พอใจรูม

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย ppojai, 3 ตุลาคม 2010.

  1. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    ขอให้รักเท่าเดิม ไม่ต้องร๊ากเท่าฟ้า....
    --------------------------------------
    ของฝากนักร้องค่ะ.. *บุญที่ทำให้เสียงดี*<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1>
    <!-- google_ad_section_start --><SCRIPT language=JavaScript src="http://a.admaxserver.com/servlet/ajrotator/812264/0/vj?z=admaxasia2&dim=280733&pid=f9495e6b-a541-414e-932e-d0ad5d5e6065&asid=871aa1a6-3e72-4cdc-b7bc-7b296a0f7713"></SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript><!--google_ad_client = "ca-pub-6037698954609520";/* 300x250, created 21/07/09 */google_ad_slot = "3472486526";google_ad_width = 300;google_ad_height = 250;//--></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20111026/r20110914/show_ads_impl.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><IFRAME id=google_ads_frame1 name=google_ads_frame1 marginWidth=0 marginHeight=0 src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/ads?client=ca-pub-6037698954609520&output=html&h=250&slotname=3472486526&w=300&lmt=1320574479&ea=0&flash=11.0.1.129&url=http%3A%2F%2Fpalungjit.org%2Ff18%2F%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B0-*%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B5*-55120.html%23post5313825&dt=1320574479340&shv=r20111026&jsv=r20110914&saldr=1&correlator=1320574479355&frm=4&adk=2725027874&ga_vid=2027937851.1316683638&ga_sid=1320569398&ga_hid=153517086&ga_fc=1&ga_wpids=UA-7034934-1&u_tz=420&u_his=0&u_java=1&u_h=600&u_w=800&u_ah=570&u_aw=800&u_cd=32&u_nplug=0&u_nmime=0&dff=verdana&dfs=16&adx=-2&ady=-2&biw=771&bih=399&ref=http%3A%2F%2Fpalungjit.org%2F&fu=0&ifi=1&dtd=234" frameBorder=0 width=300 scrolling=no height=250 allowTransparency></IFRAME><NOSCRIPT></NOSCRIPT>
    ที่มา : ดังตฤณวิสัชนา

    [​IMG]ถาม – บุญที่ทำให้เสียงดีมีอะไรบ้างคะ?

    มีวจีสุจริตเป็นสำคัญครับ วจีสุจริตคือเจตนาเลือกคำที่เป็นประโยชน์ไม่เป็นโทษต่อผู้อื่น หรือเจตนาบริสุทธิ์ที่จะทำให้ผู้ฟังสบายใจ แยกเป็นประเภทได้ ๔ คือ

    ๑) เว้นจากการพูดเท็จ เลือกกล่าวแต่คำที่เป็นจริง ตรงจริง ผลที่เห็นได้ทั้งปัจจุบันและอนาคตคือความหนักแน่นของน้ำเสียง เพราะการเลือกที่จะพูดความจริงในสถานการณ์ที่น่าโกหกเอาตัวรอดนั้น ถือเป็นการ ‘เข้าข้าง’ สัจจะความจริง พลังแห่งสัจจะความจริงย่อมย้อนมาเข้าถึงตัว เข้าถึงใจ และเข้าถึงน้ำเสียง หากเป็นผู้เว้นจากการพูดเท็จได้ตลอดชีวิต ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งมั่นในการไม่โกหก เงากรรมจะตามตัวไปปรุงแต่งแก้วเสียงให้หนักแน่นในชาติถัดไปด้วย

    ๒) เว้นจากการพูดส่อเสียด เลือกกล่าวแต่คำที่ทำให้ผู้ฟังสบายใจ คำที่ทำให้คนมองกันในทางดี คำที่ทำให้หมู่คณะเกิดความสมัครสมานสามัคคี ผลที่เห็นได้ทั้งปัจจุบันและอนาคตคือความนุ่มนวลของน้ำเสียง เพราะการเลือกที่จะพูดออมชอมเพื่อความปรองดองขณะอยู่ในสถานการณ์น่าพูดทิ่มแทงให้เกิดความแตกร้าวนั้น จิตจะปรุงแต่งไปในทางราบรื่นเหมือนคนปรุงอาหารให้รสกลมกล่อม หากเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียดได้ตลอดชีวิต ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งมั่นในการไม่นินทาว่าร้าย ไม่เป็นผู้ก่อความเจ็บใจด้วยคำพูด เงากรรมจะตามตัวไปปรุงแต่งแก้วเสียงให้นุ่มนวลในชาติถัดไปด้วย

    ๓) เว้นจากการพูดหยาบ เลือกกล่าวแต่คำที่สุภาพ ด้วยเจตนาจะทำให้ผู้ฟังรื่นหู ผลที่เห็นได้ทั้งปัจจุบันและอนาคตคือความไพเราะของน้ำเสียง ยิ่งถ้าหากผูกประโยคให้ฟังสละสลวย รู้จักคำมาก ฉลาดเลือกคำให้ฟังดี ไพเราะแบบไม่ขาดไม่เกิน ก็จะยิ่งปรุงแต่งให้แก้วเสียงเพราะพริ้งยิ่งๆขึ้น หากเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดหยาบคายได้ตลอดชีวิต ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งมั่นในการเป็นคนสุภาพ ไม่เป็นผู้ก่อความระคายโสตด้วยวาจาอัปมงคล เงากรรมจะตามตัวไปปรุงแต่งให้กังวานเสียงสดใสในชาติถัดไปด้วย

    ๔) เว้นจากการพูดพล่ามเพ้อเจ้อ เลือกกล่าวแต่คำที่ก่อให้เกิดสติ เมื่อคุณพูดอย่างมีสติ กระแสสติของคุณย่อมช่วยให้ผู้ฟังพลอยเกิดสติตามไปด้วย ยิ่งถ้าเป็นไปด้วยเจตนาให้สติแก่คนอื่นอยู่เนืองๆ ผลอันเป็นสติก็ย่อมตกแก่คุณอย่างแจ่มชัด ความมีสติจะปรุงแต่งเสียงให้คมชัด กล่าวถ้อยคำต่างๆได้ชัดเจนแม้จะเป็นภาษาที่ยากแก่การออกเสียง หากเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดพล่ามเพ้อเจ้อได้ตลอดชีวิต ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งมั่นในการเป็นคนมีสติในการเจรจา ไม่เป็นผู้ก่อความฟุ้งซ่านให้ตนเองและใครๆด้วยวาจาเลื่อนลอยหาสาระมิได้ เงากรรมจะตามตัวไปปรุงแต่งแก้วเสียงให้คมชัด เป็นกังวานทรงพลังและมีความน่าเชื่อถือยิ่งในชาติถัดไปด้วย

    นอกจากวจีสุจริตข้างต้นแล้ว ยังมีกรรมทางวาจาอื่นๆที่เป็นปัจจัยแก่คุณภาพเสียง เช่น

    ๑) ป่าวร้องชวนคนไปฟังธรรม สมัยก่อนเมื่อถึงเวลาพระพุทธเจ้าแสดงธรรม จะมีธรรมเนียมซึ่งกลุ่มคนประเภทหนึ่งชอบทำกัน นั่นคือร้องเรียกคนในบ้าน หรือร้องเรียกญาติมิตรในบ้านใกล้เรือนเคียง ทำนอง ‘เจ้าข้าเอ๊ย! พระพุทธเจ้าจะแสดงธรรมแล้ว พวกเราไปฟังกันเพื่อประโยชน์ในชาตินี้และชาติหน้ากันเถอะ’ การชักชวนด้วยวาจาด้วยเสียงคะยั้นคะยออันเจือด้วยความปรารถนาดีทำนองนี้ จะทำให้เป็นผู้มีแก้วเสียงที่ดังได้ตามปรารถนา คืออยากพูดให้ค่อยก็ได้ อยากพูดให้ดังไปทั้งคุ้งน้ำก็ได้

    คนพวกนี้พอเกิดใหม่มักมีเสียงเป็นเสน่ห์ดึงดูดความสนใจได้เฉียบพลัน เรียกชื่อใครคนนั้นสะท้านไหวได้ถึงจิตถึงใจ ถ้าอยากจับความสนใจของคนหมู่มากก็แค่กำหนดเปล่งเสียงให้กว้างไกล หรืออยากคุมทิศทางผู้คนหมู่มากก็แค่ส่งพลังเสียงสะกดหน่อยเดียว พวกนี้จึงง่ายต่อการเป็นผู้มีอัตตาสูงด้วยการใช้เสียง ภูมิใจในเสียง หรืออาจถึงขั้นเชื่อมั่นในตนเองเกินเหตุ และมักอยากให้ผู้คนในวงกว้างได้ยินเสียงอันทรงพลังเปี่ยมประกาศิตของตน

    ๒) รักษาสัจจะยิ่งชีพ ปากกับใจตรงกัน พูดคำไหนเป็นคำนั้น ประกาศคำใดแล้วไม่ถอนคำเด็ดขาด จะเป็นเหตุให้มีเสียงประกาศิต กับทั้งเกิดญาณหยั่งรู้ว่าคำใดกล่าวได้ คำใดกล่าวไม่ได้ เรื่องใดจะเกิดบางทีพูดออกมาได้เองตามความเหมาะสม จึงเหมือนเป็นผู้ที่พูดแช่งหรืออวยพรใครแล้วปรากฏผลตามนั้นเสมอ

    นอกจากนั้นพวกที่รักษาสัตย์จนเกิดพลังภายใน บางทีก็มีจริงนะครับที่สามารถใช้วาจาเป็นอาวุธได้ คล้ายนักกล้ามที่ฝึกยกน้ำหนักจนกล้ามเนื้อโตผิดผู้ผิดคน ย่อมยกของที่คนทั่วไปยกไม่ไหว หรือออกแรงทำอะไรที่ไม่มีใครเชื่อว่ามนุษย์ทำได้ พอโกรธใครแล้วฟาดคำแช่งเปรี้ยงไปที่ใคร คนนั้นอาจเคราะห์ร้ายตามคำแช่งหรือใกล้เคียงคำแช่งได้ ขึ้นอยู่กับว่าคนถูกแช่งมีบุญคุ้มอยู่แค่ไหน หากบุญน้อยกว่าก็แย่หน่อย เหมือนนักเรียนประถมถูกรุ่นพี่มัธยมตบเบาะๆก็คว่ำคะมำ หากบุญเสมอกันก็อาจไม่เกิดอะไรขึ้น เหมือนคนแรงเท่ากันงัดข้อก็กินกันลงยาก แต่หากบุญมากกว่า คนแช่งนั่นแหละจะซวยเป็นทวีคูณ เหมือนนักมวยผอมแห้งแรงน้อยหาญกล้าไปชกกับนักมวยปล้ำร่างยักษ์

    อย่างไรก็ต้องเข้าใจอย่างถูกต้องด้วยนะครับ ผู้แช่งย่อมได้ชื่อว่ากล่าววาจาอันประกอบด้วยโทสะ ผลของการมีโทสะรุนแรงเป็นอย่างไร ผู้แช่งย่อมได้รับผลเช่นนั้น ไม่ว่าจะเป็นความเร่าร้อนภายในหรือความเดือดร้อนที่ภายนอก และยิ่งจะเผ็ดร้อนรุนแรงกว่าคนทั่วไปที่ปราศจากวาจาสิทธิ์เป็นสิบเป็นร้อยเท่า ส่วนผู้อวยพรย่อมได้ชื่อว่ากล่าววาจาอันประกอบด้วยเมตตา ผลย่อมเป็นตรงข้ามคือเย็นทั้งนอกทั้งใน ไม่รู้จักความเดือดเนื้อร้อนใจได้ง่ายนัก

    ๓) สอนด้วยเสียง เมื่อมีความรู้ มีความเข้าใจใดๆ แล้วเกิดความปรารถนาดี ใคร่อยากให้ผู้อื่นรู้ตาม แล้วถ่ายทอดให้ผู้อื่นโดยไม่หวงแหน ฉลาดเลือกคำผูกประโยคให้ฟังง่าย เข้าใจเร็ว จะมีผลให้น้ำเสียงฟังขลัง ฟังศักดิ์สิทธิ์

    ระหว่างสอนทางโลกกับสอนทางธรรม สอนทางธรรมจะปรุงแต่งน้ำเสียงให้ฟังขลังกว่า มีความศักดิ์สิทธิ์มากกว่า แต่จะเห็นชัดในชาติถัดไป นับจากเมื่อรู้ความและพูดเป็น คำพูดจะฟังน่าทึ่ง ชวนให้ผู้ใหญ่ฉงน เมื่อเติบใหญ่ขึ้นจะมีคุณลักษณ์เกี่ยวกับเสียงดีพร้อมทุกแง่ทุกมุม เป็นใหญ่เหนือวิบากที่มาจากวจีสุจริตทุกชนิด

    เนื่องจากเสียงเป็นรูปธรรมชนิดหนึ่ง เพราะมีต้นแหล่งเช่นปากคอเป็นรูปธรรม ฉะนั้นนอกจากเรื่องของกรรมวิบากแล้ว ยังมีเรื่องของรูปธรรมด้วยกันเป็นเหตุปัจจัยสนับสนุนหรือส่งเสริมคุณภาพได้ เช่นดื่มน้ำอุ่น น้ำมะนาว น้ำมะขามป้อม และผลไม้รสเปรี้ยวทั้งหลาย

    อ้อ! การฝึกพูดธรรมดาๆ ถ้าหากก่อให้เกิดสติ รู้จักจังหวะจะโคน ฝึกกระดกลิ้นออกเสียงควบกล้ำชัดๆ ตัวสติและความถูกต้องในการออกเสียงก็มีส่วนปรุงเสียงให้น่าฟังขึ้นได้เหมือนกันนะครับ แม้สติไม่อาจปรุงแต่งแก้วเสียงให้ใสกิ๊กได้เท่าวิบากทางวจีสุจริต แต่อย่างน้อยก็ทำให้ดีขึ้นแบบทันตาเห็นได้แล้ว

    <CENTER>[​IMG] [​IMG] [​IMG]</CENTER>

    [​IMG]ถาม – กรรมอะไรที่ทำให้ผมเป็นคนที่มีเสียงไม่เพราะ เสียงอู้อี้อยู่ในลำคอ พูดจาไม่ชัด ทำให้สื่อสารกับคนไม่ค่อยรู้เรื่อง ฟังแล้วไม่เป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งๆที่มีข้อมูลและความรู้ในเรื่องที่จะพูด และมีวิธีอะไรที่จะทำให้เสียงเราดีขึ้นบ้างครับ?

