๒๑ วิธี ของ สติปัฏฐาน เส้นทางแห่งการบรรลุธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ๑๓อักษร, 11 กันยายน 2021.

  1. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    มีคำถามต่อไปว่า ธรรมเหล่าไหนเป็นกุศล
    มีคำแก้ว่า ในคราวใด
    กามาวจรกุศลจิตประกอบกับอุเบกขาญาณ
    เป็นสสังขาริก และอสังขาริกเกิดขึ้น
    ในคราวนั้น
    กุศลมูลก็เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร
    สังขารก็เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ
    แล้ววิญญาณก็เป็นปัจจัยให้เกิดนาม
    นามก็เป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะที่ ๖
    อายตนะที่ ๖ก็เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ
    ผัสสะก็เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา
    เวทนาก็เป็นปัจจัยให้เกิดปสาทะ
    ปสาทะก็เป็นปัจจัยให้เกิดอธิโมกข์
    อธิโมกข์ก็เป็นปัจจัยให้เกิดภพ
    ภพก็เป็นปัจจัยให้เกิดชาติ
    ชาติก็เป็นปัจจัยให้เกิดชรามรณะ
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งสิ้น ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ ดังนี้


    มีคำถามต่อไปว่า ธรรมเหล่าไหนเป็นกุศล มีคำแก้ว่า
    ในคราวใด
    กามาวจรกุศลจิต ประกอบด้วยอุเบกขาปราศจากญาณ
    เป็นสสังขาริกเกิดขึ้น ในคราวนั้น
    กุศลมูลก็เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร
    แล้วสิ่งเหล่านั้นก็เป็นปัจจัยให้เกิดสิ่งอื่นต่อไป ดังที่ว่าแล้วนั้น


    มีคำถามต่อไปว่า ธรรมเหล่าไหนเป็นกุศล มีคำแก้ว่า
    ปฐมฌานซึ่งเกิดขึ้นเพราะเจริญปฐวีกสิณในคราวใด
    ในคราวนั้น กุศลมูลก็เป็นเหตุให้เกิดสังขาร
    แล้วสิ่งอื่น ๗ ก็เป็นเหตุให้เกิดสิ่งอื่น ๆ ต่อกันไป
    จนกระทั่งถึงชรามรณะ

    มีคำถามต่อไปว่า ธรรมเหล่าไหนเป็นกุศล
    มีคำแก้ว่า ในคราวใด
    อรูปฌานที่ ๔ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะเกิดขึ้น
    ในคราวนั้น
    กุศลมูลก็เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร
    แล้วสังขารก็เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ
    และสิ่งอื่นๆเป็นลำดับขึ้นไปจนกระทั่งถึงชรามรณะ

    มีคำถามต่อไปว่า ในคราวใด ปฐมฌานที่เป็นโลกุตตระ
    เป็นทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญาเกิดขึ้น ในคราวนั้น
    กุศลมูลก็เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร
    แล้วสังขารก็เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ
    และสิงอื่นๆ ต่อไปจนกระทั่งถึงชรามรณะ ดังนี้

    สิ้นเนื้อความในกุศลนิเทศเพียงเท่านี้

    ตามที่ว่ามานี้มีที่น่าสงสัยอยู่ ๓ แห่ง
    คือ แห่งหนึ่งกล่าวถึงแต่ปฐมฌานเท่านั้น
    ไม่ได้กล่าวถึงทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานเลย
    อีกแห่งหนึ่ง ก็กล่าวถึงแต่ อรูปฌาน ๔ ฯ
    แห่งหนึ่ง ก็กล่าวถึงแต่โลกุตตรฌานขั้นปฐมฌานเท่านั้น
    หาได้กล่าวถึงขั้นอื่นไม่
    แต่ควรเห็นว่า ท่านว่าไว้เพียงเท่านั้น ก็เพื่อให้เข้าใจว่า

    ฌานขั้นอื่น ก็เป็นกุศลมูล ให้เกิดสังขารเหมือนกัน
     
  2. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    ลุงแมวเรตติ้งพุ่งมาก ท่านเห็นยังฮับ
     
  3. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    พระสุตตันตปิฎก คัมภีร์ที่ ๕ ขุททกนิกาย

    พระมหานิเทศ เล่ม ๑
    กัณฑ์ที่ ๓๖
    คัมภีร์ขุททกนิกาย พระมหานิเทศ

    ว่าด้วยปฐมฌาน

    วิเวกชนฺติ เอตฺถ วิวิตติ วิเวโก ฯ นีรวณวิคโมติ อตฺโถ ฯ
    วิวิตฺโตติ วา วิเวโก ฯ นีวรณวิวิตฺโต ฌานสมฺปยุตฺตธมฺมราสติ อตโถติ

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงคัมภีร์มหานิเทศ กัณฑ์ที่ ๓๖
    ว่าด้วยปฐมฌาน สืบต่อไป เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พุทธศาสนา
    และพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ตลอดกาลนานหาประมาณมิได้

    อรรถกถา
    ดำเนิน ความตามอรรถกถาว่า
    ในคำว่า เกิดจากวิเวกนั้น มีคำอธิบายว่า
    วิเวกนั้น ได้แก่ความสงัด คือความปราสจากนิวรณ์
    อีกอย่างหนึ่งว่า วิเวกนั้น ได้แก่ผู้ สงัดจากนิวรณ์
    คือ ได้แก่หมวดแห่งธรรมอันประกอบกับฌาน
    สิ่งใดเกิดจากวิเวกนั้น หรือเกิดในวิเวกนั้น สิ่งนั้นชื่อว่าเกิดจากวิเวก ฯ



