ภาพงานบุญต่อเนื่องของชมรมคนรักหลวงปู่ทวด

ในห้อง 'กระทู้เก่า' ตั้งกระทู้โดย jummaiford, 12 เมษายน 2008.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    .....
     
  2. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    นึกแล้วชื่นใจจริงๆ
     
  3. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    [​IMG] พระกริ่งรุ่นนี้จะทำการจารพระยันต์จำเพาะสำหรับการสร้างสถาปนาพระกริ่งชุดนี้โดยประกอบด้วยพระยันต์108นะปถมัง14รวมทังพระยันต์โสฬส พระยัน์จักรพรรดิ์ ตะกรุดพระยันต์พระเกจิตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน รวมพระยันต์ทั้งหมดหลายร้อยแผ่นรวมชนวนมหามงคลที่สืบทอดมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์มาจนถึงยุคอินโดจีนจนถึงปัจจุบัน นับว่าเป็นการรวบรวมชนวนครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งคอยติดตามภาพพระยันต์แต่ละอ่างที่มีความำเพาะและอิทธิคุณที่ยอดปรารถนาของใครหลายๆคน
     
  4. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    การอธิษฐานจิตวัตถุมงคลเเบบพระพรหมปัญโญ<HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->
    [​IMG] เรื่องการอาราธนาบารมีของพระมาอธิษฐานจิตวัตถุมงคลให้เกิดคุณนั้นจริงๆแล้วนอกจากดึงเอากำลังบารมีของพระแล้วยังจะต้องนำกำลังของตนเองรวมเข้าไปด้วยเรียกได้ว่ารวมกำลังของทั้งครูบอาจารย์และเราเองเข้าไปด้วยเราก็จะมีส่วนร่วมแห่งบารมีอันนั้นและการอธิษฐานจิตพระแบบหลวงพ่อดู่นั้นเรียบง่ายประกอบด้วยพุทธิปัญญาคือใช้ปัญญาพิจารณาไปด้วยท่านบอกว่าทำไมไม่หาพระในใจหรือพระที่เก่าแก่ที่สุดคือพระพุทธเจ้านั่นเอง

    ส่วนเรื่องการอธิษฐานจิตพระนั้นนอกจากหลวงพ่อดู่จะอธิษฐานกำลังบารมีพระแล้วบางครั้งท่านจะศิษย์ช่วยอธิษฐานโดยแต่ละคนเป็นแต่ละธาตุ คือการตั้งธาตุ หนุนธาตุนั่นเอง ท่านเคยกล่าวไว้

    หลวงพ่อดู่ท่านเน้นให้ศิษย์สร้างพระในใจมากกว่าแต่ท่านไม่ได้ปฏิเสธวัตถุมงคลท่านใช้วัตถุมงคลให้ศิษย์สนใจธรรม

    ท่านเองบอกว่าให้เราคิดถึงพระได้ตั้งเเต่ตื่นจนเข้านอนนั่นเเหละดีที่สุด

    ครูบาอาจารย์หลายองค์ท่านก็อาราธนาบารมีพระอย่างหลวงพ่อดู่ อาทิ หลวงตาม้า หลวพ่อสายหยุด
    หลวงพ่อใย หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านอื่นๆอีกมากมาย ไม่เฉพาะสายใดเพราะผู้รู้มักเอาอาจารย์ตนเองนำหน้าเสมอ
    <!-- / message -->
     
