ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    FB_IMG_1707782987234.jpg

    เปิดข้อมูล #จำนวนประชากรไทย ปี 2566 ไทยมีประชากรลดต่อเนื่อง 4 ปีซ้อน!
    .
    จำนวนประชากรไทย ล่าสุด ปี 2566 ประกาศแล้ว โดยตามประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่องจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ณ วันที่ 31 ธ.ค.2566 พบข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
    .
    จำนวนประชากรไทยช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ลดลงต่อเนื่อง
    ปี 2563 ประชากรไทยทั้งสิ้น 66,186,727 คน ลดลงจากปี 62 ทั้งสิ้น 372,208 คน
    ปี 2564 ประชากรไทยทั้งสิ้น 66,171,439 คน ลดลงจากปี 63 ทั้งสิ้น 15,288 คน
    ปี 2565 ประชากรไทยทั้งสิ้น 66,090,475 คน ลดลงจากปี 64 ทั้งสิ้น 80,964 คน
    ปี 2566 ประชากรไทยทั้งสิ้น 66,052,615 คน ลดลงจากปี 65 ทั้งสิ้น 37,860 คน
    .
    ทั้งนี้ ในจำนวนประชากรไทย ปี 2566 มี จำนวนคนเกิด 517,934 คน และจำนวนคนตาย 565,992 คน
    .
    สำหรับพื้นที่ที่มีจำนวนประชากรสัญชาติไทยมากที่สุดยังคงเป็น "กรุงเทพมหานคร" มีประชากรทั้งสิ้น 5,471,588 คน
    .
    โดย 10 จังหวัดที่มีประชากรไทยสูงที่สุด (ณ สิ้นปี 66) ได้แก่
    .
    1. กรุงเทพมหานคร รวม 5,471,588 คน
    2. นครราชสีมา รวม 2,625,794 คน
    3. อุบลราชธานี รวม 1,869,608 คน
    4. เชียงใหม่ รวม 1,797,075 คน
    5. ขอนแก่น รวม 1,779,373 คน
    6. ชลบุรี รวม 1,618,066 คน
    7. บุรีรัมย์ รวม 1,573,230 คน
    8. อุดรธานี รวม 1,558,528 คน
    9. นครศรีธรรมราช รวม 1,540,953 คน
    10. ศรีสะเกษ รวม 1,450,333 คน
    .
    สำหรับจังหวัดที่เหลือ แต่ละจังหวัดมีประชากรมากน้อยเพียงใด เช็คได้จากอินโฟกราฟิกนี้
    .
    .
    กราฟิก: รัตนากร หัวเวียง
    #กรุงเทพธุรกิจUpdate #กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจInfo

    https://www.facebook.com/share/p/ru7PsiHwdwkmF2PX/?mibextid=2JQ9oc
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ‘หนี้’ ท่วมประเทศ | #บทบรรณาธิการกรุงเทพธุรกิจ
    .
    หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลลบมากขึ้นต่อจีดีพีประเทศในระยะยาว ภาระหนี้ในระดับสูง คือ ตัวฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจเพราะรายได้ส่วนใหญ่ต้องเอาไปจ่ายคืนหนี้แทนการนำไปใช้จ่าย
    .
    การแก้ไขปัญหาหนี้สินประชาชนทั้งหนี้นอกระบบ และหนี้ในระบบถูกยกเป็น ‘วาระแห่งชาติ’ ที่ผ่านมารัฐบาลได้เปิดช่องให้ลูกหนี้ได้ลงทะเบียนเพื่อขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล
    .
    จากข้อมูลของคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย พบว่า หลังจากเปิดให้ลูกหนี้ลงทะเบียน พบว่า มีผู้มาลงทะเบียนแล้ว 1.4 แสนราย มูลหนี้ประมาณ 9.8 พันล้านบาท และรัฐบาลไกล่เกลี่ยได้แล้ว 1.2 หมื่นราย วงเงิน 670 ล้านบาท
    .
    ก่อนหน้านี้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เคยแถลงไว้ว่ามีหนี้นอกระบบประมาณ 5 หมื่นล้านบาท
    .
    ขณะที่ ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 หรือลูกหนี้รหัส 21 ได้แก้ปัญหาชำระหนี้เบ็ดเสร็จแล้ว 630,000 ราย คิดเป็นมูลหนี้ 4,000 ล้านบาท รัฐบาลเชื่อว่า ไม่เกินกลางปีนี้จะจบปัญหาได้กว่า 1.1 ล้านบาท จากจำนวนลูกหนี้รหัส 21 ที่มีทั้งหมด 3.5 ล้านราย
    .
    ปัญหาหนี้ครัวเรือนในประเทศไทย นับเป็นปัญหาใหญ่ และยิ่งลุกลามบานปลายก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมและ เศรษฐกิจในหลายมิติ ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บอกว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยแตกต่างจากต่างประเทศหลายด้าน
    .
    คนไทยมีหนี้ส่วนบุคคล และบัตรเครดิต “สูง” เมื่อเทียบกับต่างประเทศ คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 1 ใน 3 ของยอดหนี้ครัวเรือนไทยทั้งหมด หนี้กลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้เพื่ออุปโภคบริโภคที่ไม่ช่วยสร้างรายได้ ขณะที่ต่างประเทศมีหนี้ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อบ้าน
    .
    นอกจากนี้ คนไทยบางอาชีพ ยังมีหนี้สูงกว่ากลุ่มอื่นโดยเปรียบเทียบ เช่น เกษตรกร หรือกลุ่มอาชีพอิสระ ที่มีรายได้ไม่แน่นอน หรือกลุ่มข้าราชการ ตำรวจ ทหาร ที่รายได้มั่นคงแต่น้อยทำให้ขาดกันชน เช่น เงินออมไว้รองรับยามเกิดวิกฤติ ทั้งยังมีลูกหนี้ที่ต้องกู้ยืมนอกระบบ
    .
    ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเป็นหนี้ของคนไทยตามข้อมูลของ ธปท.พบว่า 1.คนไทยเป็นหนี้เร็ว วันนี้อายุของคนเริ่มเป็นหนี้อายุน้อยลง 2.เป็นหนี้เกินตัว 3. เป็นหนี้โดยไม่ได้รับข้อมูลครบถ้วนถูกต้อง 4.เป็นหนี้เพราะมีเหตุจำเป็น 5. เป็นหนี้นาน 6.เป็นหนี้เสีย 7.เป็นหนี้ไม่จบไม่สิ้น และ 8.เป็นหนี้นอกระบบ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่มาก
    .
    หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลลบมากขึ้นต่อจีดีพีประเทศในระยะยาว ภาระหนี้ในระดับสูง คือ ตัวฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจเพราะรายได้ส่วนใหญ่ต้องเอาไปจ่ายคืนหนี้แทนการนำไปใช้จ่าย อีกทั้งยังเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินหากลูกหนี้จำนวนมากชำระหนี้ไม่ได้พร้อมๆ กัน อาจกระทบฐานะการเงินของเจ้าหนี้ เกิดปัญหาหนี้เสียในวงกว้ากลายเป็นวิกฤติ และอาจลุกลามไปสู่ปัญหาอื่น
    .
    ปัญหาหนี้จะยิ่งรุนแรงมากขึ้น เมื่อไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เพราะค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพสูงขึ้น สวนทางรายได้ครัวเรือนที่ลดลง ตามจำนวนคนทำงานหารายได้ เป็นความท้าทายของประเทศ โดยเฉพาะรัฐบาลรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแล ในการหามาตรการรับมือในระยะยาวร่วมกันอย่างยั่งยืน เพื่อสกัดไม่ให้ปัญหาหนี้ลุกลาม เรื้อรังจนกลายเป็นหนี้ท่วมประเทศ..ฉุดรั้งอนาคต
    .
    .
    #กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจEconomic

    https://www.facebook.com/share/p/AozKo17txUkkSnFY/?mibextid=2JQ9oc
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เทรนด์ #ทำงานที่บ้าน อาจเป็นรูปแบบการทำงานที่คนเราผูกพันและสืบทอดมาจากบรรพบุรุษเมื่อพันกว่าปีก่อน ขณะที่การทำงานนอกบ้าน-งานออฟฟิศ เพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อ 200 กว่าปีมานี้เอง
    .
    จริงๆ แล้วเทรนด์การทำงานที่บ้าน (Work From Home) หรือทำงานจากระยะไกล (Remote work) ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรกในยุคการระบาดใหญ่ที่ผ่านมา แต่ตาม “ประวัติศาสตร์การทำงาน” ของมนุษย์เมื่อ 1,000 กว่าปีก่อนหรือแม้แต่ล้านกว่าปีที่แล้วพบว่า มนุษย์เราผูกพันกับ “ทำงานที่บ้าน” มาก่อนที่จะเกิด “วัฒนธรรมการทำงานนอกบ้าน” เสียอีก
    .
    มนุษย์กับการทำงานเกิดขึ้นมาคู่กันตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์เมื่อหลายล้านปีที่แล้ว “ลิเดีย ดิชแมน” เล่าเรื่องนี้ผ่าน FastCompany ไว้ว่า มนุษย์ยุคแรกของโลกดำรงชีพด้วยการเก็บพืชป่าและล่าสัตว์เป็นอาหาร แต่การจะล่าสัตว์ได้ก็ต้องมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทุ่นแรง ซึ่งการผลิตหรือประดิษฐ์เครื่องมือหากินเหล่านี้พบในมนุษย์โบราณกลุ่มแรกสุดที่ชื่อว่า “Homo Ergaster” แปลว่า มนุษย์งานหรือ Workman (เป็นสปีชีส์ที่เกิดก่อน Homo Sapiens) ซึ่งอาศัยอยู่ทั่วแอฟริกาตะวันออกและใต้ระหว่าง 1.4-1.9 ล้านปีก่อน
    .
    สาเหตุที่เรียกมนุษย์สปีชีส์นี้ว่า “มนุษย์งาน” ก็เนื่องจากพบการใช้เครื่องมือขั้นสูงของพวกเขา มีหลักฐานคือกระดูกสัตว์ที่ไหม้เกรียมในซากฟอสซิลและร่องรอยของแคมป์ที่อยู่อาศัย บ่งชี้ว่า พวกเขาประดิษฐ์เครื่องมือเหล่านี้ใกล้กับที่อยู่อาศัยและใช้ไฟในการผลิต จึงอาจอนุมานได้ว่านี่คือการทำงานด้านการผลิตยุคแรกของโลก
    .
    ต่อมาในช่วงยุคกลางเมื่อประมาณ 1,500 กว่าปีก่อน ประมาณปี ค.ศ. 476-1500 เกิดการทำงานในอาชีพทักษะต่างๆ ทั่วยุโรป ซึ่งล้วนเป็นการทำงานที่บ้าน มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า คนยุคกลางทำงานใน “LongHouse” (ประเภทอาคารที่ผสมผสานที่พักอาศัยและที่ทำงานเข้าด้วยกัน) ส่วนใหญ่เป็นชาวนาที่มีฟาร์มปศุสัตว์อยู่ฝั่งด้านหนึ่งของอาคาร ถัดมาตรงกลางเป็นครัว ส่วนอีกด้านถัดไปเป็นที่พัก
    .
    ขณะที่บางบ้านก็ทำอาชีพปั่นด้าย-ทอผ้า โดยมีอุปกรณ์ในการปั่น-ทอ-ตัดเย็บเสื้อผ้าอยู่ในบ้าน บางบ้านก็ทำผลิตภัณฑ์นม แล่เนื้อ และฟอกหนัง รวมไปถึงอาชีพค้าขายพวกเขาก็ทำที่บ้านด้วยเช่นกัน
    .
    ส่วนการทำงานนอกบ้าน เช่น งานโรงงาน งานในสำนักงาน ฯลฯ เพิ่งจะเกิดขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงปี ค.ศ. 1760-1850 หรือประมาณ 264 ปีก่อน มีหลักฐานพบอาคารโรงเรือนขนาดใหญ่ในอังกฤษ อายุมากกว่า 200 ปี เป็นสถานที่ทำงานของช่างฝีมือในคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 เช่น ช่างทอผ้าไหมและช่างทำนาฬิกา
    .
    นอกจากนี้ยังพบว่ามีสถานประกอบการผลิตสิ่งทอที่เรียกว่า “Top-Shops” ซึ่งเริ่มมีการใช้ “เครื่องจักรไอน้ำ” ที่ปลายด้านหนึ่งเป็นเพลาขับเดี่ยวที่เชื่อมต่อเครื่องทอผ้าในห้องใต้หลังคาของอาคารด้วย ขณะเดียวกันก็เริ่มมีโรงงานใหญ่ๆ อีกหลายแห่งก่อตั้งขึ้น ซึ่งมีแรงงานเข้าไปทำงานที่นั่น
    .
    ยุคต่อมาพบแรงงานออกไป “ทำงานนอกบ้าน” เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และขยายไปทั่วโลก ในสหรัฐอเมริกาช่วงศตวรรษที่ 20 (ปลายทศวรรษที่ 1800 ถึงต้นทศวรรษ 1900) พบว่า มีผู้อพยพหลั่งไหลเข้าสู่นครนิวยอร์กเพื่อหางานทำนอกบ้าน และเริ่มเห็นภาพ “การจ้างงานแรงงาน” อย่างชัดเจน ยืนยันจากบันทึกทางประวัติศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์ตึกแถว ชิ้นหนึ่งที่ระบุว่า “ในปี ค.ศ.1892 ครอบครัว Levines เปิดโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าในอพาร์ตเมนต์เล็กๆ ขนาด 325 ตารางฟุต พวกเขาได้จ้างคนงาน 3 คนให้มาทำงานในโรงงาน โดยทำงานยาวนาน 15 ชั่วโมงต่อวัน และให้หยุดทุกวันเสาร์”
    .
    ถัดมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประมาณปี ค.ศ.1945 พบว่ามีแรงงานหญิงทำงานนอกบ้านมากขึ้น เกิดอาชีพใหม่ๆ สำหรับผู้หญิงขึ้นมา เช่น ตัวแทนขายภาชนะพลาสติกสำหรับเก็บอาหาร-ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ขณะเดียวกันแรงงานที่หางานทำนอกบ้านก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยุคนี้จะเห็นภาพการซื้อรถยนต์เพื่อใช้เดินทางจากบ้านไปทำงานที่สำนักงาน มีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงปริมาณมหาศาล จนทำให้เกิดวิกฤติน้ำมันในช่วงต้น ค.ศ.1970
    .
    วิกฤติครั้งนั้นส่งผลให้เกิดแคมเปญรณรงค์ให้ผู้คน “ทำงานที่บ้าน” เพื่อประหยัดน้ำมัน ซึ่งเป็นยุคที่มีการพัฒนาเทคโนโลยี “โทรคมนาคม” ขึ้นมาเพื่อให้ผู้คนติดต่อสื่อสารหรือทำงานผ่านโทรเลข-โทรศัพท์ ได้แล้ว ซึ่งช่วยให้พนักงานบางแห่งทำงานที่บ้านได้
    .
    จนมาถึงยุคสมัยที่คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในโลก ก็เป็นอีกยุคที่บริษัทเทคฯ ส่วนใหญ่มีความยืดหยุ่นเรื่องการทำงาน เช่น IBM ให้พนักงานทำงานผ่านเน็ตจากที่บ้านได้ (ในยุคนั้นเทรนด์นี้จะยังไม่ขยายไปสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ) ล่าสุด..มาถึงยุคการระบาดใหญ่ของโควิด-19 เมื่อ 4 ปีก่อน เป็นอีกยุคที่ “โลกการทำงาน” กลับสู่โหมดการทำงานที่บ้านอีกครั้ง และรอบนี้ก็กระจายไปยังเกือบทุกอุตสาหกรรมเพื่อลดการแพร่รบาดของเชื้อไวรัส
    .
    จากประวัติศาสตร์การทำงานแต่ละยุคสมัยที่ไล่เรียงมาทั้งหมด จะเห็นว่ามนุษย์เราผูกพันกับการ “ทำงานที่บ้าน” มาก่อนวัฒนธรรมทำงานนอกบ้าน โดยเฉพาะเมื่อเกิดวิกฤติครั้งใหญ่ๆ ของโลก การทำงานที่บ้านจะถูกนำกลับมาใช้อยู่เสมอ แม้กระทั่งในยุคปัจจุบันบริษัทบางแห่งยังคงให้ความยืดหยุ่นเรื่องนี้แก่พนักงาน ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในจุดดึงดูดใจที่ทำให้แรงงานอยากร่วมงานกับบริษัทเหล่านั้น

    อย่างไรก็ตาม แม้ไม่สามารถทำนายอนาคตได้ว่าเทรนด์ “ทำงานที่บ้าน” จะยังคงอยู่ตลอดไปหรือไม่ แต่ “สเตฟาน แคสเรียล” ซีอีโอของบริษัท Upwork ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มหางานฟรีแลนซ์ออนไลน์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีวัยทำงานหลายคนเลือกที่จะทำงานแตกต่างออกไป (ไม่ทำงานในออฟฟิศ) เพื่อกลับไปสู่รากเหง้าดั้งเดิมและใกล้ชิดกับชีวิตที่พวกเขาต้องการมากขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น ผู้คนต้องการความยืดหยุ่นในการกำหนดชีวิตของตนเองตามเงื่อนไขของตนเอง
    .
    .
    อ้างอิง: Fastcompany https://shorturl.asia/X6Udg
    flexjobs https://shorturl.asia/BzZow
    .
    #กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจWorkLife

    https://www.facebook.com/share/p/a7UPtFM8aBxJbfgi/?mibextid=2JQ9oc
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ‘เศรษฐา’ รมว.คลัง อย่าลืมประเด็นสินค้าจีนทะลัก | #บทบรรณาธิการกรุงเทพธุรกิจ
    .
    ปัจจุบัน “สินค้าจีน” เข้ามาสู่ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก กลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ไทยขาดดุลการค้ากับจีนมานาน และในทุกวันนี้ก็สร้างความกังวลต่อผู้ผลิตในไทยเป็นอย่างมาก จึงเป็นปัญหาที่ รมว.คลัง ต้องรีบแก้ไข
    .
    กระแสสินค้าจีนเข้ามาทะลักตลาดในประเทศไทยสร้างความกังวลให้กับผู้ผลิตสินค้าในประเทศไทยอย่างมาก โดยหากพิจารณาเฉพาะสินค้านำเข้าที่ผ่านด่านศุลกากรอย่างถูกต้อง พบว่าประเทศไทยขาดดุลการค้ากับประเทศจีนมาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 20 ปี ในขณะที่มูลค่าการขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยในปี 2566 ประเทศไทยและประเทศจีนมีการค้าร่วมกัน 104,964 ล้านดอลลาร์ โดยประเทศไทยขาดดุลการค้า 36,635 ล้านดอลลาร์ มากที่สุดเป็นประวัติการณ์
    .
    ในขณะที่สินค้าที่เข้ามาใช้ประโยชน์จาก Free Trade Zone หรือเขตปลอดอากร เป็นอีกประเด็นที่ผู้ผลิตสินค้าในประเทศไทยแสดงความกังวล โดยเฉพาะข้อยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับสินค้าที่ผ่านเข้าสู่ประเทศไทยผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซที่มีราคาไม่เกิน 1,500 บาท ซึ่งมีความได้เปรียบต่อผู้ผลิตในประเทศ รวมทั้งยังมีข้อกังวลถึงการลักลอบนำเข้าสินค้าหรือการสำแดงเท็จที่อาจเป็นอีกหนึ่งในสาเหตุของการที่มีสินค้าจีนเข้ามาทำตลาดในประเทศจำนวนมาก
    .
    การที่ภาคเอกชนมีข้อเสนอให้กรมศุลกากรเพิ่มความเข้มงวดการตรวจจับสินค้าที่นำเข้าผ่านด่านศุลกากร โดยการสำแดงข้อมูลเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี รวมถึงปัญหาจากการเข้ามาใช้สิทธิประโยชน์จาก Free Trade Zone เพื่อขายสินค้าในประเทศ ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้มีสินค้าราคาถูกรวมถึงสินค้าที่ไม่มีมาตรฐานทะลักเข้าตลาดภายในประเทศ และปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงยอดขายสินค้าของผู้ผลิตในประเทศ โดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่ไม่สามารถแข่งขันด้านต้นทุนได้
    .
    นอกจากการแก้ปัญหาด้วยมาตรฐานสินค้า เช่น มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) อีกประเด็นที่หน่วยงานภาครัฐควรรับฟังข้อเสนอของภาคเอกชน คือ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าที่ผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ และปัญหาสินค้าที่อาจมีการลักลอบออกมาจากเขตปลอดอากร ซึ่งทั้งกรมศุลกากรและกรมสรรพากรจำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสินค้าจีนเข้ามาตีตลาด จนกระทบต่อผู้ประกอบการไทยและกระทบต่อการผลิตที่ลดลง
    .
    ปัจจุบันประเทศไทยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังควบตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งแม้นายเศรษฐา ทวีสิน ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังช่วยงาน แต่ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็ปฏิเสธไม่ได้ถึงความรับผิดชอบงานภายในกระทรวง โดยที่ผ่านมามีนายกรัฐมนตรีเพียง 5 คน ที่ควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายกรัฐมนตรีบางคนเลือกที่จะหาผู้อื่นมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแทน เพราะรับผิดชอบงาน 2 ตำแหน่ง ได้ไม่หมด
    .
    #สินค้าจีนทะลัก #สินค้าจีน #กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจEconomic

    https://www.facebook.com/share/p/nVhirG6UYVq5YUKA/?mibextid=2JQ9oc
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    กลุ่มอสังหาฯ ในสหรัฐเผย วิกฤติในจีนกำลังกระทบโลกเพราะจีนกำลังแห่ขายอสังหาฯ ในต่างประเทศหวังระดมเงินสด ส่งผลตลาดสหรัฐมูลค่าร่วงกว่า 1 ล้านล้านเฉพาะธุรกิจสำนักงาน
    .
    นักลงทุนชาวจีนและบรรดาเจ้าหนี้กำลังติดป้ายขายอสังหาริมทรัพย์ที่ถือครองอยู่ทั่วโลก เนื่องจากความจำเป็นในการ "ระดมเงินสด" ท่ามกลางวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ที่ทวีความรุนแรงขึ้นในจีนนั้น สำคัญกว่าความเสี่ยงของการขายอสังหาริมทรัพย์สู่ตลาดที่กำลังตกต่ำ โดยราคาที่ได้รับจะช่วยระบุตัวเลขว่า อุตสาหกรรมอสังหาฯ ในวงกว้างนั้นกำลังประสบปัญหามากเพียงใด
    .
    แบร์รี สเติร์นลิชต์ ประธานกลุ่มสตาร์วูด แคปิตอล กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ภาวะตกต่ำทั่วโลกอันเกิดจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ได้ทำลายมูลค่าทรัพย์สินเฉพาะตลาดสำนักงานเพียงอย่างเดียวไปแล้วกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ แต่ความเสียหายทั้งหมดยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เนื่องจากมีการขายทรัพย์สินไปเพียงเล็กน้อย ส่งผลให้ผู้ประเมินมีข้อมูลล่าสุดเพียงเล็กน้อย
    .
    สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ข้อตกลงด้านอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ที่เสร็จสมบูรณ์ทั่วโลกนั้นร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปีในปีที่แล้ว โดยที่เจ้าของไม่เต็มใจที่จะขายทรัพย์สินด้วยส่วนลดราคาลงอย่างรุนแรง
    .
    หน่วยงานกำกับดูแลและตลาดรู้สึกกังวลที่อาจจะมีการปกปิดการขาดทุนที่ยังไม่รับรู้ ทำให้เกิดปัญหากับเจ้าของสินทรัพย์ และธนาคารที่ผลักดันให้มีการกู้ยืมในยุคดอกเบี้ยต่ำ
    .
    .
    อ่านต่อ: https://www.bangkokbiznews.com/world/1112662?anm=
    .
    #อสังหาริมทรัพย์ #ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย #วิกฤติอสังหาฯ
    #กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจRealestate

    https://www.facebook.com/share/p/nYVCVuc1Mp2Uqs1o/?mibextid=2JQ9oc
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    45 บริษัทในเยอรมนี ร่วมทดลองโครงการ “ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์” หวังดึงคนเก่งมาร่วมงานด้วย หลังสหรัฐ แคนาดา สหราชอาณาจักร เคยทำแล้วได้ผลดี!
    .
    ไม่นานมานี้ประเทศเยอรมนีประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะสูง ซึ่งกำลังสร้างแรงกดดันให้บริษัทต่างๆ ต้องเร่งหาพนักงานเข้ามารับตำแหน่งงานที่ว่างอยู่
    .
    ประกอบกับ “อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น” ทำให้แรงงานในประเทศเยอรมนี ต่างออกมาประท้วงขอขึ้นค่าจ้าง และต้องการความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น
    .
    จากการสำรวจตลาดแรงงานในเยอรมนีเมื่อปีที่แล้ว พบว่า 50% ของบริษัทในเยอรมนีไม่สามารถหาพนักงานมาเติมในตำแหน่งงานว่างได้ นั่นจึงเป็นที่มาของการที่บริษัทต่างๆ รวม 45 แห่ง ได้ตกลงเข้าร่วมทดลองในโครงการ “ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์” เพื่อวิเคราะห์ว่าการทำงานแบบนี้ จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้หรือไม่?
    .
    ทั้งนี้โปรแกรมดังกล่าวจะใช้ระยะเวลา 6 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา โดยทุกบริษัทที่เข้าร่วมโครงการฯ จะมอบวันหยุดให้กับพนักงานหลายร้อยคนทุกสัปดาห์ และลูกจ้างจะยังคงได้รับค่าจ้างเต็มจำนวนเหมือนเดิม
    .
    จากการศึกษาของ Gallup เมื่อเร็วๆ นี้ ค้นพบว่า งานที่มีส่วนร่วมของพนักงานในระดับต่ำ ทำให้เศรษฐกิจโลกเสียหาย 8.1 ล้านล้านยูโร (8.8 ล้านล้านดอลลาร์) ในปีที่แล้ว หรือคิดเป็น 9% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศทั่วโลก
    .
    อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมามีข้อมูลพบว่า ในปี 2565 ลูกจ้างชาวเยอรมันมีการลางานหรือขาดงานเนื่องจากปัญหาสุขภาพ โดยเฉลี่ย 21.3 วันต่อปี ส่งผลให้สูญเสียมูลค่าเพิ่มถึง 2.07 แสนล้านยูโร ตามข้อมูลของสถาบันกลางเพื่อความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
    .
    การทดลอง “ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์” เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งได้ผลลัพธ์ออกมาว่า ผลิตผลการทำงานของพนักงานเพิ่มขึ้นจริง คนงานที่เข้าร่วมโครงการรายงานว่า พวกเขามีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดีขึ้น ในขณะที่ความเบิร์นเอาท์ลดลง หลังจากการศึกษาทดลองครั้งนั้น ไม่มีบริษัทที่เข้าร่วมบริษัทใดวางแผนที่จะกลับไปใช้การทำงานแบบ 5 วันต่อสัปดาห์อีก
    .
    .
    อ้างอิง: Bloomberg https://shorturl.asia/aQbCN
    .
    อ่านต่อ: https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/1112623?anm=
    .
    .
    #ลดชั่วโมงทำงาน #ตลาดแรงงาน #กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจUpdate

    https://www.facebook.com/share/p/8ysFZMkYBFrUgwBQ/?mibextid=2JQ9oc
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    “ธุรกิจสกี” ทั่วโลกตกที่นั่งลำบาก หลังอุณหภูมิโลกสูงขึ้น จนทำให้ “หิมะ” ตกน้อยเกินไป ไม่สามารถดำเนินกิจการได้เหมือนเดิม เร่งสร้าง “หิมะเทียม” เพิ่มกิจกรรมกลางแจ้ง พร้อมออกโปรโมชั่นลดราคาพิเศษ หวังดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาใช้บริการได้ตลอดปี
    .
    อุณหภูมิโลกกำลังสูงขึ้นเรื่อย ๆ ปริมาณหิมะที่ตกลงมาก็ลดน้อยลง สถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วทั้งสหรัฐอเมริกาและยุโรปทำให้อุตสาหกรรมสกีที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ต้องหาทางปรับตัวเพื่อความอยู่รอด
    .
    ⛷️หิมะตกน้อยเกินไป
    .
    ความไม่แน่นอนทางธรรมชาติและภาวะโลกร้อนทำให้ 2 บริษัทยักษ์ใหญ่เจ้าของกิจการรีสอร์ตและลานสกีรายใหญ่ของสหรัฐอย่าง Vail Resorts และ Alterra ต้องหากิจกรรมอย่างอื่นมาทดแทน เพื่อทำให้นักท่องเที่ยวสามารถมาพักที่รีสอร์ตได้ทั้งปี ด้วยการปรับให้เป็นสนามเด็กเล่นบนภูเขา เพิ่มกิจกรรมกลางแจ้งต่าง ๆ ที่ทำได้โดยไม่ต้องพึ่งหิมะเพียงอย่างเดียว
    .
    ขณะที่ธุรกิจเกี่ยวสกีในยุโรปจะไม่ได้รวมอยู่ในบริษัทเดียวอย่างในสหรัฐ แต่จะแยกออกเป็นธุรกิจที่พัก ร้านอาหาร และลานสกี แต่สิ่งที่ธุรกิจการเล่นสกีทั้งในสหรัฐและยุโรปกำลังเจอเหมือนกัน ก็คือ ปริมาณหิมะที่ลดลง ทำให้ต้องเพิ่มกิจกรรมฤดูร้อน เช่น การเดินป่าและปั่นจักรยานเสือภูเขา รวมถึงการสร้างพื้นที่เล่นสำหรับเด็กที่ใช้ประโยชน์จากภูมิประเทศแบบภูเขา
    .
    ⛷️สร้างหิมะเทียม
    .
    Monte Cimone ผู้ในบริการลิฟต์สำหรับรีสอร์ตสกีรายใหญ่ของอิตาลี ได้ทุ่มเงินมหาศาลไปกับอุปกรณ์ทำหิมะ โดยได้ผลิต “ดินปืน” ขึ้นมาสำหรับการสร้างหิมะเทียมเพื่อช่วยให้สามารถเล่นสกีได้นานขึ้น
    .
    รีสอร์ตในสหรัฐก็ต้องสร้างหิมะขึ้นมาด้วยเช่นกัน โดยแจ็คสันโฮล เมาธ์เทนรีสอร์ต หรือ JHMR สถานที่พักผ่อนในไวโอมิง เพิ่มเงินลงทุนอย่างหนักในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเพื่อสร้างหิมะเทียมให้ได้มากที่สุด ซึ่งในตอนนี้รีสอร์ตได้สร้างหิมะได้ประมาณหนึ่งในสามของเส้นทางเดินทางไกลแล้ว
    .
    อย่างไรก็ตาม JHMR จำเป็นต้องยกเลิกการแข่งขันสกีและสโนว์บอร์ดผาดโผนประจำปี ที่จัดขึ้นเป็นประเพณีบริเวณรางน้ำแคบและชันบนยอดเขาที่เรียกว่า Corbet's Couloir ในเดือนม.ค.ของทุกปี เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวไม่มีหิมะหนาเพียงพอในการดำเนินกิจกรรม
    .
    ⛷️อุณหภูมิสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
    .
    บริษัทสกีในสหรัฐกำลังขยายธุรกิจด้วยการซื้อธุรกิจในยุโรป เพื่อหวังจะทำรายได้เพิ่มขึ้น แต่ดูเหมือนว่ายุโรปก็ไม่ได้จะมีอากาศที่ดีไปสหรัฐ ศูนย์วิจัยระบบนิเวศอัลไพน์ประเมินว่าอุณหภูมิเฉลี่ยในภูมิภาคอัลไพน์เพิ่มขึ้นเกือบ 2 องศาเซลเซียสจากระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม ซึ่งสูงกว่าตัวเลขทั่วโลกในระยะยาวอย่างน้อย 1.1 องศาเซลเซียส
    .
    บริษัทสกีบางแห่งในสหรัฐ ยอมรับว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้สร้างหิมะเทียมได้ยากขึ้น
    .
    ที่มา:
    FT: https://bit.ly/3HWXwOe
    .
    #ธุรกิจสกี #หิมะเทียม #โลกร้อน
    #กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจBusiness #กรุงเทพธุรกิจClimate
    https://www.facebook.com/share/p/TLeC2gWMSh4Xu3TV/?mibextid=2JQ9oc
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เสธ.กองทัพเยอรมนี ชี้ กองทัพจำเป็นยกระดับความพร้อมเพื่อเตรียมรบกับ “รัสเซีย” คาดสงครามส่อเค้าปะทุภายใน 5 ปีข้างหน้า
    .
    พลเอกคาร์สเทน บรอยเออร์ เสนาธิการกองทัพเยอรมนี ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์เวลต์ อัม ซอนน์ทาก (Welt Am Sonntag) เมื่อวันอาทิตย์ (11 ก.พ.) ว่า กองทัพเยอรมนีต้องยกระดับความพร้อมในการทำสงครามกับรัสเซียซึ่งอาจเกิดขึ้นภายใน 5 ปีข้างหน้า พร้อมระบุว่า รัสเซียมีทั้งศักยภาพด้านกำลังรบและความตั้งใจที่จะ รุกคืบไปไกลกว่ายูเครน
    .
    “กำลังพลพร้อมรบของกองทัพเยอรมนีควรมีมากกว่า 200,000 นาย จากจำนวนกำลังพลในปัจจุบันที่ 180,000 นาย”
    .
    ขณะเดียวกัน พลเอกบรอยเออร์ได้กล่าวถึงการสนับสนุนที่เยอรมนีมีให้กับยูเครน ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากหลังจากที่เริ่มต้นค่อนข้างช้าในปี 2565 โดยระบุว่า สิ่งเดียวที่เป็นข้อจำกัดในการให้ความช่วยเหลือยูเครนคือ กำลังการผลิตทางอุตสาหกรรมของเยอรมนี ซึ่งควรได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น
    .
    เว็บไซต์ “ยาฮูดอตคอม” (Yahoo.com) รายงานว่า เหล่าผู้บัญชาการของนาโต (NATO) และผู้นำชาติพันธมิตร ได้ย้ำเตือนถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการสู้รบ และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั่วยุโรป
    .
    เมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา นายบอริส พิสโตริอุส รัฐมนตรีกลาโหมเยอรมนี กล่าวว่า การสู้รบกับรัสเซียอาจเกิดขึ้นในอีก 5-8 ปีข้างหน้า ขณะที่นายพลเยอรมนีประจำนาโตคนหนึ่งเตือนว่า ขีปนาวุธของรัสเซียอาจมุ่งเป้ามายังเยอรมนีหากความขัดแย้งปะทุขึ้น
    .
    อ้างอิง: https://essanews.com/german-militar...readiness-over-next-5-years,6994581172844673a
    .
    .
    #กองทัพเยอรมนี #พร้อมรบ #รัสเซีย #เยอรมนี #สงคราม #กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจGeopolitics #กรุงเทพธุรกิจPolitics

