มีพระอรหันต์ องค์ใดบ้าง ที่บรรลุโดยไม่มีสมถะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 17 ธันวาคม 2008.

  1. Rupanama

    Rupanama สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +25
    เรื่อง สมถะ กับ วิปัสนา เนี้ย เห็นเป็นหัวข้อ ถกเถึยง และ วิจารณ์ กันอย่างกว้างขวาง

    มีหลายๆ ความเห็นเข้ามาเกียวข้อง การเรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ในพระไตรปิฏก เป็นสิ่งที่ดีมากๆ

    แต่ผมว่าน่ะถ้าเรารู้ว่า สมถะ ดีอย่างไร มีประโยชน์ อย่างไร และอะไรที่ต้องระมัดระวัง

    เราก็สามารถใช้ประโยชน์ จาก วิชชานี้ได้อย่างเต็มที่

    สิ่งที่เกิดขึ้นในพระไตรปิฏก ล้วนมีมาแต่เหตุและปัจจัย ที่สั่งสมมาทั้งสิ้น เพียงแต่

    เราจะรู้หรือเปล่าว่าอตึต ของท่านเหล่านั้นมีความเป็นมาอย่างไร นอกจากจะมีการบันทึกไว้

    ดังนั้นอย่าประมาทเลยครับ ดูว่าเราขาดอะไร และอะไรสามารถช่วยได้ มองเป้าหมายหลัก ทำให้ถูกวิชชา เราจะไม่มามั่วเถึยงกันเลย ว่าจะต้องทำอะไร เพราะ วิธีมีเขียนไว้

    แล้ว ไม่ต้องมาคิดเพิ่ม แต่คนไม่ค่อยทำกันเท่านั้นเอง
     
  2. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    การยก พระอรหันต ท่านนั้นท่านนี้ที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก มาสนับสนุนข้อที่ว่าไม่ต้องใช้สมถะ เป็น ความไร้สาระที่สุด เพราะว่า ข้อความที่พระพุทธองค์สอนให้ ทำสมาธิ ตรงๆไม่ยกมา แต่ไปยกเรื่อง อ้อม มาทำให้ตรง

    เรื่องอ้อม นี้ ไม่ได้เป็นหลักฐานสนับสนุนเลย ว่า ท่านเหล่านั้นไม่ต้องทำสมถะ

    ท่านเหล่านั้น ท่านนั่งสมาธิทุกวัน คุณไปรู้กับเขากันหรือเปล่า

    เหมือนเช่น ผมนั่งสมาธิทุกวันนี้ ผมไม่ได้บอกใคร แล้ววันหนึ่ง สมมติว่ามีพระศาสดามาโปรดแล้วก็ปรากฎว่า นายขันธ์ ฟังธรรมทีเดียวบรรลุ พระโสดาบัน

    คนก็ตีความว่า นายขันธ์ บรรลุธรรมโดยไม่ต้องใช้สมถะ

    นี่สรุปแบบนี้ได้หรือ

    ที่สรุปได้ คือ ฟังธรรมจากพระพุทธองค์ แล้วให้ดูที่ธรรม นั้นว่าท่านพูดอะไร

    ส่วนธรรมที่พระพุทธองค์ท่านสอน ให้ทำสมถะ นั่นก็คือธรรมในส่วนของการทำสมถะ

    มองอะไรให้มองให้ครอบ ให้มันกว้างๆ กันหน่อย มันจะได้ไม่ทำลายธรรมะ
     
  3. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    เพ่งเลงผู้อื่นก็สอบตกแล้ว ....คิดอะไรมาก
    มั่นสำรวจจิต สำรวมใจ ก็พอแล้ว
    เข้าศูนย์ เช็คศีลตัวเองทุกขณะจิต.....อย่างอื่นไม่ต้องพูดถึง อ่ะคิ
     
  4. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    จิตเป็นกุศล ย่อมนำพาสิ่งดีๆ
    จิตอกุศลแม้เห็นสิ่งดี มันก้ไม่พาให้เกิดสิ่งดี
     
  5. จักรราศี

    จักรราศี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,086

    ถะ ถะ ถูก ถูกต้องนะคร๊าบบบบบ ! !
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มาดูกันว่า ในประเด็นนี้ควรชี้ไปที่เรื่องอะไร

    หลายคนบอกว่า ต้องชี้ไปที่ สมถะสมาธิ เพราะสำคัญไปว่า หากผู้ใดมีสมาธิ ผู้นั่นย่อม
    มีเครื่องหมายของศีลที่ดี มีนิวรณ์กรุ้มรุมน้อย ไม่เห็นในแบบที่ผู้สำคัญตนเห็น

