ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,685
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ไปเที่ยวลาวต้องระวังเขาคิดอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินเอง และคิดราคาค่าบริการแพงกว่าปรกติ

     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,685
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จะแลกเงินกีบลองใช้เว็บไซต์นี้คำนวณค่าเงิน แต่ถ้าเป็น ผม น่าจะเว้นการไปเที่ยวประเทศนี้ไปก่อน เพราะตอนนี้เขารณรงค์ เซฟกีป ก็เหมือนเป็นการปลุกระดม กระแสรักชาติ ประมาณนั้น คนประเทศนี้บางคน อาจถูกกระแสนี้ ทำให้เกิดความเกลียดชังคนต่างถิ่นที่เขาคิดว่าทำให้ประเทศเขาประสบปัญหา เข้าไปก็อันตราย

    Screenshot_25670714_191347.jpg Screenshot_25670714_191430.jpg
    https://www.superrichthailand.com/#!/en/exchange
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,685
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Jul 17, 2024 หยุดเดือนนี้! กุลธรเคอร์บี้ ยักษ์ใหญ่สุด และโรงงานวงการคอมเพรสเซอร์แห่งแรกในไทย หยุดงานกรกฎาคมทั้งเดือน จ่ายเงินเดือน 75% ตามกฎหมาย เร่งเจรจาเจ้าหนี้ธนาคารขอเพิ่มทุนเร็วที่สุด

    นายฐิติศักดิ์ สิมะกุลธร กรรมการ บริษัท กุลธรเคอร์บี้ จำกัด (มหาชน) หรือ KKC ผลิตและจำหน่ายมอเตอร์คอมเพรสเซอร์สำหรับตู้เย็น ตู้แช่ ตู้ทำน้ำเย็น และเครื่องปรับอากาศ รวมถึงผลิตคอนเดนซิ่งยูนิต ทำการแจ้งไปยังตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า บริษัทฯ จะหยุดกิจการชั่วคราว โดยหยุดกิจการชั่วคราวเฉพาะบริษัท กุลธรเคอร์บี้ จำกัด (มหาชน) สำหรับบริษัทย่อยยังคงปฏิบัติงานเหมือนเดิม ในระหว่างวันที่ 1-31 ก.ค. 2567 บริษัทจะทำการหยุดกิจการเป็นช่วงๆ

    พิจารณาจากจำนวนการผลิต และวัตถุดิบ เพื่อลดค่าใช้จ่ายของบริษัท เนื่องจากการขาดสภาพคล่องในการซื้อวัตถุดิบ เพื่อผลิตและส่งมอบ เนื่องจากวัตถุดิบหลัก เช่น เหล็ก ทองแดง มีความจำเป็นต้องใช้วงเงิน Working capital (LC) จากธนาคารในการซื้อ ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจากับธนาคาร

    สำหรับการจ่ายเงินเดือนพนักงานที่หยุดปฏิบัติงาน 75% ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 เรื่องการหยุดกิจการชั่วคราว การหยุดกิจการชั่วคราวเฉพาะส่วนงานการผลิตที่ไม่มีวัตถุดิบ ส่วนงานอื่นๆ ที่ปฏิบัติงานประจำบางส่วนจะยังคงปฏิบัติงานอยู่ได้แก่ พนักงานดูแล (เครื่องจักร) ส่วนการผลิต ส่วนวิศวกรรมโรงงาน ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายขนส่ง ฝ่ายวางแผนการผลิตและคลังสินค้า ฝ่ายปฏิบัติงานการเงิน ฝ่ายบัญชี ฝ่ายความปลอดภัยแผนกสรรหาและค่าจ้างเงินเดือน นอกจากนี้ บริษัทได้เร่งดำเนินการเจรจากับเจ้าหนี้สถาบันการเงิน เพื่อจัดหาเงินทุนเพิ่มเติมให้เร็วที่สุด และอยู่รอการอนุมัติวงเงินจากสถาบันการเงิน

    ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแจ้งเตือนผู้ลงทุน ระบุว่า ตามที่ KKC แจ้งหยุดกิจการชั่วคราวระหว่างวันที่ 1-31 ก.ค. 2567 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลดังกล่าวเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน และขอให้ใช้ความระมัดระวังในการซื้อขายหลักทรัพย์
    ทั้งนี้ KKC อยู่ระหว่างแก้ไขเหตุเพิกถอนกรณีส่วนของผู้ถือหุ้นน้อยกว่าศูนย์ โดยหลักทรัพย์ของบริษัทอยู่ระหว่างการเปิดให้มีการซื้อหรือขายชั่วคราวด้วยบัญชี Cash Balance เป็นระยะเวลา 1 เดือน (ตั้งแต่วันที่ 27 มิ.ย. 2567 - 26 ก.ค. 2567) และตลาดหลักทรัพย์ฯ จะขึ้นเครื่องหมาย SP หลักทรัพย์ของบริษัทตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป จนกว่าบริษัทจะสามารถแก้ไขเหตุเพิกถอนได้

    ทั้งนี้ บริษัท กุลธรเคอร์บี้ จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2537 หรือเมื่อ 30 ปีผ่านมา ด้วยทุนจดทะเบียน 1,500 ล้านบาท เป็นธุรกิจในอุตสาหกรรมผลิตมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ รับจ้างผลิตชิ้นส่วนมอเตอร์คอมเพรสเซอร์

