เป็นคนดี แล้วมีความสุข จริงหรือ?

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย dalink, 21 ธันวาคม 2005.

  1. dalink

    dalink เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +2,436
    อยากให้เพื่อนๆ เข้ามาแสดงความเห็นกันหน่อยค่ะ ว่าการที่เราปฏิบัติตัวให้อยู่ในความดี นั้น แท้จริงในใจลึกๆ แล้วเรามีความสุขจริงหรือเปล่า ดูเผินๆ เหมือนว่าเราอิ่มอกอิ่มใจ แต่แท้จริงแล้วเราแอบมีความเศร้าหมองแฝงอยู่ด้วยหรือเปล่า ซึ่งมันมีมุมมองให้คิดได้หลายแง่มุมอยู่เหมือนกันนะ
    ยกตัวอย่างเช่น
    การที่เราไม่อยากผิดศีล ข้อ 4 คือการไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียดนินทา เราก็จะวางเฉยต่อคนที่พูดไม่ดี ติฉินนินทาเรา แล้วเราก็ไม่โต้ตอบ เพราะไม่อยากผิดศีล แต่นั่นแท้จริงแล้ว ในใจลึกๆ เราทนได้จริงหรือ ซึ่งเราก็คงมีความรู้สึกอยากโต้ตอบบ้าง ใช่หรือไม่
     
  2. stefa

    stefa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,790
    การไม่โต้ตอบก็คือขันติ

    แค่นี้ง่ายๆก็ได้ธรรมะ 2 ข้อแล้ว

    การทำความดีอย่าไปเคลือบแคลงใจ

    มีความมั่นใจเป็นที่ตั้งที่แข็งแกร่ง

    ความสุขคือผลตอบแทนที่แน่นอน

    ถ้าจิตใจเราคลอนแคลนเราก็ไม่มีความสุข

    เรามีกำแพงสูงแห่งความตั้งมั่น

    อย่าให้มีสิ่งใดมาทำลายกำแพงของเราได้เท่านั้นก็พอ

    ความสุขก็อยู่ตรงหน้าเราและในจิตในใจเรา
     
  3. stefa

    stefa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,790
    ความสุขนี้เกิดจากตัวตนของเราเองแท้ๆ

    ไม่ต้องให้ใครหยิบยื่นให้เรา

    ไม่ต้องไปไขว่คว้าหามาจากไหน

    สร้างบุญสร้างกุศลให้กับใครและสิ่งใดๆก็สู้ไม่ได้

    เพราะเราสร้างบุญสร้างกุศลได้ด้วยตัวของเราเอง

    โดยการสร้างความสุขให้กับตัวเราเองและเพื่อคนอื่นด้วย

    ผลที่ได้ก็จะเกิดสันติสุขขึ้นกับมวลชนได้เองด้วย
     
  4. dalink

    dalink เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +2,436
    แล้วในช่วงที่อดทนล่ะ แอบมีความเศร้าหมองอยู่ในใจบ้างหรือเปล่า คิดว่าคงมีด้วยกันทุกคนนะคะ แต่ว่าเราจะทนได้สักแค่ไหน
    ถ้ากรณีเรื่องไม่รุนแรงมากเราคงทนได้ แต่หากว่าเรื่องใหญ่โต เราเองก็ต้องเพิ่มความขันติมากยิ่งขึ้น ซึ่งเราจะผ่านพ้นได้ ก็คิดว่าเราต้องผ่านความหม่นหมองด้วยเช่นกัน คิดว่าขณะเดียวกันก่อนที่จะพบกับความสุขใจ เราเองต้องพบกับความเศร้าหมอง ทุกข์ใจก่อนอยู่ดี ใช่หรือไม่
     
  5. stefa

    stefa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,790
    ข่าวดาวเทียม ข่าวสั้นทันโลก ข่าวในและนอกประเทศ

    ข่าวน้ำท่วม แผ่นดินไหว อุบัติเหตุต่างๆ

    เราได้รับรู้และผ่านเข้ามาไม่เว้นแต่ละวันมากมาย

    ชีวิตปัญหาในครอบครัว ที่ทำงาน เพื่อนฝูง

    อุปสรรคทั้งหลายผ่านมาแล้วก็ผ่านไป

    กำแพงขวางกั้นความทุกข์ใจก็จะหนาขึ้น

    ความอดทนขันติแทบจะไม่ต้องต้องจิตตั้งใจเลย

    ผ่านไปได้อย่างสบายๆ ด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มสดใส

    อายุก็จะเป็นแค่ตัวเลขเท่านั้น
     
  6. varanyo

    varanyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    925
    ค่าพลัง:
    +3,373
    คัดลอกจากสติปัฏฐานสูตร ส่วนที่เป็น เวทนานุปัสสนา...

