ชนบท168 ศูนย์รวมวัตถุมงคล พระป่ากรรมฐานและพระบ้านเกจิขลัง

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ชนบท168, 16 มิถุนายน 2021.

  1. ชนบท168

    ชนบท168 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    2,264
    ค่าพลัง:
    +158
    พระสมเด็จ"พระพุทธมหาสิทธิโชค ชนะชัย ร่ำรวย ยิ่งใหญ่นิรันดร ประทานพรแผ่ไพศาลมากหาประมาณมิได้"พระอาจารย์นพพร สำนักปฏิบัติธรรมอาทิจวังโส จ.เชียงใหม่ ให้บูชา250บ.

    สาเหตุที่ทำให้พระอาจารย์นพพร อาทิจฺจวํโส ได้บวชเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนามาจนถึงปัจจุบันนี้ เกิดจากเมื่อมีการตัดถนนผ่านปั๊มน้ำมันที่ท่านทำงานอยู่ มีพระธุดงค์สององค์ และตาขาวหนึ่งองค์ เดินทางมาปักกลดใกล้ปั๊มน้ำมัน ที่ท่านทำงานอยู่ ท่านเข้าไปกราบไหว้ถวายสิ่งของ พระธุดงค์ได้กล่าวว่า “ควรจะบวชได้แล้ว” ท่านจึงเกิดความคิดอยากบวช ได้มอบข้าวของเครื่องใช้ที่ท่านมีอยู่ให้เพื่อนๆ ไปจนหมด

    อายุ ๒๔ ปี ท่านได้บวชที่วัดใหม่พระยาทำ มีพระอุปัชฌาจารย์ คือ พระครูพิสิฎฐ์พรหมยาน (พงษ์ โพธิวํโส) พระอาจารย์ประยูร ภตปุญฺโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ ใช่ สุชีโว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ บวชเสร็จแล้ว ไปอยู่เขาฉลาก(๓) ตอนนั้นเขาฉลากยังไม่มีโบสถ์ ไม่มีไฟฟ้า ท่านเลือกมาจำพรรษาที่เขาฉลาก เพราะเพื่อนเล่าให้ฟังถึงปฏิปทาของพระเจ้าอาวาส รักษาพระธรรมวินัย ฉันมื้อเดียว ไม่รับเงินทอง เก็บไว้เป็นของสงฆ์หมด ท่านจึงศรัทธา
    ท่านบวชได้ ๖ พรรษา ท่านยังไม่มีกุฏิอยู่ ท่านมักน้อย สันโดษ(๔) ทำกิจวัตรทุกอย่าง กวาดลานวัด ล้างส้วม บางทีกวาดตั้งแต่บ่ายโมงถึงหกโมง ท่านเป็นฆราวาสที่ขยัน เป็นพระก็ขยัน ทำวัตรสวดมนต์ไม่ขาด บิณฑบาตทุกวัน ฉันมื้อเดียวตลอด

    ท่านสอบนักธรรมตรี-โท-เอก เมื่ออยู่เขาฉลาก พรรษาแรกสอบนักธรรมตรีได้ พรรษาที่สองได้นักธรรมโท พรรษาที่สามได้นักธรรมเอก แล้วเป็นครูสอนปริยัติธรรม และเป็นพระคู่สวดอยู่ที่เขาฉลาก ไปๆมาๆ จนครบ ๖ พรรษา

    ชีวิตการปฏิบัติธรรมของท่าน ๓๖ พรรษา ท่านดำเนินชีวิตมักน้อย สันโดษ อดทน ท่านเคยไปอยู่กับหลวงพ่อมหาปิ่นที่วัดพระธาตุเขาน้อย ในช่วงปลายชีวิตของหลวงพ่อ ครั้งแรกอยู่ ๓ เดือน ครั้งต่อมาอยู่อีก ๗ เดือน จนหลวงพ่อมหาปิ่นมรณภาพ พระอาจารย์ได้มีโอกาสพบหลวงปู่ชอบ รวมทั้งหลวงพ่อชา สุภัทโทด้วยท่านตั้งปณิธานว่าอยู่เขาฉลากครบ ๑๐ พรรษา ท่านจะออกธุดงค์ และท่านได้ไปพักปฏิบัติธรรมที่สำนักสงฆ์เขาเขียวเกือบ ๗ ปี ท่านคิดเสมอว่า ท่านไม่เกรงกลัวอะไร ขอถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา

    ต่อมาท่านเดินทางขึ้นเหนือ พำนักอยู่ที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย แล้วกลับไปที่เขาฉลาก ต่อมาเดินทางมาจำพรรษาที่วัดพระเจ้าตนหลวง ดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ จำพรรษาอยู่ที่นี่ ๑ พรรษา ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๓๔ พอออกพรรษาท่านได้เดินทางมายังพื้นที่ที่เป็นสำนักปฏิบัติธรรมอาทิจฺจวํโส ปัจจุบัน