    ทั้งรูปปาก ลิ้น และแก้วเสียง อันเป็นส่วนประกอบของการเปล่งวาจานั้น เป็นวิบากที่เกิดจากวจีกรรมทั้งหมดทั้งสิ้นแหละครับ ยิ่งหากโดยรวมแล้วคุณมีปัจจัยที่ทำให้เสียงไม่เพราะ พูดไม่ชัด ก็สันนิษฐานได้โดยไม่ต้องใช้ญาณใดๆเลย คุณเคยเป็นผู้เคยประกอบวจีทุจริตไว้มากแน่นอน นี่ว่ากันตามเนื้อผ้านะครับ อย่าไปเสียใจกับตัวตนที่ลืมไปแล้วในอดีตชาติเลย มาดูและแจกแจงกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องกันดีกว่า

    วจีทุจริตมีอยู่ ๔ จำพวกใหญ่ๆ ซึ่งก็เป็นตรงข้ามกับวจีสุจริตที่ผมตอบคำถามข้างบนไป หากประกอบวจีทุจริตเป็นประจำ ภายในไม่กี่เดือนหรือไม่กี่ปีจะเริ่มสำแดงผลในชาติปัจจุบัน และถ้าทำไปจนตาย ก็จะให้ผลชัดเจนในชาติถัดมา (ไม่ว่าจะเกิดเป็นมนุษย์หรืออะไรอื่น) แจกแจงวิบากได้ดังนี้

    ๑) มักพูดเท็จ พระพุทธเจ้าตรัสว่าวิบากอย่างเบาคือเป็นผู้ถูกกล่าวตู่ ถูกใส่ไคล้ อันนี้อธิบายได้ว่าพลังสัจจะหรือพลังแห่งความจริงนั้นมีความยิ่งใหญ่ ถ้าคิดทำให้ความจริงบิดเบี้ยวด้วยคำพูด ความบิดเบี้ยวนั้นก็จะย้อนกลับมาลงโทษในหลากหลายรูปแบบ นับเริ่มจากการโดนใส่ไคล้ให้ชีวิตเกิดความบิดเบี้ยว

    เมื่อกล่าวถึงวิบากเกี่ยวกับเสียง แม้เคยเสียงดีๆก็ต้องมีอันให้คุณภาพบิดเบี้ยวหรือด้อยลงจากของจริงเดิมๆ ขอแจกแจงเป็นรายละเอียดดังนี้

    หากโกหกแบบไม่เต็มใจและยังมีความละอาย ผลในปัจจุบันคือจะเป็นคนพูดจาขาดน้ำหนัก ฟังไม่ค่อยน่าเลื่อมใส เหมือนขาดความมั่นใจ เช่นพนักงานขายบางคนที่ต้องฝืนโกหกเป็นประจำ ทั้งที่พื้นเดิมไม่ใช่พวกชอบบิดเบือนความจริง

    หากปั้นน้ำเป็นตัวได้หน้าตาเฉย ผลคือเสียงจะฟังเข้มหรือห้วนผิดปกติ พูดจริงคนก็นึกว่าหลอก พูดด้วยความตั้งใจดีคนก็เข้าใจผิดนึกว่าคิดร้าย ไม่ได้ฝืนใจก็เหมือนฝืนใจ อยากพูดปลอบคนเขาก็กลับนึกว่าแกล้งเยาะเย้ย อยากพูดให้เขาดีกันคนก็นึกว่าเสแสร้งแกล้งยุแยงตะแคงรั่วแบบแยบยลเหนือเมฆ ฯลฯ พวกโป้ปดมดเท็จได้หน้าตาเฉยนี้ได้ชื่อว่าทำกรรมหนักแน่นเป็นอาจิณถึงขั้นปั้นหน้าในชาติต่อไปให้ดูโกงๆได้แล้วด้วย ถ้าเป็นดาราก็โดนเขาคัดตัวให้เป็นวายร้ายอย่างแน่นอน

    ๒) มักพูดส่อเสียด พระพุทธเจ้าตรัสว่าวิบากอย่างเบาคือมักแตกคอกับเพื่อน เมื่อกล่าวถึงวิบากเกี่ยวกับเสียง ก็จำแนกเป็นรายละเอียดได้ดังนี้

    หากเห็นการนินทาลับหลังเป็นของสนุก ก็จะทำให้น้ำเสียงฟังขาดเมตตาลงเรื่อยๆ ฟังแล้วไม่น่าชื่นใจ แม้เดิมมีคุณภาพเสียงสดใสชวนรื่นหูก็ตาม บางคนพูดด่าคนอื่นทุกวันจนน้ำเสียงที่เคยขลังขาดความขลังไปได้อย่างน่าเสียดาย

    หากคนเขาอยู่ดีๆก็ไปยุแยงตะแคงรั่วให้เขาบาดหมางกัน หรือชอบใช้คำพูดเป็นชนวนความแตกร้าวของหมู่คณะ จะทำให้เสียงฟังกร้าว แม้ภายนอกดูดีก็เหมือนแฝงความเหี้ยมโหดไม่น่าปลอดภัยให้รู้สึกได้

    หากชมชอบการทิ่มแทงคนฟังขณะกำลังโกรธ จะทำให้เสียงดุร้ายเหมือนหาเรื่อง แม้พยายามพูดดีๆ คนก็รู้สึกเหมือนจะตั้งท่าเป็นศัตรู ถ้าทิ่มแทงคนดีมีศีลสัตย์ให้ช้ำใจหรือเสียหายเป็นประจำ ก็มีผลกับรูปปาก อาจบิดเบี้ยวน่าเกลียด ขยับปากพูดลำบาก แม้รูปปากดีเสียงก็อาจฟังไม่ชัด บางคนเห็นผลหนักชนิดนี้ได้ในชาติปัจจุบันทีเดียว ทางแพทย์อาจอธิบายสาเหตุเป็นต่างๆนานา แต่เจ้าตัวอาจสำนึกรู้สึกทีเดียวว่าตนพูดจาให้ร้ายแก่ผู้ทรงคุณเข้า

    ๓) มักพูดหยาบคาย พระพุทธเจ้าตรัสว่าวิบากอย่างเบาคือสุ้มเสียงไม่น่าฟัง เสียงไม่น่าฟังก็อย่างเช่นที่เราคุ้นๆกัน คือกร้าวกระด้าง แหบแห้ง หรืออย่างน้อยที่สุดแม้ไม่เหมือนแย่ตรงไหน ก็แย่ตรงที่ฟังแล้วรู้สึกแย่นั่นเอง

    หากพูดหยาบด้วยความเคยชิน ไม่ได้คิดประทุษร้าย จะทำให้หางเสียงเหมือนออกไปทางกร้าวทั้งที่อาจไม่ใช่คนก้าวร้าว

    หากพูดหยาบด้วยจิตคิดประทุษร้าย จะทำให้เสียงแข็งกระด้างไม่น่าฟัง แม้พยายามพูดให้อ่อนหวานก็ฟังรำคาญหู

    ๔) มักพูดเพ้อเจ้อ พระพุทธเจ้าตรัสว่าวิบากอย่างเบาคือทำให้เป็นคนพูดจาไม่น่าเชื่อถือ คุณคงเคยมีประสบการณ์มาบ้าง เห็นคนบางคนพูดแล้วทุกคนในที่นั้นอยากเบือนหน้าหนีโดยไม่นัดหมาย บางคนนี่เข้าขั้นหนักขนาดพูดทุกทีคนหันหน้าหนีทุกที ลองดูเถอะว่าคนๆนั้นชอบพูดจาไร้สติ นึกอยากพูดอะไรก็สักแต่พูดไหม นี่เป็นวิบากซึ่งไม่จำเป็นต้องรอดูชาติหน้ากันเลย

    หากพูดเพ้อเจ้อด้วยความคะนองแต่ยังพอมีสติอยู่บ้าง ผลคือทำให้เสียงเหมือนหลอกๆ ฟังแล้วขาดๆเกินๆ เชื่อได้บ้าง เชื่อไม่ได้บ้าง

    หากพูดแบบไหลไปเรื่อย คือเรื่อยเปื่อยจนฟุ้งซ่านจัด จะทำให้สุ้มเสียงเหมือนคนสับสน พร้อมพูดจาวกวน คนฟังได้ยินแล้วพลอยฟุ้งซ่านตาม จึงไม่มีใครอยากทนฟังให้จบ

    ขอให้เข้าใจว่าพูดเพ้อเจ้อนั้นเฉียดๆกัน แต่ไม่เชิงว่าหมายถึงการพูดเล่นพูดหัวระหว่างคนกันเองเพื่อหัวเราะเอาสนุก การพูดเล่นที่ประกอบไปด้วยสติ รู้จักกาลเทศะ ไม่หยาบโลนดึงใจลงต่ำ เป็นสิ่งที่ทำได้โดยไม่เป็นพิษภัย และไม่ต้องรับผลแบบคนพูดพล่ามเพ้อเจ้อเป็นนิสัย

    เพื่อจะปรับปรุงเรื่องเสียงและน้ำหนักความน่าเชื่อถือ ทางที่ดีที่สุดคือต้องตั้งใจมั่นว่าจะมีแต่วจีสุจริต งดเว้นวจีทุจริตให้หมด กับทั้งต้องรักษาความตั้งใจด้วยความหนักแน่นต่อเนื่องยาวนานพอสมควร

    ทางลัดหนึ่งซึ่งคนที่ลองจะประจักษ์ผลได้ในเวลาไม่กี่วัน คือฝึกสติระลึกรู้การเปล่งเสียงสวดมนต์ให้ชัดๆ บทอิติปิโสฯก็มีรูปคำที่เปล่งเสียงแล้วช่วยเกื้อกูลได้มาก ยิ่งถ้าหากคุณศรัทธาพระพุทธเจ้าหนักแน่นอยู่เป็นทุน ก็จะพบความจริงคือเสียงที่มากับศรัทธาเป็นเสียงที่ฟังเพราะเสมอ หากสวดอิติปิโสฯด้วยใจศรัทธา มีสติอยู่กับทุกถ้อยคำ เพียงเดือนหรือสองเดือนจะพบว่าคุณภาพเสียงดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตาครับ

    <CENTER>[​IMG] [​IMG] [​IMG]</CENTER>



     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 พฤศจิกายน 2011
  2. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    (k)เลือก สีน้ำเงินจ้า ๆ ๆ
     
  3. pimapinya

    pimapinya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2010
    โพสต์:
    883
    ค่าพลัง:
    +2,044

    ความทุกข์ 2 ประเภท......

    [​IMG]

    คนเราเกิดมาไม่ว่าจะยากดีมีจนอย่างไรก็ยังต้องทุกข์ แม้จะเป็นเศรษฐีพันล้านหมื่นล้านหรือผู้มีอำนาจระดับโลก ก็ยังหนีไม่พ้นความทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นทุกข์ทางกายหรือทุกข์ทางใจ ต่างต้องเคยประสบมาบ้างไม่มากก็น้อย จนพูดได้ว่า ความทุกข์กับมนุษย์เป็นของคู่กัน

    แม้ความทุกข์ของคนเราจะมีสารพัดสารพัน แต่ก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ ความทุกข์ที่เกิดจากผลของกรรม กับ
    ความทุกข์ที่เกิดจากกิเลส

    ความทุกข์ที่เกิดจากผลของกรรมหมายถึง การให้ผลของอกุศลกรรมที่ได้ทำไว้ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นชาตินี้หรือชาติก่อนๆ เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมก็ให้ผล ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ที่เป็นรูปธรรม เช่น เกิดมามีร่างกายพิกลพิการ หรือเป็นโรคอื่นๆในภายหลัง ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานตามแต่กรรมที่ได้ทำไว้ ส่วนการให้ผลที่เป็นนามธรรม เช่น การได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้กระทบสัมผัสกับสิ่งที่ไม่น่าพอใจ ทำให้เกิดความไม่สบายกายไม่สบายใจได้

    ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับความทุกข์อันเกิดจากผลของกรรม หากรู้จักพิจารณาโดยแยบคายแล้ว (โยนิโสมนสิการ) โดยรู้ว่าความทุกข์ที่ตนได้รับเป็นเพียงวิบากกรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งให้ผลแล้วก็หมดไป จึงไม่โอดครวญหรือน้อยใจในโชควาสนา จนต้องเป็นทุกข์ซ้ำสองเพราะความคิดอีก

    ส่วนความทุกข์ที่เกิดจากกิเลสหมายถึง ความทุกข์ที่เกิดจากความติดข้องต้องการ (โลภะ) และความไม่ชอบไม่พอใจเมื่อไม่เป็นไปตามที่ตนต้องการ (โทสะ) ความทุกข์ประเภทนี้พอจะหลีกเลี่ยงได้ เช่น ผู้ที่มีความสันโดษรู้จักพอ ย่อมไม่ต้องเป็นทุกข์เพราะความอยากได้เงินทองสิ่งของหรือลาภยส ผู้ที่มีเมตตาย่อมไม่เป็นทุกข์เพราะคำพูดและการกระทำที่ไม่ดีของผู้อื่นเป็นต้น

    เราจะเห็นได้ว่า ความทุกข์ทั้งสองประเภทสามารถบรรเทาลงได้ หากเราเข้าใจในเหตุและผล เข้าใจเรื่องกรรม เข้าใจในสภาพธรรม ฯลฯ มากน้อยตามกำลังปัญญาและการสั่งสมบุญบารมีของแต่ละคน












    สำหรับความรู้ความเข้าใจในพระธรรม ขอกราบขอบพระคุณ :
    - อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์
    - มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
    -
    www.dhammahome.com

    ขอบคุณรูปประกอบจาก
    Google.co.th


     
  4. อรชร

    อรชร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +11,465
  5. อรชร

    อรชร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +11,465
  6. อรชร

    อรชร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +11,465
    เอา...เฟอร์นิเจอร์ มาให้พี่ใจ...แต่งห้องค่ะ
    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  7. pimapinya

    pimapinya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2010
    โพสต์:
    883
    ค่าพลัง:
    +2,044
    <!-- -->
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=icon width=24>[​IMG]</TD><TD class=cattitle>ต้นแอปเปิ้ล</TD><TD class=itemsubsub></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" align=center><TBODY><TR bgColor=#ffffcc><TD vAlign=center> </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 bgColor=#f5f5f5 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top>
    นานมาแล้ว มีต้นแอปเปิ้ลใหญ่อยู่ต้นนึง
    และก็มีเด็กผู้ชายตัวเล็กๆ คนนึง
    ชอบเข้ามาอยู่ใกล้ๆและเล่นรอบๆต้นไม้นี้ทุกๆวัน

    เขาปีนขึ้นไปบนยอดของต้นไม้ และก็กินผลแอปเปิ้ล
    และก็นอนหลับไปภายใต้ร่มเงาของต้นแอปเปิ้ล
    เขารักต้นไม้ และต้นไม้ก็รักเขา
    เวลาผ่านไป เด็กน้อยโตขึ้น และเขาไม่มาวิ่งเล่นรอบๆต้นไม้ทุกวันอีกแล้ว
    วันหนึ่ง เด็กน้อย กลับมาหาต้นไม้ เด็กน้อยดูเศร้า
    "มาหาฉัน และมาเล่นกับฉันเหรอ" ต้นไม้ถาม
    "ฉันไม่ใช่เด็กเล็กๆแล้วนะ ฉันไม่อยากเล่นรอบๆต้นไม้อีกแล้ว
    ฉันต้องการของเล่น ฉันอยากได้เงินไปซื้อของเล่น" เด็กน้อยตอบ

