!!! จับตาพายุลูกใหม่ ที่กำลังก่อตัว ณ ขณะนี้ !!!

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 25 มกราคม 2007.

  1. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <table bgcolor="white" border="1" bordercolor="blue" cellpadding="5" cellspacing="0" width="600"><tbody><tr><td align="center" bgcolor="blue"> Tropical Cyclone Formation Alert 98W : หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน </td></tr> <tr><td>
    <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td> ดูรูปด่านล่าง ประกอบด้วยนะครับบบบบบบบ

    [​IMG]

    วันจันทร์ ที่ 7 กรกฎาคม 2551

    08)Tropical Cyclone Formation Alert 98W : หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน

    07 กรกฎาคม 2551 เวลา 08.30 น. ตามเวลาประเทศไทย

    ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิคด้านตะวันตกตอนเหนือ ทะเลจีนใต้ และอ่าวไทย วันที่ 07 กรกฏาคม 2551 /9.00 น. ปรากฎพายุหมุนเขตร้อน 2 ลูก


    1) Tropical Cyclone Formation Alert 98W (20.8N 113.2E,15-20kts): เมื่อเวลา 08.00 วันนี้ (07 มิ.ย.51) หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 98W บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลาง ที่ละติจูด 20.8 องศาเหนือ ลองจิจูด 113.2 องศาตะวันออก. มีศูนย์กลางอยู่ห่ างประมาณ 222 กิโลเมตร ทางตอนใต้ของ ฮ่องกง . กำลังเคลื่อนตัวไปทางเหนือด้วยความเร็ว 10 นอต(19 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เมื่อ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา. จากการสำรวจที่พื้นผิวในกลางความกดอากาศต่ำปรากฏว่ามีความรุนแรงเพิ่มมากขึ่นในรอบ 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา. ภาพถ่าย QUIKSCAT เมื่อเวลา 5.00น.วันนี้(7ก.ค.51) บ่งบอกว่าแกนกลางพายุมีความเร็วลมประมาณ 15-20 นอต(28-37กิโลเมตรต่อชั่วโมง) โดยเพิ่มขึ้นอีกเป็น 10 นอต(19กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เมื่อช่วงที่ผ่านมา. แนวมรสุมจากความกดอากาศต่ำนี้บ่งบอกว่ามีความรุนแรงของกระแสลมพัดเข้าสู่ศูนย์กลางถึง 25 นอต(46กิโลเมตรต่อชั่วโมง). การก่อตัวของแถบฝนที่ศูนย์กลาง ไม่เป็นระเบียบ เนื่องจาก มีกระแสลมวินด์เชียร์ที่พัดมามีกำลังปานกลางถึงแรง ซึ่งลมวินด์เชียร์นี้ไม่เป็นผลต่อการก่อตัวของเมฆทำให้ยังคงมีการก่อตัวในแนวดิ่งอยู่. ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 15-20นอต(28-37 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความกดอากาศที่พื้นผิวประมาณ 1001 มิลลิบาร์ คลื่นทะเลสูงสุดประมาณ - เมตรในช่วง 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา / คาด หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 98W นี้ จะมีทิศทางเคลื่อนตัวไปทางเหนือต่อไปอีก 6-12 ชั่วโมงข้างหน้าหรือตั้งแต่ 14.30น.วันนี้(7ก.ค.51) เป็นต้นไป ทั้งนี้เนื่องจากศูนย์กลางพายุ***งจากชายฝั่งเพียงประมาณ 185 กิโลเมตร โดยมีแนวโน้มว่าจะทวีขึ้นเกือบเป็นพายุดีเปรสชันก่อนที่เข้าแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ตามคาดว่าจะทวีขึ้นเป็นดีเปรสชัน ในอีก 12-24 ชั่วโมงข้างหน้า หรือ 20.30 น.วันนี้(7ก.ค.51)เป็นต้นไป : ประกาศศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center หรือ JTWC )

    2) Tropical Disturbance 90W (18.3N 156.9E,10-15kts) : เมื่อเวลา 08.30 วันนี้ (07 มิ.ย.51) หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรง 90W บริเวณกลางมหาสมุทรแปซิฟิคตะวันตก มีศูนย์กลาง ที่ละติจูด 18.3 องศาเหนือ ลองจิจูด 156.9 องศาตะวันออก. มีศูนย์กลางอยู่ห่ างประมาณ 1,436 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะกวม . กำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกด้วยความเร็ว 2 นอต(4 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เมื่อ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมาและเกือบไม่เคลื่อนที่เลย. ภาพถ่ายดาวเทียมเคลื่อนไหวบ่งชี้ว่ากระแสลมชั้นล่างและชั้นกลางที่พัดหมุนมีกำลังอ่อนอยู่ แนวมรสุมด้านนอกที่พัดไปหมุนไปรอบๆยังคงมีกำลังอยู่. การก่อตัวที่ศูนยืกลางยังคงมีกำลังอยู่ แต่ค่อนข้างกระจัดกระจายในรอบ 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา. ที่ระดับชั้นบนของพายุสภาวะโดยทั่วไปมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง กระแสลมแอนติไซโคลนพัดเป็นระยะทางประมาณ 371 กิโลเมตร ด้านตะวันออกของหย่อมเป็นปัจจัยต่อการก่อตัวของพายุฝน ประกอบกับกระแสลมวินด์เชียร์ที่มีกำลังอ่อน. ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 10-15นอต(19-28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความกดอากาศที่พื้นผิวประมาณ 1006 มิลลิบาร์ คลื่นทะเลสูงสุดประมาณ - เมตรในช่วง 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา / คาด หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรง 90W นี้ จะมีทิศทางเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกต่อไปเล็กน้อยและแทบจะอยู่กับที่ในอีก 6-12 ชั่วโมงข้างหน้าหรือตั้งแต่ 14.30น.วันนี้(7ก.ค.51) เป็นต้นไป เนื่องจากบริเวณศูนย์กลางของหย่อมฯ ลูกนี้ ที่ศูนย์กลางยังคงมีการก่อตัวอย่างกระจัดกระจาย คาดว่าจะทวีขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อนในอีก 48-72 ชั่วโมงข้างหน้า หรือ ตั้งแต่ วันที่ 9 ก.ค.51/08.30น. เป็นต้นไป : ประกาศศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center หรือ JTWC )

    เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่บริเวณที่พายุหมุนเขตร้อนพัดผ่าน ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ประเทศไทยมีแนวโน้มอาจเผชิญกับพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 ระดับ 5 รุนแรงกว่าไต้ฝุ่นเกย์ ระดับ 3 เมื่อปี 2532 เพื่อความไม่ประมาท สูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน
    </td></tr> </tbody></table>
    </td></tr> <tr><td> <table align="center" border="0" width="100%"> <tbody><tr><td align="left"> [​IMG] </td> <td align="right"> โดยคุณ [​IMG]</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  2. พรตเรือนญาณเมตไตรย

    พรตเรือนญาณเมตไตรย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +111
    น่ากลัวจิงๆเลยครับ
     
  3. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,223
    ค่าพลัง:
    +15,632
    เมื่อวาน 7 ก.ค.51ดูข่าวพายุหมุนงวงช้าง ดึงน้ำทะเลหมุนเป็นลำสูงถึงเมฆ ที่เกิดในทะเลอ่าวไทย แต่ไม่รุนแรง แต่อาจจะเกิดพายุขนาดใหญ่กว่านี้ได้ ช่วยติดตามข่าวด้วยครับ
     
  4. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <big>2008-07-07 17:44:22 - Tornado - United Kingdom</big>

    <code> EDIS CODE: TO-20080707-17487-GBR
    Date & Time: 2008-07-07 17:44:22 [UTC]
    Area: United Kingdom, England, , Chorley

    Description:

    This event happened on 2008.07.06: If you were out and about in the Chorley area this weekend you may have spotted tornados whirling around. The Met Office confirmed officers have had an “unusual” number of calls about the strange looking clouds in this part of Lancashire yesterday. A Met Office spokesman said the ‘funnel clouds’ witnessed are tornadoes that do not touch the ground. At a Lancashire tourist attraction, two walkers came closer than most to the storm clouds, which can cause devastation when they ‘touch down.’ Andy Wooldridge, who runs Martin Mere Wetland Centre, near Burscough, and wife Jean, were walking round the centre when they were caught in the storm. Mr Wooldridge, who hails from Longton, near Preston, said the experience, “made us feel very lucky.” “The first thing I noticed was that the dogs were acting a bit strangely and refusing to move. “Then I heard a noise like a train, which must have been the edge of it.” He said the sky turned dark but he couldn’t feel the wind: “I have never experienced anything like it.” “We get some strange weather up here but nothing like that.” Mr Wooldridge, 50, said he didn’t even realise there had been a funnel cloud until he was informed by a neighbour. He said: “The tornado itself can only have missed us by seconds.” Lancashire Fire and Police services said there was no reported storm damage in Chorley.
    </code>
     
  5. ผู้หญิงธรรมดา

    ผู้หญิงธรรมดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2008
    โพสต์:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +535
    ตามข่าวจ้า
     
  6. Forever In LoVE

    Forever In LoVE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,349
    ค่าพลัง:
    +3,864


    ได้ข่าวว่า เมื่อวานนี้ มีประกาศข่าวเกี่ยวกับพายุ ที่อ่าวไทย
    ในรายการ เรื่องเด่นเย็ฯนี้ ช่วงคุณสรยุทธ แต่ซันไม่ได้ดูข่าวค่ะ ..

    เข้าไปค้นในเว็บกรมอุตุ ก็ยังไม่ได้ออกประกาศใดๆ ..มีสมาชิกท่านใดได้ชมข่าว ...ช่วยเล่าให้ฟังบ้างนะคะ

    เช้าวันนี้ ทางเทศบาลตำบลบางเมือง ประกาศเสียงตามสาย ถึงรายการเดียวกันนี้
    โดยทางกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกมาพูดในรายการดังกล่าว

    ว่าให้จับตาดูพายุลูกที่ 3 ซึ่ง ถ้า ก่อตัวที่อ่าวไทย ภายใน ช่วง 7 วัน
    จังหวัดสมุทปราการและใกล้เคียงก็จะได้รับผลกระทบโดยตรง
    ทางเทศบาลตำบลบางเมือง ก็จะช่วยติดตามข่าว และประกาศให้ทราบเป็นระยะ ๆ
     
  7. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    [​IMG]
    พายุทะเล- ภาพพายุงวงช้างก่อตัวในทะเลกระบี่ ระหว่างเกาะพีพีกับเกาะศรีบอยา ชาวบ้านบนฝั่งแห่ดูกันอย่างตื่นเต้น แต่พอพายุเคลื่อนใกล้ชายฝั่งก็สลายตัวไป โดยไม่ได้สร้างความเสียหายแก่เรือประมงหรือหมู่บ้านใดๆ เมื่อ 7 ก.ค.
     
