ขุนแผนพรายเรียกทรัพย์หลวงปู่แขกรูปหล่อท่านพ่อใยวัดมะขามจันทบุรีเหรียญลพ.รักษ์วัดน้อยแสงจันทร์

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 17 สิงหาคม 2022.

  1. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    8,027
    ค่าพลัง:
    +6,931
    ขอจองครับ
     
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353
    1694788873893.jpg

    หลวงพ่อเพชร วัดบ้านกรับ หรือ พระครูจันทสโรภาส อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านกรับ ตำบลดอนแสลบ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี หลวงพ่อเพชรพื้นเพท่านเป็นคนเพชรบุรีเกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ที่บ้านหนองส้ม ตำบลหนองส้ม อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ท่านมีนามเดิมท่านว่าหร่อง ฤกษ์งาม โยมบิดาชื่อนายเทียน ฤกษ์งาม โยมมารดาชื่อนางทองพูล ฤกษ์งาม ท่านเป็นบุตรคนสุดท้อง ในจำนวนพี่น้อง ๗ คนด้วยกันคือ
    ๑. นายทูป ฤกษ์งาม
    ๒. นายอาจ ฤกษ์งาม
    ๓. นายเอก ฤกษ์งาม
    ๔. นางง่วน ฤกษ์งาม
    ๕. นางเสย ฤกษ์งาม
    ๖. นางสอย ฤกษ์งาม
    ๗. หลวงพ่อเพชร
    ปี พ.ศ. ๒๔๗๐ หลวงพ่อเพชร ท่านมีอายุครบบวชพอดี โยมบิดาและโยมมารดาของท่านจึงนำท่านเข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดหนองส้ม ตำบลสระพัง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ได้รับฉายาว่า "จนทวโส" โดยมี
    หลวงปู่อ่อน วัดท้ายตลาด เป็นพระอุปัชฌาย์
    หลวงพ่อจัน วัดหนองส้ม เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้อยู่จำพรรษาอยู่ที่วัดหนองส้มเรื่อยมา เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยและนักธรรม จนได้รับสมณศักดิ์เป็นชั้นพระครู นอกจากนี้ ท่านยังได้ศึกษาวิชาวิปัสสนากรรมฐานและสมถกรรมฐาน จากหลวงปู่อ่อนและหลวงพ่อจัน ได้ทำความเพียรจนสำเร็จแตกฉานเป็นอย่างดี
    ปี พ.ศ. ๒๔๘๘ หลวงพ่อเพชร(หร่อง) ท่านก็ได้เดินทางไปจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านขู่ หรือ วัดอินทราราม ตำบลธงชัย อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ถวายตนเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อน้อย วัดบ้านขู่ ขอเรียนไสยเวทด้านเมตตามหานิยม เป็นเวลา ๕ พรรษา
    ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ท่านได้เดินทางไปยังวัดเขาบันไดอิฐ ตำบลไร่ส้ม อำเภอเมือง จังวหัดเพชรบุรี เพื่อขอศึกษาวิชาไสยเวท คาถาอาคมต่างๆ จากท่านพระครูญาณวิลาศ (หลวงพ่อแดง)
    หลวงพ่อหร่อง (หลวงพ่อเพชร) ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ ได้รับการถ่ายทอดวิชากรรมฐานและเวทมนตร์ต่างๆ จนจบสิ้น
    จากนั้นหลวงพ่อหร่อง ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อแก้ว วัดหัวนา ตำบลหนองโปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี เพื่อขอศึกษาเรียนวิชาเป่าใบไม้ และไสยเวทวิสุทธิ
    หลังจากสำเร็จวิชาต่างๆ แล้ว หลวงพ่อหร่องก็ได้ออกเดินธุดงค์เข้าป่าเมืองกาญจนบุรี เข้าอุ้มผาง จังหวัดตาก เข้าดงพญาเย็น แล้วย้อนกลับมาทางอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี จนเป็นที่รู้จักของชาวบ้านห้วยกระเจาและดอนแสลบเป็นอย่างมาก
    ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธาองค์พระภิกษุหร่องมาก ซึ่งขณะนั้นท่านยังเป็นพระลูกวัดอยู่ เมื่อกลับจากเดินธุดงค์แล้ว ได้เข้าพบหลวงพ่อน้อย วัดขู่ และได้ลาพระอาจารย์ไปจำพรรษาที่วัดโพธิ์ ตำบลบางเค็ม อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี เข้าฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อปู่ชื่น ปาสโส หรือท่านพระครูประสาทนวกิจ
    หลวงปู่ชื่น ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์อาวุโส มีวิชาคาถาอาคมจอมขมังเวทอีกองค์หนึ่ง หลวงพ่อหร่องได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์เป็นเวลานานหลายพรรษา ได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และฝึกฝนเวทมนตร์อยู่ตลอดมา
    ต่อมาหลวงพ่อจวน ปัญญาธีโป เจ้าอาวาสวัดบ้านกรับ ได้มรณภาพลง ทางวัดขาดผู้นำที่จะเป็นเจ้าอาวาส ด้วยแรงศรัทธาของชาวบ้านดอนแสลบที่มีต่อหลวงพ่อหร่อง เมื่อครั้งหลวงพ่อหร่องได้ธุดงค์มาโปรดชาวบ้านแถบนั้น
    ชาวบ้านจึงได้พร้อมใจกัน มีความต้องการให้พระภิกษุหร่องมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านกรับ จึงได้นำเรื่องเข้าปรึกษาแจ้งความต้องการของชาวบ้านให้ท่านพระครูประดิษฐ์ (หลวงพ่อทา) วัดห้วยกระเจา เจ้าคณะตำบลทราบ
    หลวงพ่อทาจึงได้เดินทางไปนิมนต์หลวงพ่อหร่อง ที่วัดโพธิ์ มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านกรับสืบต่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง
    วัดบ้านกรับ เป็นวัดราษฏร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๓ วัดได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ มีเจ้าอาวาสปกครองวัดตามที่มีการจดบันทึกไว้ดังนี้
    ๑. หลวงพ่อบ่าย
    ๒. หลวงพ่อจวน ปัญญาธีโป
    ๓. พระครูจันทสโรภาส หรือหลวงพ่อเพชร จนฺทวโส
    ๔. พระครูกาญจนประภากร (รัศมี)
    หลังจากที่หลวงพ่อหร่อง ท่านรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านกรับ ท่านก็ได้พัฒนาวัดอย่างสุดความสามารถ ทั้งการสร้างเสนาสนะต่างๆ จนวัดเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ
    นอกจากนี้ท่านยังส่งเสริมและสั่งสอนชาวบ้านกรับให้อยู่ในศีลในธรรม ประกอบสัมมาอาชีพสุจริต โดยท่านจะคอยช่วยเหลือชาวบ้านที่ตกทุกข์โดยไม่เลือกชนชั้น
    เมื่อหลวงพ่อหร่องมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านกรับท่านยังได้พบตำราสืบทอดวิชาคาถาอาคม ที่เขียนด้วยใบลาน ซึ่งตกทอดมาจากหลวงพ่อบ่าย ได้เก็บไว้ที่วัดบ้านกรับนี้ ตำราวิชาอาคมเหล่านี้ส่วนใหญ่หลวงพ่อบ่ายได้รับสืบทอดมาจาเกจิอาจารย์ต่างๆ ที่มีชื่อเสียงของหลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ก็มีอยู่เช่นกัน
    ทำให้หลวงพ่อหร่องได้รับตำรับตำราอาคมมากมาย ด้วยอาคมขลังของท่าน ทำให้ชาวบ้านเรียกกล่าวต่อกันว่า "หลวงพ่อที่มาจากเพชรน้ำมันศักดิ์สิทธิ์" บ้างก้ว่า "หลวงพ่อองค์ที่มาจากเพชรเจิมรถเก่ง" จนชาวบ้านเรียกติดปากว่า หลวงพ่อเพชรจนทุกวันนี้ ทั้งจังหวัดกาญจนบุรีก็เรียกหลวงพ่อเพชร
    ท่านเลยเปลี่ยนชื่อว่าหลวงพ่อเพชรมา สำหรับหลวงพ่อเพชร จนทวโส ท่านเป็นเจ้าคณะตำบลดอนแสลบ และเป็นพระอุปัชฌาย์ ศีลาจารวัตรบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว เคร่งครัดในพระธรรมวินัย
    เป็นที่ยอมรับนับถือ ทั้งจังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดใกล้เคียงท่านอาวุโสที่สุดในจังหวัดกาญจนบุรีท่านเปรียบเสมือนเพชรเม็ดงามที่สาธุชนทั้งหลายน่าเคารพนับถือ
    หลวงพ่อเพชร ปกครองวัดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ นับรวมสิริอายุได้ ๙๖ ปี ๗๖ พรรษา.
    วัตถุมงคลของหลวงพ่อเพชร วัดบ้านกรับ
    เหรียญหลวงพ่อเพชร วัดบ้านกรับ รุ่นแรก
    สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
    เหรียญหลวงพ่อเพชร วัดบ้านกรับ รุ่นปลอดภัย สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้ออัลปาก้าเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
    เหรียญหลวงพ่อเพชร วัดบ้านกรับ กาญจนบุรี รุ่นปลอดภัย 2537 อัลปาก้า
    เหรียญหลวงพ่อเพชร วัดบ้านกรับ กาญจนบุรี รุ่นปลอดภัย ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ เนื้ออัลปาก้า
    ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อเพชรครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูจันทสโรภาส (เพชร จนฺทวโส) ที่ระฤก ปลอดภัย" ที่พื้นเหรียญมีตอกโค้ด
    ด้านหลัง มีอักขระยันต์สี่แบบเดียวกับเหรียญของหลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ผู้เป็นอาจารย์ ขอบเหรียญมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดบ้านกรับ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี อายุ ๘๕ ปี พ.ศ. ๒๕๓๗
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญปลอดภัยหลวงพ่อเพชรวัดบ้านกรับ ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20230915_214435.jpg IMG_20230915_214457.jpg
     
