เข้าฌาน 1-4 ด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 27 พฤศจิกายน 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    E9eRj1VvjeASRH6lI52_pSMDiEu-BJGZ_HdZaGFo3qVj&_nc_ohc=kTB5vVWodIoAX8MBjmF&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg










    ...

    ถ้า #เดินสมาบัติอรูปฌาน
    ต้องฝึกถอนสมาธิให้เป็น
    เพราะว่า สมาธิจะค้างง่าย
    ถ้าจิตละเอียด แล้วเริ่มอยู่กับความเวิ้งว้างได้ดี
    จะพบว่า มันจะค้างง่าย
    #สมาธิค้าง ก็จะทำให้เราอยู่กับมิติข้างใน
    มากกว่ามิติข้างนอก
    เพราะฉะนั้น
    คนที่จิตละเอียด #ระดับอรูปฌาน
    ก็ต้องคล่องในสมาธิ ถอนออกให้เป็น
    เวลาพาถอน รู้สึกได้ไหม
    ระดับมันเปลี่ยน... ถอนออก
    สมาธิ พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
    #สมาธิทุกขั้นตอนเป็นบาทฐานของวิปัสสนา
    ทำ #อาสวักขยญาณ ให้เกิดขึ้นได้
    ตั้งแต่ ปฐมฌาน สติตั้งมั่น
    เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
    สามารถพลิกเป็นวิปัสสนา
    แล้วก็สลัดคืนสู่ อมตธรรมได้เหมือนกัน
    ไต่ระดับขึ้นไป
    แต่ว่า กำลังในแต่ละระดับ
    ก็จะมีความละเอียดลงไป
    เหมือนสมาธิจะค่อยๆ ละเอียดขึ้น
    เวลาพาเดินสภาวะ รู้สึกได้ไหม
    เนื้อมันละเอียดขึ้นไปเรื่อยๆ
    ถ้าเราพลิก ในแต่ละชั้น
    กำลังของวิปัสสนา ก็มีความละเอียดขึ้นไปเช่นกัน
    แล้วการสลัดคืน เข้าสู่ความบริสุทธิ์
    ก็จะมีความลึกซึ้งขึ้นเช่นกัน
    สังเกตช่วงเดิน #รูปฌาน แล้วพลิกเป็นวิปัสสนา
    กับ #อรูปฌาน แล้วก็พลิก
    ....ต่างกัน
    แล้วก็เวลาสลัดคืน ความละเอียดลึกซึ้งในความบริสุทธิ์ ก็ต่างกันนะ
    เพราะฉะนั้นก็ สามารถเอาไปฝึกได้
    ซึ่งพอเราชำนาญ
    มันไม่จำเป็นต้องไต่ระดับเสมอไป
    มันเข้าออก สภาวะใดก็ได้
    เพราะว่า สภาวะในแต่ละสภาวะ มันเป็นมิติ
    ไม่ว่าจะเป็น #ปีติ #สุข #อุเบกขา #อากาสา
    #วิญญาณัญจา #อากิญจัญญา #เนวสัญญา
    มันเป็นมิติ ที่สามารถเข้าออกได้เลย
    ถ้าชำนาญ กระดิกนิ้วนิดเดียว มันเข้าออกได้เลย
    จากนั้นก็สามารถเพิ่มโวลุ่ม คือ ความละเอียดได้
    สมมติเราอยู่ใน อากาสา ไม่ได้หมายความว่า
    เราจะต้องเข้าถึงอรูปฌาน แบบเต็มกำลัง
    มันอาจจะแค่แตะๆ ความละเอียดของมันก็ได้
    แต่เราสามารถ ถ้าละเอียดพอ
    โวลุ่มมันละเอียดขึ้น มันจะเวิ้งว้าง ละเอียดเลย
    ก็เหมือน อุเบกขา พอเข้าถึงอุเบกขา
    ไม่ได้หมายความว่า เราจะเข้าถึงฌานที่ 4
    แต่ว่า เราอยู่กับ อุเบกขา
    จนมีความละเอียดเต็มกำลัง
    มันจะเข้าถึง ฌานที่ 4 ได้
    เวลาเราเข้าถึง สุข มันไม่ได้หมายความว่า
    เราจะเข้าถึงฌานที่ 3
    แต่ถ้าเราเข้าถึง สุข จนมีความละเอียดเต็มกำลัง
    มันจะเข้าถึงฌานที่ 3 ได้
    เพราะฉะนั้น
    ในแต่ละระดับ มันมีความละเอียด
    มันมีโวลุ่ม ในการปรับ
    เพราะฉะนั้นค่อยๆฝึก
    การเดินสภาวะ มันก็จะมีเทคนิคต่างๆ
    แล้วค่อยๆ ฝึก อาศัยการฝึกจนชำนาญ
    มันก็จะทำให้เรารู้แจ้ง ทั้งใน #ระดับโลกียธรรม
    แล้วก็ #ระดับโลกุตรธรรม
    อย่างเช่น สังโยชน์เบื้องปลาย
    ที่เรียกว่า รูปราคะ อรูปราคะ ที่ว่า #ติดในฌาน
    1f539.png คำว่า "ติดในฌาน"
    จริงๆ คือ ยังไม่สามารถเดินสภาวะได้
    มันก็เลยค้างอยู่อย่างนั้น
    รูปฌาน รูปราคะ อรูปราคะ พวกนี้
    แต่ถ้าเดินสภาวะเป็น
    ทุกอย่างมันก็เป็นแค่สภาวะที่เกิดขึ้น
    แล้วก็ผ่านไป สามารถปรับได้ดังใจ
    ก็ค่อยๆในแต่ละวัน #ฝึกให้ชำนาญ
    ก็จะมีสิ่งที่ถ่ายทอด ที่ลึกซึ้งลงไป
    ค่อยๆเรียนรู้ไป
    โดย พระมหาวรพรต กิตติวโร
    พระวิปัสสนาจารย์
    พระธรรมบรรยายหลังจากฝึก 28/8/63


