คิดยังไงกับคุณแบงค์สเก็ตช์กรรมเรื่องคุณปอ ทฤษฎี

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย ข้างแรม, 16 พฤศจิกายน 2015.

  1. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td> <center>การปล่อยชีวิตสัตว์ที่เขาจะฆ่าแน่ๆ เป็นการตัดเคราะห์กรรมและเป็นการต่ออายุด้วย

    </center>
    </td> <td>permalink
    </td> </tr></tbody></table> <hr style="color:#FFFFFF; background-color:#FFFFFF" size="1">
    <ins id="aswift_0_expand" style="display:inline-table;border:none;height:280px;margin:0;padding:0;position:relative;visibility:visible;width:336px;background-color:transparent"><ins id="aswift_0_anchor" style="display:block;border:none;height:280px;margin:0;padding:0;position:relative;visibility:visible;width:336px;background-color:transparent"></ins></ins>
    พระอาจารย์ กล่าวว่า "การปล่อยชีวิตสัตว์ที่เขาจะฆ่าแน่ๆ เป็นการตัดเคราะห์กรรมและเป็นการต่ออายุด้วย หลวงพ่อวัดท่าซุง ท่านสั่งอาตมาว่า "แก เป็นทหารมาทุกชาติ ออกรบฆ่าเขาไว้มาก กรรมเก่าที่ตามมาทันจะทำให้ป่วยบ่อย ให้ไปปล่อยสัตว์ อย่างเช่น ปลาที่เขาขายไว้สำหรับฆ่า เดือนละตัวสองตัว แล้วจะบรรเทากรรมตรงนี้ลงได้"

    อาตมาก็อวดรู้ กราบเรียนหลวงพ่อท่านไปว่า “การปล่อยปลาเป็นการต่ออายุ ในเมื่อผมไม่ต้องการอายุยืนอยู่แล้ว ผมจะปล่อยไปทำไมครับ ?” ท่านบอกว่า “แกอย่าเพิ่งเข้าใจผิด การ ปล่อยชีวิตสัตว์ที่เขาจะฆ่า จะเป็นการต่ออายุก็ต่อเมื่อเรามีอุปฆาตกรรมเข้ามาในช่วงนั้น ถ้ากรรมหนักที่เราเคยฆ่าคนฆ่าสัตว์ใหญ่ไว้มาถึง อุปฆาตกรรมจะตัดรอนถึงขนาดเสียชีวิต"

    ท่านบอกว่า "ถ้ามีอุปฆาตกรรมเข้ามาอย่างนั้น จะเป็นการต่ออายุ แต่ถ้าไม่มีอุปฆาตกรรมเข้ามา การที่เราปล่อยเขา ทำให้เขามีชีวิตรอด ได้รับความสุข ได้รับความสะดวกสบาย ต่อไปเราทำอะไรก็จะสะดวกสบายไปด้วย"

    เมื่อทราบดังนั้นอาตมาก็ปล่อยตามที่ครูบาอาจารย์สั่ง จำได้ว่าปล่อยเดือนแรกคือวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๙ มาถึงป่านนี้ก็เกือบ ๓๐ ปีถ้วนแล้ว ปล่อยมา ๒๙ ปี นับชีวิตไม่ถ้วน เพราะว่าไม่ได้ปล่อยทีละตัวสองตัว ไปเห็นตาปริบๆ อยู่ก็เหมาหมด มีอยู่เที่ยวหนึ่งที่ปล่อยได้สะใจที่สุด คือ ไปเจอปลาดุกอยู่ปีบหนึ่งเลยซื้อมาปล่อย อาตมาไม่รู้หรอกว่ากี่ร้อยตัว เป็นลูกปลาดุกตัวเล็กๆ แน่นไปทั้งปีบเลย โห..เขาอุตส่าห์ไปช้อนลูกครอกตัวเล็กๆ มาขายได้ ปลาขนาดปกติอาตมาก็ซื้อ แถมลูกปลาดุกนั่นอีกปีบหนึ่ง ต้องบอกว่าบ้านเรากินล้างกินผลาญ"


    เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนกันยายน ๒๕๕๗
    โดย พระครูวิลาศกาญจนธรรม (พระอาจารย์เล็ก สฺธมฺมปญฺโญ),ดร.


    การแก้กรรม <hr style="color:#998049; background-color:#998049" size="1"> ถาม : การแก้กรรมมีจริงไหมคะ ?
    ตอบ : การแก้กรรมมีจริง แต่บุคคลที่แก้กรรมให้ต้องรู้จริง ๆ สามารถติดต่อเจ้ากรรมนายเวรได้จริง ถ้าเป็นอย่างนั้น เขาบอกให้ทำแบบไหนก็ทำแบบนั้นสิ่งนั้นก็จะพ้นไปได้

    อย่างเช่น บางคนเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยกรรมอะไรบางอย่าง เขาต้องการทดแทนแบบไหน ก็ทำให้เขาไป อาการป่วยนั้นจะหายทันที ไม่ต้องรักษาอะไรก็ได้

    แต่อย่าลืมนะคนนั้นต้องรู้จริง ๆ ถ้ารู้ไม่จริงอาจจะลำบากหน่อย โดนเขาหลอกได้ง่าย

    สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๕
    www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=2776
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2015
  3. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    555555เอาต่อไปใครเจ็บใครป่วยอย่าไปหาหมอนะไปหา.....แก้กรรมจะได้หาย5555เอาละโว้ยนุ้กหนานละทีนี้ เดียวใครป่วยเมื่อไรไปแก้กรรมแล้วไม่หายกระทื่บแมร่งเลย ส่งข่าวด้วยนะจะไปร่วมด้วยช่วยกัน ไปบอกหมอไม่ต้องรักษาแล้ว ปอนะ แบกมันไปแก้กรรมเดี่ยวก็หาย5555555แมร่งเอาสมองส่วนไหนคิด หัวแม่เท้ากรุยังคิดได้ดีกว่านี้อีก555555
     
