เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร...แต่ถ้า

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย bamboo, 22 ธันวาคม 2005.

  1. bamboo

    bamboo สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร...แต่หากมีคนมาทำให้เราเดือดร้อนวุ่นวายใจและอาจจะเกิดผลเสียกับคนข้างเคียงของเราด้วย เราควรทำอย่างไร
     
  2. Forest_Sa

    Forest_Sa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +1,444
    ก็พยายามอดทนกับสิ่งที่เกิดขึ้นอะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด เดี๋ยวก็ผ่านไปเองแหละ นิ่งเข้าไว้อย่าไปใส่ใจ ใครที่มาจองเวร ก็ช่างเขาตบเมือข้างเดียวไม่ดังหรอก ทำนองนี้ภาษาบ้านผมก็จะบอกว่าอย่าไปหัวซามัน
     
  3. PyDE

    PyDE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2005
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,318
    เราคงมองปัญหาให้ลึกซึ้งแล้วล่ะครับ ทำไมจึงเกิดปัญหา เขามาก่อกวนทำไม เราไปทำอะไรใครไว้ เขาต้องการอะไร เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร แต่เราไปทำเวรทำกรรมอะไรกับใครไว้ในอดีตด้วยรึเปล่า
     
  4. นิรมิต

    นิรมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +171
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=549 align=center bgColor=#ffffcc border=0><TBODY><TR><TD colSpan=4>พรหมวิหาร 4

    </TD></TR><TR><TD> </TD><TD colSpan=4>ความหมายของพรหมวิหาร 4
    - พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=301 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=55>เมตตา</TD><TD width=246>ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข</TD></TR><TR><TD width=55>กรุณา</TD><TD width=246>ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์</TD></TR><TR><TD width=55>มุทิตา</TD><TD width=246>ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี</TD></TR><TR><TD width=55>อุเบกขา</TD><TD width=246>การรู้จักวางเฉย</TD></TR></TBODY></TABLE>
    คำอธิบายพรหมวิหาร 4
    1. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้
    และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น 2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย
    ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
    - ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และ
    ความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์
    - ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์
    3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง
    4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

    </TD></TR></TBODY></TABLE>http://www.learntripitaka.com/scruple/prom4.html
    ดูที่ตัวเราเอง
    ไปแกล้งคนอื่นเขาก่อนหรือป่าว...
    คิดไปเองวิตกต่าง ๆ นานาน...
    แล้วตีโพยตีพายหรือป่าว...
    ทำให้คนอื่นเดือดร้อนก่อนหรือป่าว
    สร้างกรรมใหม่ทำร้ายคนอื่น..ย่อมได้รับผลร้ายในอนาคต
    ไม่คิดก้จบแล้วแสดงว่าคิดมากเอง
    ว่างๆไปเดินจงกลมดีกว่า..เข้าท่าดี นะสาธุชน
     

แชร์หน้านี้

Loading...