สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    A1FEB6F7-764E-4E8A-B2A8-44945DE15187.png D2C074D3-717F-4B69-829F-5D7BD7B65B77.png 78714C5C-6077-4265-8077-65358C6C8510.png

     
  2. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    เชื่อไหมว่า ! เราไม่เคยอ่าน และพิจารณา พระสูตรนี้

    เพราะขี้เกียจ โจทก์ พอดีเห็นคลิป เอา “สิ่งนี้จริง สิ่งอื่นปลอม” ของสำนักเพี้ยนนี่เข้า

    เลยอยากบอกว่า “ นี่พระสูตรของเหล่า ปฎิสัมภิทา เขา และพระอรหันต์ที่เพ่งวิมุตติ

    อย่ามาวิสัชนาแปลงสารมั่วซั่ว! พอได้แล้ว!

    ทรงถ่ายทอด นิรุตติญานทัสสนะ ไว้เพื่อ เหล่า ปฎิสัมภิทาญาน โดยเฉพาะกาลอย่างยิ่ง

    ข้าพเจ้าขอนอบน้อม พระผู้เสด็จไปดีแล้ว พระองค์นั้น

    ในการตามรักษาความจริง! นี้ ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของ สัทธรรมปฎิรูป จะนำไปแอบอ้างอย่างชอบธรรมได้ ไม่ใช่ฐานะ! สัทธรรมปฎิรูปจะทำเพื่อตนเองเพียงเท่านั้น! ไม่เป็นประโยชน์ของเวไนยสัตว์เหล่าอื่น!

    ขึ้นชื่อว่า “ เท็จ “ เป็นทองปลอม ! แต่อยากจะ ชุบทองแท้ ให้ผ่องใส อีกไม่นาน มันจะลอกออกและดำด่าง ยิงเลเซอร์มาก็ไม่เว้น สอดใส้มาก็ไม่เหลือ เขาเผา เขาหลอมดูหมด

    ผู้ดูออก ย่อมไม่ให้ราคารับซื้อและแจ้งจับกุมเอาโทษไว้
    ผู้ดูไม่ออก ย่อมกระหยิ่มยิ้มย่องว่าสามารถทำกำไรได้แน่นอนแท้จริงพบกับความพินาศขาดทุนย่อยยับ ทรัพย์เก่าก็มลายไปตามจนสิ้น



    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
    มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
    [​IMG]
    [​IMG]
    ธรรม ๕ ประการมีวิบากเป็นสองส่วน
    [๖๕๕] พ. ดูกรภารทวาชะ ครั้งแรกท่านได้ไปสู่ความเชื่อ เดี๋ยวนี้ท่านกล่าวการฟัง
    ตามกัน ดูกรภารทวาชะ ธรรม ๕ ประการนี้ มีวิบากเป็นสองส่วน ในปัจจุบัน ๕ ประการ
    เป็นไฉน? คือ ศรัทธา ความเชื่อ ๑ รุจิ ความชอบใจ ๑ อนุสสวะ การฟังตามกัน ๑ อาการ
    ปริวิตักกะ ความตรึกตามอาการ ๑ ทิฏฐินิชฌานขันติ ความทนได้ซึ่งความเพ่งด้วยทิฏฐิ ๑
    ธรรม ๕ ประการนี้แล มีวิบากเป็นสองส่วนในปัจจุบัน ดูกรภารทวาชะ ถึงแม้สิ่งที่เชื่อกัน
    ด้วยดีทีเดียว แต่สิ่งนั้นเป็นของว่างเปล่าเป็นเท็จไปก็มี ถึงแม้สิ่งที่ไม่เชื่อด้วยดีทีเดียว แต่สิ่งนั้น
    เป็นจริงเป็นแท้ ไม่เป็นอื่นก็มี อนึ่ง สิ่งที่ชอบใจดีทีเดียว ... สิ่งที่ฟังตามกันมาด้วยดีทีเดียว ...
    สิ่งที่ตรึกไว้ด้วยดีทีเดียว ... สิ่งที่เพ่งแล้วด้วยดีทีเดียว เป็นของว่างเปล่าเป็นเท็จไปก็มี ถึงแม้
    สิ่งที่ไม่ได้เพ่งด้วยดีทีเดียว แต่สิ่งนั้นเป็นจริงเป็นแท้ ไม่เป็นอื่นก็มี

    ดูกรภารทวาชะ บุรุษผู้รู้แจ้งเมื่อจะตามรักษาความจริง ไม่ควรจะถึงความตกลงในข้อนั้นโดยส่วนเดียวว่า สิ่งนี้แหละจริงสิ่งอื่นเปล่า.


    กา. ท่านพระโคดม ก็ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร จึงจะชื่อว่าเป็นการตามรักษาสัจจะ
    บุคคลชื่อว่าตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงการตาม
    รักษาสัจจะ?
    พยากรณ์การรักษาสัจจะ
    [๖๕๖] พ. ดูกรภารทวาชะ ถ้าแม้บุรุษมีศรัทธา เขากล่าวว่า ศรัทธาของเราอย่างนี้
    ดังนี้ ชื่อว่า ตามรักษาสัจจะ แต่ยังไม่ชื่อว่าถึงความตกลงโดยส่วนเดียวก่อนว่า สิ่งนี้แหละจริง
    สิ่งอื่นเปล่า ดูกรภารทวาชะ การตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่าตาม
    รักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียง
    เท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการตรัสรู้สัจจะก่อน ดูกรภารทวาชะ ถ้าแม้บุรุษมีความชอบใจ ... มีการ
    ฟังตามกัน ... มีความตรึกตามอาการ ... มีการทนต่อการเพ่งด้วยทิฏฐิ เขากล่าวว่า การทนต่อ
    การเพ่งด้วยทิฏฐิของเราอย่างนี้ ดังนี้ ชื่อว่าตามรักษาสัจจะ แต่ยังไม่ชื่อว่าถึงความตกลงโดย
    ส่วนเดียวก่อนว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดูกรภารทวาชะ การตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วย
    ข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่าตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการ
    ตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการตรัสรู้สัจจะก่อน.
    กา. ท่านพระโคดม การตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่า
    ตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราทั้งหลายย่อมเพ่งเล็ง การรักษาสัจจะด้วยข้อ
    ปฏิบัติเพียงเท่านี้ ท่านพระโคดม ก็การตรัสรู้สัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร บุคคลย่อม
    ตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงการตรัสรู้สัจจะ?
    พยากรณ์การรู้ตามสัจจะ
    [๖๕๗] พ. ดูกรภารทวาชะ ได้ยินว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยบ้านหรือนิคม
    แห่งหนึ่งอยู่. คฤหบดีก็ดี บุตรคฤหบดีก็ดี เข้าไปหาภิกษุนั้นแล้ว ย่อมใคร่ครวญดูในธรรม
    ๓ ประการ คือ ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ ๑ ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย ๑
    ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ๑ ว่า ท่านผู้นี้มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ มีจิตอันธรรมเป็น
    ที่ตั้งแห่งความโลภครอบงำแล้ว เมื่อไม่รู้ก็พึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็พึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใด
    พึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็น
    เช่นนั้น ได้หรือหนอ. เมื่อเขาใคร่ครวญเธอนั้นอยู่ ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมเป็นที่
    ตั้งแห่งความโลภ ไม่มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภครอบงำ ท่านผู้นี้เมื่อไม่รู้จะพึงกล่าวว่ารู้
    เมื่อไม่เห็นจะพึงกล่าวว่าเห็น หรือว่าสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้น
    กาลนานแก่ผู้อื่น ท่านผู้นี้พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นเช่นนั้น ไม่มีเลย.

