ประวัติพระพุทธสาวกทั้ง 80 พระองค์

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย phuang, 22 กันยายน 2005.

  1. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    พระอุปสีวเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระอุปสีวะ เป็นบุตรพราหมณ์ในพระนครสาวัตถี เมื่อเจริญวัยแล้ว ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล เพื่อศึกษาศิลปวิทยา ต่อมาพราหมณ์พาวรีมีความเบื่อหน่ายในฆราวาส จึงออกบวชเป็นชฏิล ประพฤติพรตตามลัทธิของพราหมณ์ ตั้งอาศรมอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวารี ที่พรมแดนแห่งเมืองอัสสกะ และเมืองอาฬกะต่อกัน เป็นอาจารย์ใหญ่บอกไตรเพทแก่หมู่ศิษย์ อุปสีวมาณพได้ออกบวชติดตามไปศึกษาศิลปวิทยาอยู่ด้วย และเป็น ๑ ในจำนวนมาณพ ๑๖ คนที่พราหมณ์พาวรีผูกปัญหาให้ไปทูลถามพระบรมศาสดา


    ท่านได้ทูลขอโอกาสถามปัญหา ครั้นได้รับพระพุทธานุญาตแล้ว จึงได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่หก

    อุปสีวะ : ลำพังข้าพระองค์ผู้เดียวไม่ได้อาศัยอะไร และไม่อาจข้ามห้วงทะเลใหญ่ คือ กิเลสได้ ขอพระองค์ตรัสบอกอารมณ์ที่หน่วงเหนี่ยว ซึ่งข้าพระพุทธเจ้าจะพึงอาศัยข้ามห้วงนี้แก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด

    พระบรมศาสดาทรงพยากรณ์ว่า ท่านจงเป็นผู้มีสติเพ่งอากิญจัญญายตนฌานอาศัยอารมณ์ว่าไม่มี ๆ ดังนี้ ข้ามห้วงทะเลใหญ่เถิด ท่านจงละกามทั้งหลายเสีย เป็นคนหมดความสงสัย เห็นความหมดไปแห่งความทะยานอยากได้ชัดเจน ทั้งกลางวัน กลางคืนเถิด

    อุปสีวะ : ผู้ใดปราศจากความกำหนัดในกามทั้งปวงแล้วตัดฌานอื่นได้แล้วอาศัยอากิญจัญญายตนฌาน คือ ความเพ่งใจว่า ไม่มีอะไร เป็นอารมณ์น้อมใจไปแล้วในอากิญจัญญายตนฌาน ซึ่งเป็นธรรมที่เปลื้องสัญญาอย่างประเสริฐสุด ผู้นั้นจะตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนะนั้นไม่มีเสื่อมบ้าง หรือ ?

    พระบรมศาสดา : ผู้นั้นจะตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น ไม่มีเสื่อมเลย

    อุปสีวะ : ถ้าผู้นั้นจะตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้นไม่มีเสื่อม สิ้นไปเขาจะเป็นคนยั่งยืนอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น หรือ จะดับขันธนิพพานวิญญาณของคนเช่นนั้นจะเป็นฉันใด ?

    พระบรมศาสดา : เปลวไฟอันกำลังลมเป่าแล้วดับไป ไม่ถึงความนับว่าได้ไปแล้วข้างทิศไหน ฉันใด ท่านผู้รู้พ้นไปแล้วจากกองนามรูป ย่อมดับไม่มีเหลือไม่ต้องไปเกิดเป็นอะไรอีก ฉันนั้น

    อุปสีวะ : ท่านผู้นั้นดับไปแล้ว หรือเป็นเพียงแต่ไม่มีตัว หรือจะเป็นผู้ตั้งอยู่ยั่งยืน หาอันตรายมิได้ ขอพระองค์ทรงพยากรณ์ความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์ เพราะว่าธรรมนั้น พระองค์ได้ทรงทราบแล้ว

    พระบรมศาสดา : ผู้ที่ดับขันธปรินิพพานแล้วมิได้มีกิเลสซึ่งเป็นเหตุให้เกิดอีกต่อไป เพราะฉะนั้น ประมาณแห่งเบญจขันธ์ของผู้นั้นไม่มีอีก เมื่อธรรมทั้งหลาย (มีขันธ์เป็นต้น) อันผู้นั้นขจัดได้หมดแล้ว ก็ไม่ต้องกล่าวถึงว่าผู้นั้นจะไปเกิดเป็นอะไรอีก

    ครั้นพระบรมศาสดาทรงแก้ปัญหาที่อุปสีวมาณพทูลถามแล้ว ในที่สุดแห่งการแก้ปัญหา อุปสีวมาณพ ก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล หลังจากฟังการพยากรณ์ปัญหาทั้งหมดเสร็จเรียบร้อยแล้ว อุปสีวมาณพพร้อมกับมาณพอีกสิบห้าคน ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย พระองค์ก็ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วย วิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ท่านพระอุปสีวะนั้น เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็ได้ช่วยทำกิจพระพุทธศาสนา ตามสมควรแก่กำลังความสามารถ ท่านดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    พระอุปเสนเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระอุปเสนเถระ เป็นบุตรของวังคันตพราหมณ์ และนางสารีพราหมณี ในตำบลบ้านชื่อว่านาลันทะ แคว้นมคธ เดิมชื่อว่า อุปเสนมาณพ อีกอย่างหนึ่ง เรียกชื่อตามที่เป็นบุตรของวังคันตพราหมณ์ว่า อุปเสนวังคันตบุตร เป็นน้องชายของท่านพระสารีบุตร มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๖ คน น้องชาย ๓ คน คือ พระจุนทะ,พระอุปเสนะ, และพระเรวตะ, น้องหญิง ๓ คน คือ นางจาลา,นางอุปจารา, และนางสีสุปจารา รวมท่านพระสารีบุตรด้วยจึงเป็น ๗ คน อุปเสนมาณพนั้นเมื่อเติบโตแล้วได้ไปศึกษาไตรเพทตามลัทธิพราหมณ์ ต่อมาได้สดับพระธรรมเทศนาในสำนักของพระบรมศาสดา แล้วเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงได้บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ท่านพระอุปเสนะ เมื่ออุปสมบทได้เพียง ๑ พรรษา ก็มาคิดว่าจะทำพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้น ด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์ จึงได้ตั้งตนเป็นอุปัชฌาย์ทำการบวชกุลบุตร ต่อมาท่านได้พาคณะศิษย์ไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ถูกพระบรมศาสดาทรงรุกรานว่า เป็นโมฆบุรุษผู้มีความมักมาก เมื่อท่านกลับจากการเข้าเฝ้าแล้วคิดว่า เราจะยังพระบรมศาสดาให้ประทานสาธุการ (แก่เรา) เพราะอาศัยบริษัทของเราให้จงได้ ท่านครั้นคิดอย่างนั้นแล้วไม่ประมาท เพียรพยายามเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ต่อกาลไม่นาน ก็ได้บรรลุอรหัตตผล เป็นพระอรหันต์ ในตำนานกล่าวว่า ท่านได้เป็นอุปัชฌาย์บวชกุลบุตร จนมีสัทธิวิหาริกประมาณ ๕๐๐ องค์ เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร ท่านได้พาสัทธิวิหาริกไปเข้าเฝ้าอีก ในครั้งนี้พระบรมศาสดาได้ประทานสาธุการแก่ท่านว่า สาธุ สาธุ อุปเสนะ (ดูก่อนอุปเสนะ ดีละ ๆ) ฉะนี้ สมตามความที่ท่านได้คิดไว้แล้ว


