็ต้องรับภาระนี้ตลอดมาเช่นกัน เพราะเหตุที่มีศิษย์ต่างได้รับภาระของครูบาอาจารย์ได้เช่นนี้จึงทำให้การสอนและดำเนินการได้ผลกว้างขวางขึ้นมาก เนื่องด้วยเหตุที่ว่าท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านมีชื่อเสียงกิตติศัพท์ในการปฏิบัติธรรม และเชื่อกันในขณะนั้นว่าถ้าผู้ใดอยู่ปฏิบัติกับท่านแล้วต้องได้รับผลอันเป็นความเยือกเย็น หรือความสว่างบริสุทธิ์แน่นอน จึงทำให้พระภิกษุสามเณรผู้มีความหวังผลในการปฏิบัติธรรม ได้หลั่งไหลไปทำการศึกษากับท่านอาจารย์มั่น ฯ มากขึ้นยิ่ง วาระสุดท้ายก็ยิ่งมากขึ้น ตามลำดับ.
    ขณะที่พักปฏิบัติธรรมร่วมอยู่กับท่านนั้น ท่านได้พาบำเพ็ญเองจะมีการประมาทไม่ได้ ต้องพยายามอย่างเต็มความสามารถของแต่ละบุคคล. ถ้าผู้ใดประมาทหรือไม่พยายามเพื่อการปฏิบัติอย่างจริงจังแล้ว ท่านจะต้องทราบในญาณของท่านทันที ท่านก็จะตักเตือนในขั้นแรก เมื่อผู้นั้นเชื่อก็ดีไป แต่ถ้าไม่เชื่อ ท่านจะตักเตือนเป็นครั้งที่ ๒ เมื่อผู้นั้นเชื่อก็ดีไป ถ้าไม่เชื่อ ท่านจะตักเตือนเป็นครั้งที่ ๓ ครั้งนี้ถ้าไม่เชื่อท่านก็ไล่ออก ไม่ให้อยู่ ต่อไป ฉะนั้นถ้าหากองค์ใดสามารถอยู่กับท่านได้เป็นเวลานานพอสมควร ก็จะต้องได้ผลสมความตั้งใจแน่นอน เพราะนโยบายและอุบายการฝึกหัดของท่านนั้นมีเพียบพร้อม พร้อมที่จะแนะนำให้แก่ศิษย์ทุก ๆ องค์ที่มีนิสัยเป็นประการใด ท่านก็จะแสดงธรรม หรืออบรมตามที่มีนิสัยวาสนามาอย่างไร จึงทำให้ได้ผลอย่างมหัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง ในข้อนี้ผู้ที่เคยไปอยู่ศึกษาปฏิบัติมากับท่านแล้วจะทราบได้ดีด้วยตนเอง
    การปฏิบัติอันเป็นวัตรที่ท่านอาจารย์มั่นฯ พาศิษย์ของท่านปฏิบัตินั้นออกจะแปลกกว่าบรรดาพระปฏิบัติหรือพระอื่น ๆ ในสมัยนั้นมาก เช่นการฉันหนเดียว การฉันในบาตร เฉพาะการฉันในบาตรนี้ เวลาไปในบ้านหรือเขานิมนต์ให้ไปฉันในบ้านต้องเอาบาตรไปด้วย เขาจัดสำรับคาวหวานอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยดี ท่านก็เอาเข้าใส่บาตรหมด ด้วยเหตุที่ท่านได้นำมาปฏิบัติเช่นนี้ ศิษย์ผู้หวังดีและใคร่ในธรรมกับได้ผลการปฏิบัติมาแล้ว ก็ต้องรักษาข้อปฏิบัติเหล่านี้
    ท่านพระครูปลัดอ่อนตา ท่านมีความเลื่อมใสท่านอาจารย์มั่นฯ เป็นอย่างยิ่ง และสนใจต่อข้อปฏิบัติของท่านอาจารย์มั่นฯ ยิ่งนัก แต่เนื่องด้วยท่านพระครูรูปนี้ท่านมีนิสัยสนใจมานานแล้ว เมื่อมาได้รับการศึกษาเพิ่มเติมเข้า ยิ่งทำให้ท่านได้มีความเลื่อมใสต่อข้อปฏิบัติภิญโญยิ่งๆ ขึ้นไปอีกตามการปฏิบัติดังที่ได้ปฏิบัติตามแนวของพระอาจารย์มั่นฯ นั้น
    แต่แนวการปฏิบัตินี้มิใช่ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านตั้งขึ้นเอง ซึ่งเป็นไปตามคำสอนของพระพุทธเจ้า การปฏิบัติจริงเช่นนั้นย่อมเป็นการขัดข้องต่อบุคคลบางคนเป็นธรรมดา เพราะบางคนหาว่ารุ่มร่าม หาว่าอวดเคร่งในท่ามกลางชุมนุมชน หาว่าไม่รู้กาลเทศะ หาว่าคร่ำครึ หาว่าเป็นคนล้าสมัย พากันว่ากันไปต่าง ๆ นานา ท่านพระครูจึงได้นำข้อครหาเหล่านี้เข้ากราบเรียนต่อท่านอาจารย์มั่นฯ ว่า
    พวกเราปฏิบัติตรงต่อพระธรรมวินัยทุกประการ ย่อมเป็นการขัดข้องเขา หากว่าเราปฏิบัติเคร่งครัดเกินไป ไม่รู้จักกาลเทศะ คร่ำครึไม่ทันกาลทันสมัย
    ท่านอาจารย์มั่น ฯ จึงได้ตอบว่า
    พวกเราผู้ปฏิบัติพระธรรมวินัยนั้น จะถือเอาชาวบ้านนักบวชผู้นอกรีตเป็นศาสดา หรือจะถือเอาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดาของพวกเรา ถ้าจะถือเอาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดาของตน ก็ต้องปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่พระองค์เจ้าทรงบัญญัติไว้แล้วทุกประการ หรือถ้าต้องการเอาผู้อื่นนั้นนอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดา ก็จงปฏิบัติตามผู้นั้นไป
    ครั้นท่านพระครูปลัดอ่อนตาได้ฟังท่านอาจารย์พูดแนะอุบายเท่านี้ ก็ทำให้เกิดความเลื่อมใสในข้อปฏิบัติต่างๆ ที่ได้ดำเนินตามท่านอาจารย์มั่นๆ และก็การปฏิบัติตามท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็คือปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัดและตรงแน่ว
    เมื่อท่านพระครูปลัดอ่อนตาได้อยู่อบรมกับท่านอาจารย์มั่นฯ พอสมควรแล้ว ท่านได้ลาพระอาจารย์มั่นฯ เดินธุดงค์ไปตามสถานที่ที่อันสงัดวิเวก ตามชนบทหมู่บ้านอันอยู่ชายป่าและภูเขา จนได้รับความเย็นอกเย็นใจเป็นไปกับด้วยความเพียรตามสมควรแล้ว ท่านก็กลับไปทางภูมิลำเนาเดิม แต่ไม่ได้เข้าไปพักที่วัดเดิมของท่าน ได้เลยไปพักอยู่ที่ริมหนองน้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งใกล้กับบ้านโนนทัน (ต่อมาได้เป็นวัดชื่อวัดโยธานิมิต จนถึงปัจจุบันนี้) และใกล้กับกรมทหารด้วย
    สมัยนั้นกรมทหารพึ่งจะยกมาตั้งอยู่ใหม่ ทั้งยังไม่มีวัดอื่นที่ใกล้เคียงนั้นด้วย ผู้บังคับการทหารพร้อมด้วยชาวบ้านจึงได้นิมนต์ให้ท่านพักอยู่ในสถานที่นั้น แล้วช่วยกันจัดการทุก ๆ อย่างจนเป็นวัดขึ้นโดยสมบูรณ์ เพื่อให้ถูกกับทหารสร้างจึงให้นามว่า โยธานิมิต
    ต่อมาไม่นานท่านพระครูปลัดอ่อนตาพร้อมด้วยศิษย์ทั้งหมดมีความเห็นพร้อมกันว่า เราก็ได้ปฏิบัติข้อวัตรธรรม.ทุกอย่างตามรอยของท่านอาจารย์มั่นฯ จนได้รับผลอย่างพอใจพวกเราแล้ว ยังขาดสิ่งสำคัญคือยังไม่ได้เป็นพระธรรมยุตเหมือนท่าน เพื่อให้เป็นการสมบูรณ์ในการเลื่อมใสในตัวท่านและข้อปฏิบัติของท่าน เราควรทำทัฬหิกรรมเสียใหม่ เมื่อพร้อมใจกันแล้วก็ได้นิมนต์ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) มาเป็นอุปัชฌายะ เมื่อสำเร็จแล้วท่านพระครูปลัดอ่อนตาก็พาคณะไปอยู่ที่วัดโยธานิมิตนั้นตามเดิม
    ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ ก็ให้ท่านอาจารย์สุวรรณ สุจิณฺโน ผู้ทรงคุณวุฒิ อายุพรรษามากเป็นลูกศิษย์ต้นของท่านอาจารย์มั่นฯ ให้ไปอยู่ด้วยเพื่อเป็นการให้นิสัย แต่ท่านพระครูปลัดอ่อนตาท่านก็คงแก่เรียนมาแล้วและเป็นผู้รักในการปฏิบัติตามแนวของท่านอาจารย์มั่นฯ อย่างดีแล้ว ก็เป็นอันรับผิดชอบในตัวเองได้
    ในกาลต่อมาไม่ช้านัก ท่านอาจารย์สุวรรณก็จาริกไปหาวิเวกส่วนตัว และท่านพระครูปลัดอ่อนตาก็อยู่ในวัดนั้นทำประโยชน์ในด้านการปฏิบัติและแนะนำพระภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกาสืบต่อไป
    พ.ศ. ๒๔๖๗
    เสนาสนะป่าบ้านค้อ รอบสอง
    ท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้พักจำพรรษาที่บ้านค้อ อำเภอผือ อุดรธานี เป็นรอบที่สอง แต่ย้ายสถานที่ใหม่ซึ่งปัจจุบันเป็นวัดแล้ว การจำพรรษานี้นั้นก็เช่นเดียวกับพรรษาก่อน ๆ เนื่องด้วยมีพระภิกษุสามเณรสนใจในตัวของท่านมากขึ้น จึงได้หลั่งไหลมาศึกษาธรรมปฏิบัติกับท่านมากขึ้นเป็นลำดับ และท่านก็ได้แนะนำข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ให้ตามที่ได้แสดงไว้แล้วโดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เพราะว่าเป็นข้อปฏิบัติที่พิสูจน์ได้แน่ชัดแล้วว่าเป็นทางพ้นทุกข์ได้จริง และได้ผลแก่บุคคลผู้ตั้งใจจริงเป็นแต่ว่าท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านคอยประคับประคอง และเป็นผู้นำเพื่อให้เกิดผลอย่างจริงจังแก่ผู้หวังดี ดังนั้นเมื่อผู้ได้เข้าไปศึกษาปฏิบัติกับท่านแล้วจึงไม่มีการผิดหวังได้ผลแทบร้อยเปอร์เซ็นทีเดียว
    พอออกพรรษาท่านก็จะพาออกธุดงค์ แสวงหาที่สงัดวิเวกแยกกันออกเป็นหมู่เล็ก ๆ เพื่อมิให้เป็นปลิโพธในหมู่มาก ปีนี้ท่านได้เดินธุดงค์ไปทางบ้านนาหมี บ้านนายูง และบ้านผาแดง-แก้งไก่ ท่านได้พาคณะเข้าไปพักอยู่ที่ป่าในหุบเขาแห่งหนึ่ง และมีหมู่บ้านอยู่ในที่ใกล้ ๆ นั้น เป็นที่อยู่กลางดงลึกมาก เดินเป็นวัน ๆ เต็ม ๆ จึงจะถึง ไกลจากคมนาคมมากทีเดียว
    ที่หมู่ภูเขานั้นมีภูเขาลูกหนึ่งมีลักษณะเหมือนตึกหลาย ๆ ชั้น ซึ่งไม่ไกลจากหมู่บ้านนั้นเท่าไรนัก ในภูเขาลูกนั้นมีผีตีนเดียวอยู่ตัวหนึ่ง ผีตัวนั้นมันได้เข้าไปอาละวาดพวกชาวบ้านอยู่บ่อย ๆ คือมันทำให้คนเจ็บไข้ได้ป่วยบ้าง ถึงให้ตายบ้าง บางครั้งเอาไฟไปเผาบ้านของเขาบ้าง ขว้างค้อน ปาไม้ใส่คนใส่สัตว์เลี้ยงบ้าง เวลามันจะเข้าไปประทุษร้ายคนในบ้านนั้น ได้แสดงกิริยาอาการไม่ผิดอะไรกับคนธรรมดา ต่างแต่ไม่เห็นตัวมันเท่านั้น เสียงมันเดินได้ยิน รอยเท้าก็เห็น แต่ใหญ่และยาวกว่ารอยเท้าของคนธรรมดา เศษบุหรี่ของมันก็ได้เห็น ท่อนไม้ที่มันเอาขว้างไม่หมดก็เห็นทิ้งไว้เป็นกองๆ เมื่อชาวบ้านพร้อมกันเข้าไล่ มันก็วิ่งหนีไป พอสงบคนหน่อยมันก็เข้ามาทำการอาละวาดต่อไปอีก บางคืนพวกชาวบ้านไม่ได้นอนเพราะมันอาละวาดไม่หนี แม้การไปนอนค้างคืนในป่า บางคนเพื่อเฝ้าไร่เฝ้านา หรือด้วยกิจอย่างอื่นก็ดี ย่อมไม่ได้รับความผาสุกเลยเลย ถูกแต่เจ้าผีตัวนี้มันรบกวนอยู่เสมอ
    ครั้งท่านอาจารย์มั่นฯ ไปพักอยู่ที่นั้น พวกชาวบ้านได้เข้าไปร้องทุกข์ต่อท่าน ขอให้ท่านได้เมตตาแก่เขามาก ๆ เมื่อพระคุณท่านจะมีวิธีใดพอจะเปลื้องทุกข์นี้ออกได้ เขามีความยินดีที่จะปฏิบัติตามทุกอย่าง เมื่อท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้ทราบถึงความทุกข์เดือดร้อนของชาวบ้านอย่างนั้นแล้ว ท่านก็ได้พยายามเจริญเมตตาฌานอย่างมาก พร้อมทั้งแนะนำให้พระที่ติดตามมาช่วยกันเจริญเมตตาฌาน และได้แนะนำชาวบ้านโดยธรรมเบื้องต้นคือ ให้ชาวบ้านมาปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณคมน์เป็นอุบาสกอุบาสิกาและให้รักษาศีล ๕ กรรมบถ ๑๐ ทั้งสอนให้ไหว้พระสวดมนต์ บำเพ็ญกัมมัฏฐานภาวนาเจริญเมตตาภาวนาเป็นประจำทุกวัน
    นับแต่นั้นมา เมื่อท่านได้พักอยู่ที่นั้น ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นแก่ชาวบ้านนั้นก็ได้สงบระงับไป เมื่อท่านได้ออกไปจากสถานที่นั้นแล้ว ภัยพิบัติเหล่านั้นก็สงบอยู่เย็นเป็นสุขกันตลอด ๑๐ ปี ต่อมาคนเก่าที่สำคัญก็ตายไปบ้าง ทั้งไม่เคยมีผีตัวนั้นมาอาละวาดบ้าง ทั้งไม่เชื่อว่าจะเป็นจริงบ้าง เลยพากันละเลยข้อวัตรปฏิบัติ ไหว้พระสวดมนต์เจริญเมตตาภาวนา ที่ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านได้แนะนำสั่งสอนไว้ ภายหลังปรากฏว่าผีตัวนั้นได้กลับเข้าไปทำการอาละวาดพวกชาวบ้านนั้นอีก ในครั้งนี้ถึงกับได้พากันอพยพครอบครัวหนีไปหมด เพราะฝืนอยู่ต่อไปไม่ได้เสียแล้ว จึงต้องได้ทอดทิ้งให้มันเป็นป่าตามสภาพเดิมของมันต่อไป
    ท่านอาจารย์สุวรรณ สุจิณโณ ท่านองค์นี้ถือว่าเป็นศิษย์รุ่นแรกพร้อมกับท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ปีนี้ท่านได้พยายามติดตามท่านอาจารย์มั่นฯ อย่างใกล้ชิดเพื่อที่จะได้ทราบความตื้นลึกหนาบางของข้อวัตรปฏิบัติอันเป็นภายนอก และการดำเนินจิตอันเป็นภายใน การดำเนินจิตนอกจากจะหาอุบายเพื่อทำลายกิเลส เพื่อความพ้นทุกข์แล้ว ยังมีการทำให้เป็นอย่างอื่น ๆ อีกมากมาย แม้แต่ท่านอาจารย์มั่นฯ เองก็ได้เคยทำมาให้เป็นตัวอย่างแก่สานุศิษย์แล้ว เช่นเมื่อท่านอาพาธ ท่านใช้ระงับอาพาธของท่านเองด้วยกำลังจิต และระงับอาพาธให้แก่บุคคลอื่นด้วยกำลังจิต
    ในกาลครั้งนั้นท่านอาจารย์สุวรรณท่านเป็นไข้มาเลเรียเรื้อรัง จนป้างหย่อน (ม้ามย้อย คือม้ามโต) อันเป็นผลมาจากไข้มาเลเรียนั้นเอง โรคนี้เองที่ทำความรำคาญให้แก่ท่านตลอดเวลา ซึ่งทำให้จับไข้วันเว้นวัน และทำให้กำลังทรุดลงทรุดลง ท่านจึงได้เข้าปรึกษาการรักษาโรคนี้กับท่านอาจารย์มั่นฯ
    ท่านอาจารย์จึงได้แนะนำอุบายให้คือ
    เมื่อบำเพ็ญจิตให้เกิดกระแส แต่ก่อนที่เราบำเพ็ญมาในเบื้องต้นนั้นเราทำจิตให้เกิดกำลังแล้ว จิตก็จะเกิดกระแส ๆ จิตนี้มีกำลังมากขึ้นจากการอบรม เราได้ใช้กระแสจิตนี้พิจารณากายทุกส่วนจนเกิดปัญญา เมื่อเกิดปัญญาแล้วอบรมให้มากก็เป็นผล คือจิตดำเนินเข้าสู่อริยสัจจ์ เมื่อเราจะนำมาเป็นประโยชน์แก่การรักษาโรคของตัวของเรา เราก็พึงใช้กระแสจิตนี้เพ่งเข้าที่เกิดโรค เราเป็นโรคอะไรที่ไหน ต้องพิจารณาให้เห็นสมุฏฐานของมันเสียก่อน ว่าตำแหน่งที่เกิดโรคอยู่ตรงไหน เมื่อทราบชัดแล้วก็ใช้กระแสจิตเพ่งเข้าไป การเพ่งเข้าไปในที่นี้ก็เหมือนกับเราพิจารณากายเหมือนกัน ต่างแต่การกำหนดแก้โรคนี้ต้องกำหนดลงจุดเดียว ณ ที่สมุฏฐานของโรคนั้น
    ท่านอาจารย์สุวรรณได้อุบายนี้แล้ว ก็ได้ไปดำเนินจิตอยู่อย่างนั้นองค์เดียวที่เปลี่ยวแห่งหนึ่ง กำหนดลงครั้งแรกได้เห็นสมุฏฐานการเกิดของโรคคือ ม้าม ท่านได้กำหนดลงจุดเดียวด้วยอำนาจแห่งกระแสจิต อันเป็นแสงคมกล้า เพียงสามวันเท่านั้นก็ปรากฏชัดขึ้นในจิต ครั้นแล้วก็หายจากม้ามหย่อนนั้นฉับพลัน ท่านคลำดูอยู่ทุกวัน แต่กาลก่อนม้ามนี้ได้ยานลงมาประมาณฝ่ามือหนึ่ง บัดนี้ได้หดเข้าอยู่เท่าเดิม ตั้งแต่นั้นมาไข้ป่ามาเลเรียก็หยุดจับ ร่างแข็งแรงเป็นปรกติ อย่างน่าอัศจรรย์ ท่านได้เอาไปเล่าถวายท่านอาจารย์มั่น ฯ ๆ ก็รับรอง
    ครั้นท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้พักวิเวกอยู่ที่ผาแดง-แก้งไก่ พอสมควรแล้วก็ได้ออกเดินทางไปทางอำเภอท่าบ่อ ได้เข้าไปพักอยู่ที่ราวป่าใกล้กับป่าช้าของอำเภอท่าบ่อนั้น (ปัจจุบันเป็นวัดอรัญวาสี) ณ ที่นี้เองนับเป็นครั้งสำคัญยิ่งครั้งหนึ่งที่บรรดาท่านผู้ที่มีบุญมีวาสนามาศึกษาฝากตัวเป็นศิษย์ของท่านหลายองค์คือ ท่านอาจารย์อุ่น ธมฺมธโร ท่านอาจารย์อ่อน ญาณลิริ ท่านอาจารย์ฝั้น อาจาโร ท่านอาจารย์กว่า สุมโน ท่านเหล่านี้ได้ตั้งใจปฏิบัติตามโอวาทของท่านอาจารย์มั่น ฯ อย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน แม้ท่านอาจารย์มั่น ฯ จะแนะนำเช่นใด ท่านทุกองค์ต้องทำตามให้จนได้ จนปรากฏว่าทุกองค์ได้ผลทางใจอย่างยวดยิ่ง เลื่อมใสท่านอาจารย์มั่นฯ อย่างถึงขีดสุด แล้วก็ได้ขอให้ท่านจัดการที่จะทำการบวชใหม่ เพราะทุกองค์ได้เป็นพระมหานิกายมาก่อน ท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็ได้อาราธนาท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) มาเป็นอุปัชฌาย์ ทัฬหิกรรมให้จนเป็นที่เรียบร้อยทุกประการ
    ท่านอาจารย์ทุกองค์นี้ภายหลังได้ทำประโยชน์แก่หมู่ชนอย่างใหญ่หลวงทุก ๆ องค์ โดยที่ท่านได้แนะนำผู้เห็นพระภิกษุสามเณร และญาติโยมให้ได้รับธรรมอันลึกซึ้งมากมายทีเดียวและท่านเหล่านี้ทุกองค์ได้สร้างสำนักปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานองค์ละหลายๆ สำนัก ซึ่งก็ปรากฏเป็นสำนักปฏิบัติธรรมอยู่จนบัดนี้มีมากมายหลายแห่งทั่วทุกภาคในประเทศไทย
     
  14. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ตอนที่ ๕
    [​IMG]
    พ.ศ.๒๔๖
    เสนาสนะป่า อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
    ในปีนี้ท่านอาจารย์มั่น ฯ พักอยู่ที่เสนาสนะป่า (วัดอรัญวาสี ปัจจุบัน) อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย พระอาจารย์เสาร์พักจำพรรษาที่วัดราช ใกล้บ้านน้ำโขง (ปัจจุบันชื่อวัดพระงาม) ท่านอาจารย์สิงห์-มหาปิ่นจำพรรษาบ้านหนองปลาโหล สถานที่ท่านอาจารย์เสาร์พักอยู่นั้นมีพระพุทธรูปเก่าสมัยเวียงจันทร์ชำรุดไปบ้าง ท่านพร้อมกับท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้เป็นผู้บูรณะให้ปกติดังเดิม เมื่อทำเรียบร้อยแล้วประชาชนได้ไปเห็นก็พากันกล่าวชมว่างาม ภายหลังจึงเรียกชื่อวัดนั้นว่า วัดพระงามต่อมาจนถึงทุกวันนี้
    อนึ่งเมื่อท่านพักอยู่ในท้องถิ่นนั้น ก็ได้แนะนำธรรมปฏิบัติ จนเกิดความเลื่อมใสยิ่งในพระพุทธศาสนา และก็ปรากฏว่าประชาชนแถบนั้นได้เป็นผู้เคร่งครัดในการปฏิบัติธรรมจนถึงทุกวันนี้
    ครั้นออกพรรษาแล้ว ได้พาคณะธุดงค์วิเวกไปทางบ้านหนองปลาโหลและไปถึงบ้านอากาศ (ปัจจุบันเป็นอำเภออากาศอำนวย) ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ก็มารอพบท่านอยู่ที่นี่เพื่อศึกษาธรรมบางประการ ท่านอาจารย์เทสก์ เทสรํสี กับพระอีก ๔ รูป ก็ได้ธุดงค์ตามท่านต่อไปจนถึงบ้านสามผง ดงพเนาว์ พักอยู่ที่ป่าช้าแห่งหนึ่ง
    ณ สถานที่วิเวกแห่งนี้ได้กลับกลายเป็นสถานที่สำคัญ คือได้เกิดมีพระอาจารย์ผู้มีบุญวาสนาบารมีได้เข้ามาศึกษาธรรมปฏิบัติ เช่น พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และคณะของท่าน เพราะท่านอาจารย์เกิ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ด้วย ผู้คนในละแวกนั้นนับถือมาก เป็นอาจารย์ใหญ่ เมื่อได้ยินข่าวท่านอาจารย์มั่น ฯ มาพักอยู่ที่ป่าและทราบกิตติศัพท์มานานแล้ว จึงใคร่ที่จะทดลองไต่ถามอรรถปัญหาต่าง ๆ ท่านอาจารย์เกิ่งพร้อมคณะจึงได้ไปพบท่านที่ป่าแห่งนั้น
    เมื่อได้ ไต่ถามอรรถปัญหาธรรมต่าง ๆ ท่านอาจารย์เกิ่ง และคณะก็เกิดความอัศจรรย์ ในการโต้ตอบอรรถปัญหาของท่านอาจารย์มั่น ฯ เพราะแต่ละคำที่ได้รับคำตอบตรงใจจริงๆ ตอนหนึ่งท่านอาจารย์เกิ่งได้ถามว่า
    ท่านปฏิบัติจิตกัมมัฏฐานเพื่ออะไร
    ได้รับคำตอบว่า เพื่อความบริสุทธิ์
    ท่านอาจารย์เกิ่งถามว่า ความบริสุทธิ์เกิดจากอะไร
    ได้รับคำตอบว่า เกิดจาก อริยสัจจธรรม
    ท่านอาจารย์เกิ่ง ถามว่า สัจจธรรมอยู่ที่ไหน
    ได้รับคำตอบว่า อยู่ที่ตัวของคนทุกคน
    ถามว่า อยู่ในตัวของทุกๆ คน ทำไมทุกคนจึงไม่บริสุทธิ์
    ตอบว่า เพราะเขาไม่รู้วิธีการ
    ถามว่า ทำไมจึงจะต้องมีวิธีการ
    ตอบว่า เหมือนกับทรัพยากรพวกแร่ธาตุต่างๆ อยู่ใต้ดิน คนไม่มีวิธีการ ก็เอาแร่ธาตุทรัพยากรเหล่านั้นมาใช้ไม่ได้ แร่ธาตุจะมีประโยชน์ต่อมนุษย์ ก็ต่อเมื่อมนุษย์มีวิธีการนำขุด นำเอามาใช้ให้ถูกต้องตามวิธีการ แม้อริยสัจจธรรมก็เช่นเดียวกัน แม้ว่าจะอยู่ในตัวเราเอง ก็จะต้องมีวิธีการที่ถูกต้อง จึงจะบังเกิดเป็นอริยสัจจได้
    เท่านั้นเองท่านอุปัชฌาย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก ก็เลื่อมใส และเข้ามาขอปฏิบัติอยู่กับท่านอาจารย์มั่นฯ จนเกิดความเย็นใจเป็นอย่างยิ่ง ได้ขอมอบตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ฯ พร้อมใจกันกับศิษย์เพราะได้ปฏิบัติจิตกันทั้งศิษย์อาจารย์ ยอมสละบวชทำทัฬหิกรรมใหม่ เป็นพระธรรมยุตทั้งวัด.
    ในครั้งนั้น จึงทำให้ชาวบ้านชาวเมืองได้เลื่องลือกันว่า. พระอาจารย์มั่น ฯ เป็นผู้วิเศษสำคัญ เพราะได้ทรมานพระอาจารย์เกิ่งได้ เนื่องจากชาวบ้านชาวเมืองเลื่อมใสพระอาจารย์เกิ่งมาก ในปีนี้จึงเป็นปีสำคัญมากปีหนึ่ง เพราะหลังจากท่านอาจารย์เกิ่ง ได้มาเป็นศิษย์แล้ว ยังมีท่านยาคูสีลา ที่เป็นอาจารย์ใหญ่อยู่แถบนี้เหมือนกัน เป็นเพื่อนกันกับอาจารย์เกิ่ง เมื่อทราบว่าเพื่อนสละวัดเช่นนั้นก็เฉลียวใจ จึงได้ไปพบ หลังจากพบแล้ว ท่านอาจารย์เกิ่งก็นำท่านยาคูสีลาไปมอบตัวกับพระอาจารย์มั่นฯ ได้ฟังและได้ปฏิบัติตาม ก็เกิดความเย็นใจเหลือเกิน ท่านยาคูสีลาก็ได้สละวัดและศิษย์จำนวนมากมาบวชเป็นพระธรรมยุตทั้งสิ้น.
    ระยะนี้เอง ทำให้ชื่อเสียงของท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้กระฉ่อนไปว่า หากใครอยากพ้นทุกข์ ต้องการความบริสุทธิ์ต้องการของจริงในพระพุทธศาสนาแก้ว จงได้พยายามติดตามและปฏิบัติกับท่าน จะได้รับผลอย่างแท้จริง
    พ.ศ. ๒๔๖๙
    เสนาสนะป่าบ้านสามผง
    กิ่งอำเภอศรีสงคราม ท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
    ท่านอาจารย์มั่นฯ และพระภิกษุสามเณรหลายรูป จำพรรษาที่เสนาสนะป่า บ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ท่านอาจารย์สิงห์กับท่านอาจารย์มหาปิ่นจำพรรษากันที่บ้านอากาศ ท่านอาจารย์กู่ ธมฺทินโน จำพรรษาที่บ้านโนนแดง อาจารย์อุ่น ธมฺมธโร จำพรรษาที่บ้านข่า ท่านอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโร ธุดงค์ออกจากวัดพระงาม อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย แล้วก็ไปเชียงคาน จังหวัดเลย ขึ้นไปที่ภูฟ้า ภูหลวง แล้วก็กลับมาจังหวัดอุดรธานี จำพรรษาอยู่ที่เสนาสนะป่า บ้านดงยาง อำเภอหนองหาน
    หลังจากออกพรรษาแล้วในปีนี้ พระอาจารย์มั่นฯ พระอาจารย์เสาร์ฯ ก็ได้เรียกบรรดาพระอาจารย์ที่เป็นศิษย์ทุกองค์ ให้มาประชุมพร้อมกันที่บ้านโนนแดง ในการประชุมในครั้งนี้ ท่านได้วางระเบียบการปฏิบัติเกี่ยวกับการอยู่ป่า เกี่ยวกับการตั้งสำนักปฏิบัติเกี่ยวกับแนวทางแนะนำสั่งสอนปฏิบัติจิต เพื่อให้คณะศิษย์นำไปปฏิบัติให้เป็นระเบียบเดียวกัน
    เมื่อเสร็จจากการประชุมในครั้งนี้ ทุกองค์ต่างก็แยกย้ายกันออกไปธุดงค์หาวิเวกตามสถานที่จังหวัดต่างๆ โดยมิให้มีการนัดแนะว่าจะไปพบกัน ณ สถานที่ใด แต่ด้วยเหตุอะไรไม่ทราบทุก ๆ องค์ก็เผอิญไปพบกันเข้าอีก ที่จังหวัดสกลนคร ในขณะนั้นนางนุ่ม ชุวานนท์ ผู้ที่เคยมีความเลื่อมใสในท่านอาจารย์ทั้งสอง (พระอาจารย์มั่น ฯ และพระอาจารย์เสาร์ ฯ ) มานานแล้ว และมารดาของนางนุ่ม ได้ถึงแก่กรรมลง กำลังจะจัดการฌาปนกิจ ก็พอดีได้ทราบข่าวท่านอาจารย์ทั้งสอง พร้อมด้วยสานุศิษย์เป็นอันมาก กำลังร่วมกันเดินทางมุ่งหน้าเข้าเขตสกลนคร จึงได้เดินทางไปขอนิมนต์ให้มาพักอยู่ที่เสนาสนะป่า (ซึ่งปัจจุบันนี้ได้กลายเป็น วัดป่าสุทธาวาสแล้ว) เมื่อพระอาจารย์พร้อมด้วยสานุศิษย์นั้นพักอยู่ เพื่อเป็นการฉลองศรัทธาไม่เฉพาะแต่นางนุ่มเท่านั้น แต่เพื่อฉลองศรัทธาของชาวเมืองสกลนครทั้งมวล ซึ่งชาวเมืองสกลนครทั้งหลายได้เห็นพระปฏิบัติมาอยู่รวมกันมากมายเช่นนั้น ก็ทำให้เกิดศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง ได้พากันไปศึกษาธรรมปฏิบัติจนได้รับการช่ำชอง และเป็นนิสัยปัจจัยมาจนทุกวันนี้
    ขณะนั้นพระยาปัจจันตประเทศธานี บิดาของพระพินิจฯ ถึงแก่กรรม เจ้าภาพก็ได้อาราธนาพระอาจารย์ทั้งสองพร้อมด้วยสานุศิษย์ เพื่อบำเพ็ญกุศล ท่านอาจารย์ทั้งสองก็ให้อุปการะเป็นอย่างดี เพื่อเป็นการอนุเคราะห์ จึงได้อนุมัติให้พระไปฉันในบ้านได้ ในงานฌาปนกิจศพบิดาของพระพินิจ เป็นครั้งแรกตั้งแต่นั้นมา เพราะเบื้องต้นพระคณะกัมมัฏฐานได้รักษาธุดงค์วัตรอย่างเข้มงวดกวดขันจริงๆ ไม่มีการอนุโลมให้รับนิมนต์ไปฉันภัตตาหารในบ้าน
    เมื่อเสร็จงานฌาปนกิจทั้งสองศพนั้นแล้ว พระอาจารย์ทั้งสองและสานุศิษย์ต่างก็แยกย้ายกันธุดงค์ไปคนละทิศละทางตามอัธยาศัย ส่วนท่านอาจารย์มั่นฯ ธุดงค์ไปทางบ้านเหล่าโพนค้อ ได้แวะไปเยี่ยมอุปัชฌาย์พิมพ์ ซึ่งท่านองค์นี้เป็นนักปฏิบัติมาเก่าแก่ แต่การปฏิบัติของท่านยังไม่ถูกทางจริง ท่านอาจารย์มั่นฯ ได้แนะนำโดยให้เจริญวิปัสสนาจนได้รับผลเป็นที่พอใจ และอุปัชฌาย์พิมพ์ก็ได้ยกย่องท่านอาจารย์มั่น ๆ ว่า
    เป็นผู้มีความชำนาญในการปฏิบัติอย่างยิ่ง
    ต่อจากนั้นท่านก็ลาพระอุปัชฌาย์พิมพ์ ธุดงค์ต่อไป และพักบ้านห้วยทราย ๑๐ วัน โดยจุดมุ่งหมาย ท่านต้องการจะเดินทางกลับไปที่จังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้บรรลุถึงหมู่บ้านหนองขอน ซึ่งชาวบ้านเมื่อได้ฟังธรรมเทศนาของท่านแล้ว เกิดความเลื่อมใสจึงได้พร้อมใจกันอาราธนาให้ท่านจำพรรษา เมื่อท่านเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ก็รับอาราธนา ชาวบ้านจึงช่วยกันจัดแจงจัดเสนาสนะถวายจนเป็นที่พอเพียงแก่พระภิกษุที่ติดตามมากับท่าน
    พ.ศ. ๒๔๗๐
    เสนาสนะป่า บ้านหนองขอน อำเภอบุ่ง
    (อำนาจเจริญ) จังหวัดอุบลราชธานี
    ในพรรษานี้ท่านได้พักอยู่บ้านหนองขอน ตามที่ชาวบ้านได้อาราธนา พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม จำพรรษาที่บ้านหัวสะพาน บริเวณใกล้เคียงกัน
    เมื่อเราได้อยู่ศึกษาธรรมมะปฏิบัติกับท่าน ได้รับผลเห็นที่พอใจ และก็ได้ออกไปบำเพ็ญสมณะธรรมโดยตนเองในสถานที่ต่างๆ ทราบข่าวว่าท่านอาจารย์มั่น ฯ กำลังเดินทางไปจังหวัดอุบลฯ เราจึงได้พยายามธุดงค์ติดตามท่านไป ในระหว่างทางเราได้ไปพบพระลี (อาจารย์ลี ธมฺมธโร ) ณ ที่บ้านหนองสองห้อง อำเภอม่วงสามสิบ ท่านก็เป็นพระมหานิกายเหมือนกัน เราได้อธิบายธรรมปฏิบัติที่ได้ศึกษามาจากท่านอาจารย์มั่น ฯ แล้วก็พาปฏิบัติจนเกิดความอัศจรรย์ในการปฏิบัตินั้นแล้ว พระลีมีความสนใจเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ธุดงค์ร่วมกันกับเรา เพื่อจะได้ไปพบท่านอาจารย์มั่น ฯ
    (เราในที่นี้หมายถึง พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ อาจารย์องค์แรกของผู้เขียน)
    ครั้นออกพรรษาแล้ว ท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็ได้เดินธุดงค์ไปถึงตัวจังหวัดอุบล เรากับพระลีก็ได้ติดตามไปพบท่านอาจารย์มั่นฯ ที่วัดบูรพา พอดีขณะนั้นท่านเจ้าคุณปัญญาพิศาลเถระ (หนู) ขึ้นมาจากกรุงเทพฯ ได้พักอยู่ที่วัดบูรพาร่วมกับท่านอาจารย์มั่น ฯ และท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านก็พิจารณาเห็นว่า เรากับพระลีควรจะได้บวชเสียใหม่ เมื่อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วน ท่านเจ้าคุณปัญญาพิศาลเถระก็ได้เป็นอุปัชฌาย์ บวชให้เรากับพระลีเป็นพระธรรมยุต
    คณะสานุศิษย์เก่า ๆ ทั้งหลาย อันมีอาจารย์อุ่น ธมฺมธโร, อาจารย์อ่อน ญาณสิริ, อาจารย์ฝั้น อาจาโร, อาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก พร้อมด้วยศิษย์อาจารย์หลุย อาจารย์กว่า สุมโน, อาจารย์คูณ, อาจารย์สีลา, อาจารย์ดี ( พรรณานิคม ) อาจารย์บุญมา (วัดป่าบ้านโนนทัน อุดรธานี ในปัจจุบันนี้ ) อาจารย์ทอง อโสโก อาจารย์บุญส่ง (บ้านข่า) อาจารย์หล้า หลวงตาปั่น (อยู่พระบาทคอแก้ง) ทราบข่าวว่าท่านอาจารย์มั่น ฯ เดินทางมาพำนักอยู่ในจังหวัดอุบลฯ ทุกองค์เหล่านี้ก็ได้ติดตามมาในเดือน ๓ เพ็ญ บรรดาศิษย์ทั้งหมด มีท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นต้น ก็ได้ร่วมประชุมอบรมธรรมปฏิบัติอย่างที่เคย ๆ ปฏิบัติกันมา
    ในค่ำคืนวันหนึ่ง ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านได้เข้าที่ทำสมาธิภาวนาก็ได้ปรารภว่า
    จะออกจากหมู่คณะไปแสวงหาสถานที่วิเวก เพื่อจะได้มีโอกาสพิจารณาค้นคว้าในปฏิปทาสัมมาปฏิบัติ ให้ได้รับความเข้าใจชัดเจน และแจ่มแจ้งเข้าไปอีก แล้วจะได้ปฏิปทาอันถูกต้องนั้นฝากไว้แก่เหล่าสานุศิษย์ในอนาคตต่อไป เพราะพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้วนั้น ย่อมมีนัยอันสุขุมลุ่มลึกมาก ยากที่จะทำความเข้าใจให้ถูกต้องตามพุทธประสงค์ได้ ผู้ปฏิบัติตามรอยพระบาทพระพุทธองค์และปฏิปทาที่พระอริยเจ้าได้ดำเนินมาก่อนแล้วนั้น เมื่อไม่เข้าใจแจ่มแจ้งแล้ว ย่อมจะเขวไปจากปฏิปทาที่ถูกต้องก็เป็นได้ หรืออาจดำเนินไปโดยผิดๆ ถูก ๆ
    เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ผู้ปฏิบัติดีทั้งหลายก็จะเข้าไม่ถึงศีลถึงธรรม หรืออาจถึงกับป่วยการไม่เป็นประโยชนแก่ตนของตน การปฏิบัติพระธรรมวินัย ในพระพุทธศาสนาก็จะมีแต่ความพอกพูนกิเลสให้เจริญงอกงามขึ้นในตนของตนเท่านั้น ซึ่งไม่สมกับว่าพระธรรมวินัยเป็นของชำระกิเลสที่มีอยู่ให้สิ้นไปจากสันดานแห่งเวนัยสัตว์ทั้งหลาย
    อนึ่ง การอยู่กับหมู่คณะจะต้องมีภาระการปกครอง ซึ่งก็เป็นธรรมดาตลอดถึงการแนะนำพร่ำสอนฝึกฝนทรมานต่าง ๆ ซึ่งทำให้โอกาลและเวลาที่จะค้นคว้าในพระธรรมวินัยไม่เพียงพอ ถ้าแลเราปลีกตัวออกไปอยู่ในสถานที่วิเวก ซึ่งไม่มีภาระแล้วก็จะได้มีโอกาสเวลาในการค้นคว้ามากขึ้น ผลประโยชน์ในอนาคตก็จะบังเกิดขึ้นมาให้เป็นที่น่าพึงใจ
    ท่านอาจารย์มั่น ฯ ปรารภในใจของท่านในตอนหนึ่ง ระหว่างที่ท่านพำนักอยู่ ณ ที่อุบลนั้น
    ครั้นท่านปรารภในใจอยู่อย่างนั้นแล้ว ท่านจึงได้เรียกศิษย์ทั้งหลาย มีท่านอาจารย์สิงห์เป็นต้นมาประชุมกัน ท่านได้แนะนำให้มีความมั่นคงดำรงอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติอย่างที่ได้เคยแนะนำสั่งสอนมาแล้วนั้น จึงได้มอบหมายให้อำนาจแต่ท่านอาจารย์สิงห์และท่านอาจารย์มหาปิ่น เป็นผู้บริหารปกครองแนะนำพร่ำสอนตามแนวทางที่ท่านได้แนะนำมาแล้วต่อไป
    เมื่อเสร็จจากการประชุมแล้วในการครั้งนั้น ท่านก็กลับไปที่บ้านของท่านอีก ได้แนะนำธรรมปฏิบัติซึ่งท่านได้เคยแนะนำมาก่อนแก่มารดาของท่านจนได้รับความอัศจรรย์อันเป็นภายในอย่างยิ่งมาแล้ว ท่านจึงได้ไปลามารดาของท่าน และได้มอบให้นางหวัน จำปาศีล ผู้น้องสาวเป็นผู้อุปฐากรักษาทุกประการ แม้มารดาท่านก็ได้กล่าวในขณะนั้นว่า
    ลูกเอ๋ย อย่าได้ห่วงแม่เลย ลูกไม่มีหนี้สินในแม่แล้ว ลูกได้อุตส่าห์พากเพียรเรียนธรรมวินัย ก็ได้มาสงเคราะห์ให้แม่นี้ได้รู้จักหนทางแห่งข้อปฏิบัติแล้ว แม่ก็จะดำเนินข้อปฏิบัติของตนไปตามหนทางที่ได้รู้แล้วนั้น จนตราบเท่าชีวิตของแม่ ก็ขอให้ลูกจงประพฤติพรหมจรรย์ไปโดยสวัสดีเทอญ
    เมื่อได้รับคำจากมารดาของท่านแล้วเช่นนั้น ท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านก็ได้ทำสัมมาคารวะให้มารดาได้อโหสิกรรมในโทษเพราะความประมาทพลาดพลั้ง และล่วงเกินต่อมารดาตั้งแต่กำเนิดเกิดมาจนถึงปัจจุบัน จากนั้นท่านก็ได้ออกเดินทางต่อไป
    พ.ศ.๒๔๗๑ - ๒๔๗๒
    ตอนพระอาจารย์มั่นฯ เป็นเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่
    การอยู่กับท่านอาจารย์มั่นฯ ผู้เขียนมีความรู้สึกอย่างหนึ่งคือ วันและคืนนี้ช่างหมดไปเร็วเหลือเกิน ระยะเวลาที่ผ่านไป ๒ ปี ตั้ง ๗๓๐ วัน ดูเหมือนว่า วันสองวันเท่านั้น นี่เป็นเพราะอะไร ? เป็นการตั้งคำถามขึ้นในตัวเอง ก็ได้ความว่า ทุก ๆ เวลานั้นได้ใช้มันเป็นประโยชน์ทุกกระเบียดนิ้ว โดยเฉพาะเมื่อผู้เขียนต้องการทราบอะไรต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติทางจิต ท่านจะแก้ไขให้อย่างจะแจ้งทุกครั้งไปจนเป็นที่พอใจ
    ผู้เขียนมีความสนใจอย่างมากที่ท่านได้ไปอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ถึง ๑๒ ปี เป็นเหตุอันใด ท่านจึงใช้เวลาอยู่ที่เชียงใหม่นานมาก ผู้เขียนจึงหาโอกาสถามถึงเหตุต่าง ๆ แต่แม้ผู้เขียนไม่ได้ถาม ท่านก็ได้เล่าเรื่องต่างๆ ระหว่างอยู่ที่เชียงใหม่ให้ฟังเสมอ นับว่าเป็นความรู้ที่ได้รับหลายประการ ท่านได้พูดถึงสถานที่ บุคคล ตลอดถึงอากาศต่าง ๆ ก็นับว่าน่าศึกษาอยู่มากทีเดียว ผู้เขียนจึงจะได้นำมาเล่าต่อ เพื่อให้ผู้อ่านที่สนใจในเรื่องของพระอาจารย์มั่นฯ จะทราบความเป็นอยู่ที่น่าศึกษาอย่างยิ่งของท่านที่เชียงใหม่ แต่การเล่านี้ก็จะไม่ใคร่ติดต่อกันนัก เพราะท่านเองก็ไม่พูดติดต่อกัน เพียงแต่ท่านเห็นว่าผู้เขียนสนใจการอยู่เชียงใหม่ของท่าน ท่านก็เล่าให้ฟังเป็นตอน ๆ ไปครั้งเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อความละเอียดและแน่นอน ผู้เขียนก็อาศัยถามพระเถระบางท่านที่ท่านได้อยู่ใกล้ชิดที่เชียงใหม่
    ความจริงประวัติทุกตอนของพระอาจารย์มั่นฯ นั้นน่าศึกษาทุกตอน แต่ต้องพิจารณาหาความจริงและฟังในอุบายต่างๆ เพราะว่าพระอาจารย์มั่นฯ ท่านพูดอะไรออกมา ก็มักจะแทรกคำเตือนใจแก่พระภิกษุสามเณรแทบทุกครั้ง
    ท่านเล่าต่อไปว่าเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ ท่านจำพรรษาที่วัดสระปทุม ครั้งนั้นท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส ได้ไปจัดการดำเนินงานปรับปรุงวัดเจดีย์หลวงที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นวัดธรรมยุตวัดแรก เมื่อการปรับปรุงเข้ารูปเป็นที่มั่นคงพอสมควรแล้ว ท่านได้พยายามที่จะหาพระเถระผู้ทรงคุณวุฒิทั้งทางปริยัติและปฏิบัติ ให้มาเป็นสมภาร ทั้งนี้ตามความประสงค์ต้องการที่จะวางรากฐานคณะธรรมยุตขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ เพราะพระทางภาคนี้ ก่อนนั้นการฉันอาหารในเวลาวิกาลเขาไม่ถือว่าเป็นการผิดวินัย รู้สึกว่าวินัยจะหละหลวมมากในแถบนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะให้พระเถระผู้มั่นคงรอบคอบน่านับถือมาอยู่ เพื่อให้เป็นประโยชน์จริงๆ ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์จึงปรารภว่าควรจะเป็นท่านมั่นฯ เพราะเป็นผู้เจริญทางการปฏิบัติกัมมัฏฐาน
    เมื่อออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๗๑ - ลุมาปี พ.ศ.๒๔๗๒ จึงได้นิมนต์ เรา (หมายถึงพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ) ไป ซึ่งขณะนั้นเราก็พักอยู่ที่วัดสระปทุมกับท่านเจ้าคุณปัญญาพิศาลเถระ (หนู) ให้ไปที่วัดบรมนิวาส เมื่อเราเข้าไปพบ ท่านเจ้าคุณก็บอกว่า ให้เธอไปอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส เป็นพระครูฐานาของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ที่พระครูธรรมธร และตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พร้อมหมดทุกอย่าง
    พระอาจารย์มั่น ฯ ท่านเล่าว่า ครั้งนั้นท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ขาหักเนื่องมาจากขึ้นธรรมาสน์จะเทศน์ ขาไปกระทบกับลูกกรง หากเราจะทัดทานก็ดูเป็นการขัดผู้ใหญ่ซึ่งกำลังป่วยอยู่ และท่านก็อุตส่าห์ไปขอฐานาสมเด็จพระสังฆราชเจ้าให้ด้วย นัยว่าครั้งแรก สมเด็จพระสังฆราชเจ้าจะไม่ทรงอนุมัติ แต่ทรงเห็นว่าท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ขาหักกำลังป่วย หากไม่อนุมัติจะขัดใจคนป่วย จึงทรงอนุมัติมา
    เมื่อเราได้รับอาราธนาเชิงบังคับเช่นนั้นก็ขัดไม่ได้ จึงเดินทางไปที่เชียงใหม่ในปี พ.ศ. ๒๔๗๒
    พระอาจารย์มั่นฯท่านเล่าว่า วัดเจดีย์หลวงเป็นวัดร้างมาแต่เดิม มาสถาปนาเป็นวัดธรรมยุตขึ้นสมัยท่านเจ้าคุณอุบาลีนี้เอง เป็นแหล่งที่มีความสงบพอสมควรไม่พลุกพล่าน มีที่สงบพอที่จะบำเพ็ญสมณธรรมได้พอสมควรขณะที่อยู่นั้นก็ได้แนะนำให้ภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกาบำเพ็ญกัมมัฏฐาน
    ท่านเล่าว่า
    แม้เราจะพยายามแนะนำเท่าไรก็ไม่เห็นจะเกิดประโยชน์เท่าที่ควร ไม่มีใครเอาจริงเอาจัง เป็นอย่างไรหนอจึงเป็นเช่นนั้น แม้เราจะได้แสดงธรรม และทั้งทำเป็นตัวอย่างก็ไม่เห็นใครคิดว่าจะเป็นเรื่องสำคัญ เราจึงพิจารณาว่าควรไหมที่จะเอาเกลือมาแลกพิมเสน วันและคืนที่ล่วงไป จะเป็นการเสียประโยชน์อย่างยิ่ง ทั้งตนเองและผู้อื่น
    เมื่อคิดถึงท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ที่มีความหวังดี โดยต้องการจะให้วัดเจดีย์หลวงเจริญทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ อันความหวังดีของท่านนั้นก็ดี อยู่ที่ท่านยังไม่รู้ความจริงอีกหลายๆ ประการซึ่งเราเองก็เคารพท่านอยู่ ส่วนการเคารพก็เคารพ แต่ส่วนความจริงก็ต้องมีส่วนหนึ่ง ศาสนาเป็นสิ่งให้คุณประโยชน์ แต่ถ้าเราทำไม่ถูกจังหวะกาลเทศะ.มันอาจจะทำให้เสียกาลเวลาที่ล่วงไป โดยจะพึงได้ประโยชน์น้อยไป ความจริงท่านพระเถระทั้งหลาย ท่านชอบจะทำในสิ่งที่ท่านเห็นว่ามันเป็นประโยชน์ ทั้งๆ ที่สิ่งนั้นจะเป็นโทษแก่คนอื่นเพราะมองแง่เดียว ครั้นเมื่อผู้น้อยไม่ทำตามก็หาว่าดื้อรั้นชอบตำหนิ นี้ก็เป็นเหตุหนึ่งที่ควรจะคำนึงไว้ให้มาก หากว่าจะมีการติดต่อ อยู่ร่วมใกล้ชิดในสังคมนั้น
    ท่านอาจารย์มั่นฯได้เล่าให้ผู้เขียนฟังต่อไปว่า
    เมื่อเราได้พิจารณาโดยรอบคอบแล้ว กับการคิดถึงตัวว่าจำเป็นจะต้องฝึกฝนตนต่อไป หากว่าได้เป็นสมภารและอยู่นานไป ความเป็นห่วงทั้งการงานญาติโยมมากขึ้น เรามาคิดว่าการเป็นเช่นนั้นก็ได้ประโยชน์อยู่หรอก แต่มันน้อยนักสำหรับนักปฏิบัติ เพราะถือเป็นอาวาสปลิโพธิ ทั้งจะเป็นตัวอย่างไม่ดีแก่ศิษย์ของเราอีกจำนวนมาก ซึ่งธรรมดาก็ชอบอยากจะเป็นสมภารกันอยู่แล้ว เมื่อมีคนนับถือมาก ลาภสักการก็มากตามขึ้นด้วย
    ท่านได้ยกพุทธภาษิตว่า สกฺกาโร ปุริสํ หนฺติ สักการะฆ่าบรุษให้ตาย เพราะมัวเมาในลาภ ในยศ แล้วการปฏิบัติก็ค่อยๆ จางลงๆ ทุกที ในที่สุดก็เกิดการฆาตกรรมตัวเอง คือเอาแต่สบาย ไม่มีการบำเพ็ญกัมมัฏฐานให้ยิ่งขึ้น มีแต่จะหาชื่อเสียง อยากให้คนนับถือมากยิ่งขึ้นโดยวิธีการต่างๆ นี้คือฆาตกรรมตัวเอง.
    ก็น่าฟัง ผู้เขียนนั่งฟังท่านเล่าเพลินไปเลย ผู้เขียนได้เคยพูดไว้ว่า ท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านพูดอะไรแล้วมีคติแฝงไว้อยู่เสมอ คราวนี้ก็เช่นกัน สอนผู้เขียนเสียอย่างลึกซึ้งทีเดียว แล้วท่านก็บรรยายต่อไปว่า
    เมื่อได้เวลาอันสมควรแล้ว ท่านก็พูดว่า พัดยศ ประกาศนียบัตร พวกเจ้าจงพากันอยู่วัดเจดีย์หลวงนี้เถิด ส่วนพระมั่นฯ จะไปแล้ว เท่านั้นเองท่านก็ลาจากความเป็นเจ้าอาวาส และพระครู โดยไม่มีหนังสือลา เป็นการลาโดยธรรมชาติ ซึ่งมีสิ่งหนึ่งภายในให้เป็นไปตามกาลเวลา อันเป็นสิ่งที่จะพึงมีแก่นักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ซึ่งไม่มีอะไรเป็นเบื้องหน้าเบื้องหลัง.หรือความเคลือบแคลง มิได้เป็นกโลบาย อย่างบางท่านปากว่าตาขยิบ ฉันไม่อยากเป็นเจ้าอาวาส แต่ใจของฉันนั้นอยากจะเป็นแทบจะระเบิด
    เมื่อท่านจัดบริขารของการไปธุดงค์ เป็นต้นว่ากลดมุ้ง บาตร และสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ที่จะพึงใช้ สิ่งเหล่านี้ท่านบอกว่าก็ใช้อยู่เป็นประจำ แม้จะมาอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงก็ยังปฏิบัติทุกอย่างเช่นกับอยู่ในป่าดงและธุดงค์ การฝึกตนนั้นเราก็ต้องทำอยู่เป็นอกาลิโก ไม่เลือกกาลเวลาและสถานที่ โอกาสให้เมื่อไหร่ก็ต้องทำ ทั้งนี้เพื่อความไม่ประมาท การที่นักปฏิบัติธรรม ผู้รอกาลเวลาสถานที่ แม้โอกาสให้แล้วแต่ก็มัวแต่รอ รอว่าแก่ก่อน อายุมากก่อน รอว่าเข้าป่าก่อน อยู่ในดงในเขาก่อนจึงจะทำ รอเข้าพรรษาก่อน ออกพรรษาไม่ทำ มัวแต่เลือกกาล เลือกสถานที่ ก็เลยเสียเวลาไปโดยใช่เหตุ
    การเดินเข้าไปหาที่วิเวก ออกจากวัดเจดีย์หลวงครั้งนั้น ท่านเล่าว่า ถนนรถยนต์ไม่มี เป็นป่าดงที่มืดครึ้มโดยความประสงค์เราต้องการที่จะไปให้ไกลที่สุด จึงได้มุ่งตรงไปทางอำเภอพร้าว เราก็เดินไปค้างแรมไปตามทาง เมื่อเห็นว่าเป็นที่สงบสงัดดีก็พักอยู่นาน เพื่อปรารภความเพียร เมื่อเห็นว่าจะเป็นการคุ้นเคยกับญาติโยมมากเข้าก็ออกเดินทางต่อไป
    เดินต่อไป ในที่สุดก็เดินธุดงค์ถึงถ้ำเชียงดาว ปีนี้เป็นปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ในขณะนั้นถ้ำเชียงดาวยังไม่มีการปรุงแต่งอะไรเลย ชาวบ้านแถว ๆ นั้นก็ไม่มี จะมีก็เฉพาะพวกเจาะน้ำมันยาง เอาน้ำมันนั้นมาทำขี้ไต้ ก็เพียงไม่กี่ครอบครัว นับเป็นสถานที่เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรมเป็นอย่างดียิ่ง
    ฟังท่านเล่าในสมัยนั้น กับมาเปรียบเทียบสมัยนี้ซึ่งเป็นแหล่งทัศนาจร เป็นที่ท่องเที่ยวพลุกพล่านไปด้วยผู้คน ทั้งอาคารร้านค้าประกอบเป็นอาชีพ และพยายามปรุงแต่งสถานที่ต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงจากธรรมชาติมาเป็นสิ่งวิจิตรด้วยน้ำมือมนุษย์อย่างนี้ทำผู้เขียนรำพึงรำพันในใจว่า อ๋อ...นี่ก็ซากของนักปฏิบัติที่ตายแล้ว ผู้เขียนหมายความว่า ไม่มีการปฏิบัติอยู่ในที่นี้อีกแล้ว ถึงการปฏิบัติก็มิใช่เป็นที่สัปปายะแล้ว หากจะมานั่งปฏิบัติ หรือนั่งสมาธิในถ้ำนี้ ก็คงจะไม่พ้นคำว่า โอ้อวดอยากดัง เพราะจะต้องมานั่งโชว์ให้คนนับพันนับหมื่นดูกัน ผู้เขียนจึงพอใจที่จะพูดว่า นี่คือ ซากของนักปฏิบัติธรรม
    ครั้งที่พระอาจารย์มั่น ฯ อยู่บำเพ็ญสมณธรรมอยู่นั้น ต้นไม้ ป่า สัตว์ร้าย ย่อมเป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นอรัญญิก สถานที่น่าสะพรึงกลัวแก่ผู้ยังหนาไปด้วยกิเลส แต่เป็นที่น่าอยู่แก่ผู้บำเพ็ญตบะพรหมจรรย์ เพราะยิ่งป่าใหญ่ยิ่งครึ้ม ยิ่งวังเวง ก็ยิ่งเป็นที่ต้องการอย่างยิ่ง
    อาจารย์มั่นฯ เล่าว่า
    ครั้งแรก ๆ เราก็พักอยู่ตอนตีนเขาและบำเพ็ญสมณธรรม ต่อไปก็ขยับอยู่ที่ปากถ้ำ ตรงปากถ้ำนั้นมีก้อนหินใหญ่ ท่านใช้ก้อนหินนั้นเป็นที่นั่งสมาธิ มีความรู้สึกว่าอยู่ในโลกอีกโลกหนึ่งไม่ใช่โลกนี้ ไม่ว่าจะเดินหรือนั่ง ข้อนี้ทำเอาผู้เขียนสงสัยขึ้น ได้ถามท่านว่า
    ที่ว่าเหมือนอยู่ในโลกหนึ่งไม่ใช่โลกนี้นั้น ท่านอาจารย์หมายความว่าอย่างไร ?”
