๒๑ วิธี ของ สติปัฏฐาน เส้นทางแห่งการบรรลุธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ๑๓อักษร, 11 กันยายน 2021.

  1. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    กัณฑ์ที่๕๔

    คัมภีร์พระธรรมลังคณี
    ว่าด้วย รูปาวจรกุศลจิต และ กุศลธรรม

    กตเม ธมฺมา กุสลา ยสฺมึ สมเย รูปปปตฺติยา มคฺคํ ภาเวติ วิวิจฺเจว
    กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สวิตกฺกํ สวิจารํ วิเวกชํ ปีติสุขํ
    ปฐมํ ณานํ อุปสมฺปชฺช วิหรตีติ

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงคัมภีร์พระธรรมสังคณิ กัณฑ์ที่ ๕๔
    ว่าด้วย
    รูปาวจรจิต พร้อมด้วยกุศลธรรมทั้งหลาย สืบต่อไป
    เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา
    และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ตลอดกาลนาน

    บาลี

    ดำเนินความตามวาระพระบาลี ที่ได้ยกขึ้นไว้เป็นเบื้องต้นแห่งเทศนานั้น
    ว่า
    ธรรมเหล่าไหนเป็นกุศล ฯ
    แก้ว่า
    ในคราวใด บุคคลเจริญมรรคเพื่อเข้าถึงซึ่งรูป
    แล้วสำเร็จปฐมฌาน ด้วยการเจริญปฐวีกสิณ

    ปฐมฌานนั้นปราศจากกาม ทั้งหลาย
    ปราศจากอกุศลธรรมทั้งหลาย

    มีวิตก
    มีวิจาร
    มีปีติ สุข อันเกิดจากวิเวก
    ในคราวนั้น ก็มี

    ผัสสะ
    เวทนา
    สัญญา
    เจตนา
    จิต
    วิตก
    วิจาร
    ปีติ
    สุข
    เอกัคคตา

    สัทธินทริย์ วิริยินทริย์ สดินทริย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
    มนินทริย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

    ส้มมาทิฏฐิ ส้มมาสังกัปปะ ส้มมาวายามะ ส้มมาสติ ส้มมาสมาธิ
    สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ
    อโลภะ
    อโทสะ
    อโมหะ
    อนภิชฌา
    อพยาบาท
    สัมมาทิฏฐิ
    หิริ
    โอตตัปปะ
    กายปัสสัทธิ
    จิตตปัสสทธิ
    กายลหุตา
    จิตตลหุตา
    กายมุทุตา
    จิตตมุทูตา
    กายกัมมัญญตา
    จิตตกัมมัญญตา
    กายปาคุญญตา
    จิตตปาคุญญตา
    กายุชุกตา
    จิตตุชุกตา
    สติ
    สัมปชัญญะ
    สมถะ
    วิปัสนา
    ปัคคาหะ
    อวิกเขปะ
    เกิดขึ้นด้วย ธรรมเหล่านี้ เป็นรูปาวจรกุสลธรรม ทั้งนั้น

    ธรรมเหล่านั้นก็เป็นรูปาวจรกุศลธรรมทั้งนั้น หรือว่า ธรรมเหล่าใดเกิดขึ้นในคราวนั้น

    ธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นในคราวนั้น มื่อจัดเป็นหมวดแล้ว
    ได้แก่ขันธ์ ๔
    อายตนะ ๒
    ธาตุ ๒
    อาหาร ๓
    อินทรีย์ ๘
    ฌานมืองค์ ๓
    มรรคมืองค์ ๔
    พละ ๗
    เหตุ ๓
    ผัสสะ ๑
    เวทนา ๑
    สัญญา ๑
    เจตนา ๑
    จิต ๑
    เวทนาขันธ์ ๑
    สัญญาขันธ์ ๑
    สังขารขันธ์ ๑
    วิญญาณข้นธ์ ๑
    มนายตนะ ๑
    มนินทริย์ ๑
    มโนวิญญาณ ๑
    ธาตุ ๑
    ธรรมายตนะ ๑
    ธรรมธาตุ ๑ เท่านั้น ฯ

    สังขารขันธ์นั้น ได้แก่
    ผัสสะ ๑
    เจตนา ๑
    วิตก๑
    วิจาร๑
    ปีติ ๑
    เอกกัคคตา ๑
    สัทธินทรีย์ ๑
    วิริยินทรีย์ ๑
    สตินทรีย์ ๑
    สมาธินทริย์ ๑
    ปัญญินทริย์ ๑
    ชีวิตินทริย์ ๑
    ส้มมาทิฏฐิ ๑
    ส้มมาวายามะ ๑
    สัมมาสติ ๑
    สัมมาสมาธิ ๑
    สัทธาพละ ๑
    วิริยพละ ๑
    สติพละ ๑
    สมาธิพละ ๑
    ปัญญาพละ ๑
    หิริพละ ๑
    โอตตัปปพละ ๑
    อโลภะ ๑
    อโทสะ ๑
    อโมหะ ๑
    อนภิชฌา ๑
    อพยาบาท ๑
    ส้มมาทิฏฐิ ๑
    หิริ ๑
    โอตต้ปปะ ๑
    กายปัสสัทธิ ๑
    จิตตปัสสัทธิ ๑
    กายลหุตา ๑
    จิตตลหุตา ๑
    กายมุทุตา ๑
    จิตตมุทุตา ๑
    กายกัมมัญญตา ๑
    จิตตกัมมัญญตา ๑
    กายปาคุญญตา ๑
    จิตตปาคุญญตา ๑
    กายุชุกตา ๑
    จิตตุชุกตา ๑
    สติ ๑
    ส้มปชัญญะ ๑
    สมถะ ๑
    วิบีสสนา ๑
    ปัคคาหะ ๑
    อวิกเขปะ ๑
    หรือธรรมเหล่าอื่นซึ่งเกิดในคราวนั้น

    ยกเสียแต่
    เวทนาขันธ์
    สัญญาขันธ์
    วิญญาณขันธ์
    เท่านั้น นอกนั้นเป็นสังขารขันธ์ทั้งสิ้น ฯ
    ธรรมเหล่านี้แล เป็นรูปาวจรกุศลธรรม
    อันเกิดขึ้นในปฐมฌาน ดังนี้
    สิ้นเนื้อความในพระบาลีเพียงเท่านี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2022
  2. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    กัณฑ์ที่ ๖๐

    คัมภีร์พระธรรมสังคณี
    ว่าด้วยโลกุตตรฌาน และโลกุตตรกุศล

    กตเม ธมฺมา กุสลา ยสฺมึ สมเย โลกุตตรํ ฌานํ ภาเวติ นิยฺยานิกํ

    อปจยคามึ ทิฏฺฐคตานํ ปหานาย ปฐมาเย ภูมิยา ปตฺติยา วิวิจฺเจว กาเมหิ

    วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิติ

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงคัมภีร์พระธรรมสังคณิ กัณฑ์ที่ ๖๐ ว่าด้วย

    โลกุตตรฌานพร้อมด้วยโลกุตตรกุศล สืบต่อไป
    เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
    ตลอดกาลนาน
    ดำเนินความตามวาระพระบาลี ที่ได้ยกขึ้นไว้เป็นเบื้องต้นแห่งเทศนา
    นั้นว่า
    ธรรมเหล่าไหนเป็นกุศล ? มีคำแก้ว่า
    ในคราวใด บุคคลเข้าปฐมฌาน อันเป็นโลกุตตระ
    อันเป็นนิยานิกะ อันไปสู่ที่ปราศจากการสะสม
    ในคราวนั้น
    ก็มี
    ผัสสะ
    เวทนา
    สัญญา
    เจตนา
    จิต
    วิตก
    วิจาร
    ปีติ
    สุข
    เอกัคคตา
    สัทธินทรีย์
    วิริยินทรีย์
    สตินทรีย์
    สมาธินทริย์
    ปัญญินทริย์
    มนินทรีย์
    โสมนัสสินทริย์
    ชีวิตินทรีย์
    อนัญญูตัญญัสสามีตินทรีย์

    สัมมาทิฏฐิ
    สัมมาสังกัปปะ
    สัมมาวาจา
    สัมมากัมมันตะ
    สัมมาอาชีวะ
    สัมมาวายามะ
    สัมมาสติ
    สัมมาสมาธิ
    สัทธาพละ
    วิริยพละ
    สติพละ
    สมาธิพละ
    ปัญญาพละ
    หิริพละ
    โอตตัปปพละ
    อโลภะ
    อโทสะ
    อโมหะ
    อนภิชมา
    อพยาบาท
    สัมมาทิฏฐิ
    หิริ
    โอตตัปปะ
    กายบัสสัทธิ
    จิตตบัสสัทธิ
    กายลหุดา
    จิตตลหุตา
    กายมุทุตา
    จิตตมุทุตา
    กายกัมมัญญตา
    จิตตกัมมัญญตา
    กายปาคุญญตา
    จิตตปาคุญญตา
    กายุชุกตา
    จิตตุชุกตา
    สติ
    สัมปชัญญะ
    สมถะ
    วิบัสสนา
    ปัคคาหะ
    อวิกเขปะ
    เกิดขึ้น
    ธรรมเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโลกุตตรกุศลธรรมทั้งนั้น
    หรือ ว่า ธรรมเหล่าใดเกิดขึ้นกับดวงจิตดวงนั้น
    ธรรมเหล่านั้นก็เป็นโลกุตตรกุศลสั้น
    ก็แลธรรมทั้งหลายเหล่านี้
    เมื่อจัดเป็นขันธ์เป็นต้นแล้ว

    ก็มี
    ขันธ์ ๔
    อายตนะ ๒
    ธาตุ ๒
    อาหาร ๓
    อินทรีย์ ๙
    ฌานมีองค์ ๕
    มรรคมีองค์ ๘
    พละ ๗
    เหตุ ๓
    ผัสสะ ๑
    เวทนา ๑
    สัญญา ๑
    เจตนา ๑
    จิต ๑
    เวทนาขันธ์ ๑
    สัญญาขันธ์ ๑
    สังขารขันธ์ ๑
    วิญญาณขันธ์ ๑
    มนินทรีย์ ๑
    มนายตนะ ๑
    มโนวิญญาณธาตุ ๑
    ธรรมายตนะ ๑
    ธรรมธาตุ ๑

    สังขารขันธ์นั้น ได้แก่
    ผัสสะ
    เจตนา
    วิตก
    วิจาร
    ปีติ
    เอกัคคตา

    สัทธินทริย์
    วิริยินทรีย์
    สตินทริย์
    สมาธินทริย์
    ปัญญินทริย์
    ชีวิตินทรีย์
    อนัญญตัญญัสสามีดินทรีย์

    สัมมาทิฏฐิ
    สัมมาสังกัปปะ
    สัมมาวาจา
    สัมมากัมมันตะ
    สัมมาอาชีวะ
    สัมมาวายามะ
    สัมมาสติ
    สัมมาสมาธิ

    สัทธาพละ
    วิริยพละ
    สติพละ
    สมาธิพละ
    ปัญญาพละ
    หิริพละ
    โอตตัปปพละ
    อโลภะ
    อโทสะ
    อโมหะ
    อนภิชฌา
    อพยาบาท
    สัมมาหิฏฐิ
    หิริ
    โอตตัปปะ
    กายปัสสัทธิ
    จิตตปัสสัทธิ
    กายลหุตา
    จิตตลหุตา
    กายมุทุตา
    จิตตมุทุตา
    กายกัมมัญญูตา
    จิตตก้มมัญญตา
    กายปาคุญญตา
    จิตตปาคุญญตา
    กายุชุกตา
    จิตตุชุกตา
    สติ
    สัมปชัญญะ
    สมถะ
    วิบัสสนา
    ปัคคาหะ
    อวิกเขปะ
    หรือ ธรรมเหล่าอื่นยกเสีย
    แต่ เวทนาขันธ์
    สัญญาขันธ์
    สังขารขันธ์เท่านั้น
    ถ้าสำเร็จ ทุติยฌาน ก็ไม่มี วิตก ฯ
    ถ้าสำเร็จ ตติยณาน ก็ไม่มีวิจาร ไม่มีปีติ
    ถ้าสำเร็จ จตุตถฌานก็ไม่มีสุขมีแต่อุเบกขาและสติอันบริสุทธิ์ ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2023
  3. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    โลกุตตรฌานทั้ง ๔ นั้น
    บางคนก็ปฏิบัติยากสำเร็จช้า
    บางคนก็ปฏิบัติยากแต่สำเร็จเร็ว
    บางคนก็ปฏิบัติง่ายแต่สำเร็จช้า
    บางคนปฏิบัติง่ายด้วย สำเร็จเร็วด้วย ฯ

    โลกุตตรฌานทั้ง ๔ ชั้นนั้นก็ดี
    โลกุตรพฌานทั้ง ๕ ชั้นก็ดี ก็เป็นสุญญตะ
    คือ เป็นของว่างเปล่าจากกิเลสทั้งนั้น

