ประวัติพระพุทธสาวกทั้ง 80 พระองค์

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย phuang, 22 กันยายน 2005.

  1. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    พระนาคิตะเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระนาคิตะ มีชาติภูมิเป็นมาอย่างไร เป็นบุตรของใคร เกิดในตระกูลไหน เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาเมื่อไร อยู่ในสำนักของใคร ที่ไหน ยังหาหลักฐานที่แน่นอนไม่ได้ เรื่องราวของท่านตามที่ปรากฏในปกรณ์นั้น ๆ ก็กล่าวถึงเรื่องตอนที่ท่านได้อุปสมบทแล้ว และปรากฏว่าท่านก็เคยเป็นผู้อุปัฏฐากพระบรมศาสดาด้วยองค์หนึ่งเหมือนกัน


    พระบรมศาสดา ได้เสด็จเที่ยวไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เมื่อถึงบ้านพราหมณ์ชื่อว่า อิจฉานังคละ ได้ประทับอยู่ในที่นั้น พวกพราหมณ์และคฤหบดี ในหมู่บ้านนั้น พอได้ทราบข่าวว่าพระบรมศาสดาเสด็จมา จึงได้พากันจัดแจงของถวายมีของควรเคี้ยวของควรฉัน เป็นต้น แล้วพากันไปเข้าเฝ้า ส่งเสียงดังอยู่นอกซุ้มประตูสมัยนั้นท่านพระนาคิตะเป็นผู้อุปัฏฐากพระองค์ เมื่อพระองค์ได้ทรงสดับเสียงนั้นแล้ว จึงรับสั่งถามท่านพระนาคิตะว่า ดูกรนาคิตะ ชนพวกไหนพาากันส่งเสียงดังอยู่เหมือนพวกชาวประมงแย่งปลากัน ท่านออกไปดูแล้วกลับมาทูลว่า พวกพราหมณ์และคฤหบดีพากันถือขาทนียะโภชนียะมา เพื่ออุทิศถวายพระองค์พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ด้วย จึงรับสั่งว่า นาคิตะ ฉันไม่ต้องการสมาคมด้วย เพราะต้องการเพียงความสงัดวิเวก ท่านพระนาคิตะ กราบทูลว่า ขอพระองค์จงรับเถิด บัดนี้เป็นโอกาสอันสมควรที่พระองค์จะทรงรับแล้ว แต่พระองค์ตรัสห้ามเสีย แล้วทรงแสดงอานิสงส์ของภิกษุ ผู้มีความมักน้อย เที่ยวไปอยู่ในป่า ยินดีเสนาสนะอันเงียบสงัด ท่านพระนาคิตะนั้น นับเข้าในจำนวนพระสาวกผู้ใหญ่รูปหนึ่ง แต่ท่าน จะได้สำเร็จมรรคผลในครั้งไหนไม่ปรากฏชัด แม้ในเรื่องที่กล่าวมานี้ก็ไม่ได้พูดถึง แต่พึงเข้าใจว่า ท่านได้สำเร็จพระอรหัตตผลในพระพุทธศาสนา เมื่อท่านดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยกาลอันสมควรแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    พระนาลกะเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระนาลกะเป็นลูกของน้องสาวอสิตดาบส หรือ กาฬเทวิลดาบส ในกรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อครั้งพระมหาบุรุษประสูติใหม่ กาฬเทวิลดาบส ไปเยี่ยมเยียน ได้เห็นพระลักษณะของพระมหาบุรุษถูกต้องตามตำราพยากรณ์ของพราหมณ์ว่า พระองค์จะเสด็จออกทรงผนวชแล้วจักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลก จึงมาแนะนำนาลกะผู้หลานชายให้ออกบวชประพฤติพรตตามลัทธิของพราหมณ์คอยพระองค์อยู่นาลกะก็กระทำตามคำแนะนำ


    เมื่อพระมหาบุรุษเจ้าเสด็จออกทรงผนวชได้ตรัสรู้แล้ว นาลกะได้ทราบข่าว จึงเข้าไปเฝ้ากราบทูลถามปัญหาโมไนยปฏิบัติ พระองค์ก็ทรงพยากรณ์ให้โดยนัยเป็นต้นว่า พึงทำจิตให้เสมอในสัตว์และบุคคลทั้งปวง อย่าโกรธ อย่าโทมนัสขัดเคืองในเมื่อถูกบริภาษ เมื่อเวลาจบพยากรณ์ปัญหา นาลกะเกิดความเลื่อมใส จึงทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัย ครั้นได้อุปสมบทแล้ว ทูลลาพระบรมศาสดาเข้าไปสู่ป่า อุตส่าห์พยายามทำความเพียรในโมไนยปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์ ไม่ทำความสนิทสนมกับชาวบ้าน ไม่ติดในบุคคล และถิ่นที่อยู่ เป็นผู้มักน้อยในที่จะเห็น เป็นผู้มักน้อยในที่จะฟัง เป็นผู้มักน้อยในที่จะถาม ไม่ช้าไม่นานท่านก็ได้สำเร็จพระอรหัตตผล และเป็นธรรมเนียมของผู้บำเพ็ญโมไนยปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์ เป็นอย่างสูง และในศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ๆ จะมีพระสาวกผู้บำเพ็ญโมไนยปฏิบัติเพียงองค์เดียวเท่านั้น

    เพราะฉะนั้น ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม ว่า โคตมะนี้ พระนาลกะจัดว่าเป็นผู้บำเพ็ญเพียรโมไนยปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์ นับแต่วันที่ท่านได้บรรลุพระอรหัตตผลมา ท่านดำรงอายุสังขารอยู่ได้เพียง ๗ เดือนเท่านั้น ก็ดับขันธปรินิพพาน ด้วยอิริยาบถยืน เฉพาะพระพักตร์สมเด็จพระบรมศาสดา

    หมายเหตุ โมไนย (อ่านว่า โม-ไน-ยะ) หมายถึงความเป็นมุนี,ความเป็นปราชญ์,คุณธรรมของนักปราชญ์,ธรรมที่ทำให้เป็นมุนี ในเรื่องราวของท่านที่ปรากฏในปกรณ์ต่าง ๆ กล่าวว่าท่านได้ดำรงตำแหน่งเอตทัคคะ ด้วย คือ เป็นยอดเยี่ยมกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ประพฤติในโมไนยปฏิบัติ แต่ในเอตทัคคะ บาลีไม่ปรากฏจึงไม่ได้กล่าวไว้ในประวัติของท่าน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    พระปิงคิยะเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระปิงคิยะ เกิดในสกุลพราหมณ์ ในนครสาวัตถี เมื่อเจริญวัยแล้ว ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย ์ศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาในสำนักของพราหมณ์พาวรี ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล ครั้นต่อมาพราหมณ์พาวรี มีความเบื่อหน่ายในฆราวาส จึงทูลลาพระเจ้าปเสนทิโกศลออกจากตำแหน่งปุโรหิต เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว ได้ออกบวชเป็นชฏิลประพฤติพรตตามลัทธิของพราหมณ์ ตั้งอาศรมอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวารี ที่พรมแดนแห่งเมืองอัสสกะ และอาฬกะต่อกัน เป็นคณาจารย์ใหญ่บอกไตรเพทแก่หมู่ศิษย์ ปิงคิยมาณพพร้อมด้วยมาณพอื่นผู้เป็นศิษย์ ออกบวชติดตามไปศึกษาศิลปวิทยาอยู่ด้วย ปิงคิยมาณพเป็นคนหนึ่งซึ่งอยู่ในจำนวนมาณพ ๑๖ คน ที่พราหมณ์พาวรีผูกปัญหาให้ไปทูลถามพระบรมศาสดา ซึ่งประทับอยู่ที่ปาสาณเจดีย์ แคว้นมคธ


    ปิงคิยมาณพได้ทูลถามปัญหาเป็นคนสุดท้ายว่า

    ปิงคิยมาณพ : ข้าพระองค์ได้ข้าพระองค์เป็นคนแก่แล้ว ไม่มีกำลัง มีผิวพรรณ เหี่ยวย่นแล้ว ดวงตาของข้าพระองค์ก็เห็นไม่ชัดนัก หูก็ฟังไม่ชัด ขอข้าพระองค์อย่าเป็นผู้หลงฉิบหายเสียในระหว่างเลย ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมเป็นเครื่องละชาติชราในอัตภาพนี้ด้วยเถิด พระเจ้าข้า ?ทูลถามปัญหาถึงสองครั้งแล้ว พระองค์ไม่ทรงแก้ประทานแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ได้ยินว่า ถ้าทูลถามถึงสามครั้งแล้วพระองค์จะทรงแก้ จึงได้ทูลถามปัญหา เป็นคนที่สิบห้าว่า โลกนี้ก็ดี โลกอื่นก็ดี พรหมโลกกับเทวโลกก็ดีย่อมไม่ทราบความเห็นของพระองค์ เหตุฉะนี้ จึงมีปัญหามาถึงพระองค์ผู้ทรงพระปรีชาเห็นล่วงสามัญชนทั้งปวงอย่างนี้ ข้าพระองค์พิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราช (ความตาย) จึงจะไม่แลเห็น คือ จะตามไม่ทัน ?

    พระบรมศาสดาทรงพยากรณ์ว่าท่านเห็นว่า ชนทั้งหลายประมาทแล้ว ย่อมเดือดร้อนเพราะรูปเป็นเหตุ เพราะฉะนั้น ท่านจงเป็นคนไม่ประมาท ละความพอใจในรูปเสีย จะได้ไม่เกิดอีก

    ปิงคิยมาณพ : ทิศใหญ่สี่ ทิศน้อยสี่ เป็นสิบทิศทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ ที่พระองค์ไม่เคยเห็น ไม่เคยฟัง ไม่เคยทราบ ไม่ได้รู้แล้ว แม้แต่น้อยหนึ่งมิได้มีในโลก ขอพระองค์ตรัสบอกธรรมเป็นเครื่องละชาติชราในชาตินี้เสีย ?