  5. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    พระคาถาที่หลวงพ่อทวดท่านช่วยกู้ชาติอักษรที่ซ่อนไว้ในมวยผมของพวกลังกาที่มาถ้าพนันชิงเมื่อนั่นคือ สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ หัวใจอภิธรรม7คัมภีร์ คืออะไร ?????
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#f5f5f5><TBODY><TR bgColor=#f5f5f5><TD colSpan=3>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=3 height=15>
    </TD></TR><TR><TD colSpan=3> โดยในครั้งพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งเสด็จไปโปรดพุทธมารดา ได้ยกพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ เพื่อตอบแทนพระคุณของมารดา จึงเลือกธรรมะ แสดงแก่พุทธมารดาฟังที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พร้อมทั้งเหล่าเทวดาทุกชั้นที่พากันมาฟังธรรมที่ชั้นดาวดึงส์ เหตุที่ทรงเสด็จสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะเป็นสวรรค์ชั้นกลางๆ เทวดาชั้นต่ำก็สามารถขึ้นไปฟังได้ ชั้นที่สูงกว่าก็ลงมาฟังได้ ทำให้เหล่าเทวดาทั้งหลาย ได้บรรลุธรรมพร้อมกัน มีพระโสดาบัน เป็นเบื้องต่ำ และอนาคามีเป็นเบื้องสูง พุทธมารดาทรงจุติที่สวรรค์ชั้นดุสิต เป็นสวรรค์ชั้นสูงกว่าดาวดึงส์ ใช้เวลาในการแสดง ๓ เดือน (๑ พรรษา)
    </TD></TR><TR bgColor=#eaeaea><TD colSpan=3 height=10> </TD></TR><TR><TD colSpan=3>
    ๑.พระสังคิณี​
    กุสะลา ธัมมา ธรรมที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุข มีกามาวจรกุศลเป็นต้น
    อะกุสะลา ธัมมา ธรรมที่เป็นอกุศลให้ผลเป็นทุกข์ มีโลภมูลจิตแปดเป็นต้น
    อัพยากะตา ธัมมา ธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นจิตกลาง ๆ มีอยู่ มีผัสสะเจตนาเป็นต้น
    กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมิง สะมะเย ในสมัยใด ธรรมที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุขย่อมบังเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง
    กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง จิตที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุข ย่อมนำสัตว์ให้ไปเกิดในกามภพทั้งเจ็ด คือมนุษย์ ๑ สวรรค์ ๖
    อุปปันนัง โหติ ย่อมบังเกิดมีแก่ปุถุชนผู้เป็นสามัญชน
    โสมะนัสสะสะหะคะตัง เป็นไปพร้อมกับจิตด้วย ที่เป็นโสมนัสความสุขใจ
    ญาณะสัมปะยุตตัง ประกอบพร้อมด้วยญาณเครื่องรู้คือปัญญา
    รูปารัมมะณัง วา มีจิตยินดีในรูป มีรูปพระพุทธเจ้า เป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง
    สัทธารัมมะณัง วา มีจิตยินดีในเสียง มีเสียงท่านแสดงพระสัทธรรมเป็นต้น เป็นอารมณบ้าง
    คันธารัมมะณัง วา มีจิตยินดีในกลิ่นหอม แล้วคิดถึงการกุศล มีพุทธบูชาเป็นต้นเป็นอารมณ์บ้าง
    ระสารัมมะณัง วา มีจิตยินดีในรสเครื่องบริโภค แล้วยินดีใคร่บริจาคเป็นทานเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง
    โผฏฐัพพารัมมะณัง วา มีจิตยินดีในอันถูกต้อง แล้วก็คิดเป็นทานเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง
    ธัมมารัมมะณัง วา มีจิตยินดีในที่เจริญพระสัทธรรมกรรมฐาน มีพุทธานุสสติเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง
    ยัง ยัง วา ปะนารัพภะ อีกอย่างหนึ่งความปรารภแห่งจิต ก็เกิดขึ้นในอารมณ์ใด ๆ
    ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ ความกระทบผัสสะแห่งจิต จิตที่เป็นกุศลก็ย่อมบังเกิดขึ้นในสมัยนั้น
    อะวิกเขโป โหติ อันว่าเอกัคคตาเจตสิกอันแน่แน่วในสันดานก็ย่อมบังเกิดขึ้น
    เย วา ปะนะ ตัสมิง สะมะเย อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลายเหล่าใด ก็ย่อมบังเกิดขึ้นในกาลสมัยนั้น
    อัญเญปิ อัตถิ ปะฏิจจะสะมุปปันนา ธรรมทั้งหลายอาศัยซึ่งจิตทั้งหลายอื่นมีอยู่ แล้วอาศัยกันและกันก็บังเกิดมีขึ้นพร้อม
    อะรูปิโน ธัมมา เป็นแต่นามธรรมทั้งหลายไม่มีรูป
    อิเม ธัมมา กุสะลา ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นกุศลให้ผลเป็นสุข แก่สัตว์ทั้งหลายแล ฯ

    </TD></TR><TR bgColor=#eaeaea><TD class=style73 colSpan=3 height=10>
    </TD></TR><TR><TD colSpan=3>
    ๒.พระวิภังค์
    ปัญจักขันธา กองแห่งธรรมชาติทั้งหลายมีห้าประการ
    รูปักขันโธ รูป ๒๘ มีมหาภูตรูป ๔ เป็นต้น เป็นกองอันหนึ่ง
    เวทะนากขันโธ ความเสวยอารมณ์ เป็นสุขและเป็นทุกข์ เป็นโสมนัสและโทมนัสและอุเบกขา เป็นกองอันหนึ่ง
    สัญญากขันโธ ความจำได้หมายรู้ ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ อันบังเกิดในจิต เป็นกองอันหนึ่ง
    สังขารักขันโธ เจตสิกธรรม ๕๐ ดวง เป็นเครื่องปรุงแต่งจิตให้คิดอ่านไปต่าง ๆ มีบุญเจตสิกเป็นต้นที่ให้สัตว์บังเกิด เป็นกองอันหนึ่ง
    วิญญาณักขันโธ วิญญาณจิต ๘๙ ดวงโดยสังเขป เป็นเครื่องรู้แจ้งวิเศษมีจักขุวิญญาณเป็นต้น เป็นกองอันหนึ่ง
    ตัตถะ กะตะโม รูปักขันโธ กองแห่งรูปในปัญจขันธ์ทั้งหลายนั้นเป็นอย่างไรบ้าง
    ยังกิญจิ รูปัง รูปอันใดอันหนึ่ง
    อะตีตานาคะตะปัจจุปันนัง รูปที่เป็นอดีตอันก้าวล่วงไปแล้ว และรูปที่เป็นอนาคตอันยังมาไม่ถึง และรูปที่เป็นปัจจุบันอยู่
    อัชณัตตัง วา เป็นรูปภายในหรือ
    พะหิทธา วา หรือว่าเป็นรูปภายนอก
    โอฬาริกัง วา เป็นรูปอันหยาบหรือ
    สุขุมัง วา หรือว่าเป็นรูปอันละเอียดสุขุม
    หีนัง วา เป็นรูปอันเลวทรามหรือ
    ปะณีตัง วา หรือว่าเป็นรูปอันประณีตบรรจง
    ยัง ทูเร วา เป็นรูปในที่ไกลหรือ
    สันติเก วา หรือว่าเป็นรูปในที่ใกล้
    ตะเทกัชฌัง อะภิวัญญูหิตวา พระผู้มีพระภาคทรงประมวลเข้ายิ่งแล้วซึ่งรูปนั้นเป็นหมวดเดียวกัน
    อะภิสังขิปิตวา พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่นย่อเข้ายิ่งแล้ว
    อะยัง วุจจะติ รูปักขันโธ กองแห่งรูปธรรมอันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสว่าเป็นรูปขันธ์แล ฯ

