โทษแห่งปาณาติบาต........( เราต้องถูกตัดศีรษะมาแล้วถึง ๔๙๙ ชาติ ).................

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 8 เมษายน 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,173
    [​IMG]

    <!--images-->โทษแห่งปาณาติบาต



    .......การทำลายชีวิตผู้อื่นแม้เพียงครั้งเดียว ผลที่ตามมากลับหนักหนาสาหัสอย่างคาดไม่ถึง จึงเกิด
    เรื่องราวอันน่าสะเทือนใจของผู้ที่ต้องชดใช้ความผิดด้วยชีวิตของตน ครั้งแล้วครั้งเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่า


    มตกภัตตชาดก


    .......เมื่อครั้งอดีตกาล สมัยที่พระเจ้าพรหมทัตครองนครพาราณสี มีพราหมณ์ผู้หนึ่งซึ่งเป็นอาจารย์
    ที่มีชื่อเสียง มีความคิดที่จะบวงสรวงดวงวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้วโดยใช้แพะเป็นเครื่องสังเวย

    พราหมณ์ผู้นั้นจึงได้ให้เหล่าศิษย์ไปจัดหาแพะมาตัวหนึ่ง แล้วสั่งว่า " พวกท่านจงนำแพะตัวนี้
    ไปตกแต่งประดับประดาให้ดี "

    พวกศิษย์รับคำ แล้วนำแพะไปอาบน้ำยังแม่น้ำ หลังจากประดับตกแต่งแพะนั้นดีแล้ว ก็ปล่อย
    ให้แพะยืนพักอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ

    ขณะที่ยืนอยู่นั้น แพะได้ระลึกชาติเห็นกรรมเก่าของตน ที่ทำให้ต้องมาทนทุกข์ถึงเพียงนี้ และ
    เมื่อรู้ว่า วันนี้ตนจะพ้นจากความทุกข์นั้นแล้ว จึงเกิดความดีใจ หัวเราะขึ้นมาเสียงดังลั่น แต่แล้ว
    เมื่อกลับคิดว่า หากพราหมณ์ฆ่าตน พราหมณ์ย่อมจะต้องไปรับความทุกข์ เช่นที่ตนเคยรับมา คิด
    แล้วรู้สึกสงสารพราหมณ์นั้น จึงร้องไห้ออกมาด้วยเสียงอันดัง

    ศิษย์ของพราหมณ์ได้เห็นดังนั้น จึงถามแพะว่า

    " เพื่อนเอ๋ย เหตุใดท่านจึงหัวเราะ แล้วกลับร้องไห้ "

    แพะตอบว่า " เมื่อกลับถึงสำนักอาจารย์ของท่านแล้วค่อยถามเรา "

    ศิษย์ของพราหมณ์นำแพะกลับไปยังสำนัก พร้อมทั้งเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ให้กับพราหมณ์
    ผู้เป็นอาจารย์ฟัง

    พราหมณ์จึงถามแพะว่า " นี่ท่าน เพราะเหตุใดท่านจึงหัวเราะ และเหตุใดท่านจึงร้องไห้ "

    แพะได้หวนระลึกถึงกรรมที่ตนเคยกระทำไว้ แล้วตอบว่า " ท่านพราหมณ์ เมื่อก่อนเราก็เป็น
    พรมหมณ์เช่นท่าน เราได้ฆ่าแพะตัวหนึ่งเพื่อเป็นเครื่องสังเวย ในการบวงสรวงดวงวิญญาณ และ
    เพราะการฆ่าแพะเพียงตัวเดียวนั้น ทำให้เราต้องถูกตัดศีรษะมาแล้วถึง ๔๙๙ ชาติ และชาตินี้ คือ
    ชาติที่ ๕๐๐ จะเป็นชาติสุดท้ายแล้วที่เราจะถูกตัดศีรษะ เราเกิดความดีใจ ที่จะพ้นจากความทุกข์นี้
    เสียที เราจึงหัวเราะขึ้นมา แต่ที่ร้องไห้นั้นเป็นเพราะเราสงสารท่าน ถ้าหากท่านฆ่าเรา ท่านก็จะ
    ต้องทนทุกข์ ด้วยการถูกตัดศีรษะไปถึง ๕๐๐ ชาติ เช่นเดียวกับที่เราเคยเป็นมา "