    หลายคนบอกว่า ต้องชี้ไปที่ศีล หากไม่มีศีล เพราะสำคัญไปว่า หากผู้ใดไม่มีศีล ผู้นั่นย่อม
    มีเครื่องหมายของตาที่ไม่อาจเห็นกุศลในคนผู้สำคัญตนได้

    แต่ลืมไปว่า ไม่ว่าจะเจริญสมาธิก็ดี เจริญศีลก็ดี หากไม่เจริญสติ ก็มีไม่ได้ ถึงมีขึ้นมา
    ก็ไม่ใช่พระพุทธศาสนา ...ก็ไม่เคยนำพา ติดอยู่แต่วลีของคำ "ศีล สมาธิ ปัญญา" ทั้งๆ
    ที่สามคำนี้ก็ล้วนออกมาจากคำว่า สติ ทั้งสิ้น

    แม้แต่พระสาวกร่วมสมัย อย่างคำสอน การฝึกหัดจิตให้มีสติตลอด : หลวงปู่เทสก์
    ซึ่งก็เป็นการอธิบายยืนยันวิถีของสติ เป็นที่มาของ ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ไม่นำพา
    ยังปฏิเสธผู้ที่ชักชวนคนเจริญสติ เพราะเห็นว่า ไม่ใช่คำว่า ศีล ไม่ใช่คำว่า สมาธิ ไม่ใช
    คำว่า ปัญญา

    อย่ากระนั้นเลย แม้แต่พุทธพจน์ที่พระพุทธองค์กล่าวยืนยันว่า หากยังมีผู้เจริญสติปัฏฐาน
    เมื่อนั้นโลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ พุทธพจน์นี้เองก็ชี้อยู่แล้วว่า อะไรคือหัวใจ ไม่มีการ
    ยืนยันเลยว่า เมื่อไหร่มีผู้เจริญสมาธิเมื่อนั้นโลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์

    ทำไมหละ ทำไมถึงรวบยอดไปที่คำว่า สติ ได้ และทำไมรวบยอดไปที่ สติปัฏฐาน4 ได้ มัน
    ขาดเรื่องศีลเหรอ มันขาดเรื่องสมาธิเหรอ มันขาดเรื่องปัญญาเหรอ ก็ทราบกันอยู่
    สำหรับบัณฑิตที่ภาวนาได้ถูกต้องว่า.....

    เมื่อใหร่ ผู้ใดเจริญสติ สติย่อมอารักขาจิต นั่นแหละ คือ เมื่อไหร่มีสติ เมื่อนั้น มีศีล

    เมื่อไหร่ ผู้ใดเจริญสติ จนมีสติเป็นอารักขาของจิตเนืองๆ ศีล และ นิวรณ์ย่อมไม่เกิด
    ก็นั่นแหละ ขณะนั้นเกิด สมาธิ เพราะสมาธิคือสภาวะที่จิตปราศจากกิเลส นิวรณ์

    เมื่อไหร่ ผู้ใดเจริญสติ จนมีสติอารักขาบริบูรณ์ มีสมาธิเล็กน้อยได้พอๆกันกับคุณวิเศษ
    ของโสดาบันได้บ้าง เมื่อนั้นก็เจริญปัญญาได้ มีเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา

    ดังนั้น ผู้ที่ปฏิเสธการเจริญสติ ว่าไม่ใช่เรื่อง ย่นย่อน่าฟังอย่างคำว่า ศีล สมาธิ ปัญญา
    เห็นว่าผู้ที่กล่าวชักชวนเจริญสติ เป็นธรรมไม่ครอบ ทั้งๆที่มันครอบ ก็เป็นเรื่องที่วิปลาส
    ที่สุดที่จะได้ยินได้ฟังจากปากของคนๆนั้น

    "เมื่อไหร่เจริญสติปัฏฐาน4 เมื่อนั้นไม่ว่างจากพระอรหันต์" พุทธพจน์นี้ต้องถูกต้อง ไม่ใช่
    สาวกคนไหนจะพึงเห็นได้ง่าย เมื่อสาวกคนใดเห็นธรรมข้อนี้ไม่ได้ ย่อมกล่าวกลบธรรมนี้
    ลงไปเป็นอย่างอื่น และมักกล่าวกลบธรรมไปเป็นศาสนาอื่นไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2009
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    ฟะ ฟะ ฟะ แฟ แฟ แฟน พันธ์แท้นะคร๊าบบบ!!!
     