    พระบรมศาสดาทรงพยากรณ์ว่า เมื่อท่านเห็นหมู่มนุษย์อันตัณหาครอบงำ มีความเดือดร้อนเกิดขึ้น อันชราถึงรอบด้านแล้ว เหตุนั้น ท่านจงอย่าประมาท ละตัณหาเสีย จะได้ไม่เกิดอีก

    ครั้นพระบรมศาสดา ทรงแก้ปัญหาจบลงแล้ว ปิงคิยมาณพได้เพียงดวงตาเห็นธรรม คือ ได้บรรลุเพียงโสดาปัตติผล เพราะเวลาฟังปัญหาพยากรณ์ มีจิตฟุ้งซานคิดถึงพราหมณ์พาวรีผู้เป็นอาจารย์ ว่า ลุงของเราหาได้ฟังธรรมเทศนาที่ไพเราะอย่างนี้ไม่ อาศัยโทษที่จิตฟุ้งซ่าน เพราะความรักใคร่ในอาจารย์จึงไม่อาจทำจิตให้สิ้นจากอาสวะได้ ในลำดับนั้น ปิงคิยมาณพพร้อมกับ มาณพสิบห้าคน ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย พระองค์ททรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา

    ท่านพระปิงคิยะได้อุปสมบทแล้ว จึงทูลลาพระบรมศาสดา กลับไปแจ้งข่าวแก่พราหมณ์พาวรีผู้เป็นอาจารย์แล้ว แสดงธรรมเทศนาแก้ปัญหาสิบหกข้อนั้นให้ฟัง ภายหลังได้สดับโอวาทที่พระบรมศาสดาตรัสสั่งสอน ได้บรรลุพระอรหัตตผล เป็นพระอรหันต์ในพระธรรมวินัย ส่วนพราหมณ์พาวรีผู้เป็นอาจารย์ ได้บรรลุธรรมาภิสมัย เพียงชั้นเสขภูมิ (อนาคามิผล) ท่านพระปิงคิยดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    พระปิณโฑลภารทวาชะเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พระปิณโฑลภารทวาชะ เป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาล ภารทวาชโคตร ในกรุงราชคฤห์ เดิมชื่อว่า ภารทวาชมาณพ เมื่อเจริญเติบโตแล้ว ได้ศึกษาเล่าเรียนในลัทธิของพราหมณ์จบจบไตรเพท มีความชำนาญในวิชาไตรเพทจนได้เป็นคณาจารย์ กล่าวสอนศิลปวิทยาแก่มาณพเป็นจำนวนมากประมาณ ๕๐๐ คน ภารทวาชมาณพนั้นเป็นผู้มีความมักมากในอาหารเที่ยวไปแสวงหาอาหารกับพวกมาณพผู้เป็นศิษย์ในที่ต่าง ๆ คือ ในที่ ๆ ตนควรได้บ้าง ไม่ควรได้บ้าง เหตุนั้นจึงมีนามปรากฏว่า ปิณโฑลภารทวาชมาณพ


    เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จเที่ยวประกาศพระศาสนามาโดยลำดับจนถึงพระนครราชคฤห์ ปิณโฑลภารทวาชมาณพ ได้ทราบข่าวจึงเข้าไปเฝ้าได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้วเกิดความเลื่อมใสทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย พระองค์ก็ทรงอนุญาตให้บวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา

    ต่อมาเมื่อท่านพระปิณโฑลภารทวาชะได้อุปสมบทแล้ว เป็นผู้ไม่ประมาทตั้งใจเจริญสมณธรรมในวิปัสสนากรรมฐาน ไม่ช้าไม่นานก็ได้ บรรลุพระอรหัตตผล ตามประวัติท่านเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์ ๓ ประการ คือ สตินทรีย์,สมาธินทรีย์, และปัญญินทรีย์ ในวันที่ท่านได้บรรลุพระอรหัตตผลนั้น ท่านถือเอาอาสนะเครื่องลาดไปสู่บริเวณวิหารปูลาดแล้ว บันลือออกซึ่งสีหนาท คือ เปล่งด้วยเสียงอันดังดุจราชสีห์ ด้วยวาจาอันองอาจว่า ยสฺส มคฺค วา ผเล วา กงฺขา อตฺถิ โส มํ ปุจฺฉตุ แปลว่า ผู้ในดมีความสงสัยในมรรค หรือ ผล ผู้นั้นจงถามเราเถิด ไม่ว่าท่านจะไปสู่ที่ประชุมใดก็ตาม แม้แต่ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระบรมศาสดา ท่านก็บันลือสีหนาทเช่นนั้น เพราะเหตุนี้เอง พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่าน ว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้บันลือสีหนาท ดำรงเบญจขันธ์อยู่โดยสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    พระปิลินทวัจฉะเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พระปิลินทวัจฉะ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ วัจฉโคตร เดิมชื่อ ปิลินทะ ดังนั้นจึงเรียกชื่อรวมเข้ากับโคตรว่า ปิลินทวัจฉะ เมื่อเจริญเติบโตแล้ว เกิดศรัทธาจึงได้เข้ามาบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ครั้นได้อุปสมบทเป็นภิกษุแล้ว ไม่ประมาท ตั้งใจบำเพ็ญความเพียรในวิปัสสนากรรมฐาน ต่อมาไม่ช้าไม่นาน ก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล เป็นพระอเสขบุคคลในพระพุทธศาสนา เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ที่พระเวฬุวันมหาวิหาร อันเป็นกลันทกนิวาปสถาน* ในกรุงราชคฤห์ ในเวลานั้นท่าน พระปิลินทวัจฉะร้องเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่า วสละ ซึ่งแปลว่า เป็นคนถ่อย อันเป็นคำหยาบคาย พวกภิกษุจึงพากันเข้ากราบทูลเนื้อความนั้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงรับสั่งให้เรียกตัวท่านเข้ามาเฝ้าแล้วรับสั่งถามว่า ดูก่อนปิลินทวัจฉะ เราได้ทราบข่าวว่าเธอร้องเรียกพวกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่า วสละ เป็นความจริงหรือ ? พระเถระจึงกราบทูลว่า เป็นความจริงพระพุทธเจ้าข้า ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคจึงทรงระลึกถึงบุพเพสันนิวาสของท่านพระปิลินทวัจฉะแล้ว ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่ากล่าวตำหนิปิลินทวัจฉภิกษุเลย เธอมิได้โกรธแค้นเรียกร้องพวกเธอด้วยวาทะว่า วสละ ดอก ปิลินทวัจฉภิกษุนี้เคยถือกำเนิดในตระกูลพราหมณ์มาแล้ว ๕๐๐ ชาติ เธอก็เคยมีวาทะว่า วสละ มาแล้วสิ้นกาลช้านาน เพราะเหตุนั้น เธอจึงร้องเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะเช่นนั้น ครั้นต่อมา ท่านพระปิลินทวัจฉะนั้น ได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่รักใคร่เจริญใจของเทพยดา ครั้นท่านดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน


    *กลันทกนิวาปสถาน สถานที่ให้เหยื่อกระแต


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    พระปุณณกะเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระปุณณกะ เป็นบุตรพราหมณ์ ในพระนครสาวัตถี เมื่อเจริญวัยแล้ว ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์เล่าเรียนศิลปวิทยาในสำนักของพราหมณ์พาวรี ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล ครั้นต่อมาพราหมณ์พาวรีมีความเบื่อหน่ายในฆารวาสวิสัย จึงได้กราบทูลลาออกจากตำแหน่งปุโรหิต ออกบวชเป็นชฎิลประพฤติพรตตามลัทธิของพราหมณ์พาวรี ที่พรมแดนแห่งเมืองอัสสกะและเมืองอาฬกะต่อกัน เป็นอาจารย์ใหญ่บอกไตรเพทแก่หมู่ศิษย์ ปุณณกมาณพได้ออกบวชไปศึกษาศิลปวิทยาอยู่ด้วย และรวมอยู่ในศิษย์ ๑๖ คน ที่พราหมณ์พาวรีได้ผูกปัญหาให้ไปทูลถามพระบรมศาสดาที่ปาสณเจดีย์ แคว้นมคธ


    ปุณณกมาณพได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่ ๓ ใจความว่า บัดนี้ มีปัญหามาถึงพระองค์ผู้หาความหวาดหวั่นมิได้ รู้เหตุที่เป็นรากเหง้าของสิ่งทั้งปวง ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามว่า หมู่มนุษย์ในโลกนี้ คือ ฤๅษี กษัตริย์ พราหมณ์ จำนวนมากอาศัยอะไรจึงบูชายัญบวงสรวงเทวดา ขอพระองค์ตรัสบอกข้อความนี้แก่ข้าพระองค์

    พระบรมศาสดาทรงพยากรณ์ว่า หมู่มนุษย์เหล่านั้นอยากได้ของที่พวกตนปรารถนา ที่มีชรามาทำให้แปรเปลี่ยน จึงบูชายัญบวงสรวงเทวดา

    ปุณณกมาณพทูลถามต่อว่า หมู่มนุษย์เหล่านั้น ถ้าไม่ประมาทในยัญของตน จะข้ามพ้นชาติและชราได้หรือไม่

    พระบรมศาสดาตรัสว่า หมู่มนุษย์เหล่านั้น มุ่งลาภทึ่ตนหวังจึงพูดสรรเสริญการบูชายัญ รำพันถึงสิ่งที่ตนปรารถนาก็เพราะอาศัยลาภ เราตถาคตกล่าวว่าผู้บูชายัญเหล่านั้น ยังเป็นคนกำหนัดยินดีในภพ ไม่ข้ามพ้นชาติ ชรา ไปได้

    ปุณณกมาณพจึงทูลถามต่อว่า ถ้าผู้บูชายัญเหล่านั้นข้ามพ้นชาติ ชรา เพราะยัญของตนไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นใครเล่าในเทวโลกหรือมนุษยโลกจะข้ามพ้น ชาติ ชรา นั้นได้

    พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ความอยากที่เป็นเหตุดิ้นรน ทะเยอทะยาน ของผู้ใดไม่มีในทุก ๆ ชาติ เพราะได้พิจารณาเห็นธรรมที่ยิ่งและหย่อนในโลก เราตถาคตกล่าวว่า ผู้นั้นซึ่งมีจิตสงบระงับแล้ว ไม่มีทุจริต ความประพฤติชั่วอันจะทำให้จิตมัวหมอง ดุจควันไฟที่จับเป็นเขม่า ไม่มีกิเลสอะไร ๆ มากระทบ ไม่มีความทะยานอยาก ข้ามพ้นชาติ ชรา ไปได้แล้ว

    ครั้นพระบรมศาสดา ทรงแก้ปัญหาที่ปุณณกมาณพทูลถามอย่างนี้แล้ว ในที่สุดแห่งการแก้ปัญหา ปุณณกมาณพได้สำเร็จพระอรหัตตผล (ก่อนอุปสมบท) เมื่อพระศาสดาทรงพยากรณ์ ปัญหาของมาณพที่เหลือเสร็จสิ้นแล้ว ปุณณกมาณพจึงพร้อมกับเพื่อนทั้งหมดทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย พระองค์ก็ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยงิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา เมื่อท่านดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    พระปุณณชิเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พระปุณณชิเถระ ท่านเป็นบุตรของเศรษฐีในเมืองพาราณสี เป็นเพื่อนกับพระยสะ พอทราบข่าวว่ายสกุลบุตรผู้เป็นเพื่อนออกบวชแล้ว จึงคิดว่าธรรมวินัยที่ยสกุลบุตรออกบวชนั้นจักไม่เลวทรามแน่ คงจะเป็นสิ่งประเสริฐ ครั้นคิดอย่างนั้นแล้วจึงพร้อมด้วยเพื่อน อีก ๓ คน คือ วิมละ สุพาหุ ควัมปติ ได้เข้าไปหาท่านพระยสะ หลังจากนั้นพระยสะก็พาไปเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า และทูลขอ ให้พระองค์ทรงสั่งสอน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเทศนาสอนด้วย อนุปุพพิกถา และอริสัจ ๔ ในเวลาจบพระธรมเทศนาท่านเหล่านั้น ได้ดวงตาเห็นธรรม จึงทูลขออุปสมบทกับพระศาสดา พระองค์ทรงประทานอนุญาตให้เป็นภิกษุโดยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา หลังจากได้อุปสมบทแล้วได้ฟังเทศนาปกิณณกกถาเพิ่มเติมก็ได้สำเร็จพระอรหัตตผล ท่านเป็นองค์หนึ่งที่ได้รับพุทธานุญาตให้ ไปประกาศพระศาสนาในนานาชนบท ได้ช่วยทำกิจหน้าที่เป็นอย่างดี เมื่อดำรงอายุพอสวมควรแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    พระปุณณมันตานีบุตรเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระปุณณมันตานีบุตร เป็นบุตรพราหมณ์มหาศาล ในบ้านพราหมณ์ ชื่อว่า โทณวัตถุ ไม่ห่างไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์ เดิมชื่อ "ปุณณ" เรียกนามตามที่เป็นของนางมันตานีพราหมณี ว่า ปุณณมันตานีบุตร ปุณณมาณพเป็นหลายของท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ เพราะนางมันตานีพราหมณีผู้เป็นมารดาเป็นน้องสาวของท่าน การที่ปุณณมาณพจะได้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ก็เพราะอาศัยพระอัญญาโกณฑัญญะผู้เป็นลุง เป็นผู้ชักนำมาให้บวชในเมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ ท่านได้ไปสู่กรุงกบิลพัสดุ์ให้ปุณณมาณพผู้เป็นหลายชายบวชในพระพุทธศาสนา ครั้นพระปุณณะบวชแล้วไปอยู่ในประเทศชื่อ ชาติภูมิ บำเพ็ญเพียรไม่นามนัก ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล


    ท่านพระปุณณะตั้งอยู่ในธรรม ๑๐ อย่าง คือ
    ๑. มักน้อย ๒. สันโดษ ๓. ชอบสงัด ๔. ไม่ชอบเกี่ยวข้องด้วยหมู่ ๕. ปรารภความเพียร ๖. บริบูรณ์ด้วยศีล ๗. สมาธิ ๘. ปัญญา ๙. วิมุตติ ๑๐. ความรู้เห็นในวิมุตติ


    แม้เมื่อมีบริษัท ท่านก็สั่งสอนให้ตั้งอยู่ในคุณธรรมสิบประการ ครั้นต่อมาภิกษุที่เป็นบริษัทของท่านลาไปเฝ้าพระบรมศาสดา ทูลพรรณนาคุณพระอุปัชฌาย์ของตนว่าตั้งอยู่ในคุณธรรมสิบประการนั้น และสั่งสอนให้บริษัท ตั้งอยู่ในคุณธรรมสิบประกานนั้นด้วย ในเวลานั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งอยู่ ณ ที่นั้น ได้ยินภิกษุเหล่านั้นทูลพรรณนาคุณของพระปุณณะ มีความประสงค์อยากจะรู้จักและสนทนาด้วย เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จมาเมืองสาวัตถีแล้ว ท่านพระปุณณะมาเฝ้า พอหลีกไปจากที่เฝ้าแล้ว พระสารีบุตรทราบข่าว จึงเข้าไปหาสนทนาปราศรัยกันแล้ว ไต่ถามถึงวิสุทธิ ๗ ประการ ท่านพระปุณณะก็วิสัชนาชักอุปมาอุปมัยเปรียบด้วยรถ ๗ ผลัด ในที่สุดแห่งการปุจฉาวิสัชนาวิสุทธิ ๗ ประการนั้น พระเถระทั้งสองก็อนุโมทนาภาษิตของกันและกัน

    ท่านพระปุณณมันตานีบุตรนั้น อาศัยความที่ตนตั้งอยู่ในคุณธรรมเช่นใดแล้ว สอนผู้อื่นให้ตั้งอยู่ในคุณธรรมเช่นนั้นด้วย พระบรมศาสดาจึงยกย่องสรรเสริญว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นธรรมกถึก ท่านดำรงชนมายุสังขารอยู่สมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    พระโปสาลเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระโปสาล เป็นบุตรพราหมณ์ ในพระนครสาวัตถี เมื่อเจริญวัยแล้วได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ผู้เป็นปุโรหิต ของพระเจ้าปเสนทิโกศล เพื่อศึกษาศิลปวิทยาตามลัทธิของพราหมณ์ ครั้นพราหมณ์พาวรีมีความเบื่อหน่ายในฆราวาส ทูลลาพระเจ้าปเสนทิโกศล ออกจากตำแหน่งปุโรหิต ออกบวชเป็นชฎิล ประพฤติพรตามลัทธิของพราหมณ์ตั้งอาศรมอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวารี ที่พรมแดนแห่งเมืองอัสสกะ และเมืองอาฬกะติดต่อกัน เป็นอาจารย์ใหญ่บอกไตรเพทแก่หมู่ศิษย์ โปสาลมาณพได้ออกบวชติดตามไปด้วย และอยู่ในมาณพ 16 คนที่พราหมณ์ พาวรีผูกปัญหาให้ไปทูลพามพระบรมศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์ แคว้นมคธ


    โปสาลมาณพทูลขอ โอกาสถามปัญหา ครั้นพระบรมศาสดาทรงอนุญาตแล้ว ได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่สิบสี่ว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามถึงฌาน ของบุคคลผู้มีความกำหนดหมายใจรูปแจ้งชัด (คือ ได้บรรลุรูปฌานแล้ว ) ละรูปารมณ์ทั้งหมดได้แล้ว (คือบรรลุฌานสูงกว่ารูปฌานขึ้นไปแล้ว) เห็นอยู่ทั้งภายในภายนอกว่า ไม่มีอะไรเลย (คือบรรลุอรูปฌาน ที่เรียกอากิญจัญญายตนะ ) บุคคลเช่นนั้นจะควรแนะนำสั่งสอนให้ทำอย่างไรต่อไป ?

    พระบรมศาสดาทรงพยากรณ์ว่า พระตถาครเจ้าทรงทราบภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณทั้งหาดจึงทรงทราบบุคคลเช่นนั้น แม้ยังคงอยู่ในโลกนี้ว่า มีอัธยาสัยน้อมไปในอากิญจัญญายตนภพ มีความเพลิดเพลินยินดีเห็นเครื่องประกอบ ลำดับนั้นย่อมพิจารณาเห็นสหชาตธรรม ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น (คือธรรมที่เกิดพร้อมกันกับฌานนั้น) แจ้งชัด โดยลักษณะสามอย่าง (คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว ) ข้อนี้เป็นฌานอันถ่องแท้ของบุคคลเช่นนั้น ผู้มีพรหมจรรย์ได้ประพฤติหมดแล้ว

    พระบรมศาสดาทรงแก้ปัญหาจบลง โปสาลมาณพได้บรรลุพระอรหัตตผล เมื่อจบโสฬสปัญหาพยากรณ์แล้ว โปศาลมาณพพร้อมด้วย มาณพสิบห้าคน ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย พระองค์ ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา ท่านโปสาลดำรงชนมายุสังขาร อยู่โดยสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    พระพากุละเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระพากุละ เป็นบุตรของมหาเศรษฐี ในพระนครโกสัมพี เหตุที่ท่านได้นามว่า พากุละ เพราะท่านอยู่ในตระกูลแห่งเศรษฐีทั้งหลาย หรืออีกประการหนึ่ง เพราะท่านเป็นผู้ที่ตระกูลแห่งเศรษฐีทั้งสองได้เลี้ยงดูรักษา


    มีเรื่องราวปรากฏตามประวัติว่า เมื่อท่านเกิดได้เพียง ๕ วัน มารดาบิดาพร้อมด้วยญาติของท่าน ได้จัดทำงานมงคลโกนผมไฟ และได้ขนานนามท่านด้วย พวกพี่เลี้ยงได้พาท่านไปอาบน้ำชำระร่างกายที่แม่น้ำคงคา ในขณะนั้นปรากฏว่า ได้มีปลาใหญ่ตัวหนึ่งว่ายมาตามกระแสน้ำ แลเห็นทารกนั้นเข้าสำคัญว่าเป็นอาหารจึงได้ฮุบทารกนั้นกลืนเข้าไปในท้องทราบว่าทารกนั้นเป็นผู้มีบุญญาธิการ เมื่ออยู่ในท้องปลาก็ไม่ได้รับอันตรายใด ๆ เลย แม้ความลำบากเพียงเล็กน้อยก็ไม่มี นอนสบายเหมือนนอนบนที่นอนธรรมดา แต่ด้วยอำนาจบุญญาธิการของทารกนั้น ทำให้ปลาตัวนั้นเกิดความเดือดร้อนกระวนกระวายเที่ยวแหวกว่ายไปตามกระแสน้ำบังเอิญไปติดข่ายของชาวประมงในพระนครพาราณสี เมื่อชาวประมงนั้นปลดปลาออกจากข่ายปลาตัวนั้นก็ถึงแก่ความตาย เขาจึงได้เอาปลานั้นไปเร่ขาย โดยตั้งราคาไว้ถึงหนึ่งพันกหาปณะ ในพระนครนั้นมีเศรษฐีท่านหนึ่งมีทรัพย์สมบัติมากมาย แต่หาบุตรธิดาไม่ได้เลย พร้อมด้วยภรรยาได้ซื้อปลานั้นราคาพันกหาปณะ และได้แล่ปลานั้นออก จึงได้พบทารกนั้นนอนอยู่ในท้องปลา เมื่อได้เห็นก็เกิดความรักใคร่ราวกะว่าเป็นบุตรของตน ได้เปล่งอุทานขึ้นด้วยเสียงอันดังว่า เราได้ลูกในท้องปลาแล้วดังนี้ เศรษฐีและภรรยา ได้เลี้ยงดูทารกนั้นเป็นอย่างดี มิได้มีความรังเกียจเลย ครั้นต่อมา เศรษฐีผู้เป็นบิดามารดาเดิมได้ทราบเรื่องราวนั้นเข้า จึงได้ไปยังบ้านของเศรษฐีชาวเมืองพาราณสีพอแลเห็นทารกนั้นก็จำได้ทันทีว่า เป็นบุตรของตน จึงได้ขอทารกนั้นคืนโดยแสดงเหตุผลตั้งแต่ต้นให้ท่านเศรษฐีชาวเมืองพาราณสีทราบ แต่ท่านเศรษฐีก็ไม่ยอมคืนให้ เศรษฐีผู้เป็นมารดาบิดา เมื่อเห็นว่าคงจะเป็นการตกลงกันไม่ได้ จึงได้ถวายฎีกาต่อพระเจ้าพาราณสี เพื่อให้พระองค์ทรงวินิจฉัยชี้ขาด พระองค์จึงได้ทรงวินิจฉัยให้ตระกูลทั้งสองช่วยกันรักษาเลี้ยงดูทารกนั้นไว้เป็นคนกลาง เศรษฐีทั้งสองนั้นได้ผลัดเปลี่ยนกันรักษาเลี้ยงดูไว้ในตระกูลของตน ๆ มีกำหนดคนละ ๔ เดือน อาศัยเหตุการณ์ตามเรื่องที่กล่าวมานี้ ทารกนั้นจึงได้นามว่า พากุละ ตั้งแต่นั้นมา พากุลกุมารก็ได้รับการเลี้ยงดูจากตระกูลเศรษฐีทั้งสองเป็นอย่างดียิ่ง จนเด็กนั้นเจริญวัยขึ้นตามลำดับ เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาได้เสด็จไปประกาศพระศาสนาในพระนครพาราณสี พากุลกุมาร พร้อมด้วยบริวารได้พากันไปเข้าเฝ้า เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระองค์แล้วก็เกิดศรัทธาเลื่อมใส มีความปรารถนาจะบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัย จึงได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบท เมื่อได้บรรพชา อุปสมบทแล้ว ได้ฟังพระโอวาทที่พระองค์ทรงสั่งสอนในทางวิปัสสนากรรมฐาน ท่านไม่ประมาท พยายามทำความเพียรเจริญสมณธรรมบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานเพียง ๗ วัน ก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล ท่านเพียรพยายามประกอบกิจในพระพุทธศาสนา ปรากฏว่า ตั้งแต่อุปสมบทมาในพระพุทธศาสนาประมาณได้ ๖๐ ปี ท่านไม่เคยจำพรรษาในบ้านเกิดเลย และเป็นผู้ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน ไม่ต้องทำการพยาบาลรักษาร่างกายด้วยเภสัชต่าง ๆ โดยที่สุด แม้ผลสมอชิ้นหนึ่งท่านก็ไม่เคยฉันตามประวัติของท่านกล่าวว่าการที่ท่านเป็นผู้มีโรคาพาธน้อยนั้น เป็นผลของบุญกุศลที่ท่านสร้างเวจกุฎี และให้ยาบำบัดโรคเป็นทาน

