เกิดเป็นกะเทยเพราะกรรมอะไร

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย KK1234, 29 พฤษภาคม 2010.

  1. KK1234

    KK1234 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    2,401
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,515
    เกิดเป็นกะเทยเพราะกรรมอะไร[FONT=’Cordia New’]?<o></o>[/FONT]​
    [FONT=’Cordia New’](คำถาม[FONT=’Cordia New’]-[/FONT]คำตอบประจำเดือนกรกฎาคม [FONT=’Cordia New’]2550)<o></o>[/FONT][/FONT]​
    [FONT=’Cordia New’] ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์<o></o>[/FONT]​
    <o></o>
    (จขกท - ผมเจตนาเพื่อจะนำเสนอพระธรรมของพระพุทธเจ้าตามที่ผู้ทรงความรู้ได้กล่าวแสดงเอาไว้เพื่อให้เป็นประโยชน์เกิดหิริ ความละอายต่อบาป โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาปและผลของบาป แก่ตนเองและบุคคลอื่นๆ มิได้มีเจตนาใดๆที่จะล่วงเกินท่านที่มีสภาวะเช่นนี้ๆอยู่ครับ ถ้าเผอิญทำให้ขุ่นเคือง ผมขออภัยขอขมาด้วยครับ )

    คำถาม 1 : อาจารย์ค่ะ เดี๋ยวนี้มีกะเทยเรียกร้องสิทธิ์กันมาก ไม่ทราบว่า ศาสนาพุทธมีคำอธิบายเกี่ยวกับกะเทยไว้อย่างไรค่ะ? จริงหรือ ปล่าวที่พระเคยบอกว่าถ้าคบชู้กับคู่ครองคนอื่นแล้วจะเกิดมาเป็นกะเทย?(นวลจันทร์/พระโขนง)<o></o>
    <o></o>
    คำตอบ: กะเทย (กระเทย) ตรงกับคำบาลีว่า ’อุภโตพยัญชนก’ หมายถึง ’คนมีอวัยวะ ทั้งสองเพศคือเพศชายและหญิง’(อุภโต=2, พยัญชนะ=ลักษณะ) เพราะมี ’เครื่องหมาย เพศ’ ของชายและหญิงอยู่ในคนๆ เดียว ส่วนอีกคำคือบัณเฑาะก์ (ตรงกับคำบาลี ว่า ปณฺฑก) คำว่ากะเทยในที่นี้หมายถึงทั้งทอม, ทั้งดี้, ทั้งเกย์ (เกย์คิงและเกย์ควีน), เสือใบ ฯลฯ ทั้งหลาย พึงทราบว่าการเกิดมาเป็นกะเทยนั้นไม่ใช่จำกัดเฉพาะมนุษย์เท่านั้น พระไตรปิฎกหลายเล่มเช่น พระไตรปิฎกเล่ม 1(วิ.มหา.1/38/52) จำแนกไว้ว่ากะเทยมี 3 ประเภทใหญ่ๆ คือกะเทยที่เป็นมนุษย์, กะเทยที่เป็น สัตว์เดรัจฉาน, กะเทยที่เป็นอมนุษย์ <o></o>

    การเกิดมาเป็นกะเทยพระพุทธศาสนาระบุไว้ชัดว่าเกิดจากการประพฤติ ผิดศีล ข้อกาเมสุมิจฉาจาร หมายถึง การลอบเป็นชู้กับสามีหรือภรรยาของคนอื่นในอดีตชาติ ดู ตัวอย่างจาก มหานารทชาดก (พระไตรปิฎกภาษาบาลีเล่ม 28/864/304-6) เนื้อความในพระไตรปิฎกภาษาบาลีกล่าวไว้ว่า<o></o>

    ตโต จุโตหํ เวเทห ทสนฺเนสุ ปสุ อหุ ํ<o></o>
    นิลุญฺจิโต ชโว ภทฺโร โยคฺคํ วุฬฺหํ จิรํ มยา<o></o>
    ตสฺส กมฺมสฺส นิสฺสนฺโท ปรทารคมนสฺส เมฯ<o></o>
    ตโต จุตาหํ เวเทห วชฺชีสุ กุลมาคมา<o></o>
    เนวิตฺถี น ปุมา อาสึ มนุสฺสตฺเต สุทุลฺลเภ<o></o>
    ตสฺส กมฺมสฺส นิสฺสนฺโท ปรทารคมนสฺส เมฯ (28/864/305)<o></o>
    <o></o>
    ผมแปลเก็บความเป็นภาษาไทย ว่า