    พระองค์ได้ทรงแสดงคุณของท่านพระอุปเสนะ ซึ่งมีประการต่าง ๆ แล้วตั้งท่านไว้ในตำแหน่งอันเลิศว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายข้างผู้นำมาซึ่งความเลื่อมใสโดยรอบในหมู่ชน ทั้งชั้นสูงและชั้นต่ำ ท่านพระอุปเสนะดำรงชีพอยู่โดยสมควรแก่กาลสมัยแล้ว จึงดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    พระอุรุเวลกัสสปเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พระอุรุเวลกัสสปเถระ เกิดในสกุลพราหมณ์กัสสปโคตร มีน้องชาย ๒ คน ชื่อว่า กัสสป ตามโคตรทั้งนั้น แต่ได้นำสถานที่พำนักอาศัยรวมเข้าข้างหน้าด้วย ว่า นทีกัสสป และ คยากัสสป เมื่อเจริญวัยขึ้นได้เรียนจบไตรเพท มีมาณพเป็นบริเวาร ๕๐๐ คน ต่อมาพิจารณาเห็นลัทธิที่ตนนับถือ ไม่เป็นแก่นสาร จึงได้พาน้องชาย ๒ คน พร้อมด้วยบริวารออกบวชเป็นชฎิล บำเพ็ญพรตด้วยการบูชาไฟ ตั้งอาศรมอยู่เรียงกันไป ตามลำดับ ท่านอุรุเวลกัสสปซึ่งเป็นพี่ชายคนโตตั้งอาศรมอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ จึงได้นามว่า อุรุเวลกัสสปะ เมื่อพระศาสดาพิจารณา เห็นอุปนิสัยที่แก่กล้าสมบูรณ์ และมีพระประสงค์จะประดิษฐานพระพุทธศาสนาขึ้น ณ แคว้นมคธนั้น และมีพุทธดำริจะพาท่านอุรุเวลกัสสปะ ผู้มีอายุมาก ผู้เป็นที่เคารพนับถือของมหาชนตามเสด็จไปด้วย จึงได้เสด็จดำเนินไปลำพังพระองค์เดียว ระหว่างทางได้เทศนา โปรดภัททวัคคีย์กุมาร ๓๐ คน และประทานอุปสมบทให้ แล้วส่งไปประกาศพระศาสนา เมื่อพระองค์เสด็จไปถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แล้วตรัสขอที่พักกับท่านอุรุเวลกัสสปะ ชฎิลอุรุเวลกัสสปะไม่เต็มใจที่จะให้แต่ก็ขัดไม่ได้ พระพุทธองค์ได้ทรมานท่านอุรุเวลกัสสปะด้วยอภินิหารต่าง ๆ จนในที่สุดอุรุเวลกัสสปะเกิดความสลดใจว่า ลัทธิของตนเองไม่มีแก่นสาร ต่อมาได้พาบริวาร ๕๐๐ คน นำบริขารของชฎิลไปลอยทิ้งในแม่น้ำ แล้วทูลขออุปสมบท และได้รับการอุปสมบททั้งหมดด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา ต่อมาน้องชาย ๒ คน ก็พาบริวารของตนเข้ามาอุปสมบทเหมือนพี่ชาย รวมแล้วพระพุทธเจ้าได้สวกเพิ่มขึ้นอี ๑,๐๐๓ รูป เมื่อท่านเหล่านั้นอินทรีย์แก่กล้าแล้วจึงตรัสเทศนาชื่อว่า อาทิตตปริยายสูตร โปรด เมื่อจบเทศนาแล้ว จิตของท่านเหล่านั้นก็หลุดพ้นจากอาสวะไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน คือได้บรรลุพระอรหัตเป็นพระขีณาสพ


    พระบรมศาสดา เสด็จประทับอยู่ ณ ตำบลคยาสีสะ พอสมควรแก่เวลาแล้ว พระองค์พร้อมด้วยภิกษุ ๑,๐๐๓ รูป เสด็จจาริกไปตามลำดับถึง เมืองราชคฤห์ ประทับอยู่ที่สวนตาลหนุ่มชื่อว่า ลัฏฐิวัน พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบข่าวจึงพร้อมด้วยข้าราชบริพาร เสด็จพระราชดำเนิน ไปเฝ้า พระพุทธองค์ทอดพระเนตรเห็นข้าราชบริพารของพระเจ้าพิมพิสารมรกิริยาอาการไม่อ่อนน้อม ไม่เรียบร้อย จึงตรัสสั่งพระอุรุเวลกัสสปะ ประกาศให้คนเหล่านั้นทราบว่า ลัทธิเก่านั้นหาแก่นสารมิได้ ท่านกระทำตามรับสั่งแล้วทำให้คนเหล่านั้นสิ้นความเคลือบแคลงสงสัยแล้วตั้งใจฟังพระธรรมเทศนา พระองค์ทรงแสดง อนุปุพพิกถา และ อริยสัจ ๔ เวลาจบพระธรรมเทศนา พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยบริวาร ๑๑ ส่วนได้ ดวงตาเห็นธรรม อีกส่วนหนึ่งตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์ ครั้งนี้จัดว่าท่านอุรุเวลกัสสปะได้ช่วยเป็นกำลังพระศาสนาในการประดิษฐาน พระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ

    ผลจากการที่ท่าน ได้ช่วยทำกิจพระศาสนาตามสมควรแก่กำลังความสามารถ ทำให้ได้รับการยกย่องจากพระศาสดาว่าเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้มีบริวารมาก การที่ท่านมีบริวารมากเพราะรู้จักเอาใจบริษัท สงเคราะห์ด้วยอามิสบ้าง ด้วยธรรมบ้างตามที่ต้องการ ท่านดำรงชนมายุสังขาร อยู่พอสมควรแก่กาลก็ดับขันธปรินิพพาน

    อาทิตตปริยายสูตร

    อาทิตตปริยายสูตร เป็นชื่อพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่ภิกษุ ๑,๐๐๓ รูป มีท่านอุรุเวลกัสสปะ เป็นต้น ผู้เคยเป็นชฎิลบูชาไฟมาก่อน ใจความแห่ง พระสูตรมีว่า

    ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวง สิ่งทั้งปวง คือ จักษุ คือนัยน์ตา โสตะ คือหู ฆานะ คือจมูก ชิวหา คิอลิ้น กายโผฏฐัพพะ คืออารมณ์ที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย มโน คือใจ สิ่ง ๖ อย่างนี้เรียกว่า อายตนะภายใน ๖ สิ่งทั้ง ๖ นั้นร้อนเพราะอะไร อะไรมาเผาให้ร้อน เราตถาคตกล่าวว่า ร้อนเพราะไฟคือราคะความกำหนัดยินดี โทสะคือความโกรธ โมหะคือความหลง ร้อนเพราะ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความเศร้าโศก พิไรรำพัน เจ็บกาย เสียใจ คับแค้นใจ ไฟกิเลส และไฟทุกข์เหล่านี้มาเผาให้เกิดความร้อน

    ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ที่ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งทั้งปวง ตั้งแต่เบื่อหน่ายในจักษุไปจนถึงเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเกิดความเบื่อหน่ายแล้ว ย่อมปราศจากความกำหนัดรักใคร่ และเมื่อปราศจากความรักใคร่แล้ว จิตก็หลุดพ้น จากความถือมั่น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็เกิดญาณรู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว ดังนี้ อริยสาวกนั้นทราบชัดว่าความเกิดสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอย่างอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี


    </TD></TR></TBODY></TABLE>ที่มา : http://dhammathai.org/monk/arahanta.php
     
  4. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    ครบแล้วจ้า อาร์ต ที่นี้ อ่านตาแฉะเลย....อิอิ...
     
  5. jsoc

    jsoc Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    65
    ค่าพลัง:
    +54
    น่าจะบอกความเป็น เอตทัคคะ ของแต่ละท่านด้วยจะดียิ่งขึ้นครับ
     
  6. noonei789

    noonei789 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +6,958
    อนุโมทนาค่ะ กับความตั้งใจที่รวบรวมให้พวกเราได้อ่าน
    <TABLE class=tborder id=post69024 cellSpacing=0 cellPadding=9 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt1 id=td_post_69024 style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid">
    • จิตฺเตตีติ จิตฺตํ อารมฺมณํ วิชานาตีติ อตฺโถ ฯ ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า
      จิต มีอรรถว่า ธรรมชาติที่รู้อารมณ์คือ จิต


      ในปฏิสัมภิทาพระบาลีมหาวัคค แสดงว่าจิตนี้มีชื่อที่เรียกใช้เรียกขานกันตั้ง ๑0 ชื่อ แต่ละชื่อก็แสดงให้รู้ ความหมายว่าจิตคืออะไร ดังต่อไปนี้


      ยํ จิตฺตํ มโน หทยํ มานสํ ปณฺฑรํ มนายตนํ มนินฺทฺริยํ วิญฺญาณํ วิญฺญาณกฺขนฺโธ ตชฺชา
      มโนวิญฺญาณธาตุ อิทํ จิตฺตํ ฯ
    หน้า๙

    • ซึ่ง อัฏฐสาลินีอรรถกถา อธิบายว่า


      ๑. ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต


      ๒. ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า มโน


      ๓. จิตนั่นแหล่ะได้รวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน ดังนั้นจึงชื่อว่า หทัย


      ๔. ธรรมชาติคือ ฉันทะที่มีในใจนั่นเอง ชื่อว่า มานัส


      ๕. จิตเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส จึงชื่อว่า ปัณฑระ


      ๖. มนะนั่นเองเป็นอายตนะ คือเป็นเครื่องต่อ จึงชื่อว่า มนายตนะ


      ๗. มนะอีกนั่นแหละที่เป็นอินทรีย์ คือครองความเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า มนินทรีย์


      ๘. ธรรมชาติใดที่รู้แจ้งอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิญญาณ


      ๙. วิญญาณนั่นแหละเป็นขันธ์ จึงชื่อว่า วิญญาณขันธ์


      ๑0. มนะนั่นเองเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์ จึงชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ

      สภาพหรือลักษณะของจิต

      จิตเป็นปรมัตถธรรม ดังนั้น จิตจึงมีสภาวะ หรือสภาพ หรือลักษณะทั้ง ๒ อย่างคือ ทั้งสามัญลักษณะ และวิเสสลักษณะ

      สามัญญลัษณะ หรือไตรลักษณ์ของจิต มีครบบริบูรณ์ทั้ง ๓ ประการคือ อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ

      จิตนี้เป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยง ไม่มั่นคง หมายถึงว่า ไม่ยั่งยืน ไม่ตั้งอยู่ได้ตลอดกาล


      จิตนี้เป็นทุกขัง คือทนอยู่ไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน ทนอยู่ไม่ได้ตลอดกาล จึงมีอาการเกิดดับ เกิดดับ อยู่ร่ำไป


      จิตนี้เป็นอนัตตา คือเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน เป็นสิ่งที่บังคับบัญชาให้ยั่งยืน ให้ทนอยู่ไม่ให้เกิดดับ ก็ไม่ได้เลย

      และเพราะเหตุว่าจิตนี้ เกิดดับ เกิดดับ สืบต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วเหลือประมาณ จนปุถุชนคน ธรรมดาเข้าใจไปว่า จิตนี้ไม่มีการเกิดดับ แต่ว่ายั่งยืนอยู่จนตลอดชีวิตจึงดับไปก็เหมือนกับเข้าใจว่า กระแสไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ ซึ่งกลับไปกลับมาอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งเราเห็นหลอดไฟสว่างอยู่ตลอดเวลา ก็เข้าใจว่ากระแสไฟฟ้าไม่ได้ไหลไปแล้วกลับฉะนั้น

      ส่วนวิเสสลักษณะหรือ ลักขณาทิจตุกะของจิต ก็มีครบบริบูรณ์ทั้ง ๔ ประการคือ
    หน้า๑0

    • วิชานน ลกฺขณํ มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ


      ปุพฺพงฺคม รสํ เป็นประธานในธรรมทั้งปวง เป็นกิจ


      สนฺธาน ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการเกิดต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย เป็นอาการปรากฎ


      นามรูป ปทฺฏฐานํ มีนามรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิด

      ในธรรมบท ภาค ๒ มีคาถากล่าวถึงเรื่องการระวังสังวรจิต และมีความกล่าวถึง ลักษณะหรือสภาพของจิตด้วย จึงขอนำมาแสดงไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้

      ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสริรํ คูหาสยํ
      เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา ฯ

      แปลความว่า ชนทั้งหลายใด จักระวังจิต ซึ่งไปไกล ไปเดี่ยว ไม่มีสรีระ (รูปร่าง) มีคูหาเป็นที่อาศัย ไว้ได้ ชนทั้งหลายจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร

      อนึ่ง จิตเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้เกิดขึ้น ทำให้เป็นไปได้ คือทำให้วิจิตรได้ถึง ๖ ประการ

      ๑. วิจิตรในการกระทำ คือทำให้งดงาม แปลก น่าพิศวง พิลึกกึกกือ เช่น สิ่งของต่างๆที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ย่อมมีทั้งที่งดงาม แปลกตาน่าพิศวง ตลอดจนน่าเกลียด น่าสยดสยองสพรึงกลัว

      ๒. วิจิตรด้วยตนเอง คือ ตัวจิตเองก็แปลก น่าพิศวง มีประการต่างๆ นานา เช่น จิตดีก็มี ชั่วก็มี จิตที่ฟุ้งซ่าน
      จิตที่สงบ จิตเบาปัญญา จิตที่มากด้วยปัญญา จิตที่มีความจำเลอะเลือน จิตที่มีความจำเป็นเลิศ สุดที่จะพรรณนา