    ท่านตอบว่า ขณะที่เราเร่งความเพียร ความยึดถือต่าง ๆ นี้มันจะหดตัวเข้าทุกที เพราะความยึดถือตัวนี้เองจึงเหมือนหนึ่งไม่ใช่โลกนี้ เพราะโลกนี้นั้นเป็นอยู่ด้วยความเข้าใจกันต่าง ๆ นานา นั้นมาจากความยึดถือทั้งสิ้น โลกนี้จึงอยู่ด้วยอุปทานคือ ความยึดถือ เรายิ่งอยู่ในป่าลึกไม่ใคร่จะมองเห็นคน และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ นานา ทั้งได้บำเพ็ญกัมมัฏฐาน เพ่งจิตจดจ่ออยู่เฉพาะจิต ความเป็นเหมือนหนึ่งไม่ใช่โลกนี้ก็จะมากยิ่งขึ้น
    ต่อจากนั้นท่านอาจารย์มั่นฯท่านเล่าว่า
    เราก็ค่อย ๆ เขยิบเข้าไปในนั่งในถ้ำลึกเข้าไป จนมืดมิดและเย็นมาก หายใจก็รู้สึกอึดอัด เมื่อท่านเข้าไปนั่งในถ้ำลึกนั้น ท่านได้พยายามที่กำหนดจิต ปรากฏว่ามันก็ทำให้มืดไปกับถ้ำด้วย ทำให้จิตรวมได้ง่าย แต่สงบดีมากและสงบง่ายมาก แต่เมื่อสงบแล้วจะพิจารณาอะไรก็ไม่ค่อยจะออก ท่านได้พยายามอยู่หลายเวลา และก็ได้พิจารณาได้ความว่า การทำความสงบในเบื้องต้นนั้น หากว่าใช้สถานที่มิดชิด จะเป็นประโยชน์ได้ผลเร็ว ยิ่งเป็นถ้ำมิดชิดก็ยิ่งดี แต่ถ้ำมิดชิดนี้จะอยู่นานไม่ดี เอาแต่เพียงได้ประโยชน์แล้วก็รีบเปลี่ยนสถานที่เสีย เพราะจะทำให้เคยตัว หรืออีกอย่างหนึ่งก็จะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ เป็นต้นว่าโรคเหน็บชา หรือมาเลเรีย
    เมื่อท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านพูดมาถึงตอนนี้ทำให้ผู้เขียนระลึกถึงตัวเองว่า เมื่อครั้งผู้เขียนเป็นสามเณรเดินธุดงค์ไปกับพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ไปหาถ้ำที่จะอยู่ทำความเพียรกันนั้น ยิ่งเห็นทึบเท่าไหร่ก็ยิ่งชอบมาก เมื่อครั้นไปพบถ้ำเขาภูคา บ้านเขาภูคา สถานีหัวหวาย อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ผู้เขียนพยายามแสวงหาที่มืด เข้าหาช่องถ้ำที่ทึบที่สุดเท่าที่จะทึบได้ เพราะจะทำให้จิตสงบเร็ว ในเมื่อผู้เขียนกำลังฝึกหัดใหม่ ๆ และก็ได้ผลเพราะทำให้สบายมาก แต่ว่าเมื่ออยู่เป็นเวลานาน ประมาณสามเดือน รู้สึกว่าจะเกินไปเสียแล้ว ทำเอาผู้เขียนเป็นสมาธิโมหะขนาดหนัก เพราะเมื่อนั่งสมาธิแล้วเป็นเหมือนหลับไปเลย บางครั้งสัปหงกถึงกับตกศาลา ดูรู้สึกว่าง่ายสำหรับการที่จะทำให้จิตสงบนั้น แต่ยากที่จะกำหนดรู้ให้คงอยู่ได้ตามความประสงค์ จึงเป็นประโยชน์และมีโทษเหมือนกัน จนในที่สุดผู้เขียนต้องล้มป่วย แต่ใจดี ป่วยก็ไม่กลัว ถึงเราไม่กลัวแต่มาเลเรียก็ไม่เข้าใครออกใคร ผู้เขียนถึงกับเป็นมาเลเรียขึ้นสมองอย่างหนัก จนถึงตาย (คงจะแปลกใจจากผู้อ่าน) ใช่ ผู้เขียนเคยตายมาแล้ว เพราะตอนนั้นไข้หนัก จนจิตออกจากร่าง
    ชีพจรถอน ทุกคนรวมทั้งอาจารย์กงมา และบิดาของผู้เขียน ต่างก็พูดพร้อมกันว่า ตายแล้ว ตัวเย็นชีพจรถอน แต่ตอนนั้นผู้เขียนก็รู้สึกอยู่อย่างเดียวคือ รู้ แต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน มารู้สึกเอาเมื่อเขาพยายามเอาอิฐเผาไฟนาบเข้าที่เท้า จนมีความรู้สึกขึ้น ทุก ๆ คนรวมทั้งท่านอาจารย์และบิดา ก็ร้องขึ้นพร้อมกันว่า ฟื้นแล้ว ปรากฏว่าผู้เขียนได้ตายไปร่วมชั่วโมง
    นั่นนะชิ ผู้เขียนเกือบตายเสียจริง ๆ ไปแล้ว แต่ยังกลับฟื้นคืนชีพมาพบกับพระอาจารย์มั่นฯ พระเถระผู้ทรงคุณวุฒิในทางปฏิบัติกัมมัฏฐาน กับได้ไปอยู่กับท่านและยังจำข้อความคำพูดอันพอจะเป็นประโยชน์อยู่บ้าง มาเขียนให้ได้อ่านเข้าใจถึงเหตุผลบางประการ ซึ่งก็นับว่าเป็นบุญของผู้เขียนอยู่
    พระอาจารย์มั่น ฯ ท่านได้เล่าว่า
    เมื่อเข้าไปอยู่ลึกอย่างนั้น การพิจารณาก็ขยายออกยากมาก แต่ท่านเป็นนักผจญภัยและนักสู้ที่แท้จริง ไม่ยอมแพ้แก่ธรรมชาติอย่างง่ายๆ ท่านได้พยายามอยู่ในถ้ำลึกคืนหนึ่ง กำหนดจิตอย่างหนักเพื่อให้เกิดพลังของการพิจารณา ท่านว่าไม่ยอมให้มันมิดไปเฉย ๆ กำหนดความรู้และใช้กำลังพิจารณาควบคู่กันไป เมื่อปล่อยให้มันมิดแต่ตามกำหนดรู้ แล้วก็ขยายการมิดให้ออกมาพิจารณา
    ท่านพูดว่า
    ได้กำหนดเป็นอนุโลม และปฏิโลม อนุโลม คือปล่อยให้มันไป ปฏิโลมคือไม่ยอมให้มิด กำหนดพิจารณา พิจารณาอะไร พิจารณาถึงสังขารทั้งหลายว่าเป็นของไม่เที่ยง เกิดขึ้นดับไป อาศัยการพิจารณาอยู่อย่างนี้ ด้วยความมีสติกำหนดไม่ปล่อย กำลังของปัญญาก็รวมจุดเกิดเป็นพลังใหญ่ ใช้เวลาประมาณ ๒.๐๐ น. กลางคืน (ตี ๒) ปรากฏขึ้นในใจของท่านว่า ถ้ำเชียงดาวได้แยกออกเป็นสองซีก สว่างไปหมดที่แยกออกนั้น แยกออกจริง ๆ การหายใจที่เคยอึดอัดหายหมด ความเป็นเช่นนั้นได้ปรากฏอยู่ตลอดคืน ท่านเล่าว่าทุกอย่างเหมือนไม่ได้อยู่ในถ้ำ ทำให้รู้สึกถึงอดีตอะไรมากอย่างทีเดียว พร้อมทั้งเข้าใจวิธีการแก้ไขในขณะที่เกิดความหลงอยู่ในสมถะ ท่านเคยตำหนิผู้ที่หลงอยู่ในสมถะมากมายหลายองค์ เพราะว่าการหลงอยู่ในสมถะก็เท่ากับสมาธิหัวตอ ท่านพูดอยู่เสมอๆ ว่าสมาธิหัวตอนั้นเป็นอย่างไร คือมันไม่งอกเงยอะไรขึ้นมา เป็นอย่างไรก็แค่นั้นเอง ข้อนี้ท่านหมายความว่า ผู้มีสมถะแล้วให้มีวิปัสสนาด้วยจึงจะเป็นการถูกต้อง
    เป็นอันว่า ถ้ำเชียงดาว ท่านก็มาได้รับประโยชน์พอสมควร และได้ทั้งนำมาเล่าสู่ลูกศิษย์ เช่น ผู้เขียนและอื่น ๆ อีกมาก เพื่อจะได้เป็นคติตัวอย่างอันเป็นสิ่งที่มีค่าเหลือเกิน ค่าของท่านผู้บริสุทธิ์นี้ แม้จะเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ควรจะได้น้อมรับนำเป็นตัวอย่าง ผู้เขียนเองก็ไม่ใคร่อยากจะเขียนเท่าไร เพราะเราก็รู้ ๆ กันอยู่ในตัวของเราเองแล้ว ท่านพูดให้ฟัง เล่าให้ฟังก็รู้อยู่ทั้งนั้น เลื่อมใสเราก็เลื่อมใส เชื่อเราก็เชื่อ เป็นประโยชน์เราก็ได้รับ แล้วเรื่องอะไรจะมาเขียนให้เสียเวลาอีกเล่า ? แต่เหตุผลที่จะต้องเขียนนั้นมีอยู่ เพราะได้รับความรบเร้าเตือนใจจากบรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งคำพูดและจดหมาย ต้องเขียนตอบไปให้มากมายและตอบไปกับปากก็มาก และอีกประการหนึ่งผู้เขียนก็เคารพท่านจริง ๆ องค์อื่นก็คงจะเป็นเหมือนผู้เขียนอีกหลายท่าน ด้วยเหตุผล ๒ ประการนี้แหละทำให้ต้องย้อนกลับมาเขียนเรื่องของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต อีกครั้ง และด้วยความจำใจจริง ๆ จึงทำให้การเขียนต้องบรรจงและระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะกลัวว่าจะผิดพลาดจากความเป็นจริง
    พ.ศ. ๒๔๗๓
    ตอนพระอาจารย์มั่น ฯ จำพรรษาที่จังหวัดเชียงใหม่
    ที่ดอยจอมแตง อ.แม่ริม
    อันที่จริงดอยจอมแตงนี้เป็นทาง ๆ เดียวกันกับทางไปถ้ำเชียงดาว แต่ถ้าเดินทางจากเชียงใหม่ปัจจุบันจะถึงแม่ริมก่อน การเดินทางของท่านอาจารย์มั่น ฯ ดังได้กล่าวแล้ว คือจุดประสงค์ของการธุดงค์ของท่านนั้น โดยความมุ่งหมายต้องการที่จะหาความสงบและวิเวก ไม่ต้องการให้ใครเขารู้ว่าตัวของท่านมีความสำคัญอย่างไร แม้ท่านจะถูกตั้งเป็นพระครูฐานาของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า เป็นเจ้าอาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านก็ไม่นำเอาไปธุดงค์ด้วย ฉะนั้นเมื่อท่านเห็นว่าอยู่ถ้ำเชียงดาวหลายเวลาแล้ว ก็จึงเดินทางวกลงมาเรื่อย ๆ จนถึงดอยจอมแตง อ.แม่ริม.
    ท่านเล่าว่า พรรษานี้จำพรรษาอยู่บนภูเขา อากาศชุ่มชื้น ฝนตกมาก หนาวจัด พวกชาวบ้านได้หาฟืนมาไว้สำหรับให้ท่านก่อไฟผิง ยกเป็นกุฎีมุงด้วยใบตองตึง ทำรั้วด้วยไม้รวกยาว ๆ พอเป็นที่ป้องกันสัตว์ร้ายต่าง ๆ ตามธรรมเนียมของพวกชาวเขา แม้ท่านจะบอกเขาว่ารั้วไม่ต้องทำก็ได้ แต่เขาก็ไม่ยอม ได้ช่วยกันทำถวายท่าน และจะมีคนมาคอยดูแลก่อไฟรับใช้ท่านต่าง ๆ ท่านบอกว่าไม่ต้องมาดอก เขาก็ไม่ฟัง มาคอยดูแลช่วยอยู่นั่นเอง
    ท่านเล่าว่า ในพรรษานี้ก็เป็นพรรษาที่มีความรู้สึกว่าปลอดโปร่ง และได้ความละเอียดทางใจมาก เพราะเหตุว่าอยู่องค์เดียว ไม่ต้องสอนใคร พูดกับพวกชาวเขาก็ไม่รู้เรื่องกัน เหมือนกันกับอยู่วิเวกอย่างดีที่สุด จึงทำให้หวนระลึกถึงคำพูดของท่านพระสารีบุตรว่า กายวิเวกเป็นเหตุให้บังเกิดจิตวิเวก จิตวิเวกเป็นเหตุให้บังเกิดอุปธิวิเวก ข้อนี้เป็นความจริงแท้ และสิ่งเหล่านี้จะพึงเข้าใจได้ในตัวของตัวเอง ในเมื่อบุคคลนั้นกระทำขึ้น การพูดเป็นสิ่งง่าย การกระทำเป็นคนละเรื่องกัน เพราะเมื่อมาประสบกับวิเวกอย่างจริงจังเช่นนั้นเป็นเรื่องที่จะต้องมีอะไรภายในวิเศษบังเกิดขึ้น
    ท่านได้เน้นว่า.วิเวกนี้มันเกิดความชินชาได้เหมือนกัน เพราะเหตุแห่งการอยู่นาน แม้ว่าสถานที่จะวิเวกสักเพียงใด เมื่ออยู่หลายเวลาเข้า ก็เกิดความเข้าใจว่าเป็นที่ของเรา และเป็นสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นกับใจ ได้แก่ความเคยชิน นี้ก็ควรจะต้องเข้าใจตัวเองและอย่าไปเข้ากับตัวเองจนเสียคน โดยความเข้าใจว่าเราก็อยู่บนภูเขา ป่าดง ถ้ำ แต่ว่าอยู่เสียจนเคยชินหรือชินชาเสียแล้ว มันก็ไม่ผิดอะไรกับอยู่ในบ้านในเมือง จงพากันเข้าใจว่า ถ้ำ ป่า ภูเขา นั้นก็เป็นเพียงสถานที่อยู่และเป็นที่วิเวกได้จริง แต่อย่าไปอยู่นานเกินควร
    ผู้เขียนรู้สึกว่าได้ความรู้เป็นพิเศษขึ้นมาก ในข้อนี้ทำให้เกิดความเข้าใจว่าการอยู่ในที่วิเวกแม้จะเป็นป่าเขา ก็ยังทำให้เกิดความชะล่าใจได้เหมือนกัน จึงต้องควรระวัง. มิใช่ว่าจะถือเอาการอยู่ป่าเขาเป็นสรณะตลอดไป การอยู่ป่าเขาก็ดี เมื่อตั้งใจแน่วแน่เพื่อพระนิพพาน มิใช่เพื่อประโยชน์อย่างอื่น
    ท่านอาจารย์มั่น ๆ ได้พูดกึงการอยู่ในสถานที่แห่งนี้ว่าเป็นที่อยู่วิเวกจริง และต้นไม้ป่าก็ทึบมาก มีบริเวณภูเขาไม่ใหญ่โตอะไรนัก ชาวบ้านเหล่านี้ก็มีศรัทธาดีอยู่ แม้ว่าพวกเขาจะเป็นชาวเขา พวกเขามีพิธีการทางศาสนาพุทธนี้เหมือนกัน ท่านเล่าว่าวันออกพรรษาเขาจะทำบุญพิเศษ เช่นการทำขนมแบบง่ายๆ มาถวายกันมาก ที่แปลกอยู่อย่างหนึ่งคือ การถวายเข็ม (เข็มเย็บผ้า) เขาจะทำเป็นธงยาว เอาไม้ไผ่ทำเป็นคันเหมือนคันธงกฐินของเรา แต่เขาเอาผ้าบาง ๆ มาทำธงยาวเกือบพื้นดิน แล้วเขาก็เอาเข็มมากลัดติดกับผ้าตั้งแต่โคนธงถึงปลายธงแล้วให้พระมารับธงนั้น ถือว่าได้บุญมาก
    ส่วนที่เขาอยู่กันนั้นเป็นบ้านพักชั่วคราว ไม่ถาวร ใช้ใบตองตึงมุงหลังคากันเป็นส่วนมาก สำหรับการปกครองของเขานั้น เขามีหัวหน้าซึ่งจะไม่ใช่ทางรัฐบาลแต่งตั้ง เขาตั้งกันขึ้นเอง แล้วก็เชื่อฟังกันดีมาก เมื่อหัวหน้าบอกอย่างไรเป็นต้องทำตามกัน
    มีอยู่ครั้งหนึ่ง มีคน ๆ หนึ่งทำผิด คือไปขโมยของเขามา แล้วเจ้าทุกข์ก็จับตัวได้พามาหาผู้เป็นหัวหน้า เมื่อหัวหน้าถามว่า เจ้าขโมยของเขาจริงหรือเปล่า ขโมยก็บอกว่าเปล่า ผมไม่ได้ขโมย ที่จับตัวมานี่ผิดแล้วไม่ใช่ผม เมื่อหัวหน้าพยายามถามเท่าไรก็ไม่รับ เจ้าทุกข์ก็ยืนยันว่าใช่แน่ หัวหน้าพร้อมทั้งชาวบ้านกลุ่มหนึ่ง จึงทำพิธีโดยการบวงสรวงเทวดา ผีป่าต่าง ๆ แล้ว ก็เอาตะกั่วมาเคี่ยวให้ละลายอยู่ในเบ้า แล้วเขาก็จับมือขโมยกดลงไปที่เบ้าหลอมตะกั่วนั้น แต่ให้ห่างไม่ให้ติด กะประมาณ ๑ นิ้ว ถ้าเป็นขโมยจริงๆ ตะกั่วที่หลอมละลายนั้นจะพุ่งขึ้นมารับนิ้วมือผู้ทุจริต ถ้าเห็นผู้สุจริตตะกั่วจะไม่พุ่งขึ้นมา
    ขณะนั้นเขาก็จับมือขโมยกดลงใกล้เข้า พอได้จังหวะเท่านั้นเองตะกั่วได้พุ่งขึ้นจับมือขโมยทันที เท่านั้นเองเขาก็รู้ว่าเจ้านี่เป็นขโมยตัวจริง แล้วก็ลงโทษกันเอง โดยการเฆี่ยนบ้าง การล่ามโซ่ไว้ ๕ วันบ้าง ๑๐ วันบ้าง แต่พวกเขาก็ยอมกันโดยดี โดยมิได้มีการขัดขืนแต่อย่างใด
    ส่วนอาหารนั้นก็เป็นไปตามอย่างชาวป่าทั้งหลายเขาทำกันไปตามมีตามได้ และทำกันอย่างง่าย ๆ ไม่ใคร่จะสะอาดกันเท่าไร แต่เป็นสิ่งธรรมดาอย่างหนึ่งสำหรับการไปธุดงค์ ไม่ถือเอารสชาติ ความอร่อยชอบใจเป็นเกณฑ์ ถือเอาความเพียงอยู่ได้เพื่อเพียงมีชีวิตไปวันหนึ่ง ๆ เท่านั้นเป็นพอ
    ความจริงของการถือสันโดษเอาตามมีตามได้เป็นสัญลักษณ์ของบรรพชิตอยู่แล้ว การที่จะขนเสบียงไปธุดงค์นั้นผิดวิสัย เพราะเมื่อจะธุดงค์แล้วก็ควรจะให้มีอาหารเพียงประทังชีวิต และเป็นการดีมากเมื่อมีอาหารธรรมชาติไม่มีการบำรุงจนเกินไป ซึ่งจะทำให้ร่างกายแข็งแรงมาก ก็จะทำให้การทำความเพียรลำบากขึ้น เช่นฉันเนื้อไข่มาก ๆ ก็จะทำให้จิตใจฟุ้งมากกว่าการฉันผักมาก จำพวกดอกเลา เห็ด ผักบุ้ง ผักแต้ว เพกา เหล่านี้ แม้จะมีปลาบ้าง แต่เป็นผักเสียส่วนมากก็จะทำให้การทำจิตดีขึ้น เมื่อธุดงค์ไปอยู่ถิ่นทุรกันดาร ก็จะฉันอาหารผักส่วนมาก จึงเป็นเหตุให้ได้ประโยชน์หลายทาง คือทางหนึ่งได้รับกายวิเวก ทางหนึ่งได้อาหารธรรมชาติไม่บำรุงมากนัก จึงทำให้เกิดผลมากในการบำเพ็ญสมณธรรม
    ผู้เขียนได้ฟังท่านเล่าแล้วจับใจมาก เรื่องของอาหารนี้ พระพุทธองค์ก็ตรัสไว้ว่า สพฺเพ สตฺตา อาหารฐิติกา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงตั้งอยู่ได้ด้วยอาหาร คือถ้าไม่มีอาหารก็ต้องตายไม่ว่ามนุษย์-สัตว์ เพราะเรื่องอาหารนี้เป็นเรื่องใหญ่ ต้องแก้ปัญหากันอย่างมโหฬาร ถึงกับมีการคุมกำเนิด ป้องกันการเกิด ชลอการเกิด มันเป็นเรื่องใหญ่แท้ ครั้นมาคิด คิดถึงพระธุดงค์แล้ว ท่านได้ชลอการเกิดและจำกัดอาหารทั้งไม่นำเอาเรื่องอาหารมาเป็นเรื่องใหญ่ จึงเป็นการเสียสละของท่านผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เป็นประโยชน์ทั้งทางโลก และทางธรรม เป็นประโยชน์แก่คนและผู้อื่น
    ปัจจุบันการเดินธุดงค์จะเป็นเหมือนครั้งท่านอาจารย์มั่น ฯ เล่าให้ผู้เขียนฟังหรือเปล่า อาจจะเป็นเหมือนหรืออาจจะไม่เหมือนก็ได้ เพราะปรากฏว่าบางแห่งไปธุดงค์กันเป็นร้อยๆ อันเป็นภาระให้ชาวบ้านหรือตัวท่านลำบาก ต้องจัดอาหารกันใหญ่ ไม่ได้ทั้งกายวิเวก ฯไม่ได้ทั้งการจำกัดอาหาร ผลที่จะพึงเกิดขึ้นจากการธุดงค์จะเป็นดังฤๅ ?
    จึงเป็นเรื่องที่เราจะรู้จักความจริงของการธุดงค์ ว่าเป็นอย่างไรเอาไว้บ้างก็จะดีกว่าที่เราจะเอาเรื่องของธุดงค์เป็นเรื่องโฆษณา หรือเห็นเรื่องอะไรที่แอบแฝงอยู่เบื้องหลัง เพราะธุดงค์เป็นการแสวงหาวิโมกขธรรมนั้นดีจริง ๆ และได้ผลจริง หากการธุดงค์นั้นได้เป็นไปเพื่อกายวิเวกและจำกัดอาหาร เขียนเพลินไปเสียแล้ว ฟังท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านเล่าต่อไปดีกว่า
    ปีนี้เป็นปีที่มีความพิเศษ เพราะว่าได้ออกจากสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นปลิโพธินั้น แม้จะไม่ทำให้จิตหวั่นไหว แต่ก็ไม่ทำให้เกิดความละเอียด ท่านพูดถึงฌานต่าง ๆ และสมาธิว่า ส่วนนี้มันเป็นส่วนหนึ่งแห่งสังขาร เพราะฌานนี้และสมาธิเป็นสิ่งไม่เที่ยง มีการเสื่อม ถ้าหากการเจริญไม่เป็นไปตามกาล บุคคลบางคนเข้าใจว่า ผู้มีสมาธิดี หรือได้ฌานชั้นสูง จะต้องเป็นผู้อยู่ในลักษณะสงบหรือมั่นคงไม่หวั่นไหวตลอดไป เป็นการเข้าใจผิด เมื่อบุคคลยังเป็นไปเพียงแต่ฌาน-สมาธิ ย่อมจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง และเสื่อมได้
    ท่านเล่าว่า
    ปีนี้ได้พิจารณาย้อนหลังถึงการอยู่ในวัดเจดีย์หลวง และกรุงเทพ ฯ จึงมาพิจารณาได้ทราบความถึงเจตนาของนักปฏิบัติบางท่านที่ยังไม่เข้าใจความจริง และทั้งยังไม่ได้ดำเนินวิปัสสนา อันเป็นทางให้บังเกิดกิเลสไว้ จึงทำให้เกิดความผันแปรต่าง ๆ ของนักปฏิบัติ จนถึงออกนอกลู่นอกทาง โดยตัวเองไม่รู้ตัวเลย
    เพราะว่าผู้ปฏิบัติกัมมัฏฐานนี้ เป็นหลักการที่น่าเคารพนับถือ และจะถือได้ว่าเป็นบุคคลที่เสียสละอย่างสูง จึงทำให้บุคคลโดยทั่วไปเข้าใจว่า ท่านผู้ปฏิบัติกัมมัฏฐานหรืออยู่ป่าบำเพ็ญสมณธรรม ท่านเป็นผู้วิเศษ ซึ่งมีสิ่งอันเป็นพิเศษอยู่ นี้แหละคือความเห็นความเข้าใจและเชื่อถือในหมู่บุคคลชาวพุทธเป็นส่วนมาก เพราะชาวพุทธโดยทั่วไปเมื่อเห็นผู้ใดความจงรักภักดี เสียสละให้แก่พระพุทธศาสนาแล้ว เป็นต้องสนับสนุนเคารพนับถือ นี้เป็นความจริงข้อหนึ่ง
    ท่านเล่าว่า ท่านได้วิตกกังวลขึ้นในขณะที่อยู่ในสถานที่นี้ถึงการปฏิบัติกัมมัฏฐาน บำเพ็ญสมณธรรมของพระภิกษุ-สามเณร ต่อไปในกาลข้างหน้าว่า จะทำอย่างไร จะเป็นอย่างไร เพราะเมื่อมีผู้คนนิยมการปฏิบัติมากขึ้น ก็จะไม่จำกัดอยู่เฉพาะพระภิกษุสามเณรเท่านั้น ยังจะต้องแผ่กว้างออกไปถึงฆราวาส ผู้เป็นอุบาสก อุบาสิกาต่อไปอีก ความกว้างขวางออกไปนั้นก็เป็นการดีอยู่ เพราะจะได้เป็นการส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้เจริญขึ้นส่วนหนึ่ง แต่จะต้องทราบความจริงว่า ความกว้างออกไปของการปฏิบัติจิตใจนั้นมีข้อเสียหายมิใช่น้อยเลย เป็นต้นว่ามีการคิดคาดคะเนเดาเอาว่าความเป็นเช่นนั้นของเราถูก ของคนอื่นไม่ถูก ความเป็นเช่นนี้เป็นพระอรหันต์ หรืออริยบุคคล ความเป็นเช่นนี้คือญาณ คือฌาน บางหมู่บางพวกตั้งก๊กขึ้นสอนกัมมัฏฐานกันไปตามอารมณ์ นี่แหละเป็นภัยอยู่มาก เป็นทางให้เกิดความเสื่อมได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ท่านเล่าว่า ก็เป็นการดี ที่อนาคตไม่นานจะมีการแข่งขันกันในด้านการสอนกัมมัฏฐาน การปฏิบัติกัมมัฏฐาน
    ท่านเล่าตอนหนึ่งว่า ในสถานที่แห่งนี้ ชาวบ้านเขาไม่ได้มารบกวน เขาเข้าใจว่า เราก็เป็นพระตุ๊เจ้าองค์หนึ่ง เวลาแห่งการพิจารณาธรรมต่าง ๆ จึงเป็นโอกาสดีมาก ตอนเช้าเขานำอาหารมาส่ง รับพรแล้วก็กลับ ตอนเย็น บางทีเขาก็มาดูบ้าง คนสองคนเพื่อดอยดูแลว่าเราจะต้องการอะไรบ้าง เมื่อเห็นว่าไม่ต้องการอะไร วันต่อ ๆ มาเขาก็ไม่มา เป็นอันว่าได้อยู่จำพรรษาอย่างสงบวิเวกในปีนี้
     
  15. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ตอนที่ ๖
    [​IMG]
    พ.ศ. ๒๔๗๔
    ตอนพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ จำพรรษาที่จังหวัด
    เชียงใหม่ ที่บ้านโป่ง อ.สันป่าตอง
    หลังจากที่ท่านได้พักผ่อนในอรัญราวป่า ที่จอมทองในพรรษานั้นแล้ว เมื่อออกพรรษาท่านได้เดินธุดงค์ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อแสวงหาความสงบต่อไป
    ท่านเล่าต่อไปว่า เชียงใหม่นี้เป็นป่าดงกว้างขวาง ภูเขามากมาย สิงห์สาราสัตว์เป็นต้นว่า เสือ ช้าง งูก็มาก หากแต่สัตว์เหล่านั้นไม่เคยทำอันตรายแก่พระภิกษุสามเณรที่สัญจรไปมาเลย
    ครั้งหนึ่งท่านพักอยู่ในราวป่า เขตของอำเภอสันป่าตอง ฝนก็ได้ตกลงมาอย่างหนักติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน แถวๆ นี้หมู่บ้านที่ไม่ใช่ชาวเขา พากันทำไร่กันอยู่ประมาณสิบกว่าหลังคาเรือน ท่านอาศัยหมู่บ้านนี้บิณฑบาต และที่ท่านอยู่มีคลองขวางกั้นอยู่ จะไปบ้านต้องข้ามคลองไป คลองนี้ไม่กว้างนัก ชาวบ้านเขานำขอนไม้มาวางเป็นสะพานไม้ เมื่อฝนตกหนักคราวนี้ น้ำป่าแรงได้พัดไม้สะพานไป เมื่อน้ำไม่ลด ท่านก็ข้ามน้ำไปบิณฑบาตไม่ได้ โยมก็มาหาท่านไม่ได้ ก็จำเป็นจะต้องอดอาหาร ส่วนทางชาวบ้านร้อนใจมาก กลัวท่านจะอด จึงพยายามทุกวิถีทางที่จะข้าม ชาวบ้านเขาพยายามอยู่นานก็สามารถข้ามน้ำนำอาหารมาถวายได้.
    ฝนที่ตกติดต่อกันมาหลายวันนั้นก็ยังไม่มีที่ท่าจะหยุดลงได้ ก็ยิ่งทำความลำบากแก่ชาวบ้านที่จะมาถวายอาหารบิณฑบาต และแก่ท่านที่จะออกบิณฑบาต แม้ท่านบอกว่าอาตมาจะอดได้ ๓-๔ วันไม่เป็นไรหรอกโยม ชาวบ้านก็กลัวจะบาปจะยอมให้อดไม่ได้ จึงเป็นการต่อสู้กับภัยธรรมชาติครั้งสำคัญครั้งหนึ่ง
    เมื่อฝนตกกรำมาหลายเวลา ยังไม่มีทางว่าจะผ่อนคลายลงนั้น ท่านก็ได้รำพึงและพูดเปรย ๆ ออกว่า
    พญานาคเอ๋ย พวกเธอจะเล่นน้ำกันไปถึงไหน จนน้ำนองไปหมดแล้วพระก็ลำบาก ชาวบ้านก็ลำบาก หยุดเล่นกันเสียทีเถิด
    ฝนก็เริ่มหยุดเป็นปรกติน้ำก็เริ่มลดลง ชาวบ้านก็มาถวายอาหารตามปรกติ ต่อมาวันหนึ่งชาวบ้านในหมู่บ้านนั้นได้มาช่วยปรนนิบัติท่านโดยการหาฟืนมา และก่อกองไฟถวายตลอดถึงต้มน้ำร้อน วันนั้นมีงูตัวหนึ่งเป็นงูทับทานปล้องเหลืองปล้องดำ ขนาดยาวถึง ๒ วาเห็นจะได้ มาขดอยู่ในกองฟืน ความจริงตามป่าเขาในย่านนี้ก็เป็นดงงูอยู่แล้วพวกงูจำนวนมากอาศัยอยู่ เพราะเป็นหินก้อนเล็ก ก้อนใหญ่ ต้นไม้ใหญ่เล็กระเกะระกะ เหมาะแก่การอยู่ของพวกสัตว์เลื้อยคลานเหล่านี้
    แต่งูตัวนี้มาขดอยู่ที่กองฟืน งูตัวนี้ประหลาดกว่างูอื่นๆ คือมันไม่ยอมจะไปไหน ถึงมันไปชั่วครู่แต่มันก็ต้องกลับมาขดอยู่ที่เก่า โยมปรนนิบัติท่านอยู่ก็กลัว เพราะตัวมันใหญ่ โยมจึงหาไม้ยาวมาอันหนึ่ง โดยมีความตั้งใจกะไล่มันหนี ท่านรู้เข้าก็ออกมาจากที่พัก มาพูดกับโยมว่า อย่าไล่มันเลย มันจะมาอยู่เป็นเพื่อนเรา ลองให้มันอยู่ ดูหรือว่ามันจะอยู่นานเท่าไร โยมบอกว่างูตัวนี้อันตรายมาก กัดแล้วตายเลย เผลอ ๆ เดี๋ยวใครมาถูกมันเข้าโดนกัดจะลำบาก ท่านตอบว่า งูตัวนี้ไม่ทำอะไรใครดอก
    มันเป็นสิ่งประหลาดกว่างูตัวอื่น ๆ ตัวนี้มันเชื่องมาก เวลามันเลื้อยออกมาตอนต้มน้ำเสร็จแล้ว คล้ายกับมันอยากจะทำการปฏิบัติอะไรสักอย่าง เลื้อยไปเลื้อยมารอบ ๆ บริเวณ หางของมันจะแกว่งเป็นบริเวณกว้างมันจะออกทำอย่างนี้วันละ ๒ ครั้งแล้วก็เข้าไปขดอยู่ที่เดิม มันอยู่กับท่านจนท่านจากมันไป มันก็หายไปเหมือนกัน ชาวบ้านในหมู่บ้านนี้ได้เล่าให้ฟังว่า งูตัวนี้ท่าจะเป็นงูเจ้าหรืองูเทวดาอะไรก็ไม่ทราบ มันจึงมีความรู้สึกเกือบจะเป็นคน
    เรื่องนี้ทำให้ผู้เขียนระลึกไปถึงเมื่อครั้งผู้เขียนเป็นสามเณร อยู่จังหวัดจันทบุรี ครั้งเมื่อผู้เขียนธุดงค์ไปตามภูเขาสระบาป เข้าไปพักอยู่ที่บ้านกงษีไร่ ประมาณ พ.ศ.๒๔๘๑ พบกับลูกศิษย์คนหนึ่ง ชื่อหมอสมร นามสกุล ภักดี มาขอฝึกการทำสมาธิกับผู้เขียน และเป็นผู้ทำจริง ๆ จนถึงกับเกิดสมาธิที่กล้าแข็งขึ้น มีจิตสงบ ทั้งภรรยาของเขาด้วย บำเพ็ญจนไม่รับประทานอาหารตอนบ่าย รับประทานหนเดียวเหมือนกับพระธุดงค์ เมื่อหมอสมรนี้ได้สนิทสนมคุ้นเคยกับผู้เขียนจนเป็นกันเองขึ้นแล้ว เขาก็พูดขึ้นอยู่บ่อย ๆ ว่า ผมนี้เป็นญาติกับงู ผู้เขียนก็ไม่ใคร่จะสนใจนัก นึกว่าคงเป็นเรื่องนิยายมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง แต่เมื่อเขาได้พูดหลายครั้ง ประกอบกับมีพยานหลายคน ผู้เขียนชักจะสนใจขึ้นจึงขอทราบความจริงของการที่เขาเป็นญาติของงูได้อย่างไร ?
    หมอสมรจึงเริ่มเล่าว่า เมื่อนานมาแล้วชั่วอายุคนหนึ่ง มีครอบครัวเรือนหนึ่ง ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ครอบครัวนี้หลังจากแต่งงานแล้ว ตั้งครรภ์ขึ้น ตอนคลอดลูกออกมาคนแรกปรากฏว่าเป็นงู เกิดความตกใจกันขึ้น ด้วยความกลัว คิดว่าจะเอาใส่ขวดดองเสีย แต่นางมารดาก็มีจิตสามัญสำนึกแห่งการรักบุตรของตนอยู่ จึงห้ามการที่ฆ่าบุตรแม้จะเป็นสัตว์เดียรฉาน ต่อมามารดาคนนี้คลอดบุตรอีก ๗ คน ชาย ๕ หญิง ๒ คน คนสุดท้องเป็นหญิง
    ครั้นเจริญวัยใหญ่โตกันขึ้นต่างก็มีครอบครัวไปกันหมด และก็ได้ตั้งบ้านเรือนรวมกันเป็นหมู่ในหมู่บ้านแห่งนี้ ส่วนงูผู้เป็นพี่ใหญ่นั้น เมื่อโตขึ้นก็เกิดความระแวงแก่คนโดยทั่วไป อาจจะเกิดอันตรายแม้นแต่ญาติพี่น้องก็ตาม ที่หมอสมรได้เล่าให้ฟังว่า ตอนนั้นเขาจะออกมาเลื้อยเล่นตามลานบ้านแล้วจะมีงูอื่น ๆ มาเป็นพวกด้วย เลยเกิดเป็นบ้านงูขึ้น จึงยิ่งทำให้เกิดความหวาดกลัวแก่บุคคลทั่วไปมากขึ้น หมอสมรเล่าว่า งูตัวนี้มีสีขาวปนดำมีหงอนด้วยเชื่องมาก แม่พูดออย่างไรจะทำตามทุกอย่าง เช่น อย่างบอกให้อยู่เฉย ๆ เขาก็นอนตามความแนะนำ บอกให้ลงไปเล่นข้างล่างก็ลงไป บอกให้อย่ามาใกล้ ก็ไม่มาบอกให้มาใกล้ ก็มา ผู้เขียนถามว่าเอาอะไรเป็นอาหารแก่งู หมอสมรว่าไก่และเนื้อสัตว์อื่น ๆ ที่ฆ่ามาแล้วและหมอได้พูดต่อไปว่า แม่ของงูนี้ไม่กลัวงูเลย บางครั้งจะจับคลำเล่น เหมือนกับว่ามันไม่ใช่อสรพิษอย่างนั้นแหละ จึงรวมความว่า แม่งูรู้จักภาษางู และงูก็รู้จักภาษาคน เรื่องนี้ก็เป็นสิ่งที่ไม่น่าจะมีได้ แต่ก็มีมาแล้ว กระทั่งบัดนี้ก็ยังมีญาติของงูเหลืออยู่ แม้จะเป็นสิ่งเหลือเชื่อ แต่หลักฐานยังบ่งชัดว่าน่าจะเป็นไปได้
    ครั้นต่อมาผู้คนในละแวกนั้นเกิดไม่ไว้ใจในงูซึ่งเป็นสัตว์มีพิษมากขึ้น ขอร้องให้นั้นไปปล่อยเสียที่อื่นผู้เป็นแม่ก็จนใจ อยู่มาวันหนึ่งแม่จึงเรียกงูนั้นมาแล้วพูดว่า
    ขณะนี้ชาวบ้านเขากลัวกันมาก เพราะว่าเจ้าก็ใหญ่ขึ้นทุกวัน แม่จำเป็นต้องขอร้องให้เจ้าจงหาทางไปอยู่เสียที่ ๆ เป็นวิสัยของเจ้าเถิด
    งูก็เป็นผู้ว่าง่ายอยู่แล้ว เมื่อแม่ขอร้องก็จึงไปหาน้อง ๆ ทุกคนแล้วก็มาปะหงกหัว ลาแม่บังเกิดเกล้า เลื้อยลงมาจากบ้านอย่างเชื่องช้า พร้อมกับร้องไห้น้ำตาไหลพราก และเปล่งเสียงวีด ๆ ประมาณ ๕-๖ ครั้ง แล้วก็เลื้อยหายลงไปสู่ทะเล
    ต่อมาเขาจะมาเยี่ยมแม่ของเขาทุก ๆ ๗ วัน และต่อไปเขาจะมาเยี่ยมแม่ของเขาทุก ๆ เดือน จนถึงบีหนึ่งเขาจะมาเยี่ยมแม่ของเขาครั้ง ในการมาเยี่ยมแต่ละครั้งนั้นจะมีพวกติดตามมามาก มีงูหลายชนิดเหมือนกับคอยอารักขา เวลามาเยี่ยมนั้นเขาจะอยู่ประมาณครึ่งวันจึงจะกลับ ครั้งสุดท้ายแม่ป่วยไม่สบาย เขารู้ได้อย่างไรไม่ทราบ เพราะแม่ป่วย
    ครั้งนี้จะต้องตายแน่ เขาพาพวกเขามาอยู่กับแม่ของเขา จนแม่เขาถึงแก่กรรม และเขาก็มีการแจกสมบัติขณะแจกสมบัตินั้น งูก็ยังอยู่ ฟังเขาพูดกันจนรู้เรื่อง คำพูดคำหนึ่งนั้นที่งูสนใจ คือ เราจะแบ่งสมบัติออกเป็น ๗ ส่วน งูผู้เป็นพี่ก็มีส่วนด้วย ขณะนั้นเอง งูได้ทำกิริยาอย่างหนึ่งโดยเอาหางชี้ไปที่น้องคนสุดท้าย เป็นอันทราบว่างูมีความประสงค์จะมอบสมบัติส่วนตัวให้แก่น้องคนสุดท้อง เป็นอันว่าเสร็จสิ้นกันไป แล้วงูนั้นก็ลาน้อง ๆ จากไป นับตั้งแต่นั้นจนบัดนี้ก็ไม่ปรากฏว่างูนั้นหวนกลับมาอีก
    ผู้เขียนพูดมายืดยาว เพื่อให้เป็นการแก้อารมณ์ท่านผู้อ่านที่ต้องเคร่งเครียดอยู่กับประวัติของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระไปบ้าง.ต่อไปก็จะได้เริ่มเขียนการจำพรรษาของท่านอีกต่อไป
    ปีนี้ท่านจำพรรษาอยู่ที่บ้านโป่ง อำเภอสันป่าตอง บ้านนี้เป็นหมู่บ้านที่เล็กมาก มีอาชีพทำพืชไร่ล้มลุก ปลูกเผือก-มัน-งา พืชไร่ต่าง ๆ นำเอาเข้าไปขายในอำเภอ ความเป็นอยู่ของเขาไม่มีอะไรมาก เพียงแต่มีชีวิตอยู่ไปวันหนึ่ง ๆ แต่เขาก็อยู่กันอย่างสบาย.ที่นี่ไม่ใช่ภูเขา เป็นที่ราบ แต่เป็นป่าไม้ใหญ่ มีพวกไม้ยางและไม้สักมาก เป็นป่าระหง ไม่ใช่ป่าทึบ ท่านพูดว่า เราต้องการหาที่โปร่ง ๆ จำพรรษาสำหรับปีนี้ เพื่อจะได้พิจารณาถึงการอยู่ป่า ที่จะอยู่ได้นานๆ เพราะป่าบางป่าชุ่มเกินไป ป่าบางป่าทึบเกินไป อยู่ลำบากมาก อาจเกิดโรคภัยต่าง ๆ ได้ ทั้งเป็นการบั่นทอนกำลังของร่างกาย แต่ว่าป่าทึบนั้นก็ดีแต่เฉพาะที่ไม่ใช่หน้าฝน ถึงอย่างนั้นจะอยู่นาน ๆ ก็ต้องมีการถากถางเบิกป่าออกไปบ้าง ก็เป็นภาระไม่ค่อยจะจำเป็นนัก
    การอยู่ที่บ้านโป่งนี้เป็นป่าต้นไม้ใหญ่ก็จริง แต่ไม้ใหญ่นี้ขึ้นสูงมาก ต้นไม้อยู่ข้างๆ ก็ไม่มีโอกาสจะโตขึ้นได้ เพราะร่มต้นไม้ใหญ่บัง ถึงแม้จะมีการถากถางก็ไม่ต้องทำอะไรมาก บางแห่งไม่ต้องถากถางเลยก็ใช้เป็นสถานที่อยู่ได้ และท่านได้เลือกเอาสถานที่ห่างจากบ้านพอสมควรอันเป็นแหล่งที่จะเที่ยวภิกขาจารได้ และบ้านโป่งนี้ก็เป็นป่าไม้ใหญ่โต ผู้คนก็ไม่พลุกพล่าน และก็ไม่เป็นที่รบกวนแก่การบำเพ็ญสมณธรรม พวกชาวบ้านเหล่านี้เขาเห็นตุ๊เจ้ามาก็ดีใจเหลือหลาย เพราะนานปีจึงมีตุ๊เจ้ามาโปรดอย่างนี้ แต่เขาก็ไม่ทราบว่าตุ๊เจ้ามั่นฯ ท่านเป็นใคร อย่างไร ? เขาก็เข้าใจแต่เพียงว่าตุ๊เจ้าองค์หนึ่งเท่านั้น เพราะชาวบ้านเป็นชาวพุทธ เมื่อถึงเวลาเทศกาลเขาจะเดินไปทำบุญที่วัดตั้งหลายชั่วโมงเขาก็ยังอุตส่าห์ไปกัน เมื่อตุ๊เจ้ามาให้ทำบุญอยู่ใกล้ ๆ และจำพรรษาอยู่ในที่นี้ ก็ทำให้เขาดีใจเหลือหลาย จึงได้ช่วยท่านทำเสนาสนะพอที่จะอยู่จำพรรษาได้
    ความจริงพรรษานี้ ท่านก็ได้พยายาม เพื่อตรวจถึงความจริงของพระพุทธศาสนา จนเห็นว่ามีมิจฉาทิฏฐิปะปนอยู่มาก ที่ว่าเช่นนั้นเพราะท่านเห็นชาวบ้านพากันนับถึงภูตผีปีศาจ และนับถืออะไรต่อมิอะไรอื่นอีกเหลือคณานับ เช่น ตรงไหนมีต้นไม้ครึ้ม ๆ เขาก็ไปบูชากัน เห็นหินก้อนใหญ่ ๆ ก็ไปบูชากัน ถึงปีเช่นวันเพ็ญเดือนสิบสอง เขาก็จะมีการเลี้ยงผีแล้วก็เซ่นสรวงบูชาทำกันอย่างเอิกเกริก เหมือนกับไม่ใช่ชาวพุทธ แต่เขาก็เป็นพุทธ
    ท่านว่า เรื่องอย่างนี้ก็แก้ยาก เพราะคนยังมีจิตใจต่ำ ยังไม่เข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ซาบซึ้งจริง ๆ แต่หากว่าเขาได้พัฒนาจิตขึ้นมาก สภาพจิตของเขาก็อาจจะดีขึ้น จนถึงกับเลิกเชื่อถือภูตผีปีศาจก็เป็นได้
    พ.ศ.๒๔๗๕.
    ตอนพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ จ.เชียงใหม่
    จำพรรษา ณ วัดเจดีย์หลวง
    ท่านได้เคยพูดเสมอว่า
    กาลญฺญูต ปุริสญฺญุตา รู้จักกาล รู้จักบริษัท
    ผู้จะปฏิบัติอันจะเป็นพระภิกษุสามเณร หรือเป็นคฤหัสถ์นั้น มีความจำเป็นที่จะต้องรู้จักสังคม เพราะเราอยู่ในโลก ซึ่งจะต้องเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก แม้แต่พระพุทธศาสนาก็ต้องเกี่ยวกับโลก คือ อาณาจักร การเป็นเช่นนี้จึงจะต้องทำตัวให้เข้ากับเขาได้จึงจะเป็นไปตามหลักฐานที่ถูกต้อง ปละแม้แต่พระพุทธองค์ก็ต้องนำมาบำเพ็ญ ญาตตฺถจริยา โลกตฺถจริยา คือทำประโยชน์แก่ญาติและแก่โลก บุคคลหรือนักปฏิบัติที่คร่ำเคร่งอยู่ในการปฏิบัติธรรม เขาจะต้องเป็นผู้ กาลญฺญุตา รู้จักกาล ปุริสญฺญุตา รู้จักบริษัท มิฉะนั้นการปฏิบัติอาจจะเสียผล ดังที่ปรากฏว่ากาลที่ควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไร บริษัทนี้ทำอะไรไม่ควรทำอะไร. ควรพูดอะไร ไม่ควรพูดอะไร หากไม่ใช้ปัญญาจะบังเกิดผลเสียหาย จนถึงการทำลายการปฏิบัติของตนเสียก็ได้
    เช่นพระภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๖-๒๔๘๗ อยู่บนภูเขาที่ข้างสถานีมวกเหล็ก.พอรถไฟขบวนหนึ่ง มีผู้โดยสารมากผ่าน ท่านจะขึ้นไปนั่งสมาธิบนก้อนหินสูงเด่น (แต่พอรถไฟผ่านจะนั่งหรือเปล่าไม่ทราบ) ทั้งนี้ เพื่ออวดว่าเราเป็นนักปฏิบัติ นี้คือไม่รู้จักกาล เพราะการกระทำเช่นนั้นแม้จะเป็นการปฏิบัติ แต่เป็นการกระทำเพื่อโอ้อวดมากกว่า
    หรือคำพูดตลอดถึงการเขียนหนังสือ จะพูดถึงการปฏิบัติก็อย่าพึงพูดอวดตัวหรืออวดพวกของตัวว่าดีวิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ นี่ก็ต้องรู้จักบริษัท เพราะที่พูดออกไปนั้นเขียนออกไปนั้น ผู้คนเขาจะต้องรู้ต่อกันไปอีกมาก แม้ว่าจะพูดของจริง เป็นความดีความวิเศษก็ไม่ควร แต่จะพูดในบริษัทของเรากันเอง เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสกล้าหาญในการที่จะนำเอาเป็นตัวอย่าง นี้ก็ควรจะพูด เพราะจะได้ประโยชน์
    ท่านได้ยกตัวอย่างเช่น ครั้งหนึ่งเมื่อพระโมคคัลลานเถระกับพระลักขณเถระไปทำความเพียรอยู่บนเขาคิฌกูฏ เมื่อขณะที่ลงจากเขา พระโมคคัลลานเถระได้เห็นเปรตตนหนึ่ง ด้วยทิพจักษุ คือไฟได้ไหม้ เปลวไฟได้ตั้งขึ้นแต่หางลามขึ้นไปถึงศีรษะตั้งขึ้นทั้งสองข้างไปรวมตรงกลางตัว ได้รับความทรมานแสนสาหัส พระเถระเห็นดังนั้นแล้วจึงยิ้มขึ้น อันพระลักขณเถระถามเหตุแห่งการยิ้ม ตอบว่า ที่นี่ไม่ใช่เหตุการณ์ ท่านจงถามเราในสำนักพระศาสดาเถิด ท่านทั้งสองเที่ยวไปบิณฑบาตในนครราชคฤห์ เข้าไปเฝ้าพระศาสดา
    อันพระลักขณเถระนั้นได้ถามเหตุของการยิ้มแห่งพระเถระ ต่อพระพักตร์ของพระศาสดาแล้ว พระโมคคัลลานะจึงตอบว่า
    ผู้มีอายุ ผมได้เห็นเปรตตนหนึ่งในที่นั้น.อัตตภาพของมันเป็นอย่างนี้ จึงได้ทำการยิ้มให้ปรากฏ เพราะอัตตภาพอย่างนี้ เราไม่เคยเห็นเลย
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสเป็นการย้ำความจริงแก่พระโมคคัลลานเถระว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สาวกของเราเป็นผู้มีจักษุหนอ ทรงรับรองถ้อยคำของพระเถระแล้ว.จึงตรัสว่า เปรตตนนั้นเราได้เห็นมันแล้วนับแต่เราได้ตรัสรู้ ณ โพธิสถานเหมือนกัน.แต่เราไม่พูด เพราะคิดว่า เมื่อหมู่ชนใดไม่พึงเชื่อคำของเรา ความไม่เชื่อของชนหมู่นั้น ไม่มีประโยชน์อะไรมีแต่จะให้โทษแก่เขาเท่านั้น บัดนี้เราได้พระโมคคัลลานะเป็นพยานแล้ว จึงจะได้พยากรณ์ว่า เปรตนั้นได้ทำกรรมอะไรมา
    ที่ตรงนี้ท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านได้ย้ำพูดถึงว่า การที่เรามีความรู้อะไรต่าง ๆ อันเป็นภายในแห่งสมาธิ สิ่งเหล่านี้แม้จะเป็นความจริงก็ไม่ควรพูดออกมาหรือเขียนออกมาให้คนอื่นเข้าใจผิด เพราะผู้อื่นนั้นยังไม่รู้ หรือถึงรู้ก็ไม่เข้าใจ ซึ่งอาจจะเป็นบาปแก่ผู้ฟังถ้ามีการเข้าใจอย่างผิด ๆ ถูก ๆ เพราะความไม่เชื่อ นับประสาอะไรกับเราผู้เป็นสาวกรุ่นนี้เล่า ? แม้แต่พระบรมศาสดา พระองค์มิได้ทรงพยากรณ์ในเรื่องเปรตเหล่านั้นในขณะที่ทรงเห็นด้วยพระองค์เอง ได้ทรงพยากรณ์ก็ต่อเมื่อมีพระมหาโมคคัลลานเถระมาเป็นพยานในการรู้เห็นของพระองค์ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ว่า ผู้ที่มีแต่เฉพาะตานอก คือเพียงตาเนื้อ แต่ไม่มีตาทิพยจักษุ คือตาภายในนั้น เขาก็รู้เอาแต่เพียงคาดคะเนเท่านั้น เขาจะชื่อว่ารู้จริงหาได้ไม่ ดูตัวอย่าง ฌาน ก็แล้วกันเขาเรียนทั้งรูปฌาน อรูปฌาน แต่เขาก็ไม่รู้ว่า ฌานนั้นเป็นอย่างไร นี่แหละ พึงเข้าใจเสียเถิดว่า จะเป็นบาปแก่เขาเปล่า ๆ แม้แต่เขาเหล่านั้นจะมีความรู้เรียนจบพระไตรปิฎก แต่ตาในไม่มีก็ไม่เข้าใจความจริง เมื่อเพียงแต่เดาเอาก็ไปกันใหญ่ เหมือนเขาเล่าว่า อีกาเช็ดปาก พอลือกันไปหน่อยก็ค่อย ๆ ยาวไป ก็กลายเป็นอีกา ๗ ปาก แตกตื่นกันใหญ่
    เรื่องของเปรตนั้น ท่านกล่าวต่อไปว่า เปรตตนนี้เมื่อยังเป็นคน ได้เกิดในศาสนาพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ มีเศรษฐีคนหนึ่งชื่อว่า สุมังคละได้สร้างพระวิหารถวายโดยเสียสละทรัพย์จำนวนมาก เศรษฐีนี้จะต้องไปที่วิหารนั้นทุก ๆ วัน ในวันหนึ่งตอนเช้า ท่านเศรษฐีได้ไปที่วิหารดังเช่นเคยทุก ๆ วัน ในระหว่างทางได้เหลือบไปเห็นโจรคนหนึ่งนอนอยู่ใกล้ ๆ ประตูพระนคร มีตัวสกปรกทั้งตัวแล้วยังเอาผ้ากาสาวะคลุมตัวด้วย เศรษฐีจึงพูดเปรย ๆ ขึ้นว่า หมอคนนี้เป็นคนเปรอะเปื้อนสกปรก เป็นนักเลงเที่ยวกลางคืนไม่เอาการเอางาน ดีแต่นอน
    โจรได้ฟังก็โกรธคิดว่า เราจะต้องทำให้เศรษฐีนี้เจ็บใจผูกอาฆาตแล้วทำการเผานา ตัดเท้าโค เผาเรือนของเศรษฐี แต่เศรษฐีก็ไม่โกรธเคือง โจรจึงคิดว่าเราจะทำให้เศรษฐีเคืองให้ได้ รู้ว่าพระคันธกุฎี อันเป็นที่ประทับของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะต้อง|เป็นที่รักของเศรษฐี จึงได้ไปเผาพระคันธกุฎีวอดหมด แทนที่เศรษฐีจะเสียใจ กลับดีใจหัวเราะ เพราะจะได้ทำพระคันธกุฎีเสียใหม่ให้สบาย. สวยกว่าเก่า ส่วนโจรผู้ซึ่งได้ทำกรรมหนัก ถึงกับเผาพระคันธกุฎีของพระพุทธเจ้าเมื่อสิ้นชีวิตแล้วก็ไปบังเกิดในมหาอเวจีนรกสิ้นกาลนาน บัดนี้มาเกิดเป็น อชครเปรต ถูกไฟไหม้อยู่ที่ภูเขาคิฌกูฏด้วยผลแห่งกรรมที่ยังเหลือ
    ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ นี้ ท่านอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระก็ได้กลับมาจำพรรษาที่วัดเจดีย์หลวงในเมืองเชียงใหม่อีกครั้ง โดยมีความประสงค์จะได้ดำเนินการพระศาสนา ให้เป็นประโยชน์แก่บริษัททั้งหลาย และก็ได้ผลตามที่ท่านเล่าว่า มีพุทธบริษัทมาเรียนกัมมัฏฐานกันมาก ทั้งพระภิกษุ สามเณรและอุบาสกอุบาสิกา ต่างก็พากันตื่นตัวขึ้น แล้วท่านก็ได้แนะนำการปฏิบัติในทางจิตใจให้ นับว่าเป็นประโยชน์ เพราะการปฏิบัติธรรมในขณะนั้น โดยทั่วไปยังพากันสนใจน้อยมาก ต่อเมื่อเขาปฏิบัติจนเกิดผลคือ ความสงบทางใจแล้วและได้เล่าต่อ ๆ กันไป ก็ทำให้เกิดความกระตือรือร้นขึ้น จึงเป็นเหตุให้มีบุคคลใคร่เพื่อให้ได้ความสุขอันเป็นภายใน แต่การปฏิบัตินั้นต้องอาศัยผู้แนะนำที่ถูกต้องก็จะทำให้เกิดความก้าวหน้าต่อไป เมื่องจากการแนะนำในด้านการปฏิบัติจิตใจขณะนั้น ยังไม่แพร่หลาย จึงทำให้บุคคลผู้มาปฏิบัติอยู่ในวงจำกัด
    พ.ศ. ๒๔๗๖
    ตอนพระอาจารย์มั่น ฯ จำพรรษาที่อรัญญปัพพตา
    บ้านห้วยทราย อ. เวียงป่าเป้า จ. เชียงราย
    ครั้นเมื่อจำพรรษาอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง ด้วยความประสงค์ที่จะให้พระภิกษุสามเณรได้สนใจในการปฏิบัติ โดยการที่ท่านแนะนำพร่ำสอน กับทั้งความเพียรซึ่งท่านได้กระทำเป็นตัวอย่าง ผลที่เกิดขึ้นนั้นน้อยมาก ทั้งนี้หมายความถึงธรรมที่เกิดขึ้นภายใน
    ท่านเล่าว่าเมื่อออกพรรษาไปในปีที่แล้วก็เดินธุดงค์จากวัดเจดีย์หลวง เพื่อไปแสวงหาความสงบต่อไป ซึ่งตั้งใจว่าจะกลับมาแนะนำสั่งสอนประชาชนในเมืองเป็นครั้งคราว เพื่อให้ประชาชนชาวเมืองได้รับความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามสมควร ท่านจึงมุ่งหน้าไปอำเภอสันทราย อำเภอนี้ไม่ไกลจากหัวเมืองเชียงใหม่เท่าใดนัก แต่ก็ลำบากมิใช่น้อยเพราะไม่มีถนนรถยนต์ ใช้การเดินเท้าตลอดตามที่ต่าง ๆ ก็มีหมู่บ้านเล็ก ๆ เป็นแห่งๆ ไป ท่านเล่าต่อไปว่า พยายามหลีกเลี่ยงหมู่บ้านใหญ่ ๆ เพราะกลัวคนจะมารบกวน จึงพยายามหาที่สงบ เมื่อเห็นว่าสถานที่สงบดีก็พักอยู่นาน แต่เมืองเชียงใหม่นี้มาเลเรียชุมนัก มักเล่นงานเอาท่านหลายครั้ง ทั้งยาก็หายาก ใช้ยาสมุนไพรแก้ไขกันไปตามเรื่อง บางครั้งก็ต้องใช้กำลังใจกำจัดมันก็หายไปได้
    ท่านได้เล่าต่อไปอีกว่า การเปลี่ยนบรรยากาศ จากในป่าเข้ามาอยู่ในเมืองนั้นเป็นสิ่งควรทำ เพราะจะเป็นการทดลองกำลังใจของคนที่ฝึกฝนมาแล้ว เพราะหากว่าอยู่ป่าจำเจไป ถ้าหากว่าไม่มีสติพอ อาจจะกระทำให้เห็นว่าโลกนี้แคบไป หรือจะอยู่แต่ในความสงบอันจะเป็นไปตามโมหะ เพราะการอยู่ในป่านั้นไม่เกี่ยวข้องในความเป็นอยู่ในหมู่คนส่วนใหญ่ การอยู่ป่าจึงมีส่วนดีและส่วนเสียอยู่เหมือนกัน. เพราะหากว่าเกิดเป็นทิฏฐิชนิดหนึ่งแล้วจะแก้ยาก คือถือว่าการอยู่ป่านั้นวิเศษกว่า ถือว่าเรานั้นวิเศษแล้ว ผู้ที่ไม่ได้อยู่ป่าถือว่าบุคคลผู้นั้นอยู่กลางกิเลส จึงถือเอาตัวเป็นใหญ่ แล้วทำทิฏฐินี้ให้ฝังอยู่ในใจ ตำหนิติโทษผู้อื่น อย่างนี้เป็นผลเสียเป็นอย่างยิ่ง.