    เวทนานุปัสสนา<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    [ ๒๘๘ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย <o:p></o:p>
    ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนา(ความเสวยอารมณ์)ในเวทนาเนืองๆ อยู่ <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ <o:p></o:p>
    เมื่อเสวย สุขเวทนา <o:p></o:p>
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยสุขเวทนา <o:p></o:p>
    เมื่อเสวย ทุกขเวทนา <o:p></o:p>
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยทุกขเวทนา <o:p></o:p>
    เมื่อเสวย อทุกขมสุขเวทนา (ไม่สุข ไม่ทุกข์ คือ อุเบกขาเวทนา) <o:p></o:p>
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา <o:p></o:p>
    หรือเมื่อเสวย สุขเวทนามีอามิส (คือเจือกามคุณ) <o:p></o:p>
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยสุขเวทนามีอามิส <o:p></o:p>
    หรือเมื่อเสวย สุขเวทนาไม่มีอามิส (คือไม่เจือกามคุณ) <o:p></o:p>
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส <o:p></o:p>
    หรือเมื่อเสวย ทุกขเวทนามีอามิส <o:p></o:p>
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส <o:p></o:p>
    หรือเมื่อเสวย ทุกขเวทนาไม่มีอามิส <o:p></o:p>
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส <o:p></o:p>
    หรือเมื่อเสวย อทุกขมสุขเวทนามีอามิส <o:p></o:p>
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส <o:p></o:p>
    หรือเมื่อเสวย อทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส <o:p></o:p>
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ดังนี้ <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา เป็นภายในบ้าง <o:p></o:p>
    ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา เป็นภายนอกบ้าง <o:p></o:p>
    ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ทั้งภายในภายนอกบ้าง <o:p></o:p>
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง <o:p></o:p>
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในเวทนาบ้าง <o:p></o:p>
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในเวทนาบ้าง <o:p></o:p>
    ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่าเวทนามีอยู่ <o:p></o:p>
    แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก <o:p></o:p>
    เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย <o:p></o:p>
    ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย <o:p></o:p>
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่อย่างนี้
    --------------------------------------------------------------

    <o:p>ขออนุโมทนา...สาธุ
    ------------------
    ศึกษาวิธีสร้างบุญบารมี...ของสมเด็จพระญาณสังวร...ได้ที่

    http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=19673

    เว็บไซต์ประวัติและธรรมเทศนาหลวงปู่หลวง กตตฺปุญฺโญ พระสุปฏิปันโนสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    http://members.thai.net/varanyo/pooluang.asp
    </o:p>
     
  7. PyDE

    PyDE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2005
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,318
    อาจจะไม่มีคำตอบที่แน่ชัด แต่หากเรามองในมุมกลับ คนไม่ดี มีความสุขยังไง?
     
  8. หลับตา

    หลับตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    716
    ค่าพลัง:
    +3,151
    ถ้าเป้าหมายเหตุผลแน่ชัด ก็มีความสุขดีถ้าเราทำได้ เป็นสุขในธรรม ไม่ใช่สุขปนอามิส
    เชื่อว่าคนที่ทำไม่ดีกับคุณเค้าก็ไม่มีความสุขที่แท้จริงหรอก
     
  9. stefa

    stefa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,241
    ค่าพลัง:
    +1,790
    ความสุขที่แท้จริง คนดีจะรู้สึกและเข้าใจในอารมณ์แห่งความสุขด้วยตนเอง