    เป็น อัปปณิหิตะ คือ เป็นของไม่มีกิเลสเป็นที่ตั้งด้วย

    ในคราวใด บุคคลเจริญโลกุตตรมรรคแล้วได้สำเร็จฌานก็ดี
    เจริญโลกุตตรสติบัฏฐานแล้วได้สำเร็จฌานก็ดี
    เจริญโลกุตตรสัมมัปปธานแล้วได้สำเร็จฌานก็ดี
    เจริญโลกุตตรอิทธิบาทก็ดี
    เจริญโลกุตตรพละก็ดี
    เจริญโลกุตตรโพชณงค์ก็ดี
    เจริญโลกุตตรสัจจะก็ดี
    เจริญโลกุตตรอินทริย์ก็ดี
    เจริญโลกุตตรสมกะก็ดี
    เจริญโลกุตตรธรรมก็ดิ
    เจริญโลกุตตรขันธ์ก็ดี
    เจริญโลกุตตรอายตนะก็ดี
    เจริญโลกุตตรธาตุก็ดี
    เจริญโลกุตตรอาหารก็ดี
    เจริญโลกุตตรผัสสะก็ดี
    เจริญโลกุตตรเวทนาก็ดี
    เจริญโลกุตตรสัญญาก็ดี
    เจริญโลกุตตรเจตนาก็ดี
    เจริญโลกุตตรจิตก็ดี
    และได้สำเร็จฌาน ในคราวนั้น
    ก็มี ผัสสะ เป็นต้น มี อวิกเขปะเป็นที่สุด ฯ

    ธรรมเหล่านั้นทั้งสิ้น เป็นโลกุตตรกุศลทั้งนั้น

    โลกุตตรฌานนั้น
    ย่อมมีอิทธิบาทเป็นใหญ่
    บางทีก็มีฉันทะเป็นใหญ่
    บางทีก็มีวิริยะเป็นใหญ่
    บางทีก็มีจิตตะเบ็นใหญ่
    บางทีก็มีวิมังสาเป็นใหญ่ ดังนี้

    ก็แลธรรมทั้งหลายที่เป็นโลกุตตรกุศล
    ซึ่งเกิดขึ้นในจิต
    ที่ได้สำเร็จโลกุตตรฌานนั้น
    แปลกจากกามาวจรกุศล
    แปลกจากรปาวจรกุศล
    แปลกจากอรูปาวจรกุศล
    เพียงข้อเดียว คือ ข้อว่า อนัญญตัญญัสสามีดินทริย์ เท่านั้น

    นอกนั้นมีคำแปลและคำอธิบายเหมือนกันสิ้น
    ก็มี เพียงแต่คล้ายกันก็มี
    ดังจักได้แปลและอธิบายต่อไป คือ

    ผัสสะ นั้น ได้แก่ จิตถูกต้องอารมณ์ ฯ
    เวทนา นั้น ได้แก่ ความเสวยอารมณ์ ฯ
    สัญญา นั้น ได้แก่ ความจำอารมณ์ ฯ
    เจตนา นั้น ได้แก่ ความจงใจในอารมณ์ ฯ
    จิต นั้น ได้แก่มโนวิญญาณธาตุ ฯ
    วิตก นั้น ได้แก่ความนึกอันเป็นองค์มรรค ฯ
    วิจาร นั้น ได้แก่ความตรอง คือ ความเพ่งดูจิตเนือง ๆ
    ปีตินั้น ได้แก่ ปีดิสัมโพชฌงค์ ฯ

    สุข นั้น ได้แก่ สุขเวทนา ฯ
    เอก้คคตา นั้น ได้แก่ ความมีอารมณ์อันเดียว ซึ่งเป็นองค์มรรค ฯ

    สัทธินทรีย์ นั้น ได้แก่ สิ่งที่เป็นใหญ่ คือ สัทธา ฯ
    วิริยินทรีย์ นั้น ได้แก่ สิ่งที่เป็นใหญ่ คือ วิริยะ ฯ
    สตินทรีย์ นั้น ได้แก่ สิ่งที่เป็นใหญ่ คือ สติ แต่หมายสติอันเป็นองค์มรรค ฯ
    สมาธินทรีย์ นั้น ได้แก่ สิ่งที่เป็นใหญ่ คือ สมาธิซึ่งเป็นองค์มรรค ฯ
    ปัญญินทรีย์ นั้น ได้แก่สิ่งที่เป็นใหญ่ คือ ปัญญา อันเป็นองค์มรรค ฯ
    มนินทริย์ นั้น ได้แก่ สิ่งที่เป็นใหญ่ คือ วิญญาณธาตุ ฯ
    โสมนัสสินทรีย์ นั้น ได้แก่ สิ่งที่เป็นใหญ่ คือ โสมนัส ฯ
    ชีวิตินทรีย์ นั้น ได้แก่ สิ่งที่เป็นใหญ่ คือ ชีวิต
    อนัญญตัญญัสสามีดินทรีย์ นั้น ได้แก่สิ่งที่เป็นใหญ่ คือ การรู้แจ้งแทงตลอดซึ่งสิ่งที่ยังไม่รู้แจ้งแทงตลอด ฯ

    สัมมาทิฏฐิ นั้น ได้แก่ ความเห็นชอบอันเป็นองค์มรรค ฯ
    สัมมาสังกัปปะ นั้น ได้แก่ ความดำริชอบอันเป็นองค์มรรค ฯ
    สัมมาวาจา นั้น ได้แก่ การพูดชอบอันเป็นองค์มรรค ฯ
    สัมมากัมมันตะ นั้น ได้แก่ การทำชอบอันเป็นองค์มรรค ฯ
    สัมมาอาชีวะ นั้น ได้แก่ การหาเลี้ยงชิพชอบอันเบีนองค์มรรค ฯ
    สัมมาวายามะ นั้น ได้แก่ การพยายามอันชอบเป็นองค์มรรค ฯ
    สัมมาสติ นั้น ได้แก่ การระลึกชอบอันเป็นองค์มรรค ฯ
    สัมมาสมาธิ นั้น ได้แก่ การตั้งใจมั่นชอบอันเป็นองค์มรรค ฯ

    สัทธาพละ นั้น ได้แก่ กำลังคือศรัทธา ฯ
    วิริยพละ นั้น ได้แก่ กำลังคือวิริยะอันเป็นองค์มรรค ฯ
    สติพละ นั้น ได้แก่ กำลังคือสติ อันเป็นองค์มรรค ฯ
    สมาธิพละ นั้น ได้แก่ กำลังคือสมาธิอันเป็นองค์มรรค ฯ
    ปัญญาพละ นั้น ได้แก่กำลังคือปัญญาอันเป็นองค์มรรค ฯ
    หิริพละ นั้น ได้แก่ กำลังคือความละอายต่อการทำบาปอกศล ฯ
    โอตตัปปพละ นั้น ได้แก่ กำลังคือความกลัวต่อบาปอกุศลฯ

    อโลภะ นั้น ได้แก่ ความไม่โลภ ความไม่ยินดี ความไม่อยากได้ฯ
    อโทสะ นั้น ได้แก่ ความไม่ขุ่นแค้นฯ
    อโมหะ นั้น ได้แก่ ความไม่ลุ่มหลงฯ
    อนภิชณา นั้น ได้แก่ ความไม่เพ่งเล็งของผู้อื่นฯ
    อพยาบาท นั้น ได้แก่ ความไม่ปองร้ายผู้อื่นฯ
    สัมมาทฏฐิ นั้น ได้แก่ ความเห็นชอบอันเป็นองค์มรรคฯ
    หิริ นั้น ได้แก่ ละอายต่อบาปอกุศลฯ
    โอตตัปปะ นั้น ได้แก่ ความกลัวบาปอกุศลฯ
    กายปัสสัทธิ นั้น ได้แก่ ความสงบกาย คือ การสงบเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ฯ
    จิตตปัสสัทธิ นั้น ได้แก่ ความสงบจิต คือ ความสงบแห่งวิญญาณขันธ์ฯ
    กายลหุตา นั้น ได้แก่ ความเบากาย คือ ความเบาแห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังชารขันธ์ฯ
    จิตตลหุดา นั้น ได้แก่ ความเบาจิต คือ ความเบาแห่งวิญญาณขันธ์ฯ
    กายมุทุตา นั้น ได้แก่ ความอ่อนกาย
    คือ ความอ่อนแห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ฯ

    จิตตมุทุตา นั้น ได้แก่ ความอ่อนจิต คือ ความอ่อนแห่งวิญญาณขันธ์ฯ

    กายกัมมัญญตานั้น ได้แก่ กายอันควรแก่การงาน
    คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ควรแก่การงานตามปรารถนาฯ

    จิตตกัมมัญญตานั้น ใด้แก่จิตควรแก่การงาน
    คือ วิญญาณขันธ์ ควรแก่การงานตามประสงค์ฯ

    กายปาคุญญตา นั้น ได้แก่ ความคล่องแคล่วกาย
    คือ แห่งเวหนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
    จิตตปาคุญญตา นั้น ได้แก่ ความคล่องแคล่วแห่งจิต คือ แห่งวิญญาณขันธ์ๆ

    กายุชุกตา นั้น ได้แก่ ความตรงกาย
    คือ ความตรงแห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ฯ
    จิตตุชุกตา นั้น ได้แก่ ความตรงจิต คือ ความตรงแห่งวิญญาณขันธ์ฯ
    สติ นั้น ได้แก่ ความระลึกได้ ความจำได้ สิ่งที่ให้จำได้ ความไม่หลงลืม อันเป็นองค์มรรค ฯ
    สัมปชัญญะนั้น ได้แก่ความรู้รอบคอบอันเป็นองค์มรรค ฯ
    สมถะ นั้น ได้แก่ ความสงบจิต อันเป็นองค์มรรค ฯ
    วิบัสสนา นั้น ได้แก่ การเห็นด้วยอาการต่าง ๆ อันเป็นองค์มรรค ฯ
    ปัคคาหะนั้นได้แก่การประคองธุระอันเป็นองค์มรรค ฯ
    อวิกเขปะ นั้น ได้แก่ ความไม่ฟุ้งซ่านอันเป็นองค์มรรค ฯ
    ดังนี้
    สิ้น ข้อความ ในพระบาลีเพียงเท่านี้
     
  4. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    อรรถกถา

    ส่วนในอรรถกถา ว่า
    โลกุตตระนั้น มีคำอธิบาย ๓ ประการ ตามวิเคราะห์

    คือ วิเคราะห์ที่ ๑ ว่า
    โลกํ ตรตีติ โลกุตฺตรํ แบ่ลว่า สิ่งใดข้ามซึ่งโลก สิ่งนั้นชื่อว่า โลกุตตระฯ

    วิเคราะห์ที่ ๒ ว่า
    โลกํ อุตฺตรตีดิ โลกุตฺตรํ แปลว่า สิ่งใดข้ามขึ้นซึ่งโลก สิ่งนั้นชื่อว่า โลกุตตระฯ

    วิเคราะห์ที่ ๓ ว่า
    โลกุตฺตยํ สมถิกฺกมฺม อภิภุยฺย ตฏฺฐตีติ โลกุตฺตรํ แปลว่า
    สิ่งใดล่วงเสียซึ่งโลก ๓ ครอบงำเสียซึ่งโลก ๓ แล้วตั้งอยู่ สิ่งนั้นชื่อว่า โลกุตตระ ดังนี้ฯ


    ได้ใจความตามวิเคราะห์ที่ ๑ ว่า
    โลกุตตระ นั้น แปลว่า สิ่งที่ข้ามโลกฯ

    ตามวิเคราะห์ที่ ๒ ว่า
    โลกุตตระนั้น แปลว่า สิ่งที่อยู่เหนือโลกฯ

    ตามวิเคราะห์ที่ ๓ ว่า
    โลกุตตระนั้น แปลว่า สิ่งที่ครอบงำโลก ดังนี้

    ฌานอันอยู่เหนือโลก

    ส่วนคำว่าโลกุตตรฌานนั้น ก็หมายความว่า
    ฌานข้ามโลก
    ฌานอันอยู่เหนือโลก
    ฌานอันครอบงำโลกฯ

    คำว่า นิยานิกะ นั้น มีวิเคราะห์ ว่า
    โลกตา นิยฺยาติ นิยฺยานิกํ
    แปลว่า สิ่งใดออกไปจากโลก สิ่งนั้นชื่อว่า นิยยานิกะฯ

    วิเคราะห์ที่ ๒ ว่า
    วฏฺฏโต นิยฺยานิกํ นิยฺยานิกํ
    แปลว่า สิ่งใดออกไปจากวัฏฏะ สิ่งนั้นชื่อว่า นิยยานิกะฯ

    วิเคราะห์ที่ ๓ ว่า นิยฺยา เอเตนาติ นิยฺยานิกํ
    แปลว่า บุคคลออกไปด้วยสิ่งนั้น
    เพราะฉะนั้น สิ่งนี้จึงว่า นิยยานิกะ ดังนี้
    เพราะบุคคลผู้พร้อมเพริยงด้วยสิ่งนั้น
    เมื่อรอบรู้ทุกข์
    ละเหตุให้เกิดทุกข์
    ทำให้แจ้งความดับทุกข์
    เดินตามทางให้ดับทุกข์ได้แล้ว
    ก็ย่อมออกไปจากโลก ออกไปจากวัฏฏสงสารได้ดั่งปรารถนาฯ

    คำว่า ไปสู่ที่ปราศจากความสะสมนั้น
    อธิบาย ว่า กุศลในภูมิ ๓
    ย่อมสะสมจุติปฏิสนธิในวัฏฏสงสาร
    ส่วนในโลกุตตรกุศลย่อม ไม่สะสมซึ่งจุติปฏิสนธิฯ

    เมื่อบุรุษคนหนึ่งก่อกำแพงอันสูง ๑๘ ศอก
    ก็มีบุรุษอีกคนหนึ่ง ไล่บุรุษนั้นไปเสียด้วยไม้ค้อนใหญ่ฉันใด
    กุศลในภูมิ ๓ ก็ถูก โลกุตตรกุศลขับไล่ไม่ให้ก่อ ซึ่ง จุดิปฏิสนธิ ฉันนั้น