    ท่านเล่าต่อไปว่า ในครั้งพุทธกาล พวกฤๅษีจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ ท่านจะอยู่เป็นเวลาประมาณ ๔ เดือนในป่าหิมพานต์นั้น ๘ เดือนท่านจะมาอยู่กับหมู่ชน จากคัมภีร์พระธรรมบทขุททกนิกาย ท่านอ้างว่ามีพระฤๅษีจำนวนหนึ่งประมาณ ๕๐๐ คน มีโฆษกเศรษฐีเป็นที่คุ้นเคยในตระกูลนั้น สี่เดือนฤๅษีทั้ง ๕๐๐ จะอยู่ในป่าหิมพานต์ ๘ เดือน ฤๅษีทั้ง ๕๐๐. จะมาหาเศรษฐี และเพื่อจะได้ลิ้มรสอาหารนานาชนิด เพราะอยู่ในหิมพานต์ประเทศนั้นได้ลิ้มแต่รสผลไม้
    ในวันหนึ่ง ฤๅษีทั้ง ๕๐๐ ได้มาพักอยู่ใต้โคนต้นไทรต้นใหญ่ มีร่มเงาสาขามหึมา ครั้นนั่งพักกันสักครู่แล้ว ฤๅษีทั้ง ๕๐๐ ก็มีความสงสัยว่าต้นไม้ใหญ่อาจจะมีเทวดาสิงอยู่ จึงได้พูดว่า
    “หากว่าเทวดามีอยู่จริง บัดนี้พวกเราต้องการน้ำฉันเพราะกำลังกระหาย”
    เทวดาที่สิงอยู่ในต้นไทรนั้นก็เนรมิตน้ำให้ฉัน
    ฤๅษีทั้ง ๕๐๐ องค์ก็พูดว่า “เราต้องการอาหาร”
    เทวดานั้นก็เนรมิตอาหารถวายให้ฉันกันจนอิ่ม
    ฤๅษีพากันพูดว่า.”พวกเราต้องการเห็นตัวเทวดา”
    เทวดาก็ปรากฏตัวให้เห็นกันจนทั่วถึง
    ฤๅษีจึงถามเทวดาว่าท่านทำบุญอะไรมา ?
    เทวดาก็ไม่อยากจะบอกความจริง เพราะทำบุญมาน้อยมาก แต่ฤๅษีได้อ้อนวอนโดยนานาประการ เทวดาจึงบอกบุพพกรรมตนเองว่า
    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในชาติก่อนนั้น กระผมได้เกิดเป็นคนใช้ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้ที่เป็นพุทธอุปฐาก ครั้งนั้นผมเป็นคนใช้ใหม่ ๆ ไม่ทราบถึงว่าวันพระหนึ่งๆ พวกคนใช้ทั้งหมดจะต้องสมาทานศีล ๘ วันนั้นเป็นวันพระ ผมได้ไปทำงานตัดไม้ในบ้าน ผมกลับมาแล้ว มีความสงสัยมาก ว่าทำไมไม่มีใครรับประทานอาหารมื้อเย็นแม้แต่คนเดียว เขาได้จัดอาหารไว้ให้ผม ผมจึงสงสัยมาก ได้ถามว่าเขาทำไมไม่รับประทานอาหารในเวลาเย็นกันเลย
    ได้รับคำตอบว่า วันนี้เป็นวันพระ ทุกคนในที่นี้ต้องสมาทานศีลอุโบสถ แม้แต่เด็กกินนม วันนี้ก็ต้องกินน้ำผึ้งแทน
    ผมจึงได้เกิดความละอายแก่ใจ แล้วมีศรัทธาขึ้นมาทันที จึงได้เข้าไปถามท่านเศรษฐีว่า ผมจะขอสมาทานศีลอุโบสถบ้างจะได้ไหม
    อนาถบิณฑิกเศรษฐีก็บอกว่าได้ แต่ได้เพียงกึ่งพระอุโบสถศีล เพราะวันนั้นเย็นแล้ว
    ผมคิดว่าแม้กึ่งอุโบสถก็ยังดี ผมจึงสมาทานอุโบสถทันที ครั้นเมื่อผมได้สมาทานอุโบสถแล้ว ค่าที่ผมไม่เคยอดข้าวเย็นมาก่อน ผมก็เกิดปวดท้องเป็นลมอย่างรุนแรง ในเมื่อเวลาล่วงไปใกล้รุ่ง ได้รับทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า เพื่อนๆ ผมเขาบอกให้ผมรับประทานอาหารเสียเถอะ แต่ผมก็ไม่ยอม จนต้องถึงกับเอาผ้าขาวม้ามารัดท้องเพื่อผ่อนคลายความเจ็บปวด ในที่สุดผมก็ไม่สามารถที่จะทนอยู่ต่อไปได้ จึงทำกาลกริยาตายในคืนนั้นเอง ด้วยอานิสงส์กึ่งอุโบสถ ผมจึงมาเกิดเป็นเทวดาอยู่ในที่นี้
    อันพวกฤๅษีถามแล้วว่า พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วหรือ ?
    อุบัติขึ้นแล้วขณะนี้ประทับอยู่ที่วัดพระเชตวันมหาวิหาร นครสาวัตถี
    ฤๅษีเหล่านั้นมีความดีใจเป็นอย่างยิ่งรีบเดินทางไปพบเศรษฐีผู้ชื่อว่าโฆษกะที่เป็นโยมอุปฐาก เพราะทุก ๆ ปีหน้าแล้งก็จะมาพักอยู่กับเศรษฐีนี้ เพื่อจะได้ลิ้มรสอาหารนอกจากผลไม้ แต่การมาคราวนี้ของฤๅษี ๕๐๐ เป็นไปอย่างรีบด่วน เมื่อได้พบเศรษฐีแล้ว ก็รีบบอกเศรษฐีว่า
    บัดนี้ พระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นแล้วในโลก ท่านเศรษฐีจะไปนมัสการท่านหรือไม่ พวกเราจะไปเดี๋ยวนี้
    เศรษฐีก็บังเกิดศรัทธาจากความบอกเล่าของฤๅษีจึงบอกว่า พวกท่านหมู่ฤๅษี จงไปก่อนเถิด ผมจะตามไปทีหลัง
    ฤๅษีทั้ง ๕๐๐ ก็รีบเดินทางไปพบพระพุทธเจ้า ได้เข้าไปนมัสการ ณ วัดพระเชตวัน นครสาวัตถี เมื่อเข้าไปเฝ้าแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนา ยังพวกฤๅษีเหล่านั้นให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์โดยพลัน
    เรื่องนี้หลังจากท่านเล่าให้ผู้เขียนฟังโดยย่อแล้ว ท่านก็ได้อธิบายเป็นข้อๆ ว่า
    ๑. การที่ประชาชนหรือฆราวาสที่รักษาอุโบสถนั้น นับว่าเป็นกุศลแก่เขามาก เพียงกึ่งอุโบสถก็ทำให้ได้บุญมิใช่น้อย เพราะเหตุนั้นควรจะแนะนำโยมรักษาอุโบสถให้มากก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
    ๒. การที่ฤๅษีบำเพ็ญฌานจนสำเร็จอภิญญาแล้ว ได้มาฟังธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้วได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์นั้น ท่านบอกว่า เพราะความพอเพียงแห่งพลานุภาพของจิต ซึ่งฤๅษีเหล่านั้นได้บำเพ็ญ เพียงแต่ยังไม่ได้อุบายที่ถูกต้องเท่านั้น เพราะฌานของฤๅษีเท่ากับสมถกรรมฐาน แต่ยังไม่ใช่วิปัสสนากรรมฐาน อันเป็นการกำจัดกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง ดังนั้น เมื่อได้ฟังธรรมแสดงในทางวิปัสสนาจึงไม่เป็นของยาก
    ๓. การลงมาจากภูเขาหิมพานต์ประเทศตามตำนานบอกว่าเพื่อลิ้มรสอาหารที่เผ็ดมัน และอาหารรสเลิศต่าง ๆ แต่เราเข้าใจว่า เป็นการทดสอบในเรื่องของจิตใจมากกว่า เพราะการอยู่ในป่านั้นสงบทั้งภายนอก คือหาสีแสงของผู้คนหญิงชายความกระตุ้นของอายตนะภายนอกไม่มี ก็เหมือนกับสงบอยู่ หรือเหมือนหมดกิเลสแล้ว และยิ่งได้บำเพ็ญสมาธิก็ยิ่งเหมือนกับว่าสลัดแล้วซึ่งกิเลสจริง ๆ แต่นั้นเป็นเพียงการระงับยับยั้งกิเลสไว้ชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งพอมากระทบสีแสงฉาบสวยตระการตา ผู้คนหญิงชายอันเป็นกามกิเลสตลอดจนสิ่งต่าง ๆ อันเป็นเครื่องกระตุ้นจิตใจให้กำเริบขึ้น ก็เกิดความหวั่นไหวคลอนแคลน ถึงจะไม่หวั่นไหวมากเพราะกำลังจิตยังดีอยู่ก็ตาม แต่ในเมื่อมันหวั่นไหวแล้วความเร่าร้อนที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในขันธสันดานย่อมเกิดขึ้น อุปมาประดุจดังไฟสุมแกลบนั่นทีเดียว
    พวกฤๅษีทั้ง ๕๐๐ องค์เหล่านี้ได้มาพิจารณาตัวตนของตัวเองโดยที่มิได้ถือทิฏฐิมานะว่า เรานี้มีฤทธิ์ถึงกับเหาะเหินเดินอากาศได้ อีกทั้งมีคนร่ำรวยและมียศถาบรรดาศักดิ์มาเลื่อมใส ละทิฏฐิมานะอันจะเป็นเครื่องกางกั้นความจริงเสีย โดยพิจารณาถึงความจริงว่า เรายังมีความหวั่นไหวในใจที่ถูกกระทบกระเทือนอยู่
    ท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านได้ท้าวความต่อไปว่า บุคคลผู้บำเพ็ญกัมมัฏฐานทั้งหลายควรสำเหนียกข้อนี้ให้มาก เพราะถือเอาทิฏฐิมานะเป็นเกณฑ์ แล้วจะเสียผล เนื่องจากการเข้าใจตัวเองผิด ๆ โดยการที่ตนเองมักจะตีความเข้าตัวเองอยู่เสมอ เมื่อความดีเกิดขึ้นประมาณ ๑๐๐ ก็ตีความเอาว่าเรานี้ได้ ๑,๐๐๐ แต่การตีความเช่นนี้มันก็ไม่เสียหายอะไร และก็ไม่เป็นบาปด้วย เช่นเราทำสมาธิได้รูปฌานมา เข้าใจว่าเราได้อรูปฌาน หรือกำลังพิจารณาความเกิดดับเป็นอุบายของสมถะข้างต้น เข้าใจว่าตัวถึงวิปัสสนาที่แท้จริง เหล่านี้คือการเข้าใจตัวเองผิด ไม่เป็นบาปแต่ก็ทำให้เกิดการเนิ่นช้าเสียเวลา ควรจะยอมรับความจริงเสีย อย่ายกตัวเองให้มากไป เช่นมี ๑๐๐ เข้าใจว่ามี ๑,๐๐๐ เป็นอย่างนี้จะเสียเวลาเปล่า บำเพ็ญความเพียรที่เขาได้ผลอย่างจริงจังนั้น เพราะยอมรับความจริงโดยไม่หลีกเลี่ยง และมีความมุ่งหวังความพ้นทุกข์ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
    ท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านได้อธิบายธรรมต่างๆ นี้แล้ว ก็เล่าไปถึงการเดินธุดงค์ครั้งนี้โดยความประสงค์จะไปให้ไกล จึงตัดทางไปทางจังหวัดเชียงราย ที่ได้ข้ามขุนเขาไปอย่างทุรกันดารที่สุด แล้วในสมัยนั้นไม่ต้องพูดถึงรถยนต์ แม้แต่ถนนรถยนต์ก็ไม่มี แต่นั่นเป็นความพอใจ เพราะต้องการวิเวก ซึ่งเป็นการเหมาะสมสำหรับสมณะ และการไปครั้งนี้ ใคร่เพื่อที่จะไปให้ใกล้แดนประเทศพม่าให้มากที่สุด เพราะท่านเคยธุดงค์ไปประเทศพม่ามาครั้งหนึ่งแล้ว ท่านจึงรู้จักทางที่จะไป และสถานที่ที่จะทำความเพียรอันเป็นแหล่งวิเวกบางแห่งนั้น ท่านเล่าว่าท่านยังชอบใจในภูมิประเทศหลายแห่งสมควรแก่การอยู่เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ก็บ้านห้วยทราย ในเขตท้องที่อำเภอเวียงป่าเป้านี่ก็เป็นย่านที่พอเหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรมเป็นอย่างยิ่ง ท่านจึงได้อยู่จำพรรษา.
    ท่านได้พูดว่า การอยู่ป่าเขา เมื่อจะอยู่นานได้นั้น ต้องตรวจดูภูมิประเทศเกี่ยวกับอากาศอย่าให้อับเกินไป คืออย่าให้เป็นป่าทึบเพราะจะทำให้เกิดความวิปริตแก่ร่างกาย และถ้าเป็นภูเขาก็อย่าให้สูงเกินไป จะทำให้เกิดไม่สบายเกี่ยวกับอากาศและการโคจร หากประสงค์จะทำความเพียรให้ได้ผล ก็ควรจะหาชาวบ้านที่เป็นสัปปายะ ไม่รบกวนจนเป็นเหตุให้ต้องเสียเวลาการทำความเพียร คือชาวบ้านไม่แตกตื่นกัน เพราะชาวเขาชาวบ้านในป่าลึกเขาไม่ใคร่แตกตื่นเหมือนชาวเมือง ก็จะทำให้ไม่ต้องมีการกังวลมาก ท่านว่า คนตื่นนี้มันยิ่งกว่าวัวควายตื่น พอรู้ว่าพระหลวงพ่อขลังมาอยู่บนภูเขาจะแตกตื่นไปพบกันใหญ่ หลวงพ่อบางองค์กิเลสยังเยอะ หลงไปกับความแตกตื่น อุตส่าห์ตัดถนนรถยนต์ให้คนเขาไปหาเพื่อให้ความสะดวกแก่คน เลยแตกตื่นกันใหญ่ ท่านว่าทำอย่างนี้ไม่ถูก
    เมื่อท่านเห็นว่าที่บ้านห้วยทรายนี้ เหมาะแก่การทำความเพียร อันจะเป็นผลทางใจอย่างนี้แล้ว ท่านก็ได้รับความอนุเคราะห์จากชาวบ้าน โดยยกกระต๊อบถวายพอจะอยู่ได้ไม่ผิดพระวินัย แล้วท่านจึงปรารภความเพียรอย่างเต็มที่
    ภายในพรรษานี้ ท่านได้เล่าให้กับผู้เขียนฟังว่า เราได้พิจารณาดูแล้วว่าต่อไปการทำกัมมัฏฐานของพระภิกษุสามเณรนั้นจะรุ่งโรจน์ แต่จะไปรุ่งโรจน์ในเมือง และการธุดงค์ของพระภิกษุสามเณรนั้นจะเป็นบางลงไป เพราะจะไปหาป่าเขาวิเวกยากยิ่งขึ้น ประกอบกับความไม่เข้าใจของการธุดงค์ ที่จะทำให้เกิดผลอย่างแท้จริง มีแต่จะธุดงค์พอเห็นเหมาะก็สร้างวัดกัน เพื่อจะให้เป็นแหล่งบำเพ็ญสมณธรรมตามประเพณีไปเท่านั้น เพราะแต่ละแห่งญาติโยมเขาต้องการพระที่จะอยู่กับเขา สั่งสอนเขาให้ได้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติ จึงทำให้เกิดเป็นวัดป่ากันมากขึ้น
    ส่วนในเมืองทั่ว ๆ ไปญาติโยมก็จะสนใจการปฏิบัติธรรมมาก และจะเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วยบ้าง แต่ก็ยังดี จะได้เป็นกำลังของการปฏิบัติ ท่านว่าผู้ใหญ่โต พ่อค้าวาณิชชาวเมืองจะพากันสนใจกัมมัฏฐานมากขึ้นในอนาคต
    ผู้เขียนฟังแล้วยิ่งไตร่ตรองดู ก็ยิ่งเห็นจริงขึ้นตามลำดับเมื่อมามองดูในยุคปัจจุบัน
    พ.ศ. ๒๔๗๗
    ๑๒ ปีในการอยู่เชียงใหม่ของพระอาจารยมั่น ภูริทัตตเถระ
    จำพรรษาที่ปางเมี่ยง แม่ปั๋ง อ. พร้าว
    นับเป็นการเดินธุดงค์ที่มีความสำคัญอยู่ไม่น้อยในการเดินท่องเที่ยวอย่างโดดเดี่ยวในท่ามกลางขุนเขาลำเนาไพรป่าไม้ดงดิบ อันเป็นดงแห่งสัตว์ร้ายนานาชนิด ซึ่งมันจะสามารถทำลายชีวิตทุกเมื่อทุกขณะ ในเมื่อพระอาจารย์มั่นฯ ท่านได้วกวนท่องเที่ยวอยู่โดยการบำเพ็ญธุดงค์กัมมัฏฐาน แต่ความลำบากเหน็ดเหนื่อยในการบำเพ็ญเช่นนี้ก็หาได้เป็นอุปสรรคอะไรเลยสำหรับท่าน ยิ่งทำให้ท่านให้รับผลแห่งความบริสุทธิ์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
    ผู้เขียนได้สอบถามชาวบ้านในหมู่บ้านของอำเภอพร้าว ที่ท่านอาจารย์เคยพักอยู่ และชาวบ้านที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า ขณะที่ท่านอาจารย์มั่นพักอยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งปัจจุบันเป็นสวนลำไย และมีหมู่บ้านหนาแน่นมาก แต่ครั้งที่ท่านมาพักนั้น ครั้งนั้นยังเป็นดงดิบ มีสัตว์จำพวกเสือ หมี หมูป่าเข้ามากินวัวควายทำร้ายผู้คน หรือไม่ก็เข้ามาทำลายวัตถุสิ่งของผลาผลต่าง ๆ อยู่เสมอ
    ชาวบ้านเล่าว่า ท่านได้แนะนำให้พวกเขาแสดงตัวเป็นพุทธมามกะ (ผู้รับเอาพระรัตนเป็นที่พึ่ง-ผู้ใกล้ชิดพระรัตนตรัย) และสอนให้พวกเขาเข้าใจในเหตุผลแห่งความเป็นจริง โดยไม่ให้มีความเชื่อถืออย่างงมงายไร้เหตุผล เพราะเหตุผลเป็นความจริงในพระพุทธศาสนา โดยท่านได้สอนเน้นถึงว่า คุณธรรมนั้นมีความสำคัญยิ่งนัก เช่นที่เราพากันกราบไหว้พระพุทธปฏิมากรนี้ มิใช่ว่าเราไหว้หรือนอบน้อมต่ออิฐ-ปูน-ทองเหลือง-ทองแดง-ทองคำ-หรือไม้-ดิน เพราะนั่นเป็นแต่เพียงวัตถุก่อสร้างธรรมดาอย่างหนึ่งเท่านั้น เมื่อเราจะกราบไหว้พระพุทธรูป เราต้องกราบไหว้คุณธรรม คือมาระลึกถึงว่า พระพุทธเจ้าพระองค์ท่านตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นผู้ไกลจากกิเลสเครื่องยั่วยวน ซึ่งถ้าไม่ไกลจากกิเลสแล้วเราก็ไม่ไหว้ เราไหว้เฉพาะท่านที่ห่างไกลจากกิเลสเท่านั้น อย่างนี้ชื่อว่า ไหว้พระองค์ท่านด้วยคุณธรรม จึงจะไม่ชื่อว่า ไหว้อิฐ-ปูน- ฯลฯ
    การไหว้พระธรรมซึ่งเป็นคุณธรรมที่มีอยู่ในพระพุทธองค์ก็เช่นกัน โดยกล่าวคำเป็นต้นว่า สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม ธมฺมํ นมสฺสามิ-พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการกราบไหว้พระธรรมนั้น เพราะถ้าพระธรรม (คำสอน) ที่กล่าวแล้วไม่ดีและเมื่อพิจารณาเห็นประจักษ์แล้วว่าไม่มีเหตุผล เราก็ไม่ไหว้ไม่นอบน้อม ดังนั้นเราจึงไหว้แต่พระธรรมที่กล่าวดี มิฉะนั้นแล้วเราก็จะกราบถูกเพียงแต่ใบลาน คือใบไม้ เพราะไปเข้าใจว่า ใบไม้คือธรรมนี้ชื่อว่าไม่ถูกต้อง เราจะต้องกราบให้ถูกให้ตรงต่อคำสอน คือพระธรรมของพระพุทธองค์อย่างแท้จริง
    สำหรับพระสงฆ์อันเป็นสาวกผู้สืบพระศาสนาคือหลักธรรมของ พระพุทธเจ้าก็มีนัยเช่นเดียวกัน การที่เราให้ความเคารพกราบไหว้สักการะก็โดยมาระลึกถึงว่า ท่านเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีการเป็นอยู่อย่างสงบ ไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่ใครๆ พร้อมกันนี้ท่านยังดำรงภาวะเป็นเนื้อนาบุญอันเอกอุของชาวโลก ดังนั้นเมื่อเราจะกราบไหว้เราก็กล่าวคำว่า สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สงฺฆํ นมามิ-พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ชื่อว่าเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้านอบน้อมกราบไหว้พระสงฆ์นั้น ถ้าพระสงฆ์มีการปฏิบัติไม่ดีเราก็ไม่กราบ เรากราบผู้ที่ท่านปฏิบัติดี อย่างนี้ชื่อว่า กราบถูก มิฉะนั้นจะเป็นว่าเรากราบคนหรือธาตุ ๔ เท่านั้น ดังนั้นขณะที่เรากราบโดยกล่าวคำระลึกดังที่กล่าวมาแล้วและมีพระสงฆ์อยู่ต่อเฉพาะหน้าเรา อาจจะไม่ถูกเรากราบ ถ้าพระสงฆ์รูปนั้นปฏิบัติไม่ดี เมื่อทำได้ดังกล่าวชื่อว่าเรากราบได้อย่างถูกต้องไม่ผิดพลาด
    สรุปแล้วกราบไหว้ใด ๆ ก็ตามถ้าเรากราบโดยยึดเอาคุณธรรมเป็นที่คงเป็นหลักแล้ว เราจะไม่มีการกราบผิดเลยเพราะการกราบไหว้โดยท้าวความถึงคุณธรรมนั้นจึงจะชื่อว่าเป็นเหตุผล หรือสมกับเหตุผลนั้นก็คือ กราบได้ไม่ผิดจึงจะได้รับความสงบร่มเย็นเป็นบุญ ฯ
    ผู้เขียนรู้สึกอิ่มอกอิ่มใจมาก ที่ได้ฟังโยมเขาอธิบายถึงคำสั่งสอนของท่านอาจารย์มั่น ฯ ที่เขาได้พากันจดจำเอาไว้และได้นำมาเล่าให้ฟังได้อีกจึงทำให้ได้ ความจริงมาอีกข้อหนึ่งว่า ท่านอาจารย์ท่านได้สอนคนบ้านนอกที่กลการศึกษาให้เข้าใจถึงข้อเท็จจริงซึ่งบางทีอาจจะดีกว่าผู้ที่ศึกษาแล้วอยู่ในเมืองหลวงเสียอีก....
    โยมคนนั้นได้เล่าถึงท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านสอนต่อไปว่า ศาสนา คือตัวของเราและอยู่ที่ตัวของเราเพราะเหตุไร ? ก็เพราะว่า ตัวตนของคนเรานี้เป็นที่ตั้งของพระพุทธศาสนาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมก็ทรงแสดงถึง ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ปฏิบัติก็ให้ปฏิบัติที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และที่ใจ ไม่เห็นให้ปฏิบัติที่อื่น ๆ
    นอกจากที่ดังกล่าว บางคนก็ว่า ศาสนาอยู่ในคัมภีร์ใบลาน
    โยมคนนั้นได้เล่าให้ฟังว่า ไม่ใช่อยู่ในคัมภีร์ใบลาน ก็ในใบลานหรือในกระดาษหนังสือทั้งหลาย ก็คนเรานั่นแหละไปจารึกไว้หรือไปเขียนไว้และทำมันขึ้นมา ซึ่งถ้าคนไม่ไปเขียนหรือไปทำมันขึ้นมา มันจะเป็นหรือมีขึ้นมาได้อย่างไร
    บางคนว่าศาสนาอยู่ในวัดวาอารามหรือพระสงฆ์
    โยมคนนั้นก็ได้รับอรรถาธิบายจากท่านอาจารย์มั่น ฯ ว่า วัดนั้นใครเล่าไปสร้างไห้มันเกิดขึ้น ก็คนนั้นแหละ พระสงฆ์ใครเล่าไปบวช ก็คนนั่นแหละบวชขึ้นมา ก็เป็นอัน ศาสนาอยู่ที่ตัวของเรา. ..
    การที่เราจะปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติศาสนา จึงเป็นสิ่งที่ตัวเราจะต้องมีความรับผิดชอบ ถ้าไม่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ คือการละบาป บำเพ็ญบุญ เราจะต้องไปทำชั่วซึ่งผิดศีลธรรมก็ต้องถูกลงโทษให้ได้รับความทุกข์ทรมาน ถ้าปฏิบัติดีปฏิบัติชอบคือละความชั่วประพฤติความดี ผลที่เกิดขึ้นก็คือความสุขสงบ และความหลุดพ้นจากทุกข์ในที่สุด นี้ก็คือการปฏิบัติพระพุทธศาสนาแล้วก็มีผล คือการปฏิบัติโดยการยกตัวของตนขึ้นจากหล่มหลุมแห่งวังวนวัฏสงสารเป็นต้น. .
    ผู้เขียนได้ฟังแล้วรู้สึกจับใจและมาเข้าใจว่า คนที่อยู่ในตำบลนอก ๆ ห่างไกล ก็ยังมีความรู้ซึ้งในพระพุทธศาสนาได้ก็นับว่ายังดีมาก แต่ก็เกิดขึ้นจากท่านผู้รู้ที่ยอมเสียสละความสุขส่วนตัวโดยเข้าไปสอนให้รู้ธรรมได้
    ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านได้เล่าให้ฟังต่อไปอีกว่า
    สำหรับอำเภอพร้าวนี้มีภูมิทำเลเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรทางใจ และเป็นสถานที่แปลกประหลาดอยู่ เพราะมีภูเขาเรียงรายอยู่ทั่ว ๆ ไป ที่แปลกคือ ภูเขาวงล้อมเป็นเหมือนกำแพงเมือง มองดูแต่ไกลสูงตระหง่านง้ำตั้งอยู่เป็นระยะ ๆ แลตอนใดที่เขาไม่จรดถึงกันก็ปรากฏเป็นช่องเขาขาด ดูประดุจหนึ่งประตูของกำแพงเมือง บริเวณเหล่านี้เราจะเลือกเอาเป็นสถานที่สำหรับทำความเพียรได้สบายมาก เพราะบริเวณนี้แวดวงด้วยขุนเขาและป่าละเมาะโปร่งสบาย ทุ่งนาก็มีเป็นแห่ง ๆ สลับกับลำธารห้วยระแหงซึ่งมีอยู่โดยทั่ว ๆ ไป พร้อมกันนี้หมู่บ้านก็ตั้งเรียงรายอยู่กันเป็นหย่อม ๆ มากบ้างน้อยบ้าง พอได้อาศัยเป็นโคจรคามบิณฑบาตตามสมควร...
    ท่านจึงปรารภในใจว่า สมควรจะได้อยู่พักเพื่อการบำเพ็ญให้นานสักหน่อย ประกอบกับลูกศิษย์ลูกหาของท่าน ที่ได้รับคำสั่งสอนและปฏิบัติตามมรรคาที่ท่านได้แนะนำพร่ำสอนแล้วก็ได้รับผลพอสมควร แต่ก็ยังมีข้อสงสัย หรือไม่ก็ผลที่ตนได้รับนั้นยังไม่เป็นที่พอใจ ซึ่งก็ได้พากันพยายามติดตามหาท่านอยู่ตลอดมา ส่วนมากก็อยู่ทางภาคอีสาน และเมื่อท่านได้มาอยู่ทางภาคเหนือ จึงพยายามเดินทางมาหาท่านเท่าที่โอกาสจะอำนวยให้ จึงปรากฏว่าได้มีพระภิกษุสามเณรทางภาคอีสานเป็นจำนวนไม่น้อย ได้พากันเดินทางมาพบท่านที่เชียงใหม่ และเมื่อได้ข่าวว่าท่านอยู่ที่อำเภอพร้าว จึงได้ไปหาที่นั่น แล้วก็มีมากขึ้นตามลำดับ เพราะแต่ก่อนท่านพยายามไม่อยู่ที่ไหนนาน ผู้ติดตามไม่ใคร่จะพบ เมื่อท่านอยู่อำเภอนี้นานเข้า ทำให้มีการเล่าลือว่าท่านอยู่แห่งนี้นาน พระภิกษุสามเณรผู้ได้รับความเย็นใจจากท่านก็ได้โอกาสรีบติดตามเพื่อจะได้พบ และต้องการฟังธรรมเทศนาของท่าน
    ท่านเล่าว่า ในระยะนี้เราต้องการที่จะพบกับลูกศิษย์ลูกหาเหมือนกัน เพราะจะได้ปรับความเข้าใจในเรื่องปฏิบัติทางใจให้มีความละเอียด และมีหลายสิ่งหลายอย่างที่จะต้องปรับปรุง เพราะการปฏิบัติจิตใจ จะต้องศึกษาให้รอบคอบ เนื่องจากว่าเป็นนามธรรมเป็นสิ่งที่จะต้องมีประสบการณ์ในตนเอง คือการกระทำที่เกิดขึ้นในใจนั้นมีหลายอย่างที่จะต้องใช้ปัญญาวิจารณ์ หาเหตุผลเพื่อให้การดำเนินไปในทางที่ถูกต้องจริง ๆ เปรียบเทียบเท่ากับพระไตรปิฎกในคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ในปีนี้มีพระอาจารย์ที่เคยเป็นศิษย์ของท่าน ในขณะเมื่อท่านได้แนะนำสั่งสอนอยู่ในภาคอีสานจำนวนมาก ได้เริ่มคิดถึงท่านที่ได้จากมาอยู่ทางภาคเหนือหลายปีแล้ว จึงต่างก็ได้คิดจะติดตาม เพราะขณะที่ได้อยู่กับท่านนั้นได้รับผลทางใจมากเหลือเกินจนมีความมหัศจรรย์มาก มีอุปมาเหมือนเปิดของที่ปิด หงายของที่คว่ำ....
    ซึ่งในขณะนั้นการปฏิบัติทางด้านจิตใจยังงมงายกันมาก หากท่านอาจารย์มั่นฯได้มาปรับปรุงแนะนำปฏิบัติเข้าทาง จึงทำให้เกิดความจริงขึ้นจนเป็นที่เชื่อมั่นในตนอย่างหนักแน่นเข้า ข่าวความดีของการปฏิบัติทางด้านจิตใจหรือการปฏิบัติกัมมัฏฐานได้แพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้หวังดีอยากพ้นทุกข์ ได้น้อมตัวเข้ามาเป็นศิษย์เพื่อการอยู่ปฏิบัติกับท่านจำนวนมากขึ้น ทั้งพระธรรมยุตและพระมหานิกาย เพราะการปฏิบัติทั้งทางด้านพระธรรมวินัยและการปฏิบัติธุดงค์ ตลอดถึงกิจวัตรต่าง ๆ ได้แนะนำและพาปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและเหมาะสม ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีหมู่ใดคณะใดกระทำได้ เพราะผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามปฏิปทาของท่านอาจารย์มั่นฯ นั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ
    ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการตื่นตัวในเรื่องของการปฏิบัติทางใจมากขึ้น แม้จะอยู่ในวงของภิกษุแต่ก็มั่งคั่งและแผ่ออกถึงญาติโยมในปัจจุบัน ในระยะเพียงไม่กี่ปี ความขยายตัวของคณะปฏิบัติก็กว้างขวางออกไปอย่างมากพอสมควรทีเดียว นับเป็นประโยชน์ทั้งแก่ภิกษุสามเณร และอุบาสกอุบาสิกา
    ในระยะแรกนี้ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านได้พาคณะศิษย์เที่ยวธุดงค์ เพื่อวิเวกวกเวียนอยู่เฉพาะภาคอีสานในถ้ำภูเขา ป่าใหญ่ เพราะการธุดงค์นั้นมีความมุ่งหมายที่จะเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติทางใจจริงๆ ในกรณีนี้ท่านเองมีความชำนาญลู่ทางการไปมามาก ท่านจึงแนะนำแก่ศิษย์ได้ถูกต้อง ควรจะไปอยู่ถ้ำโน้นถ้ำนี้ เขาโน้นเขานี้ หรือป่าโน้นป่านี้เป็นต้น เมื่อได้ธุดงค์ไปทำความเพียรในที่ต่าง ๆ ปฏิบัติได้ผลอย่างไร ทุก ๆ องค์ก็นำไปศึกษากับท่านต่อไป และทุกครั้งที่มีการศึกษานั้นก็จะรับความกระจ่างแจ้งอย่างดียิ่ง
    เมื่อเป็นเช่นนี้ ผลเกิดขึ้นทำให้ได้รับความก้าวหน้าของการดำเนินได้เป็นอย่างดียิ่ง ซึ่งยังไม่เคยมียุคใดในครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่จะบังเกิดผลแห่งการปฏิบัติด้านจิตใจที่ยิ่งใหญ่เหมือนกับครั้งที่ท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้กระทำขึ้น ที่กล้ากล่าวเช่นนี้เพราะเป็นความจริงซึ่งผลปรากฏจนถึงปัจจุบัน ผู้ที่ดำเนินจิตเป็นลูกศิษย์ของท่านนั้น นับมาแต่ ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล พระอาจารย์เทสก์ เทสรงฺสี พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์แหวน สุจิณฺโน พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พระอาจารย์ขาว อนาลโย พระอาจารย์ชอบ พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปณฺโณ รุ่นสุดท้ายก็ผู้เขียน และพระอาจารย์วัน อุตฺตโม ยังมีอีกนับได้กว่า ๘๐๐ องค์ ที่เป็นศิษย์ของท่าน ทั้งยังมีชีวิตอยู่และทั้งมรณภาพไปแล้ว ซึ่งท่านเหล่านั้นก็ได้ทำกิจพระศาสนา ได้รับผลประโยชน์อย่างยิ่งทั้งตัวของท่านและผู้อื่น
    ผู้เขียนจึงกล้าพูดว่า ไม่มียุคใดที่การปฏิบัติจิตใจได้ถูกฟื้นฟูขึ้นเท่ากับยุคนี้ แต่ก่อนพระอาจารย์มั่น ฯ เริ่มปฏิบัตินั้นก็ยังไม่เห็นมีการปฏิบัติกันเท่าไร และดูยังลึกลับอยู่มาก หลังจากศิษย์ของท่านได้รับความจริงในด้านนี้ แล้วนำเผยแพร่ทั่วประเทศไทย ความตื่นตัวเรื่องการปฏิบัติจึงมีขึ้น เนื่องจากว่าอุบาสกอุบาสิกาได้รับ ผลคือความเยือกเย็นสบาย เห็นความบริสุทธิ์แท้จริงจากศิษย์ของอาจารย์มั่น ฯ มากขึ้นตามลำดับ เพื่อนำมาปฏิบัติทางด้านจิตใจกันขึ้นมาก ถ้าหากไม่รีบหาวิธีปฏิบัติแล้วญาติโยมอุบาสกอุบาสิกา ก็จะต้องหันมาศึกษาการปฏิบัติกับพระที่เป็นศิษย์ท่านอาจารย์มั่น ฯ เสียหมด จะทำให้ประโยชน์บางประการของคนอื่นต้องเสียหมดไป จึงปรากฏมีการตื่นตัวของสำนักวิปัสสนามากมายเกิดขึ้น ถูกบ้างผิดบ้างไปตามเรื่องของศาสนาแต่ละคณะ
    ผู้เขียนก็ได้รับประสบการณ์จากศิษย์พระอาจารย์มั่น ฯ เช่นเดียวกัน เพราะขณะนั้นผู้เขียนอายุเพียง ๑๓ ปีเท่านั้น และขณะนั้น พ.ศ. ๒๔๗๖ ก็มาได้ความดีของการปฏิบัติจิต อย่างน่าพิศวง จนถึงกับบวชปฏิบัติกับศิษย์พระอาจารย์มั่น ฯ จนได้ติดตามปฏิบัติถึงกับได้ไปอยู่กับท่านอาจารย์มั่น ฯ แต่ก่อนนี้ผู้เขียนยังไม่เห็นมีการปฏิบัติวิปัสสนาเลย ผู้เขียนเองยังถูกชาวบ้านเขาตำหนิว่า การปฏิบัติวิปัสสนานั้นเดี๋ยวจะบ้า แล้วเขาพูดว่าไม่มีประโยชน์ บางพวกก็พูดว่า มรรคผลไม่มีแล้ว ดู ๆ มันมืดมนเหลือเกิน ในครั้งนั้นผู้เขียนยังว่าไม่มียุคใดในกรุงรัตนโกสินทร์ที่จะเหมือนกับพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ ได้ฟื้นฟูการปฏิบัติวิปัสสนาเจริญถึงขั้น
     
  16. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ตอนที่ ๗
    [​IMG]
    พ ศ. ๒๔๗๘
    ๑๒ ปีในการอยู่เชียงใหม่ ของพระอาจารย์มั่น
    ภูริทัตตะเถระ ทุ่งหมกเม้า อ. พร้าว
    ดังได้กล่าวแล้วว่า ในท้องที่อำเภอพร้าวนั้นมีที่วิเวกเหมาะสมกับการบำเพ็ญกัมมัฏฐานมาก ท่านพระอาจารย์มั่น ฯ ท่านเดินธุดงค์วกเวียนอยู่ในอำเภอนี้หลายปี
    ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คณะศิษย์ของท่านที่ได้ถูกอบรมไว้แล้ว โดยส่วนมากอยู่ทางภาคอีสาน ที่พยายามสืบเสาะหาพระอาจารย์มั่น ฯ ว่าอยู่แห่งหนตำบลใด จึงได้ข่าวว่าอยู่ทางอำเภอพร้าว ต่างก็หาวิธีที่จะมาหาท่านด้วยความยากลำบาก เพราะโดยส่วนมากก็เดินโดยเท้า บางองค์บางท่านพยายามฟังข่าว และเสาะหาท่านอยู่หลาย ๆ ปี กว่าจะพบบางท่านก็ได้พบง่าย คือพอรู้ว่าศิษย์จะมาและศิษย์นั้นอาจจะมีความสำคัญในอนาคตหรือจะเป็นกำลังให้แก่พระพุทธศาสนา ท่านจะเอาใจใส่พิเศษ เพื่อให้เกิดผลทางใจ ท่านจะถือโอกาสไปคอยรับการมาทีเดียว
    เป็นความประสงค์ของท่านที่ จะรวมศิษย์อีกครั้งตามที่ท่านเล่าให้ผู้เขียนฟัง เพราะหลังจากการธุดงค์แสวงหาความสงบ พิจารณาถึงปฏิปทาต่าง ๆ แล้ว สมควรจะแก้ไขปรับปรุงสิ่งที่ยังบกพร่องอยู่ ให้เต็มพร้อมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ฉะนั้นจึงไม่แปลกอะไรที่คณะศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ฯ ในปัจจุบัน ที่มีความสามารถมากกับเป็นที่เคารพนับถือจากพุทธบริษัทโดยทั่วไป
    จึงปรากฏว่า พระอาจารย์จากภาคอีสานได้เดินทางไปพบกับท่านที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉพาะอำเภอนี้ก็ถูกความประสงค์ของท่าน โดยไม่ต้องไปนิมนต์.หรือสั่งการให้มา แต่เป็นความต้องการ หรือความประสงค์ที่ตรงกันเกิดขึ้น ทางศิษย์ต้องการจะพบ เพื่อจะได้ศึกษาธรรมให้สูงยิ่งขึ้น ทางอาจารย์ต้องการจะพบจะได้แก้ไขปรับปรุงที่ได้สอนไว้ ให้มีความบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น และให้ได้ผลยิ่งขึ้น ความประสงค์ตรงกันหลังจากท่านอาจารย์มั่น ฯ จากศิษย์ไปประมาณ ๘ ปี
    นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา พระเถรานุเถระจำนวนมากจึงหลั่งไหลขึ้นเชียงใหม่ เพื่อการเข้าพบหาท่านอาจารย์มั่นฯ ทั้งกิตติศัพท์ก็กำลังเลื่องลือว่า ท่านเป็นผู้มีความบริสุทธิ์และมีความสามารถในอันที่จะแนะนำศิษยานุศิษย์ให้ได้รับผลทางใจ ผู้ใดต้องการความสงบหรือความพ้นจากทุกข์แล้ว ก็จะไปหาไปพบหรือไปอยู่กับท่าน ก็จะได้ผลอย่างเต็มที่ทีเดียว ข่าวนี้เป็นที่ทราบดี ในขณะนั้นผู้เขียนก็บรรพชาเป็นสามเณรได้เพียง ๒ พรรษา ข่าวความดีงามในการปฏิบัติของท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็ส่งเข้าสู่ใจของผู้เขียนตลอดทุกระยะเวลา ทำให้เกิดความกระตือรือร้นในอันที่จะต้องการพบท่านเป็นอย่างยิ่ง แต่ขณะนั้นโอกาสยังไม่ให้เลย ประกอบกับผู้เขียนยังอยู่กับพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ และการปฏิบัติกัมมัฏฐานยังอยู่ในขั้นที่ยังใช้ไม่ได้ดี ท่านอาจารย์กงมาท่านว่า
    “เณรอยากไปหาท่านอาจารย์มั่น ฯ หรือ ถ้าหากเณรมีภูมิจิตแค่นี้ มีหวังโดนตูมเดียวพัง”
    ท่านอาจารย์กงมา ท่านหมายความว่า ใครที่มีภูมิจิตอ่อน โดนท่านดุเอาก็สู้ไม่ไหว ก็เป็นเหตุให้ผู้เขียนพยายามบำเพ็ญจิตอย่างหนักตลอดมา แต่จนแล้วจนรอดผู้เขียนก็ไม่ได้โอกาสที่จะขึ้นไปพบพระอาจารย์มั่น ฯ ที่เชียงใหม่ จนท่านอาจารย์มั่นฯ ไปพักอยู่บ้านเดิมของอาจารย์กงมา ท่านจึงพาผู้เขียนไปพบพระอาจารย์มั่นฯ สมใจ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๕
    เมื่อคณะศิษย์ทั้งหลายไปพบพระอาจารย์มากขึ้น ท่านได้พาเที่ยวธุดงค์ไปตามป่าเขาถ้ำตามที่เห็นสมควรแล้ว ท่านก็แนะนำปฏิปทาข้อควรปฏิบัติต่าง ๆ จนเป็นผลในทางจิตมากขึ้น.ได้รับประโยชน์อย่างที่เป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้น เนื่องจากการกระทำที่ท่านทำให้เป็นตัวอย่างนั้นหนึ่ง และการแนะนำไปตามความเป็นจริงเกิดขึ้นนั้นหนึ่ง ซึ่งเช่นนี้น้อยนักที่ผู้เป็นอาจารย์จะหาโอกาสช่วยศิษย์ให้ได้ถึงขนาดนี้ เป็นหลักการที่จะปรากฏในที่ต่าง ๆ เพราะเหตุว่าการกระทำเช่นนี้ต้องมีความหนักแน่นหวังเพื่อประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาและแก่มนุษย์ชาติอย่างแท้จริงจึงจะทำได้ เพราะจะต้องเหน็ดเหนื่อย ลำบากและทุรกันดาร ตลอดถึงการเอาจิตใจเข้าพัวพันโอบอ้อมระวังเพื่อให้ผู้ดำเนินได้เดินไปในทางที่ถูกตลอดเวลา
    กาลและสถานที่ช่างเป็นใจอะไรเช่นนั้น เหตุคือความเจริญของท้องถิ่น แต่ละแห่งในแถบนี้ยังเป็นลักษณะบ้านป่า แม้แต่ตัวอำเภอเอง ตลอดถึงอุปนิสัยใจคอของคนบ้านนี้ ก็ยังไม่รู้วัฒนธรรมต่างชาติ ที่จะเข้ามาครอบคลุม เกาะกุมจิตใจให้ละเมอเพ้อพกไป จนถึงทำตนให้หลงจากวัฒนธรรมอันดีงามของพระพุทธศาสนา จึงทำให้คณะกัมมัฏฐานในสายของพระอาจารย์มั่น ฯ ซึ่งต้องการความสงบวิเวกปราศจากความปลิโพธ ได้เป็นไปตามความประสงค์ของท่านเป็นอย่างดีโดยความเชื่อฟัง ซึ่งท่านบอกแนะนำให้มาทำบุญตักบาตร ฟังธรรมในเวลาที่ควร ไม่ต้องมาเฝ้าแหนรบกวนอยู่ตลอดเวลา ตลอดถึงบอกให้รู้ว่าคณะนี้ต้องการความสงบ เขาทั้งหลายก็เชื่อฟัง มิต้องคอยดุด่าเอาในเมื่อมีผู้คนมารบกวนความสงบ
    ทั้งนี้จึงเป็นโอกาส ให้แก่พระภิกษุสามเณร ที่จะเชื่อฟังโอวาทของท่านอาจารย์อย่างเต็มเปี่ยมไม่มีการบกพร่อง เป็นเหตุให้ต่างก็ได้รับความรู้อย่างมีประลิทธิภาพระหว่างศิษย์กับอาจารย์จะพึงได้ ด้วยเหตุอย่างนี้จึงทำให้ศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ฯ แต่ละองค์ที่ เคยรับการฝึกฝนทรมานแล้ว เป็นพระเถระผู้ทรงคุณวุฒิในเวลาต่อมา จนถึงได้ทำคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาอย่างกว้างขวาง
    สถานที่ ๆ ท่านจำพรรษานั้น ทุก ๆ แห่งได้เกิดเป็นสถานที่มีความสำคัญขึ้นในปัจจุบัน เพราะต่างก็มาคิดกันว่า ท่านผู้ทรงคุณวุฒิในทางใจเช่นท่านอาจารย์มั่น ฯ นี้ เมื่อท่านไปอยู่ที่ใดก็ควรจะสร้างอนุสรณ์ขึ้นในที่นั้น ๆ เพื่อจะได้ตามระลึกถึงข้อปฏิบัติที่ท่านได้แสดงให้ศิษย์อันซาบซึ้งนั้น จึงไม่เป็นการแปลกประหลาดอะไร ในเมื่อเราจะได้เห็นภาพอนุสรณ์ของสถานที่แต่ละแห่งที่ท่านจำพรรษาอยู่ เพราะบรรดาศิษย์ของท่านที่กำลังทำการเผยแพร่พระธรรมของพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ตามกุศโลบายของพระอาจารย์มั่น ฯ ตนของตนก็ได้รับความสงบเย็นใจและกาย และผู้ที่ได้รับฟังคำสอนก็เย็นใจ ผลที่ได้รับนั้นประมาณค่ามิได้ จึงไม่เป็นของน่าแปลกอะไรเลยที่เขาเหล่านั้นจะได้พยายามเสียสละทุนทรัพย์อันเป็นของภายนอกเพื่อก่อลร้างอนุลรณ์ ในที่แต่ละแห่งที่ท่านเคยอาศัยอยู่พรรษา ทั้งนี้ก็เพราะมาเห็นคุณประโยชน์ที่ได้รับทางจิตใจ จากการพร่ำสอนของท่านอาจารย์มั่น ฯ นั้น ซึ่งแต่ละคำมีค่ายิ่งกว่าเงินทอง ตามสามัญธรรมดาเราชาวพุทธต่างก็ทราบกันดีว่า อันเงินทองธนสารสมบัติใด ๆ ในโลกนี้นับว่าเป็นโลกีย์ทรัพย์ซึ่งต้องตกอยู่ภายใต้กฎแห่งไตรลักษณ์ คือเป็นของที่จะผุพังเสื่อมสลายนำติดตนตามตัวไปไม่ได้ในปรภพ แต่ทรัพย์อันยอดเยี่ยมคือ โลกุตรทรัพย์นั้นอยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์ของสามัญลักษณ์หรืออยู่เหนือธรรมชาติ เพราะไม่สูญสลาย สามารถที่จะให้ความสุขกายสบายใจ ให้ความเยือกเย็นแก่จิตใจ พร้อมกันนี้โลกุตรทรัพย์อันนี้ยังติดตนตามตัวไปทุกภพทุกชาติ
    ถ้าหากจะย้อนหลังจากปัจจุบันไปอีกสัก ๓๘ ปี โดยหวนกลับมาระลึกถึงภาพพจน์ในอดีต อันประกอบด้วยป่าเขาลำเนาไพรเพียบพร้อมไปด้วยเสียงจักจั่นและเรไร ในเขตพื้นที่อำเภอพร้าว ซึ่งเราจะไม่เห็นรถยนต์ เราจะไม่เห็นตึกร้านบ้านเรือนอันสูงตระหง่านระเกะระกะ เราจะไม่เห็นเสาสายไฟฟ้าอันกอร์ปด้วยแสงสีสว่าง ประกายแวววับระยิบระยับจับหัวใจของคนในยุคที่กล่าวกันว่าศิวิไลย์นี้ แต่จะเห็นเพียงทางเดินด้วยเท้า หรืออย่างดีก็ทางเกวียนที่ลากด้วยวัว ซึ่งนับว่าเป็นทางยาวเหลือประมาณ เมื่อคำนวณจากตัวเมืองเชียงใหม่แล้วก็ประมาณ ๘๐ กว่ากิโลเมตร แม้แต่แสงไฟซึ่งใช้ตะเกียงโคมต่าง ๆ อย่างดีก็แต่ตะเกียงเจ้าพายุ ..
    ดังนั้นสภาวะอย่างนี้จึงเป็นบรรยากาศดีมาก เหมาะสำหรับนักปฏิบัติที่แสวงหาความวิเวกทางกายและทางจิต แม้แต่เพียงเดินไปไม่กี่กิโลเมตร ก็จะพบสถานที่ที่สงบสงัดแล้ว ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า เมื่อเราได้ที่สงบดี จะแนะนำธรรมต่าง ๆ ก็ดีไปด้วย เป็นเหตุให้พิจารณาได้ลึกซึ้ง เทศนาได้ลึกซึ้ง เพราะผู้ฟังก็สงบ ผู้แสดงก็สงบ สถานที่ก็สงบ จึงนับว่าเป็นสัปปายะ เท่ากับเป็นการส่งเสริมเกื้อกูลให้ซึ่งกันและกัน หากว่าผู้ฟังสงบ ผู้แสดงสงบ แต่สถานที่ไม่สงบ มีเสียงอื้ออึง ก็จะทำให้ไม่ได้ผล ทำให้เสียผลไปถึง ๓๐ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแม้ว่าธรรมนั้นจะเป็นธรรมที่ละเอียดอ่อนลึกซึ้งสุขุมคัมภีรภาพ ไพเราะนุ่มนวลควรแก่การสดับสักเพียงใดก็ตาม ผลก็จะไม่ได้เต็มที่ น่าเสียดาย ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ท่านได้เปรียบเหมือนกับน้ำที่เต็มขัน เมื่อเราถือเดินไป ขยอกไป มันก็หกไป โดยเหตุนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาสถานที่สงบสงัดแสดงธรรมจึงจะประสบผล
    อีกประการหนึ่งเล่า ผู้ฟังไม่สงบ คือไม่ได้ตั้งใจจ่อจด ทำใจส่งไปที่อื่น ๆ ตลอดถึงพูดคุยกัน อันนี้จะต้องเสียผลไปถึง ๕๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะขาดภาชนะที่รองรับคือผู้ฟัง เหมือนกับน้ำตกที่ตกลงมาจากท้องฟ้า ผู้ต้องการน้ำฝน แต่รองรับน้ำฝนด้วยภาชนะรั่ว แม้ฝนจะตกลงมาสักเท่าใดก็ไม่สามารถจะขังอยู่ได้ พระธรรมแม้จะดีสักเพียงใดก็ตาม แต่เมื่อผู้ฟังไม่มีความตั้งใจแล้วธรรมนั้นก็ไร้ผล
    สำหรับผู้แสดงไม่สงบ คือการแสดงธรรมโดยจับคัมภีร์อ่านบ้าง นึกถึงธรรมตามหัวข้อที่จำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง อัตโนมัติเองเสียบ้าง แสดงธรรมติดตลกบ้าง แสดงธรรมโดยหวังเพื่อกัณฑ์เทศน์บ้าง เหล่านี้ชื่อว่าความไม่สวบของผู้แสดง ผลที่ได้รับก็ไม่ถึง ๕๐ เปอร์เซ็นต์
    ท่านอาจารย์มั่นฯท่านว่า ความสงบจากผู้แสคง ความสงบจากผู้ฟัง ความสงบจากสถานที่ ประกอบกับผู้แสดง ผู้ฟังมีความภูมิใจนั่นเองที่จะได้รับผลเต็มที่ นี้เป็นความจริงซึ่งผู้เขียนและสหธรรมิกพร้อมกับครูบาอาจารย์ของผู้เขียนได้รับผลมาแล้วในอดีต....
