‘สุคติสถาน’นวัตกรรมฌาปนกิจวิถีใหม่ จัดการศพติดโควิด

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 20 มิถุนายน 2021.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    e0b896e0b8b2e0b899e0b899e0b8a7e0b8b1e0b895e0b881e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b88ce0b8b2e0b89be0b899e0b881.jpg

    หลวงพ่อปัญญานันทมุนี นำชมความคืบหน้าการก่อสร้างสุคติสถาน เมรุเผาศพไร้ควัน

    แนวโน้มผู้ติดเชื้อโควิด-19 ระลอก 3 ตัวเลขยังทะลุสองพันสามพันติดต่อกัน ซึ่งไม่อาจประมาทได้ อีกทั้งเจอผู้ป่วยสะสย ผู้ป่วยหนัก รักษาตามโรงพยาบาลจำนวนมาก มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน วัดจึงเป็นสถานที่สุดท้ายส่งดวงวิญญาณผู้ตาย แต่ด้วยโควิดเป็นโรคระบาดใหม่ที่คนหวาดกลัว บางวัดไม่รับประกอบพิธีฌาปนกิจศพติดโควิด วัดที่รับก็ต้องมีพิธีกรรมต่างๆในรูปแบบวิถีใหม่

    ศพติดโควิดจำเป็นต้องนำศพฌาปนกิจโดยเร็ว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค สำหรับการดูแลศพผู้เสียชีวิตนั้นแต่ละโรงพยาบาลจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและการเผาศพใช้ความร้อน1,000 องศาเซลเซียส ทำให้เชื้อไวรัสไม่อาจแพร่กระจายได้อีก และสามารถเก็บกระดูกเพื่อนำไปบำเพ็ญกุศลต่อไป ซึ่งในทุกขั้นตอนมีบุคลากรสาธารณสุขเข้ามาจัดการอย่างเคร่งครัด อีกทั้งกระทรวงสาธารณสุขมีคำแนะนำการจัดการศพ การเคลื่อนย้ายร่างใส่โลงศพมาฌาปนกิจไม่เปิดซิปล็อกที่หนา 3 ชั้นเด็ดขาด

    b896e0b8b2e0b899e0b899e0b8a7e0b8b1e0b895e0b881e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b88ce0b8b2e0b89be0b899e0b881-1.jpg

    พิธีกรรมงานศพในรูปแบบ New Normal จนท.วัดสวมชุดPPE

    วัดเปิดรับพิธีฌาปนกิจผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ต้องทำหน้าที่อยากหนักเพื่อแบ่งเบาความทุกข์ของญาติโยมในช่วงที่มีโรคระบาดร้ายแรงนี้ อย่างวัดบางม่วง จ.นนทบุรี ที่ประกาศเผาศพโควิดที่ไม่มีที่ไหนรับเผาฟรี ศพมาเผาต่อเนื่องกว่า 40 ศพ จนเตาเผาชำรุดแตก ต้องหยุดเผาซ่อมแซมให้กลับมาใช้งานได้

    และยังมีวัดชลประทานรังสฤษฏ์ พระอารามหลวง จ.นนทบุรี ก็เปิดรับประกอบพิธีฌาปนกิจศพมาตั้งแต่เดือน พ.ค. ที่ผ่านมา มีศพผู้ติดเชื้อมาเผาแล้ว 8 ศพ หลวงพ่อปัญญานันทมุนี เจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฏ์ บอกว่า โควิดรุนแรง ผู้ป่วยหนักต้องจากโลกไป ทุกคนกลัว แต่วัดขอเป็นที่พึ่ง อาสาเป็นญาติผู้ตาย เปิดรับประกอบพิธีฌาปนกิจศพผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิดโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ญาติโยมต้องมาติดต่อที่วัดเพื่อจัดเตรียมสถานที่และแจ้งหน่วยงานราชการ ขั้นตอนปฏิบัติเป็นไปตามกฎระเบียบ สธ. ให้คำแนะนำ

