อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปุนัปปุนธรรม ๑๖ ประการ
    *****************
    [๑๙๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้า
    ไปยังที่อยู่ของอุทยพราหมณ์ ลำดับนั้น อุทยพราหมณ์ตักข้าวใส่บาตรถวายจนเต็ม แม้ครั้งที่ ๒ ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของอุทยพราหมณ์ ฯลฯ ลำดับนั้น อุทยพราหมณ์ก็ตักข้าว
    ใส่บาตรถวายจนเต็ม แม้ครั้งที่ ๓ ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของอุทยพราหมณ์ ฯลฯ ลำดับนั้น อุทยพราหมณ์ก็ตักข้าวใส่บาตรถวายจนเต็มแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระสมณโคดมนี้ติดในรสจึงเสด็จมาบ่อยๆ”

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    กสิกรย่อมหว่านพืชบ่อยๆ
    ฝนย่อมตกบ่อยๆ ชาวนาย่อมไถนาบ่อยๆ
    แว่นแคว้นย่อมสมบูรณ์ด้วยธัญชาติบ่อยๆ
    ผู้ขอย่อมขอบ่อยๆ ทานบดีย่อมให้บ่อยๆ
    ครั้นให้บ่อยๆ แล้ว ก็เข้าถึงสวรรค์บ่อยๆ
    ผู้ต้องการน้ำนมย่อมรีดน้ำนมบ่อยๆ
    ลูกโคย่อมเข้าหาแม่โคบ่อยๆ
    บุคคลย่อมลำบากและดิ้นรนบ่อยๆ
    คนเขลาย่อมเข้าถึงครรภ์บ่อยๆ
    สัตว์ย่อมเกิดและตายบ่อยๆ
    บุคคลทั้งหลายย่อมนำซากศพไปป่าช้าบ่อยๆ
    ส่วนผู้มีปัญญาดุจแผ่นดินย่อมไม่เกิดบ่อยๆ
    เพราะได้มรรคแล้วไม่มีภพใหม่อีกต่อไป

    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อุทยพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนักข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระโคดม
    ผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
    ...................
    อุทยสูตร สังยุตตนิกาย สคาถวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=198

    ...ฯลฯ...
    พระศาสดาทรงสดับคำของพราหมณ์แล้ว ตรัสว่า ท่านพราหมณ์ ท่านถวายบิณฑบาตตลอด ๓ วัน ยังย่อท้ออยู่ ในโลกมีธรรม ๑๖ ประการที่ควรทำบ่อยๆ ดังนี้ เพื่อจะทรงแสดงธรรมเหล่านั้น จึงทรงเริ่มพระธรรมเทศนานี้ว่า ปุนปฺปุนํ เจว วปนฺติ พีชํ ดังนี้.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุนปฺปุนํ เจว วปนฺติ ท่านกล่าวไว้ในสัสสวารหนึ่งแล้ว แม้ในสัสสวารอื่นๆ ชาวนาย่อมหว่านโดยไม่ท้อแท้เลยว่า เท่านี้พอละ ดังนี้.

    บทว่า ปุนปฺปุนํ วสฺสติ ความว่า มิใช่ตกวันเดียวหยุด. ตกอยู่แล้วๆ เล่าๆ ทุกๆ วัน ทุกๆ ปี ชนบทย่อมมั่งคั่งด้วยอาการอย่างนี้.

    พึงทราบนัยแห่งเนื้อความในทุกๆ บทโดยอุบายนี้.

    ในบทว่า ยาจกา นี้ พระศาสดาทรงแสดงอ้างถึงพระองค์ เพราะความที่พระองค์ทรงฉลาดในเทศนา.

    บทว่า ขีรณิกา ได้แก่ ผู้รีดนมโคเพราะน้ำนมเป็นเหตุ.

    จริงอยู่ ชนเหล่านั้นไม่ปรารถนาน้ำนมคราวเดียวเท่านั้น. อธิบายว่า ย่อมปรารถนารีดโคนมบ่อย ๆ.

    บทว่า กิลมติ ผนฺทติ จ ความว่า สัตว์นี้ย่อมลำบากและดิ้นรนด้วยอิริยาบถนั้นๆ.

    บทว่า คพฺภํ ได้แก่ ท้องสัตว์ดิรัจฉานมีสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น.

    บทว่า สีวถิกํ ได้แก่ ป่าช้า. อธิบายว่า นำสัตว์ตายแล้วไปในป่าช้านั้นบ่อยๆ.

    บทว่า มคฺคญฺจ ลทฺธา อปุนพฺภวาย ความว่า พระนิพพานชื่อว่ามรรค เพราะไม่เกิดอีก. อธิบายว่า ได้พระนิพพานนั้น.