    #กุลธรเคอร์บี้ #คอมเพรสเซอร์ #แอร์ #ตู้เย็น #หยุดงาน #เศรษฐกิจ #BTimes

    https://www.facebook.com/share/uqZqbZjnP34gfQsQ/?mibextid=oFDknk
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,685
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Jul 17, 2024 ตรึงดีกว่า! ส.อ.ท. จี้พลังงานตรึงค่าไฟ 4.18 บาทต่อหน่วย ไม่จำเป็นต้องขึ้นตาม กกพ. กำหนด เชื่อเป็นทางรอดประชาชน ท่ามกลางเศรษฐกิจยังชะลอ กำลังซื้อหดหาย หนี้ครัวเรือนสูง

    นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงกรณีสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานคำนวณค่าไฟงวดปลายปี (กันยายน - ธันวาคม 2567)พุ่งระดับ 4.65-6.01 บาทต่อหน่วยว่า ขอยืนยันว่าราคาค่าไฟงวดปลายที่เหมาะสมคือ 4.18 บาทต่อหน่วยเท่ากับงวดปัจจุบัน (พฤษภาคม - สิงหาคม 2567) รัฐบาลควรตรึงต่อไป เพราะเป็นทางรอดของประชาชน เป็นระดับราคาที่เหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในเวลานี้ที่ยังชะลอตัว กำลังหดหายจากหนี้ครัวเรือนระดับสูง และยังเหมาะสมกับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเวลานี้ด้วย อีกทั้งมั่นใจว่าระดับราคา 4.18 บาทต่อสามารถบริหารจัดการได้ ไม่จำเป็นต้องขึ้นราคาตามภาระที่สำนักงาน กกพ. ระบุ โดยระดับ 4.18 บาทต่อหน่วย เมื่อคำนวณต้นทุนอย่างละเอียดแล้วพบว่ายังสามารถชำระหนี้คืน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ได้บางส่วน จากหนี้รวม 98,000 ล้านบาท โดยรัฐบาลเองสามารถช่วยสภาพคล่อง กฟผ. ได้ โดยให้ กฟผ. ชะลอหรือลดเงินนำส่งรัฐ

    ขณะเดียวกัน รัฐบาลควรชะลอการชำระคืนค่าก๊าซที่เกิดขึ้นจริงกับราคาก๊าซที่เรียกเก็บเดือนกันยายน - ธันวาคม 2566 ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อตรึงค่าไฟไว้ที่ 3.99 บาทต่อหน่วย หรือ AFGAS วงเงิน 15,083.79 ล้านบาท ออกไปก่อน โดยที่มาค่าของ AF Gas มาจากการที่รัฐบาลชุดนี้เมื่อเข้ามาบริหารได้สั่งลดค่าไฟฟ้างวดปลายปี 2566 (กันยายน - ธันวาคม) เหลือ 3.99 บาทต่อหน่วย จาก 4.69 บาทต่อหน่วย ในงวดกลางปี (พฤษภาคม - สิงหาคม 2566) มีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) รองรับ โดยไม่ได้ปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าแต่อย่างใด เพียงแต่สั่งให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ กฟผ. คุมค่าก๊าซไว้ และให้นำส่วนต่างค่าก๊าซธรรมชาติ (AF-Gas) ไปทยอยเรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟคืนให้ ปตท. และ กฟผ. ส่วนนี้จึงคิดเป็นเงิน 15,084 ล้านบาท หรือ 25.02 สตางค์ต่อหน่วย ที่จะนำมาเรียกเก็บจากประชาชนคืนในงวดปลายปีนี้

    อย่างไรก็ตามในระยะยาว รัฐบาลควรปรับโครงสร้างพลังงานประเทศโดยด่วน เรื่องนี้ ส.อ.ท. เรียกร้องมานาน และปัจจุบันภาคเอกชนกลุ่มต่างๆก็เรียกร้องเช่นกัน โดยขอเสนอ 3 มาตรการผ่าตัดเพื่อทางรอดของประเทศ ก้าวข้ามกับดักแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย2024 หรือพีดีพี PDP2024 ประกอบด้วย
    1. ประเทศไทยต้องพึ่งพลังงานสะอาดที่ต้นทุนไม่ผันผวน มากกว่า ที่จะไปเสี่ยงกับพลังงานฟอสซิล ที่ ควบคุมราคาไม่ได้
    2. ควรบริหารดีมานด์และซัพพลายอย่างเหมาะสม สิ่งสำคัญคือ ต้องไม่ลงทุนเกินตัว ในโรงไฟฟ้า และโครงสร้างพื้นฐานใหม่ๆ เพิ่มเติม ที่จะเป็นภาระของประเทศ มีเคพีไอที่เหมาะสม รวมทั้งต้องทบทวนสัญญาโรงไฟฟ้า เช่น ค่าความพร้อมจ่าย (เอพี) และอื่นๆ อีกทั้งต้องเดินหน้า Liberalization หรือเปิดเสรี รัฐบาลต้องผลักดันนโยบายเปิดเสรี ทั้งระบบผลิต จัดหา และจำหน่าย ทั้งไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ หรือ NG มากกว่า การแทรกแซง ชี้นำ บิดเบือน รวมทั้งการกำกับ แบบมืออาชีพ อย่างโปร่งใส และเร่ง TPA ( Third Party Access ) หรือเปิดบุคคลที่สามเข้ามาในระบบ ทั้งระบบสายส่งไฟฟ้า และระบบ NG และการนำเข้า LNG หรือก๊าซธรรมชาติเหลว