    “ ในส่วนพระเจ้าหน้าที่วัดผ่านการอบรมมาตรการป้องกันเรียบร้อยแล้ว วัดซื้อชุด PPE และรับแบ่งปันมาจาก รพ.ชลประทานส่วนหนึ่ง แม้แต่ญาติแท้ๆ ยังกลัวโควิด แต่พระต้องกล้าประกอบพิธีฌาปนกิจ สวมได้แต่หน้ากากป้องกัน และรักษาระยะห่างกับศพเพื่อความปลอดภัย จะไม่มีการนำศพเก็บไว้ค้างคืนสวดอภิธรรม ศพมาถึงวัดนำเข้าเตาเผา ทำพิธีเสร็จฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรคอีกครั้ง ส่วนชุด PPE ใช้แล้วทิ้งเลย วันละ 2 ชุด จีวรพระที่ทำพิธีซักเครื่องแยก ศพโควิดปี่ไหนไม่ได้ มาที่นี่รับแน่ ได้เผาแน่ มาเที่ยงคืนก็เปิด ไม่ปล่อยให้อนาถา วัดในเมืองนนทบุรี 10 กว่า วัดก็ช่วยเผาศพโควิด “ เจ้าอาวาสบอก

    b896e0b8b2e0b899e0b899e0b8a7e0b8b1e0b895e0b881e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b88ce0b8b2e0b89be0b899e0b881-2.jpg

    ศาลาเก่าจัดงานศพและศาลาใหม่ที่เร่งก่อสร้างรับสถานการณ์โควิด

    แต่ละปีเมรุวัดชลประทานฯ มีการใช้งานอย่างหนักแต่ละปีไม่ต่ำกว่า 700- 800 ศพ ปีที่ผ่านมาเผาศพจำนวน 791 ศพ จนทำให้เตาเผาระเบิดเสียหายไป 1 เตา ต้องหยุดซ่อม ศพในศาลา ศพในโรงพยาบาลต้องรอหลายวัน ในปีนี้ยังรวมถึงศพที่เสียชีวิตจากโควิดด้วย วัดอุปถัมภ์ด้วยการฌาปนกิจแก่ผู้วายชนม์ในวาระสุดท้าย ไม่ทอดทิ้งกัน เป็นเหตุให้ต้องเร่งสร้างเมรุเผาศพไร้ควัน หรือ ”สุคติสถาน” บ้านหลังสุดท้ายก่อนย้ายภพภูมิ

    สุคติสถาน เป็นนวัตกรรมการฌาปนกิจวิถีใหม่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีองค์ประกอบเป็นศาลาคู่เมรุ จำนวน 4 ชั้น ชั้นที่ 1-3 มีศาลาบำเพ็ญกุศลชั้นละ 3 ศาลา ชั้นที่ 4 มีศาลาบำเพ็ญกุศล 1 ศาลา รวม 10 ศาลา เมรุและเตาเผา 2 เตาเผา แบบไร้มลพิษเป็นมิตรกับโลกอยู่บนชั้น 4 อาคารรับรองอยู่ด้านหน้าขนาด 4 ชั้น อีกหนึ่งหลัง มีลิฟต์ 3 ตัว และศาลาต้อนรับห้องสุขา 46 ห้อง ปัจจุบันคืบหน้าไปแล้ว 71% ขาดงบประมาณในการก่อสร้างอีก26.8 ล้านบาท มีเป้าหมายสร้างสุคติสถานให้เสร็จเปิดใช้งานวันที่ 10 ต.ค. ปีนี้ เพื่อถวายเป็นอาจารยบูชาหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ทุกคนสามารถร่วมบุญสร้างสุคติสถานได้ผ่านชื่อบัญชีวัดชลประทานรังสฤษดิ์

    “ สำหรับการสร้างสุคติสถานบนพื้นที่ 1 ไร่ ยกเมรุ เตาเผา และ 10 ศาลา ไว้บนอาคาร เป็นการจำกัดพื้นที่ แต่ประโยชน์เกิด ไม่มีปล่องเมรุปล่อยมลพิษ ใช้แก๊สทำความร้อนแทนน้ำมัน มีระบบบำบัดควัน ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม รักชีวิตผู้อื่น ภูมิทัศน์รอบอาคารเป็นพื้นที่สีเขียว วัดอื่นๆ สามารถนำเป็นต้นแบบได้ ปกติวัดชลประทานฯ เผา 3 ศพ ต่อวัน แต่โควิดระลอกใหม่เพิ่มเป็นวันละ 4 ศพ ต้องเตรียมสถานที่รองรับหลังความตาย ผู้เสียชีวิตจากโควิดคนกลัว แต่เราไม่รังเกียจความตาย ใครตายด้วยโควิด วัดเป็นที่ต้อนรับ และอุปถัมภ์จัดงาน จ่ายค่ารถ ค่าโลง “ หลวงพ่อปัญญานันทมุนี กล่าว

    b896e0b8b2e0b899e0b899e0b8a7e0b8b1e0b895e0b881e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b88ce0b8b2e0b89be0b899e0b881-3.jpg