    เพราะฉะนั้น โลกุตตรกุศล นั้น จึงชื่อว่า ไปสู่ที่ปราศจากการสะสม ดังนี้ฯ

    ก็ภูมิ ๓ นั้น ได้แก่
    กามาวจรภูมิ
    รูปาวจรภูมิ
    อรูปาวจรภูมิ

    กุศลในภูมิ ๓ นั้น
    ก็ได้แก่
    กามาวจรกุศล
    รูปาวจรกุศล
    อรูปาวจรกุศล

    ดังที่แสดงมาแล้วเป็นอันมากนั้น
    สิ้นข้อความในพระธรรมสังคณี เทศนากัณฑ์นี้เพียงเท่านี้
    เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้ๆ
     
  5. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    กัณฑ์ที่ ๘๔
    คัมภีร์พระธรรมสังคณี
    ว่าด้วยหมวดอุปาทาน ในนิกเขปกัณฑ์

    กตเม ธมฺมา อุปาทานา จตุตาริ อุปาทานิ

    กามุปาทานํ
    ทิฏฐิปาทานํ
    สีลพฺพตุปาทานํ
    อตฺตวาทุปาทานนฺติ

    ณ บัดนี้
    อาตมภาพจักได้แสดงคัมภีร์พระธรรมสังคณิ กัณฑ์ที่ ๘๔
    ว่าด้วย หมวดอุปาทาน ในนิกเขปกัณฑ์ สืบต่อไป
    เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธสาสนา
    และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายดลอดกาลนาน

    บาลี
    ดำเนินความตามวาระพระบาลี ที่ได้ยกขึ้นไว้เป็นเบื้องต้นแห่งเทศนานั้นว่า
    อุปาทานนั้นมีอยู่กี่ประการ แก้ว่า อุปาทานนั้นมีอยู่ ๔ ประการ คือ

    กามอุปาทาน ๑
    ทิฏฐิอุปาทาน ๑
    สีลัพพตอุปาทาน๑
    อัตวาทอุปาทาน ๑

    กามอุปาทานนั้น ได้แก่สิ่งใด แก้ว่า ได้แก่
    ความพอใจในกาม
    ความทะยานในกาม
    ความเยื่อใยในกาม
    ความยินดีในกาม
    ความเพลิดเพลินในกาม
    ความกระวนกระวายในกาม
    ความดิ้นรนในกาม
    ความกลืนกินซึ่งกาม

    ทิฏฐิอุปาทานนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่ การถือมั่นว่า
    ผลแห่งทานไม่มี
    ผลแห่งการบูชาไม่มี
    ผลแห่งการคำนับไม่มี
    ผลแห่งการทำดีทำชั่วไม่มี
    โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี
    มารดาไม่มีบิดาไม่มี
    สัตว์ที่เกิดขึ้นเองไม่มี
    สมณพราหมณ์ที่จะสงบ ที่จะปฏิบัติชอบ ซึ้งรู้แจ้งเห็นจริง
    ซึ่งโลกนี้โลกหน้าด้วยตนเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้นั้นไม่มี

    ถึงแม้ว่ามิจฉาทิฏฐิทั้งสิ้น
    ยก สีลัพพตอุปาทาน กามอุปาทาน
    กับ อ้ตวาทอุปาทานเสีย
    ก็ชื่อว่าทิฏฐิอุปาทานทั้งนั้น

    สีลัพพตอุปาทานนั้น ได้แกสิ่งใด
    ได้แก่ ความถือผิดว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีด้วยศิลหรือด้วยข้อวัตร
    หรือด้วยทั้งศีลทั้งข้อวัตรของสมณพราหมณ์นอกพระพุทธศาสนา

    อัตวาทอุปาทานนั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่
    การที่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับซึ่งคำสอนของพระอริยเจ้า
    ผู้ไม่เห็นพระอริยเจ้า ผู้ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
    ผู้ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยเข้า
    ผู้ไม่ได้เห็นสัปปุรุษ ผู้ไม่ฉลาดในธรรมของ สัปปุรุษ
    ผู้ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปปุรุษ

    พิจารณาเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นตัวตน
    หรือเห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นตัวตน
    หรือเห็นว่าตัวตนมีอยู่ใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้ฯ
    ธรรมเหล่านั้นเป็นอุปาทาน

    ธรรมเหล่าไหนไม่เป็นอุปาทาน แก้ว่า
    ยกธรรมเหล่านั้นเสียแล้ว
    กุศลธรรม อกศลธรรม อัพยากตธรรม

    นอกจากนั้น กับ
    เวทนาขันธ์
    สัญญาขันธ์
    สังขารขันธ์
    วิญญาณขันธ์
    ที่เป็น
    กามาวจร
    รูป่าวจร
    อรูปาวจร
    อปริยาบัน
    กับรูปทั้งปวง กับธาตุที่ปัจจัยไม่ตกแต่ง เหล่านี้ ไม่เป็นอุปาทาน

    ธรรมเหล่าไหนเป็นเหตุให้เกิดอุปาทาน
    แก้ว่า
    กุศลธรรม
    อกุศลธรรม
    อัพยากตธรรม ที่มีอาสวะ
    กับ
    รูปขันธ์
    เวทนาขันธ์
    สัญญาขันธ์
    สังขารขันธ์
    วิญญาณขันธ์
    ที่เป็น กามาวจร อรูปาวจร เหล่านี้
    เป็นเหตุให้เกิด อุปาทานฯ

    ธรรมเหล่าไหมไม่เป็นเหตุให้เกิดอุปาทาน แก้ว่า
    มรรคผล อันเป็น อปริยาบัน กับธาตุที่ปัจจัยไม่ได้ตกแต่ง เหล่านี้
    ไม่เบ็นเหตุให้เกิดอุปาทาน

    ธรรมเหล่าไหนประกอบกับอุปาทาน แก้ว่า
    เวทนาขันธ์
    สัญญาขันธ์
    สังขารขันธ์
    วิญญาณขันธ์
    ที่ประกอบกับธรรมเหล่านั้น เรียกว่าประกอบกับ อุปาทานฯ

    ธรรมเหล่าไหนไม่ประกอบกับอุปาทาน แก้ว่า
    เวทนาขันธ์
    สัญญาขันธ์
    สังขารขันธ์
    วิญญาณขันธ์ ที่ไม่ประกอบกับธรรมเหล่านั้น และรูปทั้งปวง
    กับธาตุที่ปัจจัยไม่ได้ตกแต่ง เหล่านี้ ไม่ประกอบกับ อุปาทาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2022
  6. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    พิจารณา อาการ 32 รักษาวัณโรค
    ................................

    ในช่วงต่อไปนี้อาตมา
    จะได้ขอนำเรื่องส่วนตัวมาเล่าสู่ท่านทั้งหลายฟัง

    ในสมัยเมื่ออายุ 22 ปี
    อาตมาป่วยเป็นวัณโรค
    ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ยาที่จะรักษาโรควัณโรคนี้
    ยังไม่มียังไม่มีใครรับรองว่า
    รักษาวัณโรคหาย

    ปีนี้พอดีท่านอาจารย์ฝั้นท่านมาจำพรรษาด้วย อยู่ที่วัดบูรพาเมืองอุบลฯ
    ท่านก็มาแนะนำให้พิจารณาอาการ 32

    คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก นี่แหล่ะ อะอื้มๆ

    ทีแกรกก็ ใช้ความคิดพิจารณาตามที่เราจำได้
    โดยเริ่มต้นว่า

    อะยัง โข เม กาโย
    กาย ของเรานี่แล

    อุทธัง ปาทะตะลา
    เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา

    อะโธ เกสะมัตถะกา
    เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป

    ตะจะปะริยันโต
    มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ

    ปูโร นานัปปะการัสสะ อะสุจิโน
    เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ

    อัตถิ อิมัสมิง กาเย
    มีอยู่ในกายนี้

    เกศาคือผมทั้งหลาย
    น้อมจิตนึกไปที่ผม

    โลมาคือขนทั้งหลาย
    น้อมจิตนึกไปที่ขน

    นขาคือเล็บทั้งหลาย
    น้อมจิตนึกไปที่เล็บ

    ทันตาคือฟันทั้งหลาย
    น้อมจิตนึกไปที่ฝัน

    ตโจคือหนัง
    น้อมจิตลึกไปที่หนัง

    มังสังคือเนื้อ
    น้อมจิตนึกไปที่เหนือ

    นหารูคือเอ็นทั้งหลาย
    น้อมจิตไปที่เอ็น

    อัฏฐิคือกระดูกทั้งหลาย
    น้อมจิตไปที่กระดูก

    อัฏฐิมิญชัง คือเยื้อในกระดูก
    น้อมจิตไปที่เยื่อในกระดูก

    วักกังม้าม
    น้อมจิตไปที่ม้าม

    หทะยังหัวใจ
    น้อมจิตไปที่หัวใจ

    ปัปผาสัง ปอด
    น้อมจิตไปที่ปอด

    เพราะ อุปทานเคยยึดถือว่า
    วัณโรคเป็นอยู่ที่ปอด

    พอน้อมไปที่ปอด
    จิตมันก็จดจ้องอยู่ที่ปอด มันไม่ยอมไปไหน

    ในที่สุดก็มองเห็นปลอดของตัวเองเป็นสีแดง
    แล้วจิตก็มีความสว่างไสว มองเห็นจุดอยู่ที่ขั้วปอดสองจุด
    โตขนาดเหรียญสลึง
    แล้วก็น้อมเพ่งดูอยู่ที่ปอดนั้นตลอดไป
    จิตมันก็ยังไม่ยอมไปไหนเหมือนกัน ในตอนแรกๆ มันก็รู้สึกว่า
    กายก็ยังปรากฏอยู่ ลมหายใจก็ยังปรากฏอยู่
    แล้วก็มองเห็นปอด ด้วยอ่าคล้ายๆกับ มองเห็นด้วยสายตาและรู้ด้วยใจ
    ในเมื่อจิตเพ่งอยู่ที่ปอดโดยไม่ลดละ

    จิตก็ค่อยสงบละเอียดลงไปสงบละเอียดลงไป
    เมื่อจิตสงบละเอียดลงไปจริงๆแล้ว ปรากฏว่า ร่างกายของตัวเอง
    ไปนอนแผ่อยู่กับพื้น ความรู้สึกในขณะนั้น เหมือนกับว่า

    จิตไปลอยเด่นอยู่บน อยู่เหนือร่างกายสูงประมาณ 2 เมตร
    แล้วก็ทอดแสงสว่างลงมาดูกาย

    ในตอนนี้ความรู้สึกนึกคิดอะไรไม่มีทั้งนั้น
    มีแต่จิต รู้ เด่นสว่างอยู่อย่างนั้น แต่ทางส่วนกายเนี่ย

    เริ่มต้นด้วยการขึ้นอืด แล้วก็น้ำเหลืองไหล เนื้อหนังผุพังไป
    ตกลงไปทีละชิ้นสองชิ้น ในที่สุด ยังเหลือแต่โครงกระดูก

    แล้วโครงกระดูก ก็หลุดออกจากกัน แล้วก็หักเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่
    ในที่สุด กระดูก ก็แหลกละเอียด หายไปกับพื้นดิน
    มองเห็นผงกระดูกโปรยอยู่บนพื้นดินเหมือนๆกับขี้เถ้าโปรย อยู่บนกองทราย

    แล้วอยู่มาอีกขณะหนึ่ง พอผง กระดูกหายลงไปในพื้นแผ่นดิน
    มองไม่เห็นผงกระดูก ในที่สุด พื้นแผ่นดินที่มองเห็นอยู่นั้น ก็หายไปหมด

    ยังเหลือแต่ จิต ดวงเดียวเท่านั้น
    แล้วอีกสักพักหนึ่ง แผ่นดินก็ปรากฏขึ้นมา แล้วก็มีผงกระดูก
    แล้วกระดูกเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ แล้วก็เป็นชิ้นกระดูกกลับคืนมา
    แล้วก็มาต่อเป็นโครงสร้าง มีโครงกระดูกครบถ้วน

    เนื้อหนังก็ค่อยงอกขึ้นมาตามที่ต่อของกระดูกจนกระทั่ง
    ร่างปรากฏว่ามีร่างกายสมบูรณ์ตามเดิม
    แล้วก็มีอันเป็นไปอย่างนั้น กลับไป กลับมาไม่รู้กี่ครั้งกี่หน

    แต่จำได้เพียงแค่ 3 ครั้งเท่านั้น

    ความเป็นอันนี้
    เริ่มเป็นอยู่ตั้งแต่ตี สาม แล้วก็ไปรู้สึกตัวต่อเมื่อสองโมงเช้า
    ก่อนที่จะรู้สึกตัวขึ้นมานั้น ดวงจิตที่ลอยเด่นอยู่นั่น มีอาการไหวนิดนึง
    พอไหว แล้วก็เกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า นี่หรือคือความตาย
    ความรู้สึกอันหนึ่งผุดขึ้นมา ตอบว่า ใช่แล้ว

    พอคำตอบว่าใช่แล้ว ปรากฏขึ้น
    จิตที่ลอยเด่นอยู่นั่น ก็ลดลงมาปะทะ กับ รู้สึกว่าคล้ายๆกับว่า
    มาปะทะกับหน้าอกแผ่วๆ แล้วความรู้สึกก็ค่อยรู้สึกทางกายขึ้นมา

    ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในระยะแรกนั้นคล้ายๆกับ
    ถูกฉีดยาเข้าเส้นอย่างแรง มีอาการวิ่งซู่ไปจนทั่วกาย

