ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,713
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    PSX_20200119_094205.jpg
    (Jan 19) เงินบาทแข็ง เป็นปลายเหตุ ไม่ใช่ต้นเหตุ: จริงๆ แล้ว การแก้ปัญหาเงินบาทแข็งค่าของไทย มาถูกทางแล้วหรือไม่ ทำไมเงินบาทถึงแข็งค่าไม่หยุด หรือเป็นเพราะที่ผ่านมาเป็นแค่การมองปลายเหตุเท่านั้น แล้วไทยจะลดทอนการแข็งค่าของเงินบาทได้อย่างไรบ้าง

    การแข็งค่าของเงินบาทปีที่แล้วเกือบ 9% ทำให้เงินบาทกลายเป็นสกุลเงินที่แข็งค่ามากที่สุดสกุลหนึ่งของโลกแบบไม่น่าเชื่อ มีทั้งคนชอบและไม่ชอบ

    คนชอบ คือ คนที่ใช้เงินตราต่างประเทศซื้อสินค้านำเข้า ลงทุน หรือเที่ยวต่างประเทศ เพราะทุกอย่างนอกประเทศดูถูกไปหมด จนปีที่แล้วคนไทยไปเที่ยวเมืองนอกเพิ่มขึ้นกว่า 15% คนที่ไม่ชอบ คือ ธุรกิจส่งออกและธุรกิจท่องเที่ยวที่มีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ เพราะเงินบาทแข็งทำให้สินค้าส่งออกจากไทยแพงขึ้นเทียบกับสินค้าต่างประเทศ ทำให้แข่งขันไม่ได้ การส่งออกปีที่แล้วจึงติดลบไม่เติบโต

    สำหรับรัฐบาลไม่แน่ใจว่าชอบหรือไม่ชอบ เพราะในสายตาต่างประเทศ ประเทศที่ค่าเงินแข็งจะดูเด่น แต่ในประเทศเองกลับมีเสียงบ่นตลอด เพราะประเทศเราพึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวมาก ถ้า 2 ตัวนี้ชะลอจากค่าเงินบาท เศรษฐกิจก็จะชะลอ กระทบรายได้ของภาคธุรกิจและประชาชน ทำให้มี 2 คำถามที่ประชาชนอยากรู้คำตอบ 1.ทำไมเงินบาทแข็งค่าไม่หยุด 2.รัฐบาลกับธนาคารแห่งประเทศไทยทำอะไรได้หรือไม่ ที่จะให้เงินบาทอ่อนค่าลง เป็น 2 คำถามยอดฮิตขณะนี้

    ปรกติค่าเงินของประเทศจะแข็งเมื่อเศรษฐกิจของประเทศมีปัจจัยพื้นฐานที่เข้มแข็ง เช่น มีอัตราการขยายตัวที่ดี เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ การทำนโยบายสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ ทำให้ประเทศมีรายได้และเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาก ค่าเงินจึงแข็ง

    แต่ประเทศไทยขณะนี้ไม่ใช่แบบนี้ ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไม่เข้มแข็ง อัตราการขยายตัวต่ำและบางปีก็ต่ำสุดในอาเซียน การใช้จ่ายและกำลังซื้อในประเทศอ่อนแอ ภาคธุรกิจไม่ลงทุน หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง การส่งออกและการท่องเที่ยวชะลอจากผลของเศรษฐกิจโลกและค่าเงิน การว่างงานเพิ่มสูงขึ้น เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศชะลอ นักลงทุนห่วงในเรื่องเสถียรภาพการเมืองและความต่อเนื่องของนโยบาย ขณะที่ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นก็รุนแรงและความเหลื่อมล้ำที่ประเทศมีก็ติดอันดับต้นๆ ของโลก เหล่านี้ไม่ใช่ความเข้มแข็งที่จะทำให้ค่าเงินแข็งค่าต่อเนื่อง

    แต่ที่เงินบาทแข็งค่าและแข็งค่าต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 ก็เพราะเศรษฐกิจไทยได้อยู่ในกับดักการขยายตัวต่ำเป็นเวลานาน จากที่ภาคเอกชนและภาครัฐไม่ลงทุนอย่างที่ควรต้องทำ ไม่มีนวัตกรรม เมื่อไม่ลงทุนประเทศก็ไม่มีฐานการผลิตใหม่ที่จะขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจ คนส่วนใหญ่จึงไม่มีการเติบโตของรายได้และเศรษฐกิจไม่มีกำลังซื้อ

    เมื่อเศรษฐกิจไม่มีการเติบโตของการใช้จ่าย ดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งก็คือความแตกต่างระหว่างรายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยวกับรายจ่ายจากการนำเข้าสินค้าและบริการก็เกินดุล คือ รายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศมีมากกว่ารายจ่ายกดดันให้เงินบาทซึ่งเคลื่อนไหวตามกลไกตลาดแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ช่วงปี 2558-2562 ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย เกินดุลรวมแล้วกว่า 179 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 5.4 ล้านล้านบาท

    ในทางเศรษฐศาสตร์ การเกินดุลบัญชีเดินสะพัด หมายถึง คนในประเทศออมมากกว่าลงทุน ซึ่งในประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำมากอย่างบ้านเรา คนที่ออมคือบริษัทธุรกิจขนาดใหญ่และคนที่ร่ำรวย นี่คือปัญหาที่เศรษฐกิจไทยมี คือ คนที่มีรายได้ มีเงินเหลือเก็บออม ไม่ลงทุน หรือไปลงทุนในต่างประเทศแทน แต่ถ้าเงินออมเหล่านี้ถูกนำมาลงทุนในประเทศ คือ เงิน 5.4 ล้านล้านบาทกลายเป็นเงินลงทุน เศรษฐกิจประเทศไทยก็จะเติบโตมาก เกิดการจ้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในประเทศทั้งปัจจุบันและอนาคต แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นและไม่ได้เกิดขึ้นต่อเนื่องมานานกว่า 5 ปี เศรษฐกิจไทยจึงเติบโตในอัตราที่ต่ำมาตลอด ขณะที่เงินบาทก็แข็งค่าตามกลไกตลาดจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดทุกปี แม้ปัจจัยพื้นฐานของประเทศจะไม่ดี นี่คือ ต้นเหตุของการแข็งค่า

    อีกประเด็นที่เป็นปัจจัยเสริม คือ การไหลเข้าของทุนเงินต่างประเทศ ซึ่งหลังมาตรการคิวอีของธนาคารกลางสหรัฐ เงินไหลเข้าประเทศตลาดเกิดใหม่มากเพื่อหาผลตอบแทน ซึ่งรวมถึงประเทศไทย กดดันให้เงินบาทแข็งค่า และเมื่อเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด นักลงทุนก็อ่านออกจึงนิยมลงทุนในสินทรัพย์เงินบาทระยะสั้นเพื่อหาประโยชน์จากทิศทางอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้เงินบาทยิ่งแข็งค่า
    แล้วเราจะลดทอนการแข็งค่าของเงินบาทได้อย่างไร หรือไม่

    คำตอบ คือ ต้องแก้ที่ต้นเหตุ คือทำนโยบายที่จะสร้างความมั่นใจ ทั้งเรื่องเศรษฐกิจและการเมือง ให้นักลงทุนให้คนในประเทศและบริษัทธุรกิจกลับมาลงทุน หรือมีแรงจูงใจที่จะลงทุน ที่จะสร้างนวัตกรรม สร้างเทคโนโลยี เพื่อนำประเทศไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้ประชาชนมีงานทำ มีรายได้ ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อภาคธุรกิจและประชาชนมีความหวังและเชื่อมั่นในอนาคตของประเทศ ซึ่งต้องมาจากรัฐบาลที่เอาจริงกับการพัฒนาประเทศเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม พร้อมปฏิรูปเศรษฐกิจ ปฏิรูประบบราชการ ลดความบิดเบือนให้เศรษฐกิจมีการแข่งขัน สร้างระบบการค้าขายที่เป็นธรรม ลดระบบอุปถัมภ์และการทุจริตคอร์รัปชั่น นำโดยผู้นำประเทศที่มีวิสัยทัศน์ที่ประชาชนเชื่อและสนับสนุนที่จะนำประเทศไปสู่ความเจริญก้าวหน้า

    ในลักษณะนี้ ถ้าเศรษฐกิจเป็นสิ่งมีชีวิต การแข็งค่าของเงินบาทจึงเหมือนเสียงร้องของเศรษฐกิจให้มีการปฏิรูปปรับโครงสร้างเพื่อให้เศรษฐกิจหลุดพ้นออกจากวังวนและความเจ็บปวดของการเติบโตที่ต่ำ
    แต่เมื่อสิ่งเหล่านี้ไม่เกิดขึ้น

    สิ่งที่หน่วยงานทางการอย่างธนาคารแห่งประเทศไทยจะทำได้ ก็เพียงชะลอการแข็งค่าของเงินบาทเพื่อลดผลกระทบด้วยการลดอัตราดอกเบี้ย การแทรกแซง ผ่อนคลายกฎระเบียบให้คนไทยสามารถซื้อทรัพย์สินหรือลงทุนในต่างประเทศได้ง่ายขึ้น และป้องกันการเก็งกำไร ซึ่งทั้งหมดก็เพื่อลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาท ประมาณว่า ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา(2558-2562) ทุนสำรองระหว่างประเทศได้เพิ่มขึ้นกว่า 60 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งก็คือปริมาณที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าแทรกแซงซื้อเงินดอลลาร์เพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาท เทียบได้เท่ากับหนึ่งในสามของการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกิดขึ้น

    แต่นี่เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพื่อซื้อเวลาให้รัฐบาลดำเนินนโยบายที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้ภาคธุรกิจกลับมาลงทุนให้ประเทศหลุดออกจากกับดักของการเติบโตต่ำที่เป็นต้นเหตุให้เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง

    แต่ถ้ารัฐบาลยังไม่เข้าใจในสิ่งที่ต้องทำ ยังไม่ยอมแก้ปัญหาสำคัญๆ ที่ประเทศมีเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนกลับมาลงทุน ประเทศก็สูญเสียโอกาสที่จะใช้การแข็งค่าของเงินบาทเป็นโอกาสที่จะลงทุนเพื่อสร้างอนาคตให้กับประเทศ ตรงกันข้ามเมื่อไม่มีการลงทุนแต่นโยบายมุ่งแต่จะส่งเสริมให้ประชาชนฟุ่มเฟือยด้วยการแจกเงินและสร้างหนี้ เศรษฐกิจของประเทศก็เหมือนอยู่ไปวันๆ เพราะอนาคตของประเทศเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น

    โดย ดร.บัณฑิต นิจถาวร | คอลัมน์ เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ

    Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    https://www.bangkokbiznews.com/news...medium=internal_referral&utm_campaign=topnews

     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,713
    ค่าพลัง:
    +97,150
    John Traczyk

    storm พายุที่รุนแรงที่สุดเพียงครั้งเดียวที่ฉันเคยพบเจอในชีวิตของฉัน ’: พายุหิมะ / พายุไซโคลนที่มีประสิทธิภาพ' อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนใน Newfoundland, Canada เมื่อวันที่ 17 มกราคมทำให้เกิดหิมะตกหนัก และพายุเฮอร์ริเคน เกือบ 12 ชั่วโมงของลม ในช่วง 40 ถึง 50 ไมล์ต่อชั่วโมงและลมกระโชกใกล้กับ 80 ถึง 90 ไมล์ต่อชั่วโมง”

    ประกาศภาวะฉุกเฉินสำหรับ St John's, Newfoundland เนื่องจากสภาพอากาศที่รุนแรง มีหิมะ 3 ฟุต คาดการณ์และสามารถจัดอันดับให้เป็นหนึ่งวันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเมืองที่มีหิมะตกลงมา

    รายงานโซเชียลมีเดียบางรายงานระบุว่าใกล้ถึงสามฟุตที่ตกลงมาในไม่กี่แห่งในช่วงบ่ายวันศุกร์ ภาพถ่ายแสดงหิมะที่มีความสูง 6 ถึง 7 ฟุตฝังคนในบ้านของพวกเขา

    ภาพที่ถ่ายเช้าวันศุกร์

    ‘The single most intense storm I’ve experienced in my life’: Powerful 'unprecedented' blizzard / bomb cyclone hit Newfoundland, Canada on Jan. 17, bringing heavy snow and hurricane force winds. Nearly 12 hours of winds sustained in the 40 to 50 mph range, and gusts nearing 80 to 90 mph.”

