"โกยโป๊ะ"กับชีวิตใหม่ที่"โล๊ะไม้อ้อ" ความมั่นคงทางทรัพยากรที่รัฐต้องการ

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 19 กุมภาพันธ์ 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,173
    [​IMG]"โล๊ะไม้อ้อ" เป็นชื่อหมู่บ้านใหม่บนพื้นราบ ถูกเนรมิตขึ้นมาราวกับอยู่บนยอดดอย ทอดสายตาไปทางไหนเห็นคนไทยชาวเขาทุกเพศทุกวัยแต่งกายด้วยชุดผ้าทอหลากสีสันอยู่ทั่วทุกสารทิศบริเวณเนื้อที่นิคมเศรษฐกิจพอเพียง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ แม้จะถูกจำลองให้ละม้ายพื้นที่สูงมากที่สุด แต่วิถีชีวิตของชาวเขาที่ต้องอพยพลงมาอยู่ที่นี่ ยังเต็มไปด้วยความสับสน เป็นจุดเปลี่ยนที่ต้องใช้เวลาปรับตัวอีกนาน และไม่มีใครรู้ว่า จะนานอีกแค่ไหน

    "เจ้าหน้าที่บอกว่าถ้าอยู่บนดอยต่อไปน้ำจะแห้ง กลัวไม่มีน้ำใช้จึงย้ายลงมา แต่ฉันชอบข้างบนมากกว่า ที่นั่นเป็นบ้านเกิดของฉัน อากาศดี เย็นสบาย มีพื้นที่ให้ทำกินเยอะ ได้ทำข้าวไร่ อยู่ที่นี่มีพื้นที่ทำกินน้อย ได้ปลูกผักกินแค่นิดหน่อยเท่านั้น ไม่ค่อยจะพอกิน เขาบอกว่า ถ้าไม่มีใครอยู่ข้างบนแล้ว เขาจะดูแลต้นน้ำ ดูแลป่าได้สะดวก แต่ระหว่างที่เราอยู่เราก็ดูแลรักษาเหมือนกัน" โกยโป๊ะ ศรหยกภูษิต ผู้เฒ่า เผ่ากะเหรี่ยงดอยขุนตื่น สนทนากับผู้ไปเยือนอย่างกระท่อนกระแท่น ด้วยภาษาไทยที่ไม่ชัดเจนนัก

    พ่อเฒ่าและครอบครัว ถูกย้ายมาอยู่บนพื้นราบแล้วเป็นเวลา 1 ปี ทุกวันนี้เขายังสับสนกับการใช้ชีวิตในพื้นที่ราบ ไม่ได้มีความสุขเหมือนกับคำชักจูงของเจ้าหน้าที่ตอนที่ไปพาพวกเขามาอยู่ที่นี้เมื่อ 1 ปีก่อน จะปลูกอะไรอย่างที่เคยทำมาก็ทำไม่ได้
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) มีนโยบายให้ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงที่อยู่ในโครงการนำร่องจาก 5 หมู่บ้าน คือ ลำบี้ ยอแหละ ฮะอัน ขุนตื่น และห้วยหมี จาก 330 ครัวเรือน อพยพลงมาอยู่บนที่ 1,800 ไร่ บนนิคมเศรษฐกิจพอเพียง และเหลือไว้รองรับชาวเขาจำนวน 500 ไร่ สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยและประทังชีวิต สำนักงานการปฏิรูปที่ดิน (สปก.) เข้ามาอำนวยความสะดวกในเรื่องสถานที่ โดยจัดสรรพื้นที่ให้ครอบครัวละ 2 ไร่ เป็นพื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพอีกอย่างละ 1 ไร่

    โครงการนี้ เป็นความภาคภูมิใจของ ยงยุทธ ติยะไพรัช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยิ่งนัก เขายืนยันอย่างหนักแน่นผ่านการให้สัมภาษณ์กับสื่อหลายแขนง รวมทั้งเวทีปราศัยเกือบทุกแห่ง ว่าป่าที่สมบูรณ์กับคน จะอยู่ร่วมกันไม่ได้ พร้อมทั้งตั้งปณิธานอย่างหนักแน่นว่า จะทำทุกวิถีทางเพื่อเก็บรักษาป่าที่อุดมสมบูรณ์ของประเทศเอาไว้ ทั้งนี้ การอพยพผู้คนออกมาจากป่า จึงเป็นวิธีการและขั้นตอนสำคัญในการอนุรักษ์ป่า ตามแนวการอนุรักษ์ของรัฐบาลชุดนี้