    บทว่า เอวํ วุตฺเต ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนอยู่ระหว่างถนนนั่นแหละ ทรงแสดงปุนัปปุนธรรม ๑๖ ประการ ได้ตรัสอย่างนี้
    …ฯลฯ...
    ข้อความบางตอนในอรรถกถาอุทยสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=677

    MRL6JPBTY2p0SWwvmV1_TTGpb7fes_bAFhldBsFAao8o&_nc_ohc=511piUw5XowAX9CTTNJ&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปุนัปปุนธรรม ๑๖ ประการ
    *****************
    [๑๙๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้า
    ไปยังที่อยู่ของอุทยพราหมณ์ ลำดับนั้น อุทยพราหมณ์ตักข้าวใส่บาตรถวายจนเต็ม แม้ครั้งที่ ๒ ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของอุทยพราหมณ์ ฯลฯ ลำดับนั้น อุทยพราหมณ์ก็ตักข้าว
    ใส่บาตรถวายจนเต็ม แม้ครั้งที่ ๓ ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของอุทยพราหมณ์ ฯลฯ ลำดับนั้น อุทยพราหมณ์ก็ตักข้าวใส่บาตรถวายจนเต็มแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระสมณโคดมนี้ติดในรสจึงเสด็จมาบ่อยๆ”

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    กสิกรย่อมหว่านพืชบ่อยๆ
    ฝนย่อมตกบ่อยๆ ชาวนาย่อมไถนาบ่อยๆ
    แว่นแคว้นย่อมสมบูรณ์ด้วยธัญชาติบ่อยๆ
    ผู้ขอย่อมขอบ่อยๆ ทานบดีย่อมให้บ่อยๆ
    ครั้นให้บ่อยๆ แล้ว ก็เข้าถึงสวรรค์บ่อยๆ
    ผู้ต้องการน้ำนมย่อมรีดน้ำนมบ่อยๆ
    ลูกโคย่อมเข้าหาแม่โคบ่อยๆ
    บุคคลย่อมลำบากและดิ้นรนบ่อยๆ
    คนเขลาย่อมเข้าถึงครรภ์บ่อยๆ
    สัตว์ย่อมเกิดและตายบ่อยๆ
    บุคคลทั้งหลายย่อมนำซากศพไปป่าช้าบ่อยๆ
    ส่วนผู้มีปัญญาดุจแผ่นดินย่อมไม่เกิดบ่อยๆ
    เพราะได้มรรคแล้วไม่มีภพใหม่อีกต่อไป

    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อุทยพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนักข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระโคดม
    ผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
    ...................
    อุทยสูตร สังยุตตนิกาย สคาถวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=198

    ...ฯลฯ...
    พระศาสดาทรงสดับคำของพราหมณ์แล้ว ตรัสว่า ท่านพราหมณ์ ท่านถวายบิณฑบาตตลอด ๓ วัน ยังย่อท้ออยู่ ในโลกมีธรรม ๑๖ ประการที่ควรทำบ่อยๆ ดังนี้ เพื่อจะทรงแสดงธรรมเหล่านั้น จึงทรงเริ่มพระธรรมเทศนานี้ว่า ปุนปฺปุนํ เจว วปนฺติ พีชํ ดังนี้.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุนปฺปุนํ เจว วปนฺติ ท่านกล่าวไว้ในสัสสวารหนึ่งแล้ว แม้ในสัสสวารอื่นๆ ชาวนาย่อมหว่านโดยไม่ท้อแท้เลยว่า เท่านี้พอละ ดังนี้.

    บทว่า ปุนปฺปุนํ วสฺสติ ความว่า มิใช่ตกวันเดียวหยุด. ตกอยู่แล้วๆ เล่าๆ ทุกๆ วัน ทุกๆ ปี ชนบทย่อมมั่งคั่งด้วยอาการอย่างนี้.

    พึงทราบนัยแห่งเนื้อความในทุกๆ บทโดยอุบายนี้.

    ในบทว่า ยาจกา นี้ พระศาสดาทรงแสดงอ้างถึงพระองค์ เพราะความที่พระองค์ทรงฉลาดในเทศนา.

    บทว่า ขีรณิกา ได้แก่ ผู้รีดนมโคเพราะน้ำนมเป็นเหตุ.

    จริงอยู่ ชนเหล่านั้นไม่ปรารถนาน้ำนมคราวเดียวเท่านั้น. อธิบายว่า ย่อมปรารถนารีดโคนมบ่อย ๆ.

    บทว่า กิลมติ ผนฺทติ จ ความว่า สัตว์นี้ย่อมลำบากและดิ้นรนด้วยอิริยาบถนั้นๆ.

    บทว่า คพฺภํ ได้แก่ ท้องสัตว์ดิรัจฉานมีสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น.

    บทว่า สีวถิกํ ได้แก่ ป่าช้า. อธิบายว่า นำสัตว์ตายแล้วไปในป่าช้านั้นบ่อยๆ.

    บทว่า มคฺคญฺจ ลทฺธา อปุนพฺภวาย ความว่า พระนิพพานชื่อว่ามรรค เพราะไม่เกิดอีก. อธิบายว่า ได้พระนิพพานนั้น.