    พ.ศ. ๒๔๗๙
    ๑๒ ปี ในการอยู่เชียงใหม่ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตตเถระ
    จำพรรษาที่เขามูเซอร์ อ.แม่สาย จ.เชียงราย
    ท่านอาจารย์มั่น ฯ เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า เมื่อคณะศิษย์พากันมาหามากขึ้นทั้งเก่าและทั้งใหม่ ท่านอบรมธรรมอันเป็นภายในที่มีความสำคัญตามสมควรแล้ว ท่านก็ให้แยกย้ายกันไปแสวงหาสถานที่วิเวกตามอัธยาศัย ส่วนตัวของท่านก็เลือกเอายอดเขาที่พวกชาวเขาเหล่ามูเซอร์ อันเป็นยอดเขาลูกหนึ่งที่สูงมากในอำเภอแม่สายแห่งนี้และมีหมู่บ้านประมาณ ๑๐ ครอบครัว อากาศบนยอดเขานี้หนาวตลอดปี บ้านพวกชาวเขาที่พวกเขาอยู่กันได้สร้างขึ้นด้วยไม้และมุงหญ้าทำไม้เป็นแผ่นมีทั้งกระพี้และเปลือก ถากเป็นกระดานล้อมรอบบ้านทุกๆ หลังแม้กระทั่งสัตว์เลี้ยงก็ให้อยู่ในบ้านหมด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าอากาศหนาวจัดแต่มีกลิ่นสาปน่าดู ถึงเช่นนั้นพวกเขาก็สามารถอยู่ได้ เพราะความเคยชินนั่นเอง ท่านเล่าว่าพวกชาวเขาเหล่านี้รูปร่างก็ไม่เลว แต่หนักไปทางคนจีนอยู่ไม่น้อย
    ท่านปรารภว่าการอยู่ในที่วิเวก เป็นเหตุให้จิตใจไม่คิดถึง โลกภายนอก ซึ่งมีแต่ความนึกติดนี้หดตัวเข้า ยิ่งนานวันก็ยิ่งมีแต่ความมักน้อยในการนึกติดมากเข้า นี้เป็นธรรมชาติช่วยให้เกิดประโยชน์ทางใจ เมื่อคณะศิษย์มามาก ท่านก็ให้อุบายซึ่งเป็นประโยชน์ของการดำเนินจิตและการที่จะสั่งสอนชุมนุมชน ความรู้รอบคอบนั้นเกิดจากความวิเวกมีประสิทธิภาพมาก มากกว่าการใช้การประชุมในงานที่มีแต่โลกภายนอกเข้าปะปน ซึ่งจะมีแต่ภายนอก แม้จะมีการแลกเปลี่ยนความรู้กันกับผู้รู้ที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด แต่เป็นเพียงสัญญาและตาภายนอกจึงเป็นเรื่องของความสมมติ ทั้งเป็นไปเพื่อพรรคพวกและทิฐิมานะ แต่ก็มีประโยชน์อยู่ตามสมควร เท่าที่สมมติจะให้ได้
    ส่วนการประชุมที่ในวิเวก และแสวงหาประโยชน์จากการประชุมโดยการไปสถานที่วิเวก นี่แหละเป็นทางพระนิพพานเพื่อความไม่เกี่ยวข้องกังวล เป็นไปโดยเสียสละ ทำตัวให้เป็นสมณะที่ถูกต้องเป็นอย่างดี ต่างองค์ก็ต่างมีความมุ่งมั่นต่อการปฏิบัติธรรมชั้นสูงของพระพุทธศาสนา มาเป็นการรวมอยู่ในใจอันเดียวกัน เป็นเหตุให้ค้นคิดแต่หนทางปฏิปทาที่จะให้ก้าวหน้าในด้านนี้ เป็นการรวมคณะที่หวังความจริง ซึ่งเป็นการยากเหลือเกินที่จะมีศิษย์อาจารย์เช่นนี้ ความเป็นเช่นนี้เองที่สามารถยกระดับการปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน หรือวิปัสสนากัมมัฏฐาน อันเป็นธุระสำคัญธุระหนึ่งในพระพุทธศาสนาให้ปรากฏเป็นที่แจ่มแจ้งในยุคนี้เพราะเหตุแห่งความจริงนี้เอง
    ภูเขาที่สูงตระหง่าน เรียงรายกันเป็นเทือกเขายาวเหยียด จากเชียงใหม่ถึงเชียงรายติดต่อเข้าไปจนถึงเขตพม่าหนาทึบไปด้วยต้นไม้นานาพรรณ มองดูเขียวชอุ่มเหมือนช่างภาพมาระบายสีเมื่ออยู่บนภูเขาลูกนี้ เมฆสีขาวเหมือนปุยฝ้ายยังถูกลมพัดผ่านไปต่ำกว่าสถานที่อยู่เสียอีก ต้นสนที่พวกเขาใช้เอามาทำฟืนจุดไฟแทนได้ มีมาก ขึ้นเต็มลูกภูเขา พวกชะนี ลิง ค่างมีมาก ซึ่งมันเองก็ไม่รู้ว่ามีคนอยู่แถวนั้น ต่างก็พากันมาหากินเป็นหมู่ๆ ไต่เต้นตามต้นไม้ จากต้นไม้นี้ไปต้นไม้โน้น ส่งเสียงเจี้ยวจ้าวไปตามภาษาของมัน
    แต่เมื่อพวกมันมาถึงกลดของท่านอาจารย์ มันก็งงไปเพราะไม่เคยเห็นและพวกมันยิ่งส่งเสียงอีกทึก บางตัวทำชำเลืองมอง ยกมือป้องหน้า เบิ่งดูพวกแล้วพวกเล่าที่ผ่านเข้ามาทางนั้น
    อันเสียงสัตว์เหล่านี้แม้จะดังพอสมควรเพราะมากตัว แต่ก็ยังเป็นเสียงวิเวกวังเวงอยู่นั้นเอง มันไม่เหมือนเสียงคนทะเลาะกันหรือเสียงคนเอะอะ หรือเสียงรถ เสียงเรือบิน เรือเหาะ เพราะเสียงเหล่านี้มิได้ให้เกิดวิเวกวังเวงเลย แต่มันทำให้เกิดความไม่สงบ กระทบกระเทือนสมาธิของผู้บำเพ็ญตบะธรรม
    ตกเย็นถึงพลบค่ำ ฝูงนกจำนวนมากนานาพรรณมันคงจะไปหากินแล้วกลับมารวงรัง มันบินกันมาเป็นชุดๆ หลากสี จำไม่ได้ว่าเป็นนกอะไรบ้าง กลับมาแล้วก็ส่งเสียงสำเนียงต่างๆ กัน แม้เราจะไม่ยอมมองแต่ก็ผ่านสายตาฉวัดเฉวียนเหมือนกับนกเลี้ยง เชื่องดี เสียงแหลม เสียงทุ้ม เสียงหนักเบาระงมไปรอบบริเวณ
    ทำไมหนอเสียงเหล่านั้นจึงไม่เป็นภัย เมื่อเวลานั่งสมาธิ มันกลับทำให้จิตสงบเร็วขึ้นเสียอีก เสียงนกมันก็ร้องไม่ขาดระยะ แต่การทำสมาธิได้ผลขึ้นตามปกติไม่ต้องใช้ความพยายามจนเกินควร จึงหวนคิดถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า
    อรญฺเญ รุกฺขมูเล วา สุญฺญาคาเรว ภิกฺขโว
    ในป่า ใต้โคนไม้ เรือนว่าง เป็นที่สมควรแก่การบำเพ็ญสมณธรรมเป็นอย่างยิ่ง
    ระยะนี้เป็นเวลาพลบค่ำ จำพวกจักจั่นเรไรมีมากเป็นพิเศษ มันพร้อมใจกันจริงๆ สัตว์จำพวกนี้ ช่วยกันร้องออกเป็นเสียงเดียวกัน ดังกังวานเป็นช่วงๆ แหลมคม เสียงนี้พวกเราจะหาเสียงอะไรเหมือนกับมันนั้นยากเหลือเกิน แม้พวกมันจะพูดกันไม่รู้เรื่องเหมือนมนุษย์ แต่มันก็ยังมีความสามัคคีช่วยกันในการประสานเสียง ตัวมันเล็กสักเท่านิ้วก้อย แต่มันก็มีพลังแห่งการสามัคคี รวมกันเป็นหมู่นับด้วยร้อยด้วยพัน เสียงของมันไม่แตกกันออกเสียงเดียว น่าสรรเสริญเสียงนี้ยิ่งกว่าสัตว์อื่น ยังความวังเวงให้เกิดขึ้นยิ่งกว่าเสียงใด ผู้มีจิตใจไม่แก่กล้าจริงๆ แล้ว จะต่อสู้ให้คิดถึงบ้าน แทบอยู่ไม่ได้เลยทีเดียว แต่สำหรับผู้เที่ยวธุดงค์หวังเพื่อความสงบแล้วก็ทำให้เพิ่มพลังให้เกิดความสงบยิ่งๆ ขึ้นไป
    ผู้อ่านคงแปลกใจว่าทำไม ปี พ.ศ. ๒๔๗๙ นี้ท่านถึงพูดเรื่องป่าเขามากนั้น เนื่องจากท่านได้เล่าเรื่องนี้ เพื่อเปรียบเทียบการวิวัฒนาการทำแก้ไขธรรมชาติ แก้กันจนจะไม่มีอะไรจะแก้แล้ว เร็วเท่าไรก็ไม่ทันใจมนุษย์ไม่พอความพอใจของมนุษย์นั้นไม่มีที่สิ้นสุด ท่านจึงหันมาพูดเรื่องธรรมชาติบ้าง หรืออาจจะสดชื่นไปตามการอ่าน
    ครั้นเมื่อได้เวลากลางคืน ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านเล่าว่า จำพวกไก่ป่าพระยาลอทำไมมันจึงมีมาก เพราะเราจะได้ยินเสียงขันบอกเวลา โดยที่เราไม่ต้องไปตั้งยามตั้งโมง หากเราจะทำกำหนดไว้ให้ดีแล้ว มันจะขันบอกให้ทุก ๆ ยาม ๓ ชั่วโมงต่อครั้ง แต่ที่พวกมันจะพร้อมกันขันอย่างเอาจริงเอาจังเท่านั้นเป็นเวลาตี ๓ จะต้องมีหัวหน้ามาขันก่อนตัวหนึ่ง จากนั้นมันก็จะช่วยกันขันเป็นการใหญ่ เสียงนี้จะส่งมาไกลมาก แล้วมันก็ไม่เป็นภัยต่อความสงบของผู้ต้องการความสงบแต่อย่างใดเลย เนื่องจากไม่มีเสียงอื่นเข้าปะปน เพราะสัตว์พวกต่างๆ คงจะนอนหลับกันหมด เสียงขันของไก่จึงทำให้ได้ยินชัดเจนมาก
    อันที่จริงแล้วมันก็ไม่น่าจะขันให้ดังมากเช่นนี้ เพราะเสียงของมันอาจเป็นภัยแก่มันเอง เมื่อมนุษย์รู้ว่าพวกมันอยู่ตรงไหนก็จะตามเสียงของมัน แล้วจับมันไปแกงกินให้อร่อยไป พวกมันคงจะคิดกันว่า ในตอนนี้ดึกแล้วมนุษย์ผู้เป็นภัยใหญ่หลวงของมันคงจะหลับสนิท มันจึงตะโกนเสียงของมันอย่างไม่กลัวภัย
    แต่พึงเข้าใจเถิดว่า อันธรรมชาติก็แสดงธรรมชาติออกมาให้ปรากฏ จึงน่าที่มนุษย์ผู้มีปัญญาทั้งหลายควรจะช่วยกันรักษาธรรมชาติเอาไว้เถิด เพื่อให้ได้ศึกษาหรือหาความเย็นใจ หรือเพื่อให้ท่านสมณะทั้งหลายอาศัยธรรมชาติหาหนทางให้ถึงซึ่งพระนิพพาน หรือมิฉะนั้นก็เพื่อที่จะให้สมณะทั้งหลายเที่ยวแสวงหาความสงบตามภาวะของท่าน ท่านก็จะได้ธรรมเทศนา หรือธรรมอันวิจิตรลึกซึ้ง ซึ่งเกิดจากธรรมชาติเหล่านี้ แล้วก็นำมาบรรยายเป็นพระธรรมเทศนา แนะนำประชาชนให้เดินทางถูกต้องตามครรลองคลองธรรม เพื่อจะมีประชาชนผู้เป็นชาวพุทธไม่ต้องพากันงมงายในสิ่งต่าง ๆ อันเป็นทางนำไปสู่มิจฉาทิฏฐิให้น้อยลง ด้วยอาศัยชาวเราช่วยกันรักษาซึ่งธรรมชาติป่าไม้ ทั้งสิงห์สาราสัตว์ไว้
    คืนวันที่ล่วงไปไนป่าใหญ่ ที่มีทั้งเหวระหารลำธารน้ำ ยังความวิเวกลึกซึ้งแก่ท่านอาจารย์มั่นฯ และศิษย์ผู้หวังพ้นทุกข์อย่างยิ่งนั้น เป็นสิ่งที่น่าอนุโมทนาการยิ่งนักแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในท่ามกลางขุนเขาลำเนาไพรซึ่งจะมีหลายจำพวก เสียงที่ทำให้แวบวาบในหัวใจของผู้ที่มีตบะอ่อนนั้นก็คือเสียงตัวใหญ่ ๆ เช่นเสือโคร่ง เสือเหลือง ช้าง และงูจงอางเป็นต้น มีชุกชุมมากในขุนเขาเหล่านี้ ส่งเสียงคำรามก้องจนแผ่นดินสะเทือน มันเป็นเสียงที่มีอำนาจอะไรเช่นนั้น
    เพราะเหตุแห่งเสียงสัตว์ตัวร้ายนี้เอง ทำให้พระธุดงค์ทั้งหลาย ชอบที่จะธุดงค์สู่ป่าที่ใหญ่โต ในเทือกเขาอันกว้างขวาง เพราะเสียงเหล่านั้นตรงกันข้ามกับเสียงนก เสียงไก่ เนื่องจากมันเป็นเสียงไม่ไพเราะเสนาะโสตเลย ซึ่งเสียงมันแสดงให้เห็นถึงความตาย ในเมื่อมันส่งเสียงออกมาแล้ว ในใจของผู้ได้ยินก็จะต้องนึกถึงตัวของมันว่าอยู่ไหน นึกอยู่ว่าอยู่ใกล้หรือไกล ถ้าอยู่ใกล้ก็จะต้องมีการระวังตัว จิตใจในขณะนี้ได้ยินเสียงคำรามของเสือช้างนั้นได้หดตัวลงอย่างน่าประหลาดใจทีเดียว แต่มันก็หาฟังยากเหมือนกัน เพราะสัตว์พวกนี้ จะไม่อยู่เกลื่อนกลาดมากมายเหมือนสัตว์เหล่าอื่น จึงต้องมีตามภูเขาในป่าใหญ่ไกลคนจริงๆ จึงจะได้ยินเสียงมัน เราจะพยายามตามเข้าไปอยู่ในดงอย่างนั้นหรือ หามิได้ เราเข้าไปในป่าใหญ่เพื่อต้องการวิเวก แต่เผอิญเสือมันก็ชอบจะอยู่ในป่าใหญ่ที่ไกลจากคนเหมือนกัน
    อันการธุดงค์นี้ ท่านอาจารย์มั่นฯ และศิษย์ถือเป็นกิจวัตรที่จะต้องทำเป็นประจำเพราะถือมิให้อยู่ที่เดียวเป็นจำเจ เปลี่ยนที่อยู่บ่อย ๆ ก็จะทำให้ไม่ต้องเป็นปลิโพธิกังวล ด้วยการยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่าง ๆ เป็นการแสวงหาธรรมสมควรแก่ธรรม ธรรมนั้นก็อยู่ในตัวเรานี่เอง ทำไมจึงจะต้องไปเที่ยวหาอยู่ป่าเขาทำไม ใช่แล้วธรรมอยู่ในตัวเรา แต่การไปตามถ้ำป่าเขานี้ก็เพื่อแสวงหาความสงบให้ได้ เนื่องจากจิตใจของมนุษย์ทั้งหลายสับสนไปตามอารมณ์มากเหลือ มากจนเกินควร จำเป็นต้องหาวิธีลดความสับสนเหล่านี้โดยวิธีต่าง ๆ ซึ่งก็ได้ แก่การบำเพ็ญสมาธิให้มาก สงบให้มาก
    แต่การที่จะสงบใจได้นั้นก็ต้องบั่นทอนทางกายให้มาก ๆ เช่นการออกบวชก็ตัดไปส่วนหนึ่ง ออกบวชแล้วบำเพ็ญสมาธิ ก็ตัดเข้าไปอีกส่วนหนึ่ง ไม่ใช่แต่บวช ยังต้องออกไปธุดงค์ ฉันหนเดียว ก็ตัดเข้าไปอีกเปลาะหนึ่ง เมื่อธุดงค์ก็เดินเข้าไปในป่าใหญ่ไม่มีอะไรในตัว นอกจาก กลด มุ้งบาตร เท่านั้นที่เป็นบริขารของนักบวช ก็ตัดเข้าไปอีก ยิ่งท่านตัดมากเท่าไร การหดตัวของอารมณ์ก็มีมากขึ้นเท่านั้น เมื่อการหดตัวของอารมณ์มากเข้า จิตก็จะได้ชื่อว่าถูกทรมานอย่างหนักหน่วง เพราะจิตมนุษย์ชอบแต่สิ่งที่เติมอารมณ์เท่านั้น ยิ่งเติมอารมณ์ได้มากก็ยิ่งพอใจ จึงชื่อจิตได้ถูกทรมานด้วยทำให้จิตหดตัวลง นี่คือการรับประโยชน์จากการอยู่ป่าอย่างแท้จริง
    ท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านอธิบายให้ผู้เขียนฟัง
    พ.ศ. ๒๔๘๐
    ๑๒ ปีในเชียงใหม่ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ
    จำพรรษาที่พระธาตุจอมแจ้ง อ แม่สรวย จังหวัดเชียงราย
    การบำเพ็ญประโยชน์แก่พวกอยู่ในป่าดงอันเป็นถิ่นที่แสนจะกันดาร และต่างภาษานั้นยากนัก ในสมัยนั้นการไปไหนแต่ละแห่งต้องใช้การเดินใช้เวลาหลายๆ วันจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ก็การอยู่กับพวกชาวเขาเผ่าหนึ่ง คือ มูเซอร์ ท่านก็ได้อาศัยพวกเหล่านี้อยู่จำพรรษา ท่านเล่าว่า
    “ ก็อัศจรรย์พวกนี้อยู่อย่างหนึ่ง คือ มีพวกมิชชันนารีที่เป็นบาทหลวงขึ้นไปแนะนำให้เขานับถือคริสตังคริสเตียน มีหลายพวกหลายครั้งที่พวกบาทหลวงเหล่านั้นไปสอน ทั้งแจกสิ่งของมากมาย แต่พวก.นี้ก็ไม่ยอมจะเข้าศาสนากับพวกนั้นเลย ครั้นเมื่อพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาไปอยู่ พวกนี้จะทำบุญด้วย แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะเข้าอยู่ในพระพุทธศาสนา เพราะพวกนั้นนับถือภูตผีปีศาจอยู่แล้ว”
    อย่างไรก็ตาม พวกชาวเขานี้จำนวนมากทั้งเชียงรายเชียงใหม่ คณะของพระอาจารย์มั่นฯ ได้ไปช่วยแนะนำสั่งสอนพระพุทธศาสนาไว้เป็นพื้นฐานมากทีเดียว จึงเป็นนิสัยติดต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ นับเป็นการปูพื้นฐานการนับถือพระพุทธศาสนาแก่ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ไว้แล้วตามสมควร ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มีใครสนใจชาวเขากันเลย
    จากการจำพรรษาบนภูเขา ออกพรรษาแล้วท่านก็ลงจากภูเขา แต่คงอยู่ในอำเภอนี้ต่อไป ท่านเล่าว่าในเขตเชียงใหม่เชียงรายนี้มีวัดเก่าๆ ที่สร้างตามภูเขาเล็กๆ หรือท้องที่ต่าง ๆ มากทีเดียว เฉพาะที่อำเภอแม่สรวยมีวัดร้างอยู่ถึง ๒๐๐ กว่าวัด อันนี้ก็แสดงถึงความเจริญทางวัฒนธรรมในอดีตของคนภาคนี้ จากปรากฏการณ์ที่เป็นวัดร้างจำนวนมากนั้น ทำให้ท่านได้แสดงความคิดเห็นว่า การที่ประชาชนในกาลก่อน แม้ความเจริญในทางวัตถุต่าง ๆ ยังไม่มาก ทำไมถึงมีความศรัทธาอย่างยิ่ง ได้สร้างวัดมากเช่นนี้ก็เป็นการแสดงถึงความสามารถอันเกิดขึ้นจากศรัทธา เป็นการรวมพลังทำให้เกิดวัตถุภายนอกขึ้นเพราะวัดต่าง ๆ จะเกิดขึ้นได้นั้นมิใช่ง่าย ๆ ต้องเสียสละร่วมกันทั้งกำลังกายและกำลังความคิด กำลังทรัพย์จึงจะเกิดขึ้นได้ กำลังศรัทธาจะเกิดขึ้นได้นั้น ก็ต้องอาศัยความสามารถของผู้นำ จึงจะเกิดขึ้นและเป็นพลังได้ แสดงว่าก่อนนี้ทางภาคเหนือได้มีพระสงฆ์จำนวนไม่น้อยและมีความสามารถมากทีเดียวที่ได้เป็นผู้นำสร้างวัดขึ้น แต่ละวัดนี้จะขาดเสียมิได้คือพระธาตุตามภาษาพื้นเมืองนั่นคือ เจดีย์ ที่เราเรียกกันทั่วไป
    ที่เรียกว่าพระธาตุจอมแจ้งนั้น ก็เป็นวัดเก่าวัดหนึ่งในจำนวนหลายร้อยวัดที่ท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านได้เลือกจำพรรษาในปี ๒๔๘๐ นี้ แต่ท่านก็มิได้ตั้งใจจะรื้อฟื้นวัดร้างนี้เพื่อให้เป็นวัดที่เจริญ ขึ้นใหม่อีก เพียงแต่เห็นว่าเป็นสภาพที่สงบสงัดสมควรแก่การที่จะบำเพ็ญสมณธรรมได้ และสมควรที่ศิษย์ติดตามจะได้ใช้สถานที่เหล่านี้บำเพ็ญกัมมัฏฐานได้ดีเท่านั้น
    แต่ท่านได้ให้ความเห็นแก่ผู้เขียน ในการที่วัดร้างนี้ว่า มันเป็นการดีอย่างหนึ่งคือ เป็นที่น่ากลัวแก่บุคคลผู้ยังมีกำลังใจอ่อนเพราะวัดนี้ได้ชื่อว่าต้องมีคนตายที่ต้องมาอาศัยฝังบ้าง เผาศพบ้าง โดยเฉพาะสมภารก็ต้องทำกันเอิกเกริกพิสดาร ทั้งเชื่อว่าวิญญาณเมื่อเข้าใจเอาว่าเป็นผี มันต้องอาศัยอยู่ที่วัดร้างเหล่านี้มีมากกว่าแห่งอื่น ๆ ดังนั้นจึงเกิดความหวาดเสียวที่เป็นนิสัยของคนไทย ทำให้นึกถึงว่า วัดร้างนั้นน่ากลัวมาก
    จึงเป็นเหตุให้เป็นผลดีแก่นักปฏิบัติธรรมส่วนหนึ่ง ทำให้จิตใจของบุคคลผู้เข้ามาอยู่วัดร้าง บังเกิดความหวาดเสียวตามนิสัยแห่งความเชื่อถือ และเป็นผลทำให้เกิดความสงบเงียบในใจขึ้นได้
    เป็นที่ทราบอยู่แล้วว่า โดยส่วนมากท่านอาจารย์มั่นฯ ไม่ใคร่จะจำพรรษาแห่งเดียวหลายๆ ปี จะมีมากอยู่ครั้งสุดท้ายครั้งเดียวเท่านั้น เพราะระยะนั้นท่านก็ชราภาพลงมากแล้ว การที่ท่านต้องเปลี่ยนที่อยู่เสมอนั้นท่านมีความประสงค์อยู่ ๒ ประการ คือ
    ๑ ท่านต้องการมิให้เป็นการติดถิ่น
    ๒ ท่านต้องการฝึกฝนลูกศิษย์ที่เป็นพระภิกษุสามเณร
    เพราะท่านได้กล่าวอยู่เสมอว่า.พระเณรมีความสำคัญมาก ในเมื่อมีเหตุอันหนึ่งอันใด เกี่ยวกับพระเณรท่านจะให้ความสำคัญ หรือถือว่าเป็นกรณีพิเศษไว้เสมอ เกี่ยวกับการเอาอกเอาใจ ท่านถือเอาพระเณรเป็นที่หลักก่อนเสมอ ตามที่ผู้เขียนได้ติดตามท่านอยู่ระยะหนึ่งนั้น ก็ทราบเรื่องนี้ดีซึ่งท่านได้แย้มให้ผู้เขียนฟังเสมอ ๆ ว่า การฝึกฝนพระให้ได้รับประโยชน์องค์เดียวเท่ากับได้โยมเป็น ๑๐๐ เป็น ๑,๐๐๐ คน เพราะว่าพระนี้เมื่อได้รับการฝึกหัดจนเป็นอาจารย์ได้แล้ว จะเป็นผู้ไปสอนผู้อื่นได้อีกมาก ท่านจึงสนใจและตั้งใจฝึกฝนพระเณรเป็นพิเศษ
    ซึ่งต่างกับอาจารย์อื่น ๆ ที่กำลังให้ความสำคัญแก่โยมหรืออุบาสกอุบาสิกามากกว่าพระเณร ในเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม ตลอดถึงการต้อนรับโอภาปราศัย ถือเอาโยมเป็นกรณีพิเศษไปเสียหมด.เลยทำให้พระเณรชักจะระอาครูบาอาจารย์มากขึ้น โดยเข้าใจว่าครูบาอาจารย์ไม่ได้ให้ความสำคัญแก่ตน หรือท่านปล่อยเวลาต่าง ๆ ไปสอนอยู่ที่โยมเสียส่วนมาก ขาดการเอาใจในพระเณร จึงทำให้พระเณรนั้นกลับมาเป็นอาจารย์ในภายหลังน้อยลงทุกวัน ๆ
    สำหรับพระอาจารย์มั่น ฯ ศิษย์ที่เป็นพระก็กลับมาเป็นอาจารย์ ศิษย์ที่เป็นสามเณรก็บวชพระ กลับมาเป็นอาจารย์ รู้สึกว่าเกือบทั่วประเทศไทยที่เป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ฯ ที่ท่านเหล่านั้นได้เดินทางไปประกาศสัจธรรม นี้ก็เป็นผลงานของพระอาจารย์มั่นฯ ที่ควรจะได้เป็นตัวอย่าง ทั้งเตือนสติให้ระลึกถึงว่า ผู้เป็นพระอาจารย์ทั้งหลาย ควรจะกลับมาให้ความสำคัญแก่พระภิกษุสามเณรมากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนั้น เพราะบางทีพระอาจารย์บางองค์ก็เข้าใจว่าเมื่อมีโยมมากขึ้น-นับถือ-มาหามาก ๆ เข้าก็เข้าใจว่าเป็นการดี เป็นเรื่องของคุณธรรมที่สูง จึงมีคนเลื่อมใสมาก ประชาชนเขาจึงมาหามาก อะไรทำนองนี้ เกิดความเข้าใจผิดในตัวของตัวเองมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดความสำคัญผิดในพระภิกษุสามเณรอันควรจะได้ใช้เวลาฝึกฝนผู้ซึ่งควรเป็นผู้ดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา
    ในระยะนี้ ต่างก็เป็นที่ทราบถึงเกียรติคุณของพระอาจารย์มั่น ฯ มากขึ้นตามลำดับในหมู่ของพระภิกษุสามเณร จึงได้พยายามที่จะติดตามท่าน เพื่ออยากเห็นและอยากฟังเทศน์ท่านบ้าง หรืออยากอยู่ปฏิบัติออยู่กับท่านโดยเฉพาะในหมู่พระภิกษุสามเณรมีมาก.พอสมควร มีบางองค์ก็ได้ยอมเสียสละส่วนอื่นๆ น้อมตนเข้าปฏิบัติธรรมกัน จึงปรากฏว่ามีการเดินธุดงค์ซึ่งหมายความว่าไปหาสถานที่วิเวก มิใช่ไปแสวงหาความขลังอย่างอื่น ๆ เพราะปรากฏว่ามีการธุดงค์เพื่อแสวงหาอะไรไม่ทราบที่แฝงอยู่เบื้องหลัง หวังจะเอาการแบกกลดห่มผ้าดำ นำพรรคพวกจำนวนมากหาทางให้มันดังจนเป็นข่าว ถึงกับทางราชการออกประกาศห้ามปักกลดที่โน้นที่นี้ นี่เป็นเรื่องไม่ใคร่จะถูกต้อง
    การรวมตัวของศิษย์มากขึ้น ทำให้ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านใคร่ครวญพิจารณาถึงความเป็นไปต่าง ๆ ของคนภาคเหนือ ซึ่งระยะ ๑๒ ปีนี้ ก็เป็นการศึกษาถึงนิสัยใจคอตลอดจนอุปนิสัยวาสนาได้เป็นอย่างดี ท่านได้เคยพูดกับผู้เขียนอยู่เสมอว่า
    คนเมืองเหนือ ฯนี้ใจอ่อน ศรัทธาในพระพุทธศาสนา ก็ดี แต่การที่จะยอมเสียสละบวชอุทิศตนต่อการปฏิบัติอย่างจริงจังนั้นมีน้อยมาก ๑๒ ปีของการอยู่ภาคเหนือ ยังไม่เห็นใครมาบวชและปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังสักองค์เลย ซึ่งตรงกันข้ามกับคนภาคอีสานยังมีคนมาบวชแล้วตั้งใจเด็ดเดี่ยวมีอยู่มาก จนถึงมีศรัทธาความตั้งใจอย่างแน่วแน่ของการปฏิบัติ แม้จะได้เรียนจากเรา ปฏิบัติกันอย่างจริงมาแล้วก็ตาม ยังได้พากันติดตามหาเราถึงจังหวัดเชียงใหม่ การมานั้นมิใช่เพื่อหวังประโยชน์อะไรอื่น นอกจากจะมาหาทางแก้ไขในเรื่องของการปฏิบัติธรรมกันทั้งนั้น คนทางตะวันออกเฉียงเหนือจึงถือได้ว่าเป็นคนที่มีความบึกบึนเป็นเยี่ยม แม้ว่าจะมีปัญญาค่อนข้างทึบอยู่เป็นส่วนมาก บรรดาผู้ที่มาฝึกฝนอยู่กับเรา ที่ติดตามมามากขึ้นทุกทีนี้เอง ทำให้คิดถึงว่าเราอาจจะต้องกลับไปทางอีสานอีก แต่ในขณะนี้ก็ใคร่จะทำประโยชน์ให้แก่คณะบ้างตามสมควร จึงพยายามหาทางปลูกนิสัยบุคคลให้เข้าใจถึงการปฏิบัติจิตใจทั่ว ๆ ไป
    ทุกหนทุกแห่งตามที่ท่านเดินทางไป พร้อมทั้งบอกให้คณะศิษย์ที่มีความรู้พอสมควรเดินทางไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ เพื่อหาทางฝึกปรือชาวบ้านให้เข้าใจถึงความจริงในการปฏิบัติธรรม ตลอดถึงสรณะที่พึ่งอันสมควร ทั้งเหตุผลของพระพุทธศาสนา เพื่อที่จะได้มาแก้ความงมงายต่าง ๆ ที่พากันเชื่อผิด ๆ และการนี้ก็ได้ผล คือทำให้เกิดความเข้าใจถูกต้องขึ้นมาก เนื่องจากตามชนบทที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ขาดผู้ที่มีความรู้ชี้แจงแนะนำ ก็จำต้องยอมเพื่อบางสิ่งบางอย่าง อันอาจจะทำให้เขาสำเร็จผลงานที่ตั้งใจไว้ อันความจริงความสำเร็จผลงานนั้นมันก็จะสำเร็จอยู่แล้ว แต่เผอิญประจวบกับที่เขาบูชาเช่นสรวงในสิ่งที่เขาบูชาเชื่อถือพอดีก็จึงทำให้เกิดความเชื่อขึ้น ซึ่งก็เป็นการแก้ยากมาก แต่เมื่อเขาได้มารับรสพระธรรม พร้อมกับการปฏิบัติธรรม คือการบำเพ็ญจิตให้สงบ บังเกิดผลอันเป็นภายในเข้าแล้ว ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตัวเอง ครั้นแล้วเราก็แนะนำธรรมต่าง ๆ เพิ่มเติมก็จะบังเกิดความเชื่อมั่นยิ่งขึ้น จึงทำให้เกิดผลในการเผยแพร่ธรรมได้เป็นอย่างดี
    การไปทำความเพียรกัมมัฏฐานตามที่ต่าง ๆ ก็ดี การออกไปเที่ยวแนะนำสั่งสอนประชาชนตามหมู่บ้านนั้น ๆ ก็ดี.ท่านจะมีเวลานัดให้ไปรวมกันเมื่อถึงเวลา คือหากได้ไปทำประโยชน์ตนและบุคคลผู้อื่นพอสมควรแล้ว ในระยะเป็นเดือนจะนัดไปประชุมกันที่แห่งใดแห่งหนึ่ง พระเถระนุเถระที่เป็นศิษย์ของท่านที่ไปทำงานนั้น ๆ มาแล้วก็จะมาเล่าความเป็นไป หรือสิ่งที่ประสบมาเพื่อการแก้ไขเหตุการณ์ต่าง ๆ ปรับปรุงการสอนให้ถูกต้อง ซึ่งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยไม่ต้องให้เสียเวลาที่จะต้องตามไปบอกองค์นั้นองค์นี้ การดำเนินการสอนเป็นไปในแนวเดียวกันทั้งสิ้น เพราะการประชุมปรับความเข้าใจ และมีท่านเป็นประธานที่เคารพสูง มีความรู้สูง
    การกระทำเช่นนั้น ท่านเล่าว่าเพื่อเป็นประโยชน์ตนและบุคคลอื่น แต่ก็พยายามที่จะแสวงหาสถานที่สงบเป็นสำคัญ เพราะในขณะที่จะฟื้นฟูการปฏิบัติธรรมให้หนาแน่นยิ่งขึ้น และการแก้ไขสิ่งที่ปฏิบัติเป็นไปเพื่อความงมงายทั้งฝ่ายฆราวาสและบรรพชิต
    พ.ศ ๒๔๘๑ -๒๔๘๒
    ๑๒ ปี ในเชียงใหม่ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ
    จำพรรษา วัดเจดีย์หลวง จำพรรษาที่ แม่คอย อ.พร้าว
    ท่านเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า เรามาอยู่เชียงใหม่โดยเฉพาะได้ใช้ชีวิตความเป็นอยู่ในป่าเป็นส่วนมาก เพราะมีที่ควรแก่การวิเวกมาก ผลจากการพิจารณาถึงความเสื่อมความเจริญของพระพุทธศาสนา ในเรื่องของการปฏิบัติทางกรรมฐาน ก็ปรากฏชัดแก่ท่านเป็นอันมาก.ครั้งหนึ่ง เมื่อท่านพักอยู่ในอรัญวิเวก.ธรรมนิมิตได้ปรากฏแก่ท่านว่า
    “เราได้เดินไปตามทาง ซึ่งทางนั้นโล่งเตียนสะอาด ขณะที่เราเดินไปนั้น ปรากฏว่ามีพระภิกษุสามเณรเดินตามท่านมาเป็นอันมาก ดูเป็นแถวยาวเหยียด เมื่อเดินไปและเดินไป ก็ปรากฏต่อไปว่า พระภิกษุสามเณรเหล่านั้น เป็นพระเถระผู้ใหญ่ และผู้น้อย ต่างก็เดินไปคนละทาง บ้างก็แยกไปทางซ้าย บ้างก็แยกไปทางขวา บ้างก็ล้ำหน้าเดินไปอย่างไม่เกรงใจ ดูพลุกพล่านไป
    ผู้เขียนเกิดความสนใจในธรรมนิมิตนี้มาก จึงได้ถามท่านว่า
    “ธรรมนิมิตนี้หมายถึงอะไร”
    ท่านตอบว่า “ก็พิจารณาเอาเองซิ”
    ผู้เขียนได้ถามท่านต่อไปว่า
    “กระผมเองไม่สามารถจะเข้าใจได้ลึกซึ้ง และการตีความหมายอาจจะไม่ตรงจุดสำคัญ จึงขอให้ท่านอาจารย์จงได้กรุณาไขปัญหานี้ให้แก่กระผมด้วย”
    เมื่อท่านได้ถูกผู้เขียนรบเร้าขอให้อธิบายธรรมนิมิตนี้แล้ว ท่านก็จึงเริ่มที่จะอธิบายว่า
    “ในการต่อไปข้างหน้านี้ จะมีผู้นิยมการทำกัมมัฏฐานภาวนากันมากขึ้น กับจะมีการตั้งตนเป็นอาจารย์สอนกัมมัฏฐานภาวนากันมาก การตั้งตนเป็นอาจารย์สอนกัมมัฏฐานภาวนานั้น ก็จะมีทั้งมีคุณภาพและไม่มีคุณภาพ คือต่างก็จะสอนไปตามความเข้าใจของตน จนถึงกับนำเอาการตั้งตนเป็นอาจารย์สอนกัมมัฏฐานภาวนาบังหน้า แล้วก็ดำเนินการไม่บริสุทธิ์ด้วยประการต่างๆ ผลที่เกิดขึ้นจึงไม่เห็นผลเท่าที่ควร.แต่บางพวกก็ดี เพราะยังเดินตามเราอยู่ นี้มิได้หมายความว่าเราเป็นผู้วิเศษ แต่การดำเนินของเรานั้น ได้ทำไปโดยความบริสุทธิ์ใจ มุ่งเพื่อความพ้นทุกข์ โดยปฏิปทานี้ก็ทำให้ได้ผลทั้งตนเองและศิษยานุศิษย์ตลอดมา การต่างคนต่างตั้งคนเป็นอาจารย์นั้น ย่อมทำให้เสียผล เพราะทำให้เกิดความลังเลแก่ผู้จะเข้ามาเรียนกรรมฐานภาวนาว่าจะถือเอาอาจารย์ไหนจึงจะถูก”
    นี่คือการแก้ธรรมนิมิตที่พระอาจารย์มั่น ๆ ท่านแสดงแก่ผู้เขียน และผู้เขียนก็ล่วงกาลผ่านวัยมาถึงบัดนี้ก็ได้ ๓๘ พรรษาแล้วนับแต่บวชมา ก็พิจารณาตามธรรมนิมิตของท่านอาจารย์มั่นนั้นก็เข้าเค้าขึ้นมากทีเดียวในปัจจุบัน
    เมื่อผู้เขียนบวชเป็นสามเณรเขาอายุ ๑๖-๑๗ ปีนั้น ก็จำความได้ว่า ยังไม่มีการนิยมเรียนและสอนกรรมฐานภาวนากันเท่าไรเลย หาคนจะมาสนใจเรียนสมาธิก็แสนยาก แม้อาจารย์จะสอนเป็นล่ำเป็นสันก็แสนยาก จะมีก็แต่ลูกศิษย์ของท่านอาจารย์มั่นฯ นี้.เท่านั้นที่ออกธุดงค์ และถือโอกาสแนะนำสั่งสอนประชาชน
    ในเรื่องเกี่ยวกับสมาธิภาวนา ตัวผู้เขียนเองก็ได้มารับการฝึกอบรมสมาธิภาวนากับศิษย์ของพระอาจารย์มั่นฯ เช่นกันท่านผู้นั้นคือ พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ในขณะนั้นผู้เขียนอายุเพียง ๑๓ ปีเท่านั้น และรู้สึกว่า มีศิษย์ของท่านอาจารย์มั่น ฯ เช่นกับพระอาจารย์กงมา ซึ่งเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้าจำนวนหลายองค์ที่ท่านได้กรุณาออกแนะนำสั่งสอนประชาชนในเรื่องของกรรมฐานภาวนา และก็ได้ผลมาก เป็นการเปิดศักราชของการปฏิบัติธรรมขึ้นอย่างกว้างขวาง จนปรากฏว่าทุก ๆ ภาคของประเทศไทย จะได้เป็นผู้รับการอบรมการปฏิบัติธรรมสายพระอาจารย์มั่น ฯ ผลที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตนี้ เป็นสิ่งอัศจรรย์ เพราะประชาชนทั่วไปยังไม่เคยได้รับรสพระธรรมอันซาบซึ้งเช่นนี้ เมื่อได้รับก็เกิดความเลื่อมใสขึ้น และกระจายกันทั่วๆ ไป จนปรากฏเป็นวัดป่าอันเป็นแหล่งของการทำกรรมฐานทั้งพระภิกษุสามเณรและอุบาสก อุบาสิกา
    ผู้เขียนคิดว่า นี้เองเป็นต้นเหตุของการเกิดขึ้นซึ่งพระอาจารย์กรรมฐานเพราะมาคิดว่าเป็นการที่ถูกต้องแล้วว่า พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญกรรมฐานจนได้สำเร็จ.เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสาวกก็เช่นกัน และผู้ต้องการสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลก็ต้องทำกรรมฐานและทรงตรัสสรรเสริญผู้ทำกรรมฐาน จึงเป็นการถูกต้องที่ผู้บวชเข้ามาแล้วจะต้องทำเช่นนี้ ทรงตำหนิผู้ที่ไม่ทำกรรมฐานว่า “เป็นเพียงลูกจ้างเฝ้าศาสนา”
    การปฏิบัติกรรมฐานภาวนา ที่เจริญขึ้นในประเทศไทยจะด้วยเหตุใดก็ตามก็ถือได้ว่าเป็นการดีมาก เป็นประโยชน์แก่พุทธศาสนามาก ถึงแม้ว่าจะมีการปฏิบัติผิดนอกรีตนอกรอยไป ก็จะไม่ทำให้เกิดความเสียหายอะไรมากนัก แต่ว่าควรจะได้ปรับปรุงและพยายามที่จะดำเนินการปฏิบัติธรรมไปโดยความบริสุทธิ์ใจ ก็จะทำให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่ง ครั้นเมื่อหวนระลึกถึงธรรมนิมิตของท่านอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ ก็ทำให้เป็นห่วงถึงบุคคลที่ดำเนินการปฏิบัติกรรมฐานโดยความไม่บริสุทธิ์ใจ ที่จะทำให้เกิดความไขว้เขว แต่จะอย่างไรก็ตาม พุทธบริษัทก็คงจะมีปัญญาพิจารณาโดยตนเองแล้วก็ใช้โยนิโสใคร่ครวญ ก็อาจจะรู้ความถูกผิดด้วยคนเองไม่ยากนัก
    ในระยะนี้ พระอาจารย์เทสก์ (ปัจจุบันเป็นพระนิโรธรังสีฯ) ได้อยู่กับท่านอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา กับได้พยายามที่จะอาราธนาให้ท่านกลับทางภาคอีสาน เพื่อจะได้แนะนำธรรมปฏิบัติแก่คณะสงฆ์ ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านจำนวนมากที่ไม่สามารถจะตามมาหาท่านที่เชียงใหม่นี้ได้ ท่านอาจารย์เทสก์ได้ชี้แจงเหตุผลต่าง ๆ เป็นต้นว่า
    “นับแต่ท่านอาจารย์ได้มาอยู่ที่ภาคเหนือถึงเป็นสิบ ๆ ปี ยังไม่ปรากฏว่ามีนักบวชชาวเหนือสนใจและตั้งใจปฏิบัติธรรมกับท่านอาจารย์อย่างจริงจังแม้แต่องค์เดียว มีแต่ท่านอาจารย์ปฏิบัติ ได้รับความวิเวกเฉพาะองค์เท่านั้น และบัดนี้ก็เป็นเวลานานสมควรแล้วที่ท่านอาจารย์ได้รับผลทางใจ ซึ่งควรที่จะกรุณาแก่นักปฏิบัติที่กำลังเอาจริงเอาจังอยู่ทางภาคอีสาน กระผมเองก็ยังคิดถึงหมู่คณะที่ควรจะได้รับอุบายการปฏิบัติของท่านอาจารย์ และคิดว่าจะเป็นประโยชน์จริง ๆ”
    เมื่อท่านได้รับการแนะนำอาราธนาของท่านอาจารย์เทสก์อย่างนี้แล้ว ประกอบกับพิจารณาเห็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา ท่านจึงตัดสินใจที่จะกลับภาคอีสาน หลังจากท่านเข้ามาจำพรรษาที่วัดเจดีย์หลวงอีกครั้ง โดยต้องการจะสงเคราะห์ชาวเชียงใหม่ แล้วท่านก็นึกถึงสถานที่วิเวก ทางแม่คอย อ. พร้าว ก็วกเข้าไปวิเวกจำพรรษาอยู่ที่นั้น
    เมื่อท่านอาจารย์เทสก์ได้ทาบทามเพื่อที่จะให้ท่านกลับภาคอีสาน และแน่ใจพอสมควรแล้ว ท่านก็มีจดหมายไปถึงท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ ซึ่งเป็นความปรารถนาอย่างยิ่งของท่านอาจารย์เทสก์ ก็ดีใจเป็นอย่างยิ่ง
    ออกพรรษาของปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ก็ขึ้นไปเชียงใหม่ด้วยตนเอง โดยไปพักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง มีความกระหายที่จะได้พบพระอาจารย์มั่น ฯ
    ทางฝ่ายพระอาจารย์มั่นฯ เมื่อทราบว่าศิษย์คนโปรดคือเจ้าคุณธรรมเจดีย์มา (ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์นี้ แต่ครั้งเป็นสามเณรได้มาอยู่กับท่านอาจารย์มั่น ฯ ที่วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านเล่าว่าเป็นสามเณรโคร่ง คือเป็นเณรใหญ่ ได้ทำการปลูกมะพร้าวเป็นอันมากให้แก่วัดนี้ และเป็นสามเณรที่ว่านอนสอนง่าย)
    ท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็ลงจากดอยเดินทางมาพบกับท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ที่วัดเจดีย์หลวง ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ก็เข้าไปกราบอาราธนาให้เดินทางกลับภาคอีสาน ท่านก็รับที่จะเดินทางไปตามความประสงค์
    เป็นอันว่า ๑๒ ปีของการอยู่ภาคเหนือ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ โดยเฉพาะเชียงใหม่ ก็เป็นอันสิ้นสุดลงด้วยเหตุผลเป็นไปตามสมควร นักปราชญ์ผู้ฉลาดเมื่ออยู่ในสถานที่แห่งใดย่อมทำประโยชน์แก่สถานที่แห่งนั้น แม้ประโยชน์ส่วนอื่นยังไม่ปรากฏ แต่ก็ได้เกิดเป็นวัดป่าขึ้นตามสถานที่ที่ท่านได้พักจำพรรษา และไม่จำพรรษาเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน ยิ่งในขณะที่เมื่อทราบว่าเป็นแหล่งสถานที่ของท่านได้อยู่อาศัยแล้ว พระภิกษุและประชาชน จะได้พยายามที่จะทำให้เป็นวัดป่าขึ้น เรียกว่ามีผลระยะยาว ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ เพราะว่าท่านได้ปลูกฝังการปฏิบัติที่ถูกต้องและได้ผลจริงให้แก่ศิษย์ของท่าน กับทั้งศิษย์ของท่านก็ได้ปฏิบัติจริงได้ผลและสั่งสอนผู้อื่นจนเกิดผลได้ จึงเท่ากับเป็นการยกย่องเกียรติคุณของท่านไปด้วย ปรากฏการณ์เช่นนี้ ควรจะได้เป็นแบบอย่างแก่พระอาจารย์ทั้งหลาย ที่หวังความเจริญของพระพุทธศาสนา จะได้จดจำและหาทางดำเนินตาม ก็จะเป็นผลดีแก่พระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง
    การเดินทางกลับภาคอีสานของพระอาจารย์มั่นฯ ครั้งนักไม่มีอะไรมากนอกจากจัดบริขาร ๘ ของพระธุดงค์จะพึงมีเท่านั้นก็เป็นอันเสร็จ ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ได้ล่วงหน้ากลับมาก่อนแล้ว ท่านก็ประกาศให้ศิษย์ผู้เคยปฏิบัติธรรมอยู่กับท่านให้ทราบ บางองค์ก็อยู่ บางองค์ก็กลับตามท่านไป
    ท่านเล่าว่า ขณะที่โดยสารรถไฟไปนั้น ท่านได้พิจารณาไปด้วย ทำสมาธิ.เป็นการภายใน แม้จะพูดจะมองดูอะไรต่าง ๆ ก็ให้จิตเป็นสมาธิมีสติ
    ท่านได้เล่าเสริมว่า
    เราโดยสารรถไฟคราวนี้ กำหนดจิตจนปรากฏว่าไม่มีอะไร เป็นรถไฟหรือตู้โบกี้ตู้ไหน มันก็กำลังวิ่งและกำลังเสียดสี มีเสียงอย่างไร ไปถึงไหน ไม่ปรากฏทั้งนั้น จิตได้เข้าสู่ความปรกติ การเดินทางเป็นวันเป็นคืนเหมือนชั่วขณะเดียวและสบายมากมีความเบา หลังจากลงจากรถไฟแล้วก็ไม่เสียกำลัง ทำเหมือนกับว่าอยู่ในป่าฉะนั้น
    ผู้เขียนได้ฟังความข้อนี้แล้ว รู้สึกเคารพและเลื่อมใสยิ่ง ที่ท่านได้กระทำความเพียรอยู่ทุกเมื่อ แม้จะเดินทางโดยรถไฟ ท่านก็ไม่ละความเพียร ผู้เขียนฟังขณะที่ท่านเล่าโดยความเป็นกันเองเช่นนี้ ทำให้เกิดความระวังตนเองขึ้นมาก และมาได้ความคิกว่าการการทำความเพียรนี้เป็นอกาลิโกจริงๆ คำสอนของพระพุทธเจ้าในคำนี้ คือไม่เลือกกาลเลือกเวลา สามารถจะบำเพ็ญจิตได้ในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ.
    ปีนี้เมื่อท่านมาถึงกรุงเทพฯได้พักอยู่ที่วัดบรมนิวาสเป็นการชั่วคราว และผู้ที่ขอร้องท่านให้ไปอยู่เชียงใหม่คือท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์. (สิริจนฺโท จันทร์) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส ก็ได้มรณภาพไปแล้ว ก็เพียงได้พบกับท่านสมเด็จพระมหาวีรวงศ์.(ติสฺโส อ้วน) เป็นเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสแทน สำหรับสมเด็จพระมหาวีรวงศ์นี้ก็มีความเลื่อมใสในตัวของท่านอาจารย์มั่นฯ มาก เนื่องจากได้เคยอยู่ร่วมกันที่วัดบรมนิวาสแต่ก่อน ได้เห็นจริยวัตรของท่าน และท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ก็ได้กล่าวสรรเสริญไว้มาก เมื่อได้มาพบกันอีกครั้งนี้จึงเป็นโอกาสอันงามที่จะได้ไต่ถามข้อปฏิบัติธรรมอันเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางปฏิบัติจิตต่อไป เหตุนั้น ขณะที่พระอาจารย์มั่นฯ พักอยู่วัดบรมนิวาส สมเด็จฯ จึงถือโอกาสสนทนาธรรมปฏิบัติเป็นการส่วนตัวตลอดเวลา
    ในวันหนึ่งมีพระหลายองค์กำลังนั่งอยู่ข้าง ๆ สมเด็จฯ จึงถามท่านอาจารย์มั่นฯ ว่า
    “เธอเข้าไปอยู่ในป่า ไม่มีตำราจะหาธรรมที่ถูกต้องได้อย่างไร”
    พระอาจารย์มั่น ฯ ตอบโดยไม่ต้องคิดว่า “ธรรมนั้นมีอยู่ทุกหย่อมหญ้า สำหรับผู้มีปัญญา”
    สมเด็จฯ ได้อุทานขึ้นว่า จริง ๆ และขอให้ท่านอาจารย์มั่นฯ อธิบายต่อไปว่า ที่ว่า ธรรมมีทุกหย่อมหญ้า สำหรับผู้มีปัญญานั้นหมายความว่าอย่างไร ?
    ท่านได้อธิบายว่า จิตที่ได้รับการอบรมที่ถูกต้องแล้วปัญหาย่อมเกิดขึ้น จะมองดูอะไรก็เป็นนิยายนิกธรรมทั้งสิ้น ส่วนผู้ไม่ได้รับการอบรมจิตที่ถูกต้อง ปัญญาแท้จริงก็ไม่เกิด แม้ผู้นั้นกำลังจับพระไตรปิฎกอ่านอยู่ก็ไม่เป็นผล ยิ่งทำให้เกิดความลังเลสงสัยตลอดไป ส่วนผู้มีปัญญาอบรมมาด้วยจิตที่ถูกต้อง แม้จะไม่ต้องจับพระไตรปิฎก แต่ก็น้อมเอาสิ่งต่าง ๆ มาเป็นธรรม เป็นยอดพระไตรปิฎกได้ ยกตัวอย่างเช่น สังกิจจสามเณรไปบิณฑบาต เห็นเขาไถนา เห็นเขาไขน้ำ นำเอามาเป็นอุบายจนเกิดปัญญา แล้วท่านก็สามารถบรรลุพระอรหันต์ได้ เพราะเหตุที่ท่านได้นำเอาดินที่ชาวนากำลังไถมาเป็นอุบายว่า ดินไม่มีใจ ทำไม่เขาจึงนำเอาไปตามประสงค์ได้ น้ำไม่มีใจ ทำไมเขาจึงทำเอาตามประสงค์ได้ เรามีใจ ทำไมไม่ทำใจให้เป็นไปตามประสงค์ เพราะเหตุนั้นธรรมจึงมีอยู่ทุกหย่อมหญ้ามิใช่หรือ ?