    "ฉันไม่มีเงินจะให้ ....เก็บลูกแอปเปิ้ลของฉันไปขายสิ
    เพื่อเอาเงินไปซื้อของเล่น " ต้นไม้ตอบ

    เด็กน้อยตื่นเต้นมาก เขาเก็บลูกแอปเปิ้ลไปหมด และจากไปอย่างมีความสุข
    หลังจากเขาเก็บแอปเปิลไปหมดแล้ว เขาไม่กลับมาหาต้นไม้อีกเลย
    ต้นไม้ดูเศร้า......
    วันหนึ่ง เด็กน้อยกลับมา เขาดูโตขึ้น
    ต้นไม้รู้สึกตื่นเต้นมาก


    "มาหาฉัน และมาเล่นกับฉันเหรอ" ต้นไม้ถาม

    "ฉันไม่มีเวลามาเล่นหรอก ฉันมีครอบครัวแล้ว
    ฉันต้องทำงานเพื่อครอบครัวของฉันเอง
    เราต้องการบ้าน ช่วยฉันได้ไหม"

    "ฉันไม่มีบ้านจะให้ แต่... ตัดกิ่งก้านของฉันไปสิ ....เอาไปสร้างบ้าน"
    ดังนั้นเด็กน้อยตัดกิ่งก้านทั้งหมดของต้นไม้ไป และจากไปอย่างมีความสุข
    อีกครั้งที่ต้นไม้ถูกทิ้งให้เดียวดาย และเศร้า....
    วันหนึ่งในฤดูร้อน เด็กน้อยกลับมา ต้นไม้ดีใจมาก
    "มาหาฉัน และมาเล่นกับฉันเหรอ" ต้นไม้ถาม
    "เปล่า ฉันรู้สึกผิดหวังกับชีวิต และเริ่มแก่ขึ้น
    ฉันอยากแล่นเรือไปพักผ่อนไกลๆ ให้เรือฉันได้ไหม"

    "ใช้ลำต้นของฉันได้ เอาไปสร้างเรือ เพื่อเธอจะได้เล่นเรือไปและมีความสุข"
    ต้นไม้ตอบ

    ดังนั้น เด็กน้อยตัดลำต้นของต้นไม้ไปสร้างเรือ
    เขาล่องเรือไป และไม่เคยกลับมาอีกเลย

    หลายปีผ่านไป ในที่สุดเด็กน้อยกลับมา
    คราวนี้เขาดูแก่ลงไปมาก

    "ฉันเสียใจ ฉันไม่เหลืออะไรจะให้อีกแล้ว
    ไม่มีผลแอปเปิ้ลให้ ....
    ฉันไม่มีลำต้นให้ปีนอีกแล้ว"

    "ฉันไม่มีฟันจะกินแล้ว
    ฉันปีนไม่ไหว และฉันก็แก่แล้ว" เด็กน้อยตอบ
    "ฉันไม่มีอะไรเหลือให้อีกแล้ว สิ่งเดียวที่เหลือ มีเพียงรากที่กำลังจะตาย"
    "ตอนนี้ฉันไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว แค่อยากได้ที่พักพิง ฉันเหนื่อยมาหลายปีแล้ว"

    "รากของต้นไม้แก่ๆ จะเป็นที่พักพิงของหนูได้
    ...... มาสิ นั่งลงข้างๆฉัน ...หลับให้สบาย....."

    เด็กน้อยนั่งลงข้างๆ ต้นไม้ดีใจ ยิ้ม...และน้ำตาไหล........
    นี่เป็นเรื่องสำหรับทุกๆคน ต้นไม้ในเรื่องคือพ่อแม่
    เมื่อเราเป็นเด็กตัวเล็กๆ เรารักที่จะเล่นกับพ่อกับแม่...
    เมื่อเราโตขึ้น เราทอดทิ้งพ่อ และแม่ และกลับมาหาท่าน
    เมื่อเราต้องการบางสิ่งบางอย่าง หรือเมื่อเรามีปัญหา

    ไม่ว่าอย่างไร...พ่อ และแม่ของเราก็จะอยู่และให้ทุกสิ่งอย่างที่ท่านทำได้
    หวังเพียงเรามีความสุข

    คุณอาจจะคิดว่า "เด็กน้อย" ในเรื่องโหดร้าย
    แต่นั่นคือความจริงที่สะท้อนให้เห็นว่าพวกเราทำกับผู้มีพระคุณอย่างไร?

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 bgColor=#f5f5f5 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD class=A2 vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 bgColor=#f5f5f5 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <!-- -->








    <!-- -->
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=icon width=24></TD><TD class=cattitle></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. อรชร

    อรชร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +11,465
    [​IMG]

    สุดยอด...บทความ

    ดีมากมาย...เลยค่ะ
     
  9. อรชร

    อรชร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +11,465
  10. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    "ตอนนี้ฉันไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว แค่อยากได้ที่พักพิง ฉันเหนื่อยมาหลายปีแล้ว"

    "รากของต้นไม้แก่ๆ จะเป็นที่พักพิงของหนูได้
    ...... มาสิ นั่งลงข้างๆฉัน ...หลับให้สบาย....."

    ซึ้งจ๊ะ นู่พิมพ์..คิดถึงแม่จัง งานก็ยุ้ง ยุ่ง อีลุงตุงนัง
     
  11. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [​IMG] เหนื่อยนักก็หยุดพักนอนสักหน่อยนะคะน้องน้อยทั้ง 2 รักและคิดถึงเสมอค่ะ ....
     
  12. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
  13. อรชร

    อรชร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +11,465
  14. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
  15. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    <TABLE class=toc id=toc><TBODY><TR><TD>เนื้อหา

    [ซ่อน]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [แก้] ประวัติ

    [แก้] บริบท

    ขุนวิจิตรมาตราบันทึกไว้ในหนังสือเรื่องของละครและเพลง ว่าเพลงลูกทุ่งเป็นวงดนตรีแบบสากลที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปีหรือสองปี ลักษณะเพลงลูกทุ่งในระยะเริ่มแรก มาจากการร้องรำทำเพลงของไทยดั้งเดิม อาทิ แหล่เทศน์ สวดคฤหัสถ์ จำอวด ลิเก (ทรงเครื่อง) ลิเกลูกหมด (ไม่แต่งเครื่อง) ลิเกบันตน ลำตัด เพลงขอทาน เพลงพื้นเมืองบางเพลง ฯลฯ โดยเพลงลูกทุ่งนำมาดัดแปลงแล้วใส่ดนตรีแบบสากล เป็นลักษณะเพลงแบบใหม่
    วิวัฒนาการเพลงลูกทุ่งกล่าวได้ว่ามาจาก เพลงที่มีเนื้อร้องแบบกลอนแปด จะร้องสลับกับการเอื้อนทำนอง แต่ละเพลงจะมีความต่อเนื่องเป็นเพลงเถา ตับ ชั้น เช่น 2 ชั้น 3 ชั้น ฯ และมีความยาวพอสมควร เพลงมักจะเริ่มจากช้าไปหาเร็ว ต่อมาเพลงได้ถูกพัฒนา เป็นเพลงประกอบรำจนถึงเข้าเรื่องละคร และเนื่องจากมีความยาวเกินไปจึงพัฒนาให้กระชับลง โดยใส่คำร้องในทำนองเอื้อน เรียกว่า เนื้อเต็ม นาฏกรรมจากวรรณคดี เช่น โขน ละครร้องของเจ้านายในราชสำนัก ได้รับความนิยมในหมู่เจ้านายวังหน้า วังหลัง หรือนอกวัง การแสดงแบบคลาสสิค ก็ถูกปรับให้เข้ากับชาวบ้านจากโขน ละคร มาเป็นหนังสด ลิเก<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.99.E0.B9.88.E0.B8.B2.E0.B8.88.E0.B8.B0.E0.B9.80.E0.B8.9B.E0.B9.87.E0.B8.99.E0.B8.97.E0.B8.B5.E0.B9.88.E0.B8.A1.E0.B8.B2_1_3-0>[4]</SUP>
    ลิเกได้ถูกประยุกต์พัฒนา ให้เชื่อมโยงศิลปะการแสดงพื้นบ้านท้องถิ่นต่าง ๆ มาผสมผสานกัน ลิเกนั้นมักใช้ภาษาพูดจากหนังสือราชการ ใช้ราชาศัพท์จากเวียงวังในการแสดง ลิเกถือว่าเป็น “รากร่วมของศิลปวัฒนธรรมเพลงลูกทุ่งไทยอย่างแท้จริง” โดยก่อนหน้าที่จะถูกยอมรับว่าเป็น “เพลงลูกทุ่ง” นั้น เพลงจากไทยเดิม จากละครวรรณคดี ในยุคที่ขาดแคลนภาพยนตร์ ละครเวทีจึงได้รับความนิยมแทน ลักษณะละครเวทีสมัยใหม่ จะมีการร้องเพลงสลับฉาก วงที่เกิดและดังอยู่ตัวมาก่อนก็คือ “สุนทราภรณ์”<SUP class=reference id=cite_ref-4>[5]</SUP> อันเป็นวงดนตรีราชการของกรมโฆษณาการ ที่มีครูเอื้อ ครูแก้ว สร้างเพลง และเพลงในยุคนั้น ราชการให้เรียกเพลงไทย(เดิม)และเพลงไทยสากล
    ส่วนคำว่า "เพลงลูกทุ่ง" อาจารย์จำนง รังสิกุล คิดประดิษฐ์ขึ้นใช้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 เพลงลูกทุ่งมีความชัดเจนจากเพลงลูกกรุงโดยประกอบ ไชยพิพัฒน์ จัดรายการเพลงสถานีไทย โทรทัศน์ ใช้ชื่อรายการว่า "เพลงลูกทุ่ง"
    การจัดประกวดเพลงแผ่นดินทองคำครั้งแรกโดย “ป. วรานนท์” กับทีมวิทยุกองพล 1 โดยโกชัย เสมา ชำนาญ ฯลฯ ร่วมจัด จึงได้มีรางวัลเพลง “แผ่นเสียงทองคำพระราชทาน” เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ปี พ.ศ. 2507 ในครั้งเริ่มต้นมีแต่ประเภทลูกกรุง สุเทพ สวลี ได้รับรางวัลไปครองครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2509 ได้มีการเพิ่มหมวดหมู่ลูกทุ่งขึ้น โดย “สมยศ ทัศนพันธ์” เป็นคนแรกชนะด้วยเพลง “ช่อทิพย์รวมทอง” <SUP class=reference id=cite_ref-5>[6]</SUP>
    ถ้าจะนับปีกำเนิดของเพลงแรกที่ควรถือเป็นต้นกำเนิด “แนวลูกทุ่ง” ก็น่าจะถือเอาเพลง “ขวัญของเรียม” แต่มีบางหลักฐานบันทึกไว้ว่าเพลงแรก คือเพลง "โอ้เจ้าสาวชาวไร่" ผลงานประพันธ์ทำนองและคำร้องของ ครูเหม เวชกร เมื่อ พ.ศ. 2481 ขับร้องโดย คำรณ สัมบุญณานนท์ เป็นเพลงประกอบละครวิทยุเรื่องสาวชาวไร่<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.84.E0.B8.AD.E0.B8.A5.E0.B8.B1.E0.B8.A1.E0.B8.99.E0.B9.8C_.E0.B8.A3.E0.B8.B9.E0.B9.89.E0.B9.84.E0.B8.9B.E0.B9.82.E0.B8.A1.E0.B9.89.E0.B8.94_1-1>[2]</SUP> ส่วนนักร้องลูกทุ่งคนแรก สมควรยกให้ “คำรณ สัมบุณณานนท์”<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.99.E0.B9.88.E0.B8.B2.E0.B8.88.E0.B8.B0.E0.B9.80.E0.B8.9B.E0.B9.87.E0.B8.99.E0.B8.97.E0.B8.B5.E0.B9.88.E0.B8.A1.E0.B8.B2_1_3-1>[4]</SUP>
    [แก้] เพลงลูกทุ่งยุคแรก

    [​IMG]
    สุรพล สมบัติเจริญ นักร้องเพลงลูกทุ่งยุคแรก


    ในยุคแรก ๆ เพลงลูกทุ่งและลูกกรุงยังถือว่าเป็นเพลงกลุ่มเดียวกัน ยังไม่มีการแยกประเภทออกจากกัน มีนักร้องเพลงไทยสากลได้ร้องเพลงประเภทที่มีสาระบรรยายถึงชีวิตชาวชนบท หนุ่มสาวบ้านนา และความยากจน โดยรู้จักกันในชื่อ "เพลงตลาด" หรือ "เพลงชีวิต" โดยส่วนใหญ่นักร้องเพลงตลาดหลายท่านจะประพันธ์เพลงเองด้วย อาทิ ไพบูลย์ บุตรขัน ชะลอ ไตรตรองสอน พยงค์ มุกดา มงคล อมาตยกุล เบ็ญจมินทร์ (ตุ้มทอง โชคชนะ) สุรพล สมบัติเจริญ ฯลฯ เป็นต้น ส่วนวงดนตรีที่เด่น ๆ ของเพลงแนวนี้ได้แก่ วงดนตรี “จุฬารัตน์” ของมงคล อมาตยกุล วงดนตรี “พยงค์ มุกดา” และ วงดนตรี “สุรพล สมบัติเจริญ” นับได้ว่าวงดนตรีทั้งสามนี้เป็นแหล่งก่อกำเนิดแยกตัวเป็นวงดนตรีเพลงลูกทุ่งจำนวนมากในเวลาต่อมา
    ในระยะแรกที่ยังไม่เรียกกันว่า “นักร้องลูกทุ่ง” นักร้องชายที่มีชื่อเสียง เช่น คำรณ สัมบุณณานนท์ ชาญ เย็นแข นิยม มารยาท ก้าน แก้วสุพรรณ ชัยชนะ บุญนะโชติ ทูล ทองใจ ฯลฯ ส่วนนักร้องหญิงที่มีชื่อเสียงเด่น ได้แก่ ผ่องศรี วรนุช ศรีสอางค์ ตรีเนตร
    เมื่อปลายปี พ.ศ. 2507 เพลงลูกทุ่งเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นนับตั้งแต่ ประกอบ ไชยพิพัฒน์ นักจัดรายการเพลงทางสถานีไทยโทรทัศน์ได้ตั้งชื่อรายการว่า “เพลงลูกทุ่ง” และต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 มีการจัดงานแผ่นเสียงทองคำพระราชทานในครั้งที่สอง ได้มีการพิจารณาการมอบรางวัลเพลงลูกทุ่งเพิ่ม โดยได้กำหนดความหมายของเพลงประกวดประเภท ค. (ลูกทุ่งหรือพื้นเมือง) ไว้ว่า คือ "เพลงที่มีลีลาการบรรเลงตลอดจนเนื้อร้อง ทำนองเพลงและการขับร้องไปในแนวเพลงพื้น จะเป็นทำนองเพลงผสมหรือดัดแปลงมาจากทำนองเพลงไทยภาคต่าง ๆ ซึ่งเรียกเพลงประเภทนี้ว่า “ลูกทุ่ง” "<SUP class=reference id=cite_ref-6>[7]</SUP> ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการมอบรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานในฐานะนักร้องลูกทุ่งชายยอดเยี่ยม โดย สมยศ ทัศนพันธ์ ได้รับรางวัลจากเพลง “ช่อทิพย์รวงทอง”<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.A7.E0.B8.B4.E0.B8.A7.E0.B8.B1.E0.B8.92.E0.B8.99.E0.B8.B2.E0.B8.81.E0.B8.B2.E0.B8.A3.E0.B9.81.E0.B8.A5.E0.B8.B0.E0.B8.AD.E0.B8.87.E0.B8.84.E0.B9.8C.E0.B8.9B.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.81.E0.B8.AD.E0.B8.9A_.281.29_7-0>[8]</SUP>
    [แก้] ยุคทองของเพลงลูกทุ่ง

