!!! จับตาพายุลูกใหม่ ที่กำลังก่อตัว ณ ขณะนี้ !!!

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 25 มกราคม 2007.

  1. เซลล์

    เซลล์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2008
    โพสต์:
    661
    ค่าพลัง:
    +310
    [​IMG]
    รูปเมฆข้างบน เหมือนกับที่ผมถ่ายไว้เมื่อวาน ช่วงเย็นๆที่ชั้น 14 เขตปทุมวันเลยครับ
    รู้สึกว่าช่วงนี้มีลมพายุสุริยะเข้ามาตั้งแต่วันที่ 30/06/08 ครับ
     
  2. อิทธิปาฏิหาริย์

    อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,834
    ค่าพลัง:
    +1,472
  3. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2008
  4. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ยิ่งดูก็ยิ่งเหมือน ID-4 นิ


    ตัดต่อมารึเปล่านะนี่

    ( ล้อเล่นคับ ) (deejai)(deejai)(deejai)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2008
  5. magic_storm

    magic_storm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2007
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +3,053
    น่ากลัวเจงๆอ่ะคับ
     
  6. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <table class="tborder" id="post1324987" align="center" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr valign="top"><td class="alt2" style="border-style: solid; border-color: rgb(255, 255, 255); border-width: 0px 1px;" width="175"> phuang <script type="text/javascript"> vbmenu_register("postmenu_1324987", true); </script>
    ทีมพระไตรปิฏก (น้ำผึ้ง)

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งล่าสุด: วันนี้ 10:52 PM
    วันที่สมัคร: Jan 2005
    ข้อความ: 4,353
    Groans: 2
    Groaned at 6 Times in 6 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 1,017
    ได้รับอนุโมทนา 8,253 ครั้ง ใน 1,635 โพส
    พลังการให้คะแนน: 1201 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]

    </td> <td class="alt1" id="td_post_1324987" style="border-right: 1px solid rgb(255, 255, 255);"><!-- message --> เหอ ๆ จะบอกว่าเมือ่วันจันทร์ที่ 30/6/51 แถวบ้าน ลูกเห็บตกมาพร้อม ๆ สายฝนเลยค่ะ
    ผึ้งบ้านอยู่แถว จ.ปทุมธานี แบบว่าตกลงมาสวยดีค่ะ เสียดายไม่ได้ถ่ายรูปไว้
    <!-- / message --><!-- sig --> __________________
    วิธีอาราธนา “พระพลังจิต”
    ตอนเช้าให้สวดมนต์ไว้พระ ตั้งนะโม 3 จบ สวด อิติปิโสฯ สวากขาโตฯ สุปฏิปันโนฯ แล้วนึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อาราธนาบารมีของท่าน ลงมาเป็นเกราะเพชรคลุมกายเรา ภาวนา "พุทโธ" ให้ใจสบาย แล้วกลืนน้ำลาย ๓ ครั้ง ถ้าทำแบบนี้ได้ทุกวัน อานุภาพของยันต์เกราะเพชร จะคุ้มครองรักษา ให้ท่านมีความปลอดภัยทุกประการ...
    ผู้ที่อาราธนาติดตัวไว้เสมอจะมีอานุภาพดังนี้
    ๑. จะไม่ตายโหงอย่างเด็ดขาด
    ๒. จะไม่ตายด้วยพิษสัตว์ทุกชนิด
    ๓. ปลอดภัยจากไสยศาสตร์ทุกชนิด
    ๔. ไสยศาสตร์ทุกประเภท จะสะท้อนกลับไปเอง

    </td></tr></tbody></table>
     
  7. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <table bgcolor="white" border="1" bordercolor="blue" cellpadding="5" cellspacing="0" width="600"> <tbody><tr><td align="center" bgcolor="blue"> หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณตอนล่างที่ฟิลิปปินส์ </td></tr> <tr><td>
    <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td> ตามกระทู้ครับมันมีเส้นกดอากาศ2วง จะมีโอกาสเป็นพายุมั้ยครับ แล้วถ้าเป็นพายุแล้วจะเข้าไทยมั้ยครับ </td></tr> </tbody></table>
    </td></tr> <tr><td> <table align="center" border="0" width="100%"> <tbody><tr><td align="left">
    </td> <td align="right"> โดยคุณ คนสงสัย [​IMG] (125.26.150.244) [02-07-2008 23:16] </td></tr> </tbody></table> </td></tr> </tbody></table>

    <hr color="#ff1493" width="600">
    <table bgcolor="#e0ffff" border="1" bordercolor="#1e90ff" cellpadding="2" cellspacing="0" width="600"> <tbody><tr><td> <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td align="left"> ความเห็นที่ 1 โดยคุณ TC-2008 (125.24.151.51) [03-07-2008 06:38] #17953 </td> <td align="right">
    </td> </tr></tbody></table> <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td>
    หย่อมลูกนี้ยังไม่เเนวโน้ม ที่จะออกคำประกาศประกาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อน (Tropical Cyclone Formation) ภายใน 24 ชั่วโมงนี้

    สำหรับหย่อมลูกนี้ ศูนย์กลางอยู่บริเวณ ด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ หรือมีศูนย์กลางที่ละติจูด 12.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 127.0 องศาตะวันออก กำลังมีทิศทาง เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก

    ต้องติดตามที่ศูนย์กลางหย่อมฯ ว่าจะมีการก่อตัวของเมฆฝนในเเนวดิ่งหรือไม่ หากเกิดมากขึ้นก็อาจเป็นไปได้ว่า จะพัฒนาเป็นพานุหมุนเขตร้อนในอนาคต

    </td></tr> </tbody></table> </td></tr> </tbody></table>
     
  8. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <table bgcolor="white" border="1" bordercolor="blue" cellpadding="5" cellspacing="0" width="600"><tbody><tr><td align="center" bgcolor="blue">09 ถาม-ตอบ พายุหมุนเขตร้อน: มีวิธีพิสูจน์ด้วยตนเองอย่างไรว่า ซีกโลกเหนือพายุฯหมุนทวนเข็มนาฬิกา - ซีก </td></tr> <tr><td>
    <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td> 09 ถาม-ตอบ พายุหมุนเขตร้อน: มีวิธีพิสูจน์ด้วยตนเองอย่างไรว่า ซีกโลกเหนือพายุฯหมุนทวนเข็มนาฬิกา - ซีกโลกใต้หมุนตามเข็มนาฬิกา ?
    Why do tropical cyclones' winds rotate counter-clockwise (clockwise) in the Northern (Southern) Hemisphere?(ตอน3)
    แหล่งข้อมูล AOML (Atlantic Oceanographic and Meteorological Laboratory

    ก่อนที่จะพิสูจน์ด้วยตนเองเราจะมาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์จริงดังต่อไปนี้

    [​IMG]
    จากภาพภาพ: ขณะเรานั่งเรือเราเคยสังเกตเห็นไหมครับว่า เรือที่กำลังแล่นจากซ้ายไปขวามือท่ามกลางกระแสน้ำเชี่ยวอยู่นั้น บริเวณด้านข้างของเรือทั้ง 2 ข้างนั้นกระแสน้ำจะหมุนวนตามด้านข้างเรือทั้ง 2 ข้างอยู่ตลอดเวลา โดยด้านข้างของเรือซ้ายมือ กระแสน้ำจะมีลักษณะพัดหมุนวนทวนเข็มนาฬิกา ส่วนด้านข้างของเรือขวามือกระแสน้ำจะมีลักษณะพัดหมุนวนตามเข็มนาฬิกา ส่วนน้ำบริเวณข้างเรือนั้นมันจะถูกดูดเข้าหาเรือทั้งสองข้าง โดยน้ำบริเวณข้างเรือด้านซ้ายจะถูกดูดไปทางขวาเข้าหาเรือ ส่วนน้ำบริเวณข้างเรือด้านซ้ายมือจะถูกดูดไปทางซ้ายเข้าหาเรือ

    เหตุการณ์ดังกล่าวเปรียบเทียบให้เห็นว่า
    1) ตำแหน่งของเรือหรือเส้นทางการเดินเรือ คือบริเวณเส้นศูนย์สูตร
    2) เรือที่กำลังแล่นจากซ้ายไปขวามืออยู่นั้น คือการที่โลกกำลังหมุนรอบตัวเองทวนเข็มนาฬิกาจากซ้ายไปขวามือ
    3) ซ้ายมือของด้านข้างเรือ คือซีกโลกเหนือ
    4) ขวามือของด้านข้างเรือ คือซีกโลกใต้
    5) น้ำบริเวณข้างเรือด้านซ้ายที่ถูกดูดไปทางขวาเข้าหาเรือ เปรียบเสมือน “แรงเฉ” ในซีกโลกเหนือจะมีลักษณะพัดเฉไปขวามือ
    6) น้ำบริเวณข้างเรือด้านขวาที่ถูกดูดไปทางซ้ายเข้าหาเรือ เปรียบเสมือน “แรงเฉ” ในซีกโลกใต้จะมีลักษณะพัดเฉไปซ้ายมือ
    7) กระแสน้ำที่เชี่ยวนั้น เปรียบเสมือนการเคลื่อนที่อย่างอิสระของมวลอากาศ
    8) การหมุนวนของกระแสน้ำขณะที่เรือแล่น ด้านซ้ายมือของเรือกระแสน้ำจะมีลักษณะหมุนวนทวนเข็มนาฬิกา เปรียบเสมือนบริเวณซีกโลกเหนือพายุหมุนเขตร้อนจะพัดเวียนทวนเข็มนาฬิกา
    9) และด้านขวามือของเรือกระแสน้ำจะมีลักษณะหมุนวนตามเข็มนาฬิกา เปรียบเสมือนบริเวณซีกโลกใต้พายุหมุนเขตร้อนจะพัดเวียนไปตามเข็มนาฬิกา