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    <table height="50" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td vspace="0" hspace="0" align="center" valign="center">[​IMG]</td> </tr><tr><td vspace="0" align="center" bgcolor="mistyrose" valign="bottom" width="100%">บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ </td></tr> <tr><td hspace="0" vspace="0" height="1" bgcolor="peachpuff" width="100%"> <table cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td>
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]<center>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต</center></pre>
    <table align="center" background="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="90%"> <tbody><tr><td>[​IMG]</td> </tr><tr><td vspace="0" hspace="0" bgcolor="darkblue" width="100%">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
    <center>อาพาธสูตร </center> [๖๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระคิริมา- *นนท์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนักครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้ มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระคิริมานนท์ อาพาธ ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคได้ โปรดอนุเคราะห์เสด็จเยี่ยมท่าน พระคิริมานนท์ยังที่อยู่เถิด พระเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้วกล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่คิริมานันทภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคิริมานันทภิกษุจะพึงสงบระงับ โดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ สัญญา ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ อนิจจสัญญา ๑ อนัตตสัญญา ๑ อสุภสัญญา ๑ อาทีนว สัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ นิโรธสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรต สัญญา ๑ สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา ๑ อานาปานัสสติ ๑ ฯ ดูกรอานนท์ ก็อนิจจสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่ เที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ด้วย ประการอย่างนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอนิจจสัญญา ฯ ดูกรอานนท์ ก็อนัตตสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา จมูกเป็น อนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา ย่อมพิจารณาเห็น โดยความเป็นอนัตตาในอายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการ เหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา ฯ ดูกรอานนท์ ก็อสุภสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้นั่นแล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม เนื้อหัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่งามในกายนี้ ด้วยประการดังนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอสุภสัญญา ฯ ดูกรอานนท์ ก็อาทีนวสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้น อาพาธต่างๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด โรคละออง บวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้สันนิบาต อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษในกายนี้ ด้วย ประการดังนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอาทีนวสัญญา ฯ ดูกรอานนท์ ก็ปหานสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความ ไม่มี ซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้ หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งพยาบาทวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งวิหิงสาวิตก อันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อม ทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันชั่วช้า อันเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นแล้ว ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าปหานสัญญา ฯ ดูกรอานนท์ ก็วิราคสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรม เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอกกิเลส ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าวิราคสัญญา ฯ ดูกรอานนท์ นิโรธสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรม เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่ดับโดยไม่ เหลือ ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่านิโรธสัญญา ฯ ดูกรอานนท์ สัพพโลเกอนภิรตสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ละอุบาย <sup>๑-</sup> และอุปาทานในโลก อันเป็นเหตุตั้งมั่น ถือมั่น และเป็น อนุสัยแห่งจิต ย่อมงดเว้น ไม่ถือมั่น ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าสัพพโลเกอนภิรต สัญญา ฯ ดูกรอานนท์ สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชังแต่สังขารทั้งปวง ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าสัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา ฯ ดูกรอานนท์ อานาปานัสสติเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอเป็นผู้มีสติหายใจออก เป็นผู้มีสติ หายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็ รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อ หายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวง <small>@๑. อุบาย คือ ตัณหาและทิฐิ อุปาทาน คือ อุปาทาน ๔</small> (ลมหายใจ) หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร (ลมหายใจ) หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก ย่อม ศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขาร (เวทนา) หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขารหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขารหายใจเข้า ย่อม ศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิง หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่นหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้ มั่นหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้อง จิตหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหาย ใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมศึกษา ว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็น ผู้พิจารณาเห็นโดยความดับสนิทหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความดับสนิทหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัด คืนหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัดคืนหายใจเข้า ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอานาปานัสสติ ฯ ดูกรอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้ว กล่าวสัญญา ๑๐ ประการนี้แก่ คิริมานนทภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคิริมานนทภิกษุจะพึงสงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เรียนสัญญา ๑๐ ประการนี้ในสำนักของ พระผู้มีพระภาคแล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระคิริมานนท์ยังที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าว สัญญา ๑๐ ประการแก่ท่านพระคิริมานนท์ ครั้งนั้นแล อาพาธนั้นของท่าน พระคิริมานนท์สงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้ ท่านพระ- *คิริมานนท์หายจากอาพาธนั้น ก็แลอาพาธนั้นเป็นโรคอันท่านพระคิริมานนท์ละได้ แล้วด้วยประการนั้นแล ฯ <center>จบสูตรที่ ๑๐ </center><center>จบสจิตตวรรคที่ ๑ </center><center class="l">----------------------------------------------------- </center><center>รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ </center> ๑. สจิตตสูตร ๒. สาริปุตตสูตร ๓. ฐิติสูตร ๔. สมถสูตร ๕. ปริหานสูตร ๖. สัญญาสูตรที่ ๑ ๗. สัญญาสูตรที่ ๒ ๘. มูลสูตร ๙. ปัพพชิตสูตร ๑๐. อาพาธสูตร ฯ


    </pre>

     
  5. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=2597&Z=2711

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
    อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต


    อาพาธสูตร

    [๖๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
    ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระคิริมา-
    *นนท์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก...
    ...
    ...
    ...
    ดูกรอานนท์ ก็อาทีนวสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

    กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้น อาพาธต่างๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือ

    โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก
    โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง
    โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก
    โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด
    โรคละออง บวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม
    โรคพุพอง โรคริดสีดวง

    อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน
    อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน
    อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน
    อาพาธมีไข้สันนิบาต
    อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน
    อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ
    อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง
    อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม
    ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย
    ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ

    ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษในกายนี้ ด้วย
    ประการดังนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอาทีนวสัญญา ฯ
    ...
    ...
    ...
    *****************************************************************
     
  6. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
    การค้นหาคำว่า อาพาธ
    ผลการค้นหาพบ 9 ตำแหน่ง ดังนี้ :-



    แสดงผลการค้น ลำดับที่ 1 / 9
    กัมมวิปากชา อาพาธา ความเจ็บไข้ เกิดแต่วิบากของกรรม

    แสดงผลการค้น ลำดับที่ 2 / 9
    ปิตฺตสมุฏฺฐานา อาพาธา ความเจ็บไข้มีดีเป็นสมุฏฐาน

    แสดงผลการค้น ลำดับที่ 3 / 9
    วาตสมุฏฺฐานา อาพาธา ความเจ็บไข้ที่มีลมเป็นสมุฏฐาน

