โครงการรากแก้วศาสนทายาท

ในห้อง 'งานบวช' ตั้งกระทู้โดย ujae, 30 พฤษภาคม 2007.

  1. ujae

    ujae เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2006
    โพสต์:
    208
    ค่าพลัง:
    +610
    โครงการรากแก้วศาสนทายาท

    มาร่วมใจกันปลูก.... รากแก้วศาสนทายาท
    ท่านร่วมเป็นพ่อแม่อุปถัมภ์ ลูกพระ ลูกเณร แล้วหรือยัง?

    ท่านผู้มีจิตศรัทธา ปรารถนาจะสั่งสมบุญ อันเป็นอริยทรัพย์แก่ตน และญาติมิตร โปรดร่วมเป็นพ่อแม่อุปถัมภ์ เพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองมั่นคงสืบไป
    โครงการปลูกรากแก้วศาสนทายาท ๑๙๙ รูป ถวายราชสักการะเนื่องในมหามงคลสมัยที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จเถลิงถวัลยสิริราชสมบ้ติ ครบ ๖๐ ปี วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ และทรงเจริญพระชนมายุ ๘๐ พรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โดยเลือกสรรสามเถรและพระภิกษุสงฆ์รวม ๑๙๙ รูป ถวายตัวต่อพระพุทธศาสนา และ รับทุนการศึกษาต่อเนื่อง เป็นเวลา ๑๐ ปี ตามหลักสูตรการศึกษาสงฆ์ นักธรรม-บาลี (เปรียญธรรม ๑-๙ ประโยค) และมหาวิทยาลัยสงฆ์ เป็นเงิน ๑๕๕,๕๙๙.๙๙ บาท/ทุน

    กองทุนปลูกรากแก้วศาสนทายาท วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
    โทร ๐-๒๓๑๘-๕๘๒๖-๗ โทรสาร ๐-๒๓๑๙-๑๑๒๓ หรือโอนเงินผ่านบัญชีเงินฝาก
    ชื่อบัญชี
     
  2. ujae

    ujae เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2006
    โพสต์:
    208
    ค่าพลัง:
    +610
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ชาวพุทธร่วมใจ ปลูกรากแก้วศาสนทายาท สืบสานศาสนธรรม

    พระภิกษุสามเณร เป็นบุคลากรทางพระพุทธศาสนาที่มีหน้าที่หลักในการสืบทอดและนำพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์มาอบรมเผยแพร่แก่ประชาชน ตลอดจนกระทำศาสนพิธีต่างๆ แต่ปัจจุบันศาสนทายาทเริ่มขาดแคลนทั้งปริมาณและคุณภาพ ทั้งมีวัดร้างเพิ่มขึ้น วัดหลายแห่งที่มีความพร้อมพอได้พยายามแก้ปัญหานี้ในหลายวิธี

    วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก กรุงเทพฯ ก็ปรารภเหตุดังกล่าวเช่นกัน โครงการปลูกรากแก้วศาสนทายาท จึงเกิดขึ้นเมื่อปี ๒๕๔๖ โดยทางวัดซึ่งมี พระเทพญาณวิศิษฏ์ (อภิพล อภิพโล) เป็นเจ้าอาวาส ได้จัดกิจกรรมปลูกรากแก้วประหนึ่งเป็นการสร้างเสริมสังคมให้แข็งแรง ๓ โครงการด้วยกัน คือ โครงการปลูกรากแก้วของแผ่นดิน ปลูกรากแก้วทางศีลธรรม และปลูกรากแก้วศาสนทายาทขึ้นมา โดย พระศรีญาณโสภณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส กำลังสำคัญของโครงการ อธิบายให้ทราบดังนี้
    “เนื่องจากเป็นวัดใหม่ สร้างตามอุดมคติ ตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือเล็กแต่มีประสิทธิภาพ งานที่ทำจึงมีลักษณะ ๓ ประสาน คือทำอะไรจะต้องนึกถึงความร่วมมือระหว่างบ้าน ได้แก่ ผู้คน วัด ได้แก่ พระเณร และราชการหรือโรงเรียนอยู่ตลอดเวลา ทั้งสามองค์กรนี้คือเสาหลักสำคัญของสังคมไทย เราจึงตั้งหลักทำงานว่า ปลูกรากแก้วให้ชีวิต ปลูกความคิดให้สังคม โครงการที่เราทำทั้งสาม โครงการเป็นเรื่องของเยาวชนทั้งหมดเลย อย่างโครงการปลูกรากแก้วของแผ่นดินนี้ ก็จะไปเน้นที่เยาวชนทุกระดับการศึกษา โครงการปลูกรากแก้วทางศีลธรรม เน้นที่ครู พ่อแม่ ซึ่งก็จะเป็นตัวอย่างแก่เยาวชนอีกที โครงการที่ ๓ ปลูกรากแก้วศาสนทายาท เน้นเยาวชนที่เป็นพระ เป็นเณร ทั้งสามโครงการมีจุดหมายเหมือนกัน คือความกตัญญูรู้คุณ ที่จะก่อเกิดต่อแผ่นดินสังคม ความกตัญญูจะทำให้มีความดีต่างๆตามมา ทำให้เกิดการคืนกลับต่อสังคมในรูปแบบต่างๆกัน ตามบทบาทหน้าที่ของตน”