    ทีนี้ อาตมาก็กำหนดดูว่าเรานอนอยู่ในท่าไหน หันศีรษะไปทางใด
    มือเท้าวางไว้อย่างไร กำหนดจิตอย่างไรจึงเป็นอย่างนี้
    พอรู้สึกตัวอย่างเต็มที่แล้ว จนหายสงสัยแล้วว่าเราตื่นรู้สึกตัวเต็มที่แล้ว

    ความสงสัยนั้นก็ยังมีอยู่ นึกสงสัยขึ้นมาว่า
    เอ๊ะ นี่เราตายจริงหรือเปล่า
    เลยต้องยกมือขึ้นมาคลำดูหน้าอก เพราะแน่ใจว่ายังไม่ตาย
    ลืมตาขึ้นก็ดูนาฬิกา
    ก็ สองโมงเช้า พอดี

    ทีนี้ในเหตุการณ์อย่างนี้ผ่านไป วัณโรคที่เป็นอยู่นั่นแหละ
    อาเจียนเป็นโลหิตออกมา แล้วก็เป็นน้ำหนองออกมาอย่างเหม็นเน่า
    แล้วก็ค่อยๆ จางหายไปทีละน้อย ละน้อย ในที่สุดเลือดหายขาด
    หนองที่เคยออก ก็หาย ร่างกายก็ค่อยดีขึ้น ดีขึ้น
    จนกระทั่งหายมาจนบัดนี้

    อันนี้ขอให้ท่านทั้งหลายลองพิจารณาดูสิว่า
    การบำเพ็ญกรรมฐานเนี่ยะ
    เกี่ยวกับการพิจารณา อสุภกรรมฐานเนี่ยะ
    พิจารณาผมขนเล็บฟันหนังเนื้อเอ็นกระดูกนี่
    มี ทางพอที่จะช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้มั้ย
    ในฐานะที่ท่านทั้งหลายก็เป็น เป็นนายแพทย์ที่เรียนผ่านมาแล้ว

    แต่อาตมะภาพ ยืนยัน รับรองได้ว่า วัณโรคของอาตมาที่เป็นนั้น
    หายเพราะการภาวนา เพราะความรู้ สภาวะที่เป็นจริง ซึ่งเกิดขึ้นในจิตในใจ

    ที่นี่ผลลัพธ์แห่งความรู้ที่เกิดขึ้นนั้น
    หลังจากที่ ร่างกายสลายไปหมดแล้ว ยังเหลือแต่จิตอย่างเดียว
    เมื่อปรากฏมีกายอีกทีหนึ่ง
    ความรู้สึกมันก็เกิดขึ้นว่า
    ไอ้โรคภัยไข้เจ็บนี้ มันเป็นอยู่ที่รางกาย ไม่ได้เป็นอยู่ที่ใจ
    ใจกับกายมันคนละอย่าง
    กายนี่มันเหมือนๆกับสิ่งซึ่งเป็นที่อาศัย แต่ว่าใจนั้นอาศัยอยู่ในกาย

    แต่ผู้เจ็บผู้ป่วยผู้ตาย ไม่ใช่ใจ ร่างกายต่างหากที่มันเจ็บป่วยตายไป
    ร่างกายนี่ มันก็เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวของเรา
    เพราะฉะนั้น
    ในเมื่อไม่มีตัวมีตน มีแต่จิตดวงเดียวแล้ว
    ความเจ็บไข้ได้ป่วยมันจะมีมาแต่ไหน

    หลังจากนั้นกำลังใจมันก็เกิดขึ้นอย่างมหาศาล
    ถ้าหากว่าบางครั้ง มันอาจจะเกิดความรู้สึกเกี่ยวกับความเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมา
    ในด้านที่เรียกว่า มันทำให้เกิดทุกข์ใจ
    มันมักจะมี ความคิดเกิดขึ้นมาโต้ตอบ ว่า
    ไม่ได้จ้างให้มันมาเกิด ไม่ได้จ้างให้มันมาตาย
    อยากตายก็เชิญเลย
    นี่มันท้าทายอย่างนี้

    แล้วโรคภัยไข้เจ็บมันก็หายมา เรื่อยๆ มา
    อันนี้
    ที่นำมาเล่านี่ ก็เพื่อ เป็นแนวทางให้ท่านทั้งหลาย ได้พิจารณาว่า
    การบำเพ็ญ
    สมถกรรมฐานก็ดี
    วิปัสสนากรรมฐานก็ดี

    สามารถที่จะช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้หายได้บ้างไหม

    อันนี้ขอฝากไว้ให้ท่านทั้งหลายได้พิจารณา

    เกร็ดธรรม
    หลวงปู่ พุธ ฐานิโย
    วัดป่าสาละวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2022
  7. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    สมาธิ3.jpg

    อยู่นี่กันเด้อ ว่างก้แวะมา

    https://www.facebook.com/groups/774597377108661
     
  8. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    กัณฑ์ที่ ๗๕ คัมภีร์ พระธรรมสังคณี
    ว่าด้วย นิกเขปกัณฑ์ ในเหตุทุกมาติกา ( ฉบับ ส.ธรรมภักดี )

    อรรถกถา

    มีเนื้อความในหมวดอาสวะต่อไปว่า
    ธรรมเหล่าไหนเป็นอาสวะ ฯ
    แก้ว่า

    อาสวะมีอยู่ ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ฯ

    กามาสวะ นั้น ได้แก่
    ความพอใจในกามารมณ์
    ความยินดีในกามารมณ์
    ความเพลิดเพลินในกามารมณ์
    ความทะเยอทะยานในกามารมณ์
    ความเสน่หาในกามารมณ์
    ความเร่าร้อนในกามารมณ์
    ความดิ้นรนในกามารมณ์
    ความยึดถือในกามารมณ์ ฯ

    ภวาสวะ นั้น ได้แก่
    ความพอใจในภพ
    ความยินดีในภพ
    ความเพลิดเพลินในภพ
    ความทะเยอทะยานในภพ
    ความเสน่หาในภพ
    ความเร่าร้อนในภพ
    ความดิ้นรนในภพ
    ความยึดถือในภพ ฯ

    ทิฏฐาสวะนั้น ได้แก่ ความถือผิด คือ
    ถือว่า
    โลกยั่งยืนบ้าง โลกไม่ยั่งยืนบ้าง
    โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง
    ชีพกับสรีระเป็นอันเดียวกันบ้าง ชีพกับสริระต่างกันบ้าง
    สัตว์ตายแล้วเกิดบ้าง สัตว์ตายแล้วไม่เกิดบ้าง
    สัตว์ตายแล้วเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ดังนี้บ้าง
    สัตว์ตายแล้วเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอิกก็ไม่ใช่ ดังนี้บ้าง ฯ


    อวิชชาสวะ นั้น ได้แก่
    ความไม่รู้จักทุกข์
    ความไม่รู้จักเหตุให้เกิดทุกข์
    ความไม่รู้จักความดับทุกข์
    ความไม่รู้จักทางให้ถึงความดับทุกข์
    ความไม่รู้จักเบื้องต้น
    ความไม่รู้จักเบื้องปลาย
    ความไม่รู้จักทั้งเบื้องต้นเบื้องปลาย
    ความไม่รู้จักสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยกันและกัน ฯ

    คำว่า ความไม่รู้จักนั้น ได้แก่
    ความไม่เห็น
    ความไม่รู้ยิ่ง
    ความไม่รู้ตาม
    ความไม่รู้ดี
    ความไม่แทงตลอด
    ความไม่ถือเอาดี
    ความไม่กำหนดดึ
    ความไม่เพ่งดี
    ความไม่พิจารณา
    ความไม่ทำให้แจ้ง
    ความคิดไม่ดี
    ความโง่
    ความไม่รู้รอบคอบ
    ความลุ่มหลง

    อวิชชา ห้วงน้ำ คือ อวิชชา
    เครื่องเกาะเกี่ยว คือ อ อวิชชา
    สิ่งที่มีประจำใจ คือ อวิชชา
    สิ่งที่ตั้งอยู่รอบ คือ อวิชชา
    สิ่งที่เกี่ยวข้อง คือ อวิชชา ดังนี้ ฯ

    กามาสวะ นั้น ต้องละได้ด้วยอนาคามิมรรค ฯ
    ภวาสวะ นั้น ต้องละด้วยอรหัตมรรค
    ทิฏฐาสวะ นั้น ต้องละได้ด้วยโสดาบัตติมรรค
    อริชชาสวะ นั้น ต้องละได้ด้วยอรหัตมรรค อันนี้ว่าตามลำดับกิเลส

    เมื่อว่าตามลำดับมรรค ก็ได้ความว่า

    ทิฏฐาสวะ ละได้ด้วยโสดาบัตติมรรค
    กามาสวะ ละได้ด้วยอนาคามิมรรค
    ภวาสวะ กับอวิชชาสวะ ละได้ด้วยอรหัตมรรค ดังนี้

    สิ้นเนื้อความในกัณฑ์นี้เพียงเท่านั้.

    เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้
     
  9. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    พระสุตตันตปิฎก คัมภีร์ที่ ๕ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๔

    กัณฑ์ที่ ๑๕๘

    คัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

    ว่าด้วยอานาปานกถา

    โสฬสวตฺถุกํ อานาปานสฺสติสมาธิ ภาวยโต สมาธิกานิ
    เทฺวญาณสตานิ อุปฺปชฺชนฺตีติ

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงคัมภีร์ปฎิสัมภิทามรรค กัณฑ์ที่ ๑๕๘

    ว่าด้วยอานาปานสติสืบต่อไป เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา

    และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายตลอดกาลนาน

    บาลี

    ดำเนินความตามวาระพระบาลีว่า ญาณ ๒๐๐ ถ้วน
    ย่อมเกิดแก่ผู้อบรมอานาปานสติสมาธิ
    ซึ่งมีวัตถุ ๑๖
    ปริปันถญาณ ๘
    อุปการญาณ ๘
    อุปกิเลสญาณ ๑๘
    โวทานญาณ ๑๓
    สโตการิญาณ ๓๒
    สมาธิญาณ ๒๔
    วิปัสสนาญาณ ๗๒
    นิพพิทาญาณ ๘
    นิพพิทาโลมญาณ ๘
    นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘
    วิมุตติสุขญาณ ๒๑
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ธันวาคม 2022
  10. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    บาลี

    ควรทราบการกำหนด
    ซึ่งเนื้อความในพระบาลีด้วยคำว่า
    มีแก่ผู้อบรมอานาปานสติสมาธิ ซึ่งมีวัตถ ๑๖ ในที่สุด ฯ
    ในอุเทศที่นับญาณนั้น

    ควรทราบคำอธิบายดังต่อไปนี้ คือ
    คำว่า มีวัตถุ ๑๖ นั้น

    ได้แก่
    หมวดแห่งกายานุปัสสนา
    คือ คำว่า
    กำหนดรู้กองลมทั้งปวง
    ทั้งที่ยาว
    และที่สั้น
    ทำกองลมทั้งปวงให้ระงับ ดังนี้ ๑

    ได้แก่
    หมวด ๔ แห่งเวทนานุปัสสนา ว่า
    ผู้เสวยปีติ
    ผู้เสวยสุข
    ผู้เสวยจิตตสังขาร
    ผู้ทำจิตตสังขารให้สงบระงับ ดังนี้ ๑

    ได้แก่หมวด ๔ แห่งจิตตานุปัสสนา ว่า
    ผู้รู้แห่งจิต
    ผู้รู้จิตให้ร่าเริง
    ผู้ทำจิตให้ตั่งมั่น
    ผู้ทำจิตให้หลุดพ้น ดังนี้ ๑

    ได้แก่หมวด ๔ แห่ง ธรรมานุปัสสนา ว่า
    ผู้เล็งเห็นความไม่เที่ยง
    ผู้เล็งเห็นความคลาย
    ผู้เล็งเห็นความดับ
    ผู้เล็งเห็นความสละ ดังนี้ ๑

    รวม ๔ หมวด ก็เป็นสมาธินั้นมี ๑๖ วัตถุ
    ดังที่ว่าแล้วนี้
     
  11. ฟ้ากับเหว

    ฟ้ากับเหว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2020
    โพสต์:
    1,069
    ค่าพลัง:
    +372
    ดีแล้วทำไปเถอะ อย่าลืมที่จะต้องรักษาและดูแลตัวเองนะครับ อนุโมทนาครับ
     
  12. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    ปริปันถญาณ ๘ อุปการญาณ ๘
    ได้แก่สิ่งใด

    ปริปันถญาณ ๘
    ได้แก่ ความรู้จักสิ่งที่เป็นอันตราย
    คือ
    กามฉันท์เป็นอันตรายแก่สมาธิ
    พยาบาทเป็นอันตรายแก่สมาธิ
    ถีนมิทถะเป็นอันตรายแก่สมาธิ
    อุทธัจจะเป็นอันตรายแก่สมาธิ
    ความสงสัย เป็นอันตรายแก่สมาธิ
    อวิชชา เป็นอันตรายแก่สมาธิ
    ความไม่ยินดี เป็นอันตรายแก่สมาธิ
    อกุศลธรรมทั้งสิ้น เป็นอันตรายแก่สมาธิ


    อุปการญาณ ๘
    ได้แก่ ความรู้จักสิ่งที่เป็นอุปาระ
    คือ
    เนกขัมมะ เป็นอุปการะแก่สมาธิ
    ความไม่พยาบาทเป็นอุปการะแก่สมาธิ
    อาโลกสัญญา เป็นอุปการะแก่สมาธิ
    ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอุปการะแก่สมาธิ
    การกำหนดแน่วแน่ซึ่งกาม เป็นอุปการะแก่สมาธิ
    ญาณ เป็น อุปการะแก่สมาธิ
    ปราโมทย์เป็นอุปการะแก่สมาธิ
    กุศลทั้งหลายทั้งสิ้น เป็นอุปการะแก่สมาธิ

    รวมเป็น
    ปริปันถญาณ ๘
    อุปการญาณ ๘

    จิตอันก่อขึ้น
    จิตอันก่อขึ้นดีด้วยอาการ ๑๖ นี้
    ย่อมตั้งอยู่ดีในความเป็นหนึ่ง
    ย่อมบริสุทธิ์จากนิวรณ์ทั้งหลาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ธันวาคม 2022
  13. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    พระอภิธรรมปิฎก มหาวิตถารนัย

    พระอภิธรรมปิฎก มี ๗ คัมภีร์ ๗๐๐ กัณฑ์ จบ

    เฉพาะ คัมภีร์พระวิภังค์ มี๑๑กัณฑ์ (แบ่งเป็น ๒เล่ม) จบ

    กัณฑ์ที่ ๑

    คัมภีร์พระวิภังค์

    ว่าด้วยขันธวิภังค์ การจำแนกแจกขันธ์

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺธสฺส ฯ

    ปญฺจกฺขนฺธา
    รูปกฺขนฺโธ
    เวทนากฺขนฺโธ
    สญฺญากขนฺโธ
    สงฺขารกฺขนฺโธ
    วิญญาณกฺขนฺโธติ.