    กระหม่อม ฉันจุติจากชาติที่เกิดเป็นลิงในภพก่อนนั้น<o></o>
    ก็ไปเกิดเป็นวัว ในทสันนรัฐ เป็นวัวมีกำลังแต่ถูกตอน <o></o>
    กระหม่อมฉันถูก เขาเอาเทียมเกวียนอยู่สิ้นกาลนาน <o></o>
    นั่นคือผลกรรมคือ ที่กระหม่อมเคยคบชู้กับภรรยา<o></o>
    ผู้อื่น ข้าแต่พระองค์ผู้ครองวิเทหรัฐ กระหม่อม จุติ<o></o>
    จาก กำเนิดเป็นโคนั้นแล้วก็เกิดเป็นกระเทยในตระกูล<o></o>
    ที่ร่ำรวยใน แคว้นวัชชี การจะได้เกิดเป็นมนุษย์(หลัง<o></o>
    จากลักลอบเป็น ชู้กับภรรยาเขา)นั้นยากจริงๆ นั่นคือ<o></o>
    ผลกรรมที่ กระหม่อมคบชู้ภรรยาผู้อื่น<o>

    </o>
    ในมหากัสสปนารทชาดกนั้น ผู้เคยคบชู้ภรรยาคนอื่นมาสารภาพผิดว่า สาเหตุที่เกิดเป็นกะเทยเพราะคบชู้กับภรรยาผู้อื่น ความจริงแล้ว ต้องตกนรกหมกไหม้หลายปี ก่อนจะไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานประเภทต่างๆ เศษผลกรรมนั้นต่างหากทำให้เกิดเป็นมนุษย์กะเทย <o>

    </o>
    ในทางปฏิบัติจริง ชาวพุทธควรเห็นใจกะเทยเพราะการเกิดมาโดยที่ร่างกายเป็นชายแต่ใจเป็น หญิง หรือกายเป็นหญิงแต่ใจเป็นชายนั้น ไม่ได้เกิดจากการเสกสรรปั้นแต่งหรือดัดจริตเหมือนนักแสดงตลกแต่อย่างใด แต่เขาเป็นของเขาอย่างนั้นโดยธรรมชาติตั้งแต่เกิด <o>

    </o>
    ดังนั้น ถ้ามีการเรียกร้องสิทธิที่สมควรจะได้ในฐานะเป็นมนุษย์ เช่น สิทธิในการแปลงเพศ จากนาย เป็นนางสาว หรือจากนางสาวเป็นนาย ถ้ารัฐสืบหรือพิจารณาแล้วได้ความว่านิสัยใจคอและจริตกิริยาของเขาเป็นกะเทย มาแต่กำเนิด ผมก็ว่าน่าส่งเสริมนะครับ ไม่ใช่เรื่องที่เสียหายแต่อย่างใดเลย<o>

    </o>
    ผมอยากอธิบายเสริมว่าแม้การเกิดเป็นกะเทยจะเกิดจากกรรมไม่ดีในอดีต แต่ก็เหมือนชายหรือหญิงจำนวนมากที่เกิดมาแล้วมีทุพพลภาพในรูปแบบต่างๆ เพราะกรรมเก่าเรื่องกรรมเก่านั้นเรา ต่างคนต่างก็มีไม่เหมือนกันตอนนี้ เราแก้ไขอะไรไม่ได้หรอกครับ นอกจากจะลิขิตตัวเองให้ดีด้วยกรรมใหม่ กล่าวได้ว่าเมื่อได้เกิดเป็นมนุษย์เหมือนกัน ไม่ว่าเพศหญิง, ชายหรือกระเทย ต่างก็ยืนอยู่บนจุดเดียวกันทั้งนั้น นั่นก็คือสามารถลิขิตตัวเองด้วยกรรมในปัจจุบันได้เหมือนกัน อนาคตจะดีหรือเลวกว่านี้ก็ด้วยกรรมปัจจุบันที่ทำเหมือนกัน
    <o></o>