    บทว่า เอวํ วุตฺเต ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนอยู่ระหว่างถนนนั่นแหละ ทรงแสดงปุนัปปุนธรรม ๑๖ ประการ ได้ตรัสอย่างนี้
    …ฯลฯ...
    ข้อความบางตอนในอรรถกถาอุทยสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=677

    MRL6JPBTY2p0SWwvmV1_TTGpb7fes_bAFhldBsFAao8o&_nc_ohc=511piUw5XowAX9CTTNJ&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    วิปัสสนาญาณ
    ***********
    …“เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘กายของเรานี้คุมกันเป็นรูปร่าง ประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป ๔ เกิดจากบิดามารดา เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น มีอันแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา วิญญาณของเราอาศัยและเนื่องอยู่ในกายนี้’
    …ฯลฯ
    ข้อความบางตอนใน สุภสูตร ว่าด้วยสุภมาณพ
    ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=9&siri=10
    aQ47JDtbiR_e6Mcs2iNoX1fWD_bY09JVMNV3aLw-S1xU&_nc_ohc=mQ8v6TdU4TUAX86vkv6&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    สัจจะมีอย่างเดียว แต่มี ๒ นัย : สัจจะคือนิพพาน และ สัจจะคืออริยมรรคมีองค์๘
    ***********
    [๑๑๘] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า)
    สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่าจริง ว่าแท้
    สมณพราหมณ์พวกอื่นก็พากันกล่าวธรรมนั้นว่าเปล่า ว่าเท็จ
    สมณพราหมณ์เหล่านั้นต่างพากันถือมั่นแม้อย่างนี้แล้ววิวาทกัน
    เพราะเหตุไร พวกสมณพราหมณ์จึงไม่พูดอย่างเดียวกัน
    …ฯลฯ....

    [๑๑๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
    หมู่ชนรู้ชัดสัจจะใดไม่พึงวิวาทกัน
    สัจจะนั้นมีอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีอย่างที่ ๒
    สมณพราหมณ์เหล่านั้นพากันอวดสัจจะต่างๆ กันไปเอง
    เพราะฉะนั้น พวกสมณพราหมณ์จึงไม่พูดอย่างเดียวกัน

    (พระสารีบุตรอธิบายว่า)
    คำว่า สัจจะนั้นมีอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีอย่างที่ ๒ อธิบายว่า นิพพาน คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับกิเลส ความเย็นสนิท ตรัสเรียกว่า สัจจะอย่างเดียว

    อีกนัยหนึ่ง มรรคสัจจะ เป็นสัจจะที่เป็นเหตุนำสัตว์ออกจากทุกข์ คือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ได้แก่
    อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ
    ๑. สัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ)
    ๒. สัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ)
    ๓. สัมมาวาจา(เจรจาชอบ)
    ๔. สัมมากัมมันตะ(กระทำชอบ)
    ๕. สัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ)
    ๖. สัมมาวายามะ(พยายามชอบ)
    ๗. สัมมาสติ(ระลึกชอบ)
    ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)
    ตรัสเรียกว่า สัจจะอย่างเดียว รวมความว่า เพราะสัจจะนั้นมีอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีอย่างที่ ๒
    ……..
    ข้อความบางตอนใน จูฬวิยูหสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=12

    อรรถกถา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=519

    _zg6Vwk8dwk7PE4TRWsalCnT7Zk_et_yPp1QyDffk8vf&_nc_ohc=-7BBdztapxAAX9jmRLr&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน
    ……
    [๙๗๙] ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ
    และไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข
    พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน ตื่นอยู่โดยมาก
    ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น
    พึงเข้าไปตัดความตรึกธรรม
    ที่อาศัยความตรึกและความคะนอง
    …….
    ข้อความบางตอนใน สารีปุตตสูตร ว่าด้วยพระสารีบุตรกล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณ
    ขุททกนิกาย สุตตนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=281

    บทว่า ฌานานุยุตฺโต คือ เป็นผู้ขวนขวายในฌานด้วยการทำฌานที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น และเสพฌานที่เกิดขึ้นแล้ว.

    บทว่า อุเปกฺขมารพฺภ สมาหิตตฺโต ภิกษุปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่นแล้ว คือ ยังอุเบกขาในจตุตตฌานให้เกิดแล้วมีจิตตั้งมั่น.

    บทว่า ตกฺกาสยํ กุกฺกุจฺจิยูปฉินฺเท พึงตัดเสียซึ่งธรรมเป็นที่อยู่แห่งความวิตกและความคะนอง คือพึงตัดเสียซึ่งวิตกมีกามวิตกเป็นต้น, ธรรมเป็นที่อยู่แห่งความตรึกถึงกามสัญญาเป็นต้น และความคะนองมีคะนองมือเป็นต้น.
    ………..
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาสารีปุตตสูตร https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=423

    A7cEE7aXG_6XhTyTy9MWy6LVk0Bdi8YX9ZnHzzGc9i4T&_nc_ohc=cqHiTyVWgVUAX9L5x5I&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    v2O1Coxz7iIYlhHjGONPqgXQmSYxygdfKHBz8OAa8UmD&_nc_ohc=ZMRPyDOnC_QAX8bwI-s&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาอันประกอบด้วยไตรสิกขา
    ***********
    [๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
    เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
    บุคคลในโลกนี้ผู้มีมานะ(ความถือตัว)
    ย่อมไม่มีการฝึกตนเอง
    บุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคงย่อมไม่มีความรู้
    บุคคลผู้ไม่ประมาทอยู่ในป่าคนเดียว
    ก็ไม่ถึงจุดจบแห่งความตาย

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    บุคคลละมานะได้แล้ว มีใจมั่นคงดี
    มีใจดี หลุดพ้นในธรรมทั้งปวง
    เขาไม่ประมาท อยู่ในป่าคนเดียว
    ก็ถึงจุดจบแห่งความตายได้
    ....................
    มานกามสูตร สังยุตตนิกาย สคาถวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=9

    ในบทว่า มานํ ปหาย ได้แก่ ละมานะ ๙ อย่าง ด้วยพระอรหัตมรรค.