    {0}อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนของบุคคลผู้ไม่โลภฉะนั้น ท่านผู้นี้แสดงธรรมใด ธรรมนั้น ลึกซึ้ง
    เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิตพึงรู้ธรรมนั้นอันคนโลภแสดงไม่ได้โดยง่าย.{0}


    เมื่อใด เขาใคร่ครวญเธออยู่ ย่อมเห็นแจ้งชัด เธอ
    บริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ เมื่อนั้น เขาย่อมใคร่ครวญเธอให้ยิ่งขึ้นไปในธรรมเป็น
    ที่ตั้งแห่งความประทุษร้ายว่า ท่านผู้นี้มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้ง
    แห่งความประทุษร้ายครอบงำ เมื่อไม่รู้พึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นพึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใดพึง
    เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็น
    อย่างนั้น ได้หรือหนอ. เมื่อเขาใคร่ครวญเธอนั้นอยู่ ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมเป็น
    ที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย ไม่มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้ายครอบงำ เมื่อไม่รู้จะพึง
    กล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นจะพึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
    ทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ไม่มีเลย.

    {0}.อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนของบุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายฉะนั้น ท่านผู้นี้แสดงธรรมใด ธรรมนั้น
    ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิตพึงรู้ธรรมนั้นอันบุคคลผู้ประทุษร้ายแสดงไม่ได้โดยง่าย.{0}


    เมื่อใด เขาใคร่ครวญเธออยู่ย่อมเห็น
    แจ้งชัดว่า เธอบริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย เมื่อนั้นเขาย่อมใคร่ครวญเธอให้
    ยิ่งขึ้นไปในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลงว่า ท่านผู้นี้มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง มีจิตอันธรรม
    เป็นที่ตั้งแห่งความหลงครอบงำ เมื่อไม่รู้พึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นพึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใดพึง
    เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็น
    เช่นนั้น ได้หรือหนอ. เมื่อเขาใคร่ครวญเธอนั้นอยู่ ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมเป็น
    ที่ตั้งแห่งความหลง ไม่มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลงครอบงำ เมื่อไม่รู้จะพึงกล่าวว่ารู้
    เมื่อไม่เห็นจะพึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้น
    กาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นเช่นนั้น ไม่มีเลย.

    อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร
    วจีสมาจาร เหมือนของบุคคลผู้ไม่หลง ฉะนั้น ก็ท่านผู้นี้แสดงธรรมใด ธรรมนั้นลึกซึ้ง เห็น
    ได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิตพึงรู้ ธรรม
    นั้นอันบุคคลผู้หลงพึงแสดงไม่ได้โดยง่าย เมื่อใด เขาใคร่ครวญเธออยู่ ย่อมเห็นแจ้งชัดว่า
    เธอบริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง เมื่อนั้น เขาย่อมตั้งศรัทธาลงในเธอนั้นมั่นคง เขา
    เกิดศรัทธาแล้ว ย่อมเข้าไปใกล้ เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง เขา
    เงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม ครั้นฟังแล้วย่อมทรงจำธรรม พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้
    เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมควรแก่การเพ่ง เมื่อธรรมควรแก่การเพ่งมีอยู่ ย่อม
    เกิดฉันทะ เกิดฉันทะแล้ว ย่อมขะมักเขม้น ครั้นขะมักเขม้นแล้ว ย่อมเทียบเคียง ครั้นเทียบเคียง
    แล้วย่อมตั้งความเพียร เป็นผู้มีใจแน่วแน่ ย่อมทำปรมัตถสัจจะให้แจ้งชัดด้วยกายและเห็นแจ้ง
    แทงตลอดปรมัตถสัจจะนั้นด้วยปัญญา ดูกรภารทวาชะ การตรัสรู้สัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติ
    เพียงเท่านี้แล บุคคลย่อมตรัสรู้สัจจะได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการตรัสรู้
    สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะทีเดียว.
    กา. ท่านพระโคดม การตรัสรู้สัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมตรัสรู้
    สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราทั้งหลายย่อมเพ่งเล็งการตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียง
    เท่านี้ ท่านพระโคดม ก็การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร บุคคลย่อมบรรลุสัจจะ
    ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงการบรรลุสัจจะ?
    พยากรณ์การบรรลุสัจจะ
    [๖๕๘] พ. ดูกรภารทวาชะ การเสพจนคุ้น การเจริญ การทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้น
    แล ชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะ ดูกรภารทวาชะ การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้
    บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติ
    เพียงเท่านี้.
    กา. ท่านพระโคดม การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมบรรลุ
    สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราทั้งหลายย่อมเพ่งเล็งการบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียง
    เท่านี้ ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่าน
    พระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ?
    พยากรณ์ธรรมมีอุปการะมาก
    [๖๕๙] พ. ดูกรภารทวาชะ ความเพียรมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ ถ้าไม่พึงตั้ง
    ความเพียร ก็ไม่พึงบรรลุสัจจะนี้ได้ แต่เพราะตั้งความเพียรจึงบรรลุสัจจะได้ ฉะนั้น ความเพียร
    จึงมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียรเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถาม
    ท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียร?
    พ. ดูกรภารทวาชะ ปัญญาเครื่องพิจารณามีอุปการะมากแก่ความเพียร ถ้าไม่พึงพิจารณา
    ก็พึงตั้งความเพียรนี้ไม่ได้ แต่เพราะพิจารณาจึงตั้งความเพียรได้ ฉะนั้น ปัญญาเครื่องพิจารณา
    จึงมีอุปการะมากแก่ความเพียร.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณาเป็นไฉน ข้าพเจ้า
    ขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา?
    พ. ดูกรภารทวาชะ ความอุตสาหะเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา ถ้า
    ไม่พึงอุตสาหะ ก็พึงพิจารณาไม่ได้ แต่เพราะอุตสาหะจึงพิจารณาได้ ฉะนั้น ความอุตสาหะจึงมี
    อุปการะมากแก่ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูล
    ถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ?
    พ. ดูกรภารทวาชะ ฉันทะมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ ถ้าฉันทะไม่เกิด ก็พึง
    อุตสาหะไม่ได้ แต่เพราะฉันทะเกิดจึงอุตสาหะ ฉะนั้น ฉันทะจึงมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ฉันทะเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่าน
    พระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ?
    พ. ดูกรภารทวาชะ ธรรมที่ควรแก่การเพ่งมีอุปการะมากแก่ฉันทะ ถ้าธรรมทั้งหลายไม่
    ควรแก่การเพ่ง ฉันทะก็ไม่เกิด แต่เพราะธรรมทั้งหลายควรแก่การเพ่ง ฉันทะจึงเกิด ฉะนั้น
    ธรรมที่ควรแก่การเพ่งจึงมีอุปการะมากแก่ฉันทะ.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรการเพ่งเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอ
    ทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมที่มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่การเพ่ง.
    พ. ดูกรภารทวาชะ ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่
    การเพ่ง ถ้าไม่พึงใคร่ครวญเนื้อความนั้น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ควรแก่การเพ่ง แต่เพราะใคร่ครวญ
    เนื้อความ ธรรมทั้งหลายจึงควรแก่การเพ่ง ฉะนั้น ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ จึงมี
    อุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่การเพ่ง.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญา เครื่องใคร่ครวญเนื้อความเป็นไฉน
    ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ?
    พ. ดูกรภารทวาชะ การทรงจำธรรมไว้ มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ
    ถ้าไม่พึงทรงจำธรรมนั้น ก็พึงใคร่ครวญเนื้อความนี้ไม่ได้ แต่เพราะทรงจำธรรมไว้ จึงใคร่ครวญ
    เนื้อความได้ ฉะนั้น การทรงจำธรรมไว้ จึงมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรมเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถาม
    ท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม?
    พ. ดูกรภารทวาชะ การฟังธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม ถ้าไม่พึงฟังธรรม
    ก็พึงทรงจำธรรมนี้ไม่ได้ แต่เพราะฟังธรรมจึงทรงจำธรรมไว้ได้ ฉะนั้น การฟังธรรมจึงมีอุปการะ
    มากแก่การทรงจำธรรม.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การฟังธรรมเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถาม
    ท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม?
    พ. ดูกรภารทวาชะ การเงี่ยโสตลงมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม ถ้าไม่พึงเงี่ยโสตลง
    ก็พึงฟังธรรมนี้ไม่ได้ แต่เพราะเงี่ยโสตลงจึงฟังธรรมได้ ฉะนั้น การเงี่ยโสตลงจึงมีอุปการะมาก
    แก่การฟังธรรม.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลงเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอ
    ทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง?
    พ. ดูกรภารทวาชะ การเข้าไปนั่งใกล้มีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง ถ้าไม่เข้าไปนั่งใกล้
    ก็พึงเงี่ยโสตลงไม่ได้ แต่เพราะเข้าไปนั่งใกล้จึงเงี่ยโสตลง ฉะนั้น การเข้าไปนั่งใกล้จึงมีอุปการะ
    มากแก่การเงี่ยโสตลง.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้เป็นไฉน ข้าพเจ้าขอ
    ทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้?
    พ. ดูกรภารทวาชะ การเข้าไปหามีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้ ถ้าไม่พึงเข้าไปหา
    ก็พึงนั่งใกล้ไม่ได้ แต่เพราะเข้าไปหาจึงนั่งใกล้ ฉะนั้น การเข้าไปหาจึงมีอุปการะมากแก่การเข้า
    ไปนั่งใกล้.
    กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเข้าไปหาเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถาม
    ท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา?
    พ. ดูกรภารทวาชะ ศรัทธามีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา ถ้าศรัทธาไม่เกิด ก็ไม่พึง
    เข้าไปหา แต่เพราะเกิดศรัทธาจึงเข้าไปหา ฉะนั้น ศรัทธาจึงมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา.
    กาปทิกมาณพแสดงตนเป็นอุบาสก
    [๖๖๐] กา. ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงการตามรักษาสัจจะ ท่านพระโคดมทรง
    พยากรณ์แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้งชอบใจทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น
    ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงการตรัสรู้สัจจะ ท่านพระโคดมทรงพยากรณ์แล้ว และข้อที่
    ทรงพยากรณ์นั้น ทั้งชอบใจ ทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลถาม
    ท่านพระโคดมถึงการบรรลุสัจจะ ท่านพระโคดมทรงพยากรณ์ และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้ง
    ชอบใจทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมี
    อุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ ท่านพระโคดมทรงพยากรณ์แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้ง
    ชอบใจทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงข้อใดๆ
    ท่านพระโคดมได้ทรงพยากรณ์ข้อนั้นๆ แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้งชอบใจทั้งควรแก่
    ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เมื่อก่อนข้าพระองค์รู้อย่างนี้ว่า พวก
    สมณะหัวโล้นเชื้อสายคฤหบดีกัณหโคตร เกิดจากพระบาทท้าวมหาพรหม จะแปลกอะไรและจะ
    รู้ทั่วถึงธรรมที่ไหน พระโคดมผู้เจริญได้ทรงทำความรักสมณะในสมณะ ความเลื่อมใสสมณะใน
    สมณะ ความเคารพสมณะในสมณะ ให้เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์แล้วหนอ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
    ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
    พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอก
    ทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าแต่
    พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระองค์กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
    ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต นับตั้งแต่วันนี้
    เป็นต้นไป ฉะนี้แล.
    จบ จังกีสูตร ที่ ๕.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2023
  3. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    สรุป
    FBD610FC-B039-4758-B98A-7794D268F927.jpeg