    แสดงผลการค้น ลำดับที่ 4 / 9
    วิสมปริหารชา อาพาธา ความเจ็บไข้ที่เกิดจากบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอ คือ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่พอดี

    แสดงผลการค้น ลำดับที่ 5 / 9
    สนฺนิปาติกา อาพาธา ความเจ็บไข้เกิดจากสันนิบาต (คือประชุมกันแห่งสมุฏฐานทั้งสาม),
    ไข้สันนิบาต คือความเจ็บไข้ที่เกิดขึ้นแต่ดี เสมหะ และลม ทั้งสามเจือกัน

    แสดงผลการค้น ลำดับที่ 6 / 9
    เสมฺหสมุฏฺฐานา อาพาธา ความเจ็บไข้ มีเสมหะเป็นสมุฏฐาน

    แสดงผลการค้น ลำดับที่ 7 / 9
    อาพาธ ความเจ็บป่วย, โรค (ใช้เฉพาะพระภิกษุสามเณร)

    แสดงผลการค้น ลำดับที่ 8 / 9
    อุตุปริณามชา อาพาธา ความเจ็บไข้เกิดแต่ฤดูแปรปรวน, เจ็บป่วยเพราะดินฟ้าอากาศผันแปร

    แสดงผลการค้น ลำดับที่ 9 / 9
    โอ ปกฺกมิกา อาพาธา ความเจ็บไข้เกิดจากความพยายามหรือจากคนทำให้, เจ็บป่วยเพราะการกระทำของคน คือ ตนเองเพียงเกินกำลัง หรือถูกเขากระทำ เช่น ถูกจองจำ ใส่ขื่อคา เป็นต้น


    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
     
  7. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
    สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค


    อัฏฐสตปริยายวรรคที่ ๓
    สิวกสูตร

    [๔๒๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน
    กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล โมฬิยสิวกปริพาชกเข้า
    ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการ
    ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

    ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้า แต่พระโคดมผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ได้เสวยสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขทั้งมวลนั้น มีการกระทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ ก็ในข้อนี้ท่านพระโคดมตรัสอย่างไร

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกร
    สิวกะ เวทนาบางอย่างมีดีเป็นสมุฏฐานก็มี ย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้
    ข้อที่เวทนาบางอย่างซึ่งมีดีเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้นในโลกนี้
    บุคคลพึงทราบได้เองอย่างนี้ก็มี โลกสมมติว่าเป็นของจริงก็มีในข้อนั้น

    สม ณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ได้เสวยสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขทั้งมวลนั้น มีการกระทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ ย่อมแล่นไปสู่สิ่ง
    ที่รู้ด้วยตนเอง และแล่นไปสู่สิ่งที่สมมติกันว่าเป็นความจริงในโลก เพราะฉะนั้น
    เรากล่าวว่า เป็นความผิดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น

    เวทนาบางอย่างมีเสมหะเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ
    มีลมเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ
    มีร่วมกันเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ
    เกิดแต่เปลี่ยนฤดูก็มี ฯลฯ
    เกิดแต่รักษาตัวไม่สม่ำเสมอก็มี ฯลฯ
    เกิดจากการถูกทำร้ายก็มี ฯลฯ
    เวทนาบางอย่างเกิดแต่ผลของกรรมก็มี ย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้

    ข้อที่เวทนาบางอย่างซึ่งเกิดแต่ผลของกรรมเกิดขึ้นในโลกนี้ บุคคลพึงทราบได้เอง
    อย่างนี้ก็มี โลกสมมติว่าเป็นของจริงก็มี

    ในข้อนั้นสม ณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ได้เสวยสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่งสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขทั้งมวลนั้น มีการกระทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ ย่อมแล่นไปสู่สิ่งที่รู้ด้วยตนเอง และแล่นไปสู่สิ่งที่สมมติกันว่าเป็นความจริงในโลกเพราะฉะนั้นเรากล่าวว่า เป็นความผิดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ฯ

    [๔๒๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว โมฬิยสิวกปริพาชกได้
    กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
    ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ขอท่านพระโคดมโปรด
    ทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
    [๔๒๙] เรื่องดี ๑ เสมหะ ๑ ลม ๑ ดี เสมหะ ลม รวมกัน ๑
    ฤดู ๑ รักษาตัวไม่สม่ำเสมอ ๑ ถูกทำร้าย ๑ ผลของกรรม ๑
    เป็นที่ ๘ ฯ

    จบสูตรที่ ๑

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๖๐๙๘ - ๖๑๓๑. หน้าที่ ๒๖๔ - ๒๖๕.
     