    *หมายเหตุ ภาพ ด้านบน แสดงถึงการแล่นของเรือในขณะที่กระแสน้ำเชี่ยว ซึ่งจะเปรียบเทียบกับการหมุนของพายุหมุนเขตร้อนทั้งซีกโลกเหนือและใต้ดังนี้
    1) สีฟ้า คือ แม่น้ำ (เปรียบเสมือนอากาศทั่วโลก)
    2) วัตถุสีแดง คือ เรือกำลังเคลื่อนที่จาก A ไป B (เปรียบเสมือนการหมุนของโลกเราที่มีทิศทางหมุนทวนเข็มนาฬิกา หรือถ้ามองจากอวกาศโลกจะหมุนจากซ้ายไปขวามือ )
    3) ด้านซ้าย(LEFT)ของเรือ เปรียบเสมือนซีกโลกเหนือ และด้านขวา(RIGHT)ของเรือ เปรียบเสมือนซีกโลกใต้
    4) ลูกศรสีดำ คือ ทิศทางการเคลื่อนที่ของเรือ จาก A ไป B (เปรียบเสมือนการหมุนของโลกเราที่หมุนทวนเข็มนาฬิกา หรือถ้ามองจากอวกาศโลกจะหมุนจากซ้ายไปขวามือ )
    5) เส้นสีดำยาว คือ เส้นทาง(track)การเดินเรือ (เปรียบเสมือนบริเวณเส้นศูนย์สูตร)
    6) ลูกศรสีม่วงข้างเรือด้านบน คือ “แรงเฉ” ในซีกโลกเหนือจะมีลักษณะพัดเฉไปขวามือ
    7) ลูกศรสีม่วงข้างเรือด้านล่าง คือ “แรงเฉ” ในซีกโลกใต้จะมีลักษณะพัดเฉไปซ้ายมือ
    8) ลูกศรสีเหลืองต่อเนื่องเป็นวงกลมด้านบน คือ การหมุนเวียนของกระแสน้ำด้านซ้ายเรือ จะหมุนทวนเข็มนาฬิกา เมื่อเรือกำลังแล่นผ่าน (เปรียบเสมือนพายุหมุนเขตร้อนในซีกโลกเหนือ)
    9) ลูกศรสีเหลืองต่อเนื่องเป็นวงกลมด้านล่าง คือ การหมุนเวียนของกระแสน้ำด้านขวาเรือ จะหมุนตามเข็มนาฬิกา เมื่อเรือกำลังแล่นผ่าน (เปรียบเสมือนพายุหมุนเขตร้อนในซีกโลกใต้)
    10) ลูกศรสีส้ม คือ กระแสน้ำ (เปรียบเสมือนการเคลื่อนที่ของมวลอากาศทั้งซีกโลกเหนือและใต้)

    การเปรียบเทียบจากเรือนี้ ถ้าเราสังเกตจะเห็นว่าขณะที่เรือกำลังแล่น กระแสน้ำทั้งด้านข้างเรือและท้ายเรือด้านซ้ายจะหมุนวนทวนเข็มนาฬิกา ส่วน กระแสน้ำทั้งด้านข้างเรือและท้ายเรือด้านขวา จะหมุนวนตามเข็มนาฬิกา โดยจะหมุนชัดเจนที่สุดเมื่อคลื่นในแม่น้ำหรือทะเลไม่มีเลยหรือมีน้อยสุด ถ้ามีมากจะไม่ชัดเจน
    หมายเหตุ การเปรียบเทียบนี้เป็นการเปรียบเทียบที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเราเพื่อให้เกิดความเข้าใจ แรงโคริโอลิสที่มีอิทธิพลต่อทิศทางการหมุนของพายุหมุนเขตร้อน

    ---

    เราจะพิสูจน์ด้วยตนเองอย่างไร ?

    ถ้าในกรณีที่ไม่สะดวก อาจใช้อ่างน้ำบริเวณใกล้ๆ เป็นเครื่องพิสูจน์ได้ พิสูจน์ด้วยตนเองจากการใช้ “ฝ่ามือ” ของเราปาดน้ำดังนี้

    ใช้บริเวณฝ่ามือปาดน้ำในอ่าง จากซ้ายไปขวา(ตามการหมุนของโลก) จะสังเกตเห็นว่า ขณะที่เรากำลังปาดน้ำนั้น บรเวณผิวน้ำจะเกิดกระแสน้ำหมุนวน ทั้ง 2 ด้านของฝ่ามือ โดยกระแสน้ำด้านซ้ายของฝ่ามือ (บริเวณด้านบนจากที่มองลงมา) จะหมุนทวนเข็มนาฬิกา ส่วนกระแสน้ำด้านขวาของฝ่ามือ (บริเวณด้านล่าง) จะหมุนวนตามเข็มนาฬิกา
    ดังนั้นเปรียบเทียบให้เห็นว่า
    1)ตำแหน่งของฝ่ามือเรา คือบริเวณเส้นศูนย์สูตร…
    2)ทิศทางการเคลื่อนที่ของฝ่ามือเราจากซ้ายไปขวา คือทิศทางการหมุนของโลกจากซ้ายไปขวาหรือทวนเข็มนาฬิกา
    3) มือที่กำลังปาดน้ำ คือผู้ให้กำเนิดแรงลมบริเวณเส้นศูนย์สูตร…
    4) น้ำในอ่าง คือมวลอากาศทั้งหมดบนโลกซึ่งมีแรงเฉ(Coriolis force)…
    5) กระแสน้ำที่หมุนทวนเข็มนาฬิกา คือ การหมุนของพายุหมุนเขตร้อนในซีกโลกเหนือ…
    6) กระแสน้ำที่หมุนตามเข็มนาฬิกา คือการหมุนของพายุหมุนเขตร้อนในซีกโลกใต้…
    7) เส้นทาง(track) การเคลื่อนที่ของฝ่ามือ คือเส้นศูนย์สูตรรอบโลก…

    หมายเหตุ การเปรียบเทียบนี้เป็นการเปรียบเทียบที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเราเพื่อให้เกิดความเข้าใจ แรงโคริโอลิสที่มีอิทธิพลต่อทิศทางการหมุนของพายุหมุนเขตร้อน


    END END ENDDDDDDDDDDDDDDDDDDDDDDD

    [​IMG] MONZA


    </td></tr> </tbody></table>
    </td></tr> <tr><td> <table align="center" border="0" width="100%"> <tbody><tr><td align="left">
    </td> <td align="right"> โดยคุณ TC-2008 (125.24.90.126) [08-03-2008 11:25]</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  9. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <table bgcolor="white" border="1" bordercolor="blue" cellpadding="5" cellspacing="0" width="600"><tbody><tr><td align="center" bgcolor="blue">07 ถาม-ตอบ พายุหมุนเขตร้อน: สาเหตุที่ซีกโลกเหนือพายุหมุนทวนเข็มนาฬิกา แต่ซีกโลกใต้หมุนตามเข็มนาฬิกา </td></tr> <tr><td>
    <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td> 07 ถาม-ตอบ พายุหมุนเขตร้อน: สาเหตุที่ซีกโลกเหนือพายุหมุนทวนเข็มนาฬิกา แต่ซีกโลกใต้หมุนตามเข็มนาฬิกา ?
    แหล่งข้อมูล AOML (Atlantic Oceanographic and Meteorological Laboratory)
    Why do tropical cyclones' winds rotate counter-clockwise (clockwise) in the Northern (Southern) Hemisphere? (ตอน1)

    เคยสังเกตุไหมครับว่าทำไม พายุหมุนเขตร้อนในซีกภาคเหนือจึง “หมุนทวนเข็มนาฬิกา” แต่ในซีกโลกภาคใต้กลับ “หมุนตามเข็มนาฬิกา”
    สาเหตุนั่นเพราะ แรงโคริโอลิส (CORIOLIS FORCE)นั่นเอง
    ก่อนที่เราจะไปดูวิธีการหมุนของพายุหมุนเขตร้อน เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ แรงโคริโอลิส กันก่อนนะครับ

    “แรงโคริโอลิส” (CORIOLIS FORCE) หมายถึงแรงเฉ แรงบ่ายเบน แรงเบี่ยงเบน จะเรียกคำไหนก็ได้ แต่เราจะเรียก”แรงเฉ”กันในที่นี้เพราะเข้าใจง่ายกว่า มองเห็นภาพมากกว่า
    “แรงเฉ”เกิดจาก การหมุนของโลก เมื่อเรามองจากรูปโลกมันจะหมุนรอบตัวเองโดยมีทิศทางหมุนทวนเข็มนาฬิกาจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก(หมุนจากซ้ายไปขวามือ) เนื่องจากการหมุนของโลกทำให้ลมหรือวัตถุเคลื่อนที่บนผิวโลกมีทิศทางการเคลื่อนที่เปลี่ยนไป และแรงที่ทำให้ลมและวัตถุมีทิศทางการเคลื่อนที่เปลี่ยนไปนี้เรียกว่า “แรงเฉ” หรือ “แรงโคริโอลิส นอกจากมีผลกับลมแล้ว ยังมีผลกับสิ่งอื่นๆ อีกด้วย ได้แก่ มวลอากาศ กระแสน้ำ การเดินของคน การวิ่งของรถยนต์ การบินของเครื่องบิน และการพุ่งขึ้นของจรวด เป็นต้น
    การหมุนของโลกทำให้ลมที่พัดในซีกโลกเหนือ เฉโค้งไปทางขวามือ เฉโค้งไปเรื่อยๆจนลมนั้น “หมุนตามเข็มนาฬิกา” ส่วนลมในซีกโลกใต้จะเฉโค้งไปทางซ้ายมือ เฉโค้งไปเรื่อยๆจนลมนั้น “หมุนทวนเข็มนาฬิกา” ดังภาพด้านล่างต่อไปนี้
    [​IMG]
    ภาพกราฟฟิคด้านบน ภาพนี้ ให้มองว่าขณะนี้โลกกำลังหมุนรอบตัวเองทวนเข็มนาฬิกาหรือจากตกไปออก(จากซ้ายไปขวามือ) จากภาพลูกศรจะเกิด “แรงเฉ”โค้ง เฉโค้งไปเรื่อยๆจนลมนั้น “หมุนตามเข็มนาฬิกา” ในซีกโลกเหนือ และ “หมุนทวนเข็มนาฬิกา” ในซีกโลกใต้ ……….. จากภาพกราฟฟิคนี้ลองนึกภาพ เปรียบเสมือนกับ รถประจำทางขนาดใหญ่กำลังเคลื่อนที่ผ่านตัวเรา(จากซ้ายมือไปขวามือ) อย่างรวดเร็วขณะที่เรากำลังยืนรอรถอยู่ เราจะมีความรู้สึกว่าลมจะพัดดูดเราออกไปจากถนนไปทางขวาเล็กน้อยชั่วขณะประหนึ่งว่ามีอาการ “เซ” ออกถนนไปทางขวามือ(ลักษณะถูกดูดออกจากถนนไปทางขวามือ) ….. ท่านทั้งหลายครับ! ขอเปรียบดังนี้ คือ 1) ตำแหน่งและเส้นทางของรถประจำทางขนาดใหญ่ คือบริเวณเส้นศูนย์สูตร…2) รถประจำทางขนาดใหญ่กำลังเคลื่อนที่นั้น คือการเคลื่อนที่ของโลกจากซ้ายไปขวามือ(การหมุนของโลกจากตกไปออกหรือทวนเข็มนาฬิกา)… 3) ตำแหน่งที่เรากำลังยืนรอรถอยู่ คือบริเวณซีกโลกซีกโลกเหนือ…และ 4) เราซึ่งกำลังยืนรอรถอยู่มีอาการ “เซ” นั้นคือลมหรือวัตถุที่กำลังเกิด “แรงเฉ” ไปทางขวามือเมื่ออยู่ในซีกโลกเหนือ นั่นเอง
    ***หมายเหตุ*** ภาพนี้เป็นภาพแรงเฉ(แรงโคริโอลิส)ของลมทั่วทั้งโลกเท่านั้นเฉยๆ ยังไม่ใช่วิธ๊การหมุนของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งจะกล่าวในระยะต่อไป