    เพราะฉะนั้น พระบรมศาสดา จึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า เป็นผู้เลิศกว่า ภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายข้างเป็นผู้มีโรคาพาธน้อย

    กิจสำคัญที่ท่านได้ทำไว้ในพุทธศาสนามีปรากฏในตำนานว่า ท่านได้ทำให้อเจลกัสสปปริพาชกผู้เป็นสหายเกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเข้ามาอุปสมบท จนกระทั่งได้บรรลุพระอรหัตตผล ด้วยการกล่าวแก้ปัญหา พระพากุลเถระดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน ก่อนแต่จะนิพพาน ท่านได้เข้าเตโชสมาบัตินั่งนิพพาน ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ เมื่อท่านนิพพานแล้ว เตโชธาตุก็บังเกิดเป็นไฟไหม้สรีระร่างกายของท่านให้หมดไป ณ ที่นั้นเอง


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    พระพาหิยทารุจิริยะเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระพาหิยทารุจิริยะ เป็นบุตรของกุฎุมพี ในแคว้นพาหิยะ เมื่อเติบโตแล้วได้ยึดอาชีพค้าขาย ครั้งหนึ่งได้ไปค้าขายทางจังหวัดสุวรรณภูมิ โดยทางเรือกับผู้คนเป็นจำนวนมาก เรือได้อัปปางลงเสียก่อนที่จะถึงที่ที่ต้องประสงค์ ผู้คนทั้งหมดได้เป็นภักษาแห่งปลาและเต่า เหลืออยู่เพียงพาหิยทารุจิริยะคนเดียว เกาะแผ่นกระดานได้แผ่นหนึ่งพยายามแหวกว่ายไปขึ้นที่ท่าเรือชื่อสุปารกะ ไม่มีผ้านุ่งผ้าห่มเหลือติดตัวอยู่เลย มองไม่เห็นอะไร ๆ ที่พอจะทำเป็นผ้าห่มจึงเอาเปลือกไม้บ้าง ใบไม้บ้าง เย็บติดกันเข้าทำเป็นผ้านุ่งห่ม ถือกระเบื้องเที่ยวไปขอทานเลี้ยงชีพ คนทั้งหลายพอได้เห็นท่านแล้วพากันสำคัญว่าคนนี้คงเป้นพระอรหันต์องค์หนึ่งแน่นอนจึงให้ข้าวต้ม และข้าวสวยเป็นต้นเป็นทาน และนำผ้านุ่งผ้าห่มไปให้เพื่อให้ท่านใช้นุ่งห่ม ท่านมาพิจารณาว่า ถ้าเรานุ่งห่มผ้าเสียแล้ว ลาภสักการะของเราจักเสื่อม จึงห้ามคนทั้งหลายไม่ให้นำผ้านุ่งผ้าห่มมาให้อีกต่อไป แล้วตนก็นุ่งเปลือกไม้ตามเดิม สำคัญตนว่าเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในกาลนั้นเทวดาผู้เคยบำเพ็ญสมณธรรมร่วมกันมาแต่ชาติก่อนซึ่งไปเกิดเป็นพรหมในชั้นสุทธาวาสได้เล็งเห็นอาการของพาหิยทารุจิริยะ เช่นนั้น จึงได้ลงมาว่ากล่าวเตือนสติ ว่า ท่านไม่ใช่พระอรหันต์ ท่านอย่าได้ทำเช่นนั้น จึงสำนึกตัวได้ว่า ตนไม่ใช่พระอรหันต์ การทำเช่นนี้เป็นการหลอกลวงโลก ไม่เป็นการสมควรเลย


    เมื่อรู้สึกตัวอย่างนั้นแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา ซึ่งประทับอยู่ที่เมืองสาวัตถี ได้สดับพระธรรมเทศนาที่พระองค์ทรงแสดงมีการตักเตือนให้สำเหนียกศึกษาในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นต้น ท่านส่งใจไปตามกระแสพระธรรมเทศนา ได้บรรลุพระอรหัตตผลพร้อมทั้งปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนาได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนากับพระบรมศาสดา พระองค์ตรัสสั่งให้ไปหาบาตรและจีวร ในขณะที่ท่านกำลังแสวงหาบาตรและจีวรอยู่นั้น บังเอิญมีนางยักษิณีตนหนึ่ง จำแลงเพศเป็นแม่โคนมวิ่งมาอย่างเร็วขวิดท่าน จนปรินิพพานไม่ทันได้อุปสมบท พระบรมศาสดาเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาตพร้อมด้วยภิกษุจำนวนมาก ได้ทอดพระเนตรเห็นร่างกายของท่านพาหิยทารุจิริยะ จึงรับสั่งให้ภิกษุจัดแจงทำฌาปนกิจ แล้วก่อพระสถูปบรรจุอัฐิไว้

    ในกาลต่อมา พระบรมศาสดาได้ทรงยกย่องตั้งท่านไว้ในตำแหน่งอันเลิศว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายข้างที่เป็นขิปปาภิญญา คือ ตรัสรู้เร็วพลัน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    พระภัคุเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พระภคุเกิดในตระกูลศากยวงศ์ในกรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จมาโปรดพระประยูรญาติ แล้วเสด็จออกจาก กรุงกบิลพัสดุ์ไปประทับอยู่ที่อนุปิยนิคมอันพวนารามของมัลลกษัตริย์ ในเวลานั้นมีศากยกุมารผู้มีชื่อเสียงโด่งดังออก บวชตามพระบรมศาสดา เป็นอันมาก วันหนึ่งอนุรุทธศากยกุมาร มีความประสงค์จะออกบวชตามเสด็จพระบรมศาสดาบ้าง จึงได้มา ชักชวนภคุศากยกุมารให้ออกบวชด้วย เมื่อภคุศากยกุมารมีความพอใจในการที่จะอุปสมบทตามคำชักชวน จึงได้พากันเสด็จออก จากพระนครกบิลพัสดุ์ พร้อมด้วยเจ้าศากยะอีก ๔ พระองค์ คือ ภัททิยะ,อนุรุทธ,อานันทะ,กิมพิละ โกลิยกุมารอีกหนึ่งองค์ คือ เทวทัต รวมทั้งอุบาลีผู้เป็นนายภูษามาลาเป็น ๗ พากันเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาซึ่งประทับอยู่ที่อนุปิยนิคม แคว้นมัลละ ทูลขออุปสมบท ในพระธรรมวินัยพระองค์ก็ทรงอนุญาติให้เป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา


    เมื่อพระภคุศากยะได้อุปสมบทแล้ว เป็นผู้ไม่ประมาทตั้งใจบำเพ็ญความเพียรในวิปัสสนากรรมฐาน ไม่ช้าไม่นานก็บรรลุ พระอรหัตตผล เป็นพระอเสขบุคคลนับเข้าในพระสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ รูปองค์หนึ่ง เมื่อท่านภคุนั้นดำรงเบญจขันธ์ อยู่โดยสมควรแก่กาล แล้วก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    พระภัททิยะเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พระภัททิยะ มีชาติภูมิอยู่ในเมืองกบิลพัสดุ์ เป็นบุตรของพราหมณ์คนหนึ่งในจำนวนพราหมณ์ ๑๐๘ ที่ได้รับเชิญเลี้ยงโภชนาหารในการทำนาย พระลักษณะของพระมหาบุรุษ


    ในสมัย ที่ท่านยังเป็นหนุ่ม ได้ยินบิดาเล่าให้ฟังว่า พระมหาบุรุษมีพระลักษณะถูกต้องตามมหาบุรุษลักษณพยากรณ์ศาสตร์ จึงเกิด ความเคารพและเลื่อมใสในพระองค์เป็นยิ่งนัก เมื่อพระมหาบุรุษเสด็จออกทรงผนวช ท่านพร้อมด้วยพราหมณ์ทั้ง ๔ คน ซึ่งมีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้าตกลงร่วมกันว่า การบรรชาของพระมหาบุรุษจักไม่เลวทรามหรือเสื่อมเสียจากประโยชน์เป็นแน่แท้ คงอำนวยประโยชน์ให้แก่คนอื่นด้วย ครั้นปรึกษากันเป็นที่เข้าใจแล้วจึงพากันออกบวชเป็นฤาษีติดตามคอยอุปัฏฐากทุกเช้าค่ำ ด้วยคาดหวังว่าถ้าพระองค์ได้ตรัสรู้แล้วจักนำธรรมะมาสั่งสอนพวกตนให้บรรลุตามบ้าง ครั้นเห็นพระองค์ทรงละการบำเพ็ญ ทุกรกิริยา จึงเกิดความเบื่อหน่ายในการคอยอุปัฏฐากทุกเช้าค่ำด้วยคิดว่า พระองค์กลายมาเป็นคนมักมากในกามคุณ คลายจาก ความเพียรเสียแล้ว คงจะไม่ได้บรรลุธรรมพิเศษอันหนึ่งอันใดแน่ จึงพากันหลีกหนีไปอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวง เมืองพาราณสี เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้วเสด็จไปโปรดแสดงพระธรรมเทศนาชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร เป็นปฐมเทศนา แต่ไม่สำเร็จมรรคผลอะไร ต่อมาได้ฟังปกิณณกเทศนา ได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน จึงได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบท ในพระธรรมวินัย

    ท่านบวชด้วย วิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา เมื่ออินทรีย์แก่กล้าแบ้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาชื่อว่า อานัตตลักขณสูตร เมื่อจบพระธรรมเทศนา ท่านก็หลุดพ้นจากกิเลศ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ท่านเป็นพระเถระรูปหนึ่งที่เป็นกำลังสำคัญในการช่วย