    องค์สุดท้ายแล้วครับ น่าบูชา พระแต่ละรุ่นสร้างไม่มาก ไม่ค่อยพบเจอในสนาม มีประสบการณ์ในหมู่ลูกศิษย์สูง ชุดนี้ได้มาจากศิษย์สายตรง มวลสารศักดิ์สิทธิ์หลายอย่างเช่น ปฐวีธาตุ เหล็กไหลตาน้ำ หินพระธาตุ
    upload_2024-7-23_15-20-10.jpeg
     
  2. ชนบท168

    ชนบท168 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    2,264
    ค่าพลัง:
    +158
    พระผงจันทร์ลอยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดช่องลมนาเกลือ จ.ชลบุรี (หลวงปู่บัวเกตุอธิฐานจิต)

    พระครูวิบูลธรรมกิจ หรือ หลวงปู่บัวเกตุ ปทุมสิโร “พระมหาเถระผู้มีจริยวัตรงามดั่งดอกบัว”

    upload_2024-7-23_16-20-46.jpeg

    เดิมท่านชื่อ บัวเกตุ นามสกุล กิจสุภาพศิริกุล เกิดเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ณ บ้านสวน ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

    หลวงปู่บัวเกตุ บรรพชาอุปสมบท ณ วัดช่องลม ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ โดยมี พระเทพกวี (จั่น วิจญฺจโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านเป็นพระบริสุทธิสงฆ์ผู้ตั้งมั่นในความประพฤติปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด ตามหลักพระธรรมวินัยทุกประการ ไม่ยอมก้าวล่วงแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม นับเป็นพระเถราจารย์ที่กราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ

    ท่านหลวงปู่บัวเกตุ ปทุมสิโร หรือ พระครูวิบูลธรรมกิจ ท่านเป็นพระสายวัดเทพศิรินทราวาส และเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฎิบัติชอบ ตามรอยท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) ซึ่งเป็นพระบูรพาจารย์ของท่าน ซึ่งประชาชนในภาคตะวันออก และทางภาคเหนือ เคารพนับถือท่านเป็นอย่างมาก ท่านเป็นพระในสายของสมเด็จฯ วัดเขาบางทราย ซึ่งเป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกันกับ ท่านเจ้าคุณนรรัตน์


    ในปี พ.ศ.๒๕๐๕ ท่านพระครูใบฎีกาบัวเกตุ ปทุมสิโร ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ท่านได้ปกครองพระภิกษุสามเณรตามแนวทางของพระธรรมวินัยและบูรพาจารย์มาด้วยดี มาปี พ.ศ.๒๕๒๖ ท่านออกธุดงค์ในเขตภาคเหนือ แถบจังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๐ จึงได้ธุดงค์ไปถึงเขต อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขาจำนวนมาก ท่านหวังจะฟื้นฟูพระศาสนาที่นี่จึงได้สร้างวัดป่าริมธาราวาสขึ้น เพื่อสั่งสอนอบรมและส่งเสริมความเป็นอยู่ของชาวบ้านให้มีธรรมและพัฒนาให้เจริญขึ้น เมื่อพัฒนาวัดจนเจริญพร้อมทุกด้านแล้ว ท่านได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดแม่ปาง ต.สันติคีรี อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน หลังจากพัฒนาวัดแม่ลาน้อยจนเจริญเป็นวัดที่มีชาวบ้านและชาวเขาศรัทธา จนกลายเป็นศูนย์รวมแหล่งเผยแพร่ศาสนาพุทธที่สมบูรณ์แล้ว ท่านได้ย้ายไปจำพรรษาเพื่อพัฒนา วัดเขานกยูง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย จนเมื่อพัฒนาวัดเขานกยูง สำเร็จแล้ว ท่านจึงได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดปางกึ๊ด อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ จนถึงทุกวันนี้

    ที่ผ่านมาไม่ว่าพระอาจารย์บัวเกตุ จะย้ายไปจำพรรษาที่วัดไหน ไกลแสนไกล เดินทางลำบากแค่ไหน ลูกศิษย์ลูกหาก็จะตามไปกราบสักการะมิได้ขาด โดยเฉพาะชาวชลบุรี ศรีราชา พัทยา และใกล้เคียง ต่างพากันไปกราบท่าน และช่วยพัฒนาวัดที่ท่านไปจำพรรษาจนเจริญรุ่งเรืองทุกหนทุกแห่ง ปัจจุบันท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าปางกื๊ดกิตติธรรม อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เป็นวัดป่ากลางหุบเขาที่สงบสงัด เป็นสัปปายะสถานของพระกัมมัฏฐานผู้รักความสันโดษอย่างหลวงปู่บัวเกตุ ปทุมสิโร พระมหาเถระผู้มีจริยวัตรงดงามดั่งดอกบัว

    องค์ที่๑ ให้บูชา150บ.
    upload_2024-7-23_16-17-24.jpeg

    องค์ที่๒ ให้บูชา150บ.
    upload_2024-7-23_16-17-36.jpeg
     

แชร์หน้านี้

Loading...