    A State of emergency has been declared for St John’s, Newfoundland due to extreme weather. 3 feet of snow is forecast and could rank as the city’s single greatest one-day snowfall on record.

    Some social media reports indicate close to three feet had fallen in a few locales by mid afternoon Friday. Photos show snow 6 to 7 feet high burying people in their homes.

    Image taken Friday morning.

    https://www.washingtonpost.com/weat...werful-blizzard-slams-newfoundland/?tid=ss_fb

     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,713
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    #สหรัฐอเมริกา อุณหภูมิในรัฐมินนิโซตาสหรัฐอเมริกาต่ำกว่า 20 องศา ดังนั้นบางคนจากรัฐเดียวกันจึงต้องการแสดงให้เห็นว่าน้ำค้างแข็งส่งผลกระทบต่อคนในสภาพอากาศหนาวเย็นอย่างไร ... เขาเริ่มถ่ายทำร่างของเขาหลังจาก 5 นาทีแรก การอยู่ในสภาพอากาศหนาวเย็นและสิ้นสุดลงหลังจากผ่านไปสองชั่วโมงเนื่องจากเขาทนไม่ไหวและเข้าไปในบ้านของเขา

     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,713
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    คลื่นที่น่าตื่นตาตื่นใจใน Flatrock Newfoundland ประเทศแคนาดา
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,713
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    รอยแตกใหญ่ถูกพบใกล้ทะเลสาบ Taal ในบาลังกา ประเทศฟิลิปปินส์
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,713
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    ผู้ว่าการเปอร์โตริโกได้รับการเปิดเผยโดยระงับการบรรเทาเหตุฉุกเฉินจากพายุเฮอริเคนมาเรีย เจ้าหน้าที่ดับเพลิงท้องถิ่นได้ค้นพบคลังสินค้าที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์ช่วยเหลือ
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,713
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    หิมะ ใน Newfoundland, Canada # 18 ม.ค.
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,713
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    หิมะตกและการขาดทัศนวิสัยทำให้เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ครั้งใหญ่ในอัลไตไกร (Altai Krai), ไซบีเรีย รัสเซีย มีผู้เสียชีวิต 2 ราย
    Las nevadas y la falta visibilidad causan un masivo accidente Automovilístico en Altai Krai, Siberia , Rusia . 2 fallecidos
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,713
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    การทำลายล้าง หลังจากน้ำท่วมหนักใน Iconha, Espirito Santo
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,713
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    น้ำท่วมในบราซิล หลังจากฝนตกหนักใน Iconha, Espirito Santo
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,713
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra
    ออสเตรเลียซึ่งถูกไฟป่า ต้องเผชิญกับความทุกข์ยากครั้งใหม่หลังจากที่พายุได้รับการอธิบายว่าเป็นเหตุการณ์หนึ่งในทุก ๆ 100 ปี ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันบนชายฝั่งตะวันออก
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,713
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สนามแม่เหล็กของโลกที่ได้รับผลกระทบจากสนามแม่เหล็ก Nibiru (Nibiru มาจากด้านล่างของรูปไข่จากทางใต้ - สังเกตเห็นแนวโค้งของเส้นสีแดงที่อยู่ด้านหลังโลกขึ้นไปทางทิศเหนือ)
    Magnetic field of Earth affected by the Nibiru Magnetic field (Nibiru is coming from below the elliptic,from South - notice the BEND of red lines behind earth upward toward North )
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,713
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Setiawan

    #CENAPRED
    ใน 24 ชั่วโมงสุดท้ายภูเขาไฟ # Popocatépetlนำเสนอ:
    179 การหายใจออก
    222 นาทีของการสั่นสะเทือน
    light ไฟเตือนดำเนินการต่อใน # เหลือง Phase2
    ⚠️คุณถูกกระตุ้นให้เคารพพื้นที่ จำกัด 12 กม.
    #CENAPRED
    In the last 24 hours the #Popocatépetl volcano presented:
    179 exhalations
    222 minutes of tremor
    The warning light continues in # Yellow Phase2.
    ⚠️ You are urged to respect the 12 km restriction area.
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,713
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Setiawan

    ปี 2019 เป็นปีที่อบอุ่นที่สุดเป็นอันดับสองในรอบ 140 ปีนับตั้งแต่ที่มีการบันทึกที่ทันสมัยเริ่มขึ้นและยังคงมีแนวโน้มร้อนขึ้นทั่วโลก
    อุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่อุ่นขึ้นสามารถเพิ่มความเร็วลมพายุโซนร้อนได้ ทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้น หากพวกมันขึ้นแผ่นดิน
    จากการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อนนักวิทยาศาสตร์คาดว่าจะเพิ่มความเร็วลมสูงสุดได้เฉลี่ย 2-11% โดยมีพายุที่รุนแรงที่สุดเกิดขึ้นมากขึ้น
    ทะเลอุ่นยังหมายถึงการเร่งรัดมากขึ้น
    อัตราฝนในช่วงพายุเหล่านี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 และตามที่พายุเฮอริเคนฮาร์วีย์แสดงให้เห็นในปี 2560 บางครั้งอาจเป็นผลกระทบที่ทำลายล้างมากกว่า
    การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดพายุในอนาคตรวมถึงพายุเฮอริเคนซึ่งสร้างความเสียหายได้มากขึ้น
    ระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยทั่วโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1-4 ฟุตในช่วงศตวรรษหน้าซึ่งจะขยายคลื่นพายุชายฝั่ง
    ตัวอย่างเช่นการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลทวีความรุนแรงขึ้น ผลกระทบของพายุเฮอริเคนแซนดี้ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายในนิวยอร์ก, นิวเจอร์ซีย์และคอนเนตทิคัตในปี 2555
    ความเสียหายส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับน้ำท่วมบริเวณชายฝั่ง
    2019 was the second warmest year in the 140 years since modern recordkeeping began, continuing a trend of warming around the globe.
    Warmer sea surface temperatures could intensify tropical storm wind speeds, potentially delivering more damage if they make landfall.
    Based on sophisticated computer modeling, scientists expect a 2-11 percent increase in average maximum wind speed, with more occurrences of the most intense storms.
    Warmer seas also mean more precipitation.
    Rainfall rates during these storms are projected to increase by about 20 percent and, as Hurricane Harvey showed in 2017, this can sometimes be the more destructive impact.
    Sea level rise is likely to make future coastal storms, including hurricanes, more damaging.
    Globally averaged, sea level is expected to rise by 1-4 feet during the next century, which will amplify coastal storm surge.
    For example, sea level rise intensified the impact of Hurricane Sandy, which caused damages in New York, New Jersey, and Connecticut in 2012.
    Much of this damage was related to coastal flooding.
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,713
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Setiawan
    ฟิลิปปินส์ 16 มกราคม2020
    ใน Agoncillo, Batangas รอยแยกขนาดใหญ่ที่เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟ #Taal บ้านและสถานประกอบการ
    รอยแยกระบุว่าชั้นบนของภูเขาไฟนั้นได้ถูกทำให้ปล่อยความดันของก๊าซภายใน ทำให้แมกมาอยู่ข้างในเพิ่มขึ้น
    Philippine Jan16 2020
    In Agoncillo, Batangas, large fissures caused by the #Taal Volcano eruption ruin houses and establishments.
    Fissures indicate the upper layer of the volcano had already depressurized, causing the magma inside to rise.
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,713
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

    850px-The-sermon-in-the-Deer-Park-02.jpg

    พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไปหรือดำเนินไป
    พระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อธรรม ขับเคลื่อนพระศาสนา เป็นชื่อของ ปฐมเทศนา คือพระธรรมเทศนาครั้งแรก ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคียทั้ง๕ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ คือภายหลังจากการตรัสรู้แล้ว ๒ เดือน ซึ่งก็คือวันอาสาฬหบูชาในสมัยปัจจุบันนั่นเอง เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยมัชฌิมาปฏิปทา คือทางสายกลาง ซึ่งเว้นที่สุดทั้ง ๒ อย่าง และว่าด้วยอริยสัจ ๔ ความจริงของอริยะ หรือความจริงอันประเสริฐทั้ง ๔ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ อันทำให้พระองค์สามารถปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ(ญาณชนิดตรัสรู้เองโดยชอบอันยอดเยี่ยม)
    ท่านโกณฑัญญะ หัวหน้าคณะปัญจวัคคีย์ เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนานี้แล้ว ได้ดวงตาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ) และขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระศาสนา เรียกว่าเป็น ปฐมสาวก
    ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
    กลับไปพุทธพจน์
    ปฐมเทศนา
    แสดงธรรมเป็นครั้งแรกในโลก แก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕
    (จาก พระไตรปิฎก ฉบับสมาคมศิษเก่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)
    [๑๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ
    การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย (กามสุขัลลิกานุโยค)
    เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
    ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑
    การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก (อัตตกิลมถานุโยค)
    ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น
    นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด
    ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน?
    ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละคือ
    ปัญญาอันเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ) ๑,
    ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ) ๑,
    เจรจาชอบ(สัมมาวาจา) ๑,
    กระทำชอบ(สัมมากัมมันตะ) ๑,
    เลี้ยงชีวิตชอบ(สัมมาอาชีวะ) ๑,
    พยายามชอบ(สัมมาวายามะ) ๑,
    ระลึกชอบ(สัมมาสติ) ๑,
    ตั้งจิตชอบ(สัมมาสมาธิ) ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้เพื่อนิพพาน.
    [๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน(นันทิ) มีปกติเพลิดเพลิน(นันทิ)ในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับโดยไม่เหลือ ด้วยมรรคคือ วิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คืออริยมรรคมีองค์ ๘นี้แหละ คือ ปัญญาเห็นชอบ ๑ ............. ตั้งจิตชอบ ๑.
    [๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้(คือ)ทุกขอริยสัจ.(ญาณทัสสนะที่ ๑)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้.(ญาณทัสสนะที่ ๒)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล เราก็ได้กำหนดรู้แล้ว.(ญาณทัสสนะที่ ๓)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้(คือ)ทุกขสมุทัยอริยสัจ.(ญาณทัสสนะที่ ๔)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสีย.(ญาณทัสสนะที่ ๕)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล เราได้ละแล้ว.(ญาณทัสสนะที่ ๖)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้(คือ)ทุกขนิโรธอริยสัจ.(ญาณทัสสนะที่ ๗)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง.(ญาณทัสสนะที่ ๘)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล เราทำให้แจ้งแล้ว.(ญาณทัสสนะที่ ๙)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้(คือ)ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.(มรรค) (ญาณทัสสนะที่ ๑๐)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ(มรรค)นี้นั้นแล ควรให้เจริญ.(ญาณทัสสนะที่ ๑๑)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ(มรรค)นี้นั้นแล เราให้เจริญแล้ว.(ญาณทัสสนะที่ ๑๒) (แสดงสรุปญาณทัสสนะทั้ง ๑๒ อาการ ในบทอริยสัจ ๔)
    ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒
    [๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีแล้วเพียงใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา ในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์.
    อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความพ้นวิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป.
    ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา.
    [๑๗] ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าภุมมเทวดาได้ บันลือเสียงว่า
    นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี
    อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ ใครๆ ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้.
    เทวดาชั้นจาตุมหาราช ได้ยินเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.
    เทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.
    เทวดาชั้นยามา ... เทวดาชั้นดุสิต ... เทวดาชั้นนิมมานรดี ... เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดี ...
    เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดีแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไปว่า
    นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี
    อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลก จะปฏิวัติไม่ได้.
    ชั่วขณะการครู่หนึ่งนั้น เสียงกระฉ่อนขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้แล.
    ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ
    [ "อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ" - โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ]
    เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านพระโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้.
    ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จบ