    คนไม่ดี จะให้สุขยังไงก็จะหาอารมณ์แห่งความสุขที่แท้จริงไม่ได้

    ดีไม่ดี สุขหรือทุกข์ ต่างคนต่างรู้ดีด้วยตนเอง

    ความเข้าใจในอารมณ์นี้ รู้สึกอย่างไร เป็นเฉพาะตัวบุคคล

    แต่ละคนมีดีกรีหรือรูปแบบแตกต่างกัน

    คนไม่ดีก็มีโอกาสแก้ตัวได้ ตั้งใจทำทีละนิด อาจจะยาก ใช้เวลาหน่อย

    คนที่ให้โอกาสก็คือ ตัวเราเองจะตัดสินใจ

    stefaชอบโพสต์ให้อ่านง่าย เข้าใจง่าย ทำให้ทำง่าย

    หลักข้อธรรมมะยาวเหยียด แค่ศัพท์ก็อ่านยาก สะกดยาก

    แล้วจะเข้าใจได้หรือ ทำตามยิ่งไม่ได้ใหญ่เลย

    ประโยคเดียว คิดดีทำดี ก็สุขใจแล้ว
     
  10. PalmPlamnaraks

    PalmPlamnaraks เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2005
    โพสต์:
    764
    ค่าพลัง:
    +5,790
    หลักธรรมมีหลากหลายต่างๆ ดีชั่วพระท่านสอนไว้หมดแล้ว เราก็เลือกเอามาปฏิบัติไปสิ เราต้องการอะไรได้ทั้งนั้น ทั้งทางดีทางชั่ว พระท่าน ไกด์ทางให้แล้ว ทำหรือไม่ขึ้นอยู่กับเรา
     
  11. Forest_Sa

    Forest_Sa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +1,444
    บุญคือความสุข (ที่ไม่ทำให้ตัวเองหรือผู้อื่นเดือดร้อน)

    พระไตรปิฎก เล่มที่ 25
    อิติวุตตกะ ติกนิบาต วรรคที่ ๒
    ๑. ปุญญกิริยาวัตถุสูตร

    [๒๓๘] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้
    พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว
    ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุญญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ
    ทานมัยปุญญกิริยาวัตถุ ๑ ศีลมัยปุญญกิริยาวัตถุ ๑ ภาวนามัยปุญญกิริยาวัตถุ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุญญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้แล ฯ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาค
    ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

    กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ พึงศึกษาบุญนั่นแล อันให้ผลเลิศ
    ต่อไป ซึ่งมีสุขเป็นกำไร คือ พึงเจริญทาน ๑ ความ
    ประพฤติเสมอ ๑ เมตตาจิต ๑ บัณฑิตครั้นเจริญธรรม ๓
    ประการอันเป็นเหตุให้เกิดความสุขเหล่านี้แล้ว ย่อมเข้าถึง
    โลกอันไม่มีความเบียดเบียน ฯ

    เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว
    ฉะนี้แล ฯ
    จบสูตรที่ ๑

    พระไตรปิฎก เล่มที่ 23
    ปุญญกิริยาวัตถุสูตร

    [๑๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้ ๓ ประการ
    เป็นไฉน คือ บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยทาน ๑ บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีล ๑
    บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยภาวนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
    ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานนิดหน่อย ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลนิด
    หน่อย ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความ
    เป็นผู้มีส่วนชั่วในมนุษย์ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
    ทานพอประมาณ ทำบุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีลพอประมาณ ไม่เจริญบุญกิริยา
    วัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นผู้มีส่วนดีในมนุษย์ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
    ทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยา
    วัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น
    จาตุมมหาราช ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาราชทั้ง ๔ ในชั้นนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่
    สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วง
    เทวดาชั้นจาตุมมหาราชโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ สุขทิพย์
    ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพ-
    ทิพย์ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
    ทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยา
    วัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น
    ดาวดึงส์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพในชั้นดาวดึงส์นั้น กระทำบุญ
    กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก
    ย่อมก้าวล่วงพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์โดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ ฯลฯ
    โผฏฐัพพทิพย์ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
    ทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญ
    กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดา
    ชั้นยามา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสยามเทพบุตรในชั้นยามานั้น ทำบุญกิริยาวัตถุ
    ที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อม
    ก้าวล่วงเทวดาชั้นยามาโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ ฯลฯ โผฏฐัพพ-
    ทิพย์ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
    ทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยา
    วัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น
    ดุสิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสันดุสิตเทพบุตรในชั้นดุสิตนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่
    สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วง
    เทวดาชั้นดุสิตโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ ฯลฯ โผฏฐัพพทิพย์ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
    ทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุ
    ที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น
    นิมมานรดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสุนิมมิตเทพบุตรในชั้นนิมมานรดีนั้น ทำบุญ
    กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก
    ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นนิมมานรดีโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ ฯลฯ
    โผฏฐัพพทิพย์ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
    ทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยา
    วัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น
    ปรนิมมิตวสวัตตี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวปรนิมมิตวสวัตตีเทพบุตรในชั้น
    ปรนิมมิตวสวัตตีนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุ
    ที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตีโดยฐานะ ๑๐
    ประการ คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์
    เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพทิพย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยา
    วัตถุ ๓ ประการนี้แล ฯ
    จบสูตรที่ ๖



