พอใจรูม

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย ppojai, 3 ตุลาคม 2010.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,797
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    ดึงกระทู้ "เมื่อพระอภิญญาท่านว่า-เขื่อนป่าสัก" มาไว้ที่จักรวาลคู่นี้ดีมั๊ย?

    ********************************
    สนับสนุนอย่างแรงๆค่ะ มีอะไรดีๆให้อ่านมากเลย สาธุค่ะ
    catt7
     
  2. toplus99

    toplus99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,621
    ค่าพลัง:
    +13,004
    อ้อสูตรดองยาบรเบ็ด..ยังไม่ลืมเหรอ? เราเองก็เกือบลืมไปเลยเดี๋ยวเอาลงให้
    ในงานไม่ต้องถาม เพราะสูตรจดเก็บไว้ที่บ้านจำไม่ได้

    ว่าจะพาขึ้นเขาไปชิมอยู่แล้วเชียว...
    อี๊ยยย นึกแล้วขมคอขึ้นมาเชียว
     
  3. toplus99

    toplus99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,621
    ค่าพลัง:
    +13,004
    แหม..แม่ต้อยทำท่ายังกะสาวน้อยวัยรุ่นขึ้นมาเชียวเน้อ...
    จะดีเหรอในบอร์ดจักรวาลคู่ขนานนี้มันจะมี *****,*****..กระทู้ฮิตติด..ไก่ย่างห้าดาวของ toplus99 ถึง2 อันเชียวนา "อุ๊ยเขินอ่ะ"
     
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,797
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    "อุ๊ยเขินอ่ะ"

    **************************************
    คนโม้เก่งอย่างท่านเขินเป็นด้วยหรือคะ น่า นะๆๆ

    catt13
     
  5. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    ไว้ที่กระทู้ไหน ๆ กระทู้คุณ toplus99 ก็ให้ความรู้..น่าสนใจทั้งนั้นล่ะค่ะ..
    พวกเรา ๆ น้องแตน พี่ต้อย 2 ต. ก็ติดตามอ่านของคุณ toplus99 เสมอ ๆ อยู่แล้วค่ะ ขอบพระคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนห้องหรรษาฯ นะคะ..
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,550
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,033
    ค่าพลัง:
    +70,090
    เล่นสนุก อย่างคนอื่น ไม่ค่อยเป็น
    ออกความเห็น อย่างคนอื่น ลื่นไม่ไหว
    เล่นสนุก อย่างเรา ไม่ค่อยเหมือนใคร
    ท่านสอนไว้ ให้ได้ลอง พิสูจน์ดู


    หลังจากส่ง พลังไป ยังเป้าหมาย
    เพื่อให้คลาย โรคา ล้ากำลังสถิตย์
    สอบถามดู รู้ตรงกัน ทดสอบแบบวิทย์
    นับเป็นกุ- ศโลบายให้จิต พิชิตนิวรณ์
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,797
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    ส่ง พลัง

    **********************************
    ท่านดาบหัก ก็มาด้วย ช่วยส่งจิต
    เป็นนิมิต เมตตา มหาศาล
    ทั้งทางโลก ทางธรรม ในจักรวาล
    คู่ขนาน แสนบรรเทิง ร่าเริงใจ

    ขอบคุณค่ะ
     
  8. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    ขอบพระคุณพี่สุภาทร ที่ช่วยเขียนกลอนที่สุดแสนจะไพเราะ..
    ขอบคุณ..คุณดาบหัก ที่แวะเวียนมาเยี่ยมเยียนนะคะ..
     
  9. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [​IMG]


    เข้าหาธรรมะ เขาหาว่าบ้า...

    การที่ไปกลัวว่าเขาจะหาว่าเราบ้า ในเมื่อทำอะไรไม่เหมือนเขานั้น ควรจะสิ้นสุดกันเสียที พุทธบริษัทควรจะเป็นอิสระ ว่าอะไรเป็นความผิด อะไรเป็นความถูก อะไรเป็นความจริง อะไรเป็นความเท็จ เราไม่ต้องไปทำเหมือนเขา

    เดี๋ยวนี้มันยากอย่างยิ่ง ตรงที่ว่าความนิยมของคนส่วนมาก ได้หันเหไปนอกลู่นอกทางของพุทธศาสนา ไปนิยมเรื่องของวัตถุนิยมมากขึ้น ถ้าเราจะเอาความรู้สึกของคนส่วนมากเป็นประมาณแล้...ว มันก็ต้องทิ้งพุทธศาสนากันเท่านั้นเอง

    เพราะฉะนั้นถ้าเขาจะว่าเราบ้า เราก็ควรจะยอม เรามองดูกันในแง่ที่ว่า อะไรเป็นความจริง อะไรเป็นความถูกต้อง อะไรจะเป็นที่พึ่งของมนุษย์ได้ แล้วเราก็จงยึดมั่นในแนวทางอันนั้น

    เราก็ต้องมีความกล้าหาญพอ เรื่องที่จะไม่ให้ใครเขาว่าบ้านั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าในโลกนี้คนส่วนมากเป็นคนบ้า มีความนิยมไปตามทางของกิเลสตัณหา มากกว่าที่จะน้อมมาในทางของพระพุทธเจ้า แต่เมื่อเขาเห็นเราทำไม่เหมือนเขา เขาก็ต้องหาว่าเราเป็นคนบ้า นี้เป็นของธรรมดา ขึ้นชื่อว่าสุนัขแล้ว แม้เราจะแต่งตัวให้เรียบร้อยอย่างไร มันก็ต้องเห่า

    ท่านลองคิดดูให้ดีๆว่า เราเข้าไปในบ้านที่เขาเลี้ยงสุนัข ถ้าเราจะแต่งตัวให้เรียบร้อยอย่างไรมันก็ยังเห่า เราจะมีกิริยาสุภาพอย่างไรมันก็ยังเห่า ขึ้นชื่อว่าสุนัขแล้วมันก็ต้องเห่าอย่างนี้เอง เพราะฉะนั้น คนเหล่านั้นก็เป็นธรรมดาที่จะต้องหาว่าเราบ้า เพราะว่าทำอะไรไม่เหมือนเขา หรือเข้าไปในลักษณะที่ไม่เหมือนคนธรรมดาสุนัขมันก็ต้องเห่า ถ้าเรามีความแน่ใจอย่างนี้ เราก็จะต้องตัดสินใจว่า ให้กาลเวลาเป็นผู้ตัดสินว่าใครเป็นคนดีคนบ้า ....


    พุทธทาสภิกขุ
     
  10. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [​IMG]


    หัวข้อ "ทำไมจึงทุกข์" โดยท่านพุทธทาสภิกขุ

    ความโดยย่อ
    ...
    คำตอบว่าทำไมชีวิตต้องเผชิญกับความทุกข์นานาชนิดเหล่านี้ เป็นคำตอบกำปั้นทุบดิน น่าหัวเราะที่สุด คือ ชีวิตต้องเป็นทุกข์เพราะ "มันเป็นเช่นนั้นเอง" มันเป็นธรรมชาติเช่นนั้นเอง เช่นนั้นเองมีได้สองความหมาย ถ้าเช่นนั้นเองของพวกที่ถือปัจจัยภาย "นอกตัว" เช่น พระเจ้า ดวงดาว สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ถ้าถือหลักอย่างนี้ยังไม่ใช่พุทธศาสนา เพราะศาสนามุ่งที่เหตุปัจจัย "ภายใน" คือ "กฎอิทัปปจยาตา" เพราะว่าทำผิดกฎอิทัปปจยจา ก็ต้องเป็นทุกข์

    ปัจจุบันนี้เราบังคับจิตไม่ได้ เพราะว่าเราไม่เคยฝึกจิต มีแต่การปล่อยไปตามเรื่องของจิต จึงต้องเป็นทุกข์ เพราะว่าเราบังคับจิตไม่ได้ มันเลยไปรู้สึก คิดนึกชนิดที่เป็นทุกข์ เพราะทุกสิ่งต้องเป็นไปตามกฎ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถ้าไม่มีความรู้เพียงพอก็ต้องทุกข์ สรุปความว่ามีอวิชชา ไม่รู้สิ่งทั้งหลายทั้งปวงอย่างถูกต้อง ตามความเป็นจริง ก็ทำให้ คิดผิด พูดผิด ทำผิดรวมความว่าหลงจมอยู่ในกองกิเลส สังสารวัฎ จึงต้องเป็นทุกข์..