    บทว่า สุสมาหิตตฺโต ได้แก่ มีจิตตั้งมั่นดีแล้วด้วยอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ.

    บทว่า สุเจตโส ได้แก่ จิตที่ดีสัมปยุตแล้วด้วยญาณ. อธิบายว่า จริงอยู่ ท่านไม่เรียกว่า ผู้มีจิตดี โดยปราศจากญาณ เพราะฉะนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่ามีจิตดี เพราะประกอบด้วยญาณ.

    บทว่า สพฺพธิ วิปฺปมุตฺโต ความว่า พ้นไปแล้วในธรรมทั้งปวงมีขันธ์และอายตนะเป็นต้น.

    ในคำว่า ตเรยฺย นี้ ท่านกล่าวว่า เมื่อก้าวล่วงเตภูมิกวัฏ แทงตลอดถึงพระนิพพานข้ามไป ดังนี้ จึงชื่อว่าการข้ามพ้นด้วยการแทงตลอด.

    เพราะเหตุนี้ สิกขา ๓ เป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยคาถานี้.

    อย่างไร คือ ขึ้นชื่อว่ามานะนี้เป็นเครื่องทำลายศีล เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวถึงอธิศีลสิกขาด้วยคำว่า มานํ ปหาย แปลว่า ละมานะแล้ว.

    ท่านกล่าวอธิจิตตสิกขาด้วยคำว่า สุสมาหิตตฺโต แปลว่า มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว.

    ท่านแสดงปัญญาไว้ด้วยจิตตศัพท์ ในคำว่า สุเจตโส นี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าแสดงอธิปัญญาสิกขาด้วยคำว่า สุเจตโส นี้.

    เมื่อศีลมีก็ชื่อว่ามีอธิศีล เมื่อจิตมีก็ชื่อว่ามีอธิจิต เมื่อปัญญามีก็ชื่อว่ามีอธิปัญญา

    เพราะฉะนั้น ศีล ๕ ก็ดี ศีล ๑๐ ก็ดี จึงชื่อว่าศีล ในที่นี้. ปาฏิโมกขสังวร พึงทราบว่าชื่อว่าอธิศีล.

    สมาบัติ ๘ ชื่อว่าจิต. ฌานอันเป็นบาทแห่งวิปัสสนา ชื่อว่าอธิจิต.

    กัมมัสสกตญาณ ชื่อว่าปัญญา. วิปัสสนา ชื่อว่าอธิปัญญา.
    …………
    ข้อความบางตอนในอรรถกถามานกามสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=19

    #สิกขา#ไตรสิกขา #ศีล #สมาธิ #ปัญญา

    FX7OzVqMFIu1ZfgHgtX46RtZeqI0eNQwxmUziqo2CRTn&_nc_ohc=B8yADn3K3TMAX9lICiG&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    -NxiZpH1Zz21r_J4YLtMZP5Z3IsNroIynL_W9ps66RJS&_nc_ohc=rTqb-b7ZViAAX8Duoc0&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    ITqYjMZAvlnnYvamnUxzeSHjTN_inz9f037q7P644GKX&_nc_ohc=aT8MdoSQYpUAX_hJytj&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    w2tOT1RClaE1g0JETRs5-5UZ38USjxwsG-dvBM_XWBYZ&_nc_ohc=FM_p6snnht0AX8_fUex&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    ?temp_hash=5841a43c16821f72c81c5ebfc0e9a89f.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    [๕๘๐-๕๘๓] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร คือ กายคตาสติ ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล (๑๘-๒๑)
    ………
    ข้อความบางตอนใน กายคตาสติวรรค หมวดว่าด้วยผลแห่งการเจริญกายคตาสติ อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=28
    #กายคตาสติ

    fr-nsbCkuimU_KkQ4cp6CQHHVeBkNyqGKwstlITUr4p2&_nc_ohc=fUyzz3Undz0AX8QAqEM&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    กายคตาสติวรรค
    หมวดว่าด้วยผลแห่งการเจริญกายคตาสติ
    ............
    [๕๖๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งได้เจริญทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นส่วนแห่งวิชชา ย่อมเป็นภาวนาที่หยั่งลงในจิตของภิกษุนั้น เปรียบเหมือนมหาสมุทรอันผู้ใดผู้หนึ่งสัมผัสด้วยใจแล้ว แม่น้ำน้อยสายใดสายหนึ่งที่ไหลไปสู่สมุทรย่อมปรากฏภายในจิตของผู้นั้น (๑)

    [๕๖๔-๕๗๐] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสังเวชใหญ่ เพื่อประโยชน์ใหญ่ เพื่อธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะใหญ่ เพื่อสติและสัมปชัญญะ เพื่อได้ญาณทัสสนะ เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพื่อทำให้แจ้งซึ่งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสังเวชใหญ่ เพื่อประโยชน์ใหญ่ เพื่อธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะใหญ่ เพื่อสติและสัมปชัญญะ เพื่อได้ญาณทัสสนะ เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพื่อทำให้แจ้งซึ่งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ (๒-๘)