    พุทธวจนะที่แท้จริง มาจากปฎิสัมภิทาญานครับ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบรรลุปฎิสัมภิทา ๑๖ และทรงกำหนด อรรถะ โดยนิรุตติญานทัสสนะ เพ่งวิมุตติ วิมุตติญานทัสสนะทรงน้อมเข้าถึง พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม องค์เดียวกันกับอดีตพระพุทธเจ้าทั้งหลายฯทรงตรัสรู้เห็น และ ทรงโปรดยกลงมาแสดง ด้วยภาษาสุทธมาคธี {มคธ} แม้ครั้นที่พระอสีติสาวกครั้งเมื่อปฐมสังคายนา นอกจากฟังจากท่านพระอานนท์แล้วก็เข้าสภาวะปฎิสัมภิทาแล้วตรวจทานโดยตรงกับองค์พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม พระสัทธรรมเจ้า ครั้งที่๑ พระปฎิสัมภิทา ๕๐๐ รูป /ครั้งที่ ๒ ๗๐๐ รูป/ครั้งที่๓ ๑๐๐๐ รูป เช่นเดียวกันครับ หนหลังมาพระปฎิสัมภิทาไม่บังเกิดจึงทำได้โดยเพียงวสี๕ และตรวจทานเอาจนถึงปัจจุบัน เห็นจะมีแต่สำนักที่อ้างรู้คำพูดแสดงพุทธวจน ได้คัดลอกพระไตรปิฏก สยามรัฐแล้วตัดคำในพระไตรปิฏกออก ๗๐% หาว่ามีคำปลอมโดยไม่ถูกต้องตามความเห็นชอบในสังฆมณฑล และผู้ถือลิขสิทธิ์ แต่แท้จริงแล้วเป็นการสร้างสัทธรรมปฎิรูปครับ ถ้าหากไม่ทรงกำหนด อรรถะลงมาแสดงแม้แต่ ภาษิตเดียว พระไตรปิฏกก็จะไม่มี นั่นก็หมายถึงพระธรรมคำสั่งสอนพระธรรมวินัยทั้งหมดก็จะไม่มีไม่เกิดขึ้นด้วยครับ การสังคายนาก็จะไม่เกิดขึ้น
    5B164B5C-18C6-4853-A181-E33D75CC2C3E.jpeg



    โปรดระวัง ผู้บรรลุปฎิสัมภิทาญานที่จะบังเกิดขึ้นอีกในอนาคต!ที่มีระดับสูงกว่าข้าพเจ้า

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2023
  4. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    https://www.tiktok.com/@pkindia935/video/7191818722531757338?_t=8hABLJAP7yc&_r=1

    035C9B0D-BDCE-477D-8A96-806F66D95C7C.png
    ปฎิสัมภิทา และพยัญชนะปฎิรูป การห้ามอรรถและธรรมที่เราได้เคยวิสัชนาแสดงไว้ เมื่อธรรมเหล่านั้น แสดงโดยพระภิกษุหรือพระธรรมทูต กำลังแห่งการเผยแผ่ ปกป้องพระไตรปิฏกและพระพุทธศาสนาก็จักมีกำลังมาก เพราะเห็นความสำคัญของเหล่าปฎิสัมภิทา ๑๖

    ขอกราบนมัสการท่านพระครูอินเดีย ขออนุโมทนาในมหามงคลบุญนี้ด้วย

    เราผู้สุตตะน้อย เป็นผู้ยังด้อย และอัปปสูตอยู่ พยามยามสร้างความเพียรอยู่

    “หากเห็นว่าควรศึกษา ควรพิจารณา” ผู้ไม่มีความเพียร มีความเพียรน้อยอย่างเรา ไม่ได้เป็นพหูสูต ไม่มีครูอื่นสอนตนเองในเรื่องปฎิสัมภิทานี้ เราช่างอาภัพนักที่ต้องมาค้นหาพิจารณาด้วยตนเอง ผู้เบื้องล่าง ๑/๑๖ นี้อยู่ฯ


    ขออนุโมทนา สำหรับท่านผู้ใฝ่ศึกษา ท่านอื่นๆด้วยที่กำลังพิจารณาศึกษาในตอนนี้ ขอให้ท่านเจริญ การศึกษาปฎิสัมภิทา สามารถทำลาย ฆนสัญญา ดังนี้ฯ

