เผยพระพุทธรูปโบราณ ที่นศ.พบมีอายุกว่า1000ปี

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 15 มิถุนายน 2021.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. กรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ ได้รับแจ้งว่ามีกลุ่มนักศึกษาจาก ม.ศิลปากร และ มทร.รัตนโกสินทร์ วิทยาเขตเพาะช่าง พบพระพุทธรูปโบราณทิ้งอยู่ริมถนน ใกล้โบราณสถานวัดพระงาม จ.นครปฐม และได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครปฐม ซึ่งจากการสอบถามข้อมูลเบื้องต้นทราบว่าพระพุทธรูปดังกล่าวถูกพบระหว่างการดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางรถไฟ เมื่อเดือน พ.ค.2564 ขณะที่รถแบ๊กโฮได้ขุดลงไปที่ความลึกประมาณ 4 เมตร จึงมีการนำส่วนขององค์พระพุทธรูปไปวางไว้บริเวณป้อมของเจ้าหน้าที่กั้นทางรถไฟ และนำส่วนเศียรไปไว้ที่บริเวณเจดีย์วัดพระงาม

    0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b8a3e0b8b9e0b89be0b982e0b89ae0b8a3e0b8b2e0b893-e0b897e0b8b5e0b988e0b899.jpg

    นายประทีป กล่าวต่อไปว่า ได้มอบหมายให้สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี ลงพื้นที่ตรวจสอบเบื้องต้น เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. โดยเจ้าหน้าที่ได้ลงบันทึกประจำวันเป็นหลักฐานและนำพระพุทธรูปมาเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ น.ส.เด่นดาว ศิลปานนท์ วิเคราะห์รูปแบบศิลปกรรมเพิ่มเติม ซึ่งผลการตรวจสอบโดยละเอียดพบว่า เป็นพระพุทธรูปศิลปะทวารวดีปางสมาธิ สลักจากหินสีเทา แตกเป็น 2 ชิ้น ขนาดหน้าตักกว้าง 50 เซนติเมตร สูงรวมพระเศียร 79 เซนติเมตร ประทับขัดสมาธิราบ ครองจีวรห่มคลุม บางแนบพระองค์ พระหัตถ์ข้างขวาวางซ้อนเหนือพระหัตถ์ซ้ายบนพระเพลา พระหัตถ์และพระบาทมีขนาดใหญ่ ฐานสลักเป็นรูปกลีบบัวหงาย พระพักตร์แสดงลักษณะพื้นเมือง รูปค่อนข้างยาว พระหนุป้าน พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเนตรเหลือบต่ำ เม็ดพระศกใหญ่ โอษฐ์หนา แบะกว้าง แย้มพระโอษฐ์ มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-16 หรือประมาณ 1,000-1,400 ปีมาแล้ว ซึ่งพระพุทธรูปทวารวดีนั้นโดยทั่วไปสร้างขึ้นในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท โดยได้รับรูปแบบแรงบันดาลใจมาจากศิลปะอินเดียแบบอมราวดี คุปตะ หลังคุปตะ และปาละ นับเป็นพุทธศิลป์รุ่นแรกในดินแดนประเทศไทย สะท้อนถึงการรับอิทธิพลศิลปกรรมจากต่างแดน เข้ามาผสมผสานกับสุนทรียภาพของท้องถิ่นจนเกิดเป็นรูปแบบของตนเอง

    อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า สำหรับพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในคลังของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงอาคารและพัฒนาการจัดแสดงนิทรรศการถาวร ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการในเดือน ส.ค. 2564

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.dailynews.co.th/education/850042
     
  2. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    กรมศิลป์ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณวัตถุ วิเคราะห์รูปแบบศิลปกรรมสมัยทวารวดี อายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12–16 หรือประมาณ 1,000–1,400 ปีมาแล้ว
    นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2564 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ ได้ทราบข่าวว่ามีกลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตเพาะช่าง พบพระพุทธรูปโบราณทิ้งอยู่ริมถนนใกล้โบราณสถานวัดพระงาม จังหวัดนครปฐม และได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครปฐม ซึ่งจากการสอบถามข้อมูลเบื้องต้นทราบว่าพระพุทธรูปดังกล่าวถูกพบระหว่างการดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางรถไฟ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2564 ขณะที่รถแบคโฮได้ขุดลงไปที่ความลึกประมาณ 4 เมตร จึงมีการนำส่วนขององค์พระพุทธรูปไปวางไว้บริเวณป้อมของเจ้าหน้าที่กั้นทางรถไฟ และนำส่วนเศียรไปไว้ที่บริเวณเจดีย์วัดพระงาม

    e0b8a3e0b8b0e0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b8a3e0b8b9e0b89be0b8a2e0b8b8e0b884e0b897e0b8a7e0b8b2e0b8a3.jpg

    b8a3e0b8b0e0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b8a3e0b8b9e0b89be0b8a2e0b8b8e0b884e0b897e0b8a7e0b8b2e0b8a3-1.jpg

    อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า ได้มอบหมายให้สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี ลงพื้นที่ตรวจสอบเบื้องต้น เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่ได้ลงบันทึกประจำวันเป็นหลักฐานและนำพระพุทธรูปมาเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ วิเคราะห์รูปแบบศิลปกรรมเพิ่มเติม ซึ่งผลการตรวจสอบโดยละเอียดพบว่า เป็นพระพุทธรูปศิลปะทวารวดีปางสมาธิ สลักจากหินสีเทา แตกเป็น 2 ชิ้น ขนาดหน้าตักกว้าง 50 เซนติเมตร สูงรวมพระเศียร 79 เซนติเมตร ประทับขัดสมาธิราบ ครองจีวรห่มคลุม บางแนบพระองค์ พระหัตถ์ข้างขวาวางซ้อนเหนือพระหัตถ์ซ้ายบนพระเพลา พระหัตถ์และพระบาทมีขนาดใหญ่ ฐานสลักเป็นรูปกลีบบัวหงาย พระพักตร์แสดงลักษณะพื้นเมือง รูปค่อนข้างยาว พระหนุป้าน พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเนตรเหลือบต่ำ เม็ดพระศกใหญ่ โอษฐ์หนา แบะกว้าง แย้มพระโอษฐ์ มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 หรือประมาณ 1,000 – 1,400 ปีมาแล้ว ซึ่งพระพุทธรูปทวารวดีนั้นโดยทั่วไปสร้างขึ้นในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท โดยได้รับรูปแบบแรงบันดาลใจมาจากศิลปะอินเดียแบบอมราวดี คุปตะ หลังคุปตะ และปาละ นับเป็นพุทธศิลป์รุ่นแรกในดินแดนประเทศไทย สะท้อนถึงการรับอิทธิพลศิลปกรรมจากต่างแดน เข้ามาผสมผสานกับสุนทรียภาพของท้องถิ่นจนเกิดเป็นรูปแบบของตนเอง
    พระพุทธรูปองค์ดังกล่าวปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในคลังของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงอาคารและพัฒนาการจัดแสดงนิทรรศการถาวร ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการในเดือนสิงหาคม 2564 โดยพระพุทธรูปที่พบใหม่นี้ จะอยู่ในกลุ่มโบราณวัตถุสำคัญ ที่จะนำมาจัดแสดงในนิทรรศการถาวรในโอกาสที่เหมาะสมต่อไป

    ขอขอบคุณที่มา
    https://siamrath.co.th/n/253186
     

แชร์หน้านี้

Loading...