      ๓. วิจิตรในการสั่งสมกรรมและกิเลส ก็น่าแปลกที่จิตนั่นแหละเป็นตัวที่ก่อกรรมทำเข็ญ และก็จิตนั่นแหละ
      เป็นตัวสะสมกรรมและกิเลสที่ตัวนั้นทำไว้เอง น่าแปลก น่าพิศวงยิ่งขึ้น ก็ตรงที่ว่า กรรมอะไรที่ไม่ดีที่ตัวทำ เอง ก็ไม่น่าจะเก็บสิ่งที่ไม่ดีนั้นไว้ แต่ก็จำต้องเก็บต้องสั่งสมไว้


      ๔. วิจิตรในการรักษาไว้ ซึ่งวิบากที่กรรมและกิเลสได้สั่งสมไว้ หมายความว่ากรรมทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมที่จิตเป็นตัวการก่อให้เกิดขึ้นนั้น จะไม่สูญหายไปไหนเลย แม้จะช้านานปานใด ก็ไม่มีการเสื่อมคลายไป เมื่อได้ช่องสบโอกาสเหมาะเมื่อใด เป็นต้องได้รับผลของ
      กรรมเมื่อนั้นจนได้
    หน้า๑๑

    • ๕. วิจิตรในการสั่งสมสันดานของตนเอง หมายถึงว่าการกระทำกรรมอย่างใดๆ ก็ตาม ถ้ากระทำอยู่บ่อยๆ ทำอยู่เสมอๆ เป็นเนืองนิจ ก็ติดฝังในนิสสัยสันดานให้ชอบกระทำ ชอบพฤติกรรมอย่างนั้นไปเรื่อยๆ ไป

      ๖. วิจิตรด้วยอารมณ์ต่างๆ หมายถึงว่าจิตนี้รับอารมณ์ได้ต่างๆ นานาไม่มีที่จำกัดแต่น่าแปลก น่าพิศวงที่มักจะรับอารมณ์ที่ไม่ดี ที่ชั่วได้ง่ายดาย

      จำแนกจิตเป็น ๔ ประเภท

      เมื่อกล่าวตาม สภาพ คือกล่าวตามลักษณะของจิตแล้ว จิตนี้มีเพียง ๑ เพราะจิตมีสภาวะ มีสภาพ มีลักษณะ รับรู้อารมณ์แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นเอง

      แต่เมื่อกล่าวตามอารมณ์ที่รู้ ตามประเภทที่รู้ กล่าวคือ รู้ในเรื่องกามที่เป็นบุญเป็นบาปรู้เรื่องรูปฌาณ รู้ในเรื่อง

      อรูปฌาณ รู้ในเรื่องนิพพานเหล่านี้แล้ว จิตก็มีจำนวนนับอย่างพิศดารได้ถึง ๑๒๑ ดวง หรือ ๑๒๑ อย่าง ๑๒๑ ชนิด และจำแนกได้เป็นประเภทตามอาการที่รู้นั้นได้เป็น ๔ ประเภท คือ


      ๑. กามาวจรจิต ๕๔ ดวง
      ๒. รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
      ๓. อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง
      ๔. โลกุตตรจิต ๘ ดวง หรือ ๔0 ดวง
      รวมเป็น ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวง

      ๑. กามาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่ข้องอยู่ ที่ติดอยู่ ที่หลงอยู่ ที่เจืออยู่ในกามตัณหา หรือเป็นจิตที่ส่วนมากท่องเที่ยววนเวียนอยู่ในกามภูมิ จิตประเภทนี้เรียกสั้นๆ ว่า กามจิต มีจำนวน ๕๔ ดวง

      ๒. รูปาวจรจิต เป็นจิตที่ถึงซึ่งรูปฌาณ พอใจที่จะเป็นรูปพรหม หรือเป็นจิตที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูปภูมิ จิตประเภทนี้มีจำนวน ๑๕ ดวง

      ๓. อรูปาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่เข้าถึงซึ่งอรูปฌาณ พอใจที่จะเป็นอรูปพรหมหรือ เป็นจิตที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูปภูมิ จิตประเภทนี้มีจำนวน ๑๒ ดวง

      ๔. โลกุตตรจิต เป็นจิตประเภทที่กำลังพ้นและพ้นแล้วจากโลกทั้ง ๓ คือ พ้นจาก กามโลก (กามภูมิ), จากรูปโลก (รูปภูมิ) และจากอรูปโลก (อรูปภูมิ) จิตประเภทนี้มีจำนวน
    หน้า๑๒

    • เพียง ๘ ดวง ถ้าจิต ๘ ดวงนี้ประกอบด้วยฌาณด้วยแล้ว จิตแต่ละดวงก็แจกได้เป็น ๕ ตามชั้นตามประเภทของฌาณ ซึ่งมี ๕ ชั้น จึงเป็นจิตพิศดาร ๔0 ดวง ดังนั้น จิตทั้งหมด นับโดยย่อก็เป็น ๕๔ ดวง และนับโดยพิศดารก็เป็น ๑๒๑ ดวงที่นับอย่างพิศดารนั้น จำนวนที่เพิ่มขึ้น ก็เพิ่มที่โลกุตตรกุศลจิตประเภทเดียวเท่านั้น

      กามาวรจิต


      กามาวจรจิต หรือ กามจิต ซึ่งมีจำนวน ๕๔ ดวงนั้น จำแนกได้เป็น ๓ จำพวก คือ อกุศลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๑๘ กามาวจรโสภณจิต ๒๔

      อกุศลจิต เป็นจิตที่ไม่ฉลาด ไม่ดี ไม่งาม เป็นจิตที่ทราม ที่ชั่ว ที่หยาบ ที่เป็นบาป ที่มีโทษ และให้ผลเป็นทุกข์ ที่ท่านแสดงอกุศลจิตก่อน ก็เพื่อจะให้รู้จักสิ่งชั่ว จะได้ไม่ประพฤติต่ำช้า อันจะนำความเดือดร้อนมาสู่ตนเองและผู้อื่น อุปมาว่าเราจักต้องรู้จักผู้ร้ายก่อน จะได้หลบหนีให้ห่างไกล จึงจะพ้นความเดือดร้อนวุ่นวาย เมื่อไม่เดือดร้อนวุ่นวาย ก็จะปกติสุข มีความสงบเป็นโอกาสที่จะประกอบกรรมดีได้โดยสะดวก
      อเหตุกจิต เป็นจิตที่ ไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป เพราะไม่มีเหตุบุญหรือเหตุบาปมาร่วมประกอบด้วย เป็นจิตที่มีประจำอยู่แล้วทั่วทุกตัวคนและเกิดขึ้นเป็นนิจ แทบไม่มีเว้นว่าง เป็นจิตที่ไม่ใช่บุญไม่ใช่บาปก็จริง แต่ทว่าเป็นจิตที่เป็นสื่อหรือเป็นทางน้อมนำมาซึ่งบาปและบุญอยู่แทบทุกขณะ ท่านจึงแสดงอเหตุกจิตเป็นอันดัยสอง รองต่อมาจากอกุศลจิต ทั้งนั้เพื่อจะได้ระมัดระวังสังวรไว้ มิให้ตกไปในทางอกุศล อันเป็นทางที่ต่ำทราม