    พระพุทธเจ้าทรงสอนให้วัดคนที่ความรู้ (วิชชา) และการกระทำ (จรณะ) ใครมีวิชาความรู้ดีและมีความประพฤติที่ดี สุจริต ทั้งทางกาย วาจาและใจ ไม่ละเมิดศีลก็ได้รับการเคารพ ยกย่องกว่าคนที่ไม่มีศีลมีธรรม โดยนัยนี้ แม้จะเกิดมาเป็นหญิงหรือชายที่สมบูรณ์ แต่ถ้ามีพฤติกรรมน่ารังเกียจเพราะละเมิดศีลธรรมเป็นอาจิณ เช่น ยักยอกหรือลักขโมยสมบัติของคนอื่น, เอาเปรียบชาวบ้านเขา, ทุจริตฉ้อราษฏร์บังหลวงหรือสำส่อนทางเพศ ก็น่ารังเกียจกว่าคนที่เป็นกะเทยเป็นไหนๆ ครับ
    <o></o>

    นอกจากนั้น กระเทยที่รู้จักแยกแยะดี-ชั่วแล้วตั้งตนอยู่ในศีลธรรม ไม่ประมาทเหมือนชาติก่อนต่อไปก็สามารถไปเกิดในภพภูมิที่ดี มีเพศสมบูรณ์แบบ ใช้ชีวิตที่สงบสุขยิ่งกว่าในชาตินี้เป็นไหนๆ ก็เป็นได้ทำนองเดียว กัน ชายและหญิงที่มีเพศที่สมบูรณ์หากสำส่อนทางเพศหรือเป็นชู้กับสามีภรรยาคนอื่น เขาก็มีสิทธิ์ไปเกิดในนรก แล้วจากนั้นก็ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ก่อนจะมาเกิดเป็นกระเทยได้เช่นกันดังนั้น จึงไม่ควรประมาทเลย.


    -----------------------------------------------------------------------------------------------------
    นำมาจาก
    http://www.bodhinanda.com/webboard.php?id=6&wpid=0030
     
  2. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    มาณพหนุ่มช่างทอง
    หลังจากที่ได้อุบัติเกิดเป็นเทพบุตรในสรวงสวรรค์แดนสุขาวดีและเกิดเป็นมนุษย์ในโลกนี้ ด้วยอำนาจการเวียนว่ายตายเกิดหลายชาตินักแล้ว ต่อมา กาลครั้งหนึ่งพระโพธิสัตว์มาเกิดเป็นมนุษย์ในตระกูลช่างทอง รูปร่างสิริเลิศล้ำบุรุษงดงามนักหนา เมื่อเจริญวัยใหญ่กล้าขึ้นก็มีอาชีพเป็นช่างทองผู้ชำนาญสืบสายตระกูลของตน วันหนึ่ง มีเศรษฐีมาว่าจ้างให้ไปทำเครื่องประดับให้แก่ธิดาสาวโสภซึ่งกำลังจะเข้าพิธีวิวาห์มงคล ครั้นไปถึงคฤหาสน์แล้ว เศรษฐีจึงถามว่า “ดูกรช่างทองผู้เจริญ ถ้าท่านได้เห็นเพียงมือและเท้าเท่านั้น ท่านยังจะสามารถทำเครื่องประดับได้หรือไม่” เมื่อช่างทองหนุ่มรับคำว่าทำได้ เศรษฐีจึงให้ธิดาของตนยื่นแต่มือและเท้ามาแสดงให้ปรากฏ ช่างทองหนุ่มก็สังเกตกำหนดบาทและหัตถาวัยวะที่ได้เห็นแต่ห่างๆ และกระทำได้ด้วยความชำนาญ

    ขณะนั้น ธิดาเศรษฐีซึ่งมีนามว่ากาญจนวดีกุมารีให้นึกสงสัยอยู่เป็นกำลังว่า “เหตุไฉนหนอ บิดาจึงมิให้เราปรากฏต่อหน้าช่างทองให้แสดงเพียงมือและเท้าเท่านั้น”ครั้นคิดดังนี้แล้วจึงลอบแลดูตามช่องไม้ แต่พอได้เห็นสิริรูปสมบัติของช่างทองก็ให้เกิดปฏิพัทธ์รักใคร่เป็นกำลัง คลุ้มคลั่งในดวงใจด้วยอำนาจราคะดำกฤษณา นางจึงจารึกอักษรเป็นศาลา ใจความว่า