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    พระภัททิยะเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พระภัททิยะ เป็นพระโอรสของพระนางศากยกัญญา พระนามว่า กาฬีโคธาราชเทวี ในกรุงกบิลพัสดุ์ พระนามว่า ภัททิยราชกุมาร เมื่อเจริญเติบโตแล้วได้เสวยราชสมบัติสืบศากยวงศ์ ครั้นต่อมาถูกอนุรุทธกุมาร ผู้เป็นพระสหายมาชักชวนให้ออกบวช ครั้งแรก ภัททิยราชกุมารไม่เต็มใจจะออกบวชด้วย ในที่สุดก็จำเป็นต้องยอมบวช จึงได้ทูลลาพระมารดา เพื่อสละราชสมบัติเสด็จออก ไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่นุปิยนิคมแคว้นมัลละพร้อมด้วยพระราชกุมาร ๕ พระองค์ คือ อนุรุทธะ,อานันทะ,ภคุ,กิมพิละ, และเทวทัต รวมทั้งอุบาลีผู้เป็นนายภูษามาลาเข้าด้วยจึงเป็น ๖ ได้ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย


    ครั้นพระภัททิยะได้อุปสมบทแล้วเป็นผู้ไม่ประมาทตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรม ไม่นานก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ภายในพรรษาที่บวช นั่นเอง เมื่อท่านได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้วไม่ว่าจะไปอยู่ที่ใด จะเป็นป่าช้า หรือร่มไม้ก็ดี หรือแม้กระทั่งที่ว่างจากเรือนแห่งอื่น ๆ ก็ดี มักเปล่งอุทานในที่นั้น ๆ เสมอว่า สุขหนอ ๆ ภิกษุทั้งหลายได้ยินได้ฟังเช่นนั้นแล้ว จึงได้นำความนั้นไปกราบทูลพระบรมศาสดาว่า ท่านพระภัททิยะอุทานอย่างนี้ คงไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ มัวนึกถึงราชสมบัติเป็นแน่ พระบรมศาสดาจึงรับสั่งให้หา พระภัททิยะ มาแล้วตรัสถามว่า ภัททิยะ ได้ทราบว่า เธอเปล่งอุทานอย่างนั้นจริง หรือ ? จริงพระเจ้าข้า เธอมีความคิดเห็นอย่างไร จึงได้เปล่งอุทาน เช่นนั้น ท่านพระภัททิยะกราบทูลว่า เมื่อก่อนข้าพระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ต้องจัดการรักษาป้องกันทั้งภายในและภายนอกวัง ทั้งภายในเมือง และนอกเมือง จนตลอดทั่วอาณาเขต ข้าพระองค์ แม้มีการอารักขาอย่างนี้ ก็ยังต้องหวาดสะดุ้ง กลัวภัยอยู่เป็นนิตย์ บัดนี้ ข้าพระองค์ถึงจะอยู่ในป่า หรือใต้ร่มไม้ หรือแม้จะอยู่ในที่ว่างจากเรือนแห่งอื่น ๆ ก็ไม่รู้สึกหวาดกลัว หรือสะดุ้ง มีขนไม่ลุกชูชัน เพราะความกลัวเป็นปกติ อาศัยอาหารที่ผู้อื่น ให้เลี้ยงชีวิต มีใจดุจมฤคเป็นอยู่ ข้าพระองค์มีความคิดเห็นอย่างนี้จึงเปล่งอุทาน อย่างนั้น พระบรมศาสดาทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทาน ชมเชยในเวลานั้น

    ท่านพระภัททิยะนั้น เป็นผู้เกิดในตระกูลสูง ทั้งท่านก็ได้เป็นกษัตริย์เสวยราชสมบัติแล้ว ถึงอย่างนั้นก็ยังสละราชสมบัติออกบวช ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้เกิดในตระกูลสูง ต่อมาครั้นท่านดำรงชนมายุ สังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    พระภัทราวุธเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระภัทราวุธ เป็นบุตรพราหมณ์ ในนครสาวัตถี เมื่อเจริญวัยแล้วได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาในสำนักของพราหมณ์พาวรี ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล ครั้นต่ามาพราหมณ์พาวรี มีความเบื่อหน่ายในฆราวาส จึงทูลลาพระเจ้าปเสนทิโกศลออกจากตำแหน่งปุโรหิต เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว ได้ออกบวชเป็นชฏิลประพฤติพรตตามลัทธิของพราหมณ์ ตั้งอาศรมอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวารี ที่พรมแดนแห่งเมืองอัสสกะ และอาฬกะต่อกัน ภัทราวุธมาณพได้ติดตามออกบวชด้วยนับเข้าเป็นคนหนึ่งในจำนวนมาณพ ๑๖ คน ที่พราหมณ์พาวรีผูกปัญหาให้ไปทูลถามพระบรมศาสดา ซึ่งประทับอยู่ที่ปาสาณเจดีย์ แคว้นมคธ


    ภัทราวุธมาณพได้ทูลขอโอกาสถามปัญหา ครั้นพระบรมศาสดาทรงอนุญาตแล้วได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่สิบสองว่า

    คนที่อยู่ตามชนบทต่าง ๆ อยากจะฟังพระวาจาของพระองค์พร้อมกันมาแล้วจากชนบทนั้น ๆ ได้ฟังพระวาจาของพระองค์แล้วจะกลับไปจากที่นี้ ขอพระองค์จงทรงแก้ปัญหาเพื่อชนเหล่านั้นเถิด

    พระบรมศาสดาทรงพยากรณ์ว่า หมู่ชนนั้นควรจะนำตัณหา ที่เป็นเหตุถือมั่นในส่วนเบื้องบน เบื้องต่ำ และท่ามกลาง ออกให้หมดสิ้นเพราะเขาถือมั่นสิ่งใด ๆ ในโลก มารย่อมติดตามเขาได้เพราะสิ่งนั้น ๆ เหตุนั้นภิกษุเมื่อรู้อยู่ เห็นหมู่สัตว์ผู้ติดอยู่ในวัฏฏะอันเป็นที่ตั้งแห่งมารนี้ว่าติดอยู่ เพราะความถือมั่นดังนี้ พึงเป็นคนมีสติไม่ถือมั่นกังวลในโลกทั้งปวง

    พระบรมศาสดาทรงพยากรณ์ปัญหาจบลง ภัทราวุธมาณพ ได้บรรลุพระอรหัตตผล เมื่อจบโสฬสปัญหาพยากรณ์แล้ว ภัทราวุธมาณพพร้อมด้วยมาณพสิบห้าคน ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย พระองค์ก็ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    พระมหากัจจายนะเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระมหากัจจายนะ เป็นบุตรของพราหมณ์ ชื่อว่า กัญจนะ กัจจานโคตร หรือกัจจายนโคตร ปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในกรุงอุชเชนี เมื่อเจริญวัยขึ้นแล้วเรียนจบไตรเพท เมื่อบิดาเสียชีวิตแล้ว ได้รับตำแหน่งปุโรหิตแทนบิดา


    ครั้นกาลต่อมา พระเจ้าจัณฑปัชโชตได้ทรงทราบว่า สมเด็จพระบรมศาสดาได้ตรัสรู้แล้ว เสด็จเที่ยวสั่งสอนประชาชนอยู่ ธรรมที่พระองค์ทรงสั่งสอนนั้น เป็นธรรมที่แท้จริง ยังประโยชน์ให้สำเร็จแก่ผู้ประพฤติปฏิบัติตาม มีพระประสงค์จะทูลเชิญสมเด็จพระบรมศาสดาไปประกาศพระศาสนา ยังกรุงอุชเชนี จึงตรัสสั่งกัจจายนปุโรหิตซึ่งเป็นผู้มีความรู้เรียนจบไตรเพทไปทูลเชิญเสด็จ กัจจายนปุโรหิตทูลลาจะบวชด้วย ครั้นได้รับ พระบรมราชานุญาตแล้ว จึงออกจากกรุงอุชเชนีพร้อมด้วยบริวารทั้ง ๗ คน ครั้นมาถึงที่ประทับพระบรมศาสดาแล้ว พากันเข้าไปเฝ้า พระพุทธองค์ ตรัสเทศนาสั่งสอน ในเวลาจบเทศนาทั้งหมดได้บรรลุพระอรหัตตผลพร้อมกัน แล้วจึงทูลขออุปสมบท พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา ครั้นได้อุปสมบทแล้วจึงทูลเชิญอาราธนาพระบรมศาสดาเสด็จไปยังกรุงอุชเชนี ตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต พระบรมศาสดา ทรงรับสั่งว่าเธอไปเองเถิด เมื่อเธอไปแล้วพระเจ้าจัณฑปัชโชตจักทรงเลื่อมใส ท่านพระมหากัจจายนะพร้อมด้วยบริวารทั้งเจ็ดองค์กราบถวายบังคมลา สมเด็จพระบรมศาสดากลับไปสู่กรุงอุชเชนี ประกาศพระพุทธศฤาสนาให้พระเจ้าจัณฑปัชโชตและชาวพระนครเลื่อมใสแล้วจึงกลับมาสู่สำนักของพระบรมศาสดา

    ท่านพระมหากัจจายนะ เป็นผู้ฉลาดในการอธิบายความแห่งคำย่อให้พิสดาร เช่นในครั้งหนึ่งสมเด็จพระบรมศาสดาทรงแสดงภัทเทกรัตตสูตรโดยย่อมีใจความว่า "ผู้มีปัญญาไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรจะมุ่งหมายสิ่งที่ยังไม่มาถึง เพราะว่าสิ่งใดที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละเสียแล้ว สิ่งใดยังมาไม่ถึง สิ่งนั้นก็ยังไม่ได้ไม่ถึง ผู้ใดเห็นแจ้งธรรมที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้าในที่นั้น ๆ ในกาลนั้น ๆ ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ครั้รู้ธรรมนั้นแล้ว พึงให้ธรรมนั้นเจริญเนือง ๆ ความเพียรควรทำเสียในวันนี้แล ใครเล่าจะพึงรู้ว่าความตายจักมีต่อพรุ่งนี้ เพราะว่าความผิดเพี้ยนต่อมัจจุราชที่มีเสนาใหญ่ไม่มีเลย ผู้รู้ที่เป็นคนสงบระงับ ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืน อยู่ด้วยความไม่ประมาท อย่างนี้ชื่อว่าผู้มีราตรีเดียวเจริญ" ครั้นตรัสอย่างนี้แล้วเสด็จลุกเข้าสู่วิหารที่ประทับ ภิกษุทั้งหลายไม่ได้โอกาสที่จะทูลถามเนื้อความที่พระองค์ตรัสโดยย่อให้เข้าใจกว้างขวาง เห็นความสามารถของท่านพระมหากัจจายนะจึงได้อาราธนาขอให้ท่านอธฤบายให้ฟัง ท่านก็อธิบายให้ฟังโดยพิสดารว่า "ท่านผู้มีอายุ เราเข้าใจเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงแสดงแล้วโดยย่อ ตามความพิสดารว่า เมื่อบุคคลคิดว่าในกาลล่วงแล้ว ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ใจกับอารมณ์ที่เกิดกับใจของเรามีแล้วอย่างนั้น ความกำหนัดพอใจในสิ่งเหล่านั้นก็ผูกพันวิญญาณ เพราะวิญญาณอันความกำหนัดพอใจผูกพันแล้ว ผู้นั้นก็เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่าไม่ตามคิดถึงเรื่องที่ล่วงแล้ว บุคคลตั้งจิตไว้เพื่อหมายจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้แล้วว่า ในกาลไกลข้างหน้า นัยน์ตากับรูป เป็นต้น ของเราจักเป็นอย่างนี้ เพราะความตั้งจิตอย่างนั้นเป็นปัจจัยผู้นั้นก็เพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ ผู้ที่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่ามุ่งหมายสิ่งที่ยังมาไม่ถึง บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะหมายได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้แล้วอย่างนั้น ก็ไม่เพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ ผู้ไม่เพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่าไม่มุ่งหมายสิ่งที่ยังมาไม่ถึงแล้ว นัยน์ตากับรูปอย่างละ ๒ อันใดเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ถ้าว่าความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น ๆ ผูกพันวิญญาณได้แล้ว บุคคลก็เพลิดเพลินกับสิ่งนั้น ๆ ผู้เพลิดเพลินกับสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่าง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ถ้าความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น ๆ ไม่ผูกพันวิญญาณได้ บุคคลก็ไมาเพลิดเพลินสิ่งนั้น ๆ อย่างนี้ชื่อว่าไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ท่านผู้มีอายุเราเข้าใจเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงแสดงแล้วโดยย่อตามความพิสดารอย่างนี้ ถ้าท่านทั้งหลายประสงค์ก็จงเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดากราบทูลถามเนื้อความนั้นเถิด พระองค์ทรงเล่าอย่างไร ก็จงจำไว้อย่างนั้นเถิด" ภิกษุเหล่านั้นลาท่านพระมหากัจจายนะกลับมา แล้วเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา กราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรงทราบ พระพุทธองค์ตรัสสรรเสริญพระมหากัจจายนะว่า" ภิกษุทั้งหลาย กัจจายนะเป็นคนมีปัญญา ถ้าพวกเฮถามเนื้อความนั้นกับเรา แม้เราก็คงแก้เหมือนอย่างที่กัจจายนะแก้แล้วอย่างนั้น เนื่อความแห่งธรรมที่เราแสดงแล้วโดยย่อนั้นเป็นอย่างนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงจำไว้เถิดไ ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า "เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้อธิบายเนื้อความโดยย่อให้พิสดาร"