    ปัญจวัคคีย์ทูลขอบรรพชาอุปสมบท
    [๑๘] ครั้งนั้น ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า.
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วตรัสต่อไปว่า
    ธรรมอันเรา กล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.
    พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุนั้น. (เอหิภิกขุอุปสัมปทา)
    [๑๙] ครั้นต่อมา พระผู้มีพระภาคได้ทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุทั้งหลายที่เหลือจากนั้น ด้วยธรรมีกถา.
    เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนด้วยธรรมีกถาอยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน
    ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระวัปปะและท่านพระภัททิยะว่า
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา.
    ท่านทั้งสองนั้น ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความ สงสัยได้แล้ว
    ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา
    ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอข้าพระองค์ทั้งสองพึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า.
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอทั้งสองจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า
    ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอทั้งสองจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.
    พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุทั้งสองนั้น.
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสวยพระกระยาหารที่ท่านทั้งสามนำมาถวาย ได้ทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุที่เหลือจากนั้นด้วยธรรมีกถา.
    ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตนำบิณฑบาตใดมา ทั้ง ๖ รูปก็เลี้ยงชีพด้วยบิณฑบาตนั้น.
    วันต่อมา เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนด้วยธรรมีกถาอยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน
    ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระมหานามะและท่านพระอัสสชิว่า
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา.
    ท่านทั้งสองได้เห็น ธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัย ได้แล้ว
    ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา
    ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอข้าพระองค์ทั้งสอง พึงได้บรรพชา พึงได้ อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า.
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอทั้งสองจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า
    ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอทั้งสองจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.
    พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุทั้งสองนั้น.
    http://www.nkgen.com/32.htm
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,713
    ค่าพลัง:
    +97,150
    มหาสติปัฏฐานสูตร
    images (3).jpeg
    (จบโพชฌงคบรรพ /จบภาณวารที่หนึ่ง)
    (พระไตรปิฎก ฉบับสมาคมศิษเก่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)
    [๒๗๓] ข้าพเจ้า(หมายถึงพระอานนท์เถระ)ได้สดับมาอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า กัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
    เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ
    เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
    เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง
    เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ,
    ๔ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑,(อภิชฌา-ความยินดี, ความโลภ ; โทมนัส-ความเสียใจ, ความทุกข์)
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
    พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ
    (เพราะมีสติ สัมปชัญญะ ด้วยความเพียร จึงไม่ซัดส่ายส่งออกไปปรุงแต่ง จิตย่อมระงับอภิชฌาและโทมนัสเสียด้วยปฎิจจสมุปบันธรรม จึงมิได้หมายถึงต้องกระทำใดๆอะไรๆในการกำจัดอภิชฌาและโทมนัส)
    จบอุทเทสวารกถา
    กายานุปัสนา
    [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
    เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัด(มีสติ)ว่า เราหายใจออกยาว
    เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน
    เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว
    เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่าเราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
    ย่อมสำเนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดกองลมทั้งปวง หายใจเข้า
    ย่อมสำเนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกาย ในกายภายในบ้าง
    (หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของตนเองบ้าง, แล้วอุเบกขา อันเป็นอาการแสดงความหมายดังบทสรุปทุกท้ายบรรพที่กล่าวว่า "ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก")
    พิจารณาเห็นกาย ในกายภายนอกบ้าง
    (หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของบุคคลอื่นๆบ้าง ว่าล้วนเป็นเช่นกัน, แล้วอุเบกขา อันมีความหมายดังบทสรุปทุกท้ายบรรพที่กล่าวว่า "ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก")
    พิจารณาเห็นกาย ในกายทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง (ทั้งของตนเองบ้าง, ทั้งของผู้อื่นบ้าง)
    พิจารณาเห็นธรรม(ธรรมชาติ,สภาวธรรม)คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง (พิจารณาจากกระบวนธรรมของขันธ์ ๕, ปฏิจจสมุปบันธรรม)
    พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมในกายบ้าง (พิจารณาใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในพระไตรลักษณ์)
    พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง (พิจารณาจากกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ และพระไตรลักษณ์)
    ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ(ความเชื่อ,ความยึดมั่น)ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก(ไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน ดังด้วยการอุเบกขาในโพชฌงค์เสียนั่นเอง)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ (อย่างแจ่มแจ้ง)
    จบอานาปานบรรพ
    [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัด(มีสติ)ว่าเราเดิน
    เมื่อยืน ก็รู้ชัด(มีสติ)ว่าเรายืน เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง เมื่อนอน ก็รู้ชัดว่าเรานอน
    หรือ เธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ
    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกาย ในกายภายในบ้าง
    (หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของตนเองบ้าง, แล้วอุเบกขา อันมีความหมายดังบทสรุปทุกท้ายบรรพที่กล่าวว่า "ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก")
    พิจารณาเห็นกาย ในกายภายนอกบ้าง
    (หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของบุคคลอื่นๆบ้าง ว่าล้วนเป็นเช่นกัน, แล้วอุเบกขา อันมีความหมายดังบทสรุปทุกท้ายบรรพที่กล่าวว่า "ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก")
    พิจารณาเห็นกาย ในกายทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง (ทั้งของตนเองบ้าง, ทั้งของผู้อื่นบ้าง)
    พิจารณาเห็นธรรม(ธรรมชาติ,สภาวธรรม)คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง (พิจารณาจากกระบวนธรรมของขันธ์ ๕, ปฏิจจสมุปบันธรรม)
    พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมในกายบ้าง (พิจารณาใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในพระไตรลักษณ์)
    พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง (พิจารณาจากกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ และพระไตรลักษณ์)
    ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ(ความเชื่อ,ความยึดมั่น)ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก(ไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน ดังด้วยการอุเบกขาในโพชฌงค์เสียนั่นเอง)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ (อย่างแจ่มแจ้ง)
    จบอิริยาปถบรรพ
    [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง
    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกาย ในกายภายในบ้าง
    (หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของตนเองบ้าง, แล้วอุเบกขา อันมีความหมายดังบทสรุปทุกท้ายบรรพที่กล่าวว่า "ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก")
    พิจารณาเห็นกาย ในกายภายนอกบ้าง
    (หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของบุคคลอื่นๆบ้าง ว่าล้วนเป็นเช่นกัน, แล้วอุเบกขา อันมีความหมายดังบทสรุปทุกท้ายบรรพที่กล่าวว่า "ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก")
    พิจารณาเห็นกาย ในกายทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง (ทั้งของตนเองบ้าง, ทั้งของผู้อื่นบ้าง)
    พิจารณาเห็นธรรม(ธรรมชาติ,สภาวธรรม)คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง (พิจารณาจากกระบวนธรรมของขันธ์ ๕, ปฏิจจสมุปบันธรรม)
    พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมในกายบ้าง (พิจารณาใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในพระไตรลักษณ์)
    พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง (พิจารณาจากกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ และพระไตรลักษณ์)
    ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ(ความเชื่อ)ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก(ไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน จึงอุเบกขาในโพชฌงค์เสียนั่นเอง)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ (อย่างแจ่มแจ้ง)
    จบสัมปชัญญบรรพ

    [๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุด(โดย)รอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ ผังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไถ้มีปากสองข้าง เต็มด้วยธัญชาติต่างชนิดคือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ข้าวสาร บุรุษผู้มีนัยน์ตาดี(ปัญญา)แก้ไถ้นั้นแล้ว พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน (พิจารณาให้เห็นสิ่งต่างๆ ที่ผสมปนเปเป็นปฏิกูล ไม่สะอาดอยู่ภายใน ทั้งยังประกอบไปด้วยซากพืช อสุภะของสัตว์ใหญ่น้อย ดุจดังสุสานใหญ่, ทางหนึ่งพึงเข้าทางปาก อีกทางหนึ่งพึงขับถ่ายออกมาปฏิกูลเหลือกำลัง จึงอุปมาได้ดังไถ้ก้นรั่ว ที่มีปากเข้าอยู่ด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านก็ก้นรั่วเสีย เติมเท่าไรจึงไม่รู้จักเต็ม จึงต้องหมั่นเติมอยู่เสมอๆ ทุกๆวัน วันละหลายๆครั้ง)
    ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ ผังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกาย ในกายภายในบ้าง
    (หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของตนเองบ้าง, แล้วอุเบกขา อันมีความหมายดังบทสรุปทุกท้ายบรรพที่กล่าวว่า "ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก")
    พิจารณาเห็นกาย ในกายภายนอกบ้าง
    (หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของบุคคลอื่นๆบ้าง ว่าล้วนเป็นเช่นกัน, แล้วอุเบกขา อันมีความหมายดังบทสรุปทุกท้ายบรรพที่กล่าวว่า "ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก")
    พิจารณาเห็นกาย ในกายทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง (ทั้งของตนเองบ้าง, ทั้งของผู้อื่นบ้าง)
    พิจารณาเห็นธรรม(ธรรมชาติ,สภาวธรรม)คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง (พิจารณาจากกระบวนธรรมของขันธ์ ๕, ปฏิจจสมุปบันธรรม)
    พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมในกายบ้าง (พิจารณาใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในพระไตรลักษณ์)
    พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง (พิจารณาจากกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ และพระไตรลักษณ์)
    ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ(ความเชื่อ)ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก(อุเบกขา) ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ (อย่างแจ่มแจ้ง)
    จบปฏิกูลมนสิการบรรพ

    [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ตั้งอยู่ตามปรกติโดยความเป็นธาตุ ว่ามีอยู่ในกายนี้ (อันมี)ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
    คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ขยัน ฆ่าโคแล้ว แบ่งออกเป็นส่วน นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง ฉันใด(เพื่อให้ผู้สัญจรไปมา เห็นได้อย่างเด่นชัด ย่อมง่ายต่อการขายเนื้อโคนั้นได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการแบ่งกายแห่งตนออกเป็นธาตุทั้ง ๔ ก็เช่นกัน ก็เพื่อให้พิจารณาเห็นเข้าใจได้ชัดเจนและง่ายขึ้น)
    ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ตั้ง อยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน(แร่ธาตุต่างๆ,ของข้นแข็ง) ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม (พิจารณาแยกกาย ให้เห็นว่าเกิดมาแต่เหตุปัจจัยของธาตุทั้ง ๔ จึงจะเห็นกายที่แท้จริงอย่างเด่นชัดทั่วถึง ดุจดั่งเนื้อโคที่แบ่งออกเป็นส่วนแล้ววางขายตรงทาง ๔ แพร่ง ก็เพื่อให้พิจารณาให้เห็นเข้าใจในกายได้โดยทั่วถึงและรวดเร็ว)
    (รายละเอียดของ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม)
    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง...ฯลฯ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ...................ฯ
    จบธาตุมนสิการบรรพ