    “ดูกรพ่อช่างทองผู้เป็นที่รัก หากท่านมีจิตใจรักใคร่เราแล้ว ณ ที่หลังเรือนใหญ่นี้มีบุปผพฤกษชาติต้นหนึ่งเป็นต้นไม้ใหญ่ ในค่ำคืนวันนี้ ท่านจงมาซุ่มนั่งอยู่บนต้นไม้ ถึงราตรีกาล เราจะออกไปพบกับท่านด้วยใจรัก” จารึกเรื่องความรักดังนี้แล้ว จึงค่อยทิ้งลงไปให้ตกลงตรงหน้าช่างทอง เมื่อช่างทองหนุ่มอ่านดูแล้วกำหนดไว้ในใจ ถึงเวลาเลิกงานสายัณหสมัย เลิกงานแล้ว จึงกลับมาอาบน้ำชำระกายรับประทานอาหารอิ่มหนำสำราญแล้ว พอเวลาสุริยะอัสดงคตพลบค่ำลงก็รีบตรงมาสถานที่นางนัด ขึ้นไปบนต้นพฤกษชาตินั้น ตั้งตาชะแง้ดูทางที่กาญจนวดีกุมารีนั้นจะมา ณ ระหว่างคาคบไม้ แต่นางก็ยังไม่มา เพราะว่าเมื่อตอนกลางวันนั้นตนเร่งทำงานอยู่วันยังค่ำ ก็ลำบากกายพออยู่แล้ว เมื่อรับประทานอาหารอิ่มแลมานั่งเงียบเหงาเฝ้าคอยอยู่แต่ผู้เดียวฉะนี้จึงเอนองค์ลงกับกิ่งไม้ใหญ่ก็เลยเผลอม่อยผล็อยหลับ

    ก็กาญจนวดีกุมารีทรามวัยนั้นก็มีความยำเกรงบิดามารดาอยู่โดยมากเป็นธรรมดา เมื่อมารดาบิดายังมิได้หลับนอน นางจึงไม่มีโอกาสออกมาได้ ครั้นท่านทั้งสองหลับไปแล้ว นางจึงค่อยลุกมาจากที่นอนออกมาจัดหาอาหารได้ข้าวสาลีกับแกงมังสะสดใส่ลงในขันทองเสร็จแล้วก็รีบลอบนำลงมาจากปราสาทไปสู่ที่นัด ณ ต้นไม้ใหญ่ เพื่อไปหาชายสุดที่รัก ครั้นเห็นเขาหลับอยู่ก็มิรู้ที่จะปลุกให้รู้สึกตนตื่นขึ้นมาได้ ด้วยเหตุว่ามนุษย์ในสมัยนั้นถือลัทธิธรรมเนียมอยู่อย่างหนึ่งว่า ถ้าบุคคลหลับสนิทอยู่ ผู้ใดปลุกให้ลุกตื่นขึ้นแล้วผู้ปลุกนั้นย่อมมีบาป ตายไปต้องตกนรกหมกไหม้ตลอดกาลกัปหนึ่ง” เพราะฉะนั้น นางจึงไม่สามารถปลุกช่างทองนั้นให้ตื่นขึ้นมาได้ แต่คอยอยู่นานนักหนา เมื่อเห็นว่าไม่ตื่นแน่ นางจึงเก็บใบรุกขชาติปูลาดลงตั้งขันทองใส่อาหารไว้แล้วกลับลับไป

    ฝ่ายนายช่างทองตื่นขึ้นมาได้เห็นภาชนะขันทองนั้น จึงกำหนดว่าชะรอยนางกุมารีมาแล้วเห็นเราหลับ จึงกลับไปเป็นมั่นคง เมื่อผันแปรแลไปดูข้างโน้นข้างนี้ก็ได้แลเห็นนางดำเนินกลับลับไปในปราสาทในขณะนั้น จึงให้น้อยใจจิตคิดเคืองโกรธตัวเองเป็นนักหนาว่า ควรหรือมานอนหลับใหลไปเสียได้ น่าเคืองตัวเองนัก รำพึงพลางก็ถือสุพรรณภาชน์โภชนะนั้นกลับมาเรือนตน ครั้นรุ่งวันใหม่ได้เวลาก็ไปทำงานอยู่ที่เก่าอีก ไม่ช้าก็มีสารกตกลงมาอีก อักษรจารึกมีใจความว่า “วันนี้ท่านจงอุตสาหะข่มขี่ใจไว้ อย่าได้หลับใหลไปเสียอย่างเมื่อคืนนี้เล่า” นายช่างอ่านดูรู้ความแล้ว ก็ไม่พูดจาอะไร ประกอบการงานทำเครื่องประดับต่อไป พอได้เวลาตอนราตรีจึงมานั่งคอยท่าอยู่เช่นเคย ไม่ช้าก็บังเอิญหลับไปเสียอีกเล่า กาญจนวดีกุมารีเมื่อถือโภชนาหารมาเห็นเขาหลับไปแล้วก็กลับไปเหมือนคืนก่อน