    ท่านพระมหากัจจายนะ ได้ทูลขอให้พระพุทธองค์ทรงแก้ไขพระพุทธบัญญัติบางข้อซึ่งขัดต่อภูมิประเทศ เช่นเมื่อท่านพำนักอยู่ ณ ภูเขาชื่อว่า ปวัตตะ แขวงเมืองกุรุรฆระ ในอวันตีทักขิณาปถชนบท อุบาสกผู้เป็นอุปัฏฐากของท่านคนหนึ่ง ชื่อว่า โสณกุฏิกัณณะมีความประสงค์จะบวชในพระธรรมวินัย แต่ก็ได้เพียงบรรพชา (บวชเป็นสามเณร) เท่านั้น โดยล่วงไปสามปีแล้วจึงได้อุปสมบท เพราะในอวันตีทักขิณาปถชนบทหาภิกษุสงฆ์เป็นคณปูรกะ (๑๐ รูปขึ้นไป) ไม่ได้ เมื่อโสณกุฏิกัณณกะได้อุปสมบทแล้วมีความปรารถนาจะไปเฝ้าพระบรมศาสดา จึงไปลาท่านพระมหากัจจายนะผู้เป็นอุปัชฌาย์ ท่านก็อนุญาต และสั่งให้ไปถวายบังคมพระบาทพระบรมศาสดาด้วยเศียรเกล้าตามคำขอของท่าน แล้วให้กราบทูลขอให้พระองค์ ทรงแก้ไขพระพุทธบัญญัติซึ่งขัดต่ออวันตีทักขิณาปถชนบท ๕ ข้อ คือ
    ๑. ในอวันตีทักขิณาปถชนบท มีภิกษุน้อย ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยภิกษุน้อยกว่า ๑๐ รูป ในข้อนี้มีพระพุทธานุญาตว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการอุปสมบทในปัจจันตชนบท ด้วยสงฆ์มีพระวินัยธรเป็นที่ ๕ (ด้วยสงฆ์ ๕ รูป)"
    ๒. ในอวันตีทักขิณาปถชนบท มีพื้นที่ขรุขระไม่สม่ำเสมอ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตรองเท้าเป็นชั้น ๆ ในข้อนี้มีพระพุทธานุญาตว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรองเท้าเป็นชั้น ๆ ในปัจจันตชนบท"
    ๓. ในอวันตีทักขิณาปถชนบท พวกมนุษย์ต้องอาบน้ำทุกวัน ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตการอาบน้ำเป็นนิตย์ ในข้อนี้มีพระพุทธานุญาตว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการอาบน้ำได้เป็นนิตย์ในปัจจันตชนบท" (ในมัชฌิมประเทศ คือในเมือง ๑๕ วันภิกษุอาบน้ำได้ครั้งหนึ่ง)
    ๔. ในอวันตีทักขิณาปถชนบท มีเครื่องลาด (ที่ปูนั่ง) ที่ทำด้วยหนังสัตว์ มีหนังแพะ หนังแกะ เป็นต้น บริบูรณ์ดีเหมือนมัชฌิมชนบท ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตเครื่องลาดทำด้วย หนังสัตว์ มีหนังแพะ หนังแกะ เป็นต้น ในข้อนี้มีพระพุทธานุญาตว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ มีหนังแพะ หนังแกะ เป็นต้น"
    ๕. ในอวันตีทักขิณาปถชนบท มีภิกษุน้อย มนุษย์ทั้งหลายย่อมถวายจีวรแก่ภิกษุผู้จาริกไปภายนอกสีมาด้วยคำว่า พวกข้าพเจ้าถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้ เมื่อพวกเธอกลับมาแล้ว พวกภิกษุในวัดแจ้งความให้พวกเธอทราบ พวกเธอรังเกียจไม่ยินดีรับ ด้วยเข้าใจว่าผ้าผืนนั้นเป็นนิสสัคคียะ (ผิดวินัยจำต้องสละ เพราะล่วงเวลา ๑๐ วันแล้ว) ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสบอกการปฏิบัติในจีวรเช่นนั้น ในข้อนี้มีพระพุทธานุญาตว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อให้ภิกษุยินดีรับจีวรที่ทายกถวาย ลับหลังนั้นได้ ผ้ายังไม่ถึงมือตราบใด จะนับว่าเธอเป็ฤนผู้มีสิทธิ์ในผ้านั้นเต็มที่ยังไม่ได้ตราบนั้น"


    ท่านพระมหากัจจายนะนั้นเป็นผู้มีรูปงาม มีผิวเหลืองดุจทอง มีเรื่องเล่าในอรรถกถาธรรมบทว่า บุตรเศรษฐีมีชื่อว่า โสเรยยะ ในโสเรยยนคร เห็นท่านแล้วนึกในใจว่า ถ้าเราได้ภรรยาที่มีรูปร่างงดงามอย่างท่านพระมหากัจจายนะจักเป็นที่พอใจยิ่ง ด้วยอำนาจอกุศลจิตเพียงเท่านี้เพศชายแห่งโสเรยยเศรษฐีบุตรนั้นกลับเป็นเพศสตรี ได้รับความอับอายเป็นอย่างยิ่งจึงหนีไปอยู่เมืองอื่นจนกระทั่งได้สามีมีบุตรด้วยกันสองคน ภายหลังได้ไปขอขมาให้ท่านพระมหากัจจายนะยกโทษแล้วเพศจึงกลับเป็นบุรุษอีกตามเดิม

    ตามความในมธุรสูตร ท่านอยู่มาถึงภายหลังแต่การปรินิพพาน แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังมีใจความว่า ครั้งหนึ่งพระมหากัจจายนอยู่ที่คุนธาวัน แขวงมธุรราชธานี พระเจ้ามธุรราชธานีอวันตีบุตรเสด็จไปหา ได้ตรัสถามว่า "พวกพราหมณ์ถือว่าพวกเขาเป็นผู้ประเสริฐ บริสุทธิ์ เกิดจากพรหม ท่านเข้าใจว่าอย่างไร" พระมหากัจจายนะทูลตอบว่า "นั้นเป็นแต่คำอ้างของเขา" ท่านชักอุทาหรณ์มาแสดงเป็นข้อ ๆ ที่วรรณะ ๔ เหล่านั้นไม่ต่างอะไรกัน ดังนี้
    ๑. ในวรรณะ ๔ เหล่า วรรณะเหล่าใดเป็นผู้มั่งคั่ง วรรณะเดียวกันและวรรณะอื่นย่อมเข้าเป็นสาวกของวรรณะนั้น
    ๒. วรรณะใดประพฤติอกุศลกรรมบถ เบื้องหน้าแต่มรณะ วรรณะนั้นย่อมเข้าสู่อบายเสมอกันหมด ไม่มีพิเศษ
    ๓. วรรณะใดประพฤติกุศลกรรมบถ เบื้องหน้าแต่มรณะ วรรณะนั้นย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เหมือนกันหมด
    ๔. วรรณะใดทำโจรกรรม ปรทาริกกรรม (การประพฤติล่วงเมียคนอื่น) วรรณะนั้นต้องรับอาญาเหมือนกันหมด ไม่มียกเว้น
    ๕. วรรณใดออกบวช ตั้งอยู่ในศีลในธรรม วรรณะนั้นย่อมได้รับความนับถือ ได้รับบำรุงและรับคุ้มครองรักษาเสมอกันหมด


    ครั้นพระเจ้ามธุรราชได้สดับแล้ว ก็เกิดความเลื่อมใส แสดงพระองค์เป็นอุบาสก ถึงพระเถรเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ พระมหากัจจายนะทูลห้ามว่า อย่าถึงตัวของอาตมภาพเป็นสรณะเลย จงถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นสรณะของอาตมภาพเป็นสรณะเถิด พระเจ้ามธุรราชตรัสถามว่า เดี๋ยวนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหน ท่านทูลให้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว พระเจ้ามธุรราชตรัสว่า ถ้าพระองค์ทรงทราบพระผู้ทีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในที่ใด แม้จะไกลักเพียงใดก็ตาม พระองค์จักเสด็จไปเฝ้าให้จงได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานเสียแล้ว ข้าพระองค์ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานแล้ว กับพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ข้อนี้ชี้ให้เห็นว่าท่านพระมหากัจจายนะ อยู่มาถึงภายหลังแต่พุทธปรินิพพาน ท่านดำรงชนมายุสังขารโดยสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    พระมหากัปปินะเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระมหากัปปินะ เป็นพระราชโอรสของกษัตริย์ ในเมืองกุกุฏวดี เมื่อพระราชบิดาทิวงคตแล้ว ได้เสวยราชย์สืบราชสันตติวงศ์สืบต่อมา มีพระอัครมเหสีพระนามว่า อโนชาเทวี ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ในเมืองสาคละ แคว้นมัททรัฐ พระเจ้ามหากัปปินะนั้น ทรงมีม้าเป็นราชพาหนะถึง ๕ ตัว คือ ๑. ม้า ชื่อว่าพละ ๒. ชื่อว่า พลวาหนะ ๓. ชื่อว่า ปุปผะ ๔. ชื่อว่า ปุปผวาหนะ ๕. ชื่อว่า สุปัตตะ เมื่อทรงม้าตัวใด ม้าที่ยังเหลือ อีก ๔ ตัว ก็จะพระราชทานแก่พวกอำมาตย์ เพื่อให้ไปสืบหาข่าว