    [๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ที่ขึ้นพอง มีสีเขียวน่าเกลียด มีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้(ของตนเอง)เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้
    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกาย ในกายภายในบ้าง ฯลฯ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
    [๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง หมู่สัตว์ตัวเล็กๆต่างๆ กัดกินอยู่บ้าง
    เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้
    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกาย ในกายภายในบ้าง
    (หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของตนเองบ้าง, แล้วอุเบกขา อันมีความหมายดังบทสรุปทุกท้ายบรรพที่กล่าวว่า "ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก")
    พิจารณาเห็นกาย ในกายภายนอกบ้าง
    (หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของบุคคลอื่นๆบ้าง ว่าล้วนเป็นเช่นกัน, แล้วอุเบกขา อันมีความหมายดังบทสรุปทุกท้ายบรรพที่กล่าวว่า "ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก")
    พิจารณาเห็นกาย ในกายทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง (ทั้งของตนเองบ้าง, ทั้งของผู้อื่นบ้าง)
    พิจารณาเห็นธรรม(ธรรมชาติ,สภาวธรรม)คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง (พิจารณาจากกระบวนธรรมของขันธ์ ๕, ปฏิจจสมุปบันธรรม)
    พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมในกายบ้าง (พิจารณาใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในพระไตรลักษณ์)
    พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง (พิจารณาจากกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ และพระไตรลักษณ์)
    ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ(ความเชื่อ)ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก(อุเบกขา) ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ (อย่างแจ่มแจ้ง)
    [๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ
    [๒๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือด ยังมีเส้นเอ็น ผูกรัดอยู่ ฯลฯ
    [๒๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็น ผูกรัดอยู่ ฯลฯ
    [๒๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว เรี่ยรายไปในทิศใหญ่ทิศน้อย คือกระดูกมือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้าไปทางหนึ่ง กระดูกแข้งไปทางหนึ่ง กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูกสะเอวไปทางหนึ่ง กระดูกหลังไปทางหนึ่ง กระดูกสันหลังไปทางหนึ่ง กระดูกสีข้างไปทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกไปทางหนึ่ง กระดูกไหล่ไปทางหนึ่ง กระดูกแขนไปทางหนึ่ง กระดูกคอไปทางหนึ่ง กระดูกคางไปทางหนึ่ง กระดูกฟันไปทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะไปทางหนึ่ง ฯลฯ
    [๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกมีสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์ ฯลฯ
    [๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกกองเรียงรายอยู่แล้วเกินปีหนึ่งขึ้นไป ฯลฯ
    [๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกผุ เป็นจุณแล้ว
    เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้
    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกาย ในกายภายในบ้าง
    (หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของตนเองบ้าง, แล้วอุเบกขา อันมีความหมายดังบทสรุปทุกท้ายบรรพที่กล่าวว่า "ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก")
    พิจารณาเห็นกาย ในกายภายนอกบ้าง
    (หมายถึง เข้าใจกายสังขารดังนี้อย่างแจ่มแจ้ง ในกายของบุคคลอื่นๆบ้าง ว่าล้วนเป็นเช่นกัน, แล้วอุเบกขา อันมีความหมายดังบทสรุปทุกท้ายบรรพที่กล่าวว่า "ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก")
    พิจารณาเห็นกาย ในกายทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง (ทั้งของตนเองบ้าง, ทั้งของผู้อื่นบ้าง)
    พิจารณาเห็นธรรม(ธรรมชาติ,สภาวธรรม)คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง (พิจารณาจากกระบวนธรรมของขันธ์ ๕, ปฏิจจสมุปบันธรรม)
    พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมในกายบ้าง (พิจารณาใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในพระไตรลักษณ์)
    พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง (พิจารณาจากกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ และพระไตรลักษณ์)
    ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ(ความเชื่อ,ความยึดมั่น)ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก(ไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน จึงอุเบกขาในโพชฌงค์เสียนั่นเอง)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ (อย่างแจ่มแจ้ง)
    จบนวสีวถิกาบรรพ
    จบกายานุปัสสนา