    ลำดับอานิสงส์ของทาน (ทานํ=การให้)
    ให้แก่สัตว์เดรัจฉาน 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้มนุษย์ 1 ครั้ง
    ให้แก่มนุษย์ 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้สมมติสงฆ์ 1 ครั้ง
    ให้กับสมมติสงฆ์ 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระโสดาบัน 1 ครั้ง
    ให้กับพระโสดาบัน 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระสกิทาคามี 1 ครั้ง
    ให้กับพระสกิทาคามี 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระอนาคามี 1 ครั้ง
    ให้กับพระอนาคามี 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระอรหันต์ 1 ครั้ง
    ให้กับพระอรหันต์ 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระปัจเจกพุทธเจ้า 1 ครั้ง
    ให้กับพระปัจเจกพุทธเจ้า 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้พระพุทธเจ้า 1 ครั้ง
    ให้กับพระพุทธเจ้า 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้สังฆทาน 1 ครั้ง
    ให้สังฆทาน 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้อภัยทาน 1 ครั้ง
    ให้อภัยทาน 100 ครั้ง ก็ไม่เท่ากับให้ธรรมทาน 1 ครั้ง
    ดังนั้น การให้ธรรมะย่อมชนะการให้ทั้งปวง ดังพุทธภาษิตที่ว่า “สพฺพทานํ ธมมทานํ ชินาติ”


     
  12. dalink

    dalink เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +2,436
    ขอบคุณกับทุกความเห็นค่ะ

    อย่างไรก็ดี การที่เรามีความคิดเห็นต่างกัน ก็ดีเหมือนกัน จะได้แยกแยะให้รู้ว่า ถูกผิด นั้น แตกต่างกัน อย่างไร เรื่องอย่างนี้ แล้วแต่ความเชื่อและ ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติของคน เชื่อว่าหากเราได้ลองถูก ผิด ก็คงพบคำตอบที่ถูกต้องในคราวถัดไป แน่นอน
     
  13. นิรมิต

    นิรมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +171
    แล้วแต่ระดับจิตใจแต่ละคน โลภ โกรธ หลง แต่ละคนมันต่างกัน
    คนที่มีจิตใจหยาบ....ก็อาจจะ มีความสุขได้ยาก เวลา ที่ทำดี มันจะเหมือนกับฝืนความรู้สึกมาก ยังไงยังงั้น
    คนที่มีจิตใจละเอียด ...พิจารณาด้วยปัญญาแล้ว...ก็จะพบว่าความสุขอย่างยั่งยืน คือการไม่เบียดเบียนผู้อื่นและไม่เบียดเบียนตนเอง
    กรรมใดที่มีโทษในภายหลัง กรรมนั้นไม่ควรทำ
     
  14. นิรมิต

    นิรมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +171
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p><CENTER>คำสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า </CENTER><CENTER>อารมณ์ของพวกเธอยังกวัดแกว่งไปมา เรื่อง โกรธ โลภ หลง ยังวนเวียนอยู่ สามตัวนี้ จะปิดกั้นสมาธิ โลภ คือ ความหวงต้องการไว้เป็นสมบัติตัว ของตัว อันนี้เป็นตัวเกาะใจให้ยึดถือ เมื่อมีใครหรือสิ่งใดมาแย่ง มาแยกออกไป อารมณ์ยึด จะเกิดเป็นโกรธ ความโกรธ จะทำให้เธอขาดสติ ขาดเหตุผลในการพิจารณาว่าอะไรควร ไม่ควร จะทำให้ตัวเธอ เหมือนสิ่งประหลาด พูดในสิ่งไม่ควร ลองโดยไม่เหตุผล และตัวนี้จะก่อเพิ่มตัวหลง หลงว่า ตัวที่โกรธออกไปนั้นถูก นั่นคือความเห็นแก่ตัวของเธอ หรืออีกนัยหนึ่ง คือการยึดเอา \" เรา ของเรา \" และหลงตัวนี้จะสร้างทิฐิมานะขี้นในตัวเรา ใครว่าไม่ได้ เตือนไม่ฟัง แถมยังจะตำหนิกลับไปอีกด้วย นี่คือ มานะ แค่นี้เท่านี้ สอนอยู่ประจำก็ละเว้นได้ชั่วครู่ชั่วยามแล้วก็ลืม อย่างนี้จะหาสติ สมาธิได้เมื่อไร