  8. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ


    อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เวทนาสังยุตต์ อัฏฐสตปริยายวรรคที่ ๓
    ๑. สิวกสูตร
    อัฏฐสตปริยายวรรคที่ ๓
    อรรถกถาสิวกสูตรที่ ๑
    พึงทราบวินิจฉัยในสิวกสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ ดังต่อไปนี้.
    บทว่า สิวโก ในบทว่า โมฬิยสิวโก เป็นชื่อของปริพาชกนั้น.
    ก็จุกของปริพาชกนั้นมีอยู่ เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า สิวกปริพาชกมีจุก.
    บทว่า ปริพฺพาชโก ได้แก่ ปริพาชกผู้นุ่งผ้า.
    บทว่า ปิตฺตสมุฏฺฐานานิ ได้แก่ มีดีเป็นปัจจัย.
    บทว่า เวทยิตานิ คือ เวทนา.
    เวทนา ๓ ย่อมเกิดขึ้นในบุคคลนั้นเพราะดีเป็นปัจจัย.
    ถามว่า อย่างไร.
    ตอบว่า ฝ่ายบุคคลบางคนคิดว่า ดีของเรากำเริบแล้ว ก็แล ชีวิตรู้ได้ยาก ย่อมให้ทานสมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม. กุศลเวทนาย่อมเกิดขึ้นแก่บางคนนั้นด้วยอาการอย่างนี้. ส่วนบางคนคิดว่า เราจักทำเภสัชแก้ดี ย่อมฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ พูดเท็จ ย่อมทำทุสีลกรรม ๑๐ ก็มี. อกุศลเวทนาย่อมเกิดขึ้นแก่บางคนนั้น ด้วยอาการอย่างนี้. แต่บางคนมีตนเป็นกลางว่า ดีของเรา ย่อมไม่สงบด้วยการทำยา แม้ประมาณเท่านี้ เรื่องยานั้นพอกันที ย่อมนอนอดกลั้นซึ่งเวทนาทางกาย. อัพยากตเวทนา ย่อมเกิดขึ้นแก่บางคนนั้นด้วยอาการอย่างนี้.
    บทว่า สามํปิ โข เอตํ ความว่า บุคคลเห็นวิการแห่งดีนั้นๆ แล้ว ก็พึงทราบเวทนานั้นได้ด้วยตน.
    บทว่า สจฺจสมฺมตํ คือ สมมติว่าเป็นจริง ฝ่ายชาวโลกเห็นวิการแห่งดีมีวรรณะด่างพร้อยเป็นต้นที่สรีระของเขาแล้ว ย่อมรู้ว่า ดีของเขากำเริบ.
    บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะแล่นไปสู่สิ่งที่รู้ด้วยตนเอง และแล่นไปสู่สิ่งที่สมมติกันว่า เป็นจริงของโลก. แม้ในบทมีเสมหะเป็นสมุฏฐานเป็นอาทิ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
    ส่วนบทว่า สนฺนิปาติกานิ ในบทว่า สนฺนิปาตสมุฏฺฐานานิปิ นี้เกิดขึ้นแล้ว เพราะการกำเริบแห่งดีเป็นต้น แม้ทั้งสาม.
    บทว่า อุตุปริณามชานิ คือ เกิดแต่ฤดูเปลี่ยนย่อมเกิดขึ้นแก่ชาวชังคลเทศ เมื่ออยู่ในอนุประเทศ. ความเปลี่ยนฤดูย่อมเกิดขึ้น ด้วยสามารถมีฝั่งมณีสมุทรเป็นต้นอย่างนี้ว่า เมื่อชาวอนุประเทศอยู่ในชังคลเทศ.
    บทว่า ตโต ชาตา ได้แก่ เกิดแต่เปลี่ยนฤดู.
    บทว่า วิสมปริหารชานิ ความว่า เกิดแต่การรักษาตัวไม่สม่ำเสมอ ในการรับภาระหนัก โดยมีการทุบเป็นต้น. หรือเมื่อเที่ยวไปผิดเวลา โดยมีการถูกงูกัดและตกบ่อเป็นต้น.
    บทว่า โอปกฺกมิกานิ ความว่า เกิดขึ้นเพราะถือว่า ผู้นี้เป็นโจร หรือเป็นทาริกาของผู้อื่น แล้วจึงทำร้ายด้วยการเอาเข่า ศอกและไม้ค้อนเป็นต้น โบยให้เป็นปัจจัย. บางคนถูกทำร้ายในภายนอกนั่นแล้ว ย่อมทำกุศล โดยนัยอันกล่าวแล้วแล. บางคนทำอกุศล. บางคนย่อมนอนอดกลั้นอยู่.
    บทว่า กมฺมวิปากชาตานิ คือ เกิดแต่ผลของกรรมอย่างเดียว. ก็เมื่อกรรมวิบากเหล่านั้น เกิดขึ้นแล้ว บางคนย่อมทำกุศล บางคนย่อมทำอกุศล บางคนย่อมนอนอดกลั้นอยู่. ก็เวทนา ๓ อย่างย่อมมีในวาระทั้งปวงอย่างนี้.

    ในเวทนาเหล่านั้น เวทนาอันเป็นไปในสรีระซึ่งเกิดขึ้นด้วยเหตุ ๗ อย่างข้างต้น ใครๆ ก็อาจเพื่อจะห้ามได้ แต่เภสัชทั้งปวงก็ดี เครื่องป้องกันก็ดี ก็ไม่สามารถเพื่อกำจัดเวทนาอันเกิดแต่ผลของกรรมได้เลย. ชื่อว่า โลกโวหาร พระองค์ได้ตรัสแล้ว ในพระสูตรนี้.

    จบอรรถกถาสิวกสูตรที่ ๑
     
  9. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    159 กรรมเก่าทั้งนั้นหรือ

    ปัญหา ตอบหลักกรรมในทางพระพุทธศาสนานั้นเราจะถือว่าความสุขก็ดี ความทุกข์ก็ดี ที่เราได้รับอยู่ในบัดนี้ เป็นผลของกรรมเก่าที่เราได้ทำไว้แล้วในชาติก่อน ดังนี้ได้หรือไม่?

    พุทธดำรัสตอบ .....เวทนาอันบุคคลเสวยในโลกนี้ บางเหล่าเกิดขึ้นมีดีเป็นสมุฏฐานก็มี มีสวนต่างๆ เหล่านั้นรวมกันเป็นสมุฏฐานก็มี เกิดแต่ความแปรแห่งฤดูก็มี เกิดแต่การบริหารร่างกายไม่สม่ำเสมอก็มี เกิดแต่ความพยายาม (ของตน) ก็มี เกิด่วิบากแห่งกรรมก็มี..... ข้อนี้อันเจ้าตัวเองก็รู้เช่นนั้น อันโลกก็สมมติว่าเป็นจริง สมณะพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด มักกล่าวและมีความเห็นในข้อนั้นอย่างนี้ว่า บุคคล... เสวยเวทนาทั้งปวง (สุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์) เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำแล้วในก่อน เขาย่อมเพิกเฉยข้อที่ตนเองก็รู้ดี ย่อมเพิกเฉยต่อข้อที่โลกสมมติว่าเป็นจริง เพราะฉะนั้นเรากล่าวว่า การกล่าวแลความเห็นอย่างนี้ของสมณะพราหมณ์เหล่านั้น เป็นการกล่าวผิดและเห็นผิด ดังนี้

    สิวกสูตร สฬ. สํ. (๔๒๗)
    ตบ. ๑๘ : ๒๘๕-๒๘๖ ตท. ๑๖ : ๒๖๔
    ตอ. K.S. IV : ๑๕๕-๑๕๖
    http://pantip.com/topic/13115430
     