    [​IMG]
    ภาพด้านบนนี้บ่งบอกว่า ขณะที่โลกกำลังหมุนรอบตัวเองมีทิศทางทวนเข็มนาฬิกาหรือจากทิศตะวันตกไปยังตะวันออก(จากซ้ายไปขวา) จะทำให้เกิด “แรงเฉ” จากภาพในซีกโลกเหนือลูกศรจะเกิด “แรงเฉ”โค้งไปทางขวา เฉโค้งไปขวาเรื่อยๆจนลมนั้น “หมุนตามเข็มนาฬิกา” และ ส่วนในซีกโลกใต้ลูกศรจะเกิด “แรงเฉ”โค้งไปทางซ้ายมือ เฉโค้งไปทางซ้ายเรื่อยๆจนลมนั้น “หมุนทวนเข็มนาฬิกา” สังเกตบริเวณเส้นศูนย์สูตรปรากฎคำว่า “NO DEFLECTION AT QUATOR” แปลว่าบริเวณเส้นศูนย์สูตรจะไม่เกิด แรงเฉ(Coriolis Force) เลย ส่วนด้านบนสุดและด้านล่างสุดของภาพจะปรากฎคำว่า “MAXIMUN DEFLECTION AT POLE” แปลว่าบริเวณขั้วโลกทั้งเหนือและใต้ จะเกิดแรงเฉ(Coriolis Force)มากที่สุด คำสองคำนี้บ่งบอกว่าในบริเวณศูนย์สูตรแรงเฉหรือแรงโคริโอลิส มีค่าป็นศูนย์ ที่มีค่าเป็น 0 นี้ ลมจะมีลักษณะการเคลื่อนที่ทิศทางตรงไม่เฉโค้งเลย และจะมีค่าเฉเพิ่มมากขึ้นตามละติจูดที่สูงขึ้น และแรงเฉ(แรงโคริโอลิส)จะมีค่าสูงสุดบริเวณขั้วโลกทั้งสอง ลมจะมีลักษณะพัดเฉโค้งแบบหักศอก ประมาณนั้น ซึ่งมีนัยดังนี้
    ***หมายเหตุ*** ภาพนี้เป็นภาพแรงเฉ(แรงโคริโอลิส)ของลมทั่วทั้งโลกเท่านั้นเฉยๆ ยังไม่ใช่วิธ๊การหมุนของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งจะกล่าวในระยะต่อไป

    ---

    เพื่อความเข้าใจจะขออธิบายอีกนัยหนึ่งว่า…
    ถ้าโลกไม่ได้หมุนรอบตัวเอง ลมจะพัดจากบริเวณความกดอากาศสูงไปยังบริเวณความกดอากาศต่ำเป็นเส้นตรงเลยทีเดียว แต่การหมุนของโลกทำให้เกิดแรงเฉหรือแรงโคริโอลิส (CORIOLIS FORCES ตั้งชื่อไว้เป็นเกียรติแก่ จีจีโคริโอลิส หรือ Gaspard Gustave de Coriolis ค.ศ.1792-1843 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสคนแรกของโลกที่อธิบายแรงโคริโอลิส)
    แรงเฉ (โคริโอลิส)นี้เอง ซึ่งทำให้ทิศทางของลมเปลี่ยนแปลงไป ทิศทางที่เปลี่ยนไปนี้ เป็นไปตามกฎของ เฟอร์เรล(Ferrel’s law) ที่ว่าของไหลใดๆที่เคลื่อนที่อย่างเป็นอิสระบนซีกโลกภาคเหนือจะมีแรงชนิดหนึ่งเหนี่ยวนำให้ทิศทางการเคลื่อนที่ ”เฉโค้ง” ไปทางขวามือเสมอ ส่วนซีกโลกภาคใต้จะเคลื่อนที่ ”เฉโค้ง” ไปทางซ้ายมือเสมอ และพยายามจะเคลื่อนที่เป็นวงกลม โดยซีกโลกเหนือจะเคลื่อนที่หมุนเป็นวงกลมตามเข็มนาฬิกา ซีกโลกใต้จะเคลื่อนที่หมุนเป็นวงกลมทวนเข็มนาฬิกา แรงเฉนี้ จะมีความรุนแรงมากขึ้น-น้อยลงตามระยะ***งจากเส้นศูนย์สูตร ยิ่ง***งจากเส้นศูนย์สูตรมากเท่าใด “แรงเฉ” ก็จะมีความรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น ในทางกลับกันยิ่งใกล้เส้นศูนย์สูตรมากเท่าใด “แรงเฉ” ก็ค่าน้อยลงตามลำดับ สำหรับบริเวณเส้นศูนย์สูตรจะไม่ปรากฎ แรงเฉโค้ง(แรงโคริโอลิส) เลย…........ ลองนึกภาพ เปรียบเสมือนกับ เรากำลังขับรถมอร์เตอร์ไซ หรือขับรถเก๋งจากบริเวณด้านซ้ายมือไปยังขวามืออย่างเร็ว ขณะขับรถฯเราจะมีความรู้สึกว่าลมพัดตรงเข้าหาหน้าเราตรงๆเลย จะไม่รู้สึกเลยว่าลมจะพัดเฉเข้าด้านข้างของใบหน้าเราทั้งด้านซ้ายและขวาแม้สักวินาทีเดียว….. ขณะนั้น มีคนยืนอยู่ 2 ฟากข้างถนนทั้งทางด้านซ้ายมือ-ขวามือของเราขณะที่เราขี่รถผ่าน ขณะที่เราขับรถอย่างเร็วมากผ่านตัวเขาทั้งสองนั้นเอง เขาทั้งสองกลับมีความรู้สึกว่าลมนั้นพัดเฉดึงตัวเขาออกจากถนนเล็กน้อยเหมือนมีอาการ ”เซ” ออกจากถนนทั้งคู่ คนที่ยืนอยู่ซ้ายมือของเราจะเซ(เฉ)ไปทางขวามือ(ของเขา) ในทางกลับกัน คนที่ยืนอยู่ขวามือของเราจะเซ(เฉ)ไปทางซ้ายมือ(ของเขา)

    จากเหตุการณ์เราขอเปรียบว่า 1) เราผู้ซึ่ง(กำลัง)ขับเคลื่อนรถมอร์เตอไซหรือขับรถเก๋ง คือการเคลื่อนที่ของโลกจากซ้ายไปขวามือ(เหมือนการหมุนของโลกทวนเข็มนาฬิกา)…
    2) ตำแหน่งและเส้นทางที่เราขับรถนั้น คือบริเวณเส้นศูนย์สูตร (จะไม่มีแรงเฉเลย)…
    3) ลมที่พัดเข้าใบหน้าเราตรงๆ ขณะขับ คือแรงโคริโอลิสหรือแรงเฉ มีค่าเป็นศูนย์ เมื่ออยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร
    4) ตำแหน่งคน 2 คนที่กำลังยืนอยู่ระหว่างเราทางซ้ายและขวาของเรา(ยืนระหว่างสองฟากถนน) คือบริเวณซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ตามลำดับ…
    5) อาการ “เซ” ของทั้งคนซ้ายและขวาออกไปจากถนนเล็กน้อยของเขาทั้งสองขณะเราขับรถผ่าน คือแรงเฉ(แรงโคริโอลิส) ของทั้งซีกโลกเหนือและใต้ตามลำดับ…
    และ 6) ส่วนตัวเราผู้ขับรถ คือผู้ให้กำเนิดลม ”แรงเฉ” จากเส้นศูนย์สูตร มีนัยดังนี้
    จากเหตุการณ์ทั้งหมดที่เปรียบเทียบนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจแรงโคริโอลิสได้ง่ายขึ้น

    [​IMG]
    ภาพกราฟฟิคนี้ แสดงว่าเมื่อเรามองดูรูปของโลกเรา จะเห็นว่าโลกหมุนรอบตัวเอง(หมุนทวนเข็มนาฬิกาหรือจากซ้ายไปขวามือ) จะทำให้เกิด “แรงเฉ”โค้ง เฉโค้งไปเรื่อยๆจนลม มวลอากาศ หรือกระแสน้ำนั้น “หมุนตามเข็มนาฬิกา” ในซีกโลกเหนือ แต่จะ “หมุนทวนเข็มนาฬิกา” ในซีกโลกใต้
    ***หมายเหตุ*** ภาพนี้เป็นภาพแรงเฉของลมทั่วทั้งโลกเท่านั้นเฉยๆ ยังไม่ใช่วิธ๊การหมุนของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งจะกล่าวในระยะต่อไป

    สรุปก็คือ แรงเฉ หรือแรงโคริโอริสเป็นสาเหตุนั่นเอง ที่มีอิทธิพลทำให้ในซีกโลกเหนือพายุหมุนเขตร้อนจะหมุน “ทวนเข็มนาฬิกา” แต่ซีกโลกใต้หมุน “ตามเข็มนาฬิกา”