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353
    FB_IMG_1694789495567.jpg
    ประวัติโดยสังเขปของพระครูปทุมกิจโกศล หลวงพ่อแสวง อริโย
    (พระเถราจารย์ที่ถูกแกล้งลืม)
    เขียนโดยน้าเทพ วสภ
    ที่กระผมนายเข็มทองกำลังจะเล่าให้ผู้อ่านฟังนี้เป็นความจริงทั้งหมดที่ถูกแกล้งลืมมานานมาก ไม่ต้องเชื่อผมก็ได้ครับ คิดว่าผมเล่านิยายให้ท่านผู้อ่านฟังก็ได้ครับ อย่าเชื่อผมจนกว่าท่านทั้งหลายจะได้เข้าไปกราบแทบเท้าหลวงพ่อครับ โดยผมจะเริ่มเล่าให้ฟัง ณ บัดนี้ครับ
    หลวงพ่อแสวง อริโยเกิดในตระกูลเจ้าพระยา เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีชวด พ.ศ. 2567 ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2467 ร.ศ.143 จ.ศ. 1286
    บ้านเกิด ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี บิดาชื่อ นายเล็ก มารดาชื่อ นางทรัพย์
    มีพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันรวม 7 คน คือ
    1. นางสาวสาย(ถึงแก่กรรม)
    2. นาวสาวโปรย(ถึงแก่กรรม)
    3. นายสิน
    4. ผู้ใหญ่มล(ถึงแก่กรรม)
    5. นายแจ้ง
    6. พระครูปทุมกิจโกศล เดิมชื่อ ?แจ่ม? แต่ชาวบ้านเรียกท่านว่า ?แสวง? เมื่อท่านอุปสมบทแล้วจึงเรียกติดปากตั้งแต่นั้นมา
    7. นายจำรัส เจนกระบวน
    โยมปู่ชื่อหลวงเจนกระบวนทิศ(ต้นนามสกุลเจนกระบวน) เป็นเชื้อสายชาวมอญที่เป็นแม่ทัพนายกอง ซึ่งมีวิทยาคมสูงส่ง เจ้าของตำราผงสิบสองนักกษัตริย์ พูดถึงผงสิบสองนักกษัตริย์หลายท่านอาจจะงง แต่ถ้าพูดถึงหลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ จ.ปทุมธานี และหลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกระฌอ จ.ชลบุรี ท่านคงจะหายสงสัย เพราะสมเด็จรุ่นแรกของหลวงปู่เทียน ที่ผสมผงสิบสองนักกษัตริย์ และสมเด็จรุ่นแรกของหลวงพ่อเริ่ม ก็มีราคาแพงเป็นที่ใฝ่หาของผู้ที่ดวงตก กำลังหาวัตถุมงคลเสริมดวง(รายละเอียดผงสิบสองนักกษัตริย์ หาอ่านได้ในประวัติหลวงปู่เทียนและหลวงพ่อเริ่ม) ผงสิบสองนักกษัตริย์นี้ การสร้างจะคล้ายๆกับผงพรายกุมารของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ถ้าอยากทราบครั้งหน้าผมจะอธิบายรายละเอียดการทำผงสิบสองนักกษัตริย์ให้ฟัง
    มาฟังประวัติของหลวงพ่อกันต่อครับ
    ในวัยเด็กของหลวงพ่อชอบตามโยมแม่ของท่าน ไปฝึกวิปัสสนากรรมฐานกับแม่ชีพันธ์ อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนา ซึ่งท่านเป็นลูกศิษย์เอกของท่านพ่อบันฑูรย์สิงห์ จังหวัดสมุครสาคร ถ้าเทียบเดี๋ยวนี้อำนาจฌาณสมาบัติของแม่ชีพันธ์ก็เทียบได้กับคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม วัดอาวุธ ซึ่งมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย หลวงพ่อท่านเคยเล่าให้ผมฟังว่าคนถูกผีเข้า พาเข้าไปหาแม่ชีพันธ์นั้นท่านแค่อธิษฐานจิตปลายนิ้วชี้ของท่าน ชี้ไปที่ร่างของผู้ถูกผีเข้า ผีถึงกับร้องโหยหวน แล้วรีบออกจากร่างไปอย่างรนราน หลวงพ่อท่านได้รับการฝึกวิปัสสนากรรมฐานจากแม่ชีพันธ์ตั้งแต่วัยเด็ก หลังจากนั้นโยมแม่ของหลวงพ่อจึงพาหลวงพ่อไปฝากเรียนหนังสือไทยและขอมกับหลวงพ่ออู๊ด วัดหัตถสาร จ.ปทุมธานี มาถึงตรงนี้ท่านคงงงๆกันอีกแล้วว่าหลวงพ่ออู๊ดท่านเป็นใครมาจากไหน หลวงพ่ออู๊ดเป็นศิษย์รุ่นใหญ่ของหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม จ.อยุธยา ซึ่งมีศักดิ์เป็นศิษย์รุ่นพี่ของหลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม ประวัติของหลวงพ่ออู๊ดไม่ค่อยจะได้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปนัก เพราะท่านเป็นพระที่ไม่ชอบอวดตัว คนส่วนใหญ่ถ้าพูดถึงศิษย์หลวงพ่อกลั่น มักจะนึกถึงหลวงปู่สี วัดสะแก หลวงปู่ใหญ่ วัดสะแก หลวงพ่อคอน วัดชัยพฤกมาลา แต่ลองมาฟังสิ่งที่ผมจะเล่าถึงในวันสุดท้าย ณ สำนักหลวงพ่อกลั่น ของหลวงพ่ออู๊ด วันนั้นในตอนบ่ายหลวงพ่อกลั่น เรียกหลวงพ่ออู๊ดเข้าไปหาแล้วบอกว่า ?ท่านอู๊ดวิชาที่ผมมีอยู่ผมได้สอนท่านไปจนหมดไส้หมดพุงแล้ว ถ้าคุณอยากจะก้าวหน้าต่อไปในเพศบรรพชิต คุณคงต้องหาที่ศึกษาเพิ่มเติมแล้วล่ะ? หลวงพ่ออู๊ดจึงถามหลวงพ่อกลั่นว่า ?หลวงพ่อครับ แล้วจะให้กระผมไปศึกษาต่อที่ไหนดีล่ะครับ ช่วยแนะนำผมด้วยครับ? หลวงพ่อกลั่นจึงตอบว่า ?ถ้าต้องการศึกษาต่อคงต้องไปหาหลวงพ่อหนู วัดชีปะขาวแล้วล่ะ(จ.อยุธยา) เดี๋ยวผมจะเขียนจดหมายฝากตัวคุณไปให้หลวงพ่อหนูด้วย? หลังจากนั้นหลวงพ่ออู๊ดก็ได้ออกจากสำนักของหลวงพ่อกลั่นพร้อมกับจดหมายฝากตัวที่หลวงพ่อกลั่นเขียนไว้ให้ เดินทางมุ่งหน้าสู่วัดชีปะขาวโดยลำพัง เมื่อถึงวัดชีปะขาวแล้วจึงนำจดหมายฝากตัวนี้ถวายให้หลวงพ่อหนูอ่าน เมื่อหลวงพ่อหนูอ่านแล้วก็ถามหลวงพ่ออู๊ดว่า ?คุณอยู่อารามไหนกัน? หลวงพ่ออู๊ดตอบว่า ?เกล้ากระผมอยู่วัดหัตถสารจังหวัดประทุมธานีครับ? หลวงพ่อหนูก็ถามต่อไปอีกว่า ?อ้าว! แล้วจะอยู่เรียนวิชากันอย่างไร? หลวงพ่ออู๊ดตอบว่า ?ผมจะเดินทางไปๆมาๆ เพื่อมาขอศึกษาต่อครับ? หลวงพ่อหนูตอบว่า ?เอ้อ อย่างนั้นไม่ต้องลำบากหรอก เดี๋ยวข้าจะไปหาเอ็งเอง ที่วัดของเอ็งมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่หนึ่งต้นใช่มั้ย? หลวงพ่ออู๊ดตอบว่า ?ใช่ครับหลวงปู่? หลวงพ่อหนูจึงตอบว่า ?เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ถ้าเอ็งไม่เข้าใจหรือติดขัดในวิชาใดๆ เอ็งไปรอข้าที่ต้นโพธิ์ใหญ่ พร้มกับจุดธูป 9 ดอก รำลึกถึงข้า ช้าจะไปหาเอ็งเอง? ท่านผู้อ่านครับเหมือนนิยายมั้ย แต่ฟังก่อนครับหลวงพ่ออู๊ดได้ต่อวิชาต่างๆจากหลวงปู่หนู วัดชีปะขาวจนจบคัมภีร์พระเวท ณ ที่ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่วัดหัตถสารนั้นเอง หลวงพ่อเล่าให้ผมฟังแบบนี้ ผมก็ไม่กล้าถามท่านต่อแล้วครับเพราะผมรู้ดีว่าพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าท่านมักจะสำเร็จวิชาย่นระยะทางโดยอาศัยพลังแห่งธาตุเป็นหลัก ซึ่งเราก็อาจจะหาอ่านได้ในนิตยสารพระเกจิต่างๆมากมาย ยกตัวอย่างเช่น หลวงพ่อปาน หลวงพ่อจง หลวงพ่อเดิม ฯลฯ ย้อนเข้ามาถึงเรื่องราวของหลวงพ่อต่อถึงตอนที่โยมแม่พาหลวงพ่อมาฝากเรียนหนังสือขอมและไทย โดยฝากไว้กับหลวงพ่ออู๊ด หลวงพ่อได้เรียนชั้นประถมที่วัดหัตถสารจากหลวงพ่ออู๊ดพร้อมเกร็ดวิชาต่างๆ จนเรียนจบแล้ว หลวงพ่อจึงได้บวชเณรอยู่กับหลวงพ่ออู๊ดที่วัดหัตถสารจนอายุใกล้ครบบวชพระ โยมแม่จึงขอร้องให้ไปบวชที่วัดใกล้บ้านคือวัดสว่างภพนั่นเอง หลวงพ่อได้อุปสมบท เมื่อปี พ.ศ.2487 ณ พัทธสีมาวัดสว่างภพ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี มีพระอธิการเฮ็ง สุมโนเป็นพระอุปัชฌาย์ พระวินัยธรหลุย เป็นพระกรรมวาจารย์และพระอธิการสวัสดิ์ โสตฺถิทตุโตเป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วได้รับฉายาว่า ?อริโย? และหลังจากได้อุปสมบทแล้วได้กลับไปขอศึกษาวิชาในสายหลวงพ่อกลั่นจากหลวงพ่ออู๊ดต่อ พร้อมกับไปฝากตัวกับพระเถราจารย์รุ่นเก่าอีกมากมายนับไม่ถ้วน พระเถราจารย์ที่หลวงพ่อแสวงได้ศึกษามีดังนี้
    1. หลวงพ่อเลื่อน วัดไผ่ จ.อยุธยา
    2. หลวงพ่อสมบุญ วัดสว่างภพ หลวงพ่อแสวงได้รับการถ่ายทอดวิชาแพทย์แผนโบราณ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 ? 2500 จนมีความรู้ความสามารถทางการแพทย์แผนโบราณเป็นอย่างดี
    3. หลวงพ่อโป๋ วัดวังแดง จ.อยุธยา
    4. หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ จ.อยุธยา หลวงพ่อแสวงได้รับการถ่ายทอดมาหลายวิชา
    5. หลวงพ่ออุ่ม วัดเจ้ากอ จ.อยุธยา
    6. หลวงพ่ออู๊ด วัดหัตถสาร จ.ปทุมธานี
    7. หลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง จ.อยุธยา
    8. หลวงพ่อโอภาส วัดพระศรีไกรน้อย บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา เก่งมากทางสักยันต์ คงกระพันชาตรี
    9. หลวงพ่อจง พุทธสโร แห่งวัดหน้าต่างนอก จ.อยุธยา ที่เราคงจะได้ต้องบรรยายอะไรมาก เพราะว่าทุกๆคนน่าจะรู้จักท่านดี มีเรื่องเล่าขันๆให้ท่านผู้อ่านฟัง วันหนึ่งผมอยากจะรู้ว่าในตะกรุดสิบหกดอกของหลวงพ่อจงลงอักขระเลขยันต์อะไรไว้ ผมจึงขับรถไปหาหลวงพ่อแม้น ที่วัดหน้าต่างนอก เมื่อไปถึงวัดทางสะดวกเลยครับ พระหลวงพ่อแม้นกำลังไม่มีแขกพอดี ผมจึงเรียนถามท่านว่า ?หลวงพ่อครับ ตะกรุดสิบหกดอกของหลวงพ่อจง ลงยันต์อะไรไว้ครับผมอยากจะทราบ? หลวงพ่อแม้นท่านตอบผมว่า ?เอ้อ! คุณโยมมาจากวัดไหน? ผมตอบท่านว่า ?ผมมาจากวัดสว่างภพ จ.ปทุมธานีครับ? หลวงพ่อแม้นท่านยิ้มแล้วตอบผมว่า ?โยมมาซะไกลเลยนะ ไปถามหลวงพ่อแหวงสิ เขาทันเรียนกับหลวงพ่อจงและใกล้ชิดกว่าฉันอีก? มาถึงตอนนี้ไม่อยากจะบรรยายความรู้สึกเลยครับหน้าแตก(หมอไม่รับเย็บเลยงานนี้) ผมรีบขับรถกลับไปวัดสว่างภพทันทีเพื่อไปกราบแทบเท้าหลวงพ่อแสวง ท่านจึงเล่าความจริงให้ผมฟังว่าท่านไปๆมาๆ ระหว่างวัดหน้าต่างนอกและวัดสว่างภพอยู่เป็นปี เพื่อต่อวิชากับหลวงพ่อจง จนหลวงพ่อจงเมตตามาอยู่ช่วยปลุกเสกวัตถุมงคลที่วัดสว่างภพเป็นเวลาถึง 7 วัน 7 คืน พร้อมกับมอบเหล็กจารไว้ให้หลวงพ่อ 1 อัน พร้อมกับผงพุทธคุณ 1 บาตรใหญ่ๆ เพื่อให้หลวงพ่อแสวงสร้างวัตถุมงคลเป็นรูปหลวงพ่อจงและพิมพ์สมเด็จเนื้อผง 1 รุ่น(ครั้งหน้าผมจะโม้ให้ฟังถึงวัตถุมงคลรุ่นนี้ พร้อมกับข่าวดีว่า ยังมีอยู่ที่วัดสว่างภพครับ)
    10. อาจารย์คง เป็นฆราวาสและเป็นศิษย์หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม จ.อยุธยา หลวงพ่อแสวงได้เรียนวิชาอาคมทางด้านคงกระพันแคล้วคลาดและเมตตามหานิยม เรียกได้ว่าครบเครื่อง
    11. อาจารย์หลำ เป็นฆราวาสมีอาคมแก่กล้าทางด้านคงกระพันชาตรี
    12. อาจารย์และพระเกจิอาจารย์ท่านอื่นๆอีกมากมาย แต่ไม่สามารถนำบอกกล่าวกันให้ฟังได้ครับ
    สรุป
    1. หลวงพ่อแสวงเป็นพระที่เก็บตัวไม่ชอบโอ้อวด
    2. เป็นพระเกจิอาจารย์ที่นั่งปรกตามพิธีพุทธาภิเษกมากกว่า 100 งาน แต่ไม่เคยขึ้นชื่อ เพราะว่า พอช่างภาพจะถ่ายรูปหลวงพ่อเดินหนีแล้วครับ(หนีอย่างเดียว)
    3. ตำรวจเก่าๆแถวประตูน้ำพระอินทร์ต้องขอร้องหลวงพ่อให้วางเข็มสัก และห้ามแจกตะกรุดกับเชือกคาด เพราะลูกศิษย์นอกคอกของหลวงพ่อทำให้ตำรวจต้องทำงานหนัก
    4. เป็นพระเกจิอาจารย์รูปเดียวที่นั่งปรกในพิธีของวัดประสาทบุญญาวาส ปี พ.ศ. 2505 และ พ.ศ. 2506 รูปเดียวที่ยังทรงสังขารอยู่(ตำนานที่ยังมีลมหายใจ)
    5. เป็นพระเกจิอาจารย์รูปเดียวที่นึ่งปรกในพิธีการสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหม ปี พ.ศ. 2509 และหลวงพ่อยังได้รับแจกสมเด็จพิมพ์คะแนนจากเจ้าอาวาสวัดบางขุนพรหมมาประมาณ 200 องค์(อยากได้ก็ไปตื้อกับหลวงพ่อกันเอาเองนะครับ งานนี้ผมไม่เกี่ยว)
    6. ตอนนี้ญาติโยมที่เป็นชาวมาเลเซียมาตื้อหลวงพ่อให้ขึ้นเครื่องไปโปรดญาติโยมที่มาเลเซีย ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าไปโดนอะไรกันเข้า เห็นบอกว่าถ้าหลวงพ่อไม่ไปมาเลเซีย จะจัดแพ็คเก็จทัวร์รอบพิเศษมากินนอนกันที่วัดสว่างภพกันเลยครับ(เอากันเข้าไป)
    7. มีพระชรารูปหนึ่งปัจจุบันมรณภาพไปแล้ว ซึ่งบวชรุ่นเดียวกันกับหลวงพ่อ เล่าให้ผมฟังว่าเคยแอบดูหลวงพ่อว่าท่านไปทำอะไรในโบสถ์ และเห็นหลวงพ่อเสกผ้าอาบน้ำฝนโยนลงกับพื้น ผ้าอาบน้ำฝนนั้นกลับกลายเป็นกระต่ายสีขาววิ่งรอบตัวหลวงพ่อ(เชื่อไม่เชื่อแล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละบุคคลแล้วกันนะครับ งานนี้ผมก็ไม่เกี่ยวอีกนั่นแหละ) แต่รู้ว่าตอนที่พระชรารูปนี้ท่านคุยกับผมท่านบอกว่าจะเอาอาตมาไปสาบาญที่ไหนก็ได้
    บทส่งท้าย
    ถ้าจะเล่าเรื่องประสบการณ์และอภินิหารของวัตถุมงคล ต้องขอยกยอดไว้เที่ยวหน้าแล้วกันนะครับ และถ้าอยากจะได้วัตถุมงคลของหลวงพ่อรุ่นเก่าๆ หรือเหรียญรุ่นแรกไม่ต้องติดต่อมาทางผมเลยนะครับ เพราะว่าตลอดสิบกว่าปีที่ผมเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อผมมีเหล็กจารที่หลวงพ่อได้ให้ไว้อันเดียวครับ และผมเองไม่เคยมีของหลวงพ่อไว้ขายเหมือนอย่างที่ลูกศิษย์ในสายอื่นเค้าทำกัน เพราะผมก็ไม่ได้ตั้งศูนย์พระเครื่อง อ้อ! เกือบลืมไป ล่าสุดนี้กรมศิลปากรได้จัดสร้างพระพิฆเนศ รุ่นที่สอง ทำพิธีปลุกเสกที่กรมศิลปากร บริเวณวังหน้า ทางกรรมการผู้จัดสร้างฝ่ายกรมศิลปากร โหวตรายนามพระเกจิอาจารย์ที่จะเข้านั่งปรกทั่วประเทศให้เหลือ 16 รูป หลวงพ่อแสวงคือหนึ่งในนั้นด้วยครับ
    เอาเป็นว่าเที่ยวหน้าถ้าผมมีเวลาจะมาโม้ให้ท่านฟังกันต่อนะครับ
    ขอความโชคดีมีชัยและจตุรพิธพรชัย จงมีแด่ทุกๆท่านครับ
    โชคดี งดเหล้าวันเข้าพรรษาโดยถ้วนหน้าครับ
    ตะกรุดโทนมหาอุตม์ ที่สุดหน้าทอง หมายปองมีดหมอเทพศาสตรา พญาสิงห์สุดคงทน แก้จนตะเพียนทอง พรั่งพร้อมกริ่งโบราณ อภินิหารหลวงพ่ออู่ทอง
    ประกาศ! วัตถุมงคลของวัดสว่างภพทุกชิ้นในขณะนี้เป็นของเก่าที่หลวงพ่อแสวงอธิษฐานจิตปลุกเสกไว้ให้อย่างเต็มที่ตลอดหลายไตรมาสก่อนมรณภาพ โดยมิได้มีการสร้างเสริมหรือสร้างใหม่แต่อย่างใด จึงขอแจ้งให้บรรดาศิษยานุศิษย์และผู้ที่เคารพนับถือในองค์หลวงพ่อแสวงทุกท่านทราบโดยทั่วกัน
    วัดสว่างภพ
    ต.คลองสี่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    อ่านเพิ่มเติม
    https://palungjit.org/threads/สืบสานบูรพาจารย์หลวงปู่แสวง-อริโย-ฝังตะกรุดทองคำและแบ่งปันประสบการณ์.157910/