  10. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    <center>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์</center></pre> <table align="center" background="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="90%"> <tbody><tr><td>[​IMG]</td> </tr><tr><td vspace="0" hspace="0" bgcolor="darkblue" width="100%">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
    <center>๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร (๑๓๕) </center> [๕๗๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล สุภมาณพ โตเทยยบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๕๘๐] สุภมาณพ โตเทยยบุตร พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลวและความประณีต คือ มนุษย์ ทั้งหลายย่อมปรากฏมีอายุสั้น มีอายุยืน มีโรคมาก มีโรคน้อย มีผิวพรรณทราม มีผิวพรรณงาม มีศักดาน้อย มีศักดามาก มีโภคะน้อย มีโภคะมาก เกิดใน สกุลต่ำ เกิดในสกุลสูง ไร้ปัญญา มีปัญญา ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลวและความ ประณีต ฯ [๕๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็น ของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรม เป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้ ฯ ส. ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบเนื้อความโดยพิสดารของอุเทศที่พระโคดมผู้- *เจริญตรัสโดยย่อ มิได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดารนี้ได้ ขอพระโคดมผู้เจริญ ได้โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยประการที่ข้าพระองค์จะพึงทราบเนื้อความ แห่งอุเทศนี้โดยพิสดารได้เถิด ฯ พ. ดูกรมาณพ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจะกล่าวต่อไป สุภมาณพ โตเทยยบุตร ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระเจ้าข้า ฯ [๕๘๒] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรมาณพ บุคคลบางคนใน โลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคน เหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์ มีชีวิต เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขา ให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุสั้น ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้นนี้ คือ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคน เหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์ มีชีวิต ฯ [๕๘๓] ดูกรมาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษ ก็ตาม ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุยืน ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อ มีอายุยืนนี้ คือ ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลใน สรรพสัตว์และภูตอยู่ ฯ [๕๘๔] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มีปรกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้ พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคมาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมากนี้ คือ เป็นผู้มีปรกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือ ก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา ฯ [๕๘๕] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มีปรกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคน้อย ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไป เพื่อมีโรคน้อยนี้ คือ เป็นผู้มีปรกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา ฯ [๕๘๖] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ เขาตาย ไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็น มนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีผิวพรรณทราม ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทรามนี้ คือ เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ฯ [๕๘๗] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่ โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำความโกรธ ความร้าย และความ ขึ้งเคียดให้ปรากฏ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขา ให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามา เป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนน่าเลื่อมใส ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใสนี้ คือ เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความ แค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำ ความโกรธ ความร้าย ความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ฯ [๕๘๘] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความ นับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีศักดาน้อย ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อยนี้ คือ มีใจ ริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น ฯ [๕๘๙] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความ เคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติ- *โลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็น คนมีศักดามาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดามากนี้ คือ มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น ฯ [๕๙๐] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมไม่เป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะน้อย ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อยนี้ คือ ไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ [๕๙๑] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมี โภคะมาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมากนี้ คือ ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ [๕๙๒] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควร ลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่บูชาคนที่ควรบูชา เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะ กรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคน เกิดในสกุลต่ำ ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลต่ำนี้ คือ เป็นคน กระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง ไม่ สักการะคนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่ บูชาคนที่ควรบูชา ฯ [๕๙๓] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ลุกรับคนที่ควร ลุกรับ ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง สักการะคนที่ควรสักการะ เคารพคนที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคน ที่ควรบูชา เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้ พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเกิด เป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลสูง ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีสกุลสูงนี้ คือ เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ให้อาสนะแก่คนที่สมควร แก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง สักการะคนที่ควรสักการะ เคารพคน ที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคนที่ควรบูชา ฯ [๕๙๔] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไร เป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไร เมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เขาตายไป จะเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้ อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญาทราม ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อ มีปัญญาทรามนี้ คือ ไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไร เป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไร ไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ฯ [๕๙๕] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็น อกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็น คนมีปัญญามาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามากนี้ คือ เป็นผู้เข้าไปหา สมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่ เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ฯ [๕๙๖] ดูกรมาณพ ด้วยประการฉะนี้แล ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้น ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีอายุสั้น ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุยืน ย่อมนำเข้าไป สู่ความเป็นคนมีอายุยืน ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมากย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคน มีโรคมาก ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคน้อย ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโรคน้อย ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทราม ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีผิวพรรณทราม ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใส ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนน่าเลื่อมใส ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อย ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีศักดาน้อย ปฏิปทา เป็นไปเพื่อมีศักดามาก ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีศักดามาก ปฏิปทาเป็นไป เพื่อมีโภคะน้อย ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโภคะน้อย ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมี โภคะมาก ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโภคะมาก ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดใน สกุลต่ำ ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดใน สกุลสูง ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลสูง ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญา ทราม ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีปัญญาทราม ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามาก ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีปัญญามาก ดูกรมาณพ สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็น ของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรม เป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีต ฯ [๕๙๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ สุภมาณพ โตเทยยบุตร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย เปรียบเหมือน หงายของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิด หรือบอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีป ในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีตาดีจักเห็นรูปได้ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำ ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ฯ <center>จบ จูฬกัมมวิภังคสูตรที่ ๕ </center><center class="l">----------------------------------------------------- </center>
    </pre>
     
  11. เมธาวี1

    เมธาวี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    692
    ค่าพลัง:
    +1,051
    กรรมใครก็กรรมมันล่ะเนอะ เราก็เหมือนกันไม่รู้ว่าวันไหนจะโดน
     
  12. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    5555เอามาทำไมอยากอ่านหาอ่านเองได้ ยกมาก็ไร้ประโยชน์ นั้นมันตามแต่กาลต่างๆ ไม่มีแก้กรรมสักบท ไปอ่านเอาเองมันแค่ให้ระลึกรุ้ ไม่ใช่แก้กรรม อีกอย่างพระพุทธเจ้าสอนธรรมไม่ใช่แก้กรรมแล้วหายป่วยคนละเรื่องกันมีปัญญาพิจาณารึเปล่าใครสอนแก้กรรมหายป่วย ใครสอน ถ้าจริงร.พ.แมร่งไม่มีมาจนทุกวันนี้หรอกมีแต่สถาแก้กรรมแทนแล้ว55555
    ยกอะไรนะศึกษาให้ดีๆก่อนค่อยยกแล้วนิสัยอีแอบไม่เลิกนะ555555
     