    สุรพล สมบัติเจริญ ได้ทำให้เพลงลูกทุ่งอยู่ในความนิยม ด้วยเอกลักษณ์ ลีลา และ รูปแบบเฉพาะตัว อีกทั้งยังแต่งเพลงร้องเองเป็นส่วนใหญ่ เขาเริ่มชีวิตการร้องเพลงจากกองดุริยางค์ทหารอากาศ<SUP class=reference id=cite_ref-8>[9]</SUP> สุรพลชอบใช้เพลงจังหวะรำวงในเพลงที่เขาแต่ง ผลงานเพลงของเขามีลีลาสนุกสนานครึกครื้นเป็นส่วนใหญ่ เช่น เพลงเสียวไส้ เพลงของปลอม ฯลฯ
    ยุคของสุรพล สมบัติเจริญ อาจกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่เพลงลูกทุ่งพัฒนามาถึงจุดสุดยอด เป็นยุคทองของเพลงลูกทุ่ง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2506 –2513 ในช่วงนี้ สุรพล สมบัติเจริญ ได้ออกผลงานเพลงลูกทุ่งออกมาเป็นจำนวนมากมาย นักแต่งเพลงรุ่นนี้สืบทอดการแต่งเพลงมาจากครูเพลงในยุคต้น ตัวอย่างเช่นพีระ ตรีบุปผา เป็นศิษย์ของสมยศ ทัศนพันธ์ ส่วนศิษย์ของวงดนตรีจุฬารัตน์ ได้แก่ พร ภิรมย์ สุชาติ เทียนทอง และชาย เมืองสิงห์ นักแต่งเพลงที่สำคัญท่านอื่น ๆ อาทิ เพลิน พรหมแดน จิ๋ว พิจิตร สำเนียง ม่วงทอง ฉลอง การะเกด ชาญชัย บัวบังศรี สมเสียร พานทอง ฯลฯ
    เจนภพ จบกระบวนวรรณ กล่าวไว้ในหนังสือ ดวลเพลงลูกทุ่ง ว่า “เพลงลูกทุ่งเฟื่องฟูสุดขีดในยุคสมัยของครูสุรพล สมบัติเจริญ (ประมาณปี 2504-2511) และหลังจากครูสุรพลถูกลอบยิงตายในขณะที่ชื่อเสียงกำลังเกรียงไกร หลังจากนั้นเพลงลูกทุ่งก็พุ่งขึ้นสู่ความนิยมชมชอบของผู้คนทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นชนบทหรือในเมือง” <SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.81.E0.B8.B3.E0.B9.80.E0.B8.99.E0.B8.B4.E0.B8.94.E0.B8.AB.E0.B8.B2.E0.B8.87.E0.B9.80.E0.B8.84.E0.B8.A3.E0.B8.B7.E0.B9.88.E0.B8.AD.E0.B8.87.E0.B8.A5.E0.B8.B9.E0.B8.81.E0.B8.97.E0.B8.B8.E0.B9.88.E0.B8.87.E0.B9.84.E0.B8.97.E0.B8.A2_9-0>[10]</SUP>
    และยังมีนักร้องลูกทุ่งเกิดขึ้นใหม่หลายคน นักร้องเด่นของยุคนี้ได้แก่ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เพลิน พรหมแดน พร ภิรมย์ ชาย เมืองสิงห์ ศรคีรี ศรีประจวบ ก้าน แก้วสุพรรณ ไพรวัลย์ ลูกเพชร ผ่องศรี วรนุช สุชาติ เทียนทอง ฯลฯ<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.A7.E0.B8.B4.E0.B8.A7.E0.B8.B1.E0.B8.92.E0.B8.99.E0.B8.B2.E0.B8.81.E0.B8.B2.E0.B8.A3.E0.B9.81.E0.B8.A5.E0.B8.B0.E0.B8.AD.E0.B8.87.E0.B8.84.E0.B9.8C.E0.B8.9B.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.81.E0.B8.AD.E0.B8.9A_.281.29_7-1>[8]</SUP>
    [แก้] ยุคแห่งการแข่งขัน

    [​IMG]
    ภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักลูกทุ่ง นำแสดงโดยมิตร ชัยบัญชาและเพชรา เชาวราษฎร์ กำกับโดยรังสี ทัศนพยัคฆ์


    ในช่วงปี พ.ศ. 2513–2515 ในวงการเพลงลูกทุ่งเองก็มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ทั้งยังเกิดการแข่งขันระหว่างเพลงลูกกรุงและเพลงลูกทุ่งสูง นักแต่งเพลงพยายามสร้างเอกลักษณ์ประจำตัวของนักร้องแต่ละคน มีนักร้องเพลงลูกทุ่งบางคนได้สู่บทบาทการแสดงภาพยนตร์ บางคนถึงแสดงเป็นตัวเอกโดยเฉพาะในภาพยนตร์เพลง ภาพยนตร์บางเรื่องนำเพลงลูกทุ่งมาประกอบเป็นเพลงเอก อย่างเช่นเรื่องมนต์รักลูกทุ่ง ประสบความสำเร็จ ทำรายได้เป็นอย่างดี นำแสดงโดยพระเอกขวัญใจในยุคนั้นคือ มิตร ชัยบัญชา เพลงเอกชื่อเดียวกับภาพยนตร์ประพันธ์โดย ไพบูลย์ บุตรขัน ภาพยนตร์เรื่องนี้มีนักร้องเพลงลูกทุ่งร่วมแสดงด้วย ได้แก่ บุปผา สายชล โดยขับร้องเพลงดังในภาพยนตร์ชื่อ สาวคอยคู่
    เมื่อภาพยนตร์เรื่องมนต์รักลูกทุ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ทำให้มีการสร้างภาพยนตร์โดยมีการแสดงเพลงลูกทุ่งประกอบอีกหลายเรื่องในลักษณะเดียวกัน อาจเรียกได้ว่าเป็น "ยุคของภาพยนตร์เพลงลูกทุ่ง" นักร้องที่เกิดจากภาพยนตร์แนวนี้และโด่งดังในวงการเพลงลูกทุ่งต่อมา ได้แก่ สังข์ทอง สีใส โดยเป็นผู้ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง โทน และแสดงคู่กับพระเอกไชยา สุริยัน นักร้องคนอื่น เช่น ระพิน ภูไท เสกศักดิ์ ภู่กันทอง ศรคีรี ศรีประจวบ สมัย อ่อนวงศ์ พนม นพพร ยุพิน แพรทอง ชาตรี ศรีชล กาเหว่า เสียงทอง กังวานไพร ลูกเพชร ฯลฯ และยังสร้างนักแต่งเพลงให้ประสบความสำเร็จในช่วงนี้ อาทิ กานท์ การุณวงศ์ ฉลอง ภู่สว่าง ช. คำชะอี พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา สุรินทร์ ภาคศิริ ฯลฯ<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.A7.E0.B8.B4.E0.B8.A7.E0.B8.B1.E0.B8.92.E0.B8.99.E0.B8.B2.E0.B8.81.E0.B8.B2.E0.B8.A3.E0.B9.81.E0.B8.A5.E0.B8.B0.E0.B8.AD.E0.B8.87.E0.B8.84.E0.B9.8C.E0.B8.9B.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.81.E0.B8.AD.E0.B8.9A_.281.29_7-2>[8]</SUP>
    วงการดนตรีลูกทุ่งมีการประชันขันแข่งสูงมาก ซอยบุปผาสวรรค์เริ่มกลายมาเป็นชุมชนคนลูกทุ่งในช่วงนี้เองหลังจาก เพลิน พรหมแดน ย้ายเข้ามาอยู่เป็นคนแรกเมื่อปี 2512<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.81.E0.B8.B3.E0.B9.80.E0.B8.99.E0.B8.B4.E0.B8.94.E0.B8.AB.E0.B8.B2.E0.B8.87.E0.B9.80.E0.B8.84.E0.B8.A3.E0.B8.B7.E0.B9.88.E0.B8.AD.E0.B8.87.E0.B8.A5.E0.B8.B9.E0.B8.81.E0.B8.97.E0.B8.B8.E0.B9.88.E0.B8.87.E0.B9.84.E0.B8.97.E0.B8.A2_9-1>[10]</SUP>
    [แก้] เพลงลูกทุ่งยุคเพลงเพื่อชีวิตและการเมือง

    หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยอย่างกว้างขวาง ในวงการเพลงเกิดวงดนตรีแนวที่เรียกว่า “เพลงเพื่อชีวิต” ส่วนเพลงลูกทุ่งก็อยู่ในยุคเพลงเพื่อชีวิตเช่นกัน เนื้อหาเพลงลูกทุ่ง ได้สอดแทรกเนื้อหาเพลงเพื่อชีวิต โดยในยุคนั้นมีเพลงลูกทุ่งเพื่อชีวิตเป็นจำนวนมาก นักร้องเพลงลูกทุ่งมักกล่าวถึงชีวิตชนบทและความยากจนค่นแค้นอยู่แล้ว เนื้อหาจะเน้นปัญหาชาวไร่ชาวนาและกรรมกรให้โดดเด่นมากยิ่งขึ้น เพลงลูกทุ่งในยุคนั้นเช่น เพลงข้าวไม่มีขาย หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน เสียนาเสียนาง เราคนจน โอ้ชาวนา ฯลฯ
    ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2516–2519 ได้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ในวงการเพลงลูกทุ่ง คือ การร้องเพลงล้อเลียนการเมือง เพลงเหล่านี้มักเป็นการร้องเพลงลูกทุ่งผสมบทพูด แฝงแง่คิดหรือการวิพากษ์วิจารณ์ไว้อย่างคมคาย และสร้างความบันเทิงขำขันให้แก่ผู้ฟัง ผู้ที่แต่งเพลงแนวนี้ไว้เป็นจำนวนมาก ได้แก่ สงเคราะห์ สมัตถภาพงษ์ ซึ่งส่วนใหญ่ขับร้องโดย เพลิน พรหมแดน ตัวอย่างเช่น เพลงกำนันผันเงิน พรรกระสอบหาเสียง ฯลฯ นักแต่งเพลงท่านอื่น ๆ ที่ประสบความสำเร็จสูงในยุคนี้ได้แก่ ชลธี ธารทอง ธงชัย เล็กกำพล โผผิน พรสุพรรณ สดใส ร่มโพธิ์ทอง กู้เกียรติ นครสวรรค์
    นักแต่งเพลงส่วนใหญ่จะแต่งเพลงส่วนใหญ่ให้กับนักร้องเป็นรายบุคคลไป ส่วนนักร้องมักมีวงดนตรีของตนเอง ตลอดจนผลิตแผ่นเสียงหรือบันทึกเทปจำหน่ายเอง นักร้องที่มีชื่อเสียงในช่วงนี้ได้แก่ สายัณห์ สัญญา ศรเพชร ศรสุพรรณ สัญญา พรนารายณ์ บานเย็น รากแก่น น้ำอ้อย พรวิเชียร ฯลฯ เป็นต้น
    หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เพลงลูกทุ่งแนวเพื่อชีวิตก็ซาลง บทเพลงมีเนื้อหากลับมาบรรยายเรื่องของความรัก ความเศร้า และความงามของสาวชาวไร่ชาวนาเช่นเดิม เช่น เพลงรักสาวชาวไร่ น้ำตาชายเหนือ สิ้นทางรัก ฯลฯ และยิ่งเมื่อเศรษฐกิจพัฒนารุดหน้ามากขึ้น ก่อให้เกิดการย้ายถิ่นฐานประกอบอาชีพของชาวชนบทเข้าสู่เมืองหลวง บทเพลงลูกทุ่งสะท้อนชีวิตและปัญหาของบุคคลเหล่านี้ซึ่งประกอบอาชีพเป็นสาวใช้ สาวบาร์ หมอนวด กรรมกร ลูกจ้าง ตลอดจนไปขายแรงงานในกลุ่มประเทศอาหรับ เช่น เพลงฉันทนาที่รัก พาร์ทเนอร์เบอร์ห้า สาวโรงทอรอรัก หนุ่มกระเป๋า ไอ้หนุ่มรถตุ๊กตุ๊ก ฯลฯ<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.A7.E0.B8.B4.E0.B8.A7.E0.B8.B1.E0.B8.92.E0.B8.99.E0.B8.B2.E0.B8.81.E0.B8.B2.E0.B8.A3.E0.B9.81.E0.B8.A5.E0.B8.B0.E0.B8.AD.E0.B8.87.E0.B8.84.E0.B9.8C.E0.B8.9B.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.81.E0.B8.AD.E0.B8.9A_.282.29_10-0>[11]</SUP>
    [แก้] ปรากฏการณ์ใหม่ในวิวัฒนาการของเพลงลูกทุ่ง