    เหรียญถวายภัตตาหารหลวงพ่อแสวงวัดสว่างภพให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)
    IMG_20230915_214721.jpg IMG_20230915_214739.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2023
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353
    IMG_20210302_223925.jpg
    พระครูโสภณถิรคุณ (หลวงพ่อสุนทร จนฺทเถโร) เจ้าอาวาสวัดหนองสะเดา ต.หนองปลิง อ.หนองแค จ.สระบุรี ชาติกำเนิดเดิมเป็นชาวกัมพูชา ในตระกูล "วัฒนาสาคร" โยมบิดาชื่อ "คง วัฒนาสาคร" โยมมารดาชื่อ "ริม คงควร" เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๖ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาด้วยกัน ๕ คน คือ หลวงพ่อสุนทร จนฺทเถโร, นายจอน วัฒนาสาคร, นายหอม วัฒนาสาคร, น.ส.ราย วัฒนาสาคร และน.ส.สุวรรณ วัฒนาสาคร
    ครอบครัวของหลวงพ่อประกอบอาชีพทำนาและค้าขายในหมู่บ้าน สมัยนั้นท่านมักจะเที่ยวเล่นอยู่ในวัดตามประสาเด็กในชนบท จวบจนท่านอายุได้ ๑๒ ปี จึงได้ขอโยมบิดามารดาบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดเวียนเภา ต.โพธิ์เรียง อ.โพธิ์เรียง จ.ไปรแวง ประเทศกัมพูชา เมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเดิม โดยมีหลวงพ่อสุย ซึ่งเป็นสหายธรรมกับพระเทพรัตนากร วัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์

    เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่กับหลวงพ่อสุย ๑ พรรษา ในขณะเดียวกันบ้านเมืองกัมพูชาได้เกิดความแตกแยกและมีสงคราม ไม่เหมาะที่จะอยู่ปฏิบัติธรรม ประกอบกับเกิดความเบื่อหน่ายสังคมบ้านเมือง จึงคิดที่จะออกธุดงค์ เพื่อจะได้ไม่ต้องวุ่นวายหรือเกี่ยวข้องกับทางโลก ท่านได้ตัดสินใจออกจากบ้านเกิด โดยเดินธุดงค์มุ่งหน้าสู่เมืองไทย ผ่าน อ.ตาพระยา จ.ปราจีนบุรี
    ตลอดเส้นทาง ท่านได้แวะพักจำพรรษาตามวัดต่างๆ เช่น วัดหนองหัวลิง, วัดหนองตะเข้, วัดเสนานฤมิตร, วัดหนองตาน้อย, วัดกระทงลอย และวัดหนองสะเดา ต.หนองปลิง อ.หนองแค จ.สระบุรี

    ที่วัดแห่งนี้ท่านได้จำพรรษาเป็นการถาวร เพราะเห็นว่าเป็นสถานที่สงบ ไม่พลุกพล่าน เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม โดยอาศัยโบสถ์หลังเก่าเป็นที่จำพรรษา และประกอบกิจทางศาสนา ซึ่งขณะนั้นมีพระครูสุวรรณ เขมโก เป็นเจ้าอาวาส
    ต่อมาพระครูสุวรรณ ได้ลาสิกขา ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ท่านขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแทนจนถึงทุกวันนี้
    ขณะที่จำพรรษาอยู่ที่วัดหนองสะเดา ท่านได้รับความเมตตาและความไว้วางใจจากพระครูสรกิจพิจารณ์ (หลวงพ่อผัน) วัดราษฎร์เจริญ (วัดแปดอาร์) เช่น ให้ท่านลงอักขระตะกรุด และจัดทำเครื่องรางให้หลวงพ่อผันอยู่เสมอ
    หลวงพ่อสุนทร ได้ปฏิบัติศาสนกิจและบำรุงพระพุทธศาสนามาอย่างต่อเนื่อง จนปี ๒๕๓๘ ท่านได้ดำริที่จะก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเดิมที่ชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา แต่ยังขาดปัจจัยที่จะดำเนินการก่อสร้าง เนื่องจากเป็นวัดบ้านนอก ด้วยข้อจำกัดนี้ก็ไม่เป็นอุปสรรค ท่านตัดสินใจเดินหน้าก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ ด้วยคิดว่าเมื่อตั้งใจทำแล้วการใดที่เป็นบุญเป็นกุศลก็ต้องทำให้สำเร็จ

    ท่านบอกว่า หลังจากเริ่มก่อสร้างแล้วเหมือนปาฏิหาริย์ ได้มีคณะศิษย์ที่ทราบข่าวต่างร่วมอนุโมทนาและเป็นกำลังสำคัญในการดำเนินงาน จนการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี ๒๕๓๘ และได้เฉลิมฉลองจัดงานปิดทองฝังลูกนิมิตในปีต่อมา นับว่าหลวงพ่อสุนทร ท่านได้อุทิศทั้งแรงกายและแรงใจในการที่จะทำนุบำรุงและบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสมบัติและศาสนสถานไว้เป็นอนุสรณ์แก่คนรุ่นหลังสืบไป
    โดยปกติ หลวงพ่อสุนทร ท่านเป็นพระที่รักสันโดษ พูดน้อย ถ้าคนที่ไม่คุ้นเคยหรือใกล้ชิดมักจะฟังท่านพูดไม่ถนัด ต้องถามย้ำอยู่เสมอ
    แต่เป็นเรื่องแปลก ไม่ว่าท่านจะให้ศีลหรือให้พรผู้คนส่วนใหญ่จะได้ยินถนัด ด้วยน้ำเสียงดังฟังชัดเสมอ

    หลวงพ่อมีความเมตตามาก จะเห็นได้จากทุกครั้งที่ลูกศิษย์มากราบไหว้ท่าน และขอของดีจากท่าน ไม่ว่าจะเป็นตะกรุด หรือวัตถุมงคลใดๆ โดยเฉพาะ "สีผึ้ง" ที่ท่านหุงเอง ท่านจะหยิบให้เสมอ โดยไม่ต้องมีปัจจัยทำบุญแต่อย่างใด
    ขณะเดียวกัน โดยส่วนตัวของท่านเองก็ไม่นิยมสะสมทรัพย์สมบัติสิ่งของใดๆ ทั้งสิ้น รวมทั้งปัจจัยที่มีลูกศิษย์นำมาถวาย ท่านจะนำไปทำนุบำรุงพระศาสนาทั้งหมด โดยเฉพาะการอนุเคราะห์ค่าเล่าเรียนของพระภิกษุในวัดของท่านเอง และวัดละแวกใกล้เคียง ตลอดจนค่าใช้จ่ายภายในวัดและต่างวัด ท่านจะอนุเคราะห์หมดตามกำลังที่มีอยู่
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระสมเด็จจัมโบ้สรงน้ำหลวงพ่อสุนทรวัดหนองสะเดาปี 2551 ให้บูชาองค์ละ120 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    มี
    2 องค์(ปิดทั้ง2รายการครับ)
    องค์ที่ 1
    IMG_20230916_145311.jpg IMG_20230916_145336.jpg