    #ค่าไฟฟ้า #พลังงาน #กกพ #เศรษฐกิจ #สอท #BTimes

    https://www.facebook.com/share/p/uVsY9JkJxdXvK2Aj/?mibextid=oFDknk
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,685
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Jul 17, 2024 อุ้มค่าเงิน! แบงก์ชาติอินโดนีเซียตรึงดอกเบี้ยนโยบาย เป็นการคงอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นครั้งที่ 3 และจะตรึงจนกว่าสกุลเงินรูเปียห์จะแข็งแกร่งขึ้น

    ธนาคารกลางอินโดนีเซียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 6.25% ในการประชุมวันนี้ (17 ก.ค.) ซึ่งเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นครั้งที่ 3 และสอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ในโพลสำรวจของสำนักข่าวบลูมเบิร์กคาดการณ์ไว้ โดยมีเป้าหมายที่จะพยุงค่าเงินรูเปียห์

    นายเพอร์รี วาร์จิโย ผู้ว่าการธนาคารกลางอินโดนีเซีย เปิดเผยว่า ธนาคารกลางมีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับดังกล่าวต่อไปจนกว่าสกุลเงินรูเปียห์จะแข็งแกร่งขึ้น พร้อมกับส่งสัญญาณว่าธนาคารกลางอาจจะเริ่มพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยในไตรมาส 4 ปีนี้

    นอกจากนี้ นายวาร์จิโยกล่าวว่า ธนาคารกลางอินโดนีเซียยังคงตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้เอาไว้ที่ระดับ 3.2% และคาดว่าเศรษฐกิจอินโดนีเซียจะยังคงทำผลงานแข็งแกร่งในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ พร้อมกับคงตัวเลขคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ปี 2567 ของอินโดนีเซียเอาไว้ที่ระดับ 4.7%-5.5%

    #แบงก์ชาติอินโดนีเซีย #ดอกเบี้ยนโยบาย #เงินรูเปียห์ #BTimes

    https://www.facebook.com/share/p/iNHETgUdDx15X76h/?mibextid=oFDknk
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,685
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ประเทศที่คบไม่ได้เลย ถ้าไม่ปรับปรุงพฆติกรรมใหม่ ควรจะเลี่ยงไม่ไปประเทศนี้ดีที่สุด



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กรกฎาคม 2024
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,685
    ค่าพลัง:
    +97,150
    FB_IMG_1721816206881.jpg FB_IMG_1721816209182.jpg FB_IMG_1721816211571.jpg FB_IMG_1721816214233.jpg

    (Jul 23) แก้หนี้เกษตรกรแบบยั่งยืน … เก็บตกจากงานสัมมนาภาคอีสาน : ความกินดีอยู่ดีอย่างยั่งยืนของประชาชน คือ เป้าหมายของการดำเนินนโยบายของแบงก์ชาติ การทำความเข้าใจในเศรษฐกิจไม่เฉพาะภาพรวมแต่คำนึงถึงคนหลากหลายกลุ่ม เป็นสิ่งที่แบงก์ชาติให้ความสำคัญมาโดยตลอด

    สะท้อนจากคำกล่าวของผู้ว่าการในงาน Meet the Press เมื่อต้นเดือนที่ว่าตัวเลขเศรษฐกิจแสดงการฟื้นตัวในภาพรวมหรือค่าเฉลี่ย แต่ยังมีความลำบากของคนหลายกลุ่มที่รายได้ต่ำ ซึ่งแบงก์ชาติเข้าใจการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจว่ายังอยู่ในลักษณะไม่เท่าเทียมกัน

    ในการวิเคราะห์เศรษฐกิจ แบงก์ชาติจึงได้เจาะลึกและรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลทางการ (hard data) และที่สำคัญ คือ มุมมอง (soft data) ของภาคธุรกิจและประชาชน โดยเฉพาะ 3 สำนักงานภาค ทั้งเหนือ อีสานและใต้ ที่เข้าไปพูดคุยและรับฟังข้อมูลเชิงลึกจากคนท้องถิ่น

    ล่าสุด สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (สภอ.) ได้จัดงานสัมมนาวิชาการประจำปีในหัวข้อ “แก้หนี้เกษตรอีสานอย่างไรให้ยั่งยืน” โดยคำกล่าวเปิดงานของผู้ว่าการ สะท้อนองค์ประกอบของความกินดีอยู่ดีของประชาชน มี 2 เรื่อง คือ

    1) รายได้ต้องเพียงพอกับรายจ่าย ซึ่งถ้าดูภาพรวมประเทศ ศักยภาพไทยเดิมเคยโต 4-5% ช่วงหลังโตช้าลงอยู่ที่ 3% จากปัญหาเชิงโครงสร้าง ทำให้รายได้สูงไม่พอ สำหรับครัวเรือนอีสาน รายได้โตช้า ไม่พอสำหรับรายจ่าย เนื่องจากแรงงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรที่มีรายได้ก้อนใหญ่เพียงรอบเดียวต่อปี