    https://www.facebook.com/share/p/sCuRfXc4fqmAPB17/?mibextid=2JQ9oc
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    วุ่นแล้ว! ยูเครน ลุกฮือประท้วงขัดแย้งชิงอำนาจ
    ....ม็อบชาวยูเครน จัดการประท้วงที่จัตุรัสอิสรภาพ กลางเมือง เรียกร้องให้ขับไล่ประธานาธิบดีเซเลนสกี้ ผู้นำยูเครน ออกไป แล้วนำนายพลวาเลรี ซาโลจนี่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กลับมาเป็นผู้นำกองทัพดังเดิม...แบบนี้อาวุธดีๆ ตัวเปลี่ยนเกมส์ของ NATO จะสกัดม็อบอยู่หรือไม่?
    ⏩ กดดูวิดีโอภาพรายละเอียดประกอบชวนอึ้ง/แชร์ลิ้งไปได้เลย
    #WorldUpdate #USA #China #Yemen #Houthis #Israel #Ukraine #Hezbollah #Russia #Iran #NATO

    https://m.youtube.com/shorts/GWG3L_...Lj-pBPD3jAbf3lIjx0Zi4Oumbr240VCMzaOrL44htk0_Q

    https://www.facebook.com/share/p/yUAbgWgG2B9dvXFo/?mibextid=2JQ9oc
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันอาทิตย์ (11 ก.พ.) เนื่องจากล้มป่วยฉุกเฉินด้วยโรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ ตามข้อมูลจากโฆษกเพนตากอน
    .
    พลอากาศจัตวา แพต ไรเดอร์ โฆษกกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ระบุว่า ออสติน วัย 70 ปี ได้ถ่ายโอนอำนาจหน้าที่ต่างๆ ให้ แคธลีน ฮิกส์ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมดูแลแทนชั่วคราว
    .
    เดือนที่แล้ว ออสติน ถูกสมาชิกสภาคองเกรสทั้งสายเดโมแครตและรีพับลิกันวิจารณ์อย่างหนักที่ปกปิดข้อมูลเรื่องการป่วยเป็นมะเร็งจนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเมื่อช่วงเดือน ธ.ค. จนถึง ม.ค. และแม้กระทั่งประธานาธิบดี โจ ไบเดน เองก็ยังไม่ทราบเรื่องนี้
    .
    แกนนำรีพับลิกันบางคน รวมถึงอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ถึงกับยกเรื่องนี้มาเป็นเหตุเรียกร้องให้ปลด ออสติน ออกจากตำแหน่ง
    .
    ปฏิเสธไม่ได้ว่าเหตุการณ์นี้สร้างความอับอายขายหน้าให้กับ ไบเดน ไม่น้อย และ ออสติน เองก็ได้ออกมาแถลงขออภัยผ่านสื่อโทรทัศน์ และมีกำหนดเข้าชี้แจงต่อสภาคองเกรสในวันที่ 29 ก.พ.
    .
    ไบเดน ยืนยันว่าเขายังคงเชื่อมั่นในตัวออสติน แม้จะยอมรับว่าสิ่งที่เจ้าตัวทำนั้นเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดไปหน่อยก็ตาม
    .
    การที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ รีบออกมาประกาศเรื่องที่ ออสติน เข้าโรงพยาบาลและถ่ายโอนอำนาจแก่รัฐมนตรีช่วยฯ ในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่าไม่ต้องการให้เกิดกระแสวิจารณ์ทางการเมืองเหมือนเช่นที่ผ่านมา
    .
    ออสติน ซึ่งเคยเป็นผู้บัญชาการกองกำลังสหรัฐฯ ในอิรัก และยังเป็นรัฐมนตรีกลาโหมผิวสีคนแรกของอเมริกา นอนรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลขณะที่กองทัพสหรัฐฯ เปิดปฏิบัติการโจมตีแก้แค้นผู้นำกลุ่มติดอาวุธโปรอิหร่านในกรุงแบกแดดของอิรักเมื่อเดือนที่แล้ว
    .
    เวลานี้มีคณะทำงานของสหรัฐฯ ถึง 3 ชุดที่กำลังสอบสวนพฤติกรรมของ ออสติน อยู่ หนึ่งในนั้นคือสำนักงานผู้ตรวจสอบของกระทรวงกลาโหม (Pentagon's Inspector General) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณสิ้นเปลือง การฉ้อโกง หรือการล่วงละเมิดต่างๆ นอกจากนี้ ไมค์ โรเจอร์ส ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการกิจการกองทัพของสภาผู้แทนราษฎรก็ยังส่งหนังสือเรียกให้ ออสติน เข้าชี้แจงข้อมูลด้วย
    .
    ทั้งนี้ ออสติน มีกำหนดการเดินทางไปยังกรุงบรัสเซลส์ในวันพุธ (14) เพื่อร่วมประชุมกลุ่ม Ukraine Defense Contact Group และยังไม่ชัดเจนว่าการเข้าโรงพยาบาลครั้งนี้จะกระทบต่อแผนการเดินทางของเขาหรือไม่
    .
    ที่มา: รอยเตอร์

    https://www.facebook.com/share/p/veH3C11CAWjGaAKB/?mibextid=2JQ9oc
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ผลการวิเคราะห์เบื้องต้นได้ข้อสรุปว่ารัสเซียโจมตีกรุงเคียฟเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ด้วยขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก "เซอร์คอน" นับเป็นครั้งแรกที่มอสโกใช้อาวุธชนิดนี้ในสงครามที่ลากยาวมาเกือบ 2 ปี จากการเปิดผยของหัวหน้าสถาบันวิจัยแห่งหนึ่งของเคียฟเมื่อวันจันทร์(12ก.พ.) ในขณะที่มันเป็นความท้าทายใหม่ต่อระบบป้องกันภัยทางอากาศของยูเครน

    โอเลกซานด์ร รูวิน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย-วิทยาศาสตร์ ด้านการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์ ในกรุงเคียฟ เปิดเผยบนช่องเทเลแกรม ว่าสถาบันของเขาเสร็จสิ้นการวิเคราะห์ในเบื้องต้นเกี่ยวกับเศษชิ้นส่วนขีปนาวุธที่เกิดจากการโจมตีของรัสเซียเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์

    เขาสรุปว่าภาพในวิดีโอของเศษซากขีปนาวุธที่กล่าวอ้าง พบเห็นร่องรอยพิเศษต่างๆนานา "ในกรณีนี้ เราเห็นองค์ประกอบที่เป็นลักษณะเฉพาะของขีปนาวุธ 3M22 เซอร์คอน ชิ้นส่วนและเศษซากของเครื่องยนต์และกลไกควบคุมทิศทางมีเครื่องหมายเฉพาะเจาะจง"

    กระทรวกลาโหมรัสเซียยังไม่ออกมาแสดงความคิดเห็น เมื่อทางรอยเตอร์ติดต่อสอบถามขอความคิดเห็นในคำกล่าวอ้างดังกล่าว

    จากคำกล่าวอ้างของรัสเซีย ขีปนาวุธเซอร์คอนมีพิสัยทำการ 1,000 กิโลเมตร และเดินทางด้วยความเร็งเหนือเสียง 9 เท่า ในขณะที่พวกนักวิเคราะห์ด้านการทหารบอกว่าความเร็วไฮเปอร์โซนิกของมัน ทำให้ระบบป้องกันภัยทางอากาศของฝ่ายศัตรูมีเวลาตอบสนองน้อยลงอย่างมาก และมีศักยภาพโจมตีเป้าหมายที่มีขนาดใหญ่ อยู่ลึกและแข็งแกร่ง