  8. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ก็เพราะไม่รู้จักสมาธิจริงน่ะซิ ถึงไปเข้าใจว่าการทำสมาธิ การนั่งสมาธิ เป็นสมถะฝ่ายเดียว

    ก็เพราะไม่รู้จักวิปัสสนาจริงน่ะซิ ถึงไปเข้าใจว่าการทำวิปัสสนา หมายถึง การตามดูในการประกอบชีวิตประจำวัน โดยฝ่ายเดียว ^-^
     
  9. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ดีแล้วที่โต้แย้งมาเช่นนั้น ท่านนิวรณ์

    แล้วท่านเข้าใจ คำว่า มหาสติปัฎฐานสี่อย่างไร

    การศึกษามหาสติปัฎฐาน สี่ นี้ ไม่ใช่ ว่าฝึกมหาสติปัฎฐาน แล้วจะทำให้อย่างอื่นบริบูรณ์

    แต่ว่า เพื่อฝึกมหาสติปัฎฐานให้บริบูรณ์ จะต้องใช้องค์ธรรมอย่างอื่น จึงจะทำให้ มหาสติปัฎฐาน นั้นบริบูรณ์ได้

    ท่านกำลังจะเอาสิ่งที่ตื้น ไปครอบสิ่งที่ลึก แล้วหมายเอาว่า ผลเบื้องปลายที่ต้องการนั้น อยู่ตรงหน้าแล้ว เป็นการมองว่า สติ ที่มองเห็น สิ่งละเอียดนั้น มีกำลังและมีคุณค่า เหมือนกับสติที่เห็นสิ่งหยาบ

    การที่ว่า มีสติจ่ออยู่ แล้วสามารถขจัดปัดเป่า สิ่งไม่ดีทั้งหมดได้ เป็นทั้งศีล สมาธิ ปัญญานั่นเป็นเรื่องของอุดมคติ เพราะไม่เคยปรากฎว่า ใครจะมีสติสมบูรณ์ตลอดเวลา สัมมาสติ ของพระอรหันต ก็ไม่เหมือน สัมมาสติ ของพระโสดาบัน ดังนั้น จะบอกว่า สติอย่างเดียว คือ ธรรม อันรวบยอด เพื่อเอามาให้คนปฏิบัตินั้น ไม่ถูกต้อง เพราะว่า คำว่าสติของท่าน กับ คำว่า มหาสติของพระศาสดานั้นต่างกันลิบลับ
     
  10. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เข้าใจผิดแล้วครับ ผมหมายถึงว่า ก็มีอยู่แต่ว่ามีน้อยเหลือเกินไม่ได้หมายความว่า ไม่มีสมถะเลยที่พระศาสดาตรัสสอน แต่ผมกล่าวว่ามีเฉยๆ และรู้ว่ามีน้อยไม่ได้มีแบบกลาดเกลื่อนไอ้ที่กลาดเกลื่อนก็รู้ด้วยว่าของปลอม ถ้าเทียบกันก็หมายถึง เหมือนกับเพชรแท้ๆ ที่มีอยู่ในโลก ถามว่ามีไหมตอบว่ามีแต่มีน้อย นี้คือกรณีของผู้ไม่ต้องมีสมถะมาก่อนเลย (เพราะอะไร) แต่ในพุทธกาลผู้ที่มีสมถะหมายถึงฝึกจิตก่อนแล้วจึงวิปัสสนาได้ (เจโต) ๑ กับผู้ที่ทำวิปัสสนาอย่างเดียวได้ (เจโต)๒ กับ ผู้ที่ทำสมถะพร้อมกันกับวิปัสสนาได้(เจโต)๓ กับ ผู้ที่ทำวิปัสสนามีสมถะตามได้ (เจโต) ๔ ผู้ที่ทำวิปัสสนามีสมถะตามได้ (สุขวิปัสสโก)๕ ผู้ทำวิปัสสนาอย่างเดียวได้ (สุขวิปัสสโก)๖ ถ้าลองเปรียบเทียบคิดว่าควรจะเป็นยังไงครับ ผมขอแค่ลองเปรียบเทียบ แต่ไม่ได้หมายความว่า ไม่ต้องมีและมีเหตุผลแน่ๆผมคิดว่าครับ คิดในแง่ปริมาณนะครับ จำนวน ผมขอแก้ไขนิดหนึ่งครับ แต่อาจจะสรุปไม่ถูกตามที่หลายท่านกล่าวนะครับ ผมก็แค่อยากให้ทุกท่านช่วยกันศึกษาครับ ว่ามีกี่แบบและเป็นยังไง แล้วก็มีไหมแค่นั้นแหละครับ