    ***อยากพ้นบ่วงกรรมในข่ายก็ล้างใจให้สะอาด ทำใจให้บริสุทธิ์ แล้วเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ เราขออนุโมทนาให้ท่านสาธุชนทุกท่าน ผู้ฝึกตน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2023
  5. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27




    “หลักฐานการเข้าถึง ปฎิสัมภิทาญาน ที่เหล่าปฎิสัมภิทา จะรู้และทราบ รู้กันโดยในทันที “



    นี่คือการสวดซ้อม บทสวด อภยปริตร โดยปฎิสัมภิทาญาน โดยทำนองอันประกอบด้วยสังคีตอันเป็นทิพย์ โดยสภาวะสกานิรุตติ

    ไม่ได้สวดโชว์ สวดเล่น แต่ถ่ายทอดไว้เพื่อเหตุและปัจจัยในอนาคต

    ท่านผู้ได้ปฎิสัมภิทา นั้นจะสามารถรู้ได้ทันทีว่า นี้คือ สภาวะสกานิรุตติ เราได้แสดงไว้เนิ่นนานในโลกธาตุ นับ๑๐ ปีแล้ว เพื่อยังประโยชน์และปัจจัยให้แก่มรรคผลของสาธุชนในภายภาคหน้า



    ตตฺร ธมฺมนิรุตฺตาภิลาเป ญาณํ ความว่า ความรู้แตกฉานในคำพูด คำกล่าว คำที่เปล่งถึงสภาวนิรุตติอันเป็นโวหารที่ไม่ผิดเพี้ยนทั้งในอรรถและในธรรมนั้น, ในคำพูดอันเป็นสภาวนิรุตติของพระอริยบุคคลผู้ทำสภาวนิรุตติศัพท์ที่เขาพูดแล้ว กล่าวแล้ว เปล่งออกแล้ว ให้เป็นอารมณ์แล้ว พิจารณาอยู่, ในมาคธีมูลภาษาของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นสภาวนิรุตติ เพราะสภาวนิรุตตินั้น บัณฑิตรับรองว่าเป็นธรรมนิรุตติอย่างนี้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาวนิรุตติ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา.
    ด้วยประการฉะนี้ นิรุตติปฏิสัมภิทานี้ ชื่อว่ามีสัททะคือเสียงเป็นอารมณ์ มิได้มีบัญญัติเป็นอารมณ์. เพราะเหตุไร? เพราะพระอริยบุคคลได้ยินเสียงแล้วย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาวนิรุตติ.
    จริงอยู่ พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา ครั้นเขาพูดว่า ผสฺโส ก็ย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, ครั้นเขาพูดว่า ผสฺสา หรือ ผสฺสํ ก็ย่อมรู้ว่า นี้มิใช่สภาวนิรุตติ.
    แม้ในสภาวธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.
    ถามว่า ก็พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทานี้จะรู้หรือไม่ รู้คำอื่นคือเสียงแห่งพยัญชนะอันกล่าวถึงนาม, อาขยาต, อุปสัค, และนิบาต.
    ตอบว่า พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทานั้น ครั้นได้ยินเสียงแล้วก็รู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาวนิรุตติ ด้วยเหตุสำคัญอันใด, ก็จักรู้คำนั้นด้วยเหตุสำคัญอันนั้น.

    กล่าวตามตรง เราเองก็พยายามค้นหาบุคคล ตามหา และชี้ทางให้เข้าถึง ปฎิสัมภิทาอยู่ โดยวาง ทำนองเสียง สภาวะ นิรุตติ เพื่อการทดสอบบุคคลจึงซ่อนเมฆทดลองไว้ดังนี้ฯ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2023
  6. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    https://youtube.com/shorts/XJSVwK_5ssw?si=5K4TJGjw418NUMPx



    หมดโลกธาตุ เตือนการเห็นผิดอยู่ผู้เดียว ไม่เตือนไม่บอกก็ไม่ได้ ตระหนี่ธรรม ๕ ประการอีก

    อ่านแต่ฉลากขายยา ก็เชื่อว่าไม่มีไม่เป็นอย่างอื่น ! เวรกรรมสัตว์โลก!


    ใครกันเป็นผู้สร้างผู้สอน “ ปฎิสัมภิทาปฎิรูป “

    โดนกับดักมารอีกแล้ว! น่าจะวางแผนทำลายเหล่าปฎิสัมภิทาไว้นานแล้วสินะ!



    สั้นๆตรงๆ

    “ ผู้บรรลุปฎิสัมภิทา เก่งไม่เท่ากัน “

    เข้าใจนะ!

    ถ้าไล่ดู ตามเสต็ป จะเห็นใจเรา ที่ลากมาไกลขนาดนี้ด้วยตนเองเพียงลำพัง


    bc6c4100-7002-4bcd-bc44-9658ff3c2f39-jpeg.jpg


    ข้อแจ้งเตือน ผู้ที่ศึกษา ปฎิสัมภิทา ที่ท่านทั้งหลาย พบเห็นผ่านตามมาซึ่งคุณสมบัติของผู้บรรลุปฎิสัมภิทา ทั้ง ๑๖ ตอนนี้ยังมีผู้เห็นผิดเป็นอันมากโดยรู้จากจำมา รู้จากคำแปลจากภาพที่มีปรากฎไว้ และยังไปเผยแผ่ความรู้ความเข้าใจในปฎิสัมภิทา แบบขลาดเขลา ว่า ผู้บรรลุ ปฎิสัมภิทาญาน นั้นมีคุณสมบัติ เบ็ดเสร็จ เหมือนกัน เสมอกันทั้งหมด เป็นความเห็นความเชื่อที่ผิด โดยส่วนใหญ่ บุคคลเหล่านี้ ขาดความเข้าใจและการเรียนรู้น้อยนัก

    จงพิจารณาดูเถิด “ ผู้ไม่มีความเพียร ไม่แตกฉาน ก็ยังบรรลุปฎิสัมภิทา นั้นก็มีอยู่ ฯ เราเองก็หนึ่งในนั้นเช่นกัน




    ผู้ปฎิสัมภิทามี ๑๖ ระดับความสามารถ

    บุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญา ๑๖ ประการนี้ เป็นผู้บรรลุปฏิสัมภิทา บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ คือ ผู้หนึ่งถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน
    ผู้หนึ่งไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒คือ ผู้หนึ่งเป็นพหูสูต ผู้หนึ่งไม่เป็นพหูสูต ผู้เป็นพหูสูตเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่งวิเศษกว่าผู้ไม่เป็นพหูสูต และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ แม้ผู้เป็นพหูสูตก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งมากด้วยเทศนา ผู้หนึ่งไม่มากด้วยเทศนา ผู้มากด้วยเทศนา เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่มากด้วยเทศนา และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทาผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ และผู้มากด้วยเทศนาก็
    มี ๒ คือ ผู้หนึ่งอาศัยครู ผู้หนึ่งไม่อาศัยครู ผู้อาศัยครูเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่งวิเศษกว่าผู้ไม่อาศัยครู และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูต
    มี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ และผู้อาศัยครูก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งมีวิหารธรรมมากผู้หนึ่งไม่มีวิหารธรรมมาก ผู้มีวิหารธรรมมากเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่มีวิหารธรรมมาก และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ และผู้มีวิหารธรรมมากก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งมีความพิจารณามาก ผู้หนึ่งไม่มีความพิจารณามาก ผู้มีความพิจารณามากเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่มีความพิจารณามาก และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลบรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ ผู้มีวิหารธรรมมากมี ๒ และผู้มีความพิจารณามากก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งเป็นพระเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา ผู้หนึ่งเป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา ผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา ผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้เป็นพระเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา และมีญาณแตกฉาน