    ก่อนหน้านี้ รัสเซียเคยบอกว่พวกเขาเสร็จสิ้นการทดสอบขีปนาวุธเซอร์คอนแล้ว เมื่อเดือนมิถุนายน 2022 และประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ให้คำจำกัดความ เซอร์คอน ว่าเป็นส่วนหนึ่งระบบอาวุธยุคใหม่ที่ไม่มีใครเทียบได้

    ถ้าการใช้อาวุธชนิดนี้ในยูเครนได้รับการยืนยัน เชื่อว่าขีปนาวุธเซอร์คอนจะกลายเป็นความท้าทายเพิ่มเติมต่อระบบป้องกันภัยทางอากาศของยูเครน ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับอนาคตความช่วยเหลือด้านการทหารของตะวันตก

    รัสเซียปฏิบัติการโจมตีทางอากาศเล่นงานยูเครนเป็นประจำ โดยใช้โดรนและขีปนาวุธพิสัยไกลต่างๆนานา ในขณะที่ เซอร์คอน เบื้องต้นถูกออกแบบมาในฐานะอาวุธยิงจากทะเล ต่อได้มีการพัฒนาเวอร์ชันยิงจากพื้นดินหลังจากนั้น

    คำแถลงของรูวิน ไม่ได้บอกว่าอาวุธชนิดนี้ถูกยิงขึ้นจากพื้นผิวหรือจากทะเล แต่สัญลักษณ์และเครื่องหมายต่างๆที่เก็บกู้ได้จากเศษซาก บ่งชี้ว่าอาวุธเพิ่มผลิตเมื่อไม่นานที่ผ่านมา

    ทั้งนี้เหตุโจมตีเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 5 ราย ก่อความเสียหายแก่อาคารที่พักอาศัยหลายแห่งและโครงสร้างพื้นฐานทางพลังงาน

    (ที่มา:รอยเตอร์)

    https://www.facebook.com/share/p/S3t5GmLZvpza8Pnj/?mibextid=2JQ9oc
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    การมีอาวุธนิวเคลียร์คือมาตรการป้องปรามที่ทรงแสนยานุภาพและมันเป็นบางอย่างที่ โปแลนด์ ควรพิจารณาเดินหน้าในเรื่องนี้ จากเสียงเรียกร้องของนายพลปลดเกษียณรายหนึ่งแห่งกองทัพโปแลนด์ ระหว่างให้สัมภาษณ์ในวันจันทร์(12ก.พ.) ท่ามกลางสถานการณ์ความตึงเครียดอันเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างยูเครนกับรัสเซีย

    ในการให้สัมภาษณ์กับสถานีวิทยุ RMF24 นายจาโรสลอว์ คราสซิวสกี ถูกถามเกี่ยวกับข้อชี้แนะหนึ่งของทาง ดาลิเบอร์ โรฮัค นักวิชาการจากสถาบันอเมริกัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ที่เสนอเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว "ให้มอบอาวุธนิวเคลียร์แก่โปแลนด์" ผ่านการให้สัมภาษณ์กับเดอะ สเปกเตเตอร์ สื่อมวลชนสหราชอาณาจักร

    "ผมมองกรณีนี้ว่ามีความเป็นจริงอย่างมาก" คราสซิวสกี ตอบคำถาม "ใครก็ตามที่มีศักยภาพทางนิวเคลียร์ ก็จะมีความมั่นคงในระดับสูงมากๆ บรรดาประเทศเหล่านั้นไม่เคยถูกโจมตี และไม่มีแม้กระทั่งความเป็นไปได้ของความเคลื่อนไหวใดๆที่เล็งเป้าหมายก่อวิกฤตในระดับท้องถิ่น"

    "การครอบครองอาวุธปรมาณูคือความท้าทายสำหรับโปแลนด์ ที่ต้องพยายามทำให้เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า" เขากล่าว

    ในขณะที่ โรฮัค เสนอติดหัวรบนิวเคลียร์แก่โปแลยด์ ส่วนหนึ่งใน "แผนความมั่นคงในภูมิภาคยุโรปตะวันออก" ที่กำลังถูกตรวจสอบโดยโดนัลด์ ทรัมป์ ก่อนถึงศึกเลือกตั้้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ แต่ทาง คราสซิวสกี ดูเหมือนอยากเห็นแนวทางในระยะยาวมากกว่า

    "ชัดเจนว่ามันจะต้องมีการทบทวนและกลับเข้าสู่การเจรจาในประเด็นความสมดุลของขุมกำลังนิวเคลียร์ในโลกใบนี้" เขาให้สัมภาษณ์กับสถานีวิทยุโปแลนด์ "ตามความเห็นของผม มันจะเกิดขึ้นหลังจากความขัดแย้งติดอาวุธในยูเครนสิ้นสุดลง"

    คราสซิวสกี ปลดเกษียณเมื่อปี 2019 และปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้บริหารของบริษัทแห่งหนึ่ง ที่มอบบริการคำปรึกษาด้านกลาโหม ฝึกฝนด้านการทหารและตำรวจ รวมถึงเป็นนายหน้าจัดซื้ออาวุธและกระสุน บ่อยครั้งเขามักเป็นแขกรับเชิญในบรรดาสื่อมวลชนโปแลนด์ ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในยูเครน

    โปแลนด์ ส่งเสียงเรียกร้องซ้ำแล้วซ้ำเล่าไปยังสหรัฐฯ สำหรับประจำการอาวุธนิวเคลียร์ในดินแดน ในนั้นรวมถึงกรณีที่ประธานาธิบดีอันแชย์ ดูดา หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาในเดือนตุลาคม 2022 แต่ถูกปฏิเสธโดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ

    ในเดือนมิถุนายนปีต่อมา รัฐบาลในวอร์ซอ เป็นอีกครั้งที่ได้ร้องขออาวุธปรมาณู ภายใต้โครงการ "แบ่งปันนิวเคลียร์" ของสหรัฐฯ อ้างถึงแนวโน้มภัยคุกคามจากรัสเซียและเบลารุส ขณะที่ ดมิทรี เมดเวเดฟ อดีตประธานาธิบดีรัสเซีย ตอบโต้เสียงเรียกร้องดังกล่าว โดยเรียกผู้นำโปแลนด์ ว่าเป็น "คนสูงวัยเสื่อมสภาพ" ที่กำลังเล่นกับเปลวไฟแห่งนิวเคลียร์

    ภายใต้โครงการแบ่งปันนิวเคลียร์ ทางวอชิงตันได้ประจำการอาวุธนิวเคลียร์จำนวนหนึ่งในเบลเยียม เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์และตุรกี พร้อมยืนยันว่ามันไม่ได้เป็นการละเมิดทางเทคนิคต่อสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ เนื่องจากสหรัฐฯยังคงเป็นเจ้าของอาวุธเหล่านั้น อย่างไรก็ตามมันกระตุ้นให้รัสเซียตอบโต้ด้วยการประจำการขีปนาวุธติดอาวุธนิวเคลียร์ของตนเองในเบลารุสเช่นกัน

    (ที่มา:อาร์ทีนิวส์)

    https://www.facebook.com/share/p/GRxUuyh92Xid7gnM/?mibextid=2JQ9oc
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จุดคุ้มทุน ติดแล้วคุ้มไหม ติดกี่ปีถึงคืนทุน
    เราต้องตรวจสอบก่อนว่าบ้านของเรานั้น มีพฤติกรรมการใช้ไฟแบบไหน ติดตั้งแล้วจะใช้ไฟที่ Solar cell คุ้มกับการติดตั้งหรือเปล่า ก่อนอื่นเลยต้องดูก่อนว่าที่บ้านของเรานั้น เน้นใช้ไฟในตอนกลางวัน หรือ ตอนกลางคืน โดยดูง่ายๆ จากแอร์ที่เราใช้งาน ถ้าบ้านเราเปิดแอร์ในตอนกลางคืน หรือใช้ไฟฟ้าในตอนกลางคืนเยอะกว่าก็จะไม่คุ้มต่อการติดตั้งสักเท่าไหร่
    ยกตัวอย่างเช่น บ้านมีแอร์ 4 ตัว เปิดตอนกลางคืน 4 แล้วตอนกลางวัน เปิด แค่ 1 ก็นับว่าเป็นการใช้ไฟตอนกลางคืน 3 / 4 ส่วน ซึ่งไม่คุ้มในการติดตั้ง Solar Cell เนื่องจากระบบที่นิยมกันที่สุดจะเป็นระบบ On Grid ซึ่งสามารถผลิตไฟได้ในตอนกลางวันเท่านั้น ถ้ากลับกันเราใช้ไฟเป็นส่วนใหญ่ในตอนกลางวัน กรณีนี้ ค่อนข้างที่จะเหมาะสม หลังจากดูพฤติกรรมการใช้ไฟแล้ว เราต้องดูอีกคือเราใช้ไฟฟ้าเดือนละกี่บาท หรือกี่หน่วย
    โดยวิธีการคำนวณค่าไฟเฉลี่ยและจุดคุ้มทุนมีดังต่อไปนี้
    -ดูได้จากบิลค่าไฟ ตรงคำว่าหน่วยการใช้งานต่อเดือน แล้วนำ หน่วยค่าไฟทั้งหมดมาบวกกันแล้วหารด้วย 12 จะได้หน่วยค่าไฟเฉลี่ยต่อเดือนของทั้งปี
    ตัวอย่างสูตร : (หน่วยการใช้งานเดือน ม.ค. + ก.พ + มี.ค + … +ธ.ค) / 12 = หน่วยค่าไฟเฉลี่ยต่อเดือนของทั้งปี
    ตัวอย่างการคำนวณ : (387+491+488+446, 447+451+460+457+454+452+400+395)/12 = 444

    - ถ้าหน่วยค่าไฟเฉลี่ยอยู่ที่ 444 หน่วย นับเป็น 24 ชั่วโมง ถ้าเราใช้ไฟ กลางวันเป็นส่วนใหญ่ หรือประมาณ ¾ ของการใช้ไฟอยู่ในช่วงกลางวัน แสดงว่าหน่วยค่าไฟเฉลี่ยจะอยู่ที่ 333 หน่วย
    หลักการคำนวณง่ายๆคือ 444 x ¾ = 333
    หลังจากนั้นให้นำ หน่วยค่าไฟเฉลี่ยต่อเดือนของทั้งปี คูณด้วยราคาของหน่วยค่าไฟ
    โดยปัจจุบันตกหน่วยละประมาณ 4.7 บาท
    จะได้ 333 x 4.7 = 1,565 บาทต่อเดือน (เป็นหลักการคิดอย่างง่าย)