    [๕๗๑] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกและวิจารก็สงบ ธรรมที่เป็นส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้นก็ถึงความเจริญเต็มที่ ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ เมื่อธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคล
    ได้เจริญทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกและวิจารก็สงบ ธรรมที่เป็นส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้นก็ถึงความเจริญเต็มที่ (๙)

    [๕๗๒] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือกายคตาสติ เมื่อธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้ว อกุศลธรรมที่
    ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ (๑๐)

    [๕๗๓] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ เมื่อธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๑๑)

    [๕๗๔] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมละอวิชชาได้ วิชชาเกิดขึ้นย่อมละอัสมิมานะได้ อนุสัย ย่อมถึงความถอนขึ้น ย่อมละสังโยชน์ได้ ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ เมื่อธรรมอันเป็นเอกนี้แล ทีุ่บคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมละอวิชชาได้ วิชชาเกิดขึ้นย่อมละอัสมิมานะ ได้ อนุสัยถึงความถอนขึ้นย่อมละสังโยชน์ได้ (๑๒)

    [๕๗๕-๕๗๖] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร
    คือ กายคตาสติ ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป
    เพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน (๑๓-๑๔)

    [๕๗๗-๕๗๙] เมื่อธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมมีความเข้าใจแจ่มแจ้งธาตุหลายชนิด มีความเข้าใจแจ่มแจ้งธาตุที่แตกต่างกัน มีความแตกฉานในธาตุหลายชนิด ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ เมื่อธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมมีความเข้าใจแจ่มแจ้งธาตุหลายชนิดมีความเข้าใจแจ่มแจ้งธาตุที่แตกต่างกัน มีความแตกฉานในธาตุหลายชนิด (๑๕-๑๗)

    [๕๘๐-๕๘๓] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร คือ กายคตาสติ ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล (๑๘-๒๑)

    [๕๘๔-๕๙๙] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา เพื่อความเจริญแห่งปัญญา เพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแน่นหนา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลุ่มลึก เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง เพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาว่องไว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคล่องแคล่ว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม และเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา เพื่อความเจริญแห่งปัญญา เพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแน่นหนา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลุ่มลึก เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง เพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาว่องไว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคล่องแคล่ว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม และเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส (๒๒-๓๗)
    ……….
    กายคตาสติวรรค หมวดว่าด้วยผลแห่งการเจริญกายคตาสติ อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=28

    #กายคตาสติ

    7v9-ZI-asdbePPDm-1WIZe8tE9IWEXaEUvljBp9kVsCwQbT4kvadaO_0_3MjftkYti6WhI9e&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    ?temp_hash=e60cc2d485b1a0f45bd0e2c7701903b1.jpg

    ?temp_hash=e60cc2d485b1a0f45bd0e2c7701903b1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    อานาปานสติ มีผลมาก
    ***********
    [๑๒๑] ราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติเถิด เพราะอานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

    อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก
    มีอานิสงส์มาก

    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้
    บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก

    ๑. เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้ายาว’
    เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกยาว’
    ...
    ฯลฯ
    ...
    ๑๖. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า’
    สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก’

    อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

    ราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
    ลมอัสสาสะ(หายใจเข้า) ลมปัสสาสะ(หายใจออก) ครั้งสุดท้ายที่ปรากฏชัด ย่อมดับไป ที่ไม่ปรากฏชัด ยังไม่ดับไป”

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
    …………
    ข้อความบางตอนใน มหาราหุโลวาทสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=13&siri=12

    ***************
    ในบทเหล่านั้น บทว่า อานาปานสตึ ท่านพระสารีบุตรแสดงว่า ท่านจงกำหนดลมหายใจเข้าลมหายใจออกแล้วยังฌาน หมวด ๔ หมวด ๕ ให้เกิดในอานาปานสตินั้น แล้วเจริญวิปัสสนา ถือเอาพระอรหัต.

    บทว่า มหปฺผลา โหติ มีผลมาก.
    มีผลมากอย่างไร.

    ภิกษุในศาสนานี้ขวนขวายอานาปานสติ นั่งเหนืออาสนะหนึ่ง ยังอาสวะทั้งหมดให้สิ้นไปแล้วบรรลุพระอรหัต. เมื่อไม่สามารถอย่างนั้นก็เป็นสมสีสี (สิ้นชีวิตพร้อมทั้งสิ้นกิเลส) ในเวลาตาย. เมื่อไม่สามารถอย่างนั้นก็บังเกิดในเทวโลก ครั้นฟังธรรมของเทพบุตรผู้เป็นธรรมกถึกแล้วได้บรรลุพระอรหัต. พลาดไปจากนั้นเมื่อยังไม่เกิดพุทธุปบาทกาล ย่อมทำให้แจ้งปัจเจกโพธิ. เมื่อยังไม่ทำให้แจ้งปัจเจกโพธินั้น ย่อมเป็นขิปปาภิญญา (รู้ได้เร็ว) เฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ดุจพระพาหิยเถระเป็นต้นฉะนั้น ย่อมมีผลมากด้วยประการฉะนี้.