    [​IMG]
    พุ่มพวง ดวงจันทร์ ราชินีเพลงลูกทุ่ง


    ในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2520–2528 วงการเพลงลูกทุ่งและลูกกรุงได้กำเนิด นักร้องเป็นจำนวนมาก วงดนตรีเพลงลูกทุ่งได้เข้าสู่ระบบทุนมากขึ้น มีการแสดงเพลงลูกทุ่งมีการประกวดประชันการเต้นและเครื่องแต่งกายของหางเครื่องประกอบด้วย นักแต่งเพลงแนวลูกทุ่งในช่วงเวลานี้ เช่น ชลธี ธารทอง ฉลอง ภู่สว่าง คัมภีร์ แสงทองวิเชียร คำเจริญ ชัยพร เมืองสุพรรณ สุชาติ เทียนทอง ชวนชัย ฉิมพะวงศ์ ดอย อินทนนท์ ดาว บ้านดอน ฯลฯ
    นักร้องชายที่อยู่ในความนิยม เช่น สายัณห์ สัญญา เกรียงไกร กรุงสยาม สุรชัย สมบัติเจริญ ยอดรัก สลักใจ ศรชัย เมฆวิเชียร ศรเพชร ศรสุพรรณ พร ไพรสณฑ์ ฯลฯ
    นักร้องเพลงลูกทุ่งหญิงที่ได้รับการขนานนามว่าราชินีลูกทุ่งในยุคนี้คือ พุ่มพวง ดวงจันทร์ นักร้องหญิงที่ได้รับความนิยมนอกจากพุ่มพวงได้แก่ นันทิดา แก้วบัวสาย ดาวใต้ เมืองตรัง หงษ์ทอง ดาวอุดร สดศรี พรหมเสกสรร อ้อยทิพย์ ปัญญาธรณ์ ฯลฯ
    ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา เกิดแฟชั่นการแสดงคอนเสิร์ตของนักร้องแนวสตริง ซึ่งเป็นผลให้มีการแสดงคอนเสิร์ตขึ้นในวงการเพลงลูกทุ่งด้วย พุ่มพวง ดวงจันทร์ ได้จัดการแสดงคอนเสิร์ตได้รับความนิยมอย่างสูง จัดขึ้นประมาณกลางปี พ.ศ. 2529 ที่เซ็นทรัลพลาซ่า ในขณะที่เพลง กระแซะ ของเธอมีความโด่งดังอย่างมาก<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.A7.E0.B8.B4.E0.B8.A7.E0.B8.B1.E0.B8.92.E0.B8.99.E0.B8.B2.E0.B8.81.E0.B8.B2.E0.B8.A3.E0.B9.81.E0.B8.A5.E0.B8.B0.E0.B8.AD.E0.B8.87.E0.B8.84.E0.B9.8C.E0.B8.9B.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.81.E0.B8.AD.E0.B8.9A_.282.29_10-1>[11]</SUP>
    ในช่วงปี 2531-2535 เป็นช่วงที่ซบเซาสำหรับวงการเพลงลูกทุ่ง เพราะช่วงนี้เพลงสตริงสมัยใหม่ และวัฒนธรรมทางดนตรีจากต่างชาติ เข้าหลั่งไหลทะลักมา ทำให้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ ๆ สำหรับวงการเพลงสตริง แต่เพลงลูกทุ่ง กลับไม่ค่อยมีอะไรใหม่ ๆ จนกระทั่ง มีบทเพลง ๆ หนึ่ง ที่ทำให้ลูกทุ่งฟื้นคืนชีพใหม่ และสง่างามมาได้คือ "สมศรี 1992" ของ "ยิ่งยง ยอดบัวงาม" เลยเกิดกระแสเพลงลูกทุ่งลุกฮือขึ้นมาอีกครั้ง ในปี 2535 และช่วงเวลาเดียวกัน ก็เกิดเพลงผสมผสาน ลูกทุ่ง+สตริง มาในสมัยนี้ แต่เรียกเพลงสไตล์นี้ว่า "เพลงร่วมสมัย" เพราะยังติดคำร้องลูกทุ่ง แต่ทำนอง และดนตรี จะออกเหมือนเพลงจีน ๆ คำร้อง สไตล์เมียน้อย เมียเก็บ เช่นเพลง "ทางใหม่" ของ "นิตยา บุญสูงเนิน" แต่ดูโดยรวมลักษณะ ก็ไม่ใช่เพลงลูกทุ่ง และไม่ใช่เพลงสตริงวัยรุ่น และปี 2538-2542 เพลงลูกทุ่ง เริ่มมีการผสมผสานหลากหลายมากขึ้น จนสไตล์ แท้ ๆ แบบลูกทุ่งชาวบ้าน แทบเลือนหายไป
    [แก้] เพลงลูกทุ่งในปัจจุบัน

    ในปัจจุบัน ตั้งแต่ปี 2541 มีศิลปินลูกทุ่งหน้าใหม่เข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่งของค่ายเพลงหน้าใหม่<SUP class=reference id=cite_ref-11>[12]</SUP> ตลาดเพลงลูกทุ่งเป็นตลาดใหญ่ เพลงลูกทุ่งได้รับความนิยมอีกครั้ง เนื่องมาจาก ได้มีการทำละครมนต์รักลูกทุ่งของอาร์เอส และฮิตติดตลาด ต่อมากับการกลับเข้ามาแจ้งเกิดของ ก๊อด จักรพรรณ์ อาบครบุรี กับอัลบั้มเพลงที่นำเพลงเก่ามาทำใหม่ เพลงลูกทุ่งชุดสองที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มนักฟังเพลงรุ่นใหม่ในกรุงเทพฯ และการเกิดขึ้นของเพลงลูกทุ่งในคลื่นเอฟเอ็ม นำทีมบริหารโดย วิทยา ศุภพรโอภาส นอกจากนี้ยังมีศิลปินแนวสตริงและแนวเพื่อชีวิตหลายคนที่หันมาทำเพลงลูกทุ่งทดแทนการอิ่มตัวที่จะสามารถอยู่ในวงการอย่าง ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง ต้อม เรนโบว์ เทียรี่ เมฆวัฒนา เป็นต้น<SUP class=reference id=cite_ref-12>[13]</SUP>
    ในยุคก่อนเพลงลูกทุ่งจะเปิดเฉพาะในคลื่นเอเอ็มเท่านั้น ในปัจจุบันทีวีก็เริ่มเปิดกว้างมากขึ้น เกมโชว์เอานักร้องเพลงลูกทุ่งไปเล่น ภาพยนตร์ ละครเอาลูกทุ่งไปเล่น และกลายเป็นธุรกิจกลุ่มใหญ่ขึ้น
    ครูเพลงบางคนถึงกับกล่าวว่า เพลงลูกทุ่งในสมัยนี้ไม่เหมือนเดิม เพราะขาดเอกลักษณ์ของการขึ้นต้น เรื่องราวตรงกลาง และตอนจบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดสัมผัสนอก-ใน ตลอดจนการเปรียบเทียบ<SUP class=reference id=cite_ref-13>[14]</SUP> ส่วนเนื้อหาของเพลงไปทางล้ำเส้นศีลธรรม เพลงในทำนองนี้อย่างเช่นเพลง "เด็กมันยั่ว" ของยอดรัก "อกหักซ้ำเฒ่า" ของ ไกรสร เรืองศรี "เรียกพี่ได้ไหม" ของ เสรีย์ รุ่งสว่าง<SUP class=reference id=cite_ref-14>[15]</SUP>
    [แก้] องค์ประกอบของเพลงลูกทุ่ง

    [แก้] ทำนองและจังหวะ

    [​IMG]
    ในภาคอีสานนิยมใช้ทำนองเพลงของหมอลำ


    มีเพลงลูกทุ่งหลายเพลงได้ดัดแปลงจากเพลงไทยเดิม ยังคงทำนองเดิมแต่ตัดการเอื้อนแบบเพลงไทยเดิมออกและใส่คำร้องลงไปแทนที่ ส่วนทำนองก็มาจากเพลงพื้นบ้าน พื้นเมืองของทุก ๆ ภาค อย่างภาคกลางใช้ทำนองเพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงลำตัด เพลงกลองยาว เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว ฯลฯ ภาคอีสานจะใช้ทำนองเพลงลำหรือหมอลำและเซิ้ง ทำนองลำที่นิยมในเพลงลูกทุ่ง ได้แก่ ลำเต้ย ลำเพลิน ลำสารวัน ส่วนทำนองเพลงเซิ้งนิยมเป็นเซิ้งบ้องไฟ
    เพลงลูกทุ่งมักมีการนำทำนองจากการขับร้องลิเกและทำนองเพลงแหล่มาใช้ การใช้ทำนองเพลงลิเกซึ่งเป็นมหรสพพื้นบ้านโบราณของไทยมักไม่ใช้ทำนองเพลงลิเกโดด ๆ แต่จะนำมาผสมผสานกับทำนองเพลงสากลด้วย ส่วนทำนองเพลงแหล่ ที่เป็นการแสดงธรรมเทศนา เพลงลูกทุ่งนำมาใช้ในสองลักษณะ คือ ใช้ทำนองเพลงแหล่ตลอดทั้งเพลง และใช้ทำนองแหล่ผสมกับทำนองลิเกหรือกับทำนองเพลงสากล สำหรับนักร้องเพลงลูกทุ่งที่ร้องเพลงทำนองแหล่ที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ พร ภิรมย์ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ และชินกร ไกรลาศ และหลังจากที่พร ภิรมย์ เข้าสู่สมณเพศแล้วก็คงเหลือแต่ไวพจน์และชินกรเท่านั้นที่มีชื่อเสียงในการร้องเพลงทำนองแหล่มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งทั้งสองท่านมีชื่อเสียงด้านทำขวัญนาคอีกด้วย
    การโห่ เป็นลักษณะอีกประการหนึ่งที่พบได้บ่อยครั้ง มีสองลักษณะคือ การโห่แบบไทยและการโห่แบบตะวันตก การโห่แบบไทยปรากฏในเพลงที่มีเนื้อหากล่าวถึงการบวชนาค การแห่ขันหมาก คือเป็นการโห่ประกอบขบวน จะร้องว่า “โห่……. (ฮิ้ว) ” และอาจพบในเพลงที่เอ่ยถึงการแห่วงดนตรีด้วย เช่น รุ่งเพชร แหลมสิงห์ ร้องโห่ในเพลง "ยกพลรุ่งเพชร"
    “โห่โดรีโฮ” การโห่แบบนี้ในเพลงลูกทุ่งแสดงถึงอิทธิพลจากเพลงลูกทุ่งตะวันตก คือมีลักษณะการโห่ การผิวปาก และการกู่ตะโกน แบบหนุ่มโคบาลหรือคาวบอยในทุ่งหญ้า เพลงลูกทุ่งไทยที่ใช้การโห่แบบตะวันตกนี้ มักพรรณนาชื่นชมบรรยากาศความงามและความสงบของธรรมชาติท้องทุ่งเช่นเดียวกัน สร้างบรรยากาศที่สนุกสนาน
    ยังมีผู้แต่งเพลงลูกทุ่งบางท่านนำเอาทำนองเพลงต่างชาติเข้ามาเป็นส่วนประกอบในเพลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำนองเพลงของชาติในเอเซียที่เกี่ยวข้องหรือคุ้นเคยกับคนไทย เช่น จีน อินเดีย ลาว ญี่ปุ่น เกาหลี<SUP class=reference id=cite_ref-15>[16]</SUP>
    [แก้] คำร้อง

    ในแง่การใช้ภาษา ภาษาที่ใช้ในเพลงลูกทุ่งมีสองรูปแบบคือภาษามาตรฐานและภาษาชาวบ้าน ภาษามาตรฐานมักจะใช้กับเพลงลูกทุ่งที่กล่าวถึงเรื่องราวนิทานชาดก นิทานเกี่ยวกับพุทธประวัติ ตลอดจนวรรณคดีลายลักษณ์ของไทย เช่น อิเหนา รามเกียรติ์ กากี พระลอ ฯลฯ ที่มีลักษณะคำร้อยกรอง มีความงดงามของภาษา นอกจากนี้เพลงลูกทุ่งที่ใช้ภาษาใช้ภาษาหนังสือตามแบบแผน จะพรรณาชมธรรมชาติ ชีวิตอันสุขสงบในชนบท ความรักของหนุ่มสาว ความงามของสาว
    เพลงลูกทุ่งโดยส่วนมากจะใช้ภาษาชาวบ้าน ภาษาที่ใช้ในเพลงลูกทุ่งจึงเป็นภาษาพื้น ๆ แบบชาวบ้านทั่วไป ง่ายต่อการเข้าใจ สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของชาวชนบท เนื่องจากผู้ที่ฟังเพลงลูกทุ่งมักเป็นชาวบ้านและชาวชนบท กอปรทั้งผู้แต่งเพลงลูกทุ่งส่วนใหญ่มักมีพื้นเพมาจากชนบท มีการศึกษาน้อย
    การร้องเพลงลูกทุ่งบางเพลงยังใช้คำร้องและศัพท์สำนวนที่เป็นของท้องถิ่น เช่น สำเนียงสุพรรณบุรี และสำเนียงถิ่นภาคต่าง ๆ อย่าง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคอีสานอีกด้วย การขับร้องด้วยสำเนียงถิ่นต่าง ๆ นี้เป็นลักษณะเฉพาะของเพลงลูกทุ่ง เมื่อเทียบกับเพลงลูกกรุง กล่าวคือนักร้องเพลงลูกกรุงจะออกเสียงให้ตรงตามวรรณยุกต์ของภาษามาตรฐาน ส่วนนักร้องเพลงลูกทุ่งมักออกเสียงเพี้ยนไปจากเสียงวรรณยุกต์ของภาษามาตรฐาน และนักร้องบางคนยังมีสำเนียงที่ติดมากับตัว มีทั้งเจตนาที่จะเพี้ยนเสียงเพื่อสร้างความรู้สึกให้เป็นชนบทถิ่นนั้น ๆ ตามที่ต้องการ นักร้องเพลงลูกทุ่งที่มีการร้องแบบเพี้ยนสำเนียง เช่น ชาย เมืองสิงห์ รุ่งเพชร แหลมสิงห์ ศรคีรี ศรีประจวบ ศรเพชร ศรสุพรรณ สายัณห์ สัญญา จีระพันธ์ วีระพงษ์ ฯลฯ เป็นต้น
    ส่วนสาระของคำร้องในเพลงลูกทุ่งนั้นมีคุณค่าเกี่ยวกับสังคมไทยและวิถีชีวิตของชาวชนบทไทยอย่างกว้างขวาง เพลงลูกทุ่งสะท้อนให้เห็นความผูกพันอันแนบแน่นของชาวชนบทกับขนบธรรมเนียมประเพณี ความยึดมั่นในพุทธศาสนา และความเชื่อเรื่องบุญกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีรวมที่เพลงลูกทุ่งกล่าวถึง ได้แก่ สงกรานต์ เข้าพรรษา การอุปสมบท ออกพรรษา การทอดกฐิน การทอดผ้าป่า ลอยกระทง การหมั้น การแต่งงาน ตลอดจนงานศพ ส่วนขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นที่ปรากฏในเพลงลูกทุ่ง ได้แก่ การถวายขวัญข้าว การเล่นเพลงพื้นบ้าน การเล่นกลองยาว งานบุญพระเวศ บุญบั้งไฟ งานชักพร
    นอกจากสะท้อนถึงสังคมไทยและวิถีชีวิตยังมีเนื้อหาบรรยายถึงสภาพแวดล้อมธรรมชาติของชนบทไทย การประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ท้องทุ่ง ไร่นา แม่น้ำ ต้นไม้ สัตว์ต่าง ๆ ตลอดจนสายลม แสงแดด แสงจันทร์ ดวงดาว ฯลฯ ประชากรที่กล่าวถึงในเพลงมักเป็นชาวชนบทหรือไม่ก็คนยาก คนจน บรรยายถึงความรัก การประกอบอาชีพ ลักษณะบ้านเรือนที่อยู่อาศัย การแต่งกาย การบริโภคอาหาร สิ่งบันเทิง และในบางครั้งเพลงลูกทุ่งสะท้อนถึงระบบความเชื่อและระบบค่านิยมของประชากรเหล่านี้ อาทิ ความเชื่อในไสยศาสตร์และโหราศาสตร์ ค่านิยมเกี่ยวกับสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ค่านิยมเชิงวัตถุในเรื่องความร่ำรวยและทรัพย์สมบัติ ค่านิยมในฐานันดรภาพและอำนาจ ค่านิยมในชีวิตเมืองกรุง ค่านิยมเรื่องอบายมุขและสตรี และในเนื้อหาเพลงลูกทุ่งบางส่วนภาพพจน์ของสตรี จะถูกประณามเมื่อเสียพรหมจรรย์หรือถูกหลอกลวง แต่กับผู้ชายแล้วเห็นว่าการมีอนุภรรยาเป็นเรื่องโก้เก๋
    เพลงลูกทุ่งบางเพลงยังเป็นกระจกสะท้อนให้เห็นปัญหาในแง่มุมต่าง ๆ อันสืบเนื่องมาจากความยากจนและสภาวะธรรมชาติ เช่น สภาพนาแล้ง นาล่ม ภาวะหนี้สิน ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ การเอารัดเอาเปรียบของนายทุนเงินกู้และพ่อค้าคนกลาง ฯลฯ สาระต่าง ๆ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการกระจายรายได้ซึ่งยังคงเป็นปัญหาหลักของสังคมไทย<SUP class=reference id=cite_ref-16>[17]</SUP>
    [แก้] เครื่องดนตรี