    ครั้นถึงคืนที่สาม กาญจนวดีกุมารีเมื่อได้มาเห็นนายช่างทองสุดที่รักหลับไปเหมือนเดิม นางก็มีความเศร้าในน้ำใจนักหนา จึงพิไรร่ำด้วยคำว่า

    “น่าเสียดายนัก กุมารน้อยนี้เป็นที่รักใคร่เจริญใจแห่งเราชะรอยสันนิวาสเรานี้มิได้มีแต่ปางก่อน จึงเผอิญให้กุมารนี้เป็นผู้มักหลับเสียได้สามวาระหน ความพยายามของเราสองคนนี้ปราศจากประโยชน์เสียแล้ว พ่อจงไปโดยสุขสวัสดีเถิดหนาเจ้าแต่วันนี้ไปเราก็จักหมดอิสระมิได้มาพบหน้าอีกแล้ว” เธอพิไรรำพันด้วยความโศกศัลย์เป็นอันมากแล้วก็ยกโภชนะนั้นวางตั้งไว้ แล้วก็ตัดอาลัยกลับไป นายช่างทองเมื่อตื่นขึ้นมาก็ให้เจ็บใจตนเองยิ่งกว่าวันก่อน มีความโศกาอาดูรด้วยความรักเป็นนักหนา จึงรำพึงรำพันออกมาว่า

    “กุมารีมีรูปงามอย่างนี้ ควรที่จะทอดทัศนานำความภิรมย์มาให้แก่ใจ นี่เป็นกรรมอะไร จึงตักเตือนให้หลับใหล ไม่รู้สึกตัวตื่นได้สามวาระบุญญาภิสมภารเราแต่ก่อนมิได้มี ชะรอยเรากับนารีนี้มิได้เคยร่วมกันกระทำทานหรือว่าตัวเรานี้มิได้มีกมลสันดาน เคยอนุโมทนากุศลของเศรษฐี จึงให้มีอันเป็นสักแต่ว่าได้พบเห็นนารีงามเท่านั้น มิทันได้ร่วมภิรมย์ก้ให้จางจากกันไป” นายช่างทองรำพันพลางถือเอาโภชนาหารที่นางตั้งไว้ แล้วกลับไปสู่เรือนของตนเด้วยความเศร้าเป็นล้นพ้น

    ครั้นรุ่งขึ้นถึงวันอาสหสมัย ฝ่ายเศรษฐีบิดาเจ้าบ่าวจึงบรรทุกข้าวของสำหรับการแต่งงานมากมายหลายร้อยเล่มเกวียน พอมาถึงแล้วทั้งสองฝ่ายก็ประชุมกันกระทำอาวาหมงคลเลี้ยงดูกันเป็นนักษัตรฤกษ์โกลาหล ฉลองกันอยู่สิ้นกาลประมาณหนึ่งเดือนโดยกำหนด ครั้นการฉลองอันมีเวลานานถึงหนึ่งเดือนล่วงแล้ว เศรษฐีผู้เป็นบิดาเจ้าบ่าวก็พาบริวารกลับไปบ้านตน

    ฝ่ายนายช่างทองผู้งามโสภาจำเดิมแต่วันแคล้วคลาดจากนางมาก็รำพึงรำพันถึงนางอยู่ไม่วางวายว่า นางกุมารีนี้ได้มีน้ำใจรักเป็นปิยสหายแต่เรามาก่อน บุรุษเช่นเรานี้จึงสมควรจะได้นาง รำพึงพลางจึงคิดหาอุบาย ครั้นคิดได้แล้ว จึงอุตสาหะทำเครื่องประดับสำหรับศอสำรับหนึ่งสวยสดงดงามนักหนา แล้วไปด้วยแก้วมุกดาวิจิตรบรรจงเป็นลวดลายละเอียดอุดม สมควรเป็นราชอลังการแล้ว ก็น้อมนำเข้าไปถวายพระมหาอุปราชเจ้า