    เวทนานุปัสสนา
    [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    เสวยสุขเวทนา(สุข,ความรู้สึกเป็นสุข)อยู่ ก็รู้ชัด(มีสติระลึกรู้)ว่า เราเสวยสุขเวทนา หรือ
    เสวยทุกขเวทนา(ทุกข์,รู้สึกทุกข์) ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา หรือ
    เสวยอทุกขมสุขเวทนา(เฉยๆ,รู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์) ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา หรือ
    เสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนามีอามิส หรือ
    เสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส หรือ
    เสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส หรือ
    (ดังเวทนาในปฏิจจสมุปบาทธรรม ล้วนเป็นเวทนามีอามิสอันเนื่องมาจากอาสวะกิเลส คือ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส นั่นเอง)
    เสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส หรือ
    เสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือ
    เสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส
    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาภายในบ้าง
    (เห็นเท่าทันและเข้าใจเวทนาอย่างแจ่มแจ้ง ถูกต้องตามความเป็นจริง ดังเช่นกล่าวไว้ข้างต้นใน เวทนาภายใน ที่หมายถึงในเวทนาของตนเอง, แล้วจึงอุเบกขา ในโพชฌงค์ ๗ อันมีความหมายดังแสดงในบทสรุปของทุกท้ายบรรพที่กล่าวว่า "ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก" คือการละอุปาทานเสียนั่นเอง ดังเช่นด้วยการอุเบกขาเสียนั่นเอง จึงยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้)
    พิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาภายนอกบ้าง(ภายนอกที่หมายถึงเวทนาของบุคคลอื่นบ้าง แล้วอุเบกขา)
    พิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง(ทั้งตนเอง ทั้งผู้อื่นบ้าง แล้วจึงอุเบกขา)
    พิจารณาเห็นธรรม(ธรรมชาติ,สภาวธรรม) คือความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง(เห็นเท่าทันและเข้าใจในการเกิดขึ้นบ้าง ตามความเป็นจริงของการเกิดเวทนา ดังเช่น เกิดแต่เหตุปัจจัย ดังตากระทบรูป ดังนั้น สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความเกิดของเวทนาขึ้นเป็นธรรมดา แล้วจึงอุเบกขา)
    พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในเวทนาบ้าง (เห็นเข้าใจในการแปรปรวนเสื่อม และดับไปบ้าง ว่าไม่เที่ยงบ้าง, คงทนอยู่ไม่ได้บ้าง, อนัตตาบ้าง แล้วจึงอุเบกขา)
    พิจารณาเห็นธรรม คือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในเวทนาบ้าง (เห็นเท่าทันและเข้าใจทั้งการเกิดขึ้นบ้างและการแปรปรวนเสื่อมไปบ้าง แล้วอุเบกขา)
    ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้(หรือเครื่องรับรู้) เพียงสักว่าอาศัยระลึก(เพื่อใช้งาน)เท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ(ความเชื่อ,ความยึดมั่น)ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก(ไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน ดังด้วยการอุเบกขาในโพชฌงค์เสียนั่นเอง)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯ (รายละเอียดของเวทนา)
    จบเวทนานุปัสสนา
    (อนึ่ง เมื่อปฏิบัติเวทนานุปัสสนา เห็นเวทนาที่เกิดขึ้นแล้วต้องไม่อาศัยอยู่ ไม่ยึดมั่น คืออาการปล่อยวางหรืออุเบกขา มักหลงผิดไปเกาะไปยึดไปจดจ้อง เวทนา เสียก็มี)
    (พระอภิธรรม แสดงความหมายของเวทนาภายใน ที่มิได้หมายถึงอาการจิตส่งใน และแสดงเวทนาภายนอก)
    จิตตานุปัสนา
    [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    จิตมีราคะ ก็รู้(มีสติเท่าทัน)ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
    (ราคะ เป็นเจตสิก คืออาการหนึ่งของจิตหรือจิตตสังขารที่ประกอบด้วยราคะ กล่าวคือความคิดหรือกลุ่มของความคิดฟุ้งซ่านหรือปรุงแต่งที่ประกอบด้วยความกำหนัดความปรารถนาในกาม นั่นเอง
    หรือกล่าวได้ว่า กลุ่มอาการของจิตหรือเจตสิกในจิตตานุปัสสนานี้ เปรียบเทียบได้ว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นในองค์ธรรมชาติ, ชราในวงจรปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง ดังภาพที่แสดงประกอบนี้ หรือดังภาพขยายของชรานี้
    กล่าวคือ จึงต้องมีสติหรือสังเกตุรู้เท่าทันในจิตตสังขารหรือมโนสังขารหรือเจตสิก หรือชราในปฏิจจสมุปบาทที่เกิดขึ้น นั่นเอง)
    จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
    (โทสะ เป็นเจตสิก คืออาการของจิตที่ประกอบด้วยโทสะ กล่าวคือความคิดหรือกลุ่มของความคิดนึกหรือฟุ้งซ่านที่ประกอบด้วยความโกรธความขุ่นเคือง นั่นเอง)
    จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
    (โมหะ เป็นเจตสิก คืออาการของจิตที่ประกอบด้วยโมหะความหลง หรือกลุ่มของความคิดนึกหรือฟุ้งซ่านที่ประกอบด้วยความไม่รู้จริง จึงเกิดการหลงขึ้นนั่นเอง)
    จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่
    (หดหู่ ก็เป็นเจตสิกในข้อที่ ๒๕ ในเจตสิก ๕๒ เป็นกลุ่มอาการของความคิดนึกหรือฟุ้งซ่านปรุงแต่งที่ทำให้เกิดความหดหู่ใจ ใจหดห่อ แห้งเหี่ยวใจ)
    จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
    (ฟุ้งซ่าน ก็เป็นอาการของจิตอย่างหนึ่ง ที่เรียกอุทธัจจะในข้อที่ ๑๗ ในเจตสิก ๕๒ เป็นอาการของจิตที่ฟุ้งซ่านหรือปรุงแต่งไปในสิ่งหรือเรื่องต่างๆที่อาจยังให้เกิดกิเลสตัณหาต่างๆ)
    จิตเป็นมหรคต(จิตเป็นฌาน, จิตอยู่ในกำลังฌาน, จิตมีกำลังของฌานอยู่) ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต
    จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
    (จิตอื่นยิ่งกว่า หมายถึงอาการของจิตเป็นเอกหรือเป็นใหญ่อยู่ในสิ่งหนึ่งสิ่งใดอยู่ เช่นจิตเป็นเอกอยู่กับการคำบริกรรมพุทโธ หรือจิตเป็นเอกอยู่ในกิจหรืองานใดๆ, หรือจิตเป็นเอกในธรรมที่เป็นเครื่องอยู่เครื่องพิจารณา, จิตหมกมุ่นจดใจจ่อในสิ่งหนึ่งสิ่งใดอยู่ เช่น วนเวียนปรุงแต่งวอแวอยู่ในสิ่งที่กังวลหรือเป็นทุกข์อยู่เนืองๆ)
    จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ (จิตมีความตั้งใจมั่นหรือไม่มี)
    จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น (จิตหลุดพ้นจากกิเลส หรือจากเจตสิกต่างๆดังข้างต้น เช่น จิตหลุดจากโมหะที่เกิดขึ้นนั้นๆแล้ว จึงไม่ได้หมายถึงการหลุดพ้นอย่างถาวร)
    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิต ในจิตภายในบ้าง
    (เห็นจิต จึงหมายถึง การเห็นจิตตสังขาร หรือกลุ่มอาการของจิต(เจตสิก)บางอย่างนั่นเอง, ส่วนจิตภายใน หมายถึง จิตตน, แล้วยังต้องประกอบด้วยการอุเบกขาในโพชฌงค์ ๗ เนื่องสัมพันธ์ไปด้วย ดังแสดงไว้ในบทสรุปทุกท้ายบรรพ ดังที่กล่าวไว้ว่า เพราะ "ไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก" ก็คือการอุเบกขาในโพชฌงค์เสียนั่นเอง จึงยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้)
    พิจารณาเห็นจิต ในจิตภายนอกบ้าง (พิจารณาจิตภายนอก หมายถึงจิตของผู้อื่น)
    พิจารณาเห็นจิตในจิต ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง (พิจารณาจิตของตนเองบ้าง ของบุคลอื่นบ้าง)
    พิจารณาเห็นธรรม(ธรรมชาติ,สภาวธรรม) คือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง (เห็นเท่าทันและเข้าใจในขณะการเกิดขึ้นของจิตตามความเป็นจริงอย่างแจ่มแจ้ง ดังเช่น จักษุ รูป จักษุวิญญาณ คือเห็นกระบวนธรรมของขันธ์ ๕, แล้วอุเบกขา )
    พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในจิตบ้าง (เห็นเท่าทันและเข้าใจในการแปรปรวนเสื่อม รวมทั้งการฟุ้งซ่านปรุงแต่ง แล้วดับไปบ้าง หรือเห็นอนัตตาบ้าง, แล้วจึงอุเบกขา)
    พิจารณาเห็นธรรม คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง (เห็นเท่าทันและเข้าใจทั้งการเกิดขึ้นและการแปรปรวนเสื่อม,ฟุ้งซ่านปรุงแต่งบ้าง, แล้วจึงอุเบกขา)
    ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้(หรือเครื่องรับรู้) เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ(ความเชื่อ,ความยึดมั่น)ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก(ไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน ก็คือการอุเบกขาในโพชฌงค์เสียนั่นเอง)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ
    (แสดงรายละเอียดของจิต ที่หมายถึง จิตตสังขาร)
    (พระอภิธรรม ที่ แสดงรายละเอียดของจิตภายในที่มีหมายถึงตน มิได้หมายถึงจิตส่งใน และแสดงจิตภายนอกที่หมายถึงบุคคลอื่นๆ )
    จบจิตตานุปัสสนา
    จิตตานุปัสสนา คือ การที่จิตหรือสติเห็นจิตตสังขารหรือความนึกคิดต่างๆพร้อมทั้งอาการของจิต(เจตสิก) หรือก็คือการมีสติ กำหนดรู้จิตตามสภาพหรืออาการของจิตที่เป็นอยู่ ดังเช่น การระลึกรู้เท่าทันความคิดที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งอาการรู้เท่าทันด้วยว่า ประกอบด้วยโทสะ(เจตสิก)
    (อนึ่ง เมื่อปฏิบัติจิตตานุปัสสนา เห็นจิตที่เกิดขึ้นแล้วต้องไม่อาศัยอยู่ ไม่ยึดมั่น คือการปล่อยวางหรืออุเบกขา)
    ธัมมานุปัสสนา
    [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ นิวรณ์ ๕
    ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    เมื่อกามฉันท์ มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือ
    เมื่อกามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง
    กามฉันท์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    กามฉันท์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    กามฉันท์ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง
    เมื่อพยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือ
    เมื่อพยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง
    พยาบาทที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    พยาบาทที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง
    เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือ
    เมื่อถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง
    ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    ถีนมิทธะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง
    เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะ มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ณ ภายใน จิตของเรา หรือ
    เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง
    อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    อุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือ
    เมื่อวิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง
    วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมภายในบ้าง (ธรรมดังนี้ ที่เกิดขึ้นในตนบ้าง)
    พิจารณาเห็นธรรม ในธรรมภายนอกบ้าง (ธรรมดังนี้ ที่เกิดขึ้นในบุคคลอื่นๆบ้าง)
    พิจารณาเห็นธรรม ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง (ธรรมดังนี้ ที่เกิดขึ้นทั้งในตนเองบ้าง หรือในบุคคลอื่นบ้าง)
    พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง (เห็นการเกิดขึ้นของธรรมนี้บ้าง)
    พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในธรรมบ้าง (เห็นการดับไปของธรรมนี้บ้าง)
    พิจารณาเห็นธรรม คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง (เห็นการเกิด ทั้งการดับไปของธรรมนี้บ้าง)
    ย่อมอยู่ อีกอย่าง หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ(ความเชื่อ,ความยึดมั่น)ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก(ไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน จึงอุเบกขาในโพชฌงค์เสียนั่นเอง) ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ อยู่ ฯ (นิวรณ์ ๕)
    จบนิวรณบรรพ
    [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อุปาทานขันธ์ ๕ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นดังนี้ว่า
    อย่างนี้(คือ)รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป
    อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ความดับแห่งเวทนา
    อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความดับแห่งสัญญา
    อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับแห่งสังขาร
    อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ
    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมภายในบ้าง (ธรรมดังนี้ ที่เกิดขึ้นในตนบ้าง)
    พิจารณาเห็นธรรม ในธรรมภายนอกบ้าง (ธรรมดังนี้ ที่เกิดขึ้นในบุคคลอื่นๆบ้าง)
    พิจารณาเห็นธรรม ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง (ธรรมดังนี้ ที่เกิดขึ้นในตนเองบ้าง หรือในบุคคลอื่นบ้าง)
    พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง (เห็นการเกิดขึ้นของธรรมนี้บ้าง)
    พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในธรรมบ้าง (เห็นการดับไปของธรรมนี้บ้าง)
    พิจารณาเห็นธรรม คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง (เห็นการเกิด ทั้งการดับไปของธรรมนี้บ้าง)
    ย่อมอยู่ อีกอย่าง หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ(ความเชื่อ,ความยึดมั่น)ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก(ไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน จึงอุเบกขาในโพชฌงค์เสียนั่นเอง) ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ ฯ (อุปาทานขันธ์ ๕)
    จบขันธบรรพ
    [๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออายตนะภายในและภายนอก ๖ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายในและภายนอก ๖ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ย่อมรู้จักนัยน์ตา รู้จักรูป, และรู้จักนัยน์ตาและรูปทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์ อนึ่ง
    สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    ภิกษุย่อมรู้จักหู รู้จักเสียงทั้ง ๒ นั้น...ภิกษุย่อมรู้จักจมูก รู้จักกลิ่น...ภิกษุย่อมรู้จักลิ้น รู้จักรส...ภิกษุย่อมรู้จักกาย รู้จักสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย
    ภิกษุย่อมรู้จักใจ รู้จักธรรมารมณ์ ทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์ อนึ่ง
    สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย
    สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ด้วย
    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมภายในบ้าง (ธรรมดังนี้ ที่เกิดขึ้นในตนบ้าง)
    พิจารณาเห็นธรรม ในธรรมภายนอกบ้าง (ธรรมดังนี้ ที่เกิดขึ้นในบุคคลอื่นๆบ้าง)
    พิจารณาเห็นธรรม ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง (ธรรมดังนี้ ที่เกิดขึ้นในตนเองบ้าง หรือในบุคคลอื่นบ้าง)
    พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง (เห็นการเกิดขึ้นของธรรมนี้บ้าง)
    พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในธรรมบ้าง (เห็นการดับไปของธรรมนี้บ้าง)
    พิจารณาเห็นธรรม คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง (เห็นการเกิด ทั้งการดับไปของธรรมนี้บ้าง)
    ย่อมอยู่ อีกอย่าง หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรม(อายตนะ)มีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ(ความเชื่อ,ความยึดมั่น)ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก(ไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน จึงอุเบกขาในโพชฌงค์เสียนั่นเอง)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออายตนะภายในและภายนอก ๖ อยู่ ฯ (รายละเอียดของอายตนะต่างๆอยู่ในบทขันธ์ ๕, ส่วนสังโยชน์อยู่ในบทสังโยชน์)
    จบอายตบรรพ
    [๒๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือโพชฌงค์ ๗ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้
    เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือ
    เมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง
    สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง
    เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต... ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง
    เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต... ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง
    เมื่อปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต... ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง
    เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต... ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง
    เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง
    เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือ
    เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง
    อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมภายในบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรม ในธรรมภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมในธรรมบ้าง
    ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียง สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุ ชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อยู่ ฯ (โพชฌงค์ ๗)
    จบโพชฌงคบรรพ
    จบภาณวารที่หนึ่ง
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,713
    ค่าพลัง:
    +97,150
    มหาสติปัฏฐาน (จบ)
    images (4).jpeg
    [๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ อย่างไรเล่า
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็เป็นทุกข์ แม้ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ แม้ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ (สรุปลงกล่าว)โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ
    [๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิดความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชาติ ฯ (ชาติในความหมายอื่นๆ ในผู้ที่ยังลังเลสงสัยเรื่องชาติในปฏิจจสมุปบาท)
    ก็ชราเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเป็นเกลียว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชราฯ (ผู้ที่ยังลังเลสงสัยเรื่องชราในปฏิจจสมุปบาท)
    ก็มรณะเป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่ามรณะ ฯ (ผู้ที่ยังลังเลสงสัยเรื่องมรณะในปฏิจจสมุปบาท)
    ก็โสกะเป็นไฉน ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจ ความผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้ เรียกว่าโสกะ ฯ
    ก็ปริเทวะเป็นไฉน ความคร่ำครวญ ความร่ำไร รำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ กิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าปริเทวะ ฯ
    ก็ทุกข์เป็นไฉน ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่าทุกข์ ฯ
    ก็โทมนัสเป็นไฉน ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่าโทมนัส ฯ
    ก็อุปายาสเป็นไฉน ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าอุปายาส ฯ
    ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความประสบ ความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่ เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ฯ
    ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความไม่ประสบ ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนา ประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความเกษมจากโยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อมาตย์หรือ ญาติสาโลหิต ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็ เป็นทุกข์ ฯ
    ก็ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเกิดเป็นธรรมดา ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความแก่เป็นธรรมดา ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้ สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเจ็บเป็นธรรมดา ขอความเจ็บอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมความตายเป็นธรรมดา ขอความตายอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีโสก ปริเทว ทุกข โทมนัส อุปายาส เป็นธรรมดา ขอโสก ปริเทว ทุกข โทมนัส อุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ฯ
    ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน อุปาทานขันธ์ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ซึ่งถูกครอบงำหรือประกอบด้วยอุปาทาน) เหล่านี้เรียกว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ (อัน)เป็นทุกข์ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ ฯ
    [๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน ตัณหานี้ใด อันมีความเกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ฯ
    [๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้นั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ อะไรเป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ฯ
    ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ณ ที่นี้ ฯ
    รูป (อารมณ์ที่รู้ได้ด้วยจักษุ, สิ่งที่ปรากฏแก่ตา) เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
    จักขุวิญญาณ (ข้อมูลหรือการรู้แจ้งที่เกิดขึ้นเพราะรูปกระทบตาหรือการเห็น) โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้นในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
    จักขุสัมผัส (อาการที่ตา รูป และจักขุวิญญาณประจวบกัน หรือเกิดขึ้นครบองค์) โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโน สัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ (เรียกรวมกันทั่วไปว่า ผัสสะ นั่นเอง)
    จักขุสัมผัสสชาเวทนา (คือเวทนา-เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่ ตา รูป และจักขุวิญญาณประจวบกัน) โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ (เรียกรวมกันทั่วไปว่า เวทนา นั่นเอง)
    รูปสัญญา (ความหมายรู้ในรูป) สัททสัญญา(ความหมายรู้เสียง) คันธสัญญา(ความหมายรู้กลิ่น ) รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะ ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
    รูปสัญเจตนา (ความคิดอ่านในรูป เกิดต่อจากรูปสัญญา) สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ (เรียกกันสั้นๆว่า เจตนา เป็นองค์ประกอบหนึ่งของสังขารขันธ์หรือการกระทำ รายละเอียดอยู่ในบท ขันธ์ ๕ โดยลำดับ หรือ ขันธ์ ๕)
    รูปตัณหา (ความอยากในรูป) สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหาา ธัมมตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะ ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
    รูปวิตก (ความตรึก-คิด ในรูป เกิดต่อจากรูปตัณหา) สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
    รูปวิจาร (ความตรอง-พิจารณา ในรูป เกิดต่อจากรูปวิตก) สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯ
    [๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ความสำรอก และความดับโดยไม่เหลือ ความสละ ความส่งคืน ความปล่อยวาง ความไม่มีอาลัยในตัณหานั้น ก็ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่ไหน เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้
    อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ
    ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้
    รูปเสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ
    จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
    จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโน สัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ (เรียกรวมกันทั่วไปว่า ผัสสะ นั่นเอง)
    จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ (เรียกรวมกันทั่วไปว่า เวทนา นั่นเอง)
    รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
    รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ (เรียกกันสั้นๆว่า เจตนา เป็นองค์ประกอบหนึ่งของสังขารขันธ์หรือการกระทำ รายละเอียดอยู่ในบท ขันธ์ ๕ โดยลำดับ หรือ ขันธ์ ๕)
    รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมม ตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
    รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
    รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯ
    [๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริสัจ(มรรค)เป็นไฉน นี้คือมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
    ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิฯ
    สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ
    สัมมาวาจา เป็นไฉน การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า สัมมาวาจา ฯ
    สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการถือ เอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ ฯ
    สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ฯ
    สัมมาวายามะ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยม แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ ฯ
    สัมมาสติ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
    พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ
    สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมี อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขเธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ
    (พึงเข้าใจด้วยว่ายังเป็นเสัมมาสมาธิ ของสมถสมาธิ เป็นการกล่าวแสดงธรรมถึงอาการของสัมมาสมาธิ จึงไม่ใช่การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ แล้วต้องให้เป็นสมาธิดังนี้ทุกครั้ง ด้วยเข้าใจผิดในข้อธรรมนี้ ที่ยังเป็นเพียงการกล่าวอธิบายถึงอาการตลอดจนองค์ฌานของฌานและสมาธิ จึงเป็นที่นิยมปฏิบัติแต่สมาธิหรือฌานกันโดยทั่วไาทันอิริยาบถ เป็นการฝึกสติ ให้ให้มีสติรู้เท่าทันอิริยาบถต่างๆ เช่น ยืน นอน เดิน นั่ง ฯ.
    ๑.๓ สัมปชัญญะ เป็นการฝึกสติในขั้นต่อไป กล่าวคือ ขั้นแรกระลึกรู้เพียงอิริยบทเดียวให้ชำนาญ แล้วให้ฝึกความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในการเคลื่อนไหวที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง เช่น ในการดื่ม การกิน การเดิน การเคี้ยว ปัสสาวะ อุจจาระ ฯลฯ. (เพื่อให้เกิดความชำนาญหรือเป็นวสี และไม่เกาะเกี่ยวมีสติแต่กับสิ่งใดแต่อย่างเดียว แต่มีสติระลึกรู้ในสิ่งอื่น หรือทั่วพร้อมในสิ่งอื่นๆอีกด้วย เพื่ออำนวยประโยชน์เมื่อนำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันในการเห็น กายบ้าง เวทนาบ้าง จิตบ้าง หรือธรรมบ้าง อันล้วนเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน) อยากแนะนำให้ต่อเนื่องสัมพันธ์กันคือสติระลึกรู้ต่อเนื่องในอิริยบถต่างๆที่เปลี่ยนไปมาด้วย ไม่ใช่เดินก็พิจารณาแต่เดินอย่างเดียว เช่น เมื่อเดินก็รู้ว่าเดิน แต่เมื่อดื่มนํ้าก็รู้ว่าดื่มนํ้าคืออิริยบถที่ต่อเนื่องกัน ไม่ใช่อิริยบถเดียวแต่หมายถึงรู้เท่าทันต่อเนื่องกันไป และมีสติระลึกรู้ไม่เพ่งจนแน่วแน่จนเป็นสมาธิระดับสูง เพราะต้องการฝึกสติเป็นหลักหรือประธานตามชื่อพระสูตร ไม่ใช่สมาธิ สมาธิเป็นผลที่เกิดตามมาบ้างเท่านั้น บางท่านฝึกสัมปชัญญะในการเดิน ก็ไปเป็นการฝึกสติตามอิริยบถแต่อย่างเดียวเสียแน่วแน่ต่อเนื่องเป็นสมาธิในการยก การเหยียบ การย่าง ผลที่ออกมาจึงเป็นการเจริญอิริยบถจนเป็นสมถสมาธิแต่ฝ่ายเดียวโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นการฝึกจึงควรมีสติ ไม่ปล่อยให้เป็นไปในรูปสมาธิเป็นหลัก กล่าวโดยย่อก็คือ มีสติรู้เท่าทันอิริยาบถต่างๆที่เกิดขึ้นหรือสังขารขึ้นนั่นเอง ไม่เกาะเกี่ยวกับอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งโดยเฉพาะดังเช่นในข้อ ๑.๒ อิริยาบถ แต่รู้สึกตัวทั่วพร้อม, จึงเหมาะอย่างยิ่งในการปฏิบัติต่อจากข้อ ๑.๒ อิริยาบถข้างต้น ก็เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้ในการปฎิบัติในชีวิตประจำวัน กล่าวคือ มีสติต่อเนื่องแต่ไม่เกาะเกี่ยวกับสิ่งใดแต่อย่างเดียวจนขาดสติไม่รู้เท่าทันในสิ่งอื่นๆ แต่มีสติรู้เท่าทันในสิ่งต่างๆทั่วพร้อม ดังเช่น สติรู้เท่าทันในกายบ้าง เวทนาบ้าง จิตบ้าง ธรรมบ้าง, จึงไม่ใช่การไปมีสติยึดเกาะแต่กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดแต่ฝ่ายเดียวจนไม่มีสติในสิ่งอื่นๆ ซึ่งถ้าเป็นไปอย่างนั้นก็จัดว่าเป็นสติในลักษณะอุปัฏฐานะในวิปัสสนูปกิเลสอันให้โทษ ในพระอภิธรรม ท่านให้คำจำกัดความของ สัมปชัญญะ ไว้ดังนี้ : ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ (พระไตรปิฏก เล่มที่ ๓๕ ข้อที่ ๔๕๕) หรือการรู้ตัวทั่วพร้อมในกิจหรืองานที่กระทำนั่นเอง
    ๑.๔ ปฏิกูลมนสิการ เป็นการใช้สติที่ฝึกนั้น นำสติมาพิจารณาในกายตนว่า ล้วนประกอบด้วยสิ่งที่ไม่สะอาด ปฏิกูลต่างๆทั้งสิ้น เพื่อให้เกิดนิพพิทาคลายความรัก ความหลงใหล ความลุ่มหลง ความยึดถือ ทั้งในกายตน ตลอดจนในกายของบุคคลอื่นๆอีกด้วย
    ๑.๕ ธาตุมนสิการ เป็นการใช้สติในการพิจารณาให้เห็นว่า กายเรานั้นตามความเป็นจริงขั้นสูงสุด(ปรมัตถ์) หรือแก่นแท้แล้วล้วนเกิดแต่เหตุของธาตุทั้ง ๔ มาเป็นปัจจัยกัน หรือกายสักแต่ว่าธาตุ ๔ มาเป็นปัจจัยประชุมปรุงแต่งรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนอยู่ชั่วขณะหรือระยะหนึ่งเท่านั้น จึงไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้ เพื่อให้เกิดนิพพิทา คลายความกำหนัดในกาย