    สุคติสถาน เป็นศาลาคู่เมรุเผาศพไร้ควันที่วัดชลประทานฯ

    การส่งวิญญาณผู้วายชนม์สู่สุขคติภูมิในชีวิตวิถีใหม่นั้น หลวงพ่อปัญญานันทมุนี บอกว่า ทางวัดสืบทอดหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ช่วยให้ชาวพุทธคำว่า เรียบง่าย ประหยัด ประโยชน์สูงสุด ทำงานศพให้เป็นงานบุญ ไม่ใช่งานบาป พระเทศน์ก่อนสวดและก่อนเผา ทำให้คนได้พบธรรมะประคับประคองชีวิต การจัดฌาปนกิจศพต้องไม่มีข้อบกพร่อง เพราะคนตายแล้วไม่สามารถจัดใหม่ได้

    ส่วนการประกอบพิธีงานศพ ไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้ามา หยุดพวงพรีด โคม ดอกไม้สด และต่อไปจะขยับเปลี่ยนจากโลงไม้เป็นนวัตกรรมโลงกระดาษ ซึ่งบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย กำลังคิดค้นนวัตกรรมนี้ ศาลาต้อนรับไม่มีจัดเลี้ยง โดยวัดมีโรงทานส่วนกลางให้พึ่งพิง ช่วยลดอาหารส่วนเกินที่เหลือจากงานศพ ลดขยะจากกล่องอาหารว่าง รูปแบบนี้ช่วยซับน้ำตาผู้อยู่เบื้องหลังที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งพบกับความสูญเสีย ส่วนญาติโยมที่ติดต่อมาจัดพิธีงานศพ 1 วัน 1 คืน ทางวัดจัดให้ฟรี ทำมาก่อนโควิด เข้ากับยุคสมัย ถ้า 3 คืน ก็จัดแบบประหยัดค่าใช้จ่าย ศพมาจากไกลๆ ภาคเหนือและภาคใต้ก็มี คนที่คิดเป็นแล้วจะทิ้งธรรมเนียม มาเอาศาสนา วัดไม่ได้ผลกำไร เพราะเราไม่ได้คิดหากินจากซากศพ แต่ให้เป็นที่บูชา เป็นทางบุญ

    b896e0b8b2e0b899e0b899e0b8a7e0b8b1e0b895e0b881e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b88ce0b8b2e0b89be0b899e0b881-4.jpg

    การออกแบบศาลาบำเพ็ญกุศลภายในสุคติสถานที่พร้อมเปิดใช้งานต.ค.นี้

    ในสถานการณ์ปัญหาโรคระบาดรุนแรง พิษเศรษฐกิจซ้ำเติม ผู้คนท้อแท้กับชีวิต บางคนสิ้นหวังหรือเจ็บป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึงขั้นคิดฆ่าตัวตายเช่นนี้ เจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฏ์ มีหลักธรรมฝาก อย่าทิ้งชีวิต ชีวิตควรอยู่กับชีวิต ไม่ใช่อยู่กับเงิน มีแบบอย่างคนกลับมาหาชีวิต เลิกทำสวนประดับมาสร้างสวนน่ารักผักกินได้ มีผักผลไม้กินทุกวัน เหลือแบ่งปัน และขายสร้างได้ อย่ามัวนั่งเศร้าซึม ทำตัวเองให้รอดตายเพราะลุกขึ้น ไม่ใช่รอคอยความช่วยเหลือ ถ้ากลับถิ่นฐานบ้านเกิดก็ทำสวน วัดชลประทานทำโครงการอาหารตอนเย็น และโครงการแจกจ่ายข้าวสารให้ชุมชนใกล้เตียง ไม่ให้ขาดข้าวสารกรอกหม้อ ชาวพุทธต้องช่วยกันดูแล ใครที่ตกงาน เพราะเลือกงานหรือให้ความรู้ล้างผลาญตัวเอง ทุกวันนี้งานยังมี แต่คนถูกความรู้แขวนคอ ต้องทำงานตามที่เรียนมา เป็นปัญหาด้านการศึกษา ขาดความหลากหลาย ใครขันน็อตก็ขันน็อตตลอดชีวิต ลองรวมตัวกันตั้งกลุ่มอาชีพและประกาศหางาน เชื่อว่า จะได้งานอย่างแน่นอน เราเจอวิกฤตจะต้องประคับประคองกายและใจให้สู้ชีวิตต่อไป

    b896e0b8b2e0b899e0b899e0b8a7e0b8b1e0b895e0b881e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b88ce0b8b2e0b89be0b899e0b881-5.jpg

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.thaipost.net/main/detail/106942
     

แชร์หน้านี้

Loading...