    องค์ที่ 2

    IMG_20230916_150145.jpg IMG_20230916_150214.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2023
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353
    537979_502113269836583_1416408624_n.jpg
    หลวงพ่อประเทือง อติกฺกนฺโต พระครูวิทิตพัชราจาร วัดหนองย่างทอย
    (วัดเทพประทานพร) ต.หนองย่างทอย อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์
    ชาติภูมิ
    หลวงพ่อประเทือง อติกฺกนฺโต ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๑ (วันอาทิตย์ เดือนอ้าย ปีมะโรง) เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน ๕ คน ซึ่งเป็นชาย ๒ คน หญิง ๓ คน ของนายทำ นางมาก ยืนยง ณ บ้านคลองเม่า หมู่ที่ ๕ ตำบลโคนสะลุด อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี
    เริ่มการศึกษา
    เมื่อเจริญวัยสมควรได้รับการศึกษาได้แล้ว บิดามารดานำไปเข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนวัดคลองเม่า ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำหมู่บ้าน จนกระทั่งจบชั้นประถมปีที่ ๔ อันเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนในสมัยนั้น ครั้นจบการศึกษาแล้ว แม้จะมีความตั้งใจปรารถนาใคร่จะเล่าเรียนต่อก็ไม่มีโอกาสเนื่องจากฐานะทางครอบครัวยากจน ประกอบอาชีพกสิกรรม และไม่เอื้ออำนวยโดยประการทั้งปวงจึงอยู่ช่วยเหลือพ่อแม่ประกอบอาชีพเหมือนลูกหลานตามชนบททั่วไป ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการที่จะแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทิตาคุณต่อบุพพการีที่ได้โอบอุ้มอบรมเลี้ยงดู สั่งสอนมาด้วยความรัก ความเมตตาเอื้ออาทร และอีกประการหนึ่งก็เห็นว่าท่านเป็นบุตรคนสุดท้องที่พ่อแม่หวังจะได้พึ่งในบั้นปลายแห่งชีวิตต่อไปด้วย
    อพยพครอบครัว
    ในขณะที่อายุได้ ๑๔ ปี พ.ศ.๒๔๘๕ จังหวัดลพบุรีได้ประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ขึ้นโดยน้ำได้ท่วมหนักเป็นประวัติการณ์ถึงหลังคาบ้านไปทั่วทุกหมู่บ้าน ข้าวกล้านาล่ม เสียหายอย่างย่อยยับ แรงงานจากแรงคนที่ได้ลงแรงไป ก็มาสิ้นสลายไปกับสายน้ำอันหฤโหดอย่างหมดสิ้น ปลายทางที่ไม่มีจุดหมายปลายทาง หมดหนทางที่จะประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัวได้แล้ว บิดามารดา จึงใคร่ครวญตัดสินใจอพยพครอบครัวทิ้งถิ่นฐานบ้านช่องอันเป็นถิ่นกำเนิด โดยย้ายไปอยู่ที่ตำบล เขาช่องแค จังหวัดนครสวรรค์เพื่อเริ่มต้นชีวิต ทางเลือกใหม่ที่ดีกว่า
    สู่ร่มกาสาวพัสตร์
    เมื่ออพยพครอบครัวมาอยู่นครสวรรค์ ได้ประกอบสัมมาชีพ ยกฐานะครอบครัวมีชีวิตเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จนกระทั่งวันหนึ่ง บิดามารดาได้ปรารถนาที่จะให้ท่านได้บรรพชาเป็นสามาเณร เพราะเล็งเห็นว่า การบวชเณรเป็นโอกาสที่จะได้ศึกษาเล่าเรียนปฏิบัติธรรมวินัย ทั้งเป็นการผูกญาติสืบทอดพระพุทธศาสนาเป็นพระเพณีนิยมไปด้วย ซึ่งท่านเองเมื่อรู้เรื่องนี้แล้วก็ไม่ขัดข้องยินดีปฏิบัติตามความประสงค์ของบุพพการีทุกประการ
    บิดามารดา ได้นำไปบรรพชาที่วัดหนองแขม ต.ทุ่งทะเล อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ กับพระอาจารย์อ่อน เจ้าอาวาสวัดหนองแขม ผู้มีศักดิ์เป็นอาของท่าน ให้ช่วยดูแลอบรมสั่งสอน พระอาจารย์อ่อนรูปนี้เป็นพระสงฆ์ผู้คงแก่เรียน ทั้งเชี่ยวชาญด้านวิปัสสนากรรมฐานและแก่กล้าสรรพวิชาอาคมต่างๆอีกด้วย ครั้นบรรพชาแล้วในพรรษาแรกๆ ได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ และวิชาอาคมกับหลวงอาพระอาจารย์อ่อน จนเป็นที่พอใจแล้ว หลวงอาคิดจะทดสอบหลานจึงคิดทดสอบความอดทนและวิชาที่สั่งสอนให้ แล้วออกอุบายที่จะพาไปเที่ยวโดยให้เตรียมข้าวของเท่าที่จำเป็นสำหรับในการเดินธุดงค์ออกธุดงค์กับพระอาจารย์อ่อน ในปีนั้น เมื่ออกพรรษาแล้ว พระอาจารย์อ่อน ได้นำสามเณรประเทืองเดินธุดงค์ไปยังจุดหมายปลายทางเพื่อนมัสการพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี แม้ว่ายังเป็นสามเณรอายุน้อยนิด ก็มีความอดทน แบกกลด ถือกรรมฐานกับพระอาจารย์อ่อนไปด้วย การเดินป่าในสมัยนั้น ประสบการความยุ่งยากลำบากเหลือเข็ญ ยังไม่มีรถยนต์ เป็นพาหนะเหมือนสมัยนี้ อีกทั้งตามป่าเขาลำเนาไพรยังชุกชุมไปด้วยไข้ป่า สัตว์ร้ายนานาชนิด เดินขึ้นเขาลงห้วยหาบ้านผู้คนก็ยากเย็นเต็มที แม้ว่าในตอนออกเดินทางจากวัดไปด้วยจิตใจที่มุ่งมั่นเข้มแข็ง แต่พอนานเข้าเอาเข้าจริงๆ แล้ว ได้สัมผัสกับความอดอยาก ลำบากในป่าเขา ก็เกิดอาการท้อแม้ใจขึ้นมาเหมือนกัน บางครั้งคิดอยากจะกลับวัดกลับบ้าน หลวงอาก็ปลอบโยนให้กำลังในอยู่เสมอๆ จะทำอย่างไรได้ เมื่อตัดสินในแล้วก็ต้องสู้ต่อไปให้ถึงที่สุด สำหรับการเดินธุดงค์นั้น พระอาจารย์อ่อนมีกฎอยู่ว่าห้ามถามห้ามพูดในสิ่งที่ไม่จำเป็นและให้เฉยๆ ไว้ เดินตามหลวงอาไปอย่างเดียว พอถึงเวลาปักกลด หลวงอาก็ปักให้ (กลดสมัยนั้น คล้ายกับมุ้ง ๔ สาย) พอปักกลดเสร็จก็แยกไปปักอีกที่หนึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ ๑๐วา ตกกลางคืนก็ร้องไห้แต่ไม่กล้าร้องเสียงดัง กลัวหลวงอาดุเอา ทำให้เกิดความกลัว คิดไปต่างๆ จิตใจก็ไม่สงบ ยิ่งได้ยินเสียงเสือร้อง ก็ร้องไห้ตามเสือไปด้วย คิดจะกลับวัดอย่างเดียว ที่ยิ่งไปกว่านั้น พอรุ่งเช้าอาหารบิณฑบาตก็ไม่มีฉัน เพราะอยู่ห่างไกลจากหมู่บ้าน จนบางครั้งต้องอาศัยข้าวตากแห้งที่เตรียมมาขบฉัน พอประทังชีวิตไปวันๆ หนึ่งก็เคยมี ครั้นรุ่งเช้าหลวงอาชวนออกเดินบิณฑบาต ก็คิดไปว่าป่าทั้งป่าจะไปบิณฑบาตที่ไหนกัน มองไปข้างไหนก็เห็นแต่ป่าทั้งนั้นแต่ก็ไม่กล้าถาม โดยหลวงอาสั่งว่า ทำอะไรก็ให้ทำตาม พอเดินไปถึงต้นไม้ใหญ่ หลวงอาเปิดบาตรไว้สักครู่แล้วก็ปิดบาตร เดินมาที่อีกต้นหนึ่งก็ทำเหมือนเดิมอีก ก็ปฏิบัติตามเหมือนหลวงอาทุกอย่าง ถึงจะสงสัยก็ไม่กล้าถามอยู่ดี สามเณรประเทือง คิดอยู่ในใจว่า หลวงอาทำอะไรแปลกๆ หรือท่านจะรู้เห็นอะไรที่เราไม่รู้ก็เป็นได้ ครั้นกลับมาถึงที่พักก็เปิดบาตรดู ว่ามีอะไรอยู่บ้างเห็นแต่ความว่างเปล่าแต่ก็ยังไม่กล้าถามอยู่ดีว่าท่านทำเพื่ออะไร แล้วหลวงอาก็สั่งให้เอาน้ำล้างบาตรนั้นมาดื่มกิน พอดื่มแล้วเหมือนกับว่า รู้สึกอิ่มอย่างแปลกประหลาดคล้ายกับว่าได้ฉันข้าวอย่างนั้นแหล่ะ สามารถอยู่ได้ตลอดทั้งวันโดยไม่รู้สึกหิวกระหายแต่อย่างใดเลย เมื่อปฏิบัติอยู่ป่านานวันเข้า อาหารที่เตรียมมาก็หมดไปโดยปริยาย สิ่งที่น่าแปลกอยู่อย่างหนึ่ง อาหารของหลวงอาไม่รู้จักหมด ครั้นถามท่านก็โดนดุว่าไม่ใช่กิจที่จะต้องรู้ ยังมีสิ่งที่เราไม่รู้ต้องปฏิบัติอีกมาก ท่านเปรียบเหมือนใบไม้ในกำมือกับไม้ในป่าทั้งหมด จึงไม่กล้าที่จะถามท่านอีก จะถามได้ในเรื่องของการปฏิบัติธรรมเท่านั้น พอพูดจบท่านก็หยิบเอามาจากย่ามให้ฉันเป็นดังนี้อยู่เสมอมิได้ขาด ได้แต่เก็บความสงสัยไว้ในใจอยู่ตลอดมา ว่าทำไมข้าวตากแห้งของหลวงอาไม่รู้จักหมดสักที ท่านเอามาจากไหน ท่านมีคาถาอาคมอะไรหรือ
    กลับมาเยี่ยมบ้าน
    หลายปีที่สามเณรประเทือง เดินธุดงค์ไปกับพระอาจารย์อ่อน ก็ได้ร่ำเรียนวิชาอาคมอย่างเต็มกำลังความสามารถ แต่ก็หลายครั้งเหมือนกัน ที่คิดอยากจะกลับบ้านไปเยี่ยมโยมพ่อโยมแม่และญาติๆก็ยังไม่มีโอกาสสักครั้ง วันหนึ่งได้รับอนุญาตจากหลวงอาว่าถึงเวลาอันควรแล้วอนุญาตให้กลับไปเยี่ยมบ้านได้แล้ว พอกลับมาถึงวัดหนองแขม ก็กราบลาพระอาจารย์อ่อนไปเยี่ยมบ้านทันที ได้พูดคุยสนทนาเล่าเรื่องราวต่างๆ ในการออกธุดงค์เดินป่าที่เป็นไปอย่างยากลำบาก เมื่อโยมทั้งสองได้ฟังแล้วก็เกิดสงสารห่วงใยอย่างจับใจ ขอร้องอ้อนวอนให้สามเณร ลูกชายลาสิกขากลับมาอยู่กับพ่อแม่ดีกว่า เพราะเกรงว่าจะได้รับอันตรายในระหว่างอยู่ป่า ในตอนแรกก็เห็นด้วยกับความคิดของโยมพ่อโยมแม่ จึงตัดสินใจที่จะลาสิกขาอย่างแน่นอน ครั้นกลับมาได้ถึงวัดได้กราบเรียนให้หลวงอาทราบเรื่องเอาเข้าจริงๆ แล้ว ได้รับโอวาทธรรมจากหลวงอาว่า การปฏิบัติธรรมกรรมฐานเท่านั้น ที่จะได้กุศลแรงกล้าที่สุด ไม่เพียงแต่บุคคลผู้ปฏิบัติเท่านั้น แม้ผู้เป็นบิดามารดาชื่อว่าผู้ได้เป็นญาติพระศาสนาก็พลอยได้บุญกุศลไปด้วย ได้ฟังโอวาทธรรมดังนั้น ท่านก็เห็นด้วยแล้วตัดสินใจที่จะไม่ยอมลาสิกขา ยังคงเดินธุดงค์ไปกับพระอาจารย์อ่อนต่อไปอีกหลายปี พระอาจารย์อ่อน เป็นพระที่นิยมศึกษาชอบแสวงหาความรู้และมีวิทยาคมแก่กล้า ทั้งชอบการปฏิบัติธรรมได้ถ่ายทอดสรรพวิชาอาคมให้สามเณรประเทืองทุกอย่างอย่างเช่น การหุงสีผึ้ง วิชานะหน้าทอง เป็นต้น
    ศึกษาวิชาอาคมกับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์
    พระอาจารย์อ่อน นับว่าเป็นพระที่เชี่ยวชาญเวทวิทยาคมมากทีเดียว และที่สำคัญยังมีความคุ้นเคยกับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ ยอดพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น ได้เดินทางไปสนทนาธรรมกับหลวงพ่อเดิมอยู่เป็นประจำ เมื่อกลับจากเดินธุดงค์แล้ว หลวงอาอ่อน ได้นำสามเณรประเทือง เดินทางไปวัดหนองโพธิ์ ฝากฝังไว้เป็นศิษย์คอยปรนนิบัติรับใช้ต้มน้ำร้อนน้ำชาอยู่ใกล้ชิดหลวงพ่อเดิมตลอดเวลา หลวงพ่อเดิมเรียกท่านว่า “เณรจ้อน” เพราะท่านตัวเล็กกว่าสามเณรในวัดรุ่นเดียวกันทั้งหมด ทั้งยังเมตตาแนะนำสั่งสอนวิชาอาคมต่างๆ ให้อยู่เสมอ ในขณะที่อยู่รับใช้หลวงพ่อเดิมอยู่นั้น สามเณรประเทืองได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมอะไรบ้าง เราท่านคงไม่อาจจะทราบได้ แต่เท่าที่สอบถามศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงพ่อประเทือง ได้ความว่าท่านไม่เคยพูดว่า หลวงพ่อเดิมถ่ายทอดวิชาอะไรให้ เพียงแต่กล่าวอยู่เสมอว่า วิชาอาคม ที่หลวงพ่อเดิมสั่งสอนนั้นว่าวิชาอะไรก็ตามตะเข้มขลังได้ต้องอาศัยพลังจิตเป็นกำลังสำคัญ หากเราฝึกจิตสมบูรณ์แล้วก็สามารถปลุกเสกอะไรให้เกิดพลังเข้มขลังได้ จากพื้นฐานวิทยาคมที่หลวงพ่อเดิมแนะนำสั่งสอนให้กับสามเณรประเทืองนั้นท่านก็ยึดถือปฏิบัติเป็นแบบครูบาอาจารย์ มาจนกระทั่งเป็นหลวงพ่อประเทือง ถึงทุกวันนี้
    อุปสมบทปฏิบัติธรรมในสำนักหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค
    เมื่ออกพรรษาแล้ว สามเณรประเทืองก็ตัดสินใจลาสิกขาถือเพศฆราวาสวิสัย ไปประกอบสัมมาชีพทำไร่ มันแกว อยู่ที่บ้านหนองกระทะ ตำบลช่องแค จังหวัดนครสวรรค์ ครั้งอายุได้ ๒๐ ปี ในพ.ศ.๒๔๙๑ ก็ปรารถนาจะเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ พัทธสีมา วัดช่องแค นครสวรรค์ โดยมีท่านพระครูทอง วิสาโร เจ้าคณะอำเภอตาคลีในสมัยนั้น เป็นพระอุปัชฌาย์มีพระอาจารย์แบ๊ง วัดช่องแค เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระใบฎีกาตี่ วัดเขาวงศ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ในช่วงที่อยู่จำพรรษาวัดช่องแค เป็นห้วงเวลาเดียวกัน กับหลวงพ่อพรหม ยอดพระเกจิอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงอีกรูปหนึ่งเป็นเจ้าอาวาสครองวัดนั้นอยู่ นับว่าเป็นบุญโชคของท่านเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน สรรพวิทยาคมในสำนักหลวงพ่อพรหมแต่เป็นที่น่าเสียดาย ว่า ท่านได้ครองสมณเพศอยู่ได้เพียงพรรษาเดียว ก็จำต้องลาสิกขาเพราะถูกกฎหมายเกณฑ์ทหาร ไปเป็นทหารรับใช้ชาติอยู่ที่เขาน้อย จังหวัดลพบุรี อยู่ได้ ๒ ปีเศษ แล้วสมัครเป็นสารวัตรทหารอยู่ที่ลพบุรี ครั้นเบื่อหน่ายอาชีพราชการ ก็ลาออกมาทำงานชลประทานซีเมนต์อยู่ช่องแค นครสวรรค์ หลังจากใช้ชีวิตฆราวาสเพศวิสัยอยู่ ๘-๙ ปี ก็เบื่อหน่ายปรารถนาจะบวชอีกสักครั้งซึ่งในขณะนั้นมีอายุได้ ๒๙ ปี พ.ศ.๒๔๐๐ เป็นการฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษไปด้วยก็ตัดสินใจอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดโนทอง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ได้รับสมณฉายาว่า อติกฺกนฺโต แล้วอยู่ปฏิบัติธรรมกับ หลวงพ่อเล็ก วัดโพธิ์ทอง (หลวงพ่อเล็กรูปนี้เป็นศิษย์สืบทอดพุทธาคมมาจากหลวงพ่อปาน วัดบางเ**้ย)
    ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรม
    เนื่องจากหลวงพ่อประเทืองท่านมีอุปนิสัยชอบความสงบวิเวกใฝ่ใจในการศึกษาเล่าเรียนมาแต่เดิม ครั้นได้กลับมาบวชใหม่อีกครั้ง ก็มีความตั้งใจที่วัดโพธิ์ทอง พอออกพรรษาแล้วได้เล็งเห็นว่าวัดไม่เป็นที่สงบเท่าที่ควร เพราะท่านไม่ชอบที่จะระคนด้วยหมู่คณะจึงปลีกตนออกปฏิบัติกราบลาพระอุปัชฌาย์ออกเดินธุดงค์ แสวงหาความรู้กับครูบาอาจารย์ เพื่อศึกษาสรรพวิชาเพิ่มเติม หลวงพ่อประเทือง ได้เดินธุดงค์ไปตามเขาทั่วภาคตะวันออกเฉียงจรดไปถึงถ้ำนาแก นครพนม ได้พบกับพระป่านักปฏิบัติหลายรูปทั้งได้ขอเล่าเรียนวิชาอาคมต่างๆ จนกระทั่งได้มีโอกาสพบกับอาจารย์บุญลือเป็นฆราวาสชาวเขมร ผู้เก่งกล้าในด้านไสยศาสตร์ ท่านก็ได้รับการถ่ายทอดวิชาถอนคุณไสยต่างๆ จนเป็นที่พอใจแล้วเดินธุดงค์ต่อไปอีก หลังจากนั้นเดินธุดงค์กลับมานมัสการรอยพระพุทธบาท สระบุรี ซึ่งในช่วงนั้นเอง ได้เกิดโรคระบาด ผู้คนล้มตายเป็นว่าเล่น ชาวบ้านก็ปลื้มในที่ได้พบพระธุดงค์ ได้ขอร้องให้ท่านโปรดเมตตาช่วยอนุเคราะห์รักษาโรค ท่านก็ยินดีอยู่ช่วยรักษาให้โดยใช้สมุนไพรตามที่ได้ศึกษามาประกอบมาปรุงยาต้มให้ชาวบ้านกินกันจนหายเป็นปกติ ยังความปลื้มปิติเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของคนในหมู่บ้านกันทั่ว
    สืบสายพุทธาคม
    ความเป็นหนึ่งในเวทวิทยาคมของหลวงพ่อประเทือง อติกฺกนฺโต ในปัจจุบันย่อมเป็นที่ทราบกันดีในหมู่ศิษยานุศิษย์และผู้นิยมวัตถุมงคล เพราะวัตถุมงคลหรือเครื่องรางวัลขลังของท่านนั้น ที่สร้างขึ้นโดยหลวงพ่อหรือคณะศิษย์สร้างถวายก็ตาม โดยท่านเป็นผู้ปลุกเสกล้วนมีประสบการณ์เป็นที่ยอมรับเชื่อถือในความเข้มขลัง ศักดิ์สิทธิ์
    ปาฏิหาริย์ล้ำเลิศมากมาย
    การกล่าวได้อย่างมั่นใจเช่นนี้ก็เพราะท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มากไปด้วยครูบาอาจารย์ แสวงหาความรู้เล่าเรียนศึกษาพุทธาคมอย่างไม่รู้จบ และเหตุที่ครูบาอาจารย์ของท่านก็ล้วนแต่เลื่องลือกิตติศัพท์เป็นที่เคารพของสาธุชนทั้งสิ้น ตลอดระยะเวลากว่า ๒๐ ปี ที่ออกเดินธุดงค์ ก็ได้ศึกษาสรรพวิชาอาคมจากครูบาอาจารย์ต่างๆ มามากมายเท่าที่ได้กราบนมัสการเรียนถามว่ามีพระเกจิอาจารย์รูปใด บ้างที่ท่านเคยเป็นศิษย์ได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาอาคมซึ่งท่านได้ลำดับครูบาอาจารย์ดังนี้
    ๑. พระอาจารย์อ่อน วัดหนองแขม นครสวรรค์ (มีศักดิ์เป็นอา ได้ศึกษาตั้งแต่เป็น สามเณร)
    ๒. หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ นครสวรรค์ (เมื่อครั้ง ไปอยู่ปรนนิบัติรับใช้เป็นสามเณรที่วัดหนองโพธิ์)
    ๓. หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์ (ศึกษาอยู่ได้ 1 พรรษา ตอนบวชครั้งแรก)
    ๔. พระอาจารย์เล็ก วัดคลองเม่า ลพบุรี
    ๕. หลวงพ่อเล็ก วัดโพธิ์ทอง นครสวรรค์ (เมื่อครั้งอุปสมบทอยู่วัดโพธิ์ทอง ซึ่งหลวงพ่อเล็กรูปนี้ เป็นศิษย์ที่สืบทอดพุทธาคมมา จากหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย(วัดคล่องด่าน)
    ๖. อาจารย์บุญลือ (ไม่ทราบนามสกุล) เป็นชาวเขมร (เมื่อคราวออกธุดงค์)
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญหลวงพ่อประเทืองให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่ง 30 บาทครับ
    IMG_20230916_173601.jpg IMG_20230916_173633.jpg
     