  13. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    พระพุทธเจ้าสอนแก้กรรม เรื่องอายุวัฒนกุมาร ในพระไตรปิฏก ​



    เรื่องที่ ๑๒๑
    ท่านอายุวัฒนกุมารจะต้องตายเพราะอุปฆาตกรรม พระพุทธเจ้าทรงช่วยไว้จึงไม่ต้องเป็นสัมภเวสี

    [​IMG]

    จาก หนังสือ ตายแล้วไม่สูญ...แล้วไปไหน (โดยหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)

    "..ท่านอายุวัฒนกุมาร เป็นลูกของพราหมณ์ พ่อแม่ของท่านมีเพื่อนเป็นพราหมณ์อยู่คนหนึ่งได้ทิพพจักขุญาณ ทราบข่าวว่าเพื่อนคนนี้จะเข้ามาในเขตเมืองก็พากันไปหา เมื่อคุยกันพอสมควรแก่เวลา ท่านพ่อก็ส่งลูกชายอายุยังไม่ถึง ๗ ปี ให้แก่แม่ กราบลาเพื่อกลับ เพื่อนก็บอกว่า "ทีฆายุโก โหตุ" แปลว่า "ท่านจงมีอายุยืนยาวเถิด" เมื่อท่านพ่อกราบแล้ว ท่านแม่ก็ส่งลูกให้ท่านพ่อ ท่านแม่กราบบ้าง ท่านพราหมณ์ก็บอกว่า "ขอให้ท่านมีอายุยืนยาวเถิด"

    แล้วจับลูกให้กราบ ท่านพราหมณ์ก็นิ่งเฉยไม่พูดแบบนั้น ท่านพ่อท่านแม่ก็สงสัยเลยถามว่า "เวลาที่ผมกับเมียกราบลาท่าน ท่านบอกว่า จงเป็นผู้มีอายุยืนยาว แต่เวลาที่ให้ลูกกราบทำไมท่านจึงทำเฉยๆ" ท่านพราหมณ์ก็บอกว่า "ก็ลูกของท่านจะต้องตายภายใน ๗ วัน ถ้าฉันพูดแบบนั้นฉันก็พูดผิด" เขาก็เลยถามว่า "ท่านรู้วิธีแก้ไหม" ท่านพราหมณ์ก็บอกว่า "รู้ว่าจะตายน่ะรู้ แต่วิธีแก้ไม่รู้ คนที่รู้วิธีแก้มีอยู่คนเดียวคือ สมเด็จพระสมณโคดมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าหากว่าท่านต้องการจะแก้ไม่ให้ลูกของท่านตาย ก็ไปหาพระพุทธเจ้าเถิด ท่านแก้ได้"

    พ่อแม่ของเด็กทราบว่าเด็กจะตายภายใน ๗ วัน ก็ตกใจเพราะเป็นลูกคนแรก ลูกผู้ชายด้วย จึงพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พอไปถึงก็ทำแบบนั้นที่ทำกับเพื่อนพราหมณ์ พระพุทธเจ้าก็พูดเหมือนกับพราหมณ์ ตอนลูกชายกราบลา ท่านก็เฉยเสีย พราหมณ์ก็ถาม ท่านก็บอกว่า "ลูกชายคนนี้จะตายภายใน ๗ วัน" เขาก็ถามว่า "ทำอย่างไรจึงจะแก้ไขไม่ให้ตายได้ พระพุทธเจ้าข้า" พระพุทธเจ้าก็บอกว่า "ถ้าต้องการแบบนั้นได้เพราะกรรมประเภทนี้เป็นอุปฆาตกรรม ไม่ใช่อายุขัย ถ้าอายุขัยตถาคตก็แก้ไม่ได้ อุปฆาตกรรมเป็นกรรมที่เข้ามาแทรกระหว่างกลาง ซึ่งผลของความดีของเด็กนี้ยังมีอยู่มาก ถ้าไม่ตายก่อนจะได้เป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนาแล้วจะมีอายุถึง ๑๒๐ ปี แต่เวลานี้กรรมที่เป็นอกุศลเข้ามาลิดรอนจึงเป็นเหตุให้เด็กคนนี้จะต้องตายใน ๗ วัน" และพระองค์ก็ตรัสแนะว่า

    "พราหมณ์กลับไปบ้านไปทำโรงพิธีเข้า แล้วนิมนต์พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาไปนั่งล้อมเจริญพระปริตรตลอด ๗ วัน ถ้าทำได้อย่างนี้ลูกท่านก็จะไม่ตาย"

    พราหมณ์พ่อแม่เด็กก็กลับไปทำโรงพิธี นิมนต์พระไปนั่งล้อมโรงพิธีไม่ต้องใช้สายสิญจน์เพราะพระสมัยนั้นมีมาก เมื่อล้อมแล้วก็เจริญพระปริตร สวดบ้างไม่สวดบ้างแต่ก็นั่งล้อมกันแบบนั้น พระมาสับเปลี่ยนกันไป ไม่ใช่ไปชุดเดียวพอถึงวันที่เจ็ดพระพุทธเจ้าเสด็จเอง เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จ พรหมก็มา เทวดาก็มา และคนที่จะเอาชีวิตของเด็กก็เป็นลูกน้องของ ท่านท้าวเวสสุวัณ ตอนนี้เมื่อเจ้านายชั้นผู้ใหญ่มา พลทหารก็ต้องไปยืนสุดกู่ องค์สมเด็จพระบรมครูทรงประทับนั่งตั้งแต่เริ่มต้นของวันจนที่สุดของวันคือ อรุณใหม่ เพราะว่าผู้ที่จะมาเอาชีวิตของเด็กเป็นยักษ์ที่ได้รับพรจากท่านท้าวเวสสุวัณ ได้ภายใน ๗ วัน ถ้าเลย ๗ วันแล้วไม่มีโอกาส ฉะนั้นเมื่อมาคอยอยู่ ๖ วันแล้ว พระก็นั่งล้อมรอบอยู่แบบนั้นก็เข้าไม่ได้ ได้แต่ตั้งท่าว่าถ้าเผลอเมื่อไรจะเอาเมื่อนั้น แต่พอวันที่ ๗ เป็นวันสุดท้าย ก็ตั้งใจว่าวันนี้จะเอาชีวิตเด็กคนนี้ให้ได้ ให้มันตายจากความเป็นมนุษย์ เพราะกรรมเดิมสร้างไว้มากที่เป็นโทษปาณาติบาต แต่ความดีก็มีมาก