    2) หนี้สินต้องน้อยกว่าทรัพย์สิน ครัวเรือนไทยมีภาระหนี้สูง และส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่ไม่สร้างรายได้ เช่น หนี้ส่วนบุคคลและหนี้บัตรเครดิต สำหรับครัวเรือนอีสานมีปัญหารายจ่ายสูงกว่ารายได้มานานแล้ว สิ่งที่ตามมา คือ หนี้ ดังนั้น การแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนต้องแก้ให้ครบวงจร โดยต้องแก้ปัญหาทั้งรายได้ และรายจ่ายด้วย

    แบงก์ชาติตั้งใจทำ 3 แนวทาง เพื่อเป้าหมายความกินดีอยู่ดีอย่างยั่งยืนของประชาชน

    1) ด้านรายจ่าย หน้าที่แบงก์ชาติ คือ ดูแลเสถียรภาพราคา ไม่ให้เงินเฟ้อและค่าครองชีพสูงเกินไป

    2) ดูแลรายได้ให้โตอย่างยั่งยืน แบงก์ชาติให้ความสำคัญกับการปฏิรูปโครงสร้าง ผ่านการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงสินเชื่อได้ โดยเฉพาะกลไกค้ำประกันเครดิต เพื่อเพิ่มโอกาสแก่ SMEs และการสร้างโอกาสแก่ประชาชนทั่วไป ผ่านการวางโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และระบบการชำระเงิน เช่น พร้อมเพย์ Thai QR payment ซึ่งอำนวยความสะดวกทั้งเรื่องการโอนเงินแบบต้นทุนต่ำและการซื้อขายสินค้าและบริการของประชาชนอย่างแพร่หลาย รวมถึงส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวด้วย

    3) แก้ปัญหาหนี้สิน แบงก์ชาติมีมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ตั้งแต่ช่วงโควิด ตอนนี้มีมาตรการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ซึ่งเป็นวิธีแก้หนี้แบบครบวงจร โดยเริ่มตั้งแต่การให้ข้อมูลครบถ้วนก่อนการเป็นหนี้ และเมื่ออยู่ระหว่างเป็นหนี้ ทางสถาบันการเงินต้องดูแลลูกหนี้ด้วย

    แบงก์ชาติยังให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างทัศนคติและความรู้ทางการเงินที่ดี โดย ดร.ทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการอาวุโส สภอ. ได้พูดถึงการเผยแพร่ความรู้ทางการเงินผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ เสริมแกร่งการเงินกองทุนหมู่บ้าน ชวนน้องท่องโลกการเงิน รวมทั้งร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร เช่น สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธนาคารออมสิน ธกส. พัฒนาชุมชน สำนักงานกองทุนหมู่บ้าน ผู้ประกอบการ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีทัศนคติและพฤติกรรมทางการเงินที่ดี ควบคู่กับการยกระดับรายได้ภาคเกษตรผ่านการถอดบทเรียนจากผู้ที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งจากการติดตามผล พบว่า เกษตรกรกว่าร้อยละ 40 มีพฤติกรรมการเงินที่ดีขึ้น

    ในช่วงการเสวนากับผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ประกอบด้วย ดร.โสมรัศมิ์ จันทรัตน์ ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ คุณจักรพงษ์ เมษพันธุ์ (โค้ชหนุ่ม) ผู้ก่อตั้งและโค้ชการเงินของ The Money Coach และคุณพสธร หมุยเฮบัว เกษตรกรและผู้ใหญ่บ้านนักพัฒนา บ้านแฝก-โนนสำราญ จ.นครราชสีมา โดยมี ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธาน TDRI เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งใน website แบงก์ชาติ สรุปแนวทางการแก้ปัญหาหนี้เกษตรกรให้เกิดความยั่งยืนจากการเสวนาไว้ 4 ข้อ ดังนี้

    1) เพิ่มรายได้ เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ โดยปัจจุบันได้เกิดขึ้นแล้วในหลายพื้นที่ผ่านการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ เช่น การทำนาหยอดแทนนาหว่าน ที่สามารถช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้จริง แต่ยังขาดปัจจัยสนับสนุนที่จะนำไปสู่การขยายผลในวงกว้าง

    2) ความรู้และทัศนคติทางการเงิน แม้จะสำคัญแต่อาจไม่เพียงพอ จำเป็นต้องเปลี่ยนความรู้ไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมด้วย เริ่มจากการทำบัญชีรายรับ รายจ่าย เพื่อให้รู้กำไรหรือขาดทุน รวมทั้งการจัดสรรรายได้ก้อนใหญ่รายปีจากการทำเกษตรให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายรายเดือน และกันเงินสำหรับเป็นเงินทุนในการเพาะปลูกรอบถัดไปก่อนนำไปใช้จ่ายอย่างอื่น อีกทั้งควรเปลี่ยนทัศนคติด้านการเงินที่ไม่ถูกต้อง เช่น การกู้ยืมเงินเพื่อไปใช้หนี้เก่าเป็นเรื่องปกติ หรือการมีหนี้ติดตัวดีกว่าการเอาทรัพย์สินไปขายเพื่อชำระหนี้