    </TD></TR><TR bgColor=#eaeaea><TD colSpan=3 height=10>
    </TD></TR><TR><TD colSpan=3>
    ๓.พระธาตุกถา

    สังคะโห พระพุทธองค์สงเคราะห์ซึ่งเจตสิกรูปเข้าในขันธ์เป็นหมวด ๑
    อะสังคะโห พระพุทธองค์ไม่สงเคราะห์ซึ่งรูปธรรมทั้งหลายเข้าในขันธ์เป็นหมวด ๑
    สังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง พระพุทธองค์ไม่สงเคราะห์ซึ่งเจตสิกรูป ด้วยธรรมอันสงเคราะห์แล้ว
    อะสังคะหิเตนะ สังคะหิตัง พระพุทธองค์สงเคราะห์ซึ่งเจตสิกรูป ด้วยธรรมอันมิได้สงเคราะห์
    สังคะหิเตนะ สังคะหิตัง พระพุทธองค์สงเคราะห์ซึ่งเจตสิกรูป ด้วยธรรมอันสงเคราะห์แล้ว
    อะสังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง พระพุทธองค์ไม่สงเคราะห์ซึ่งเจตสิกรูป ด้วยธรรมอันมิได้สงเคราะห์
    สัมปะโยโค เจตสิกธรรมทั้งหลายอันประกอบพร้อมกับจิต ๕๕
    วิปปะโยโค เจตสิกธรรมทั้งหลายอันประกอบแตกต่างกันกับจิต
    สัมปะยุตเตนะ วิปปะยุตตัง ประกอบเจตสิกอันต่างกัน ด้วยเจตสิกอันประกอบพร้อมกันเป็นหมวดเดียว
    วิปปะยุตเตนะ สัมปะยุตตัง ประกอบเจตสิกอันบังเกิดพร้อมกัน ด้วยเจตสิกอันต่างกัน เป็นหมวดเดียว
    อะสังคะหิตัง พระพุทธองค์ ไม่สงเคราะห์ซึ่งธรรมอันไม่สมควรสงเคราะห์ให้ระคนกัน ฯ

    </TD></TR><TR bgColor=#eaeaea><TD colSpan=3 height=10>
    </TD></TR><TR><TD colSpan=3>
    ๔.พระปุคคละปัญญัติ
    ฉะ ปัญญัตติโย ธรรมชาติทั้งหลาย ๖ อันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
    ขันธะปัญญัตติ กองแห่งรูปและนามเป็นธรรมชาติ อันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
    อายะตะนะปัญญัติ บ่อเกิดแห่งตัณหา คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
    ธาตุปัญญัตติ ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นธรรมชาติ อันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
    สัจจะปัญญัตติ ของจริงอย่างประเสริฐ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นธรรมชาติอันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
    อินทริยะปัญญัตติ อินทรีย์ ๒๒ เป็นธรรมชาติอันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
    ปุคคะละปัญญัติ บุคคลที่เป็นธรรมชาติอันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
    กิตตาวะตา ปุคคะลานัง แห่งบุคคลทั้งหลายนี่มีกี่จำพวกเชียวหนอ
    ปุคคะละปัญญัตติ บุคคลที่เป็นธรรมชาติอันพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้
    สะมะยะวิมุตโต พระอริยบุคคลผู้มีจิตพ้นวิเศษเป็นสมัยอยู่ มีพระโสดาบันเป็นต้น
    อะสะมะยะวิมุตโต พระอริยบุคคลผู้มีจิตพ้นวิเศษไม่มีสมัย มีพระอรหันต์เป็นต้น
    กุปปะธัมโม ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้แล้ว ย่อมกำเริบสูงไป
    อะกุปปะธัมโม ฌานที่เป็นเครื่องเผากิเลส อันบุคคลได้แล้ว ย่อมไม่กำเริบ
    ปะริหานะธัมโม ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้สูงขึ้นไปแล้ว ย่อมเสื่อมถอยลง
    อะปะริหานะธัมโม ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้สูงขึ้นไปแล้ว ย่อมไม่เสื่อมถอย
    เจตะนาภัพโพ ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้แล้ว ไม่สามารถที่จะรักษาไว้ในสันดาน
    อะนุรักขะนาภัพโพ ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้แล้ว ก็ตามรักษาไว้ในสันดาน
    ปุถุชชะโน บุคคลที่มีอาสะวะเครื่องย้อมใจ อันหนาแน่นในสันดาน
    โคตระภู บุคคลที่เจริญในพระกรรมฐานตลอดขึ้นไปถึงโคตรภู
    ภะยูปะระโต บุคคลที่เป็นปุถุชน ย่อมมีความกลัวเป็นเบื้องหน้า
    อะภะยูปะระโต พระขีณาสะวะ บุคคลผู้มีความกลัวอันสิ้นแล้ว
    ภัพพาคะมะโน บุคคลผู้มีวาสนาอันแรงกล้า สามารถจะได้มรรคและผลในชาตินั้น
    อะภัพพาคะมะโน บุคคลผู้มีวาสนาอันน้อย ไม่สามารถจะได้รับมรรคผลในชาตินั้น
    นิยะโต บุคคลผู้กระทำซึ่งปัญจอนันตริกรรม มีปิตุฆาตเป็นต้น
    อะนิตะโย บุคคลผู้มีคติปฏิสนธิไม่เที่ยง ย่อมเป็นไปตามยถากรรม
    ปะฏิปันนะโก บุคคลผู้ปฏิบัติมั่นเหมาะในพระกรรมฐาน เพื่อจะได้พระอริยมรรค
    ผะเลฏฐิโต บุคคลผู้ตั้งอยู่ในพระอริยผล มีพระโสดาบันปัตติผลเป็นต้นตามลำดับ
    อะระหา บุคคลผู้ตั้งอยู่ในพระอรหัตตผล เป็นผู้ควรแล้ว เป็นผู้ไกลแล้วจากกิเลส
    อะระหัตตายะ ปะฏิปันโน บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อจะให้ถึงพระอรหัตตผล เป็นผู้ควรแล้วเป็นผู้ไกลแล้วจากกิเลส ฯ