    เป็นอันว่าท่านมาอยู่วัดบรมนิวาสชั่วขณะหนึ่ง ก็ยังได้ทำประโยชน์ แนะนำธรรมปฏิบัติแก่พระภิกษุสามเณรอุบาสกอุบาลิกาตามสมควรแล้ว ท่านก็เดินทางต่อไป และได้แวะจังหวัดนครราชสีมา พักอยู่วัดสาลวัน ขณะนั้นพระอาจารย์สิงห์เป็นเจ้าอาวาสอยู่ และพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ก็เป็นศิษย์ขั้นพระเถระ เป็นศิษย์รุ่นแรกของท่าน เมื่อพระอาจารย์มั่นฯ มาเยี่ยมคราวนั้นมีความดีใจมาก กับทั้งพระเถระอื่นๆ ทั้งพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นต้นก็ยังอยู่ที่นั้น เป็นโอกาสที่ท่านจะได้แสดงธรรมอันเป็นส่วนของการแก้ไขจิต ทั้งพระเถระทั้งหลายก็สนใจที่จะฟังเพื่อการดำเนินปฏิปทาอันถูกต้อง ขณะนั้นผู้เขียนยังอยู่จังหวัดจันทบุรี
    เมื่อพระอาจารย์มั่นฯ ได้พักอยู่ที่วัดสาลวันชั่วระยะหนึ่งแล้วและได้สถิตธรรมส่วนลึก อันเป็นธรรมสำคัญไว้ เพื่อการให้ความคิดของท่านพระเถระทั้งหลาย จนมีความคิดว่าจะต้องติดตามท่านอาจารย์มั่นฯ ไป แต่ขณะนั้นท่านพระเถระทั้งหลายก็ยังต้องอยู่ เพื่อรักษาศรัทธาของประชาชนไปพลางก่อน แต่ปรากฏว่าบรรดาพระอาจารย์ทั้งหลาย ในกาลต่อไปได้ติดตามท่านอาจารย์มั่นฯ มาเป็นส่วนมาก
    ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ ได้จัดเสนาสนะถวายท่านอาจารย์มั่นฯ เพื่อจำพรรษาที่วัดป่าโนนนิเวสน์.ท่านก็ได้พักจำพรรษาที่วัดป่าโนนนิเวสน์ ใน พ.ศ ๒๔๘๓-พ.ศ ๒๔๘๔ ครั้งนี้ก็เป็นการเปิดเผยตัวของท่านอาจารย์มั่น ฯ อีกครั้งหนึ่ง หลังจากท่านได้ปลีกตัวอยู่ในถ้ำภูเขา ซ่อนเร้นเพื่อสมณธรรมอยู่เชียงใหม่ - เชียงรายเป็นเวลาถึง ๑๒ ปี ที่ได้กล่าวว่าท่านได้เปิดเผยตัวนั้นก็คือ ท่านจำพรรษาอยู่ใกล้บ้าน และเปิดโอกาสให้พระภิกษุสามเณรทั้งหลายเข้าศึกษาและปฏิบัติอยู่กับท่านได้ และท่านก็อบรมและให้โอวาทแนะนำ และแก้ไขปฏิปทาต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในให้อย่างไม่อั้น เป็นเหตุในพระภิกษุสามเณรผู้สนใจในการปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ ได้ทราบข่าวอันเป็นมงคลนี้อย่างรวดเร็ว พระเล็กเณรน้อย และพระเถรานุเถระจึงหลั่งไหลกันเข้ามามอบตัวเป็นศิษย์เป็นอันมาก
    แม้ผู้เขียนได้สดับข่าวอันเป็นมงคลนี้เช่นกัน มีความกระตือรือร้นอยากที่จะมาหาท่านให้จงได้ แต่พระอาจารย์กงมา ผู้เป็นอาจารย์ของข้าพเจ้ายังไม่ให้โอกาส เพราะขณะนั้นท่านยังสร้างวัดทรายงาม บ้านหนองบัว จังหวัดจันทบุรีอยู่ ท่านก็บอกว่าจะพาไป ผู้เขียนก็พยายามทำความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ไม่หลับไม่นอนตลอด เวลาหลายเดือนเพื่อเร่งความเพียรหวังเพื่อจะได้ศึกษาต่อกับพระอาจารย์มั่น ฯ จนเมื่อ พ.ศ ๒๔๘๔ ผู้เขียนก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ และก็ได้ทำการรบเร้าพระอาจารย์กงมาเพื่อให้นำไปหาพระอาจารย์มั่นฯ ให้ได้ ปีนี้ออกพรรษาแล้ว ท่านอาจารย์กงมา ก็ได้พาผู้เขียนเดินธุดงค์จากจังหวัดจันทบุรี ผ่านพระตะบอง.จังหวัดมงคลบุรี ศรีโสภณ ตัดขึ้นไปอรัญประเทศ และข้ามภูเขาไปที่ถ้ำวัวแดง ผ่านอำเภอกระโทก เข้าจังหวัดนครราชสีมา ต่อไปถึงจังหวัดขอนแก่น อุดร แล้วตรงไปจังหวัดสกลนคร พบกับท่านอาจารย์มั่นฯ ที่บ้านโคก ต.ตองโขบ อ. เมือง จ.สกลนคร อันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของพระอาจารย์กงมาผู้เป็นอาจารย์ของผู้เขียน
     
  17. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ตอนที่ ๘
    [​IMG]
    ตอน
    พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ
    กลับภาคอีสาน
    พ.ศ. ๒๔๘๕ - ๒๔๘๗ จำพรรษาบ้านโคก
    พ.ศ. ๒๔๘๗ จำพรรษาบ้านนามน
    พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๒๔๘๔ - ๒๔๘๕

    วัดป่าโนนนิเวศน์ อ.เมือง จ.อุดรธานี
    พระอาจารย์มั่น ฯ ท่านล่าให้ผู้เขียนฟังถึงการมาอยู่ที่วัดป่าโนนนิเวศน์ อุดรธานีว่า เจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) มีความประสงค์จะอยู่ใกล้ชิดเพื่อขอการแนะนำในทางจิตอันที่จะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง และเพื่อความอบอุ่นของคณะ เพราะเวลานั้นความมั่นคงของคณะไม่ค่อยจะดี พระเถระผู้ใหญ่ฝ่ายกรรมฐานได้ไปอยู่คนละทิศละทาง การกระทบเพื่อความมั่นคงของคณะมีมาก และกำลังพระภิกษุสามเณรมีน้อย ที่เป็นเช่นนี้เพราะขาดหลักที่ยืดถือ หมายถึงพระเถระผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นแกนกลาง เจ้าคุณธรรมเจดีย์เองท่านเป็นเจ้าคณะพระผู้ใหญ่ก็จริง แต่ยังไม่สามารถจะรวมกำลังของพระภิกษุสามเณรที่เป็นพระปฏิบัติได้ หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ความร่อยหรอของพระภิกษุสามเณรก็จะมีมากยิ่งขึ้น ก็จะเป็นการอ่อนแอของคณะได้
    ดังนั้นพระอาจารย์มั่นฯ ท่านจึงได้สละเวลาถึง ๓ ปี ในการที่อยู่ที่วัดโนนนิเวศน์จังหวัดอุดรธานี หลังจากที่พระอาจารย์มั่นฯ ท่านมาอยู่ที่นี้แล้ว พระเถรานุเถระทั้งหลายจำนวนมากเมื่อทราบข่าวต่างก็พากันมา เพื่อศึกษาธรรมปฏิบัติ เป็นเหตุให้เกิดพลังคณะสงฆ์ขึ้น เพราะท่านพระเถรานุเถระเหล่านี้เป็นที่เลื่อมใสของอุบาสกอุบาสิกาพระภิกษุสามเณรเป็นอันมาก เมื่อพระเถรานุเถระมารวมกันมาก ท่านพระอาจารย์มั่นฯ ท่านก็ให้แยกย้ายกันออกไปอยู่แห่งละ ๕ องค์ ๑๐ องค์ ถึงเวลาอันควร พระเถรานุเถระเหล่านี้ก็เข้าไปอยู่ศึกษาธรรมปฏิบัติเป็นครั้งคราว และก็ได้รับประโยชน์อย่างมากทั้งด้านจิตใจและปฏิปทา จนเป็นต้นเหตุให้เกิดวัดป่าขึ้นอีกนับร้อย ๆ วัดป่าคือสถานปฏิบัติธรรมที่ท่านพระเถรานุเถระที่มาศึกษาธรรมจากท่านพระอาจารย์มั่นฯ ท่านเอง
    ฉะนั้นการมาอยู่ของพระอาจารย์มั่นฯ ๓ ปี ที่จังหวัดอุดรธานีจึงถือว่าเป็นการฟื้นฟูคณะธรรมยุติครั้งยิ่งใหญ่ที่จังหวัดอุดรธานีจนถึง จังหวัดหนองคาย – นครพนม เป็นต้น ความเป็นพลังคณะสงฆ์ปรากฏเด่นชัดขึ้นตามลำดับ จนถึงกับพระปฏิบัติสายพระอาจารย์มั่นฯ ต้องมารับหน้าที่ฝ่ายปกครองเป็นเจ้าคณะ เราอาจกล่าวได้ว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) กำลังพระธรรมยุติเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย รับข้อปฏิบัติอันเป็นปฏิปทาของพระอาจารย์มั่นฯ แม้จะเข้ามาบริหารหมู่คณะ เป็นฝ่ายปกครองได้รับการเชื่อถือจากมหาชนอย่างมาก ประโยชน์อันจะเกิดขึ้นอย่างใหญ่หลวงแก่คณะนี้เอง ที่ทำให้พระอาจารย์มั่น ได้กลับจากเชียงใหม่ตามคำอาราธนาของท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล)
    ทั้งนี้ก็ต้องระลึกถึงพระคุณของท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) ที่ท่านมีสายตาอันยาวไกลเพื่อหมู่คณะมิใช่เพียงเพื่อตัวของท่านเอง ด้วยความพยายามอย่างยิ่งเป็นเวลาหลายปีกว่าจะอาราธนาให้ท่านอาจารย์มั่นฯ กลับภาคอีสานได้ “ลบไม่ศูนย์” คือความดีงามและความเห็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ความประเสริฐเลิศยิ่งแห่งความบริสุทธิ์ใจแก่หมู่คณะธรรมยุติ ภาคอีสาน ที่จะต้องจารึกไว้นี้เอง คือคำว่า “ลบไม่ศูนย์” ของท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล)
    ปี พ.ศ. ๒๔๘๕
    บ้านโตก ต.ตองโขบ อ.เมือง จังหวัดสกลนคร
    ณ สถานที่นี้ของผู้เขียนที่ได้อยู่จำพรรษารวมกับท่านพระอาจารย์มั่น ฯ ภูริทตฺตเถระ เป็นพรรษาแรก เป็นความดีใจของผู้เขียนอย่างยิ่งเพราะเป็นความหวังความตั้งใจอันสูงส่ง บรรลุสมความประสงค์ เป็นความดีใจเช่นกับนักเรียนสอบเข้า (เอ็นทรานซ์) มหาวิทยาลัยได้ ซึ่งเขาก็มีหวังเป็นบัณฑิต แน่นอน เช่นกับผู้เขียนได้เข้ามาอยู่กับท่านปรมาจารย์ชั้นสูงสุด
    ในพรรษานี้ตามที่ผู้เขียนได้สังเกตเห็นว่าพระอาจารย์มั่นฯ ท่านได้แสดงธรรมอย่างสม่ำเสมอแก่ศิษย์ผู้เข้ามาอยู่ในสำนักนี้ เนื้อหาธรรมะนั้นเป็นสิ่งอัศจรรย์ยิ่งเพราะเป็นธรรมจากจิตใจ สรรหาออกมาเป็นคำพูด และถูกต้องตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ซาบซึ้งใจแก่ผู้ฟัง หยั่งลึกลงสู่ภวังค์แห่งจิต ขจัดความสงสัยนานับปการแก่บรรดาศิษย์ทั้งหลาย
    ทุก ๆ ท่านที่ได้รับรสพระธรรมของท่านต่างก็ปรารภเช่นเดียวกัน เช่นคำว่า มัชฌิมา ทางกลาง ท่านก็แสดงว่าทางพอดี เช่น ท่านแสดงว่าต้นบัญญัติ คือผู้ทำจิตถึงผู้รู้ที่เป็น ฐิติภูตํ หรือเป็นที่สุดทั้งสอง อันบรรพชิตไม่พึงเสพ คือ
    1. อตฺตกิลมถานุโยค ทำตนให้ลำบากเปล่า
    2. กามสุขลฺลิกานุโยค ผู้หมกมุ่นในกาม นี้ท่านก็แปลว่า ผู้บำเพ็ญจิตยังตกอยู่ในความรัก ชอบ ชัง เกลียด ผู้นั้นยังไม่ถึงหนทางกลาง
    อธิบายว่า ผู้บำเพ็ญจิตทั้งหลายเมื่อจิตสงบ ดีใจ เมื่อไม่สงบไม่ได้ดังใจ เสียใจ ถือว่าตกไปในทางรัก - ชัง ชื่อว่ายังใช้ไม่ได้ หรือผู้ที่บำเพ็ญจิตกล่าวโทษบุคคลผู้อื่นที่มีความเห็นไม่ตรงกับตน ถือว่าตกไปในทางชั่ว หรือผู้ที่ยกยอผู้อื่นด้วยความเกรงใจ ตกไปในทางรัก ถือว่าไม่เป็นมัชฌิมา ไม่ได้เดินทางกลาง บุคคลเหล่านี้ยังห่างไกลความพ้นทุกข์ ยังห่างไกลความอริยะยิ่งนัก
    ผู้เขียนฟังแล้วในพระธรรมที่ท่านพระอาจารย์มั่นฯ แสดงได้ความรู้ความเข้าใจแจ่มแจ้งในเหตุผล ทำให้เข้าใจตนและบุคคลผู้อื่น คณะตน คณะผู้อื่นอีกมากในเรื่องของการปฏิบัติจิต
    แม้การอยูที่เสนาสนะป่าบ้านโคก หนทางไกลจากการคมนาคมมาก ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) ก็ได้มาพบนมัสการพระอาจารย์มั่นฯ อยู่เป็นนิตย์ ทั้งนี้เพื่อดำเนินการให้พระภิกษุสามเณร มีความรวมตัวกันยิ่งขึ้น ให้สมกับที่พระอาจารย์มั่นฯ ได้เสียสละเวลาจากเชียงใหม่กลับไปภาคอีสาน เป็นโอกาสอันสำคัญยิ่ง ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ ท่านจึงไม่ทิ้งโอกาสนี้และก็เป็นจริงเช่นนั้น
    ผู้เขียนได้มาอยู่กับพระอาจารย์มั่นฯ ในฐานะผู้อุปัฏฐากหรือผู้ใกล้ชิด ได้เห็นพระอาจารย์ใหญ่ ๆ หลายองค์ได้เข้ามานมัสการหรืออยู่กับท่านในระยะนี้ เรียกได้ว่ามีการประชุมใหญ่ของพระอาจารย์ฝ่ายกรรมฐาน ท่านพระอาจารย์เหล่านี้ได้ไปเผยแพร่พระธรรมทุก ๆ แห่งได้ผลเกินความคาดหมาย มีประชาชนเลื่อมใสอยู่ในขั้นสูง จนเป็นการปฏิบัติจิตได้แพร่หลายไปโดยทั่ว ซึ่งกาลก่อนนั้นการปฏิบัติดูเหมือนมืดมน การเลื่อมใสยิ่งของมหาชนได้เพิ่มขึ้น จนเหตุให้หลายแห่งต้องดำเนินสอนด้านจิตใจเพิ่มขึ้น
    เพราะฉะนั้นการอยู่จังหวัดสกลนครของท่านพระอาจารย์มั่นก็คือรวบรวมพระ คณาจารย์ให้มาประชุมหาทางให้สอนด้านการปฏิบัติให้ก้าวหน้าเป็นประโยชน์ต่อไป จึงไม่แปลกอะไรที่ผู้เขียนได้พบพระคณาจารย์ที่ทรงคุณวุฒิตลอดเวลา และท่านคณาจารย์ก็ได้มาพักอยู่ฟังธรรมและศึกษาธรรมจากท่านอาจารย์มั่นฯ องค์ละเป็นเวลายาวนาน
    พ.ศ. ๒๔๘๖
    เสนาสนะป่าบ้านนามน
    ต.ตองโขบ อ.เมือง จ.สกลนคร
    ณ ที่บ้านนามนนี้ เป็นบ้านเดิมของพระอาจารย์เนียม ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ (พระอาจารย์องค์แรกของผู้เขียน) ในครั้งเป็นฆราวาส สถานที่ตั้งสำนักสงฆ์นี้มีป่าไม้ธรรมชาติ เช่นไม้ยาง ไม้ตะเคียน ได้เต็ง ไม้รัง ไม้แดง ไม้อื่น ๆ แม้จะอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้าน แต่ก็เป็นป่ารกชัฏ เหมาะแก่การทำความเพียร
    พระอาจารย์มั่นฯ ท่านได้เลือกสถานที่ที่นี้จำพรรษา ซึ่งก็ไม่ไกลจากเสนาสนะ เป็นการเปลี่ยนสถานที่เท่านั้นเอง ผลก็ได้เหมือนเดิม เพราะพระอาจารย์ทั้งหลายทั่วภาคอีสานได้เข้ามานมัสการฟังธรรมมากเพิ่มขึ้น และท่านพระอาจารย์มั่นฯ ท่านก็ได้แสดงธรรมวิจิตรยิ่งขึ้น เป็นที่ถูกอกถูกใจซาบซึ้งในรสพระธรรมของท่านอาจารย์มั่น ฯ เป็นอย่างยิ่ง ผู้เขียนก็เป็นผู้หนึ่งที่ได้จำพรรษาอยู่ ณ ที่นี้และก็ได้ซาบซึ้งตรึงใจในรสพระธรรมจนไม่สามารถจะอดใจได้ ที่คิดถึงผู้อื่นที่ไม่ได้ฟังธรรมอันวิจิตรนี้ ผู้เขียนจึงต้องบันทึกพระธรรมเทศนาของท่านพระอาจารย์มั่นฯ ตลอดพรรษานี้ จนได้นามหนังสือนี้ผู้เขียนบันทึกว่า “หนังสือมุตโตทัย”
    การประชุมพระคณาจารย์ทั้งหลายได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เพราะพระคณาจารย์เหล่านี้มิได้มีการอาราธนา หรือบอกกล่าวแต่อย่างใด ท่านทั้งหลายนั้นได้มาสู่สถานที่นี้โดยมีพระอาจารย์มั่นฯ เป็นจุดมุ่งหมาย ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการประชุมที่อัศจรรย์ เนื่องจากพระคณาจารย์เหล่านี้ไม่ต้องมีพิธีการต้อนรับหรือต้องเกรงใจ หรือต้องทำระเบียบการประชุม เรื่องต้องของบประมาณค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ผู้เขียนยังอัศจรรย์และแปลกใจในการมาของคณาจารย์เหล่านี้ซึ่งล้วนเป็นพระเถระผู้ใหญ่ และผู้น้อย ผู้ติดตาม จึงเป็นเหตุให้การประชุมรวมตัวของคณะสงฆ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอย่างล้นเหลือ
    ผู้เขียนครุ่นคิดว่าประโยชน์อันยิ่งใหญ่ไพศาลแก่ทั้งส่วนตัวและแก่ทั้งส่วนคณะได้ผลจริง ๆ มิฉะนั้นคณะธรรมยุติภาคอีสานคงจะไม่แกร่งมาถึงปัจจุบัน.เนื่องพระอาจารย์มั่นฯ ได้วางนโยบายสำคัญ ๆ ทั้งทางด้านปกครอง และด้านการปฏิบัติกรรมฐาน ผู้คนทั้งหลายยังไม่ทราบข้อเท็จจริงนี้เท่าไร ผู้เขียนจึงขอจารึกประวัติศาสตร์แห่งคณะไว้ ณ ที่นี้ เพราะความใกล้ชิดที่ได้รับความไว้วางใจจากท่านพระอาจารย์มั่นฯ ผู้เขียนจึงได้เป็นพระอุปัฏฐาก ทำให้ได้ทราบความตื้นลึกหนาบางในการอยู่ในจังหวัดสกลนคร
    บั้นสุดท้ายชีวิตของท่านพระอาจารย์มั่นฯ ที่ได้ทำงานให้แก่พระพุทธศาสนาให้แก่คณะ ดุจปิดทองหลังพระ แต่นั้นคือการแก้ไขสิ่งบกพร่อง ดำเนินการพัฒนาในธรรมปฏิบัติ บรรจุสิ่งที่เป็นประโยชน์ลงสู่จิตใจของบรรดาพระคณาจารย์ต่าง ๆ อย่างเต็มเพียบ ท่านพระคณาจารย์ต่าง ๆ เหล่านั้น ล้วนมีคุณธรรมเป็นฐานรองรับข้อปฏิบัติได้เป็นอย่างดี ผู้เขียนก็เป็นผู้หนึ่งในการรับข้อปฏิบัติในสมัยนั้น จึงทราบได้ถึงความรอบรู้สามารถลึกซึ้งของท่านพระอาจารย์มั่นฯ
    เป็นอันว่าเสนาสนะป่าบ้านนามนนี้ ก็เป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งควรค่าแก่การศึกษา กุฏิของท่านพระอาจารย์มั่นฯ ก็ยังคงรักษาไว้ให้คงสภาพเดิม แม้กุฏิผู้เขียนก็ยังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
    พ.ศ. ๒๔๘๗
    เสนาสนะป่าบ้านโคก ครั้งที่ ๒
    พระอาจารยกงมา จิรปุญโญ พระอาจารย์องค์แรกของผู้เขียน ท่านได้พยายามที่จะให้พระอาจารย์มั่น ฯ กลับมาที่เสนาสนะป่าบ้านโคกอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของท่านอีกสักครั้ง และแล้วความปรารถนาก็ได้สมดังความตั้งใจของท่านพระอาจารย์กงมา โดยที่พระอาจารย์มั่น ฯ ท่านได้ตัดสินใจกลับมาจำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านโคกเป็นครั้งที่.๒
    ในย่านนี้เป็นหมู่บ้านเหมือนกับบ้านป่า เพราะคมนาคมยังไม่ดี ไปไหนก็ต้องเดินเท้า ด้วยเหตุนี้ ที่ว่างเปล่าเป็นป่าละเมาะที่ไม่มีผู้ใดจับจองจึงมีอยู่มาก ป่าไม้เหล่านี้ก็มีเป็นต้นว่า ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้ยาง ไม้ตะบาก ไม้ตะแบก เป็นต้น สูงบ้าง ต่ำบ้างเป็นร่มเงาได้ดี เหมาะแก่การสร้างวัดในทางปฏิบัติกรรมฐาน ซึ่งหาที่ไม่ไกลจากหมู่บ้านจนเกินไป พออาศัยบิณฑบาตยังชีพของสงฆ์ เป็นสถานที่สงบสงัดดี จึงเป็นการง่ายมากที่จะสร้างเสนาสนะป่าพออาศัยทำความเพียร ซึ่งสถานที่เสนาสนะป่าเหล่านี้เองได้กลับกลายเป็นวัดที่แท้จริงเป็นจำนวนมาก เพราะหากไม่ขออนุญาตตั้งวัด ก็จะกลายเป็นสำนักสงฆ์เถื่อน แม้ท่านพระอาจารย์ทั้งหลายที่คงแก่ธรรม ก็จำเป็นต้องขออนุญาตให้เป็นวัดทั้งที่ท่านก็ไม่ปรารถนา วัดที่เกิดขึ้นจากเสนาสนะป่านี้มั่นคงถาวร บางแห่งมีอาคารไม้สัก วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฏิ ดีกว่าวัดในบ้านในเมือง
    ฉะนั้นการอยู่จำพรรษาที่เสนาสนะบ้านโคกครั้งที่ ๒ นี้ เป็นที่ทราบของท่านพระเถรานุเถระที่ไฝ่การปฏิบัติธรรมกว้างขวางยิ่งขึ้น จึงได้มีพระอาจารย์จำนวนมากที่แปลกหน้าผู้เขียนไม่เคยเห็นได้มารวมตัวกัน จึงเป็นโอกาสที่ท่านพระอาจารย์มั่นฯ จะได้แสดงข้อวัตรปฏิบัติตื้นลึกหนาบางของความเสื่อมความเจริญ นับว่าเป็นบุญหูบุญตาของผู้เขียนมากมายเหลือประมาณ เพราะการที่พระอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลายมาพบกันนั้นยากมาก เนื่องจากการคมนาคมไม่สะดวก ต้องเดินทางด้วยเท้าเป็นส่วนใหญ่
    และก็เป็นที่พอใจแก่ท่านพระอาจารย์มั่นฯ เพราะท่านต้องการจะพบกับคณะศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย เพื่อจะได้แนะนำการปฏิบัติจิตขั้นสูงเพราะขั้นธรรมดาทุกๆ ท่านก็ทราบมาก่อนแล้ว และการดำเนินการปกครอง เนื่องหมู่คณะได้มีมากขึ้นปัญหาต่างๆ ก็ตามมาเป็นธรรมดา แต่เพราะความรอบคอบของท่านพระอาจารย์มั่นฯ คณะปฏิบัติสายพระอาจารย์มั่นฯ จึงเป็นที่ยอมรับและนับถือ เชื่อมั่นกันเป็นเวลานานตราบจนปัจจุบัน.
    มีข้อหนึ่งที่ผู้เขียนฟังแล้วใส่ใจอยู่ตลอดคือ พระอาจารย์ท่านพูดว่า “อย่าทำให้โลดโผน หรือดังเกินไป อย่างทำให้คนขาดความเลื่อมใส เพราะไม่มีเสียง สิ่งที่จะมั่นคง คือ เป็นไปพอดี ๆ แต่หนักแน่น”
    จากนี้ไปเป็นการที่ผู้เขียนได้ประสบความเป็นไปต่างๆ ของพระอาจารย์มั่นฯ ด้วยตนเอง หลังจากได้รับคำบอกเล่าจากท่านและสานุศิษย์ของท่าน และได้เขียนไปตามที่ทราบมาก็นับว่าพอจะให้ความรู้และความเข้าใจตามความเป็น จริงแก่ท่านผู้สนใจในประวัติความเป็นมาของพระอาจารย์มั่นฯพอสมควรฯ
    จะอย่างไรก็ตาม ขณะที่ผู้เขียนกำลังนั่งตำหมากและรินน้ำชาถวายท่าน พร้อมกับได้ฟังเรื่องของเชียงใหม่จนจุใจ ก็นับว่าเป็นกุศลจิตที่ได้มาพบท่านผู้ทรงคุณวุฒิ เนื่องจากการเล่าความเป็นมาหรือประวัติของท่านเองนั้น โดยมากท่านก็ไม่ใคร่จะเล่าให้ใครฟังเท่าไรนัก ท่านแสดงธรรมอันลึกซึ้งนั้นมากกว่า แต่การที่ท่านจะเล่าถึงความเป็นไปต่าง ๆ ของท่านนั้นก็ต่อเมื่อถูกรบเร้าจากลูกศิษย์ ผู้ต้องการจะทราบความเป็นมาของท่านบ้างเท่านั้น
    ในขณะที่ท่านอยู่ เสนาสนะป่าบ้านโคก-นามน เป็นเวลา ๓ ปีแล้ว ท่านก็ได้ปรารถนาที่จะย้ายไปอยู่ที่บ้านหนองผือ ต นาใน อ พรรณานิคม ซึ่งเป็นการเตรียมงานใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ที่ท่านจะไปคราวนี้ เพราะขณะนี้มีพระอาจารย์ใหญ่ๆ ที่เป็นศิษย์ของท่านได้มารวมกันอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อข่าวการเคลื่อนย้ายแพร่ออกไป ทุก ๆ ท่านก็รีบเข้าประชุมเพื่อจะได้ติดตามท่านไป
    การเดินทางครั้งนี้ เป็นการเดินทางโดยเท้าอีกครั้งหนึ่งของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ ซึ่งเป็นการเดินธุดงค์ครั้งสุดท้าย แต่เป็นความกรุณาอย่างยิ่งของท่านแก่ผู้เขียนในการณ์ครั้งนี้อีกครั้งหนึ่ง คือ ท่านได้ไปแวะพักที่บ้านห้วยแคน อยู่ระยะหนึ่งเดือนกว่าๆ บ้านนี้เป็นบ้านของพวกโซ่ง อยู่ตามชายเขาภูพาน ผู้เขียนได้ไปอยู่กับพวกเขาหลายเดือนโดยแนะนำธรรมต่าง ๆ จนเขาเกิดความเลื่อมใสมาก
    ขณะที่ท่านพักอยู่ที่ป่าใกล้บ้านแห่งนี้ ผู้เขียนได้พักอยู่กับท่านและพระอื่นๆ สอง-สามรูปทำให้ชาวบ้านแถวนั้นยินดีปรีดาเป็นอย่างยิ่ง เพราะเหตุที่ชาวบ้านเหล่านั้นได้รับรสพระธรรมจากผู้เขียนที่ได้ไปวางรากฐานการปฏิบัติไว้ก่อนแล้ว
    เมื่อได้กำหนดที่เดินทางคือไปยังบ้านหนองผือ พระเถรานุเถระได้ทราบข่าวการเดินทาง ก็ได้เตรียมตัวที่จะติดตามไปในระยะใกล้บ้าง ห่างบ้าง หนทางลัดที่จะไปบ้านหนองผือนั้น จะต้องเดินตัดดงไปทางบ้านห้วยกับแก้ ผ่านไปทางบ้านกุดไห บ้านกุดบาก-บ้านผักอีเลิด
    การเดินทางครั้งนี้เดินวันเดียวไม่ถึง จึงต้องค้างคืนกลางทาง.ทั้งการเดินทางก็ไม่ได้เร่งร้อนอะไร ถือว่าค่ำไหนนอนนั่นตามสบาย ส่วนพระเถรานุเถระผู้ติดตามนั้น ก็หาที่พักที่มีหมู่บ้านอยู่ห่าง ๆ ออกไป เพราะถ้ารวมกันอยู่เป็นหมู่ก็จะลำบากด้วยอาหารบิณฑบาต ส่วนผู้เขียนก็ได้ติดตามท่านอาจารย์มั่น ภูริทตตเถระ ไปตลอดทาง
    เมื่อถึงบ้านผักอีเลิด เป็นเวลาเย็นมากแล้ว ท่านจึงสั่งให้พักอยู่ใกล้หมู่บ้านแห่งนี้ หมู่บ้านแถวๆ นี้เป็นชาวบ้านป่า ทำมาหากินด้วยการทำไร่ถางป่า บ้านไม่ค่อยเป็นหลักฐานเท่าไร สถานที่เป็นภูเขาแต่ก็ไม่สูงนัก ส่วนต้นไม้เท่าที่สังเกตดู เป็นไม้เต็ง-รัง-ไม้แดง-ไม้มะค่าโมงเป็นส่วนมาก บางแห่งเป็นต้นเตี้ยๆ แต่บางแห่งก็เป็นดงต้นไม้สูงๆ เป็นดงทึบ มองแทบไม่เห็นดวงอาทิตย์ การเดินครั้งนี้เป็นการขึ้นลงภูเขาไปด้วย จึงทำให้ล่าช้าในการเดินทาง ฯ
    ผู้เขียนจำได้ว่า การเดินทางของท่านอาจารย์มั่น ฯ ในครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายในชีวิตของท่าน ในการเดินทางไกลข้ามภูเขา แต่ตามที่สังเกตการเดินทางของท่านแล้ว ซึ่งขณะนี้ท่านมีอายุได้ ๗๕ ปีแล้วก็ยังเดินอย่างกระฉับกระเฉงว่องไว เดินไปได้อย่างสบาย ผู้เขียนก็ได้เดินตามท่านไปอย่างใกล้ชิดตลอดทาง ฯ
    ภูเขาที่เดินผ่านไปนั้นเรียกว่า ภูพาน โดยส่วนมากจะเป็นภูเขาหินทราย มิใช่หินปูนเหมือนแถบลพบุรี จึงทำให้คนอยู่ได้อย่างสบายไม่มีการแพ้ ถ้าเป็นภูเขาหินปูนคนอยู่แล้วจะเกิดอาการแพ้ เกิดโรคภัยต่าง ๆ จึงปรากฏว่า มีผู้คนอาศัยทำมาหากินอยู่เป็นอันมาก แต่ก็เป็นชาวเขาแทบทั้งนั้น เขาเรียกผู้คนในแถวนี้ว่า “ลาวโช่ง” “โซ่-ข่า” และ ลาวภูไท และทุกๆ คนชาวเขาเหล่านี้เลื่อมใสพระพุทธศาสนากันทั้งนั้น มีการทำบุญตักบาตร สร้างวัดวาอารามเช่นเดียวกับคนไทยทั่วๆ ไป แต่ยังขาดการศึกษาเท่านั้น เพราะไม่มีโรงเรียนจึงทำให้มีอะไรหลายๆ อย่างที่ควรจะดีกว่านี้ แต่ไม่สามารถจะทำได้ การศึกษาจึงมีความสำคัญแก่มวลมนุษย์ชาติตั้งแต่ดึกดำบรรพ์จนกระทั่งบัดนี้
    เมื่อได้พักค้างคืนที่ข้างๆ หมู่บ้านผักอีเลิดแล้ว การเดินทางไปบ้านหนองผือก็ไม่ไกลเท่าไร วันนั้นหลังจากฉันภัตตาหารเช้าแล้ว ท่านก็พักผ่อนพอสมควร บ่ายแล้วจึงออกเดินทาง ถึงบ้านหนองผือประมาณ ๕ โมงเย็น ชาวบ้านทางนี้ทราบข่าวการมาของท่านอาจารย์มั่นฯ ก่อนแล้ว จึงพร้อมด้วยพระเถระบางรูปผู้สันทัดในการจัดเสนาสนะ ได้คอยให้ความสะดวกแก่ท่านและพระติดตาม
    ในบริเวณวัดหนองผือนี้ เป็นดงมีต้นไม้ใหญ่ปกคลุมครึ้ม ทำให้อากาศถ่ายเทลำบาก จึงเป็นแหล่งที่มีความสำคัญอย่างหนึ่ง คือต้องทำความเพียรให้มาก นอนมากไม่ได้ อาจจะถึงล้มป่วยและตายได้ ซึ่งปรากฏว่าผู้ที่มาหาท่านอาจารย์ได้ป่วยและมรณภาพไปหลายรูป
    ครั้นเมื่อท่านไปถึง และบอกแก่ศาสนศิษย์ญาติโยมว่า จะอยู่จำพรรษาที่นี่ทั้งญาติโยมและพระก็ช่วยกันจัดการซ่อมแซมเสนาสนะ ซึ่งมุงด้วยหญ้าคามาแต่เดิมและผุพังไปเป็นส่วนมาก ที่ต้องซ่อมแซมให้ไว้ได้มากนั้น เพราะพระภิกษุสามเณร มีความประสงค์จะเข้ามาอยู่กับท่านทั่วสารทิศ เมื่อกาลออกพรรษา ก็จะเดินทางมาศึกษาธรรมกับท่านตลอดเวลา ชุดนั้นออก ชุดนี้เข้า เป็นประจำอยู่อย่างนี้..
    ผู้เขียนเองขณะนี้ก็ได้จากท่านไปอยู่จังหวัดจันทบุรี ซึ่งก็ได้มาอยู่กับท่านก่อนออกพรรษาเป็นเวลาหลายๆ เดือน ทุกๆ ปี จนถึงปีสุดท้าย
    ความจริงภูมิประเทศของบ้านหนองผือนี้ เป็นที่เหมาะแก่การทำความเพียรมาก เพราะเป็นที่ไกลต่อการคมนาคมผู้ที่จะเข้าไปในหมู่บ้านนี้ ต้องเดินทางจากถนนใหญ่ ๓ ถึง ๔ ชั่วโมงจึงจะถึง ถ้าจะไปอีกทางหนึ่งก็คือทางเกวียนเป็นทางอ้อมมากต้องใช้เวลาถึง ๘ ชั่วโมงกว่าจึงถึง แสดงว่าท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านเลือกภูมิประเทศที่ไม่ให้ผู้คนมารบกวนท่าน ซึ่งไม่เหมือนกับปัจจุบัน ผู้เป็นอาจารย์ทั้งหลาย แม้เมื่อไปอยู่ในถ้ำภูเขา ยังอุตส่าห์ตัดถนนให้รถยนต์เข้าไปถึง เพื่อให้ผู้คนสัญจรสะดวก เมื่อคนไปหามากก็บ่นว่ายุ่ง ไม่ทราบว่าจะบ่นทำไม ในเมื่อท่านเองก็ชอบจะให้เขาเข้าไปหา ถึงตัดถนนให้ความสะดวกแก่ชาวบ้านอยู่ตลอดเวลา ซึ่งไม่เหมือนกับท่านอาจารย์มั่นฯ ผู้เป็นพระปรมาจารย์เลย เพราะเมื่อท่านอยู่บ้านโคกนามน ท่านบ่นว่าใกล้ทางรถยนต์คนมาสะดวกทำให้ยุ่ง เราจะสอนพระภิกษุสามเณร โยมก็มาวุ่นเสียเรื่อย ทำให้เสียจังหวะ ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ท่านจึงหาทางไปที่อื่น และได้บ้านหนองผือเป็นสัปปายะ
    ตอนนี้จะพูดถึงบริเวณบ้านหนองผือ เพื่อให้ผู้อ่านที่ยังไม่เคยไป จะได้ทราบถึงสถานที่แห่งนี้ว่า เพราะเหตุใดท่านอาจารย์มั่นฯ จึงจำพรรษาอยู่ที่นี่ถึง ๕ ปี
    บ้านหนองผือนี้เอานามของหนองน้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งมีต้นผือ หรือต้นปรือ เป็นต้นไม้สำหรับทอเสื่อ เหมือนกับชาวจันทบุรีทอเสื่อกกนั่นเอง บ้านหนองผือนี้อยู่ในแอ่งของภูเขา มีภูเขาล้อมรอบอยู่ทุกด้าน ในขณะที่เราเดินทางเข้ามาและยืนอยู่บนภูเขาแล้วแลลงมาดูบ้านหนองผือ จะเห็นเป็นแอ่งคล้ายก้นกระทะ ก่อนเข้าถึงหมู่บ้านก็จะพบลำธารน้ำเล็ก ๆ ไหลผ่านไม่ขาดสายอยู่แห่งหนึ่งเสียก่อน และข้างลำธารมีก้อนหินใหญ่บ้างเล็กบ้าง เรียงรายกันอยู่เข้าไปถึงกลางลำธาร เป็นหินมีหลังนั่งพักสบาย โดยเฉพาะผู้เดินทางจากบ้านหนองผือไปที่อำเภอพรรณานิคม ออกเดินทางแต่เช้า จะต้องมาหยุดรับประทานอาหารกันที่นี่ แม้ข้าพเจ้าเอง ก็เคยมาฉันอาหารเช้าที่นี่หลายหน โดยนั่งฉันบนหินมีหลัง มีน้ำใส ร่มเย็นนั่งฉันสบาย แต่เมื่อเรามาถึงที่นี่แล้ว ก็จะไม่ทราบเลยว่าหมู่บ้านหนองผือมีลักษณะเป็นแอ่ง เหมือนก้นกระทะ เพราะพื้นที่เป็นที่ราบกว้าง เหมาะแก่การทำไร่ทำนา เมื่อเพาะปลูกอะไรลงไปแล้วเป็นงอกงามดีทั้งนั้น ซึ่งจะสังเกตได้ในวัด ปลูกต้นกล้วย มะม่วง มะละกอ ควินิน มะพร้าว ทุกอย่างงอกงามมีใบสดเขียวชอุ่มการทำนาดีมาก เหลืออยู่เหลือกิน มีแม่น้ำอยู่สายหนึ่งเป็นที่อาศัยทำมาหากินของชาวบ้านหนองผือนี้ คือแม่ถ้าคูน มีต้นไผ่ติดต่อกันไปตามลำคลอง การสร้างที่อยู่อาศัยของชาวบ้านเป็นแบบโบราณธรรมดา มุงหญ้า คนรวยก็มุงกระดาน อาหารหลักคือการรับประทานข้าวเหนียวล้วน ชาวบ้านเป็นคนภูไท มีหมู่บ้านประมาณ ๗๕ หลังคาเรือน อาชีพมีการทำไร่กันเป็นพื้น โดยเฉพาะไร่ฝ้าย พริก ยาสูบ ฝ้ายนำเอามาปั่นเองทอเป็นเสื้อผ้าจนเหลือใช้ อาหารก็เป็นอาหารธรรมชาติ ไม่ต้องพึ่งพาที่อื่น มีการเป็นอยู่ด้วยความสงบ สถานที่เป็นดงทึบ จึงเกิดมีไข้มาลาเรียชุกชุม ปีหนึ่ง ๆ ทำให้คนตายเพราะมาลาเรียไม่น้อย. (ประวัตินี้กล่าวตอนท่านอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ ยังมีชีวิตอยู่) ฯ
    วัดป่าตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ข้างทุ่งนา เดินลำบาก ชาวบ้านจึงได้ทำสะพานข้ามจากท้ายบ้านมาถึงวัด วัดนี้ท่านอาจารย์หลุยเป็นผู้มาเริ่มต้นก่อสร้างไว้ก่อนหน้าท่านอาจารย์มั่น ฯ มาอยู่ประมาณ ๑๐ ปี ที่ตั้งวัดเป็นเนินสูงกว่าบ้าน โดยมีทุ่งนาเป็นเขตกั้นระหว่างบ้านกับวัด ในสถานที่อันเป็นที่ตั้งของวัดและบ้าน บางครั้งก็ขุดค้นพบวัตถุโบราณ อันแสดงว่าเดิมเคยเป็นหมู่บ้านมาแต่โบราณกาล ที่ตั้งหมู่บ้านเป็นที่ราบมีต้นไม้ใหญ่ เพราะเป็นดงดิบมีเนื้อที่ประมาณ ๑๐ ไร่ ทางด้านตะวันออกเป็นดงไม้ดิบติดต่อกันไป การสร้างกุฏิก็สร้างเป็นหลังๆ อยู่เฉพาะองค์ๆ ตามธรรมเนียมของวัดป่า มีศาลาสวดมนต์ ศาลาหอฉัน สถานที่สุขา หลุมเทหยากเยื่อ บ่อน้ำใช้และฉันสะอาดดี ฯ
    เนื่องจากสถานที่นี้เป็นที่สงัด การภิกขาจารก็ไม่ไกลนัก ประชุมชนมีศรัทธาดีมาก ขณะนั้นท่านอาจารย์มั่นฯ ก็มีวัยชราภาพมากแล้ว อายุ ๗๕ ปี จึงพักอยู่ที่วัดนี้เป็นเวลาถึง ๕ ปี ฯ
    เมื่อเป็นเช่นนี้ พระภิกษุสามเณรผู้สนใจในการปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานก็ได้หลั่งไหลเข้ามาโดยไม่ขาดสาย เป็นเหตุให้เสนาสนะที่อยู่ในวันนี้มีไม่เพียงพอ จึงพากันออกไปอยู่ในที่ซึ่งไม่ไกลนัก อันเป็นที่พักพอที่จะเจริญสมณธรรมได้ และสำนักที่พอสมควร ที่ตั้งอยู่ใกล้วัดป่าหนองผือ ก็มี
    ๑ วัดนาไนย
    ๒. วัดโคกมะนาว
    ๓ ห้วยบุ่น
    ๔. บ้านอูนโคก
    ๕ บ้านผักอีเลิด
    ๖. บ้านคงบาก
    ที่ซึ่งท่านแยกย้ายกันไปอยู่ในที่ต่างๆ เหล่านี้ จะมารวมกันทำอุโบสถ ( ฟังปาฏิโมกข์) ที่วัดป่าหนองผือกันทั้งนั้น เพราะเมื่อถึงวันอุโบสถ ท่านอาจารย์มั่นฯ ก็จะได้ให้โอวาทหลังจากทำอุโบสถเสร็จแล้ว โดยการชี้แนวทางในทางธรรมข้อปฏิบัติอันเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินจิตทุกๆ คราวไป ฯ
    ส่วนท่านที่อยู่ใกล้พอสมควร ก็จะมาฟังธรรมได้สะดวกในเวลากลางคืน ซึ่งก็ได้มาแทบทุก ๆ คืน ได้ฟังธรรมปกิณกะมีนัยต่าง ๆ แล้วก็กลับไป นับว่าเป็นความอุตสาหะวิริยะอย่างยอดเยี่ยม ของท่านเหล่านี้ ฯ
    พระเถระภิกษุสามเณรทั้งหลายที่อยู่โดยรอบ ใกล้บ้างไกลบ้างเหล่านี้ คอยฟังข่าวอยู่เสมอว่า พระเถระผู้ใหญ่ที่อยู่ทางไกล และเป็นผู้มีจิตเป็นไปในธรรมอันละเอียด ซึ่งท่านเหล่านั้นจะได้รับการยกย่องจากพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺตเถระ เนื่องจากว่าพระเถระรูปใดเป็นผู้มีความสำคัญในทางปฏิบัติ และเป็นผู้มีความหนักแน่น มีสมรรถนะและความสามารถสูง มีการดำเนินทางจิตที่ถูกต้อง มีความเมตตาต่อหมู่คณะ ท่านจะต้องกล่าวถึงพระเถระรูปนั้น ๆ ในท่ามกลางสงฆ์ หรือกล่าวกับผู้ปฏิบัติใกล้ชิดอยู่เสมอว่า ท่านองค์นั้นองค์นี้ดีมาก หากใครต้องการจะปฏิบัติก็ให้ติดตามองค์นั้นไปเถิดจะเกิดผล อย่างนี้เป็นต้น ฯ
    ดังนั้นจึงไม่แปลกอะไร ที่พวกเราและพวกเถระรุ่นใหม่จะต้องทราบถึงความดีของพระเถระรุ่นเก่าๆ ว่าท่านเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งคุณธรรม ด้วยเหตุนี้ เมื่อพวกเราได้ข่าวว่า พระเถระองค์ที่มีความสำคัญมาแต่ไกล ท่านอาจารย์มั่น ๆ ก็จะแสดงธรรมอย่างวิจิตร หรือเรียกว่าธรรมกถากัณฑ์ใหญ่ เพราะเหตุที่พระเถระเหล่านั้นจะได้ไต่ถามอรรถปัญหา ท่านอาจารย์มั่นฯ ก็จะได้วิสัชนา และแสดงธรรมไปพร้อม ซึ่งกาลเช่นนี้หาฟังได้ยากนัก จึงทำให้พวกเราต้องตั้งใจคอย เพื่อให้มีให้เกิดมหาธรรมกถา จึงปรากฏว่าเมื่อถึงกาลเช่นนี้ จะปรากฏมีพระภิกษุสามเณร พระเถรานุเถระมากันมากเป็นพิเศษจนเต็มไปหมด ไม่ทราบว่า ออกมาจากป่า จากเขา จากถ้ำ จากที่ไหนๆ กันนัก
    ตอน พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ
    จำพรรษาเสนาสนะป่า บ้านหนองผือ
    เนื่องจากพระอาจารย์มั่น ฯ ได้จำพรรษาเป็นหลักแหล่งที่บ้านหนองผือนี้นานถึง ๕ พรรษา จึงทำให้ประชาชนทราบโดยทั่วกัน อนึ่งกิตติศัพท์ของท่านได้ปรากฏมานาน แม้ผู้เขียนมีอายุเพียง ๑๓ ปี ก็ได้ทราบข่าวแล้ว แต่ก่อนนั้น ท่านมิได้จำพรรษาซ้ำเป็นปีที่ ๒ เลยสักแห่งเดียว ถึงจะจำพรรษาอยู่ที่เดิมบ้าง ก็ต้องไปที่อื่นมาก่อน แล้วจึงหวนกลับมา โดยปกติท่านจะอยู่จำพรรษาในป่าดงพงไพรในภูเขาเถื่อนถ้ำเป็นส่วนมาก
    จึงเป็นเหตุให้ผู้ประสงค์จะปฏิบัติศึกษาด้วย ต้องเที่ยวตามแสวงหาท่าน แสนยากแสนลำบากและแสนจะกันดาร เฉพาะพระภิกษุสามเณรเท่านั้นที่สามารถจะติดตามศึกษาหาข้อปฏิบัติได้โดยใกล้ชิด ส่วนอุบาสกอุบาสิกานั้นยากนักที่ที่จะตามเห็น เว้นแต่จะได้ศึกษาข้ออรรถธรรมเป็นครั้งเป็นคราวในเวลาอยู่จำพรรษาเท่านั้น เหตุนั้นเมื่อท่านองค์ใดได้ติดตามศึกษาปฏิบัติอยู่กับท่าน ก็ได้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในอันที่จะได้สั่งสอนประชาชน ให้เข้าใจในธรรมปฏิบัติเป็นตัวอย่าง เป็นอาจารย์ เป็นผู้น่าเคารพเลื่อมใสอย่างยิ่ง แม้ผู้เขียนเองเคยได้ยินกิตติศัพท์มาตั้งแต่อายุ ๑๓ ปี จนถึงอายุ ๒๓ ปีจึงได้พบและปฏิบัติอยู่กับท่าน
    ครั้นประชาชนได้ทราบข่าวว่า พระอาจารย์มั่น.ภูริทตฺตเถระ ได้อยู่จำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองผือเป็นหลักแหล่งเช่นนี้แล้ว คณะพระภิกษุ-สามเณร-อุบาสก-อุบาสิกาทั้งหลาย.ที่เคยเป็นศิษย์ท่านมาแต่เดิมและพึ่งได้รับฟังกิตติศัพท์ใหม่ ๆ ก็มิได้รอรั้ง ต่างก็เข้ามาศึกษาหาข้อปฏิบัติ ฟังธรรมเทศนา บ้างก็พากันมาบำเพ็ญทาน ทั้งทางไกลและทางใกล้ ทั้งภาคใต้และภาคเหนือ ต่างก็ทยอยกันมาเข้านมัสการทุกๆ วันไม่ขาดสาย บรรดาท่านที่เข้ามานั้น ในปีหนึ่งๆ มีประมาณไม่น้อยเลย มากันแทบทุกวัน ทั้งๆ ที่ถนนหนทางก็ไม่สะดวก แสนที่จะกันดาร และอากาศก็ไม่ใช่เล่น ใครๆ ที่เข้ามาต้องระวังตัวมาก ถ้าพลาดพลั้งก็รักษาตัวกันไม่ไหว เพราะเคยปรากฏว่า ผู้ที่เข้ามานมัสการพักอยู่กับท่าน เกิดอาการแพ้อากาศ เจ็บป่วยล้มตายไปทั้งพระทั้งเณร และญาติโยมก็หลายคน
    ถึงแม้การณ์จะเป็นเช่นนั้นทุกๆ คนก็หามีความท้อถอยไม่ เพราะต้องการฟังธรรมอันวิจิตรของท่าน จึงยอมสละชีวิตเข้ามาหาท่านอย่างน่าอัศจรรย์ แม้ข้าพเจ้าเองจากท่านไปอยู่จันทบุรี ก็ได้เดินทางมาอยู่กับท่าน (เพียงแต่ในพรรษาเท่านั้น) ออกพรรษาก็รีบมา พอใกล้เข้าพรรษาก็กลับจันทบุรี เช่นนี้ทุกๆ ปีจนกระทั่งถึงวาระสุดท้าย
    การจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือนี้ ตลอดระยะเวลา ๕ พรรษา ท่านก็ได้พยายามชี้แจงธรรมต่างๆ แก่บรรดาศิษย์ทั้งหลายตลอดเวลา ท่านอาจารย์มั่น ฯ เป็นผู้มีกำลังวังชาดี เดินไปไหนมาไหนได้คล่องแคล่ว อนึ่งขณะที่ท่านอยู่ที่วัดป่านี้ ท่านได้แสดงธรรมอันเป็นส่วนข้อปฏิบัติมากที่สุด มิได้เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยเลย เมื่อผู้ใดเข้ามาหา ท่านก็แสดงธรรมให้ฟัง ไม่ว่าจะเป็นพระเล็กเณรน้อย.ตลอดถึงพระเถระผู้ใหญ่ บางครั้งเป็นวันวิสาขบูชา มาฆบูชา ท่านได้แสดงผู้เดียวจนถึงเที่ยงคืน การแสดงธรรมก็เป็นไปวิจิตรพิสดาร มีอรรถรสแห่งข้อปฏิบัติสำนวนไพเราะมาก ซึ่งบางแห่งบางข้อข้าพเจ้าเคยได้บันทึกไว้ในหนังสือ “มุตโตทัย” เป็นที่เข้าอกเข้าใจแก่บรรดาสานุศิษย์ บางองค์ถึงกับบ่นว่า “เราไปภาวนาตั้งเดือน สู้ฟังเทศน์ท่านอาจารย์ครั้งเดียวก็ไม่ได้” เช่นนี้ก็มีมาก
    อนึ่งท่านได้พยายามสั่งสอนสานุศิษย์ทั้งหลาย โดยทุกวิถีทาง ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อหวังให้ศิษย์ทั้งหลายได้เข้าใจในปฏิปทาข้อปฏิบัติ และท่านก็ได้เลือกเฟ้นเอาธรรมทั้งหลาย ตลอดทั้งแนะแนวทางให้แก่บรรดาศิษย์มากมายด้วยอุบายต่าง ๆ โดยมุ่งหมายที่จะพาให้ดำเนินสู่ทางอันบริสุทธิ์ ตรงต่อพุทธพจน์จริงๆ ในการที่ท่านอยู่ที่วัดบ้านหนองผือนี้ มีความประสงค์เพื่อให้บรรดาศิษย์เก่าและศิษย์ใหม่เข้ามาศึกษาเป็นการเปิดโอกาสแก่บรรดาพระภิกษุสามเณร และเพื่อให้เข้าใจในธรรมยิ่งๆ ขึ้น กับทั้งการแสดงธรรมนั้นยังความชื่นชมและแก้ความสงสัยให้ อย่างไม่มีข้อแย้ง ซึ่งคล้ายกับว่าท่านจะรู้ว่ากาลแห่งสังขารธรรมจักอยู่ไปไม่ได้นาน ใคร่จะสอนให้แก่บรรดาศิษย์เป็นผู้เข้าใจในธรรมอันควรที่จะพึงรู้พึงเข้าใจ สืบแทนท่านให้เป็นหลักฐานแก่คณะกัมมัฏฐานต่อไป
    กฎการปฏิบัติประจำ
    ข้อปฏิบัติ อันเป็นอาจินต์วัตรของท่านนั้น เป็นไปโดยสม่ำเสมอ ขณะนี้ท่านชราภาพมากแล้ว แม้ปฏิปทาจะเพลากว่าเดิมไปบ้างก็ยังปรากฏว่า เป็นที่น่าเคารพและเลื่อมใส ดังที่ผู้เขียนเคยอยู่และเคยเห็นมา จะเล่าสู่กันฟังโดยย่อ พอเป็นคติแก่อนุศิษย์ต่อไป
    ก่อนออกบิณฑบาตตอนเช้า ต้องขึ้นสู่ที่จงกรมก่อน และก่อนที่จะไปบิณฑบาต ขณะที่ท่านจงกรมอยู่ ศิษย์ทั้งหลายต่างพากันทำวัตรปฏิบัติต่าง ๆ มีการเก็บบาตร กวาดสถานที่ เทกระโถน เก็บอาสนะไปปูยังโรงฉัน และเตรียมคลี่สังฆาฏิไว้รอท่าน เพราะตามธรรมดาแล้วการซ้อนผ้าสังฆาฏิเข้าสู่โคจรคามนั้นไม่เคยขาดเลย เว้นแต่จะมีฝนตกใหญ่เท่านั้น เมื่อท่านเดินจงกรมจนถึงเวลาที่ออกเที่ยวบิณฑบาตแล้ว ก็ลงจากที่จงกรมไปสู่โรงฉัน ศิษย์ทั้งหลายก็ถวายผ้าสังฆาฏิช่วยครองกลัดลูกดุมรังดุมทั้งข้างล่างและข้างบนแล้วเข้าไปสู่บ้าน ผู้ถือบาตรไปก่อนโดยไปรออยู่ที่นอกอุปจาระบ้าน เมื่อท่านไปถึงก็รับเอาบาตร ศิษย์ก็ตามเข้าไปเป็นแถวตามลำดับอาวุโส มี ๑๐-๒๐-๓๐ ถึง ๕๐-๖๐ องค์.และเป็นแถวยาวเหยียด ตอนขากลับศิษย์ก็รับเอาบาตรล่วงหน้ามาจัดการแก้ถลกบาตรเตรียมรอไว้โดยเรียบร้อย (การบิณฑบาตใช้สะพายอุ้มบาตรไว้ข้างหน้า ซึ่งไม่ผิดอะไรกับการอุ้มบาตรซึ่งท่านอาจารย์ใหญ่ ได้นำมาใช้ปฏิบัติในคณะพระกัมมัฏฐานและคณะกัมมัฏฐานทั้งหมดจึงได้กระทำเหมือนท่าน ด้วยกันทั้งนั้น)
    ครั้นเมื่อท่านมาถึงวัดแล้วพวกศิษย์ ๆ ก็เตรียมรับผ้าสังฆาฏิเอาออกผึ่งแสงแดดพอสมควร แล้วก็เก็บไว้เป็นที่ การฉันก็รวมลงในบาตรกันทั้งนั้น ข้าพเจ้ายังไม่เคยเห็นท่านเอาอาหารไว้ภายนอกบาตรเลย เว้นแต่เมื่อคราวล้มป่วยครั้งสุดท้ายเท่านั้น แม้การไปบิณฑบาตท่านก็ไม่ยอมขาดได้ง่ายๆ เว้นเสียแต่ว่าไปไม่ได้จริงๆ ซึ่งตามธรรมดาเมื่อสุขภาพและกำลังของท่านยังคงอยู่. แต่หากท่านป่วยอาพาธแล้ว ท่านมักจะระงับด้วยการไม่ฉันจังหันและไม่ออกบิณฑบาต ประกอบความเพียรบางครั้งถึง ๓ วัน ก็มี พอโรคระงับแล้วจึงค่อยฉันต่อไป
    ท่านเคยพูดว่า
    การเที่ยวบิณฑบาตโปรดสัตว์นั้น แม้แต่องค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังเสด็จไป และพระอริยเจ้าผู้สาวกก็ไปบิณฑบาต เราผู้สาวกภายหลังจะไม่ไปบิณฑบาต ก็เท่ากับว่าดีกว่าพระพุทธเจ้าผู้บรมศาสดา ซึ่งก็เท่ากับว่าดีเกินครูไปเท่านั้น หมายความว่า นอกครู
    เมื่อคราวท่านอาพาธครั้งสุดท้ายนั้น เมื่อเข้าบิณฑบาตตลอดบ้านไม่ได้ ก็ไปเยี่ยมครึ่งบ้าน เมื่อเข้าไปบ้านไม่ไหวท่านก็ไปสุดเขตวัด และเมื่อไปสุดเขตวัดไม่ไหวก็ไปแค่ศาลาโรงฉัน เมื่อไปบิณฑบาตถึงศาลาไม่ไหวจริง ๆ จึงงดบิณฑบาต จนถึงวาระสุดท้าย อันเป็นการแสดงถึงความเอาใจใส่อย่างยิ่งในข้อวัตรปฏิบัติของท่านในการออกบิณฑบาตเป็นวัตร
    อนึ่ง การฉันนั้น รวมฉันแห่งเดียวกันหมด เมื่อจัดอาหารใส่บาตรกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว (การจัดอาหารนั้น มีพระผู้แจก คือตักแจกไปตามลำดับจนกว่าจะหมดและเพียงพอ พระที่แจกมี ๒-๓ องค์ เป็นภัตตุเทสก์ที่สงฆ์ตั้งไว้) ท่านก็นำพิจารณาเป็นปัจจเวกขณะ บางครั้งก็เตือนเมื่อมีเสียง บางครั้งก็พิจารณาด้วย
    บทสรุป
    ท่านอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ หลังจากท่านได้มอบงานใหญ่ให้ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม แล้ว ท่านก็ได้เดินธุดงค์วิเวกไปทางภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ท่านได้เที่ยววิเวกหาความสงบ พิจารณาถึงพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนได้รับผลเป็นที่พึงพอใจ ตลอดระยะเวลา ๑๒ ปี ในที่สุดท่านก็ได้เดินทางกลับมาทางจังหวัดภาคอีสาน เพื่อจะได้พบปะลูกศิษย์ลูกหาเก่าแก่ ซึ่งท่านได้อบรมไว้ก่อนแล้วนั้น
    ท่านได้พักอยู่จังหวัดอุดร และจังหวัดสกลนคร เมื่อบรรดาศิษย์ทั้งหลายของท่านได้ทราบข่าวถึงการกลับมาอยู่จังหวัดสกลนคร โดยเฉพาะบ้านหนองผือ อำเภอพรรณานิคม ซึ่งท่านอยู่นานกว่าทุกแห่งแล้ว เป็นโอกาสให้บรรดาคณาจารย์ผู้เป็นศิษย์ได้เข้ามาพบและอยู่กับท่าน ซึ่งก็เป็นความประสงค์ของท่านอาจารย์มั่นฯ อยู่แล้ว เพราะท่านต้องการที่จะแถลงนโยบาย หรือความละเอียดที่ท่านได้ค้นคว้าและศึกษามาตลอดระยะเวลา ๑๒ ปีที่เชียงใหม่ ซึ่งเป็นผลดีอย่างยิ่งแก่บรรดาคณาจารย์ที่จะได้มารับนโยบายอันถูกต้องในคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ท่านได้เลือกเฟ้นและแนะนำให้ฟัง
    เมื่อท่านอาจารย์มั่นฯ ได้พักอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือตลอดระยะเวลา ๕ ปี ก็มีประโยชน์ที่ได้วางแผนงานขั้นสุดท้ายให้แก่คณาศิษย์พระคณาจารย์ของท่าน ซึ่งท่านเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญในการเป็นทายาทของท่านอย่างยิ่ง
    ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของชีวิต ซึ่งท่านก็ได้พยากรณ์ชีวิตของท่านให้แก่ศิษย์ฟังแทบทุกองค์แล้ว ท่านพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า ล่วงเลยมาเป็นเวลานานถึง ๑๐ ปี ในปีนี้นับแต่วันเข้าพรรษาผ่านไป ท่านก็เริ่มไม่สบาย อาการก็รู้สึกจะหนักขึ้นทุกวันๆ เมื่อเดือนที่ ๑ ผ่านไปอาการของท่านไม่มีเบาขึ้นเลย ถึงกับพระอาจารย์ผู้เป็นศิษย์อยู่แถวใกล้ ได้มาพยาบาลท่านกันเป็นจำนวนมาก อาการของท่านก็มีแต่ทรงกับทรุดเท่านั้น
    ต่อมาอาพาธของท่านก็พอจะค่อยยังชั่วขึ้นหน่อย ท่านไม่ฉันยา แม้ว่าลูกศิษย์จะถวายเท่าไรๆ ท่านก็ไม่ฉัน ท่านบอกแก่ทุกคนว่า
    “ต้นไม้ที่มันตายยืนต้นอยู่แล้ว จะเอาน้ำไปรดเท่าไรจะให้มันเกิดใบอีกไม่ได้หรอก อายุของเรามันก็ถึงแล้ว”
    ครั้นเมื่อใกล้จะออกพรรษา เหลืออีกประมาณ ๑๐ วัน ท่านก็ได้บอกพระที่อยู่ใกล้ชิดว่า
    “ชีวิตของเราใกล้จะสิ้นแล้ว ให้รีบส่งข่าวไปบอกแก่คณาจารย์ที่เป็นศิษย์เราทั้งใกล้และไกล ให้รีบมาประชุมกันที่บ้านหนองผือนี้ เพื่อจะได้มาฟังธรรมะเป็นครั้งสุดท้าย”
    บรรดาพระที่อยู่ใกล้ชิดก็ได้จดหมายบ้าง โทรเลขบ้างไปยังที่อยู่ของพระคณาจารย์เหล่านั้น บรรดาคณาจารย์ทั้งหลายเมื่อได้รับจดหมายบ้าง โทรเลขบ้างแล้ว ต่างก็ได้บอกข่าวแก่กันต่อ ๆ ไปจนทั่ว เมื่อการปวารณาออกพรรษาแล้วต่างองค์ก็รีบเดินทางมุ่งหน้ามาหาอาจารย์มั่นฯ ยังบ้านหนองผือ อันเป็นจุดหมายเดียวกัน
    ท่านอาจารย์เทสก์ กับ ท่านอาจารย์วิริยังค์ (พระญาณวิริยาจารย์) ก็ได้มาจากจันทบุรี ร่วมในครั้งนี้ด้วย วันนั้นเป็นวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ พ.ศ ๒๔๙๒ ท่านอาจารย์มั่น ฯ ลุกขึ้นเดินไปไหนไม่ได้เป็นวันแรก บรรดาพระอาจารย์ได้เข้าไปประชุมกัน แล้ว ท่านได้ลุกนั่งแสดงธรรมะให้แก่ศิษย์ทั้งหลายฟังอยู่ประมาณ ๑ ชั่วโมงเป็นเนื้อความว่า
    “การปฏิบัติจิตถือเป็นเรื่องสำคัญ การทำจิตให้สงบถือเป็นกำลัง การพิจารณาอริยสัจถือเป็นการถูกต้อง การปฏิบัติข้อวัตรมีการฉันหนเดียวเป็นต้น เป็นทางพระอริยะ ผู้เดินผิดทางย่อมไม่ถึงที่หมาย คือพระนิพพาน”
    ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านพักอยู่บ้านหนองผือเป็นเวลา ๕ ปีนั้น นับว่าเป็นลาภของชาวหนองผือยิ่งนัก ทุกๆ ปีจะมีคนมานิมนต์ให้ท่านไปทางโน้นทางนี้บ้างแต่ท่านก็ไม่ไป ทั้งทำให้เห็นหน้าแขกต่างบ้านมากมาย ทั้งพระและฆราวาสคล้ายกับว่าบ้านหนองผือเป็นบ้านสำคัญแห่งหนึ่ง ทำให้มีชื่อเสียงปรากฏทั่วประเทศไทย และชาวบ้านก็ศรัทธาในตัวท่านอาจารย์ใหญ่กันทั่วทุกคน
    มาในขั้นสุดท้ายชีวิตของท่านอาจารย์มั่นฯ ชาวบ้านเขาก็มีความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะแทนคุณท่านอาจารย์ครั้งสุดท้าย คือขอให้ท่านมรณะที่บ้านหนองผือนี้ ท่านได้บอกกับชาวบ้านและพระภิกษุสามเณรทั้งหลายว่า
    “เราจะไม่มรณภาพที่นี่ เพราะถ้าเราตายที่นี่แล้ว คนทั้งหลายก็จะพากันมามาก จะพากันฆ่าเป็ด ฆ่าไก่ ฆ่าสัตว์ทั้งหลาย เนื่องด้วยศพของเรา จะทำให้ชาวบ้านเป็นบาป สมควรที่จะจัดให้เราไปมรณภาพในจังหวัดสกลนครเถิด”
    พระคณาจารย์ผู้เป็นศิษย์ทั้งหลาย เมื่อได้ทราบความประสงค์ของท่านแล้ว ก็พากันประชุมกันในค่ำคืนวันขึ้น ๙ ค่ำเดือน ๑๒ นั้นเอง ตกลงจะนำท่านไปวัดสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร
    เมื่อชาวบ้านได้ทราบข่าวว่า ท่านอาจารย์ที่เคารพยิ่งของพวกเขาจะไปในตอนเช้าของพรุ่งนี้แล้ว ถึงทำให้เกิดโกลาหลอลหม่านเป็นราวกับว่าแผ่นดินจะทรุดฉะนั้น ไม่ทราบว่าจะคิดอ่านประการใด เพราะเหตุผลให้เป็นเช่นนั้นเสียแล้ว ต่างก็หารือในอันที่จะยับยั้งท่านไว้ บางคนก็มากราบเรียนยับยั้ง แต่ก็ไม่ได้ผล ในคืนวันนั้น ก็มิได้เป็นอันหลับนอนกันทั้งหมู่บ้าน เข้ามาวัดฟังเหตุการณ์ จนถึงรุ่งสางของวันใหม่ เมื่อทราบแน่ชัดแล้วว่าท่านจะไป ทุกคนต่างก็แสดงสีหน้าสลดผิดปกติ เพราะในใจของเขาไม่ต้องการให้ท่านจากไป จึงทำให้เขาทั้งหลายเสียใจเป็นที่ยิ่ง ไม่มีอะไรเปรียบ
    ชาวบ้านหนองผืออัดอั้นตันใจ จะพูดว่าอย่างไร ก็หมดหนทางแล้ว สุดท้ายก็คือประชุมกันเพื่อไปส่งท่าน ภิกษุสามเณรในเช้าวันนั้นต่างก็รีบฉันกันแต่เช้า ครั้นเมื่อถึงกำหนดเวลา ซึ่งเป็นวันจากบ้านหนองผือของท่านอาจารย์มั่น ฯ ชาวบ้านทั้งแก่เฒ่าและหนุ่มสาว หลามไหลเข้ามาวัดกันอย่างคับคั่ง ทุกคนในมือถือดอกไม้และธูปเทียน นำเข้าถวายท่านอาจารย์มั่นฯ แล้วก็กล่าวขอขมาลาโทษ พร้อมทั้งสะอึกสะอื้นน้ำตาร่วงไหลทุกคน ส่วนพระเถรานุเถระได้มาประชุมกันที่หน้ากุฏิใหญ่ของท่านอาจารย์มั่นฯ จัดแคร่สำหรับหามที่มุงด้วยผ้าขาวมาวางไว้ข้างบันได เมื่อทุกอย่างเสร็จแล้วก็เข้าไปกราบเรียนท่าน ท่านอาจารย์มั่นฯ ก็เตรียมตัวลุกขึ้นเองอย่างน่าอัศจรรย์ ทั้ง ๆ ที่ท่านลุกไม่ได้มาตั้ง ๙ วันแล้ว ท่านเรียกเอาไม้เท้าเท้ายันเดินไป และก็เป็นการเดินครั้งสุดท้ายในชีวิตของท่าน
    ท่านได้เดินเข้าไปที่แคร่หาม ผู้มีกำลังก็เข้าประจำที่จะหามท่านอาจารย์ใหญ่ออกจากบ้านหนองผือ ในวันนี้อันตรงกับวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๒ เวลา ๙.๐๐ น. อันเป็นวาระสุดท้ายในชีวิตของท่านที่ได้ใช้ชีวิตอยู่กับชาวบ้านที่บ้านหนองผือ สายตาท่านได้สอดส่ายไปดูญาติโยมจนถ้วนทั่ว แต่ท่านก็ไม่ได้พูดอะไร
    ครั้นแล้วขบวนก็ได้เคลื่อนออกจากวัดป่าบ้านหนองผือ บรรดาพระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา ก็ออกติดตามเป็นทิวแถว เมื่อขบวนผ่านใจกลางบ้าน ชาวบ้านทั้งเด็กและผู้ใหญ่ก็พากันชะเง้อคอมองดู บ้างก็เตรียมตัวออกมาส่ง บ้างก็แสดงความเศร้าโศก ทั้งออกหน้าและตามหลัง เป็นราวกับว่าของที่เคารพบูชาจะพลัดพรากจากไป ทั้งๆ ที่แลเห็นแต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะทุกครั้งเมื่อท่านกับพระภิกษุ สามเณรทั้งหลายแวดล้อมติดตามไปเป็นแถวนั้น คือการไปบิณฑบาต แล้วก็กลับมายังที่วัดป่านี้ ก็มีจิตคิดว่ายังเห็น ยังอุ่นใจ พากันติดตามมาส่งอาหารกัน ก็มาบัดนี้ท่านได้ผ่านไปพร้อมกับทั้งพระภิกษุสามเณร เป็นการไปไม่กลับเสียแล้ว ต่างก็พากันออกติดตามคล้ายๆ กับจะพาท่านให้กลับคืนมาให้ได้เสียดังนี้ แต่จะทำไฉนเล่า เป็นการเหลือวิสัยเสียแล้ว จึงเท่ากับติดตามไปส่งเพื่อไว้อาลัย ที่ท่านได้มาสั่งสอนในธรรมะปฏิบัติต่าง ๆ จนพากันเลื่อมใสยิ่งในพระพุทธศาสนา เป็นระยะเวลาถึง ๕ ปีทีเดียว
    ในวันนี้ชาวบ้านหนองผือเกิดโกลาหลอลหม่าน เป็นการใหญ่ ซึ่งราวกับว่าแผ่นหินจะทรุดฉะนั้น. ผู้คนออกติดตามส่งประมาณ ๒๐๐ คนเศษ เมื่อขบวนผ่านพ้นจากบ้านหนองผือ ก็เป็นที่น่าชวนให้คิดดังนี้ว่า
    “โอ ! ชาวบ้านหนองผือ คราวนี้ช่างกระไร จักพากันได้รับความเศร้าโศก.อัดอั้นตันใจคับแค้นแน่นใจอย่างที่ไม่เคยพบเคยเห็นมาแต่กาลไรๆ ทั้งๆ ที่ความโศกแม้จะปรากฏขึ้นซ้ำ อันความว้าเหว่ก็เข้ามาแทนที่ โอ้ความอ้างว้างเปล่าเปลี่ยวทั้งทางวัดและทางบ้านให้เงียบเชียบยังกับไม่มีคน โอ๋ ! บ้านหนองผือจะต้องเงียบเชียบทั้ง ๆ ที่มีคนเต็มบ้านหลานเต็มเมือง แต่ก็ควรคิดไปในทำนองคลองธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า “สพฺเพหิ เมปิ เยหิ มนา เปหิ นา นาภาโว วินาภาโว” แปลว่า “เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของเจริญใจทั้งสิ้นไป”
    ขบวนได้ถึงบ้านห้วยบุ่น ท่านอาจารย์หลุยกับท่านอาจารย์เนตรกำลังออกวิเวกอยู่ พึ่งรู้ออกมารับและติดตามไปด้วย ท่านอาจารย์วิริยังค์จึงได้ถามว่า
    “เอ้า ! ทำไมไม่รู้เรื่องหรือยังไง” ท่านอาจารย์หลุยจึงได้ตอบทันทีว่า
    “แหม ! ภาวนาอยู่ในถ้ำกำลังดี ได้ยินเสียงอึกทึกครึกโครมก็เลยออกมาดู เจอพอดี แหม ! เกือบเสียคน”
    คราวนี้พวกออกหน้าก็คอยถางทาง อันมีเรียวไม้ต้นไม้ระเกะระกะอยู่ ทางพวกหามก็ผลัดกันออก ผลัดกันเข้า เคลื่อนขบวนกันไปเรื่อยๆ โดยอาการช้าๆ ตามราวป่าแถวนั้นมีบ้านชาวเขาอยู่ประปรายห่างๆ กัน พอทราบข่าวการจากไปของท่านอาจารย์มั่นฯ ก็พากันออกจากป่ามาเข้าขบวน เลยกลายเป็นขบวนใหญ่ ขบวนนี้ก็ขึ้นดงลงห้วย ลำธารเลาะลัดไปตามป่าไม้น้อยใหญ่ เลียบไปตามชายภูเขาประกอบกับเนินสูงๆ ต่ำ ๆ ทั้งขึ้นโคกออกทุ่งเป็นแห่งๆ ไป มีทั้งต้นไม้เดียรดาษ อันมีต้นพฤกษาชาติต่างๆ หลายอย่างหลายประการ มีทั้งสมอ มะขามป้อมซึ่งกำลังผลิดอกออกผล ยังกับจะชวนท่านภิกษุสามเณรให้แวะนั่งพักฉันเพื่อเป็นยาปนมัตต์ ขบวนได้หยุดลง ณ ที่นี่พอดี
    ผู้คนไปส่งก็พากันกลับ.เหลือแต่ผู้หามเคลื่อนขบวนกันไปเรื่อย ๆ บ่ายโมงถึงบ้านโคกกระโหร่ง ได้หยุดพักถวายยาชูกำลังและบำบัดโรคตามสมควรเท่าที่จะหาได้ เพื่อประทังไป ขบวนหามก็เริ่มหามต่อไป ในไม่ช้าข่าวนี้ก็ได้แพร่สะพัดไปโดยรวดเร็ว ถึงชาวบ้านโคกสาวขวัญ บ้านกุดก้อม บ้านบง.บ้านม่วงไข่พรรณา อำเภอพรรณนา ว่าท่านอาจารย์มั่นฯ กำลังมา ประชาชนต่างก็พากันหลามไหลออกมาดักขบวน เข้าช่วยหาม เวลาบ่าย ๕ โมงเย็น ก็ถึงบ้านโคกสาวขวัญ ถึงบ้านบง และพระได้เรียนท่านว่าบัดนี้ถึงกุดก้อมแล้ว ท่านบอกว่าให้นำท่านไปวัดป่าบ้านนาภู่ แต่ชาวบ้านม่วงไข่ก็จะเอาไปม่วงไข่ ตอนนี้อยู่ระหว่างกึ่งกลางทางจะไปม่วงไข่และดงนาภู่
    ชาวบ้านได้เถียงกันเป็นการใหญ่ ต่างคนก็ต่างจะเอาไป ท่านอาจารย์มั่นฯ บอกว่า
    “ให้ไปบ้านนาภู่ดีกว่า” ขบวนจึงตกลงไปวัดป่าบ้านนาภู่ ท่านอาจารย์มั่นฯ จึงบอกแก่พวกขบวนว่า
    “เราต้องการไปโปรดนายอ่อนและนางสัม”.
