เรื่องเด่น “คนทำงานจิตอาสา” มีหัวใจพระโพธิสัตว์

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 23 สิงหาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,529
    ทุกปีหลังวันที่ 5 ธันวาคม หลังวันพ่อแห่งชาติ มูลนิธิรามัญรักษ์และภาคีเครือข่าย เช่น มูลนิธิพระศรีสุทธิเวที (ขวัญ ถิรมโน) เครือข่ายธรรมะอารมณ์ดี สโมสรไลออนล์ สมาคมไทยรามัญ มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี จะนำสิ่งของอุปกรณ์การศึกษา อุปกรณ์กีฬา ข้าวสารอาหารแห้ง จะนำไปแจกให้กับเด็กๆ ตามแนวชายแดน แจกจ่ายให้กับประชาชนที่ขาดแคลน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมทั้งเพื่อสานสัมพันธ์กับประชาชนในประเทศเพื่อนบ้านด้านอำเภอสังขละบุรี

    พระสงฆ์ คนไทยเชื้อสายรามัญ และนักศึกษาไปกันแบบนี้ก้าวสู่ปีที่ 4 แล้ว เมื่อปี 2557 ซึ่งเป็นปีแรกที่มูลนิธิรามัญรักษ์ทำกิจกรรม “รามัญรักษ์สัมพันธ์ สานฝันให้น้อง” ทางคณะตั้งใจมากว่าจะเข้าไปแจกของในรัฐมอญ ประเทศเมียนมาร์ ลึกเข้าไปเกือบ 100 กิโลเมตร แต่ประสบกับปัญหาฝนตกถนนลื่นเข้าไปไม่ถึงหมู่บ้านเป้าหมาย ต้องแจกข้าวสาร อาหารแห้ง อุปกรณ์การศึกษากลางทาง

    0b8b2e0b899e0b888e0b8b4e0b895e0b8ade0b8b2e0b8aae0b8b2-e0b8a1e0b8b5e0b8abe0b8b1e0b8a7e0b983e0b888.jpg

    ปีแรกที่ไปได้รับความอุปถัมภ์ข้าวสารถุงๆ ละ 5 กก. จากกลุ่มยุวสงฆ์เครือข่ายธรรมะอารมณ์ดีจำนวน 1,000 ถุง นำไปแจกชาวบ้านๆ ดีใจมาก เพราะบางครอบครัวไม่มีข้าวสารหุงข้าว ประชาชนส่วนใหญ่ยากจนปลูกบ้านกระต๊อบเล็กๆ อยู่กันเป็นกลุ่มๆ เป็นชุมชน สภาพหมู่บ้านพร้อมที่จะอพยพได้ทุกเมื่อ เพราะเป็นพื้นที่แห่งการสู้รบ สภาพโรงเรียนก็เป็นโรงเรือนมุงด้วยใบไม้ นั่งเรียนกันง่ายๆ กระดานดำก็ดูเก่าๆ บางโรงเรียนใช้กระดานชนวนในการเรียน โรงเรียนเหล่านี้ไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลพม่า แต่เป็นโรงเรียนภายใต้การดูแลของ “ทหารมอญ”

    ต่อมาปี 2558 คณะขอรับบริจาคเงินสร้างห้องน้ำให้กับน้องๆ โรงเรียนบ้านบ่อญี่ปุ่น อ.สังขละบุรี จำนวน 8 ห้องด้วยงบประมาณ 200,000 กว่าบาท แจกสมุดปากกา พร้อมกับเลี้ยงอาหารเด็กนักเรียน และเมื่อปี 2559 ที่ผ่านมา คณะสงฆ์ที่เป็นสหายธรรมเก่าบ้าง ครูบาอาจารย์บ้าง และคนไทยเชื้อสายรามัญมัญ รวมทั้งประชาชนทั่วไป เมื่อรู้ว่ามูลนิธิรามัญรักษ์จัดกิจกรรมดีๆ แบบนี้ทุกปีก็มาร่วมเป็นจำนวนมาก

    8b2e0b899e0b888e0b8b4e0b895e0b8ade0b8b2e0b8aae0b8b2-e0b8a1e0b8b5e0b8abe0b8b1e0b8a7e0b983e0b888-1.jpg

    2e0b899e0b888e0b8b4e0b895e0b8ade0b8b2e0b8aae0b8b2-e0b8a-2e0b8b5e0b8abe0b8b-2e0b8a7e0b983e0b888-2.jpg

    กลายเป็นคณะใหญ่เกือบ 200 ชีวิตในการเดินทางข้ามประเทศไปยังพม่า แต่ก็ไม่มีปัญหาสำหรับข้ามแดนได้รับการอำนวยความสะดวกจากเจ้าหน้าที่ทหารไทยเป็นอย่างดี ทางคณะเข้าไปยังพื้นที่ด้านในห่างจากชายแดนไทยพม่าด้านสังขละบุรีประมาณ 20 กิโลเมตร สภาพหมู่บ้านเหมือนกันทั่วไปอยู่กันแบบง่ายๆ พร้อมที่จะอพยพได้ทุกเมื่อ ซึ่งปีนี้พิเศษมาก ช่วงกลางคืนชาวบ้านมาร้องรำทำเพลงต้อนรับคณะมูลนิธิรามัญรักษ์