    </TD></TR><TR bgColor=#eaeaea><TD colSpan=3 height=10>
    </TD></TR><TR><TD colSpan=3>
    ๕.พระกถาวัตถุ
    ปุคคะโล มีคำถามว่าสัตว์ว่าบุคคลว่าหญิงว่าชาย
    อุปะลัพภะติ อันท่านควรรู้ด้วยปัญญา อันบังเกิดในสันดานของท่านเถิด
    สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ โดยปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผันดังนี้มีอยู่หรือ
    อามันตา มีคำแก้ตอบว่าจริง สัตว์บุคคลหญิงชายมีอยู่ ฯ
    โย มีคำถามว่า ปรมัตถธรรมมีประการ ๕๗ มีขันธ์ ๕ เป็นต้นทั้งหลายเหล่าใด
    สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ เป็นปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผัน
    ตะโต โส โดยปรมัตถธรรมมีประการ ๕๗ มีขันธ์ ๕ เหล่านั้น
    ปุคคะโล ว่าเป็นสัตว์บุคคลเป็นหญิงเป็นชาย
    อุปะลัพภะติ อันท่านควรรู้ด้วยปัญญา อันบังเกิดในสันดานของท่าน
    สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ โดยปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผันดังนี้มีอยู่หรือฯ
    นะ เหวัง วัตตัพเพ มีคำแก้ตอบว่า ประเภทของปรมัตถ์มีขันธ์ ๕ เป็นต้น เราไม่มีพึงกล่าวเชียวหนอฯ
    อาชานาหิ นิคคะหัง ผู้ถามกล่าวตอบว่า ท่านจงรับเสียเถิด ซึ่งถ้อยคำอันท่านกล่าวแล้วผิด
    หัญจิ ปุคคะโล ผิแลว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลเป็นหญิงเป็นชาย
    อุปะลัพภะติ อันท่านควรรู้ด้วยปัญญา อันบังเกิดในสันดานของท่าน
    สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนะ โดยปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผัน
    เตนะ โดยประการอันเรากล่าวแล้วนั้น
    วะตะ เร ดังเรากำหนด ดูก่อนท่านผู้มีหน้าที่อันเจริญ
    วัตตัพเพ โย ปรมัตธรรมมีประการ ๕๗ มีขันธ์ ๕ เป็นต้น อันเราพึงกล่าว

    สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ เป็นอรรถอันกระทำให้สว่างแจ้งชัด เป็นอรรถอันอุดม
    ตะโต โส โดยปรมัตถธรรมมีประการ ๕๗ มีขันธ์ ๕ เป็นต้นเหล่านั้น
    ปุคคะโล ว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลเป็นหญิงเป็นชาย
    อุปะลัพภะติ อันท่านควรรู้ด้วยปัญญา อันบังเกิดในสันดานของท่าน
    สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ โดยปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถจริงแท้มิได้แปรผันดังนี้
    มิจฉา ท่านกล่าวในปัญหาเบื้องต้นกับปัญหาเบื้องปลาย ผิดกันไม่ตรงกัน ฯ

    </TD></TR><TR bgColor=#eaeaea><TD colSpan=3 height=10>
    </TD></TR><TR><TD colSpan=3>
    ๖.พระยะมะกะ
    เย เกจิ จิตและเจตสิกบางพวกทั้งหลายเหล่าใด
    กุสะลา ธัมมา ธรรมที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้
    สัพเพ เต จิตและเจตสิกทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น
    กุสะลามูลา เป็นมูลเป็นที่ตั้งของรากเหง้าแห่งกุศล ให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมฯ
    เย วา ปะนะ อีกอย่างหนึ่ง จิตและเจตสิกทั้งหลายเหล่านั้น
    กุสะลามูลา เป็นมูลเป็นที่ตั้งของรากเหง้าแห่งกุศล ให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้
    สัพเพ เต ธัมมา ธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น
    กุสะลา ชื่อว่าเป็นกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้ ฯ
    เย เกจิ จิตและเจตสิกบางพวกทั้งหลายเหล่าใด
    กุสะลา ธัมมา ธรรมที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้
    สัพเพ เต จิตและเจตสิกทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น
    กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา เป็นมูลอันหนึ่งด้วยเป็นมูลเป็นที่ตั้งแห่งกุศลให้ผลเป็นสุขอันบัณฑิตสะสมไว้แล้ว
    เย วา ปะนะ อีกอย่างหนึ่ง จิตและเจตสิกทั้งหลายเหล่านั้น
    กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา เป็นมูลอันหนึ่งด้วยเป็นมูลเป็นที่ตั้งแห่งกุศลให้ผลเป็นสุขอันบัณฑิตสะสมไว้
    สัพเพ เต ธัมมา ธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลายทั้งปวง
    กุสะลา ชื่อว่าเป็นกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้ ฯ