    จากสาเหตุแรงเฉ(Coriolis Force) นี่เองที่ทำให้พายุหมุนเขตร้อนซีกโลกเนือ”หมุนทวนเข็มนาฬิกา” และ ซีกโลกใต้”หมุนตามเข็มนาฬิกา” มันมีอิทธิพลและกระบวนการอย่างไร ?
    เรื่องนี้ยังไม่จบนะครับ เพราะข้อมูลเยอะมากประกอบกับเนื้อหาค่อนข้างยากแก่การเข้าใจ เกรงว่าจะกลายเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ เลยแบ่งข้อมูลไว้กระทู้ต่อไป กระทู้นี้จุดประสงค์เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับแรงโคริโอลิสในเบื้องต้นก่อน แต่ตอนต่อไป จะเสนอเกี่ยวกับ “แรงโคริโอลิสที่มีอิทธิพล และกระบวนการต่อการหมุนของพายุหมุนเขตร้อนทั้งซีกโลกเหนือและใต้”

    ***หมายเหตุ***
    จากเหตุการณ์ทั้งหมดที่เปรียบเทียบนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจแรงโคริโอลิสได้ง่ายขึ้น

    [​IMG] MONZA


    </td></tr> </tbody></table>
    </td></tr> <tr><td> <table align="center" border="0" width="100%"> <tbody><tr><td align="left">
    </td> <td align="right"> โดยคุณ TC-2008 (125.24.89.87) [06-03-2008 04:14]</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  10. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <table bgcolor="white" border="1" bordercolor="blue" cellpadding="5" cellspacing="0" width="600"><tbody><tr><td align="center" bgcolor="blue">08 ถาม-ตอบ พายุหมุนเขตร้อน: แรงโคริโอลิส มีอิทธิพล และกระบวนการต่อการหมุนของพายุหมุนเขตร้อนอย่างไร ? </td></tr> <tr><td>
    <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td> 08 ถาม-ตอบ พายุหมุนเขตร้อน: แรงโคริโอลิส มีอิทธิพล และกระบวนการต่อการหมุนของพายุหมุนเขตร้อนอย่างไร ?
    แหล่งข้อมูล AOML (Atlantic Oceanographic and Meteorological Laboratory
    Why do tropical cyclones' winds rotate counter-clockwise (clockwise) in the Northern (Southern) Hemisphere?(ตอน 2)


    [​IMG]
    ภาพกราฟฟิคแสดงให้เห็นว่า แรงโคริโอลิส มีอิทธิพล และกระบวนการต่อการหมุนของพายุหมุนเขตร้อน “หมุนทวนเข็มนาฬิกา” ในซีกโลกเหนือ และ”หมุนตามเข็มนาฬิกา” ในซีกโลกใต้
    ที่มา NASA

    เนื่องจากสาเหตุแรงเฉ(Coriolis Force) มีอิทธิพล ทำให้พายุหมุนเขตร้อนซีกโลกเนือ”หมุนทวนเข็มนาฬิกา” และ ซีกโลกใต้”หมุนตามเข็มนาฬิกา” มันมีอิทธิพลและกระบวนการอย่างไร ?

    1.อิทธิพล ต่อการหมุนของพายุหมุนเขตร้อนอย่างไร ?

    ตามภาพด้านล่างนี้
    [​IMG]
    ภาพบริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำซีกโลกเหนือ ขณะที่ความกดอากาศสูงกำลังวิ่งเข้าหาความกดอากาศต่ำ
    - สูกศรสีแดง หมายถึงแรงโคริโอลิสหรือแรงเฉ จากความกดอากาศสูง
    - เส้นวงปิดสีดำทั้งสามวง หมายถึงระดับความกดอากาศต่ำหรือแรงความชันของความกดอากาศ(pressure gradient force),
    - แต่ถ้าเส้นวงปิดสีดำวงเดียว หมายถึงเส้นความกดอากาศเท่า(Isobar),
    - ส่วนเส้นประสีแดง หมายถึงแรงโคริโอลิสจะพัดเข้าสู่ศูนย์กลางความกดอากาศต่ำทันที่ ถ้าโลกไม่ได้หมุนรอบตัวเอง
    และเนื่องจากโลกหมุน แรงโคริโอลิส(ลูกศรแดง)จะพัดเฉทำมุมกับเส้นความกดอากาศเท่า(เส้นวงปิดสีดำทั้ง3วง) ประมาณ 10-20 องศา ดังภาพ จึงเกิดการพัดเวียนรอบความกดอากาศต่ำทวนเข็มนาฬิกา
    จากภาพด้านบนอธิบายดังนี้
    ภาพแผนที่บริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำในซีกโลกเหนือ แสดงการกระทำของแรงโคริโอลิสที่มีอิทธิพลต่อพายุหมุนเขตร้อนในซีกโลกเหนือ รูปนี้ จุด A เป็นตัวแทนของลมซึ่งควรจะพัดไปหาจุด C ถ้าโลกอยู่นิ่งเฉยไม่ได้หมุนรอบตัวเอง แต่เนื่องจากการที่โลกหมุนรอบตัวเองทำให้ทิศทางของลมหรือมวลอากาศเย็นพัด “เฉียง” ทางซ้าย ไปเป็นทิศทาง AB เมื่อแรงเฉ พร้อมใจกันเฉไปทางซ้ายกันทั้งหมดที่เส้นรอบวงแต่ละวง พายุหมุนเขตร้อนจึงหมุนทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ
    ภาพวงปิดทั้งสามวงแต่ละวงคือเส้นความกดอากาศเท่า(ISOBAR) ตำบลใดก็ตามที่เส้นนี้ลากผ่านจะมีความกดอากาศตามบารอมิเตอร์เท่ากัน ตำบล C จะมีความกดอากาศต่ำกว่าภายนอก ด้วยแรงโคริโอลิสทำให้มวลอากาศเย็นจะเคลื่อนที่ขนาน”วน”รอบกับเส้นความกดอากาศเท่า(ISOBAR)ดังภาพ มากกว่าจะเคลื่อนที่เข้าสู่ศูนย์กลางหย่อมความกดอากาศต่ำแบบเป็นเส้นตรงเลยทันที
    ดังนั้น จากภาพเนื่องจากโลกหมุน “แรงโคริโอลิส”หรือแรงเฉจากความกดอากาศสูง จะพัดเฉทำมุมกับเส้น”ความกดอากาศเท่า”(Isobar) ประมาณ 10-20 องศา ลมจะมีลักษณะเคลื่อนที่ขนาน”วน”รอบกับเส้นความกดอากาศเท่า จนเกิดการพัดเวียนรอบความกดอากาศต่ำทิศทางทวนเข็มนาฬิกา… ขอเปรียบอีกครั้งว่า 1) แรงโคริโอลิสหรือแรงเฉ คือลูกศรสีแดง 2) เส้นความกดอากาศเท่า(Isobar) คือเส้นสีดำวงปิดทั้งสามวง… สรุป แรงโคริโอลิสหรือแรงเฉ คือลูกศรสีแดง + เส้นความกดอากาศเท่าทั้งสามวง(Isobar) คือเส้นสีดำวงปิดทั้งสามวง = พายุหมุนเขตร้อนหมุนทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ

    2)กระบวนการ ต่อการหมุนของพายุหมุนเขตร้อนอย่างไร ?

    [​IMG]
    ภาพด้านบนแสดงถึง แรงเฉหรือแรงโคริโอลิสนี้ ทำให้ซีกโลกเหนือของไหล เช่นมวลอากาศ กระแสน้ำ และวัตถุต่างๆ ที่เคลื่อนที่อย่าง อิสระ จะเกิดแรงเฉไปทางขวา เฉขวาไปเรื่อยๆ จนทำให้ของไหลดังกล่าวหมุนตามเข็มนาฬิกา ส่วนซีกโลกใต้ของไหล เช่นมวลอากาศ กระแสน้ำ และวัตถุต่างๆ ที่เคลื่อนที่อย่าง อิสระ จะเกิดแรงเฉไปทางซ้าย เฉซ้ายไปเรื่อยๆ จนทำให้ของไหลดังกล่าวหมุนทวนเข็มนาฬิกา เเต่ทำไมจึงมีทิศทางตรงกันข้ามกับการหมุนของพายุหมุนเขตร้อน? เราจะอธิบายภาพด้านล่างต่อๆกันเลย
    [​IMG]
    ภาพนี้แสดงถึงความกดสูงกำลังวิ่งเข้าสู่ความกดอากาศต่ำ(pressure gradient force) ในซีกโลกเหนือ
    - ลูกศรสีน้ำเงิน หมายถึงแรงโคริโอลิสหรือแรงเฉ (Coriolis force)
    - ลูกศรสีแดง หมายถึงแรงความชันของความกดอากาศ หรือกล่าวอีกนัยว่าความกดสูงกำลังวิ่งเข้าสู่ความกดอากาศต่ำ (Pressure gradient force)
    - ลูกศรสีดำ หมายถึงกระแสลมจะพัดเวียนรอบในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
    อธิบายคือ แรงโคริโอลิสเมื่อมีค่าสมดุลกับความชันของความกดอากาศจะทำมุมฉากกัน 90 องศา (ลูกศรสีน้ำเงินตั้งฉาก 90 องศากับลูกศรแดง) และลูกศรน้ำเงินเมื่อตั้งฉากไปทางขวาของลูกศรแดง ทำให้ลมเกิดการพัดเวียนทวนเข็มนาฬิกา

    เพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้นขออธิบายอย่างละเอียดดังนี้
    [​IMG]
    ภาพด้านบนแสดงถึง การไหลของความกดอากาศสูงที่พัดเวียนรอบบริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำ (Low Pressure Area) ในซีกโลกเหนือ
    - ลูกศรสีน้ำเงินด้านนอก4 มุม หมายถึง แรงความชันของความกดอากาศจากความกดอากาศสูงวิ่งเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำ (pressure gradient force)
    - ลูกศรสีน้ำเงินภายในวงกลม แสดงถึง แรงความชันของความกดอากาศมีค่าสมดุลกับแรงโคริโอลิส(ลูกศรสีแดง)
    - ลูกศรสีแดงด้านนอก 4 มุม หมายถึง แรงเฉหรือแรงโคริโอลิส (coriolis force)
    - ลูกศรสีแดงด้านใน หมายถึงแรงโคริโอลิสมีค่าสมดุลกับความชันของความกดอากาศ(ลูกศรสีน้ำเงิน) *ไม่ได้แปลว่าลมจะพัดออกไปด้านนอกนะครับ
    - ลูกศรสีดำ คือเส้นความกดอากาศเท่า(isobar) ซึ่งมีลักษณะพัดรอบทวนเข็มนาฬิกา
    1) แรงเฉ(ลูกศรสีแดง) นี้เมื่อมีความสมดุลกับค่าความชันของความกดอากาศ(ลูกศรสีน้ำเงิน) สังเกตจากภาพทั้งลูกศรสีแดงและน้ำเงินบริเวณรอบวงกลมแสดงถึงค่าเท่ากัน *ลูกศรแดง*ไม่ได้แปลว่าลมจะพัดออกไปด้านนอกนะครับ แสคงถึงค่าเท่ากัน
    2) เมื่อทั้ง 2แรง มีค่าสมดุลกันแล้ว แรงเฉ(ลูกศรสีแดง)จะมีลักษณะ ตั้งฉาก 90 องศากับความชันของความกดอากาศ(ลูกศรน้ำเงิน) การตั้งฉาก 90 องศานี้ในซีกโลกเหนือจะตั้งฉากไปทางขวามือ สังเกตจากภาพลูกศรด้านนอก ลูกศรแดงจะตั้งฉาก 90 องศากับลูกศรสีน้ำเงิน ดังภาพ
    3) เมื่อแรงทั้งสองแรงทำมุมตั้งฉากกันแล้ว ส่งผลให้ลมพัดเฉียงไปทางซ้ายจนพัดเวียนทวนเข็มนาฬิกา ในซีกโลกเหนือ
    อธิบายว่า! เพราะเนื่องจากโลกหมุนทำให้เกิด ”แรงเฉ” เมื่อแรงเฉหรือแรงโคริโอลิส(ลูกศรสีแดง) มีค่าสมดุลกับค่าความชันของความกดอากาศ(ลูกศรสีน้ำเงิน) แรงเฉ(ลูกศรแดง)จะทำฉากกับความชันของความกดอากาศ(ลูกศรน้ำเงิน) ส่งผลทำให้เส้นความกดอากาศเท่า(ลูกศรสีดำ) ก็จะมีลักษณะพัด ”เฉียงซ้าย” รอบศูนย์กลางความกดอากาศต่ำพัดเฉียงซ้ายไปเรื่อยๆ จนทวนเข็มนาฬิกา
    เพราะฉะนั้น เมื่อลูกศรทั้ง 2 สีมีค่ามดุลกันและมาบรรจบพบเจอกัน ณ จุดๆนั้น ทั้งลูกศรสีน้ำเงิน คือค่าความชันของความกดอากาศหรือการวิ่งจากความกดอากาศสูงสู่ความกดอากาศต่ำ(pressure gradient force) + ลูกศรแดง คือค่าของแรงเฉ(coriolis force) = ลูกศรสีดำคือเส้นความกดอากาศเท่า(isobar) ลมจะเกิดการพัดเวียนรอบไปตามทิศทางทวนเข็มนาฬิกา สู่ศูนย์กลางพายุ

    จากภาพด้านบนนี้ดังนี้ขอให้เข้าใจว่าเมื่อแรงโคริโอลิส(ลูกศรสีแดง)มีค่าสมดุลกับค่าความชันของความกดอากาศ(ลูกศรสีน้ำเงิน) แรงโคริโอลิส(ลูกศรสีแดง)จะทำมุมตั้งฉากกับค่าความชันของความกดอากาศ(ลูกศรสีน้ำเงิน) ซึ่งในซีกโลกเหนือลูกศรแดงจะทำมุมตั้งฉากกับลูกศรน้ำเงินไปด้านขวา ส่งผลให้ลูกศรสีดำพัดเวียนทวนเข็มนาฬิกาไปด้วย แต่ในซีกโลกใต้ลูกศรแดงจะทำมุมตั้งฉากกับลูกศรน้ำเงินไปด้านซ้าย ส่งผลให้ลูกศรสีดำพัดเวียนตามเข็มนาฬิกาไปด้วย

    ---

    แล้วจะเป็นไปได้อย่างไรเมื่อพายุหมุนเขตร้อนจะพัดเวียนเฉียงซ้ายจนหมุนทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ แต่แรงโคริโอลิส(แรงเฉ)ซึ่งจะพัดเฉขวาแล้วหมุนตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ ซึ่งทิศทางการหมุนอย่างนี้มันขัดกับทิศทางการหมุนของพายุหมุนเขตร้อน มันเป็นไปได้อย่างไร ?
    ตอบ ดังที่ได้เรียนไปแล้วตั้งกระทู้ข้อที่ 07 แล้วว่า แรงเฉนี้ จะมีความรุนแรงมากขึ้น-น้อยลงตามระยะ***งจากเส้นศูนย์สูตร ยิ่ง***งจากเส้นศูนย์สูตรมากเท่าใด “แรงเฉ” ก็จะมีความรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น ในทางกลับกันยิ่งใกล้เส้นศูนย์สูตรมากเท่าใด “แรงเฉ” ก็ค่าน้อยลงตามลำดับ สำหรับบริเวณเส้นศูนย์สูตรจะไม่ปรากฎ แรงเฉโค้ง(แรงโคริโอลิส) เลย ดังนั้นสรุปแล้ว มี 2 สาเหตุดังนี้คือ
    1) แรงโคริโอลิส ยิ่งใกล้บริเวณศูนย์สูตรมากเท่าใดแรงเฉ(แรงโคริโอลิส)ก็จะยิ่งมีค่าน้อยมากเท่านั้น ส่วนบริเวณแถบเส้นศูนย์สูตรแรงเฉ(แรงโคริโอลิส)จะมีค่าเป็นศูนย์ ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณที่ใกล้ศูนย์สูตรแรงเฉมีค่าน้อยมาก เป็นผลให้ในซีกโลกเหนือ พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นบริเวณที่ใกล้ศูนย์สูตรจะพัดเวียนเฉียงไปทางซ้ายมากกว่าแรงโคริโอลิส(แรงเฉ)ที่พัดเฉียงไปขวาได้ง่ายขึ้น จนพายุหมุนเขตร้อนพัดเวียนเฉียงซ้ายจนทวนเข็มนาฬิกา ส่วนซีกโลกใต้ พายุหมุนเขตร้อนจะพัดเวียนเฉียงไปทางขวามากกว่าแรงโคริโอลิส(แรงเฉ)ได้ง่ายขึ้น จนพายุหมุนเขตร้อนพัดเวียนเฉียงขวาจนตามเข็มนาฬิกา
    2) ประกอบกับลมจากแถวเส้นศูนย์สูตรมีค่ามากกว่าลมจากแถวขั้วโลก เนื่องจากพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดลมในบริเวณแถวใกล้เส้นศูนย์สูตรใหญ่กว่าพื้นที่บริเวณขั้วโลก…
    ทั้ง 2 ข้อนี้ เปรียบเสมือนกับการขับเรืออย่างรวดเร็วจากซ้ายไปขวา เมื่อเราขับกระแสน้ำจะปะทะเข้าตัวหัวเรือตรงๆเลย ขณะเมื่อเราขับเรือนั้นเอง ส่วนน้ำบริเวณด้านข้างเรือทั้งสองข้าง กระแสน้ำบริเวณที่ชิดกับข้างเรือจะถูกดูดเข้าหาเรือทั้งสองข้าง โดยข้างเรือด้านซ้ายกระแสน้ำจะถูกดูดเฉไปทางขวา ส่วนข้างเรือด้านขวามือกระแสน้ำกระแสน้ำจะถูกดูดเฉไปทางซ้าย และกระเเสน้ำบริเวณข้างเรือทั้งสองข้างไกลออกไปหน่อยหรือบริเวณท้ายเรือกระแสน้ำจะมีลักษณะหมุนวน โดยข้างเรือด้านซ้ายหรือท้ายเรือด้านซ้ายกระแสน้ำจะพัดหมุนวนทวนเข็มนาฬิกา ส่วนข้างเรือด้านขวาหรือท้ายเรือด้านขวากระแสน้ำจะพัดหมุนวนตามเข็มนาฬิกา… โปรดนึกภาพตาม
    ท่านครับ เราขอเปรียบว่า…………….1) เราผู้ขับรถเรือจากซ้ายไปขวา คือการที่โลกหมุนรอบตัวเอง(จากซ้ายไปชวา)…
    2) ตำแหน่งเรือและเส้นทางเรือ คือบริเวณเส้นศูนย์สูตร…
    3) การที่กระแสน้ำปะทะเข้าหัวเรือตรงๆ คือบริเวณเส้นศูนย์สูตรจะไม่ปรากฎแรงเฉ แรงโคริโอลิสมีค่าเป็นศูนย์….
    4) กระแสน้ำ(ด้านซ้ายข้างเรือ)ที่ถูกดูดไปทางขวาเข้าตัวเรือ คือแรงเฉบริเวณซีกโลกเหนือจะพัดเฉไปขวามือ…
    5) กระแสน้ำ(ด้านขวาข้างเรือ)ที่ถูกดูดไปทางซ้ายเข้าตัวเรือ คือแรงเฉบริเวณซีกใต้เหนือจะพัดเฉไปซ้ายมือ…
    6) กระแสน้ำหมุนวน”ทวนเข็มนาฬิกา” ที่ด้านซ้ายของท้ายเรือและข้างเรือ คือการหมุนของพายุหมุนเขตร้อนในซีกโลกเหนือจะ ทวนเข็มนาฬิกา…
    7) กระแสน้ำหมุนวน”ตามเข็มนาฬิกา” ที่ด้านขวาของท้ายเรือและข้างเรือ คือการหมุนของพายุหมุนเขตร้อนในซีกโลกใต้จะ ตามเข็มนาฬิกา…
    8) ตำแหน่งของกระแสน้ำทั้งที่ถูกดูดและพัดหมุนวนด้านซ้ายของเรือ คือบริเวณซีกโลกเหนือ…
    9) ตำแหน่งของกระแสน้ำทั้งที่ถูกดูดและพัดหมุนวนด้านขวาของเรือ คือบริเวณซีกโลกใต้….
    10) ส่วนการที่เรากำลังขับเรือนั้น เปรียบเสมือนแหล่งกำเนิดลมในบริเวณแถวใกล้เส้นศูนย์สูตรจะใหญ่กว่าหรือมีค่ามากกว่าพื้นที่บริเวณขั้วโลก


    ---

    สิ่งที่คุณอาจพิสูจน์ได้ ?