      กามาวจรโสภณจิต เป็นจิตที่ดี ที่งาม ที่ฉลาด ที่สะอาด ไม่ก่อความเดือดร้อนให้เกิดขึ้นแก่ตนและคนอื่นเลย เป็นจิตที่ปราศจากโทษและให้ผลเป็นสุข ตามควรแก่วิสัยของบุคคลที่ยังต้องอยู่ในโลก
      รวมความว่า กามจิตนี้ แสดงให้รู้ว่า จิตอะไรเป็นจิตที่ชั่ว ซึ่งจะทำให้คนตกต่ำไปเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็น
      สัตว์เดรัจฉาน การแสดงอกุศลจิตก็เปรียบได้ว่า สอนคนไม่ให้เป็นสัตว์

      แสดงให้รู้ว่า จิตอะไรที่มีประจำอยู่เป็นนิจ อันเป็นทางน้อมนำซึ่งบาปและบุญ จะ
    หน้า๑๓

    • ได้สังวรระวังไว้ไม่ให้ตกไปในทางที่ชั่ว การแสดงอเหตุกจิต ก็เปรียบได้ว่าสอนคนให้รู้ตัวว่าเป็นคน

      แสดงให้รู้ว่า จิตอะไรบ้างที่ดีงาม เป็นบุญเป็นกุศล อันจะทำให้อยู่เย็นเป็นสุข ทั้งไม่เป็นทุกข์โทษภัยแก่ใครๆ ด้วย ก็เปรียบได้ว่า สอนคนให้เป็นมนุษย์สอนคนให้เป็นเทวดา

      ขอกล่าวถึง รูปาวรจิต อรูปาวจรจิต และโลกุตตรจิตเสียตรงนี้ด้วยเลย


      การแสดง รูปาวจรจิต และอรูปาวจรจิต เป็นการสอนมนุษย์ให้เป็นเทวดาให้เป็นพรหม

      การแสดง โลกุตตรจิต เป็นการสอน มนุษย์ เทวดา และพรหม ให้หลุดพ้นจากทุกข์ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

      อกุศลจิต

      อกุศลจิต แม้จะเป็นจิตที่ชั่วที่เป็นบาปและให้ผลเป็นทุกข์ แต่ส่วนมากมักเกิดได้ง่าย และเกิดได้บ่อย ทั้งนี้เพราะเหตุว่าเมื่อจิตได้รับอารมณ์ใดแล้ว ส่วนมากก็ไม่ได้พิจารณาให้แยบคาย คือไม่พิจารณาให้ซึ่งถึงสภาพความเป็นจริงของอารมณ์ที่ประสบนั้น การไม่ใส่ใจพิจารณาอารมณ์ด้วยดีนี้เรียกว่า
      อโยนิโสมนสิการ
      เมื่อมี อโยนิโสมนสิการ อกุศลจิตย่อมเกิดและอโยนิโสมนสิการนี้ ย่อมเกิดขึ้นโดยอาศัยเหตุ ๕ ประการ คือ


      ๑. ปุพฺเพ อกตปุญฺญตา ไม่ได้สร้างสม บุญไว้แต่ปางก่อน


      ๒. อปฺปฏิรูปเทสวาส อยู่ในประเทศที่ไม่สมควร (คือไม่มีสัปบุรุษ)


      ๓. อสปฺปุริสูปนิสฺสย ไม่ได้คบหาสมาคมกับสัปบุรุษ


      ๔. อสทฺธมฺมสฺสวน ไม่ได้ฟังธรรมของสัปบุรุษ


      ๕. อตฺตมิจฉาปณิธิ ตั้งตนไว้ผิด

      เหตุให้เกิด อโยนิโสมนสิการ ๕ ประการนี้ ประการที่ ๑ เป็นอดีตกรรมส่วนที่เหลือ อีก ๔ ประการ เป็นปัจจุบันกรรม

      อกุศลจิต ซึ่งมีจำนวน ๑๒ ดวงนั้น มีคาถาสังคหะ เป็นคาถาที่ ๓ แสดงว่า


      ๓. อฏฺฐธา โลภมูลานิ โทสมูลานิ จ ทฺวิธา
      โมหมูลานิ จ เทวฺติ ทฺวาทสากุสลา สิยุ ํ ฯ


      แปลความว่า อกุศลจิตมี ๑๒ ดวง ได้แก่
    หน้า๑๔

    • โลภมูลจิต ๘
      โทสมูลจิต ๒
      โมหมูลจิต ๒

      โลภมูลจิต เป็นจิตที่มีรากเง้าเค้ามูลเกิดมาจาก ความอยากได้ ความต้องการ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความติดใจ ความชอบใจในอารมณ์ รวมความว่าจิตจำพวกนี้ มีโลภะเป็นตัวนำ

      โทสมูลจิต เป็นจิตที่มีรากเง้าเค้ามูลเกิดมาจาก ความไม่ชอบใจ เสียใจ กลุ้มใจ รำคาญใจ หงุดหงิด โกรธ
      เกลียด กลัว ประทุษร้าย ทำลาย รวมความว่าไม่อยากได้ในอารมณ์นั้น มีโทสะเป็นตัวนำ


      โมหมูลจิต เป็นจิตที่มีรากเง้าเค้ามูลเกิดมาจาก ความหลง ความงมงาย ความไม่รู้เหตุผลต้นปลาย
      มีโมหะเป็นตัวนำ


      โลภมูลจิต

      โลภมูลจิต เป็นจิตที่มีความอยากได้เป็นมูลเหตุ หรือเป็นจิตที่มีโลภะเป็นตัวนำ หรือ จะเรียกว่า โลภสหคตจิต คือ จิตที่เกิดพร้อมด้วยโลภะก็ได้ เหตุให้เกิดโลภะมี ๔ ประการได้แก่

      ๑. โลภปริวารกมฺมปฏิสนฺธิกตา ปฏิสนธิมาด้วยกรรมที่มีโลภะเป็นบริวาร


      ๒. โลภอุสฺสนฺนภวโต จวนตา จุติมาจากภพที่มีโลภะมาก


      ๓. อิฏฐารมฺมณสมาโยโค ได้ประสบกับอารมณ์ที่ดีๆ อยู่เนืองๆ


      ๔. อสฺสาททสฺสนํ ได้เห็นสิ่งที่เป็นที่ชอบใจ
      โลภมูลจิต หรือโลภสหคตจิต ซึ่งมีจำนวน ๘ ดวง คือ

      ๑. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความดีใจ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน

      ๒. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความดีใจ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน

      ๓. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ จิตโลภที่เกิดพร้อมด้วยความดีใจ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน
    </TD></TR><TR><TD class=alt1 style="BORDER-RIGHT: #e0e0e0 1px solid" vAlign=bottom><HR style="COLOR: #e0e0e0" SIZE=1><CENTER>

    </CENTER>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. kong_sorakrit

    kong_sorakrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,771
    ค่าพลัง:
    +3,426
    ขออนุโมทนา