    ขบวนหามก็ข้ามทุ่งนา ซึ่งข้าวกำลังออกรวงเหลืองอร่ามข้ามท้องทุ่ง เจ้าของนาก็ออกมารับ และปวารณาบอกว่าให้ย่ำข้าวไปเลย จะเสียหายสักเท่าใดไม่ว่า
    “ท่านอาจารย์ผ่านนาโชคดีแท้ ๆ ” เจ้าของนาว่า.
    ในที่สุดขบวนก็มาถึงวัดป่าดงนาภู่ เป็นเวลา ๒๑.๐๐ น พอดี จึงได้นำท่านอาจารย์ขึ้นสู่ศาลา ครั้งนั้นแหละข่าวอันนี้ก็ได้แพร่สะพัดไปโดยรวดเร็วทั้งทางไกลและทางใกล้ว่า “ ท่านอาจารย์มั่นฯ เวลานี้พักอยู่วัดป่าดงนาภู่” พระภิกษุ สามเณร อุบาสกอุบาสิกา ต่างหลั่งไหลกันเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย เพื่อทัศนานุตะริยะครั้งสุดท้าย และบำเพ็ญกุศล
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายอ่อนและนางสัม โมราราช สองสามีภรรยาได้มีความปลาบปลื้มปีติเหลือล้น เพราะได้คิดว่าวัดนี้เป็นวัดของตน ท่านอาจารย์มั่นฯ ก็ได้มาพักสมดังเจตนาเดิมด้วย ทั้งกลางวันกลางคืนได้เฝ้าท่านอยู่ตลอดเวลาไม่ยอมห่าง
    วันนี้ตรงกับวันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ขณะที่นางสัมมายืนมองท่านทางหน้าต่างศาลา ท่านทักขึ้นมาว่า
    “นี่หรือนางสัมภริยานายอ่อน”
    นางจึงตอบว่า “ค่ะ”
    ท่านจึงถามต่อว่า “สบายดีหรือ ?”
    “สบายดีค่ะ ท่านจึงพูดกับนางสัมต่อไปอีกว่า
    “เราเต็มทีแล้ว โรคเกิดขึ้นคราวนี้หนักมากนะ” เป็นคำพูดที่ท่านพูดโต้ตอบมากกว่าใครๆ ทั้งสิ้น ทำให้นางสัมมีความยินดีปรีดาอย่างยิ่ง และก็สลดใจ ฝ่ายท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโร) ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ท่านเจ้าคุณอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) เพิ่งจะมาถึง ก็ทยอยกันเข้ามาเป็นลำดับ
    ท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้พักอยู่ที่บ้านดงนาภู่ เป็นเวลา ๙ วัน จวบกระทั่งวันแรม ๕ ค่ำ นางนุ่ม ชุวานนท์ ผู้อุปฐากมาดั้งเดิมตั้งแต่สมัยท่านอาจารย์เสาร์ ได้เข้าไปนมัสการท่าน ๆ พูดกับนางนุ่มว่า
    “เราเต็มทีแล้ว อาการหนักเหมือนบุรุษมีกำลังหลายคน จับคนไม่มีกำลังคนเดียว”
    เมื่อนางนุ่มได้ฟังแล้วก็รู้สักตื้นตันใจจนไม่ทราบจะกล่าวประการใดก็ลากลับ
    ในระยะที่อยู่บ้านนาภู่นี้ ไม่ทราบว่าคนได้หลั่งไหลกันมาอย่างไร ทั้งไปกลับ ทั้งนอนค้าง แน่นขนัดไปหมดทั่วบริเวณ การเข้านมัสการท่านอาจารย์มั่น ฯ นั้น เข้ากันจนไม่ขาดระยะ (ศาลาหลังนี้สูงจากพื้นดินประมาณ ๑ เมตร) อาจารย์วิริยังค์ผู้ที่ได้อุปฐากมาตั้งแต่หนองผือจนกระทั่งขณะนี้ เห็นว่าจะเป็นการรบกวนท่านมากเกินไป เลยห้ามไม่ให้คนเข้ามาภายในศาลา ให้นมัสการข้างนอกแล้วปิดประตูไว้
    เมื่อท่านได้ยินเข้ากลับบอกให้เขาเปิดประตู ให้เข้ามาตามความพอใจ ทีนี้ละ ผู้คนต่างพากันเข้ามาทางประตู เกิดแน่นขนัดจนถึงประตูผู้ที่เข้าไม่ได้ก็ยืนมองอยู่ข้างนอกประตู เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงต้องเปิดหน้าต่างอีกข้างหนึ่งใกล้ ๆ ท่าน คนก็ไหลเข้ามาทางนี้ พอค่อยยังชั่ว
    ตอนที่ท่านพักอยู่ที่บ้านนาภู่นั้น ท่านได้พูดกับศิษย์ที่ใกล้ชิดว่า
    “นำเราไปวัดสุทธาวาสเถอะ เหมาะดี”
    ดังนี้ตั้งหลายครั้ง ส่วนนายอ่อนนางสัมไม่ยอมเด็ดขาด อ้อนวอนท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ และท่านอาจารย์เทสก์ ให้ทัดทานไม่ให้ท่านไป แต่ก็ไม่เป็นผล ท่านยังคงยืนยันคำเดิม และในวันนั้นคือวันพฤหัสบดี วันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ซึ่งตรงกับวันเกิดของท่านพอดี ท่านบอกว่า
    “ต้องไปวันนี้ เพราะเป็นวันสุดท้ายแล้ว”
    ชาวสกลนคร มีนางนุ่มเป็นต้น ได้จัดการนำรถมา เพื่อจะนำท่านไปยังวัดสุทธาวาส จอดรถคอยตั้งแต่เช้าตรู่ของวันแรม ๕ ค่ำนั้นแล้ว แต่ด้วยเหตุที่นายอ่อนนางสัมทัดทานอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้การเดินทางต้องล่าช้า เพราะว่าคณาจารย์ที่เป็นศิษย์ของท่านต่างรู้แล้วว่า ท่านจะสิ้นใจไปเสียวันนี้เป็นแน่ จึงได้เตรียมการกันเสียเอิกเกริก เพื่อให้พอเพียงต่อความสะดวกต่าง ๆ
    ประชาชนและคฤหัสถ์ต่างเนืองแน่นอยู่เต็มบริเวณวัด ในที่สุดพระก็ได้อุ้มท่านเข้าสู่แคร่คานหามอีกคำรบหนึ่งเมื่อเวลา ๑๐.๒๐ น. ก่อนที่จะขึ้นแคร่ ท่านได้พูดกับพระคณาจารย์ที่ยืนออกันอยู่ ณ ที่นั่นว่า “เราจะเข้าฌานสงบ” แล้วท่านก็ไม่ได้พูดอะไรกับใครต่ออีกเลย มีผู้คนติดตามไปส่งท่านที่รถเป็นขบวนยาวเหยียดเพื่อไปขึ้นรถยนต์ที่ถนนใหญ่ ซึ่งมีท่านอาจารย์เทสก์ ท่านอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร และท่านอาจารย์วัน อุตฺตโม ท่านอาจารย์สิงห์ ท่านอาจารย์กงมา เจ้าคุณธรรมเจดีย์ สามเณรอำพนธิ์ ผู้ซึ่งเป็นเหลนของท่านเป็นผู้พยุงท่านไปกับรถ
    ขณะนั้นเอง นายอ่อนนางสัม อุบาสกอุบาสิกาในแถบพรรณานิคม ที่มาประชุมกันอยู่นั้นถึงกับตกตะลึง นางสัมถึงกับล้มเป็นลมพับลงไป ต้องช่วยกันเยียวยาจึงฟื้น เพราะการไปของท่านอาจารย์มั่น ฯ คราวนี้ด่วนมาก ตกลงเพียงชั่วโมงเดียว จึงทำให้ไม่ทันคิดหลังยับยั้งจิตไม่ทัน อันเป็นเหตุให้เกิดโทมนัสเหลือกำลังถึงกับร้องห่มร้องไห้กันเสียงระงม
    รถฟาร์โก้ขนาดเล็กพาท่านอาจารย์มั่นฯ และคณะแล่นไปตามถนนหลวง ส่วนญาติโยมต่างนั่งร้องไห้กันอยู่เต็มลานวัดทางเบื้องหลังอยู่ระงมไปหมด ซึ่งวันนั้นฝนตกพรำ ๆ ท้องฟ้ามืดครึ้มไปหมด อันทำให้ศิษย์ทุกคนได้คิดถึงคำพยากรณ์ของท่านว่า วันที่ท่านจะสิ้นลมปราณนั้นฝนจะต้องตกพรำ ๆ และก็สมจริง
    ๑๔.๓๐ น. รถฟาร์โก้เล็กคันนั้นก็นำท่านอาจารย์ไปจอดสงบนิ่งอยู่ในลานวัดสุทธาวาส ครั้นถึงแล้วก็ได้จัดแจงเข้าพักในกุฏิเป็นที่เรียบร้อย แล้วท่านก็นอนในสภาพปกติ ชาวจังหวัดสกลนครเมื่อได้ยินข่าวต่างพากันดีใจที่ท่านอาจารย์มั่นฯ เดินทางมาถึง ต่างก็หลามไหลเข้ามากราบไหว้กันเป็นทิวแถว ทั้งพ่อค้าข้าราชการประชาชนเป็นจำนวนมาก.
    เมื่อดึกควรแก่เวลาแล้ว ชาวบ้านที่มานมัสการก็พากันทยอยกลับ ส่วนพระคณาจารย์ที่เป็นศิษยานุศิษย์ทั้งหลายก็ได้นั่งประชุมกันอยู่ตลอดเวลา อาการของท่านก็ปกติอยู่จนกระทั่ง ๒๔.๐๐ น. ครั้นเมื่อถึง ๐๑.๐๐ น. ตรง อาการของท่านผิดปกติขึ้นทันที อาจารย์วัน อุตฺตโม ผู้ปฏิบัติใกล้ชิด ก็ได้รีบไปแจ้งแก่พระคณาจารย์ทุกองค์แล้วก็พร้อมกันอยู่ในห้องเพื่อคอยดูอาการ
    ครั้นถึงเวลา ๐๒.๒๓ น ชีพจรทั้งหลายก็อ่อนลงหดเข้า ๆ ที ถอนขึ้นทุกระยะ จนเหลืออยู่แต่ที่หัวใจ ภายในไม่ช้าก็สิ้นลมหายใจด้วยอาการปกติทุกประการ
    ต่อจากนั้นอาจารย์ทั้งหลายก็ผลัดกันเข้าไปกราบศพเป็นลำดับ.จนถึงวาระของพระอาจารย์วิริยังค์ท่านได้กราบลงหมอบข้างศีรษะของท่าน จิตก็คิดว่า
    “ท่านอาจารย์หนอมาละพวกกระผมไปเสียแล้ว โดยสภาพแห่งความเป็นจริงของสังขาร อันโทษกรรมใดๆ ทั้งที่เป็นทางกายด้วย ทางวาจาด้วย ทางใจด้วย ซึ่งกระผมไม่มีต่อท่านอาจารย์แล้ว.ขอจงอโหสิกรรมแก่กระผมด้วยเถิด”
    ชีวิตและความดีเด่นอันหายากนักที่จักทำได้ ดังท่านอาจารย์มั่นฯ ก็ต้องจบลงแต่เพียงแค่นี้ จะยังคงเหลืออยู่แต่ลูกศิษย์ลูกหาผู้ออกเผยแพร่ธรรมและสร้างเสนาสนะไว้เป็นอนุสรณ์เพื่อสอนลูกหลานต่อกันมาตราบเท่าทุกวันนี้

    ปล. ข้าพเจ้าได้เรียบเรียงประวัติของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ จบสมบูรณ์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๑๒ เวลา ๒๔.๒๖ น.
    ต้นฉบับนั้นข้าพเจ้าได้บันทึกไว้เมื่อครั้งข้าพเจ้าอยู่กับท่านเป็นเวลา ๔ ปี ตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๘๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๘
    ตอนถวายการประชุมเพลิง
    หลังจากการมรณภาพของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ ขณะพระเถระผู้ใหญ่ที่ได้มาประชุมกันอยู่แล้ว ก็ได้กำหนดการประชุมเพลิงเพื่อเป็นการถวายการกตัญญูกตเวทีของบรรดาศิษยานุศิษย์เป็นครั้งสุดท้าย
    ทั่วสารทิศอีกเช่นกัน บรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ได้หลั่งไหลกันเข้ามานมัสการศพของพระอาจารย์มั่นฯ และได้ถือโอกาสนั้น บำเพ็ญกุศลฟังพระธรรมเทศนา จากพระอาจารย์ทั้งหลาย ที่นับเนื่องเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น นับวันก็ยิ่งมากขึ้นตามลำดับ เพราะทั่วทุกสารทิศ ข่าวการมรณภาพของพระอาจารย์มั่นได้แพร่ไปอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุดังกล่าว ทั้งภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกาจึงเนืองแน่นในวัดสุทธาวาสเหมือนมีงานเทศกาลก็ไม่ปาน ผู้เขียนได้เห็นภาพต่าง ๆ เหล่านี้ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้ยังไม่เคยเห็นที่ใดเลย เพราะบรรดาทุกคนที่มากันนี้ ได้นำความเดือดร้อนลงมาให้เจ้าภาพเลย เนื่องทุกหนแห่งประชาชนที่มา ต่างก็นำเสบียงมาพร้อม ๆ กับของที่จะทำบุญเกี่ยวกับงานศพด้วย มิหนำก็ยังมาช่วยถวายอาหารบิณฑบาตแก่พระภิกษุสามเณรที่มาในงานจำนวนกว่าพันรูปอีกด้วย
    ทางฝ่ายพระภิกษุสามเณรที่มาในงานศพพระอาจารย์มั่นฯ ครั้งนี้ก็ไม่ได้ทำความลำบากหนักใจให้แก่ทางเจ้าภาพเลย เพราะเมื่อทุกท่านมาถึง ท่านก็ช่วยตัวเองกันทั้งนั้น โดยไปหาที่อยู่เอาเองตามอัธยาศัยใต้โคนต้นไม้ เรื่องหมอนมุ้งก็ไม่ต้องจัดให้ท่านพักกับโคนต้นไม้ ใช้ผ้าอาบน้ำเป็นเสื่อ ใช้ตีนบาตรเป็นหมอน ทุกอย่างก็ไม่ต้องกวนเจ้าภาพ ที่ใส่น้ำทุกองค์ก็มีกันมาเอง
    ซึ่งต่อมาคณะกรรมฐานหมายถึงคณะวัดป่าได้ถือเอาธรรมเนียมนี้ ใช้ต่องานประชุมเพลิงศพหรืองานอื่นๆ โดยต่างคนต่างเตรียมเสบียงมาพร้อม ไม่ให้เป็นที่หนักใจแก่เจ้าภาพ บรรยากาศก่อนการประชุมเพลิงตลอดระยะเวลา ๓ เดือนนั้น เป็นบรรยากาศล้วนธรรมะ ที่ประกาศแว่วเสียงลงสู่โสตประสาทแก่ผู้ที่มาร่วมงาน ซึ่งเป็นผลประโยชน์อันมหาศาล ทำให้เกิดความเลื่อมใสใฝ่ในธรรมอย่างยิ่ง เพราะพระธรรมเทศนานั้นมาจากพระอาจารย์ที่ทรงคุณวุฒิศิษย์พระอาจารย์มั่นฯ ทั้งนั้น ล้วนแต่มีความสามารถในทางแสดงธรรมเป็นยอด มาร่วมในงานและได้แสดงธรรม เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตาแด่พระอาจารย์มั่นฯ กันทั้งนั้น จึงเป็นพระสัทธรรมที่ไพเราะ และเพราะพริ้งจริง ๆ
    ผู้เขียนก็ตั้งใจฟังอย่างมิให้เหลือเศษ คือฟังทุกองค์ ทุก ๆ กัณฑ์ ทุก ๆ เวลา เพราะยิ่งฟังก็ยิ่งอิ่มใจ ได้ความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติมขึ้นอีกเยอะ ในขณะนี้ประชาชนได้สละกิจการบ้านเรือน ทั้งทางไกลทางใกล้ เข้ามาบำเพ็ญกุศลต่อพระอาจารย์มั่น ฯ เนืองแน่นขึ้นทุก ๆ วัน
    น่าประหลาดใจที่เขาทั้งหลายเหล่านั้นบอกต่อกันไปเพียงเท่านั้น ไม่มีออกข่าวหนังสือพิมพ์วิทยุ ไม่มีโทรทัศน์ หมายความว่า สื่อมวลชนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในงานประชุมเพลิงศพของพระอาจารย์มั่นฯ ครั้งนี้แต่อย่างใด แต่ก็อัศจรรย์ คนได้ไปกันแทบทุกจังหวัดในภาคอีสาน แม้ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกก็ไปกันทั้งนั้น ทั้งๆ ที่ทางคมนาคมไม่สะดวกเท่าใดนัก ทางรถยนต์ก็มีแต่ลูกรัง เครื่องบินก็ไม่มี ถนนจากกรุงเทพไปสู่ภาคอีสานก็ยังไม่มี แต่ผู้คนได้มากันจนวัดสุทธาวาสกว้าง ๕๐ กว่าไร่ แน่นจนไม่มีที่จะอยู่
    ผู้เขียนมองเห็นพระอาจารย์ออกบิณฑบาตจากวัดสุทธาวาสไปถึงในเมืองประมาณ ๒ ก.ม. หัวแถวเข้าเมืองแล้วหางแถวยังอยู่ที่วัดสุทธาวาสเลย หมายถึงแถวเรียงหนึ่ง เป็นทัศนียภาพที่น่าเลื่อมใสยิ่ง ผู้เขียนเองก็ได้เข้าแถวบิณฑบาตเช่นเดียวกับสงฆ์องค์อื่นๆ ก็ยิ่งทำให้ตนของตนเข้าสู่บรรยากาศที่แท้จริง คือได้สัมผัสด้วยตนเอง จึงมีความรู้สึกที่ลึกซึ้งในธรรมยิ่งนัก จะหาทัศนียภาพเช่นนี้เห็นจะไม่มีอีกแล้ว.มีแต่ในงานศพท่านพระอาจารย์มั่นฯ ในระหว่างรอกาลเวลาที่จะมีการประชุมเพลิง
    ของถวายพระภิกษุสามเณรที่มาในงานศพครั้งนี้ได้รับโดยทั่วถึงกัน เพราะเฉพาะผ้าขาวที่จะตัดเป็นสบง จีวรนั้นมากมายเหลือเกิน ผ้าขาวเหล่านี้เป็นผ้าที่เขาเอามาถวายเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ แม้จะเป็นเวลาหลังสงครามที่ข้าวของกำลังแพงและหายาก ถึงอย่างนั้นก็ได้มีผู้ศรัทธานำไปถวายท่านมิได้ขาด วันที่ท่านมรณภาพ บรรดาญาติโยมทางบ้านหนองผือได้ช่วยกันขนผ้าขาวเหล่านั้นจำนวนหลายสิบเล่มเกวียน นับเป็นผ้าที่จะตัดจีวรได้ จำนวนหลายพันตัว จึงเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์มาก ขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่นั้นท่านได้จัดจีวรให้แก่พระที่อยู่กับท่าน และที่มาเยี่ยมท่านเป็นอันมาก ถึงอย่างนั้นผ้าขาวที่จะทำจีวรก็ยังเหลือ
    แม้ผู้เขียนเองในปีนี้ (๒๔๙๒) ก็ได้พาโยมมารดามาทอดกฐินเป็นครั้งสุดท้าย โดยนำผ้าขาวมาถึง ๑๐ พับ.แต่เมื่อมาถึงท่านก็ให้ทอดเป็นผ้าป่า โยมมารดาก็ได้ทำตามท่านแนะนำ แม้ขณะนั้นท่านกำลังอาพาธแต่ท่านก็ได้ลุกขึ้นมารับผ้าป่าของโยมมารดาผู้เขียน ทำให้โยมมารดาปลื้มปีติอย่างยิ่ง หลังจากนี้ท่านก็ลุกไปศาลาโรงฉันไม่ได้แล้ว
    จริงอย่างที่เขียนไว้ข้างต้นว่าในระยะเวลาก่อนจะถึงวันประชุมเพลิงพระอาจารย์มั่นฯ เป็นเวลา ๓ เดือนเต็ม เวลาที่มีอยู่นี้เป็นเวลาที่มีคุณค่าเหลือล้นพ้นประมาณ เพราะมีการแสดงธรรมเทศนา นั่งสมาธิภาวนาตลอด ถือว่าอุดมธรรมะจริง ๆ ท่านพระอาจารย์ทั้งหลายท่านจะเปิดเผยธรรมในใจของท่านออกมาทางการแสดงธรรมเทศนา บางทีเป็นธรรมที่ลึกซึ้งจนผู้มีจิตธรรมดาไม่สามารถจะเข้าใจได้ แต่ท่านก็แสดงทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าเข้าใจยาก แต่ก็ยังมีไม่น้อยที่รู้เร้าเข้าใจ จึงเรียกว่าธรรมกถาที่ใหญ่ยิ่งจริง ๆ
    ณ วันนี้ที่จะต้องจารึกเป็นประวัติศาสตร์ คือวันเคลื่อนศพจากศาลาสู่เมรุที่จัดไว้อย่างธรรมดาไม่หรูหราและไม่เลวนัก ประชาชนทั่วไปได้ฟังประกาศว่า บัดนี้จะได้เคลื่อนศพแล้ว ซึ่งเวลานั้นเป็นเวลา ๑๐.๐๐ น. บรรดาพระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา ทั้งในบริเวณนอกบริเวณวัดต่างก็รีบเดินเข้ามาดุจนัดหมายกันเอาไว้ พรึบเดียวเท่านั้นแน่นขนัดไปทั่วบริเวณ บรรยากาศในขณะนี้เป็นบรรยากาศเศร้าสลด หมายถึงว่าทุกคนในขณะศพกำลังถูกยกเคลื่อนที่จากที่ตั้งบนศาลา กำลังเคลื่อนลงมาอย่างช้า ๆ ขณะนั้นนั่นเองน้ำตาของทุกคนจากดวงตาหลายหมื่นดวงได้ร่วงพรูลงพร้อมกันเหมือนกับนัด พร้อมทั้งผู้เขียนซึ่งกำลังยืนเคารพศพอยู่ข้าง ๆ นั้น ผู้เขียนได้มองไปทั่วบริเวณ เห็นน้ำตาอันบริสุทธิ์หลั่งไหลจากดวงตาของคนทุกเพศทุกวัยนี้ นั้นเป็นสิ่งหนึ่งในหลายสิ่ง ที่บอกเหตุแห่งความเลื่อมใสศรัทธาต่อองค์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ผู้เขียนรู้สึกว่าในใจหายวาบ ๆ เป็นครั้ง ๆ ทุกคนที่ยืนอยู่กันอย่างสงบดุจตุ๊กตา ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย เงียบกริบไม่มีแม้กระทั่งเสียงไอ และจาม เป็นความหยุดเหมือนถูกสะกด ในขณะที่ศพกำลังถูกเคลื่อนออกจากศาลาไปสู่เมรุอย่างช้า ๆ
    ขณะนี้เหลือเวลาอีก ๓ วันที่จะถึงวันประชุมเพลิง บรรดาพระภิกษุ สามเณรประชาชนทั้งทางไกลและทางใกล้ต่างได้สละเวลาอันมีค่าของตนมาพร้อมกันแล้ว.ณ ที่วัดสุทธาวาสเป็นจำนวนมาก บรรยากาศในขณะนั้น มีการบำเพ็ญกุศลทอดผ้าบังสุกุลตลอดเวลา ทั้งกลางวันและกลางคืน ผู้เขียนได้สังเกตดู เป็นผ้าที่ชาวบ้านทอกันเองเป็นส่วนมาก ญาติโยมก็หานิมนต์พระภิกษุสามเณรที่มาในงานมารับผ้าบังสุกุล ดูก็เป็นธรรมชาติดีเหลือเกิน เพราะไม่ต้องมีพิธีรีตองอะไร ใครมาเมื่อไรก็ได้ บังสุกุลเมื่อไรก็ได้ พระภิกษุสามเณรมารับเมื่อไรก็ได้ ผู้เขียนก็ถูกนิมนต์ให้รับก็หลายครั้ง รู้สึกว่าทุกคนที่บำเพ็ญกุศลไม่มีการหวงห้ามหรือปิดกั้นขั้นเวลาต่าง ๆ ญาติโยมได้หลั่งไหลเข้ามาสู่เมรุ เพื่อทอดผ้าบังสุกุลไม่ขาดสายตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน
    บรรยากาศอย่างนี้คงหาดูได้ยาก แม้จะมีการประชุมเพลิงพระอาจารย์องค์ใด ๆ ก็คงไม่เหมือนงานศพของพระอาจารย์มั่นฯ เพราะเป็นศรัทธาในตัวของทั้งพระภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกาที่มีต่อท่านพระอาจารย์มั่นฯ อย่างเปี่ยมล้นด้วยกัน ฉะนั้นเมื่อมีการบำเพ็ญกุศลใด ๆ โดยเฉพาะงานประชุมเพลิงเป็นงานขั้นสุดท้ายแล้ว ทุกคนจึงแสดงออกแห่งศรัทธาอันยิ่งยวดในใจ ออกมาเป็นภาพที่มีความดื่มด่ำ พลังแห่งความนึกคิดเป็นปรากฏการณ์ออกมา ให้ทุกคนได้ทึ่งและอัศจรรย์ ดังนั้นพลังศรัทธาจึงเป็นสิ่งที่ห้ามกันไม่ได้ และสามารถนำไปสู่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ในทุก ๆ กรณี
    เวลา ๑๗ นาฬิกาของวันเผา คือรวมกันวางดอกไม้จันทน์ หรือเรียกว่า (เผาหลอก) ประชาชนแน่นขนัดในบริเวณวัดเนื้อที่กว่า ๕๐ไร่ แม้เขาเหล่านั้นจะวางดอกไม้จันทน์กันแล้วทุกคนไม่กลับ รอคอยประชุมเพลิงจริง (เผาจริง) ดังนั้นถึงคราวเผาจริงคนจึงยิ่งมากเพิ่มขึ้น ในเวลา ๒๒.๐๐ น.
    บัดนี้การประชุมเพลิงสรีระของท่านพระอาจารย์มั่น ได้เริ่มขึ้นแล้ว ทุกคนที่มาต้องการอัฐิของท่าน แต่ทางเจ้าหน้าที่ได้อารักขาอย่างเข้มแข็ง ถึงอย่างนั้นก็ยังมีผู้ศรัทธาในองค์ท่านถึงกับเอามือล้วงเอาขณะไฟยังไม่มอด ซึ่งในที่สุด พระเถรานุเถระผู้เป็นศิษย์ของท่านก็ได้เก็บรวบรวมอัฐิ แล้วก็แจกจ่ายให้แก่ตัวแทนศิษย์ที่อยู่ตามที่ต่าง ๆ พอสมควรแล้ว ผู้เขียนในขณะนั้นก็เป็นตัวแทนจังหวัดจันทบุรี เพราะไม่มีใครเป็นผู้ใหญ่อยู่ที่จันทบุรี เมื่อเสร็จทุกอย่าง ประชาชนก็ยังอยู่ในบริเวณเป็นอันมาก
    ในหลังเว้นวันถัดมา ต่างก็เก็บเอาเถ้าถ่าน ถึงกับกอบเอาดินที่ตรงประชุมเพลิงไปคนละกำ ๒ กำ พระเถรานุเถระเหล่านั้นก็ได้มีฉันทานุมัติให้เก็บอัฐิส่วนใหญ่ไว้ที่วัดสุทธาวาส ในเมื่อสร้างอุโบสถเสร็จก็ให้เก็บอัฐิไว้ในอุโบสถเพื่อสักการบูชาแก่ศิษยานุศิษย์ทั้งหลายต่อไป
    เป็นอันว่าการประชุมเพลิงศพพระอาจารย์มั่นได้เรียบร้อยแม้ทุกประการ ทุกคนที่มาในงานศพต่างก็ได้ชื่นชมพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ แสดงโดยพระเถรานุเถระที่มาในงานอย่างวิจิตรพิสดารซาบซึ้งตรึงใจ ได้บุญกุศลจากการมาทำการประชุมเพลิงศพของพระอาจารย์มั่น ฯ โดยทั่วกัน
     
  18. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ที่ลงประวัติพระอาจารย์มั่นเยอะเพราะท่านเป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่ศรี มหาวีโรนะครับ

    งานเขียนชื่อใต้สามัญสำนึก มีเนื้อความเกี่ยวกับพระอาจารย์มั่นโดยตรงครับ

    พระญาณวิริยาจารย์ (พระอาจารย์วิริยังค์)
    เจ้าอาวาส วัดธรรมมงคล แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ
    ใต้สามัญสำนึก ๑
    [​IMG]
    คำปรารภ​
    การเขียนประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ นั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพราะปัจจุบันปรากฏว่าท่านได้รับการเคารพนับถือจากชาวไทยเป็นอย่างสูง เนื่องด้วยศิษย์ของท่านหลายองค์เป็นผู้มีชื่อเสียงกระฉ่อน และเป็นที่เคารพนับถืออย่างสูงทั่วประเทศไทย เช่น หลวงพ่อปู่แหวน สุจิณฺโณ แห่งดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร แห่งวัดอุดมสมพร สกลนคร, หลวงปู่เทสก์ เทสรงฺสี (พระนิโรธรังสี) วัดหินหมากเป้ง หนองคาย, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดหนองบัวบาน อุดรธานี, หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี, พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปณฺโณ แห่งวัดบ้านตาด อุดรธานี, หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม วัดสาลวัน อุดรธานี, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เลย, พระอาจารย์วัน อุตฺตโม ภูเหล็ก สกลนคร, พระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ ภูทอก อุดรธานี เป็นต้น และยังมีอีกหลายร้อยองค์ที่เป็นศิษย์ของท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ที่ยังไม่มีใครรู้จัก เพราะท่านเที่ยวแสวงหาความสงบส่วนตนตามป่าเขาลำเนาไพร ไม่ติดต่อบุคคลภายนอกเท่าไร​
    ดังนั้น ศิษย์ทั้งหลายที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จึงเป็นการส่งเสริม ครูบาอาจารย์ไปด้วย ดังที่ศิษย์อาจารย์มั่นฯ ที่ได้ปฏิบัติดี-ชอบตามโอวาทของครูบาอาจารย์ปรากฏเด่นขึ้นในภายหลัง ทำให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านอาจารย์มั่นฯ เด่นขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งก่อนนั้นก็ไม่ใคร่จะมีผู้กล่าวถึงกันเท่าใดนัก มาระยะนี้ศิษย์ของท่านได้รับการเคารพนับถือทั่วประเทศ จึงส่งเสริมให้ท่านมีความสำคัญในเวลาต่อมา ประชาชนทั่วประเทศได้กล่าวถึงท่านอย่างสูงสุด ไม่เคยมีครั้งใดที่พระเถระผู้ทรงคุณวุฒิ จะได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง เหมือนพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ เลย…”​

     
  19. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ใต้สามัญสำนึก ๒
    [​IMG]
    พ.ศ. ๒๔๗๗
    ตอน เริ่มต้นฝึกออกธุดงค์
    (ของ พระวิริยังค์)
    ข้าพเจ้าได้พบท่านอาจารย์กงมา จิรปุญโญ เป็นครั้งแรกขณะนั้นข้าพเจ้าอายุได้ ๑๓ ปี ย่างเข้า ๑๔ ท่านกำลังขะมักเขม้นสอนอุบาสก อุบาสิกา อย่างไม่เห็นแก่การเหน็ดเหนื่อย การก่อสร้างวัดที่ชื่อว่า “วัดสว่างอารมณ์” ตำบลลาดบัวขาว อ. สีคิ้ว จ. นครราชสีมา อันเป็นวัดแรกที่ท่านได้จัดการก่อสร้างขึ้น ก็เริ่มด้วยกุฏิศาลาที่เป็นอาคารชั่วคราวมุงด้วยจาก แต่นั่นเป็นสิ่งที่ท่านมิได้เอาใจใส่มากนัก ท่านได้แนะนำสั่งสอนธรรม แก่อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายนั้นเป็นประการสำคัญดังที่จะเห็นได้ว่าตอนเวลาค่ำคืนจะมีจำพวกหนุ่มสาว เฒ่าแก่หลั่งไหลไปหาท่าน โดยท่านจะสอนธรรมหรือไม่ก็ต่อมนต์ คือคนในละแวกนั้นอ่านหนังสือไม่ออก ท่านต้องต่อให้ทีละคำ ๆ จนกระทั่งจำได้ทั้งทำวัตรเช้า และทำวัตรค่ำ อาราธนาศีล อาราธนาเทศน์
    คนในบ้านใหม่สำโรงในขณะนั้นเป็นบ้านป่า ไกลความเจริญ แต่เป็นแหล่งทำมาหากินดี เพราะมีป่าว่างมาก หลายหมู่บ้านหลายแห่งพากันอพยพมาตั้งหลักแหล่งกัน ฉะนั้นคนในละแวกนี้จึงมาจากหลาย ๆ กรุ๊พ ทำให้เกิดความไม่ใคร่จะลงรอยกัน คงเป็นพรรคเป็นพวกก่อความทะเลาะกันเนือง ๆ
    ท่านอาจารย์กงมา ท่านเห็นเหตุนี้แล้วท่านก็เริ่มโปรยปรายธรรมเข้าสู่จิตใจประชาชน และก็ได้ผลดือท่านได้หาอุบายให้คนทั้งหลายเหล่านั้นได้เข้าวัด ท่านก็พยายามพร่ำสอนให้เข้ามารักษาอุโบสถบ้าง ฟังธรรมบ้าง บำเพ็ญกุศลอื่น ๆ บ้าง จนจิตใจอ่อนลง ข้าพเจ้าเองก็เป็นผู้หนึ่งที่ถูกความดึงดูดของท่านได้เข้ามาปฏิบัติธรรม
    ภายหลังปรากฏว่าชาวบ้านใหม่สำโรงอยู่ในศีลธรรมมากขึ้น จนมีศูนย์กลางคือวัด ได้ร่วมสังสรรค์จนเกิดความสามัคคีธรรมขึ้น กลับกลายเป็นบ้านที่มีความสุข อยู่ด้วยความพร้อมเพรียง งานชิ้นนี้ของอาจารย์กงมา เห็นงานชิ้นโบว์แดงชิ้นแรกของชีวิตท่าน จนกระทั่งประชาชนเห็นดีเห็นชอบได้ช่วยกันสร้างถาวรวัตถุจนเป็นวัดโดยสมบูรณ์ขึ้นในภายหลัง
    ท่านได้ใช้เวลาอยู่ที่นี่ ๓ พรรษา ในเวลา ๓ ปีนี้ ท่านขยันสอนทั้งฝ่ายพระภิกษุ สามเณร และประชาชน ทางด้านพระภิกษุสามเณรนั้นท่านจะกวดขันเรื่องการปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง โดยให้ฉันหนเดียว ฉันในบาตร บิณฑบาตไม่ให้ขาด ทำวัตรเช้าเย็น บำเพ็ญกัมมัฏฐานภาวนา ทั้งนั่งสมาธิและเดินจงกรม ภายในบริเวณวัดท่านจะจัดสถานที่วิเวกไว้เป็นแห่ง ๆ คือมีทางจงกรมภายใต้ร่มไม้เป็นทางยาวพอสมควรประมาณ ๑๐ วา หัวทางจงกรมจะมีแท่นสำหรับนั่งสมาธิ มีอยู่ทั่วไปตามรอบ ๆ วัด สถานที่ที่ท่านจัดขึ้นให้โอกาสทุกองค์ได้เลือกเอาเพื่อไว้เป็นที่บำเพ็ญกัมมัฏฐาน ปรากฏว่าผลที่ได้รับคือความสงบทางใจอย่างยิ่งแก่ผู้มาพึ่งพาอาศัยท่าน แม้แต่ข้าพเจ้าก็ได้รับผลมาจากครั้งกระนั้นเองเป็นขั้นต้น
    ขณะถึงกาลออกพรรษาหน้าแล้ง ท่านจะพาศิษย์ที่สมัครใจออกเที่ยวธุดงค์ตามป่าเขาลำเนาไพร เพื่อแสวงหาที่สงบวิเวก พ.ศ. ๒๔๗๘ ท่านประกาศว่า ถ้าใครไม่กลัวตายไปธุดงค์กับเรา ข้าพเจ้าขอสมัครไปกับท่านทันที พร้อมกันนั้นท่านก็เล่าถึงเหตุการณ์การบำเพ็ญความเพียรของพระอริยะสาวกแต่ปางก่อนว่า
    มีพระเถระที่เป็นเพื่อนสหธรรมมิก ๔ รูปด้วยกันปรารถนาความเพียรอย่างยิ่งเป็นที่ตั้ง แม้จะพยายามสักเพียงใดก็ไม่พอใจ คิดว่าพวกเราทั้ง ๔ ยังมีความประมาทอยู่ จึงชักชวนกันธุดงค์ไปในกลางดงใหญ่มีทั้งเหว น้ำ ถ้ำ ภูเขา ทั้ง ๔ องค์ได้ไปพบภูเขาสูงชันอยู่แห่งหนึ่ง จึงเดินเข้าไปใกล้ มองดูข้างบนเห็นถ้ำอยู่หน้าผา จึงให้ตัดไม้ทำเป็นบันไดต่อขึ้นไปจนถึงถ้ำนั้นแล้วทั้ง ๔ องค์นั้นก็พร้อมกันขึ้นไปบนถ้ำ เมื่อพร้อมกันอยู่ที่ถ้ำนั้นเรียบร้อยแล้วก็พร้อมใจกันอธิษฐานว่า เรามาทำความเพียรอันอุกฤษฎ์ไม่ต้องคำนึงถึงชีวิต แม้จะตายก็ช่างมัน ถ้าบันไดยังพาดอยู่ปากถ้ำ คนเราก็ยังถือว่าห่วงชีวิตอยู่ เราไม่ต้องห่วงชีวิตแล้ว ถ้าไม่บรรลุธรรมก็ให้หายไปเสียเถิด จึงพร้อมใจกันผลักบันไดทิ้ง เป็นอันว่าทั้ง ๔ รูปก็ไปทางไหนไม่ได้แล้วก็จึงปรารภความเพียรอย่างหนัก
    เมื่อทั้ง ๔ องค์ปรารภความเพียรอยู่นั้น ๗ วันล่วงไป องค์ที่หนึ่งได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ก็เหาะไปบิณฑบาต เพื่อมาเลี้ยง ๓ องค์ที่ยังอยู่ ๓ องค์ไม่ประสงค์เพราะยอมตายแล้ว ล่วงไปอีก ๗ วัน องค์ที่สองได้บรรลุพระอนาคาเหาะไปบิณฑบาตมาเลี้ยง แม้ ๒ องค์ ไม่ปรารถนาที่จะฉัน ห้ามเสียแล้ว ๒ องค์ แม้นจะพยายามสักเท่าใดก็ไม่อาจบรรลุได้ ได้อดอาหารจนมรณภาพไปทั้ง ๒ องค์ ทั้ง ๒ องค์นี้ได้มาเกิดในสมัยพระพุทธเจ้าของเรา องค์หนึ่งได้นามว่าพระพาหิยะได้บรรลุพระอรหัตเมื่อฟังธรรมของพระพุทธองค์ ขณะที่บิณฑบาต อีกองค์หนึ่งชื่อ กุมารกัสสปะไปทำความเพียรอยู่ในป่าผู้เดียว ได้ฟังธรรมกามาทีนวกถาได้บรรลุพระอรหัตเช่นเดียวกัน
    ขณะนั้นมีพระ ๑ รูป ชื่อพระสังฆ์ สามเณร ๒ รูป สามเณรเที่ยงและสามเณรวิริยังค์ รวม ๕ รูปด้วยกัน ออกเดินธุดงค์เข้าดงพญาเย็น พบสถานที่ใดเป็นที่สงบ ท่านก็จะทำความเพียรอยู่หลายวัน ในครั้งนั้นไม่มีบ้านคนเลยที่ผ่านไปถึง ๕ วันไม่ได้ฉันอาหารกันเลย ได้ฉันแต่น้ำเท่านั้น พวกเราอดอาหารกันทุก ๆ องค์ แต่พวกเราก็เดินกันไหว ท่านอาจารย์กงมาท่านก็ให้กำลังใจแก่พวกเราว่า เรารักความเพียร เรารักธรรมมากกว่าชีวิต แต่ข้าพเจ้าซิอายุ ๑๔ ปีเท่านั้น รู้สึกว่ามันหิวกระหายเบาไปหมดทั้งตัว ข้าพเจ้าต้องพยายามทำจิตให้แน่วแน่ไว้ตลอดเวลา การพูดคุยไม่ต้องพูดกับใคร ก้มหน้าก้มตากำหนดจิตมิให้ออกนอกได้ เพราะจิตออกไปเวลาใดขณะใด จะเกิดทุกขเวทนาขณะนั้น
    ขณะที่พวกเราหยุดพักนอน ท่านก็ใช้ให้ไปกางกลดให้ไกลกันให้มาก ข้าพเจ้าก็ต้องออกห่างท่าน ไปอยู่ไกล เอาแต่เพียงกู่กันได้ยินน้อย ๆ ก็คืออยู่กันคนละลูกภูเขา การทำเช่นนี้เป็นการหยั่งถึงความจริงของลูกศิษย์ท่าน ว่าจะเอาจริงกันแค่ไหน ข้าพเจ้าแม้จะกลัวแสนกลัวที่จะกลัว ก็จำต้องออกไปอยู่ให้ไกลที่สุด แต่พอตกกลางคืนเข้าแล้วไม่ทราบว่าความกลัวมันประดังกันเข้ามาอย่างไรกันนักก็ไม่ทราบ รู้สึกว่ามันเสียวไปทั้งตัวเลย แต่ข้าพเจ้าได้ให้คำมั่นกับท่านอาจารย์ของข้าพเจ้าไว้แล้วว่าไม่กลัวตาย แต่ในใจคิดว่าอยากไปนอนให้ใกล้ ๆ ท่านที่สุด แต่ก็ไม่กล้า จำเป็นที่จะต้องอยู่ห่างไกล เสียงเสือคำราม เสียงช้างมันร้อง ดูรู้สึกว่ามันจะมากินข้าพเจ้าไปเสียแล้ว แต่ก็เป็นเหตุให้เกิดมรณานุสสติอยู่ตลอดเวลา เลยทำให้เกิดผลทางใจขึ้นอย่างยิ่ง
    ธรรมดาว่าใจของคนเรานี้ต้องอาศัยฝึกหัดทำ ทำไปเหมือนคนฝึกหัดไปกับกิเลส เช่นฝึกแสดงภาพยนตร์ ดนตรีต่าง ๆ ก็เป็นได้ ถ้านึกในทางธรรมก็เป็นได้ แต่ทุก ๆ อย่างก็ต้องอาศัยกรรมวิธีแต่ละอย่าง การแสวงหาธรรมก็เช่นเดียวกัน ก็ต้องมีกรรมวิธีที่จะนำมาใช้ให้ได้ผล เช่นเดียวกันกับข้าพเจ้าที่กำลังถูกกรรมวิธีของอาจารย์ข้าพเจ้าทรมานอยู่ในขณะนี้นั่นเอง
    เมื่อพ้นจากดงพญาเย็นแต่อยู่ตอนหางดงนั้น เป็นแหล่งที่พวกมหาโจรทั้งหลายพากันมาส้องสุมกันอยู่จำนวนมาก ท่านอาจารย์กงมา ก็พาพวกเราพักอยู่กับพวกโจรเหล่านั้น เมื่อเราพักกันเรียบร้อยแล้ว พวกโจรประมาณ ๒๐ คน ได้เข้ามาล้อมพวกเรา ในมือมีทั้งดาบและปืนน่าสะพรึงกลัว
    ท่านอาจารย์กงมา เคยเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า พวกโจรดงพญาเย็นนี้ร้ายกาจนัก มันจับพระธุดงค์ฆ่าเสียมากต่อมากแล้ว คราวหนึ่งมีพระธุดงค์จำนวน ๙ รูป ธุดงค์มาเจอพวกโจรเขาใหญ่ดงพญาเย็นนี้ มันจับเอาไว้หมด ค้นดูย่ามว่าจะมีเงินไหม พระธุดงค์ทั้ง ๙ รูปไม่มีเงินแม้แต่สตางค์แดงเดียว พวกโจรก็โกรธ จึงจับเอาพระชนกัน ชนค่อย ๆ ก็ไม่ยอม ชนจนหัวได้เลือด แต่มีอีกหนึ่งรูปไม่มีคู่เลยให้ชนหัวคันนา โจรชอบใจหัวเราะกัน พระรูปไม่มีคู่เดือดดาลในใจนักจึงค่อย ๆ คลานไปจนถึงปืนที่โจรวางไว้ คว้าปืนยิงโจรตายไป พวกโจรก็หนีเตลิดไป
    ข้าพเจ้านึกถึงที่ท่านเล่ามาให้ข้าพเจ้าฟังได้ก็ให้เสียวว่าเราจะโดนอีท่าไหนหนอ จากนั้นท่านอาจารย์กงมา ท่านก็เริ่มอธิบายธรรมต่าง ๆ ให้พวกโจรมันฟัง แต่มันก็หาได้เคารพพระอาจารย์แต่อย่างใดไม่ พวกมันนั่งยอง ๆ เอาปลายดาบปักลงที่ดิน วางท่าทางน่ากลัว ข้าพเจ้าก็นั่งรับใช้ท่านอาจารย์ข้าง ๆ นั้นนั่นเอง ท่านอาจารย์ก็ไม่ยอมลดธรรมเทศนา อธิบายเรื่อย ๆ ไป ข้าพเจ้าจำได้ตอนหนึ่งว่า
    “พวกเธอเอ๋ย แม้พวกเธอจะมาหาทรัพย์ ตลอดถึงการผิดศีลของพวกเธอนั้นน่า ก็เพื่อเลี้ยงชีวิตนี้เท่านั้น แต่ชีวิตนี้ก็ไม่ใช่ของพวกเธอ มันจะสิ้นกันไม่รู้วันไหน เป็นเช่นนี้ทุกคน พวกเธอฆ่าเขา ถึงจะฆ่าไม่ฆ่าเขาก็ตาย เธอก็เหมือนกัน มีความดีเท่านั้นที่ใคร ๆ ฆ่าไม่ตาย อย่างเรานี้จะตายเมื่อไรก็ไม่อนาทรร้อนใจ เพราะความดีเราทำมามากแล้ว”
    ข้าพเจ้าแทบจะไม่เชื่อในสายตาของข้าพเจ้าเลยทีเดียว ในขณะนั้นพวกโจรทั้งหมดพากันวางมีดวางปืนหมด น้อมตัวลงกราบอาจารย์ของข้าพเจ้าอย่างอ่อนน้อม ข้าพเจ้าโล่งใจไปถนัดและพอใจที่พวกโจรมันยอมแล้ว หัวหน้าโจรชื่อนายอุง เป็นคนล่ำสันมาก กรากเข้ามาหาอาจารย์ ขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ อีกครั้งเหมือนกันที่ข้าพเจ้าไม่ยอมเชื่อสายตาของข้าพเจ้าว่า ทำไมโจรจะยอมเป็นลูกศิษย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ทำไมช่างง่ายดายอะไรอย่างนี้ และก็เป็นจริงเช่นนั้น ท่านอาจารย์กงมา ท่านก็บัญชาให้พระที่ไปกับท่านโกนผมเสียเลย บวชเป็นตาผ้าขาวติดตามท่านไป
    เดี๋ยวนี้หัวหน้าโจรได้กลายเป็นผู้ทรงศีลไปเสียแล้ว มันจะเป็นไปได้หรือท่านผู้อ่านทั้งหลาย เพียงชั่วโมงเดียวเท่านั้นโจรทั้งคณะมายอมแพ้อาจารย์ของข้าพเจ้า มันเป็นไปแล้วแหละท่านทั้งหลาย ต่อมาเมื่อมหาโจรอุง มาเป็นตาผ้าขาวอุงแล้วก็สนิทสนมกันกับข้าพเจ้าอย่างยิ่ง
    ข้าพเจ้าแม้ขณะนั้นอายุเพียง ๑๕ ปี เป็นสามเณร ถึงจะยังไม่เจนต่อโลกมากนัก แต่สามัญสำนึกของข้าพเจ้าได้บอกตัวเองว่า น่าอัศจรรย์ น่าอัศจรรย์ที่อาจารย์ได้สอนคนที่จะต้องฆ่าคนอีกมากให้หยุดจากการกระทำบาปเช่นนี้ ข้าพเจ้าในสามัญสำนึกก็ต้องยอมรับแล้วว่า อาจารย์ของข้าพเจ้านี้แก่งมาก ข้าพเจ้านึกชมอยู่ในใจ แม้กระทั่งบัดนี้ ข้าพเจ้าก็จะยังไม่ยอมลืมต่อเหตุการณ์ในวันนั้นได้เลย นี่ถ้าหากว่าอาจารย์ของข้าพเจ้าเกิดทรมานโจรไม่สำเร็จ พระเราก็จะถูกพวกมันบังคับให้เอาหัวชนกัน เมื่อไป ๕ องค์ ข้าพเจ้าซิจะถูกมันบังคับให้เอาหัวชนคันนา ข้าพเจ้าจะกล้าหรือไม่กล้าที่จะยิงมัน แต่อย่าคิดดีกว่า เพราะท่านอาจารย์ของข้าพเจ้าได้ทรมานมหาโจรสำเร็จแล้ว และข้าพเจ้าจะเล่าประวัติของนายโจรอุงนี้ต่อ ขอให้ติดตามต่อไป
    ตอนธุดงค์อยู่ในถ้ำเขาภูคา นครสวรรค์
    เหตุการณ์ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๘
    พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ได้ปราบมหาโจรอุง จนยอมทุกสิ่งทุกอย่างโดยอาศัยวาทศิลป์แห่งพระสัทธรรม และความจริงแห่งการปฏิบัติในพระธรรมวินัยที่เคร่งครัดของท่าน ตลอดถึงอาจาร-มรรยาทที่น่าเลื่อมใส ทำให้มหาโจรอุงได้ยอมเข้ามาถือบวช แต่พระอาจารย์ก็ให้บวชเป็นเพียงตาผ้าขาว นุ่งขาวห่มขาวสมาทานศีล ๘ เพราะมหาโจรผู้นี้ได้ฆ่าคนมามาก
    ภายหลังจากที่ท่านอาจารย์ ฯ ได้พาข้าพเจ้าเที่ยวธุดงค์หาวิเวกไปตามป่า ตามเขา ตามถ้ำ จนถึงจังหวัดนครสวรรค์ ไปที่สถานีรถไฟหัวหวาย เดินเข้าไปจนถึงถ้ำแห่งหนึ่ง ชื่อว่าถ้ำภูคา ถ้ำนี้อยู่ที่ภูเขาไม่ใหญ่นัก แต่ถ้ำใหญ่มาก กว้างขวาง และเป็นถ้ำขึ้นไม่ใช่ถ้ำลง มีปล่องหลายปล่อง ทำให้ภายในถ้ำสว่างไม่มืด และมีซอกเป็นที่น่าอยู่มากแห่ง พระอาจารย์พาข้าพเจ้าอยู่ ณ ที่ถ้ำนี้เป็นเวลาหลายเดือน เพราะเป็นที่วิเวกดี ท่านได้พาชาวบ้านใกล้ ๆ นั้นขุดดินทำทางเดินจงกรมในถ้ำได้หลายทาง แต่ขณะที่ขุดดินทำทางเดินจงกรม ได้พบเบ้าหลอมทองเก่าแก่ ตุ้มหู ต่างหู เป็นทองคำและกะโหลกศีรษะ อะไรต่าง ๆ มากมาย เป็นของโบราณ
    ข้าพเจ้าก็ได้ท่องปาฏิโมกข์ได้ในขณะที่อยู่ในถ้ำนั้นเอง เพียง ๑๕ วันเท่านั้นก็ท่องจบ
    ณ ที่ถ้ำแห่งนี้ ท่านอาจารย์ได้แนะนำพร่ำสอนเรื่องการปฏิบัติจิตใจให้แก่ข้าพเจ้าอย่างเต็มที่ ข้าพเจ้าก็ปรารภความเพียรอย่างเต็มกำลัง ได้ผลเป็นที่พอใจ ตั้งใจว่าจะจำพรรษาอยู่ที่นี้ แต่พอจวนจะเข้าพรรษา ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้โทรเลขไปเรียกให้ท่านอาจารย์กงมากลับ พวกเราจึงได้กลับนครราชสีมา และได้มาอยู่ที่วัดสว่างอารมณ์ บ้านใหม่สำโรง
    มหาโจรอุง ซึ่งบัดนี้ได้กลายเป็นตาผ้าขาวอุงไปแล้วนั้น ก็ได้ติดตามอาจารย์มาจำพรรษาร่วมอยู่ที่วัดนี้ เธอตั้งใจจะปฏิบัติกัมมัฏฐานอย่างเต็มความสามารถ และก็เป็นผล ทำให้จิตใจของเธอได้รับความสงบและเยือกเย็นเป็นอย่างยิ่ง การทำความเพียรของเธอนั้นทำอย่างยิ่ง บางครั้งนั่งสมาธิตลอดคืนยังรุ่ง บางครั้งเมื่อสมาธิได้ผล เธอจะอดอาหาร ๒ วัน ๓ วัน เป็นการทรมานตน ข้าพเจ้าได้ถามเธอว่า ตอนเป็นโจรได้ฆ่าคนไปแล้วกี่คน เธอบอกว่า ๙ คน นับเป็นบาปกรรมอย่างยิ่ง แต่อาศัยธรรมของพระอาจารย์กงมา ที่ได้พร่ำสอนอยู่เนืองนิตย์ ทำให้เธอได้รับผลจากคำสอนเป็นอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าถามเธอเรื่องการปล้นฆ่าทีไรเป็นได้เรื่องทุกที เธอบอกว่าเมื่อได้เล่าเรื่องความหลัง ในเวลาบำเพ็ญสมาธิจะแลเห็นในนิมิตว่า มีตำรวจนับไม่ถ้วนมารุมล้อมจะฆ่าเอาเสียให้ได้ มันเป็นนิมิตที่คอยมาหลอกหลอนตัวเองอยู่เสมอ
    เธอได้เล่าต่อไปว่า มีคราวหนึ่งเขาจับผมได้ เขาประชาทัณฑ์จนผมสลบไป พวกเขานึกว่าผมตายแล้วจึงหามเอาผมไปโยนทั้งในป่าแห่งหนึ่ง พอกลางดึกน้ำค้างตกถูกหัวผม ผมได้รู้สึกตัวและได้ฟื้นขึ้น พวกชาวบ้านรู้ว่าผมฟื้นไม่ตาย พวกเขายิ่งกลัวกันใหญ่ อกสั่นขวัญแขวน ผมเองมารู้สึกตัวตอนฟื้นชีพว่า คนเราเกิดแล้วต้องตายแน่ เรามาประพฤติตัวเป็นมหาโจรอยู่เช่นนี้ ก็คงจะได้รับบาปกรรมอันใหญ่หลวงต่อไปเป็นแน่ แต่แม้จะได้คิดเช่นนี้ก็ตาม สัญชาตญาณของความเป็นโจรของผมก็ไม่สิ้นไป ต้องคุมสมัครพรรคพวกเข้าปล้นสะดมเขาเหมือนเดิม แต่คราวนี้ผมได้ตั้งใจไว้ว่าจะไม่ฆ่าใครอีกต่อไป เหมือนกับบุญปางหลังมาช่วยผม อีกไม่ช้าไม่นานนัก ก็พอดีมาพบกับท่านอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พร้อมกับเมื่อมองเห็นท่านครั้งแรกก็อัศจรรย์ใจแล้วครับ ให้เกิดความเลื่อมใสในองค์ท่านตั้งแต่ยังไม่ฟังธรรมจากท่าน อาจถึงคราวหมดบาปกรรมแล้ว พอได้ฟังธรรมจากท่านเท่านั้น ก็เกิดความสลดลงอย่างไม่น่าเชื่อ จิตของผมเหมือนกับถูกชโลมด้วยน้ำอมฤต กลายเป็นจิตที่ให้อภัยทุกสิ่งทุกอย่าง ละตัวออกจากพวกมหาโจรทั้งหลาย
    ผมเองก็พยายามเกลี้ยกล่อมลูกน้องให้ตามผมมาบวช แต่มันไม่ตามมา ผมก็เลยปล่อย แต่ในที่สุดลูกน้องของผมทั้งหมดมันก็เลิกเป็นโจร เข้ามาอยู่ในบ้านทำมาหากินตามปกติ ผมเองจึงบวชเป็นตาผ้าขาว ผมรู้ตัวผมดีว่าทำบาปกรรมไว้มาก ผมจึงขอสละชีวิตเพื่อการทำสมาธิอย่างยิ่งยวด
    ตาผ้าขาวอุงได้อยู่ปฏิบัติกับท่านอาจารย์กงมา อยู่เป็นเวลาหลายปี เป็นผู้เคร่งครัดอยู่ในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่งจนวาระสุดท้ายของชีวิตในวันหนึ่ง ตาผ้าขาวอุงนั่งสมาธิอยู่ภายในกลด เป็นเวลา ๒ วันไม่ออกมา ตามธรรมดาจะออกมารับประทานอาหารพร้อมพระ ในวันนั้นไม่ออก พระภิกษุสามเณรก็สงสัย แต่บางครั้งตาผ้าขาวอุงจะอดอาหาร ถึง ๕-๗ วัน ก็มี จึงทำให้ไม่มีใครสนใจเท่าใดนัก แม้ว่าจะไม่ออกจากกลดตั้งหลายวัน วันนี้พวกเรานึกสงสัยมากกว่าทุกวัน จึงพากันเข้าไปเพื่อจะเปิดดูว่า ตาผ้าขาวอุงทำอะไรอยู่ข้างใน แต่โดยส่วนมากท่านอาจารย์ท่านห้าม เพราะเป็นเวลาที่เขานั่งสมาธิอยู่ เราไปทำให้เสียสมาธิของคนอื่น จึงทำให้เกิดความลังเลที่จะเปิดกลดของตาผ้าขาวอุง
    ครั้นเมื่อเห็นว่าไม่มีการเคลื่อนไหวเป็นเวลานานผิดปกติ พวกเราจึงตัดสินใจเปิดกลด เมื่อเปิดกลดแล้วทุก ๆ คนที่เห็นก็ต้องตกตะลึง เพราะตาผ้าขาวอุงไม่มีลมหายใจเสียแล้ว แต่ว่ายังคงนั่งสมาธิอยู่ตามปกติไม่ล้ม พวกเราจับตัวดูเย็นหมด แข็งทื่อเป็นท่อนไม้ แต่ว่าคราวนั้นอยู่กันในป่า เป็นวัดป่า เรื่องก็ไม่เป็นข่าวโกลาหล ซึ่งถ้าเป็นอย่างปัจจุบันนี้ เข้าใจว่าจะเป็นข่าวอึกทึกครึกโครมอย่างมหาศาลทีเดียว น่ากลัวว่า พวกที่นับถือเรื่องโชคลาง จะพากันแตกตื่นไปหากันใหญ่ แต่ว่าขณะนั้นเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ในที่สุดท่านอาจารย์ก็ได้พาญาติโยมพระภิกษุสามเณรทำฌาปนกิจศพตามมีตามได้ จนกระทั่งเหลืออยู่แต่เถ้าถ่านเท่านั้น.