    "หลายคนที่ลงมาแล้วเขาอยู่อย่างไร้ความหวัง พื้นที่ทำกินแค่นี้ไม่เพียงพอหรอก เขาอยู่ข้างบนมีพื้นที่ทำกินกว้างขวาง อย่างน้อยแต่ละครอบครัวก็มีพื้นที่ทำกิน 6-7 ไร่ต่อปี สามารถทำไร่ ทำนา และปลูกพืชหมุนเวียนได้ตลอด แต่ที่นี้ต้องทำทุกอย่างอย่างจำกัดหมด เพราะเรามีที่อย่างจำกัด" คัมภีร์ สมัยอาทร สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลอมก๋อย อดีตชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ที่มาแต่งงานอยู่กินกับคนพื้นราบหมู่บ้านยางเปาเหนือมาเป็นเวลา 10 ปี อาสาเล่าแทน ผู้เฒ่าโกยโป๊ะ ผู้เป็นญาติที่ยังไม่ถนัดพูดและฟังภาษาไทยมากนัก

    "ผมเคยอยู่แม่ตื่น มาก่อน จึงรู้วิถีชีวิตชาวเขาดี บางช่วงที่เขาหยุดจากการทำไร่ทำนา ผู้หญิงก็จะทอผ้าเก็บไว้ใช้เองหรือเพื่อให้คนที่รัก ส่วนผู้ชายก็เข้าป่าหาพืชผักมาเลี้ยงครอบครัว ครั้นเดือนธันวาคม ไปจนถึงเดือน กุมภาพันธ์ ของทุกปี ก็จะมีพิธีแต่งงานของชาวเขา" คัมภีร์เล่าย้อนอดีต ถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นบนที่สูง

    ชาวเขาที่ย้ายลงมาอยู่บนพื้นราบแล้วมีจำนวน 40 ครัวเรือน และจะทยอยลงเรื่อยๆ จากทั้ง 5 ตำบล โดยการขนย้ายจากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์พืช ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บางคนที่ลงมาแล้วก็อยากกลับไปอยู่ที่เดิม ส่วนที่ยังไม่ลงมานั้นยังมีอีกจำนวนมาก แต่บางคนก็กระตือรือร้นอยากจะลงมา เพราะเกรงว่าต้นน้ำแม่ตื่นจะแห้ง และไม่พอใช้เหมือนที่รัฐบาลเคยขู่เอาไว้

    "วันนี้โกยโป๊ะและเพื่อนชาวเขายังสับสนกับการใช้วิถีชีวิตในรูปแบบใหม่ แต่หากรัฐบาลมุ่งช่วยเหลืออย่างเต็มที่ หาอาชีพรองรับให้เขาทำ เช่น ทำสวน เลี้ยงสัตว์ หรือทอผ้าขาย โดยหาตลาดและส่งเสริมด้านงบประมาณให้ การอยู่แบบพอเพียงแบบนี้ก็น่าจะมีความหวังสำหรับพวกเขามากยิ่งขึ้น และคิดว่าภายใน 2-3 ปีเขาอาจจะปรับตัวกับที่นี่ได้" คัมภีร์แสดงความคิดเห็นแทนคนที่นั่งล้อมวงอยู่ด้วยเวลานั้น

    ขณะที่คนอื่นพากันปิดปากเงียบ ต่างพากันนั่งนิ่ง และครุ่นคิดอย่างไม่มั่นใจในอนาคตของตัวเอง

    สุรพล ดวงแข

    เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

    "การย้ายชาวเขาออกจากพื้นที่นั้นไม่ได้แก้ปัญหาต้นน้ำมากนัก แต่เป็นการสร้างปัญหาสังคมที่ซับซ้อนในระยะยาว การเอาคนที่อยู่ในป่ามานานมาอยู่ที่ใหม่ก็เหมือนเป็นการทำลายป่าอีกที่หนึ่ง หากมีที่ทำกินไม่เพียงพอ ในที่สุดต้องไปหาอาชีพรับจ้างเพื่อความอยู่รอด จนไปเป็นลูกมือนายทุน หรืออาจจะถูกหลอกไปเป็นแรงงานในเมืองโดยไม่ได้รับค่าจ้างได้ ผมเคยเจอกรณีเดียวกันแบบนี้มาเยอะแล้ว เช่น ที่กาญจนบุรี หรือแม่ฮ่องสอน อันที่จริงประชาชนที่อยู่ในป่าอย่างคนกะเหรี่ยงหรือคนอีสาน เขาไม่รู้กฎหมายบ้านเมืองหรอก วิธีปลูกข้าวไร่ของกะเหรี่ยงนั้นไม่ได้เป็นการทำลายป่า และไม่ใช่ไร่เลื่อนลอย อย่างที่ทางราชการเข้าใจผิดมาตลอด แต่เป็นการทำไร่หมุนเวียน หากหยุดทำเมื่อไหร่ก็จะไม่มีข้าวกิน"
     

แชร์หน้านี้

Loading...