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงคัมภีร์พระวิภังค์ กัณฑ์ที่ ๑
    ว่าด้วยขันธวิภังค์ การจำแนกแจกขันธ์ออกไป
    ด้วยสุขุมนัย วิตถารนัยเทศนา สืบต่อไป

    เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา
    และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ตลอดกาลนาน

    บาลี

    ก็และคัมภีร์วิภังค์ซึ่งจักยกขึ้นแสดงเป็นกัณฑ์แรกนี้
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงแสดงเป็นคัมภีร์ที่ ๒
    ของพระอภิธรรมทั้ง 2 คัมภีร์

    มีคำพระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ในคัมภีร์สัมโมหวิโนทนี
    อรรถกถาคัมภีร์พระวิภังค์ว่า

    จตุสัจจทัสโส นาโถ
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
    ผู้เป็นที่พึ่งของโลกในสากลจักรวาล
    ผู้ตรัสรู้จตุสัจจธรรม ๔ ประการ
    ผู้สมบูรณ์ด้วยพระอรหัตปรีชาญาณนั้น
    ครั้น ทรง แสดง

    พระอภิธรรมสังคณี ซึ่งจำแนก แจกออกไปเป็น ๔ ประเภทแล้ว
    ลำดับนั้น
    สมเด็จ พระโลกเชษฐ์เจ้า
    ผู้สมบูรณ์ด้วยพุทธธรรม ๑๘ ประการ ก็ได้ทรงแสดงคัมภีร์วิภังค์

    อัมประกอบด้วยวิภังค์ ๑๘ ประการ เป็นลำดับต่อไป
    เพราะฉะนั้น ขอท่านทั้งหลาย

    จงทำความเคารพต่อพระสัจจธรรม
    ดำรงจิตไว้ให้แน่วแน่ต่อการฟังกระแสเทศนา

    ซึ่งคัมภีร์พระวิภังค์นี้เถิด ดังนี้

    ข้อที่ว่าคัมภีร์พระวิภังค์ประดับด้วยวิภังค์ ๑๘ ประการนั้น
    คือ
    ประดับด้วยขันธวิภังค์ อันว่าด้วยการจำแนกแจกขันธ์ ๑
    อายตนวิภังค์อันว่าด้วยการจำแนกแจกอายตนะ ๑
    ธาตุวิภังค์ อันว่าด้วยการจำแนกแจกธาตุ ๑
    ส้จจวิภังค์ อันว่าด้วยการจำแนกแจกสัจจธรรม ๑
    อินทรียวิภังค์ อันว่าด้วยการจำแนกแจกอินทรีย์ ๑
    ปัจจยการวิภังค์ อันว่าด้วยการจำแนกแจกปัจจยาการ ๑
    สติปัฏฐานวิภังค์ อันว่าด้วยการจำแนกแจกสติบัฏฐาน ๑
    สัมมัปปธานวิภังค์อันว่าด้วยการจำแนกแจกสัมมัปปธาน ๑
    อิทธิบาทวิภังค์ อันว่าด้วยจำแนกแจกอิทธิบาท ๑
    โพชฌงควิภังค์ อันว่าด้วยการจำแนกแจกโพชฌงค์ ๑
    มัคควิภังค์ อันว่าด้วยจำแนกแจกมรรค ๑
    ฌานวิภังค์ อันว่าด้วยการจำแนกแจกฌาน ๑
    อัปปมัญญาวิภังค์ อันว่าด้วยการจำแนกแจกอัปปมัญญา ๑
    สิกขาปทวิภังค์ อันว่าด้วยการจำแจกแจกสิกขาบท ๑
    ปฏิสัมภิทาวิภังค์ อันว่าด้วยการจำแนกแจกปฏิสัมภิทา ๑
    ญาณวิภังค์ อันว่าด้วยการจำแนกแจกญาณ ๑
    ขุททกวัตถุวิภังก็ อันว่าด้วยการจำแนกแจกขุททกวัตถุ ๑
    ธัมมหทยวิภังค์ อันร่ำด้วยการจำแนกแอกธรรมหทัย ๑
    รวมเป็นวิภังค์ ๑๘ ประการด้วยกัน ดังนี้

    การตั้งใจฟัง หรือตั้งใจอ่าน ตั้งใจตรองซึ่งคัมภีร์พระวิภังค์นั้น
    จะได้ประโยชน์ในชาตินี้ ชาติหน้าอย่างไร ?
    ข้อนี้มีคำแก้ไขว่าจะได้ประโยชน์ในชาตินี้
    คือ
    ความรัก ความเข้าใจในธรรม ๑๘ ประการ
    อันได้แก่
    ขันธ์
    อายตนะ
    ธาตุ
    สัจจะ
    อินทรีย์
    สติปัฏฐาน
    สัมมัปปธาน
    อิทธิบาท
    โพชฌงค์
    มรรค
    ฌาน อัปปมัญญา
    สิกขาบท
    ปฏิสัมภิทา
    ญาณ
    ขุททกวัตถุ
    ธรรมหทัย
    ได้โดยละเอียดพิสดาร

    ส่วนประโยชน์ในชาติหน้านั้น คือ สวรรค์ นฤพาน



    ตัวอย่างดังอาชีวกผู้เป็น คณาจารย์ใหญ่คนหนึ่ง
    ซึ่งได้เคยฟังคัมภีร์วิภังค์มาแล้วในชาติก่อน

    พอมาชาตินี้ได้ฟังแต่เพียงคำเดียว ว่า อายตนะเท่านั้น
    ก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ ในทันใด

    ดังที่ท่านกล่าวไว้ในพระคัมภีร์แล้วนี้


    ตสฺมา สุณาถ สมาหิตา เหตุนี้

    ขอท่านทั้งหลายที่มุ่งหมายประโยชน์ในชาตินี้และชาติหน้า

    จงตั้งใจฟังซึ่งคัมภีร์พระวิภังคเทศนา เริ่ม แต่ กัณฑ์ ที่ ๑ นี้ ไปเถิด
    ก็จะได้ประสบผลอันประเสริฐ ในชาตินี้ และชาติหน้า สมดังปรารถนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2023
  14. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    ก็แลเนื้อความในคัมภีร์พระวิภังค์ กัณฑ์ที่ ๑ นี้

    ว่าด้วยขันธวิภังค์

    คือ การจำแนกแจกขันธ์ ๕ ออกไปตามวาระพระบาลีที่เป็นพระพุทธีฎีกา
    ดังที่ยกขึ้นไว้พอเป็นเบื้องต้นแห่งเทศมานั้น ว่า

    ปญฺจกฺขนฺธา
    รูปกฺขนฺโธ
    เวทนากฺขนฺโธ
    สญฺญากฺขนฺโธ
    สงฺขารขนฺโธ
    วิญญาณกฺขนฺโธ
    ซึ่งแปลว่า ขันธ์ ๕ นั้น

    ได้แก่
    รูปขันธ์ ๑
    เวทนาขันธ์ ๑
    สัญญาขันธ์ ๑
    สังขารขันธ์ ๑
    วิญญาณขันธ์ ๑

    ตตฺถ กตโม รูปกฺขนฺโธ
    มีพระพุทธฎีกา เป็นคำปุจฉา ต่อไปว่า

    รูปขันธ์ นั้น ได้แก่สิ่งได ?
    ยงฺกิญฺจิ รูปํ และมีพระพุทธฎีกา วิสัชนา ว่า
    ไม่ว่า รูป ชนิดใดชนิดหนึ่ง
    ซึ่ง
    เป็นอดีต อนาคต
    เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม
    หยาบหรือละเอียดก็ตาม
    ต่ำช้าหรือประณีตก็ตาม
    อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ก็ตาม
    เรียก ว่า รูปขันธ์ ทั้งนั้น

    ตตฺถ กตมํ รูปํ อตีตํ
    แล้วมีพระพุทธฎีกาเป็นคำปุจฉาต่อไปว่า
    รูปที่เป็นอดีตกาลนั้น ได้แก่สิ่งใด?

    ยํ รูปํ อตีตํ นิรุทฺธํ มีคำวิสัชนา ว่า
    รูปใดที่ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว ปราศจากไปแล้ว
    แปรปรวนไปแล้ว ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว
    ตกไปแล้ว เกิดขึ้นแล้ว ปราศจากไปแล้ว ล่วงไปแล้ว
    สงเคราะห์ด้วย ส่วนที่ล่วงไปแล้ว คือ
    มหาภูตรูป ๔
    อุปาทายรูป อันอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันนี้ เรียก ว่า รูปที่เป็นอดีต

    ตตฺถ กตมํ รูปํ อนาคตํ
    ก็รูปที่เป็นอนาคตนั้น ได้แก่สิ่งใด ?
    ได้แก่
    รูปที่ยังไม่เกิดขึ้น
    ยังไม่เป็นขึ้น
    ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม
    ยังไม่ปรากฏมี
    ยังไม่ตั้งอยู่
    ยังไม่มาถึง
    ยังเป็นส่วนข้างหน้า
    คือ มหาภูตรูป 4
    อุปาทายรูปอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันนี้ เรียกว่ารูปอนาคต ฯ

    ตตฺถ กตมํ รูปํ ปจฺจุปฺปนฺนํ
    ก็รูปที่เป็นปัจจุบันนั้นเล่า ได้แก่สิ่งใด ?
    ได้แก่
    รูปที่เกิดอยู่แล้ว
    เกิดอยู่พร้อมแล้ว
    ปรากฎอยู่พร้อมแล้ว
    ตั้งอยู่พร้อมแล้ว
    มีอยู่ในที่เฉพาะหน้า
    สงเคราะห์ด้วยส่วนเฉพาะหน้า คือ มหาภูตรูป ๔
    อุปาทายรูป อันอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันนี้เรียก ว่า รูปปัจจุบัน ดังนี้

    ขอ งด เนื้อความในพระบาลีไว้เพียงเท่านี้
     
  15. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    อรรถกถา

    ต่อนี้ไป จำได้ยกเนื้อความในอรรถกถามาเทศนาสืบไป เพื่อให้เนื้อความ

    ในพระบาลีที่แสดงมาแล้วนี้แจ่มแจ้งพิสดาร

    กล่าวคือ ในอรรถกถา ว่า
    คำว่ามี ขันธ์ ๕ คือ
    รูปขันธ์
    เวทนาขันธ์
    สัญญาขันธ์
    สังขารขันธ์
    วิญญาณขันธ์ นี้ ชื่อ ว่า เป็น สุตตันตราชนีย์ คือ
    ชื่อว่า เป็นคำ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงจำแนกแจกออกตามพระสูตร

    อันเป็นเบื่องต้นแห่งคัมภีร์พระวิภังค์

    ในคำเหล่านั้น มีคำอธิบาย ว่า คำว่า ๕ นั้น เป็นคำกำหนดนับ ฯ

    เพราะฉะนั้น จึงชี้ให้เห็น ว่า
    ต่ำกว่า ๕ นั้นไม่มี
    สูงกว่า ๕ นั้นก็ไม่มี
    มีเพียง ๕ เท่านั้น ฯ

    คำว่า ขันธ์นั้น เป็นคำ ชี้ซึ่งธรรมที่กำหนดไว้แล้ว ฯ
    ก็คำว่า ขันธ์นี้ หมายความหลายประการ คือ
    หมายความว่ากอง ๑
    หมายความว่าคุณ ๑
    หมายความว่าบัญญัติ ๑ ฯ

    ที่หมายความว่ากองนั้น มีปรากฏในคำทั้งหลาย

    เป็นต้นว่า การที่จะประมาณน้ำในมหาสมุทรว่า
    เท่านี้ทะนาน
    เท่านี้ร้อย
    เท่านี้ทะนาน
    เท่านี้พันทะนาน
    เท่านี้แสนทะนาน นั้นไม่ได้
    จะต้องถึงซึ่งความนับ ว่าเป็นของนับไม่ได้
    เป็นของประมาณไม่ได้
    เป็นมหาอุทกขันธ์ คือ กองน้ำ อันใหญ่โดยแท้ ดังนี้