    3) การสร้างกลไกที่เหมาะสมให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงนวัตกรรมเพื่อยกระดับการผลิตได้ง่ายขึ้น เช่น เกษตรกรที่นำเทคโนโลยีมาใช้สร้างนวัตกรรม สามารถเข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำได้ หรือเข้าถึงสินเชื่อลีสซิ่งดอกเบี้ยต่ำสำหรับเกษตรกรที่ซื้อเครื่องจักรมาใช้เพื่อยกระดับการผลิต

    4) นโยบายภาครัฐควรเป็นตัวกลางช่วยสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรช่วยเหลือตนเองได้ เอื้อให้เกิดความยั่งยืนในภาคเกษตร เช่น นโยบายการปล่อยกู้ไม่ให้เกินศักยภาพของเกษตรกร ไม่สร้างภาระหนี้เกินความจำเป็น รวมถึงออกแบบนโยบายในการกระตุ้นให้เกษตรกรมีพฤติกรรมการชำระหนี้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น “นโยบายธนาคารใกล้บ้าน” และ “ชำระดีมีโชค”

    นอกจากนี้ งานศึกษาของ สภอ. ยังสะท้อนว่าการสื่อสารข้อมูลให้เกษตรกรรับรู้และเข้าใจข้อดีของการชำระหนี้มากขึ้น ผ่านช่องทางเครือข่ายทางสังคมท้องถิ่น (Social Network) ที่เกษตรกรมีความคุ้นเคยไม่ว่าจะเป็น ผู้ใหญ่บ้าน ร้านค้าในชุมชน และคนในชุมชนที่ชาวบ้านเชื่อถือ (Local Influencer) สามารถกระตุ้นให้เกษตรกรมีพฤติกรรมการชำระหนี้ที่ดีขึ้นได้

    ทั้งหมดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของงานแบงก์ชาติในการดูแลทั้งภาพรวมเศรษฐกิจและเข้าใจประชาชนภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะคนท้องถิ่นผ่านสำนักงานภาคค่ะ

    โดย พรเพ็ญ สดศรีชัย
    ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

    บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของหน่วยงานที่ผู้เขียนสังกัด

    By พรเพ็ญ สดศรีชัย | ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

    Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    https://www.bangkokbiznews.com/environment/1136857

    เพิ่มเติม
    - เอกสาร ธปท. : https://www.bot.or.th/th/research-a...-symposium/northeastern-symposium-2024-1.html

    https://www.facebook.com/share/p/413nMmaUrDszUp3Q/?mibextid=oFDknk
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,685
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เศรษฐกิจไทย ในหม้อน้ำเดือด | #บทบรรณาธิการกรุงเทพธุรกิจ
    .
    เชื่อว่าหลายคนน่าจะสัมผัสได้ถึงศักยภาพของเศรษฐกิจไทยในเวลานี้ ซึ่งถ้าเปรียบกับอุณหภูมิน้ำก็คงใกล้ถึงจุดเดือดเต็มทน คำว่าจุดเดือดในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าร้อนแรง แต่กำลังจะบอกถึงผลกระทบของน้ำร้อน หากเรายังไม่ลุกขึ้นมาเปลี่ยนตัวเองในวันนี้ ก็คงจะถูกต้มเปื่อยตายในท้ายที่สุด ยิ่งปัจจุบันความลำบากของพี่น้องประชาชนในกลุ่มฐานรากแสดงให้เห็นเด่นชัดขึ้นเรื่อยๆ และกำลังจะลามไปสู่กลุ่มคนชั้นกลางบนบ้างแล้ว
    .
    สัปดาห์ที่ผ่านมามีบทความหนึ่งของ KKP Research พยายามตะโกนบอกว่า เศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ยุคโตต่ำ 2% เพราะศักยภาพที่ถดถอยลงมาเรื่อยๆ ซึ่งก็ตรงกับสิ่งที่กองบรรณาธิการกรุงเทพธุรกิจได้นำเสนอเรื่องราวเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า หากเรายังไม่คิดที่จะปฏิรูปโครงสร้างอย่างจริงจัง ประเทศไทยก็มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกลบออกจากแผนที่การลงทุนโลก
    .
    บทวิเคราะห์นี้พยายามชี้ให้เห็นว่า ช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา เราเผชิญกับวิกฤติมาหลายรอบ และทุกครั้งหลังผ่านพ้นมาได้ ศักยภาพของเราก็ลดต่ำลงเรื่อยๆ อย่างวิกฤติต้มยำกุ้งเดิมก่อนหน้านั้นเศรษฐกิจไทยเคยเติบโตได้มากกว่า 7% แต่หลังปี 2540 การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยลดลงเหลือเฉลี่ยเพียง 5% และหลังวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ในปี 2551 ศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยก็ลดเหลือราว 3% มารอบวิกฤติโควิดที่เพิ่งจะผ่านพ้นไป เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้เฉลี่ยเพียง 2% เท่านั้น ...คำถามสำคัญ คือ เป็นเพราะสาเหตุใด ทำไมศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยจึงลดต่ำลงเรื่อยๆ
    .
    KKP Research วิเคราะห์ไว้ว่า ปมเหตุหลักที่ทำศักยภาพไทยถดถอยลงต่อเนื่อง เพราะปัญหาแรงงานที่หดหายจากสังคมสูงวัย ซึ่งปัญหานี้นอกจากจะทำให้กำลังซื้อลดลงแล้ว ยังพบว่าผลิตภาพของแรงงานก็ลดลงด้วย มิหนำซ้ำเรายังขาดการลงทุนใหม่จากทั้งในและต่างประเทศที่จะมาช่วยยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีที่สำคัญต่อเศรษฐกิจในอนาคต
    .
    ข้อเสนอของทาง KKP คือ รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการปฏิรูปใน 4 ด้าน ได้แก่ 1.เพิ่มผลิตภาพ ดึงดูดแรงงานทักษะสูง เพื่อดึงดูดการลงทุนกลับมาอีกครั้ง 2.เปิดเสรีภาคบริการ เพิ่มการแข่งขันภาคบริการที่มีมูลค่าสูง 3.เพิ่มผลิตภาพของภาคเกษตร ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจไทยได้อีกมาก และ 4.ปฏิรูปภาคการคลัง แม้เรื่องนี้จะไม่เกี่ยวโดยตรงกับการเพิ่มศักยภาพ แต่ปัญหาสังคมสูงวัยทำให้ละเลยสิ่งนี้ไม่ได้ ...ทั้งหมดนี้เป็นอีกหนึ่งข้อเสนอจากภาคเอกชนที่มองว่า น่าจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยโดดออกจากหม้อน้ำที่กำลังเดือดได้ ซึ่งจริงๆ เราก็พูดถึงวิกฤติต้มกบกันมาหลายครั้งแล้ว แต่ยังไม่เห็นกบตัวนี้กระโดดออกมาซักที!
    .
    .
    #กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจEconomic

    https://www.facebook.com/share/p/poiqvHwzWJBoNJK8/?mibextid=oFDknk
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,685
    ค่าพลัง:
    +97,150
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,685
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เวียดนามบุกญี่ปุ่น!
    แรงงานต่างชาติในญี่ปุ่นทะลุหลัก 3 ล้านคน ครั้งแรกในประวัติศาสตร์! เป็นเวียดนามถึง 25%! ขณะที่ประชากรญี่ปุ่นลดลง 15 ปีซ้อน และล่าสุดลดลงแรงสุดเป็นประวัติการณ์!

    ชาวต่างชาติที่อาศัยในญี่ปุ่น ปาเข้าไป 3.32 ล้านคน --- เพิ่มขึ้น 11% ซัดสถิติเพิ่มขึ้นมากสุดในประวัติศาสตร์
    และเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งใน 47 จังหวัด
    (ข้อมูลจากกระทรวงมหาดไทยของญี่ปุ่น ; ตัวเลข ณ 1 ม.ค. 2024)

    1 ใน 4 ของแรงงานต่างชาติในญี่ปุ่น เป็นเวียดนาม
    รองลงมาคือจีนและฟิลิปปินส์

    ด้านประชากรญี่ปุ่นลดลง 861,237 คน มาอยู่ที่ 121.6 ล้านคน --- ลดลงหนักสุดในประวัติศาสตร์ (นับตั้งแต่เริ่มสำรวจเมื่อปี 1968)

    ก็สวนทางกัน เป็นธรรมดา
    ซึ่งเกรงว่าเทรนด์จะยิ่งแรงขึ้นเรื่อยๆ
    ชาวญี่ปุ่นลดลงๆ และชาวต่างชาติมาอยู่เพิ่มขึ้นๆ --- เพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงาน
    กระนั้นก็ตาม ก็ยังไม่พอด้วยซ้ำ

    ล่าสุด คาดการณ์ว่าปี 2040 จะขาดแคลนแรงงานต่างชาติถึง 9.7 แสนคน (พยากรณ์โดย Japan International Cooperation Agency)

    ... เป็นโอกาสของเวียดนาม
    https://asia.nikkei.com/Spotlight/J...=piano-esp&utm_medium=push&utm_campaign=30135

    https://asia.nikkei.com/Spotlight/J...r-shortage-of-970-000-foreign-workers-in-2040
    https://www.facebook.com/share/p/84KMB4GeuHzn9avR/?mibextid=oFDknk
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,685
    ค่าพลัง:
    +97,150
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,685
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ฟังหูไว้หู ถ้าจริง ก็ คงไม่มีใครยอมโง่โดนลาวโกงแน่นอน และยิ่งทำแบบนี้ มันแสดงสันดานของประเทศนี้ว่า ขี้โกง ใครจะยอมเข้าไปเที่ยว

    PSX_20240726_234716.jpg

     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,685
    ค่าพลัง:
    +97,150
    คนประเทศเดียวกัน เขายังไม่ไว้ใจเลย

