อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    ว่าด้วยกาลแห่งสมถะและวิปัสสนา
    คำว่า ตามกาล ในคำว่า ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล อธิบายว่า เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็เป็นกาลแห่งสมถะ เมื่อจิตตั้งมั่น ก็เป็นกาลแห่งวิปัสสนา (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)

    โยคี ใด ยกจิตไว้ในกาล(หนึ่ง)
    ข่มจิตในอีกกาลหนึ่ง ทำจิตให้รื่นเริงตามกาล
    ตั้งจิตให้มั่นในกาลเพ่งดูจิตตามกาล
    โยคีนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในกาล
    การยกจิต ควรมีในกาลไหน
    การข่มจิตควรมีในกาลไหน
    กาลสำหรับทำจิตให้รื่นเริงควรมีในกาลไหน
    และกาลแห่งสมถะเป็นเช่นไร
    บัณฑิตย่อมแสดงกาลสำหรับเพ่งดูจิตของโยคีไว้อย่างไร
    การยกจิตควรมีในเมื่อจิตย่อหย่อน
    การข่มจิตควรมีในเมื่อจิตฟุ้งซ่าน
    โยคีควรทำจิตที่ถึงความไม่แช่มชื่นให้รื่นเริงทุกเมื่อ
    จิตรื่นเริง ไม่ย่อหย่อน ไม่ฟุ้งซ่านย่อมมีในกาลใด
    ในกาลนั้นก็เป็นกาลแห่งสมถะ
    ใจพึงยินดีอยู่ภายในโดยอุบายนี้เอง
    เมื่อใดจิตตั้งมั่น เมื่อนั้นโยคีพึงรู้จิตที่ตั้งมั่น แล้วพึงเพ่งดูจิต
    นักปราชญ์รู้จักกาล ทราบกาล ฉลาดในกาล
    พึงกำหนดอารมณ์อันเป็นนิมิตของจิต โดยควรแก่กาล อย่างนี้

    คำว่า ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล อธิบายว่า ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”

    คำว่า ธรรมเอกผุดขึ้น ในคำว่า ภิกษุนั้น ... เป็นผู้มีธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัดความมืด อธิบายว่า ผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจไม่ซัดส่าย คือ สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ รวมความว่า เป็นผู้มีธรรมเอกผุดขึ้น

    คำว่า ภิกษุนั้น ... พึงกำจัดความมืด อธิบายว่า ภิกษุพึงขจัด พึงกำจัด คือ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความมืดเพราะราคะ ความมืดเพราะโทสะ ความมืดเพราะโมหะ ความมืดเพราะมานะ ความมืดเพราะทิฏฐิ ความมืด
    เพราะกิเลส ความมืดเพราะทุจริต อันทำให้เป็นคนตาบอด ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้ไม่มีญาณ อันดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความลำบาก ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
    ……………..
    ข้อความบางตอนใน สารีปุตตสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=16
    และดูเพิ่มใน อรรถกถาสารีปุตตนิทเทส http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=881&p=2#ข้อ_๙๕๖



    ?temp_hash=7bb2d5842c30cfc83e149145be86325c.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    ธุระ ๒ อย่างในพระศาสนา
    ***********
    มหาปาละบรรพชาอุปสมบท

    เมื่อน้องชายกำลังร้องไห้อยู่เทียว, เขาไปสู่สำนักพระศาสดาแล้ว ทูลขอบวช ได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว อยู่ในสำนักแห่งพระอาจารย์ และอุปัชฌาย์ครบ ๕ พรรษาแล้ว

    ออกพรรษา ปวารณาแล้วเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ทูลถามว่า “พระเจ้าข้า ในพระศาสนานี้มีธุระกี่อย่าง?”

    ธุระ ๒ อย่างในพระศาสนา

    พระศาสดาตรัสตอบว่า “ภิกษุ ธุระมี ๒ อย่าง คือ คันถธุระ (กับ) วิปัสสนาธุระ เท่านั้น.”