    [​IMG]

    ณ.โอกาศนี้ ขอน้อมองค์คุณ

    พระพุทธะอรหันต์ พระมหาพุทธะอรหันต์
    พระอรหันต์ พระมหาอรหันต์
    พระโพธิสัตว์ พระมหาโพธิสัตว์
    จงบันดาลให้ทุกท่าน
    ไม่ติด ไม่ขัด ไม่ข้อง ไม่คา
    ลุล่วงพ้นทุกข์ ตามพุทธะประสงค์ ตรงต่อพระนิพพาน
    ในชาติปัจจุบันกาลนี้ด้วยเทอญ
     
  8. Baby_par

    Baby_par เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2007
    โพสต์:
    2,743
    ค่าพลัง:
    +3,265
    สาธุๆๆๆๆๆ ดีๆๆๆๆค่ะ เอาไว้จะแวะมาบ่อยๆ ตอนนนี้ขอเม้นเก็บกระทู้เข้าริสรายชื่อไว้ก่อน
     
  9. nicname

    nicname สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2008
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +10
    อนุโมทนา สาธุ...
    ขอบคุณครับสำหรับกระทู้ดีๆแบบนี้หาอ่านยากเหมือนกัน... ตั้งใจมากเลยนะครับกว่าจะรวบรวมได้ขนาดนี้ ...ขออนุญาติ Save File ไว้ศึกษานะครับ
     
  10. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    เพิ่มเติมเรื่อง เอตทัคคะ..นะครับ

    อย่าเข้าใจผิดระหว่างพระอรหันต์ ๘๐ รูป กับ เอตทัคคะ ๘๐ ตำแหน่ง นะครับ


    พระภิกษุ มี ๔๑ ท่าน ครับที่ได้รับตำแหน่ง ครับ



    เล่มที่ ๒๐ ชื่ออังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๑๒

    [​IMG]

    ๓. เอตทัคคปาลิ


    บาลีว่าด้วยเอตทัคคะ คือบุคคลที่ได้รับยอย่องว่าเป็นผู้เลิศ




    ฝ่ายภิกษุ

    ๑ . พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นผู้เลิศในทางรู้ราตรี (รัตตัญญูเป็นคนเก่าแก่เห็นเหตุการณ์มามาก).
    ๒. พระสารีบุตร เป็นผู้เลิศในทางมีปัญญามาก.
    ๓. พระมหาโมคคัลลานะ เป็นผู้เลิศทางมีฤทธิ์.
    ๔. พระมหากัสสปะ เป็นผู้เลิศในทางกล่าวขัดเกลา ( ธูตวาทะ พูดยกย่องธุดงค์ ).
    ๕. พระอนุรุทธะ เป็นผู้เลิศในทางมีทิพยจักษุ.
    ๖. พระภัททิยะ กาฬิโคธายบุตร เป็นผู้เลิศในทางมีสกุลสูง.
    ๗. พระลกุณฏกะ ภัททิยะ เป็นผู้เลิศในทางมีเสียงไพเราะ.
    ๘. พระปิณโฑละ ภารทวาชะ เป็นผู้เลิศในทางบรรลือสีหนาท (เปล่งวาจาอย่างองอาจ).
    ๙. พระปุณณะ มันตานีบุตร เป็นผู้เลิศในทางแสดงธรรม.
    ๑๐. พระมหากัจจานะ เป็นผู้เลิศในทางจำแนกอรรถแห่งภาษิตโดยพิสดาร.
    ๑๑. พระจุลลปันถกะ เป็นผู้เลิศในทางนิรมิตกายอันสำเร็จด้วยใจ.
    ๑๒. พระจุลลปันถกะ เป็นผู้เลิศในทางฉลาดในวิวัฏฏะ (ธรรมที่ไม่เวียนว่าย ) ฝ่ายสมาธิ.
    ๑๓. พระมหาปันถกะ เป็นผู้เลิศในทางฉลาดในวิวัฏฏะฝ่ายปัญญา.
    ๑๔. พระสุภูติ เป็นผู้เลิศในทางมีอรณวิหาร ( ธรรมเป็นเครื่องอยู่ที่ไม่มีข้าศึก).
    ๑๕ . พระสุภูติ เป็นผู้เลิศในทางควรแก่การของถวาย ( ทักขิเณยยะ).
    ๑๖. พระเรวตะ ขทิรวนิยะ เป็นผู้เลิศอยู่ป่า.
    ๑๗. พระกังขาเรวตะ เป็นผู้เลิศในทางเข้าฌาน.
    ๑๘. พระโสณะ โกลิวิสะ เป็นผู้เลิศในทางปรารภความเพียร.
    ๑๙. พระโสณะ กุฏกัณณะ เป็นผู้เลิศในทางกล่าววาจาไพเราะ.
    ๒๐. พระสีวลี เป็นผู้เลิศในทางมีลาภ.
    ๒๑. พระวักกลิ เป็นผู้เลิศในทางน้อมใจไปตามความเชื่อ ( สัทธาธิมุต).
    ๒๒. พระราหุล เป็นผู้เลิศในทางใคร่ต่อการศึกษา.
    ๒๓. พระรัฏฐปาละ เป็นผู้เลิศในทางบวชด้วยศรัทธา.
    ๒๔. พระกุณฑธานะ เป็นผู้เลิศในทางจับฉลาก<SUP></SUP>. เป็นองค์แรก
    ๒๕. พระวังคีสะ เป็นผู้เลิศในทางมีปฏิภาณ.
    ๒๖. พระอุปเสนะ วังคันตบุตร เป็นผู้เลิศในทางทำให้เกิดความเลื่อมใสทั่วไป.
    ๒๗. พระทัพพะ มัลลบุตร เป็นผู้เลิศในทางจัดเสนาสนะ ( จัดที่อยู่อาศัย).
    ๒๘. พระปิลินทวัจฉะ เป็นผู้เลิศในทางเป็นที่รักเป็นที่พอใจของเทวดา.
    ๒๙. พระพาหิยะ ทารุจีริยะ เป็นผู้เลิศในทางตรัสรู้ได้เร็ว.
    ๓๐. พระกุมารกัสสปะ เป็นผู้เลิศในทางกล่าวธรรมะอันวิจิตร (ด้วยอุปมา).
    ๓๑. พระมหาโกฏฐิตะ เป็นผู้เลิศในทางบรรลุปฏิสัมภิทา ( ความแตกฉาน).
    ๓๒. พระอานนท์ เป็นผู้เลิศในทางพหุสุต ( สดับตรับฟังมาก).
    ๓๓. พระอานนท์ เป็นผู้เลิศในทางมีสติ ( ความระลึกได้ ความทรงจำ).
    ๓๔. พระอานนท์ เป็นผู้เลิศในทางมีคติ ( คติ แปลว่า ทางไปหรือที่ไป อรรถกถาอธิบายว่า ตั้งอยู่ในบทเดียว เรียนได้หกพันบท จำได้ทุกบทตามที่พระพุทธเจ้าตรัส น่าจะหมายความว่าเป็นผู้รู้จักหลักการในการเรียนรู้ คือเมื่อจับหลักได้อย่างหนึ่งแล้ว แม้จะอธิบายยักย้ายนัยไปอย่างไร ก็เข้าใจและจำได้หมด รวมความว่า เมื่อได้หลักเพียงข้อเดียวก็มีทางเข้าใจไปได้มากข้อ).
    ๓๕. พระอานนท์ เป็นผู้เลิศในทางมีธิติ ( ธิติ โดยทั่วไปแปลว่า ความอดทน อรรถกถาแก้ว่าความเพียร คือเพียรในการเรียน, การท่องจำ, การทรงจำ, การอุปฐาก หรือรับใช้พระศาสดา).
    ๓๖. พระอานนท์ เป็นผู้เลิศในทางอุปฐาก (รับใช้พระพุทธเจ้า).
    ๓๗. พระอุรุเวลกัสสปะ เป็นผู้เลิศในทางมีบริษัท (บริวาร) มาก.
    ๓๘. พระกาฬุทายี เป็นผู้เลิศในทางทำสกุลให้เลื่อมใส.
    ๓๙. พระพักกุละ เป็นผู้เลิศในทางมีอาพาธน้อย.
    ๔๐. พระโสภิตะ เป็นผู้เลิศในทางระลึกชาติได้.
    ๔๑. พระอุบาลี เป็นผู้เลิศในทางทรงจำพระวินัย.
    ๔๒. พระนันทกะ เป็นผู้เลิศในทางให้โอวาทแก่นางภิกษุณี.
    ๔๓. พระนันทะ เป็นผู้เลิศในทางสำรวมอินทรีย์ ( คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ).
    ๔๔. พระมหากัปปินะ เป็นผู้เลิศในทางให้โอวาทแก่ภิกษุ.
    ๔๕. พระสาคตะ เป็นผู้เลิศในทางฉลาดในธาตุไฟ ( หมายถึงฉลาดในการเข้าสมาบัติ มีธาตุไฟเป็นอารมณ์ทำให้เกิดธาตุไฟขึ้นได้).
    ๔๖. พระราธะ เป็นผู้เลิศในทางทำให้เกิดปฏิภาณ ( ในการแสดงพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า).
    ๔๗. พระโมฆราชะ เป็นผู้เลิศในทางทรงจีวรสีหมอง.
    (หมายเหตุ: นับตามทางที่เลิศได้ ๔๗ ทาง แต่นับจำนวนบุคคล จะได้เพียง ๔๑ ท่าน เพราะบางท่านได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เลิศหลายทาง)