    --------------------------------------

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ฌานสูตร

    [๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
    เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ตติยฌานบ้าง จตุตถฌานบ้าง อากาส
    นัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง ฯ



    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน

    เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมี
    อยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค
    เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด
    ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
    เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น

    ครั้นแล้ว เธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน
    เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย

    ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ
    จักปรินิพพานในภพนั้น
    มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิย-*สังโยชน์ ๕ สิ้นไป
    ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

    ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองก้อนดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆได้แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สงัดจากกาม ฯลฯบรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา
    สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็น
    ทุกข์ ... ว่างเปล่าเป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้น
    แล้วย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบ
    แห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไป
    แห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็น
    อุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะ
    โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ข้อที่
    เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะ
    อาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

    ***************************************


    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะ
    อาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
    ในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับ
    โสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอย่อมพิจารณา
    เห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะ
    แห่งจตุตถฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็น
    อนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อ
    อมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ...
    นิพพาน เธอตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้า
    ยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพาน
    ในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
    สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบ
    เหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วย
    หญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ
    ได้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล บรรลุจตุตถฌาน
    ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ มีอันไม่กลับ
    มาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
    สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้
    กล่าวแล้ว ฯ
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง
    เพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจายตน-
    *ฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรม
    ทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากาสา-
    *นัญจาตนฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
    เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุ
    ว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน
    เธอตั้งอยู่ในอากาสานัญจาตนฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้า
    ยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานใน
    ภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
    ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนาย
    ขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือ
    กองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้
    ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงรูปสัญญาโดย
    ประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุ
    อากาสานัญจาตนฌาน ... เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย ฯลฯ มีอันไม่กลับ
    จากโลกนั้นเป็นธรรมดา ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวว่า เรากล่าวความ
    สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เรา
    อาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ อากิญจัญญายตนฌานบ้าง
    ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะ
    ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดย
    คำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
    คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น
    โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้
    ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่น
    ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ใน
    อากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความ
    สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอัน
    ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความ
    ยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู
    หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมา
    เขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย
    ประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ
    หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา
    สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น โดยความเป็น
    ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ในธรรม
    เหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ
    ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌาน
    นั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่พึงกลับจากโลก
    นั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลิน
    ในธรรมนั้นๆ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่ง
    อาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนฌานบ้าง

    ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล สัญญาสมาบัติมีเท่าใด สัญญา-
    *ปฏิเวธก็มีเท่านั้น


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ เหล่านี้ คือ เนวสัญญานา-*สัญญายตนสมาบัติ ๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ต่างอาศัยกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เรากล่าวว่า อายตนะ ๒ ประการนี้ อันภิกษุผู้เข้าฌานผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ
    และฉลาดในการออกจากสมาบัติ เข้าแล้วออกแล้ว พึงกล่าวได้โดยชอบ ฯ

    จบสูตรที่ ๕


    ********************************************
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
    อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
    [​IMG]
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อันเป็นสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำ คือ

    ๑. สักกายทิฏฐิ [ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน]
    ๒. วิจิกิจฉา [ความสงสัย]
    ๓. สีลัพตปรามาส [ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่ามีได้ด้วยศีลหรือพรต]
    ๔. กามฉันทะ [ความพอใจด้วยอำนาจแห่งกาม]
    ๕. พยาบาท [ความคิดแก้แค้นผู้อื่น]

    (๒) เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

    (๓) ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู็ยิ่ง เพื่อความกำนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นสังโยชน์ส่วนเบื่องต่ำ ๕ อย่างนี้



    อ้างอิง:
    (๑) สังคีติสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ ข้อที่ ๒๘๔ หน้า ๑๙๖
    (๒) โอรัมภาคิยสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ ข้อที่ ๒๗๑ หน้า ๓๗๒-๓๗๓
    (๓) โอรัมภาคิยสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ ข้อที่ ๓๔๙-๓๕๐ หน้า ๙๐
     
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [๒๒๕] คำว่า วสี ความว่า วสี ๕ ประการ คือ อาวัชชนาวสี
    ๑ สมาปัชชนาวสี ๑ อธิษฐานวสี ๑ วุฏฐานวสี ๑ ปัจจเวกขณวสี ๑ ฯ

    สมาปัตติลาภีบุคคลคำนึงถึงปฐมฌานได้ ณ สถานที่และขณะตามที่
    ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการคำนึงถึง เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าอาวัชชนาวสี


    หน้าที่ ๑๐๒.


    สมาปัตติลาภีบุคคลเข้าปฐมฌานได้ ณ สถานที่ และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มี
    ความเนิ่นช้าในการเข้า เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสมาปัชชนาวสี สมาปัตติลาภีบุคคล
    อธิษฐานปฐมฌานได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการ
    อธิษฐาน เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าอธิษฐานวสี สมาปัตติลาภีบุคคลออกปฐมฌานได้
    ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการออก เพราะเหตุนั้น
    จึงชื่อว่าวุฏฐานวสี สมาปัตติลาภีบุคคลพิจารณาปฐมฌานได้ ณ สถานที่และขณะ
    ตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการพิจารณา เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า
    ปัจจเวกขณวสี สมาปัตติลาภีบุคคลคำนึงถึงทุติยฌาน ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตน
    สมาบัติได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการคำนึงถึง
    เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าอาวัชชนาวสี สมาปัตติลาภีบุคคลเข้า ฯลฯ อธิษฐาน ออก
    พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา
    ไม่มีความเนิ่นช้าในการพิจารณา เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าปัจจเวกขณวสี วสี ๕
    ประการนี้ ฯ
    ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น
    ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด

    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ ด้วยความ
    เป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ ด้วยความระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖ และด้วย
    สมาธิจริยา ๙ เป็นนิโรธสมาปัตติญาณ ฯ

    ***********************************

    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
     
  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    เมื่อ ไม่มีวสี ความชำนาญในสมาธิ
    เราก็จะเป็นทาสของสมาธิ


    ชีวิตอาจต้องมาอยู่ที่ทางสองแพร่ง ไม่สามารถอยู่ในโลกปกติได้

    อาจต้องอยู่ทางโลกอย่างเดียว หรือ ทางธรรมอย่างเดียว


    เมื่อฝึกสัมมาสติ สัมมาสมาธิ

    และฝึกวสี

    เราจะสามารถเลือกที่จะพักจิตให้สงบ มีกำลัง เวลาที่จิตใจอ่อนกำลังนิวรณ์ครอบงำ
    หรือมีกระแสพลังงาน อารมณ์ของชีวิตอื่นแทรกเข้ามา

    เราจะสามารถเลือกที่จะใช้ญาณทัศนะเป็นวิปัสสนาญาณ
    เห็นความเป็นจริงของสรรพสิ่งรอบข้างและภายในได้



    .....วสี..... เป็นคำตอบ

    เป็นตัวเชื่ือมระหว่าง สมถะ วิปัสสนา ฌาณ สมาบัติ ญาณทัศนะ
     
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ดูกรภิกษุ เธอจงเพ่ง และอย่าประมาท

    ?temp_hash=01e986d8835d0d8be4df7f0e2832db48.jpg



    ดูกรภิกษุ เธอจงเพ่ง และอย่าประมาท จิตของเธอหมุนไปในกามคุณ เธออย่าเป็นผู้ประมาทกลืนก้อนโลหะ อย่าถูกไฟเผาคร่ำครวญ ว่านี้ทุกข์
    ฌานไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นแลอยู่ในที่ใกล้นิพพาน
    ความยินดีอันมิใช่ของมนุษย์ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เข้าไปสู่เรือนว่าง ผู้มีจิตสงบ ผู้เห็นแจ้งซึ่งธรรมโดยชอบ

    ในกาลใดๆ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในกาลนั้นๆภิกษุนั้นย่อมได้ปีติและปราโมทย์ ปีติและปราโมทย์นั้นเป็นอมตะของบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้งอยู่ บรรดาธรรมเหล่านั้น ธรรมนี้คือความคุ้มครองอินทรีย์ ความสันโดษ และความสำรวมในปาฏิโมกข์ เป็นเบื้องต้นของภิกษุผู้มีปัญญาในธรรมวินัยนี้
    ท่านจงคบกัลยาณมิตร มีอาชีพหมดจด ไม่เกียจคร้าน
    ภิกษุพึงเป็นผู้ประพฤติปฏิสันถาร พึงเป็นผู้ฉลาดในอาจาระ เป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์ เพราะความประพฤติในปฏิสันถาร และความเป็นผู้ฉลาดในอาจาระนั้น จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
    จงเปลื้องราคะและโทสะเสีย เหมือนมะลิปล่อยดอกที่เหี่ยวแห้งแล้ว ฉะนั้น
    ภิกษุผู้มีกายสงบ มีวาจาสงบ มีใจสงบมีใจตั้งมั่นดี มีอามิสในโลกอันคายแล้ว เรากล่าวว่า เป็นผู้สงบระงับ จงเตือนตนด้วยตนเอง จงสงวนตนด้วยตนเอง
    ดูกรภิกษุ เธอนั้นผู้มีตนอันคุ้มครองแล้ว มีสติ จักอยู่เป็นสุข ตนแลเป็นที่พึ่งของตน ตนแลเป็นคติของตน เพราะเหตุนั้น ท่านจงสำรวมตน เหมือนพ่อค้าระวังม้าดีไว้ ฉะนั้น

    - ไทย(ฉบับหลวง) ๒๕/๔๕/๓๕
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     
  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     
  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     
  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...