    เพราะน้ำนี้ไม่ใช่เล็กน้อย จึงเรียกว่า อุทกขันธ์ คือ
    เรียกว่าน้ำมาก ฯ
    อีกอย่างหนึ่ง ฝุ่นที่ไม่ใช่เล็กน้อย ก็เรียกว่ากองฝุ่น ฯ

    แม่โค ที่ไม่ใช่เล็กน้อยก็เรียกว่าฝูงโค ฯ
    คนที่ไม่ใช่เล็กน้อย ก็เรียก ว่า กองคน ฯ
    บุญที่ไม่ใช่เล็กน้อย ก็เรียก ว่า กองบญ ฯ
    เพราะฝุ่นเฉพาะที่มาก จึงได้เรียกว่ากองฝุ่น ฯ
    สัตว์ทั้งหลายมีโคเป็นต้น จึงเริยกว่าฝูงโค
    คนที่มากจึงเรียกว่ากองคน
    บุญมากจึงเรียกว่ากองบุญ ดังนี้ ฯ
    ที่ชื่อ ว่า คุณนั้น ปรากฎในคำทั้งหลายเป็นต้นว่า
    สีลขันธ์
    สมาธิข้นธ์ ฯ

    อันขันธ์ที่ชื่อว่าบัญญัตินั้น มีมาในคำว่า
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทอดพระเนตรเห็นทารุขันธ์ คือ
    ต้นไม้ใหญ่ที่ไหลมาตามกระแส คงคา ฯ
    ที่ชื่อว่าขันธ์โดย งอกขึ้นนั้น มีมาในคำทั้งหลายเบ็นต้นว่า
    จิต
    มโน
    มานสะ
    วิญญาณ
    วิญญาณขันธ์ ดังนี้ ฯ

    แต่ว่าในที่นี้ คำว่า ขันธ์นั้น หมายความว่า กอง ฯ
    ก็ความหมายแห่ง คำว่า ขันธ์นี้ คือ กอง หรือ ส่วนเท่านั้น ฯ

    เพราะเมื่อผุ้ที่เป็นหนี้เขา ถูกของทวงหนี้ ก็ย่อมกล่าวว่า
    เราจักให้ ๒ ส่วน หรือ ๓ ส่วน ฯ โดยเหตุนี้ ลักษณะแห่งส่วน
    จึงควรเรียกว่า ขันธ์
    คำว่ารูปขันธ์ ก็คือกองแห่งรูป ส่วนแห่งรูป ฯ
    คำว่า เวทนาขันธ์ เป็นต้น ก็คือ กองแห่งเวทนา ส่วนแห่งเวทนา ดังนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2023
  16. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    เอตฺตาวตา สมฺมาสมฺพุทฺโธ
    ครั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแจก

    ขันธ์ ๕ ด้วยคำว่า ขันธ์ ๕ นั้น คือ
    รูปขันธ์
    เวทนาขันธ์
    สัญญาขันธ์
    สังขารขันธ์
    วิญญาณขันธ์ ดังนี้

    แล้วจึงได้ทรงแจกเป็น ๑๑ ส่วน
    มีส่วนที่เป็น
    อดีต
    อนาคต
    ปัจจุบัน เป็นต้น

    แล้วทรงชี้ให้เห็นว่า พวกรูปทั้งสิ้นมีส่วนรูป ๒๕ เป็นต้น
    และส่วนรูป ๙๖ เป็นต้น เรียกว่า รูปขันธ์ทั้งนั้น ฯ
    ทรงจำแนกเวทนาออกไปอีก เป็น ๑๑ ส่วน
    ประมวลส่วนเวทนาที่มีอยู่ในภูมิ ๔ เป็นต้นว่า
    เป็นเวทนาขันธ์ ฯ

    ทรงแจกสัญญาเป็น ๑๑ ส่วน
    ประมวลสัญญาที่มีอยู่ในภูมิ ๔ เป็นต้นว่า
    เป็น สัญญาขันธ์ ฯ

    ทรงแจกเจตนา อันเกิดจากสัมผัสออกเป็น ๑๑ ส่วน
    ทรงประมวลส่วนเจตนาในภูมิ ๔ ทั้งสิ้นมา
    เรียกว่า สังขารขันธ์ ฯ

    ทรงแจก วิญญาญ ๖ ให้เป็น ๑๑ ส่วน
    ประมวลส่วนแห่งจิตในภูมิ ๔ ทั้งสิ้นมา
    เรียกว่า วิญญาณขันธ์ ฯ


    อีกอย่างหนึ่ง รูปขันธ์นั้น ได้แก่รูปทั้งสิ้น ที่มีสมุฏฐาน ๔ ฯ

    เวทนาที่เกิดพร้อมกับจิต ๙๑ ดวง
    มี กามาวจรกุศลจิต ๓ เป็นต้น ชื่อว่า เวทนาขันธ์ ฯ
    สัญญา ชื่อว่า สัญญาขันธ์ ฯ
    ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น ชื่อว่า สังขารขันธ์ ฯ

    จิต ๙๑ ดวงชื่อว่า วิญญาณขันธ์ ฯ
    ควรที่ผู้มีปัญญาทั้งหลาย
    จะทราบการกำหนดธรรมในขันธ์ ๕
    แม้ด้วยอาการอย่างนี้

    คราวนี้
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงรูปขันธ์เป็นต้นนั้น
    แล้วก็ตรัสว่า กตโม รูปกฺขนฺโธ

    รูปขันธ์นั้น ได้แก่สิ่งใด เพื่อจะทรงแสดงให้แจ่มแจ้งลงไป

    ก็และ คำว่า รูปนั้น หมายความว่า เป็นของเสื่อมสูญไป ฯ
    เสื่อมสูญไปด้วยอะไร?

    เสื่อมสูญไปด้วยเย็นบ้าง
    เสื่อมสูญไปด้วยร้อนบ้าง
    เสื่อมสูญไปด้วยความหิวบ้าง
    เสื่อมสูญไปด้วยความกระหายบ้าง
    เสื่อมสูญไปด้วยความถูกเลือด ยุง ลม แดด และสัตว์กัดต่อยบ้าง ฯ

    คำว่า สูญหายนั้น
    หมายความว่า กำเริบ ๑
    หมายความว่า ถูกกระทบกระทั่ง ๑
    หมายความว่า ถูกเบียดเบียน ๑
    หมายความว่า แตกไป ๑
     
  17. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    ที่ว่าเสื่อมสูญด้วยเย็นนั้น ได้แก่
    รูปที่เกิดด้วยความเย็น อันมีปรากฎอย่ในโลกันตนรก ฯ
    คือ โลกันตนรกนั้น ได้แก่ นรกชนิดหนึ่ง
    ซึ่งมีอยู่ในระหว่างจักรวาลทั้ง ๓
    โลกันตนรกนั้น กว้างใหญ่ประมาณ ๘ พันโยชน์
    เบื้องล่าง ไม่มีแผ่นดิน
    เบื้องบนก็ไม่มีแสงสว่างแห่ง
    ดวงจันทร์
    ดวงอาทิตย์
    ดวงประทิป
    ดวงแก้วมณี เป็นนรกที่มืดอยู่เป็นนิตย์ ฯ

    ร่างกายของสัตว์ทั้งหลายที่เกิดในโลกันตนรกนั้น
    มีประมาณสูงใหญ่ ๓ คาวุด คือ ๓๐๐ เส้น ฯ

    สัตว์นรถเหล่านั้นใด้เกาะเชิงภูเขาด้วยเล็บ อันยาว
    อันหนา ห้อยศรีษะลงเหมือนค้างคาว
    ห้อยโหนไปพบกันเข้า ก็เข้าใจว่าเบ็นอาหาร
    แล้วกระโดดคว้าไขว่กัน
    แล้วก็ตกลงไปในน้ำที่รองโลกอยู่ข้างล่าง ฯ
    เมื่อมีลมเย็นพัดมา ก็ขาดร่วงลงไปในน้ำ
    เหมือนกับผลมะซางสุก ฉะนั้น ฯ
    พอตกลงไปก็มี เนื้อ หนัง เอ็น กระดูก ขาดไปเป็นชิ้น ๆ
    ด้วยถูกน้ำแสบ น้ำเค็มเกินไป เหมือนกับก้อนแป้งที่ตกไปในน้ำมันอันร้อน ฉะนั้น ฯ
    รูปที่เสื่อมสูญไปด้วยเย็นอย่างนี้ มีปรากฏอยู่ในโลกันตนรก ฯ

    รูปที่มีปรากฏในประเทศทั้งหลายที่มีหิมะตกเป็นปกติ
    เช่น ประเทศมหิสกะ เป็นต้น
    ก็จัดว่าเป็นรูปเสื่อมสูญไปด้วยเย็นเหมือนกัน ฯ
    เพราะผู้ที่เกิดในประเทศเหล่านั้น
    ย่อมถึงซึ่งความตายด้วยความเย็น

    รูปที่เสื่อมสูญไปด้วยความร้อนนั้น
    มีปรากฎอยู่ในอเวจีมหานรก ฯ
    เพราะ สัตว์ทั้งหลายในอเวจีมหานรกนั้น
    ย่อมถึงซึ่งความทุกข์ใหญ่ ในเวลาถูกลงโทษ
    ด้วยให้นอนลงบนแผ่นเหล็กแดงแล้วถูกจองจำ ๕ ประการเป็นต้น

    รูปที่เสื่อมสูญด้วยความหิวนั้น มีปรากฎอยู่ในเปรตวิสัย ๑

    มีปรากฏอยู่ในเวลาอดอยาก ๑ ฯ คือ
    พวกเปรตวิสัยไม่ได้กินอาหารตั้ง ๒ ชั่ว ๓ ชั่วพระพุทธเจ้า
    มีภายในท้องเหมือนกับต้นไม้ที่เป็นโพรง ซึ่งถูกไฟเผา ฉะนั้น
    ในเวลาอดอยากนั้น
    พวกคนที่ตายด้วยความอดอยากก็หาประมาณมิได้

    รูปที่เสื่อมสูญด้วยความกระหายนั้น
    มีปรากฏในจำพวกเปรตทั้งหลาย

    มีจำพวกเปรตกาลกัญชิกาสูรเป็นต้น คือ
    พวกเปรตกาลกัญชิกาสูรนั้นไม่ได้กินน้ำแม้สักหยด ๑
    พอชุ่มใจหรือพอชุ่มลิ้น กระทั่ง ๒ พุทธันดร ๔ พุทธันดรก็มี ฯ
    ในเวลาที่พวกนั้นวิ่งไป ที่แม่น้ำด้วยคิดว่าจักดื่มน้ำ
    แม่น้ำ ก็กลายเป็นกรวด เป็นทรายไป
    ในเวลาที่วิ่งไปสู่มหาสมุทร
    มหาสมุทรก็กลายเป็นแผ่นศิลาไป ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2023
  18. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    พวกนั้น ก็เที่ยวแห้งไปได้รับควมทุกขเวทนาอย่างยิ่ง

    ดังได้สดับมาว่า มีกาลกัญชิกาสุร ตนหนึ่ง
    ไม่อาจทนอดความกระหายน้ำได้
    ก็วิ่งไปสู่ มหาคงคา อันกว้างลึก ๑ โยชน์
    พอวิ่งไปถึงน้ำก็แห้งไป ควันไฟก็พลุ่งขึ้นมา

    เขารู้สึกประหนึ่งว่า เขาเดินอยู่
    บนแผ่นศิลาร้อน ๆ ฉะนั้น
    ได้ยินแต่เสียงน้ำ แล้วก็วิ่งไปมา อยู่ในที่นั้นตลอดราตรี ฯ

    รุ่งเช้าขึ้น มีพระภิกษุที่พากันไปเที่ยวบิณฑบาตสามสิบองค์
    ไปพบอสูรนั้น จึงถามว่า เธอคือใคร อสูรนั้นตอบว่า ข้าพเจ้าคือเปรต ฯ

    เธอแสวงหาอะไร ?
    ข้าพเจ้าแสวงหาน้ำ ฯ

    ก็แม่น้ำคงคานี้เต็มไปด้วยน้ำ เธอไม่เห็นหรือ ?
    ข้าพเข้าไม่เห็น ฯ

    ถ้าอย่างนั้น เธอจงนอนลงที่หลังแม่น้ำนี้
    พวกเราจักเทน้ำลงในปาก ฯ
    เปรตนั้นก็นอนหงายลงที่หาดทราย
    ภิกษุเหล่านั้นก็ตักน้ำมาเทลงใน

    ปากเพียง ๓๐ บาตร พอถึงเวลาเที่ยวบิณฑบาต
    แล้วก็บอกว่า เธอได้กินน้ำพอชื่นใจแล้วหรือ
    เปรตนั้นก็ตอบว่า ข้าแต่ท่านทั้งหลาย น้ำที่พระผู้เป็นเจ้า

    ทั้ง ๓๐ องค์ เทจากบาตรทั้ง ๓๐ ใบ
    ไม่ได้ลงไปในคอของข้าพเจ้าแม้สักกิ่งซองมือ ดังนี้ ฯ

    ส่วนที่ว่ารูปเสื่อมสูญไปด้วย เหลือบ ยุง ลม แดด งูเล็ก งูใหญ่นั้น
    ก็ล้วนแต่เรียกว่า รูปอันเสื่อมไปทั้งนั้น ฯ