    ในช่วงแรกของเพลงลูกทุ่ง จะมีลักษณะเป็นเพลงไทยเดิมและเพลงพื้นเมืองอยู่มาก ขุนวิจิตรมาตรา กล่าวว่า "วงดนตรีเพลงลูกทุ่งในช่วงนั้นตั้งเป็นวงดนตรีแบบสากล แต่คงปรากฏการใช้เครื่องดนตรีที่บรรเลงเพลงไทยเดิม และเพลงพื้นเมือง ประกอบในบางเพลงอยู่"
    มีการใช้เครื่องดนตรีไทยประกอบเพลงลูกทุ่งบรรเลงรับเมื่อร้องจบแต่ละท่อนเป็นช่วงสั้น ๆ เครื่องดนตรีที่ใช้ได้แก่ ระนาด ฉิ่ง โพน กลอง ฯลฯ เป็นต้น เช่น ในเพลงหอมหน่อย ฉิมพลี ดาวลูกไก่ ฯลฯ
    ยังมีการนำเครื่องดนตรีพื้นเมืองของภาคต่าง ๆ มาบรรเลงประกอบกับเครื่องดนตรีสากล ในเพลงลูกทุ่ง เช่นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของภาคอีสานที่นำมาใช้ได้แก่ แคน โปงลาง ของภาคเหนือ ได้แก่ ซึง ซอ พิณ ของภาคใต้ ได้แก่ กลอง โหม่ง ส่วนของภาคกลางมีกลองยาว ระนาด ฉิ่ง กรับ โทน เป็นต้น เพลงลูกทุ่งที่ใช้เครื่องดนตรีพื้นเมืองมาประกอบ เช่น เพลงลำเลาะทุ่ง เพลงเสียงซอสั่งสาว เพลงต้อนไว้ ๆ เป็นต้น
    และยังมีการใช้เครื่องดนตรีสากลหรือเครื่องดนตรีตะวันตก ประกอบด้วยเครื่องเป่า เครื่องสาย และเครื่องประกอบจังหวะ รวมแล้วประมาณ 12–18 ชิ้น วงดนตรีของสุรพล สมบัติเจริญ และของสุรฃัย สมบัติเจริญ มีจุดเด่นที่ใช้แอคคอร์เดียนหรือหีบเพลง อย่างไรก็ตามวงดนตรีเพลงลูกทุ่งอื่น ๆ ก็มีการใช้เครื่องดนตรีสากลบ้าง<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.A7.E0.B8.B4.E0.B8.A7.E0.B8.B1.E0.B8.92.E0.B8.99.E0.B8.B2.E0.B8.81.E0.B8.B2.E0.B8.A3.E0.B9.81.E0.B8.A5.E0.B8.B0.E0.B8.AD.E0.B8.87.E0.B8.84.E0.B9.8C.E0.B8.9B.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.81.E0.B8.AD.E0.B8.9A_.285.29_17-0>[18]</SUP>
    [แก้] หางเครื่อง

    [​IMG]
    เพลงลูกทุ่งที่มีการประกวดประชันการเต้นและเครื่องแต่งกายของหางเครื่องประกอบ


    ที่มาของคำว่าหางเครื่อง คาดว่ามาจากสำนวนคำว่า “เขย่าหางเครื่อง” ในขณะที่นักร้องออกมาร้องเพลงบนเวที คนที่ให้เสียงจังหวะเรียกว่า หางเครื่อง คือจะมีคนออกมาตีฉิ่ง ฉาบ กรับ ไม้ต๊อก และเคาะลูกแซ๊กอยู่ข้างหลังนักร้องเพื่อให้จังหวะเพลงให้เด่นชัดขึ้นและสนุกสนานมากขึ้น แต่ความหมายดังกล่าวได้เปลี่ยนไปมีความหมายว่า คนเต้นประกอบเพลงในปัจจุบัน
    ในช่วงแรก ผู้เขย่าหางเครื่องก็มีทั้งหญิงและชาย ไม่ได้เป็นกลุ่มคณะ บางครั้งก็เป็นตัวตลกประจำวง บางครั้งก็เป็นนักร้องประจำวง ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว ต่อมาได้มีการพัฒนาขึ้นโดยมีผู้หญิงสวย ๆ ออกมาเขย่าหางเครื่อง แต่ก็ยังไม่ออกลีลาการเต้น เพียงเดินให้เข้ากับจังหวะเพลงเท่านั้น เพลงส่วนใหญ่ที่ใช้หางเครื่องจะมีจังหวะบีกิน ช่าช่าช่า โบเล หลังจากนั้นได้ใส่ลีลาการเต้นและการแต่งกายมากขึ้น โดยพัฒนามาจากการเต้นระบำฝรั่งเศสของฟอลลี่ แบร์แช (Folies Bergeres) และการเต้นโมเดิร์นด๊านซ์ (Modern Dance)<SUP class=reference id=cite_ref-18>[19]</SUP> จนในปี พ.ศ. 2509 หางเครื่องแต่งตัวเหมือนกันเป็นทีม อย่างเช่นวงของสุรพล สมบัติเจริญ สมานมิตร เกิดกำแพง และหลังจากที่สุรพล เสียชีวิตลง ศรีนวล สมบัติเจริญ ภรรยาสุรพลได้จัดหากเครื่องใช้ผู้เต้นประมาณ 10 คน ลีลาการเต้นก็เป็นแบบระบำฮาวายของตะวันตก จนปี 2510 หางเครื่องเริ่มเปลี่ยนแปลงชัดเจนกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ของวงดนตรีลูกทุ่ง<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.AA.E0.B8.A1.E0.B9.80.E0.B8.81.E0.B8.B5.E0.B8.A2.E0.B8.A3.E0.B8.95.E0.B8.B4_.E0.B8.9A.E0.B8.B8.E0.B8.8D.E0.B8.A8.E0.B8.B4.E0.B8.A3.E0.B8.B4_19-0>[20]</SUP>
    นับตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2517 ในช่วงนี้คำนี้ “หางเครื่อง” แปรเปลี่ยนมาเป็นบุคคลที่เต้นประกอบเพลงและจำนวนผู้เต้นก็มีมากขึ้น<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.A7.E0.B8.B4.E0.B8.A7.E0.B8.B1.E0.B8.92.E0.B8.99.E0.B8.B2.E0.B8.81.E0.B8.B2.E0.B8.A3.E0.B9.81.E0.B8.A5.E0.B8.B0.E0.B8.AD.E0.B8.87.E0.B8.84.E0.B9.8C.E0.B8.9B.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.81.E0.B8.AD.E0.B8.9A_.285.29_17-1>[18]</SUP> และเมื่อเข้าสู่ปีทองอีกช่วงในปี 2520 มีการแข่งขันด้านหางเครื่องจึงเพิ่มขึ้น วงดนตรีใหญ่ ๆ มีหางเครื่องในสังกัดตัวเองประมาณ 60 คน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในเรื่องเครื่องแต่งกายหางเครื่องสูงถึง 1 ล้านบาท<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.AA.E0.B8.A1.E0.B9.80.E0.B8.81.E0.B8.B5.E0.B8.A2.E0.B8.A3.E0.B8.95.E0.B8.B4_.E0.B8.9A.E0.B8.B8.E0.B8.8D.E0.B8.A8.E0.B8.B4.E0.B8.A3.E0.B8.B4_19-1>[20]</SUP>
    ลักษณะการแต่งกายของหางเครื่องมักแต่งกายด้วยผ้าสีสด เช่น สีแดงสด ฟ้า เขียว ชมพูสด เหลืองจำปา สีทอง สีดำ เนื้อผ้ามักเป็นผ้าเนื้อนุ่มพลิ้ว ปักเลื่อม ประดับสายสร้อย กำไล ตุ้มหู และดอกไม้ ส่วนผู้ชายมักสวมรองเท้าบู๊ต
    หางเครื่องที่เป็นการนำมาจากวัฒนธรรมตะวันตกซึ่งไม่น่าจะเข้ากันได้กับการแสดงเพลงลูกทุ่ง แต่ในแง่ธุรกิจผู้ที่อยู่ในวงการเพลงลูกทุ่งต่างยอมรับว่าหางเครื่องเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ผู้ชมชื่นชอบกับการชมหางเครื่องประกอบการแสดงเพลงลูกทุ่ง หางเครื่องในปัจจุบันจึงเป็นสิ่งที่ทำให้เพลงลูกทุ่งต่างจากลูกกรุง ผู้ชมก็ตื่นตาตื่นใจกับเสื้อผ้าและลีลาการเต้นของหางเครื่อง<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.A7.E0.B8.B4.E0.B8.A7.E0.B8.B1.E0.B8.92.E0.B8.99.E0.B8.B2.E0.B8.81.E0.B8.B2.E0.B8.A3.E0.B9.81.E0.B8.A5.E0.B8.B0.E0.B8.AD.E0.B8.87.E0.B8.84.E0.B9.8C.E0.B8.9B.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.81.E0.B8.AD.E0.B8.9A_.285.29_17-2>[18]</SUP>
    [แก้] ธุรกิจเพลงลูกทุ่ง

    นับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกเสียงลงแผ่นเสียง เพลงลูกทุ่งครองตลาดเพลง ในปี พ.ศ. 2510 เนื่องจากมีการบันทึกลงเทปแทนแผ่นเสียง และโทรทัศน์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น และต่อมาเพลงลูกทุ่งเริ่มเงียบหายลงไปเพราะการเมือง จนมาโด่งดังอีกครั้งในปี 2520 และหายไปอีกครั้งเพราะผลจากเศรษฐกิจ และในปี 2541 ธุรกิจในวงการลูกทุ่งก็กลับมาอีกครั้งกับนักร้องใหม่ๆ ธุรกิจแบบใหม่ ๆ<SUP class=reference id=cite_ref-20>[21]</SUP>
    ในปัจจุบัน ธุรกิจลูกทุ่งมีฐานที่กว้างมากในตลาดวงการเพลง เป็นตลาดใหญ่ มีทั้งค่ายเล็ก ค่ายใหญ่ เป็นจำนวนมาก การแข่งขันก็มากขึ้นเรื่อยๆ โดยสัดส่วนของเงินในตลาดเพลงลูกทุ่งครอง คาดการณ์น่าจะอยู่ที่ ปีละ 1,000-1,500 ล้านบาท เฉพาะธุรกิจเพลงอย่างเดียวไม่รวมกับธุรกิจข้างเคียงอื่นๆ โดยมีตลาดหลักอยู่ที่ภาคอีสาน 50% ภาคเหนือและภาคกลาง 35% และภาคใต้ 15% และสัดส่วนการแบ่งตลาด มีแกรมมี่ โกลด์ ครองส่วนแบ่งการตลาดเพลงลูกทุ่งทั่วประเทศ 65% ส่วนอาร์สยาม 19% และอื่นๆ 16%<SUP class=reference id=cite_ref-21>[22]</SUP> สำหรับตลาดรวมของธุรกิจในปี 2549 มูลค่าตลาดประมาณ 7,100 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9 จากปี 2548 และหากเปรียบเทียบกับตลาดเพลงอื่นแล้ว เพลงไทยสากลเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมสูงสุดในตลาด มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 45 รองลงมาคือเพลงลูกทุ่ง ร้อยละ 30 และเพลงสากล ร้อยละ 20<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.9E.E0.B8.A5.E0.B8.B1.E0.B8.87.E0.B8.A5.E0.B8.B9.E0.B8.81.E0.B8.97.E0.B8.B8.E0.B9.88.E0.B8.87_22-0>[23]</SUP>
    ในปัจจุบันมีศิลปินลูกทุ่งต่างออกผลงานเพลงเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการแข่งขันสูง บางศิลปินออกได้ชุดเดียวก็ไปเลย บางคนสองชุด บางคน 5-6 ปี และยังมีปัญหา ความตกต่ำของเศรษฐกิจ เทปผี ซีดีเถื่อนอีก จึงมีบางค่ายเพลงหันมาโปรโมตศิลปินแทนโปรโมตเพลง<SUP class=reference id=cite_ref-23>[24]</SUP>
    [แก้] สื่อวิทยุ โทรทัศน์ และภาพยนตร์