    บทว่า มหานิสํสา เป็นไวพจน์ของบทว่า มหปฺผลา.
    แม้ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ว่า

    อานาปานสฺสติ ยสฺส ปริปุณฺณา สุภาวิตา
    อนุปุพฺพปริจีตา ยถา พุทฺเธน เทสิตา
    โสมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา.

    ผู้ใดเจริญอานาปานสติให้บริบูรณ์ สะสมไว้
    โดยลำดับ เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าทรง
    แสดงไว้ ผู้นั้นย่อมทำโลกให้สว่างไสว ดุจ
    พระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น.

    พระเถระ เมื่อเห็นความที่อานาปานสติมีผลมากนี้ จึงได้ชักชวนสัทธิวิหาริกในอานาปานสตินั้น. ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบอกรูปกรรมฐาน พระเถระบอกอานาปานสติ เพราะเหตุนั้น แม้ทั้งสองท่านบอกกรรมฐานแล้วก็ไป.
    .........
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถามหาราหุโลวาทสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=133

    cgPr2--pNNjOVutLxCbIZAjH2kfraQ_RvZNnPmVA7C43&_nc_ohc=OpkwHY9vNoYAX8E9pZP&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    gsTx6FZUM_IuwNoh01iz83NHKyI8ewDQ_FQ9Oyk_93Oj&_nc_ohc=Azuki_6Tn4EAX-iDdyl&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    aAQLAJftrBwhpD2aX4OSCDgo0_cj6M2NyNV8J84hRsWa&_nc_ohc=n0BdGsL8iPIAX9QOSFR&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    ผู้เคลื่อนจากธรรมวินัยนี้ย่อมตกไป
    ผู้ตกไปและกำหนัดเพราะราคะต้องกลับมาอีก
    เมื่อทำกิจที่ควรทำ ยินดีสิ่งที่ควรยินดี
    จะบรรลุสุขด้วยสุข
    ...............
    ข้อความบางตอนใน ปปติตสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้ตกจากธรรมวินัย
    อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=2

    บทว่า สุเขนานฺวาคตํ สุขํ ความว่า จากสุขมาตาม คือถึงพร้อมซึ่งสุข. อธิบายว่า จากสุขของมนุษย์มาถึงคือบรรลุสุขทิพย์ จากสุขในฌานมาถึงสุขในวิปัสสนา จากสุขในวิปัสสนามาถึงสุขในมรรค จากสุขในมรรคมาถึงสุขในผล จากสุขในผลก็มาถึงสุขในนิพพาน.
    ................
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาปปติตสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=2

    t0H4FlJ4Df9zX14jyDJ9r8f10rkYxPmqOF4Pzw7H2aJj&_nc_ohc=54ET8QaQDlAAX8ZAPfW&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    #สัมมาปฏิบัติ #อปัณณกปฏิปทา
    *****************
    ครั้งนั้น ท่านพระยโสชะผู้เข้าจำพรรษาอยู่ด้วย ได้เรียกภิกษุทั้งหลายมา กล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงมุ่งหวังประโยชน์ แสวงหาประโยชน์ ทรงอนุเคราะห์ อาศัยความอนุเคราะห์ จึงทรงขับไล่พวกเรา เอาเถิด ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ขอพวกเราจงอยู่อย่างที่พระผู้มีพระภาคทรงมุ่งหวังประโยชน์แก่พวกเราเถิด”ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระยโสชะ แล้วก็ปลีกตัวไป ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ภายในพรรษานั้นนั่นแล ทุกรูปก็ได้ทำให้แจ้งวิชชา ๓ ประการ
    ........
    ข้อความบางตอนใน ยโสชสูตร ขุททกนิกาย อุทาน พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=58

    บทว่า อตฺถกาเมน ได้แก่ ปรารถนาแต่ประโยชน์เท่านั้น ไม่มุ่งถึงการประกอบอะไรๆ.

    บทว่า หิเตสินา ได้แก่ ปรารถนาประโยชน์ คือมีปกติแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล กล่าวคืออรรถ หรือที่เป็นเหตุของประโยชน์นั้นว่า สาวกของเรา พึงหลุดพ้นจากวัฏทุกข์เพราะเหตุไร เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระองค์จึงชื่อว่า ทรงอนุเคราะห์ เพราะอนุเคราะห์ไปตามสำนักของเวไนยสัตว์แม้ในที่ไกล ไม่คำนึงถึงความลำบากทางพระวรกายเลย เราถูกประณามเพราะอาศัยความอนุเคราะห์ ไม่ใช่ถูกประณาม เพราะหวังความขวนขวายเป็นต้นของตน. เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ผู้หนักในธรรม ผู้ทรงประณามแม้เหตุเพียงทำเสียงดัง จึงควรบูชาด้วยสัมมาปฏิบัติเท่านั้น ฉะนั้น อาวุโส เอาเถิด เราสำเร็จการอยู่อย่างนั้น คือเราจะบำเพ็ญอปัณณกปฏิปทา ด้วยการประกอบสติสัมปชัญญะ ในที่ทุกสถาน ทำกัมมัฏฐานตามที่กำหนดไว้ให้ถึงที่สุด ชื่อว่า สำเร็จ คืออยู่ด้วยอิริยาบถวิหารทั้ง ๔.