  8. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791

    Tropical Cyclone Formation Alert 98W CANCELLED : ยกเลิกคำประกาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อน 98W
    08 กรกฎาคม 2551 เวลา 01.30 น. ตามเวลาประเทศไทย

    ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิคด้านตะวันตกตอนเหนือ ทะเลจีนใต้ และอ่าวไทย วันที่ 08 กรกฏาคม 2551 /01.30 น. ปรากฎพายุหมุนเขตร้อน 3 ลูก
    1) Tropical Cyclone Formation Alert 98W CANCELLED (23.0N 114.6E,15kts): เมื่อเวลา 22.00 วานนี้ (07 มิ.ย.51) ทางศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่น สหรัฐฯ ณ มลรัฐฮาวาย ได้ยกเลิกคำประกาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อน หมายเลข 98 บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลาง ที่ละติจูด 22.9 องศาเหนือ ลองจิจูด 114.3 องศาตะวันออก. บริเวณตอนใต้ของประเทศจีนหรือด้านตะวันออกของฮ่องกง และ ขณะนี้ 01.30 น.วันนี้(08ก.ค.51) ที่ละติจูด 23.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 114.6 องศาตะวันออก. มีศูนย์กลางอยู่ห่ างประมาณ 74 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงเหนือของฮ่องกง . กำลังเคลื่อนตัวไปทางเหนือค่อนทางตะวันออกด้วยความเร็ว 10 นอต(19 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เมื่อ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา. ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นว่าความกดอากาศต่ำได้อ่อนกำลังอย่างรวดเร็ว เนื่องจากได้เข้าแผ่นดินใหญ่ทำให้การหมุนของพายุได้ถูกทำลายไป . จากการพยากรณ์ของฮ่องกงล่าสุด ได้รายงานว่าหย่อมความกดอากาศต่ำได้เคลื่อนตัวผ่านไปทางตะวันออกของฮ่องกง และลมพัดลงไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ความกดอากาศที่พื้นผิวเพิ่มขึ้นที่ 1002 มิลลิบาร์ ศูนกลางพายุได้กระจัดกระจายไป. ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 15นอต(28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความกดอากาศที่พื้นผิวประมาณ 1002 มิลลิบาร์ คลื่นทะเลสูงสุดประมาณ - เมตรในช่วง 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา / คาด หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 98W นี้ จะมีทิศทางเคลื่อนตัวไปทางเหนือค่อนทางตะวันออกต่อไปอีก 6-12 ชั่วโมงข้างหน้าหรือตั้งแต่ 07.30น.วันนี้(08ก.ค.51) เป็นต้นไป เนื่องจากหย่อมฯได้เคลื่อนเข้าสู่ชายฝั่งคาดว่าจะทำให้พายุอ่อนกำลังต่อไปเรื่อย ๆ และไม่สามารถที่จะพัฒนาเป็นพายุหมุนเขตร้อนได้อีกต่อไป : ประกาศศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center หรือ JTWC )

    2) TCFP-91W (21.1N 128.5E,15kts) : เมื่อเวลา 01.30 วันนี้ (08 มิ.ย.51) หย่อมความกดอากาศต่ำ 91W บริเวณบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ มีศูนย์กลาง ที่ละติจูด 21.1 องศาเหนือ ลองจิจูด 128.5 องศาตะวันออก. มีศูนย์กลางอยู่ห่ างประมาณ - กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ . กำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกค่อนทางเหนือเล็กน้อยด้วยความเร็ว 5 นอต(9 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เมื่อ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมาพายุลูกนี้เกือบไม่เคลื่อนที่เลย. ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 15นอต(28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความกดอากาศที่พื้นผิวประมาณ 1010 มิลลิบาร์ คลื่นทะเลสูงสุดประมาณ - เมตรในช่วง 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา / คาด หย่อมความกดอากาศต่ำ 91W นี้ จะมีทิศทางเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกต่อไปในอีก 6-12 ชั่วโมงข้างหน้า แต่ยังไม่มีแนวโน้มทวีขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อนในอีก 2-3 วันข้างหน้า : ประกาศศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center หรือ JTWC )


    3) Tropical Disturbance 90W (20.9N 151.5E,10-15kts) : เมื่อเวลา 01.30 วันนี้ (08 มิ.ย.51) หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรง 90W บริเวณกลางมหาสมุทรแปซิฟิคตะวันตก มีศูนย์กลาง ที่ละติจูด 20.9 องศาเหนือ ลองจิจูด 151.5 องศาตะวันออก. มีศูนย์กลางอยู่ห่ างประมาณ 1,232 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะกวม . กำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกด้วยความเร็ว 2 นอต(4 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เมื่อ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมาและเกือบไม่เคลื่อนที่เลย. จากภาพถ่ายดาวเทียมเคลื่อนไหวบ่งบอกว่ามีการก่อตัวอย่างอ่อนๆ เป็นแนวยาวจากเกาะกวมไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะกวม. ภาพถ่าย QUIKSCAT บ่งบอกว่าความเร็วลมยังคงไม่อ่อนกำลังลงที่ 10-15 นอต(19-28กิโลเมตรต่อชั่วโมง) โดยมีกระแสลมพัดอย่างชัดเจนพัดออกไปด้านตะวันตก และพัดไปด้านเหนือของ หย่อมฯ ซึ่งดังกล่าวเป็นบริเวณแนวมรสุมพาดผ่านเป็นแนวยาว. คลื่นกระแสลมตะวันตกได้ช่วยให้พายุมีความรุนแรงบริเวณด้านใต้ของพายุ. ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 10-15นอต(19-28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความกดอากาศที่พื้นผิวประมาณ 1006 มิลลิบาร์ คลื่นทะเลสูงสุดประมาณ - เมตรในช่วง 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา / คาด หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรง 90W นี้ จะมีทิศทางเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกต่อไปเล็กน้อยและเกือบอยู่กับที่ในอีก 6-12 ชั่วโมงข้างหน้าหรือตั้งแต่ 07.30น.วันนี้(08ก.ค.51) เป็นต้นไป เนื่องจากสภาวะโดยทั่วไปของหย่อมฯมีการก่อตัวอยู่และกระลม Vertical Wind Shear ที่มีกำลังอ่อน ทำให้พายุมีการพัฒนาต่อไป คาดว่าจะทวีขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อนในอีก 48-72 ชั่วโมงข้างหน้า หรือ ตั้งแต่วันที่ 10 ก.คง51 เป็นต้นไป : ประกาศศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center หรือ JTWC )
    - (เพิ่มเติม)
    [​IMG]

    ภาพถ่ายดาวเทียม INFRARED ทุกๆ 1 ชม.
    [​IMG]
    http://agora.ex.nii.ac.jp/digital-typhoon/latest/globe/2048x2048/ir.jpgCLICK เพื่อดูภาพขนาดใหญ่
    http://agora.ex.nii.ac.jp/digital-typhoon/latest/animation/MPEG-2/last-120h.mpgCLICK เพื่อดูภาพถ่ายดาวเทียมเคลื่อนไหว 120 ชั่วโมงที่ผ่านมา หรือ เมื่อ 5 วันที่ผ่านมา UPDATE ทุกๆ 1 ชั่วโมง

    *******

    ภาพการคาดหมายเส้นทางการเดินพายุ ล่วงหน้า 5 วัน ทุกๆ 6 ชม.
    บริเวณพื้นที่ตาข่ายสีดำ รูปกรวย(โคน) แสดงถึง ความไม่แน่นอน/ความเป็นไปได้ที่จะได้รับผลกระทบหรือศูนย์กลางพายุอาจจะพัดผ่าน
    ***เครื่องของท่านอาจไม่ปรากฏภาพดังกล่าว ให้ CLICK ขวา > Show Picture***
    ที่มา Joint Typhoon Warning Center หรือ JTWC *ต้นฉบับ*
    [​IMG]
    http://www.solar.ifa.hawaii.edu/Tropical/Gif/nwp.latest.gif

    *******
     
  9. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <big>2008-07-08 04:00:12 - Tornado - USA</big>

    <code> EDIS CODE: TO-20080708-17499-USA
    Date & Time: 2008-07-08 04:00:12 [UTC]
    Area: USA, State of North Dakota, , Rolla

    Description:

    A tornado tore through several towns in northern North Dakota on Monday, destroying at least one building, damaging others and injuring at least two people, authorities said. The National Weather Service said the tornado was reported in Rolla at 3:30 p.m. Monday. Rolette County Commissioner Eldon Moors, who also is the county's acting emergency manager, said he followed the tornado as it traveled eastward about 20 miles from Dunseith to Rolla. He said it cut a swath of damage about 1 1/2 blocks wide and hit up to 15 homes. He said one home had only walls standing and at least two had roofs blown off. Moors said everyone in Rolla was accounted for, but that the north end of the town was "quite a mess." "We were lucky," he said. A man from Belcourt, 6 miles west of Rolla, was reported to have been flown to a hospital in Minot after being trapped in his home, Gov. John Hoeven's office said. The man's name wasn't released. A firefighter in Rolla was treated at a hospital for minor injuries and released, a county official said. "We were under our basement for about 10 minutes before the tornado actually hit," Rolla resident Sheila Zinke said. "I was watching it from my basement, and I actually saw it come across the north section of town. We could tell that it probably did some damage because we saw some things flying up in the air."

    Zinke said the town's tornado siren went off well before the tornado hit, giving her and family members visiting from Arizona and Texas time to get to the basement. Power was shut off to the area as a safety precaution. Zinke, a teacher, said she text-messaged two of her students and they told her the roofs were blown off their homes but no one was hurt. Hoeven, who planned to tour the damage Tuesday morning, said state resources would be available to help the area hit by the twister. An emergency operation center has been set up at Our Savior's Lutheran Church in Rolla. The weather service said the Towner County sheriff's office reported two tornadoes late Monday afternoon, near Rocklake. Warnings and watches were out for a number of counties.


    Number of Injured persons: 2 persons
    Damage level: Moderate (Level 2)
    </code>
     
  10. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    1
    วิเคราะห์ เจาะลึก ผลกระทบกับประเทศไทย จากบทเรียน สึนามิ สู่ พายุ นาร์กีส และ แผ่นดินไหวในประเทศจีน จากภัยพิบัติ คลื่นสึนามิ พายุ นาร์กีสในประเทศพม่า และแผ่นดินไหวในประเทศจีน ที่เพิ่งผ่านไป เป็นข้อมูลที่ยืนยันถึงประเภทของภัยพิบัติที่มีสาเหตุการเกิดแตกต่างกัน และพร้อมที่จะเกิดในเวลาไล่เลี่ยกัน กล่าวคือ แผ่นดินไหว และคลื่นสึนามิ มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเปลือกโลก ในขณะที่พายุ นาร์กีส จะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ นี่คือสัญญาณเตือนสาหรับประเทศไทย “เราพร้อมหรือยัง” เมื่อพิจารณา ภัยพิบัติสึนามิ กับพายุนาร์กีส (รูปที่ 1) ในแง่ของความรุนแรง จะพบว่า แรงกระทาต่อโครงสร้างอาคารจาก คลื่นสึนามิ มีสูงกว่า สามารถพัดพาเรือประมงขนาดใหญ่ขึ้นฝั่งหลายร้อยเมตร ในขณะที่พายุทาให้เรือจมบริเวณปากอ่าว อาคารบ้านเรือนส่วนใหญ่ไม่สามารถอยู่ได้จากแรงสึนามิ (ยกเว้นเฉพาะอาคารที่มั่นคง) ในขณะที่อาคารหลายแห่งยังคงสามารถต้านทานแรงจากพายุได้ แต่อาจได้รับความเสียหายบริเวณหลังคาบ้าน เนื่องจากแรงลม นอกจากนี้ การเฝ้าระวังการเคลื่อนตัวพายุขึ้นฝั่ง สามารถคาดการณ์ได้แม่นยาภายใน 48 ชั่วโมง ทาให้มีเวลาในการเตรียมความพร้อมรับภัย สามารถเคลื่อนย้าย หรือ อพยพผู้คนไปในที่ปลอดภัยได้ แต่สาหรับสึนามิ ซึ่งเกิดจากแผ่นดินไหวที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ จึงมีเวลาจากัดในการเตือนภัย และการอพยพ รูปที่ 1 การเปรียบเทียบความรุนแรงระหว่าง คลื่นสึนามิ กับ พายุ นาร์กีส