    -ดังนั้นถ้าค่าไฟ อยู่ที่ 1,500 - 1,600 บาท ควรติดตั้งเป็นตัว 3 kW ( สามารถดูขนาดการติดตั้ง Solar Cell ได้จาก Link : .....
    ซึ่งสามารถประหยัดไฟได้ถึง 1,500 - 1,800 บาท/เดือน จะทำให้ Solar Cell ผลิตไฟได้ครอบคลุมการใช้งานไฟฟ้าของเราได้เกือบทั้งหมด

    -โดยการติดตั้ง Solar Cell ขนาด 3 kW ราคาอยู่ที่ประมาน 1 แสนบาท ในการติดตั้งแบบ On grid เพราะฉะนั้น 1 ปีจะประหยัดค่าไฟได้ 18,000 - 20,000 บาท โดยใช้เวลาคืนทุนภายในระยะเวลาประมาณ 5 - 6 ปีนั่นเอง
    วิธีการคำนวณคือ : 1,565 x 12 = 18,780 (ค่าไฟเฉลี่ยที่ลดไปต่อปี)
    ราคาค่าติดตั้งของ Solar Cell ขนาด 3kW 1เฟสอยู่ที่ 100,890 เพราะฉะนั้น นำ
    100,890/18,780 = 5.37 (ระยะเวลาการคืนทุนจะอยู่ที่ประมาณ 5 ปีนิดๆเองนั่น )

    https://www.facebook.com/share/p/MT4jymicyJhxBCTG/?mibextid=2JQ9oc
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ตลาดสินทรัพย์การลงทุนเริ่มกลับมาปั่นป่วนอีกครั้ง หลังสหรัฐประกาศตัวเลขเงินเฟ้อ(CPI) เดือนม.ค.เพิ่มขึ้น 3.1% สูงกว่าที่ตลาดคาด ฉุดดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ดิ่งกว่า 300 จุด ขณะที่ Bitcoin ร่วงหลุด 49,000 ดอลลาร์ สวนทาง “บอนด์ยีลด์” ที่พุ่งทะยาน เหตุนักลงทุนเริ่มคาดการณ์ เฟด จะยังไม่เร่งลดดอกเบี้ยนโยบาย
    .
    โดยดัชนี CPI ทั่วไป หรือ Headline CPI ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อการใช้จ่ายของผู้บริโภคประจำเดือนม.ค.2567 ที่กระทรวงแรงงานสหรัฐเผยแพร่ออกมาในวันนี้(13ก.พ.) ตามเวลาประเทศไทย มีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ 3.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาดที่ 2.9% และหากเทียบกับเดือนก่อนหน้านี้ Headline CPI มีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ 0.3% สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 0.2%
    .
    ส่วนดัชนี CPI พื้นฐาน หรือ Core CPI ซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารสดและพลังงาน มีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ 3.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 3.7% และหากเทียบกับเดือนก่อนหน้านี้ Core CPI ขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.4% สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 0.3%
    .
    ตัวเลข CPI ที่สูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐด้วย เนื่องจากนักลงทุนเริ่มคาดการณ์ว่าความจำเป็นที่ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) จะลดดอกเบี้ยนโยบายลงมาดูจะมีความล่าช้าออกไปมากขึ้น โดยดัชนีดาวโจนส์ฟิวเจอร์ ณ เวลา 21.05 น. (ตามเวลาประเทศไทย) ปรับตัวลดลง 1% มาเคลื่อนไหวที่ระดับ 38,495 จุด หรือลดลงไปราว 389 จุด
    .
    นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตร(บอนด์ยีลด์) ที่พุ่งสูงขึ้นด้วย เนื่องจากแรงขายทำกำไรในตลาดพันธบัตร โดย ณ เวลา 21.05 น. ตัวบอนด์ยีลด์รุ่นอายุ 10 ปี ของสหรัฐ ดีดขึ้นราว 2.4% มาเคลื่อนไหวที่บริเวณ 4.273%
    .
    ขณะเดียวกันยังพบว่า ราคาเหรียญ Bitcoin ซึ่งในวันนี้สามารถยืนบริเวณ 50,000 ดอลลาร์ต่อ BTC ได้เกือบตลอดทั้งวัน เริ่มมีแรงขายออกมาบ้างแล้ว โดยล่าสุด เคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 48,900 ดอลลาร์ต่อ BTC
    .
    .
    #เงินเฟ้อสหรัฐ #บอนด์ยีลด์ #Bitcoin #กรุงเทพธุรกิจFinance #กรุงเทพธุรกิจ
    https://www.facebook.com/share/p/AHL7Er84vP9cQDkS/?mibextid=oFDknk
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เสียงตะโกนจาก ‘เครดิตบูโร’ หนี้เสียพุ่งทะลุ 1 ล้านล้าน | #บทบรรณาธิการกรุงเทพธุรกิจ
    .
    ตัวเลขหนี้เสียทั้งระบบ ณ สิ้นไตรมาส 4 ปี 2566 ออกมากางโชว์ พบว่า ยอดหนี้เสียรวมทะลุ “1 ล้านล้านบาท” ซึ่ง “น่าเป็นห่วงมาก” เพราะ คนกลุ่มกลาง-ล่าง รายได้ยังไม่กลับมาเท่ากับก่อนโควิด แต่ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้นสวนทางกับเงินเฟ้อ แถมภาระดอกเบี้ยจ่ายยังเพิ่มขึ้นด้วย
    .
    ไม่รู้ว่ามีใครได้ยินเสียงของ “เครดิตบูโร” กันบ้างไหม ซึ่งที่ผ่านมา “สุรพล โอภาสเสถียร” ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ “เครดิตบูโร” พยายามออกมาเตือนให้ระวังควันไฟจากหนี้เสีย เพราะห่วงว่าไฟจะจุดติดลุกลามเป็นวงกว้าง ล่าสุด “สุรพล” หยิบตัวเลขหนี้เสียทั้งระบบ ณ สิ้นไตรมาส 4 ปี 2566 ออกมากางโชว์ พบว่า ยอดหนี้เสียรวมทะลุ “1 ล้านล้านบาท” ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คิดเป็นสัดส่วนราว 7.7% ของหนี้ทั้งระบบ
    .
    ตัวเลขนี้ไม่รู้ว่า “แบงก์ชาติ” เป็นห่วงมากน้อยแค่ไหน เพราะเสียงเตือนที่ออกมาจากข้างในรั้วบางขุนพรหมดูเบาๆ แต่สำหรับกองบรรณาธิการกรุงเทพธุรกิจแล้ว บอกได้เลยว่า “น่าเป็นห่วงมาก” ...ที่เราเป็นห่วงสุด คือ คนกลุ่มกลาง-ล่าง เพราะพบว่ามีจำนวนมากๆ ที่รายได้ยังไม่กลับมาเท่ากับก่อนโควิด ในขณะที่ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้นสวนทางกับเงินเฟ้อ แถมภาระดอกเบี้ยจ่ายยังเพิ่มขึ้นด้วย
    .
    ตัวเลขที่ “สุรพล” โชว์ออกมาให้เห็น พบว่า หนี้เสียรถยนต์ในไตรมาส 4 ปี 2566 เพิ่มขึ้นถึง 28% หนี้เสียฝั่งบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นเกือบๆ 12% หนี้เสียพอร์ตสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 7% ทั้งหมดนี้ว่าน่าเป็นห่วงแล้ว แต่ที่น่าห่วงยิ่งกว่า คือ “หนี้ SM” หรือกลุ่มสินเชื่อที่ต้องจับตาดูเป็นพิเศษ เพราะเริ่มมียอดค้างจ่ายเกิน 30 วัน แต่ยังไม่ถึง 90 วัน ซึ่งกลุ่มนี้พร้อมจะพัฒนากลายเป็นหนี้เสียได้ในอนาคต โดยเฉพาะพอร์ต “สินเชื่อบ้าน” ที่พบว่า หนี้ SM พุ่งทะยานถึง 31% ส่วนใหญ่เป็นบ้านราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท
    .
    สาเหตุที่เราเป็นห่วงกลุ่มหนี้ SM ในพอร์ตสินเชื่อบ้าน เพราะสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า คนเริ่มจะผ่อนไม่ไหวกันแล้ว และจริงๆ “บ้าน” ถือเป็นสินเชื่อตัวสุดท้ายที่คนจะยอมทิ้ง ยกเว้นหมดปัญญาจริงๆ ที่เป็นแบบนี้ก็น่าจะเป็นเพราะรายได้ของคนกลุ่มระดับกลาง-ล่างยังไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นมากนัก ถ้าดูระดับ GDP ของประเทศก็ชัดเจนว่าเราเพิ่งขึ้นมาอยู่ระนาบเดียวกับช่วงก่อนโควิด ในขณะที่ดอกเบี้ยบ้านเพิ่มสูงขึ้นตามดอกเบี้ยนโยบายที่แซงช่วงก่อนโควิดไปหลาย Step
    .
    เราเข้าใจความเป็นห่วงของ “แบงก์ชาติ” ที่กังวลว่า คนจะก่อหนี้เกินตัวหากปล่อยให้ดอกเบี้ยอยู่ระดับต่ำ แต่แบงก์ชาติเองก็มีมาตรการดูแลให้แบงก์พาณิชย์ปล่อยสินเชื่อแบบรับผิดชอบอยู่แล้ว คือ ไม่ปล่อยให้กับคนที่มีภาระหนี้เกินตัว ที่สำคัญผลสำรวจการก่อหนี้ระยะหลังของคนส่วนใหญ่ที่ทาง EIC ของธนาคารไทยพาณิชย์สำรวจมา พบว่า “บางคนเริ่มที่จะก่อหนี้เพื่อไปคืนหนี้” พูดง่ายๆ คือ หมุนเงินนั่นเอง สะท้อนว่าไม่ได้กู้เพื่อไปใช้จ่ายอย่างอื่นเพิ่มเติม ดังนั้นถ้าภาระดอกเบี้ยของคนเหล่านี้ลดลงมาหน่อย ความเป็นอยู่ของหลายๆ คนน่าจะดีขึ้นบ้าง!
    .
    .
    #เครดิตบูโร #หนี้เสีย #กรุงเทพธุรกิจ #กรุงเทพธุรกิจEconomic
    https://www.facebook.com/share/p/JstA7xF8EnaMAB5N/?mibextid=oFDknk
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Feb 14, 2024 รับมือพลังงานแพง! “พีรพันธุ์” เร่งกระทรวงพลังงานจัดตั้งระบบสำรองน้ำมันเพื่อความมั่นคง สร้างความเป็นธรรมให้ประชาชน
    .
    นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการจัดตั้งระบบสำรองน้ำมันและก๊าซเพื่อความมั่นคงทางยุทธศาสตร์และระบบรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซ ครั้งที่ 3/2567 ณ ห้อง 301 ชั้น 3 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวานนี้ (13 ก.พ. 67) โดยจะมีการประชุมกันอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์
    .
    โดยมีคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านกฎหมายและด้านพลังงานในสาขาต่างๆ ร่วมกันหารือกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน เพื่อทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และศึกษาวิธีการและรูปแบบการสำรองน้ำมันในต่างประเทศนำมากำหนดเป็นแนวทาง “การสำรองน้ำมันและก๊าซเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อความมั่นคงและรักษาระดับราคาโครงสร้างราคาใหม่” ของประเทศไทยเพื่อให้เกิดเสถียรภาพด้านพลังงาน
    .
    ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้ร่วมกันวางรูปแบบ (model) ดังกล่าวเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการดำเนินการสำรองน้ำมันในรูปแบบที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยมีการนำเสนอผลการศึกษาของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน เช่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม รวมถึงประเทศอื่นๆ อาทิ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และเยอรมนี ที่มีจุดแข็งและข้อได้เปรียบการสำรองน้ำมันในรูปแบบที่แตกต่างกัน
    .
    ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานได้มีการทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งต่างๆ ให้สามารถดำเนินการ “การสำรองน้ำมันและก๊าซเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อความมั่นคงและรักษาระดับราคาโครงสร้างราคาใหม่” เพื่อลดผลกระทบด้านพลังงาน และเพื่อให้เกิดความมั่นคง ยั่งยืน และเป็นธรรมกับภาคประชาชนต่อไปในอนาคต
    .
    อ่านเพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/3SWNPWl
    .
    Facebook: https://web.facebook.com/btimesch3
    YouTube: https://www.youtube.com/c/MisterBan
    X: https://twitter.com/BTimes_ch3
    Threads: https://www.threads.net/@btimes.ch3
    Website: https://btimes.biz
    Podcast : https://btimes.podbean.com/
    TikTok : https://www.tiktok.com/@btimes_ch3
    .
    #พลังงาน #ระบบสำรองน้ำมันเพื่อความมั่นคง #พีระพันธุ์สาลีรัฐวิภาค #น้ำมัน #แอลเอ็นจี #BTimes
    https://www.facebook.com/share/p/eXXgerL37GyRaXgv/?mibextid=oFDknk
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Feb 14, 2024 เล็งๆ อยู่! รัฐบาลแย้มแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ ผุดเพิ่มโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่ในแผน หวังผลิตพลังงานสะอาด ราคาถูกลง ตามอย่างอียู ฝรั่งเศส และจีน
    .
    นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “จุดเปลี่ยนพลังงานไทยสู่ความยั่งยืน” ในการเสวนา Thailand Energy Executive Forum จัดโดยสถาบันวิทยาการพลังงาน (วพน.) สาระสำคัญตอนหนึ่งว่าในเรื่องของพลังงานสะอาดตอนนี้หลายประเทศก็ยังมีการพูดถึงการใช้พลังงานนิวเคลียร์ซึ่งเป็นพลังงานที่ราคาถูก และสะอาดที่สุด
    .
    “ประเทศไทยในตอนนี้นั้น เราไม่มีแผนการสร้างโรงไฟฟ้าประเภทนี้แต่ว่าหลายประเทศนั้นมีเทคโนโลยีอยู่ทั้งสหภาพยุโรป (EU) ฝรั่งเศส และจีน ซึ่งตรงนี้เราก็สามารถที่จะเรียนรู้และเก็บข้อมูลไว้ก่อน เพื่อที่ในอนาคตหากที่จะต้องตัดสินใจ ก็จะสามารถที่จะตัดสินใจได้ถูกต้อง” นายเศรษฐา กล่าว
    .
    นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน หัวข้อ “ทิศทางพลังงานไทยปี 2567” ว่าอยู่ระหว่างจัดทำร่างแผนพลังงานชาติที่ต้องบูรณาการ 5 แผนย่อยเข้าด้วยกัน ประกอบด้วย
    1. แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP)
    2. แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)
    3. แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)
    4. แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan)
    และ 5. แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan)
    .
    ทั้งนี้ หัวใจหลักคือการปรับปรุงแผน PDP โดยเฉพาะสัดส่วนก๊าซ พลังงานหมุนเวียน และการประหยัดพลังงานจะต้องมีสัดส่วนเท่าไร โดยคาดว่าแผน PDP จะสามารถเปิดประชาพิจารณ์ได้ปลายเดือน ก.พ. หรือต้นเดือน มี.ค.นี้ เบื้องต้นจะต้องเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนมากขึ้นถึง 70% และปลดโรงไฟฟ้าถ่านหินและก๊าซออกไป ซึ่งจะอยู่ในตัวเลือกของ 7-8 สมมติฐาน อาทิ เรื่องของราคาไฟแพง ราคาก๊าซที่ลดลง เรื่องของยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ดังนั้นเรื่องของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จึงจะต้องนำมาประชาพิจารณ์สาธารณะ เพื่อให้เกิดการยอมรับของประชาชนที่ยังมีเป็นประเด็นตัวอย่างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่นที่เคยมีปัญหา โดยจะต้องปรึกษานายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานก่อน
    .
    อ่านเพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/49qejoK
    .
    Facebook: https://web.facebook.com/btimesch3
    YouTube: https://www.youtube.com/c/MisterBan
    X: https://twitter.com/BTimes_ch3
    Threads: https://www.threads.net/@btimes.ch3
    Website: https://btimes.biz
    Podcast : https://btimes.podbean.com/
    TikTok : https://www.tiktok.com/@btimes_ch3
    .
    #โรงไฟฟ้า #ไฟฟ้า #ผลิตไฟฟ้า #โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ #กระทรวงพลังงาน #BTimes