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353
    1695037325361.jpg
    1695036033675.jpg

    ในโลกของไสยเวทย์ วิทยาคม โดยเฉพาะแผ่นดินอยุธยา ชื่อของ หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช ที่บางท่านเรียก หลวงพ่อเทียม ก็เป็นหนึ่งในเถราจารย์ ที่ทรงวิทยาคุณ จนมีคำเรียกขานกันว่า ของแท้ ต้องเทียม หรือ นามว่า เทียม นั้น คือ ไร้เทียมทาน สำหรับ พระวิสุทธาจารเถร หรือหลวงปู่เทียม ท่านมีนามเดิมว่า เทียม หาเรือนศรี เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม 2447 ที่ต.บ้านป้อม หมู่ 7 อ.พระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายสุ่นและนางเลียบ อาชีพทำนา เริ่มต้นการศึกษาภาษาไทยกับพระภิกษุมอญและอาจารย์ปิ่น ที่วัดกษัตราธิราช ควบคู่ไปกับการเรียนวิชาช่าง
    ครั้นเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ได้เข้าพิธีอุปสมบท โดยมีพระครูวินยานุวัติคุณ เจ้าอาวาสวัดกษัตราธิราช เป็นพระอุปัชฌาย์ ไปศึกษาปฏิบัติธรรม ณ สำนักเรียนวัดประดู่ทรงธรรมและวิชาที่สำนักอื่น จนถึงพรรษาที่ 9 ได้กลับมาอยู่ที่วัดกษัตราธิราช กระทั่ง พ.ศ.2487 เมื่อตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลงจึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส

    จากการค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม ในข้อที่ว่า หลวงปู่เทียมศึกษาวิชาธรรมที่สำนักอื่น ๆ นั้น ก็คือท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรม ณ สำนักเรียนวัดเสนาสนาราม 2 พรรษา ศึกษากรรมฐานกับหลวงพ่อสี วัดสนามชัย และ อาจารย์จาบ วัดโบสถ์ อำเภอมหาราช ศึกษากับอาจารย์เหม็ง วัดประดู่ทรงธรรม ครั้นพรรษาที่ 3 ไปศึกษา วิปัสสนากรรมฐาน กับหลวงพ่อม่วง วัดโบสถ์ แล้วกลับมาอยู่ ณ วัดประดู่ทรงธรรม อีกครั้ง เพื่อศึกษาวิชา สมถะฝ่ายกสิณ 10 อนุสสติ 10 ยุคล 6 จงกรม พร้อมด้วยเริ่มเรียนวิทยาคมต่างๆ เช่น เป่า พ่น ปลุกเสก ลงเลขยันต์ ตามตำหรับวัดประดู่ทรงธรรม
    จนถึงพรรษาที่ 9 จึงกลับมาอยู่ วัดกษัตราธิราช เนื่องจากพระครูวินยานุวัติคุณ (มาก อินทโชติ) ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ ของท่าน ได้อาพาธหนัก จึงได้มารับใช้สนองพระคุณของพระอุปัชฌาย์
    การกลับมาครั้งนี้ของท่าน ท่านได้นำตำราพิชัยสงคราม กับตำรามหาระงับพิสดาร รวมถึง ตำราเลขยันต์อื่นๆติดตัวมาด้วย จนกระทั่งจากพระครูวินยานุวัติคุณ มรณภาพ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 หลังจากจัดการศพของท่านจากพระครูวินยานุวัติคุณ เสร็จแล้วจึงเดินทางไปศึกษากรรมฐาน ณ วัดวรนาถบรรพต (วัดเขากบ) จ.นครสวรรค์ เมื่อศึกษาสำเร็จได้ตามที่ท่านตั้งใจแล้ว

    นอกจากนี้ หลวงปู่เทียม ยังได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ ของก๋งจาบ ฆราวาสจอมขมังเวทย์ยุคเก่าสายวัดประดู่ทรงธรรม ซึ่งก๋งจาบท่านนี้ยังเป็นครูบาอาจารย์ของ หลวงพ่อแทน และหลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง รวมทั้งหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค สำหรับพระเกจิอาจารย์ทั้ง สาม รูป หลวงปู่เทียม หลวงพ่อแทน หลวงพ่อกี๋ มักได้รับนิมนต์ เชิญให้ไปร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก อธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคลอยู่เป็นประจำ โดยหลวงพ่อแทน หลวงปู่เทียม และหลวงพ่อกี๋ คือ สามพระเกจิอาจารย์ สายวัดประดู่ทรงธรรม ผู้จาร แผ่นชนวนยันต์ หลอมไม่ละลายในเบ้าหลอม ชนวนยันต์ ในพิธี วัดประสาทฯ เมื่อปี 2506 เป็นที่ฮือฮา และ โด่งดังมาก ในสมัยนั้น ซึ่งหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ท่าน ยัง ให้ความเคารพนับถือ หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช
    วัตถุมงคลของท่าน อาทิ ตะกรุดหลวงปู่เทียม หรือเหรียญวัตถุมงคล มีชื่อเสียงในด้านอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาดปลอดภัย จนเป็นที่ประจักษ์แก่คณะศิษย์ที่ให้ความเลื่อมใสศรัทธาโดยเฉพาะ ตะกรุดมหาระงับ วัดกษัตราธิราช เป็นที่โด่งดังมาก หลวงปู่เทียมละสังขารลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2522 สิริอายุ 75 ปี 55 พรรษา
    หลวงปู่เทียม สิริปัญโญ” หรือ “พระวิสุทธาจารเถร” วัดกษัตราธิราชวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา พระเถระที่มีความเชี่ยวชาญด้านการวิปัสสนากัมมัฏฐาน และเป็นพระนักพัฒนา ที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา
    วัตถุมงคลที่จัดสร้างปลุกเสก โดยเฉพาะเหรียญคณาจารย์และตะกรุด มีพุทธคุณรอบด้าน เป็นที่เลื่องลือ บรรดาลูกศิษย์ลูกหาต่างนับถือบูชา นำไปเก็บไว้ติดตัวเป็นสิริมงคล
    1695037341619.jpg
    โดยเฉพาะ “เหรียญพัดยศ หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราชวรวิหาร” เป็นอีกเหรียญที่บรรดานักสะให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
    สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2522 เพื่อเป็นที่ระลึกครั้งได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนามที่พระวิสุทธาจารเถร
    แจกเป็นที่ระลึก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2522 ให้กับผู้ที่มาร่วมงานมุทิตาจิต
    Pause
    00:00
    00:41
    Unmute
    โดยเฉพาะ “เหรียญพัดยศ หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราชวรวิหาร” เป็นอีกเหรียญที่บรรดานักสะให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
    สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2522 เพื่อเป็นที่ระลึกครั้งได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนามที่พระวิสุทธาจารเถร
    แจกเป็นที่ระลึก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2522 ให้กับผู้ที่มาร่วมงานมุทิตาจิต
    เหรียญพัดยศหลวงปู่เทียม (หน้า)

    ลักษณะเหรียญเป็นรูปเหมือนของพิมพ์พัดยศทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
    ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อเทียมเต็มองค์ นั่งสมาธิอยู่บนโต๊ะขนาดเล็กฐานเตี้ย รูปหลวงพ่อเทียมห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ รัดประคด ใต้โต๊ะมีชื่อเขียนว่า “หลวงพ่อเทียม” เหนือศีรษะองค์หลวงพ่อมียันต์อุณาโลม ขอบเหรียญเป็นลายกระหนก
    ด้านหลัง ขอบเหรียญเป็นลายกระหนกเช่นเดียวกัน กลางเหรียญเป็นยันต์นะเมตตา โดยมีตัวอักขระ “อุ อิ อะ อิ” ล้อมรอบ นอกจากนี้ ยังมีตัวหนังสือเขียนว่า “อนุสรณ์ พระวิสุทธาจารเถร เจ้าอาวาสองค์ที่ ๘ วัดกษัตราธิราช” ล้อมรอบตัวอักขระอีกชั้น
    จัดสร้างเหรียญเป็นเนื้อทองแดงรมดำ ขนาดกว้าง 2.5 เซนติเมตร สูง 4.5 เซนติเมตร เหนือเหรียญ มีรูห่วงติดอยู่ด้านบนสวยงาม
    จำนวนการสร้างไม่ระบุชัดเจน แต่คาดว่าเป็นจำนวนหลักพัน

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    1695037314395.jpg


    กำลังเป็นข่าวดัง ในหน้าจอทีวี หนุ่มโดนยิงไม่เข้า แขวนพระ หลวงพ่อเทียม
    นับเป็นเหรียญรุ่นสุดท้ายที่หลวงปู่เทียมนั่งอธิษฐานจิต
    ให้บูชา 200 บาท ค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)
    IMG_20230918_180731.jpg IMG_20230918_180749.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2023
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353
    1695036033675.jpg
    เหรียญหลวงพ่อเทียม เสด็จยกช่อฟ้าวัดกษัตราธิราช
    ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20230918_180852.jpg IMG_20230918_180833.jpg
     
  8. ktv

    ktv เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +1,193
    จองเหรียญพิมพ์พัดยศพุ่มข้าวบิณฑ์ครับ ลพ.เทียม วัดกษัตราธิราชครับ
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353
    รับทราบครับขอบคุณครับ
     
  10. Karoonsur

    Karoonsur Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +228
    จองทั้ง2องค์ครับ
     
  11. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353
    รับทราบครับ ขอบคุณครับ
     
  12. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353
    เหรียญอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิ
    ท่านเป็นพระเถราจารย์ที่สมัยอดีต มักจะเป็นเจ้าพิธีในงานพุทธาภิเษกใหญ่ๆ รัดับประเทศ เช่นพิธีจักพรรดิพิษณุโลก ปี๒๕๑๕
    ให้บูชา 150 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)
    IMG_20230919_143550.jpg IMG_20230919_143635.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2023
  13. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353
    พระแก้วมรกต วัดพระแก้ว ปี 2525 พิมพ์ทรงกลม พิธีใหญ่มหาพุทธาภิเษกที่วัดพระแก้ว
    เหรียญพระแก้วมรกตปี 2525 ปางฤดูหนาวเหรียญ พระแก้วมรกต รุ่นฉลอง 200 ปีกรุงรัตนโกสินทร์ สร้างเมื่อ พ.ศ.2525 เกจิอาจารย์นับร้อยจากทั่วประเทศประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ อุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

    "สภาพเหรียญสวย-ผิวเดิมๆ..เหรียญแห่งอนาคต...เริ่มหายากครับ"
    ใน ปี พ.ศ.๒๕๒๕ เป็นปีที่มีงานฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปีอย่างยิ่งใหญ่ หนึ่งในภาระกิจหลักในวาระนั้นคือการบูรณะปฏิสังขรวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯพระราชทานให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยาม บรมราชกุมารีทรงเป็นองค์ประธาน และเพื่อเป็นทั้งที่ระลึก และสมนาคุณการระดมทุนบริจาคเพื่อการนี้ คณะกรรมการฯได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานจัดสร้างเหรียญพระแก้วมรกตหลัง ภปร ขึ้นเป็นการเฉพาะอย่างปราณีตบรรจงทั้งในรูปลักษณะและพระราชพิธีพุทธาภิเษก

    พระ ราชพิธีพุทธาภิเษกมีขึ้นในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๔ ณ พระอุโบสถวัดพระแก้ว โดย พระมหาเถระจำนวน ๑๐ รูป ประกอบด้วย
    1. สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    2. พระมงคลราชมุนี (สุพจน์ โชติปาโล) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
    3. พระราชสังวรญาณ (สนิท ถิรสินิทฺโธ) วัดศิลขันธาราม อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง
    4. หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
    5. หลวงพ่ออุตตมะ อุตฺตมังกโร วัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
    6. พระครูพิพิธพัชรศาสน์ (หลวงพ่อจ้วน) วัดพระพุทธบาทเขาลูกช้าง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี
    7. หลวงพ่อสุด วัดกาหลง อ.เมือง จ.เพชรบุรี
    8. พระครูสุตาธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร
    9. พระครูประดิษฐ์นวการ วัดวังมะนาว อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี
    10. พระครูญาณวิจักขณ์ (พระอาจารย์ผ่องจินดา) วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ
    เข้า นั่งปรกเจริญภาวนาอธิษฐานจิตในมณฑลพิธีราชวัตรฉัตรธง ประกอบพิธีพุทธาภิเษกต่อไป

    โดย ในเวลาเดียวกันนี้พระภาวนาจารย์ พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วราชอาณาจักรอีก ๙๐รูป ได้ร่วมพิธีนั่งปรกเจริญภาวนาแผ่จิตตานุภาพ รวมไว้เป็นหนึ่งส่งพลังจิตตภาวนา ณ วัดที่ประจำอยู่ เป็นการรวมกระแสพลังจิตให้เป็นหนึ่งเดียวส่งไปยัง “วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) มีอาทิ
    1. หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
    2. หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี
    3. หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
    4. หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี
    5. หลวงพ่อละมูล วัดเสด็จ จ.ปทุมธานี
    6. พ่อเนื่อง วัดจุฬา มณี จ.สมุทรสงคราม
    7. หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า จ.ระยอง
    8. หลวงปู่คำดี วัดถ้ำผาปู่ จ.เลย
    9. หลวงพ่อไพบูลย์ วัดรัตนวนาราม (อนาลโย) จ.พะเยา
    10. หลวงพ่อสงฆ์ จันทสโร วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร
    11. หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์
    12. หลวงพ่อสุด วัดกาหลง จ.สมุทรสาคร
    13. หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต จ.ขอนแก่น
    14. หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง
    15. หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม จ.ร้อยเอ็ด
    16. หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี
    17. หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี
    18. หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
    19. หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
    20. หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกระเชอ จ.ชลบุรี ฯลฯ
    ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)
    IMG_20230920_013952.jpg IMG_20230920_014023.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2023
  14. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353
    w1.jpg
    ชีวประวัติของ หลวงตาขึม วรธัมโม หรือ พระครูสุชัยวรธรรม อดีตเจ้าคณะตำบลลิ้นฟ้า อดีตเจ้าอาวาสวัดผักขะ อ.ยางชุมน้อย จ.ศรีสะเกษ ชื่อเดิมคือ วีระชัย โตมร เกิดที่บ้านผักขะ ต.ลิ้นฟ้า อ.ยางชุมน้อย จ.ศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2490 (ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 9) ปีกุน บิดาชื่อ นายกร มารดาชื่อ นางยัน มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 6 คน