    บทว่า ยถา โน วิหรตํ ความว่า เมื่อเราอยู่โดยประการใด พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงเป็นผู้มีพระทัยยินดี คืออันพวกเราพึงให้โปรดปรานด้วยสัมมาปฏิบัติบูชา.

    บทว่า เตเนวนฺตรวสฺเสน ได้แก่ ไม่เลยวันมหาปวารณาในภายในพรรษานั้นนั่นแล.

    บทว่า ติสฺโส วิชฺชา สจฺฉากํสุ ความว่า ภิกษุ ๕๐๐ ทั้งหมดนั้นนั่นแล ได้กระทำให้ประจักษ์แก่ตน ซึ่งวิชชา ๓ เหล่านี้ คือ บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๑ ทิพยจักขุญาณ ๑ อาสวักขยญาณ ๑ เพราะอรรถว่าแทงตลอดขันธ์ที่เคยอยู่ในกาลก่อน และขันธ์คือโมหะอันเป็นตัวปกปิด. ในที่นี้ พระองค์ทรงยกวิชชา ๓ ขึ้นแสดง โดยแสดงถึงการที่ภิกษุเหล่านั้นบรรลุ เพื่อแสดงว่า บรรดาโลกิยอภิญญา อภิญญา ๒ นี้เท่านั้นมีอุปการะมากแก่อาสวักขยญาณ ส่วนทิพยโสตญาณ เจโตปริยญาณ และอิทธิวิธญาณหาเป็นเช่นนั้นไม่.

    จริงอย่างนั้น ในเวรัญชสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงการที่พระองค์ทรงบรรลุ แก่เวรัญชพราหมณ์ จึงทรงแสดงวิชชา ๓ เท่านั้น เพราะไม่มีทิพยโสตญาณเป็นต้น. เมื่อเป็นอย่างนี้ พระองค์จึงไม่ทรงยกทิพยโสตญาณเป็นต้นแม้ที่มีอยู่ขึ้นแสดงแก่ภิกษุแม้เหล่านั้น เพราะภิกษุเหล่านั้นมีอภิญญา ๖. เพราะกระทำอธิบายดังว่ามานี้ พระองค์จึงตรัสถึงการใช้ฤทธิของภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุเหล่านั้นหายไป ณ ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทามาปรากฏเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าในกูฎาคารศาลา.
    .........
    ข้อความบางตอนในอรรถกถายโสชสูตร
    http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=71

    RmpwUplC7D6JZzv9Wl9QBX0tvAm4imA1qsyuimBpW1rTKZ43leBJulBMvX62sWgQcvPNEgik&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    การสอนกัมมัฏฐานในครั้งพุทธกาล
    *************
    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อุจฺฉินฺท" เป็นต้น.

    มาณพบวชแล้วได้กัมมัฏฐานไม่ถูกอัธยาศัย

    ได้ยินว่า บุตรของนายช่างทองคนหนึ่งมีรูปสวย บวชในสำนักของพระเถระแล้ว. พระเถระดำริว่า "พวกคนหนุ่ม มีราคะหนา" แล้วได้ให้อสุภกัมมัฏฐานแก่ท่าน เพื่อกำจัดราคะ. แต่กัมมัฏฐานนั้นไม่เป็นที่สบายสำหรับท่าน เพราะเหตุนั้น ท่านเข้าไปสู่ป่าแล้ว พยายามอยู่สิ้น ๓ เดือน ไม่ได้แม้ซึ่งคุณมาตรว่าความเป็นผู้มีจิตแน่แน่วแล้ว จึงมาสู่สำนักของพระเถระอีก

    เมื่อพระเถระกล่าวว่า "ท่าน กัมมัฏฐานมาปรากฏแก่ท่านแล้วหรือ?" จึงบอกความเป็นไปนั้น. ครั้งนั้น พระเถระกล่าว (กะท่าน) ว่า "การถึงการปลงใจว่า ‘กัมมัฏฐานไม่สำเร็จ’ ดังนี้ ย่อมไม่สมควร" แล้วบอกกัมมัฏฐานนั้นแหละให้ดีขึ้นอีก แล้วได้ให้แก่ท่าน.

    แม้ในวาระที่ ๒ ท่านก็ไม่อาจยังคุณวิเศษอะไรๆ ให้เกิดขึ้นได้ จึง (กลับ) มาบอกแก่พระเถระ. แม้พระเถระบอกกัมมัฏฐานนั้นเอง ทำให้มีเหตุมีอุปมา. ท่านก็มาบอกความที่กัมมัฏฐานไม่สำเร็จแม้อีก.

    พระเถระคิดว่า "ภิกษุผู้ทำ (ความเพียร) ย่อมทราบนิวรณธรรม มีความพอใจในกามเป็นต้น ซึ่งมีอยู่ในตนว่า ‘มีอยู่’ และที่ไม่มีว่า ‘ไม่มี’ ก็ภิกษุแม้นี้ เป็นผู้ทำ(ความเพียร) มิใช่เป็นผู้ไม่ทำ เป็นผู้ปฏิบัติ มิใช่เป็นผู้ไม่ปฏิบัติ แต่เราไม่รู้อัธยาศัยของภิกษุนั่น, ภิกษุนั่นจักเป็นผู้อันพระพุทธเจ้าพึงแนะนำ"

    จึงพาท่านเข้าไปเฝ้าพระศาสดาในเวลาเย็น แล้วกราบทูลความเป็นไปนั้นทั้งหมดว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้เป็นสัทธิวิหาริกของข้าพระองค์, ข้าพระองค์ให้กัมมัฏฐานชื่อนี้แก่ภิกษุนี้ ด้วยเหตุนี้."