     
  11. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    นินทา โลกธรรม8ที่ควรเข้าใจ
    -----------------------------------------------------------
    นินทา

    โลกธรรม ๘ นี้ เป็นธรรมที่ไม่อาจมีผู้ปฏิเสธได้ว่าไม่เคยเกิดกับตัวเอง หรือไม่เคยเกิดกับผู้หนึ่งผู้ใดเลย ธรรมทั้ง ๘ ประการนี้ ต้องเกิดกับทุกคนที่เกิดมาในโลก ไม่มียกเว้น

    ทุกคนเคยได้ประสบมาแล้วทั้งนั้น ทั้งเด็กไร้เดียงสาและผู้ใหญ่ เช่น เด็กคนนั้นเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ แต่ทำไมผู้ใหญ่มักเป็นทุกข์มากกว่าเด็ก

    เพราะเด็กที่ไร้เดียงสาไม่รับรู้ ไม่รู้เรื่อง ไม่เป็นทุกข์เพราะความโกรธหรือน้อยใจเสียใจ
    ผู้ใหญ่รู้เรื่อง และรับรู้ ทั้งยังรับไปปรุงคิด ให้เป็นความโกรธหรือความน้อยใจเสียใจ ผู้ใหญ่ที่ถูกนินทาจึงมักเป็นทุกข์เป็นส่วนมาก

    ความทุกข์ของผู้ถูกนินทาทั้งหลายจึงเกิดขึ้นจาก
    ความรู้เรื่อง ความรับรู้ และความปรุงคิด
    ซึ่งมีความปรุงคิดสำคัญที่สุด
    ถ้ารู้เรื่องรับรู้คำนินทาทั้งหลายแล้ว
    ไม่ปรุงคิดให้เกิดเป็น ความโกรธ
    หรือความเสียใจน้อยใจขึ้น
    ก็จะไม่มีความทุกข์
    ความปรุงคิดจึงสำคัญที่สุด
    สำหรับทุกคนเมื่อได้รับรู้ว่านินทา

    คนทำดีถูกนินทาน่าจะทำใจรับได้ดีกว่าคนที่ทำไม่ดีที่ถูกนินทา
    แต่เท่าที่ปรากฏดูเหมือนจะไม่เป็นเช่นนั้น
    คนทำดีถูกนินทามักจะหวั่นไหวท้อแท้
    ถึงกับบางที่ไม่อยากจะทำดีต่อไป ซึ่งไม่ถูก
    ส่วนคนทำไม่ดีถูกนินทา
    มักจะไม่รู้ไม่ชี้เสีย
    แล้วก็ยังคงทำเหมือนเดิมต่อไป
    ซึ่งก็ไม่ถูกอย่างยิ่ง

    ผู้นินทาคือผู้ทำกรรมไม่ดี

    นินทานั้นจะไม่มีโทษกับคนถูกนินทาเลย ถ้าผู้ถูกนินทาไม่รับ คือไม่ตอบ เช่นเดียวกับผู้ถูกด่าไม่ด่าตอบ ผู้ถูกขู่ไม่ขู่ตอบ ผู้ถูกชวนวิวาทไม่วิวาทตอบ แต่คำนินทาว่าร้ายทั้งจะตกป็นของผู้นินทาทั้งหมด ผู้นินทาคือผู้ทำกรรม ซึ่งเป็นกรรมไม่ดี ไม่ว่าผู้ถูกนินทาจะรับหรือไม่รับก็ตาม ผู้นินทาย่อมได้รับผลไม่ดีแห่งกรรมไม่ดีของเขาอย่างแน่นอน

    ดังนั้นเมื่อถูกนินทาแล้ว
    ก็ให้คิดว่าผู้นินทาเรานั้นได้รับผลตอบแทนแล้ว
    คือได้รับผลของกรรมไม่ดี
    ซึ่งจะส่งผลให้ปรากฎช้าหรือเร็วเท่านั้น
    ผลของกรรมไม่ดีนั้นแหละได้ตอบแทนเขาผู้นินทาแล้ว
    เราไม่มีความจำเป็นต้องตอบแทนแต่อย่างใด

    ความเชื่อในเรื่องกรรมและผลของกรรมมีคุณอย่างที่สุด ผู้ใดทำกรรมใดไว้จักได้รับผลของกรรมนั้น ความเชื่อเช่นนี้จักทำให้ไม่คิดร้ายตอบผู้คิดร้าย

    เป็นการระงับเวรภัยไม่ให้เกิดแก่ตน เป็นการป้องกันตนมิให้ทำกรรมไม่ดี ทั้งทางกาย วาจา และใจ โดยมุ่งให้เป็นการแก้แค้นตอบแทน ผลจักเป็นความสงบสุขแก่ตนและแก่ผู้อื่นด้วย

    : การบริหารจิตสำหรับผู้ใหญ่
    : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    ที่มา ::
     