    ในเมื่อเห็นท่าว่าเอาไม่ได้แน่แล้วก็ต้องตั้งท่ารอให้พระเผลอ แต่พระพุทธเจ้าเสด็จเสียเอง เมื่อพรหมลงมา ยักษ์ตนนี้ก็ต้องถอยหลังไปพ้นเขตพรหม และเทวดาลงมา ยักษ์ตนนี้มีบุญน้อยกว่าก็ต้องถอยหลังออกไปอีก ในที่สุดต้องออกไปอยู่ขอบจักรวาลเพราะพรหมและเทวดามีปริมาณมาก และสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงประทับนั่งจนหมดเวลา

    เป็นอัน ว่าเด็กคนนั้นไม่ต้องตาย เกินเวลา ๗ วันยักษ์ทำอันตรายไม่ได้ เมื่อพ้นจากตอนนั้นมาแล้วถึงเวลาอายุ ๗ ขวบ ท่านอายุวัฒนกุมารก็บวชเณรแล้วก็ได้อรหัตผล อยู่มาได้ถึงอายุ ๑๒๐ ปี ตรงตามที่องค์สมเด็จพระมหามุนีตรัสไว้

    บรรดาพุทธบริษัทโปรดทราบไว้ว่า กรรมที่เป็นอุปฆาตกรรมที่มาตัดรอนทำให้คนตายก่อนอายุขัย ตายแล้วไปเกิดเป็นสัมภเวสี บรรดา สัมภเวสีที่เดินเกลื่อนไปเกลื่อนมาในโลกมนุษย์ มีรูปร่างหน้าตาคล้ายคนธรรมดา เวลาที่ตายแต่งตัวแบบไหนนุ่งผ้าประเภทไหนก็แต่งตัวแบบนั้น มีความกังวลอยู่อย่างหนึ่งคือมีความทุกข์ใจไม่รู้จะเกิดที่ไหนได้แน่นอน บรรดาสัมภเวสีพวกนี้มีความลำบาก ถ้าญาติของเราตายด้วยอำนาจของสัมภเวสี คือไม่สิ้นอายุขัย เช่น ฟ้าผ่าตาย คลอดบุตรตาย ถูกฆ่าตาย ถูกรถชนตาย เป็นต้นแต่ก็ไม่แน่นักบรรดาพวกนี้ถึงอายุขัยก็มี แต่ก็เผื่อเหนียว ไว้ก่อน สมมติว่าเขาเป็นสัมภเวสี พอตายไปแล้วไม่ต้องทำบุญมาก ทำบุญให้ได้บุญชัดๆ หาอาหารชนิดที่ไม่มีบาป อย่าทุบแม้แต่ไข่สัก ๑ ฟอง เอาผ้าไตรมา ๑ ไตร เอาพระพุทธรูปมา ๑ องค์ นิมนต์พระมารับสังฆทานที่บ้าน ทำเงียบๆ อย่ามีเหล้ายาปลาปิ้ง เมื่อทำบุญเสร็จก็อุทิศส่วนกุศลให้เฉพาะคนที่ตาย ไม่ให้ใครทั้งหมด ถ้าทำอย่างนี้ท่านพวกนี้จะมีความสุข ได้รับผลบุญทันที มีความผ่องใส มีความอิ่มเอิบเมื่อเข้าถึงอายุขัยเมื่อใด พวกนี้จะไปถึงด้านของสวรรค์ก่อน.."

    ที่มา : http://palungjit.org/threads/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%99.297032/
     
  14. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    55555แต่งกันเข้าไป เพิ่มกันเพลินเลย คนก็เชื่อจัง ต่อไปโลกนี้ไม่ต้องมมีคนตายแล้ว แก้ได้แล้ว ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องตาย
    แก้กรรมแล้วหายหมด ไปบอก ปอเลย หมอเมิงไม่ต้องรักษาแล้วเปลื่องตัง ไปแก้กรรมเลย ไม่รุ้จักพาไปหาคุณsaberได้ รับรองหาย ไม่เจ็บ ไม่ตาย คนแต่งเรื่องมันไม่ดุเลยนะว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ท่านสอนให้ยอมรับโลกนี้มันเป็นยังนี้ ให้เรายอมรับ มีเกิด ต้องมีแก่ ต้องมีเจ็บ ต้องตาย ตามวาระกรรม. แต่มันแต่งว่าพระพุทธเจ้าฝืนกฏแห่งกรรม ต้องตายอายุ7ขวบท่านไม่ให้ตายไปตายอายุ120 แล้วคนอื่นๆละที่ต้องตายทำไมพระพุทธเจ้าไม่ช่วย มันแต่งว่าพระพุทธเจ้าลำเอียงช่วยคนเดียว คนอื่นๆไม่ช่วยคนที่ต้องตายตามวาระกรรมไม่ช่วย พระโมคลานะมีฤทธิ์มากหนีโจรได้สบายมาก พระพุทธเจ้ายังตรัสให้ท่านยอมรับกรรมเลย ท่านเลยตายศพไม่สวย นี่มันแต่งกันจนลืมความจริงรึเปล่า. ใช้ปัญญาพิจารณาตามเหตุตามผลตามความเป็นจริง ถ้าไม่ใช่มันจะกลายเป็น งมงาย ใครรุ้จักคุณปอ ช่วยพาไปหาsaberทีรึคุณแน่จริงไปหาคุณ ปอ เลยแล้วเอาไอ้ที่ลงโพสนี้ไปให้ครอบครัวเค้าดุแล้วบอกไม่ต้องรักษาแล้วไปแก้กรรมรับรองหายทันที ขนาดจะตายยังไม่ตายเลยเห็นไหม555555
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2015
  15. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    การแก้ไขกรรม ที่ถูกต้อง จึงต้องตรวจดูที่เหตุเพื่อแก้ไขช่วยเหลือให้ปลายหรือผลที่ได้รับอยู่มันดีขึ้น