    คำว่า ปีติและสุขนั้น มีคำอธิบายว่า
    ธรรมชาติใดทำให้เอิบอิ่ม ธรรมชาตินั้นชื่อว่าปีติ ๆ
    นั้นมีการทำให้เอิบอิ่มเป็นลักษณะ แต่ เมื่อว่าโดยประเภท
    ก็มี ๕ อย่างด้วยกัน คือ
    ขุททกาบีติ ซึ่งแปลว่าปีติน้อย ๑
    ขณิกาปีติ ซึ่งแปลว่าปีติชั่วขณะ ๑
    โอกกันติกาปีติ ซึ่งแปลว่าปีติก้าวลง ๑
    อุพเพงคาปีติ ซึ่งแปลว่าบีติขึ้นไป ๑
    ผรณาปีติ ซึ่งแปลว่าปีติแผ่ไป ๑ ฯ

    ขุททกาบีติ ซึ่งแปลว่าปีติน้อยนั้น
    อาจทำให้เกิดได้เพียงแต่ขนลุกขนชันเท่านั้น

    ขณิกาปีติ ซึ่งแปลว่าปีติชั่วขณะนั้น
    เช่นกับความเกิดแห่งฟ้าแลบเป็นขณะ ๆ

    โอกกันติกาบปีติ ซึ่งแปลว่าปีติก้าวลงนั้น
    คือก้าวลงสู่ภายแล้วก็แตก ก้าวลงสู่กายแล้วก็แตก
    เหมือนกับคลื่นกระทบฝั่งสมุทรฉะนั้น

    อุพเพงคาปีติ ซึ่งแปลว่าปีติขึ้นไปนั้น
    ได้แก่ปีติที่แรงกล้า ซึ่งทำให้กายลอยขึ้นไปในอากาศได้
    ทำให้กายกระโดดขึ้นได้

    ผรณาปีติ ซึ่งแปลว่า ปีติแผ่ซ่านนั้น
    ได้แก่ปีติเราแรงกว่านั้นก็ซาบซ่านไปตลอดกาย
    เปรียบเหมือนห้วงน้ำใหญ่ที่ไหลเข้าไปสู่ซอกเขาฉะนั้นฯ

    ก็ปีติ ๕ อย่างนั้น เมื่อแก่กล้าแล้ว ก็ทำ
    กายปัสสัทธิ คือความสงบกายและจิตปัสสัทธิ คือความสงบจิตให้เกิดขึ้น
    ปัสสัทธิแก่กล้าแล้ว ก็ให้เกิดความสุขกายสุขใจ
    ความสุขแก่กล้าแล้ว ก็ให้เกิดสมาธิ ๓ อย่าง

    คือขณิกสมาธิ อันได้แก่สมาธิ ชั่วขณะ
    อุปจารสมาธิ อันได้แก่ลมาธิเฉียด ๆ อัปปนาสมาธิอันได้ แก่สมาธิแนบแน่น

    ผรณาปิติอันใด ที่เป็นรากเง้าแห่งอัปปนาสมาธิ เจริญขึ้นแล้ว
    ถึงซึ่งความประกอบกับสมาธิ
    ผรณาปีติอันนี้แหละ เรียก ว่าปีติในข้อนี้ ฯ

    สิ่งใดสิ้นไปง่าย สิ่งนั้นชื่อว่าสุข
    สุขเกิดขึ้นแก่ผู้ใดก็ทำผู้นั้นให้เป็นสุข
    อีกอย่างหนึ่งว่า สุขนั้นได้แก่ความแห้ง
    อีกอย่างหนึ่งว่า สุขนั้นได้แก่การเคี้ยวกิน
    และการขุดเสียซึ่งความลำบากกาย ลำบากใจ

    คำว่า สุขหมายโสมนัสเวทนา สุขนั้น มีความยินดีเป็นลักษณะ
    ในบางแห่งปีติ กับสุขแยกกัน เมื่อเป็นอย่างนั้น ต้องเข้าใจว่า

    ปีตินั้นได้แก่ความยินดี ในการที่ไต้อารมณ์ที่ตนประสงค์
    สุขนั้นไต้แก่ยินดีต่ออารมณ์ ที่ตนได้แล้ว ฯ

    ปีติอยู่ในที่ใด สุขก็อยู่ในนั้น
    แต่สุขอยู่ในที่ใด จะนิยมว่า ปีติอยู่ในที่นั้นไม่ได้ ฯ

    ปีติ จัดเข้าในสังขารขันธ์
    สุข จัดเข้าในเวทนาขันธ์

    ปีติ เหมือนกับความดีใจ ในการที่ได้เห็นซึ่งป่า
    หรือเสียงแห่งน้ำตกแห่งผู้เดินทางกันดาร

    สุขเปรียบเหมือนความดีใจของผู้เดินทางกันดาร
    ได้เข้าไปในร่มเงาต้นไม้และได้ใช้สอยน้ำ ฯ

    ปีติและสุขดังที่ว่ามานี้ ย่อมมีอยู่นาน หรือมีอยู่ในฌานนั้น

    เพราะฉะนั้น ฌานนี้ท่านจึงว่ามี ปีติสุข ฯ
    อีกอย่างว่า ปีติด้วย สุขด้วย เรียกว่าปีติสุข

    เหมือน กับคำว่า ธรรมวินัยเป็นต้น ฯ

    ปีติสุขเกิดจากวิเวกแห่งฌานนั้นมีอยู่ เพราะฉะนั้น
    ฌานนั้นจึงชื่อว่า มีปีติสุขเกิดจากวิเวก

    อีกอย่างหนึ่งว่า ปีติสุขมีอยู่ในฌานนั้น เพราะฉะนั้น
    ฌานนั้นจึงชื่อว่ามีปีติสุขเกิดจากวิเวก ฯ