  12. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    กรรมบท ๑๐
    ๑.ทางกาย ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม และไม่ดื่มสุราเมรัย
    นี่ร่วมกันทั้ง ๒ อย่างนะ ทั้งศีล ๕ และกรรมบถ ๑๐ ศีล ๕ กรรมบถ ๑๐ นี่เหมือนกัน
    แต่ว่าต่างกันอยู่บ้างบางตอน นี่เราเอามาร่วมกันเข้าก็
    ๑. ไม่ฆ่าสัตว์
    ๒. ไม่ลักทรัพย์
    ๓. ไม่ประพฤติผิดในกาม
    ๔. ไม่ดื่มสุราเมรัย เราจะงดเว้นไม่ปฏิบัติอย่างนี้ต่อไป มันอาจเผลอได้บ้างเป็น
    ของธรรมดาใหม่ ๆ
    ๒. ทางวาจา กรรมบถ ๑๐ มี ๔
    ศีล ๕ มี ๑
    วาจาของกรรมบถ ๑๐ ก็คือ
    ๑. ไม่พูดปด เหมือนกับศีล ๕
    ๒. ไม่พูดหยาบ
    ๓. ไม่ส่อเสียดยุยงส่งเสริมให้เขาแตกร้าวกัน หรือนินทาชาวบ้าน
    ๔. ไม่พูดวาจาเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้ประโยชน์เป็น ๔ อย่าง ท่านบอกว่าเราจะเว้น
    ไม่พูดปด ไม่พูดคำหยาบ ไม่ส่อเสียด ไม่เพ้อเจ้อเหลวไหล วาจาใดที่ไม่เป็น
    ประโยชน์เราไม่พูด นี่วาจา
    ศีลไม่ห้ามใจ แต่กรรมบถห้ามใจ ทางด้านจิตใจ มี ๓ คือ
    ๑. ไม่คิดอยากได้ทรัพย์สมบัติของใครโดยไม่ชอบธรรม ขึ้นชื่อว่าทรัพย์สมบัติของ
    ชาวบ้านนี่เราไม่ต้องการ ไม่เอา เขาไม่ให้ เราไม่ต้องการ ไม่คิดอยากได้ด้วยทางใจ
    ๒. ความโกรธ ยังมี แต่โกรธแล้วก็หายไป ไม่จองล้างจองผลาญ จองเวรจองกรรม
    กับใคร
    ๓. ยอมรับนับถือคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วยความดี หมายความว่ายอมปฏิบัติตาม
    คำสอนของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า สัมมาทิฎฐิ
    ถ้าทุกคนมีกรรมบถ ๑๐ ประการ ด้วย มีพระไตรสรณคมน์ด้วย นึกถึงความตาย
    ไว้ด้วยทั้ง ๓ อย่างนี้ เป็นอารมณ์ของพระโสดาบัน และสกิทาคามี แต่ว่า ถ้าท่านปฏิบัติ
    แล้วจะเป็นพระโสดาบันหรือสกิทาคามีหรือไม่นี่ ขอได้โปรดอย่าคิด เราไม่คิด ไม่ต้อง
    คิดว่าเราจะเป็นพระอริยเจ้าหรือเปล่า เอาแต่เพียงว่าพระอริยเจ้าท่านคิดแบบไหน
    ท่านทำแบบไหน เราทำตามท่าน คือ
    ๑. พระโสดาบัน หรือ พระสกิทาคามี ท่านคิดว่าร่างกายนี้ต้องตายยังมีความรัก
    สวยรักงามแต่ไม่เมาในชีวิตเกินไป คิดว่าสักวันหนึ่งข้างหน้าต้องตาย อย่าลืมนะว่า
    พระโสดาบันหรือพระสกิทาคามียังแต่งงานได้นะ คนไม่แต่งงานก็แต่งงานได้ คน
    แต่งงานแล้วก็ไม่ต้องเลิกรากัน ยังอยู่ด้วยกันได้ เพราะรักษาแค่ศีล ๕ หรือกรรมบถ
    ๑๐ เขาไม่ได้ห้าม ไม่ใช่ศีล ๘
    ๒. พระโสดาบัน มีความเคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยความ
    จริงใจ เราก็ทำตามท่าน
    ๓. พระโสดาบัน มีศีล ๕ หรือกรรมบถ ๑๐ บริสุทธิ์ เราก็ทำตามท่าน
    เมื่อเราทำตามท่านแล้ว จะเป็นพระโสดาบันหรือไม่อย่าสนใจ ถ้าไป
    สนใจเข้าดีไม่ดี คิดว่าเราเป็นพระโสดาบัน แต่เผอิญมันยังไม่ได้ อย่างนี้จะกลาย
    เป็นมานะทิฏฐิ อารมณ์หยาบจะเกิด ดีไม่ดีเผลอตัวลงนรกไป ก็รวมคิดว่าท่านทำ
    อย่างไร เราทำอย่างนั้นจะเป็นหรือไม่เป็นไม่สำคัญ


    อานิสงส์กรรมบถ ๑๐

    ท่านที่ปฏิบัติในกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ ท่านเรียกชื่อเป็นกรรมฐานกองหนึ่งเหมือนกัน
    คือ ท่านเรียกว่า สีลานุสสติกรรมฐาน หมายความว่าเป็นผู้ทรงสมาธิในศีล


    ท่านที่ปฏิบัติในกรรมบถ ๑๐ ประการได้นั้น มีอานิสงส์ดังนี้
    ๑. อานิสงส์ข้อที่หนึ่ง จะเกิดเป็นคนรูปสวย ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ มีอายุยืนยาว ไม่อายุ
    สั้นพลันตาย
    ๒. อานิสงส์ข้อที่สอง เกิดเป็นคนมีทรัพย์มาก ทรัพย์ไม่ถูกทำลายเพราะโจร , ไฟไหม้ ,
    น้ำท่วม , ลมพัด จะมีทรัพย์สมบัติสมบูรณ์บริบูรณ์ขั้นมหาเศรษฐี
    ๓. อานิสงส์ข้อที่สาม เมื่อเกิดเป็นคนจะมีคนที่อยู่ในบังคับบัญชาเป็นคนดี , ไม่ดื้อด้าน
    อยู่ภายในคำสั่งอย่างเคร่งครัด มีความสุขเพราะบริวาร
    และการไม่ดื่มสุราเมรัยเมื่อเกิด เป็นคนจะไม่มีโรคปวดศีรษะที่ร้ายแรง, ไม่เป็นโรค
    เส้นประสาท, ไม่เป็นคนบ้าคลั่ง จะเป็นคนที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์, มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด


    เรื่องของวาจา
    ๔. อานิสงส์ข้อที่สี่, ข้อห้า, ข้อหก และข้อเจ็ด เมื่อเกิดเป็นคน จะเป็นคนปากหอม
    หรือมีเสียงทิพย์ คนที่ได้ยินเสียงท่านพูด เขาจะไม่อิ่มไม่เบื่อในเสียงของท่าน ถ้าเรียกตามสมัย
    ปัจจุบัน จะเรียกว่าคนมีเสียงเป็นเสน่ห์ก็คงไม่ผิด จะมีความเป็นอยู่ที่เป็นสุข และทรัพย์สินมหา-
    ศาลเพราะเสียง


    เรื่องของใจ
    ๕. อานิสงส์ข้อที่แปด ,ข้อเก้า และข้อสิบ เป็นเรื่องของใจ คืออารมณ์คิด ถ้าเว้นจาก
    การคิดลักขโมย เป็นต้น ไม่คิดจองล้างจองผลาญใคร, เชื่อพระพุทธเจ้า และปฏิบัติตามคำสอน
    ของท่านด้วยความเคารพ, ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ จะเป็นคนมีอารมณ์สงบ, มีความสุขสบายทางใจ
    ความเดือดเนื้อร้อนใจในกรณีใดๆ ทุกประการจะไม่มีเลย มีแต่ความสุขใจอย่างเดียว


    อานิสงส์รวม






    เมื่อกล่าวถึงอานิสงส์รวมแล้ว ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานในขั้นนี้ ถึงแม้ว่าจะทรงสมาธิไม่ได้
    นาน ตามที่เรียกว่า ขณิกสมาธิ นั้น ถ้าสามารถทรงกรรมบถ ๑๐ ประการได้ครบถ้วน ท่านกล่าวว่า
    เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้ว ไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิอีกต่อไป บาปที่ทำไว้ตั้งแต่สมัยใดก็ตาม ไม่มี
    โอกาส นำไปลงโทษในอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น อีกต่อไป
    ถ้าบุญบารมีไม่มากกว่านี้ ตายจากคนไปเป็นเทวดาหรือพรหม เมื่อหมดบุญแล้วลงมา
    เกิดเป็นมนุษย์ จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ในชาตินั้น แต่ถ้าเร่งรัดการบำเพ็ญเพียรดี , รู้จักใช้ปัญญา
    อย่างมีเหตุผล ก็สามารถบรรลุมรรคผลเข้าถึงพระนิพพานได้ในชาตินี้