    2
    ในอดีต จนปัจจุบัน จานวนการเกิดพายุไซโคลน ในอ่าวเบงกอลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากเฉลี่ยปีละ 5-6 ลูก เป็นปีละ 9-10 ลูก แต่พายุส่วนใหญ่มักจะเกิดบริเวณเส้นศูนย์สูตร หรือเหนือเส้นศูนย์สูตร โดยจะเคลื่อนตัวจากทิศตะวันออก ไปยังทิศตะวันตก เนื่องจากอิทธิพลลมสินค้า และเมื่อเจอกับอิทธิพลการหมุนตัวของโลกรอบตัวเอง พายุจึงเคลื่อนที่ไปทางทิศเหนือ จึงมักไม่ส่งผลกระทบรุนแรงกับประเทศไทย แต่ประเทศที่อยู่ในอ่าวเบงกอลมักจะได้รับผลกระทบที่รุนแรง เช่น กรณีของประเทศบังคลาเทศ ซึ่งมีความหนาแน่นของประชากรประมาณ 1,000 คน ต่อตารางกิโลเมตร (ลาดับที่ 11 ของโลก) และอยู่บริเวณที่ราบลุ่มต่า ดังนั้นเมื่อเกิดพายุซัดฝั่งซึ่งอาจส่งผลกระทบเป็นบริเวณกว้างหลายร้อยตารางกิโลเมตร จึงทาให้มีผู้เสียชีวิต และผู้ได้รับผลกระทบเป็นหลักหมื่น ถึงหลักแสนคน ปัจจุบันประเทศบังคลาเทศ มีประชากรทั้งสิ้น 150 ล้านคน จากข้อมูลในอดีต มีการระบุว่าประชาชนกว่า 200 ล้านคนเสียชีวิตจากพายุไซโคลน ตัวอย่างเหตุการณ์ พายุไซโคลนโบราในปี พ.ศ. 2513 (รูปที่ 2) ซึ่งจัดอยู่ในความรุนแรงระดับ 3 (ความเร็วลม 205 กม/ชม) พัดเข้าปะทะชายฝั่งโดยมีคลื่นพายุสูง 1.2 ม มีผู้เสียชีวิตประมาณ 500,000 คน ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 บังคลาเทศต้องเผชิญกับพายุในระดับ 4 (ความเร็วลม 260 กม/ชม) และคลื่นพายุสูง 6 ม มีผู้เสียชีวิตกว่า 140,000 คน และเมื่อ 6 ปีที่แล้ว (ปี พ.ศ. 2545) พายุ ไซโคลนซีด (Sidr) ซึ่งมีความรุนแรงระดับ 4 เช่นเดียวกัน พัดเข้าชายฝั่งประเทศบังคลาเทศ มีผู้เสียชีวิตกว่า 3,000 คน ดังนั้นจะเห็นได้ว่า จากจานวนผู้เสียชีวิต หลักแสนในอดีต 50 ปี ลดลงเป็นหลักพันคนในปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่า ประเทศบังคลาเทศมีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นตามลาดับ ปัจจัยหลัก 3 ประการที่สะท้อนความสาเร็จคือ ระบบเตือนภัย แผนการเตรียมพร้อมรับภัย และ อาคารหลบภัย อย่างไรก็ตาม บังคลาเทศ ยังมีความต้องการอาคารหลบภัยอีกกว่า 2,000 หลัง ในปีนี้ตามรายงานของ UN รูปที่ 2 พายุไซโคลนครั้งรุนแรง 3 ลูก ในประเทศบังคลาเทศ

    3
    ประสบการณ์ของประเทศบังคลาเทศ สามารถอธิบายความรุนแรงของพายุ นาร์กีส ได้อย่างดี กล่าวคือ ด้วยความรุนแรงพายุในระดับเดียวกัน (ระดับ 4) ในปัจจุบัน ความเสียหายต่อประเทศพม่าคล้ายๆกับความเสียหายในอดีตของประเทศบังคลาเทศ ในปี พ.ศ. 2534 การขาดระบบเตือนภัย การขาดแผนการเตรียมพร้อมรับภัย และ การขาดอาคารหลบภัย (รูปที่ 3) จึงเป็นสาเหตุหลักของความสูญเสียในครั้งนี้ ปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตกว่า 30,000 คน รวมผู้สูญหายอีกกว่า 20,000 คน (ตัวเลขยังไม่นิ่ง) นอกจากนี้ จากภาพถ่ายดาวเทียม NASA MODIS พบว่าในขณะที่พายุขึ้นฝั่งมีฝนตกหนักในพื้นที่ 60 ซม (TRMM satellite) ทาให้เกิดน้าท่วมสูงประมาณ 3 ม ตามแนวทางการเคลื่อนตัวของพายุจากปากแม่น้าอิรวดี ไปยังกรุงย่างกุ้ง การระบายน้าเป็นไปได้ยากเนื่องจากเป็นที่ราบลุ่มต่า (รูปที่ 4)
    รูปที่ 3 ตัวอย่างอาคารหลบภัย ในประเทศบังคลาเทศ

    4
    รูปที่ 4 ข้อมูลเรดาร์น้าฝน และภาพดาวเทียมก่อน-หลัง พายุ นาร์กีส เข้าถล่ม
    สาหรับประเทศไทย ปัจจุบัน เรามีอาคารหลบภัยเพียงแห่งเดียว (รูปที่ 5) ที่บ้านบางเนียง อาเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ซึ่งก่อสร้างภายหลังจากเหตุการณ์คลื่นสึนามิ ในปี พ.ศ. 2547 โดยใช้นามว่า “อาคารหลบภัยเฉลิมพระเกียรติ 48 พรรษา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาฑินัดดามาตุ” ในขณะที่ความเสี่ยงจากพายุไซโคลนที่จะพัดเข้าประเทศไทยฝั่งทะเลอันดามัน มีโอกาสน้อยมาก แต่สาหรับพายุในทะเลจีนใต้ที่จะพัดเข้าชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันออก รวมทั้งบริเวณอ่าวไทย มีโอกาสเป็นไปได้สูง โดยจากข้อมูลกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่าโดยเฉลี่ยมีพายุพัดเข้ามาประมาณ 2-3 ลูกต่อปี กรณีพายุเกิดที่เส้นรุ้งสูงๆ โดยส่วนใหญ่ก็จะพัดไปทางเหนือเข้าประเทศจีน ญี่ปุ่น มีบางลูกอาจพัดเข้าทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งพายุเหล่านี้มักจะอ่อนกาลังลงกลายเป็นพายุโซนร้อน และพายุดีเปรสชัน เนื่องจากพายุพัดผ่านแนวปะทะแผ่นดินประเทศเวียดนาม และลาวตามลาดับ นาความชุ่มชื้นมาสู่ประเทศ เขื่อนต่างๆ สามารถกักเก็บน้าได้อย่างเต็มที่ ทาให้มีปริมาณน้ากิน น้าใช้เพียงพอในปีถัดไป อย่างไรก็ตาม กรณีที่พายุเกิดขึ้นที่เส้นรุ้งต่าๆ ก็อาจจะพัดเข้าสู่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ตั้งแต่ จังหวัดประจวบคิรีขันธ์ ลงไปถึงจังหวัดสงขลา เช่น กรณีของพายุไต้ฝุ่นเกย์ ที่พัดเข้าจังหวัดชุมพรในปี พ.ศ. 2532 มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 400 คน และ พายุไต้ฝุ่นลินดา ในปี พ.ศ. 2540 (รูปที่ 6) ดังนั้น มาตรการเตรียมพร้อมรับภัย รวมทั้ง อาคารหลบภัย จึงเป็นเรื่องที่สาคัญ

    5
    รูปที่ 5 อาคารหลบภัยเฉลิมพระเกียรติฯ
    รูปที่ 6 เส้นทางพายุไต้ฝุ่นเกย์ และ ลินดา (www.en.Wikipedia.org) สาหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.8 ริกเตอร์ ในมณฑลเสฉวน ประเทศจีน เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ที่ผ่านมา นับเป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ทาให้ประชาชน และอาคารบ้านเรือนในรัศมี 100 กม. ได้รับผลกระทบที่รุนแรง โดย USGS (รูปที่ 7) ได้รายงานระดับความเข้มของแผ่นดินไหวอยู่ที่ระดับ 6-9 รอบจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว ซึ่งบ่งชี้ถึงความเสียหายของอาคารบ้านเรือนในระดับรุนแรง ปัจจุบันมีรายงานผู้เสียชีวิตกว่า 20,000 คน ผู้สูญหายอีกกว่า 30,000 คน (ตัวเลขยังไม่นิ่ง) เมื่อพิจารณาบริเวณจุดกาเนิดแผ่นดินไหว พบว่าบริเวณดังกล่าว เป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง (รอยเลื่อน ลองเมนชาน มีการเคลื่อนตัวแบบขบกันประมาณ 4-8 มม/ปี ดังรูปที่ 8) ซึ่งประเทศจีนทราบดีว่ามีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวบริเวณนี้ (แต่ไม่สามารถรู้ได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร และมีขนาดความรุนแรงเท่าใด) ทั้งนี้เนื่องจาก การคาดการณ์แผ่นดินไหวในระยะสั้น (< 1 ปี) ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน แทบเป็นไปไม่ได้เลย

    6
    รูปที่ 7 แผนที่แสดงความเข้มแผ่นดินไหวทที่ประเทศจีน (USGS) รูปที่ 8 แผนที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว และ รอยเลื่อน ลองเมนชาน (HE and Tsukuda, 2003)

    7
    จากข้อมูลในอดีต จีนเคยประสบกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่รุนแรงหลายครั้ง โดยมีรายงานว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8 ริกเตอร์ที่ จังหวัด ชานซี (Shanxi) ในปี พ.ศ. 2099 มีผู้เสียชีวิตกว่า 800,000 คน ซึ่งนับเป็นเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในโลก ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 จีนประสบกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.8 ริกเตอร์ ในมณฑลถังซาน (Tangxan) มีผู้เสียชีวีต ประมาณ 250,000 คน ซึ่งก็นับเป็นแผ่นดินไหวที่มีผู้สูญเสียมากที่สุดในศตวรรษที่ 20 เหตุการณ์ แผ่นดินไหวครั้งนี้ มีจุดศูนย์กลางใกล้กับชายแดนของประเทศพม่า และอยู่ห่างจากชายแดนประเทศไทยด้านจังหวัดกาญจนบุรีกว่า 1,500 กม. โดยแม้ว่าจะสามารถรับรู้ความรู้สึกได้ในอาคารสูงในกรุงเทพมหานครหลายแห่ง ที่อยู่ห่างจากจุดกาเนิดแผ่นดินไหวเกือบ 2,000 กม. หลายฝ่ายจึงเกิดความกังวลว่า ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบอย่างไร และมีความรุนแรงขนาดไหน เมื่อพิจารณาความเสี่ยงของการเกิดแผ่นดินไหวขนาดรุนแรง (> 7 ริกเตอร์) ในประเทศไทย พบว่ามีความเป็นไปได้น้อยมาก เนื่องจากไม่มีรอยเลื่อนขนาดใหญ่พาดผ่าน (มีเฉพาะรอยเลื่อนแขนงที่ยังคงมีพลัง ตามข้อมูลของกรมทรัพยากรธรณี ดังรูปที่ 9)
    รูปที่ 9 รอยเลื่อนที่มีพลังภายในประเทศไทย (กรมทรัพยากรธรณี)

    8
    อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า เมื่อไม่มีรอยเลื่อนขนาดใหญ่ เราจะไม่ได้รับผลกระทบ ในทางกลับกัน ความรุนแรงของแผ่นดินไหว (รูปที่ 10) สามารถจาแนกได้เป็นความรุนแรงจากผลขั้นที่ 1 (ความเสียหายรอบๆจุดกาเนิดแผ่นดินไหว) และ ความรุนแรงจากผลขั้นที่ 2 (ความเสียหายจากการเคลื่อนตัวของคลื่นแผ่นดินไหวในดินอ่อน การเกิดไฟไหม้ และ การเกิดคลื่นสึนามิ) ซึ่งความเสียหายจากผลขั้นที่ 2 จะมีผลกระทบต่อประเทศไทย และอาจมีความรุนแรงมากกว่าความเสียหายจากผลขั้นที่ 1 รูปที่ 10 ความรุนแรงจากแผ่นดินไหว
    ดังนั้น บริเวณรอยเลื่อนที่เป็นจุดเสี่ยงสาหรับประเทศไทย จึงมีอยู่ 3 พื้นที่ (รูปที่ 11) กล่าวคือ จุดที่ 1 เป็นบริเวณรอยเลื่อน Sagaing ที่พาดผ่านตอนกลางของประเทศพม่าซึ่งอยู่ใกล้ชายแดนประเทศไทย (ประมาณ 300 กม) เป็นรอยเลื่อนลักษณะเฉือน และมีพลังสูง ซึ่งในอดีตเคยเกิดแผ่นดินไหว ขนาด 6-8 ริกเตอร์กว่า 20 ครั้ง (รูปที่ 13) โดยมีครั้งที่รุนแรงที่สุด (8 ริกเตอร์) ในปี พ.ศ. 2455 ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ในจังหวัดกาญจนบุรี (เขื่อน วชิราลงกรณ์ และ เขื่อนศรีนครินทร์) แผ่นดินไหว (ขนาด 6.8 ริกเตอร์) ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2546 บริเวณเมือง Taungdwingy ทาให้เกิดความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือน วัดวาอาราม สะพานหลายแห่งในประเทศพม่า อย่างไรก็ตาม ไม่มีรายงานความเสียหายต่อตัวเขื่อนทั้งสองในประเทศไทย นอกจากนี้ จากข้อมูลการสารวจความเสียหายต่อตัวเขื่อนจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในอดีตทั่วโลก พบว่ากรณีเขื่อนหินถม แกนดินเหนียว (เช่นเดียวกับเขื่อนศรีนครินทร์) สามารถรับแรงจากแผ่นดินไหวขนาด 7.5 ริกเตอร์ (PGA = 0.5g) ได้อย่างปลอดภัย ขณะที่เขื่อนหินถม ดาดหน้าด้วยคอนกรีต (เช่นเดียวกับเขื่อนวชิราลงกรณ์) สามารถรับแรงจากแผ่นดินไหวขนาด 6.5 ริกเตอร์ (PGA = 0.2g) ได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ ข้อมูลในอดีตของกรมอุตุนิยมวิทยา ยังพบว่า เคยเกิด