    คำว่า ปฐมฌานนั้น หมายฌานที่เกิดขึ้นก่อน
    ด้วยว่าฌานนั้นมีอยู่ ๒ อย่าง คือ

    อารัมมณูปนิฌาน การเข้าไปเพ่งอารมณ์ ๑
    ลักขณูปนิฌาน การเข้าไปเพ่งลักษณะ ๑ ฯ

    สมาบัติ ๘ เรียกว่า อารัมมณูปนิฌาน เพราะเพ่งอารมณ์มีปฐวีกสิณเป็นต้น

    ส่วนวิปัสสนามรรคผล เรียกว่าลักขณปนิฌาน

    ในฌาน ๒ อย่างนั้น ก็มีคำอธิบายต่อไปว่า วิปัสสนาเรียกว่า
    ลักขณูปนิฌาน เพราะเข้าไปเพ่งลักษณะ มีความไม่เที่ยงเป็นต้น

    มรรค ชื่อว่าลักขณูปนิฌาน
    เพราะได้ทำกิจที่ทำแล้วด้วยวิปัสสนา ให้สำเร็จไปด้วยมรรค

    ส่วนผล เรียกว่าลักขณูปนิฌาน
    เพราะเข้าไปเพ่งซึ่งลักษณะอันแท้จริง คือเพ่งนิโรธสัจ ฯ

    อารัมมณูปนิฌานมีอยู่ในเบื้องต้น
    ส่วนลักขณูปนิฌาน มีอยู่ในขณะโลกุตตระมรรคเกิดขึ้น

    เพราะฉะนั้น จึงควรหราบด้วยฌาน
    เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์ ๑
    เข้าไปเพ่งลักษณะ ๑
    เผาเสียซึ่งปัจจนิก ๑ ๆ

    คำว่า ปฐมฌานนั้น คือได้สำเร็จ ปฐมฌาน
    ปฐมฌานนั้น
    เป็นของละองค์ ๕
    ประกอบด้วยองค์ ๕
    มีความดี ๓ สมบูรณ์ด้วยลักษณะ๑๐ ดังจะแสดงต่อไปในบัดนี้

    กล่าวคือ
    ข้อที่ว่าปฐมฌานละองค์ ๕ นั้น คือ ปฐมฌานนั้นละเสียซึ่งองค์ ๕
    อันได้แก่นิวรณ์ ๕ คือ
    กามฉันท์
    พยาบาท
    ถีนมิทธะ
    อุทธัจจกุกกุจจะ
    วิจิกิจฉา ฯ
    เมื่อยังละนีวรณ์ ๕ เหล่านี้ไม่ได้ ฌานก็ยังไม่เกิด

    เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าละองค์ ๕

    ถึงแม้ว่าในขณะฌานเกิดขึ้น ละอกุศลธรรม เหล่าอื่นไปด้วยก็จริง
    แต่ถึงอย่างนั้นก็ดี ก็เรียกว่าละนีวรณ์ ๕
    เพราะ
    นีวรณ์ ๕ นั้น เป็นของทำอันตรายแก่ฌานเป็นพิเศษ
    ด้วยว่า
    จิตอันกามฉันท์เล้าโลมด้วยวิสัยต่างๆ ย่อมไม่ตั้งมั่นในอารมณ์อันเดียว

    อีกอย่างหนึ่ง
    จิตที่กามฉันท์ครอบงำแล้ว ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อไห้ละกามธาตุ
    จิตทีเร่าร้อนด้วยอารมณ์ในพยาบาท ย่อมไม่เป็นไปติด ๆ กัน
    จิตที่ถีนมิทธะครอบจำ ย่อมไม่ควรแก่การงาน
    จิตที่อุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ ย่อมไม่สงบย่อมหมุนไปรอบ
    จิตที่ถูกวิจิกิจฉากระทบ ย่อมไม่ขึ้นสู่ทางอันจะให้สำเร็จฌาน

    โดยเหตุนี้
    นีวรณ์ ๕ นี้ จึงเรียกว่าองค์ที่ควรละ
    เพราะเป็นของทำให้เป็นอันตรายแก่ฌานเป็นพิเศษ

    วิตกมีหน้าที่ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์
    วิจารมีหน้าที่ติดตามอารมณ์
    ปีติมีหน้าที่ทำให้เกิดสุข
    สุขมีหน้ำที่ทำให้จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
    เพราะฉะนั้น
    ปฐมฌานนี้ จึงเรียกว่าพร้อมด้วยองค์ ๕
    ด้วยความเกิดขึ้นแห่งสิ่งทั้ง ๕
    คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรถือว่า
    สิ่งอื่นที่ประกอบด้วยสิ่งเหล่านี้ ชื่อว่าฌานมีอยู่ ฯ
    ตามลำพังองค์
    เขาก็เรียกกันว่า เสนามีองค์ ๔ ดนตรีมีองค์ ๕
    มรรคมีองค์ ๘ ฉันใด ว่าเฉพาะแต่เพียงองค์แล้ว ก็เรียกได้ว่า
    ณานมีองค์ ๕ หรือฌานประกอบด้วยองค์ ๕ ดังนี้ก็ได้ฉันนั้น ฯ

    ก็องค์ ๕ นั้น ถึงจะมีอยู่ในขณะแห่งอุปจารสมาธิก็ตาม
    แต่ก็แรงกว่าจิตปกติในอุปจาร
    ส่วนในองค์ ๕ ที่มีกำลังแรงที่ถึงลักษณะแห่งรูปาวจร
    ได้สำเร็จแล้วด้วย อุปจารสมาธิฯ