    ๑.๖ นวสีวถิกา พิจารณาศพในสภาพต่างๆ อันมี ๙ ระยะ เพื่อให้นิพพิทาคลายความยึดมั่น ความหลงใหล ลุ่มหลงในกาย ว่ากายเราหรือบุคคลอื่นๆ ต่างก็ล้วนเป็นอสุภที่เน่าเปื่อยสลายไปเป็นเช่นนี้เป็นที่สุด ในปัจจุบันนี้คงต้องใช้การน้อมนึกพิจารณา
    ๒. เวทนานุปัสนา การมีสติรู้เท่าทันเวทนา เท่าทันขณะเกิดขึ้นบ้าง เท่าทันขณะที่กำลังแปรปรวนอยู่บ้าง หรือขณะดับไปบ้าง พร้อมทั้งรู้ว่าเป็น สุขเวทนา ทุกขเวทนา เฉยๆหรืออทุกขมสุขก็ดี ทั้งที่มีอามิส(เจือด้วยกิเลส), หรือไม่มีอามิส(เป็นธรรมชาติไม่มีอามิส) ก็รู้ชัดตามที่เป็น (พิจารณาสักนิดตรง รู้ชัดตามที่เป็น ไม่ใช่พยายามไม่ให้เกิด ไม่ให้มี ไม่ให้เป็น) สติรู้เท่าทันเวทนานั้น แล้วเป็นกลางอุเบกขา วางทีเฉย โดยการไม่เอนเอียงไปคิดไปนึกปรุงแต่งไปทั้งในทางดีหรือชั่ว เพราะล้วนเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดเวทนาต่างๆนาๆขึ้นอีกด้วยความไม่รู้หรืออวิชชา
    ลองสังเกตุดูความหมายข้างต้น จึงมีความสัมพันธ์กับ "เวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา" ในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง จึงให้มีสติรู้เท่าทันธรรมคือเวทนานั้นตามความเป็นจริง
    เมื่อเทียบเคียงกับปฏิจจสมุปบาทแล้ว ก็สามารถกล่าวได้ว่า เป็นอาการของจิต คือ อาการที่จิตมีสติที่รู้เท่าทัน เวทนาที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา๑ หรือเวทนามีอามิสที่เกิดในองค์ธรรมเวทนา๑ หรือเวทนูปาทานขันธ์ที่เกิดวนเวียนเป็นวงจรอยู่ในองค์ธรรมชรา๑ ในวงจรปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง
    ๓. จิตตานุปัสสนา การมีสติรู้เท่าทันจิต หรือจิตตสังขารคือความคิด หรือเท่าทันอาการของจิตคือเจตสิก เท่าทันขณะเกิดขึ้นบ้าง เท่าทันขณะที่กำลังแปรปรวน(กำลังคิดปรุง)อยู่บ้าง หรือขณะดับไปแล้วบ้างก็ตามที พร้อมทั้งอาการรู้อยู่ในทีว่าในขณะนั้นว่า จิตมีราคะ ไม่มีราคะ, มีโทสะ ไม่มีโทสะ, มีโมหะ ไม่มีโมหะ, จิตหดหู่, จิตคิดฟุ้งซ่าน(จิตปรุงแต่ง), จิตเป็นสมาธิ, จิตมีสิ่งอื่นยิ่งกว่า, จิตหลุดพ้น ไม่หลุดพ้น ฯ. ก็รู้ชัดตามที่มันเป็นในขณะนั้น (พิจารณาสักนิดตรง รู้ชัดตามที่เป็น ไม่ใช่พยายามไม่ให้เกิด ไม่ให้เป็น เสียแต่ฝ่ายเดียว) และที่สําคัญคือเป็นกลางอุเบกขา วางทีเฉย โดยไม่คิดนึกปรุงแต่งไปทั้งในทางดีหรือทางร้าย ต่อจากสติรู้เท่าทันนั้น เพราะอาจเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนาต่างๆนาๆขึ้นอีกต่อเนื่องไป เช่น ทุกขเวทนา
    หรือ คือรู้เท่าทันความคิดหรือจิตสังขาร อันย่อมเกิดขึ้นต่อเนื่องมาจากเวทนาความรู้สึกรับรู้ในสิ่งที่กระทบสัมผัส (จิตหรือจิตตสังขาร)
    เมื่อเทียบเคียงกับปฏิจจสมุปบาทแล้ว จิตตานุปัสสนา ก็คือ อาการของจิตคือสติ ที่รู้เท่าทันใน จิตตสังขารที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดาของขันธ์ ๕ หรือชีวิต ๑ หรือสังขารูปาทานขันธ์(อุปาทานสังขาร)ที่เกิดในองค์ธรรม ชาติ ๑ หรือสังขารูปาทานขันธ์ที่เกิดวนเวียนเป็นวงจรในองค์ธรรมชรา ๑
    อนึ่งอาการของจิตทั้งหลายหรือเจตสิก ดังเช่นอาการของ ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ. นั้นมันไม่มีอาการเป็นรูปธรรมแท้จริง แต่มันอาศัยแฝงอยู่กับสังขารขันธ์คือการกระทำต่างๆนั่นเอง ดังเช่น ความคิด(มโนสังขาร)ที่ประกอบด้วยราคะ, การทำร้ายผู้อื่นทางกาย(กายสังขาร)ที่ประกอบด้วยโทสะ, การด่าทอต่อว่า(วจีสังขาร)ที่ประกอบด้วยโมหะ, การเกี้ยวพาราสีทั้งด้วยคำพูดทั้งกริยาท่าทางที่ประกอบด้วยราคะ ฯลฯ.
    ๔. ธัมมานุปัสสนา การมีสติรู้ทันธรรม อันหมายถึง มีธรรมเป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องพิจารณา เครื่องเตือนสติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจหรือปัญญาญาณ ตลอดจนเป็นเครื่องอยู่ของจิต และยังให้เกิดนิพพิทาญาณ เพื่อการดับทุกข์, สติระลึกรู้เท่าทันหรือพิจารณาให้แจ่มแจ้งในธรรม ดังเช่นที่พระองค์ท่านกล่าวถึงก็มี นิวรณ์ ๕, ขันธ์ ๕, อายตนะภายในและภายนอกทั้ง ๑๒, โพชฌงค์ ๗, และอริยสัจจ ๔ อันมี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค.
    ข้อสังเกตุ การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน๔ เป็นการปฏิบัติในชีวิตประจําวันในชีวิต จึงไม่ใช่การปฏิบัติเฉพาะในการปฏิบัติพระกรรมฐานที่นั่งพิจารณาในรูปแบบแผนหรือเฉพาะเวลาแต่อย่างเดียว
    ถ้านั่งปฏิบัติแบบมีรูปแแบบแผน ให้มีสติอย่าปล่อยให้เลื่อนไหลสู่องค์ฌานหรือสมาธิระดับประฌีต ผ่อนคลายกายและใจ เมื่อดูลมหายใจ ก็จะเกิดอาการต่างๆทางวิปัสสนามาให้เห็น แต่นักปฏิบัติมักจะไม่ชอบ คิดว่าผิด อันไปคิดกันว่าไม่ดี ไม่ถูก จิตไม่สงบ เพราะไม่รู้จึงไม่แยกแยะว่านี่เป็นการฝึกสติ ไม่ใช่ฝึกสมาธิ ไม่ได้ลิ้มรสอร่อยของสมาธิหรือฌานตามที่เข้าใจหรือเคยประสบ, โดยธรรมชาติของจิตนั้น จิตจะส่งออกไปเห็นนั่น เห็นนี่ คิดนั่น คิดนี่ เป็นปกติธรรมดาตามสภาวธรรมหรือธรรมชาติของปุถุชน ตรงนี้แหละที่สําคัญที่สุดในการปฏิบัติ เพราะต้องการให้เห็น ให้รู้ ให้เข้าใจตามธรรม(ธรรมชาติ)ของเวทนาหรือจิตสังขารที่ผุดขึ้นมาเหล่านั้น อันเป็นเหตุให้เกิดจิตปรุงกิเลส ให้มีสติรู้เข้าใจว่านั่นแหละเวทนาหรือจิต(จิตตสังขาร)หรือความคิดความนึกที่เป็นโลภ โกรธ หลง หดหู่ สมาธิ ฌาน ฯ. ก็ให้มีสติรู้ตามความเป็นจริง อย่าไปกดข่ม แค่ต้องรับรู้ตามจริง แล้วเป็นอุเบกขาเป็นกลาง เป็นกลางอย่างไร? เป็นกลางวางทีเฉย โดยการไม่ไปนึกคิดปรุงแต่งเอนเอียงไปในทางใดๆทั้งสิ้นไม่ว่าจะ ดีหรือชั่ว, ถูกหรือผิด เป็นการฝึกอบรมสั่งสมสังขารใหม่อันไม่เกิดแต่อวิชชา จึงเป็นการปฏิบัติเวทนานุปัสสนาหรือจิตตานุปัสสนาที่ถูกต้อง, หรือเมื่อปวดเมื่อยหรือรับรู้ความรู้สึกใดๆที่กระทบทางกายหรือใจ ก็ให้รู้ว่านั่นแหละเวทนา ให้มีสติรู้ว่าเป็นความรู้สึกรับรู้ต่อกายหรือใจเยี่ยงไร มีกิเลสแฝงด้วยไหม แล้วอุเบกขาเป็นกลางวางเฉยไม่ปรุงแต่งเอนเอียงไปในด้านใด รู้สึกอย่างไรก็รู้สึกอย่างนั้น ไม่ใช่หวังว่าอาการนั้นๆต้องหายไป แต่ต้องวางใจเป็นอุเบกขา ไม่ปรุงแต่ง อันเป็นการปฏิบัติเวทนานุปัสสนา เพื่อสร้างสมสังขารใหม่เช่นดั่งจิตตานุปัสสนา, หรือธรรมใดบังเกิดต่อจิตหรือหยิบยกขึ้นมาพิจารณา ก็ให้พิจารณาธรรมนั้นๆเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมอันมีกําลังของสติที่ไม่ซัดส่ายมีกําลัง เป็นเครื่องช่วย อันเป็นการปฏิบัติธัมมานุปัสสนา, หรือใช้สตินั้นพิจารณากายว่าล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย สักแต่ว่าธาตุ ๔ มาประชุมกันชั่วขณะหรือระยะหนึ่ง หรืออันล้วนแต่เป็นสิ่งปฏิกูล ฯ. เป็นการคลายลดละความยึดถือยึดมั่นในกายแห่งตน อันเป็นการปฏิบัติแบบกายานุปัสสนาอย่างหนึ่งเช่นกัน
    พุทธประสงค์ของสติปัฏฐาน ๔ นั้นก็คือ ต้องการให้ฝึกสติและใช้สตินั้นพิจารณาอยู่ในธรรมทั้ง ๔ คือพิจารณาธรรมใดหรือสิ่งใดที่บังเกิดแก่จิตในขณะนั้น หรือตามจริตของผู้ปฏิบัติ ซึ่งนอกจากจะส่งเสริมให้เกิดปัญญาญาณ(สัมมาญาณ)อันเป็นมรรคองค์ที่ ๙ ในสัมมัตตะ ๑๐ หรือภาวะแห่งความถูกต้องในการปฏิบัติ แล้วยังเป็นเครื่องอยู่ของจิต คือให้จิตวนเวียนเฝ้าปฏิบัติและพิจารณาอยู่ในธรรมเหล่านั้น อันเมื่อปฏิบัติหรือพิจารณาอย่างมีความเพียรไม่ย่อท้อในชีวิตประจําวัน ย่อมส่งผลให้ไม่ส่งจิตฟุ้งซ่านออกนอกไปปรุงแต่ง(คิดนึกปรุงแต่ง) จึงย่อมไม่เกิดการผัสสะให้เกิดเวทนาอันอาจเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดตัณหาจนเป็นทุกข์ อันเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบันธรรม และเป็นปัจจัยให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องอันเนื่องมาจากการปฏิบัติและพิจารณา และเกิดกําลังแห่งจิตอันเกิดขึ้นจากสภาวะปลอดทุกข์ชั่วขณะ เนื่องจากจิตไม่ส่งออกไปคิดนึกปรุงแต่งภายนอกใดๆ เหล่านี้อันเป็นปัจจัยสําคัญให้เกิดปัญญาญาณอันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสัมมาวิมุตติหรือสุขจากการหลุดพ้น อันเป็นมรรคองค์ที่๑๐ ในสัมมัตตะ ๑๐ ของพระอริยเจ้า
    การปฏิบัติหรือพิจารณานั้น หลายท่านมีความสงสัยว่า ไม่ต้องตั้ง "กายให้ตรง ดํารงจิตเฉพาะหน้า"ตามพระสูตรหรือ?
    การ "ตั้งกายตรง ดํารงสติเฉพาะหน้า" นั้นใช้ขณะฝึกสติโดยใช้ลมหายใจในเบื้องต้น เพื่อให้การหายใจสะดวก และช่วยให้สติสังเกตุลมหายใจได้ดีขึ้น ดังนั้นในภายหน้า เราควรทําหรือปฏิบัติในชีวิตประจําวันทุกโอกาส หรือทันทีที่สติรู้เท่าทัน หรือตามธรรมใดๆที่บังเกิดขึ้นแก่จิต
    พิจารณาธรรมทําอย่างไร? ต้องคิดอย่างไร. ทําไม่เป็น. ปัญญาไม่ดี. หัวไม่ดี. เริ่มไม่ถูก ....ฯลฯ. เหล่านี้เป็นปัญหาข้อสงสัย(วิจิกิจฉา)ของนักปฏิบัติโดยทั่วไป จริงๆแล้วคือให้คิดในข้อธรรมนั้นๆอย่างมีเหตุมีผลเหมือนความคิดทั่วไป และอย่างมีสติ ไม่ซัดส่ายสอดแส่หรือฟุ้งซ่านไปภายนอกหรือไปในความคิดอื่นๆนั่นเอง เพราะเมื่อพิจารณาธรรมไปเรื่อยๆดูราวกับว่าซํ้าๆซากๆ ดูราวกับว่าไม่มีอะไรให้เกิดประโยชน์ แต่ในความเป็นจริงนั้นเมื่อพิจารณาไปเรื่อย บ่อยๆ นานๆ(ไม่ใช่วันเดียวนะครับ) จิตเองย่อมจะเกิดข้อสงสัยต่างๆขึ้น เช่น ทําไมจึงเป็นเช่นนั้น? อย่างนี้ถูกหรือเปล่า? จริงอย่างที่ท่านกล่าวไว้ไหม? เป็นไปได้หรือ? สารพัดสารเพในข้อธรรมเหล่านั้น ทําให้จิตหยุดการส่งออกไปคิดนึกปรุงแต่งในเรื่องอื่นๆอันอาจก่อให้เกิดทุกข์อันทําให้เกิดกําลังแก่จิตโดยไม่รู้ตัว และจิตเองเริ่มพิจารณาหาคําตอบที่สงสัยโดยไม่รู้ตัว จนเกิดความรู้ความเข้าใจทีละน้อยๆโดยไม่รู้ตัวเช่นกัน อันทําให้เป็นกําลังแก่จิตมากยิ่งขึ้น จนในที่สุดจักเกิดอาการ อ๋อ มันเป็นเช่นนี้เอง ในธรรมเหล่านั้นขึ้นมา อันเป็นสัมมาญาณที่จําเป็นในการดับทุกข์ หรือก็คือการปฏิบัติให้เกิดสังขารอันสั่งสมอบรมไว้(ในปฏิจจสมุปบาท)ที่ไม่เกิดแต่อวิชชา อันเป็นความเคยชินที่สั่งสมอบรมเพื่อการพ้นทุกข์อย่างแท้จริง
    ข้อสังเกตุในหมวดเวทนานุปัสสนา และจิตตานุปัสสนาก็คือ ให้มีสติรู้เท่าทัน และรู้ตามความเป็นจริงของธรรม หมายความว่า ยังมีการเกิดขึ้นของสิ่งเหล่านั้นอยู่ ไม่ใช่ไม่เกิด เช่น จิตมีโมหะ โทสะ โลภะ ก็รู้ว่าจิตมี, หรือมีเวทนาใด ก็รู้ว่ามี เพราะเมื่อปฏิบัติไปสักระยะหรือเมื่อขาดสติหรือเผลอตัว หรือเมื่อเกิดเวทนาหรือจิตสังขารต่างๆขึ้น(คิด)ขึ้นมาแล้ว รู้(แต่ไม่เท่าทันแต่แรก)เลยมักหงุดหงิด มันยังคงต้องมีต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เพราะเมื่อปฏิบัติไปเรื่อยๆ เมื่อลืมตัวขาดสติ พอเห็นมันเกิดขึ้นก็ลืมตัวว่า ทําไมยังเกิด? ทําไมยังมี? ท่านขอให้แค่มีสติรู้เท่าทัน เพราะขณะจิตที่เห็นเวทนาหรือจิต(คิด)นั้น จิตจะหยุดทุกข์นั้นชั่วขณะเพราะสติ ตลอดจนเห็นคุณโทษค่อยๆชัดแจ้งขึ้น และข้อสําคัญ....
    สติรู้เท่าทันนั้นแล้ว ยังครอบคลุมถึงสติวางใจเป็นกลางหรืออุเบกขา ไม่คิดนึกปรุงแต่งอันยังให้เกิดเวทนา อันอาจยังให้เกิดตัณหาขึ้น ไม่คิดนึกปรุงแต่งไปทั้งในทางดีหรือชั่ว เช่น คิดว่าเราถูก คิดว่าเขาผิด, คิดว่านี่บุญ คิดว่านั่นบาป จึงจะถูกต้องจริงๆ และนี่คือสิ่งที่พระพุทธองค์ต้องการให้เกิดขึ้นจากการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ คือเกิดสังขารที่สั่งสมอบรมอันมิได้เกิดแต่อวิชชาขึ้นใหม่ ที่เกิดแต่ความเข้าใจหรือวิชชา แล้วอุเบกขา เป็นกลาง วางเฉยโดยการไม่ปรุงแต่งไปทั้งในด้านดีหรือชั่ว อันจักเกิดขึ้นได้จากการฝึกฝนปฏิบัติเท่านั้น ไม่ใช่อยู่ดีจะวางจิตเป็นกลางเฉยๆดังความเข้าใจของบางท่าน อย่าไปหงุดหงิดกับการที่ยังมีเกิดขึ้นของเวทนาและจิตสังขารในระยะแรกๆ มันเป็นเช่นนั้นเอง จนกว่าท่านจะปฏิบัติจนเป็นสังขารที่สั่งสมไว้อันดียิ่งมิได้เกิดแต่อวิชชา หรือมหาสตินั่นเอง
    เมื่อเกิดเวทนาหรือจิตสังขารขึ้นแล้ว มีสติรู้เท่าทันสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของเวทนาหรือจิตสังขารที่เกิดขึ้นนั้น และมันเป็นเช่นนั้นเองเป็นธรรมดา ไม่ต้องไปทําอะไรกับเขา เพียงแต่มีสติ แล้วละเสีย ถืออุเบกขาเป็นกลางวางทีเฉย, วางเฉยโดยการไม่คิดนึกปรุงแต่งทั้งทางดีและร้าย เพราะจักยังให้เกิดเวทนา อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ตามวงจรปฏิจจสมุปบาท
    ข้อสังเกตุและความคิดเห็นของผู้เขียน. ในหมวดธรรมานุปัสสนา อันกล่าวถึงธรรมต่างๆเพื่อเป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ อันเป็นจุดมุ่งหมายของพระองค์ท่านเพื่อให้เป็นเครื่องอยู่ของจิตและพิจารณาให้เกิดปัญญาญาณ, และมีกล่าวถึงสมาธิหรือองค์ฌานไว้ในหมวดของมรรค ๘ ว่าเป็นสัมมาสมาธิหรือหมายถึงสมาธิที่ถูกต้อง ที่ถูกที่ควร, ถูกต้องจริงแต่หมายถึงในแง่สมถสมาธิเท่านั้น อันไว้เป็นกําลังแห่งจิตหรือพักผ่อนกายและจิตเป็นแค่เครื่องอยู่, ไม่ใช่ในแง่การปฏิบัติวิปัสสนา หรือสติปัฏฐาน ๔ อันเป็นการใช้สติปฏิบัติวิปัสสนาให้รู้แจ้งตามความเป็นจริงแห่งธรรม, จึงมีผู้สับสนเป็นจํานวนมาก เพราะมีการอาศัยอุบายวิธีหรือสื่อเดียวกันคือลมหายใจ จึงเกิดความเข้าใจว่าปฏิบัติสมาธิหรือฌานแล้ว เป็นสติปัฏฐาน๔ที่ถูกต้อง เป็นคนละเรื่องกัน, แม้แต่เกิดองค์ฌานตามพระสูตรอันเป็นสัมมาสมาธิก็ต้องไม่ไปยึดติดยึดมั่นในองค์ฌาน ปีติ สุข อุเบกขา นั้นด้วยจึงจะถูกต้อง มิฉนั้นก็จะเกิดวิปัสสนูปกิเลส เช่นเกิดการติดสุขขึ้นได้ อันมักจะทำจิตส่งในอยู่เนืองๆโดยไม่รู้ตัว อันยังผลร้ายแก่นักปฏิบัติในภายหลังเป็นยิ่งนัก
    การปฏิบัติสติปัฏฐาน๔ จึงต้องให้เกิดและมีสติเห็นธรรม(ธรรมชาติ)ของเวทนาหรือจิตสังขารคิดที่ไม่สงบเหล่านั้น แล้วถืออุเบกขา ที่ท่านใช้คำว่า ไม่ยึดมั่นถือมั่นใดๆในโลกนี้ เพื่อให้เห็นว่าทุกข์นั้นเกิดแต่ใด? อะไรเป็นเหตุ ? เหตุใดจึงดับไปได้? แสดงพระไตรลักษณ์ ตลอดจนธรรมต่างๆเพื่อเป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ ให้เกิดปัญญา สติปัฏฐาน ๔ จึงเป็นการปฏิบัติทั้งใน สติ สมาธิ และวิปัสสนา(ปัญญา)
    กุณฑลิยสูตร
    กุณฑลิยะ : ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์?
    พระพุทธเจ้า : ดูกรกุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์.
    กุณฑลิยะ : ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์?
    พระพุทธเจ้า : ดูกรกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
    http://www.nkgen.com/34.htm
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,713
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รักษาการผู้ว่าการรถไฟฯ แจงโซเชียลปั่น "ปีสุดท้ายของหัวลำโพง" อ้างสื่อญี่ปุ่น ระบุปี 64 ไม่ได้ย้ายไปสถานีกลางบางซื่อทั้งหมด เฉพาะขบวนที่พร้อม ส่วนหัวลำโพงยังมีขบวนรถแต่น้อยลง พร้อมพัฒนาบางส่วนเป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟ
    อ่านเพิ่มเติม คลิก >>> https://mgronline.com/onlinesection/detail/9630000005839
    #MGROnline #หัวลำโพง #ปีสุดท้าย #บางซื่อ #ชี้แจง
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,713
    ค่าพลัง:
    +97,150
    วิชชามัชฌิมา