    PSX_20240726_235012.jpg

     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,685
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ช่วงนี้ ถ้าไม่จำเป็นต้องใช้เงินกีบ ก็ควรจะเลี่ยงๆ ไม่แลกเงินกีบไปก่อน หรือถ้าจะให้ดี ก็ควรเลี่ยงๆ ไม่ไปลาว ซักพัก เพื่อเซฟ เงินของตนเอง ไม่รู้ว่าเกิดการปั่นค่าเงินหรือเปล่า รอจนทุนสำรองเงินบาทของลาว หมดตัวไปก่อน ค่าเงินกีบอาจจะลดลงแบบฮวบฮาบ มีแค่คนโง่ที่เล่นกับค่าเงิน เหมือนวิกฤตค่าเงินของบางประเทศ ที่ค่าเงินโดนโจมตี ก็เอาเงินสำรองของประเทศไปสู้จนเงินสำรองเงินตราต่างประเทศหมดหรือเกือบหมด แต่นี่ไม่มีใครโตมตี เป็นไปตามกลไกตลาด

    อันนี้ใช่สาเหตุหรือเปล่า ช่องนี้เขาบอกว่า คนลาวเทขายเงินบาท เงินกีบเริ่มแข็งค่า ปกติ เคย เห็น ทำกับ ดอลลาร์ สหรัฐ ที่เป็นเงินสกุลหลัก สำหรับไทย ถ้าเงินบาทแข็งเกิน ก็จะซื้อดอลลาร์ เข้ามาเพื่อให้เงินบาทอ่อนลง ถ้าเงินบาทอ่อนลง ก็จะเทขายดอลลาร์เพื่อให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่เท่าที่ฟังข่าว ลาวน่าจะมีเงินบาทเก็บไว้ไม่มาก ไปเทขายออกมามากๆ ลาวจะมีต้นทุน คือเงินบาท และ ดอลลาร์ สหรัฐ มากพอที่จะเทขายเพื่อให้ค่าเงินกีบแข็งค่าขึ้นไปเรื่อยๆ จริงๆ หรือ

    PSX_20240726_235420.jpg


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2024
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,685
    ค่าพลัง:
    +97,150
    คลิปนี้บอกว่ามีการปรับอัตราแลกเปลี่ยนลง 3 ครั้งในวันเดียว ส่วนตัวลาว สงสัยว่าลาวจะใช้ทุนสำรองทุ่มเพื่ออุ้มค่าเงินกีบไปเยอะแค่ไหน กรณีนี้เป็นไปได้ ถ้ามีการอุ้มค่าเงินในประเทศของรัฐบาล

    PSX_20240727_001349.jpg

     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,685
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ข่าวประเทศลาว อ่านแล้วก็สนุกดี คนประเทศนี้ สรรหาสารพัดวิธี ที่น่าประหลาดใจ มาให้อ่านเสมอ

    ที่เคยอ่านเจอ ทำให้ค่าเงินแข็งตัวอย่ารวดเร็วคือเทขายเงินตราต่างประเทศ แต่ถ้าจะชำระหนี้ต่างประเทศ กึต้องชมำระหนี้ด้วยเงินสกุลที่ตกลงกันไว้ แล้วเงินกีบ จะใช้ชำระหนี้ต่างประเทศได้จริงๆ หรือ ยิ่งค่าเปลี่ยนแรง และหลายครั้งในเวลาไม่นาน ก็น่าจะมาจากการเทขายเงินตราต่างประเทศจำนวนมากและถี่ ครั้งแรกก็น่าจะเป็นการทดลองว่าขายแล้วค่าเงินกีบจะแข็งค่าไหม พอแข็งค่าขึ้นก็ย่ามใจ เทขายสนุกมือ ถ้าอยากรู้ว่าเงินกับลาวแข็งค่าขึ้นจริงหรือเปล่า คงต้องไปส่องทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของลาวว่าตอนนี้เหลือเท่าไหร่ ไม่ใช่จะเซฟแต่กีบลาว จนประเทศล่มจม

    Screenshot_2024-07-27-11-54-13-91_f9ee0578fe1cc94de7482bd41accb329.jpg

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,685
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ไม่มีใครกำหนดราคาค่าเงินเองได้หรอก ราคาค่าเงินก็เป็นไปตามกลไกตลาด ยิ่งค่าเงินแข็งค่ารวดเร็ว ภายใน 1 อาทิตย์ ก็น่ามาจากการแทรกแซงค่าเงินของรัฐบาลลาว การแทรกแซงค่าเงิน ก็น่ามาจากการใช้เงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ค้ำอัตราแลกเปลี่ยน อันนี้กำหนดอัตราเองได้ แต่ส่วนขาดคนไปกำหนดอัตราเอง ให้เงินตัวมีค่าเกิน ก็ต้องจ่าย หรือเทขายเงินตราต่างประเทศ ที่สำรองไว้ออกไป