    วิตกเมื่อยกขึ้นซึ่งจิตไปไว้ในอารมณ์
    ด้วยอาการอันคล่องแคล่วดีก็เกิดขึ้น
    ส่วนวิจารเมื่อขยำอารมณ์เต็มที่แล้วก็เกิดขึ้น
    ปีติสุขก็แผ่ไปตลอดกาย
    เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า
    ไม่มีสิ่งใดแห่งกาย ซึ่งจะไม่มีปีติสุขอันเกิดจากวิเวกถูกต้อง ฯ

    ความมีอารมณ์เป็นหนึ่งแห่งจิต ย่อมถูกต้องในอารมณ์
    เหมือนกับฝาสมุดข้างบนถูกพื้นสมุดข้างล่างฉะนั้น

    ความมีอารมณ์เป็นหนึ่งแห่งจิต
    ไม่ได้ชี้ไว้ในข้อว่า มีวิตกวิจาร ดังนี้ก็จริง
    แต่ได้ชี้ไว้ในคัมภีร์วิภังค์ ว่า
    คำว่า ฌานนั้น ย่อมมีองค์ ๕
    คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ดังนี้

    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงตั้งหัวข้อไว้ด้วยอธิบายอันใด
    อธิบายอันนั้นก็ได้ประกาศไว้แล้วในคัมภีร์วิภังค์ด้วยพระองค์เอง ดังนี้
    ของดเนื้อความในอรรถกถา อันว่าด้วยปฐมณานเพียงเท่านี้


    ธัมมัตถาธิบาย
    ในอรรถาวิบายว่า ปฐมฌานนั้น ได้แก่การเพ่งอารมณ์
    หรือเพ่งลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งจนใจแน่วแน่ ละเสียซึ่งนีวรณ์ ๕
    ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ดังนี้
    ในขณะใดก็เรียกว่า ได้สำเร็จฌานในขณะนั้น ดังนี้

    สิ้นเนื้อความในเทศนากัณฑ์นี้เพียงเท่านี้

    เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้ ๆ
     
  4. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    วันนี้ พุ่งแป๊บเดียว พอสายโดนแบนแระ
    55
     
  5. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    เกือบได้เป็นดาวรุ่งแล้ว เร่งมือเข้า
     
  6. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    ดาวรุ่งโดนสะกัดซะแร้วไปไม่ไหวแล้ว
    นิพพานดีกั่ว 555
     
  7. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    ลุงแมวโดนแบนเหรอครับ
     
  8. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    55ไม่ไหวฮับ ที่นั่นมันเถื่อนกันจริงๆ
    อยู่ไม่ไหว
    ลุง ไม่เอาแล้วเข็มขัดช้งเข็มขัดแช้มป์55
     
  9. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    ไหนธรรมแท้ ไม่มีคำปลอบโยน แหมม
     
  10. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    คนคิดถึงเยอะเลยอะ ธรรมแท้หนีสะแว้วว
     
  11. yee.prasong

    yee.prasong Set me free

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2022
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +5
    โห้ลุงแมวเข้าไป กลุ่มกำลังคึกคัก... ใครขยันตั้งโพสแข่งกะเจ้ปราบล่ะทีนี้55
     
  12. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    กัณฑ์ที่ ๘๕

    คัมภีร์พระธรรมสังคณี

    ว่าด้วยหมวดกิเลส ในนิกเขปกัณฑ์

    กตเม ธมฺมา กิเลสา ทส กิเลสวตฺถูนิ โลโภ โทโส โมโห

    มาโน ทิฏฐิ วิจิกิจฺฉา ถีนํ อุทธจฺจํ อหิริกํ อโนตฺตปฺปนฺติ

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงคัมภีร์พระธรรมสังคณิ กัณฑ์ที่ ๘๕ ว่าด้วย

    หมวดกิเลส ในนิกเขปกัณฑ์ สืบต่อไป เพื่อให้เบ็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา

    และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายตลอดกาลนาน

    บาลี

    ดำเนินความตามวาระพระบาลี ที่ได้ยกขึ้นไว้เป็นเบื้องต้นแห่งเทศนานั้นว่า

    ธรรมเหล่าไหนเป็นกิเลส แก้ว่า กิเลสนั้นมีอยู่ ๑๐ ประการ

    คือ
    โลภะ ๑
    โทสะ ๑
    โมหะ ๑
    มานะ ๑
    ทิฏฐิ ๑
    วิจิกิจฉา ๑
    ถีนะ ๑
    อุทธัจจะ ๑
    อหิริกะ ๑
    อโนตตัปปะ ๑
    ดังนี้
    ในกิเลสทั้ง ๑๐ นี้ มีคำอธิบายโดย ปุจฉา วิสัชนา ตามพระบาลี ว่า