    </TD></TR><TR bgColor=#eaeaea><TD colSpan=3 height=10>
    </TD></TR><TR><TD colSpan=3>
    ๗.พระมหาปัฏฐาน
    เหตุปัจจะโย ความไม่โลภไม่โกรธไม่หลงเป็นต้น เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้เกิดในที่สุข
    อารัมมะณะปัจจะโย อารมณ์ความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    อะธิปะติปัจจะโย ธรรมที่ชื่อว่าอธิบดี ๔ ประการ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    อะนันตะระปัจจะโย จิตอันกำหนดในวัตถุและรู้แจ้งวิเศษในทวารทั้ง ๖ เนื่องกันไม่มีระหว่าง เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    สะมะนันตะระปัจจะโย จิตอันกำหนดในวัตถุและรู้วิเศษในทวารทั้ง ๖ พร้อมกันไม่มีระหว่าง เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    สะหะชาตะปัจจะโย จิตและเจตสิกอันบังเกิดกับดับพร้อม เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    อัญญะมัญญะปัจจะโย จิตและเจตสิกค้ำชูซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    นิสสะยะปัจจะโย จิตและเจตสิกอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    อุปะนิสสะยะปัจจะโย จิตเจตสิกอันเข้าไปใกล้อาศัยซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    ปุเรชาตะปัจจะโย อารมณ์ ๕ มีรูปเป็นต้นมากระทบซึ่งจักษุ เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    ปัจฉาชาตะปัจจะโย จิตและเจตสิกที่บังเกิดภายหลังรูป เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    อาเสวนะปัจจะโย ชะวะนะจิตที่แล่นไปส้องเสพซึ่งอารมณ์ต่อกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    กัมมะปัจจะโย บุญบาปอันบุคคลกระทำแล้ว เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดในที่ดีที่ชั่ว
    วิปากะปัจจะโย และวิเศษแห่งกรรมอันบุคคลกระทำแล้ว เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดในที่ดีที่ชั่ว
    อาหาระปัจจะโย อาหาร ๔ มีผัสสาหารเป็นต้น เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    อินทริยะปัจจะโย ธรรมชาติที่เป็นใหญ่ ในตา หู จมูก ลิ้น กายใจ เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    ฌานะปัจจะโย ธรรมชาติเครื่องฆ่ากิเลส เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดในรูปพรหม
    มัคคะปัจจะโย อัฎฐังคิกะมรรคทั้ง ๘ มีสัมมาทิฎฐิเป็นต้น เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดในโลกอุดร
    สัมปะยุตตะปัจจะโย จิตและเจตสิกอันบังเกิดสัมปยุตพร้อมในอารมณ์เดียวกันเป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    วิปปะยุตตะปัจจะโย รูปธรรมนามธรรมที่แยกต่างกัน มิได้ระคนกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    อัตถิปัจจะโย รูปธรรมนามธรรมที่ยังไม่ดับ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด
    นัตถิปัจจะโย เจตสิกที่ดับแล้ว เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดจิตและเจตสิกในปัจจุบัน
    วิคะตะปัจจะโย จิตและเจตสิกที่แยกต่างกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดจิตและเจตสิกในปัจจุบัน
    อะวิคะตะปัจจะโย จิตและเจตสิกที่ดับและมิได้ต่างกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดจิตและเจตสิกในปัจจุบัน ฯ
    </TD></TR><TR><TD class=style105 colSpan=3> </TD></TR><TR><TD class=style105 colSpan=3>
    </TD></TR><TR><TD class=style105 width="13%">
    [​IMG]
    </TD><TD class=style105 width="73%" height=15>
    [​IMG]
    </TD><TD class=style105 width="14%">
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD class=style105 colSpan=3>
    </TD></TR><TR><TD class=style105 colSpan=3>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    อนุโมทนาเช่นกันครับผม
     
  7. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    จ้าวน้ำเงินหนักประมาณ10บาทสมบัติเดิมที่ตกทอดจากพ่อท่านเอียด เขาอ้อ
    ศิษย์เอกพระอาจารย์ทองเฒ่า ซึ่งจะนำมาหลอมสู่พระกริ่งเนื้อนวโลหะจะได้ครบตามสูตรที่มีมาแต่เดิม
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PICT0565.JPG
      PICT0565.JPG
      ขนาดไฟล์:
      50.2 KB
      เปิดดู:
      3,378
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 มิถุนายน 2008
  8. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    [​IMG]
    ภาพพระยันต์108นะปถมัง14ที่เคยผสมไปในพระกริ่งยอดฟ้ายอดยิ่งยศไปแล้วภาพนี้ลงไว้เพื่อแสดงให้ทราบว่าพระกริ่งดีหลวงรุ่นนี้จะมีพระยันต์ที่ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันกับในภาพผสมไปด้วยเป็นการจารพระยันต์เฉพาะรุ่นนี้ให้ถึงความเป็นขีดสุดของคำว่าพระกริ่งดีหลวงเลยทีเดียว
     
  9. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    พิธีกรรมต่างๆจะจัดขึ้น

    วันที่5ธันวาคม เป็นวันเททองหล่อพระกริ่งดีหลวง ที่ วัดเชิงท่า ลพบุรี โดยมีหลวงปู่ถม เป็นประธานเททอง....
     