    แนะวิธีรักษากรรมบถ ๑๐ ประการ






    การที่จะทรงความดีเต็มระดับตามที่กล่าวมาให้ครบถ้วน ให้ปฏิบัติดังนี้
    ๑. คิดถึงความตาย ไว้ในขณะที่สมควร คือไม่ใช่ทุกลมหายใจเข้าออก เมื่อตื่นขึ้นใหม่ ๆ
    อารมณ์ใจยังเป็นสุข ก่อนที่จะเจริญภาวนาอย่างอื่น ให้คิดถึงความตายก่อน คิดว่าความตายอาจ
    จะเข้ามาถึงเราในวันนี้ก็ได้ จะตายเมื่อไรก็ตามเราไม่ขอลงอบายภูมิ ที่เราจะไปคือ อย่างต่ำไป
    สวรรค์ , อย่างกลางไปพรหม ถ้าไม่เกินวิสัยแล้วขอไปนิพพานแห่งเดียว คิดว่าไปนิพพานเป็นที่
    พอใจที่สุดของเรา
    ๒. คิดต่อไปว่า เมื่อความตายจะเข้ามาถึงเราจะเป็นเวลาใดก็ตาม เราขอยึดพระพุทธเจ้า
    พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต คือไม่
    สงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า ยอมเคารพด้วยความศรัทธา คือความเชื่อถือในพระองค์ ขอ
    ปฏิบัติตามคำสอน คือกรรมบถ ๑๐ ประการโดยเคร่งครัด ถ้าความตายเข้ามาถึงเมื่อไร
    ขอไปนิพพานแห่งเดียว
    เมื่อนึกถึงความตายแล้ว ตั้งใจเคารพ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์สาวกแล้วตั้งใจ
    นึกถึงกรรมบถ ๑๐ ประการว่ามีอะไรบ้าง ตั้งใจจำ และพยายามปฏิบัติตามอย่าให้พลั้งพลาดคิด
    ติดตามข้อปฏิบัติเสมอว่า มีอะไรบ้าง ตั้งใจไว้เลยว่า วันนี้เราจะไม่ยอมละเมิดสิกขาบทใด
    สิกขาบทหนึ่งเป็นอันขาด เป็นธรรมดาอยู่เองการที่ระมัดระวังใหม่ๆ อาจจะมีการพลั้งพลาด
    พลั้งเผลอในระยะต้นๆ บ้างเป็นของธรรมดา แต่ถ้าตั้งใจระมัดระวังทุกๆ วันไม่นานนักอย่าง
    ช้าไม่เกิน ๓ เดือน ก็สามารถรักษาได้ครบ มีอาการชินต่อการรักษาทุกสิกขาบทจะไม่มีการ
    ผิดพลาดโดยที่เจตนาเลย เมื่อท่านใดทรงอารมณ์กรรมบถ ๑๐ ประการได้โดยไม่ต้องระวัง
    ก็ชื่อว่าท่านทรงสมาธิขั้นขณิกสมาธิได้ครบถ้วนเมื่อตาย ท่านไปสวรรค์หรือพรหมโลกได้แน่
    นอนถ้าบารมียังอ่อนเกิดเป็นมนุษย์อีกชาติเดียว ไปนิพพานแน่ ถ้าขยันหมั่นเพียรใช้ปัญญา
    แบบเบา ๆ ไม่เร่งรัดเกินไป รักษาอารมณ์ใจให้เป็นสุขไม่ติดในความโลภ ไม่วุ่นวายในความ
    โกรธ มีการให้อภัยเป็นปกติ ไม่เมาในร่างกายเรา และร่างกายเขาไม่ช้าก็บรรลุพระนิพพาน
    ได้แน่นอน เป็นอันว่าการปฏิบัติขั้นขณิกสมาธิจบเพียงเท่านี้


    ที่มา
    ..
     
  13. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    รวมคำสอน..หลวงพ่อเทียน

    รูปกายนี้ มันเคลื่อนมันไหวอยู่เรื่อยๆ ไม่เคยหยุดนิ่ง ตราบเท่าที่ยังมีชีวิตอยู่ มันจะเคลื่อนไหวโดยวิธีใดก็ให้รู้ ผมเลยเอามาทำเป็นจังหวะ ทำจังหวะ : ยกมือเข้า เอามือออก ยกมือไป เอามือมา ฯลฯ เพื่อเป็นการเรียกร้องให้มีสติมั่นคงอยู่กับรูปกาย อย่างนี้ ตลอดไปถึงจิตใจคิดนึก สองอันนี้เป็นเชือกผูกสติเอาไว้ เมื่อความคิดเข้ามา เราเห็น-รู้ กำมือ เหยียดมือ ยกไป ยกมา นี้ก็รู้ แต่ไม่ต้องเอาสติมาจ้องตัวนี้ อย่าเอาสติมาคุมตัวนี้ ให้เอาสติไปคุมตัวความคิด คำว่า "ไปคุม" คือ ให้คอยดูมัน ดูไกลๆ ดูสบายๆ อย่าไปดูใกล้ๆ มันจะเป็นการเพ่ง ไม่เป็นมัชฌิมา จึงว่า - ทำใจไว้เป็นกลางๆ พอมันคิดปุ๊บ - ทิ้งไปเลย

    เพียงดูความคิดนี่แหละ เพียงความเคลื่อนไหวนี่แหละ มันเป็นเอง ความเป็นเองมันมีอยู่แล้ว พร้อมแล้วที่จะปรากฏในคนทุกคนได้

    พุทธะ จึงแปลว่า ผู้รู้ รู้ธรรม เห็นธรรม เข้าใจธรรม รู้ธรรมก็คือรู้ตัวเรา กำลังทำ กำลังพูด กำลังคิด เข้าใจธรรม เมื่อรู้อันนี้แล้วก็เลยรู้บาป รู้บุญ บาปก็คือโง่นั่นเอง คือไม่รู้ คืออยู่ในถ้ำ มืดอยู่นั่นแหละ ถ้าเราออกจากถ้ำได้ เรามาอยู่ปากถ้ำ อยู่ข้างนอกถ้ำ เราก็สามารถมองเห็นอะไรได้ทุกอย่าง

    พุทธศาสนาจริงๆ นั้นคือ ตัวสติ-ตัวสมาธิ-ตัวปัญญาที่ฝึกฝนทำดีแล้วนั่นแหละ ตัวพุทธศาสนามีในตัวคนทุกคน แล้วแต่บุคคลนั้นจะประพฤติปฏิบัติให้มันปรากฏขึ้นหรือเปล่า เป็นเรื่องของบุคคลนั้น

    การรู้เฉยๆ นี้ยังไม่เห็นความคิด รู้เรื่องรูปนามนี่ยังไม่เห็นความคิด มันคิดจากไหนไม่รู้ มันคิดแล้วมันก็เข้าไปในความคิด รู้ไปเรื่อยๆ รู้แต่ดี ชั่วไม่รู้ อันนี้เป็นปัญหาที่ทุกคนควรจำเอาไว้

    ความรู้สึกตัวเป็นรากเหง้าของบุญ ความไม่รู้เป็นรากเหง้าของบาป

    การรู้สึกตัวนั้น เป็นไม้ขีดไฟ เทียนไขนั้นก็คือ มันคิดเรารู้ เราพยายามจุดสองอย่างนี้ จุดแล้วก็สว่างขึ้นมา ก็เดินหนีออกจากถ้ำ ไม่เข้าไปอยู่ในถ้ำ ถึงจะต้องเข้าไปอยู่ในถ้ำ ก็ต้องไม่ให้มันมืดต่อไป ต้องรู้สึกตัวทันที นี่แหละคือการปฏิบัติธรรม

    การรู้สึกตัวนี้ ให้รู้สึกลงไป เมื่อมันไหวขึ้นมาให้รู้สึกตามความเป็นจริงที่มันเคลื่อนไหวนั้น เมื่อมันหยุดก็ให้รู้สึกทันทีว่ามันหยุด อันนี้เรียกว่า สงบ สงบแบบรู้สึก