    อยู่มาวันหนึ่ง พระองค์ทรงม้า ชื่อว่า สุปัตตะ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และเหล่าอำมาตย์ข้าราชบริพาร ได้เสด็จประพาสพระราชอุทยาน ทรงพบกับพวกพ่อค้าประมาณ ๕๐๐ คน ซึ่งเดินทางมาจากเมืองสาวัตถี ตรัสถามทราบว่า พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า ได้บังเกิดขึ้นแล้วในโลกพระองค์ทรงมีความปีติโสมนัสบังเกิดศรัทธาแก่กล้าถึงขนาด ทรงลืมพระองค์ไป ได้พระราชทานรางวัลให้พวกพ่อค้าเหล่านั้นประมาณสามแสน ให้ไปรับเอากับพระอัครมเหสี และพระองค์ได้ทรงพระอักษร (เขียนหนังสือ) มอบราชสมบัติให้แก่พระอัครมเหสีฝากไว้ด้วยแล้วพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และอำมาตย์ราชบริพารประมาณหนึ่งพันเด็จไปเฝ้าพระบรมศาสดา ในระหว่างทางเสด็จไปนั้น ได้ทรงพบแม่น้ำ ๓ สาย คือ แม่น้ำชื่อ อารวปัจฉา ๑ แม่น้ำชื่อนีลวาหนา ๑ แม่น้ำชื่อ จันทภาคา ๑ ตามลำดับ ในแม่น้ำเหล่านั้น ไม่มีเรือแพสำหรับให้ข้ามไป ด้วยเหตุนี้ เมื่อพระเจ้ามหากัปปินะพบแม่น้ำสายที่ ๑ ได้ทรงระลึกถึงพระพุทธคุณ พบแม่น้ำสายที่ ๒ ได้ทรงระลึกถึงพระธรรมคุณ พบแม่น้ำสายที่ ๓ ได้ทรงระลึกถึงพระสังฆคุณ ด้วยอานุภาพแห่งพระรัตนตรัย แม่น้ำเหล่านั้นกลับกลายเป็นน้ำแข็ง ม้าเดินข้ามไปได้โดยสะดวก ส่วนพระบรมศาสดา ทรงทราบว่า พระเจ้ามหากัปปินะทรงสละราชสมบัติ พร้อมด้วยข้าราชบริพารเสด็จมา มีพระราชประสงค์จะออกบรรพชาอุปสมบทมุ่งเฉพาะพระองค์ (พระบรมศาสดา) จึงได้เสด็จออกไปรับระยะทางประมาณ ๑๒๐ โยชน์ ประทับอยู่ใต้ร่มไทร ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา ทรงเปล่งรัศมีให้ปรากฏ พระเจ้ามหากัปปินะพร้อมด้วยข้าราชบริพารเสด็จถึงที่นั้นแล้ว เสด็จลงจากหลังม้าพระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินเข้าไปเฝ้าตามแสงสว่างแห่งรัศมี ถวายบังคมพระบรมศาสดาแล้วประทับนั่งอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง พระบรมศาสดาทรงแสดงอนุปุพพิกถา ในที่สุดแห่งเทศนา พระเจ้ามหากัปปินะพร้อมด้วยข้าราชบริพารได้บรรลุโสดาปัตติผล แล้วทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระองค์ก็ทรงอนุญาตให้อุปสมบทเป็นภิกษุด้วย เอหิภิกขุอุปสัมปทา

    ฝ่ายนางอโนชาเทวี ผู้เป็นอัครมเหสี ได้ทรงทราบเนื้อความในพระราชสาส์นจากพ่อค้า ก็ทรงบังเกิดศรัทธาเลื่อมใส จึงได้ประทานรางวัลให้พวกพ่อค้าอีกประมาณ ๙ แสน รวมเป็น ๑๒ แสน (หนึ่งล้านสองแสน) ได้ทรงสละราชสมบัติ พร้อมด้วยข้าราชบริพาร เข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาดุจในหนหลัง พระองค์ก็ทรงแสดงอนุปุพพิกถา ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนาพระนางอโนชาเทวีพร้อมด้วยข้าราชบริพาร ได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว จึงทูลขอบรรพชาอุปสมบท ต่อมาได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของนางภิกษุณี ได้บรรลุพระอรหัตตผลพร้อมกับบริวารทั้งหลาย ฝ่ายท่านพระมหากัปปินะพร้อมทั้งบริวาร ได้สดับพระธรรมเทศนา ที่พระองค์ทรงแสดงแก่พระราชเทวีนั้น ครั้นส่งจิตไปตามแนวพระธรรมเทศนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล พร้อมทั้งปฏิสัมภิทาทั้งหลาย

    พระบรมศาสดาทรงพาภิกษุพันรูปนั้นเสด็จกลับพระเชตวัน ท่านพระมหากัปปินะ ครั้นได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว เที่ยวเปล่งอุทานอยู่บ่อย ๆ ว่า อโห สุขํ อโห สุขํ แปลว่า สุขหนอ สุขหนอ ภิกษุทั้งหลายได้ยินแล้วพากกันสำคัญว่า ท่านเปล่งอุทาน เช่นนั้น เพราะปรารภความสุขในราชสมบัติของตน จึงกราบทูลความนั้นแด่พระบรมศาสดา พระองค์ทรงรับสั่งให้ท่านเข้าเฝ้า ตรัสถามทราบความจริงแล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระมหากัปปินะบุตรเรา มิได้เปล่งอุทานปรารภสุขในกาม หรือสุขในราชสมบัติ เธอเกิดปีติในธรรม จึงเปล่งอุทานปรารภอมตมหานิพพาน ส่วนท่านพระมหากัปปินะเพียรพยายามเจริญสมณธรรมบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ต่อไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล คราวแรก ๆ ท่านไม่กล้าสั่งสอนใคร เพระยังไม่ได้รับพระบรมพุทธานุญาต ต่อมาภายหลัง ท่านได้รับพระบรมพุทธานุญาตแล้ว จึงได้เป็นผู้สั่งสอนบริวารพันรูปของท่านให้สำเร็จพระอรหัตตผล

    พระบรมศาสดา ทรงปรารภความสามารถของท่านในเรื่องนี้ขึ้นเป็นต้นเหตุจึงได้ทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งอันเลิศว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายข้างให้โอวาทแก่ภิกษุบริษัท ท่านพระมหกัปปินะนั้น ดำรงชนมายุสังขารโดยสมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ได้ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    พระมหากัสสปะเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระมหากัสสปะ เป็นบุตรกปิลพราหมณ์ กัสสปโคตร ในบ้านมหาติฏฐะ จังหวัดมคธรัฐ มีชื่อว่า ปิปผลิ เรียกตามโคตรว่ากัสสปะ พออายุครบ ๒๐ ปี ได้ทำการอาวาหมงคล (แต่งงาน) กับนางภัททกาปิลานี อายุ ๑๖ ปี เป็นบุตรีพราหมณ์โกสิยโคตร เมืองสาคละ จังหวัด มคธรัฐ พราหมณ์ผู้เป็นบิดา พร้อมกับนางพราหมณีผู้มารดา ก็ปรึกษากันหาภรรยาให้แก่บุตรของตน จึงมอบสิ่งของมีเงินและทอง เป็นต้นให้แก่พราหมณ์ ๘ คน แล้วส่งไปเพื่อให้แสวงหาหญิงที่มีลักษณะดีงาม มีฐานะเสมอกันกับสกุลของตน พราหมณ์ทั้งแปดคน รับสิ่งของทองหมั้นแล้วก็เที่ยวแสวงหาไปจนกระทั่งถึงเมืองสาคละ


    ในพระนครนั้น มีธิดาของพราหมณ์โกสิยโคตรคนหนึ่ง ชื่อว่า ภัททกาปิลานี อายุ ๑๖ ปี รูปร่างสะสวยงดงามสมกับเป็นผู้มีบุญ พราหมณ์เหล่านั้นครั้นได้เห็นแล้ว จึงเข้าไปสู่ขอกับบิดามารดาของนาง เมื่อตกลงกันแล้วจึงมอบสิ่งของทองหมั้น กำหนดวันอาวาหมงคล และส่งข่าวให้กปิลพราหมณ์ได้ทราบ ส่วนปิปผลิมาณพเมื่อได้ทราบดังนั้น ไม่ได้มีความประสงค์ที่จะแต่งงานเลย จึงเข้าไปในห้องเขียน จดหมายบอกความประสงค์ของตนให้นางทราบ "นางผู้เจริญ จงได้สามีที่มีชาติและโคตร โภคสมบัติเสมอกับนาง อยู่ครอบครองเรือน เป็นสุขเถิด ฉันจักออกบวช ต่อไปภายหลังนางจะได้ไม่ต้อง้ดือดร้อน" ครั้นเขียนเสร็จแล้ว มอบให้คนใช้นำไปส่ง แม้นางภัททกาปิลานี ก็มีความประสงค์เช่นเดียวกัน จึงได้เขียนจดหมายเช่นนั้นให้คนใช้นำมา คนถือจดหมายทั้งสอง มาพบกันระหว่างทาง ต่างไต่ถามความ ประสงค์ของกันและกันแล้วจึงฉีกจดหมายออกอ่าน แล้วทิ้งจดหมายฉบับนั้นเสียในป่า เขียนจดหมายมีเนื้อความ แสดงความรักซึ่งกัน และกันขึ้นมาใหม่แล้วนำไปให้คนทั้งสอง


    ครั้นกาลต่อมา การอาวาหมงคลเป็นการสำเร็จเรียบร้อย โดยคนทั้งสองไม่ได้มีความประสงค์ สักแต่ว่าอยู่ร่วมกันเท่านั้น ไม่ได้ถูก ต้องกันเลย แม้จะขึ้นสู่เตียงนอนก็ไม่ได้ขึ้นทางเดียวกัน ปิปผลิมาณพขึ้นข้างขวา นางภัททกาปิลานีขึ้นข้างซ้าย เมื่อเวลานอนตั้งพวง ดอกไม้สองพวงไว้กลางที่นอน เพราะกลัวร่างกายจะถูกต้องกัน ถึงกลางวันก็ไม่ได้มีการหัวเราะยิ้มหัวต่อกันเลย เพราะฉะนั้นจึง ไม่มีบุตรหรือธิดาด้วยกัน สกุงของสามีภรรยาคู่นี้มั่มีมาก มีการงานเป็นบ่อเกิดแห่งทรัพย์มาก มีคนงานและพาหนะสำหรับใช้งานก็มาก ครั้นต่อมาบิดามารดาเสียชีวิต ปิปผลิมาณพได้ครองสมบัติ ดูแลการงาน สืบทอดจากบิดามารดา สามีและภรรยาต่างก็มีความเห็นร่วม กันว่า ผู้อยู่ครองเรือนต้องคอยนั่งรับบาปเพราะการงานที่ผู้อื่นทำไม่ดี จึงมีใจเบื่อหน่าย พร้อมใจกันจะออกบวช ได้แสวงหาผ้ากาสายะ ถือเพศเป็นบรรพชิต ออกบวชมุ่งหมายเป็นพระอรหันต์ในโลก สะพายบาตรลงจากปราสาทหลีกหนีไป ปิปผลิเดินหน้า นางภัททกาปิลานี เดินหลัง พอถึงทางแยกแห่งหนึ่งจึงแยกจากกัน ปิปผลิเดินไปทางขวา ส่วนนางภัททกาปิลานีเดินไปทางซ้าย จนบรรลุถึงสำนักของ นางภิกษุณี ภายหลังได้บวชเป็นนางภิกษุณี และได้บรรลุพระอรหัตตผล ส่วนปิปผลิเดินทางไปพบสมเด็จพระบรมศาสดา ซึ่งประทับ อยู่ที่ใต้ร่มไทร ซึ่งเรียกว่า พหุปุตตนิโครธ ในระหว่างกรุงราชคฤห์และเมืองนาลันทาต่อกัน มีความเลื่อมใสเปล่งวาจาประกาศว่า พระศาสดาเป็นครูของตน ตนเป็นสาวกของพระศาสดา