    พ.ศ. ๒๔๗๙
    ตอนไปเผยแพร่ธรรมที่จังหวัดจันทบุรี
    หลังจากจำพรรษาอยู่ที่นี้แล้ว ในพรรษา พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร ผู้ซึ่งได้ไปทำประโยชน์อยู่ที่จังหวัดจันทบุรี ในขณะนั้น ได้มีผู้เลื่อมใสในพระธรรมเทศนาของท่านมาก ท่านได้ไปอยู่จันทบุรีองค์เดียว ไม่มีใครช่วยในด้านการเผยแพร่ธรรมกัมมัฏฐาน จึงได้มีจดหมายมาถึงท่านอาจารย์กงมา ฯ ขอให้ไปช่วยในการเผยแพร่ธรรมดังกล่าวแล้ว หลังจากท่านอาจารย์กงมา ฯ ได้รับจดหมายแล้ว ก็นำไปปรึกษาท่านอาจารย์สิงห์ ก็ได้รับอนุมัติให้ไปจันทบุรี ข้าพเจ้าหลังจากที่กลับจากธุดงค์ในครั้งนั้นแล้ว ก็เป็นไข้มาเลเรีย จับไข้อยู่วันเว้นวัน จนถึงขึ้นสมองและสลบไป ข้าพเจ้าไม่รู้ตัวเลยในขณะนั้น เหมือนกับจิตวิญญาณไปเสวยความสุขอยู่ในสถานที่ใดที่หนึ่งประมาณ ๓๐ นาที จึงฟื้นขึ้นมา พอหายไม่ดีเท่าไหร่พร้อมกับท่านอาจารย์กงมา ฯ ก็ตัดสินใจเดินทางไปจันทบุรี แต่ได้ไปพักอยู่ที่กรุงเทพฯ ก่อน นางถม ลิปิพันธ์ เลื่อมใสในท่านอาจารย์ ได้ถวายค่าโดยสารเรือไปจันทบุรีองค์ละ ๕ บาท ไป ๕ องค์ด้วยกัน
    แต่ตอนนี้ข้าพเจ้าขอพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ท่านอาจารย์กงมา และ ท่านอาจารย์ลี ไว้ ณ ที่นี้ด้วย
    ย้อนกล่าวตอนต้นของท่านอาจารย์กงมา เพื่อให้ข้อความต่อเนื่องกัน
    เมื่อท่านเป็นฆราวาส เป็นพ่อค้าขายโค กระบือ และเป็นหัวหน้าได้นำกระบือเข้ามาขายทางภาคกลางทุก ๆ ปี จนฐานะท่านมั่นคง และได้แต่งงานกับหญิงในหมู่บ้านของท่านคือ บ้านโคก ต่อมาเมื่อภรรยาตั้งครรภ์และได้คลอดบุตร ภรรยาได้ตายขณะคลอดทำให้ท่านเกิดความสังเวชสลดใจ และเศร้าโศกเป็นอย่างยิ่ง จึงได้คิดที่จะสละโลกีย์ทั้งมวล ได้ไปลาบิดามารดาและญาติก็ได้รับความสนับสนุนเป็นอย่างดี เมื่อบวชแล้ว ท่านก็ได้ไปอยู่ที่วัดตองโขบ แต่วัดนั้นเขาไม่ได้ปฏิบัติกัมมัฏฐานกัน เมื่ออยู่ไปไม่ได้ผลทางใจ ท่านก็พยายามสืบหาครูบาอาจารย์ ได้ข่าวว่า “อาจารย์วานคำ” เป็นอาจารย์ที่มีชื่อเสียงอยู่ไม่ไกลนัก จึงไปขอพักอาศัยอยู่ด้วย อาจารย์วานคำฯ ก็ได้ให้ความรักใคร่แก่ท่านเป็นพิเศษ ได้สอนให้ทำสมาธิตามวิธีของท่านอยู่ประมาณ ๑๐ เดือน ก็มีบางสิ่งบางอย่างที่ท่านไม่พอใจ คือ ตอนค่ำ ๆ พระจะต้องไปถอนหญ้าถางป่า ตัดต้นไม้ อาจารย์วานคำบอกว่า เราทำอย่างนี้มันก็ผิดวินัยอยู่ แต่จำต้องทำ ภายหลังอาจารย์กงมาทราบว่าผิดวินัยก็ไม่อยากจะทำ แต่ก็จำต้องทำด้วยความเกรงใจ
    อยู่มาวันหนึ่ง ท่านอาจารย์กงมาฯ ท่านก็ได้ทราบข่าวว่า มีตาผ้าขาวคนหนึ่งธุดงค์มาปักกลดอยู่ใกล้ ๆ แถว ๆ นั้น มีผู้คนไปฟังเทศน์กันมาก เกิดความสนใจขึ้น เมื่อได้โอกาสจึงได้ไปหาตาผ้าขาวคนนั้น เมื่อได้พบก็เกิดความเลื่อมใส เพราะเห็นกิริยามารยาท ประกอบกับมีรัศมีผ่องใส จึงได้ถามว่า
    ท่านมาจากสำนักไหน
    ตาผ้าขาวบอกว่า มาจากสำนักท่านอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
    ถามว่า อยู่กับท่านมากี่ปี
    ตาผ้าขาวบอกว่า ๓ ปี
    และตาผ้าขาวได้อธิบายวิธีทำกัมมัฏฐานแบบของท่านอาจารย์มั่น ฯ ให้ฟัง ก็เกิดความเลื่อมใสอย่างจริงจังขึ้น ถามว่า
    เวลานี้ท่านอาจารย์มั่นฯ อยู่ที่ไหน
    ตอบว่าอยู่ที่บ้านสามผง ดงพะเนาว์ อ. วานรนิวาส และท่านอาจารย์กงมาก็ตั้งใจจะไปหาท่านอาจารย์มั่นฯ ให้ได้ และได้ลาตาผ้าขาวคนนั้นกลับวัด มาขอลาท่านอาจารย์วานคำ ไม่ได้รับอนุญาต แม้จะพากเพียรขออนุญาตตั้งหลายครั้ง พออยู่มาวันหนึ่ง อาจารย์วานคำมีธุระไปฟากภู (ข้างหนึ่งของภูพาน) เป็นโอกาสของท่านอาจารย์กงมาฯ จึงได้ชวนพระบุญมี เป็นเพื่อนองค์หนึ่ง แล้วก็พากันหนีออกจากวัดนั้นไป เดินทางเป็นเวลา ๒ วัน ก็ถึงที่ที่ท่านอาจารย์มั่นฯ อยู่ ขณะไปถึง ท่านอาจารย์มั่นฯ กำลังให้โอวาทแก่พระภิกษุสามเณรอยู่ ณ ที่ศาลากำมะลอมุงหญ้าคาหลังเล็ก ๆ ท่านอาจารย์กงมาฯ รู้สึกว่า เมื่อได้มาเห็นภาพเช่นนั้นเข้าให้ตื่นเต้นระทึกใจ เหมือนกับว่ามีปีติตกอยู่ในมโนรมณ์ ตัวชาไปหมด จึงนั่งรอพักอยู่ในที่แห่งหนึ่งใต้โคนไม้ เมื่อท่านอาจารย์มั่น ฯ เสร็จจากการให้โอวาทแล้ว ทั้งสองก็ได้เข้าไปนมัสการขอฝากตัวเป็นศิษย์กับท่านอาจารย์มั่น ฯ
    ท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้ให้พระไปพาขึ้นมา โดยบอกว่านั่นพระแขกมาแล้ว และทั้งสองมีความตั้งใจองค์หนึ่ง อีกองค์หนึ่งเพียงแต่ตามมาเท่านั้น และเมื่อ ท่านอาจารย์กงมา ฯ นั่งแล้ว ท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็ให้กัมมัฏฐานเลยทีเดียว โดยไม่ต้องรอกาลเวลา และก็บอกให้ไปอยู่ที่กุฏิหลังหนึ่งที่เปลี่ยวที่สุด
    ตอนพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ
    พบพระอาจารย์มั่นรับโอวาทครั้งแรก
    เมื่อท่านได้รับโอวาทครั้งแรกของท่านอาจารย์มั่น ฯ แล้ว ก็ทำให้ซาบซึ้งอย่างยิ่ง เริ่มต้นเร่งความเพียรอย่างเต็มความสามารถ ท่านได้กระต๊อบเล็กหลังหนึ่งอยู่ในป่า ณ ดงพะเนาว์นี้เป็นดงใหญ่เต็มไปด้วยสิงห์สาราสัตว์ดุร้ายต่าง ๆ แต่เป็นที่สงบวิเวกเป็นอย่างยิ่ง ขณะที่ท่านกำลังเร่งความเพียรอยู่นั้น ท่านเล่าว่า ณ ที่แห่งนี้เป็นดงมาเลเรีย ถ้าผู้ใดอยู่ที่ไม่ระมัดระวังแล้วเป็นไข้มาเลเรียมีหวังตาย หลังจากได้บำเพ็ญความเพียรมาเป็นลำดับโดยอุบายวิธีของท่านอาจารย์มั่น ฯ ทำให้เกิดสมาธิ ปีติเยือกเย็นใจลึกซึ้งเพิ่มขึ้นทุก ๆ วัน ความเปลี่ยนแปลงไปในทางได้ผลของการบำเพ็ญจิต ไม่อยู่คงที่ คือดำเนินเข้าไปหาความยิ่งใหญ่โดยไม่หยุดยั้ง ท่านจะเข้าไปปรึกษาไต่ถามท่านอาจารย์มั่นฯ ทุก ๆ วันมิได้ขาด เนื่องด้วยความเป็นไปของสมาธิได้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็ได้แก้ไขให้เกิดศรัทธาอย่างไม่มีลดละ ทำให้ท่านมุมานะบากบั่นอย่างไม่คิดชีวิต
    วันหนึ่งท่านไปนั่งสมาธิอยู่ใต้โคนค้นไม้ พอจะพลบค่ำ ยุงได้มากันใหญ่ แต่พอดีกับท่านกำลังได้รับความรู้ทางในแจ่มแจ้งน่าอัศจรรย์ จึงไม่ลุกจากที่นั่ง ได้นั่งสมาธิต่อไป ยุงได้มารุมกัดท่านอย่างมหาศาล และยุงที่นี้เป็นยุงอันตรายทั้งนั้น เพราะมันมีเชื้อมาเลเรีย ท่านก็ไม่คำนึงถึงเลย คำนึงถึงความรู้แจ้งเห็นจริงที่กำลังจะได้อยู่ในขณะนั้น ท่านเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า เราได้ยอมสละแล้วซึ่งชีวิตนี้ เราต้องการรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมอันท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้แนะนำให้ ในการนั่งครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งพิเศษมากเพราะมันเกิดความสว่างอย่างไม่มีอะไรปิดบัง เราลืมตาก็ไม่กว้างเท่า ดูมันทะลุปรุโปร่งไปหมด ภูเขาป่าไม้ไม่มีอะไรมาขวางกั้นได้เลย และมันเป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นแก่เรา แม้จะพิจารณากายสังขารก็แจ้งกระจ่างไปหมด จะนับกระดูกกี่ท่อนก็ได้ เกิดความสังเวชสลดจิตยิ่งนัก หวนคิดไปถึงคุณของท่านอาจารย์ว่าเหลือล้นพ้นประมาณ คิดว่าเราถ้าไม่ได้พบท่านอาจารย์มั่นฯ เหตุไฉนเราจะได้เป็นเช่นนี้หนอ
    ท่านได้นั่งสมาธิจนรุ่งสว่าง พอออกจากสมาธิ ปรากฏว่าเลือดของยุงที่กัดท่านหยดเต็มผ้านิสีทนะ ( ผ้าปูนั่ง ) เต็มไปหมด พอท่านลุกขึ้นมาตัวเบา แม้จะรู้อยู่แก่ใจว่ายุงเหล่านี้มีพิษสงร้ายนัก แต่ท่านก็ไม่อนาทรร้อนใจ เพราะที่ท่านได้รับธรรมนั้นวิเศษนักแล้ว แต่ท่านก็หาได้จับไข้หรือเป็นมาเลเรียเลย นับเป็นสิ่งอัศจรรย์อยู่มากทีเดียว
    ความเป็นมาในวันนี้ท่านได้นำไปเล่าถวายท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้รับการยกย่องสรรเสริญในท่ามกลางพระสงฆ์ทั้งหลายที่มาประชุมกัน และได้พูดว่า ท่านกงมานี้สำคัญนัก แม้จะเป็นพระที่มาใหม่ แต่บารมีแก่กล้ามาก ทำความเพียรหาตัวจับยาก สู้เสียและให้ยุงกินได้ตลอดคืน ควรจะเป็นตัวอย่างแก่ผู้ตั้งใจปฏิบัติทั้งหลาย และท่านอาจารย์มั่น ฯ ก็ได้แสดงถึงมหาสติปัฏฐานโดยเฉพาะ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้ท่านฟังอย่างแจ่มแจ้ง
    ท่านเล่าให้ข้าพเจ้าฟังต่อไปว่า
    เมื่อเราอยู่ที่บ้านสามผงดงพะเนาว์นี้ การทำความเพียรได้บำเพ็ญทั้งกลางคืน และกลางวัน มีการพักหลับนอนในเวลากลางคืนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนตอนกลางวันเราจะเอนหลังลงนอนไม่ได้เลย แม้ว่าเราต้องการจะเอนหลังพักผ่อนบ้าง เพราะความเหน็ดเหนื่อย แต่พอเอนหลังลงเท่านั้น จะมีอีกาตัวหนึ่งบินโฉบมาจับที่หลังคากระต๊อบของท่าน แล้วใช้จะงอยปากสับตรงกลางหลังคาเสียงดังทันที ถ้าท่านไม่ลุกขึ้น มันก็จะสับอยู่อย่างนั้น พอท่านลุกขึ้นมันก็จะหยุด เป็นอยู่อย่างนี้มาหลายเวลาทีเดียว จนท่านไม่กล้าจะพักจำวัดเวลากลางวัน
    ท่านได้เล่าเหตุการณ์ตอนนี้ต่อไปอีกว่า มีคราวหนึ่งที่ท่านต้องหนักใจอย่างยิ่ง คือ ท่านอาจารย์มั่น ฯ ใช้ให้ท่องพระปาฏิโมกข์ให้ได้เสียก่อนจึงจะญัตติเป็น พระธรรมยุต เหมือนกับ ท่านอาจารย์มั่น ฯ เพราะท่านบวชเป็นพระมหานิกายอยู่ก่อน ค่าที่มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง และต้องการที่จะเป็นศิษย์ที่แท้จริงของ ท่านอาจารย์มั่น ฯ เราจึงต้องพยายามอย่างยิ่ง ที่จะท่องพระปาฏิโมกข์ให้ได้ ซึ่งเป็นการขัดข้องเหลือเกิน เนื่องจากเราอ่านหนังสือเขียนหนังสือไทยไม่ได้มาก ถึงได้ก็ไม่ ชำนาญที่จะอ่านถึงหนังสือพระปาฏิโมกข์ แม้จะเป็นเรื่องยากแสนยากนักสำหรับตัวเรา ก็ถือว่าแม้แต่การปฏิบัติจิตใจที่ว่ายากนัก เราก็ยังได้พยายามจนได้รับผลมาแล้ว จะมาย่อท้อต่อการทั้งพระปาฏิโมกข์นี้เสียทำไม เราจึงพยายามทั้งกลางวันกลางคืนเช่นกัน แกะหนังสือไปทีละตัว ถึงกับขอให้พระอื่นที่อ่านหนังสือได้ช่วยต่อให้ เราพยายามอยู่หลายเดือน ในที่สุดก็สำเร็จให้แก่เราจนได้ เป็นอันว่า เราท่องพระปาฏิโมกข์จบอยู่ที่บ้านสามผง ดงพะเนาว์นี้เอง
    แม้การอยู่ร่วมกับท่านอาจารย์มั่น ฯ เป็นเวลานานเป็นปี ๆ นั้น เป็นการอยู่อย่างมีความหมายจริง ๆ วันและคืนที่ล่วงไปไม่เคยให้เสียประโยชน์แม้แต่กระเบียดนิ้วเดียว เราจะไต่ถามความเป็นไปอย่างไรในจิตที่กำลังดำเนิน ท่านจะแก้ไขให้อย่างแจ่มแจ้ง และท่านยังรู้จักความก้าวหน้าถอยหลังของจิตของเราเสียอีก บอกล่วงหน้าให้ได้เลยในการบางครั้ง ทำให้เราเกิดความอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่ง คราวใดที่เราเคร่งครัดการทำความเพียรเกินควร ท่านก็จะทัดทานแนะนำให้ผ่อนลงมา คราวใดเราชักจะหย่อนไป ท่านก็จะเตือนให้ทำหนักขึ้น
    และบางคราวบางเดือน สมควรที่จะให้ไปห่างจากท่าน ท่านก็จะบอกชี้ทางให้ออกไปว่า ไป ณ ที่ถ้ำนั้น ภูเขาลูกนั้น ป่านั้น เพื่อความวิเวกยิ่งขึ้น เราก็จะไปตามคำสั่งของท่าน ทำการปรารภความเพียรในที่ไปนั้น เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง ยิ่งชัดเจนในความสามารถของท่านอย่างไม่มีอะไรจะมาเปรียบปาน ครั้นได้กาลเวลาท่านก็เรียกให้กลับ เพื่อความที่จะแนะนำต่อ เรารู้สึกว่าเมื่อกลับมาจากการไปวิเวกแล้วมาถึง ท่านจะแลดงธรรมวิจิตรจริง ๆ ให้ซาบซึ้งอย่างยิ่ง คล้ายกับว่าท่านได้ล่วงรู้ความเป็นไปต่าง ๆ ที่เราได้กระทำมา นี้ก็ทำให้เราอัศจรรย์ใจอย่างยิ่งอีกเช่นกัน การกระทำเช่นนี้มิใช่ว่าจะแนะนำให้แก่เราแต่ผู้เดียว ทุก ๆ องค์ที่อยู่กับท่านๆ ก็จะแนะนำเช่นเดียวกัน
    ท่านอาจารย์กงมาท่านก็พยายามเล่าเรื่องต่าง ๆ ของท่านในอดีตให้ข้าพเจ้าฟังต่อไปอีกว่า
    ครั้งหนึ่งที่เราได้อยู่กับท่านอาจารย์มั่นผ่านมาเป็นเวลา ๒ ปีเศษ ได้พบเห็นเหตุการณ์ต่างๆ เช่นพระภิกษุสามเณรที่มาอยู่กับท่าน ทุก ๆ องค์ต่างก็สนใจในธรรมอย่างแท้จริง มิได้มีองค์ใดเลยที่ย่อหย่อน และทุกๆ องค์ต่างได้ผลทางใจกันทั้งนั้น เพราะเมื่อผู้ใดมีอะไรเกิดขึ้นจากการบำเพ็ญจิตแล้ว ก็จะนำมาเล่าถวายท่านฟังและในเวลาที่ประชุมกันฟัง ทำให้รู้สึกขนพองสยองเกล้าเอาทีเดียว เมื่อได้ยินแต่ละองค์พูดถึงความจริงที่ตนได้รับ บางองค์ก็พูดเหมือนเรากำลังเป็นอยู่แล้ว และท่านก็แก้ไขให้องค์นั้น เราเองก็พลอยถูกแก้ไขไปในตัวเสร็จ
    บางองค์พูดขึ้นลึกซึ้งเหลือที่เราจักรู้ได้ ก็ทำให้เราอยากรู้อยากเห็น ต่างองค์ก็ต่างไม่สงสัยซึ่งกันและกันว่าคำพูดเหล่านั้นจะไม่จริง ทำให้เรานี้นึกย้อนหลังไปถึงอดีตว่า แม้ครั้งพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ก็คงจะเป็นเช่นนี้เอง เลยทำให้เหมือนกับว่าเรากำลังอยู่ต่อหน้าพระพักตร์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังงั้นแหละ ถึงอย่างไรก็ตาม เราเองเลื่อมใสยิ่ง ทั้งท่านและพระภิกษุสามเณรที่อยู่กับท่าน เพราะเหตุที่เห็นการปฏิบัติและปฏิทาน่าเลื่อมใส และที่ได้เปล่งวาจาแห่งความจริงที่เกิดขึ้นในจิตของแต่ละท่าน
    ในระยะต่อมาท่านอาจารย์มั่น ท่านจะเดินทางกลับไปจังหวัดอุบล ทั้งนี้เพื่อจะส่งมารดาของท่านกลับไปบ้านด้วย หลังจากที่ท่านได้นำมารดาของท่านมาบวชชี แล้วแนะนำการปฏิบัติให้จนเป็นที่พอใจแล้ว จึงได้นัดพระภิกษุที่ติดตามปฏิบัติอยู่กับท่าน เพื่อจะได้เดินทางกลับไปทางจังหวัดอุบล
    การเดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานีอันเป็นถิ่นบ้านเกิดเมืองนอนของท่านในครั้งนี้ ถือว่าเป็นครั้งสำคัญครั้งหนึ่งเพราะบรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งใหญ่และเล็กก็ได้เตรียมที่จะเดินทางติดตามท่านในครั้งนี้แทบทั้งนั้น การจัดการเดินทางโดยการเดินแบบเดินธุดงค์ แต่การธุดงค์นั้นเพื่อให้เป็นประโยชน์ด้วย ท่านจึงจัดเป็นคณะๆ ละ ๓ รูป ๔ รูปบ้าง ท่านเองเป็นหัวหน้าเดินทางไปก่อน เมื่อคณะที่ ๒ ไปก็จะพักที่เดิม คณะที่ ๓-๔ ก็จะพักที่เดิมนั้น ทั้งนี้เพื่อจะได้สอนญาติโยมตามรายทางด้วย การสอนนั้นก็เน้นหนักไปในทางกัมมัฏฐาน และการถึงพระไตรสรณาคมน์ ที่ให้ละการนับถือภูตผีปีศาจต่าง ๆ นานา เป็นการทดลองคณะศิษย์ไปในตัวด้วยว่า องค์ใดจะมีผีมือในการเผยแพร่ธรรม
    ในการเดินทางนั้น พอถึงวันอุโบสถ ก็จะนัดทำปาฏิโมกข์ หลังจากนั้นแล้วก็จะแยกย้ายกันไปตามที่กำหนดหมาย
    การเดินธุดงค์แบบนี้ท่านบอกว่าเป็นการโปรดสัตว์ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พุทธบริษัททั้งหลาย และก็เป็นจริงเช่นนั้น แต่ละแห่งที่ท่านกำหนดพักนั้น ตามหมู่บ้าน ประชาชนได้เกิดความเลื่อมใสยิ่งในพระคณะกัมมัฏฐานนั้นเป็นอย่างดีและต่างก็รู้ผิดชอบในพระธรรมวินัยขึ้นมาก ตามสถานที่เป็นที่พักธุดงค์ในการครั้งนั้น ได้กลับกลายมาเป็นวัดของคณะกัมมัฏฐานเป็นส่วนใหญ่ในภายหลัง โดยญาติโยมทั้งหลายที่ได้รับรสพระธรรมได้พากันร่วมอกร่วมใจกันจัดการให้เป็นวัดขึ้น โดยเฉพาะให้เป็นวัดพระภิกษุสามเณร ฉันมื้อเดียว ฉันในบาตร บำเพ็ญสมาธิกัมมัฏฐาน
    ในครั้งนี้เองพระอาจารย์กงมา ได้เล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า พระอาจารย์ลี ธมฺมธโรเป็นพระมหานิกายอยู่วัดบ้าน อำเภอม่วงสามสิบ ขณะที่เราได้พักอยู่ในป่าแห่งหนึ่งใกล้หมู่บ้านวัดนี้ ท่านอาจารย์ลีก็ได้กิตติศัพท์ว่ามีพระกัมมัฏฐานมาพักอยู่ในที่ใกล้ ๆ แห่งนี้ เห็นจะมีของดี ๆ แจกเป็นแน่ กับไม่ใคร่เคยได้ยินมานานแล้ว ค่าที่อยากจะพบ ในค่ำคืนวันหนึ่งท่านอาจารย์ลี ฯ จึงได้ไปหาเรา ณ ที่พักรุกขมูลอยู่ในป่านั้น
    ตอนพระอาจารย์ลี ธมฺมธโร
    พบ ท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ
    ท่านอาจารย์กงมาเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่าเมื่อท่านได้เดินธุดงค์ตามท่านอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ เพื่อไปส่งมารดาของท่านที่บวชชีไปอยู่จังหวัดอุบลนั้น ท่านได้แวะพักที่บ้านของท่านอาจารย์ลี ขณะนั้นท่านบวชเป็นภิกษุอยู่ที่วัดบ้าน เมื่อท่านอาจารย์ลีทราบข่าวว่ามีพระธุดงค์มาพักที่ป่าช้า ก็เกิดความสนใจขึ้น จึงได้มาพบพระอาจารย์กงมา ซึ่งมีมารยาทที่น่าเลื่อมใส ผิดกับภิกษุอื่นๆ ที่เคยเห็นมา ทำให้เกิดความเลื่อมใสในใจเป็นอย่างยิ่ง ครั้นเมื่อได้เข้าไปนมัสการไต่ถามถึงธรรมต่าง ๆ ก็ให้เกิดความเลื่อมใสยิ่งขึ้น โดยเฉพาะท่านอาจารย์กงมา ท่านได้อธิบายธรรมที่ท่านได้รับการปฏิบัติทางใจมาจากท่านอาจารย์มั่น ฯ และการปฏิบัติที่ผ่านมาแล้ว ยิ่งทำให้ท่านอาจารย์ลีเกิดความสนใจเป็นพิเศษ
    ท่านอาจารย์กงมาได้เล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า ครั้งแรกที่เราได้แสดงธรรมให้แก่ท่านอาจารย์ลีนั้น เราได้แสดงถึงข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณากายให้เกิดอริยสัจจธรรม ตามแนวของท่านอาจารย์มั่น ฯ จึงทำให้ท่านอาจารย์ลีที่กำลังฟังนั้นนั่งนิ่งเหมือนกับถูกสะกดจิตทีเดียว
    จากคืนวันนั้น ก็ทำให้ท่านอาจารย์ลีได้ตัดสินใจที่จะไปธุดงค์กับท่านอาจารย์กงมา โดยการเดินติดตามท่านอาจารย์มั่นฯ ไปจนถึงจังหวัดอุบล เมื่อไปถึงจังหวัดอุบล พักอยู่วัดบูรพาราม พอดีกับท่านเจ้าคุณปัญญาพิศาลเถระ (หนู) อดีตเจ้าอาวาสวัดปทุมวนารามขึ้นมาจากกรุงเทพ ฯ พักอยู่ที่วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี และท่านเจ้าคุณปัญญา ฯ นี้ ได้เป็นเพื่อนสหธัมมิกกับพระอาจารย์มั่น ฯ จึงขอให้เป็นอุปัชฌาย์ญัตติบวชใหม่ให้ท่านอาจารย์กงมาและท่านอาจารย์ลี โดยพระอาจารย์กงมาเป็นนาคขวา พระอาจารย์ลีเป็นนาคซ้าย เพราะเหตุนั้นท่านทั้งสองจึงได้มีการสนิทสนม และเคารพนับถือซึ่งกันและกันตลอดมา
    ขณะที่ผู้เขียนเป็นสามเณร และได้ติดตามพระอาจารย์กงมา เป็นศิษย์ก้นกุฏิ ก็ได้เห็นท่านทั้งสองปรึกษาธรรมและกิจการพระศาสนาอยู่เสมอๆ ดังนั้นเมื่อท่านพระอาจารย์ลี ได้ไปเผยแพร่ข้อปฏิบัติธรรมทางจันทบุรี มีประชาชนให้ความสนใจมาก และมีความเลื่อมใสในข้อปฏิบัติของกัมมัฎฐานกว้างขวางขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงได้มีจดหมายไปอาราธนาท่านพระอาจารย์กงมา ซึ่งขณะนั้นจำพรรษาอยู่ที่บ้านใหม่สำโรง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา อันเป็นบ้านเดิมของผู้เขียน ท่านอาจารย์กงมาก็มีความยินดี ที่จะมาร่วมงานการเผยแพร่พุทธธรรมข้อปฏิบัติ จึงได้เดินทางมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙ ซึ่งข้าพเจ้าเป็นสามเณรได้ติดตามท่านมาด้วย
    การเดินทางครั้งนั้นได้โดยสารเรือทะเลมา ชื่อเรือภาณุรังสี นับว่าเป็นการเห็นทะเลครั้งแรกของผู้เขียน เป็นการอัศจรรย์ดีเหมือนกันเมื่อได้เห็นความกว้างขวางของทะเล
    เมื่อพระอาจารย์กงมาได้มาถึงจันทบุรี ก็ได้มาพักอยู่ที่วัดป่าคลองกุ้ง อันเป็นวัดกัมมัฏฐานวัดแรกของจังหวัดจันทบุรีที่พระอาจารย์ลีได้มาริเริ่มก่อสร้างขึ้น
    ขณะนั้น ชาวจันทบุรีโดยทั่วไปมีความประสงค์ที่จะให้พระอาจารย์กัมมัฏฐานไปแนะนำข้อปฏิบัติตามถิ่นของตน ๆ มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวบ้านหนองบัว อำเภอเมืองนั้นมีความสนใจในธรรมกันมาก ได้เคยพยายามมาติดต่อท่านอาจารย์ลีอยู่เสมอ เพื่อขอพระอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิไปสร้างวัด เพื่อให้เป็นสถานที่อบรมการปฏิบัติ ก็พอดีวันนั้นได้มีนายหลวน และนายเสี่ยน ชาวบ้านหนองบัวได้ไปที่วัดป่าคลองกุ้งอีกครั้งหนึ่ง ได้พบกับพระอาจารย์กงมาเกิดความเลื่อมใสได้อาราธนาให้ท่านไปที่บ้านหนองบัวเพื่อจะได้ไปสอนธรรมปฏิบัติ ท่านพระอาจารย์กงมาจึงบอกว่าให้กลับไปก่อน ลองเสี่ยงความฝันดู ถ้าดีก็ให้มารับไป ถ้าไม่ดีก็ไม่ต้องมารับ
    นายหลวนจึงบอกว่า “ผมฝันดีแล้วตั้งแต่เมื่อคืนนี้”
    ท่านพระอาจารย์กงมาถามว่า “ฝันว่าอย่างไร ลองเล่าให้ฟังที”
    นายหลวนจึงเล่าว่า “ผมฝันว่าได้ช้างเผือน ๒ เชือกงามมาก ตัวหนึ่งเป็นแม่ ตัวหนึ่งเป็นลูก ขณะที่ฝันนั้นผมดีใจมาก พยายามลูบคลำช้างนั้นอย่างรักใคร่เป็นอย่างมาก นายหลวนได้พูดเสริมต่อไปว่า ผมนึกว่าผมจะถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ ๑ เสียแน่แล้ว แต่ว่าหาใช่เช่นนั้นไม่ คือผมจะได้อาจารย์ไปสอนธรรมะให้พวกกระผมนั่นเอง ซึ่งพวกกระผมดีใจกว่าถูกลอตเตอรี่เสียอีก”
    ท่านอาจารย์กงมาได้ฟังนายหลวนเล่าให้ฟังเช่นนั้น ก็จึงได้ตกลงใจที่จะไปบ้านหนองบัว นัดวันให้มารับ คือวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๕ ปีชวด พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้ไปกับสามเณรวิริยังค์ ( คือผู้เขียน ) การไปบ้านหนองบัวนั้นต้องไปทางเรือแจว ใช้เวลา ๒ ชั่วโมง ขณะที่ไปในเรือซึ่งมีคณะเก่าของนายหลวน-นายเสี่ยน กับพวกอีก ๕ คนมารับ และนายหลวนได้พูดขึ้นว่า เป็นการแน่นอนแล้วสำหรับความฝันของผมว่าได้ช้างเผือก ๒ เชือกแม่กับลูก คือท่านอาจารย์กงมา กับสามเณรนี้เอง ทำให้พวกเขาเกิดความปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง พวกเราได้ไปถึงบ้านหนองบัว และเดินต่อไปที่ป่าช้า ซึ่งเขาจะจัดให้เป็นที่สร้างวัด ซึ่งปรากฏเป็นวัดทรายงามในเวลาต่อมา ได้ถึงเวลาป่ายโมงกับสิบห้านาที
    การสร้างวัดทรายงามนี้ ท่านอาจารย์กงมาท่านได้สร้างคน หมายความว่าท่านได้สร้างคุณธรรมให้แก่คนในละแวกนั้นอย่างเต็มที่ เพราะตั้งแต่วันมาถึง ท่านได้เปิดการแสดงธรรมทุกวัน ก็มีประชาชนสนใจมาฟังทุกวันมิได้ขาด นอกจากแสดงธรรมแล้ว ท่านก็นำบำเพ็ญสมาธิ จนปรากฏว่ามีผู้ได้รับธรรม จนเกิดปีติภายในกันมากในระยะ ๓ เดือนแรก ท่านอาจารย์ได้แสดงธรรมอย่างวิจิตรพิสดารทำให้ชาวบ้านนั้นเกิดศรัทธา ได้ช่วยสร้างศาลาการเปรียญและกุฏิอย่างรวดเร็ว พอกับพระ ๕ รูป สามเณร ๑ รูปในปีนั้น
    ตลอดระยะเวลา ๕ ปีของท่านพระอาจารย์กงมา ที่ท่านได้อยู่สร้างวัดที่จันทบุรีนี้ ท่านได้ทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนามากอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการแนะนำในการปฏิบัติธรรม ทั้งผ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์
    เป็นอันว่า จังหวัดจันทบุรีในขณะนั้นได้มีผู้สร้างบุคคลให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ๒ องค์ คือ พระอาจารย์ลี และพระอาจารย์กงมา ได้ช่วยกันเผยแพร่ธัมมะปฏิบัติกว้างขวางออกไปทุกอำเภอ และหลาย ๆ ตำบล อันเป็นผลงานปรากฏจนถึงทุกวันนี้ คือปรากฏว่ามีวัดที่เป็นวัดปฏิบัติอยู่แทบทุกอำเภอ เช่น วัดคลองกุ้ง วัดเขาแก้ว วัดเขาน้อย ท่าแฉลบ วัดยางระโหง วัดเขากระแจะ วัดทรายงาม วัดดำรงธรรม วัดมณีคีรีวงศ์ วัดสถาพรวัฒนา วัดสามัคคีคุณาวาส (วัดสถานีทดลองพริ้ว) ฯลฯ นี้คือผลงานของพระอาจารย์ทั้งสอง และนี้เป็นทางด้านวัตถุ ส่วนทางด้านธรรมคือ ทำให้เกิดพระที่เป็นสมภารให้แก่วัดต่าง ๆ ซึ่งกำเนิดมาจากวัดทรายงาม หนองบัวไปเป็นสมภาร มีพระครูสุทธิธรรมรังสี (เจี๊ยะ จุนโท) พระครูญาณวิโรจน์ (ปทุม) พระอาจารย์ถวิล พระมหาเข้ม พระอาจารย์สันติ สันติปาโล เป็นต้น ส่วนทางอุบาสกอุบาสิกาก็ได้รับรสพระธรรมตกทอดมาจนถึงลูกหลาน ก็ได้มาเข้าวัดฟังธรรม และปฏิบัติจนเป็นหลักฐานในทางใจ ได้รับผลสืบต่อมาจากบิดามารดา จนปรากฏว่ายังมีการปฏิบัติธรรมกันเป็นอย่างดีทุก ๆ วัด ที่เป็นวัดเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของศิษย์ท่านอาจารย์ทั้งสอง
     
  20. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ใต้สามัญสำนึก ๓
    [​IMG]
    พ.ศ. ๒๔๘๔
    ในปีนี้ท่านอาจารย์กงมาท่านได้ทราบข่าวว่า ท่านอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ ได้กลับจากเชียงใหม่ หลังจากที่ได้อยู่เป็นเวลานานถึง ๑๒ ปี เพราะท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธโล) ไปนิมนต์ให้มาโปรดญาติโยมทางจังหวัดอุดรธานี และได้อยู่ที่จังหวัดนี้ ๓ ปี แล้วจึงไปจังหวัดสกลนคร ได้ไปพักอยู่ที่ป่าแห่งหนึ่งใกล้กับบ้านโคก ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร อันเป็นบ้านเกิด บ้านเดิมของท่านอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ
    ท่านเมื่อได้ทราบข่าวเช่นนี้ มิได้รอช้า คิดถึงวัดวาอารามที่ท่านได้สร้างด้วยทุนทรัพย์มหาศาล และญาติโยมที่ได้ปฏิบัติธรรมอยู่กับท่าน ทุก ๆ อย่างล้วนแต่เป็นสิ่งน่าจะต้องผูกพันมากมาย เช่นวัตถุก่อสร้างที่น่ารื่นรมย์ ญาติโยมที่นอบน้อมเลื่อมใสมากมายนัก แต่ท่านไม่ได้คิดเอาแต่สิ่งเหล่านี้มาเป็นสิ่งที่ขัดขวาง หรือเป็นอุปาทานเลย เมื่อถึงเวลาที่จะไปนมัสการท่านอาจารย์มั่น ฯ แล้ว ขณะนั้น ข้าพเจ้าผู้เขียนกำลังธุดงค์อยู่อำเภอขลุง กำลังเทศนาสั่งสอนญาติโยมอยู่ด้วย ท่านอาจารย์กงมาก็ให้พระไปบอกว่า ให้รีบกลับ และเดินทางไปหาท่านอาจารย์มั่น ฯ ด้วยกันในวันปรืนนี้
    ข้าพเจ้าก็มิได้สะทกสะท้าน เพราะพวกเรามีสมบัติอยู่แต่เพียงแค่บาตรใบเดียวจีวรครองอยู่เท่านั้น ก็จึงได้เริ่มออกเดินทาง เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๔ มันเป็นระยะเวลาพอดีเอาเสียจริง ๆ เพราะปีนี้มาอยู่จังหวัดจันทบุรีวัดทรายงามเป็นวัดแรกก็เดือนเมษายน เวลาจะจากไปก็เดือนเมษายน
    ในครั้งนั้นญาติโยม อุบาสก อุบาสิกา ได้พากันเศร้าโศกร้องไห้เป็นการใหญ่ ต่างก็พากันเสียดายท่านอาจารย์กงมา และข้าพเจ้าผู้เขียน เนื่องจากขณะที่อยู่ ณ ที่นั้นเป็นเวลา ๕ ปี ก็ได้ทำประโยชน์ทั้งทางด้านวัตถุ และทางด้านจิตใจอย่างมากมาย เป็นอันว่าพวกเราไม่มีการคิดถึงเหตุการณ์เหล่านี้เท่าใดนัก ท่านอาจารย์กงมาท่านว่า
    “เราไม่ต้องกังวล เรารีบเดินทางไปเถิด”
    ได้เริ่มเดินทางโดยเท้าธุดงค์ออกจากวัดทรายงาม วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๔๘๔ เวลา ๑๐.๒๐ น. ไปสู่อำเภอมะขาม อันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดจันทบุรี ท่านอาจารย์กงมาได้พูดกับข้าพเจ้าว่า
    “เราตัวเปล่า ๆ หมดภาระสบายจริง”
    และได้พักอยู่อำเภอมะขามนี้ ๑ คืน ข้าพเจ้าถามท่านว่า
    “ก็อยู่ที่วัดทรายงามมีที่นอนหมอนมุ้ง น้ำอ้อย น้ำตาล น้ำหวาน น้ำอัดลม อาหารทุกอย่างอุดมสมบูรณ์ แต่เวลานี้เรานอนบนดิน ไม่มีแม้แต่น้ำตาลสักก้อน ทำไมท่านอาจารย์จึงว่าสบาย”
    ท่านอาจารย์พูดว่า “วิริยังค์ นั่นมันเป็นอาหารภายนอก บัดนี้เรามาได้อาหารภายใน ต่อการละอุปาทาน ไม่ต้องไปเป็นสมภารให้มันหนักอึ้ง เราแม้จะนอนกับดินกินกับหญ้า แต่อิ่มด้วยธรรมปีติแล้ว”
    ท่านได้กล่าวอย่างนี้กับข้าพเจ้า ในขณะที่ข้าพเจ้ากำลังถวายการนวดให้แก่ท่านในค่ำคืนวันนั้น.