    https://www.facebook.com/share/qBH6KTEwDXjL62U7/?mibextid=oFDknk
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Feb 15, 2024 ถอยตกชั้น! เศรษฐกิจญี่ปุ่นผิดคาดเข้าภาวะถดถอยสมบูรณ์แบบ ร่วงหล่นมาอยู่อันดับ 4 ของโลก ผลพวงเงินเยนร่วงหนัก เศรษฐกิจเยอรมนีส้มหล่นขึ้นอันดับ 3 แทน ไม่กระพริบตาเมื่ออินเดียจะแซงทั้ง 2 ประเทศในอีก 3 ปีหน้า

    สำนักนายกรัฐมนตรี ประเทศญี่ปุ่น รายงานภาวะเศรษฐกิจไตรมาสที่ 4 ในปี 2023 ของญี่ปุ่น พบว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพี กลับชะลอตัวลงถึง -0.4% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2022 นอกจากนี้ ยังเป็นการชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 3 ในปี 2023 ที่ชะลอตัวมากถึง -3.3% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2022 ส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่มีขนาดใหญ่อันดับ 2 ในเอเชีย เข้าสู่ภาวะถดถอยสมบูรณ์แบบ เนื่องจากตัวเลขจีดีพีชะลอตัวลงแดนลบถึง 2 ไตรมาสติดต่อกัน สาเหตุจากภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนตัดลดรายจ่ายลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน

    กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ เปิดเผยว่า ในปี 2023 มูลค่าขนาดเศรษฐกิจญี่ปุ่นอยู่ที่ประมาณ 4.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 151.2 ล้านล้านบาท จากในปี 2012 ที่มีเคยมีขนาดเศรษฐกิจราว 6.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 226.8 ล้านล้านบาท หรือหดตัวลงถึง 2.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 75.6 ล้านล้านบาทในช่วง 11 ปีผ่านมา สาเหตุจากมูลค่าเงินเยนที่เฉลี่ยลดลงต่อเนื่องจากที่เคยแข็งค่ามากถึงระดับ 80 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงหลายปีผ่านมานั้น ลงมาเหลือเฉลี่ยที่ 140 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐในปีผ่านมา (มีต่อหน้า 2/2)

    (หน้า 2/2) นายฮิเดโอะ คูมาโนะ นักเศรษฐศาสตร์อำนวยการ สถาบันวิจัยชีวิตไดอิชิ ญี่ปุ่น เปิดเผยว่า สาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้ขนาดเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีมูลค่าลดลงเป็นผลจากค่าเงินเยนที่ร่วงอ่อนค่าในช่วงกว่า 2-3 ปีต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน นั่นหมายถึง ในแง่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้มูลค่าขนาดเศรษฐกิจลดต่ำลงและมีผลให้ขนาดเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีขนาดเล็กลงจากเดิม ทุกวันนี้ เศรษฐกิจญี่ปุ่นเป็นเพียงประเทศเดียวที่มีขนาดหดตัวลงจนกระทั่งเยอรมนีซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 4 ของโลกกลับมีขนาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ในอันดับ 3 ของโลกในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจเยอรมนีในปัจจุบันจะเผชิญกับปัจจัยลบที่ไม่แตกต่างกันก็ตาม

    อัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนต่อดอลลาร์สหรัฐในวันนี้ยังคงร่วงอ่อนค่าลงต่อเนื่อง ที่สำคัญในช่วงเช้าผ่านมาของวันนี้ 14 กุมภาพันธ์ 2024 ร่วงลงมาแตะระดับ 150.89 ต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันนี้ เงินเยนร่วงลง 6.4% ต่ำสุดในรอบกว่า 1 ปี หลังจากก่อนหน้านี้ ในปี 2022 เงินเยนร่วงลงอย่างหนักต่ำสุดระหว่างปีมาแตะที่ระดับ 152 ต่อดอลลาร์สหรัฐ ทำสถิติอ่อนค่าในรอบกว่า 30 ปี ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นต้องแทรกแซงค่าเงินเยนอย่างต่อเนื่อง