    9
    แผ่นดินไหวขนาด 5.9 ริกเตอร์ บริเวณ อาเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ในปี พ.ศ. 2526 โดยไม่มีผลกระทบต่อเขื่อนทั้งสอง (ขณะนั้นกาลังมีการก่อสร้างเขื่อน วชิราลงกรณ์) การเกิดแผ่นดินไหวขนาด >
    8 ริกเตอร์ บริเวณรอยเลื่อน Sagaing จะส่งผลกระทบต่อเขื่อนทั้งสองอย่างไรจึงเป็นประเด็นที่ต้องทาการจาลองเหตุการณ์ และศึกษาอย่างละเอียดต่อไป
    รูปที่ 12 บริเวณพื้นที่จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่ อาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทย

    10
    รูปที่ 13 จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวบริเวณรอยเลื่อน Sagaing ในประเทศพม่า ในส่วนของ กรุงเทพมหานคร ที่หลายฝ่ายเป็นกังวล จากข้อมูลงานวิจัยของศูนย์ผู้เชี่ยวชาญแผ่นดินไหว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ชั้นดินอ่อนของ กทม. สามารถทาให้ขนาดของคลื่นแผ่นดินไหวขยายตัวได้ 3-4 เท่า (PGA = 0.05g-0.075g) ดังตัวอย่าง เหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.1 ริกเตอร์ ในประเทศเม็กซิโก ในปี พ.ศ. 2527 มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 9,000 คน แม้ว่ากรุงเม็กซิโก อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวกว่า 300 กม. แต่อาคารสูง 6-15 ชั้นหลายหลังเสียหายอย่างหนัก ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของคลื่นแผ่นดินไหวในดินอ่อน การเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ (>7 ริกเตอร์) ทุกครั้ง ทาให้เกิดคลื่นแผ่นดินไหวที่มีความถี่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับ ธรณีสัณฐาน ลักษณะการเคลื่อนตัว รวมทั้งขนาดรอยเลื่อน ดังนั้น ความถี่ดังกล่าวอาจเสริมกับการสั่นของอาคารโดยธรรมชาติ ซึ่งอาคารสูง (มากกว่า 5 ชั้น) จะมีความถี่ในการสั่นต่า หรือ สั่นโคลงอย่างช้าๆ ในขณะที่อาคารต่า (สูงน้อยกว่า 5 ชั้น) จะมีการสั่นของอาคารสูง หรือสั่นโคลงเร็ว ผลกระทบกับอาคารจึงขึ้นอยู่กับขนาด และความถี่ของการสั่นไหว และแน่นอนที่สุดการออกแบบอาคาร ซึ่งโดยส่วนใหญ่อาคารสูง หรืออาคารสาธารณะ ควรจะให้ความสาคัญกับการออกแบบรับแรงจากแผ่นดินไหว (ดูประกาศกฎกระทรวงแผ่นดินไหว) สาหรับอาคารต่า เช่น อาคารที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ ที่มีความสูงน้อยกว่า 5 ชั้น โดยทั่วไปมักไม่ใส่ใจในผลกระทบจากแรงแผ่นดินไหว จึงมีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายได้มากกว่า
    จุดที่ 2 เป็นจุดกาเนิดแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย บริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์ และ หมู่เกาะอันดามัน ตามแนวรอยเลื่อน Sunda ซึ่งอยู่ห่างจากจังหวัดภูเก็ตประมาณ 600 กม โดยเป็นรอยเลื่อนเดียวกันกับการเกิด

    11
    แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่ผ่านมา การเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่บริเวณนี้ มักจะทาให้เกิดคลื่นสึนามิ ที่สามารถเคลื่อนตัวเข้ามาโจมตีชายฝั่งทะเลประเทศไทยได้ภายในเวลา ไม่ถึง 1 ชม ซึ่งจาผลการวิจัย (รูปที่ 14) พบว่าความสูงคลื่นที่เข้าปะทะชายฝั่ง มีความรุนแรงมากกว่า (หรือใกล้เคียงกันในบางพื้นที่) เหตุการณ์ในปี 2547 ดังนั้น การสร้างความตระหนักให้กับชุมชน การมีระบบเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการมีอาคารหลบภัยในพื้นที่เสี่ยง จึงมีความสาคัญมาก
    รูปที่ 14 กรณีการเกิดแผ่นดินไหว และคลื่นสึนามิที่จุดที่ 2 จุดที่ 3 เป็นจุดกาเนิดแผ่นดินไหวในมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณทิศตะวันตกของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งแม้ว่าจุดนี้จะอยู่ห่างจาก ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยกว่า6,000 กม แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดคลื่นสึนามิเคลื่อนตัวเข้ามา ดังตัวอย่างเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดของโลก (9.5 ริกเตอร์) ในปี พ.ศ. 2503 ที่ประเทศชิลี ทาให้เกิดคลื่นสึนามิ (สูง 3-4 ม) เคลื่อนตัวมาโจมตีประเทศญี่ปุ่นซึ่งอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวประมาณ 17,000 กม ภายในเวลา 22 ชม โดยมีผู้เสียชีวิตกว่า 140 คน เช่นเดียวกับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่คลื่นสึนามิเคลื่อนตัวข้ามทวีปไปโจมตีชายฝั่งหลายประเทศในทวีปอัฟริกา ที่อยู่ห่างไกลกว่า 4,000 กม จากผลการวิจัยพบว่า กรณีเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ บริเวณจุดที่ 2 นี้ (รูปที่ 15) จะทาให้เกิดคลื่นสึนามิ เคลื่อนตัวเข้ามายังชายฝั่งทะเลภาคใต้ภายในเวลา 14 ชม และเริ่มเข้าสู่อ่าวไทยภายในเวลา 19 ชม โดยมีความสูงคลื่นตั้งแต่ 0.5 – 2.5 ม แม้ว่าความสูงคลื่นจะไม่มากนัก แต่เนื่องจาก สึนามิเป็นคลื่นยาวที่มีพลังงานมหาศาล จึงเป็นอันตรายมากต่อชีวิตและทรัพย์สิน

    12
    รูปที่ 15 กรณีการเกิดแผ่นดินไหว และคลื่นสึนามิที่จุดที่ 3 กล่าวโดยสรุป บทความนี้ ไม่ได้มุ่งหวังที่จะสร้างความตื่นตระหนก ตกใจให้กับคนไทย หรือชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยแต่ประการใด ด้วยจิตสานึกที่เป็นคนไทย และน้อมรับพระบัญชาจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาฑินัดดามาตุ ในการเฝ้าระวัง ติดตามผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยจากแผ่นดินไหว และคลื่นสึนามิ เพื่อให้ชุมชนปลอดภัยจากภัยพิบัติอย่างถาวร รศ. ดร. เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อานวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต


    http://www.thaidisaster.com/news/%C...D8%E1%C5%D0%E1%BC%E8%B9%B4%D4%B9%E4%CB%C7.pdf
     
  11. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <table bgcolor="white" border="1" bordercolor="blue" cellpadding="5" cellspacing="0" width="600"> <tbody><tr><td align="center" bgcolor="blue"> ได้ยินมาว่าเดือนสิงหาคม,กันยายน จะมีพายุใหญ่เข้ากรุงเทพฯจริงมั้ย </td></tr> <tr><td>
    <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td> เห็นมีคนบอกว่าช่วงเดือนสิงหาคมกับกันยายนจะมีพายุขนาดใหญ่เข้ากรุงเทพฯอาจจะน้ำท่วมฉับพลันระดับน้ำสูงประมาณเกือบ 2 เมตร ไม่ทราบว่าจริงมั้ยครับ เลยอยากจะสอบถามว่ามีความเป็นไปได้เยอะมั้ยครับ </td></tr> </tbody></table>
    </td></tr> <tr><td> <table align="center" border="0" width="100%"> <tbody><tr><td align="left">
    </td> <td align="right"> โดยคุณ PP [​IMG] (58.9.103.139) [10-07-2008 11:32] </td></tr> </tbody></table> </td></tr> </tbody></table>

    <hr color="#ff1493" width="600">
    <table bgcolor="#e0ffff" border="1" bordercolor="#1e90ff" cellpadding="2" cellspacing="0" width="600"> <tbody><tr><td> <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td align="left"> ความเห็นที่ 1 โดยคุณ goppy [​IMG] (58.10.234.174) [10-07-2008 13:20] #18031 </td> <td align="right">
    </td> </tr></tbody></table> <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td>
    มันเป็นการคาดการณ์นะครับแต่มีแนวโน้มความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงก็ขอให้อย่ามีเลยครับเพราะผมว่าตอนนี้บ้านเมืองก็แย่เต็มที่แล้วแต่อย่างที่ทราบครับอากาศปีนี้ผมว่าแปลกกว่าทุกปีนะครับตั้งแต่ Cyclone Nagis แล้วครับบอกคำเดียวครับผมก็กังวลอยู่ไม่น้อยนะครับยิ่ง ในหลวงท่านทรงออกมาเตือนด้วยพระองค์เอง ผมว่าเตรียมตัวไว้ไม่เสียหายครับ </td></tr> </tbody></table> </td></tr> </tbody></table>
    <hr color="#ff1493" width="600">
    <table bgcolor="#e0ffff" border="1" bordercolor="#1e90ff" cellpadding="2" cellspacing="0" width="600"> <tbody><tr><td> <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td align="left"> ความเห็นที่ 2 โดยคุณ TC-2008 (125.24.113.186) [10-07-2008 18:10] #18034 </td> <td align="right">
    </td> </tr></tbody></table> <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td>
    สำหรับกรุงเทพฯเเละปริมณฑล ในอนาคตก็มีโอกาสโดนเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าไม่มีความเป็นไปได้เลย

    เนื่องจากกรุงเทพฯเเละปริมณฑล เป็นบริเวณพื้นที่ราบลุ่ม ลักษณะเป็นเเอ่งกระทะหรือที่ราบลุ่มแม่น้ำใกล้ชายฝั่งทะเล ลักษณะดังกล่าว มีตัวอย่างให้เห็นบางประเทศเเล้วซึ่งมีลักษณะเป็นเเอ่งกระทะใกล้ชายฝั่งทะเล ภูมิประเทศเป็นแอ่งกระทะหรือพื้นที่ราบลุ่มใกล้ชายฝั่งทะเล อาทิเช่น บริเวณพื้นที่เมืองนิวออร์ลีน ประเทศสหัรฐฯ เมื่อปี 2005(2548) ประสบกับเฮอร์ริเคน KATRINA(แคทรีนา) และบริเวณพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี ประเทศพม่า ปีนี้ 2008 ประสบกับไซโคลน NARGIS(นาร์กิส) บริเวณดังกล่าวที่ว่ามานี้น่าจะเป็นตัวอย่าง และเป็นกรณีศึกษา สำหรับบริเวณภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย

    KATRINA และ NARGIS ได้สร้างความเสียหายสูงสุดในประวัติศาสตร์ของสรัฐฯ และพม่าตามลำดับ เนื่องจากเป็นบริเวณพื่นที่แอ่งกระทะและราบลุ่ม ทำให้เกิดคลื่นซัดฝั่ง(คล้ายซึนามิน้อยๆแต่นานกว่า)และซัดเข้ามาท่วมอย่างหนักหนา ซึ่งเป็นลักษณะที่พายุได้หอบคลื่นน้ำทะเลซัดทะลักเข้ามาเรื่อยๆสู่ชายฝั่ง ส่งผลให้คนเสียชีวิตอย่างมากมายมหาศาลในประวัติศาสตร์ทั้ง 2 ประเทศ

    จากสถิติพายุหมุนเขตร้อนทั่วโลกที่ผ่านมา 70%-80% ผู้คนสูญเสียชีวิตเพราะคลื่นซัดฝั่งสูงที่สุด นอกนั้นเป็นเพราะอาคารบ้านเรือนพังทับลงมา กระแสลม ฯลฯ

    เพราะฉะนั้นก็มีความเป็นไปได้สำหรับพื้นที่ราบลุ่มอย่างกรุงเทพฯ ส่วนจะจริงหรือไม่ก็ต้องเฝ้าดู
    </td></tr> </tbody></table> </td></tr> </tbody></table>
    <hr color="#ff1493" width="600">
     
  12. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <table bgcolor="white" border="1" bordercolor="blue" cellpadding="5" cellspacing="0" width="600"><tbody><tr><td align="center" bgcolor="blue">อยากทราบรายชื่อพายุไต้ฝุ่นที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย </td></tr> <tr><td>
    <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td> ในรอบ 40 ปีค่ะ </td></tr> </tbody></table>
    </td></tr> <tr><td> <table align="center" border="0" width="100%"> <tbody><tr><td align="left">
    </td> <td align="right"> โดยคุณ nun (124.121.201.183) [09-07-2008 21:20] </td></tr> </tbody></table> </td></tr> </tbody></table>

    <hr color="#ff1493" width="600">
    <table bgcolor="#e0ffff" border="1" bordercolor="#1e90ff" cellpadding="2" cellspacing="0" width="600"> <tbody><tr><td> <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td align="left"> ความเห็นที่ 1 โดยคุณ BM (203.155.220.231) [10-07-2008 13:55] #18032 </td> <td align="right">
    </td> </tr></tbody></table> <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td>
    ในรอบ 57ปี (2494-2550) ได้มีพายุไต้ฝุ่นลูกแรกและปัจจุบันก็ยังมีพายุลูกนี้ ลูกเดียวเท่านั้น ที่เข้าประเทศไทยที่จังหวัดชุมพรในวันที่ 4 พ.ย.2532 _คือพายุไต้ฝุ่น GAY </td></tr> </tbody></table> </td></tr> </tbody></table>
    <hr color="#ff1493" width="600">
    <table bgcolor="#e0ffff" border="1" bordercolor="#1e90ff" cellpadding="2" cellspacing="0" width="600"> <tbody><tr><td> <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td align="left"> ความเห็นที่ 2 โดยคุณ TC-2008 (125.24.125.54) [11-07-2008 04:54] #18038 </td> <td align="right">
    </td> </tr></tbody></table> <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td>
    สถิติ พายุหมุนเขตร้อน ที่เข้าประเทศไทยตั้งแต่ระดับหย่อมความกดอากาศต่ำขึ้นไป (โดยใช้เกณฑ์ที่ศูนย์กลางพายุพัดผ่าน)
    ประเทศไทยได้ประสบภัยและอิทธิพลจากพายุหมุนเขตร้อน โดยที่ศูนย์กลางพายุพัดผ่านตามภาคและจังหวัดของไทยในคาบ 62 ปี ตั้งแต่ปี 1945-2007 มีดังนี้

    http://images.temppic.com/10-07-2008/images_vertis/1215694894_0.06423100.png

    สำหรับข้อมูลเหล่านี้ที่มาคือตัวเอง เพราะได้รวบรวมเอาเองครับ

    สำหรับเรื่องพายุหมุนเขตร้อนนั้นช่วงสัปดาห์หน้าตั้งแต่ วันที่ 14 ก.ค.51 เป็นต้นไปได้ลุ้นกันแล้ว เพราะขณะนี้(11ก.ค.51/01.00น.) กำลังรวบรวมสะสมพลังงานอยู่ครับ คาดว่าสัปดาห์หน้าคงจะมีพายุหมุนฯ ก่อตัวบริเวณด้านแปซิฟิคตะวันตก จะเข้าประเทศไทยหรือไม่นั้น ติดตามกัน ลูกต่อลูก เดือนต่อเดือน ปีต่อปี
    </td></tr> </tbody></table> </td></tr> </tbody></table>

    http://www2.tmd.go.th/webboard/show.php?Category=meteorology&No=4446
    <hr color="#ff1493" width="600">[​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2008
  13. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    พายุสองลูกใหม่มาแล้วจ้า รีบรายงานก่อน พรุ่งนี้ไม่ว่างอบรมทั้งวัน

    Tropical Cyclone Formation Alert 93W : หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของ ไต้หวัน
    Tropical Cyclone Formation Alert 93W : หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของ ไต้หวัน
    13 กรกฎาคม 2551 เวลา 17.30 น. ตามเวลาประเทศไทย

    ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิคด้านตะวันตกตอนเหนือ ทะเลจีนใต้ และอ่าวไทย วันที่ 13 กรกฏาคม 2551 /16.30 น. ปรากฎพายุหมุนเขตร้อน 2 ลูก
    1) Tropical Cyclone Formation Alert 93W (20.2N 126.1E,18-23kts): เมื่อเวลา 16.00 วานนี้ (13 มิ.ย.51) หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของ ไต้หวัน มีศูนย์กลาง ที่ละติจูด 20.2 องศาเหนือ ลองจิจูด 126.1 องศาตะวันออก. มีศูนย์กลางอยู่ห่ างประมาณ 714 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงไทเป ประเทศไต้หวัน . กำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกด้วยความเร็ว 1 นอต(2 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เมื่อ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา โดยพายุเกือบไม่เคลื่อนที่เลย. ภาพถ่ายดาวเทียมเคลื่อนไหวบ่งบอกว่ามีการก่อตัวของเมฆอย่างรวดเร็วบริเวณรอบศูนย์กลางพายุอย่างชัดเจน โดยเฉพาะบริเวณด้านตะวันตกและด้านใต้ของศูนย์กลางพายุ. การก่อตัวของเมฆฝนได้ก่อตัวเฉพาะขึ้นบริเวณรอบๆศูนย์กลางพายุ แต่อย่างไรก็ตามก็เริ่มการก่อตัวในบริเวณใกล้ใจกลางพายุ. ภาพถ่ายไมโครเวฟ AMSU-B เมื่อเวลา 12.00น.วันนี้(13ก.ค.51) บ่งบอกว่ามีการก่อตัวในแนวดิ่งและบริเวณแถบฝนมากขึ้น. ที่ระดับชั้นบนของหย่อมฯยังคงทวีกำลังขึ้นและกระแสลมในแนวดิ่งอ่อนกำลังลงต่อไป. บริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำยังคงได้รับความชี้นอย่างต่อเนื่องจากทางตะวันตกส่งผลให้พายุเพิ่มกำลังขึ้น. ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 18-23นอต(33-43 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความกดอากาศที่พื้นผิวประมาณ 1005 มิลลิบาร์ คลื่นทะเลสูงสุดประมาณ - เมตรในช่วง 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา / คาด หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 93W นี้ จะมีทิศทางเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกต่อไปเล็กน้อยและเกือบจะไม่เคลื่อนที่เลย ในอีก 6-12 ชั่วโมงข้างหน้าหรือตั้งแต่ 22.30น.วันนี้(13ก.ค.51) เป็นต้นไป. เนื่องจากมีการก่อตัวของเมฆฝนฟ้าคะนองมากขึ้นประกอบกับสภาวะแวดล้อมบริเวณชั้นบนของพายุซึ่งมีการพัดคลายตัวออกและกระแสลมในแนวดิ่งอ่อนกำลังลง ทั้งนี้คาดว่าจะทวีขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในอีกภายใน 24 ชั่วโมง หรือ ในอีก 12 ชั่วโมงข้างหน้า หรือตั้งแต่เวลา 22.30 น.วันนี้(13ก.ค.51) เป็นต้นไป : ประกาศศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center หรือ JTWC )
    2) Tropical Disturbance 95W (21.3N 137.7E,15-20kts) : เมื่อเวลา 16.00 วันนี้ (13 มิ.ย.51) หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรง 95W บริเวณบริเวณด้านตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น มีศูนย์กลาง ที่ละติจูด 21.3 องศาเหนือ ลองจิจูด 137.7 องศาตะวันออก. มีศูนย์กลางอยู่ห่ างประมาณ 528 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะIWO TO ประเทศญี่ปุ่น . กำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนืออย่างช้าๆด้วยความเร็ว - นอต(- กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เมื่อ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา. ภาพถ่ายดาวเทียมเคลื่อนไหวบ่งบอกว่ามีการก่อตัวของเมฆมากขึ้นบริเวณระดับชั้นล่างรอบๆศูนย์กลางพายุ. ภาพถ่านดาวเทียม ASCAT บ่งบอกว่ามีการหมุนบริเวณรอบศูนย์กางพายุที่ความเร็วลม 20 นอต(37กิโ,เมตรต่อชั่วโมง). กระแสลมในแนวดิ่งยังคงมีกำลังต่ำ แต่บริเวณระดับชั้นบนของพายุการรวบรวมกำลังที่ศูนย์กลางชั้นบนยังคงมีการพัฒนาที่คงที่อยู่. ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 15-20นอต(28-37 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความกดอากาศที่พื้นผิวประมาณ 1006 มิลลิบาร์ คลื่นทะเลสูงสุดประมาณ - เมตรในช่วง 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา / คาด หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรง 95W นี้ จะมีทิศทางเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือต่อไปในอีก 6-12 ชั่วโมงข้างหน้า. เนื่องจากที่ระดับชั้นล่างของพายุทวีกำลังขึ้นและมีการก่อตัวเมฆฝนอยู่ คาดว่าจะทวีขึ้นเป็นพายุดีเปรสชั้นในอีก 1-2 วันข้างหน้า หรือตั้งแต่ 16.00น. พรุ่งนี้(14ก.คง51) เป็นต้นไป : ประกาศศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center หรือ JTWC )
    - (เพิ่มเติม) พายุทั้งสองลูกนี้ไม่มีแนวโน้มเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยแต่อย่างใด
    [​IMG]

    ภาพถ่ายดาวเทียม INFRARED ทุกๆ 1 ชม.
    [​IMG]
    http://agora.ex.nii.ac.jp/digital-typhoon/latest/globe/2048x2048/ir.jpgCLICK เพื่อดูภาพขนาดใหญ่
    http://agora.ex.nii.ac.jp/digital-typhoon/latest/animation/MPEG-2/last-120h.mpgCLICK เพื่อดูภาพถ่ายดาวเทียมเคลื่อนไหว 120 ชั่วโมงที่ผ่านมา หรือ เมื่อ 5 วันที่ผ่านมา UPDATE ทุกๆ 1 ชั่วโมง

    *******

    ภาพการคาดหมายเส้นทางการเดินพายุ ล่วงหน้า 5 วัน ทุกๆ 6 ชม.
    บริเวณพื้นที่ตาข่ายสีดำ รูปกรวย(โคน) แสดงถึง ความไม่แน่นอน/ความเป็นไปได้ที่จะได้รับผลกระทบหรือศูนย์กลางพายุอาจจะพัดผ่าน
    ***เครื่องของท่านอาจไม่ปรากฏภาพดังกล่าว ให้ CLICK ขวา > Show Picture***
    ที่มา Joint Typhoon Warning Center หรือ JTWC *ต้นฉบับ*
    [​IMG]
    http://www.solar.ifa.hawaii.edu/Tropical/Gif/nwp.latest.gif
     