    อย่าได้เอากาลเวลามาอ้าง อย่าได้เอาอุปสรรคมาอ้าง อย่าได้เอาสังขารมาอ้าง กาลเวลาไม่คอยใคร มัวแต่ถือทิฐิมานะ มัวแต่เอาอารมณ์ตัวเป็นกำหนด เช่นนี้ก็ไม่เห็นทางพ้นไฟ ร้อนที่ตัว ร้อนที่ใจ พรหมวิหาร 4 หัดปฏิบัติให้ครบ 4 ขั้น อย่าได้ร้องว่า ไม่มีความสามารถ ถ้าเธอร้องเช่นนี้ก็ไม่ทราบว่าจะสอนเช่นไร เพราะสิ่งต่างๆจะสำเร็จได้ด้วยความสามารถของตนเอง อย่าได้คอยเทพอุ้มสม เมื่อไรที่เธอรู้จักหยุดบ่นหยุดโวยวายได้ เมื่อนั้นแสดงว่าเธอมีสติ ไม่ใช่ว่าเอะอะอะไรก็แย่ไปหมด ยากไปหมด ขืนมั่วนั่งร้องโอดโอยอยู่ ก็จงนึกเถอะว่า ยังมีเวลานั่งร้องต่อไปตามใจปรารถนาชาติภพ

    http://praruttanatri.com/v1/</CENTER></o:p>
     
  15. nara_walai

    nara_walai Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +27
    ...ค่ะ...สุขอยู่ที่ตัวเราค่ะ...พึงระลึกอยู่เสมอว่าเรากำลังทำอะไรเพื่อให้เกิดอะไร...
    ...จะสุข...จะทุกข์...เราเป็นคนกำหนดค่ะ...
    ...และนั่น...เราต้องมี " สติ " ...ในทุกย่างก้าวค่ะ...

    ...และ...ถึงแม้ว่าจะไม่ง่ายในการมีสติ...แต่ก็จะพยายามค่ะ...
    ...พยายามให้มี " สติ " กับทุกอย่างที่ทำ...
     
  16. habaa

    habaa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +30
    อืมย์..... ถ้ามีคนมายืนชี้หน้าด่าเรา ต่อหน้าประชาชีมากหลาย.....เราจะมีความสุขถ้า..
    ................................................................
    ก. ยืนยิ้ม ...นิ่งเฉย ...ปล่อยวาง
    ข. เดิน หนี ไป ด้วยความอายต่อการกระทำของเขา
    ค. หาของแข็ง ๆ ไปกระแทกปากมัน.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2005
  17. habaa

    habaa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +30
    วิเคราะห์ คำตอบ .....ถ้าตอบ....
    ...........................................................
    ก. น่าจะใกล้สำเร็จ มรรคผล ในไม่ช้า...
    ข. ยังต้องปรับปรุง ปฏิบัติ ฝึกฝน อีกอย่างหนัก และยาวนาน...
    ค. คุณ.. คือคนส่วนใหญ่ของโลกมนุษย์......และ เราเป็นพวกเดียวกัน.... ^o^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2005
  18. jopikachu

    jopikachu สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +13
    ให้ยืนนิ่งเฉยก็แลดูว่ายากนิดนะครับ ถ้าทำได้ก็ประเสริฐมากมายครับ แต่ว่า ข้อ ก. ก็เป็นการกระทำที่ดีที่สุด เพราะถ้าเขาด่า ว่าเรา เรายิ้มให้ เขาก็ต้องโกรธเรามากขึ้น ไม่ต้องห่วงเขาหรอกครับ เขาโกรธมากขึ้น ก็เพราะเขาทำตัวเอง..อิ อิ


    ครับ คนที่ทำความดี ย่อมมีความสุขครับ เพราะเราทำดี ผู้คนทั้งรัก และรักษ์
    แล้วเทวดาท่านก็คุ้มครอง ทำอะไรก็มีแต่ความสุขความเจริญครับ ส่วนใครที่ทำความดีแล้วไม่มีความสุข นับว่าแปลกนัก 55+ ถึงทำชั่วแล้วได้ดี ก็ไม่มีความสุข เพราะสิ่งที่ทำชั่วนั้นก็จะต้องติดตามหลอกหลอนไป เราต้องทำดีล่ะครับ
    นอกจากจะมีความสุขที่ตัวเราแล้ว คนรอบข้างก็มีความสุขด้วยเช่นกันครับ
     