  10. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    [​IMG]


    เมื่อเอ่ยถึงนามแห่ง "พระพรหมปัญโญ" หรือ "หลวงปู่ดู่ วัดสะแก" แห่ง อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เมืองเก่าของเราแต่ก่อนแล้ว ก็เชื่อแน่ได้อย่างเหลือกินว่าในวงการพระเครื่องนี้คงจะมีน้อยคนนักหนาที่จะกล้าปฏิเสธว่าไม่เคยยลยินนามอันอุโฆษนามนี้ไปได้

    เพราะหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญนี้ เป็นที่เลื่องลือกันไปทั่วทุกสารทิศแล้วว่าท่านนี้คือหนึ่งในสุดยอดพระสุปฏิปันโนผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ตามพระพุทธบาทยุคลแห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแท้จริง

    อีกทั้ง หลวงปู่ดู่ท่านยังมากไปด้วยความเมตตาและบุญญาธิการมากล้น มีกฤษฎาภินิหารใหญ่ยิ่งเป็นอันเอนกปริยาย สามารถหยั่งรู้จิตใจของทุกรูปทุกนามทั้งที่อยู่ต่อหน้าและลับหลังท่านอย่างไม่มีสิ่งใดจะมาปิดกั้นขัดขวางได้อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง

    แม้พระเครื่องตลอดจนวัตถุมงคลที่ท่านได้สร้างและแผ่พลังจิตปลุกเสกไว้นั้น ก็ได้ช่วยอำนวยความเป็นสวัสดิมงคลให้แก่ผู้ได้ไว้สักการะมากต่อมากอย่างหาประมาณมิได้มาเนิ่นนานหลายทศวรรษแล้ว

    ประกอบกับมีความเชื่อที่ว่า อันองค์ของหลวงปู่ดู่ วัดสะแกนี้ มี "สื่อสัมพันธ์" อันใกล้ชิดอย่างยิ่งกับดวงพระวิญญาณของ "หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด" จนสามารถติดต่อและขอความเมตตาอนุเคราะห์จากหลวงปู่ทวดได้ทุกเวลาไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าท่านพระอาจารย์ทิม ธัมมโร แห่งวัดช้างให้ จ.ปัตตานี ก็ทำให้ "ลูกหลาน" สาย "หลวงปู่ทวด" ต่างก็แห่กันมาเคารพกราบไหว้หลวงปู่ดู่ท่านเป็นทวีคูณ

    มีเรื่องเล่ามาให้ทราบอย่างน่าตื่นตะลึงว่า แม้เมื่อครั้งสมัยที่ ท่านพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ยังมีชีวิตอยู่ ครั้งหนึ่งท่านก็ได้เคยขึ้นมากราบหลวงปู่ดู่ ที่วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา ด้วยเช่นกัน

    อาจจะมีผู้สงสัยว่า อันท่านพระอาจารย์ทิม กับหลวงปู่ดู่นั้น เป็นพระคนละสาย คนละภาค ไฉนเลยจักมารู้จักกันได้ด้วยเหตุใดเล่า

    แน่นอนที่สุด เหตุที่ ท่านพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ มากราบหลวงปู่ดู่นั้น ก็เพราะ "หลวงปู่ทวด" สั่งมานั่นเอง!!!!!

    เชื่อหรือไม่เชื่อเล่า...???

    มิหนำ ท่านพระอาจารย์ทิมก็ยังได้เอาพระหลวงปู่ทวดรุ่นหนึ่ง (ประมาณรุ่น 2500 ต้น ๆ) ถวายให้หลวงปู่ดู่ได้ร่วมอธิษฐานจิตด้วย

    นี้หมายความว่าอย่างไร...????

    แต่นั่นก็เป็นข่าว "ลับเฉพาะ" ที่ผู้เขียนจะต้อง "เจาะลึก" นำมาเสนอให้ทุก ๆ ท่านได้ทราบต่อไปอีกในภายภาคหน้า



    คัดลอกจาก : นะโภคทรัพย์
     
  11. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    แจ้งข่าวว่าพระกริ่งดีหลวงเนื้อทองสุวรรณชมพูนุช จำนวนการสร้าง32องค์ขณะนี้มีผู้แสดงความจำนงจองแล้วจนพระกริ่งเนื้อสุวรรณชมพูนุช(ทองคำบรรจุมวลสารมหามงคลยิ่งพร้อมด้วยพระธาตุหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล บูรพาจารย์และเส้นเกสาธาตุครูบาเจ้าหลวงศรีวิชัย ตนบุญแห่งเมืองเหนือ และบรรจุเส้นเกสาธาตุเจ้าคุณนรรัตฯ วัดเทพสิริทราวาส และ อัฐิธาตุหลวงพ่อดู่พรหมปัญโญ)พระกริ่งทองคำขณะนี้ได้มีผู้จองจนหมดเรียบร้อยเเล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 มิถุนายน 2008
  12. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    [​IMG]
    ส่วนหนึ่งของยอดพระเจดีย์สมัยอยุธยาที่สร้างโดยหลวงลุงจวงและหลวงพ่อทวดโดยผ่านการบูรณะสมัยพระอาจารย์ลั่น อดีตเจ้าอาวาสวัดดีหลวง
    จะได้อุดผงพระเจดีย์นี้ในพระกริ่งทุกองค์ให้สมเป็นพระกริ่งดีหลวง
     
  13. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    มวลสารของวัดดีหลวง....สมบัติแห่งความขลังที่สืบทอดกว่า4ศตวรรษ