    [​IMG]
    รายการดาวรุ่งลูกทุ่งไทยแลนด์ รายการค้นหานักร้องลูกทุ่งทางโทรทัศน์


    ด้านสื่อวิทยุ เดิมทีเพลงลูกทุ่งออกอากาศโดยคลื่นเอเอ็ม เพราะสามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลมาก จนในปี 2540 ได้เกิดสถานีวิทยุเอฟเอ็มขึ้นคือสถานีลูกทุ่งเอฟเอ็ม แนวความคิดในการจัดรายการวิทยุเพลงลูกทุ่งจึงเริ่มเปลี่ยนไป ลูกทุ่งเอฟเอ็มเป็นสถานีวิทยุเพลงลูกทุ่ง 24 ชั่วโมง โดยใช้วิธีรูปแบบไม่ให้ดูเชย ดูทันสมัย มีลักษณะรายการเหมือนเอ็มทีวี แต่เป็นเพลงลูกทุ่ง ซึ่งต่อมาคลื่นนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก จนมีการจัดมอบรางวัลมาลัยทองคำขึ้นในปี 2544 และมีการเกิดมาของสถานีลูกทุ่งบนหน้าปัดเอฟเอ็มขึ้นอีกอย่าง ลูกทุ่งมหานคร<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.9E.E0.B8.A5.E0.B8.B1.E0.B8.87.E0.B8.A5.E0.B8.B9.E0.B8.81.E0.B8.97.E0.B8.B8.E0.B9.88.E0.B8.87_22-1>[23]</SUP> ที่มีรูปแบบรายการโดยเน้นให้ดีเจเป็นเพื่อนกับคนฟัง ซึ่งฐานคนฟังคลื่นลูกทุ่งมหานคร มีคนฟังนาทีละ 300,000 คน จากทั่วประเทศในเครือข่ายของ อ.ส.ม.ท. โดยเน้นช่วงเวลาระหว่างเที่ยงคืน ตี3 และ ตี5 เพราะมีกลุ่มคนฟังที่ส่งของ ขับรถ ชาวสวนที่ตื่นแต่เช้า เป็นต้น<SUP class=reference id=cite_ref-24>[25]</SUP>
    ทางด้านวงการโทรทัศน์จากที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงในรายการวาไรตี้โชว์ต่าง ๆ ก็มีรายการที่พัฒนาจาก การค้นหานักร้องลูกทุ่ง ที่มีเกิดขึ้นในเวทีการสรรหานักร้องลูกทุ่งเดิม ไม่ว่าจะเป็นเวทีตามอำเภอ ระดับจังหวัด จนมาสู่รายการเรียลลิตี้โชว์ แบบรายการทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเซีย เดอะ สตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว เดอะ ซิงเกอร์ กับโครงการดาวรุ่งลูกทุ่งไทยแลนด์ เป็นต้น<SUP class=reference id=cite_ref-25>[26]</SUP>
    ส่วนภาพยนตร์ไทย ก็มีการสร้างภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้อกับเพลงลูกทุ่งอย่างภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักทรานซิสเตอร์ ในปี 2544 กำกับโดย เป็นเอก รัตนเรือง<SUP class=reference id=cite_ref-26>[27]</SUP> และในปี 2545 สหมงคลฟิล์มมีภาพยนตร์ที่รวมนักร้องลูกทุ่งชั้นนำของเมืองไทยร่วม 168 ชีวิต ในภาพยนตร์เรื่อง มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม.<SUP class=reference id=cite_ref-27>[28]</SUP> และด้วยกระแสความโด่งดังของวงโปงลางสะออน กลุ่มศิลปินแนวลูกทุ่งดนตรีอีสาน มีผลงานภาพยนตร์อย่าง โปงลางสะดิ้ง ลำซิ่งส่ายหน้า ในปี 2550 ทำรายได้รวม 75 ล้านบาท<SUP class=reference id=cite_ref-28>[29]</SUP>
    [แก้] สินค้าสนับสนุนเพลงลูกทุ่ง

    นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงของตลาดเพลงลูกทุ่ง ทำให้สินค้าหลายประเภทต่างปรับกลยุทธ์ หาช่องทางทางด้านธุรกิจ อีกทั้งหน้าตาของเพลงทุ่งที่มีทิศทางที่ดูทันสมัยขึ้น ในช่วงเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงจะมีสินค้าอุปโภคบริโภคที่เจาะกลุ่มตลาดล่าง ราคาถูก ต้องการขายในปริมาณมากๆ ซึ่งเพลงลูกทุ่งสามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี จริงๆ แล้วรูปแบบที่เกิดกับเพลงลูกทุ่งนั้น ไม่แตกต่างจากวงการเพลงสตริงเลย คือมีเจ้าของสินค้าสนับสนุนศิลปินอยู่ แต่สำหรับตลาดเพลงลูกทุ่ง สินค้าจะมีความหลากหลายกว่า และเจาะกลุ่มลูกค้าคนละแบบ
    สินค้าประเภทเครื่องดื่มชูกำลัง เป็นสินค้าที่ที่ตรงกลุ่มเป้าหมายที่สุดคือ กลุ่มผู้ใช้แรงงาน อย่าง เอ็ม150 ใช้งบประมาณในการจัดงานประมาณปีละ 70 ล้านบาท โดยการสนับสนุนศิลปินแบบครบวงจร ตั้งแต่การออกเทป คอนเสิร์ต มิวสิกวิดีโอ โดยการรุกของสินค้าเข้าไปถึงทางด้านเนื้อเพลงด้วย อย่างเนื้อที่ว่า "คนดีอย่างเธอที่เป็น เซเว่นไม่มีให้ซื้อ" หรือ "รอเธอในร้านเคเอฟซี ที่คาร์ฟูร์" เป็นตัวอย่างเนื้อเพลงที่มีแบรนด์สินค้าเข้าไปปรากฏอยู่ชัดเจน และเพลงที่มีโทรศัพท์มือถือเข้ามาเกี่ยวข้อง ถือว่าเป็นกระแสหลักของเพลงลูกทุ่งในช่วงหลัง ออกมาจำนวนมาก
    ผู้คนที่ใช้โทรศัพท์มือถือ 27 ล้านคน จากผู้ใช้โทรศัพท์ทั้งประเทศ 45 ล้านคน ทางเอไอเอสใช้พรีเซ็นเตอร์นักร้องลูกทุ่ง 4 คน ที่ได้รับความนิยมคือ พี สะเดิด ฝน ธนสุนทร จากแกรมมี่ บ่าววี และ หลิว อาจารียา พรหมพฤกษ์ จากอาร์สยาม ทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งคอนเสิร์ต โหวตศิลปิน และดาวน์โหลดเพลง ด้วยงบประมาณ 30-40 ล้านบาท และทางด้านทรูมูฟ คู่แข่งจะเพิ่มช่องทางขายซิมการ์ดโดยร่วมมือกับคลื่นเพลงลูกทุ่ง ซึ่งทำรายได้ถึงร้อยละ 9.6 จากรายได้รวมของทรูมูฟ ทั้งหมด 22,300 ล้านบาท
    ทางด้านรถยนต์มี 2 รายที่ใช้เพลงลูกทุ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการตลาด คือ โตโยต้า ใช้ จินตหรา พูนลาภ และอีซูซุคือก๊อต จักรพรรณ์ ครบุรีธีรโชติ<SUP class=reference id=cite_ref-29>[30]</SUP>
    [แก้] การส่งเสริมเพลงลูกทุ่ง

    [​IMG]
    ต่าย อรทัย รับรางวัลมาลัยทองคำ


    ได้มีการส่งเสริมเพลงลูกทุ่งด้วยการมอบรางวัลทางดนตรีอย่างรางวัลมาลัยทอง ที่มอบเป็น ขวัญ กำลังใจ ให้คนทำงานเพลงลูกทุ่งที่มีคุณภาพ ทั้งเบื้องหน้าเบื้องหลัง<SUP class=reference id=cite_ref-30>[31]</SUP> ซึ่งเริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 โดยสมาคมลูกทุ่ง เอฟ. เอ็ม.<SUP class=reference id=cite_ref-31>[32]</SUP> ส่วนทางคลื่นวิทยุลูกทุ่งมหานคร อสมท FM. 95 MHz ภายใต้การผลิตรายการของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติก็มีการจัดงานมอบรางวัลมหานครอวอร์ดส<SUP class=reference id=cite_ref-32>[33]</SUP>
    ในปี 2532 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดงานกึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทย ครั้งแรก ในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2532 ซึ่งเป็นช่วงที่วงการเพลงลูกทุ่งเริ่มซบเซา ซึ่งปรากฏว่ามีบรรดานักฟังเพลงลูกทุ่งมาชมกันมากเป็นประวัติการณ์จนต้องจัดให้มีการถ่ายทอดสดทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และในปีถัด ๆ ไปสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ก็ได้สนับสนุนเพลงลูกทุ่งไทยมาโดยตลอด และได้จัด งานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาค 2 ในปี พ.ศ. 2533 ซึ่งในปีนี้ เพลง ส้มตำ ถือเป็นเพลงเกียรติยศ ที่นักร้องลูกทุ่งนำมาขับขานในโอกาสการจัดงาน กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาค 2 เพลงลูกทุ่งที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์ และได้อัญเชิญมาขับร้องด้วยการบันทึกเสียงโดย พุ่มพวง ดวงจันทร์ และถูกอัญเชิญขับร้องใหม่โดย สุนารี ราชสีมา ในงานนี้ด้วย<SUP class=reference id=cite_ref-33>[34]</SUP> และในปี พ.ศ. 2534 ได้จัดโครงการจัดทำโครงการส่งเสริมเพลงลูกทุ่งไทยด้วยการประกวดขับร้องเพลงลูกทุ่งไทย สืบสานคุณค่าวัฒนธรรมไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 จัดให้มีการประกาศผลงานเพลงลูกทุ่งดีเด่นส่งเสริมวัฒนธรรมไทย และ ในวันที 15 กันยายน พ.ศ. 2542 นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ในขณะนั้น ได้จัดงาน 60 ปีเล่าขานตำนานลูกทุ่งไทยขึ้น ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย<SUP class=reference id=cite_ref-34>[35]</SUP>
    สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ยังได้มอบรางวัลศิลปินแห่งชาติในสาขาต่าง ๆ โดยในหมวดหมู่ศิลปะการแสดง ที่มอบให้กับการดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ซึ่งรวมถึงในหมวดหมู่ย่อยดนตรีไทย ได้รวมเพลงลูกทุ่ง<SUP class=reference id=cite_ref-35>[36]</SUP> ผู้ที่ได้รับรางวัลได้แก่ นาวาตรีพยงค์ มุกดา (เพลงไทยสากล-เพลงลูกทุ่ง ประพันธ์) (2534),นางผ่องศรี วรนุช (เพลงลูกทุ่ง-ขับร้อง) (2535),นายสมเศียร พานทอง (ชาย เมืองสิงห์) (เพลงลูกทุ่ง-ขับร้อง ประพันธ์) (2538),นายไวพจน์ สกุลนี (ไวพจน์ เพชรสุพรรณ) (เพลงลูกทุ่ง-ขับร้อง ประพันธ์) (2540),นายชัยชนะ บุญนะโชติ (เพลงลูกทุ่ง-ขับร้อง) (2541),นายชิน ฝ้ายเทศ (ชินกร ไกรลาศ) (เพลงลูกทุ่ง-ขับร้อง) (2542),นายสมนึก ทองมา (ชลธี ธารทอง) (เพลงลูกทุ่ง-ประพันธ์) (2542),นายวิเชียร คำเจริญ (ลพ บุรีรัตน์) (นักแต่งเพลงลูกทุ่ง) (2548)<SUP class=reference id=cite_ref-36>[37]</SUP>
    [แก้] การแบนเพลงลูกทุ่งและข้อพิพาท

    ในช่วงที่ประเทศไทยอยู่ในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง คำรณ สัมบุณณานนท์ นักร้องเพลงลูกทุ่ง ผู้ได้รู้รสความเป็นไปของบ้านเมืองจนถ่ายทอดความอึดอัดคับข้องใจต่าง ๆ และได้ถ่ายทอดเพลงอย่าง "ผู้แทนควาย" "แถลงการณ์ไอ้ทุย" "อสูรกินเมือง" ซึ่งเพลงเหล่านี้ทำให้เขาต้องเลิกร้องเพลงไปเพราะไม่เข้าหูรัฐบาลเผด็จการในขณะนั้น<SUP class=reference id=cite_ref-37>[38]</SUP>
    ในปี พ.ศ. 2546 กระทรวงวัฒนธรรม ออกมาเปิดเผยเพลงที่ได้รับการร้องเรียนเข้าข่ายขัดต่อศีลธรรม วัฒนธรรม จำนวน 18 เพลง โดยมีเพลงลูกทุ่งหลาย ๆ เพลงโด่งดังมานานหลายทศวรรษ เช่น เพลง "เมียพี่มีชู้" โดยอ้างว่า เป็นเพลงขัดต่อศีลธรรมอันดีของประเทศ โดยทางกระทรวงวัฒนธรรมขอให้ยุติการเผยแพร่ผ่านทางวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ เพราะมีเนื้อหาหมิ่นเหม่ ผิดต่อศีลธรรม ขัดขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของคนไทยและชาติ เพราะส่งเสริมให้มีหลายสามีและหลายภรรยา รวมทั้งพฤติกรรมชู้สาว โดยเฉพาะหลายเพลงมีศิลปินแห่งชาติ และศิลปินส่งเสริมพระพุทธศาสนา ที่ควรเป็นแบบอย่างการประพฤติที่ดีงาม เป็นผู้ร้องในเพลงดังกล่าวด้วย เช่น ชาย เมืองสิงห์ และดาวใจ ไพจิตร เป็นต้น<SUP class=reference id=cite_ref-38>[39]</SUP>
    ส่วนเหตุการณ์ที่เป็นข้อพิพาทในสังคมที่เกิดขึ้นในวงการเพลงลูกทุ่ง ในปี พ.ศ. 2548 ที่กระทรวงวัฒนธรรม ได้ออกออกมาร่วมประณาม นักร้องลูกทุ่งสาว "เอ" สุขุมา มณีกาญจน์ ได้ถ่ายภาพโชว์หน้าอกเพื่อโปรโมทผลงานเพลง จนทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสม<SUP class=reference id=cite_ref-39>[40]</SUP> รวมทั้งในปี พ.ศ. 2550 เพลงและมิวสิกวิดีโอเพลง "ขอโทษแม่เฒ่า" โดยนักร้อง มนต์ เมืองมุก โดยในส่วนของเนื้อเพลงมีเนื้อหาส่อไปในทางลามกอนาจาร โดยเนื้อเพลงบางท่อนร้องว่า "ลูกผิดที่เอากันก่อนที่จะมาสู่ขอแม่เฒ่า ลูกมาอยู่ กทม.ลูกผิดที่เอากันก่อนจะมาสู่ขอแม่เฒ่า" อีกทั้งภาพมิวสิกวิดีโอก็เป็นภาพของหนุ่มสาวโรงงานคู่หนึ่งที่มีเพศสัมพันธ์กันด้วย โดยทางกระทรวงวัฒนธรรมได้ขอให้ยกเลิกและแบนไม่ให้เพลงนี้ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศน์ทุกช่อง<SUP class=reference id=cite_ref-40>[41]</SUP> แต่อย่างไรก็ดี กระทรวงวัฒนธรรมได้ยกเลิกการแบนเพลง "ขอโทษแม่เฒ่า" ไปในที่สุด เนื่องจากเมื่อพิจารณาถึงการใช้ถ้อยคำในเพลงแล้วได้พบว่า คำว่า "เอากัน" นั้นเป็นเพียงคำพูดโดยทั่วไปในภาษาท้องถิ่นภาคอีสาน ซึ่งหมายถึงการอยู่กินร่วมกัน อีกทั้งเมื่อพิจารณาถึงภาพที่ปรากฏในมิวสิกวิดีโอแล้วก็พบว่าผู้สร้างมิได้สื่อสารออกมาในรูปแบบที่น่าเกลียด นอกจากนี้ เนื้อหาของเพลงยังมีส่วนสร้างสรรค์ในแง่มุมที่ดีต่อสังคม โดยแสดงให้เห็นถึงการหวนคิดถึงผู้เฒ่าและบุพการีผู้มีพระคุณและชี้นำให้หนุ่มสาวกลับไปขอขมาผู้ใหญ่เมื่อตนได้ทำผิด<SUP class=reference id=cite_ref-41>[42]</SUP>
    [แก้] อ้างอิง