  19. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    อาจจะแล้วแต่มุมมองและความเห็นของแต่ละคนนะครับ อย่างตัวผมการที่ไม่ไปโต้ตอบหรือยุ่งเกี่ยวกับคนที่มาทำไม่ดีกับเราได้ถือว่าเป็นความสุขอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าเป็นไปได้ผมจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ไปเจอด้วยซ้ำครับ อย่าว่าแต่จะไปโต้ตอบเลย เพราะถึงโต้ตอบไปเรื่องก็คงไม่จบ

    นอกจากว่าอีกฝ่ายจะไม่ยอมเลิกลา และพยายามหาทางมายุ่งเกี่ยวกับเราอย่างไม่ยอมปล่อยวาง อย่างนั้นเราก็ต้องอาศัยขันติคือความอดทน และเมตตา ให้อภัย ประกอบกับใช้สติ และปัญญา ในการพิจารณาใคร่ครวญว่า เราจะทำอย่างไรให้เขาเลิกอาฆาตมาดร้ายหรือคิดไม่ดีกับผู้อื่นสักที เขาจะได้ปล่อยวางและหลุดพ้นจากความทุกข์ที่ตัวเขาได้ก่อขึ้นมาด้วยตนเองอยู่ ซึ่งก็ต้องค่อยๆแนะนำธรรมะ แผ่เมตตา และอธิบายหลักสัจธรรมให้เขาเข้าใจไปเรื่อยๆ

    ถ้าทำทุกอย่างแล้วแต่เขาก็ยังไม่ยอมปล่อยวาง เราก็ต้องเป็นฝ่ายวางอุเบกขาซะเอง แต่ต้องวางด้วยจิตที่มีเมตตาและเห็นแจ้งในสัจธรรม มิใช่ปล่อยวางอย่างเสียมิได้หรือจำเป็น ซึ่งจริงๆแล้วก็ไม่ยากถ้าเราพิจารณาสิ่งต่างๆให้ขาดและแทงตลอด เราก็จะพบว่าไม่มีใครเป็นคนไม่ดี แต่มีแต่คนที่ไม่รู้และถูกอวิชชาครองงำพวกเขาอยู่ ดังนั้น ถ้าอวิชชาของพวกเขาหายไป พวกเขาก็จะกลายเป็นคนดีเป็นผู้บริสุทธิ์ขึ้นมาในทันทีครับ
     
  20. Golf_Kung

    Golf_Kung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +146
    ทางสายกลางครับ อย่าตึงไป หรือ หย่อนไป อย่าคิดว่าทำจะเหมือนบังคับตัวเรา แต่จงคิดว่าเป็นไปตามธรรมชาติ มีศีลตามธรรมชาติ แต่ก็ไม่หย่อนจนเกินไป ศีลคือข้อควรเว้น หาใช่ข้อห้าม ฉะนั้น ควรอาราธนาศีลทุกวัน เพราะถือว่าตั้งใจรักษาศีล โดยเฉพาะในเวลานอน เราไม่ได้ทำอะไร ศีลครบ หากแต่ไม่อาราธนา ผลก็จะต่างกันนะครับ เพราะขาดความตั้งใจ ที่จะเพิ่มใส่เข้าไป หุหุ ทุกอย่างต้องค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป อย่าไปซีเรียสหรือยึดติดให้มาก แต่ทำเป็นประจำจนชิน (เหมือนเจ็บบ่อย ๆ ค่อย ๆ ชิน) มันก็คือธรรมดาเองแหละครับ วันนี้ผิดศีลไปสองข้อ ก็อย่าตำหนิตัวเอง ให้พิจารณาและให้อภัยตัวเอง แล้วก้อเริ่มต้นรักษาใหม่ โดยการอาราธนา แล้วก้อตั้งใจรักษาศีล ถ้าผิดอีก ก็อาราธนาใหม่ ทำไปเรื่อย ๆ ครับ จนชิน แล้วอาการที่อยากด่าตอบ อยากฯลฯ มันก็จะค่อย ๆ หายไปเองอ่าครับ หุหุ พอแค่นี้นะครับ สวัสดี...เอิ้กกก
     

แชร์หน้านี้

Loading...