    q422am54dypICM7ku6x6-o.jpg

    “วิชชามัชฌิมา” หรือ “กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ” เป็นของเก่าเล่าเรียนปฏิบัติ สืบต่อกันมาช้านานแต่ครั้งพุทธกาลโดย “พระราหุลเถรเจ้า” (โอรสเจ้าชายสิทธัตถะ) ทรงเป็นต้นสาย สืบต่อมาถึงครั้งตติยสังคายนา นำเข้ามาสู่ลังกา และนำเข้ามาสู่สุวรรณภูมิ โดย “พระโสณเถรเจ้า” และ “พระอุตระเถรเจ้า” ซึ่งพระองค์ท่านได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมพระสมถวิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ผ่านยุคผ่านสมัยเรื่อยมาจนถึงยุคทวารวดี

    ต่อมาประมาณปีพุทธศักราช ๖๐๙–๖๕๓ พระอุปติสสะเถรเจ้า แห่งลังกาทวีป ได้นำเอาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ซึ่งเป็นพระกรรมฐานภาคปฏิบัติ อันทรงจำสืบกันมา นำมาแต่งจารึกลงเป็นอักษร เรียงลำดับเรียงหมวดหมู่พระกรรมฐานไว้เป็นภาคปริยัติ เรียกว่า “คัมภีร์วิมุตติมรรค” เพื่อให้ผู้ปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับมาแล้ว ได้ศึกษาหาความรู้ภาคปริยัติต่อไป

    ต่อมาประมาณปีพุทธศักราช ๙๕๖ พระพุทธโฆสะ ได้นำคัมภีร์วิมุตติมรรคมาแต่งเป็น “พระคัมภีร์วิสุทธิมรรค” เพื่อแสดงปัญญาให้ได้มาซึ่งคัมภีร์อรรถคาถา แต่การบอกพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ยังคงบอกต่อๆ กันมาในภาคปฏิบัติ และจำสืบกันมาเรื่อยๆ เพื่อป้องกันการชี้นำ และเกิดอุปาทาน และจิตหลอน จึงสืบต่อมาจนถึงยุคทวารวดี ยุคสุโขทัย ยุคอยุธยา ยุคธนบุรี และยุครัตนโกสินทร์

    *************************************

    ในยุครัตนโกสินทร์นี้เอง พระสมถวิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ได้เริ่มเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ประมาณปีพุทธศักราช ๒๓๖๔ พระสงฆ์ สามเณร ชีปะขาว แม่ชี เริ่มประพฤติปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมาออกนอกลู่นอกทางของการปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมาแต่ก่อนมา ไม่ปฏิบัติเป็นขั้นเป็นตอน ทำให้พระพุทธศาสนาภาคปฏิบัติค่อยๆ เสื่อมถอยลง

    ต่อมาล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๒ จึงได้ให้ชุมนุมพระสงฆ์วิปัสสนาพระกรรมฐานมัชฌิมา มาร่วมกันทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาไว้ และทรงแต่งตั้งภิกษุไปเป็นพระอาจารย์บอกพระสมถวิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ต่อจากนั้นสมถวิปัสสนานากรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ จึงได้มีมาจนทุกวันนี้ ซึ่งบางสมัยก็เจริญ บางสมัยก็เสื่อม โดยความไม่รู้ทั่วถึง จึงต้องมีการฟื้นฟู ผดุงรักษา พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับไว้

    พอมาถึงช่วงรัชกาลที่ ๔ มีการยกเลิกกฎเรื่องการสอนกรรมฐาน และมีการนําพระทางพม่า ที่สอนสายอื่นเข้ามาไว้ทางจังหวัดอุบลราชธานี โดยเริ่มเผยแผ่กรรมฐานแนวอื่นสองวัด ทำให้เรื่องกรรมฐานจึงไม่มีกฎตายตัวมาตั้งแต่นั้น กฎต่างถูกยกเลิกใครอยากสอนก็สอนได้ แต่ธรรมเนียมในศิษย์กรรมฐานมัชฌิมาแบบลําดับ ทุกยุค ทุกกรุงแต่โบราณ มุ่งเชิดชูรักษา “วิชชามัชฌิมา” เป็นหลักมาตลอด

    ฉะนั้น “โบราณจารย์” พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับแต่ปางก่อนทั้งหลาย จึงได้กล่าวเป็นคติพยากรณ์ถึงการรักษาแบบแผน การปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับไว้เป็น ๓ คาบว่า

    ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา ลัชชีรักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา ลัชชีรักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา ดังเช่น หลวงปู่สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) เป็นต้น
    q422b7bx3KmLh9p194o-o.jpg

    สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)

    ย้อนไปในสมัยอยุธยาตอนปลาย พระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) ซึ่งเป็นพระสังฆราชในสมัยรัชกาลที่ ๑ และเป็นพระอาจารย์ของรัชกาลที่ ๒ ด้วยนั้น ได้สอนนั่งสมาธิแบบ "วิชชามัชฌิมา" คือการกำหนดตั้งดวงจิตไปตามฐานต่างๆ ในร่างกาย ดูคล้ายๆ กับทาง “วิชชาธรรมกาย” มาก อย่างการตั้งจิตไว้ที่กลางศีรษะ กลางอก หัวใจ สะดือ (กลางกาย) ล้วนเป็นการเดินจิตทำให้สมาธิแนบแน่น ทั้งยังเป็นการรักษาโรคต่างๆ โดยตามประวัติก็มีว่าหลวงพ่อสด (วัดปากน้ำภาษีเจริญ) กับหลวงปู่โต๊ะ (วัดประดู่ฉิมพลี) ได้เคยไปศึกษาการนั่งสมาธิของวัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) ที่สอนการนั่งสมาธิแบบมัชฌิมานี้มาก่อนเช่นกัน
    q422c04rcyty1Frg5l9Z-o.jpg

    ฐานเดินจิตทั้ง ๙ ในวิชชามัชฌิมา

    ในตำราพิชัยสงครามของอยุธยาก็มีการสอนสมาธิแบบ "มัชฌิมา" โดยกำหนดให้แม่ทัพนายกองของกรุงศรีอยุธยาต้องปฏิบัติ และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเองท่านก็ยังทรงชำนาญในการทำสมาธิแบบ "มัชฌิมา" นี้อีกด้วย

    พระอาจารย์วีระ ฐานวีโร เจ้าคณะ ๕ วัดราชสิทธารามได้เล่าถึงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไว้ว่า

    “พระองค์ทรงมีความสนพระทัยในการศาสนา ทรงรวบรวมพระไตรปิฎกตลอดจนทำนุบำรุงวัดวาอาราม ที่สำคัญคือพระองค์สนใจในการทำกรรมฐาน ทั้งนี้พระองค์เองก็ได้ฝึกกรรมฐานมาแต่ครั้งกรุงเก่า โดยกรรมฐานที่พระองค์ผ่านการร่ำเรียนมาเรียกกันว่า กรรมฐานมัชฌิมา โดยลำดับนั่นเอง และเชื่อได้ว่าพระองค์คงมีความชำนาญไม่น้อย เพราะวิชชากรรมฐานแบบมัชฌิมานั้นเป็นพื้นฐานของวิชชาในพิชัยสงครามด้วย"

    และพระอาจารย์วีระ ฐานวีโร ได้สรุปไว้ว่า

    "พระเจ้าตากสินผ่านการทำกรรมฐานมาจนน่าจะบรรลุธรรมชั้นสูง เชื่อว่าคงบรรลุเป็นพระโสดาบันเป็นอย่างน้อย ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า พระองค์ไม่ได้วิปลาสดังที่ใครต่อใครเข้าใจกันอย่างแน่นอน"
    q422cu9m98YKr49QYl5O-o.jpg

    ดังนั้น การนั่งสมาธิแบบ มัชฌิมา กับแบบ ธรรมกาย นั้น (เดินจิตไปตามฐานต่างๆ ในร่างกาย) ใช้เป็นแนวทางกรรมฐานตั้งแต่สมัยอยุธยาของไทยแล้ว ไม่ใช่ของใหม่อะไร เพียงแต่คนไทยในยุค ๓๐ ปีมานี้ คุ้นเคยแต่แบบสายทางพระพม่าเท่านั้น (ยุบหนอ-พองหนอ) แต่การตั้งฐานจิตและเดินจิตมีมาตั้งแต่ยุคอยุธยาสืบไกลไปจนถึงยุคพุทธกาล ซึ่งเป็นหลักการนั่งสมาธิแบบสยามโบราณของแท้ที่ได้รับมรดกตกทอดมาจาก พระโสณเถรเจ้า และ พระอุตระเถรเจ้า สองพระภิกษุผู้นำพระพุทธศาสนาจากอินเดียและลังกา เผยแผ่เข้ามาถึงดินแดนสุวรรณภูมิ โดยอาศัยเรือพ่อค้ามาขึ้นบกที่บริเวณเมืองโบราณอู่ทอง ณ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีในปัจจุบัน

    *************************************

    https://m.pantip.com/topic/39560741?
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...