    เพชร ๒
    ทับทิม ๓
    มรกต ๔
    ทองคำ ๑
    เงิน ๕


    ไม่รู้ว่าจะตรงกันไหมครับ แต่ผมก็แปลกใจนะครับว่าผมเชื่อว่ามี พระอรหันต์แบบนี้และเชื่อว่ามันไม่ได้มีได้เป็นง่ายๆ ครับ ซึ่งความหมายคือ ไม่ได้บอกเลยว่าไม่มีสมถะขัดเกลาจิตแล้วจะบรรลุธรรมได้ด้วยวิปัสสนาสำหรับยุคสมัยนี้ โดยเฉพาะสังคมออนไลน์ครับ ยากอยู่ครับ
    เรื่องอื่นๆที่เกี่ยวกับการสร้างทางที่จะบรรลุ ถ้ากล่าวตามคำสอนพระศาสดาแล้วไม่ว่าใครก็ถือว่าถูกหมดครับ เมื่อมีสติ ก็มีสมาธิ เมื่อมีสมาธิก็มีปัญญา แต่สมาธิกับสติมันจะมาคู่กันตลอดเวลา ถ้าเป็นมหาสติครับและมหาสติในทางพุทธก็มาจากองค์อริยะมรรค หลายๆท่านก็เคยกล่าวผมก็เห็นด้วยว่าถูกครับ ของทุกๆท่าน กระทู้นี้ไม่มีอะไรหรอกครับ ไม่ได้เพ่งโทษใคร ถึงบอกว่าเจ้าของกระทู้เมื่อก่อนอาจเคย วิจิกิจฉา ต่อคำสอนโดยใครบางคน แต่เมื่อพอปฏิบัติไปก็เข้าใจไปเองว่าเป็นยังไงแล้วทำไม ผมว่าไม่น่าจะมีอะไรมากไปกว่าอยากรู้เฉยๆครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2009
  11. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เพ้อเจ้อ รู้ได้ไงว่า สุขวิปัสสโก ไม่มีสมถะ
    พูดเลื่อนลอย แล้วพระอาจารย์ สิงห์ทอง ท่านมารับกรรมฐาน พุทโธ จากพระอาจารย์มั่น
    นั่นไม่ต้องทำสมถะหรือ
     
  12. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    [​IMG]


    ผมไม่รู้ครับ ขอโทษจริงๆครับว่า พระอาจารย์สิงทอง ธัมมวโร ท่านเป็น พระอรหันต์สุกขวิปัสสโกครับ ผมนึกว่าท่านเป็นเจโตเสียอีกครับ แล้วเขารู้กันได้ยังไงครับว่า ใครเป็นเจโตใครเป็นสุกขวิปัสสโกครับ อันนี้ขอเป็นวิทยาทานครับ คุณลุงขันธ์ อยากรู้ครับว่าอะไรที่ชี้เฉพาะครับ ในสายตาของคนเรา คำถามนี้ไม่ได้เฉพาะใครนะครับ หากมีคนตอบได้ก็ช่วยตอบด้วยครับ จะได้เป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่นบ้างครับ จะได้รู้ว่าอะไรเป็นอะไรที่จริงแล้วครับ เพราะผมเป็นประเภทที่ว่า สิ่งที่ไม่รู้ไม่ได้เห็นไม่ได้หมายความว่าสิ่งนั้นไม่มี และสำหรับใครก็ตามที่คิดว่าสิ่งที่รู้ที่เห็นนั้นเป็นได้มีได้นั้นเป็นจริงก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นจริงเสมอไปครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2009
  13. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    มองไม่ได้หรอกครับ เว้นแต่ ท่านจะเมตตา บอกให้
    ในกรณีนี้ พระอาจารย์สิงห์ทอง ท่านตามหลวงตามหาบัว มาหลังจาก พระอาจารย์มั่นมรณภาพ หลวงตามหาบัวท่านทราบดี ท่านเป็นคนบอกว่า พระอาจารย์สิงห์ทอง ท่านเป็น พระอรหันต์สุขวิปัสสโก กิเลส ค่อยๆ หายไป เรียบๆไป จนหมด
     
  14. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    [​IMG]

    กราบนมัสสการสาธุหลวงปู่หลวงพ่อพระอาจารย์ทั้งสามท่าน ด้วยความเคารพศรัทธายิ่งครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. guest_1

    guest_1 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    76
    ค่าพลัง:
    +41
    องค์หลวงตามหาบัวขณะที่องค์ท่านบรรลุธรรม
    ขณะนั้นปรากฎราวกับโลกธาตุถล่มทลาย
    พลันมีความรู้ขึ้นมาว่า
    "พระพุทธเจ้าตรัสรู้...ตรัสรู้ อย่างนี้ นะเหรอ ตรัสรู้อย่างนี้นะเหรอ..."