    การรู้สึกถึงความเคลื่อนไหวของร่างกาย คือ การเจริญสติ สมาธิ คือ การตั้งใจ

    ที่เราต้องการความสงบ หรือพุทธะ เราไม่ต้องไปทำอะไรให้มาก เพียงให้ดูต้นตอของชีวิต เมื่อมันคิดมาอย่าเข้าไปในความคิด ให้ตัดความคิดออกให้ทัน

    ความสงบที่แท้จริงจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ เราหยุดการแสวงหา ต่อเมื่อเราไม่ต้องวิ่งหาบุคคลอื่นนั้นเรียกว่า ความสงบ

    ความสงบมีอยู่แล้วโดยไม่ต้องทำขึ้น เป็นความสงบจาก โทสะ โมหะ โลภะ เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นแก่เรา สติจะมาทันที เนื่องจาก สติ สมาธิ ปัญญา อยู่ที่นั่นแล้ว โทสะ โมหะ โลภะ จึงไม่มี ถ้าบุคคลใดไม่ได้เจริญสติ ไม่ได้ทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้น บุคคลนั้นจะไม่มีมัน ทั้งๆ ที่มันมีอยู่ที่นั่นแล้ว

    การแสวงหาพระพุทธเจ้าก็ตาม แสวงหาพระอรหันต์ก็ตาม แสวงหามรรคผลนิพพานก็ตาม อย่าไปแสวงหาที่ๆ มันไม่มี แสวงหาตัวเรานี่ ให้เราทำความรู้สึกตื่นตัวอยู่เสมอ นี่แหละ จะรู้จะเห็น

    ให้ลืมตาทำ เคลื่อนไหวโดยวิธีใดก็ให้รู้ มันเป็นการไหลไปตามธรรมชาติของมัน ตาก็ไม่ต้องบังคับให้มันหลับ ให้มันกะพริบขึ้นลงได้ตามธรรมชาติ เหลือบซ้ายแลขวาก็ได้ มันจึงเป็นการปฏิบัติธรรมกับธรรมชาติ และมันก็รู้กับธรรมชาติจริงๆ

    หนทางไปสู่ความสิ้นสุดของทุกข์นี้ เป็นหนทางที่ง่าย เหตุที่ยาก เพราะเราไม่รู้มันอย่างแท้จริง เราจึงมีแต่ความลังเล และสงสัย

    การที่เราเคลื่อนไหว แปลว่าปลุกตัวเราให้ตื่น เมื่อมันคิดให้มันรู้ ความรู้มันจะไปดับโทสะ โมหะ โลภะ จะดับความยึดมั่นถือมั่น แล้วจิตใจเราก็เป็นปกติ เมื่อเป็นปกติแล้วสิ่งใดมาถูกเรา เราจะรู้สึกทั้งหมด เมื่อรู้สึกแล้วเหมือนสิ่งหนึ่งสิ่งใดขาดออกจากกัน-คนไม่มี นี่แหละที่ว่าพระพุทธเจ้าฆ่าคนให้ตาย มีแต่ชีวิตของพระล้วนๆ ชีวิตของพระไม่มีเกิด ไม่มีตาย

    วิธีการยกมือขึ้น คว่ำมือลง เป็นวิธีเจริญสติ เป็นวิธีเจริญปัญญา เมื่อได้สัดได้ส่วนสมบูรณ์แล้ว มันจะเป็นเองไม่ยกเว้นใครๆ อยู่ที่ไหนก็ทำได้ เด็กๆ ก็ทำได้ ผู้ใหญ่ก็ทำได้ นุ่งผ้าสีอะไรก็ทำได้ ถือศาสนาลัทธิอะไรก็ทำได้ เรียกว่า ของจริง

    วิปัสสนา คือ การเห็นแจ้งรู้จริง เห็นอะไร? ก็เห็นตัวเองนี่เอง กำลังนั่งอยู่ พูดอยู่ในขณะนี้ เห็นจิตใจมันนึกคิดอยู่เดี๋ยวนี้ อันนี้แหละเป็น "วิปัสสนา" จริงๆ

    คำว่า "วิปัสสนา" นั้นเป็นเพียงชื่อเท่านั้นเอง แต่ตัวจริงของวิปัสสนานั้น ตามตัวหนังสือแปลว่า รู้แจ้ง-รู้จริง รู้แล้วต่างเก่าล่วงภาวะเดิม ว่าอย่างนั้น ถ้าหากรู้แจ้ง-รู้จริง เราจะไปเสียเวลาดูฤกษ์งามยามดีกันทำไม จะไปไหว้ผีไหว้เทวดากันทำไม ถ้าหากรู้แจ้งรู้จริงแล้วก็ไม่ต้องกลัวใครทั้งหมด

    การที่เราเห็นความคิดนี่เอง เป็นต้นทางพระนิพพานแล้ว เมื่อมันคิดวูบขึ้นมา เราก็เห็นปั๊บ อันกระแสความคิดนี้มันไว ไวกว่าแสง ไวกว่าเสียง ไวกว่าไฟฟ้า ไวกว่าอะไรทั้งหมด เมื่อได้เห็นสมุฏฐานความเร็ว ความไวของความคิดแล้ว เรียกว่า อรรถบัญญัติ

    การเห็นการรู้ความคิด เป็นสองสิ่งที่แตกต่างกัน การรู้คือการเข้าไปในการคิดและความคิดก็คงดำเนินต่อไป เมื่อเราเห็นความคิด เราสามารถหลุดออกมาจากความคิดนั้นได้

    เมื่อเราเห็นความคิดในทุกขณะ ไม่ว่ามันจะคิดเรื่องใดก็ตาม เราเอาชนะมันได้ทุกครั้งไป แล้วเราจะมาถึงจุดหนึ่ง ที่บางสิ่งในภายในจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน

    การทำความรู้สึกตัวนั้น จึงมีอานิสงส์มาก ถ้าหากไม่รู้สึกตัวในขณะไหนเวลาใดแล้ว เรียกว่าคนหลงตน ลืมตัว หลงกายลืมใจ คล้ายๆ คือเราไม่มีชีวิตนี่เอง

    ให้ดูใจ เมื่อคิดขึ้นมา เห็น รู้เข้ามา ทำความเคลื่อนไหว มันจะวาง วางใจ มันจะมาอยู่กับความรู้สึก เมื่อมาอยู่กับความรู้สึกแล้วปัญญามันจะเกิด คนจะล่วงทุกข์ไปได้เพราะปัญญา

    ตัวนึกคิดนี่แหละคือสมุทัย มรรคคือการเอาสติมาดูความคิด นี่คือข้อปฏิบัติ

    ให้เห็นความคิด อย่าไปห้ามความคิด และอย่าไปยึดไปถือ ให้ปล่อยมันไป นี่คือการเห็นความคิด คิดแล้วให้ตัดปุ๊บเลย เหมือนการวิดน้ำออกไปจากก้นบ่อ ทำอย่างนี้นานๆ เข้า สติจะเต็มและสมบูรณ์ คิดปุ๊บเห็นปั๊บ อันนี้แหละคือระดับความคิด ที่เรียกว่า ปัญญา ซึ่งเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างละเอียด

    แท้จริงแล้วนั้น กิเลสมิได้มีอยู่จริง แล้วเราจะไปชนะมันได้อย่างไร สิ่งที่เราต้องทำเพียงอย่างเดียวคือ เราเพียงแต่ดูจิตใจโดยชัดเจน เผชิญหน้ากับความคิดโดยแจ่มชัด เมื่อเราเห็นใจอย่างชัดเจน โมหะก็จะไม่มีอยู่

    หลักพุทธศาสนาจริงๆ สอนให้ละกิเลส คือความอยากนี้เอง แต่ตัวที่มันอยาก เรากลับไม่เห็น ไม่รู้ เราต้องดูจิตดูใจ ให้เข้าใจทันทีว่า เออ…กิเลสเกิดขึ้นแล้ว ต้องเห็นที่ตรงนี้

    คำสอนของพระพุทธเจ้าจริงๆ นั้น สอนให้เราประพฤติปฏิบัติ เพื่อทำลายความหลงผิด ความหลงผิดเกิดขึ้นนั้น ท่านว่าเป็นทุกข์ ทุกข์เพราะเรามีความโกรธ ทุกข์เพราะเรามีความโลภ ทุกข์เพราะเรามีความหลง ถ้าเราไม่มีความโกรธ ความโลภ ความหลงแล้ว เราก็ไม่ต้องมีทุกข์ ทำการทำงานอะไรก็ต้องไม่มีทุกข์ ..
     