    โลภะนั้น ได้แก่สิ่งใด แก้ว่า
    ได้แก่
    ความยินดี
    ความยินดีมาก
    ความนำไปตาม
    ความยินดีตาม
    ความเพลิดเพลิน
    ความยินดีด้วยความเพลิดเพลิน
    ความยินดีมากแห่งจิต
    ความต้องการ
    ความดิ้นรน
    ความกลืนเข้าไว้
    ความติด
    ความติดรอบ
    ความคล่อง
    ความจมลง
    ความหวั่นไหว
    ความหลอกลวง
    สิ่งที่ทำให้เกิด
    ความเกิดพร้อม
    เครื่องร้อยรัด ข่าย
    สิ่งที่ไหลเชี่ยว
    สิ่งที่ช่านไป
    สิ่งที่เป็นดังด้าย
    สิ่งที่แผ่ไป
    สิ่งที่ประมวลมา
    สิ่งที่เป็นเพื่อน 2
    ความปรารถนา
    สิ่งที่นำไปในภพ
    สิ่งที่เป็นดังป่าใหญ่
    สิ่งที่เป็นดังป่าน้อย
    ความเชยชม
    ความเยื่อใย
    ความใยดี
    ความผูกพัน
    ความหวัง
    การหวัง
    กิริยาหวัง
    ความหวังรูป
    ความหวังเสียง
    ความหวังกลิ่น
    ความหวังรส
    ความหวังโผฐฐัพพะ
    ความหวังลาภ
    ความหวังทรัพย์
    ความหวังบุตร
    ความหวังชีวิต
    ความกระตุ้นใจ
    ความกระตุ้นใจใหญ่
    ความกระต้นใจเฉพาะ
    การกระตุ้นใจ
    กิริยากระตุ้นใจ
    ความโลภ
    การโลก
    กิริยาโลภ
    ความหวั่นไหว
    ความใคร่ ในอารมณ์ที่ตนเห็นว่าดี
    ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบธรรม
    ความโลภไม่เลือก
    ความใคร่มาก
    การใคร่มาก
    ความปรารถนา
    ความทะเยอทะยาน
    ความปรารถนาพร้อม
    ความดิ้นรนในกาม
    ความดินรนในภพ
    ความดิ้นรนในพิภพ
    ความดิ้นรนในรูปธรรม
    ความดิ้นรนในอรูปธรรม
    ความดิ้นรนในความดับทุกข์
    ความดิ้นรนในรูป
    ความดิ้นรนในเสี่ยง
    ความดิ้นรนในกลิ่น
    ความดิ้นรนในรส
    ความดิ้นรนในโผกูฐัพพะ
    ความดิ้นรนในธรรม คืออารมณ์แห่งใจ
    หัวหน้าเครื่องเกาะเกี๋ยว
    เครื่องผูก
    เคื่รองยึดถือ
    เครื่องขัดขวาง
    เครื่องป้องกัน
    เครื่องปกปิด
    เครื่องผูก
    เครื่องเศร้าหมอง
    สิ่งที่นอนประจำใจ
    สิ่งที่กลุ้มรุมใจ
    สิ่งที่เป็นดังเครือไม้
    ความต้องการต่าง ๆ
    รากเหง้าแห่งทุกข์
    ต้นเหตุแ่งทุกข์
    ที่เกิดแห่งทุกข์

    บ่วงแห่งมาร
    เบ็ดแห่งมาร
    แม่น้ำคือตัณหา
    ข่ายคือตัณหา
    ไม้ทับเหวคือตัณหา
    มหาสมุทรคือตัณหา
    อภิชฌาและโลภะอันเป็นอกุศลมูล

    คำที่ว่ามาแล้วนี้ทั้งสิ้นเป็นโลภะทั้งนั้น ฯ



    ได้ตามความที่แสดงมานี้ ว่า โลภะนั้น
    ได้แก่ อาการหลายอย่าง
    คือ ราคะ ซึ่งแปลว่าความยินดี หรือ แปลว่า ความกำหนัด

    หรือแปลว่า ความย้อมใจ ก็เป็นโลภะ
    สาราคะ ซึ่ง แปลว่า ความยินดีมาก อันได้แก่
    ความยินดีแก่กล้า ก็เป็นโลภะ ฯ

    อนุนยะ ซึ่งแปลตามตัว ว่า ความนำไปตาม ก็เบ็นโลภะ ฯ
    อนุโรธะ ซึ่งแปลตามตัว ว่า ความคล้อยตาม ก็เป็นโลภะ ฯ
    นันทิ ซึ่ง แปลว่า ความเพลิดเพลิน ก็เป็น โลภะ ฯ
    นันทิราคะ ซึ่งแปลว่า ความยินดีด้วยความเพลิดเพลิน ก็เป็นโลภะ ฯ ดังนี้ เป็นต้น

    นอกนี้เหมือนกับที่แสดงมาแล้วนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2022
  13. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    มีเนื้อความต่อไปตามวาระพระบาลีว่า โทสะนั้น ได้แก่สิ่งใด แก้ว่า

    ได้แก่
    ความอาฆาต
    ความปฏิฆาต
    ความปฏิฆะ คือ ความกระทบใจ
    ความยินร้าย
    ความกำเริบมาก
    ความกำเริบพร้อม
    ความมีโทสะ
    ความมีโทสะมาก
    ความมีโทสะพร้อม
    ความวิบัติแห่งจิต
    ความขัดใจ
    ความโกรธ
    กิริยาโกรธ
    การมีโทสะ
    กิริยามีโทสะ
    ความพยาบาท
    กิริยาพยาบาห
    การพยาบาท
    ความพิโรธ
    ความพิโรธตอบ
    ความดุร้าย
    ความทำให้น้ำตาตก
    ความไม่ดีใจซึ่งเกิดขึ้นด้วยเหตุ ๙ ประการ
    คือ
    ด้วยการคิดว่า เขาได้ทำสิ่งซึ่งไม่เบป็นประโยชน์ให้แก่เราแล้ว ๑
    เรากำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้แก่เราอย่ ๑
    เขาจักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้แก่เราในเวลาข้างหน้า ๑
    เขาได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ที่เรารักใคร่พอใจแล้ว ๑
    เขากำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ที่เรารักใคร่พอใจอยู่ ๑
    เขาจักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ที่เรารักใคร่พอใจในเวลาข้างหน้า ๑
    เขาได้ทำประโยชน์ให้แก่ผู้ที่เราเกลียดชังแล้ว ๑
    เขากำลังทำประโยชน์ให้แก่ผู้ที่เราเกลียดชังอยู่ ๑
    เขาจักทำประโยชน์ให้แก่ผู้ที่เราเกลียดชังในเวลาข้างหน้า ๑
    ดังนี้ ฯ