    เมื่ออายุ 19 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร จนอายุได้ 21 ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีพระอธิการโสม อังคปัญโญ เจ้าอาวาสวัดผักขะ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูศรีธรรมรัตน์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้ฉายาว่า วรธัมโม

    ปี 2514 เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดผักขะ ปี 2514 - 2516 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดผักขะ ปี 2517 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดผักขะ ปี 2542 เป็นเจ้าคณะตำบลลิ้นฟ้า และในปี 2554 เป็นพระอุปัชฌาย์


    ในด้านวิชาอาคม ท่านได้รับการถ่ายทอดจากหลวงพ่อโสม พระอุปัชฌาย์ของท่าน ซึ่งหลวงพ่อโสมเป็นพระดีมีวิชาองค์หนึ่ง ชาวบ้านมีเรื่องทุกข์ร้อน เจ็บป่วยก็มาให้ท่านรักษา ท่านเคยสร้างพระขุนแผนแล้วเคยให้คนไป ปรากฏว่าไปเป็นนักเลง ไม่เกรงกลัวใคร แถมหนังเหนียว ท่านเลยเลิกสร้าง แล้วถ่ายทอดวิชาการสร้างและเสกให้หลวงตาขึม เพื่อใช้ทางเมตตามหานิยม ป้องกันภยันตราย รวมถึงยังได้รับการถ่ายทอดวิชาจาก หลวงปู่เฮือง ที่เดินธุดงค์มาจาก จ.ชัยภูมิ

    นอกจากนี้ ท่านยังมีความเชี่ยวชาญทางสมุนไพรรักษาโรค และคาถาอาคมต่าง ๆ ของหายท่านก็เสกคาถาจับโจรให้ โดนของโดนคุณไสยท่านก็แก้ให้ วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังของท่าน เช่น เบี้ยแก้ ชานหมาก พระขุนแผน ฯลฯ
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    ตลับสีผึ้งหลวงตาถึงวัดบ้านผักขะหลังพระพรหมด้านในบรรจุชานหมากของดีที่หลวงตาแจกให้คนมากราบท่านที่วัด รุ่นนี้ นิยมในสายศิษย์ ตอนนั้น ออกให้บูชาพร้อมขุนแผนหลวงตาครับ รุีนประสพการณ์ ผมจองทำบุญมา ตั้งแต่ คนไม่ค่อยรู้จักหลวงตา มาเดิมๆไม่เคย เปอดใช้เปิดมา นำมาเปิดเพื่อถ่ายรูปให้เห็นด้านในตลับ ว่าบรรจุชานหมากหลวงตาครับ
    ให้บูชา
    1,500 บาทครับ
    IMG_20230920_014113.jpg IMG_20230920_014142.jpg IMG_20230920_014206.jpg
     
  15. Shoo-2561

    Shoo-2561 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2018
    โพสต์:
    763
    ค่าพลัง:
    +1,092
    _ บูชา 2 รายการ
     
  16. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353
    รับทราบครับ ขอบคุณครับ แจ้ง ที่อยู่จัดส่ง รายละเอียดทางข้อความได้เลยครับ
     
  17. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353
    1695227811931.jpg

    วัดคลองมอญ (สุวรรณโคตมาราม) อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท
    หลวงพ่อมหาโพธิ์ ญาณสังวโร เกิดเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2463 ตรงกับทางจันทรคติ วันอังคาร แรม 13 ค่ำ เดือน 11 ปีวอก จ.ศ. 1282 ยามเด็กนอนสมัยนั้น (ประมาณเวลา 19.20 น.) ลัคนาศรี พฤษภ เสวยฤกษ์ที่ 5 มฤคสิระ ประกอบด้วย เทศาตรี แห่งฤกษ์ นามเดิม นายโพธิ์ จั่นเที่ยง โยมบิดาชื่อ นายวอน จั่นเที่ยง โยมมารดาชื่อ นางทองสุข จั่นเที่ยง มีพี่น้องด้วยกัน 6 คน หลวงพ่อเป็นลูกคนที่ 4 บ้านเกิด ณ บ้านหนองพญา ต.มะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท
    หลวงพ่อท่านได้เล่าว่า ตอนเด็ก ๆ ไม่สามารถอยู่บ้านได้ พระใบฎีกาบุญยัง เป็นทั้งอาจารย์และหลวงน้าของท่าน ได้นำเอาท่านมาเลี้ยงไว้ที่วัดหนองน้อย ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านท่านประมาณ 3 กิโลเมตร ต่อมาหลวงพ่อบุญยังได้พาท่านมาฝากบวชเรียน พระปริยัติธรรมที่วัดอรุณอัมรินทร์ (วัดโบสถ์น้อย) บางกอกน้อยธนบุรี ได้จำพรรษาบวชเรียนเป็นสามเณรโพธิ์ ณ ที่วัดอรุณอัมรินทร์ และต้องเดินไปเรียนนักธรรมและบาลีปเรียญสาม ขณะจำพรรษาอยู่นี้หลวงพ่อบุญยังได้มาเยี่ยมเยียนอยู่ เเสมอและก็ได้ถ่ายทอดวิชาต่าง ๆ ให้ สามเณรโธิ์ท่านก็จะแปรพระคาถาต่าง ๆ เป็นใจความบ้าง ไม่ได้ใจความบ้าง ดูแล้วไม่น่าจะมีอะไร หลวงพ่อบุญยังบอกว่า “คุณมหาโพธิ์อย่าไปแปล วิชาก็คือวิชาแปลภาษาบาลีก็แปลไป วิชาอาคมต่าง ๆ ครูบาอาจารย์ถ่ายทอดกันมามิได้ให้แปลไม่สมควรแปล เพราะเป็นหลักของวิชาในการใชคาถาอาคม ด้วยจิตเป็นเครื่องกำหนด” ดังนั้นสามเณรโพธิ์จึงไม่คิดแปลคาถาอีกต่อไป เมื่อได้เข้าใจในหลักวิชาที่หลวงพ่อบุญยังได้ถ่ายทอด ให้
    เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณื สามเณรมหาโพธิ์ ก็ได้บวชอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดอรุณอัมรินทร์ บางกอกน้อย ธนบุรี โดยโยมบิดาและมารดาได้เดินทางจาก อ.วัดสิงห์ มายังกรุงเทพฯ เพื่ออุปสมบทสามเณรมหาโพธิ์ด้วความปลื้อมปิติยินดียิ ่งนัก ต่อมาอีก 1 ปี ท่านได้กลับสมาอยู่ที่ วัดหนองน้อย จ.ชัยนาท และขอลาสิกขาบทกับหลวงพ่อบุญยัง แต่หลวงพ่อบุญยังไม่สึกให้ ท่านให้ไปสึกกับหลวงพ่อปลื้ม(น้องชายหลวงปู่ศุข) ณ วัดปลากคลองมะขามเฒ่า หลวงพ่อปลื้มก็สึกพระให้ตามความประสงค์
    กลับมาอยู่กับท่านอาจารย์
    หลังจากที่รับใช้ชาติครบ 2 ปี ก็ปลดประจำการมาอยู่กับหลวงพ่อบุญยัง วัดหนองน้อย อยู่ปรนนิบัติและศึกษาหาความรู้จากหลวงพ่อบุญยัง พอมีญาติโยมเจ็บป่วยมาหาหลวงพ่อบุญยัง หลวงพ่อมหาโพธิ์ท่านจะช่วยเก็บยาสมุนไพรให้กับอาจารย ์ ท่านปรุงเป็นยารักษาญาติโยมอยู่บ่อยๆ ยามว่างอาจารย์ของท่านจะเล่าเรื่องเกี่ยวกับวิชาต่าง ๆ ให้ฟัง เพื่อที่จะให้หลวงพ่อมหาโพธิ์สนใจอย่างไม่รู้ตัว อาทิเช่น วิชาเกี่ยวกับการฝึกธาตุทั้ง 4 ขึ้นมา อาจารย์ของท่านให้เอาโหลแก้วบรรจุน้ำเต็มตั้งไว้และใ ห้เอาขี้ผึ้งมามาปั้นเป็นก้อนกลมๆ ขนาดลูกพอประมาณ ใส่ลงในโหลแก้ว ขึ้ผึ้งจะลอยอยู่บนน้ำ และอาจารย์ท่านได้แสดงให้ดูก่อน โดยบังคับขี้ผึ้งให้ลอยและจมตามจิตบังคับ แล้วหลวงพ่อบุญยังก็พูดว่า ต้องใช้ความเพียรมากๆ ตั้งแต่นั้นมา หลวงพ่อมหาโพธิ์ก็ฝึกวิชาธาตุทั้ง 4 ด้วยความขยันหมั่นเพียรจนสามารถทำได้เหมือนกับอาจารย ์ของท่านเป็นที่ภาคภูมิใจของอาจารย์ยิ่งนัก
    สมัยที่หลวงพ่อบุญยังไปเรียนวิชากับหลวงปู่ศุข ที่วัดปากของมะขามเฒ่านั้น
    หลวงปู่ศุขได้ทดสอลความอดทนของท่านต่างๆ นานา ถ้าคนไม่มีความเพียรพยายามก็ต้องท้อเลิกไป แต่หลวงพ่อยุญยังท่านอดทนเพียรพยายามมาก แม้แต่กลางคืนหลวงปู่ศุขให้ไปฝึกวิชาที่โบสถ์ พอเดินออกไปก่อนจะถึงโบสถ์ฝนก็ตกน้ำท่วมถึงเอวต้องลุ ยน้ำไป จนเดินเลยโบสถ์กลับไปกลับมาตั้งหลายเที่ยวกว่าจะขึ้น โบสถ์ได้ วิชาต่างๆ ที่เรียนไปต้องฝึกให้สำเร็จและต้องแสดงต่อหน้าหลวงปู ่ศุขว่าทำได้แล้ว จึงจะขอเรียนวิชาอื่นๆ ต่อไปได้ เป็นระยะเวลาหลายปีทีเดียวที่หลวงปู่ศุขได้ถ่ยทอดวิช าต่างๆ ด้านพุทธคุณให้แก่หลวงพ่อบุญยัง และมอบคัมภีร์ไสยศาสตร์ทางพุทธคุณให้รักษาไว้สืบพระศ าสนาต่อไป จนตกมาถึงหลวงพ่อมหาโพธิ์ได้รับมอบคัมภีร์พุทธคุณจาก อาจารย์ของท่าน เป็นคัมภีร์ด้านพุทธคุณ ที่ประกอบด้วยอักขระ เลข ยันต์ต่างๆ ทั้งสูตรวิชาลบผงพุทธคุณในวิชา ปถมัง, อิทธิเจ, มหาราช, อิธิเจภาคพิศดาร หลวงพ่อมหาโพธิ์ได้ฝึกตามคัมภีร์จนเจนจบทุกวิชา การลบผงมหาราชจะต้องขึ้นต้นด้วยการตั้งชื่อนามให้ได้ 5 ชื่อ แล้วลบมาบังเกิดเป็น นะโมพุทธายะ จากนั้นก็ลบต่อไปเรื่อยๆ มาเป็นองค์พระ 5 องค์ มาเป็น มะอะอุ แล้วมาบังเกิดเป็นนะต่างๆ เป็นยันต์ต่างๆ จนถึงยันต์ครูองค์พระ และสิ้นสุดด้วยมหาสูญ, นิพพานสูญ, ทุกวิชาปถมัง, อิทธิเจ, มหาราช จะมีหลักเกณฑ์ต่างๆแนวเดียวกัน ทุกสูตรจะต้องมีตัวตั้งก่อเกิดขึ้นและนมัสการสูตรยัน ต์ต่างๆ ทุกขั้นตอนกว่าจะเสร็จสิ้น 1 กระดานการลบผงต้องใช้เวลาทั้งวัน ผงพุทธคุณต่างๆ จะเก็บไว้เพื่อนำผงมาผสมทำพระเครื่องต่างๆ หรือจะนำมาผสมแป้งเจิม
    ฝึกวิชา
    พระอาจารย์บุญยังได้พยายามถ่ายทอดวิชาต่างๆ ด้านพุทธคุณให้ ตอนแรก ๆ หลวงพ่อไม่สนใจ แต่เมื่ออยู่กับท่านนาน ๆ ไปหลวงพ่อเริ่มมีความสนใจขึ้น เห็นพระอาจารย์ท่านทำอะไร ๆ แปลกๆ ให้เห็นอยู่เรื่อย ๆ เช่น ทำควายธนูด้วยตอกสาน โดยสานมือเดียวแล้ววางไว้ ควายธนูก็มีการขยับเขยื้อนได้ เสกน้ำมันจนเดือดเหมือนน้ำร้อน ฟองเดือดขึ้นมา แต่เมื่อไปสัมผัสด้วยมือกลับไม่ร้อน ทำให้ท่านอยากจะเรียน พระอาจารย์ของหลวงพ่อก็ถ่ายทอดให้ทั้งคาถาปลุกเสก และวิธีฝึก
    วิชาเกราะเพชร
    วิชาหนึ่งที่ท่านชอบและฝึกมาตั้งแต่ต้น คือ “ยันต์เกราเพชร” หรือตาข่ายเพชร โดยหลวงพ่อบุญยังได้เล่าให้ท่านฟังว่าสมัยหลวงปู่ศุข ยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้ลองวิชาเกราะเพชรกับพระะรูปหนึ่ง ที่แก่กล้าวิชาที่เดินทางผ่านวัดปากคลองมะขามเฒ่า โดยบอกหลวงปู่สุขว่าจะขี่ม้าพยนต์เข้ามาในโบสถ์ให้ดู หลวงปู่ศุขท่านได้เอาผ้ายันต์เกราะเพชรขึงไว้หน้าประ ตู ปรากฎว่าม้าพยนต์ไม่สามารถผ่านยันต์เกราะเพชรหรือตาข ่ายเพชรไปได้ พระรูปนั้นเมื่อแพ้วิชาของหลวงปู่ศุข ก็ได้เดินทางกลับไปจากวัดปากคลองมะขามเฒ่าเมื่อหลวงพ ่อมหาโพธิ์ได้ฟังจากหลวงพ่อบุญยังเล่าท่านจึงสนใจและ เล่าเรียนวิชาเกราะเพชรลงตระกรุด และผ้ายันต์เกราะเพชรมาตลอดอายุของท่าน
    การลงยันต์เกราะเพชร ต้องท่องสูตรคาภาพระอิติปิโสรัตนมาลา ๕๖ บาท ให้ได้จนขึ้นใจทั้งเดินหน้า และถอยหลังได้รวมทั้งบทปลีกย่อยอื่น ๆ อีกมากมาย ในการลงยันต์เกราะเพชร ท่านบอกว่ายันต์เกราะเพชร เป็นยันต์ที่ค่อนข้างยากผู้เรียกจะต้องมีความขยันหมั ่นเพียร กับความอดทน และการประสิทธิ์ประสาทจากครูบาอาจารย์ น้อยคนนักที่จะลงยันต์เกราะเพชรได้ บางคนมาขอเรียนเห็นพระคาถา ๕๖ บาท ก็ท้อแล้วไม่อยากจะท่องจำ ความเพียรพยายามไม่มี การลงยันต์ก็ต้องหายใจลงตามสูตรพระคาถา ๕๖ บาท ผู้ที่ฝึกฝนใหม่ ๆ ต้องใช้เวลาเรียนเกือบทั้งวันกว่าจะลงยันต์เสร็จ อย่างตัวของหลวงพ่อเองใช้เวลาประมาณ ๒ ชั่งโมง ถือว่าลงได้เร็วมากแล้วเพราะท่านฝึกมา ตั้งแต่อายุยังรุ่นอยู่
    ในสมัยก่อนยามว่าง ท่านมักลงตระกรุดเกราะเพชรและทำผงพุทธคุณเกราะเพชรทั ้งชนิดป้องกันตัว และถอนคุณถอนของคนที่ถูกผีเข้า ท่านจะเอาตะกรุดเกราะเพชรที่เป็นแผ่นแบบยังไม่ได้ม้ว นเป็นตะกรุด ตบหัวคนถูกผีเข้า ผีจะทรุดลง และออกจากตัวคนไข้ไปทันที ตะกรุดส่วนใหญ่ท่านจะใช้แผ่นทองแดงมาลงยันต์เกราะเพช ร ยกเว้นแผ่นถอนของท่านจะใช้แผ่นตะกั่ว ส่วนตะกรุดเนื้อเงินท่านจะลงให้เฉพาะกับศิษย์ใกล้ชิด เท่านั้น เกี่ยวกับประสบการณ์ในตะกรุดเกราะเพชร มี ส.ส.ท่านหนึ่งใน จ.ชันนาท ที่เคารพนับถือหลวงพ่อมากได้ขอตะกรุดท่านไปใช้พกติดต ัว ขณะหาเสียงถูกผู้ที่ปองร้ายใช้ระเบิดปาใส่ ปรากฏว่า ส.ส.ท่านนั้นไม่เป็นอะไรเลย
    วิชาลงตะกรุดใต้น้ำ
    หลวงพ่อบุญยังได้เรียนวิชาตะกรุดใต้น้ำจากหลวงปู่ศุข โดยสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้ลงให้กับลูกศิษย์ทุกปี แม้กระทั่งพระสมุห์กลับ แสงเขียว ก็ยังขอให้ท่านช่วยลงตะกรุดใต้น้ำที่วัดดอนตาลให้ โดยก่อนที่จะประกอบพิธีจะต้องตั้งเครื่องบูชาครูริมแ ม่น้ำ และต้องตอกเสาหลักไว้ในน้ำสำหรับผู้ที่จะลงตะกรุดเกา ะไว้ ไม่อย่างนั้นจะถูกน้ำพัดลอยไปตามกระแสน้ำ ตะกรุดจะลง และปลุกเสกใต้น้ำเสร็จแล้วจะปล่อยให้ลอยขึ้นมาบนผิวน ้ำ พวกลูกศิษย์ก็จะแจวเรือคอยเก็บอยู่ข้างบน หลวงพ่อบุญยังเล่าให้หลวงพ่อบุญยังฟังว่าน้ำที่
    วัดดอนตาลน้ำเย็นเหลือเกิน หลวงพ่อมหาโพธิ์เล่าว่า ท่านเคยขอเรียนวิชาตะกรุดใต้น้ำนี้จากท่านอาจารย์บุญ ยัง ซึ่งอาจารย์ท่านก็รับปากถ่ายทอดให้แต่ต้องเรียนในวัน เพ็ญเดือน ๑๒ แต่ยังไม่ทันถึงเดือน ๑๒ หลวงพ่อบุญยังก็มรณะภาพลงเสียก่อนเมื่ออายุได้ ๕๕ เป็นที่น่าเสียดายยิ่งนัก ที่หลวงพ่อท่านเรียนจากพระอาจารย์ไม่ทันจึงทำให้วิชา นี้สูญไป
    เกี่ยวกับวันที่หลวงพ่อบุญยังมรณภาพ ชาวบ้านแถบวัดปากคลองมะขามเฒ่า ได้เห็นลูกๆไฟดวงใหญ่ลอยเดินทางไปยังวัดหนองน้อย และได้ลอยกลับมาโดยมีลูกๆฟดวงเล็กตามมาด้วยเป็นที่ตื ่อนตาตื่นใจแก่ผู้คนในสมัยนั้นมากเล่าขสนมาจนถึงปัจจุบันนี้

    ขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระผงประภามณฑลเนื้อผงใบลานหลวงพ่อมหาโพธิ์ให้บูชา 150 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)
    IMG_20230920_224555.jpg IMG_20230920_224540.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2023
  18. ktv

    ktv เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +1,193
    จองเพิ่มครับ
    พระแก้วมรกต วัดพระแก้ว ปี 2525 พิมพ์ทรงกลม พิธีใหญ่มหาพุทธาภิเษกที่วัดพระแก้ว
    เหรียญพระแก้วมรกตปี 2525
     
  19. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,813
    ค่าพลัง:
    +21,353
    get_auc3_img (6).jpeg get_auc3_img (7).jpeg
    จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในงานเปิดอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงและทำพิธีเปิด ณ บริเวณที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟหลวงสายแรกในราชอาณาจักร

    ที่มาของการสถาปนากิจการรถไฟ...

    เมื่อ พ.ศ. 2398 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งในเครื่องราชบรรณาการนั้นมีรถไฟเล็กจำลองย่อส่วนจากรถจักรไอน้ำของจริงที่ใช้ในเกาะอังกฤษ ประกอบด้วยหัวรถจักรไอน้ำชนิดมีปล่องสูงและรถพ่วงครบขบวน ซึ่งเป็นที่สนพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในชณะนั้น แต่ตลอดรัชสมัยของพระองค์ยังไม่มีการสร้างทางรถไฟเกิดขึ้น เพราะภาวะเศรษฐกิจของราชอาณาจักรสยามในขณะนั้นยังอยู่ในฐานะที่ไม่มั่นคงและยังมีจำนวนประชากรน้อยอยู่

    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงได้รับแรงบันดาลพระราชหฤทัยจากการทรงทอดพระเนดรการสร้างทางรถฟในชวาและทรงประทับรถไฟในอินเดีย พระองค์ทรงเห็นว่ารถไฟจะทำให้ราชอาณาจักรสยามมีความเจริญยิ่งขึ้น และจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงให้กับราชอาณาจักรได้ ซึ่งในขณะนั้นราชอาณาจักรสยามกำลังถูกกดดันจากชาติตะวันตกในการล่าอาณานิคม ดังนั้นการสร้างทางรถไฟจึงได้เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2433 โดยมีประกาศพระบรมราชโองการสร้างทางรถไฟสยามตั้งแต่กรุงเทพมหานครถึงนครราชสีมา ดังมีข้อความแสดงพระราชดำริบางดอนว่า

    "การสร้างหนทางรถไฟเดินไปมาในระหว่างหัวเมืองไกล เป็นเหตุให้ความเจริญแก่บ้านเมืองได้เป็นอย่างสำคัญอันหนึ่ง เพราะทางรถฟอาจจะชักย่นหนทางหัวเมืองซึ่งตั้งอยู่ไกลไปมาถึงกันยากให้กลับเป็นหัวเมืองใกล้ไปมาถึงกันได้โดยสะดวกเร็วพลัน การย้ายขนสินค้าไปมางเป็นการลำบาก ก็สามารถจะย้ายขนไปมาถึงกันได้โดยง่าย เย็นการเปิดโอกาสให้อาณาประชาราษฎร์ มีทางตั้งการทำมาหากินกว้างขวางออกไปและทำทรัพย์สมบัติกรุงสยามให้มากมียิ่งขึ้นด้วย ทั้งเป็นคุณประโยชน์ในการบังคับบัญชา ตรวจตราราชการบำรุงรักษาพระราชอาณาเขตให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขได้โดยสะดวก"

    ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากรมรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในสังกัดกระทรวงโยธาธิการ จากนั้นในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ไปทรงขุดดินถมทางรถไฟหลวงสายแรก

    สำหรับการก่อสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมาได้แล้วเสร็จบางส่วน ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระอัครราชเทวี ไปทรงประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟหลวงสายแรกในราชอาณาจักร พระองค์ทรงตอกหมุดตรึงรางรถไฟกับไม้หมอนและเสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟพระที่นั่งไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รวมกิจการของกรมรถไฟสายเหนือและกรมรถไฟสายใต้เป็นกรมรถไฟหลวง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบูรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง และได้เปลี่ยนขนาดทางกว้างรางรถไฟให้เป็นทางกว้าง 1 เมตรทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีการสร้างสะพานพระราม 6 เป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสะพานแรกในประเทศไทยเพื่อเชื่อมทางรถไฟสายเหนือกับสายใต้เข้าด้วยกัน

    จากนั้นรัฐสภาได้ตราพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มีผลใช้บังคับวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 กรมรถไฟจึงได้เปลี่ยนเป็นการรถไฟแห่งประเทศไทย และมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคมตามพระราชบัญญัตินี้

    การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ดำเนินกิจการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน การรถฟแห่งประเทศไทยได้น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างสูง จึงได้จัดสร้างอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงและทำพิธีเปิด ณ บริเวณที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟหลวงสายแรกในราชอาณาจักร และถือเอาวันที่ 26 มีนาคมของทุกปี เป็นวันสถาปนากิจการรถไฟอีกด้วย
    ลพ เกษม เขมโก ลำปาง อธิษฐานจิต ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    (ปิดรายการ)
    IMG_20230920_224406.jpg IMG_20230920_224435.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2023
  20. sunmk

    sunmk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2020
    โพสต์:
    1,238
    ค่าพลัง:
    +1,005
    จองพระผงลป.มหาโพธิ์/เหรียญร 5
     

แชร์หน้านี้

Loading...