    ในซีกโลกเหนือพายุจะพัดเวียนทวนเข็มนาฬิกา แต่ซีกโลกใต้พายุจะพัดเวียนตามเข็มนาฬิกามันเป็นไปได้อย่างไร ? เรามีวิธีพิสูจน์ได้ครับ ให้หาวัตถุทรงกลมอะไรก็ได้ เนื่องจากโลกเรามีลักษณะหมุนทวนเข็มนาฬิกาหรือหมุนจากซ้ายไปขวามือ เราก็ลองหมุนวัตถุทรงกลมนั้นทวนเข็มนาฬิกาบ้าง และสังเกตุดังต่อไปนี้
    1) ขณะที่หมุนอยู่สังเกตุดูด้านบนของวัตถุทรงกลม เปรียบเสมือนมองจากขั้วโลกเหนือลงมา จะมีลักษณะหมุนทวนเข็มนาฬิกา เช่นเดียวกันกับพายุหมุนเขตร้อนในซีกโลกเหนือก็จะหมุนทวนเข็มนาฬิกาตามไปด้วย
    2) เรายังไม่หยุดหมุนนะครับ สังเกตุดูด้านใต้ของวัตถุทรงกลม เปรียบเสมือนมองจากขั้วโลกใต้ขึ้นไปจะมีลักษณะหมุนตามเข็มนาฬิกา เช่นเดียวกันกับพายุหมุนเขตร้อนในซีกโลกใต้ก็จะหมุนตามเข็มนาฬิกาไปด้วย
    เพราะฉะนั้น
    ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเองไปตามทิศทางทวนเข็มนาฬิกา(จากซ้ายไปขวามือ)
    ถ้ามองดูโลกจากทางขั้วโลกเหนือลงมาจะเห็นโลกหมุนทวนเข็มนาฬิกา ซึ่งจะทำให้พายุหมุนเขตร้อนเหนือเส้นศูนย์สูตรในซีกโลกเหนือหมุนทวนเข็มไปด้วย
    ถ้ามองดูโลกจากทางขั้วโลกใต้ขึ้นไปจะเห็นโลกหมุนตามเข็มนาฬิกา ซึ่งจะทำให้พายุหมุนเขตร้อนเหนือเส้นศูนย์สูตรในซีกโลกใต้หมุนตามเข็มไปด้วย
    เนื่องจาก
    1) แรงโคริโอลิส ยิ่งใกล้บริเวณศูนย์สูตรมากเท่าใดแรงเฉ(แรงโคริโอลิส)ก็จะยิ่งมีค่าน้อยมากเท่านั้น ส่วนบริเวณแถบเส้นศูนย์สูตรแรงเฉ(แรงโคริโอลิส)จะมีค่าเป็นศูนย์ ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณที่ใกล้ศูนย์สูตรแรงเฉมีค่าน้อยมาก เป็นผลให้ในซีกโลกเหนือ พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นบริเวณที่ใกล้ศูนย์สูตรจะพัดเวียนเฉียงไปทางซ้ายมากกว่าแรงโคริโอลิส(แรงเฉ)ที่พัดเฉียงไปขวาได้ง่ายขึ้น จนพายุหมุนเขตร้อนพัดเวียนเฉียงซ้ายจนทวนเข็มนาฬิกา ส่วนซีกโลกใต้ พายุหมุนเขตร้อนจะพัดเวียนเฉียงไปทางขวามากกว่าแรงโคริโอลิส(แรงเฉ)ได้ง่ายขึ้น จนพายุหมุนเขตร้อนพัดเวียนเฉียงขวาจนตามเข็มนาฬิกา
    2) ประกอบกับลมจากแถวเส้นศูนย์สูตรมีค่ามากกว่าลมจากแถวขั้วโลก เนื่องจากพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดลมในบริเวณแถวใกล้เส้นศูนย์สูตรใหญ่กว่าพื้นที่บริเวณขั้วโลก…

    ==================================

    [​IMG]
    ภาพถ่ายดาวเทียมด้านบนแสดงให้เห็นว่า เนื่องจากแรงโคริโอลิสมีอิทธิพลทำให้ในซีกโลกเหนือพายุหมุนเขตร้อนจะค่อยๆพัดเฉียงไปซ้ายมือตามลูกศรแดง จนมันทวนเข็มนาฬิกา สังเกตแนวเมฆฝนบริเวณอ่าวเบงกอลจะค่อยๆพัดเฉียงไปซ้ายมือตามลูกศรแดง แต่ซีกโลกใต้ ปรากฎพายุหมุนเขตร้อนทั้ง 3 ลูก สังเกตแนวเมฆฝนทั้งหมด ทั้ง ไซโคลน JOKWE, หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 99S และ พายุโซนร้อน OPHELIA “โอเฟเลีย” เมฆฝนค่อยพัดเฉียงไปขวามือตามลูกศรแดง จนมันเวียนไปตามเข็มนาฬิกา
    (ภาพเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2551 เวลา 06.00 น. ตามเวลาประเทศไทย)

    [​IMG]
    ภาพถ่ายดาวเทียมด้านบนแสดงให้เห็นว่า เนื่องจากแรงโคริโอลิสมีอิทธิพลทำให้ในซีกโลกเหนือพายุหมุนเขตร้อน อย่างไซโคลน MALA “มาลา” เมฆฝนจะค่อยพัดเฉียงไปซ้ายมือตามลูกศรแดง จนมันพัดเวียนทวนเข็มนาฬิกา แต่ซีกโลกใต้ด้านล่างจะปรากฎหย่อมความกดอากาศต่ำ เมฆฝนค่อยพัดเฉียงไปขวามือตามลูกศรแดง จนมันเวียนไปตามเข็มนาฬิกา
    (ภาพเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2549 เวลา 19.30 น. ตามเวลาประเทศไทย)

    http://web.pointasia.com/th/forum/upload/userFile/200722W_MTSAT_2007_2.jpg
    ภาพถ่ายดาวเทียมเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 เวลา 02.30 น. ตามเวลาประเทศไทย


    ต่อกระทู้หน้าเป็นอันจบนะครับ
    [​IMG] MONZA



    </td></tr> </tbody></table>
    </td></tr> <tr><td> <table align="center" border="0" width="100%"> <tbody><tr><td align="left">
    </td> <td align="right"> โดยคุณ TC-2008 (125.24.90.126) [08-03-2008 10:45] </td></tr> </tbody></table> </td></tr> </tbody></table>
     
  11. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <table bgcolor="white" border="1" bordercolor="blue" cellpadding="5" cellspacing="0" width="600"><tbody><tr><td align="center" bgcolor="blue">หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณตอนล่างที่ฟิลิปปินส์ </td></tr> <tr><td>
    <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td> ตามกระทู้ครับมันมีเส้นกดอากาศ2วง จะมีโอกาสเป็นพายุมั้ยครับ แล้วถ้าเป็นพายุแล้วจะเข้าไทยมั้ยครับ </td></tr> </tbody></table>
    </td></tr> <tr><td> <table align="center" border="0" width="100%"> <tbody><tr><td align="left">
    </td> <td align="right"> โดยคุณ คนสงสัย [​IMG] (125.26.150.244) [02-07-2008 23:16] </td></tr> </tbody></table> </td></tr> </tbody></table>

    <hr color="#ff1493" width="600">
    <table bgcolor="#e0ffff" border="1" bordercolor="#1e90ff" cellpadding="2" cellspacing="0" width="600"> <tbody><tr><td> <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td align="left"> ความเห็นที่ 1 โดยคุณ TC-2008 (125.24.151.51) [03-07-2008 06:38] #17953 </td> <td align="right">
    </td> </tr></tbody></table> <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td>
    หย่อมลูกนี้ยังไม่เเนวโน้ม ที่จะออกคำประกาศประกาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อน (Tropical Cyclone Formation) ภายใน 24 ชั่วโมงนี้

    สำหรับหย่อมลูกนี้ ศูนย์กลางอยู่บริเวณ ด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ หรือมีศูนย์กลางที่ละติจูด 12.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 127.0 องศาตะวันออก กำลังมีทิศทาง เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก

    ต้องติดตามที่ศูนย์กลางหย่อมฯ ว่าจะมีการก่อตัวของเมฆฝนในเเนวดิ่งหรือไม่ หากเกิดมากขึ้นก็อาจเป็นไปได้ว่า จะพัฒนาเป็นพานุหมุนเขตร้อนในอนาคต

    </td></tr> </tbody></table> </td></tr> </tbody></table>
     
  12. ผู้หญิงธรรมดา

    ผู้หญิงธรรมดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2008
    โพสต์:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +535
    น่ากลัวจังเลยค่ะ
    จะมาดูอีกเด้อ
     
  13. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <table bgcolor="#e0ffff" border="1" bordercolor="#1e90ff" cellpadding="2" cellspacing="0" width="600"> <tbody><tr><td> <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td align="left"> ความเห็นที่ 7 โดยคุณ TC-98W (125.24.120.213) [04-07-2008 19:55] #17969 </td> <td align="right">
    </td> </tr></tbody></table> <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td>
    13.00 น. วันนี้(4ก.ค.51)

    หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังเเรง 98W บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง เริ่มมีการก่อตัวในเเนวดิ่งอย่างชัดเจนเเล้ว เเละมีกำลังเเรงขึ้นเรื่อยๆ หากดูในภาพถ่ายดาวเทียมเคลื่อนไหว ตั่งเเต่ 13.00 น. เป็นต้นมา จะสังเกตได้ว่า เริ่มมีการพัดเวียนไปรอบๆเข้าสู่ศูนย์กลางค่อนข้างชัดเจนทีเดียว

    สำหรับทิศทางพายุนั้นมีเเนวโน้มทีจะเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่เกาะไหหลลำ อ่าวตังเกี๋ย (หากยังไม่สลายตัวไปซะก่อน) ซึง่จะส่งผลต่อลักษณะอากาศประเทศไทย ตั้งเเต่วันที่ 6 เป็นต้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    สำหรับเเนวโน้มที่จะทวีขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน ผมคิดว่า เพิ่มขึ้นเป็น 70% เเล้วล่ะ