    การแก้ไขกรรม ย่อมไม่ใช่การตัดกรรม เพราะกรรมทำไว้แล้วย่อมให้ผลและได้รับผลไม่เป็นอื่น

    การแก้ไขกรรม ย่อมต้องตรวงดูเหตุและสภาพในปัจจุบันว่ามีสภาพแปรเปลี่ยนมากน้อยอย่างไร เพือประเมิณดูว่า นอกจากการแก้ไขเหตุในอดีตแล้ว การแก้ไขในปัจจุบันต้องทำร่วมด้วย หรือไม่ และ ตลอดจนการได้แนะนำบอกทางการทำความดีเพื่อเป็นการป้องกัน ไม่ให้ทำผิดทำบาปกรรมอีก มันต้องทำสามอย่างโดยละทิ้งไม่ได้

    การโปรดสัตว์ของพระพุทธองค์เป็นแบบอย่าง ให้เราได้ศึกษาและทำความเข้าใจ มีตามพระสูตร ให้เราได้อ่านและนำไปทบทวนประเทืองความรู้

    ดังนั้น การช่วยเหลือในกรณีนี้หรือกรณีใดๆ ย่อมต้อง
    1ตรวจดูเหตุและแก้ไขเหตุ[เหตุย่อมเกิดได้ทั้งในอีดและปัจจุบัน ]
    2ตรวจดูสภาวะในปัจจุบันว่ามีสภาพความเสียหายหรือสภาพของปัญหาร้ายแรงมาน้อยแค่ไหนพร้อมทำการแก้ไข
    3แนะนำแนวทางการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำคือให้ความรู้ ให้แก่เขาเยอะๆ เพื่อให้เขาเข้าใจและวางแผนชีวิตใหม่ที่ดี

    ทุกท่านครับ เราสนทนาแลกเปลี่ยน อย่าไปสร้างวจีกรรมมโนกรรมอะไรต่อกัน แค่ความเห็นต่างกัน เราควรเก็บเกี่ยวสิ่งดีๆ ไปพัตนาตน สิ่งไหนไม่ดีไม่งามก็วางมันไว้ทำเป็นมองไม่เห็นเสียบ้างก็ดีครับ เรามีเจตนาช่วยเหลือกันอย่าใจแคบต่อกันครับ

    ก่อนที่ภัยของโลกจะเกิดในบางประเทศ ท่านจะได้รับผลกระทบต่อเนื่องที่เกิดข้าวยากหมากแพง ชีวิตที่ลำบากมากยิ่งขี้น มีเพียงประเทศส่วนน้อยที่ยังดำรงต่อไปได้อย่างผาสุก ท่ามกลางกลียุค ในอยาคต มีเพียงพระธรรมที่จะนำสุขมาให้ มีเพียงหลักคำสอนของพ่อหลวงที่จะนำสุขมาให้ ครับ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2015
  16. Thanks-Epi

    Thanks-Epi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    984
    ค่าพลัง:
    +2,950
    ช่วยเน้นให้ค่ะ กรรมปอ แต่เราๆท่านๆ ดันมาสร้างกรรมใส่ตัวเอง มีปุ่มบล็อคมั้ยคะ รำคาญคำหยาบค่ะ
     
  17. kengy

    kengy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    76
    ค่าพลัง:
    +610
    เจ้ากรรมนายเวร ดาราชื่อปอ เค้าต้องการ ให้เจ้าตัวบวช 1 พรรษา และครอบครัวเค้ากินมังสวิรัตน์ 1 เดือน โดยให้แฟนเค้าจุดธูปบอกกลางแจ้ง 20 ดอก ถ้าทำก็จะรอด แต่บอกวิธีให้ไปแล้ว ครอบครัวเค้าน่าจะทำแล้ว เพราะบอกผ่านพยาบาลให้ไปแจ้งให้ครอบครัวเค้า หมอดูเค้าไม่รู้หรอก พูดก็ให้บวช ต้องระบุไปเลย กี่วัน เค้าต้องการ คือ 1 พรรษานะ +กินมังทั้งครอบครัว 1 เดือน เพราะดาราคนนี้ชาติก่อนทำกรรมหนัก ชาตินี้ทำบุญเยอะก็จริง
     
  18. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    ===============

    รอดนั้นรอดได้ แต่ได้นานแค่ไหนและรอดแบบไหน เจ้ากรรมนายเวรท่านบอกหรือเปล่าครับ อยากทราบครับ
     
  19. ฟูจิ0007

    ฟูจิ0007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    608
    ค่าพลัง:
    +829
    เหมือนอาการแกดีขึ้นๆเรื่อยนะคะ ตั้งแต่น้องชายแกบวช ดีใจไปกะครอบครัวคุนปอด้วย แกมีลูกเล็กๆน่ารักมากด้วย อยากให้รอดคะ
     
  20. mvppl

    mvppl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +124
    ไม่แน่ใจว่าดีจริง ๆ รึเปล่านะคะคุณกบ คือดิฉันก็ทำงานด้านนี้มาก่อน ฟังจากที่หมอแถลงอาการล่าสุดแล้วน่าหนักใจอยู่เหมือนกัน ตอนนี้เหมือนกับว่าถ้าไปรักษาเพื่อประคองอวัยวะอย่างหนึ่ง แต่อวัยวะบางส่วนต้องแย่ลง เพราะตัวยาที่รักษาบางอย่างจะไปมีผลข้างเคียงให้บางอย่างทรุด แต่ถ้าไม่ทำก็ไม่ได้

    และยังมีผลข้างเคียงบางอย่างที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่กำลังรอเวลาอยู่ เช่น การติดเชื้อรา แต่ทีมแพทย์ก็พยายามป้องกันเต็มที่ คือสรุปเคสคุณปอเป็นเคสที่ยากมาก ๆ เพราะผลข้างเคียงจากโรคที่รุนแรงนั่นเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...