    ได้ ใจความตามที่แสดงมานี้ ว่า โทสะนั้น
    ได้แก่ กิเลสฝ่ายไม่พอใจทั้งสิ้น
    คือ
    ความอาฆาต ก็เรียกว่าโทสะ
    ความปฏิฆาต ซึ่งแปลว่า ความกระทบเฉพาะ ก็เป็นโทสะ
    ความปฏิฆะ ซึ่งแปลว่า ความกระทบกระทั่ง ก็เป็นโทสะ ดังนี้ เป็นต้น
     
  14. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    มีเนื้อความต่อไปตามวาระพระบาลีว่า

    โมหะนั้น ได้แก่สิ่งใด แก้ว่า
    ได้แก่
    ความไม่รู้
    ความไม่เห็น
    ความไม่รู้ยิ่ง
    ความไม่รู้ตาม
    ความไม่รู้ดี
    ความไม่แทงตลอด
    ความไม่ถือเอาดี
    ความไม่พิจารณาแล้วจึงถือเอา
    ความไม่เพ่งดูให้ดี
    ความไม่พิจารณาให้ดี
    ความไม่ทำให้แจ่มแจ้ง
    ความคิดที่ไม่ดี
    ความโง่เขลา
    ความไม่รู้รอบคอบ
    ความหลง
    ความหลงใหญ่
    ความหลงพร้อมคืออวิชชา
    ห้วงน้ำคืออวิชชา
    เครื่องเกาะเกี่ยวคืออวิชชา
    ของประจำใจคืออวิชชา
    ของกลุ้มรุมใจคืออวิชชา
    เครื่องขัดข้องคืออวิชชา
    ความลุ่มหลงอันเป็นอกุศลมูล เหล่านี้ เป็นโมหะทั้งนั้น

    แต่โมหะ นั้น เมื่อว่าโดยประเภทแล้ว ก็มีอยู่ ๘ ประการ
    คือ
    ความไม่รู้จักทุกข์ ๑
    ความไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งทุกข์ ๑
    ความไม่รู้จักความดับทุกข์ ๑
    ความไม่รู้จักทางไปถึงความดับทุกข์ ๑
    ตวามไม่รู้จักอดีต ๑
    ความไม่รู้จักอนาคต ๑
    ความไม่รู้จักอดีตและอนาคต ๑
    ความไม่รู้จักธรรมอันเกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุปัจจัย ๑
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2022
  15. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    มานะ นั้น ได้แก่สิ่งใด แก้ว่า
    ได้แก่

    ความถือตัวว่า
    เราดีกว่าเขา ๑
    เราเสมอเขา
    เราเลวกว่าเขา ๑


    ทิฏฐิ นั้น ได้แก่สิ่งใด แก๊ว่า
    ได้แก่

    ความเห็นผิดว่า โลกยั่งยืน ๑
    โลกไม่ยั่งยืน ๑
    โลกมีที่สุด ๑
    โลกไม่มีที่สุด ๑
    ชีพกับสรีระเป็นอันเดียวกัน ๑
    ชีพกับสรีระต่างกัน ๑
    สัตว์ตายแล้วเกิด ๑
    สัตว์ตายแล้วไม่เกิด ๑
    สัตว์ตายแล้วเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ๑
    สัตว์ตายแล้วเกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ ๑

    ถึงแม้ว่า
    ความเห็นผิดทั้งปวง นอกจากความเห็นผิด ๑๐ ประการนี้
    ก็เริยกว่า ทิฏฐิ ทั้งนั้น

    วิจิกิจฉา นั้น ได้แก่สิ่งใด
    ได้แก่
    ความสงสัยในพระพุทธเจ้า ๑
    ความสงสัยในพระธรรมเจ้า ๑
    ความสงสัยในพระสงฆเจ้า ๑
    ความสงสัยในการศึกษา ๑
    ความสงสัยในอดีต ๑
    ความสงสัยในอนาคต ๑
    ความสงสัยทั้งอดีตอนาคต ๑
    ความสงสัยในสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ๑


    ถีนะ นั้น ได้แก่สิ่งใด แก้ว่า
    ได้แก่
    จิตเป็นของไม่ควรแก่การงาน คือ จิตหดหู่ท้อถอย

    อุทธัจจะ นั้น ได้แก่สิ่งใด แก้ว่า
    ได้แก่
    ความฟุ้งซ่าน คือ
    ความไม่สงบจิต
    ความฟุ้งไปแห่งจิต
    ความหมุนไปแห่งจิต

    อหิริกะ นั้น ได้แก่สิ่งใด แก้ว่า
    ได้แก่
    ความไม่ละอายต่อสิ่งที่ควรละอาย
    คือ ความไม่ละอายต่อการกระทำสิ่งที่เป็นบาปอกุศล

    อโนตตัปปะ นั้น ได้แก่สิ่งใด แก้ว่า
    ได้แก่
    ความไม่กลัวต่อสิ่งที่ควรกลัว
    คือ ความไม่กลัวต่อการทำสิ่งที่เป็นบาปอกุศล ฯ
     
  16. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    ธรรมทั้ง ๑๐ ข้อ ดังที่แสดงมานี้ แล เรียก ว่า กิเลส
    ซึ่ง แปลว่า
    ความเศร้าหมอง
    สิ่งที่ทำให้เศร้าหมอง
    สิ่งที่ทำให้ลำบาก
    สิ่งที่ทำให้ทุกข์ยาก

    ธรรมเหล่าไหน ไม่เป็นกิเลส แก้ว่า
    ยกเว้นธรรมเหล่านั้นเสียแล้ว

    กุศลธรรม
    อกุศลธรรม
    อัพยากตธรรม นอกนั้น
    เวทนาขันธ์
    สัญญาขันธ์
    สังขารขันธ์
    วิญญาณขันธ์
    ที่เป็น
    กามาวจร
    รูปาวจร
    อรูปาวจร
    อรูปริยาบัน
    กับรูปทั้งปวง และธาตุที่ปัจจัยไม่ได้ตกแต่ง เหล่านั้
    ไม่เป็น กิเลส
     