    PSX_20240727_120757.jpg

     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,685
    ค่าพลัง:
    +97,150
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,685
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เห็นคลิปนี้บอกว่าลาวสามารถปรับอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินกีบได้ 5 ครั้งภายใน 1 วัน ถ้าเอาเงินกีบแข็งค่าให้อยู่ในอัตราที่สูงขึ้นไม่ได้ น่าจะหมายถึงหายนะ เพราะทุนสำรองงินตราต่างประเทศของลาวน่าจะลดลงไปมาก หรือไม่ก็ไปกู้เงิน เพื่อช่วยพยุงค่าเงินกีบ ไม่ว่าทางไหน ก็ไม่น่าจะดี เห็นข่าวที่เคยฟังมา เห็นว่าประธานลาว สั่งให้ลดเงินเฟ้อให้ได้น่าจะภายใน 1 อาทิตย์ หรือ 1 เดือนประมาณนั้น รัฐบาลลาวจึงน่าจะต้องรีบลดเงินเฟ้อให้ได้ แต่ถ้าถึงกับยอมเอาเงินสำรองที่ตอนนี้ก็แทบจะไม่พอใช้หนี้่่างประเทศมาทำแบบนี้ พอถึงกำหนดใช้หนี้ไม่มีเงินไปใช้ก็คงต้องยกสิทธิในทรัพย์สินสาธารณะลาวไปให้เจ้าหนี้ แต่ถ้าแทรกแซงค่าเงิน 5 ครั้งใน 1 วันน่าจริงๆ ลาวน่าจะหน้ามืดแล้วก็ได้ เพราะเท้าที่จะนึกได้จากระยะเวลาที่ฟังข่าวมา เมื่อวานนี้ก็น่าจะใกล้ 1 อาทิตย์ แล้ว

    PSX_20240727_183648.jpg

     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,685
    ค่าพลัง:
    +97,150
    UPDATE: สื่อต่างประเทศรายงาน คนไทยฝากความหวังไว้กับเครื่องรางและของขลังหลังเศรษฐกิจชะลอ จับตาตลาดมูเตลูโตแรง
    .
    สื่อต่างชาติรายงานว่า ตลาดสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาและโชคลางในไทยกำลังขยายตัวต่อเนื่อง นับตั้งแต่เกิดการระบาดใหญ่ของโควิดท่ามกลางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
    .
    สำนักข่าว Kyodo News รายงานว่า อรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า มีบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับศรัทธาที่จดทะเบียนระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม ปี 2567 แล้ว 12 บริษัท เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2566 ที่จดทะเบียนทั้งหมด 33 แห่ง และปี 2565 รวม 24 แห่ง
    .
    โดยบริษัทเหล่านี้ดำเนินกิจการทั้งแบบเปิดเป็นร้านค้าทางกายภาพและร้านค้าออนไลน์ โดยนำเสนอสินค้าเกี่ยวกับความเชื่อที่หลากหลาย สำหรับสินค้ายอดนิยม ได้แก่ สร้อยข้อมือเครื่องรางเทพเจ้า สร้อยพลอย ที่เชื่อกันว่ามีพลังทางจิตวิญญาณ และวอลล์เปเปอร์หน้าจอโทรศัพท์มือถือ
    .
    ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผู้คนนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็เปิดกว้างและมีรูปปั้นเทพในศาสนาฮินดูตามสถานที่ต่างๆ โดยผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาฮินดูมักจะได้รับความนิยมและขายดีเป็นพิเศษ เช่น พระพิฆเนศ พระศิวะ และพระแม่ลักษมี ฯลฯ
    .
    อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าตั้งข้อสังเกตว่า ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อเหล่านี้เติบโตขึ้นอย่างมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา รวมถึงในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด นอกจากนี้การเติบโตนี้ยังคงดำเนินต่อไป ขณะที่ผู้คนแสวงหาโชคและการสนับสนุนทางจิตใจในช่วงเวลาที่ท้าทาย
    .
    ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปีนี้ขยายตัวเพียง 1.5% หลังจากปี 2566 ขยายตัวเพียง 1.9% ชะลอตัวจากปี 2565 ที่ขยายตัว 2.5%
    .
    โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา KKP Research ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยที่ฟื้นช้าลงหลังโควิดไม่ได้เป็นเพียงการโตต่ำกว่าศักยภาพ แต่อาจเป็นเพราะศักยภาพเศรษฐกิจไทยกำลังถดถอยลง โดยมีแนวโน้มจะเติบโตได้ต่ำกว่า 2% ในระยะข้าง นับว่าต่ำกว่าระดับที่ธนาคารโลกและธนาคารแห่งประเทศไทยประเมินไว้ที่ 2.7-3%
    .
    ย้อนกลับไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา บริษัท ฮาคูโฮโด อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผยผลสำรวจที่ระบุว่า จากคำตอบของผู้ทำแบบทดสอบกว่า 1,200 คน กว่า 88% ของผู้เข้าร่วมทั้งหมดให้คำตอบว่าเชื่อเรื่องการมู และกว่า 52% ของคนไทยให้นิยามการมูเตลูว่าเป็น ‘เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ’ โดยผลสำรวจดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงโอกาสทางการตลาดที่สำคัญสำหรับธุรกิจยุคใหม่
    .
    เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า การท่องเที่ยวเชิงศรัทธามีแนวโน้มเติบโตแบบก้าวกระโดด และคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจทั่วโลกเพิ่มขึ้น 3 เท่าภายใน 10 ปี จาก 1.37 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน เป็น 4.09 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2576 ตามข้อมูลจาก Future Market Insight 2023
    .
    อ้างอิง:
    https://english.kyodonews.net/news/...n-lucky-charms-amid-slow-economic-growth.html
    .
    #TheStandardWealth

    https://www.facebook.com/share/p/dJUASeeoUjSxoLdT/?mibextid=oFDknk
     

แชร์หน้านี้

Loading...