    พระศาสดา ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ด้วยการประทานโอวาท ๓ ข้อว่า
    ๑. กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจักเข้าไปตั้งความละอายและความเกรงใจไว้ในภิกษุที่เป็นผู้เฒ่าและปานกลางอย่างดีที่สุด
    ๒. เราจักฟังธรรมซึ่งประกอบด้วยกุศล เราจักตั้งใจฟังธรรมนั้นแล้วพิจารณาเนื้อความ
    ๓. เราจักไม่ละสติ ที่เป็นไปในกาย คือพิจารณาเอาร่างกายเป็นอารมณ์


    ครั้นประทานโอวาท แก่พระมหากัสสปะอย่างนี้แล้วเสด็จหลีกหนีไป ท่านพระกัสสปะได้ฟังพุทธโอวาทแล้ว ก็เริ่มบำเพ็ญเพียร ในวันที่ ๘ นับจากวันที่อุปสมบทมา ก็ได้สำเร็จพระอรหัตตผล ตามปกติท่านพระมหากัสสปะนั้นถือธุดงค์ ๓ ข้อ คือ ถือทรงผ้าบังสุกุล จีวรเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และถืออยู่ป่าเป็นวัตร ด้วยเหตุนั้นพระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องว่า "เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ทรงธุดงค์" อานิสงส์แห่งการถือธุดงค์ของท่านมีปรากฏดังนี้ คืทอ สมัยหนึ่ง พระบรมศาสดาเสด็จประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน ทรงรับสั่ง ให้ท่านเลิกการธุดงค์ ท่านไม่ยอมเลิก แล้วแสดงคุณแห่งการถือธุดงค์ ๒ ประการ คือ
    ๑. เป็นการอยู่เป็นสุขในบัดนี้
    ๒. เพื่ออนุเคราะห์ประชุมชนในภายหลัง จักได้ถือเป็นทิฏฐานุคติ คือ ปฏิบัติตาม


    พระบรมศาสดา ก็ประทานสาธุการว่า ดีละ ดีละ เธอปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนส่วนมาก เธอจงทรงผ้าบังสุกุลจีวร เธอจงเที่ยว บิณฑบาต เธอจงอยู่ในป่าเถิด ทรงสรรเสริญว่าเป็นผู้มักน้อนสันโดษ ภิกษุทั้งหลายเรียกท่านว่า พระมกากัสสปะ นอกจากนี้ท่านยัง มีคุณความดีมีพระบรมศาสดาทรงยกย่องหลายสถาน เช่น
    ๑. ทรงรับผ้าสังฆาฏิของท่านไปทรง (ห่ม) ประทานผ้าสังฆาฎิของพระองค์ให้แก่ท่าน ตรัสว่ามีธรรมเป็นเครื่องอยู่เสมอด้วย พระองค์ และทรงสรรเสริญว่า เป็นผู้มักน้อย สันโดษ ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายให้ถือเป็นตัวอย่าง
    ๒. กัสสปะเข้าไปในตระกูล ชักกายและใจห่าง ประพฤติตนเหมือนเป็นคนใหม่ ไม่คุ้นเคย ไม่คะนองกาย วาจา ใจในตระกูล เป็นนิตย์ จิตไม่ข้องอยู่ในตระกูลเหล่านั้น เพิกเฉยแล้วตั้งจิตเป็นกลางว่า ผู้ใคร่ลาภก็จงได้ลาภ ผู้ใคร่บุญก็จงได้บุญ ตนได้ลาภแล้วมีใจฉันใด ผู้อื่นก็มีใจฉันนั้น
    ๓. กัสสปะมีจิตประกอบไปด้วยเมตตากรุณา ในเวลาแสดงธรรมแก่ผู้อื่น
    ๔. ทรงสั่งสอนภิกษุให้ประพฤติชอบ โดยยกเอาท่านพระมหากัสสปะเป็นตัวอย่าง


    ท่านพระมหากัสสปะ นั้นดีแต่ในการปฏิบัติ หาพอใจในการสั่งสอนภิกษุสหธรรมิกไม่ ธรรมเทศนาอันเป็นอนุสาสนีของท่านจึงไม่มี คงมีแต่ธรรมภาษิตเนื่องมาจากธัมมสากัจฉา (การสนทนากันในเรื่องธรรมะ) กับเพื่อนสาวกบ้าง กล่าวทบทวนพระพุทธดำรัสบ้าง ในขณะพระบรมศาสดายังทรงพระชนม์อยู่ ดูท่านจะไม่เด่นนัก เป็นเพียงพระสาวกผู้ใหญ่รูปหนึ่งเท่านั้น มาปรากฏเป็นพระสาวก สำคัญเมื่อพระบรมศาสดาทรงปรินิพพานแล้ว คือ ในเวลานั้นท่านเป็นพระสังฆเถระ พอถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้วได้ ๗ วัน ท่านประชุมสงฆ์เล่าถึงการที่ภิกษุชื่อว่า สุภัททะ ผู้บวชเมื่อแก่ กล่าวคำมิดีมิชอบต่อพระธรรมวินัยในคราวเมื่อเดินทางจากปาวานคร ปรึกษาหารือในทางที่จะทำสังคายนา รวบรวมพระธรรมวินัยตั้งไว้เป็นแบบฉบับ พระสงฆ์ก็ยินยอมเห็นพร้อมด้วย ท่านจึงเลือกภิกษุผู้ทำสังคายนาได้ ๕๐๐ องค์

    การทำสังคายนาในครั้งนั้น ทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา แห่งเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์ พระมหากัสสปะเป็นประธาน ได้พระอุบาลี และพระอานนท์เป็นกำลังสำคัญในการวิสัชนาพระวินัย พระธรรม (พระสูตร และพระอภิธรรม) ตามลำดับ ได้พระเจ้าอชาตศัตร ูเป็นศาสนูปถัมภก ทำอยู่ ๘ เดือนจึงสำเร็จ เรียกว่า ปฐมสังคายนา เมื่อท่านทำสังคายนาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้อยู่ที่พระเวฬุวนาราม ในกรุวราชคฤห์ ไม่ประมาท ปฏิบัติธรรมเป็นนิตย์ ดำรงชนมายุสังขาร ประมาณได้ ๑๒๐ ปี ท่านก็ปรินิพพาน ณ ระหว่างกลาง กุกกุฏสัมปาตบรรพตทั้ง ๓ ลูก ในกรุงราชคฤห์


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    พระมหาโกฏฐิตเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พระมหาโกฏฐิตะ เป็นบุตรของอัสสลายนมหาพราหมณ์กับนางจันทวดีพราหมณี ในนครสาวัตถี ซึ่งสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ เมื่อเจริญเติบโตแล้ว ได้ศึกษาศิลปวิทยาตามลัทธิของพราหมณ์จนจบไตรเพท


    สมัยหนึ่งพระบรมศาสดาเสด็จเที่ยวประกาศพระศาสนาตามชนบทต่าง ๆ ได้ทรงทรมานอัสสลายนมหาพราหมณ์ผู้เป็นบิดาของท่านให้ละทิฏฐิมานะ ยอมตนเป็นอุบาสกแล้ว โกฏฐิตมาณพผู้เป็นบุตรเกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา วันหนึ่ง ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระบรมศาสดา เกิดศรัทธาเลื่อมใสใคร่จะบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยจึงได้ออกบวชในพระพุทธศาสนา มีท่านพระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาโมคคัลลานะเป็นพระอาจารย์ ตามประวัติท่านกล่าวว่า เมื่อเวลาปลงผมท่านได้พิจารณาในวิปัสสนากรรมฐาน พอผลัดผ้าสาฎกสำหรับนุ่งห่มของคฤหัสถ์ออกก็ได้บรรลุพระอรหัตตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณ ๔ วิชชา ๘ และวิโมกข์ ๓

    พระมหาโกฏฐิตะนั้น เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา ไม่ว่าจะเข้าไปหาพระเถระผู้ใหญ่ก็ดี เข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาก็ดี มักถามปัญหาในปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ เป็นประจำ ต่อมาพระบรมศาสดาทรงทำมหาเวทัลลสูตรให้เป็นต้นเหตุแล้วทรงตั้งท่านไว้ในเอตทัคคฐานว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ทั้ง ๔ เมื่อท่านดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    พระมหามามเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พระมหามามเถระ เกิดในสกุลพราหมณ์ กรุงกบิลพัสดุ์ พราหมณ์ผู้เป็นบิดาเล่าให้ฟังว่า พระมหาบุรุษมีลักษณะถูกต้องตาม ตำรา ลักษณพยากรณ์ ศาสตร์ เพราะเคยเห็นพระองค์ในครั้งที่ได้รับเชิญเลี้ยงโภชนาหารในพระราชพิธีทำนายพระลักษณะ จึงเกิดความ เลื่อม ใสจึงพร้อมด้วยพราหมณ์อีก ๔ คน มีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้า ออกเป็นฤาษีตามเสด็จคอยอุปัฏฐากพระองค์ ต่อมาเห็นพระองค์ ทรงเลิก การบำเพ็ญทุกกรกิริยาด้วยคิดว่าพระองค์จะไม่ได้บรรลุธรรมพิเศษจึงเกิดความเบื่อหน่าย พากันหนีไปอยู่ที่ป่าอิสิ ปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ครั้นพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จไปตรัสเทศนาชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร และ ปกิณณกเทศนาครบวาระที่สาม ในเวลาจบเทศนาจึงได้ดวงตาเห็นธรรม


    ท่านได้รับ การบรรพชาอุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ต่อมาได้รับฟังพระธรรมเทศนาชื่อว่า อานัตตลักขณสูตร จึงได้สำเร็จ เป็นพระอรหันต์ เมื่อพระองค์ทรงส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา ในตอนปฐมโพธิกาล ท่านเป็นองค์หนึ่งที่อยู่ในจำนวนนั้นที่ช่วย เป็นกำลังสำคัญในการประกาศพระศาสนาในสถานที่ต่าง ๆ สั่งสอนกุลบุตรให้เกิดความเชื่อและความเสื่อมใสในพระพุทธศาสนา ท่านดำรงอายุสังขารอยู่พอสมควร ก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...