    1. <LI id=cite_note-0>^ วิวัฒนาการและองค์ประกอบของเพลงลูกทุ่ง <LI id=cite_note-.E0.B8.84.E0.B8.AD.E0.B8.A5.E0.B8.B1.E0.B8.A1.E0.B8.99.E0.B9.8C_.E0.B8.A3.E0.B8.B9.E0.B9.89.E0.B9.84.E0.B8.9B.E0.B9.82.E0.B8.A1.E0.B9.89.E0.B8.94-1>^ <SUP>2.0</SUP> <SUP>2.1</SUP> ประวัติลูกทุ่งไทย คอลัมน์ รู้ไปโม้ด <LI id=cite_note-2>^ ประวัติเพลงลูกทุ่ง <LI id=cite_note-.E0.B8.99.E0.B9.88.E0.B8.B2.E0.B8.88.E0.B8.B0.E0.B9.80.E0.B8.9B.E0.B9.87.E0.B8.99.E0.B8.97.E0.B8.B5.E0.B9.88.E0.B8.A1.E0.B8.B2_1-3>^ <SUP>4.0</SUP> <SUP>4.1</SUP> น่าจะเป็นที่มา ... (1) โดย นาวาตรีพยงค์ มุกดา <LI id=cite_note-4>^ เส้นทาง 63 ปี วงดนตรีสุนทราภรณ์ websuntaraporn.com <LI id=cite_note-5>^ น่าจะเป็นที่มา ... (2) โดย นาวาตรีพยงค์ มุกดา <LI id=cite_note-6>^ สุรสิทธิ์ ศรีสมุทร, ประวัติและวิวัฒนาการเพลงลูกทุ่ง หน้า 4 <LI id=cite_note-.E0.B8.A7.E0.B8.B4.E0.B8.A7.E0.B8.B1.E0.B8.92.E0.B8.99.E0.B8.B2.E0.B8.81.E0.B8.B2.E0.B8.A3.E0.B9.81.E0.B8.A5.E0.B8.B0.E0.B8.AD.E0.B8.87.E0.B8.84.E0.B9.8C.E0.B8.9B.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.81.E0.B8.AD.E0.B8.9A_.281.29-7>^ <SUP>8.0</SUP> <SUP>8.1</SUP> <SUP>8.2</SUP> วิวัฒนาการและองค์ประกอบ (1) โดย รศ.ดร.จินตนา ดำรงค์เลิศ <LI id=cite_note-8>^ รำลึก...สุรพล สมบัติเจริญ โดย ผู้จัดการออนไลน์ 16 สิงหาคม 2548 17:04 น. <LI id=cite_note-.E0.B8.81.E0.B8.B3.E0.B9.80.E0.B8.99.E0.B8.B4.E0.B8.94.E0.B8.AB.E0.B8.B2.E0.B8.87.E0.B9.80.E0.B8.84.E0.B8.A3.E0.B8.B7.E0.B9.88.E0.B8.AD.E0.B8.87.E0.B8.A5.E0.B8.B9.E0.B8.81.E0.B8.97.E0.B8.B8.E0.B9.88.E0.B8.87.E0.B9.84.E0.B8.97.E0.B8.A2-9>^ <SUP>10.0</SUP> <SUP>10.1</SUP> กำเนิดหางเครื่องลูกทุ่งไทย dancerthai.th.gs <LI id=cite_note-.E0.B8.A7.E0.B8.B4.E0.B8.A7.E0.B8.B1.E0.B8.92.E0.B8.99.E0.B8.B2.E0.B8.81.E0.B8.B2.E0.B8.A3.E0.B9.81.E0.B8.A5.E0.B8.B0.E0.B8.AD.E0.B8.87.E0.B8.84.E0.B9.8C.E0.B8.9B.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.81.E0.B8.AD.E0.B8.9A_.282.29-10>^ <SUP>11.0</SUP> <SUP>11.1</SUP> วิวัฒนาการและองค์ประกอบ (2) รศ.ดร.จินตนา ดำรงค์เลิศ <LI id=cite_note-11>^ สมเกียรติ บุญศิริ, 69 ปี ลูกทุ่งไทย นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2550 <LI id=cite_note-12>^ Integrated Marketing กลยุทธ์ครองตลาดเพลงลูกทุ่ง " แกรมมี่-อาร์.เอส " โดย บิสิเนสไทย 2-9-2004 <LI id=cite_note-13>^ ลูกทุ่งไทย กลายพันธุ์ ตีตลาดอินเตอร์ โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 มิถุนายน 2548 15:44 น. <LI id=cite_note-14>^ คมเคียว : ลูกทุ่งแบบโป๊ไม่เปลือย komchadluek.net <LI id=cite_note-15>^ วิวัฒนาการและองค์ประกอบ (3) โดย รศ.ดร.จินตนา ดำรงค์เลิศ <LI id=cite_note-16>^ วิวัฒนาการและองค์ประกอบ (4) โดย รศ.ดร.จินตนา ดำรงค์เลิศ <LI id=cite_note-.E0.B8.A7.E0.B8.B4.E0.B8.A7.E0.B8.B1.E0.B8.92.E0.B8.99.E0.B8.B2.E0.B8.81.E0.B8.B2.E0.B8.A3.E0.B9.81.E0.B8.A5.E0.B8.B0.E0.B8.AD.E0.B8.87.E0.B8.84.E0.B9.8C.E0.B8.9B.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.81.E0.B8.AD.E0.B8.9A_.285.29-17>^ <SUP>18.0</SUP> <SUP>18.1</SUP> <SUP>18.2</SUP> วิวัฒนาการและองค์ประกอบ (5) โดย รศ.ดร.จินตนา ดำรงค์เลิศ <LI id=cite_note-18>^ หางเครื่อง จังหวะชีวิตบนถนนดนตรีลูกทุ่ง <LI id=cite_note-.E0.B8.AA.E0.B8.A1.E0.B9.80.E0.B8.81.E0.B8.B5.E0.B8.A2.E0.B8.A3.E0.B8.95.E0.B8.B4_.E0.B8.9A.E0.B8.B8.E0.B8.8D.E0.B8.A8.E0.B8.B4.E0.B8.A3.E0.B8.B4-19>^ <SUP>20.0</SUP> <SUP>20.1</SUP> สมเกียรติ บุญศิริ, หางเครื่อง สีสันวงดนตรีลูกทุ่ง นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2550 <LI id=cite_note-20>^ 69 ปี ลูกทุ่งไทย. นิตยสารผู้จัดการ ฉบับที่ 291 เดือนธันวาคม 2550 หน้า 118 <LI id=cite_note-21>^ การตลาดThrough the Line ปลุกกำลังซื้อเพลงลูกทุ่ง โดย บิสิเนสไทย 19-9-2007 <LI id=cite_note-.E0.B8.9E.E0.B8.A5.E0.B8.B1.E0.B8.87.E0.B8.A5.E0.B8.B9.E0.B8.81.E0.B8.97.E0.B8.B8.E0.B9.88.E0.B8.87-22>^ <SUP>23.0</SUP> <SUP>23.1</SUP> สมเกียรติ บุญศิริ, พลังลูกทุ่ง นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2550 <LI id=cite_note-23>^ สมเกียรติ บุญศิริ, ลูกทุ่งยุคต่อไป เดินหน้าหรือถอยหลัง นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2550 <LI id=cite_note-24>^ สมเกียรติ บุญศิริ, FM 95 ลูกทุ่งมหานคร ไพร์มไทม์หลังเที่ยงคืน นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2550 <LI id=cite_note-25>^ สมเกียรติ บุญศิริ, ดาวรุ่งลูกทุ่งไทยแลนด์ บันไดขั้นแรกนักร้องลูกทุ่ง นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2550 <LI id=cite_note-26>^ ข่าววันที่ 25 มิถุนายน 2545 ผู้จัดการออนไลน์ <LI id=cite_note-27>^ มนต์เพลงลูกทุ่งเอฟ.เอ็ม.รับกระแสลูกทุ่งฟีเวอร์ บิสิเนสไทย 15-2-2002 <LI id=cite_note-28>^ 20 หนังยอดฮิตแดนสยามปี 2550 โดย ผู้จัดการออนไลน์ 16 มกราคม 2551 07:28 น. <LI id=cite_note-29>^ สมเกียรติ บุญศิริ, เครื่องมือการตลาดที่ทรงพลัง นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2550 <LI id=cite_note-30>^ ผลรางวัลมาลัยทองประจำปี 2546 luktungfm.com <LI id=cite_note-31>^ “เอกชัย – ฝน” คว้ารางวัล "มาลัยทอง ครั้งที่ 6" kapook.com <LI id=cite_note-32>^ จ๊ะจ๋ามหานคร mcot.net <LI id=cite_note-33>^ ส้มตำ ฟังเพลิน – กินต้องระวัง… เขียนโดย สวท.ขอนแก่น <LI id=cite_note-34>^ กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย <LI id=cite_note-35>^ ศิลปะการแสดง ศิลปินแห่งชาติ <LI id=cite_note-36>^ ศิลปินแห่งชาติสาขา ศิลปะการแสดง ๑๐๕ คน <LI id=cite_note-37>^ ...ผมเป็นผู้แทนมาจากควาย ฟังเถิดพี่น้องหญิงชาย นี่ควายเขาใช้ฉันมา... กรุงเทพธุรกิจ <LI id=cite_note-38>^ สุทธิดา มะลิแก้ว ,กระทรวงวัฒนธรรม (ทางเพศ) <LI id=cite_note-39>^ วธ.ขู่ลูกทุ่งโชว์เต้า ไม่เลิกเจอคุกแน่ คมชัดลึก <LI id=cite_note-40>^ โวยเพลงมีคำว่าเอากัน bangkokcity.com
    2. ^ วธ. ไม่แบนลูกทุ่ง "ขอโทษแม่เฒ่า"

    [แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

    <!-- NewPP limit reportPreprocessor node count: 1085/1000000Post-expand include size: 3273/2048000 bytesTemplate argument size: 1086/2048000 bytesExpensive parser function count: 0/500--><!-- Saved in parser cache with key thwiki:pcache:idhash:99657-0!*!0!!th!4 and timestamp 20110323070318 -->
    <!-- /bodytext --><!-- catlinks -->
     
  16. อรชร

    อรชร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +11,465
    ฆ่าอะไรหนอจึงอยู่เป็นสุข

    เทวดานั้น ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
    ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า

    ฆ่าอะไรหนอจึงอยู่เป็นสุข
    ฆ่าอะไรหนอจึงไม่เศร้าโศก
    ข้าแต่พระโคดม พระองค์ชอบฆ่าอะไรซึ่งเป็นธรรมอันเดียว ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า

    ฆ่าความโกรธเสียได้จึงอยู่เป็นสุข
    ฆ่าความโกรธเสียจึงไม่เศร้าโศก แน่ะเทวดา
    พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญการฆ่าความโกรธ
    ซึ่งมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน
    เพราะฆ่าความโกรธนั้นเสียแล้วย่อมไม่เศร้าโศก ฯ

    ขอบคุณลานธรรมจักร
     
  17. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    ฆ่าความโกรธเสียได้จึงอยู่เป็นสุข
    ความโกธรทำให้โลกร้อนเป็นไฟจ้า ๆ นู่น่าน
    [​IMG]
     
  18. อรชร

    อรชร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +11,465
  19. pimapinya

    pimapinya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2010
    โพสต์:
    883
    ค่าพลัง:
    +2,044
    [​IMG]


    ความเหงาเป็น "ความคิด" ของใจเราเอง ที่คิดว่า "เหงา"
    ใจเรา บางครั้งเป็นเพื่อนกิน คอยชวนกลุ่มความทรงจำเก่าๆ ที่ทำให้เราทุกข์
    มาปาร์ตี้กันโดยพร้อมเพรียง ยิ่งทำให้เราเหงาจน "บ้า" ได้ง่ายๆ

    แต่คนที่ใจมีสิ่งยึด คือ ทุ่นทางธรรม จะไม่เหงาเลย
    เพราะเค้าจะทำงาน "กำหนดสติ" อยู่ตลอดเวลา
    เป็นงานที่ไม่เคยว่าง และให้ความสุขใจ
    "อุ่นใจ" กับการดำเนินชีวิตอยู่ในเส้นทางบุญ

    คนในสังคมปัจจุบันมักเป็น โรคเหงา
    เพราะขาดเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจน
    เอาใจไปยึดกับคน สิ่งของ สถานภาพ
    เช่น แฟน หรือความรักแบบหนุ่มสาว
    ดูจากเพลง 90% ของสังคมไทย
    จะเป็นตัวบิวท์ ความเหงาได้เป็นอย่างดี

    การถอนใจจากความเหงาได้ดีที่สุด
    คือ เติมเต็มตัวเองด้วยตัวเอง
    ไม่ยึดติดอะไรนอกจากความดี มีหลักการที่ถูกต้อง
    ใช้ธรรมะเป็นที่พึ่ง และทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์
    พร้อมกับพยายามเป็น ผู้ให้ มากกว่าที่จะเป็น ผู้รับ
    ถ้าทำได้อย่างนี้
    รับรองว่า ความเหงา ลาหายกลับบ้านไปแบบไม่มาทำงานอีกเลย [​IMG]




    ที่มา: หนังสือกล่องบุญ




     
  20. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    อนุโมทนาสาธุ...จ้า ๆ นู่พิมพ์ ที่ทำให้รู้เท่าทันความเหงาจ๊ะ

    การถอนใจจากความเหงาได้ดีที่สุด
    คือ เติมเต็มตัวเองด้วยตัวเอง
    ไม่ยึดติดอะไรนอกจากความดี มีหลักการที่ถูกต้อง
    ใช้ธรรมะเป็นที่พึ่ง และทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์
    พร้อมกับพยายามเป็น ผู้ให้ มากกว่าที่จะเป็น ผู้รับ
    ถ้าทำได้อย่างนี้
    รับรองว่า ความเหงา ลาหายกลับบ้านไปแบบไม่มาทำงานอีกเลย

    fairy3:z4:z9:z16:z14
     

แชร์หน้านี้

Loading...