    หลวงปู่บัว สิริปุณโณ ขณะที่องค์ท่านบรรลุธรรม
    ขณะนั้นปรากฎราวกับคานกุฏิหัก

    ท่านอาจารย์สิงห์ทอง ไม่ปรากฎขณะตอนบรรลุธรรม
    อวิชชาดับไม่มีขณะ ราบเรียบไปเลย

    นี่พระอรหันต์สุขวิปัสสโก คือ พระอรหันต์ท่านมีอาการเช่นไรขณะบรรลุธรรม
    เป็นเช่นนี้
    ทำไมท่านจะไม่มีสมถะ ท่านมี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2009
  16. guest_1

    guest_1 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    76
    ค่าพลัง:
    +41
    หากเคยฟังพระธรรมจากปากพระอริยะ
    จะรู้ว่าด้วยตนเองว่า

    ผู้ที่ควรแก่ธรรมขั้นสมถะ สมาธิ
    เมื่อได้ฟังธรรมจากปากพระอริยะแล้ว
    จิตจะสงบรวมเป็นสมาธิได้ง่าย
    จากการฟังพระธรรมจากท่าน
    จะให้สงบลงถึงอัปปนาก็ได้
    เพราะเสียงธรรมของท่านจะกล่อม
    ให้จิตเราสงบลงเป็นสมาธิ

    หรือผู้ที่ควรแก่ขั้นปัญญา
    จิตใจของผู้ฟังธรรมนั้น
    ก็จะพิจารณาตามธรรมที่ได้ยินได้ฟัง
    และสามารถถอดถอนกิเลสได้ขณะฟังธรรมนั้น

    จึงไม่เป็นที่น่าสงสัย
    ที่มีผู้รู้ธรรมขณะที่ฟังธรรมจากพระโอษฐ์ของพระพุทธองค์

    ดังกรณีของสันตติมหาอำมาตย์
    ก็จะเกิด สมถะและวิปัสสนา ขึ้น
    ในขณะที่ฟังธรรมจากพระพุทธองค์เช่นกัน

    การกล่าวว่าพระอรหันต์สุขวิปัสสโกท่านไม่มีสมถะนั้น
    ย่อมเป็นการกล่าวที่ผิดไปจากความจริง
    และหากปรากฏในตำราเล่มใด
    ย่อมสะท้อนถึงภูมิธรรมของผู้จดจารึก ในตำรานั้น ๆ

    สมถะและวิปัสสนาเป็นของคู่กัน ครับ.........
     
  17. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    สมถะและวิปัสสนา สิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้

    ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

    สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพีณ ที่นั้นแล
    ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
    ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วมรรค ๔ ทั้งหมด
    หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง มรรค ๔ เป็นไฉน ฯ

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้น
    เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิด
    ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
    ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
    เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น
    ภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
    ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป
    เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด
    ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
    ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้
    สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่
    มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
    ย่อมสิ้นไป

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง
    พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด
    หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง ฯ

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

    ;aa24
     
  18. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า

    มหาสติปัฏฐานสูตร บรรพะแรก

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี
    นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า(สมถะ)
    เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น

    ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน
    เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว
    เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด
    ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น

    ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้กำหนดกองลมทั้งปวงหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า

    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง
    พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง

    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง(วิปัสสนา)
    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง(ไตรลักษณ์)ย่อมอยู่

    อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าเป็นที่รู้ เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึกเท่านั้น
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

    ;aa24
     
  19. ทิ้งสมอ

    ทิ้งสมอ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2009
    โพสต์:
    86
    ค่าพลัง:
    +77
    อนุโมทนาครับ

    ขอบคุณที่นำเรื่องราวดีๆมาให้อ่านนะครับ:cool:
     
  20. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    หลวงพ่อชา เคยแนะนำไว้ว่า

    สมถะ มีไว้สำหรับพักจิต ให้จิตได้พักผ่อน
    วิปัสนา มีไว้สำหรับขจัดกิเลสต่าง เพื่อให้ละสังโยชน์ 10 ได้
    ทั้งสองอย่างเกื้อหนุนกัน

    ดังนั้นต้องมีคู่กันเสมอ

    โมทนา
     

แชร์หน้านี้

Loading...