    ฝ่ายภิกษุณี



    <CENTER></CENTER><CENTER>๑ . พระนางมหาปชาบดี โคตมี เป็นผู้เลิศในทางรู้ราตรี ( รัตตัญญู เพราะเป็นภิกษุณีองค์แรก ). </CENTER>๒. พระนางเขมา เป็นผู้เลิศในทางมีปัญญามาก ( พระมเหสีของพระเจ้าพิมพิสารออกทรงผนวช).
    ๓ . นางอุปปลวัณณา เป็นผู้เลิศในทางมีฤทธิ์.
    ๔. นางปฏาจารา เป็นผู้เลิศในทางทรงจำพระวินัย.
    ๕. นางธัมมทินนา เป็นผู้เลิศในทางแสดงธรรม.
    ๖. พระนางนันทา ( น้องพระอนุรุทธ์) เป็นในทางเข้าฌาน.
    ๗. นางโสณา เป็นผู้เลิศในทางปรารภความเพียร.
    ๘. นางสกุลา เป็นผู้เลิศในทางมีทิพยจักษุ.
    ๙. นางกุณฑลเกสา เป็นผู้เลิศในทางตรัสรู้ได้เร็ว.
    ๑๐. นางภัททากาปิลานี เป็นผู้เลิศในทางระลึกชาติได้.
    ๑๑. พระนางภัททา กัจจานา ( พระนางยโสธรา ) เป็นผู้เลิศในทางบรรลุอภิญญาใหญ่ ( อรรถกถาแสดงว่ามีความสามารถระลึกเหตุการณ์ในกัปป์ต่าง ๆ ย้อนหลังไปได้มากนับไม่ถ้วน).
    ๑๒. นางกิสาโคตมี เป็นผู้เลิศในทางทรงจีวรสีหมอง.
    ๑๓. นางสิคาลมาตา เป็นผู้เลิศในทางน้อมไปตามความเชื่อ ( สัทธาธิมุต).


    ฝ่ายอุบาสก ( สาวกที่มิได้บวช)

    ๑ . พ่อค้าชื่อตปุสสะ และภัลลิกะ เป็นผู้เลิศในทางถึงสรณะ ( ถึงพระพุทธ พระธรรม เป็นสรณะ) รายแรก.
    ๒. อนาถปิณฑิกะ คฤหบดี ( ผู้มีชื่อเดิมว่า สุทัตตะ) เป็นผู้เลิศในทางถวายทาน.
    ๓. จิตตะ คฤหบดี ผู้อยู่ ณ นครมัจฉิกาสณฑ์ เป็นผู้เลิศในทางแสดงธรรม.
    ๔. หัตถกะ อาฬวกะ ( ชาวอาฬวี) เป็นผู้เลิศในทางสงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุ ๔<SUP></SUP>.
    ๕. มหานาม ศากยะ เป็นผู้เลิศในทางถวายของที่ประณีต.
    ๖. อุคคะ คฤหบดี ชาวกรุงเวสาลี เป็นผู้เลิศในทางถวายของที่ชอบใจ.
    ๗. อุคคตะ คฤหบดี เป็นผู้เลิศในทางอุปฐาก (รับใช้) พระสงฆ์.
    ๘. สูระ อัมพัฏฐะ เป็นผู้เลิศในทางมีความเลื่อมใสไม่หวั่นไหว.
    ๙. ชีวก โกมารภัจจ์ เป็นผู้เลิศในทางเลื่อมใสในบุคคล (เจาะจงเฉพาะผู้ที่เห็นตนว่าดีงาม).
    ๑๐. คฤหบดี ผู้เป็นบิดาของนกุลมาณพ เป็นผู้เลิศในทางมีความคุ้นเคย ( กับพระพุทธเจ้า).