  14. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    [​IMG]
    เอาดอกไม้มาฝากพี่สาว
    จะได้สดชื่นทั้งวันค่ะ
    รักนะคะพี่
     
  15. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    ขอบคุณคุณครูติง ติง น้องสาวที่น่ารัก ด้วยนะคะ.. จิตใจดีจริง ๆ ๆ
     
  16. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    มรรค 8
    มรรค = อริยมรรค = มัชฌิมาปฏิปทา = มรรคแปด = ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ = ทางสายกลาง

    แนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิต หรือ กาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ เรียกว่า อริยมรรค แปลว่าทางอันประเสริฐ เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอจนถึงกับตกอยู่ใต้อำนาจความอยากแห่งใจ แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือดแห้งจากความสุขทางกาย เพราะฉะนั้นจึงได้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา คือทางดำเนินสายกลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะเช่นสายดนตรีที่เทียบเสียงได้ที่แล้ว

    คำว่า มรรค แปลว่า ทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์ไปสู่ความเป็นอิสระ หลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วยอำนาจของอวิชชา มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือกฟั่นแปดเกลียว

    มรรคมีองค์แปด คือ :-
    1. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเข้าใจถูกต้อง
    2. สัมมาสังกัปปะ คือ ความใฝ่ใจถูกต้อง
    3. สัมมาวาจา คือ การพูดจาถูกต้อง
    4. สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำถูกต้อง
    5. สัมมาอาชีวะ คือ การดำรงชีพถูกต้อง
    6. สัมมาวายามะ คือ ความพากเพียรถูกต้อง
    7. สัมมาสติ คือ การระลึกประจำใจถูกต้อง
    8. สัมมาสมาธิ คือ การตั้งใจมั่นถูกต้อง

    การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อย่นรวมกันแล้วเหลือเพียง 3 คือ ศีล - สมาธิ - ปัญญา สรุปสั้น ๆ ก็คือ
    การปฏิบัติธรรม(ศีล-สมาธิ-ปัญญา)ก็คือการเดินตามมรรค

    สัมมาทิฏฐิ(ปัญญา) คือความเข้าใจถูกต้อง ย่อมต้องการใช้ในกิจการทั่วไปทุกประเภททั้งทางโลกและทางธรรม แต่สำหรับฝ่ายธรรมชั้นสูงอันเกี่ยวกับการเห็นทุกข์หรืออาสวะซึ่งจัดเป็นการเห็นอริยสัจนั้น ย่อมต้องการฝึกฝนอย่างจริงจังเป็นพิเศษ ความเข้าใจถูกต้อง คือต้องเข้าใจอย่างทั่วถึงว่าทุกข์นั้นเป็นอย่างไรอย่างหยาบๆ ที่ปรากฎชัดๆเป็นอย่างไรอย่างละเอียด ที่แอบแฝงเป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับสนิทของทุกข์มีภาวะอย่างไร มีลำดับอย่างไร ทางให้ถึงความดับทุกข์คืออะไร เดินให้ถึงได้อย่างไร สัมมาทิฏฐิมีทั้งที่เป็นโลกิยะคือของบุคคลที่ต้องขวนขวายปฏิบัติก้าวหน้าอยู่และสัมมาทิฎฐิที่เป็นโลกกุตตระ คือของพระอริยบุคคลต้นๆ ส่วนของพระอรหันต์นั้นเรียกเป็นวิชชาไป และไม่เรียกว่าองค์แห่งมรรค เพราะท่านถึงที่สุดแล้ว

    สัมมาสังกัปปะ(ปัญญา) คือความใฝ่ใจถูกต้อง คือคิดหาทางออกไปจากทุกข์ตามกฎแห่งเหตุผล ที่เห็นขอบมาแล้วข้อสัมมาทิฏฐินั่นเอง เริ่มตั้งแต่การใฝ่ใจที่น้อมไปในการออกบวช การไม่เพ่งร้าย การไม่ทำทุกข์ให้แก่ผู้อื่นแม้เพราะเผลอ รวมทั้งความใฝ่ใจถูกต้องทุกๆอย่างที่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นจากสิ่งที่มนุษย์ไม่ประสงค์

    สัมมาวาจา(ศีล) คือการพูดจาถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น

    สัมมากัมมันตะ(ศีล) คือการกระทำถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น

    สัมมาอาชีวะ(ศีล) คือการดำรงชีพถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น

    สัมมาวายามะ(สมาธิ) คือความพากเพียรถูกต้อง เป็นส่วนของใจที่บากบั่นในอันที่จะก้าวหน้า ไม่ถอยหลังจากทางดำเนินตามมรรค ถึงกับมีการอธิษฐานอย่างแรงกล้า

    สัมมาสติ(สมาธิ) คือการระลึกประจำใจถูกต้อง ระลึกแต่ในสิ่งที่เกื้อหนุนแก่ปัญญาที่จะแทงตลอดอวิชชาที่ครอบงำตนอยู่ ให้สิ้นไป

    สัมมาสมาธิ(สมาธิ) คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง ได้แก่สมาธิ เป็นของจำเป็นในกิจการทุกอย่าง สำหรับในที่นี้เป็นอาการของใจที่รวมกำลังเป็นจุดเดียว กล้าแข็งพอทีจะให้เกิดปัญญาทำการแทงตลอดอวิชชาได้ และยังเป็นการพักผ่อนของใจ ซึ่งเป็นเหมือนการลับให้แหลมคมอยู่เสมอด้วย ฯลฯ