    โครงการทั้ง ๓ ได้ดำเนินไปพร้อมๆกัน นับแต่กรกฎาคม ๒๕๔๖ เป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการปลูกรากแก้วศาสนทายาทนั้นได้มีการเชิญชวนสาธุชนให้มาช่วยกันดูแลรับเป็นพ่อแม่อุปถัมภ์พระภิกษุสามเณร ให้ได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นที่ทราบและอนุโมทนาในคณะทำงานและผู้ร่วมโครงการฯ ว่า คุณโอสถ โกศิน อดีตรัฐมนตรีและภริยา คือ คุณหญิงลมุลศรี โกศิน พร้อมน้องๆ และญาติมิตร ได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการสร้างบุญกุศลนี้ นอกจากนั้นก็ยังมีองค์กรและประชาชนผู้ศรัทธาร่วมบริจาคและดำเนินการ ทำให้โครงการเป็นรูปเป็นร่าง และเกิดผลงานตามวัตถุประสงค์ชัดเจนในระยะเวลาไม่นาน

    คุณหญิงลมุลศรี โกศิน ได้กรุณาเล่าให้ “สกุลไทย” ฟังถึงที่มาแห่งบุญนั้นว่า
    “คืนหนึ่งดิฉันนอนไม่หลับ ก็เปิดวิทยุฟังช่วงธรรมะร่วมสมัย FM 100.5 ของ พันเอกทองขาว พ่วงรอดพันธุ์ โดยมี พระศรีญาณโสภณ มาพูดเรื่องวัดร้าง การขาดแคลนศาสนทายาท ฯลฯ ซึ่งวิธีที่จะแก้ก็คือ การช่วยกันสร้างและดูแลศาสนทายาท ดิฉันก็ปรึกษาสามี ท่านก็บอกว่าตามใจสิ เราก็ไปบริจาคประเดิมให้ และเรียนพระท่านว่า ที่ท่านพูดนั้น มันเป็นนโยบาย แต่จะทำได้สำเร็จคงต้องช่วยกันทุกฝ่าย

    ต้องมีคนมาช่วย เราทำงานกันอย่างจริงจัง วางโครงการต่างๆขึ้นมาให้วัดจัดตั้งสำนักงานในวัด มีเอกสารหลักฐานชัดเจน เราเริ่มกันจากตรงนี้ จากจุดเล็กๆ แต่มีความตั้งใจยิ่งใหญ่”

    เพียงปีแรกก็ได้เด็กมาเข้าโครงการถึง ๕๐๐ คน โดยได้รับความร่วมมือจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยความอนุเคราะห์ของ คุณหญิง ดร.กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้มีการคัดเด็กเรียนดี ความประพฤติดี ที่ประสงค์จะบวชมาเข้าโครงการนี้ด้วย ซึ่งการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย แบ่งเป็นหลักสูตรแผนกธรรม-บาลี หลักสูตรพระปริยัติธรรมสายสามัญ และการศึกษาทางเลือกใหม่ ซึ่งเน้นศึกษาคัมภีร์ไวยากรณ์โบราณต่างๆ