    “เอ๊ะ เจ้านำของที่ชอบใจมาให้เราเช่นนี้ จักมีความประสงค์สิ่งใดหรือ” พระมหาอุปราชซึ่งมีพระกมลโสมนัสตรัสถามขึ้น นายช่างทองจึงทูลสนองความประสงค์ของตนให้ทรงทราบ “อย่าวิตกไปเลยจะเป็นไรมี เรานี้รับธุระจะทำอุบายให้เจ้าได้สมมโนรถจงได้” พระมหาอุปราชตรัสรับรองแล้วจึงทรงให้นายช่างทองแต่งตัวเป็นสตรีเพศทรงสรรพาภรณ์พิจิตร บิดเบือนแสร้งแปลงองค์เป็นขัตติยอนงค์กัญญาเสร็จแล้วจึงให้นั่ง ณ ภายในกูบกระโจมทองช้างพระที่นั่ง ส่วนพระองค์ทรงพระแสงของสถิตบนคอมงคลคชสาร เสด็จมาถึงบ้านท่านเศรษฐีประทับหยุดยืนช้างพระที่นั่ง แล้วรับสั่งให้เศรษฐีเข้ามาเฝ้า และแสร้งดำรัสถามว่า

    “ปราสาทหลังใหมนั่น เป็นของใครอีกเล่า”

    “เป็นปราสาทธิดาของข้าพระพุทธเจ้า” เศรษฐีทูลกล่าว

    “เออพ่อ ดีแล้ว บัดนี้ พระบรมชนกาธิราชดำรัสราชวโรงการให้เราไปปราบพวกโจรร้ายในชนบทประเทศ จะขอฝากพระกนิษฐภคินีน้องสาวเราไว้ให้อยู่กับธิดาของท่านด้วยเป็นการชั่วคราวกว่าเราจะกลับมา เมื่อกลับมาแล้ว เราจึงจะมารับพระน้องนางนั้นไป” พระอุปราชตรัสขึ้นตามอุบายทรงวางไว้

    “พระเจ้าข้า แต่ว่าธิดาเกล้ากระหม่อมนั้น นางได้สามีแล้ว พระภคินีของพระองค์จะทรงอยู่ด้วยธิดาเกล้ากระหม่อมได้หรือ” เศรษฐีทูลด้วยความกังวลใจ

    “จะเป็นไปเล่า ท่านเศรษฐี” พระมหาอุปราชตรัสดุจไม่พอพระหฤทัย “ท่านจงให้ธิดาจของท่านงดการอยู่ร่วมกับสามีชั่วคราวก่อนให้เจ้าอยู่เป็นเพื่อนพระน้องนางเราสักหน่อยเถิด เราไปไม่นานนักก็จักรีบกลับมารับไป”

    “ถ้ากระนั้นก็พอจะผ่อนผันรับพระธุระสนองพระเดชพระคุณได้ พระเจ้าข้า” ท่านเศรษฐีรีบทูลแล้ว เรียกธิดามาบอกความต่อหน้าพระที่นั่ง แล้วสั่งให้นำพระภคินีปลอมนั้นขึ้นสู่ปราสาทและก่อนที่เจ้ามหาอุปราชจะอำลาไป พระองค์ยังได้ทรงสั่งซ้ำดุจเป็นห่วงนักหนาว่า

    “ดูกรท่านเศรษฐี” ขอท่านจงอย่าได้ประมาทเลย จงเห็นแก่เราเถิด จงช่วยเป็นธุระเอาใจใส่ของสิ่งไรทีน้องรักเราต้องการ ท่านจงจัดอย่าได้ขัดใจเจ้าเลย อนึ่ง บุคคลทั้งหลายอื่นๆ ท่านต้องคอยระวังจงห้ามอย่าให้ขึ้นไปจุ้นจ้านบนปราสาทเป็นอันขาด โดยที่สุด แม้แต่สามีของธิดาท่านก็จงอย่าให้ขึ้นไปอย่างเด็ดขาดเลยทีเดียว เข้าใจไหมเล่า”

    “ไว้ใจเถิด พระเจ้าข้า” ท่านเศรษฐีรีบทูล “จงวางพระทัยไว้ธุระข้าพระบาททุกประการเถิด พระองค์อย่าได้ทรงพระวิตกเลย” ทูลรับรองอย่าหนักแน่นแล้วก็ตามส่งเสด็จจนถึงนอกกำแพงปราสาท

    ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา มาณพหนุ่มช่างทองก็ได้อยู่ร่วมภิรมย์กามรดีกับด้วยกาญจนวดีกุมารีสมมโนรถความปรารถนาเป็นเวลานานสิ้นกำหนดสามเดือนจะได้มีบุคคลผู้ใดใครผู้หนึ่งในที่นั้นล่วงรู้ความลับนี้ก็หามิได้ ฝ่ายพระมหาอุปราชนั้น ครั้นกาลล่วงไปครบสามเดือนแล้วก็ทรงทำเป็นเสด็จมารับพระกษิณฐภคินีกลับไป

    พระพุทธางกูรโพธิสัตว์ เมื่อพระองค์ดำรงฤกษดาภินิหารพระบารมีญาณยังอ่อนต้องถูกเพลิง คือ ราคะกิเลสเบียดเบียนบีฑา บังเกิดขึ้นมาแล้วและมิอาจระงับเสียได้ จึงเป็นไปตามอำนาจราคะกิเลสประกอบปรทารโทษล่วงเกินภรรยาของผู้อื่นเป็นกายทุจริตเช่นนี้ ครั้นดับขันธ์สิ้นชีวิตในครั้งนั้นแล้วก็ต้องสืบปฏิสนธิไปบังเกิดในนรกหมกไหม้ต้องได้รับทุกขเวทนาถึงสาหัสเป็นหลายครั้งหลายหน เวียนวนอยู่ในภูมิอันต่ำช้านานนับเป็นเวลาถึง 14 มหากัป

    ด้วยเหตุนี้ สมเด็จพระชินสีห์บรมโลกุตมาจารย์ ครั้นได้รับสำเร็จพระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้ว จึงได้ทรงพระมหากรุณาตรัสพระธรรมเทศนาสั่งสอนพวกเราชาวพุทธบริษัทว่า

    “สัตว์ทั้งหลายในโลกสันนิวาสนี้ ย่อมได้เสวยทุกขเวทนาแสนสาหัสในอบายภูมิสี่ ถือเป็นสัตว์นรกในนิรยภูมิเป็นต้น เพราะความกระวนกระหายเดือนร้อนด้วยอำนาจราะคกิเลส สัตว์ที่ไม่รู้พระสัทธรรมย่อมถึงความก่อเกิดเป็นร่างกายเที่ยวเวียนว่ายอยู่ในโอฆสงสารเจริญภพเจริญชาติมากมาย แม้จะนับด้วยหลายล้านหลายโกฏิอสงไขยนั้นก็นับหาได้ไม่ ต่อเมื่อพุทธบุคคลแล้วนั่นแล จึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้พ้นจากอบายภูมิ”

    เมื่อได้ทราบตามพระพุทธภาษิตนี้แล้ว ขอให้ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายจงเชื่อถือคำสอนของพระพุทธองค์เถิด จงทำใจให้เห็นโทษภัยในอบายภูมิจงมาก หากแต่น่าสังเวชอยู่ที่ว่า วิสัยจิตใจของปุถุชนคนเราโดยมากทุกวันนี้ มักคิดไปเองว่าตนนั้นมีปัญญาดี เมื่อมีผู้เอาภัยในอบายภูมิมาชี้แจ้งแสดงบอก ก็มักคิดไปว่าแกล้งมากล่าวหลอกลวงให้เกรงกลัวไม่ยอมเชื่อว่าเป็นจริงเพราะสิ่งที่ว่าคือ นรกตนเองพิสูจน์ไม่ได้ ให้หันเหคิดขวางๆ ไปว่าเป็นเพียงอุบายสอนคนโบราณกาลก่อน ตั้งแต่ครั้งสมัยคนเรายังโง่อยู่เท่านั้นเอง นรกสวรรค์มีที่ไหนกัน เมื่อคิดผันแปรไปเช่นนี้ก็จะพอกพูนความประมาทให้เกิดมากยิ่งขึ้นในสันดานตน อาจประกอบอกุศลกรรมต่างๆ อันเป็นเหตุให้ไปเกิดในอบายภูมิได้ ฉะนั้นต้องสอนตนให้กลัวภัยในอบายภูมิก่อนนั่นแลเป็นดี
     

แชร์หน้านี้

Loading...