    พระศาสดาประทานกัมมัฏฐานที่เหมาะแก่ภิกษุนั้น

    ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะพระเถระนั้นว่า "ชื่อว่าอาสยานุสยญาณนั่น ย่อมมีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้บำเพ็ญบารมีแล้ว ยังหมื่นโลกธาตุให้บันลือแล้ว ถึงความเป็นพระสัพพัญญูนั่นแล" แล้วทรงรำพึงอยู่ว่า "ภิกษุนี้บวชจากสกุลไหนหนอแล?" ทรงทราบว่า "จากสกุลช่างทอง" ทรงพิจารณาอัตภาพที่ล่วงมาแล้ว ทรงเห็นอัตภาพ ๕๐๐ ของภิกษุนั้นอันเกิดโดยลำดับเฉพาะในสกุลช่างทอง แล้วทรงดำริว่า "ภิกษุหนุ่มนี้ ทำหน้าที่ช่างทองอยู่ตลอดกาลนาน หลอมแต่ทองมีสีสุกอย่างเดียว ด้วยคิดว่า "เราจักทำให้เป็นดอกกรรณิการ์และดอกปทุมเป็นต้น. อสุภปฏิกูลกัมมัฏฐานไม่เหมาะแก่ภิกษุหนุ่มนี้, กัมมัฏฐานที่พอใจเท่านั้น จึงจะเป็นกัมมัฏฐานที่สบายแก่เธอ"

    จึงตรัสว่า "สารีบุตร เธอจักเห็นภิกษุที่เธอให้กัมมัฏฐาน ลำบากแล้วตลอด ๔ เดือน บรรลุพระอรหัตในภายหลังภัต ในวันนี้นั่นแหละ เธอไปเถิด" ดังนี้แล้ว ทรงส่งพระเถระไป ทรงนิรมิตดอกปทุมทอง ประมาณเท่าจักรด้วยพระฤทธิ์ แล้วทรงทำให้เป็นเหมือนหลั่งหยาดน้ำจากใบและก้าน แล้วได้ประทานให้ด้วยพระดำรัสว่า "เอาเถิด ภิกษุ เธอจงถือเอาดอกปทุมนี้ไปวางไว้ที่กองทรายที่ท้ายวิหาร นั่งขัดสมาธิในที่ตรงหน้า แล้วทำบริกรรมว่า ‘โลหิตกํ โลหิตกํ’ (สีแดง สีแดง)"

    เมื่อภิกษุนั้นรับดอกปทุมจากพระหัตถ์ของพระศาสดาเท่านั้น จิตก็เลื่อมใสแล้ว, ท่านไปยังท้ายวิหารพูนทรายขึ้นแล้ว เสียบก้านดอกปทุมที่กองทรายนั่นแล้ว นั่งขัดสมาธิในที่ตรงหน้า เริ่มบริกรรมว่า "โลหิตกํ โลหิตกํ."
    ……….
    ข้อความบางตอนใน เรื่องสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ มรรควรรควรรณนา อรรถกถาขุททกนิกาย ธรรมบท
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=30&p=7

    หมายเหตุ ข้อความเบื้องต้นมีเนื้อหาโดยย่อว่า ภิกษุหนุ่มเรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระสารีบุตรเถระ พระเถระได้ให้อสุภกัมมัฏฐานแก่ภิกษุนั้น ภิกษุหนุ่มเพียรพยายามปฏิบัติอสุภกัมมัฏฐานอยู่ ๓ เดือนแต่ไม่สำเร็จมรรคผล พระสารีบุตรเถระเห็นว่าตนไม่รู้อัธยาศัยของภิกษุนั้น จะมีแต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้นที่มีอาสยานุสยญาณ (ปัญญาหยั่งรู้อัธยาศัยและอุปนิสัยแห่งเวไนยสัตว์) จึงจะสามารถประทานกัมมัฏฐานที่เหมาะแก่ภิกษุนั้นได้ พระศาสดาทรงนิรมิตดอกปทุมทอง แล้วได้ประทานให้ภิกษุ มีพระดำรัสว่า "เอาเถิด ภิกษุ เธอจงถือเอาดอกปทุมนี้ไปวางไว้ที่กองทรายที่ท้ายวิหาร นั่งขัดสมาธิในที่ตรงหน้า แล้วทำบริกรรมว่า ‘โลหิตกํ โลหิตกํ’ (สีแดง สีแดง)"

    #สำนักปฏิบัติ #สำนักเรียน #สำนักกรรมฐาน #กัมมัฏฐาน #กรรมฐาน #ปฏิบัติ #ปฏิบัติธรรม #ครูสมาธิ

    JjrNwuRVN_vXfhJp_cZilk85mD_sAuNgkXQ_Y2zT8Ao0&_nc_ohc=Bzb0KlvN_5wAX_coy2H&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...