    การให้ทุนและดูแลจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะจบการศึกษา แต่ปี ๒๕๔๖ ที่เพิ่งเริ่มตั้งกองทุนนี้ เป็นช่วงเปิดภาคการศึกษาแล้ว จึงได้ประสานกับมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสอง แห่ง คือ มหาจุฬาฯ และ มหามกุฎฯ เพื่อคัดเลือกพระเณรที่กำลังศึกษาอยู่ทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์รับทุน ๑๕๐ รูป เพื่อให้สอดคล้องกับโอกาสครบ ๑๕๐ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณต่อการศึกษาสงฆ์ไทย เป็นการถวายพระราชกุศล โดยที่คณะกรรมการจัดการกองทุนได้พิจารณาแล้ว ว่ามีผู้บริจาคเข้ามาพอที่จะดำเนินการได้เลย

    ในปี ๒๕๔๗ ซึ่งตรงกับวโรกาส ๗๒ พรรษามหาราชินี คณะกรรมการฯ ได้จัดโครงการฯ นี้เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ถวายพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ด้วยการคัดเลือกศาสนทายาทไว้ ๗๓ รูป เข้ามารับทุนต่อเนื่อง ส่งให้เรียนจนจบการศึกษาขั้นสูงสุด

    ในการดำเนินงาน คณะกรรมการได้จัดประชุมเจ้าหน้าที่อาสาสมัครเป็นระยะ และเชิญ คุณจริย์ ตุลยานนท์ กรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา ไวยาวัจกรวัดพระราม ๙ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิ มาร่วมประชุมปรึกษา และรับทราบการดำเนินงานโดยตลอด จึงทำให้การทำงานต่างๆดำเนินไปด้วยดี ส่วน คุณโอสถ-คุณหญิงลมุลศรี ซึ่งเข้ามาโครงการนี้อย่างจริงจังตั้งแต่แรก ก็ได้บริจาคทรัพย์ และพยายามบอกบุญ เชิญชวนเพื่อนฝูง ญาติมิตรเข้ามาร่วมบุญและร่วมบริจาคเป็นจำนวนมาก ดังนั้น นอกจากการดำเนินการภายในประเทศแล้ว กองทุนปลูกรากแก้วฯ ยังสามารถมอบทุนแก่พระภิกษุไทยที่ศึกษาปริญญาโท ปริญญาเอก อยู่ที่อินเดีย คือ มหาวิทยาลัยพาราณสี ๕๔ รูป มหาวิทยาลัยเดลี ๒๖ รูป ด้วย และยังได้ถวายทุนการศึกษาต่อเนื่องแก่พระนักศึกษาไทยในพม่า ๔ ทุน สามเณรศากยะ ชาวเนปาลที่มาศึกษาปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยมหามกุฎฯ ๓ ทุนด้วย

    แม้จะยังวิตกกังวลกับการระดมทุน แต่โดยรวมแล้ว คุณหญิงลมุลศรี ก็รู้สึกปีติที่ได้เห็นรากแก้วนี้เติบโต และมีผู้ใจบุญช่วยกันหล่อเลี้ยง เพื่อให้ต้นไม้ซึ่งเปรียบประดุจสังคมหยัดยืน อันเป็นผลจากการมีรากแก้วที่แข็งแรง

    ถือได้ว่าการเกิดขึ้นของงานปลูกรากแก้วศาสนทายาทนี้ เกิดจากจุดเล็กๆ จุดหนึ่ง ทั้งฝ่ายพระ ฆราวาส ที่ต้องการรวมพลังชาวไทย ชาวพุทธ ให้หันมาสนับสนุนการศึกษาสงฆ์ เพื่อสร้างศาสนทายาทที่มีคุณภาพและคุณธรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินการฝ่ายฆราวาส คุณหญิงลมุลศรีผู้เป็นจุดเล็กๆจุดต้นๆใคร่ที่จะเชิญชวนผู้สนใจมาร่วมต่อจุดกันต่อๆไป โดยจะเป็นพ่อแม่อุปถัมภ์หรือสนับสนุนทั่วๆไปตามศรัทธา ได้ที่กองงานปลูกรากแก้วฯ วัดพระราม ๙ หรือโทร. ๐-๒๓๑๘-๕๙๒๖-๗ โทรสาร ๐-๒๓๑๙-๑๑๒๓ นอกจากนี้ ยังต้องการอาสาสมัครมาร่วมกันทำงานด้วย