    และประชาชนทั้ง 2 ประเทศร่วมจุดเทียนถวายความอาลัยแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อปวงชนชาวไทย และประชาชนตามแนวชายแดนโดยเฉพาะในหมู่ชาติพันธุ์มอญ มีรูปของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ติดไว้ใกล้ๆ หิ้งพระเพื่อสักการะบูชา ในฐานะคนไทยรู้สึกภูมิใจในสถาบันพระมหากษัตริย์ของเราเป็นอย่างมาก เพราะ “พระบารมี” แผ่กระจายไปไม่เฉพาะในหมู่คนไทยเท่านั้น แต่แผ่ไปทั้งโลก

    0b899e0b888e0b8b4e0b895e0b8ade0b8b-3e0b8aae0b8b-3-e0b8a-3e0b8b5e0b8abe0b8b-3e0b8a7e0b983e0b888-3.jpg

    ตอนเช้าอีกวันมีกิจกรรมแจกอุปกรณ์การศึกษา กระเป๋านักเรียน สมุดปากกา เลี้ยงอาหารเด็ก ซึ่งปีนี้มีเด็กมาร่วม 6 โรงเรียนประมาณ 500 คน ส่วนกระเป๋าและอุปกรณ์การศึกษาที่เหลือ “กลุ่มสภาสตรีมอญจามเทวี” สาขาสังขละบุรี นำไปแจกต่อที่โรงเรียนบ้านบ่อญี่ปุ่นและพื้นที่ใกล้เคียง

    ปีนี้มูลนิธิรามัญรักษ์และภาคีเครือข่ายกำหนดจัดงาน “รามัญรักษ์สัมพันธ์ สานฝันให้น้อง” ระหว่างวันที่ 9 -10 ธันวาคม 2560 ณ หมู่บ้านเกริงทอ ห่างจากด่านเจดีย์สามองค์ลงไปประมาณ 10 กิโลเมตร หมู่บ้านเกริงทอ (แปลว่าห้วยทองคำ) ในอดีตเป็นท่าเรือสัญจรและขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทยและพม่า เป็นชุมชนขนาดใหญ่ ประชากรมีทั้งกะเหรี่ยง มอญ พม่า ทวาย ซึ่งตั้งใจว่าจะแจกกระเป๋าและอุปกรณ์การกีฬาประมาณ 700 ชุด

    b899e0b888e0b8b4e0b895e0b8ade0b8b-4e0b8aae0b8b-4-e0b8a-4e0b8b5e0b8abe0b8b-4e0b8a7e0b98-4e0b888-4.jpg

    สำหรับกระเป๋าส่วนหนึ่งได้รับความอุปถัมภ์จาก คณะสงฆ์วัดอรุณราชวราราม ในนามมูลนิธิพระศรีสุทธิเวที ข้าวสารถุงๆ ละ 5 กก.จำนวน 1,000 ถุง ปีนี้ได้ขอความอนุเคราะห์จาก “กลุ่มยุวสงฆ์เครือข่ายธรรมะอารมณ์ดี” เพื่อนำไปแจกให้กับเด็กนักเรียนและประชาชนในพื้นที่ที่ยากไร้ มูลนิธิรามัญรักษ์เป็นองค์กรกลางในการทำกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประเพณีมอญ การศึกษาและการส่งเสริมการสร้างความรู้สึกสามัคคีในหมู่คนมอญด้วยกันเองและการอยู่ร่วมกันในสังคมไทยแบบสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างมีความสุข

    และที่เน้นย้ำในทุกกิจกรรมที่ทำก็คือให้มีความจงรักภักดีปกป้องและหวงแหนสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย อันเป็นหัวใจสำคัญที่พสกนิกรชาวไทยควรมีและถือว่านี้คือเป็นหน้าที่สำหรับคนไทย สำหรับกิจกรรมที่เกิดขึ้นปลายปีนี้ ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการหรือประชาชนท่านใดอยากจะเข้ามามีส่วนร่วมบริจาคสิ่งของ เช่น ผ้าห่ม อาหารแห้ง อุปกรณ์การศึกษาหรือสิ่งจำเป็นอื่นๆ ที่ท่านคิดว่าเด็กนักเรียนต้องใช้ สามารถติดต่อมาได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-86-344-9902, 08-7019-9199 หรือ เฟชบุ๊ก “รามัญรักษ์”

    การให้คือการเสียสละเป็นเรื่องยากสำหรับคนตระหนี่ และการให้หากทำแล้วท่านจะรู้สึกว่ามีความสุข ยิ่งให้กับผู้ที่ต้องการและจำเป็นจริงๆ ในการดำรงชีวิตยิ่งได้บุญมาก การให้ไม่ใช่เรามี แต่เราให้เพราะอยากลดความเห็นแก่ตัวลง และการให้ต้องไม่เลือกเพศ วรรณะ หรือชาติพันธุ์ อันเป็น

    “หัวใจสำคัญของพระโพธิสัตว์”
    ……………………………………….

    คอลัมน์ : ริ้วผ้าเหลือง

    โดย “เปรียญ10” : riwpaalueng@gmail.com ขอขอบคุณที่มา
    https://www.dailynews.co.th/article/593476
     

แชร์หน้านี้

Loading...