    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ ผู้มีวิหารธรรมมากมี ๒ ผู้มีความพิจารณามากมี ๒ และผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งบรรลุถึงสาวกบารมี ผู้หนึ่งไม่บรรลุถึงสาวกบารมี ผู้บรรลุถึงสาวกบารมีเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่บรรลุถึงสาวกบารมี และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ ผู้มีวิหารธรรมมากมี ๒ ผู้มีความพิจารณามากมี ๒ และผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งบรรลุถึงสาวกบารมี ผู้หนึ่งเป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้บรรลุถึงสาวกบารมีและมีญาณแตกฉาน เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้า และโลก พร้อมทั้งเทวโลก ดังนี้

    พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงเป็นผู้ฉลาดในประเภทแห่งปัญญา มีพระญาณแตกฉาน ทรงได้ปฏิ
    สัมภิทา ทรงบรรลุถึงเวสารัชชญาณ ทรงพละ ๑๐ ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษสีหะ ฯลฯ บรรดากษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญาละเอียด แต่งวาทะโต้ตอบ มีปัญญาเปรียบด้วยนายขมังธนูผู้สามารถยิงขนทราย เที่ยวทำลายปัญญาและทิฐิด้วยปัญญา บัณฑิตเหล่านั้นแต่งปัญหาแล้วพากันเข้ามาหาพระตถาคต ถามปัญหาทั้งลี้ลับและเปิดเผย ปัญหาเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคตรัสบอกและทรงแก้แล้ว มีเหตุที่ทรงแสดงไขให้เห็นชัด ปรากฏแก่พระผู้มีพระภาค ความจริง พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยพระปัญญา เพราะทรงแก้ปัญหาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ฉะนี้แล ฯ
    จบมหาปัญญากถา

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2023
  7. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    43FF8DBB-0890-42A2-A56C-6811B3D95619.jpeg 18E475D3-BAEB-42B5-A1BD-5B53AC70A3ED.jpeg



    บทบาทหน้าที่ ของผู้เข้าถึงควรกระทำตามสมควรปฎิบัติ

    คือ การน้อมนำลงมาแสดงไว้ ไม่ใช่เพื่ออื่นใด นอกจากการเคารพบูชา สักการะ พระสัทธรรม แจ้งเหตุว่า พระองค์ท่านทรงรู้ทรงทราบ ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วแต่เหตุนี้อยู่ เพื่อความตั้งมั่นในพระสัทธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2023
  8. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    พระธรรมคำสั่งสอนใน พระไตรปิฏกทั้งหมดล้วนมาจาก ปฎิสัมภิทา ตั้งแต่ ปฐมสังคายนามาโดย วิธี
    “ปฎิสังยุตโดยสูญญตาธรรม “
    8f7caa97-1cb2-4bef-b41b-2df0602bad89-jpeg.jpg

    ท่านปฎิสัมภิทา กับ ท่านปฎิสังยุติ ท่านเมตตา ปราบสัทธรรมปฎิรูปแล้วล่ะครับ งานนี้ ! ถึงคราวิบัติ ฉิบหาย ตายแน่ๆ สงสารคนหลงทางไปอบาย

    ท่านพระครู ท่านมหาเปรียญ ท่านสหธรรมกัลยาณมิตร คงทราบดีนะขอครับ “
    06822e4f-7381-4ecf-bc04-e041f62df0b4-jpeg.jpg 31a65bea-cbf4-48df-a69e-694e22f0c9c2-jpeg.jpg 86abcd44-9499-4f86-b353-a49b7d11ad1d-jpeg.jpg
    { พระมหาปกรณ์ ในพระไตรปิฏกพระธรรมคำภีร์ธรรมแม่บท }

    b94d5f2c-127e-42b2-ade1-d96a1fc48fec-jpeg.jpg

    ต้นฉบับของอาณิสูตรและพระสูตรที่ประกอบด้วย อรรถอันลึก ประกอบด้วยโลกุตรธรรม ทั้งหมดฯ

    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒
    อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
    [​IMG]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือบริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ ๑ บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อด้าน ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำเป็นไฉน ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถอันลึกล้ำ เป็นโลกุตระ ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ไม่ตั้งใจฟังให้ดี
    ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียนท่องขึ้นใจ

    แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีได้รจนาไว้ เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก ซึ่งสาวกได้ภาษิตไว้ ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึงอนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว
    ไม่สอบสวนไม่เที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นไม่เปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ไม่ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่าบริษัทดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ได้รับการสอบถาม
    แนะนำไม่ดื้อด้านเป็นไฉน

    ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีรจนาไว้เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก เป็นสาวกภาษิต ไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ แต่ว่า เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถลึกล้ำ เป็นโลกุตระปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ
    ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมสอบสวนเที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นย่อมเปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และบรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทผู้ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกเหล่านี้แล

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน เป็นเลิศ ฯ

    ที่ผ่านมา ก็เห็นแต่เพียงเรา กล่าวว่า นั่นไม่ใช่อรรถ ไม่ใช่พยัญชนะ นั่นตั้งไว้ผิด นั่นไม่ถูกต้อง! แม้ในพระบาลีปกรณ์ ก็ยังกล่าวบอกว่า ยังมี พระมหาปกรณ์อยู่
    บันลือสีหนาท เข้าใจผิดกันทั้งโลก ตรงกาลเวลา ไม่มีเพื่อนสอง

    ข้าแต่ฯพุทธเจ้า ไม่อยากคิดเข้าข้างตนเองเลย ว่าเป็นผู้เตือน อรรถ เตือน พยัญชนะ ดังนี้อยู่ ขอจงทรงอดโทษ พระราชทานอภัย ข้าแต่ฯพุทธเจ้า เพราะความประพฤติยังไม่ดีงาม อยู่ในฐานะพึง ยังความประมาทอยู่ในโลก


    “ เราท่านสามารถมีความคิดแบบเดียวกันกับกลุ่มชนนั้นได้ แต่เราไม่คิดไม่ทำเพราะไม่ถูกต้องไม่เหมาะไม่ควร แต่ชนเหล่านั้น ไม่สามารถนึกคิดตรึกตรอง อย่างเราท่านได้ นี่สิแปลก! บ่วงอะไร ห่วงอันใด เชือกรัด ศาตราใด จึงตีตรวน มัดตรึงเขาอยู่ ช่างน่าพิศดารนัก บทแห่งกรรมนี้ “

    73101ea1-62ad-4d7f-8694-9f0bbcab2c2f-jpeg.jpg
    8538475C-DC3E-44C3-9140-A51577CFD32A.png
    https://vt.tiktok.com/ZSNPXWtC9/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2023
  9. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    “ ไม่เคยเห็นหรอก แค่แค๊ปภาพไว้ทัน และสอยจนต้องปิดเว็บหนี ใช้การล๊อกอัพสเตตัส ! ค้างไว้เพื่อประกาศศักดา ว่าเป็นพระอรหันต์ที่ประเสริฐที่สุด ในสามโลกที่สามารถถลุงพระไตรปิฏกเอาออกมาแต่คำพระพุทธเจ้าได้ ในรอบ 2500 ปี จะบอกว่าไม่รู้ไม่เห็นเป็นไปไม่ได้ ปิดหนีทำไมถ้าแน่จริง! “
    200E9C75-E6A4-4F93-97A6-9F8ACDC9F564.jpeg 5B72FB57-A690-4196-8348-6AF4B2FC304F.jpeg 0D735DDA-D353-432C-B596-56870A33342E.jpeg 930D06AE-C22B-4AB0-97E3-7F4F04037271.jpeg 697C488F-DFA6-49FB-96F0-E5F76B026E38.jpeg 7E1393CF-699A-4E4B-8062-4052B2905C92.jpeg 126BEFB0-65E6-4B0A-AFDC-D28B28F1B8E4.jpeg 4229E014-D30E-4A45-9C97-6721BEE95827.jpeg B17C7076-92F9-424C-A692-EC5544A2BB73.jpeg 4C4346CB-3756-43DD-A78A-8ED8253D0CC7.jpeg 13C7E9F6-3D62-4DC9-9734-1093983DD86C.jpeg 516395EE-DC88-4DB2-9AC6-C0390C1776C8.jpeg

    ไม่รู้จักปฎิสัมภิทา อวดอ้างรู้ พุทธวจนะ !