    ฝ่ายอุบาสิกา (สาวิกาที่มิได้บวช)



    <CENTER></CENTER><CENTER>๑ . นางสุชาดา ผู้เป็นธิดาของกุฏุมพี ( เศรษฐี ) ชื่อเสนิยะ เป็นผู้เลิศในทางถึงสรณะ เป็นคนแรก ( นางสุชาดาคนนี้เป็นผู้ถวายข้าวมธุปายาสแด่พระผู้มีพระภาค และเป็นมารดาของยสกุลบุตร). </CENTER>๒. นางวิสาขา มิคารมาตา<SUP></SUP>. เป็นผู้เลิศในทางถวายทาน.
    ๓. นางขุชชุตตรา เป็นผู้เลิศในทางสดับตรับฟังมาก.
    ๔. นางสามาวดี เป็นผู้เลิศในทางมีเมตตาเป็นธรรมเครื่องอยู่.
    ๕. นางอุตตรา ผู้เป็นมารดาของนันทมาณพ เป็นผู้เลิศในทางเข้าฌาน.
    ๖. นางสุปปวาสา ธิดาของโกลิยกษัตริย์ เป็นผู้เลิศในทางถวายของปราณีต.
    ๗. นางสุปปิยา อุบาสิกา เป็นผู้เลิศในทางพยาบาลไข้.
    ๘. นางกาติยานี เป็นผู้เลิศในทางเลื่อมใสไม่หวั่นไหว.
    ๙. คฤหปตานี ผู้เป็นมารดาของนกุลมาณพ เป็นผู้เลิศในทางมีความคุ้นเคย ( กับพระพุทธเจ้า).
    ๑๐. นางกาลี อุบาสิกา เป็นผู้เลิศในทางเลื่อมใส เพราะฟังจากผู้อื่น ( ฟังผู้อื่นสรรเสริญพระรัตนตรัยได้บรรลุโสดาปัตติผล).


    สรุปแล้วมีเพียง ๗๕ ท่าน...เพราะพระอานนท์ ครองไป ๕ ตำแหน่ง พระจุลลปันถกะ ๒ ตำแหน่ง พระสุภูติ ๒ ตำแหน่ง ในฝ่ายอุบาสก พ่อค้าชื่อ ตปุสสะและภัลลิกะ รวม ๒ ท่าน ๑ ตำแหน่ง ครับ...

    อ้างอิงจากพระไตรปิฏก ฉบับสำหรับประชาชน มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หน้า ๔๙๔
    http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/12.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2009
  11. ปัญจ์ธน

    ปัญจ์ธน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +855
    อนุโมทนาครับ ขอขอบคุณที่นำสิ่งดีๆมามอบให้ ขออนุญาตนำไปเผยแพร่ โดยเฉพาะกับนักเรียนจะได้มีความรู้เพิ่มขึ้น


    ธรรมะไม่กลับมา โลกาวินาศ
     
  12. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ สาธุ สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ

    ประวัติของพระอสีติมหาสาวก ๘๐ องค์ น่าสนใจมากครับ
    การบำเพ็ญบารมี แต่ละองค์สั่งสมมาไม่เหมือนกัน
    ถ้าศึกษาประวัติโดยละเอียดจะเห็นถึงกฏของกรรม
    การเวียนว่ายตายเกิด และเหตุปัจจัยที่ทำให้แต่ละองค์
    มีความเป็นเลิศที่แตกต่างกัน แต่ที่สุดของที่สุดทุกๆ องค์
    ก็บรรลุพระอรหันต์ เข้าสู่แตนพระนิพานเหมือนกันครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2009
  13. Tanunchapat

    Tanunchapat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    631
    ค่าพลัง:
    +3,191
    อนุโมทนา สาธุ สาธุ

    ขอบคุนมากนะคะ สำหรับอาหารสมอง
     
  14. Rorschach

    Rorschach สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +15
    ขอร่วมอนุโมทนาสำหรับความรู้ดีๆด้วยนะครับ
    ขออนุญาตินำไปเผยแพร่ต่อเพื่อเป็นธรรมทาน
     
  15. ttt2010

    ttt2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,754
    ค่าพลัง:
    +905
    อนุโมทนาสาธุ
    บุญนี้ ขอยกให้กับเจ้าของกระทู้ด้วยเทอญ...

    ttt2010 ศิษย์พระอาจารย์บุญยง อภิลาโส ภิกขุ
    _____________________________________________________
    แนะนำกระทู้
    มิจฉาชีพกับรถที่จอดบนทางด่วน ทางยกระดับ และทางกลับรถ
    เมื่อรู้ว่า...ดวงชะตาขาด
    คติธรรมนำทางชีวิต ตามแนวคิดของศิษย์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    เปิดดวง พิธีกรรมแก้ดวงชะตา (สำนักสงฆ์พรหมรังศรี)
    16 ตุลาคม 2554 กฐินสามัคคีปฐมฤกษ์เบิกชัย ที่พักสงฆ์พรหมรังศรี
    ป้องกันภัยน้ำท่วมเมื่อถูกธรรมชาติลงโทษ ตัวอย่างนครอินทร์&ราชพฤกษ์
    แก๊งกลุ่มเด็กอุแว้ อุแว้...ซิ่ง...(แก้เครียดน้ำท่วม)
    ท่องเที่ยวนครนายก เมืองเจ้าพ่อขุนด่าน
    ท่องวัดและศาสนสถานที่สำนักสงฆ์พรหมรังศรี
    การเบิกโอนบุญ อนุโมทนาบุญ และวิธีปฏิบัติ
    แจกฟรี (ไฟล์ PDF) หนังสือหลวงตามหาบัว ไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า ชาติสุดท้าย
    ขอเชิญร่วมบูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดดอนพัฒนาราม พระนครศรีอยุธยา
    ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างศูนย์วิปัสสนาศิริธรรม(นายาง)ต.นายาง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
    แรงศรัทธาพุทธศาสนาในบอร์ดพลังจิต
    วันอาสาฬหบูชา วันนี้เลือกเวียนเทียนที่พุทธมณฑลดีกว่า<!-- google_ad_section_end -->
     
  16. โอกระบี่

    โอกระบี่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,477
    ค่าพลัง:
    +1,651
    ขอบคุณเจ้าของกระทู้มากมายครับกับความรู้ดี ๆ หาอ่านมานานแล้ว ขอบพระคุณอีกครั้ง
     
  17. naithammada

    naithammada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +283
    พระอรหันต์เป็นแบบอย่างของเราชาวพุทธอย่างดียิ่ง
    อนุโมทนาบุญครับ สาธุ สาธุ
     
  18. ลุงมหา๑

    ลุงมหา๑ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    931
    ค่าพลัง:
    +3,937
    กุศลผลบุญอะไร จึงได้เป็น เอตทัคคะ



    ขออนุญาตครับ

    ครูบาอาจารย์เล่าให้ฟังว่า ในช่วงท้ายๆของการบำเพ็ญบารมี ของพระโพธิ์สัตว์
    จะมีพระชาติหนึ่งที่ท่าน นำพาผู้คนสร้างกุศลผลบุญอันยิ่งใหญ่

    ในชาตินั้นๆ ท่านจะมีผู้มาร่วมการสร้างกุศลผลบุญมากมาย

    ผู้ที่จะเป็นพระอัครสาวก ซ้าย ขวา ก็จะอยู่ในกลุ่มนี้

    ส่วนที่เหลือ ผู้ที่ช่วยงานอย่างขยันขันแข็งอีก ๘๐ ท่าน ก็จะได้เป็น เอตทัคคะในด้านต่างๆ ตามบุญบารมีของตน

    ขอโมทนาบุญ ขออนุโมทนาบุญ
    ลุงมหา

     
  19. takun

    takun Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2014
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +54
    ขอขอบคุณเจ้าของกระทู้ ที่ได้นำเรื่องราวที่น่าสนใจมาให้ได้อ่านกันครับ
     
  20. okas

    okas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2013
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +147
    ขอบคุณสำหรับข้อมูล ดีๆๆครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...