    องค์มรรคบางองค์ เป็นส่วนหยาบและสะสมขึ้นในตัวเราได้โดยง่ายคือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สามองค์นี้ถูกอบรมให้สำเร็จเป็นวิรัติเจตสิกจำพวกกุศล เจตสิกเป็นเชื้อนอนนิ่งอยู่ในสันดาน เตรียมพร้อมที่จะมาผสมจิตคราวเดียวกันกับมรรคองค์อื่นๆ เมื่อได้โอกาสอันเหมาะ แม้องค์มรรคที่ยากๆ เช่นสัมมาทิฏฐิ-สติ-สมาธิ ก็เหมือนกัน ได้ฝึกอบรมมาเท่าใดก็เข้าไปนอนเนื่องติดอยู่ในสันดานเป็นกุศลเจตสิกอยู่อย่างเดียวกัน รอคอยกันจนกว่าจะครบทุกองค์และมีสัดส่วนพอดีกัน ก็ประชุมกันเป็นอริยมรรคขึ้น ตัดกิเลสหรือสัญโญชน์ให้หมดไปได้คราวหนึ่งตามกำลังหรือชั้นของตน อาการสะสมกำลังแห่งองค์มรรคนี้ตรัสเรียกว่า \"การอบรมทำให้มาก\" สัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำ เกิดขึ้นอ่อนๆก่อน เกิดขึ้นเท่าใดก็จูงองค์อื่นๆ ให้เกิดขึ้นตาม ส่วนองค์ที่เกิดขึ้นนั้นกลับช่วยสัมมาทิฏฐิให้คมกล้าขึ้นไปอีก สัมมาทิฏฐินั้นก็่จูงองค์นั้นๆให้กล้าขึ้นอีก และส่งเสริมชักจูงกันไปอีกทำนองนี้ จนกว่าจะถึงขีดที่เพียงพอและสามัคคีพร้อมกันได้ครบองค์ การอบรมทำให้มากอยู่เสมอนี้เองคือระยะแห่งการปฏิบัติธรรมยิ่งมากก็ยิ่งเร็ว ยิ่งอธิษฐานใจกล้าก็ยิ่งแรง ยิ่งที่วิเวกก็ยิ่งสุขุมลึกซึ้ง ยิ่งชำนาญก็ยิ่งคมกล้า
    --------------------------------------------------------------------------------​
     
  17. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    พี่ใจโพสต์ธรรมะได้ประโยชน์มากค่ะ
    กราบอนุโมทนาบุญนะคะพี่
     
  18. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    สาธุ ๆ ๆ ที่เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นและตนเองมาก ๆ ธรรมะบางบทความที่ได้อ่าน และฟัง..ซาบซึ้ง..ยิ่งพิจารณา..ยิ่งถูกต้องตามพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้..ก็เพียรศึกษา ๆ ๆ ไปจนกว่าจะดับขันธ์นะคะ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 พฤศจิกายน 2013
  19. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=CbWGuQUMqo4"]รุ่งอรุณของชีวิต พระอาจารย์ ไพศาล วิสาโล 1 [/ame]​
     
  20. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    บทความ > คอลัมน์จิตวิวัฒน์ > ทำผิดเมื่อยึดติดความดี

    มติชนรายวัน วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

    ทำผิดเมื่อยึดติดความดี
    พระไพศาล วิสาโล


    ยุคนี้เป็นยุคที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย หลากหลายแตกต่างทั้งในแง่วิถีชีวิต ทัศนคติ มุมมองและผลประโยชน์ เป็นความแตกต่างที่เกิดขึ้นไม่จำเพาะระหว่างคนที่มีฐานะหรือเศรษฐกิจต่างกันเท่านั้น แม้คนที่มีฐานะหรือเศรษฐกิจเหมือนกัน ก็ยังมีแง่รสนิยม การดำเนินชีวิต และมุมมองที่ต่างกัน คุณค่าบางอย่างที่เราเห็นว่าสำคัญอย่างแน่แท้ เป็นอื่นไปไม่ได้ แต่คนอื่นกลับไม่เห็นเช่นนั้น กลับชื่นชมยึดถือสิ่งที่เราเห็นว่าไร้คุณค่า ไม่น่ายึดถือเลย กลายเป็นเรื่องที่เข้าใจไม่ได้ เห็นเป็นเรื่องผิดเพี้ยนหรือวิปริตไป ถึงกับทับถมดูถูกกัน

    ความหลากหลายแตกต่างดังกล่าว คือความจริงอย่างหนึ่งของโลกทุกวันนี้ที่เราควรเปิดใจยอมรับ เช่นเดียวกับที่ต้องยอมรับว่าความแก่ ความเจ็บ ความพลัดพรากและความตายเป็นความจริงของชีวิตที่เราหนีไม่พ้น หากเราปฏิเสธความจริงแห่งชีวิตดังกล่าว เราก็จะถูกความจริงนั้นตามล่าหลอกหลอนจนหาความสุขได้ยาก ฉันใดก็ฉันนั้น ความจริงของโลก ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราต้องเปิดใจยอมรับและเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันให้ได้ ไม่ใช่ปฏิเสธผลักไสต่อต้านมัน

    อย่างไรก็ตาม การยอมรับความหลากหลายหรือความเห็นต่างของผู้อื่น จะเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง ก็ต่อเมื่อเราวางใจอย่างถูกต้องต่อคุณค่าหรือความคิดที่เรายึดถือด้วย ถ้าหากเรายึดติดถือมั่นมากเกินไป เห็นว่าเป็นความจริงแท้ เราย่อมอดไม่ได้ที่จะดูถูกคนที่ไม่ได้ยึดถือหรือคิดเหมือนเรา ใช่แต่เท่านั้น เมื่อใดที่เราเห็นเขาไม่เคารพสิ่งที่ยึดถือเทิดทูน เราก็จะรู้สึกว่าตัวตนถูกกระทบ หรือรู้สึกถูกละเมิดลบหลู่ จึงง่ายที่จะเกิดความรู้สึกโกรธเกลียดคนผู้นั้น ทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้พูดร้ายหรือจ้วงจาบสิ่งที่เราเคารพเลย ดังที่ชาวพุทธหลายคนอาจจะเคยรู้สึกไม่พอใจเมื่อเห็นเพื่อนชาวคริสต์หรือมุสลิมไม่กราบไหว้พระพุทธรูป ทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้แสดงอาการดูหมิ่นเหยียดหยามเลย แต่แค่เขาไม่กราบไหว้นอบน้อมเหมือนเรา ก็ทำให้เราขุ่นเคืองใจหรือรู้สึกถูกละเมิดเสียแล้ว

    อาการเช่นนั้นเกิดจากอะไร หากไม่ใช่เป็นเพราะเราเอาอัตตาไปผูกติดกับสิ่งเหล่านั้น หรือพูดอีกอย่างคือ ยึดติดถือมั่นว่าสิ่งนั้นเป็นอัตตาหรือตัวตนของเรา เมื่อคนอื่นไม่แสดงอาการเคารพเชิดชูสิ่งนั้น เราจึงรู้สึกว่าตัวตนถูกกระทบ จึงเกิดความทุกข์ ตามมาด้วยความไม่พอใจ ซึ่งหากไม่มีสติรู้ทัน ก็สามารถลุกลามเป็นความโกรธและเกลียด และอาจส่งผลให้มีการกล่าวร้ายหรือทำร้ายกัน

    สิ่งที่ดี มีคุณค่า หากเรายึดติดถือมั่น ก็อาจส่งผลร้ายได้ ดังหลวงพ่อเฟื่อง โชติโก อดีตเจ้าอาวาสวัดธรรมสถิต จ.ระยอง ได้กล่าวไว้อย่างน่าฟังว่า “ถึงความเห็นของเราจะถูก แต่ถ้าเรายึดเข้าไว้ มันก็ผิด” ตัวอย่างเช่น คนที่ทำความดีแล้วยึดติดในความดีนั้น ง่ายมากที่จะเกิดความหลงตนว่าดีกว่าคนอื่น เกิดอาการยกตนข่มท่านและชอบเอาความดีของตนไปตัดสินผู้อื่น เมื่อใดก็ตามที่เห็นคนอื่นไม่ดีเหมือนตนหรือไม่ดีเหมือนที่ตนคิด ก็จะไม่พอใจเขา เห็นเขาเป็นลบทันที คนดีที่ยึดติดความดีของตน จึงกลายเป็นคนที่น่าระอา ไม่น่าคบ หรือเบียดเบียนคนอื่นได้ง่าย