    อย่างไรก็ตาม หากประเทศญี่ปุ่นและเยอรมนี ซึ่งมีโครงสร้างเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกันมาก เช่น ภาคอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ยักษ์ใหญ่ของโลก ประชากรเข้าสู่วัยชราชัดเจนและจะมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และภาวะการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติในการผลิตสินค้า ไม่รีบปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจในอนาคต จะทำให้อินเดียซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 5 ของโลกในปัจจุบันจะมีขนาดเพิ่มมากขึ้นถึงขั้นแซงเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 2026 และแซงเศรษฐกิจเยอรมนีในปี 2027 มายืนอยู่ในอันดับ 3 ของโลก
    .
    อ่านเพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/3wkYD7Z
    .
    Facebook: https://web.facebook.com/btimesch3
    YouTube: https://www.youtube.com/c/MisterBan
    X: https://twitter.com/BTimes_ch3
    Threads: https://www.threads.net/@btimes.ch3
    Website: https://btimes.biz
    Podcast : https://btimes.podbean.com/
    TikTok : https://www.tiktok.com/@btimes_ch3
    .
    #ญี่ปุ่น #อินเดีย #เยอรมนี #ขนาดเศรษฐกิจ #จีดีพี #ค่าเงิน #เงินเยน #ดอลลาร์สหรัฐ #ไอเอ็มเอฟ #BTimes

    https://www.facebook.com/share/F5RbXhaHweJMN8KL/?mibextid=oFDknk
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Feb 15, 2024 ร้านนำเข้ามีสะดุ้ง! คลังเล็งเก็บภาษีสินค้านำเข้าทุกรายการ ทบทวนยกเว้นภาษีสินค้ามูลค่าต่ำกว่า 1,500 บาท หวังแก้ไขปัญหาสินค้าจีนทะลัก สกัดนักเลี่ยงภาษี
    .
    นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า วันนี้ได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการทบทวนเรื่องการยกเว้นภาษีสินค้านำเข้ามูลค่าต่ำกว่า 1,500 บาท มาหารือแนวทางการทบทวนในเรื่องดังกล่าว ประกอบด้วยกรมศุลกากร กรมสรรพากร สำนักงานเศรษฐกิจการคลังและกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งการหารือครั้งนี้จะพิจารณาถึงผลกระทบในภาพรวมทุกมิติ ทั้งการอำนวยความสะดวกทางการค้า และการใช้ช่องทางดังกล่าวในการหลบเลี่ยงภาษี
    .
    โดยมี 2 แนวทางในการพิจารณา คือ
    1. การปรับลดมูลค่าสินค้าที่ได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าจาก 1,500 บาทลงมา
    และ 2. การแก้ไขประมวลรัษฎากรในการยกเลิกการยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) สินค้านำเข้าตามกฎหมายศุลกากร เพื่อให้กรมสรรพากรดำเนินการจัดเก็บแวตนำเข้าในทุกรายการสินค้า และให้กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ แต่ทั้งสองแนวทางยังไม่ได้ข้อสรุป
    .
    ซึ่งในส่วนของการปรับลดมูลค่าสินค้าที่ได้รับการยกเว้นนั้น จะต้องสอบถามต่อกรมศุลกากรว่ามูลค่าที่ได้รับการยกเว้นนั้น มีที่มาที่ไปอย่างไร เหตุใดจึงใช้มูลค่านี้ หรือเป็นไปตามข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ หากจะมีการแก้ไขจะกระทบต่อการดำเนินงานและการจัดเก็บรายได้ของกรมหรือไม่อย่างไร หรือถ้าเราไม่ปรับลดมูลค่าในการยกเว้น แล้วจะสามารถใช้เทคโนโลยีเข้าไปตรวจปล่อยสินค้าในทุกรายการ เพื่อป้องกันสินค้าที่นำเข้ามาโดยใช้ช่องทางดังกล่าวในการยกเว้นอากร หรือป้องกันสินค้าต้องห้ามในการนำเข้า เป็นต้น
    .
    ในส่วนของการยกเว้นจัดเก็บแวตสินค้าที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1,500 บาทนั้น มองว่าไม่ควรที่จะมีการยกเว้น เพราะเป็นข้อได้เปรียบเสียเปรียบต่อผู้ประกอบการในประเทศ หากจะไม่ยกเว้นจะต้องดำเนินการอย่างไร และจะจัดเก็บอย่างไร เรื่องนี้ก็จะหารือกับทางกรมสรรพากรด้วย
    .
    ด้านนางสาวกุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากรกล่าวว่า ปัจจุบันกรมฯ ได้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) สำหรับสินค้านำเข้าที่ได้รับการยกเว้นอากรนำเข้าของกรมศุลกากร ซึ่งกรมศุลกากรกำหนดมูลค่าสินค้านำเข้าที่ได้รับการยกเว้นอากรที่ 1,500 บาท ดังนั้นสินค้านำเข้าใดที่มีมูลค่าตามที่กรมศุลกากรกำหนดในการยกเว้นการจัดเก็บภาษีแวตก็จะได้รับการยกเว้นเช่นกัน
    .
    ด้านนายธีรัชย์ อัตนวานิช อธิบดีกรมศุลกากรกล่าวว่าการพิจารณาในประเด็นดังกล่าว ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการหารือกันมาระยะหนึ่งแล้ว ในวันนี้จะพิจารณาร่วมกันอีกครั้งว่าจะเลือกแนวทางใดที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ทั้งนี้การกำหนดอัตราการยกเว้นอากรสินค้านำเข้านั้น มีที่มาที่ไป ทั้งในเรื่องของการอำนวยสะดวกทางการค้าตามข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ และรวมถึงความคุ้มค่าในการจัดเก็บรายได้ อย่างไรก็ตาม กรมฯ พร้อมที่จะปฎิบัติตามนโยบายหากมีการเปลี่ยนแปลงแนวทางการจัดเก็บ
    .
    อ่านเพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/49g4lGO
    .
    Facebook: https://web.facebook.com/btimesch3
    YouTube: https://www.youtube.com/c/MisterBan
    X: https://twitter.com/BTimes_ch3
    Threads: https://www.threads.net/@btimes.ch3
    Website: https://btimes.biz
    Podcast : https://btimes.podbean.com/
    TikTok : https://www.tiktok.com/@btimes_ch3
    .
    #กรมสรรพากร #กระทรวงการคลัง #ภาษีนำเข้า #ภาษี #สินค้านำเข้า #BTimes
    https://www.facebook.com/share/p/oeo7L1facMAGVifr/?mibextid=oFDknk
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,710
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Feb 15, 2024 ถอยตกชั้น! เศรษฐกิจญี่ปุ่นผิดคาดเข้าภาวะถดถอยสมบูรณ์แบบ ร่วงหล่นมาอยู่อันดับ 4 ของโลก ผลพวงเงินเยนร่วงหนัก เศรษฐกิจเยอรมนีส้มหล่นขึ้นอันดับ 3 แทน ไม่กระพริบตาเมื่ออินเดียจะแซงทั้ง 2 ประเทศในอีก 3 ปีหน้า

    สำนักนายกรัฐมนตรี ประเทศญี่ปุ่น รายงานภาวะเศรษฐกิจไตรมาสที่ 4 ในปี 2023 ของญี่ปุ่น พบว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพี กลับชะลอตัวลงถึง -0.4% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2022 นอกจากนี้ ยังเป็นการชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 3 ในปี 2023 ที่ชะลอตัวมากถึง -3.3% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2022 ส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่มีขนาดใหญ่อันดับ 2 ในเอเชีย เข้าสู่ภาวะถดถอยสมบูรณ์แบบ เนื่องจากตัวเลขจีดีพีชะลอตัวลงแดนลบถึง 2 ไตรมาสติดต่อกัน สาเหตุจากภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนตัดลดรายจ่ายลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน

    กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ เปิดเผยว่า ในปี 2023 มูลค่าขนาดเศรษฐกิจญี่ปุ่นอยู่ที่ประมาณ 4.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 151.2 ล้านล้านบาท จากในปี 2012 ที่มีเคยมีขนาดเศรษฐกิจราว 6.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 226.8 ล้านล้านบาท หรือหดตัวลงถึง 2.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 75.6 ล้านล้านบาทในช่วง 11 ปีผ่านมา สาเหตุจากมูลค่าเงินเยนที่เฉลี่ยลดลงต่อเนื่องจากที่เคยแข็งค่ามากถึงระดับ 80 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงหลายปีผ่านมานั้น ลงมาเหลือเฉลี่ยที่ 140 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐในปีผ่านมา (มีต่อหน้า 2/2)

    (หน้า 2/2) นายฮิเดโอะ คูมาโนะ นักเศรษฐศาสตร์อำนวยการ สถาบันวิจัยชีวิตไดอิชิ ญี่ปุ่น เปิดเผยว่า สาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้ขนาดเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีมูลค่าลดลงเป็นผลจากค่าเงินเยนที่ร่วงอ่อนค่าในช่วงกว่า 2-3 ปีต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน นั่นหมายถึง ในแง่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้มูลค่าขนาดเศรษฐกิจลดต่ำลงและมีผลให้ขนาดเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีขนาดเล็กลงจากเดิม ทุกวันนี้ เศรษฐกิจญี่ปุ่นเป็นเพียงประเทศเดียวที่มีขนาดหดตัวลงจนกระทั่งเยอรมนีซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 4 ของโลกกลับมีขนาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ในอันดับ 3 ของโลกในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจเยอรมนีในปัจจุบันจะเผชิญกับปัจจัยลบที่ไม่แตกต่างกันก็ตาม

    อัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนต่อดอลลาร์สหรัฐในวันนี้ยังคงร่วงอ่อนค่าลงต่อเนื่อง ที่สำคัญในช่วงเช้าผ่านมาของวันนี้ 14 กุมภาพันธ์ 2024 ร่วงลงมาแตะระดับ 150.89 ต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันนี้ เงินเยนร่วงลง 6.4% ต่ำสุดในรอบกว่า 1 ปี หลังจากก่อนหน้านี้ ในปี 2022 เงินเยนร่วงลงอย่างหนักต่ำสุดระหว่างปีมาแตะที่ระดับ 152 ต่อดอลลาร์สหรัฐ ทำสถิติอ่อนค่าในรอบกว่า 30 ปี ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นต้องแทรกแซงค่าเงินเยนอย่างต่อเนื่อง

    อย่างไรก็ตาม หากประเทศญี่ปุ่นและเยอรมนี ซึ่งมีโครงสร้างเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกันมาก เช่น ภาคอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ยักษ์ใหญ่ของโลก ประชากรเข้าสู่วัยชราชัดเจนและจะมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และภาวะการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติในการผลิตสินค้า ไม่รีบปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจในอนาคต จะทำให้อินเดียซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 5 ของโลกในปัจจุบันจะมีขนาดเพิ่มมากขึ้นถึงขั้นแซงเศรษฐกิจญี่ปุ่นในปี 2026 และแซงเศรษฐกิจเยอรมนีในปี 2027 มายืนอยู่ในอันดับ 3 ของโลก
    .
    อ่านเพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/3wkYD7Z
    .
    Facebook: https://web.facebook.com/btimesch3
    YouTube: https://www.youtube.com/c/MisterBan
    X: https://twitter.com/BTimes_ch3
    Threads: https://www.threads.net/@btimes.ch3
    Website: https://btimes.biz
    Podcast : https://btimes.podbean.com/
    TikTok : https://www.tiktok.com/@btimes_ch3
    .
    #ญี่ปุ่น #อินเดีย #เยอรมนี #ขนาดเศรษฐกิจ #จีดีพี #ค่าเงิน #เงินเยน #ดอลลาร์สหรัฐ #ไอเอ็มเอฟ #BTimes

    https://www.facebook.com/share/F5RbXhaHweJMN8KL/?mibextid=oFDknk
     

แชร์หน้านี้

Loading...