  14. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <table bgcolor="white" border="1" bordercolor="blue" cellpadding="5" cellspacing="0" width="600"><tbody><tr><td align="center" bgcolor="blue"> Tropical Depression 08W : พายุดีเปรสชัน บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ ของไต้หวัน </td></tr> <tr><td>
    <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td> Tropical Depression 08W : พายุดีเปรสชัน บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ ของไต้หวัน
    14 กรกฎาคม 2551 เวลา 16.00 น. ตามเวลาประเทศไทย

    ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิคด้านตะวันตกตอนเหนือ ทะเลจีนใต้ และอ่าวไทย วันที่ 13 กรกฏาคม 2551 /14.30 น. ปรากฎพายุหมุนเขตร้อน 2 ลูก
    1) Tropical Depression 08W (19.3N 125.2E,25kts): เมื่อเวลา 16.00 วันนี้ (14 มิ.ย.51) หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของ ไต้หวัน ได้ทวีขึ้นเป็น ดีเปรสชันแล้ว มีศูนย์กลาง ที่ละติจูด 19.3 องศาเหนือ ลองจิจูด 125.2 องศาตะวันออก. มีศูนย์กลางอยู่ห่ างประมาณ 741 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงไทเป ประเทศไต้หวัน . กำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงใต้ด้วยความเร็ว 4 นอต(7 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เมื่อ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมาอย่างช้าๆ. ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 25นอต(46 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความกดอากาศที่พื้นผิวประมาณ 1004 มิลลิบาร์ คลื่นทะเลสูงสุดประมาณ 3 เมตรในช่วง 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา / คาด พายุดีเปรสชัน 08W นี้ จะมีทิศทางเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงใต้ต่อไปก่อนที่จะเริ่มเปลี่ยนทิศทางไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ในอีก 36 ชั่วโมงข้างหน้าหรือตั้งแต่ 01.00น.(16ก.ค.51) เป็นต้นไป. เนื่องจากที่ระดับชั้นบนของพายุไม่เอื้ออำนวยทำให้พายุดีเปรสชันจะทวีกำลังขึ้นไปอย่างช้าๆ และคาดว่าจะทวีขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในอีก 24 ชั่วโมงข้างหน้าหรือตั้งแต่ 13.00น. พรุ่งนี้(15ก.ค.51) เป็นต้นไป : ประกาศศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center หรือ JTWC )
    2) Tropical Disturbance 95W (23.4N 135.8E,15-20kts) : เมื่อเวลา 16.00 วันนี้ (13 มิ.ย.51) หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 95W บริเวณบริเวณด้านตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น มีศูนย์กลาง ที่ละติจูด 23.4องศาเหนือ ลองจิจูด 135.8 องศาตะวันออก. มีศูนย์กลางอยู่ห่ างประมาณ 862 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะNAHA โอกินาวา . กำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนืออย่างช้าๆด้วยความเร็ว - นอต(- กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เมื่อ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา. จากภาพถ่ายดาวเทียมเคลื่อนไหวล่าสุดที่ผ่านมาบ่งบอกว่าที่ศูนย์กลางระดับชั้นล่างของหย่อมฯ มีการก่อตัวเมฆฟ้าคะนอง การพัดหมุนรอบศูนย์กลางมีความรุนแรงที่ 20นอต(37กิโลเมตรต่อชั่วโมง). กระแสลมในแนวดิ่งมีกำลังอ่อนถึงปานกลางเพิ่มขึ้น และที่ระดับชั้นบนของหย่อมฯยังคงชักนำให้พายุก่อตัวขึ้นต่อไป ส่งผลให้การพัฒนายังคงที่. ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 15-20นอต(28-37 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความกดอากาศที่พื้นผิวประมาณ 1006 มิลลิบาร์ คลื่นทะเลสูงสุดประมาณ - เมตรในช่วง 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา / คาด หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 95W นี้ จะมีทิศทางเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือต่อไปในอีก 6-12 ชั่วโมงข้างหน้า. คาดว่าจะทวีขึ้นเป็นพายุดีเปรสชั้นในอีก 1-2 วันข้างหน้า หรือตั้งแต่ 16.00น. พรุ่งนี้(15ก.คง51) เป็นต้นไป : ประกาศศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center หรือ JTWC )
    - (เพิ่มเติม) พายุทั้งสองลูกนี้ไม่มีแนวโน้มเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยแต่อย่างใด และไม่มีอิทธิพลต่อสภาวะอากาศประเทศไทย
    [​IMG]

    ภาพถ่ายดาวเทียม INFRARED ทุกๆ 1 ชม.
    [​IMG]
    http://agora.ex.nii.ac.jp/digital-typhoon/latest/globe/2048x2048/ir.jpgCLICK เพื่อดูภาพขนาดใหญ่
    http://agora.ex.nii.ac.jp/digital-typhoon/latest/animation/MPEG-2/last-120h.mpgCLICK เพื่อดูภาพถ่ายดาวเทียมเคลื่อนไหว 120 ชั่วโมงที่ผ่านมา หรือ เมื่อ 5 วันที่ผ่านมา UPDATE ทุกๆ 1 ชั่วโมง

    *******

    ภาพการคาดหมายเส้นทางการเดินพายุ ล่วงหน้า 5 วัน ทุกๆ 6 ชม.
    บริเวณพื้นที่ตาข่ายสีดำ รูปกรวย(โคน) แสดงถึง ความไม่แน่นอน/ความเป็นไปได้ที่จะได้รับผลกระทบหรือศูนย์กลางพายุอาจจะพัดผ่าน
    ***เครื่องของท่านอาจไม่ปรากฏภาพดังกล่าว ให้ CLICK ขวา > Show Picture***
    ที่มา Joint Typhoon Warning Center หรือ JTWC *ต้นฉบับ*
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    http://cimss.ssec.wisc.edu/tropic/real-time/westpac/storm/storm08W.html
    http://www.solar.ifa.hawaii.edu/Tropical/Gif/nwp.latest.gif
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  15. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <table bgcolor="white" border="1" bordercolor="blue" cellpadding="5" cellspacing="0" width="600"><tbody><tr><td align="center" bgcolor="blue">เตรียมรับมืออย่างไร หากเกิดพายุเข้ากทม. </td></tr> <tr><td>
    <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td> บ้านดิฉันอยู่พระสมุทรเจดีย์ สมุทรปราการ ได้ข่าวว่าอาจจะมีพายุเข้าที่ปากน้ำ อยากทราบว่าดิฉันจะเตรียมรับมืออย่างไร กับเหตุการณ์นี้คะ เตรียมข้าวของเครื่องใช้ หรือว่าควรอพยพ ถ้าเราโดนแบบนากีส แย่แน่ค่ะ เพราะประเทศเรา โดนเมืองหลวงเลยคนก็เยอะ จะทำยังไงดี </td></tr> </tbody></table>
    </td></tr> <tr><td> <table align="center" border="0" width="100%"> <tbody><tr><td align="left">
    </td> <td align="right"> โดยคุณ ทำไงดี [​IMG] (58.9.34.186) [14-07-2008 21:34] </td></tr> </tbody></table> </td></tr> </tbody></table>

    <hr color="#ff1493" width="600">
    <table bgcolor="#e0ffff" border="1" bordercolor="#1e90ff" cellpadding="2" cellspacing="0" width="600"> <tbody><tr><td> <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td align="left"> ความเห็นที่ 1 โดยคุณ TC-08W (125.24.121.83) [15-07-2008 05:19] #18052 </td> <td align="right">
    </td> </tr></tbody></table> <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td>
    เเหล่งข่าวจากที่ไหนครับ เชื่อถือได้หรือไม่ ?


    อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการประกาศอพยบคือ

    - เขาจะประกาศอพยบก็ต่อเมื่อบริเวณพื้นที่นั้นๆ มีเเนวโน้มที่ศูนย์กลางพายุพัดผ่านมากที่สุด ให้ดูที่ศูนย์กลางพายุเป็นสำคัญ บริเวณศูนย์กลางพายุที่ว่านี้ หมายถึงบริเวณ ตาพายุ(Vortex) เเละ กำเเพงตาพายุ(Eye Wall) ซึ่งจุดนี้เป็นจุดที่อันตรายที่สุดของพายุตั้งเเต่ไต้ฝุ่นระดับ 1 ขึ้นไป

    - ถ้าระดับดีเปรสชัน - โซนร้อนที่มีกำลังอ่อนๆ คงยังไม่ต้องอพยบ

    - เเต่ถ้าระดับ โซนร้อนกำลังเเเรงกำลังพัฒนาเป็นไต้ฝุ่น ทางหน่วยงานราชการก็น่าจะประกาศเตรียมอพยบกันได้เเล้ว

    - เเต่ที่เเน่ๆคือ ระดับได้ฝุ่นทางหน่วนงานต้องประกาศอพยบ เเน่นอน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ไหนๆ ก็ตาม

    เรื่องนี้เรื่องใหญ่มากหากว่าระดับได้ฝุ่น ถล่มเข้ากทม.เเละปริมณฑล เเต่โอกาสน้อยมากที่มันจะเข้า ทุกอย่าง ปัจจัยต่างๆต้องลงตัวกันจริงๆหาก พายุที่ถึงระดับไต้ฝุ่นจะเข้ากทม.ได้

    ขอย้ำอีกครั้งว่าให้ดูที่ ศูนย์กลางพายุที่จะพัดผ่านเป็นสำคัญ ก็เตรียมตัวได้เลย หากเป็นไต้ฝุ่น ที่ระดับ 1 เป็นต้นไป เตรียมอพยบได้เลย

    ส่วนข้อมูลวิธีการเตรียมตัวจะนำเสนอในเร็วนี้

    </td></tr> </tbody></table> </td></tr> </tbody></table>
    <hr color="#ff1493" width="600">
     
  16. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    Tropical Storm KALMAEGI (08W) : ดีเปรสชัน ทวีขึ้นเป็นพายุโซนร้อน คัลเมจิ แล้ว บริเวณด้านตะวันตกของเ
    Tropical Storm KALMAEGI (08W) : ดีเปรสชัน ทวีขึ้นเป็นพายุโซนร้อน คัลเมจิ แล้ว บริเวณด้านตะวันตกของเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์
    16 กรกฎาคม 2551 เวลา 04.00 น. ตามเวลาประเทศไทย

    ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิคด้านตะวันตกตอนเหนือ ทะเลจีนใต้ และอ่าวไทย วันที่ 16 กรกฏาคม 2551 /01.30 น. ปรากฎพายุหมุนเขตร้อน 2 ลูก
    1) Tropical Storm KALMAEGI (08W,18.1N 123.0E,40kts): เมื่อเวลา 22.00 วานนี้ (15 มิ.ย.51) พายุดีเปรสชันได้ทวีขึ้นเป็นพายุโซนร้อน คัลเมจิ แล้ว มีศูนย์กลาง ที่ละติจูด 18.1 องศาเหนือ ลองจิจูด 123.5 องศาตะวันออก. และขณะนี้ 04.00น. วันนี้(16ก.ค.51) อยู่ ที่ละติจูด 18.1 องศาเหนือ ลองจิจูด 123.0 องศาตะวันออก. มีศูนย์กลางอยู่ห่ างประมาณ 371 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ . กำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกด้วยความเร็ว 3 นอต(6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เมื่อ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมาอย่างช้าๆ. พายุลูกนี้ได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างช้าๆในรอบ 12ชั่วโมงที่ผ่านมา. จากภาพถ่ายดาวเทียมเคลื่อนไหวที่ผ่านมาบ่งบอกว่ามีการขยายตัว โดยมีการก่อตัวของแถบฝนที่ระดะบชั้นล่างของศูนย์กลางพายุโดยเฉพาะบริเวณด้านใต้ของศูนย์กลาง ขณะที่ด้านเหนือของพายุเริ่มมีก่อตัวเพิ่มขึ้น. สำหรับทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุโซนร้อน KALMAEGI กำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเนื่องจากบริเวณระดับชั้นล่างถึงชั้นกลางพายุอยู่ในช่วงกระแสลมสินค้า(Trade Wind) ที่พัดมาด้านตะวันออกเฉียงหนือ. ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 40นอต(74 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความกดอากาศที่พื้นผิวประมาณ 993 มิลลิบาร์ คลื่นทะเลสูงสุดประมาณ 4 เมตรในช่วง 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา / คาด พายุโซนร้อน KALMAEGI (คัลเมจิ/08W) นี้ จะมีทิศทางเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกต่อไป ก่อนที่จะเริ่มเปลี่ยนทิศทางไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ในอีก 6-12 ชั่วโมงข้างหน้าหรือตั้งแต่ 07.00น.(16ก.ค.51) เป็นต้นไปเนื่องจากกระแสลมสินค้าจะอ่อนกำลัง. ขณะที่ระดับชั้นบนของพายุยังคงก่อตัวในด้านเหนือของพายุต่อไป ส่วนกระแสลมวินด์เชียร์คาดว่าจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้สภาวะโดยทั่วไปของพายุมีการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆอย่างช้าๆในอีก 6-12 ชั่วโมงข้างหน้า อย่างไรก็ตามเนื่องจากศูนย์กลางพายุจะเฉียดขึ้นชายฝั่งเกาะลูซอนตอนเหนือ ประเทศฟิลิปปินส์คาดว่าจะทำให้พายุทวีกำลังแรงที่คงที่เนื่องจากศูนย์กลางพายุได้รับสิ่งกีดขวางและความฝืดจากแผ่นดินใหญ่ของเกาะลูซอน และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะทวีขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นแต่อย่างใด : ประกาศศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center หรือ JTWC )
    2) Tropical Disturbance 95W (24.5N 129.9E,10-15kts) : เมื่อเวลา 04.00 วันนี้ (14 มิ.ย.51) หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรง 95W บริเวณบริเวณด้านตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น มีศูนย์กลาง ที่ละติจูด 24.5องศาเหนือ ลองจิจูด 129.9 องศาตะวันออก. มีศูนย์กลางอยู่ห่ างประมาณ 482 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะ โอกินาวา . กำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนืออย่างช้าๆด้วยความเร็ว - นอต(- กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เมื่อ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา. จากภาพถ่ายดาวเทียมเคลื่อนไหวล่าสุดบ่งบอกว่าที่ระดับชั้นล่างรอบๆศูนย์กลางของพายุได้อ่อนกำลังลง และก่อตัวอย่างกระจัดกระจาย. พายุได้อ่อนกำลังลงโดยด้านใต้ของพายุมีการก่อตัวของแถบฝนน้อยลง. ที่ระดับชั้นบนของพายุบ่งชี้ว่าสภาพโดยทั่วไปไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาของพายุเนื่องจากได้รับอากาศแห้งและเย็นที่พัดมาจากทางด้านเหนือของพายุ ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 10-15นอต(19-28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความกดอากาศที่พื้นผิวประมาณ 1008 มิลลิบาร์ คลื่นทะเลสูงสุดประมาณ - เมตรในช่วง 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา / คาด หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรง 95W นี้ จะมีทิศทางเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือต่อไปในอีก 6-12 ชั่วโมงข้างหน้า โดยจะยังคงมีกำลังอ่อนต่อไปในอีก 6 ชั่วโมงข้างหน้า . คาดว่าจะทวีขึ้นเป็นพายุดีเปรสชั้นในอีก 2-3 วันข้างหน้า หรือตั้งแต่ 04.00น. พรุ่งนี้(18ก.คง51) เป็นต้นไป : ประกาศศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center หรือ JTWC )
    - (เพิ่มเติม) พายุทั้งสองลูกนี้ไม่มีแนวโน้มเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยแต่อย่างใด และไม่มีอิทธิพลต่อสภาวะอากาศประเทศไทย โดยสำหรับพายุโซนร้อน คัลเมจิ ขณะนี้แนวฝนของพายุได้พัดถล่มตอนเหนือของลูซอน ตั้งแต่เมื่อวานแล้ว แต่ศูนย์กลางพายุจะเริ่มเคลื่อนสู่ชายฝั่งเฉียดตอนเหนือของเกาะนี้ ก่อนที่ศูนย์กลางพายุจะเคลื่อนลงสู่ทะเลอีกครั้ง และจะเริ่มเปลี่ยนทางขึ้นเหนือมากขึ้น โดยมีทิศทางเข้าสู่ไต้หวันและจีนด้านตะวันออกในระยะต่อไป
    [​IMG]

    ภาพถ่ายดาวเทียม INFRARED ทุกๆ 1 ชม.
    [​IMG]
    http://agora.ex.nii.ac.jp/digital-typhoon/latest/globe/2048x2048/ir.jpgCLICK เพื่อดูภาพขนาดใหญ่
    http://agora.ex.nii.ac.jp/digital-typhoon/latest/animation/MPEG-2/last-120h.mpgCLICK เพื่อดูภาพถ่ายดาวเทียมเคลื่อนไหว 120 ชั่วโมงที่ผ่านมา หรือ เมื่อ 5 วันที่ผ่านมา UPDATE ทุกๆ 1 ชั่วโมง

    *******

    ภาพการคาดหมายเส้นทางการเดินพายุ ล่วงหน้า 5 วัน ทุกๆ 6 ชม.
    บริเวณพื้นที่ตาข่ายสีดำ รูปกรวย(โคน) แสดงถึง ความไม่แน่นอน/ความเป็นไปได้ที่จะได้รับผลกระทบหรือศูนย์กลางพายุอาจจะพัดผ่าน
    ***เครื่องของท่านอาจไม่ปรากฏภาพดังกล่าว ให้ CLICK ขวา > Show Picture***
    ที่มา Joint Typhoon Warning Center หรือ JTWC *ต้นฉบับ*
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    http://cimss.ssec.wisc.edu/tropic/real-time/westpac/storm/storm08W.html
    http://www.solar.ifa.hawaii.edu/Tropical/Gif/nwp.latest.gif
     
  17. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    16 July 2008

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <table bgcolor="#e0ffff" border="1" bordercolor="#1e90ff" cellpadding="2" cellspacing="0" width="600"> <tbody><tr><td> <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td align="left"> ความเห็นที่ 1 โดยคุณ TC-08W (125.24.134.108) [16-07-2008 20:27] #18063 </td> <td align="right">
    </td> </tr></tbody></table> <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td>
    13.00น.วันนี้(16ก.ค.51)

    พายุเปลี่ยนทิศทางอย่างนี้ ก็ไต้ฝุ่นน่ะสิ

    พายุเปลี่ยนทิศทางน่าปวดหัวสำหรับผู้พยากรณ์จริงๆ ในคราวทำท่าทำทางว่าจะเคลื่อนลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบนสุด เเต่คราวนี้ทิศทางการเดินพายุกลับมาเป็นเส้นทางเดิมอีกครั้งคือ พายุอาจจะเข้าทางด้านตะวันออกของไต้หวัน

    กระเเสอากาศบริเวณที่เกิดไต้ฝุ่น คือบริเวณมหาสมุทรเเปซิฟิคตะวันตก ทะเลจีนใต้ เเละอ่าวไทย ค่อนข้างเเปรปรวนไม่คงที่เลย ส่งผลให้พายุไม่มีความเเน่นนอนว่าจะเคลื่อนตัวไปทางใดในอนาคต ยากเเก่การคาดการณ์จริงๆ

    ผิดกับบริเวณ ไซโคลนอ่าวเบงกอลเลยครับ คาดการณ์ง่ายกว่าเยอะเเยะเลย เพราะกระเเสอากาศค่อนข้างคงที่มากกว่า บริเวณไต้ฝุ่นที่ว่า

    </td></tr> </tbody></table> </td></tr> </tbody></table>
    <hr color="#ff1493" width="600">

    พรุ่งนี้จะไม่อยู่ 4 วัน จับตากันเอาเองนะ พายุตอนนี้คาดการณ์ไม่ได้เลย
     
  19. Catt Bewer

    Catt Bewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,768
    ค่าพลัง:
    +16,673
    ไต้หวันสั่งเตือนภัย พายุ"คัลเมจิ"จ่อถล่ม



    เมื่อ 17 ก.ค. สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า สำนักงานอุตุนิยมวิทยา ประเทศฟิลิปปินส์ เผยข้อมูลว่า พายุโซนร้อน "คัลเมจิ" เคลื่อนตัวออกจากพื้นที่ตอนเหนือสุดของฟิลิปปินส์เรียบร้อยแล้ว และเริ่มก่อตัวมีกำลังแรงขึ้นอีกครั้งขณะมุ่งหน้าไปยังเกาะไต้หวัน

    ล่าสุดช่วงบ่ายวันพฤหัสบดี พายุคัลเมจิเคลื่อนที่ด้วยความเร็วลมประมาณ 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเพิ่มกำลังแรงขึ้นเมื่อเข้าใกล้ไต้หวัน ทำให้ศูนย์พยายากรณ์อากาศไต้หวันต้องประกาศเตือนภัยขอให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มชาวประมงเตรียมรับมือกับสภาวะลมกระโชกแรงและพายุฝนที่จะเกิดขึ้นเพราะอิทธิพลของพายุโซนร้อนลูกนี้ ซึ่งอยู่ห่างไปทางตะวันออกถึงตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองไถ่ตง 170 กิโลเมตร

    ก่อนหน้านี้ พายุคัลเมจิเป็นเหตุให้ชาวฟิลิปปินส์เสียชีวิต 1 ราย ไร้ที่อยู่อาศัย 17,947 ราย ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านในแถบลูซอน ทางภาคเหนือ


    http://www.matichon.co.th/khaosod/v...ionid=TURNd05nPT0=&day=TWpBd09DMHdOeTB4T0E9PQ==
     
  20. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <table bgcolor="white" border="1" bordercolor="blue" cellpadding="5" cellspacing="0" width="600"><tbody><tr><td align="center" bgcolor="blue">17 ถาม-ตอบ พายุหมุนเขตร้อน: การเตรียมรับสถานการณ์อันตรายสำหรับประชาชนกับพายุหมุนเขตร้อน ? </td></tr> <tr><td>
    <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td> 17 ถาม-ตอบ พายุหมุนเขตร้อน: การเตรียมรับสถานการณ์อันตรายสำหรับประชาชนกับพายุหมุนเขตร้อน ?

    [​IMG]

    การเตรียมรับสถานการณ์อันตรายสำหรับประชาชน

    มีความเชื่ออยู่หลายประการเกี่ยวกับการโต้ตอบของมนุษย์เพื่อรับสถานการณ์อันตรายซึ่งหลักการสำคัญในกรณีนี้คือการป้องกันและเตรียมรับสถานการณ์ภัยพิบัติ ในที่สุดความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบการเตือนภัยขึ้นอยู่กับการประสานงานกันระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองอาทิ การพยากรณ์ที่แม่นยำ ระบบการเตือนภัยที่วางแผนมาอย่างดี รวมทั้งความช่วยเหลือทั้งหมดทางเทคโนโลยีที่มีความสำคัญไม่มากนักนั้น ถ้ามนุษย์ทำการตอบโต้แบบไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกันตามเหตุผลที่ควรเป็น พายุหมุนทุกลูกจะนำมาซึ่งปฏิกิริยาตอบโต้ของมนุษย์แตกต่างกันไม่มีวันหมดสิ้น คือเป็นไปตามความแตกต่างกัน 4 ด้าน ได้แก่

    1. อายุ
    2. สุขภาพ
    3. การศึกษา
    4. ฐานะทางครอบครัว

    รวมทั้งประสบการณ์ภัยพิบัติที่เคยได้รับและปัจจัยอีกหลายๆอย่าง โดยยังหารูปแบบที่ชัดเจนยังไม่ได้ ซึ่งจะได้นำไปใช้กับสถานการ์ภัยพิบัติในอนาคต ตัวอย่างเช่น นักวิศวกรการบินในรัฐเท็กซัสอาจจะมีความกระตือรือล้นพอ ๆ กับชาวนาเบงคลีในบังคลาเทศ ที่เมื่อได้รับคำแนะนำให้ออกจากบ้านของตนก่อนเกิดภัยพิบัติ ก็ยังไม่ยอมออก เป็นต้น
    ดังนั้น จึงไม่น่าประหลาดในว่า การให้ความรู้แก่ประชาชนก็ดี การประสานความร่วมมือด้านข้อมูลระหว่างหน่วยงานก็ดี จึงต้องพยายามร่วมมือกันปฏิบัติในหน่วยงานด้านเทคนิคตลอดจนการออกภาคสนามเพื่อสงเคราะห์ผู้ประสบภับ แผนงานและโครงการต่างๆ มีความเป็นรูปเป็นร่าง และพัฒนาขึ้นมากในปัจจุบัน

    กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ให้แนวทางปฏิบัติสำหรับประชาชน เมื่อทราบว่าพายุกำลังใกล้เข้ามา ดังนี้
    1) ทำการรวบรวมคนในครอบครัวให้พร้อมหน้าพร้อมตา
    2) จงเปิดวิทยุ หรือร่วมฟังข่าวและคำแนะนำของทางราชการ สำหรับวิทยุควรเตรียมแบตเตอรี่ไว้ให้พร้อมที่จะใช้เมื่อไฟฟ้าดับ
    3) ไม่ควรเชื่อข่าวลือ หรือคำแนะนำของผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ราชการ
    4) ก่อนพายุจะมาถึง ถ้ามีเวลาพอให้ตัดรากหรือลิดกิ่งไม้ที่อาจหักได้จากลมพายุโดยเฉพาะกิ่งที่อาจหักตกมาทับบ้านเรือน หรือสายไฟฟ้า
    5) ตรวจสายไฟฟ้าและเสาไฟฟ้าทั้งในและนอกบริเวณบ้านให้เรียบร้อย หาที่ยึดเหนี่ยวสายไฟฟ้าให้มั่นคงแข็งแรง สับสายอากาศวิทยุและโทรทัศน์ลงดินให้เรียบร้อย
    6) อย่าอยู่ในที่ลุ่มที่มีระดับต่ำหรืออยู่ใกล้ทะเล หรือแหลมที่ยื่นออกไปในทะเล ซึ่งอาจจะถูกน้ำท่วม หรือถูกกระแสคลื่นพัดพาลงทะเลไปได้ ถ้าบ้านพักที่อาศัยอยู่ในที่ที่มีลักษณะดังกล่าวนี้ ให้รีบอพยพไปให้ไกล หรือเข้าอยู่ในอาคารที่มั่นคงแข็งแรงจริงๆ ที่มั่นในว่าจะต้านทานกำลังลมพายุได้ ถ้าไม่มั่นในให้รีบอพยพ
    7) เข้าอยู่ในอาคารตลอดเวลาที่มีพายุ อย่าออกมาในที่โล่งแจ้ง เพราะต้นไม้กิ่งไม้อาจจะโค่นทับได้ แผ่นสังกะสีและสิ่งที่ปลิวตามมาจะทำให้ได้รับบาดเจ็บอันตรายได้
    8) ปิดประตูหน้าต่างทุกบานอย่างมั่นคงแข็งแรง อย่าให้เปิดได้ขณะที่มีพายุ ซึ่งจะเป็นอันตรายมาก โดยใช้ไม้ทาบตีตะปูตรึงปิดประตูหน้าต่างไว้จะปลอดภัยยิ่งขึ้น รวมทั้งซ่อมแซมตอกยึด หรือผูกมัดส่วนของอาคารบ้านเรือนที่หลุดลุ่ยให้มั่นคง
    9) ปิดกั้น ช่องทางลม ทางน้ำ และช่องทางต่าง ๆ ที่น้ำจะเข้าให้เกิดความเสีบหายได้ เช่น ห้องเก็บของ ห้องใต้ดิน เป็นต้น
    10) เตรียมตะเกียง ไฟฉาย ไม้ขีดไฟ ไว้ให้พร้อม และอยู่ใกล้มือ เมื่อไฟฟ้าดับจะได้ไว้ใช้ทันท่วงที
    11) เตรียมอาหารสำรองและอาหารกระป๋องไว้บ้าง พอที่จะมีอาหารรับประทาน เมื่อพายุยังไม่ผ่านไป เพราะตั้งแต่เริ่มมีพายุจนพายุผ่านไปแล้ว อาจกินเวลาสองถึงสามวัน และเมื่อพายุผ่านไปแล้ว การขาดแคลนอาหารโดยทั่วไปอาจจะมีได้ระยะหนึ่ง
    12) ดับไฟฟ้าในเตาให้เรียบร้อย เพื่อกันมิให้เกิดเพลิงไหม้ในขณะที่มีพายุ ส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่พักอาศัยอาจจะถูกลมพัดพังทลาย ถ้ามีเชื้อเพลิงอยู่ก็อาจจะทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ ควรเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิงไว้บ้าง เช่น ทรายหรือน้ำยาดับไฟ เป็นต้น
    13) ควรเตรียมน้ำรับประทานไว้บ้าง ภาชนะที่เก็บใส่น้ำควรเติมน้ำให้เต็ม เพราะน้ำกินน้ำใช้อาจจะไม่มีภายหลังพายุพัดผ่านไปแล้ว
    14) เตรียมเครื่องมือหุงต้มไว้ให้พร้อมที่จะใช้ได้ทันที เตรียมเครื่องมือเวชภัณฑ์ไว้ใช้ปฐมพยาบาลในกรณีที่มีผู้บาดเจ็บ
    15) สิ่งของที่อาจจะตกหล่น แตกหักเสียหายได้เมื่อได้รับความกระเทือนจากลมพายุ ควรจัดวางไว้ในที่ต่ำและปลอดภัย
    16) สัตว์พาหนะต่าง ๆ เช่น ม้า วัว ควาย ตลอดจนสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ ให้นำไปอยู่ในที่ปลอดภัยพ้นจากลมพายุและน้ำท่วม
    17) บรรดาเรือ แพ ให้ลงสมอผูดยึดให้มั่นคงแข็งแรง
    18) ถ้ามีรถยนต์หรือพาหนะสำหรับขับขี่อย่างใดอย่างหนึ่ง ควรเตรียมไว้ให้พร้อมเพรียงเผื่อจะใช้ได้ทันทีหลังจากพายุพัดผ่านไปแล้ว เช่น ช่วยเหลือนำคนเจ็บไปส่งโรงพยาบาล น้ำมันควรจะมีให้เต็มถัง
    19) เมื่อปรากฏว่ามีลมเงียบสงบลง อย่าเข้าใจว่าพายุได้ผ่านพ้นไปแล้ว เพราะพายุใหญ่ขนาดไต้ฝุ่นและพายุโซนร้อน จะมีศูนย์กลางซึ่งเป็นบริเวณลมเงียบสงบและไม่มีฝนท้องฟ้ากระจ่าง เมื่อศูนย์กลางพายุผ่านบริเวณใดจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าพายุพัดผ่านไปแล้ว แต่ความจริงในช่วงระยะ 2 ชั่วโมงต่อมา จะกลับมีพายุแรงและฝนหนักอีก ลมจะพัดเปลี่ยนทิศทางตรงกันข้ามกับระยะแรก และมีอันตรายรุนแรงพอ ๆ กันฉะนั้น เมื่อลมเงียบสงบ ฝนหยุดตก ควรรอต่อไปไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง และถ้าพ้นระยะนั้นไม่มีลมแรงเกิดขึ้นอีก จึงจะวางใจได้ว่าพายุได้ผ่านพ้นไปแล้ว
    20) เตรียมทางขึ้นสู่เพดานหรือหลังคา เมื่อเกิดน้ำท่วม มีเครื่องมือช่างไม้ไว้บ้าง สำหรับตัดไม้หรือทำแพ (ในกรณีที่รุนแรงและน้ำท่วมเกิดขึ้น)
    21) ในขณะมีพายุจะเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ในที่ใกล้เคียง เช่น ต้นไม้ล้มโครมคราม บ้านเรืองข้างเคียงทานกำลังพายุไม่ได้จะพังทลายลง

    ลมที่มีกำลังแรงจนบ้านสั่นสะเทือนไปหมด ฝนก็ตกหนักมีฟ้าคะนองฟ้าผ่าเปร้ยงปร้าง สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดความตระหนกตกใจ คุมสติไม่อยู่จะทำอะไรไม่ถูกต้อง เมื่อผู้ใหญ่ตื่นตระหนกจนหมดสติเช่นนี้ จะทำให้เด็กเล็กปราศจากที่พึ่ง จึงควรสงบจิตใจ ตั้งสติให้มั่นคง เพื่อเตรียมต่อสู้กับภยันตรายต่าง ๆ คิดหาทางช่วยชีวิตตนเองและครอบครัว ตลอดจนช่วยบุคคลอื่นที่ประสบอันตราย

    ******************

    - เพิ่มเติม ทุกข้อมีความสำคัญหมด แต่ที่สีแดงข้อ (2)-(3) นั่นเพราะจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน ข้อ (6) นั่นเพราะเกินกว่า 80% ผู้คนเสียเสียชีวิตไปเพราะอยู่บริเวณพื้นที่ชายฝั่งเป็นจำนวนมากแล้วไม่เชื่อฟังคำสั่ง(ประมาณว่าอวดเก่ง) ไม่ยอมอพยพ ดังนั้นพื้นที่ที่อยู่ริมชายฝั่งทะเล และลึกเข้าไปในแผ่นดินประมาณ 25-30 กิโลเมตร ถ้าเป็นไต้ฝุ่นมีความรุนแรงเกินกว่าระดับ 1 ขึ้นไป ไม่ต้องคิดมากครับให้รีบอพยพไปได้เลย

    ส่วน (19) ข้อนี้คนส่วนใหญ่มักยังไม่เข้าใจกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ในขณะที่ศูนย์กลางพายุพัดผ่าน จะว่าไปแล้วส่วนใหญ่ จากการสำรวจกว่า 95% ช่วงครึ่งหลังของพายุหมุนเขตร้อนจะมีความรุนแรงมากกว่าช่วงครึ่งแรก 2-3 เท่า และจะปรากฏพายุทอร์นาโดในช่วงครึ่งหลังของพายุซึ่งเราไม่สามารถที่จะมองเห็นได้เลยว่าทอร์นาโดจะอยู่บริเวณใด เนื่องจากฝนตกหนักลมจัดจนเห็นเป็นสีขาวโพลนไปหมด ซึ่งตรงนี้เป็นจุดที่อันตรายมากที่สุดของพายุไต้ฝุ่นตั่งแต่ ระดับ 1 ขึ้นไป ดังนั้นผมเห็นว่าข้อ (19) ที่ว่า “มีอันตรายรุนแรงพอ ๆ กัน..” เห็นจะไม่จริง เพราะจากการสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่ครึ่งหลังของพายุ(ด้านขวามือบริเวณซีกโลกเหนือ) จะมีความรุนแรงมากกว่าครึ่งแรกของพายุหลายเท่าเลย และสำหรับผมเท่าที่สังเกตแทบจะไม่เคยเห็นเลยหรือไม่เคยปรากฏว่าทั้งครึ่งแรกและครึ่งหลังของพายุหมุนเขตร้อนจะมีความรุนแรงพอๆ กัน พายุทุกลูก ครึ่งแรกกับครึ่งหลัง ของพายุไต้ฝุ่น จะมีอยู่ครึ่งหนึ่งที่มีความรุนแรงกว่าเนื่องจากทิศทางการเคลื่อนตัวและแรงเหวี่ยง โดยส่วนใหญ่ในซีกโลกเหนือจะเป็นครึ่งหลังของพายุด้านขวามือ หรือทิศตะวันตกของศูนย์กลางพายุ

    สิ่งที่คุณสามารถนำไปคิดต่อ
    - เหตุใด พายุหมุนเขตร้อน ช่วงครึ่งแรกกับครึ่งหลังพายุ ลมจึงพัดไปทิศทางตรงกันข้าม ตามข้อ 19 ?
    ซึ่งครั้งต่อๆ ไปจะนำเสนอเพื่อเกิดความเข้าใจ

    [​IMG]

    </td></tr> </tbody></table>
    </td></tr> <tr><td> <table align="center" border="0" width="100%"> <tbody><tr><td align="left">
    </td> <td align="right"> โดยคุณ TC-2008 (125.24.116.184) [20-07-2008 20:51] </td></tr> </tbody></table> </td></tr> </tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...