    ประวัติศาสตร์เต็มไปด้วยเรื่องราวของการทำร้ายผู้อื่นในนามของคุณธรรมความดี ยิ่งมีการตีตราหรือแขวนป้ายใครว่าเป็นคนเลว ประพฤติผิดศีลธรรม ด้วยแล้ว ผู้คนก็รู้สึกว่ามีความชอบธรรมที่จะกำจัดเขา หรือใช้วิธีการใด ๆ กับเขาก็ได้ แม้จะเป็นวิธีการที่ฉ้อฉล ทั้งนี้เพื่อเป็นการปกป้องความดี การยึดติดความดี จึงสามารถผลักให้ “คนดี” ทำชั่วได้ง่ายมากในนามของความดี ซึ่งแท้จริงก็คือการทำชั่วเพื่อสนองอัตตาของตนมากกว่า ซองซาร์ จัมยัง เคียนเซ ภิกษุชาวภูฏาน กล่าวเตือนใจได้ดีว่า “ศีลธรรมคืออาหารของอัตตา ทำให้เรากลายเป็นพวกเคร่งศาสนา และตัดสินผู้อื่นซึ่งมีศีลธรรมแตกต่างจากเรา การยึดมั่นในศีลธรรมในแบบฉบับของตนทำให้เราดูถูกผู้อื่น และพยายามจะยัดเยียดศีลธรรมของตนแก่เขาเหล่านั้น แม้มันจะหมายถึงการฉกฉวยเสรีภาพไปจากเขาก็ตาม”

    ความดีที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น ไม่จำต้องเป็นความดีตามหลักศาสนาก็ได้ แม้แต่ความดีตามมาตรฐานของอุดมการณ์ทางโลก ไม่ว่า ชาตินิยม ประชาธิปไตย หรือคอมมิวนิสต์ หากยึดติดถือมั่นก็สามารถผลักดันหรือสนับสนุนให้เราทำสิ่งเลวร้ายได้ ช่วงที่มีการปฏิวัติวัฒนธรรมในประเทศจีน ผู้คนจำนวนไม่น้อยถูกตราหน้าว่าเป็นศัตรูของการปฏิวัติ เพียงเพราะเห็นต่างจากเจ้าหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์ ผลก็คือคนเหล่านี้กลายเป็นคนเลวของรัฐไปทันที ดังนั้น “คนดี” จึงสามารถทำอะไรกับเขาก็ได้ เช่น รุมซ้อมทุบตีเขาก็ได้ ภรรยาของประธานเหมา กล่าวสนับสนุนการกระทำดังกล่าวว่า “เมื่อคนดีทุบตีคนเลว นั่นเป็นสิ่งที่คนเลวสมควรได้รับ”

    กล่าวอีกนัยหนึ่ง เมื่อใดก็ตามที่ตัดสินว่าใครเป็นคนเลว นั่นคือการออกใบอนุญาตให้คนดีมีสิทธิทำอย่างไรกับเขาก็ได้ คนเลวคนผิดจึงมีสิทธิเป็นศูนย์เมื่ออยู่ในมือของคนดี นี้เป็นสิ่งที่ชาวพุทธพึงตระหนักเอาไว้ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังเมื่อจะตัดสินใครว่าเป็นคนเลว คนไม่ดี โดยใช้มาตรฐานทางศีลธรรมของตน เพราะนั่นอาจเปิดช่องให้กิเลสหรือทิฐิมานะครอบงำได้ง่าย กลายเป็นว่าแทนที่จะปกป้องความดี กลับส่งเสริมความชั่วแทน

    การตัดสินว่าใครเป็นคนเลวนั้น มักจะเริ่มต้นจากการแบ่งเขาแบ่งเรา แล้วตีตราแขวนป้ายให้เขา เช่น ทีแรกก็เป็น “แดง” เป็น “เหลือง” จากนั้นก็มีสมญานามอื่น ๆ ตามมาจนสุดท้าย กลายเป็น “ควายแดง” กับ “แมลงสาบ” หรือ “ทุนนิยมสามานย์” กับ “ศักดินาล้าหลัง” ตราหรือป้ายเหล่านี้ ไม่ใช่แค่ถ้อยคำที่ใช้แสดงความดูถูกเหยียดหยามอีกฝ่ายเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อทัศนคติของผู้เรียก ทำให้เห็นแต่ด้านที่เลวร้ายของเขา หรือหลงติดอยู่กับภาพที่ตนเองสร้างขึ้น จนมองไม่เห็นความเป็นมนุษย์ของเขา ถึงตรงนั้นแล้วก็ไม่ยากที่จะทำอะไรกับเขาก็ได้ แม้จะใช้วิธีการที่เลวร้าย ก็ไม่รู้สึกผิด เพราะ “มันเลว จึงไม่สมควรที่จะทำดีกับมัน” หรือเพราะว่า “มันไม่ใช่มนุษย์แล้ว”

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ชื่อย่อมครอบงำสิ่งทั้งปวง สิ่งทั้งปวงที่ยิ่งขึ้นไปกว่าชื่อไม่มี สิ่งทั้งปวงเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคือ ชื่อ” ท่านที่ศึกษาธรรมย่อมตระหนักดีว่า ชื่อที่ใช้เรียกสิ่งต่าง ๆ นั้น แม้เป็นสิ่งสมมุติ แต่ก็สามารถลวงให้เราเชื่อว่ามีตัวตนตามชื่อนั้น หรือมีตัวตนชื่อนั้นจริง ๆ ชื่อหรือสมมุติทำให้เรามองไม่เห็นธรรมชาติแท้จริงของสิ่งต่าง ๆ ที่ไร้ตัวตน ในทำนองเดียวกันเมื่อเราตีตราแขวนป้ายให้แก่คนใดหรือคนกลุ่มใดก็ตาม เราก็มีแนวโน้มที่จะถูกตราหรือป้ายนั้นครอบงำใจ คือเห็นเขาตามชื่อเรียกนั้น จนมองไม่เห็นว่าเขาก็เป็นมนุษย์เหมือนเรา รักสุขเกลียดทุกข์เช่นเดียวกัน และสมควรได้รับการปฏิบัติเยี่ยงมนุษย์เช่นเดียวกับเรา

    ความขัดแย้งจะไม่สิ้นสุดหากต่างฝ่ายต่างมองแบบแบ่งข้างแยกขั้ว ว่า “ฉันดี แกเลว” “ฉันถูก แกผิด” การมองเป็นขาวเป็นดำเช่นนี้ มีแต่จะทำให้เกิดการจองเวรไม่หยุดหย่อน แต่ถ้าทั้งสองฝ่ายหันมาตระหนักว่า ความจริงไม่ได้แบ่งเป็นขาวและดำชัดเจนอย่างนั้น เราก็มีส่วนผิด และเขาก็มีส่วนถูก ความโกรธ เกลียด และกลัว ก็จะลดลง และหันหน้าเข้าหากันได้ง่ายขึ้น แต่จะทำเช่นนั้นได้ก็ต้องคลายความยึดติดถือมั่นในความคิด ความเชื่อ หรือความดีของตน เพราะหากยังยึดติดถือมั่นอย่างเหนียวแน่น ก็จะยอมรับความเห็นต่างได้ยาก และจะรู้สึกขุ่นเคืองใจเพราะตัวตนถูกกระทบ เมื่อพานพบหรือรับรู้ว่ามีคนที่ไม่เห็นดีเห็นงามกับความคิดความเชื่อของเราหรือสิ่งที่เรายกย่องเทิดทูน


    รวบรวมงานเขียนและบทความของพระไพศาล วิสาโล
     

แชร์หน้านี้

Loading...