  17. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    วิ่งรอกชก 2 เวทีดังแน่นวล
    ฮับ
     
  18. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    ธรรมเหล่าไหนประกอบกับกิเลส
    แก้ว่า
    กุศลธรรม
    อกุศลธรรม
    อัพยากตธรรม ที่มีอาสวะ
    รูปขันธ์
    เวทนาขันธ์
    สัยญาขันธ์
    สังขารขันธ์
    วิญญาณขันธ์
    ที่เป็น
    กามารจร
    รูปาวจร
    อรูปาวจร เหล่านี้ ประกอบกับกิเลส ฯ

    ธรรมเหล่าไหนไม่ประกอบกับกิเลส แก้ว่า
    มรรคผลอันเป็นอปริยาบันกับธาตุที่
    ปัจจัยที่ไม่ได้ตกแต่ง เหล่านี้ ไม่ประกอบกับกิเลส

    ธรรมเหล่าไหนเศร้าหมอง แก้ว่า
    อกุสลมูล ๓ กือ โลภะ โทสะ โมหะ
    กับกิเลสฝ่ายเดียวกัน และ
    เวทนาขันธ์
    สัญญาขั้นธ์
    สังขารขันธ์
    วิญญาณขันธ์
    ที่ประกอบกับอกุศลมูลนั้นก็ดี
    กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่มือกุศลมูลนั้น เป็น สมุฏฐานก็มี
    ธรรมเหล่านี้แลเป็นเครื่องเศร้าหมอง ฯ

    ธรรมเหล่าไหนไม่เศร้าหมอง แก้ว่า
    กุศลธรรม
    อัพยากตธรรม
    เวทนาขันธ์
    สัญญาขันธ์
    สังขารขันธ์
    วิญญาณขันธ์
    ที่เป็น
    กามาวจร
    รูปาวจร
    อรูปาวจร
    อปริยาบัน
    กับรูปทั้งปวง และธาตุที่บีจจัยไม่ได้ตกแต่ง เหล่านี้
    เป็นของไม่เศร้าหมอง

    ธรรมเหล่าไหนประกอบกับกิเลส
    เวทนาขันธ์
    สัญญาขันธ์
    สังขารขันธ์
    วิญญาณขันธ์
    ที่ประกอบกับธรรม ๑๐ ประการนั้น
    ชื่อว่าประกอบกับกิเลส ฯ

    ธรรมเหล่าไหนไม่ประกอบกับกิเลส แก้ว่า
    เวทนาขันธ์ ตลอดถึงวิญญาณขันธ์
    รูปทั้งปวงก็ดี ธาตุที่ปัจจัยไม่ได้ตกแต่งก็ดี เหล่านี้ ไม่ประกอบกับกิเลส

    ธรรมเหล่าไหนเป็นกิเลสด้วย ประกอบกับกิเลสด้วย
    แก้ว่า กิเลส ๑๐ประการนั้นแหละ เป็นกิเลสด้วย ประกอบกับกิเลสด้วย ฯ


    ธรรมเหล่าไหนประกอบกับกิเลส แต่ไม่เป็นกิเลส
    แก้ว่า
    กุศลธรรม
    อกุศลธรรม
    อัพยากตธรรม
    ที่มีอาสวะ นอกจากสิ่งที่ประกอบกับกิเลสนั้น คือ
    รูปขันธ์ ตลอดถึงวิญญาณขันธ์
    ที่เป็น
    กามาวจร
    รูปาวจร
    อรูปาวจร เหล่านี้
    ประกอบกับกิเลส แต่ ไม่เป็นกิเลส

    ธรรมเหล่าไหนเป็นกิเลสด้วย เป็นของเศร้าหมองด้วย ฯ
    แก้ว่า กิเลสเหล่านั้น เป็นกิเลสด้วย เป็นของเศร้าหมองด้วย ฯ