    ถ้าขึ้นศาล ผู้ชนะ ก็คือ ฝ่ายผู้รักษาพระสัทธรรมจริงเท่านั้น

    เหล่าปฎิสัมภิทาหวงแหนและเคารพพระไตรปิฏกยิ่งกว่าชีวิต
    F252989D-EC0D-4A5B-9C9E-DA887C00A0A5.png
    https://vt.tiktok.com/ZSNPXVLTY/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2023
  10. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    วิสัชนาให้ลึกซึ้งเข้าไปอีก!

    B9E6B699-910E-4C44-A3B2-7EC7A29BEDFD.jpeg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2023
  11. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    มิจฉาวิมุตติ ตายห่าล่ะ เป็นเอามากทั้งเจ้าสำนักและสาวก

    วิมุตติญานทัสสนะ วัดนาป่ารก!


    กรรมจริงๆสัตว์โลก อดีตชาติทำกรรมกับพระพุทธศาสนามาเยอะก็อย่างนี้

    สัตตานังกู ไปซะแล้ว!

    A586AB72-6B92-46A7-9169-A44A47F5F64F.png 2F5F576E-1988-41F0-BD2A-B554C6BACAD1.png 995A96C2-32E2-4132-97B0-138EA7A879D3.png ED35EE3F-D5EE-4003-811F-6865CF12150B.png BBD24F43-DA02-48C2-8111-0FB60A723FF3.png


    7079CEA4-F888-4D86-9EF2-F241DDA36B1A.jpeg 671548D0-6632-45DB-8389-2F97E8AFE85B.jpeg 4153AE2D-6D7B-445C-BBCC-FD08F916B7ED.jpeg


    ขายพระพุทธเจ้า ขายพระธรรม กินต่อไป นกแก้วนกขุนทอง! รอวันตาย ลูกนกลูกกาลูกหมาตาบอด กรรมเยอะ ก็บอดต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2023
  12. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    กระทู้นี้ แสดงไว้ด้วยความโกรธ เกลียด ไม่ชอบใจ ในความเห็นผิด สลด สังเวช เวทนา สงสาร ไม่มีราคะเจือปน

    เลือกเอาแต่ ของดีๆไป ของไม่ดีที่แสดงไว้ ด้วยโทสะ พยาบาท ไม่ต้องเอาไป ! ตั้งใจพิจารณาตามเอา คิดว่าเป็นตัวเองความคิดของตนเอง (ญานแห่งความรู้) ในเบื้องต้นจะเข้าถึงง่าย!

    เอาไปตั้งใส่ทั้งฝ่ายอกุศลสัทธรรมปฎิรูปหรือฝ่ายกุศลพระสัทธรรมคือ สมมุติว่าเป็นเรา(ตนเอง)แสดงไว้ และ เรา(ตนเอง)เป็นเขาคิดอย่างเขา ทำอย่างเขา

    ก็จะแยกจริตธรรม แยกเจตนา ดี หรือ ชั่วร้ายออก

    ถ้าอ่านตามคิดตามว่า เป็นเพียงความคิดหรือ การถ่ายทอดของผู้อื่น ก็จะรู้ไม่ชัดว่าจะเชื่อจะเป็นฝ่ายไหนดี

    พิจารณาแบบนี้

    สัมมาทิฏฐิ และ มิจฉาทิฐิ จึงแยกได้โดยง่าย โดยตั้งตนไว้ชอบตรงกลาง

    E30DDFE9-E9F7-4EBA-A96E-4CE62D795CE6.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤศจิกายน 2023
  13. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    ญาน หรือทัสสนะญาน จากอภิญญา ที่เกิดขึ้นโดยปฎิสัมภิทา จะปรากฎเฉพาะเวลามีเหตุและปัจจัยในการเข้าถึงพร้อม และการแสดงเพียงเท่านั้น ไม่ใช่มีปรากฎ พร่ำเพรื่อ!

    เหล่าปฎิสัมภิทา ได้กระแสวิมุตติและนิรุตติจากการพิจารณาพระไตรปิฏกอยู่แล้ว แต่ผู้ที่ไม่เป็นเหล่าปฎิสัมภิทา ไม่ได้
    พระอเสขะก็สามารถ เพ่งพิจารณาตามจิตที่วิมุตติ เมื่อมีเหตุและปัจจัยสอดคล้องกันในสภาวะเข้าถึง


    ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เราท่านก็ไม่มีทางได้มาอ่านมาพิจารณาอยู่ตรงนี้หรอก เพราะมีเหตุ มีปัจจัยสงเคราะห์กัน จึงมีจึงมา ว่าโดยอภิธรรม

    กาลเวลา สถานที่ แนวคิด วิถีชีวิต ล้วนแต่เป็นเหตุปัจจัย สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี ถ้าไม่มี ญานในการตรวจสอบค้นหาความจริงของเราท่าน คงไม่ได้ มาพิจารณาอยู่ตรงนี้ คงไปสนใจเรื่องราวอื่นๆในโลกแทน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤศจิกายน 2023
  14. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เราท่านก็ไม่มีทางได้มาอ่านมาพิจารณาอยู่ตรงนี้หรอก เพราะมีเหตุ มีปัจจัยสงเคราะห์กัน จึงมีจึงมา ว่าโดยอภิธรรม
     
  15. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    1DD6C2AF-50C0-4E36-A84B-ABBE9B0A34AF.jpeg รู้จักพระมหาปกรณ์ ได้เมื่อไหร่ ก็นับว่า ได้เข้าใกล้ความเป็นจริง แห่งปฎิสัมภิทา

    พระมหาปกรณ์ ในพระสัทธรรมเจ้า พระไตรปิฏกที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายฯ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายฯ ทรงตรัสรู้เห็น ทั้งนี้รวมพระอริยะบุคคลผู้ได้ปฎิสัมภิทานั้นด้วย ก่อนจะถูกถ่ายทอดมาเป็นภาษาพรหม(สุทธิมาคธี) +[ภาษาดั้งเดิมในทุกภพภูมิ] บาลีมคธ หรืออื่นๆ จะเอาภาษาที่เกิดจากแม่แบบ ไปเปรียบเทียบกับต้นแบบ ว่าตรงกันหรือไม่ นั้นทำได้ แต่ว่า แม่แบบ เป็นแบบอินฟินิตี้ จะเอาปัญญาไหนไปเทียบ! เพราะแค่ชั้นรองลงมาก็เป็นได้ทุกๆภาษาใน ๔ มหาทวีป


    อุปมา

    มันยากแค่ไหน? มันก็ยากพอๆกัน หรือยากกว่า ในยุคสมัยปัจจุบันกับ การที่จะพิสูจน์ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระพักตร์อย่างไร หรือ พระวรกายอย่างไรนั่นแหละ พระมหาปกรณ์

    E5C8994E-B30F-4ED3-8210-5E2C4DD928EB.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2023
  16. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    “ ฮือเต๊ก “ อย่าลืม!
    E934898B-FAB5-4983-9F6A-154766489782.jpeg B9C58D3E-6AB4-48A3-9CB5-F1DE00721081.jpeg 389823F7-C453-4E5F-83E9-2E94E050A97F.jpeg 749DC908-17D5-4B67-BAAF-D010CC7384BA.jpeg


    #ฮือเต็ก(ซีจุ๊)