    ที่ว่ารูป เป็นส่วน อดีต อนาคต ปัจจุบัน
    พอเข้าใจความ ตามที่ แสดงมาแล้ว โดยวาระพระบาลี
    เพราะฉะนั้น จึงของดไว้ เพียงเท่านี้

    เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้
     
  19. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    กัณฑ์ที่ ๒

    คัมภีร์พระวิภังค์

    ว่าด้วยรูปขันธ์

    ตตฺถ กตมํ รูปํ อชฺฌตฺตํ ยํ รูปํ เตสํ สตฺตานํ

    อชฺฌตฺตํ ปจฺจตฺตํ นิยกํ ปฏิปุคฺคลิกํ อุปาทินฺนํ จตฺตาโร จ มหาภูตา

    จตุนฺนญฺจ มหาภูตานํ อุปาทาย รูปํ อิทํ วุจฺจติ รูปํ อชฺฌตฺตนฺติ

    ณ บัดนี้ อาตมภาพ จักแสดงอภิธรรมคัมภีร์พระวิภังค์
    กัณฑ์ที่ ๒
    ว่าด้วย รูปขันธ์ สืบต่อไป
    เพื่อให้เป็นประโยชน์ แก่พระพุทธศาสนา
    และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ตลอดกาลนาน

    บาลี

    ดำเนินความตามวาระพระบาลี
    ที่ได้ยกขึ้นไว้เป็นเบื้องต้นแห่งเทศนานั้น ว่า
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
    ทรงแสดงซึ่งรูปขันธ์เป็นคำปุจฉาว่า
    รูปอย่างนั้น
    ชื่อว่า
    เป็นรูปภายใน แล้วทรงแสดงเป็นคำวิสัชนา ว่า
    รูปใดที่เป็นภายใน
    คือ
    เป็นของเฉพาะตน
    เป็นของจำกัดตน
    เป็นของเฉพาะบุคคล
    เป็นของมีวิญญาณ
    คือ มหาภูตรูป ๔
    กับรูปอาศัยมหาภูตรูป ๔ ของสัตว์ทั้งหลายนั้น ๆ
    รูปอันนี้ชื่อว่า รูปภายใน ฯ
    รูปอย่างไหน ชื่อว่ารูปภายนอก
    รูปเหล่าไหนเป็นของภายในตนของบุคคลเหล่าอื่น
    เป็นของเฉพาะตน
    เป็นของกำจัดตน
    เป็นของเฉพาะบุคคล
    เป็นของมีวิญญาณ คือ
    มหาภูตรูป กับรูปอาศัยมหาภูตรูป ๔ ของสัตว์เหล่าอื่นนั้น ๆ
    อันนี้เรียกว่า รูปภายนอก ฯ

    รูปอย่างไหนชื่อว่า รูปหยาบ
    จักขวายตนะ
    โสตายตนะ
    ฆานายตนะ
    ชิวหายตนะ
    กายายตนะ
    โผฏฐัพพายตนะ รูปอันนเรียกว่า รูปหยาบ ฯ

    รูปอย่างไหน เรียกว่ารูปละเอียด
    อิตถินทรีย์
    ตลอดถึงกวฬิงการาหาร เรียกว่า รูปละเอียด ฯ

    รูปอย่างไหนเรียกว่า รูปต่ำช้า
    รูปอันใดของสัตว์ทั้งหลายนั้น ๆ
    ที่โลกดูหมิ่นแล้ว ดูถูกแล้ว
    เป็นของทอดทิ้ง
    เป็นของถูกครอบงำ
    เป็นของไม่มีผู้ยำเกรง
    เป็นของลามก
    เป็นของที่เขาลงความเห็นว่า ลามก
    เป็นของที่ไม่มีผู้ต้องการ
    เป็นของไม่น่ารักใคร่
    เป็นของไม่น่าชอบใจ
    คือ
    รูป
    เสียง
    กลิ่น
    รส
    โผฎฐัพพะ รูปอันนี้เรียกว่า รูปต่ำช้า ฯ

    รูปอย่างไหน เรียกว่ารูปประณีต
    รูปอันใดของสัตว์ทั้งหลายนั้น ๆ
    เป็นรูปที่ไม่มีผู้ดูถูก ดูหมิ่น
    ไม่เป็นของทิ้ง
    ไม่เป็นของถูกครอบงำ
    เป็นของผู้มียำเกรง
    เป็นของประณีต
    เป็นของที่รู้กันว่าประณีต
    เป็นของที่ลงความเห็นกันว่าประณีต
    เป็นของน่าต้องการ
    น่าใคร่
    น่าชอบใจ คือ
    รูป
    เสียง
    กลิ่น
    รส
    โผฎฐัพพะ
    รูปอันนี้ เรียก ว่า รูปประณีต ฯ
    ควรเห็นรูปต่ำช้า
    รูปประณีต
    โดยเทียบเคียงกับรูปนั้นๆ เป็นชั้น ๆ ขึ้นไป

    รูปอย่างไหนเรียกว่า รูปในที่ไกล
    อิตถินทรีย์ ตลอดถึง กวฬิงการาหาร
    หรือว่ารูปอื่นๆ ซึ่งอยู่ในที่ไม่ใกล้
    อยู่ในที่ไม่จวน
    อยู่ในที่ไกล
    อยู่ในที่ไม่ใกล้กัน รูปอันนี้เรียก ว่า รูปในที่ไกล ฯ

    รูปอย่างไหนเรียกว่า รูปในที่ใกล้
    จักขวายตนะ
    โสตายตนะ
    ฆานายตนะ
    ชิวหายตนะ
    กายายตนะ
    โผฏฐัพพายตนะ หรือ ว่ารูปอื่นๆ

    ซึ่งอยู่ในที่ใกล้
    อยู่ในที่จวน
    อยู่ในที่ไม่ไกล
    อยูในที่ใกล้
    อยู่ในที่ชิด
    รูปอันนี้เรียก ว่า รูปในที่ใกล้ ฯ

    ควรเห็นว่า รูปในที่ใกล้ โดยเทียบเคียงกับรูปนั้นๆ ดังนี้
    สิ้นเนื้อความในพระบาลีเพียงเท่านี้
     
  20. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    อรรถกถา

    ต่อนี้ไปเป็นเนื้อความในอรรถกถา ว่า
    คำว่า ของสัตว์ทั้งหลายนั้น ฯ
    เป็นคำพูดถึงเจ้าของในสัตว์เป็นอันมาก ฯ
    เพราะเมื่อจะกล่าวว่า ของผู้อื่นบ้าง ของผู้อื่นบ้าง ดังนี้
    ถึงจะกล่าวอยู่ตลอดวันก็ดี
    ตลอดแสนกัล์ปก็ดี ก็ต้องอยู่เท่านี้ ฯ

    โดยเหตุนี้สมเด็จพระชินศรีศาสดา
    เมื่อจะทรงกำหนดซึ่งสัตว์ทั้งหลาย
    โดยไม่ให้เหลือด้วยบททั้ง ๒ จึงตรัสว่า ของสัตว์ทั้งหลายนั้นๆ ฯ
    ก็ด้วยคำเพียงเท่านี้
    การแสดงถึงสัตว์อื่น แม้ทั้งสิ้น ก็เป็นอันสำเร็จแล้ว

    คำว่า เป็นของทิ้งนั้น หมายความว่า เป็นของไม่น่าถือเอา
    คือ เป็นของน่าเกลียด ฯ

    คำว่า เป็นของถูกครอบงำนั้น คือ ถูก ครอบงำด้วยวาจา ฯ

    คำว่า เป็นของไม่มีผู้ยำเกรงนั้น คือ เป็นของไม่มีผู้เคารพ ฯ
    คำว่า เป็นของต่ำช้านั้น คือ เป็นของลามก ฯ
    คำว่า เป็นของรู้กันว่าต่ำช้านั้น คือ เป็นของที่เขารู้กันว่าลามก
    คำว่า เป็นของที่ลงความเห็นกันว่า ต่ำช้านั้น คือ
    เป็นของที่ลงความเห็นกันว่า ต่ำช้าในโลกเหมือนกับคูถฉะนั้น ฯ
    คำว่า ไม่นำต้องการนั้น คือ ไม่น่ารักหรือไม่นำแสวงหา ฯ
    ถ้าใครแสวงหาก็จงแสวงทา แต่ว่า คำว่าต่ำช้านี้ เป็นชื่อของอารมณ์ชนิตนั้น ฯ
    คำว่า ไม่น่าใคร่นั้น คือ ไม่ถึงซึ่งความใคร่หรือไม่มีสิริ ฯ
    คำว่า ไม่น่าชอบใจนั้น คือ ไม่จับแน่นอยู่ในใจ ฯ
    คือ อารมณ์เช่นนั้นไม่ฝังแน่นอยู่ในใจ ฯ
    อีกอย่างหนึ่งว่า
    รูปใดทำใจให้เอิบอาบ
    ทำใจให้เจริญ รูปนั้นชื่อว่า น่าชอบใจ ฯ
    ความน่าชอบใจในรูปนั้นไม่มี รูปนั้นชื่อว่า ไม่น่าชอบใจ

    อีกนัยหนึ่งว่า รูปที่ชื่อว่าไม่น่าต้องการนั้น เพราะเป็นรูปที่ปราศจากสมบัติ ฯ
    รูปนั้นกิดขึ้นด้วยอกุศลกรรมฝ่ายเดียว
    รูปที่ชื่อว่า ไม่น่าใคร่ นั้น เพราะไม่เป็นเหตุแห่งความสุข ฯ
    รูปที่ชื่อว่า ไม่น่าพอใจนั้น เพราะ เป็นเหตุแห่งความทุกข์ ฯ
    คำว่า รูปเสียงนี้เป็นคำชี้สภาพแห่งรูปนั้น ฯ คือ

    ในบทนี้ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
    ได้ทรงจำแนกกามคุณ ๕ อันไม่น่าต้องการไว้
    ด้วยเป็นของเกิดขึ้นด้วยอกุศลกรรม

    ส่วนที่เกิดขึ้นด้วยกุศลกรรม
    ชื่อว่า
    ไม่น่าต้องการไม่มี
    เป็นที่ต้องการหมดทั้งนั้น ฯ
    นิเทศแห่ง บทว่า ประณีตก็ควรทราบตามนัย
    ที่ตรงกันข้ามที่กล่าวแล้วนี้ ฯ
    คือ ในบทที่ว่าด้วยรูปประณีตนั้น
    สมเด็จพระสรรเพชญพุทธเจ้า ได้ทรงแจกกามคุณ ๕
    อันน่าต้องการ
    ซึ่งเกิดขึ้นด้วยกุศลกรรมไว้ ฯ
    เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยกุศลกรรม
    ชื่อว่า
    ไม่น่าต้องการไม่มี เป็นของน่าต้องการทั้งนั้น ฯ
    ในของที่เกิดขึ้นด้วยกรรม
    ก็มีรูปที่น่าต้องการและไม่น่าต้องการฉันใด
    ในรูปที่เกิดขึ้นด้วยสมุฏฐานต่าง ๆ
    มีฤดูสมุฏฐานเป็นต้น
    ก็มีสิ่งที่น่าต้องการและไม่น่าต้องการฉันนั้น ฯ

    ในหมวด ๒ นี้ควรทราบว่า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
    ได้ทรงจำแนกอารมณ์
    ซึ่งน่าต้องการและไม่น่าต้องการไว้ด้วยประการดังนี้ ฯ
    อันนี้เป็นถ้อยคำอันมีเนื้อความเสมอกัน
    ถูกต้องกัน แห่งอาจารย์ทั้งหลาย ฯ

    ส่วนวิตัณฑวาทีอาจารย์ คือ
    อาจารย์พวกที่ชอบแย้ง ได้กล่าวไว้ว่า
    อันรูปที่น่าต้องการและไม่น่าต้องการ
    ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ต่างกันไม่มี
    พระองค์ได้ตรัสไว้ตามความชอบใจของสัตวโลกนั้น ๆ ต่างหาก ดังนี้
    ข้อนี้มีมาอย่างไร
    มีมาอย่างนี้ คือ
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
    รูป
    เสียง
    กลิ่น
    รส
    โผฏฐัพพะ เหล่านั้น
    เป็นที่ชอบใจของบางคนก็มี
    ไม่เป็นที่ขอบใจของบางคนก็มี ดังนี้
    คนหนึ่งชอบใจอย่างหนึ่ง
    พอใจอย่างหนึ่ง
    เกิดความโลภอย่างหนึ่ง

    แม้อีกผู้หนึ่ง ไม่ชอบใจสิ่งนั้น
    เกิดความโกรธสิ่งนั้นก็มี
    เป็นที่น่าต้องการ น่าใคร่ น่าชอบใจของบางคนก็มี
    ไม่เป็นที่น่าต้องการ ไม่เป็นที่น่าใคร่ ไม่เป็นที่น่าชอบใจ ของบางคนก็มี
    ผู้หนึ่งถือว่า
    รูป
    เสียง
    กลิ่น
    รส
    โผฏฐัพพะ เหล่านี้ เป็นของน่าต้องการ น่าใคร่ น่าชอบใจ

    แต่อีกผู้หนึ่งว่า
    ไม่น่าต้องการ ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจก็มี
    เพราะฉะนั้น
    รูปที่น่าต้องการและไม่น่าต้องการ ที่ชื่อว่า
    ทรงจำแนกไว้ต่างกันเป็นอันไม่มี ฯ
    แม้แต่ไส้เดือน ก็เป็นที่น่าต้องการ
    น่าใคร่ น่าชอบใจ ของพวกที่อยู่สุดปลายเขตปลายแดน
    แต่เป็นที่เกลียดชังอย่างยิ่งของพวกที่อยู่มัชฌิมประเทศบางเมือง ฯ