    ธรรมเหล่าไหนเป็น ของเศร้าหมอง แต่ไม่เป็นกิเลส
    แก้ว่า
    เวทนาขันธ์ ตลอดถึงวิญญาณขันธ์
    นอกจากธรรมที่เศร้าหมองเหล่านั้นแล
    เป็นของเศร้าหมอง แต่ไม่เป็นกิเลส
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2022
  19. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    ธรรมเหล่าไหนเป็นกิเลสด้วย ประกอบกับกิเลสด้วย แก้ว่า
    โลภะกับโมหะ
    โมหะกับโลภะก็ดี
    โทสะกับโมหะ
    โมหะกับโทสะก็ดี
    มานะกับโมหะ
    โมหะกับมานะก็ดี
    ทิฏฐิกับโมหะ
    โมหะกับทิฏฐิก็ดี
    วิจิกิจฉากับโมหะ
    โมหะกับวิจิกิจฉาก็ดี
    ถีนะกับโมหะ
    โมหะกับถีนะก็ดี
    อุทธัจจะกับโมหะ
    โมหะกับอุหธัจจะก็ดี
    อหิริกะกับโมหะ
    โมหะกับอหิริกะก็ดี
    อโนตตัปปะกับโมหะ
    โมหะกับอโนตตัปปะก็ดี
    โลภะกับอุทธัจจะ
    อุทธัจจะกับโลภะก็ดี
    โทสะกับอุทธัจจะ
    อุทธัจจะกับโทสะ
    โมหะกับอุหธัจจะ
    อุทธัจจะกับโทสะ
    โมหะกับอุทธัจจะ
    อุทธัจจะก้บโมหะก็ดี
    มานะกับอุทธัจจะ
    อุทธัจจะกับมานะก็ดี
    ทิฏฐิกับอุทธัจจะ
    อุทธัจจะกับทิฏฐิก็ดี
    วิจิกิจฉากับอุทธัจจะ
    ถีนะกับวิจิกิจฉาก็ดี
    ถีนะกับอุทธัจจะ
    อุทธัจจะกับถีนะก็ดี
    อหิริกะกับอุทธัจจะ
    อุทธัจจะกับอหิริกะก็ดี
    อโนตตัปปะกับอุทธัจจะ
    อุทธัจจะกับอโนตตัปปะก็ดี
    โลภะกับอหิริกะ
    อหิริกะกับโลภะก็ดี
    โทสะกับอหิริกะ
    อหิริกะกับโทสะก็ดี
    โมหะกับอหิริกะ
    อหิริกะกับโมหะก็ดี
    มานะกับอหิริกะ
    อหิริกะกับมานะก็ดี
    ทิฏฐิกับอหิริกะ
    อหิริกะกับทิฏฐิก็ดี
    วิจิกิจฉากับอหิริกะ
    อหิริกะกับวิจิกิจฉาก็ดี
    ถึนะกับอหิริกะ
    อหิริกะกับถิ่นะก็ดี
    อุทธัจจะกับอหิริกะ
    อหิริกะก็ดี
    อโนตตัปปะกับอหิริกะ
    อหิริกะกับอโนตตัปปะก็ดี
    โลภะกับอโนตตัปปะ
    อโนตตัปปะกับโลภะก็ดี
    โทสะกับอโนตตัปปะ
    อโนตตัปปะกับโทสะก็ดี
    โมหะกับอโนตตัปปะ
    อโนตตัปปะกับโมหะก็ดี
    มานะกับอโนตตัปปะ
    อโนตตัปปะกับมานะก็ดี
    ทิฏฐิกับอโนตตัปปะ
    อโนตตัปปะก็บทิฏฐิก็ดี
    วิจิกิจฉากับอโนตตัปปะ
    อโนตตัปปะกับวิจิกิจฉาก็ดี
    ถึนะกับอโนตตัปปะ
    อโนตตัปปะก็บถิ่นะก็ดี
    อุทธัจจะกับอโนตตัปปะ
    อโนตต์ปปะกับอุทธัจจะก็ดี
    อหิริกะกับอโนตตัปปะ
    อโนตต์ปปะกับอหิริกะก็ดี

    ธรรมเหล่านี้แลเป็นกิเลสด้วย ประกอบกับกิเลสด้วย ฯ
    ธรรมเหล่าไหนประกอบกับกิเลส แต่ไม่เป็นกิเลส แก้ว่า
    เวทนาขันธ์
    สัญญาขันธ์
    สังขารขันธ์
    วิญญาณขันธ์
    นอกจากธรรมที่ประกอบกับธรรมเหล่านี้เสียแล้ว
    ชื่อว่า ประกอบกับกิเลส แต่ ไม่เป็นกิเลส

    ธรรมเหล่าไหนไม่ประกอบกับกิเลส
    แต่ไม่ประกอบกับสังกิเลส แก้ว่า
    กุศลธรรม
    อัพยากตธรรมที่มีอาสวะ ที่ไม่ประกอบกับธรรมเหล่านั้น และ
    รูปขันธ์
    เวทนาขันธ์
    สัญญาขันธ์
    สังขารขันธ์
    วิญญาณขันธ์ ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจรเหล่านี้แล ไม่ประกอบกับกิเลส
    แต่ประกอบกับสังกิเลสฯ

    ธรรมเหล่าไหน ไม่ประกอบกับกิเลสด้วย
    ไม่ประกอบกับสังกิเลสด้วย แก้ว่า
    มรรค ผล นิพพาน ทั้ง ๓ ประการนี้
    ไม่ประกอบกับกิเลสด้วย
    ไม่ประกอบกับสังกิเลสด้วย ดังนี้
    สิ้นเนื้อความในพระบาลีเพียงเท่านี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2022
  20. เด็กชายปราบ

    เด็กชายปราบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2022
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +32
    อรรถกถา



    มีเนื้อความในอรรถกถา ที่ควรยกมาแสดงมีเพียงคำว่า
    การละกิเลสเหล่านั้นเท่านั้น กล่าวคือ
    กิเลสเหล่านั้น เมื่อว่าตามลำดับแห่งกิเลสแล้ว

    โลภะนั้น ย่อมละขาดไปด้วยมรรค ๔ ฯ
    โทสะนั้น ย่อมขาดไปด้วยอนาคามิมรรค ฯ

    โมหะกับมานะนั้น ย่อมละขาดไปด้วยอรหัตมรรค ฯ

    ทิฏฐิกับวิจิกิจฉานั้น ย่อมละขาดไปด้วยโสดาปัตติมรรค ฯ


    กิเลสอื่นๆ มีถีนะเป็นต้นนั้น
    ย่อมละขาดไปด้วยอรหัตมรรค ดังนี้

    เมื่อว่าตามลำดับมรรคก็ได้ ความว่า
    ต้องละทิฏฐิและวิจิกิจฉาด้วยโสดาบัตติมรรค ฯ
    ละโทสะด้วยอนาคามิมรรค ฯ
    ละกิเลสนอกจากนี้ทั้งสิ้นด้วยอรหัตมรรค ดังนี้

    กิเลสทั้ง ๑๐ นี้จัดเป็นจำพวกใหญ่แห่งกิเลส คือ เป็นที่รวมอยู่แห่งกิเลสอื่น
    หรืออีกอย่างหนึ่ง ว่า สิ่งที่เรียกว่ากิเลสแล้ว มีอยู่เพียง ๑๐ ประการ
    มีโลภะเป็นต้นเท่านั้น สิ้นเนื้อความในกัณฑ์นี้เพียงเท่านี้.

    เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้ ๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2022

แชร์หน้านี้

Loading...