    </td></tr> </tbody></table> </td></tr> </tbody></table>
     
  14. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    [​IMG]
     
  15. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    Tropical Disturbance 98W : เรื่องหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 98W, 90W และ 90C

    06 กรกฎาคม 2551 เวลา 13.00 น. ตามเวลาประเทศไทย

    ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิคด้านตะวันตกตอนเหนือ ทะเลจีนใต้ และอ่าวไทย วันที่ 06 กรกฏาคม 2551 /13.30 น. ปรากฎพายุหมุนเขตร้อน 3 ลูก
    1) Tropical Disturbance 98W (17.8N 113.3E,12-18kts): เมื่อเวลา 13.00 วันนี้ (06 มิ.ย.51) หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 98W บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลาง ที่ละติจูด 17.8 องศาเหนือ ลองจิจูด 113.3 องศาตะวันออก. มีศูนย์กลางอยู่ห่ างประมาณ 491 กิโลเมตร ทางตอนใต้ของ ฮ่องกง . กำลังเคลื่อนตัวไปทางเหนือค่อนตะวันตกเล็กน้อยด้วยความเร็ว - นอต(- กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เมื่อ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา. จากภาพถ่ายดาวเทียมเคลื่อนไหวแสดงให้เห็นว่าบริเวณศูนย์กลางพายุเริ่มมีการพัดหมุนไปรอบๆศูนย์กลางแล้ว ประกอบกับมีการก่อตัวของแถบฝนอย่างอ่อนๆ บริเวณด้านเหนือและด้านใต้ของศูนย์กลางพายุ. หย่อมฯ 98W ลูกนี้มีการก่อตัวในแนวดิ่งอย่างต่อเนื่องเมื่อ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา หรือตั้งแต่ 13.00 น. วานนี้(5ก.ค.51)ที่ผ่านมาทากขึ้น แม้ว่าสภาวะโดยทั่วไปบนชั้นบรรยากาศโดยรอบๆพายุ(กระแสลมในแนวดิ่ง) จะไม่เอื้ออำนวยมากก็ตาม. จากการสำรวจที่พื้นผิวความกดอากาศที่ศูนย์กลางพายุ 1004-1005 มิลลิบาร์ และใน 2 4 ชั่วโมงที่ผ่านมาความกดอากาศตกมาที่ 1-2 มิลลิบาร์ เนื่องจากมีการพัดเข้าสู่ศูนย์กลางของกระแสลมตะวันตกเฉียงใต้บริเวณทางใต้ของศูนย์กลาง และกระแสลมตะวันออกบริเวณด้านเหนือของศูนย์กลางพายุ. การก่อตัวขึ้นไปของหย่อมลูกนี้ยังคงถูกสกัดขัดขวางโดยกระแสลมชั้นบน อย่างไรก็ตามหย่อมลูกนี้ยังคงมีการคลายตัว(ขยายตัว)ออกไป และได้รับอิทธิพลจากความร้อนจากมหาสมุทร ทำให้พายุมีกำลังขึ้นอยู่. ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 12-18นอต(22-33 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความกดอากาศที่พื้นผิวประมาณ 1003 มิลลิบาร์ คลื่นทะเลสูงสุดประมาณ - เมตรในช่วง 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา / คาด หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 98W นี้ จะมีทิศทางเคลื่อนตัวไปทางเหนือค่อนตะวันตกเล็กน้อยต่อไปอีก 6-12 ชั่วโมงข้างหน้าหรือตั้งแต่ 19.00น.วันนี้(6ก.ค.51) เป็นต้นไป ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณแถวเกาะไหหลำหรือด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพายุกระแสลมในแนวดิ่งมีกำลังอ่อนลง ทำให้พายุมีการพัฒนาต่อไปในอีก 12-24 ชั่วโมงข้างหน้า หรือตั้งแต่ 01.00น.พรุ่งนี้เป็นต้นไป คาดว่าจะทวีขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในอีก 24-48 ชั่วโมงข้างหน้าหรือ ตั้งแต่ 13.00น. พรุ่งนี้(7ก.ค.51) เป็นต้นไป : ประกาศศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center หรือ JTWC )
    2) Tropical Disturbance 90W (19.0N 154.8E,10-15kts) : เมื่อเวลา 13.00 วันนี้ (06 มิ.ย.51) หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรง 90W บริเวณกลางมหาสมุทรแปซิฟิคตะวันตก มีศูนย์กลาง ที่ละติจูด 19.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 154.8 องศาตะวันออก. มีศูนย์กลางอยู่ห่ างประมาณ 1,279 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะกวม . กำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกด้วยความเร็ว - นอต(- กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เมื่อ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมาและแทบไม่เคลื่อนที่เลย. จากภาพถ่ายดาวเทียมเคลื่อนไหวแสดงให้เห็นว่ามีการก่อตัวขึ้นของแนวมรสุมหมุนพัดไปรอบๆอย่างกว้างขวาง(ลักษณะโค้งเหมือนตะขอ)เข้าสู่ศูนย์กลางหย่อมฯ โดยเฉพาะบริเวณด้านตะวันออกของหย่อมฯ ซึ่งมีมรสุมก่อตัวพัดเป็นแนวยาว. จากภาพถ่ายดาวเทียมเคลื่อนไหวบ่งบอกว่าแนวฝนมรสุมที่พัดเป็นแนวยาวนั้น มีการพัดหมุนไปรอบๆศูนย์กลางอย่างน้อยสุด 3 บริเวณ และมีการก่อตัวในแนวดิ่งซึ่งมีลักษณะโค้งเหมือนตะขอบริเวณด้านตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงเหนือของหย่อมฯ . จากภาพถ่ายดาวเทียมชนิด AMSU บ่งบอกว่ามีการก่อตัวของแถบฝนอย่างอ่อนๆ บริเวณด้านใต้ของพายุ. และภาพถ่าย QUIKSCAT บ่งบอกว่ามีการก่อตัวอย่างหนาแน่นบริเวณด้านตะวันตกของศูนย์กลาง. ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 10-15นอต(19-28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความกดอากาศที่พื้นผิวประมาณ 1006 มิลลิบาร์ คลื่นทะเลสูงสุดประมาณ - เมตรในช่วง 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา / คาด หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรง 90W นี้ จะมีทิศทางเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกต่อไปเล็กน้อยซึ่งแทบจะอยู่กับที่ในอีก 6-12 ชั่วโมงข้างหน้าหรือตั้งแต่ 19.00น.วันนี้(6ก.ค.51) เป็นต้นไป เนื่องจากสภาวะโดยทั่วไปบริเวณศูนย์กลางของหย่อมฯ ลูกนี้อยู่บริเวณกระแสลม STR. ประกอบกับอุณหภูมิที่พื้นผิวทะเล 28 องศาเซลเซียส และการคลายตัวของเมฆชั้นบนของพายุมาก จะทำให้พายุมีกำลังมากขึ้น คาดว่าจะพัฒนาเป็นพายุหมุนเขตร้อนในอีก 2-3 วันข้างหน้าหรือตั้งแต่ประมาณ 13.00น.(8ก.ค.51) เป็นต้นไป. : ประกาศศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center หรือ JTWC )
    3) TCFP-90C (27.3N 176.8W,20kts) : เมื่อเวลา 13.00 วันนี้ (06 มิ.ย.51) หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรง 90C บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิคตอนกลาง มีศูนย์กลาง ที่ละติจูด 27.3 องศาเหนือ ลองจิจูด 176.8 องศาตะวันออก. มีศูนย์กลางอยู่ห่ างประมาณ 500 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงเหนือของ เกาะฮาวาย . กำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อยด้วยความเร็ว - นอต(- กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เมื่อ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา. ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 20นอต(37 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความกดอากาศที่พื้นผิวประมาณ 1010 มิลลิบาร์ คลื่นทะเลสูงสุดประมาณ - เมตรในช่วง 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา / คาด หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรง 90C นี้ จะมีทิศทางเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อยต่อไปอีก 6-12 ชั่วโมงข้างหน้าหรือตั้งแต่ 19.00น.วันนี้(6ก.ค.51) เป็นต้นไป คาดว่าจะทวีขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในอีก 3-4 วันข้างหน้า : ประกาศศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center หรือ JTWC )
    - (เพิ่มเติม) สำหรับ 98W จะเป็นพายุดีเปรสชันหรือไม่นั้นต้องติดตามภาพถ่ายดาวเทียมช่วง 19..00น. วันนี้(6ก.ค.51) สำหรับตอนนี้ 80% ที่จะเป็นดีเปรสชัน สำหรับทิศทางพายุอย่างที่คุณลุง เรดาร์กล่าวไว้คือ เข้าจีนตอนใต้ ซึ่งก็รวมทั้งฮ่องกงด้วย ซึ่งโดนอีกแล้วครับ ปีนี้โดนฝนหนักมากๆ เลย สงสัยคงจะท่วมอีกรอบ
    [​IMG]

    ภาพถ่ายดาวเทียม INFRARED ทุกๆ 1 ชม.
    [​IMG]
    http://agora.ex.nii.ac.jp/digital-typhoon/latest/globe/2048x2048/ir.jpgCLICK เพื่อดูภาพขนาดใหญ่
    http://agora.ex.nii.ac.jp/digital-typhoon/latest/animation/MPEG-2/last-120h.mpgCLICK เพื่อดูภาพถ่ายดาวเทียมเคลื่อนไหว 120 ชั่วโมงที่ผ่านมา หรือ เมื่อ 5 วันที่ผ่านมา UPDATE ทุกๆ 1 ชั่วโมง

    *******

    ภาพการคาดหมายเส้นทางการเดินพายุ ล่วงหน้า 5 วัน ทุกๆ 6 ชม.
    บริเวณพื้นที่ตาข่ายสีดำ รูปกรวย(โคน) แสดงถึง ความไม่แน่นอน/ความเป็นไปได้ที่จะได้รับผลกระทบหรือศูนย์กลางพายุอาจจะพัดผ่าน
    ***เครื่องของท่านอาจไม่ปรากฏภาพดังกล่าว ให้ CLICK ขวา > Show Picture***
    ที่มา Joint Typhoon Warning Center หรือ JTWC *ต้นฉบับ*
    -

    http://cimss.ssec.wisc.edu/tropic/real-time/westpac/storm/storm08W.html
    http://www.solar.ifa.hawaii.edu/Tropical/Gif/nwp.latest.gif