    คณะกรรมการได้กำหนดคุณสมบัติของเยาวชนที่จะเข้าสู่โครงการฯ ไว้หลายประการ ต้องเรียนดี ความประพฤติดี มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะบวช ศึกษาปฏิบัติในร่มกาสาวพัสตร์ คณะทำงานจะทำทะเบียนประวัติไว้อย่างชัดเจน เป็นบันทึก ๓ เล่มมอบแก่สามเณร พ่อแม่อุปถัมภ์ และวัดต้นสังกัด มีการจัดอบรม จัดหาที่เรียนที่เหมาะสม และผู้อุปถัมภ์ดูแลต่อไป โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากมหาเถรสมาคม และพระเถรานุเถระผู้ใหญ่ด้วยดี และเป็นที่น่ายินดี เมื่อความทราบถึง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณารับโครงการนี้ไว้ในการดูแลของมูลนิธิชัยพัฒนาด้วย

    คุณหญิงลมุลศรี เป็นบุตรี ขุนเลิศดำริห์การ อดีตนายกเทศมนตรีกรุงเทพฯ เจ้าของห้างจาตุรงคอาภรณ์ สามยอด ซึ่งถือเป็นห้างแรกของสังคมไทยยุคนั้น ขุนเลิศดำริห์การเป็นนายกหอการค้าไทยคนแรก (ต่อมาเรียกว่า ประธานหอการค้าไทย) มารดาของคุณหญิงคือ คุณนายระเบียบ คุณหญิงได้รับการศึกษาจากวัฒนาวิทยาลัย ST. Marry's (SPG) เตรียมอุดมศึกษา และเป็นบัณฑิตคณะบัญชี จุฬาฯ ทำงานธนาคารแห่งประเทศไทยเพียงปีเดียว ก็สมรสกับ คุณโอสถ โกศิน บุตร คุณพระยุติชาญดำรงเวทย์ เป็นตระกูลนักกฎหมาย อดีตนั้น คุณโอสถรับราชการแล้วออกมาทำธุรกิจส่วนตัว เป็นผู้บุกเบิกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยุคต้นๆ โดยได้ซื้อวังบูรพาภิรมย์ มาพัฒนาทำศูนย์การค้า โรงภาพยนตร์ และจัดสรรที่ดินเพื่อสร้างอาคารพาณิชย์ต่างๆ ซึ่งคุณหญิงในฐานะนักบัญชี ก็มีส่วนในการทำธุรกิจของสามีด้วยเช่นกัน ต่อมาคุณโอสถได้รับการทาบทามให้มาทำงานราชการ โดยเป็นกรรมการ BOI (Board of Investment) หลังจากนั้นทำงานที่กรมส่งเสริมการส่งออก และได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในสมัย จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาในสมัย ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี คุณโอสถได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

    ชีวิตแม่บ้าน ภริยารัฐมนตรี และนักธุรกิจ ดำเนินมาอย่างราบรื่น ภาพวัยเยาว์ที่เคยช่วยมารดาอบร่ำผ้า ทำอาหาร ช่วยคุณย่าห่อใบตองทำกับข้าวใส่บาตร ภาพชีวิตนักเรียนประจำ การศึกษาเล่าเรียนที่สนุกสนาน ความเอาใจใส่ดูแลอย่างดีของพ่อแม่ เป็นความทรงจำที่หล่อเลี้ยงใจให้เป็นสุขเสมอ ยามนี้คุณหญิงลมุลศรีสุขใจมากขึ้น เมื่อได้รำลึกถึงบุญใหญ่ที่กระทำ มีความสุขที่ญาติมิตรเพื่อนฝูง ตลอดจนพุทธศาสนิกชนทั่วไป ได้ร่วมกันปลูกรากแก้วฯ คุณหญิงตั้งข้อสังเกตชีวิตของท่านให้เราฟังว่า