    1.ยอดเจดีย์อายุหลายร้อยปีสมัยหลวงลุงจวงสร้างร่วมกับหลวงพ่อทวดในสมัยอยุธยาซึ่งเจดีย์ชำรุดตามกาลเวลา
    2.ผงปูนจากพระพุทธรูปมารวิชัยหรือพระชนะมารรอบพระเจดีย์อายุหลายร้อยปีของวัดดีหลวงอันเป็นองค์พระเจดีย์ที่เรียกได้ว่าสุดยอดของวัดเลยทีเดียว
    3.มวลสารเนื้อผงหลวงพ่อทวดของท่านอาจารย์ทิม วัดช้างให้ที่มอบให้วัดดีหลวงซึ่งเพิ่งค้นพบที่กุฏิเก่าของท่านเจ้าอาวาสองค์เก่าซึ่งท่านเจ้าอาวาสมอบให้มา
    4.แร่วิเศษเหลือจากการสร้างพระปี2505ของวัดดี
    หลวงพร้อมกับเทียนชัยในพิธี
    5.กังสดารโบราณประจำวัดดีหลวงซึ่งนับว่าเป็นมหา
    มงคลยิ่งเป็นเคล็ดเเห่งความเจริญรุ่งเรืองโด่งดัง
    6.เศษพระเครื่องปี2505ชำรุดสมัยอาจารย์ทิม
    วัดช้างให้มาเสกให้วัดดีหลวง
    7.ผงมวลสารมหามงคลของวัดดีหลวงทุกๆรุ่นที่ผ่าน
    มา อันประกอบด้วยว่านยากว่า108ร้อยชนิดตาม
    ตำราว่านโบราณครบตามกำลังของธาตุสี่ อันได้แก่ว่านที่เป็นตบะ แคล้วคลาด มหานิยม ดินบ้านเกิดหลวงพ่อทวด ดินต้นเลียบ ดินรอยพระบาท ดินถ้ำวิปัสนา ดินต้นยางไม้เท้า ดินที่เขื่อนสมภารจวง ผงอิทธิเจพันปี เสื้อมืองแหลมวัง
    8.ชนวนโลหะโบราณขันน้ำพระพุทธมนต์หลวงพ่อ
    ทวด
    9.ชนวนหลวงพ่อทวดรุ่นดังหลายๆรุ่นสมัย
    อาจารย์ทิม อาจารย์นอง อาจารย์เขียว


    จะบรรจุผงอันล้ำค่านี้ในพระกริ่งทุกเนื้อให้ทุกคนได้มีโอกาสเข้าถึงความเป็นพระกริ่งดีหลวงโดยทั่วกันอันมีกระแสแห่งความเป็นเอกลักษณ์ของวัดสายตรงหลวงพ่อทวดอย่างแท้จริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 มิถุนายน 2008
  14. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->[​IMG]
    ภาพเมื่ออดีตอันน่าประทับใจเมื่อทางคณะศิษย์หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ นำโดยคุณลุงชินพร สุขสถิตย์ เป็นประธานหย่อนทองคำกว่า40บาทในการสถาปนาพระกริ่งยอดฟ้ายอดยิ่งยศจำนวน108องค์ ซึ่งพระกริ่งชุดนี้ไม่มีจำหน่ายเป็นการสร้างเพื่อแจกแก่บุคคลที่เคารพนับถือจึงทำให้เกิดเสียงประชาชนทั่วไปเรียกร้องอยากให้สร้างพระกริ่งดีๆอีกสักรุ่นหนึ่งที่ให้มีความเป็นเอกลักษณ์และเน้นเรื่องพิธีกรรมชนวนมวลสารอีกครั้ง ทางคุณลุงชินพร สุขสถิตย์ จึงแนะนำให้นำแบบพระกริ่งปวเรศอันเกี่ยวเนื่องด้วยเจ้านายวังหน้าซึ่งผู้สร้างมีความเคารพนับถือและมีมวลสารของวังหน้าอยู่แล้วเเละเมื่อทราบพระประวัติของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระองค์นี้ว่ามีพระจริยวัตรอันงดงามยิ่งนำมาซึ่งความศรัทธาปราสาทะเป็นล้นพ้นจึงตัดสินใจ สร้างพระกริ่งอีกครั้งหนึ่ง โดยมีคุณลุงชินพรเป็นผู้ให้คำแนะนำอย่างดีและมอบมวลสารอาทิ ฝาลังเหล็กประวัติศาสตร์ที่ใส่พระกริ่งชินบัญชร ปี2517ที่พระกริ่งที่ลือลั่นมีมูลค่าบูชาเรือนแสนเรือนล้าน ผงพรายกุมารชนิดเข้มข้นพิเศษ รวมทั้งชนวนมวลสารอื่นๆ นับว่าพระกริ่งรุ่นนี้ เต็มไปด้วยมวลสารที่น่าปีติใจยิ่ง
    <!-- / message -->
     
  15. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    หากใครมีจิตศรัทธาอยากจะบริจาคมวลสารได้นะครับยินดีและอนุโมทนายิ่ง
     
  16. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    แท้จริงแล้ว พระกริ่งจีนใหญ่ เป็นพระรูปของพระพุทธเจ้าพระองค์ใด..??
    ทำไม พระกริ่งจีนใหญ่ จึงทำเป็นเนื้อ"ทองม้าล่อ"หรือ"ประแจจีน"...ทำไมไม่ทำเป็นเนื้อนวโลหะกลับดำอย่างข้างไทยในชั้นหลัง.???
    "ผลคุณ"หรือ"เม็ดกริ่ง"ของโบราณดั้งเดิมนั้น มีไว้เพื่ออะไร ตลอดจนทำด้วยอะไรบ้าง.????
    อานุภาพที่แท้จริงของพระกริ่งแบบดั้งเดิมนั้น เป็นไฉนและอะไรบ้าง..?????

    แล้วพระกริ่งดีหลวงจะเป็นพระกริ่งจากตำนานใดมีความพิเศษอย่างไร????
     