     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กรกฎาคม 2008
  16. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <table bgcolor="#e0ffff" border="1" bordercolor="#1e90ff" cellpadding="2" cellspacing="0" width="600"> <tbody><tr><td> <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td align="left"> ความเห็นที่ 1 โดยคุณ TC-98W (125.24.122.55) [06-07-2008 16:22] #17995 </td> <td align="right">
    </td> </tr></tbody></table> <table align="center" border="0" width="590"> <tbody><tr><td>
    - เพิ่มเติม อีกนิดครับ อย่างที่ได้กล่าวไว้ สำหรับบริเวณ หย่อมฯ 90W สังเกตจากภาพที่เป็นเเนวมรสุมพาดผ่านเเป็นเเนวยาว มีลักษณะโค้งคล้ายรูปตะขอเกี่ยว จะสังเกตเห็นว่ามีการหมุนของเเนวมรสุมนี้ 3 บริเวณ ดังภาพ

    ซึ่งลักษณะเช่นนี้เกิดจากการปะทะกันของมวลอากาศเย็นเเละอุ่น ลักษณะจากภาพถ่ายดาวเทียมนี้จะเป็นลักษณะของมวลอากาศเย็นจากด้านตะวันตกเฉียงเหนือเบียดตัวเข้าหามวลอากาศอุ่นด้านตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยเหตุเเนวปะทะอากาศเย็นนี้ทำให้เกิดการก่อตัวในเเนวตั้งพร้อมกับการหมุนของความกดอากาศต่ำถึง 3 บริเวณด้วยกัน ใน ณ ขณะนี้(13.00น./6ก.คง51)

    วงสีเหลือง หมายถึง บริเวณนี้มีแนวโน้มน้อยกว่า 20 % ที่จะออกคำประกาศพายุหมุนเขตร้อน
    วงสีส้ม หมายถึง บริเวณนี้มีแนวโน้ม 20-50 % ที่จะออกคำประกาศพายุหมุนเขตร้อน
    [​IMG]
    </td></tr> </tbody></table> </td></tr> </tbody></table>
     
  17. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    เฝ้าจับตาพายุที่ก่อตัวติดๆกันสามลูกนี้หน่อยครับ
     
  18. เด็กน้อยรักธรรม

    เด็กน้อยรักธรรม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +81
    ติดตามอย่างห่วงใยค่ะ
     
  19. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    [​IMG]
     
  20. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    Tropical Cyclone Formation Alert 98W : หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน
    07 กรกฎาคม 2551 เวลา 08.30 น. ตามเวลาประเทศไทย

    ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิคด้านตะวันตกตอนเหนือ ทะเลจีนใต้ และอ่าวไทย วันที่ 07 กรกฏาคม 2551 /9.00 น. ปรากฎพายุหมุนเขตร้อน 2 ลูก

    1) Tropical Cyclone Formation Alert 98W (20.8N 113.2E,15-20kts): เมื่อเวลา 08.00 วันนี้ (07 มิ.ย.51) หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 98W บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลาง ที่ละติจูด 20.8 องศาเหนือ ลองจิจูด 113.2 องศาตะวันออก. มีศูนย์กลางอยู่ห่ างประมาณ 222 กิโลเมตร ทางตอนใต้ของ ฮ่องกง . กำลังเคลื่อนตัวไปทางเหนือด้วยความเร็ว 10 นอต(19 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เมื่อ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา. จากการสำรวจที่พื้นผิวในกลางความกดอากาศต่ำปรากฏว่ามีความรุนแรงเพิ่มมากขึ่นในรอบ 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา. ภาพถ่าย QUIKSCAT เมื่อเวลา 5.00น.วันนี้(7ก.ค.51) บ่งบอกว่าแกนกลางพายุมีความเร็วลมประมาณ 15-20 นอต(28-37กิโลเมตรต่อชั่วโมง) โดยเพิ่มขึ้นอีกเป็น 10 นอต(19กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เมื่อช่วงที่ผ่านมา. แนวมรสุมจากความกดอากาศต่ำนี้บ่งบอกว่ามีความรุนแรงของกระแสลมพัดเข้าสู่ศูนย์กลางถึง 25 นอต(46กิโลเมตรต่อชั่วโมง). การก่อตัวของแถบฝนที่ศูนย์กลาง ไม่เป็นระเบียบ เนื่องจาก มีกระแสลมวินด์เชียร์ที่พัดมามีกำลังปานกลางถึงแรง ซึ่งลมวินด์เชียร์นี้ไม่เป็นผลต่อการก่อตัวของเมฆทำให้ยังคงมีการก่อตัวในแนวดิ่งอยู่. ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 15-20นอต(28-37 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความกดอากาศที่พื้นผิวประมาณ 1001 มิลลิบาร์ คลื่นทะเลสูงสุดประมาณ - เมตรในช่วง 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา / คาด หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 98W นี้ จะมีทิศทางเคลื่อนตัวไปทางเหนือต่อไปอีก 6-12 ชั่วโมงข้างหน้าหรือตั้งแต่ 14.30น.วันนี้(7ก.ค.51) เป็นต้นไป ทั้งนี้เนื่องจากศูนย์กลางพายุ***งจากชายฝั่งเพียงประมาณ 185 กิโลเมตร โดยมีแนวโน้มว่าจะทวีขึ้นเกือบเป็นพายุดีเปรสชันก่อนที่เข้าแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ตามคาดว่าจะทวีขึ้นเป็นดีเปรสชัน ในอีก 12-24 ชั่วโมงข้างหน้า หรือ 20.30 น.วันนี้(7ก.ค.51)เป็นต้นไป : ประกาศศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center หรือ JTWC )
    2) Tropical Disturbance 90W (18.3N 156.9E,10-15kts) : เมื่อเวลา 08.30 วันนี้ (07 มิ.ย.51) หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรง 90W บริเวณกลางมหาสมุทรแปซิฟิคตะวันตก มีศูนย์กลาง ที่ละติจูด 18.3 องศาเหนือ ลองจิจูด 156.9 องศาตะวันออก. มีศูนย์กลางอยู่ห่ างประมาณ 1,436 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะกวม . กำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกด้วยความเร็ว 2 นอต(4 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เมื่อ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมาและเกือบไม่เคลื่อนที่เลย. ภาพถ่ายดาวเทียมเคลื่อนไหวบ่งชี้ว่ากระแสลมชั้นล่างและชั้นกลางที่พัดหมุนมีกำลังอ่อนอยู่ แนวมรสุมด้านนอกที่พัดไปหมุนไปรอบๆยังคงมีกำลังอยู่. การก่อตัวที่ศูนยืกลางยังคงมีกำลังอยู่ แต่ค่อนข้างกระจัดกระจายในรอบ 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา. ที่ระดับชั้นบนของพายุสภาวะโดยทั่วไปมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง กระแสลมแอนติไซโคลนพัดเป็นระยะทางประมาณ 371 กิโลเมตร ด้านตะวันออกของหย่อมเป็นปัจจัยต่อการก่อตัวของพายุฝน ประกอบกับกระแสลมวินด์เชียร์ที่มีกำลังอ่อน. ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 10-15นอต(19-28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความกดอากาศที่พื้นผิวประมาณ 1006 มิลลิบาร์ คลื่นทะเลสูงสุดประมาณ - เมตรในช่วง 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา / คาด หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรง 90W นี้ จะมีทิศทางเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกต่อไปเล็กน้อยและแทบจะอยู่กับที่ในอีก 6-12 ชั่วโมงข้างหน้าหรือตั้งแต่ 14.30น.วันนี้(7ก.ค.51) เป็นต้นไป เนื่องจากบริเวณศูนย์กลางของหย่อมฯ ลูกนี้ ที่ศูนย์กลางยังคงมีการก่อตัวอย่างกระจัดกระจาย คาดว่าจะทวีขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อนในอีก 48-72 ชั่วโมงข้างหน้า หรือ ตั้งแต่ วันที่ 9 ก.ค.51/08.30น. เป็นต้นไป : ประกาศศูนย์ร่วมเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center หรือ JTWC )
    - (เพิ่มเติม) ประเทศจีนตอนใต้ นับเป็นระยะประมาณกว่า 1 เดือนเท่าที่สังเกต ร่องฝนพาดผ่านเป็นแนวยาวเกือบตลอดช่วงเลย ส่งผลให้เกิดอุทกภัยอย่างหนักมาก แล้วตอนนี้จะโดน หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมทะเลจีนใต้ตอนบน อีก อาจทำให้เกิดอุทกภัยอีกรอบ
    [​IMG]

    ภาพถ่ายดาวเทียม INFRARED ทุกๆ 1 ชม.
    [​IMG]
    http://agora.ex.nii.ac.jp/digital-typhoon/latest/globe/2048x2048/ir.jpgCLICK เพื่อดูภาพขนาดใหญ่
    http://agora.ex.nii.ac.jp/digital-typhoon/latest/animation/MPEG-2/last-120h.mpgCLICK เพื่อดูภาพถ่ายดาวเทียมเคลื่อนไหว 120 ชั่วโมงที่ผ่านมา หรือ เมื่อ 5 วันที่ผ่านมา UPDATE ทุกๆ 1 ชั่วโมง

    *******

    ภาพการคาดหมายเส้นทางการเดินพายุ ล่วงหน้า 5 วัน ทุกๆ 6 ชม.
    บริเวณพื้นที่ตาข่ายสีดำ รูปกรวย(โคน) แสดงถึง ความไม่แน่นอน/ความเป็นไปได้ที่จะได้รับผลกระทบหรือศูนย์กลางพายุอาจจะพัดผ่าน
    ***เครื่องของท่านอาจไม่ปรากฏภาพดังกล่าว ให้ CLICK ขวา > Show Picture***
    ที่มา Joint Typhoon Warning Center หรือ JTWC *ต้นฉบับ*
    [​IMG]
    http://cimss.ssec.wisc.edu/tropic/real-time/westpac/storm/storm08W.html
    http://www.solar.ifa.hawaii.edu/Tropical/Gif/nwp.latest.gif

    *******
     

แชร์หน้านี้

Loading...