    “ดิฉันเกิดมาก็คงเหมือนคนไทยทั่วไปนะคะ ก็ทำบุญสุนทาน ตักบาตร ไปวัดกับผู้ใหญ่ อะไรทำนองนี้ ไม่ได้เคยคิดถึงพระพุทธศาสนาว่าเป็นเลือด เป็นเนื้อ เป็นชีวิต อยู่คู่กับบ้านเมือง เราเป็นคนไทย เกิดในแผ่นดินไทย ก็เท่านี้ จนกระทั่งเราอายุมากแล้ว เราก็คิดว่า เอ๊ะ! ชีวิตเรานี้ เราผ่านทุกอย่างมาด้วยดีนี่ เพราะอะไรล่ะ? ก็เพราะเราไม่ได้ทำชั่ว แล้วเราพยายามทำดี เวลาเราเดือดร้อนมีปัญหาอะไร เราก็เรียนรู้ที่จะอยู่นิ่ง ใช้สติ ใช้ปัญญา อดทน ตามที่พ่อแม่สั่งสอนมา ต่อมาไม่กี่ปีมานี้ คุณสุรธัช บุนนาค (บุตรชายท่านผู้หญิงมณีรัตน์) เธอชวนทำบุญสร้างพระไตรปิฎก ฉบับอักษรโรมัน ที่จุฬาฯ ก็ทำไป ทั้งๆที่ยังไม่รู้ความสำคัญอะไรนัก แล้ววันหนึ่งเธอก็ชวนไปฟังบรรยายเกี่ยวกับพระไตรปิฎก ที่จุฬาฯ ฟังแล้วรู้สึกเลยว่าเรานี่โง่มานานหนักหนา ปล่อยเวลาให้ผ่านไปทั้งชีวิต ดูเถอะ! ได้ความรู้มากมาย พุทธประวัติก็จับใจ พระธรรมวินัยต่างๆ ประมวลกิริยามารยาทคุณธรรมต่างๆไว้ทั้งสิ้น ก็ปลื้มใจมาก ทีนี้ก็มาประจวบกับได้ฟังโครงการปลูกรากแก้วฯ ทางวิทยุ ก็เอาเลย ซึ่งก็มีที่มาแต่เดิมด้วยนะคะ คือเราได้เคยไปกราบและฟังธรรมจากพระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ ปยุตฺโต) มาก่อน หลายปีมาก ท่านก็ปรารภเรื่องศาสนทายาทนี่แหละ แล้วใครจะช่วยได้ล่ะ? ก็ต้องพุทธบริษัทเรานี่แหละช่วยกัน เมื่อได้มาประจวบกับโครงการปลูกรากแก้วฯ เข้าเช่นนี้ เมื่อแรกเริ่มบอกบุญเพื่อนฝูง น้องๆ ญาติมิตร ผู้คนที่นับถือ ดิฉันก็พิมพ์หนังสือของท่านเจ้าคุณแจกเลย แนบจดหมายน้อยของดิฉัน เป็นสารจากลมุลศรีไปด้วย...เมื่องานลุล่วงไปได้ระยะหนึ่ง ทางเราก็ได้ไปกราบถวายรายงานท่านเจ้าคุณฯ ที่วัดญาณเวศกวันด้วย ก็ปลื้มใจนะคะที่ชาวพุทธเรามีความห่วงใย และเห็นคุณค่าพระพุทธศาสนาไม่น้อย ช่วยกันเถอะค่ะ

    คนละไม้คนละมือตามที่ท่านจะทำได้ ดิฉันต้องขอบพระคุณทุกท่านที่ร่วมบุญร่วมทำงาน มีมากมายทั้งองค์กรและบุคคล ที่สำคัญ ท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวนิช ซึ่งท่านได้เข้ามาช่วยเหลือดูแลการปลูกรากแก้วฯ นี้อย่างเต็มกำลัง ทำให้ได้รับความร่วมมือร่วมใจจากหลายฝ่ายมากขึ้น”

    ในวัยปลายของชีวิต นอกเหนือจากการได้อยู่สุขสงบ สุขสภาพแข็งแรง การได้ทำประโยชน์ต่อแผ่นดิน โดยเฉพาะได้ค้ำจุนพระพุทธศาสนา ถือได้ว่าเป็นผู้มีบุญ ซึ่งหากได้มองย้อนไปในช่วงชีวิตที่ผ่านมาของท่าน ก็ถือได้ว่าเป็นดั่งนั้นจริงๆ