    ตอนพระอาจารย์กงมา กับ พระวิริยังค์
    เดินธุดงค์ตามพระอาจารย์มั่น ฯ
    การเดินธุดงค์ ในกาลครั้งนี้ของท่าน พระอาจารย์กงมา กับ พระวิริยังค์เป็นไปด้วยการมีความหมายเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการปลดภาระจากการก่อสร้างวัดและการผูกพันการสั่งสอนประชาชน พร้อมกับการถือเขาถือเราในการยึด กุลปลิโพธ
    ข้าพเจ้าผู้เขียนหวนระลึกไปถึงในกาลครั้งนั้น ยังรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่มีเพียงครั้งเดียวในชีวิตของการเดินธุดงค์มหาวิบาก แม้จะมีการเดินอยู่ตลอดเวลาอันยาวนาน แต่ก็ไม่เหมือนครั้งนี้ จะเป็นเพราะเหตุใด ผู้เขียนเข้าใจในภายหลังว่า พระอาจารย์กงมา ท่านต้องการทรมานตัวของท่านและข้าพเจ้าผู้เขียนไปด้วย. เพราะการเดินธุดงค์ครั้งนี้จุดมุ่งหมายมีอยู่ ๒ ประการ ประการที่ ๑ ต้องการทรมานกิเลส เมื่อพบที่สงบดีก็จะพักภาวนาอยู่หลายวัน เพื่อเพิ่มพูนพลังจิต ประการที่ ๒ เพื่อไปพบพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ อันเป็นจุดประสงค์แท้จริง
    จากอำเภอมะขาม ท่านก็เดินด้วยเท้า ข้าพเจ้าก็เดินด้วยเท้า ไปตามทางเกวียนบ้าง ทางเท้าบ้าง แดดร้อนจ้า เมื่อเดินออกทุ่งแต่เป็นทุ่งหญ้า ท่านรู้สึกจะเหนื่อยมาก จึงพาข้าพเจ้าแวะที่ร่มไม้แห่งหนึ่ง และขอฉันน้ำ ข้าพเจ้าถวายท่าน ๑ แก้ว น้ำนี้ข้าพเจ้าสะพายมันมาจากอำเภอมะขามโดยใส่กระติก ข้าพเจ้าเองก็ไม่กล้าฉันในระหว่างเดินทาง เพราะกลัวน้ำจะหมด หลังจากท่านได้ฉันน้ำแล้วท่านบ่นออกมาว่า
    “แหม ร่างกายนี้มันคอยจะหาเรื่องอยู่เรื่อยทีเดียว”
    ข้าพเจ้าถามท่านว่า “หาเรื่องอะไรครับ”
    “ก็หาเรื่องจะให้กลับไปนอนเตียงที่วัดน่ะซี และไปไหนมาไหนก็มีรถยนต์เรือไฟ แต่เราจะไม่ยอมเชื่อมัน แม้จะลำบากเท่าไรก็ทรมานมันต่อไป”
    พอหายเหนื่อย ท่านก็พาข้าพเจ้าเดินต่อไป คราวนี้ข้าพเจ้าเห็นว่าท่านต้องแบกกลด สะพายบาตร ของในบาตรก็หนัก ข้าพเจ้าจึงเอาผ้ามุ้งกลดมาพันเข้ากับตัว แล้วเอาสายสะเดียงรัดให้แน่น จึงเอากลดและบาตรของท่านมาสะพายแลแบกไป ทำให้ข้าพเจ้าต้องแบกสัมภาระหนักอีกเท่าตัว สำหรับข้าพเจ้าไม่เป็นไร เพราะในขณะนั้นกำลังหนุ่มน้อย อายุ ๒๒ ปีเท่านั้น จึงไม่รู้จักคำว่าเหนื่อย และด้วยความเคารพและศรัทธาในตัวอาจารย์ของข้าพเจ้าอย่างสุดซึ้ง จึงทำให้ไม่มีความสะทกสะท้านอะไรเลยในตัว และต้องการจะสนองคุณของครูบาอาจารย์อย่างยิ่ง
    เป็นเวลาค่ำลงแล้ว เห็นหมู่บ้านเล็ก ๆ บ้านหนึ่งมีประมาณ ๕ หลังคาเรือน ท่านได้พาแวะพักที่นั้นโดยยึดโรงฟางที่เขาเก็บเอาไว้เลี้ยงโค-กระบือ แม้จะเป็นการเดินที่เหน็ดเหนื่อย แต่ท่านก็ยังพาข้าพเจ้านั่งสมาธิอยู่ตลอดเวลา ท่านบอกว่าเหนื่อยก็จริงแต่พอนั่งสมาธิแล้วก็หายเหนื่อย ตอนนี้มีชาวบ้านมาหาท่านอยู่ ๒-๓ คน ตื่นเช้าเขาถวายอาหารบิณฑบาตแล้วก็เดินต่อไป
    ถึงกิ่งอำเภอพญากำพุด อันเป็นกิ่งอำเภอทุรกันดารเหลือเกินเพราะรถยนต์มาไม่ได้ เดินมาถึงที่นี่ก็ค่ำแล้ว ก็แวะพักที่ใต้โคนต้นไม้ พอที่จะเป็นสถานที่ทำความเพียรสงบสงัด ข้าพเจ้ากางกลดปูที่นอนกับดินเพียงแค่เอาผ้าอาบน้ำปูถวาย ใช้เท้าบาตรเป็นหมอนตามมีตามได้ และคอยนั่งเฝ้าปฏิบัติท่านตลอดเวลา ท่านก็ให้โอวาทแก่ข้าพเจ้าเช่นเคยโดยบอกว่า
    “วิริยังค์ อันการที่จะหาเรื่องกังวลใส่ตัวเองนั้น มันไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง และควรจะพิจารณาในเมื่อเห็นหญิงสาวให้เห็นเป็นสิ่งปฏิกูลน่าเกลียดและพึงพิจารณามิให้มันเข้ามาอยู่ในใจว่าเป็นของสวยงาม ทั้งตัวเราและตัวเขา”
    หลังจากนั้นท่านก็พักผ่อนจนจนรุ่งสว่างแล้วออกบิณฑบาต มีแต่ชาวเขมรทั้งนั้น เขาเห็นพวกเราเข้าไปบิณฑบาต ตะโกนกันทั่วไปให้ใส่บาตรว่า “ลูกสงฆ์โม๊กเฮย” ข้าพเจ้าไม่รู้ว่าเขาพูดว่าอะไร บัดเดี๋ยวใจก็ปรากฏว่ามีคนมาใส่บาตรกันเต็มไปหมด แต่ไม่มีใครใส่กับข้าวเลย กลับจากบิณฑบาตแล้วมีคนนำกับข้าวมาคนเดียว แกงถ้วยเล็ก ๆ แต่ข้าวอร่อยมากเป็นข้าวจ้าวแต่เหนียวหอม ก็เลยต้องเอาน้ำฉันไปกับข้าวพอเป็นยาปนมัตต์
    ฉันเสร็จแล้วก็เดินต่อไปทั้งวัน นั่งพักบ้างเดินบ้าง ตอนนี้ท่านก็ค่อยแข็งแรง ขึ้นไปจนไปถึงบ้านโอลำเจียก มาถึงนี้มีพระสมภารมาขอให้ท่านไปพักในวัดของเขา แม้ท่านอาจารย์กงมา ท่านจะไม่อยากจะไป แต่ท่านสมภารอ้อนวอนอยู่นาน ท่านได้ตกลงเข้าไปพักในวัดนั้น เขาได้จัดแจงตกแต่งที่หลับที่นอนให้อย่างดี ต้อนรับอย่างเต็มอกเต็มใจ เพราะสมภารวัดนี้ท่านรู้ดีว่า ท่านอาจารย์กงมา เป็นอาจารย์ที่มีชื่อเสียงมาก
    พอค่ำลงข้าพเจ้าก็เข้าปฏิบัติท่านตามปรกติ ท่านบอก ดูเถิดเราจะหนีวัด ยังไงถึงเข้ามาวัดอีก ข้าพเจ้าได้พูดว่า เขามีศรัทธาก็ฉลองศรัทราเขาหน่อย ท่านตอบว่า เพราะฉลองศรัทธานี้แหละมันทำให้ธุดงค์ต้องเสียหาย
    รุ่งเช้ามันเป็นภาพประทับใจข้าพเจ้าอย่างบอกไม่ถูก ข้าพเจ้าแทบไม่เชื่อในสายตาของข้าพเจ้าเอาจริง ๆ โดยที่ข้าพเจ้าเห็นสมภารที่วัดนี้ขึ้นอยู่บนยอดต้นมะพร้าวกำลังปลิดผลมะพร้าวอ่อนหย่อนลงมากองพะเนิน และท่านสมภารได้ลงมาเฉาะมะพร้าวเอง แล้วให้ข้าพเจ้าถวายท่านอาจารย์กงมา ไม่ทราบว่ายังไง ท่านทำอาการขยะแขยง ข้าพเจ้าพยายามข่มจิตใจในขณะนั้น ท่านก็คงข่มเช่นกัน แล้วพวกเราก็ฉันน้ำมะพร้าวอ่อนในวันนั้นอย่างเต็มที่ สมภารดีใจมากและต้องการจะให้พวกเราอยู่ต่อไปให้หลาย ๆ วัน แต่ท่านก็บอกว่ามันเป็นการผิดวัตถุประสงค์ พวกเราก็ต้องลาสมภารนั้นไปหลังจากฉันเสร็จแล้ว สมภารนั้นรู้สึกอาลัยอาวรณ์พวกเรามาก แต่จะทำอย่างไรได้ ท่านเดินธุดงค์ ข้าพเจ้าเดินธุดงค์ต่อ และท่านก็พูดว่า
    “ดูเถอะ พระท้องถิ่นนี้ช่างไม่รู้วินัยกันเลย ศรัทธาดีแท้ ๆ เลื่อมใสแท้ ๆ แต่ทำผิด ดูซิขึ้นต้นมะพร้าว ยังปลิดมะพร้าวเอง ผิดวินัยทั้งนั้น แต่ไม่รู้จะบอกเขาอย่างไร เราก็เป็นพระแขกก็ต้องปล่อยตามเรื่องไป”
    ตอนเข้าเขตเขมร (บ่อไพลิน)
    กาวเดินทางวันนี้โดยความประสงค์จะให้ถึงบ่อไพลิน อันเป็นแดนเขมร ซึ่งขณะนั้นเป็นของไทยอันเป็นผลของการรบสงครามอินโดจีน พวกเราจึงเดินทางเข้าไปไม่ต้องมีพาสสปอร์ต ระยะทางจากบ้านโอลำเจียกไปถึงบ่อไพลินประมาณ ๓๐ –๔๐ กิโลเมตรถึง ๑,๐๐๐ กว่าเส้น ท่านบอกว่าวันนี้เราจะต้องเดินให้ถึง ก็ต้องพยายามและก็ได้รับความเหน็ดเหนื่อยมาหลายวันแล้วก็เหนื่อยกันต่อไป เพราะช่วงนี้ยาวมาก
    ขณะนั้นดูสถานที่เดินทางไปยังมีร่องรอยของสงครามอินโดจีน คือมีสนามเพลาะลวดหนามอยู่เรียงราย ตกเย็นประมาณ ๑๘.๐๐ น. ก็ถึงหมู่บ้านขุดพลอย แต่ไม่ใช่บ่อไพลิน อยู่ในเขตอำเภอไพลิน เป็นเวลาค่ำแล้ว ก็แวะเข้าพักในวัด ทุก ๆ วัดเป็นวัดแบบพม่า แต่พวกนี้กุหล่าหรือไทยใหญ่อยู่ เมื่อสงครามอินโดจีน พวกกุหล่าเหล่านี้อพยพเข้าไปอยู่ในประเทศไทย จังหวัดจันทบุรีเป็นส่วนมาก ข้าพเจ้าผู้เขียนได้เคยจัดอาหารหรือวัตถุต่าง ๆ ไปช่วยเป็นจำนวนมาก จนรู้จักกับพวกกุหล่าเหล่านี้เป็นอย่างดี แต่ที่นี่มีหมู่บ้านเล็กน้อย ตามวัดต่าง ๆ นั้นเวลานี้ไม่มีพระสักองค์เดียว ร้างหมด ตามวัดถูกตัดต้นมะพร้าวเอามาทำหลุมเพลาะเพื่อสงคราม ตามวัดต่าง ๆ ก็เป็นที่พักของพวกทหารฝรั่งเศส แต่ขณะนี้ไม่มีเสียแล้วเพราะฝรั่งเศสแพ้สงครามไป
    ท่านอาจารย์กงมา จึงพาข้าพเจ้าพักอยู่ที่นี่ ๑ คืน ภายในวัดและบนกุฏิเข้าของเสียหายมาก เหลือแต่ความอ้างว้าง และพวกค้างคาวมาอยู่จับกันเต็มไปหมด มีแต่ขี้ค้างคาว พวกเราต้องเข้าปัดกวาดกันหลายชั่วโมงจึงจะเข้าพักได้ พวกชาวบ้านพอทราบว่าพวกเรามาก็ดีใจ เพราะไม่มีพระทำบุญมานานแล้ว พระของเขาได้หนีกลับไปประเทศพม่าหมด
    ตอนเช้า ท่านอาจารย์กงมา ก็พาข้าพเจ้าไปบิณฑบาต ทุกคนออกมาใส่บาตรกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง เขาเรียกพระว่า (เจ้าบุญ) เรียกสามเณรว่า (เจ้าสร้าง) พระเรียกโยมผู้ชายว่า (ตะก้า) ส่วนโยมผู้หญิง “ตะก้าม้า” เทศน์เขาว่า “ฮอติยา” วันนี้พวกเขาพากันดีใจมากที่ได้พบพระมาบิณฑบาต ในตอนกลางวันเขาพากันมาทำความสะอาดลานวัดจนเป็นที่น่าดู แต่ท่านอาจารย์ก็อยู่ให้เขาเพียง ๒ วันเท่านั้น แล้วก็เดินทางไปบ่อไพลินใช้เวลาเพียง ๑ ชั่วโมง คณะญาติโยมชาวกุหล่าก็ขอให้พักอยู่อีก ท่านอาจารย์ก็ไม่ขัดข้อง แต่ก็เหมือนเดิม วัดใหญ่ ๆ ไม่มีพระสักองค์เดียว ท่านอาจารย์ก็พาข้าพเจ้าพักอยู่นี้อีก โดยพวกกุหล่าทั้งหลายได้พากันมาทำความสะอาดสถานที่ ขนขี้ค้างคาวกันเป็นเวลาตั้งหลายชั่วโมงเป็นที่เรียบร้อย แล้วก็พักในวัดนี้ ท่านอาจารย์กงมาพาข้าพเจ้าพักอยู่ที่นี้เป็นเวลา ๑๐ วัน ตามคำเรียกร้องของชาวกุหล่า
    ในขณะที่พวกเราอยู่นี้ ท่านอาจารย์ได้ถามประวัติว่า แต่ครั้งแรก ๆ ที่จะมาอยู่ที่นี้นั้น อยู่ที่ไหนมาก่อน พวกชาวกุหล่าจึงได้เล่าประวัติของชาวกุหล่าที่มาอยู่อำเภอบ่อไพลินให้พวกเราฟัง ข้าพเจ้าผู้เขียนซึ่งนั่งฟังอยู่ด้วย
    ประวัติบ่อไพลิน
    ไพลิน-เป็นชื่อพลอย เป็นพลอยที่มีค่ามาก เทียบเท่ามรกต มีสีเขียว
    เขาเล่าให้ฟังว่า ครั้งแรกพวกเขานำเอาผ้ามาขาย แต่เดิมเป็นที่อยู่ของชาวเขมร เขาเอาผ้ามาขายเป็นเวลาหลายปี มีหลายพวกด้วยกันจนเป็นที่ชินหูว่า กุหล่าขายผ้า เหมือนแขกขายผ้าบ้านเรา ในวันหนึ่งมีคณะกุหล่าขายผ้านำเอาผ้าไปขายแล้วก็ขอพักอยู่กับในบ้านกับชาวเขมร ชาวเขมรได้เอาหมากพลูบุหรี่มาเลี้ยงเป็นการต้อนรับ ขณะนั้นชาวกุหล่าได้เหลือบไปเห็นหินเป็นก้อน ๆ สีเขียววางอยู่ในเชี่ยนหมากจึงหยิบมาดูก็รู้ ได้ทันทีว่าเป็นพลอยที่มีค่ามาก จึงพูดกับชาวเขมรว่า “อันหินอย่างนี้มีที่ไหนบ้าง” ชาวเขมรบอกว่ามีถมไป กุหล่าจึงบอกว่าถ้าอย่างนั้น ก็ขอให้หามาให้ที เราจะให้ผ้าทั้งหมดที่เอามา เขมรดีใจใหญ่ ไปขนพลอยไพลินมาแลกกับผ้า จนกุหล่ามีเงินเท่าไรก็รางวัลให้เขมรหมด ได้พลอยไพลินจำนวนมากกลับบ้าน แล้วขายพลอยเหล่านั้นหมดจนได้เป็นเศรษฐี อยู่ที่มะละแหม่งจนปัจจุบันนี้ ครั้นชาวกุหล่ารู้เหตุเช่นนี้ก็มาเป็นการใหญ่ มาขุดพลอยจนร่ำรวยหมู่แล้วหมู่เล่า แล้วก็กลับไป แล้วหมู่ใหม่ก็มาจนถึงปัจจุบันจึงพาหันมาตั้งรกรากอยู่กันอย่างหนาแน่น นี้เป็นประวัติของหมู่บ้านนี้
    ข้าพเจ้าได้สังเกตดูชาวบ้านกุหล่าเป็นคนมีฐานะดีทั้งนั้น ชาวเขมรฐานะต่ำต้อยมาก ทั้งนี้เนื่องจากอะไรไม่ทราบ
    เมื่อเขาเล่าประวัติจบ ตอนค่ำ ท่านอาจารย์กงมา ได้พูดกับข้าพเจ้าว่า
    “ดูเอาเถิด คนฉลาดและคนไม่ฉลาดต่างกันอย่างนี้ แม้แต่ผู้ที่จะปฏิบัติพระพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกัน ชาวบ้านกุหล่านี้เป็นตัวอย่างได้เป็นอย่างดี เปรียบเหมือนความดีของพระพุทธศาสนานั้นมีอยู่ในตัวของเราทุกคน แต่ไม่รู้จักหาวิธีทำให้มีประโยชน์เกิดขึ้นโดยขาดปัญญา เช่นเดียวกับพวกเขมรที่เอาพลอยอย่างดีแลกแต่เสื้อผ้าเท่านั้นเอง คนมีปัญญาก็สามารถปฏิบัติตัวของเราให้เห็นอัตถธรรมได้ ตัวเธอจงเข้าใจเถอะ ถ้าทำตัวโง่ก็มีของดีเสียเปล่า ไม่ได้ประโยชน์อะไร นั่งเฝ้านอนเฝ้าศาสนาแต่ไม่ได้ประโยชน์อะไร ส่วนผู้มีปัญญาย่อมหาประโยชน์จากตัวของเราได้ เหมือนเรื่องประวัติบ่อไพลิน ชาวเขมรกับชาวกุหล่านั่นเอง วิริยังค์ เธอจงเปรียบเทียบเอาเองเถิด”
    ข้าพเจ้ารู้สึกซาบซึ้งในข้อเปรียบเทียบนี้มาก
    การเดินธุดงค์ทุรกันดารไกลเป็นพิเศษครั้งหนึ่งในชีวิตของพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ กับข้าพเจ้าซึ่งได้ทั้งความวิเวก ได้ทั้งทัศนศึกษาเฉพาะอย่างยิ่งได้ความอดทนเป็นพิเศษ
    ขณะที่พวกเราธุดงค์รอนแรมมาจากจังหวัดจันทบุรี จนถึงบ่อไพลิน อันเป็นที่อยู่ของชาวกุหล่า (ไทยใหญ่) ก็ทำให้อ่อนเพลีย เหน็ดเหนื่อยพอสมควร ท่านอาจารย์จึงพาข้าพเจ้าพักอยู่หลายวัน ประกอบกับชาวกุหล่ากำลังว้าเหว่ เพราะไม่มีพระสงฆ์อยู่เลยแม้แต่วัดเดียว เป็นวัดร้างไปหมด เมื่อท่านอาจารย์พักอยู่เขาก็มาทำบุญกันมาก ไปบิณฑบาตเขามาใส่บาตร เมื่อใส่บาตรแล้วจะไม่ให้เหลือ คดข้าวมาเท่าไรต้องใส่ให้หมด ข้าพเจ้าบาตรเต็มแล้วปิดฝาบาตรเขาไม่ยอมเพราะ เขาถือว่าถ้าเหลือกลับจะรับประทานไม่ได้ เป็นเปรตบาป จึงเป็นธรรมเนียมที่น่าสนใจ เวลานั้นวัดที่อยู่รกรุงรัง พวกเขาได้มาทำความสะอาดทั้งภายในและลานวัด ข้าพเจ้าดูแล้วรู้สึกว่าเขาศรัทธากันจริง และชาวกุหล่าก็ขอนิมนต์ให้ท่านอาจารย์และข้าพเจ้าอยู่เป็นประจำต่อไป โดยให้หัวหน้าชาวบ้านมาอ้อนวอนอยู่ทุก ๆ วัน
    ค่ำวันหนึ่งข้าพเจ้าได้เข้าไปถวายการนวดแด่ท่านอาจารย์ ซึ่งข้าพเจ้าต้องปฏิบัติเป็นกิจวัตร ในค่ำวันนี้ท่านได้ปรารภกับข้าพเจ้าอย่างน่าฟังและน่าสลดใจว่า
    “วิริยังค์ เอ๋ย เราพยายามหนีความขัดข้องจากวัดทรายงาม ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรีมาแล้ว เราจะมาหาห่วงที่นี่อีกหรือ มันเป็นการไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง อันการเป็นสมภารนั้นคือ การหนักอกทุกประการ ถ่วงความเจริญในการปฏิบัติธรรมเพื่อให้ยิ่ง อย่าเลย เรามาพากันออกจากที่นี่ วันพรุ่งนี้เถอะ”
    ข้าพเจ้าได้ทัดทานท่านไว้ว่า “ท่านอาจารย์ครับ ผมเห็นเขาศรัทธาดีจริง ๆ อ่อนน้อม ใครต่อใครปฏิบัติ ท่านอาจารย์แนะนำอย่างไรเขาก็ไม่ขัดข้องเลย อยู่โปรดเขาไปอีกสักพักหนึ่งเถิด”
    ท่านขู่ข้าพเจ้าว่า “วิริยังค์ ตัวเธอยังอ่อนต่อความเป็นสงฆ์นัก เห็นความดีของเขาเพียงเท่านี้ก็หลง นี่คือเหยื่อล่อให้พวกเราติดกับละ อย่าอยู่เลย พรุ่งนี้เราไปเถอะ”
    ข้าพเจ้าจึงขอพูดทัดทานท่านเป็นครั้งสุดท้ายว่า “กระผมเห็นว่าควรอยู่ต่อ พอปลูกศรัทธาให้เขารู้ทางการบำเพ็ญสมาธิพอสมควร ไหน ๆ ท่านอาจารย์ก็ได้ผ่านมาทางนี้แล้ว กระผมคิดว่าในอนาคตคงจะมิได้มาอีกตลอดชีวิตก็ได้”
    ตกลงท่านก็เชื่อข้าพเจ้า อยู่ฝึกฝนสมาธิให้พวกกุหล่าทั้งหญิงและชาย แต่เป็นที่น่าประหลาดใจว่าพวกกุหล่าเหล่านี้ทำจิตได้ง่ายมาก อยู่เพียง ๒ อาทิตย์เท่านั้นจิตรวมกันได้ทุกคน เมื่อพวกเราต้องอำลาเขาไปก็เกิดความเสียใจมาก ถึงกับร้องห่มร้องไห้ เป็นบรรยากาศที่ตรึงราตรึงใจ ถึงหยดน้ำตาอันบริสุทธิ์ของพวกชาวพุทธผู้เลื่อมใส ข้าพเจ้ายังจำภาพนั้น แม้มันจะล่วงเลยมาหลายสิบปีก็ไม่มีเลือนลางเลย
    การเดินทางได้เดินต่อมาจนถึงชานเมืองพระตะบอง เป็นหมู่บ้านใหญ่พอสมควร คราวนี้ถึงเมืองเขมรจริง ๆ แล้ว พูดไทยไม่รู้เรื่องเลย ท่านอาจารย์พาข้าพเจ้าไปพักที่วัดแห่งหนึ่ง เข้าไปหาสมภารในวัดนั้น เมื่อไปกราบท่านต่างก็มองตากันไปมา เพราะพูดไม่รู้เรื่องกัน
    ท่านอาจารย์บอกว่า “ขอพักสัก ๒-๓ คืนเถิด”
    เขาพยักหน้า เอาน้ำชามาเลี้ยงแล้วก็นั่งต่อไป แม้ท่านอาจารย์จะพูดว่า “ขอพักที่นี่” ตั้ง ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง เขาก็ยิ่งเอาน้ำชามาเลี้ยงเป็นการใหญ่ นี่แหละเป็นการอึดอัดเรื่องภาษาเป็นครั้งแรก เขาก็อึดเราก็อัด นั่งจนแข้งขาเหน็ดเหนื่อยอ่อนใจ ข้าพเจ้ารู้สึกเกรงใจสมภารเขามากทีเดียว ตั้งแต่เช้า ถึงบ่ายโมง ถึง ๔ โมงเย็น พูดไม่รู้เรื่องกัน
    ก็พอดีครู ร.ร ของวัด ไปจากประเทศไทยสอนหนังสือไทย พอดี ร.ร. เลิกเขารู้ว่าพระมาจากประเทศไทย เขาก็รีบมาหา พูดให้ครูนั้นรู้เรื่องว่าจะพักอยู่ที่นี่สัก ๒ - ๓ วัน เพียง ๕ นาทีเท่านั้นเอง สมภารก็ให้คนจัดห้องรับรองให้เป็นอย่างดี ข้าพเจ้านึกในใจว่าภาษานี้สำคัญแท้ มันเป็นความจำเป็นเหลือเกินที่จะต้องรู้ภาษาหลาย ๆ ภาษา
    ท่านอาจารย์พาข้าพเจ้าพักอยู่ในวัดนี้แล้ว ตอนเช้าออกบิณฑบาต ชาวเขมรมาใส่บาตร เขาไม่เคยเห็นบาตรใหญ่และสวยอย่างนี้มาก่อน ต่างก็มาดูบาตรและจับดูกันเป็นการใหญ่ แล้วพูดว่า “ละอ้อละออ” แปลว่าสวยจริง เราได้คุ้นเคยกับพระเณรเขมรในวัดนั้นอย่างเป็นกันเอง แม้จะไม่รู้จักภาษาซึ่งกันและกัน แต่ใจก็เป็นพระภิกษุสามเณรอย่างเดียว ทำให้เกิดวิสาสะได้อย่างน่าประหลาดใจทีเดียว
    อยู่ได้สองสามวันก็เข้าไปในเมืองพระตะบอง พักอยู่วัดธรรมยุต ตอนเช้าไปในวัดนั้น พวกเราขึ้นรถ ๓ ล้อเข้าไป พระในวัดมองตาแข็ง เพราะพระธรรมยุตที่เมืองเขมรเขาไม่ขึ้น ๓ ล้อ เขาไม่ต้อนรับเรา อาจารย์บอกเขาว่าเป็นพระธรรมยุต เขาไม่เชื่อ เพราะพวกเราขึ้นรถ ๓ ล้อ เข้าไปพักอยู่ที่ศาลา เขาให้โยมเอาเงินมาถวาย เพื่อลองเชิงดู ท่านอาจารย์ก็ไม่รับ เขาก็ชักสงสัยใหญ่ อยู่มาอยู่อีกหลายวันจนเป็นที่เข้าใจกันแล้ว สมภารเป็นอัมพาตใส่รถมาสนทนาด้วย ก็พอดีมีคนไทยที่เป็นพ่อค้า และเจ้าหน้าที่ผู้ใหญ่รู้จักกับท่านอาจารย์ที่ประเทศไทยไปหา และอุปการะด้วยอาหาร เพราะไปอยู่ที่นี่เขาไม่ดูแลเลย ฉันข้าวเปล่า ๆ มาหลายวัน
    จากพระตะบองก็เดินทางมุ่งจะออกจากเขมรเข้าไปทางอรัญประเทศ แต่ต้องผ่านมงคลบุรีและศรีโสภณเป็นลำดับ แล้วก็พักอยู่จังหวัดศรีโสภณ ที่นั่นได้คณะตำรวจที่ไปจากประเทศไทย และชาวเขมรอุปถัมภ์ทำให้อยู่สบาย
    อันการเข้าไปประเทศเขมรครั้งนี้ เป็นการเข้าไปชมประเทศมากกว่า มิได้ถือเป็นการเดินธุดงค์เท่าไรนัก และเป็นที่ขณะที่ประเทศไทยได้ ๔ จังหวัดในเขมรมาครอบครอง อันเป็นผลมาจากสงครามอินโดจีน เป็นการชั่วคราว.
    ตอนออกจากแดนเขมร
    เมื่อออกจากเขตแดนเขมรก็เข้าสู่เขตอรัญประเทศ เริ่มการเดินธุดงค์แสวงหาที่สงบจักบำเพ็ญกัมมัฏฐานกันต่อไป เดินไปได้ไปพบศาลาร้างมีอยู่ ๒-๓ หลังข้างๆ ป่า ท่านอาจารย์ก็ตกลงใจยึดเอาที่นี่เป็นที่พัก พอเข้าไปถึงก็ได้กลิ่นไม่สู้ดี ท่านก็พาเข้าไปจนขึ้นข้างบนจึงเห็นอุจจาระญี่ปุ่น เพราะเป็นค่ายญี่ปุ่นพึ่งจะออกจากไป พวกเราต้องช่วยกันล้างอุจจาระเหล่านั้นหมดก็พักภาวนาอยู่ที่นี่ ถือเอาว่าเป็นสูญญาคาร
    ค่ำคืนวันนี้ ข้าพเจ้าก็ถวายการนวดแด่พระอาจารย์ของข้าพเจ้าตามปรกติ ข้าพเจ้าใคร่ขอกล่าวเตือนบรรดาศิษย์ทั้งหลายของพระอาจารย์ทั้งหลายว่า การปฏิบัติอาจารย์โดยการนวดเฟ้นนี้เราควรจะทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าเราไม่กลัวอาจารย์จนเกินไปแล้ว เราจะได้ถามอรรถปัญหาและได้รับการแนะนำเป็นพิเศษ
    แม้ในวันนี้อีกเช่นเดียวกัน ข้าพเจ้าก็ได้รับความรู้ขึ้นมาอีกอย่างหนึ่งว่า ของสกปรกอย่าดูถูก ของดีย่อมมาจากของสกปรก พระอริยะเจ้าถ้าไม่ได้รับรสของสกปรกแล้ว ท่านจะเป็นพระอริยะเจ้าไปไม่ได้เลย ท่านอาจารย์กงมา ท่านได้เสริมขึ้นอีกว่า
    “เรานอนบนกองอุจจาระเวลานี้ยังไม่เท่าอยู่ในท้องเรา แล้วเราก็ต้องน้อมเข้ามาเป็นธรรมส่วนตัวของเราว่า อย่าหลงสวยหลงงาม เพราะเขาทั้งหลายโง่ เอาน้ำอบมาประอุจจาระกันอยู่ทุกวันนี้มิใช่หรือ วิริยังค์ ถ้าตัวเขาหอมแล้วจะเอาน้ำอบมาประตัวเขาทำไม วิริยังค์เอ๋ย นี่แหละคนเราถึงว่าเป็นโมหะ จงรู้ให้ดี”
    ทำเอาข้าพเจ้ามีจิตลึกซึ้งดื่มด่ำหอมชื่นในรสพระธรรมของอาจารย์ขึ้นมาแทนอุจจาระที่ส่งกลิ่นตึ ๆ ขึ้นมาทันทีเชียวท่านเอ๋ย
    ในเมื่ออยู่อรัญประเทศ นอนอยู่กับกลิ่นอุจจาระของญี่ปุ่น แต่กลับได้รับรสพระธรรมจากอาจารย์ของข้าพเจ้า ก็เป็นอันเรียบร้อยไป ๑ คืน รุ่งเช้าบิณฑบาตในตลาด ได้ข้าวกับขนมถ้วย ๒-๓ อัน ฉันกันพอประทังชีวิต แล้วก็เดินธุดงค์กันต่อไป
    ใช้เวลา ๓ ชั่วโมงเศษก็ถึงบ้านหนองแวง ได้พบวัดร้างอยู่วัดหนึ่ง ท่านอาจารย์เห็นสงบดี ก็พาผู้เขียนพักอยู่ที่วัดนี้ และพักกันหลายวัน ญาติโยมทั้งหลายก็พากันมาส่งอาหาร ในละแวกนี้ก็ได้น้ำพริกเป็นพื้น แต่ก็สบายใจดี เราอยู่กัน ๓ วัน ท่านอาจารย์ก็พาข้าพเจ้าเดินธุดงค์ต่อ ตอนนี้มีความประสงค์ที่จะเดินตัดตรงขึ้นจังหวัดนครราชสีมา วันนี้ถือเป็นที่เดินทางระยะยาวมากถึง ๔๘ กิโลเมตร ใช้เวลาเดิน ๑๐ ชั่วโมง ซึ่งเป็นทางทุรกันดารมากระหว่างทางหาน้ำฉันไม่มีเลย แต่อาจารย์บอกว่า ถ้าจะให้เดินทนอย่าฉันน้ำ ข้าพเจ้าก็เชื่อแต่มันกระหายมาก คอแห้งผาก เนื่องจากระยะทางเดินนั้นไม่ใคร่จะมีต้นไม้ใหญ่และเป็นทางหินกรวดตลอด ข้าพเจ้าต้องฉันน้ำในกระติกที่ตะพายไป
    ในระยะไม่ถึงครึ่งวันความจริงได้ปรากฏขึ้นแก่ข้าพเจ้าแล้ว ปรากฏว่าเท้าหนักไปหมด เดินอืดลง แต่ก่อนทุกครั้งข้าพเจ้าเดินสบายมาก อาจารย์ได้หันมามองข้าพเจ้า ซึ่งข้าพเจ้าคิดอุทานอยู่ในใจว่า ไม่อยากจะเดินต่อไป อาจารย์จึงพาแวะพักที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง แล้วท่านก็ถามว่าน้ำอยู่ไหน
    “กระผมฉันหมดแล้ว” ข้าพเจ้าตอบ
    “นั่นน่ะชี เห็นหน้าตาบอกว่าล้าเพราะน้ำกระติกนี้เอง” ท่านอาจารย์พูด “แล้วเราเวลานี้กำลังหิวจะทำอย่างไร”
    ข้าพเจ้าจึงรีบออกไปเงินหาน้ำตามบริเวณนั้นโดยทั่ว ๆ ก็ได้พบหนองน้ำเล็กๆ แห่งหนึ่งเป็นปลักควาย อุจจาระควายเต็มทั้งหนอง แต่มันนอนก้นหมด น้ำข้างบนใสดี รีบกลับมาบอกอาจารย์ว่า “น้ำมีแต่เป็นปลักควาย มีอุจจาระเต็มไปหมด”
    ท่านบอกว่า”ไม่เป็นอะไร เอามาเถอะ”
    ข้าพเจ้าคิดในใจว่า อย่างไรเสียท่านอาจารย์คงหิวเอามาก ๆ ทีเดียว นึกติตัวเองว่าดื่มน้ำในกระติกคนเดียวหมด ไม่น่าเลย แล้วทำให้ล้าด้วย แล้วข้าพเจ้าก็นำเอาธรรมการกไปกรองน้ำเอาที่หนองปลักควายนั้นด้วยความบรรจงกรอง กลัวอุจจาระควายที่เป็นตะกอนจะฟุ้งขึ้น ได้น้ำแล้วรีบนำมาถวายรู้สึกกลิ่นตึตึ ท่านอาจารย์ก็ฉันอย่างสบาย ข้าพเจ้าถามท่านว่า
    “เป็นอย่างไรบ้างครับ”
    “หอมดี วิริยังค์” ท่านตอบ
    “รู้ไหมว่าขี้ควายมันเป็นยาเย็น” ท่านพูดเสริมขึ้นอีกทำเอาข้าพเจ้าอยากจะดื่มน้ำปลักควายอีกแล้ว ข้าพเจ้า.จึงกลับไปที่ปลักควาย แล้วกรองน้ำขี้ควายนั้นดื่มไป ๑ แก้ว แต่ก็พยายามนึกถึงคำอาจารย์ว่าหอม ก็ทำให้หายอุปาทานไปมาก แล้วก็รู้สึกจริง ๆ ว่าหายหิวน้ำ ข้าพเจ้าเดินกลับมาหลังจากดื่มน้ำขี้ควายแล้ว อาจารย์มองข้าพเจ้าแล้วหัวเราะ ท่านก็ได้พาข้าพเจ้าเดินต่อไป เพราะวันนี้ต้องเดิน ๔๘ ก.ม.
    ได้ถึงบ้านตาดโดน บ้านนี้เป็นชาวเขมรต่ำ ถึงนั่นประมาณ ๒ ทุ่ม รู้สึกว่าท่านอาจารย์เหน็ดเหนื่อยมาก ข้าพเจ้ารีบจัดที่กางกลดถวายท่านในรุกขมูลใต้โคนต้นไม้อันเป็นป่าโปร่ง ใช้ผ้าอาบน้ำปูกับพื้นดิน ตีนบาตรเป็นหมอน เรียบร้อยภายใน ๑๐ นาที ในที่ใกล้มีน้ำที่เขาขุดเป็นบ่อ ข้าพเจ้ารีบไปตักน้ำเพื่อถวายท่านสรง แต่ไม่มีภาชนะจะนำมา จึงต้องอาราธนาท่านไปข้างบ่อน้ำแล้วข้าพเจ้าก็ตักถวายท่าน
    สรงเสร็จแล้ว แทนที่ท่านจะพัก กลับพาข้าพเจ้านั่งสมาธิต่อไป ท่านบอกว่าเหนื่อย ๆ นั่งสมาธิดี ก็จริงอย่างท่านว่า พอนั่งก็รวมเลยเพราะเหนื่อยมาก ถ้าจิตไม่รวมคงจะแย่หน่อยทีเดียว หลังจากนั่งสมาธิแล้วแทนที่จะหลับนอนกัน ท่านกลับแสดงธรรมอบรมข้าพเจ้าต่อไปอีกว่า
    “วิริยังค์ การที่เราต้องการอยากจะพ้นทุกข์ เราต้องเข้าหาทุกข์ ถ้าเรากลัวทุกข์ เราก็พ้นทุกข์ไม่ได้ การที่เราจะเข้าหาทุกข์อย่างขณะนี้แหละ นอนดิน เดินไกล เราก็จะพอมองเห็น และเมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วก็พิจารณากาย เพราะกายคือตัวทุกข์ เพราะคนเราจะหลงก็เพราะมีกาย หลงกายซึ่งกันและกันนี่เอง กายคนเราถ้าลอกหนังออกเสียแล้วใครเล่าจะหลงกัน ก็เกลียดเท่านั้นเอง เวลาจิตเป็นสมาธิแล้วก็ให้พิจารณาอย่างนี้จะทำให้รู้แจ้งเห็นจริงเป็นสัจธรรมได้”
    วันนั้นรู้สึกว่าถูกทรมานเป็นพิเศษ หลังจากจำวัดตื่นขึ้นแล้ว ชาวบ้านจึงพากันมาเห็น ต่างก็ส่งเสียงกันระเบ็งเซ็งแซ่ ได้เวลาท่านอาจารย์ก็พาข้าพเจ้าออกบิณฑบาต ชาวเขาก็ใส่บาตรให้แต่ข้าวเปล่า ๆ และมีน้ำอ้อยงบสี่ห้าอัน เข้าใจว่าเขาคงเข้าใจว่าพระธุดงค์ไม่ฉันของคาว มีเนื้อสัตว์เป็นต้น กลับจากบิณฑบาต นั่งฉันกันใต้โคนต้นไม้ ไม่มีใครมาดูแลหรือส่งอาหารเพิ่มเติมเลย ก็ได้ฉันข้าวกับน้ำอ้อย ดูเอาเถิด เดินมาเหนื่อยแทบแย่ เช้ายังได้ฉันข้าวเปล่า ๆ ข้าพเจ้าต้องเอาน้ำฉันเพื่อกันแค้นเวลากลืนคำข้าว แต่ก็เป็นสุขใจดี
    ตอนเดินทางข้ามภูเขาใหญ่
    เราพักกันเพียงคืนนั้น พอฉันเสร็จก็เดินต่อไป พอไปถึงด่านตรวจโคกระบือ เจ้าหน้าที่อยู่นั่นเขามาถามพวกเราว่าจะไปไหน ท่านอาจารย์บอกว่าจะไปนครราชสีมา เขาบอกว่า วันนี้ข้ามไม่ไหวหรอกครับ ขึ้นภูเขานี้หนทางคง ๙๐๐ เส้น (๓๕ ก.ม. ) และขึ้นสูงด้วย ขอนิมนต์พักอยู่ที่นี่ก่อนเถอะครับ ท่านอาจารย์ก็รู้สึกเหนื่อยอยู่แล้วก็รับอาราธนา เขาจัดบ้านว่างเปล่าให้ห้องหนึ่ง เป็นกระท่อมมุงหญ้าคา ฝาไม้ไผ่ พวกเราพักกันตามสบาย ท่านอาจารย์ก็เลยพาข้าพเจ้าพักเสีย ๒ วัน เพื่อเอากำลัง และก็ได้พาพวกนายด่านนั่งสมาธิเป็นประโยชน์อีกประการหนึ่งด้วย
    เมื่อหลังจากพักเอาแรง ๒ วัน ท่านก็ได้พาข้าพเจ้าเดินต่อไป คราวนี้ขึ้นเขาอันเป็นเทือกเขาดงพญาเย็นสูงชัน ใช้เวลาเริ่ม ๘.๐๐ น. เช้าออกเดินทาง ข้ามภูเขาสำเร็จ ๑ ทุ่มเศษ พอตะวันตกดินก็ข้ามเขาพ้นพอดี คราวนี้เหนื่อยจริง ๆ แล้ว ข้าพเจ้าเองล้าเอาทีเดียว เพราะการขึ้นเขาไม่ใช่เล่น ใครยังไม่เคยลองขึ้นภูเขาก็ขอให้ลองดูกันบ้างเถิด จะได้เห็นรสชาติของมันว่าเหนื่อยขนาดไหน หายใจแทบไม่ออกและคราวนี้ไม่ใช่เล่น ทั้งสูงทั้งชัน ทั้งถูกบังคับว่าจะต้องเดินข้ามในวันเดียวเสียด้วย แต่ขณะที่ขึ้นภูเขาท่านอาจารย์ก็แนะนำให้กำหนดจิต อย่าปล่อยจิตให้ฟุ้งซ่านเป็นอันขาด ข้าพเจ้าทำตามท่านก็พอประทังความเหนื่อยลงได้บ้าง นับเป็นครั้งสำคัญในชีวิตของข้าพเจ้า ในการเดินทางขึ้นเขาคราวนี้ ได้รับความรู้และความจริงอะไรหลายประการ แทบจะขาดใจในบางครั้ง แต่ว่าพอพ้นจากภูเขาผ่านไปได้แล้ว มันช่างหายเหนื่อยเหมือนปลิดทิ้ง
    แต่ว่าท่านอาจารย์ได้จับไข้เสียแล้ว ในวันรุ่งขึ้นข้าพเจ้าต้องพยาบาลท่านอย่างดีที่สุดเท่าที่จะหาสถานที่กำบังได้ ครั้งนี้มีหมู่บ้านเล็ก ๆ อยู่แห่งหนึ่ง ข้าพเจ้าก็รีบไปเที่ยวหาฟางมาซึ่งมีอยู่ข้างบ้าน ขอญาติโยมเขา นำมาปูลาดลงแล้วเอาผ้าอาบน้ำปูเพื่อไม่ให้ถูกดินแข็ง กางกลดถวายท่านแล้วข้าพเจ้าก็นั่งเฝ้าดู ท่านกำลังจับไข้สั่นไปหมด ข้าพเจ้าหมดหนทางไม่ทราบจะทำอย่างไร หยูกยาก็มิได้เตรียมกันมาเลย ก็ได้แต่นั่งดูท่านอาจารย์ของข้าพเจ้าจับสั่นอย่างรันทดใจ บางครั้งข้าพเจ้าต้องกดร่างกายท่านไว้เพราะการจับไข้ครั้งนี้เป็นเอามาก แต่ท่านก็บอกข้าพเจ้าว่าไม่เป็นไรหรอก วิริยังค์ เราก็ใช้การพิจารณาภายในด้วยตัวเอง เพียงพักเดียวเท่านั้น ท่านก็เหงื่อไหลออกมาโทรมกายจากการจับสั่น ทำให้ข้าพเจ้าหายใจโล่งออกมาด้วยความสบายใจ
    รุ่งขึ้นก็ได้เดินกันต่อไปทั้ง ๆ ที่ท่านก็ยังงง ๆ อยู่ แต่ก็อาศัยกำลังใจของท่านสูง ทำเหมือนกับว่าไม่เป็นอะไรอย่างนั้นเอง ตอนนี้ถึงที่ราบสูงแล้ว พวกเราเดินธุดงค์กันไปตามทุ่งบ้างป่าบ้าง ก็เป็นป่าไม้ไม่ใหญ่อะไรนัก เป็นทุ่งก็ไม่กว้างเท่าไร
    พวกเราเดินวันนี้ใช้เวลา ๘ ชั่วโมงก็ถึงบ้านกุดโบสถ์ ในบริเวณนี้มีแต่ทุ่งนาทั้งนั้น มีวัดอยู่วัดหนึ่งกลางทุ่งนา เมื่อไม่เห็นต้นไม้ที่จะรุกขมูลกัน ท่านอาจารย์ก็พาเข้าวัด เห็นมีพระอยู่ ๒ องค์ สงบดีก็เลยพักอยู่ที่นี่ ๑ คืน ท่านอาจารย์ยังหายได้ไม่ดีเท่าไร แต่ก็พอค่อยยังชั่ว ทั้ง ๆ ที่เดินตากแดดมาตั้ง ๘ ชั่วโมง ข้าพเจ้ารู้สึกสงสารท่านอาจารย์มาก แต่ดูถึงหน้าตาของท่านบอกว่าไม่เกรงกลัวอะไรทั้งสิ้น ยังปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น.
    ในค่ำคืนวันนี้ข้าพเจ้าจัดการกางกลดปูที่นอนตามมีตามได้ แล้วก็ถวายการนวดให้ท่านตามปรกติ การนวดวันนี้ข้าพเจ้าต้องนวดนานเป็นพิเศษ แม้ว่าข้าพเจ้าเองก็จะต้องเหนื่อยมากเหมือนกัน ในการเดินทางหามรุ่งหามค่ำ แต่ก็ไม่เป็นอะไรเพราะยังหนุ่มแน่น หยุดสักพักก็หายเหนื่อย ท่านปรารภกับข้าพเจ้าวันนี้ว่า
    “ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น มันทำจิตของคนให้หดหู่ ย่อท้อต่อกิจการของตนที่กำลังเร่งทำ อันเราก็เช่นเดียวกัน เมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้นครั้งนี้ ก็เป็นการลองดีกับผู้ได้บำเพ็ญความเพียรมาแล้วในอดีตอย่างเข้มแข็ง การต่อสู้ทุกขเวทนาครั้งนี้ เราจึงได้เห็นคุณค่าของการบำเพ็ญความเพียรมาเเล้วในอดีต ว่าได้เป็นเครื่องหนุนกำลังอย่างดีเยี่ยม อย่างไรก็ตามถึงจะมีกำลังความเพียรมาก แต่ก็ไม่วายที่จะมีบางขณะของจิตที่ทำให้เกิดท้อ ๆ ขึ้นมา แต่นั่นมันเป็นเพียงขณะจิตหรือเรียกจิตตุบาท จึงไม่มีความสำคัญแก่เราเลย”
    ข้าพเจ้าฟังแล้วก็สบายใจ เพราะอาจารย์ของข้าพเจ้ามิได้มีความทุกข์ใจเลย แม้จะมีโรคภัยเบียดเบียน.
    ผจญภัยในถ้ำวัวแดง
    ข้าพเจ้าเคยได้ยินคนเฒ่าคนแก่โบราณเล่ามาว่า ถ้ำวัวแดงนี้มีความศักดิ์สิทธิ์มาก และมีลายแทงที่นี่ด้วย คนเดินทางผ่านโดยยานพาหนะใด ๆ ถ้าไม่ทำความเคารพแล้วก็จะมีอันเป็นไปทุกราย อนึ่งผู้จะเรียนวิชาอาคมทางไสยศาสตร์ทุกคน ถ้าจะให้เก่งจริงต้องมาผจญกับความศักดิ์สิทธิ์ของถ้ำวัวแดงเสียก่อน แต่ผู้เฒ่าผู้แก่ก็พากันเกรงขามถ้ำนี้กันนัก ไม่ค่อยจะมีใครมากล้ำกรายกันทีเดียว
    รุ่งขึ้นหลังจากที่พักอยู่ที่วัดกุดโบสถ์ ในตอนเช้านั้น ท่านอาจารย์ก็ได้บอกข้าพเจ้าว่า วันนี้เราจะต้องเดินทางไปถ้ำวัวแดง
    “ถ้ำวัวแดง” ข้าพเจ้าทวนคำอย่างงุนงง
    “เออ ก็ถ้ำวัวแดงนี้น่ากลัวนักหรือ ? วิริยังค์” ท่านอาจารย์ตอบ
    “มันเป็นเรื่องนิยายหรือจริงมิทราบครับ เพราะผมได้ยินว่ามันศักดิ์สิทธิ์เหลือเกิน แต่ผมไม่กลัวหรอกครับ เพราะมีอาจารย์ไปด้วย” ข้าพเจ้าตอบ
    “เราต้องเดินให้ถึงในวันเดียว” ท่านอาจารย์พูด
    แล้วพวกเราก็เดินธุดงค์ต่อไป ค่อย ๆ ลึกเข้าไปก็เป็นดงหนาเข้าไปทุกที ๆ เริ่มทำให้ข้าพเจ้าเกิดสามัญสำนึกว่าใกล้แล้ว แต่ที่ไหนได้ ต้องใช้เวลาอีกหลายชั่วโมง เป็นป่าเป็นภูเขาเริ่มขึ้นแล้ว มันคือถิ่นเสือ ข้าพเจ้าเห็นรอยของเสือขวักไขว่ไปหมด จึงมาคิดว่า เราจะได้ผจญอะไร ๆ สักอย่างเป็นแน่ แต่ก็จนแล้วจนรอดก็ไม่ได้เจอตัว เจอแต่รอยเดินขึ้นเรื่อย ๆ ไป คือขึ้นภูเขา
    บัดนี้เป็นเวลาบ่าย ๕ โมงเย็นแล้ว พวกเรายังเดินย่ำต๊อกกันอยู่ระหว่างเขาลูกหนึ่งไปยังอีกลูกหนึ่งเรื่อยไป ตะวันจวนจะลับปลายไม้แล้วทำไมยังไม่ถึงอีก ข้าพเจ้าต้องรำพึงรำพันอยู่ในใจ จะค่ำเสียกลางป่าเขานี่เสียหรือยังไง เอ้าเป็นอะไรเป็นกัน อาจารย์เราอยู่ข้างหน้าไม่เห็นต้องกังวลอะไรเลยนี่นา อาจารย์หันหน้ามามองข้าพเจ้าแล้วบอกว่า
    “โน่นยังไง วิริยังค์ มองเห็นถ้ำวัวแดงแล้ว”
    “ช่างชื่นใจอะไรเช่นนั้น” ข้าพเจ้าคิดและเหมือนกับความเหนื่อยที่คร่ำเคร่งมาหายหมดเป็นเวลาพลบค่ำพอดีถึงถ้ำวัวแดง
    ท่านอาจารย์ก็ขึ้นบนศาลา “เอ๊ะ ถ้ำทำไมจึงมีสิ่งก่อสร้างไว้หลายอย่าง มีทั้งศาลา กุฏิที่พัก แต่ไม่มีพระภิกษุสามเณรไม่มีใครเลย”
    ข้าพเจ้ากับอาจารย์ขึ้นบนศาลาเป็นอันดับแรกเพราะเหนื่อยมาหลายเพลาแล้ว
    อันดับแรกข้าพเจ้าวางบริขารทุกอย่างและกลางกลด จัดปูที่นอนถวายท่านอาจารย์ จากนั้นก็รีบแสวงหาแหล่งน้ำก่อนอื่น ลงเดินไปคนเดียวเที่ยวดูโดยรอบ ก็ไม่เห็นมีวี่แววว่าจะมีแหล่งน้ำ เวลาก็ชักจะดึกเข้าทุกที ๆ จนต้องเดินไปอีกมุมหนึ่งของบริเวณ มองเห็นแต่ตุ่มน้ำตั้งอยู่ ๔-๕ ใบ เข้าไปเปิดดู ข้าพเจ้าต้องเอะใจขึ้นมาว่าทำไมน้ำจึงเต็มโอ่งหมดทุกใบ ทั้งดีใจทั้งสงสัยว่า ใครหนอตักน้ำมาไว้ที่นี่ ยังกับจะรู้ว่าเรามาวันนี้ ทำให้มึนงงไปหมด
    ข้าพเจ้ารีบกลับไปที่ศาลา นิมนต์ท่านอาจารย์มาที่ตุ่มน้ำเพื่อสรงน้ำ หลังจากนั้นแล้วข้าพเจ้าก็สรงน้ำเป็นที่เรียบร้อย ท่านอาจารย์บอกกับข้าพเจ้าว่า “คุณไม่ต้องห่วงเราหรอก จงไปหาที่วิเวกให้เหมาะสมห่างจากเรา”
    ก็เป็นอันว่าข้าพเจ้าได้แบกกลดออกไปในเวลากลางคืน หาดูที่เหมาะ ๆ มีความรู้สึกว่าเสียว ๆ บ้างเพราะไม่เคยชินกับสถานที่ แต่เห็นกุฏิหลังหนึ่งพอเบาใจจึงแวะขึ้นไปอยู่พัก กุฏินั้นเป็นกุฏิกั้นฝาด้วยใบไม้ พื้นฟากเป็นกุฏิเก่า ๆ อยู่ในสภาพจะพังมิพังแหล่ แต่ก็ยังดี ข้าพเจ้าใช้มันเป็นที่พักในเวลาค่ำคืนนี้ และนั่งสมาธิรู้สึกว่าดีเป็นพิเศษ จะเป็นเพราะความหวาดเสียวหรืออุปาทานเก่า ๆ ก็ไม่ทราบ เพราะมาถึงกลางคืนยังไม่ทราบข้อเท็จจริง แต่ก็ได้ผลแก่ตนในคืนนี้ คือจิตใจสงบสบายดี
    ตอนเช้าข้าพเจ้าจะต้องปฏิบัติอาจารย์อันเป็นกิจวัตรประจำวัน คือไปคอยดูว่าท่านจะลุกขึ้นออกจากสมาธิแล้ว เมื่อท่านออกแล้วจะต้องเข้าไปถวายน้ำล้างหน้า ไม้สีฟัน เก็บที่นอน นำบาตรมาเพื่อการบิณฑบาต
    ตอนเช้าข้าพเจ้าก็บำเพ็ญกิจวัตรตามปกติ แต่ปรากฏว่าท่านอาจารย์ลุกไม่ขึ้น ข้าพเจ้าเข้าไปใกล้แล้วถามว่า
    “ท่านอาจารย์เป็นอะไรครับ ?”:
    ท่านตอบว่า “ยอกหมดทั้งตัวเลย วิริยังค์”
    ข้าพเจ้าเตรียมจะนวดถวายท่าน ท่านบอกว่า ไม่ต้อง และพอเวลาผ่านไปสัก ๒๐ นาที ท่านก็พยายามจะลุกขึ้นจนสามารถพยุงตัวลุกขึ้นมาได้ และบอกข้าพเจ้าว่าให้ไปบิณฑบาต
    “จะไปยังไงไหวครับท่านอาจารย์” ข้าพเจ้าพูดขึ้น
    ท่านอาจารย์บอกว่า “ไปเถิดถ้าเราไม่ไป เธอจะไปคนเดียวได้ยังไง บ้านห่างจากนี้อีกไกล ต้องผ่านดง เดี๋ยวเกิดหลงเข้าป่าเข้าดงไปจะลำบาก”
    มันเป็นภาพที่ข้าพเจ้าต้องจดจำไว้ในคลอดชีวิตทีเดียวว่า ท่านอาจารย์มีความเพียรขันติเป็นยอด ท่านได้พาข้าพเจ้าเดินลัดเลาะไปด้วยความสันทัดของท่านที่ทราบถึงภูมิประเทศว่า แห่งใดควรจะมีหมู่บ้าน แม้ในขณะนั้นมองดูตามสองข้างทางก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะมีหมู่บ้านแต่อย่างไร เพราะเป็นป่าดงทึบไปหมด มีรอยสัตว์ป่าต่าง ๆ ผ่านทางเดินเป็นระยะ แม้ท่านอาจารย์จะยอกแต่ท่านเดินเหมือนกับไม่เป็นไร เราได้ผ่านดงไปด้วยความสงบอย่างยิ่ง ท่านเดินหน้า ข้าพเจ้าเดินตามหลัง นึกถึงภาพในอดีต หายากแท้ จะมาคิดเป็นจินตนิยายอะไรสักเรื่องก็คงไม่เหมือนเป็นแน่ ข้าพเจ้ารู้สึกว่าการเดินไปบิณฑบาตอย่างไม่มีจุดหมายนี้เป็นครั้งแรกในชีวิต
    ในที่สุดท่านอาจารย์ก็ชี้ไปข้างหน้าว่า โน้นยังไงหมู่บ้าน
    มองไปข้างหน้ามีทุ่งนากว้างพอสมควร แล้วถัดไปก็มีหมู่บ้านซึ่งเป็นหมู่บ้านใหญ่พอสมควร เมื่อเดินข้ามทุ่งนาไปแล้วถึงหมู่บ้านประมาณว่าสักหนึ่งชั่วโมงเศษ จากการเดินมาจากถ้ำวัวแดง
    ชาวบ้านพอเห็นพวกเราเข้ามาบิณฑบาตตอนเช้า เขาพากันดีอกดีใจกันใหญ่ เพราะนาน ๆ จะมีพระมาอยู่ที่ถ้ำ ส่วนที่บ้านก็ไม่มีวัด ชาวบ้านพากันป่าวร้องกันสักพักเดียวเท่านั้น ก็ถือข้าวมาใส่บาตรกันเต็มไปหมด เขาถามว่า
    “ท่านอาจารย์มาแต่เมื่อไร ? พวกผมไม่ทราบกันเลย”
    “มาถึงค่ำวานนี้” ท่านอาจารย์ตอบ
    โยมบอกว่า เมื่อวันก่อนก็มีพระมาคณะหนึ่งพึ่งจะกลับไป ข้าพเจ้านึกขึ้นมาได้ในทันทีทันใดนั้นเองว่า
    “อ้อ น้ำถึงได้เต็มโอ่งไปหมด นึกว่ามีเทวดามาตักให้เสียแล้ว”
    หลังจาครับบิณฑบาตเรียบร้อยแล้วพวกเราก็เดินกลับไปที่ถ้ำ โดยพวกญาติโยมนำอาหารตามไปด้วยประมาณ ๖-๗ คน มีอาหารตามมีตามได้ ในระหว่างทาง ท่านอาจารย์ให้ข้าพเจ้าเก็บผักไปด้วย ก็มียอดแต้ว ยอดกระโดน ครั้นถึงที่พักแล้วญาติโยมก็จัดอาหารถวาย มีน้ำพริกอย่างว่าจริง ๆ ท่านอาจารย์คงทายใจเขาถูก จึงให้ผู้เขียนเก็บผักตามมา มีแกงก็เป็นแกงป่าน้ำดำ ๆ และอื่น ๆ ดูก็ไม่น่าจะอร่อย แต่ว่าอาหารมื้อนี้อร่อยเป็นพิเศษ ไม่ทราบว่าทำไมรสชาติมันถึงอกถึงใจอะไรอย่างนี้ ดีจริง ๆ
    ข้าพเจ้ามาคิดได้ว่า อ้อ อันความหิวนี้เองทำให้อร่อย เป็นอันว่า ท่านอาจารย์และข้าพเจ้าได้พักอยู่ที่ถ้ำวัวแดงนี้ โดมีญาติโมมาส่งอาหารตามศรัทธาที่เขาจะพึงทำได้ตลอดเวลาที่พักอยู่
    ท่านอาจารย์กลับยอกเอวหนักขึ้น ท่านบอกว่า
    “ไปไม่ไหวแล้ว วิริยังค์เอ๋ย ยอกแบบนี้เหมือนเข็มแทงเรา จะต้องอยู่ที่นี่จนกว่ายอกจะหาย”
    ข้าพเจ้ากลับดีใจเมื่อได้ฟังท่านอาจารย์ เพราะจะได้อยู่ทำความเพียรให้ถึงอกถึงใจ ในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์เช่นนี้ เป็นอันว่าพวกเราต้องอยู่ที่ถ้ำนี้ถึงเดือนเศษ
    นับว่าเป็นการพักแรมนานที่สุดในการเดินธุดงค์มาราทอนในครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้เลื่อนจากการอยู่บนกุฎิสัพพะรังเคนั้นไปอยู่ที่ตัวถ้ำวัวแดงเลยทีเดียว อันชาวบ้านบอกว่าเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ เห็นข้าพเจ้าไปอยู่ที่นั้น โยมก็ได้ห้ามปรามต่าง ๆ นานา ว่าอย่าเลยท่านไม่ดีแน่ แต่ข้าพเจ้าไม่ยอมเชื่อ แม้จะเป็นอย่างไรก็ไม่กลัวทั้งสิ้น ข้าพเจ้าคิดว่า ไหน ๆ มาถ้ำวัวแดงทั้งที นอนมันใต้ท้องวัวแดงเลยเป็นไง ? ข้าพเจ้าจึงเข้าไปในถ้ำซึ่งเป็นถ้ำไม่ใหญ่โตอะไรนัก มีวัวแดงอยู่ในถ้ำเป็นหินแกะสลัก บนหลังวัวแดงมีกษัตริย์ ๑ องค์ มีมเหสี ๙ คน นั่งอยู่บนหลังวัวแดงตัวเดียวนั้น ซึ่งก็ล้วนแกะสลักด้วยหินทั้งสิ้น สวยงามมาก ฝีมือดีเยี่ยมทีเดียว ข้าพเจ้ามองดูรอบ ๆ วัวแดงเป็นพื้นเสมอนั่งนอนสบาย แต่ข้าพเจ้าเสียดายมาก คือพวกนักหาทรัพย์ในดินสินในน้ำและลายแทงต่าง ๆ พากันมาเจาะท้องวัวแดง ขุดลงไปตรงพื้นที่วัวแดงเหยียบเป็นรูเป็นหลุม แม้แต่บริเวณอันเป็นหินก้อนใหญ่ ๆ เท่าบ้าน เขาก็เจาะกันทะลุไปหมด เขาเล่าให้ฟังว่าพวกคนที่มาเจาะมาทำลายนั้น โดยมากกลับไปตายกันเสียเป็นส่วนใหญ่
    ในค่ำคืนหนึ่งที่ข้าพเจ้านอนพักอยู่ที่ถ้ำวัวแดงนั้น บังเกิดความประหลาดใจขึ้นในตอนดึก หลังจากบำเพ็ญสมาธิผ่านไปแล้ว คือปรากฏเหมือนหินทั้งถ้ำนั้นกำลังจะทรุดลงเสียงลั่นดังกึกก้อง แต่พอข้าพเจ้าลุกขึ้นหมายจะฟังให้ชัดแล้ว เสียงนั้นก็หายไป พอจะหลับก็เกิดเสียงนั้นขึ้นมาอีก จึงทำให้ใจหายรู้สึกว่าจะโดนลองดีเสียละกระมัง แต่ข้าพเจ้าไม่ยอมกลัว ทำใจกล้า แต่เสียงนั้นมันคอยจะมาหลอนเอาตอนเคลิ้มทุกที ขณะที่ตื่นจริง ๆ ทำไมไม่มีเสียง จะมีเสียงเอาตอนจะหลับ อย่างไรเสียต้องมีเหตุเป็นแน่แท้ ข้าพเจ้าเลยตั้งใจเอาเสียเลยว่า ค่ำนี้เราจะไม่นอนละ จะ นั่งทำสมาธิตลอดเวลาสว่างเลย
    ขณะที่ข้าพเจ้าตั้งใจจะนั่งตลอดสว่างอย่างนั้น ทุกอย่างที่ปรากฏขึ้นก็หายไปหมด และกลับกลายปรากฏในสมาธิแทน เห็นเป็นเหมือนกับเทวบุตรและเทวดา เป็นคนที่รู้สึกจะแปลกกว่าคนธรรมดา ข้าพเจ้าก็เลยเข้าใจเอาว่า คงเป็นพวกเทวดา ต่างก็มานั่งล้อมรอบอยู่ตามบริเวณนั้น เพียงแต่เดินกันไปมา รู้สึกว่าขณะนั้นมีความสบายดีมาก จนไม่ทราบว่าสว่างเสียแต่เมื่อไร
    ข้าพเจ้าได้นำเอาเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้น มาเล่าถวายอาจารย์ ท่านก็หัวเราะแล้วพูดว่า
    “นั่นแหละเธออยากประมาท เขาก็มาเตือนซิ”
    “ เขาหมายความว่าอะไรครับ” ข้าพเจ้าถาม
    “ก็พวกเทพเจ้านั้นแหละ” ท่านตอบ
    “เทพเจ้า ๆ ” ข้าพเจ้าคำนึงอยู่ในใจว่า มันจะเป็นไปได้หรือที่เราได้พบเห็นสิ่งแปลกประหลาด
    ท่านอาจารย์ได้สำทับข้าพเจ้าว่า “เธออย่าประมาท จงพยายามเร่งความเพียรอย่างเต็มความสามารถ”
    นั่นมันเป็นความประสงค์ของผู้เขียนอยู่แล้ว
    เป็นเวลาเดือนหนึ่ง อาการยอกของท่านอาจารย์ก็ค่อยทุเลาลงเป็นลำดับ จนหายเป็นปกติ ท่านอาจารย์ก็บอกว่า
    “แม้ว่าเราหายแล้วก็จะต้องอยู่ทำความเพียรในที่นี่ต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง” ข้าพเจ้าก็พอใจด้วยเป็นอย่างยิ่ง
    ในวันหนึ่งที่ท่านอาจารย์สบายดี ข้าพเจ้าได้ถามท่านว่า
    “ธรรมปฏิบัตินี้มีความจำเป็นด้วยหรือที่เราจะต้องมาทรมานอด ๆ อยาก ๆ ทุลักทุเล เดินหามรุ่งหามค่ำอยู่ อย่างวัดทรายงามกระผมก็ทำความเพียรได้อย่างมาก”
    ท่านตอบว่า
    “การอยู่ในที่เดียวจำเจ มันก็ทำให้เรามีจิตอ่อนไม่เข้มแข็ง และทำให้เกิดความเคยชิน เป็นการทำให้ย่อหย่อนต่อความพยายาม ยิ่งกว่านั้นถ้าเป็นครูอาจารย์ก็จะเพิ่มภาระที่จะสั่งสอน และกิจการที่จะต้องเกี่ยวข้องอีกมาก การที่เราได้ออกวิเวก อยู่ตามป่าเขาลำเนาไพรนั้น มันเป็นสิ่งทำให้จิตใจแข็งแกร่งขึ้น มีความกระตือรือร้นขึ้นมาเองตามธรรมชาติ”
    เป็นอันว่า เวลาเดือนเศษพวกเราอยู่ที่ถ้ำวัวแดง โดยเฉพาะข้าพเจ้าได้ผลจากสถานที่แห่งนี้เป็นพิเศษ อันเป็นสิ่งจารึกอยู่ในความทรงจำไว้อย่างมาก ยากที่จะเขียนบรรยายออกมาให้หมดสิ้น ฯ ท่านอาจารย์บอกข้าพเจ้าว่า เรามาเดินทางกันต่อไป เพื่อตามท่านอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ ให้พบ เพราะเวลานี้ข่าวว่าท่านอยู่จังหวัดสกลนคร ฯ
     

แชร์หน้านี้

Loading...