    เนื้อสัตว์ทั้งหลาย มีเนื้อนกยูงเป็นต้น
    ย่อมเป็นที่ต้องการของพวกที่อยู่ในบ้านเมือง
    แต่ เป็นที่นาเกลียดอย่างยิ่ง สำหรับพวกที่อยู่ปลายเขตแดด ดังนี้ ฯ
    ควรถามวิตัณฑวาทีอาจารย์นั้นว่า
    ท่านกล่าวว่า อารมณ์ที่น่าต้องการและไม่น่าต้องการ



    สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์
    ทรงจำแนกไว้ต่างหากไม่มีอย่างนั้นหรือ
    เมื่อเขาตอบว่า
    อย่างนั้น
    ต้องถามเขาให้ยืนคำอย่างนั้นถึง ๓ ครั้ง
    แล้วจึงถามว่า นิพพานน่าต้องการหรือไม่น่าต้องการ ฯ
    เมื่อเขารู้ เขาก็จะตอบว่า น่าต้องการ ฯ
    แม้ถ้าเขาไม่พูดก็อย่าพูด แต่นิพพานเป็นของน่าต้องการแท้ ฯ

    เมื่อมีผ้สรรเสริญ นิพพาน
    ผู้หนึ่งโกรธ ว่าท่านสรรเสรญนิพพานทำไม

    ในนิพพานนั้น มีข้าว น้ำ ดอกไม้ของหอม
    เครื่องย้อมทา ที่อยู่ที่นอน
    เครื่องนุ่งห่ม อารมณ์อันดีหรือไม่

    เมื่อผู้นั้นตอบว่า ไม่มี
    ก็ต้องโกรธว่า เราไม่ต้องการด้วยนิพพานของท่าน
    แล้วกล่าวว่า ท่านพูดที่หูทั้ง ๒ เท่านั้น

    นิพพานนั้นจะน่าต้องการ หรือไม่น่าต้องการ
    ตามถ้อยคำของท่านก็ตามที
    แต่ท่านไม่ควรถืออย่างนี้
    เพราะผู้ที่กล่าวอยางนี้ กล่าวด้วยความเข้าใจผิด

    ด้วยความเข้าใจคลาดเคลื่อน
    อารมณ์นั้นเป็นที่ต้องการของบางคนก็มี
    ไม่เป็นที่ต้องการของบางคนก็มี
    ส่วนอารมณ์ซึ่งน่าต้องการและไม่น่าต้องการ
    ที่ทรงจำแนกไว้ต่างกันนั้นมีอยู่ ฯ
    ทรงจำแนกไว้ด้วยถือใครเป็นใหญ่
    แก้ว่า ทรงจำแนกไว้ด้วยถือผู้ที่อยู่ในมัชฌิมประเทศเป็นใหญ่ ฯ
    คำว่า น่าต้องการและไม่น่าต้องการนี้

    ทรงจำแนกไว้ด้วยผู้เป็นใหญ่ยิ่ง มี กษัตริย์มหาสมมุติ
    และมหาสุทัสสนจักรพรรดิ หรือพระเจ้าธรรมาโศกราชเป็นต้น ฯ
    เพราะอารมณ์ถึงแม้ว่าเป็นทิพย์
    ก็ปรากฎไม่เป็นที่พอใจของท่านเหล่านั้น ฯ
    ไม่ได้ทรงจำแนกไว้ด้วยถือผู้ยากจนอย่างยิ่ง ผู้หาข้าวน้ำได้ยากเป็นประมาณ

    เพราะพวกนั้น ถือว่าข้าวหักๆ หรือของเน่าๆ เขาก็ถือว่า เป็นของมีรสอร่อยยิ่ง ฯ
    ทรงจำแนกไว้ด้วยถือผู้อยู่ในมัชฌิมประเทศเป็นใหญ่


    คือ คณกมหาอำมาตย์
    และเศรษฐี กุฎุมพี พานิชเป็นต้น

    ซึ่งได้ของที่น่าใคร่
    ของที่ไม่น่าใคร่
    ตามเวลาที่สมควร ฯ
    เพราะพวกเช่นนั้นไม่อาจกำหนดของน่าต้องการ และไม่น่าต้องการได้ ฯ

    ส่วนพระติปิฎกจุฬาภัยเถรเจ้าได้กล่าวไว้ว่า

    อันรูปที่ชื่อว่าน่าต้องการ และไม่น่าต้องการนั้น
    กำหนดด้วยวิบากไม่ได้
    กำหนดด้วยชวนะ เพราะชวนะ ย่อมยินดี ยินร้ายในอารมณ์
    ที่น่าต้องการ ด้วยความเข้าใจผิดก็มี
    ยินดียินร้ายในอารมณ์ที่ไม่น่าต้องการก็มี
    เพราะฉะนั้น จึงว่า
    สมเด็จพระผู้มิพระภาคเจ้าทรง
    กำหนดไว้ด้วยวิบากโดยแท้ ฯ

    ใครๆ ไม่อาจ เพื่อจะหลอกลวงวิบากจิตได้ ฯ
    ถ้าอารมณ์เป็นของน่าต้องการ
    จิตอันเป็นกุศลวิบากก็เกิดขึ้น

    ถ้าอารมณ์ไม่น่าต้องการ
    จิตอันเป็นอกุศลวิบากก็เกิดขึ้น ฯ

    เพราะ พวกมิจฉาทิฏฐิได้เห็นพระพุทธเจ้า หรือพระสงฆเจ้า
    หรือ อารมณ์ที่ดี มีมหาเจดีย์เป็นต้น ก็ปิดตาเสียก็มี เกิดโทมนัสก็มี
    ได้พึ่งเสียง แสดงธรรม ปิดหูเสียก็มี
    ส่วนวิญญาณทั้ง ๖
    มี
    จักขุวิญญาณ
    โสตวิญญาณ เป็นต้น
    ก็เป็นกุศลวิบาก แห่งพวกนั้น ฯ

    สัตว์ทั้งหลายมีสุกรเป็นต้น
    ได้กลิ่นแล้วก็เกิดดีใจว่า

    เราจักได้กินก็ดี ด้วยว่า

    จักขุวิญญาณในการที่เห็นคูถ
    ของสัตว์เหล่านั้นก็ดี
    ฆานวิญญาณที่รู้สึกต่อกลิ่นก็ดี
    ชิวหาวิญญาณที่รู้สึกต่อรสก็ดี
    เป็นอกุศลวิบากทั้งนั้น ฯ

    สุกรที่เขาผูกไว้ให้นอนในที่อันดี ก็เกิดโทมนัส
    ด้วยความเข้าใจผิด เพราะ กายวิญญาณของสุกรนั้นเป็นกุศลวิบาก

    จึงได้นอนในที่นอนอันดี ฯ

    เพราะเหตุไร ฯ
    เพราะเหตุว่า เป็นอารมณ์ที่น่าต้องการ

    อีกอย่างหนึ่ง ควรทราบ รูปที่น่าต้องการ
    และไม่น่าต้องการด้วยถือทวารเป็นใหญ่ ฯ

    ด้วยว่าโคลนอันเจือด้วยคูถ ซึ่งมีสัมผัสดี
    ก็เป็นของไม่น่าต้องการสำหรับ จักษุทวาร

    ฆานทวาร เป็นของน่าต้องการสำหรับกายทวารเท่านั้น ฯ

    เมื่อบุคคลถูกทุบ ด้วยท่อนแก้วมณีของพระเจ้าจักรพรรดิ
    ถูกเสียบให้นอนหงายอยู่ที่หลาวทองคำนั้น
    แก้วมณี กับหลาวทองคำ เป็นที่ต้องการทางจักษุทวารก็จริง
    แต่ ว่า ไม่เป็นที่ต้องการ ทางกายทวาร ฯ
    เพราะเหตุไร ฯ
    เพราะเหตุว่า
    ทำให้เกิดทุกข์ใหญ่
    จึงควรเข้าใจว่า รูปที่น่าต้องการและไม่น่าต้องการนั้น
    กำหนดด้วยวิบากโดยแท้ ฯ

    ในคำว่า รูปนั้น ๆ ซึ่งแสดงมาแล้วตามพระบาลีนั้น

    ไม่ควร หวน ดูนัยหลัง ฯ
    เพราะสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
    ย่อมไม่ทรงทำนายซึ่งอารมณ์ ที่โลกลงความเห็นว่า
    น่าพอใจ

    ทรงทำนายอารมณ์อันน่าพอใจ ของบุคคลหนึ่ง ๆ เท่านั้น
    เพราะฉะนั้น
    จึงควรแสดงรูปอันต่ำช้า และประณีต
    โดยถือรูปนั้น ๆ เป็นของเทียบเคียงกัน

    เพราะรูปของพวกสัตว์นรก ชื่อว่ารูปอันต่ำช้าอย่างยิ่ง ฯ
    รูปของนาคและครุฑ เมื่อเทียบกับรูปเปรต ก็ชื่อว่าเป็นรูปต่ำช้า
    ส่วนรูปเปรตก็ชื่อว่า รูปปราณีต ฯ


    รูป คนบ้านนอก ผู้ใหญ่บ้าน นายบ้าน
    พระราชา พระเจ้าจักรพรรดิ ภูมมเทวตา และเทวดาชั้นสูง ๆ
    เป็นลำดับกันขึ้นไป
    เมื่อเทียบกัน แล้วก็ต่ำช้า และประณีตกว่ากัน เป็นลำดับไป

    อิตถินทรีย์เป็นต้น ในนิเทศแห่งคำว่าไกลและใกล้นั้น
    ได้จำแนกไว้แล้วในหนหลัง คือ ในคัมภีร์พระธรรมสังคณีโน้น
    ส่วนในที่นี้ เรียก รูปละเอียด ว่ารูปไกล
    เพราะจับได้ยาก รู้ลักษณะได้ยาก ฯ

    รูปหยาบชื่อว่ารูปใกล้
    เพราะจับได้ง่าย รู้ลักษณะได้ง่าย ฯ

    รูปละเอียด ๑๕ อย่าง เมือว่าโดยลักษณะแล้ว
    เรียก ว่า รูปไกล ฯ

    ส่วนรูปหยาบ ๑๐ อย่าง เมื่อว่าโดยโอกาสแล้ว
    ก็เรียกว่ารูปไกลเหมือนกัน ฯ

    รูปหยาบ ๑๐ อย่าง เมื่อว่าโดยลักษณะแล้ว
    ก็เรียกว่ารูปใกล้ชิด ฯ


    ส่วนรูปละเอียด ๑๕ อย่าง เมื่อว่าโดยโอกาสแล้ว
    ก็ชื่อว่า รูปใกล้ชิดเหมือนกัน ฯ
    ชื่อว่ารูปใกล้ชิด หรือ รูปไกล
    โดยโอกาสนั้น กำหนดอย่างไร ฯ
    เมื่อว่าตามปกติ ชั่วระยะ ๑๒ ศอก ชื่อว่า
    อุปจารแห่งการได้ยิน ฯ

    รูปในภายในอุปจารนั้นเข้ามาชื่อว่า รูปใกล้
    รูปนอกอุปจารนั้น
    ออกไปซื้อว่า รูปไกล ฯ

    รูปละเอียดซึ่งมีอยู่ในที่ไกล
    ก็ชื่อว่ารูปไกลโดยลักษณะและโอกาส

    ส่วนรูปละเอียดซึ่งมีอยู่ในที่ใกล้
    ชื่อว่า รูปใกล้โดยโอกาสเท่านั้น

    รูปหยาบซึ่งมีอยู่ในที่ใกล้
    ชื่อว่ารูปใกล้โดยลักษณะบ้าง โดยโอกาสบ้าง

    เมื่ออยู่ในที่ไกล ชื่อว่ารูปไกลโดยโอกาสเท่านั้น ฯ

    ที่ชื่อว่ารูปใกล้
    รูปไกลต้องอาศับเทียบเคียงกันไป เป็นชั้น ๆ อีก

    คือ รูปของตน ชื่อว่า รูปใกล้
    รูปของผู้อื่นถึงแม้ว่าอยู่ในท้องก็ชื่อว่า รูปไกล ฯ

    รูปของผู้อยู่ในท้อง ชื่อว่ารูปใกล้ ฯ
    รูปของผู้อยู่นอกท้อง ชื่อว่า รูปไกล ฯ

    รูปของผู้นอนเตียงเดียวกัน ชื่อว่า รูปใกล้
    รูปของผู้อยู่ที่หน้ามุขภายนอก ชื่อว่า รูปไกล ฯ

    รูปในภายในบริเวณ กับ นอกบริเวรก็ดี
    รูปในภายในอาราม กับ นอกอารามก็ดี
    รูปในภายในสีมา กับ นอกสีมาก็ดี
    รูปในภายในเขตบ้าน กับ นอกเขตบ้านก็ดี
    รูปในภายในชนบท กับ นอกชนบทก็ดี
    รูปในภายในรัฐสีมา กับ ภายนอกรัฐสีมาก็ดี
    รูปในภายในสมุทร กับ ในภายนอกสมุทรก็ดี
    รูปภายในจักรวาลกับภายนอกจักรวาลก็ดี
    เมื่อเทียบกันเข้าแล้ว ก็เรียก ว่ารูปใกล้ รูปไกล เป็นคู่ ๆ ไป ฯ


    สิ้นเนื้อความ ในรูปขันธกนิเทศเพียงเท่านี้.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มกราคม 2023

แชร์หน้านี้

Loading...