    #ตอนที่ 1 #ประมุขพรรคสราญรมย์

    #ผู้อยู่กึ่งกลางระหว่างเทพและมาร

    สำหรับซีจุ๊แล้ว เป็นสิ่งที่ผมต้องอาศัยการตกผลึกพอสมควรจึงสามารถเขียนได้ เนื่องจากตัวของฮือเต็กหรือซีจุ๊นั้น มีความเป็นมาที่ลักลั่นย้อนแย้งพอสมควร แทบจะเรียกว่า ประวัติการกำเนิด การฝึกวรยุทธ การกราบ อาจารย์อู๋หย่าจื่อ (ประมุขพรรคสราญรมย์) การพบรักกับเจ้าหญิงแห่งซีเซี่ย
    การพบพี่น้องร่วมสาบานและร่วมเป็นร่วมตายกับเฉียวฟง กับต้วนอี้ ซึ่งการเขียนถึงหลวงจีนฮือเต็กหรือซีจุ๊ใน internet นับว่ามีในระดับนึงแล้ว ในที่นี้ผมขอเสนอจากมุมมองของผู้ฝึกตนคนหนึ่ง

    ฮือเต็กหรือซีจุ๊นั้น เติบโตมาจากวัดเส้าหลินซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดนิกายเซน อาจกล่าวได้ว่า หลวงจีนฮือเต็กนั้นได้ศึกษาพระคัมภีร์ทางพุทธศาสนาอย่างเข้าถึงแก่นแท้ หากเราอ่านนิยายแปดเทพอสูรมังกรฟ้าจะมีหลายคราที่ ฮือเต็กได้ครุ่นคิดถึงพระคัมภีร์ในศาสนาพุทธนิกายมหายาน ดังตอนที่ฮือเต็กครุ่นคิดขณะเดินหมากกลเตียมล้งว่า

    “ซือแป๋มักบอว่าหลักที่พึงยืดถือของบรรพชิตเรา คือ การมีศีล สมาธิ ปัญญา พระคัมภีร์เล้งเงี่ยมเก็งสอนไว้ว่า

    “สำรวมจิตใจเป็นศีล จากศีลเกิดสมาธิ จากสมาธิ เปล่งปัญญา ชนชาวเราที่มีรากเหง้าโง่ทึบยากจะสำรวมจิตใจเป็นศีล ดังนั้นปรมาจารย์ตั๊กม้อจึงให้เราฝึกวิชาบู๊เพื่อสำรวมจิตใจ รวมทั้งเล่นหมากล้อมเพื่อสำรวมจิต หัดวิชาบู๊ถือผลแพ้ชนะ เล่นหมากล้อมก็เช่นกัน พอดีตรงกันข้ามกับหลักการของ ฌานสมาบัติ ดังนั้นไม่ว่าหัดวิชาบู๊หรือหมากล้อมต้องไม่มีความผิดต่อผลแพ้ชนะ การท่องคัมภีร์ รับประทานข้าว เดินทาง ไม่มีความคิดต่อผลแพ้ชนะนั้นง่ายดาย แต่ตอนประลองฝีมือพันตูหมากล้อมนั้นยากจะไม่มีความคิดต่อผลแพ้ชนะ นับว่าใกล้วิถีแห่งเต๋าแล้ว”

    หรือตอนที่พลันนึกถึงคัมภีร์ฮวบกู่เก็ง ว่า “ชนะก่อเกิดศัตรู พอพ่ายแพ้หยามหยันตัวเอง ขจัดชัยชนะ หันหลังให้ใจ ไร้การช่วงชิงย่อมสงบสุข”

    หรือแม้แต่ตอนที่อยู่กับนางเฒ่าทาริกายังนึกพระคัมภีร์กิมกังเก็งว่า (วัชรปรัชญาปาริตาสูตร) “ภาพลักษณ์ทั้งหมดล้วนว่างเปล่า” จึงอาจกล่าวได้ว่าหลวงจีนฮือเต็กเป็นผู้เชี่ยวชานด้านคัมภีร์พุทธสายมหายานอย่างแท้จริง
    วิชาฝีมือของฮืฮเต็กเพียงได้ร่ำเรียนหมัดอรหันต์ กับฝ่ามือองค์คุลีมาลเท่านั้น ซึ่งเป็นวิชาขั้นพื้นฐานของสำนักเส้าหลิน

    ฮือเต็กแม้พลังฝีมืออ่อนด้อย วิชาหมากล้อมต่ำทราม ประลองยุทธ หรือพันตูหมากล้อมกับเฮียตี๋ร่วมสำนัก มักเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ มากกว่าชนะ แต่ซือแป๋กลับชมเชยว่า ฮือเต็กไร้โทสะ โมหะความคิดแพ้ชนะอ่อนจางยิ่ง

    ครั้นเพื่อช่วยชีวิตเอี่ยงเค่งไทจือ แม้ฝีมือต่ำทรามไม่สามารถแก้หมากกลเตียงล้ง ได้พลันเดินหมากเปะปะ วางหมากลงในหมากขาว ซึ่งถูกหมากดำล้อมกัก ซึ่งถือเป็นการฆ่าตัวตายในหลักการของหมากล้อม

    มิคาดกลับก่อให้เกิดสภาพโล่งโถง กลับสามารถแก้หมากกลเตียงล้งได้อย่างน่าอัศจรรย์ อาจเป็นเพราะหมากกลเตียงล้ง (มุกหยกกระทบ) นี้เปลี่ยนแปลงไปตามธาตุแท้ของจิตใจคน ผู้ที่รักสมบัติจะถูกความละโมบเข้าครอบงำ ผู้ที่มีโทสะโดยง่ายจะเกิดความหุนหันพลันแล่น ซึ่งก่อนหน้าที่นี่ ต้วนอี้ พ่ายแพ้เพราะเกิดความรักลึกซึ้งต่อแม่นางหวังไม่ยอมละทิ้งหมาก
    มู่หยงฟู่แพ้เพราะดึงดันต่ออำนาจ ไม่ว่าอย่างไรไม่ยอมเสียอำนาจ

    แต่ฮือเต๊ก (ซีจุ๊) กลับยอมฆ่าตัวตายทางหมากล้อมเพื่อช่วยคน นับว่าขัดกับหลักเหตุผล นั่นคือทำลายหมากขาวกลุ่มหนึ่ง จึงก่อให้เกิดหมากพิสดารแยบคายแก้หมากกลเตียมล้งของอู๋หย่าจื่อได้โดยปริยาย

    ในหมากกลมาตราว่ามีวีธี “ถอดรองเท้า” คือจงใจให้ฝ่ายตรงข้าม กินหมากไปหลายเม็ด จากนั้นจู่โจมตลบหลังเอาชัยก แต่อย่างมากยอมเสียมากไปแปดเก้าเม็ด ไม่มีการทำลายหมากไปคราเดียวสิบเม็ด นับเป็นการพลิกแพลงที่ไม่เคยมีมาก่อน ต่อให้ท่าน เป็นมือหมากล้อมชั้นใด ก็ไม่วางทางสายนี้ หากมิใช่หลวงจีนฮือเต็กหลับตาวางหมากโง่เขลา ต่อให้อีกร้อยพันปี หมากกลเตียงล้งนี้ก็ไม่มีผู้ใดแก้

    ที่กล่าวมาในตอนต้นทั้งหมด จะสัมพันธ์กับตอนที่ 2 คือ การเข้าสู่สำนักสราญรมย์เพราะการเข้าสู่สำนักสราญรมย์นั้น นอกจากวรยุทธล้ำเลิศ หน้าตาหล่อเหลา แล้ว ท่านต้องแตกฉานวิชาพิณ หมากรุก ตัวหนังสือ ภาพวาด โหราพยากรณ์ วิชาแพทย์ งานช่างฝีมือและวิชาเพาะพันธุ์เกษตรอีกด้วย