    เมื่อได้ฟังดังนั้น พราหมณ์จึงกล่าวกับแพะว่า

    " ท่านอย่ากลัวเลย เราจะไม่ฆ่าท่าน "

    แต่แพะกลับกล่าวว่า " พราหมณ์ ไม่ว่าท่านจะฆ่าหรือไม่ฆ่าเรา วันนี้เราก็ไม่อาจพ้นจาก
    ความตายไปได้ "

    พราหมณ์จึงกล่าวต่อไปว่า " ท่านอย่ากลัวเลย เราจะคอยติดตามคุ้มครองท่าน "

    " พราหมณ์ บาปที่เราได้กระทำนั้น มีกำลังมากเกินกว่าที่ท่านจะคุ้มครองเราได้ "

    พราหมณ์ก็ยังยืนยันว่า " เราจะไม่ยอมให้ใครฆ่าท่าน "

    จากนั้นพราหมณ์ได้ปล่อยแพะให้เป็นอิสระ พร้อมกับพาเหล่าศิษย์ทั้งหลายออกติดตามคุ้ม
    ครองแพะนั้น

    เมื่อแพะถูกปล่อย ก็เดินตรงไปยังต้นไม้ ซึ่งขึ้นอยู่ที่หลังแผ่นหินแห่งหนึ่ง ขณะที่แพะกำลัง
    ชะเง้อเพื่อจะกินใบไม้ทันใดนั้นเอง ฟ้าก็ผ่าลงที่หลังแผ่นหินนั้น สะเก็ดหินชิ้นหนึ่งได้กระเด็น
    มาตัดคอแพะจนขาดไป

    การตายของแพะ ได้ทำให้ผู้คนทั้งหลายมาประชุมกันพูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พระโพธิสัตว์
    ซึ่งบังเกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ในที่นั้น ได้ปรากฏกายขึ้นในอากาศ พร้อมทั้งแสดงธรรมด้วยเสียงอัน
    ไพเราะว่า


    " สัตว์ทั้งหลาย เมื่อรู้ผลของบาปเช่นนี้
    ไม่ควรทำปาณาติบาต พึงรู้ว่าการเกิดนี้เป็นทุกข์
    สัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะว่าผู้มีปกติฆ่าสัตว์ ย่อมเศร้าโศก "


    เสียงหัวเราะและร้องไห้ในวันสุดท้ายแห่งชีวิตของแพะนั้น อาจช่วยผู้คนทั้งหลายให้รอดพ้น
    จากเภทภัยแห่งการผิดศีลได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แพะผู้มีน้ำใจ ผู้ได้สำนึกผิดแล้ว และได้รับการ
    คุ้มครองป้องกันเป็นอย่างดี ก็ยังมิอาจรอดพ้นจากความตายไปได้

    เพียงเพราะชาติหนึ่งที่หลงผิด ได้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต คุณภาพจิตใจจึงถูกทำลายจนตกต่ำเสื่อมทราม
    ไม่อาจรองรับความเป็นมนุษย์ได้ ต้องวนเวียนเกิดตายในร่างเดรัจฉาน ชดใช้บาปกรรมอย่างทุกข์
    ทรมานตลอดมา



    จากหนังสือ.....



    ศีล....เป็นที่ตั้งแห่งความดีงาม
     
  2. นืเฟร

    นืเฟร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2006
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +433
    โอ้โหงั้น 499 ชาติที่ผ่านมา ก็มีพราห์มมาตัดหัวแพะไป499คน คนละ 500 ชาติ คูณกันเข้าไป ปฏิกริยาลูกโซ่จาการกระทำเพียงครั้งเดียว butterfly effect
     

แชร์หน้านี้

Loading...