    เราทุกคนไม่รู้วันพรุ่ง แต่สิ่งที่ทำในวันนี้ย่อมส่งผลต่อวันพรุ่ง รอยยิ้มละมุน ปรากฏบนใบหน้าอิ่มเอิบของผู้ปีติในสิ่งที่เลือกเดิน เลือกทำ ซึ่งคงจะไม่มีคำกล่าวใดจะเหมาะสมเท่าธรรมทัศนะของพระศรีญาณโสภณ ที่ว่า

    “ชีวิตคือต้นทุนที่ทุกคนมีเท่ากัน การลงทุนต่ออายุของผืนแผ่นดินที่เราอยู่อาศัย ให้เรามีความสุขร่มเย็น การลงทุนสร้างคนสืบต่ออายุศาสนาของพระพุทธเจ้าที่สอนให้เราเป็นคนดี มีความสุข เป็นการลงทุนที่มีแต่กำไรงาม เพราะเป็นบุญนิธิที่ฝังไว้ในพระพุทธศาสนา และผืนแผ่นดินไทยโดยแท้”

    http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=3674&stissueid=2629&stcolcatid=2&stauthorid=112</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. ujae

    ujae เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2006
    โพสต์:
    208
    ค่าพลัง:
    +610
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>โครงการที่สำคัญอีกโครงการหนึ่งที่ได้ไปร่วมพิธีแจกทุนที่วัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษกเมื่อวันที่ 15 ต.ค. นี้คือ โครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์สามเณร ณ ห้องประชุมโรงเรียนพระรามเก้าฯ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ พระธรรมวโรดม กรรมการพระเถรสมาคม เป็นองค์ประธานในพิธี พลอากาศตรีกำธน สินธวานนท์ องคมนตรีประธานกรรมการโครงการทุนเล่าเรียนหลวงฯ ท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวนิช ประธานกองทุนปลูกรากแก้วศาสนทายาทฝ่ายคฤหัสถ์ ม.ล.สมศักดิ์ กำภู ประธานกรรมการจัดงานถวายทุนปลูกรากแก้วศาสนทายาทครั้งที่ 9 พระภิกษุสามเณรจำนวน 199 รูป (เดือนละ 9 ทุน) ในมหามงคลวโรกาสเฉลิมฉลองครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดยถวายทุนการศึกษาต่อเนื่องตลอดหลักสูตรเปรียญธรรม 9 ประโยค และ มหาวิทยาลัยสงฆ์ จัดทุกปีต่อเนื่องมาตั้งแต่ 2546

    โครงการปลูกรากแก้วศาสนทายาท พระศรีญาณโสภณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก ผู้มีผลงานเขียนหนังสือธรรมะมากมาย ใช้นามปากกาว่าปิยโสภณ ท่านสำเร็จการศึกษาเปรียญธรรม 9 ประโยค ปริญญาตรีศาสนศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ปริญญาโท ศาศนศาสตร์มหาบัณฑิต โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณทุนการศึกษาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ไปศึกษา ณ School of Oriental and African Studies มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้เริ่มให้ทุนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 จัดทุนทั่วประเทศกว่าหนึ่งพันทุน ส่งไปศึกษาที่ประเทศอินเดีย พม่า ศรีลังกา และ จะขยายไปถึงอังกฤษด้วย เรียกว่าทุน "โครงการปลูกรากแก้ว ศาสนทายาท ของวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก" สนใจร่วมบริจาค โปรดติดต่อ พระเทพญาณวิศิษฏ์ ประธานกองทุน วัดพระราม 9 โทรศัพท์ 01-902-1820

    พระศรีญาณโสภณ เกิดวันที่ 15 พฤศจิกายน 2505 ที่จังหวัดอุดรธานี บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 12 ปีที่บ้านเกิด แล้วย้ายเข้าศึกษาต่อ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดบวรฯ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยาลัยปกครอง วิทยากรอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ฯลฯ เป็นผู้นำโครงการ "ปลูกรากแก้วศาสนทายาท" ของวัดพระราม 9


    คัดลอกบางส่วนจาก
    http://thaila.us/index.php?option=com_content&task=view&id=636&Itemid=43&date=2007-02-01</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...