    อนันตทวิ
     
  17. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    FCE99171-6089-4148-A817-93F7D18F3C82.jpeg อรรถกถาสังยุตตนิกาย สคาถวรรค
    อารัมภกถา ข้าพเจ้าพระพุทธโฆษาจารย์ขอน้อมนมัสการ ด้วยเศียรเกล้า ซึ่งพระสุคตเจ้าผู้หลุดพ้นแล้วจากคติ ผู้มีพระทัยเยือกเย็นสนิทด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ผู้มีความมืดคือโมหะอันแสงสว่างแห่งปัญญาขจัดแล้ว ผู้เป็นครูของชาวโลกทั้งหลาย พร้อมทั้งมนุษย์และเทวดา.
    พระพุทธเจ้าทรงทำให้แจ้งพระสัพพัญญุตญาณทรงเข้าถึงพระธรรมใดอันมีมลทินไปปราศแล้ว ข้าพเจ้า ขอน้อมนมัสการพระธรรมอันเยี่ยมนั้นด้วยเศียรเกล้า. ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการด้วยเศียรเกล้า ซึ่งพระอริยสงฆ์เจ้าอยู่เป็นหมู่แห่งพระอริยบุคคลแม้ทั้งแปดพวก ผู้เป็นบุตรอันเกิดแต่พระอุระของพระสุคตเจ้า ผู้ย่ำยีเสียได้ซึ่งมารและเสนามาร.
    บุญใดสำเร็จแล้วด้วยการกราบไหว้พระรัตนตรัยของข้าพเจ้าผู้มีจิตเลื่อมใสแล้วด้วยประการฉะนี้ ด้วยอานุภาพแห่งบุญนั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้มีอันตรายอันขจัดดีแล้ว อรรถกถาใดอันพระขีณาสพ ๕๐๐ องค์ผู้ชำนาญแตกฉานในปฏิสัมภิทาช่วยกันร้อยกรองแล้วตั้งแต่ปฐมสังคายนา ต่อมามีการร้อยกรองอีกสองครั้ง คือในทุติย-ตติยสังคายนา เพื่อประกาศเนื้อความของปกรณ์สังยุตตนิกายอันประเสริฐ ซึ่งประดับด้วยวรรคแห่งสังยุตอันจำแนกญาณต่างๆ ที่พระพุทธะและสาวกของพระพุทธะพรรณนาไว้ดีแล้ว
    ก็อรรถกถานั้นแหละ อันพระมหินทเถระผู้ชำนาญจากประเทศอินเดียนำมายังเกาะสิงหล (ประเทศศรีลังกา) ต่อมาได้ประดิษฐานไว้ด้วยภาษาสิงหล เพื่อประโยชน์แก่หมู่ชนชาวเกาะ ข้าพเจ้านำอรรถกถาภาษาสิงหลออกแปลเป็นภาษามคธซึ่งเป็นภาษาที่น่ารื่นรมย์ ถูกต้องตามระเบียบพระบาลีไม่มีภาษาอื่นปะปน ไม่ขัดแย้งทฤษฎีของพระเถระทั้งหลายผู้อยู่ในมหาวิหาร ผู้เป็นดังประทีปของเถระวงศ์ ผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ละเอียดรอบคอบ จักตัดข้อความที่ซ้ำๆ ออกแล้วจักประกาศเนื้อความอรรถกถาสังยุตตนิกายนี้ เพื่อความชื่นชมยินดีของสาธุชนและเพื่อดำรงอยู่สิ้นกาลนานแห่งพระธรรม.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2023
  18. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    “ปฎิสังยุตด้วยสุญญตธรรม”

    72BB8C6C-2816-4390-8559-8ED7C0A6A851.jpeg 2 กระทู้นี้ผูกกัน บางอย่างที่สำคัญแสดงไว้ แต่ในกระทู้นี้ ไม่ได้แสดงไว้หรือแสดงไม่ละเอียด!

    https://palungjit.org/threads/พุทธทำนาย-ยุคกึ่งพุทธกาล-จะเกิดภัยพิบัติและสงครามใหญ่-ปีพ-ศ-2560-เป็นต้นไป.569027/page-50#post-11990451

    ระดมทีมโบราณคดี
     
  19. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    1fba92fb-ac97-4402-96b1-5bdf87530787-jpeg.jpg


    ปฎิสัมภิทา, สมาบัติภายใน, ธรรมเอก, สุญญตวิหารธรรม

    ๒ พระสูตรนี้ จะเกี่ยวข้องกับ สัญญาสูตร อรรถพยัญชนะ ที่ตรงกันของพระศาสดา

    จุฬสุญญตสูตร การแสดง สุญญตวิหารธรรม ของพระพุทธเจ้า แก่พระอานนท์ เธอทรงจำไว้ดีหรือไม่อานนท์ เรื่องก็ประมาณนี้ กล่าวถึง สัญญาสูตร


    ทั้ง ๒ พระสูตรนี้มีนัยยะเดียวที่บ่งชี้ชัดคือ สถานะ ของการมีอยู่และ การเข้าถึง พระสัทธรรม

    ไม่ต้องสงสัยเลยว่า สุญญตธรรม ที่เรานอบน้อมยกลงมาแสดง ก็มีอยู่ในพระสูตรหลักของสุญญตธรรมนี้ ซึ่งจะแตกต่างจากความเห็นของที่อื่น คือ การยืนยันสถานะการมีอยู่ ของพระสัทธรรม การเคารพพึ่งพิงพระสัทธรรม


    ดูกรอานนท์ ก็วิหารธรรมอันตถาคตตรัสรู้ในที่นั้นๆ นี้แล คือ
    ตถาคตบรรลุสุญญตสมาบัติภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่ ดูกรอานนท์ถ้าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชาเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์เข้าไปหาตถาคตผู้มีโชค อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ในที่นั้นๆ

    ตถาคตย่อมมีจิตน้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวก หลีกออกแล้วยินดียิ่งแล้วในเนกขัมมะ มีภายในปราศจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง จะเป็นผู้ทำการเจรจาแต่ที่ชักชวนให้ออกเท่านั้น ในบริษัทนั้นๆ โดยแท้

    ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุถ้าแม้หวังว่า จะบรรลุสุญญตสมาบัติภายในอยู่เธอพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งจิตภายในให้มั่นเถิด ฯ
    ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุจะดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่นได้อย่างไร

    ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    (๑) สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานมีวิตก มีวิจารมีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯ
    (๒) เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯ
    (๓) เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุข อยู่ ฯ
    (๔) เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ

    ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่น ฯ

    2aa0c61b-9095-40f6-b42d-b21c91a20919-jpeg.jpg

    ดูกรอานนท์ บัดนี้เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ข้าพระองค์ได้สดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้วหรือ ฯ
    พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรอานนท์ แน่นอน นั่นเธอสดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว ดูกรอานนท์ ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้ เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม เปรียบเหมือนปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้ ว่างเปล่าจากช้าง โค ม้า และลา ว่างเปล่าจากทองและเงิน ว่างจากการชุมนุมของสตรีและบุรุษ มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะภิกษุสงฆ์เท่านั้น ฉันใด

    ดูกรอานนท์ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่ใส่ใจสัญญาว่าบ้าน ไม่ใส่ใจสัญญาว่ามนุษย์ ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะสัญญาว่าป่า จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใสตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าป่า เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในสัญญาว่าป่านี้ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยสัญญาว่าบ้าน และชนิดที่อาศัยสัญญาว่ามนุษย์เลย มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวายคือภาวะเดียวเฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น
    เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าบ้าน สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่ามนุษย์ และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

    ดูกรอานนท์ สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลไม่ว่าพวกใดๆ ที่บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็ได้บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลไม่ว่าพวกใดๆ ที่จะบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็จักบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในบัดนี้


    ไม่ว่าพวกใดๆ ที่บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้นย่อมบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอพึงศึกษาไว้อย่างนี้เถิดว่า เราจักบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    จบ จูฬสุญญตสูตร ที่ ๑
     
  20. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    363
    ค่าพลัง:
    +27
    C0761C0C-FE57-4012-A9E1-E2B41F280FBC.jpeg 7B75D27B-BEDF-42BE-9AA9-0EBBCC2A6A3B.jpeg BB8F1D4E-3FBE-491B-A5AE-B8EBC7CB608B.jpeg B6833348-879F-4CD1-8026-CFAEDE12C4E6.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2023

แชร์หน้านี้

Loading...