  17. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    แท้จริงแล้ว พระกริ่ง ก็คือ พระปฏิมาพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้านั่นเอง เกี่ยวกับพระนามของ พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ในภาษาไทยจะใช้คำศัพท์ที่แตกต่างกันไป เช่น พระไภษัชคุรุ, พระไภษัชยคุรุ, พระไภสัชคุรุ, พระไภสัช สำหรับคำภาษาสันสกฤต (ที่อ่านแปลเป็นภาษาอังกฤษ) จะใช้คำว่า Bhaisajyaguru ส่วนในภาษาธิเบต จะเรียกว่า Sangs-ryas ในภาษาญี่ปุ่นจะเรียก Yakushi Nyorai และคำแปลในภาษาอังกฤษที่ใช้คำว่า MedicineBuddha
    พระพุทธเจ้าองค์นี้เป็นที่นิยมนับถือของปวงพุทธศาสนิกชนฝ่ายลัทธิมหายานยิ่งนัก ปรากฏพระประวัติมาในพระสูตรสันสกฤตสูตรหนึ่งคือ
     
  18. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    เมื่อความศักดิ์สิทธิ์อภินิหารของพระพุทธรูปไภษัชยคุรุปรากฏตามที่ได้พรรณามา พวกพุทธศาสนิกชนฝ่ายลัทธิมหายาน จึงเคารพนับถือยิ่งนักมีพระพุทธปฏิมาขอพระไภษัชยคุรุบูชากันทั่วไปในวัด ประเทศจีน ญี่ปุ่น ธิเบต เกาหลีและเวียดนามที่สุดจนในประเทศเขมรและประเทศไทย สำหรับประเทศไทยแม้จะนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายลังกาวงศ์ลัทธิสาวกยานแต่ก่อนนั้นขึ้นไปเราก็เคยรับเอาลัทธิมหายานมานับถืออยู่ระยะหนึ่งเป็นลัทธิมหายานซึ่งแพร่ขึ้นมาจากอาณาศรีวิชัยทางใต้ และที่แพร่หลายมาจากเขมร ไทยเพิ่งจะเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา ฝ่ายลังกาวงศ์ก็เมื่อยุคสุโขทัยนี้เท่านั้น อาณาจักรศรีวิชัยซึ่งตั้งแว่นแคว้นอยู่บนคาบสมุทรมลายู ตั้งแต่ พ.ศ.1200
     
  19. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทว) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร ผู้ทรงเชี่ยวชาญในการสถาปนาพระกริ่ง และพระชัยวัฒน์ทรงเล่าถึงมูลเหตุแห่งแรงบันดาลใจในการสร้างพระกริ่งของพระองค์ท่านว่า เมื่อพระองค์ทรงสมณศักดิ์เป็นพระศรีมหาโพธิ์ครั้งนั้น สมเด็จพระวันรัต (แดง) สมเด็จพระอุปัชฌาย์ของพระองค์ยังมีชีวิตอยู่และครั้งหนึ่งสมเด็จพระวันรัต (แดง) ได้อาพาธเป็นอหิวาตกโรค สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสครั้งยังทรงเป็นกรมหมื่นเสด็จมาเยี่ยม เมื่อสั่งถามถึงอาการของโรคเป็นที่เข้าพระทัยแล้ว รับสั่งว่าเคยเห็นกรมพระยาปวเรศฯ สมเด็จพระอุปัชฌาย์ของพระองค์อาราธนาพระกริ่งแช่น้ำอธิษฐาน ขอน้ำพระพุทธมนต์ให้คนไข้เป็นอหิวาตกโรคกินหายเป็นปกติ พระองค์จึงรับสั่งให้มหาดเล็กที่ตามเสด็จ ไปนำพระกริ่งที่วัดบวรนิเวศ แต่สมเด็จฯ ทูลว่าพระกริ่งที่กุฏิมี สมเด็จสมณเจ้าจึงรับสั่งให้นำมาแล้ว อาราธนาพระกริ่งแช่น้ำอธิษฐานขอน้ำพระพุทธมนต์แล้วนำไปถวายสมเด็จพระวันรัต (แดง) เมื่อท่านฉันน้ำพระพุทธมนต์โรคอหิวาต์ก็บรรเทาหายเป็นปรกติ โดยพระกริ่งที่อาราธนาขอน้ำพระพุทธมนต์นั้นเป็นพระกริ่งเก่าหรือไม่ ก็คงเป็นพระกริ่งของสมเด็จกรมพระยาปวเรศฯ องค์ใดองค์หนึ่ง
    ตั้งแต่นั้นมา พระองค์ก็เริ่มสนพระทัยในการสร้างพระกริ่งนี้ขึ้นเป็นลำดับ โดยการสร้างพระกริ่งสมเด็จฯ จะได้รับตำราการสร้างพระกริ่งมาจากผู้ใดนั้นปรากฏหลักฐานตามหนังสือหลายเล่มได้สันนิษฐานไว้เป็นสองทาง คือ บางเล่มก็สันนิษฐานว่าได้รับตำรามาจาก
     
  20. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,932
    อนึ่ง คำว่า"กริ่ง"นี้ สมเด็จพระสังฆราชแพ ติสฺสเทวมหาเถระ วัดสุทัศนเทพวราราม เคยรับสั่งเสมอว่า “กริ่ง” นี้มาจากคำถามที่ว่า “กึ กุสโล” ซึ่งแปลว่า "นี้เป็นกุศลอะไร..???"คือเมื่อพระโยคาวจรบำเพ็ญสมณธรรม มีจิตผ่านกุศลธรรมทั้งปวงเป็นลำดับไปแล้ว ถึงขึ้นสุดท้าย จิตเสวยอุเบกขา เวทนา ปฺญญาภิสังขารเปลี่ยนไป อเนญชา เป็นเหตุให้พระโยคาวจาร เอะใจขึ้นใจ “กึ กุสโล” (นี้เป็นกุศลอะไร) เพราะเป็นธรรมที่เกิดขึ้นแปลกประหลาดไม่เหมือนกับกุศลอื่นที่ผ่านมา ดังนั้นคำว่า "กึ กุสโล" จึงเป็นชื่อของ "อเนญชา" คือ “นิพฺพุติ” แปลว่า “ดับสนิท” คือหมายถึง "พระนิพพาน" นั่นเอง
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...