    พระมหาปาละทูลถามว่า “พระเจ้าข้า ก็คันถธุระเป็นอย่างไร? วิปัสสนาธุระเป็นอย่างไร?”

    ศ. ธุระนี้ คือ การเรียนนิกายหนึ่งก็ดี สองนิกายก็ดี จบพุทธวจนะคือพระไตรปิฎกก็ดี ตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วทรงไว้ กล่าวบอกพุทธวจนะนั้น ชื่อว่า คันถธุระ.

    ส่วนการเริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อมไว้ในอัตภาพ ยังวิปัสสนาให้เจริญ ด้วยอำนาจแห่งการติดต่อแล้ว ถือเอาพระอรหัตของภิกษุผู้มีความประพฤติแคล่วคล่อง ยินดียิ่งแล้วในเสนาสนะอันสงัด ชื่อว่า วิปัสสนาธุระ.

    ม. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์บวชแล้วแต่เมื่อแก่ ไม่สามารถจะบำเพ็ญคันถธุระให้บริบูรณ์ได้, แต่จักบำเพ็ญวิปัสสนาธุระให้บริบูรณ์, ขอพระองค์ตรัสบอกพระกรรมฐานแก่ข้าพระองค์เถิด.
    …….
    ข้อความบางตอนใน เรื่องพระจักขุปาลเถระ ยมกวรรควรรณนา ขุททกนิกาย อรรถกถาธรรมบท
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=11&p=1

    NCVVY9KKrdl0DhrtmRHPZlM_ja6Hf8OPqA2id3IutzKU&_nc_ohc=f2VQmkQb06wAX_hNpET&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    อริยสาวกผู้อยู่ด้วยความประมาทเป็นอย่างไร
    **************
    [๑๐๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอริยสาวกใด ไม่มีองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการโดยประการทั้งปวง พระอริยสาวกนั้นชื่อว่าอยู่ด้วยความประมาทหนอ”

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “นันทิยะ บุคคลใด ไม่มีองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ โดยประการทั้งปวง เราเรียกบุคคลนั้นว่า เป็นผู้เหินห่าง ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน
    อนึ่ง อริยสาวกเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท และอยู่ด้วยความไม่ประมาทโดยวิธีใด ท่านจงฟัง จงใส่ใจวิธีนั้นให้ดี เราจักกล่าว”

    เจ้านันทิยศากยะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

    “นันทิยะ อริยสาวกผู้อยู่ด้วยความประมาท เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
    ๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ อริยสาวกพอใจด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้น ไม่พยายามให้ยิ่งขึ้นไปเพื่อความสงัดในกลางวันเพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกเป็นผู้ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีปราโมทย์ เมื่อไม่มีปราโมทย์ ก็ไม่มีปีติ เมื่อไม่มีปีติ ก็ไม่มีปัสสัทธิ เมื่อไม่มีปัสสัทธิ ก็อยู่เป็นทุกข์ จิตของผู้มีทุกข์ ย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ จึงนับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทโดยแท้

    ๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ

    ๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ

    ๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกพอใจด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจนั้น ไม่พยายามให้ยิ่งขึ้นไปเพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกเป็นผู้ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีปราโมทย์ เมื่อไม่มีปราโมทย์ ก็ไม่มีปีติ เมื่อไม่มีปีติ ก็ไม่มีปัสสัทธิ เมื่อไม่มีปัสสัทธิ ก็อยู่เป็นทุกข์ จิตของผู้มีทุกข์ย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ จึงนับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทโดยแท้

    นันทิยะ อริยสาวกผู้อยู่ด้วยความประมาท เป็นอย่างนี้แล
    อริยสาวกผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
    ๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ อริยสาวกไม่พอใจด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้น พยายามให้ยิ่งขึ้นไปเพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์เกิดแล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมระงับ ผู้มีกายระงับย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ จึงนับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทโดยแท้

    ๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ

    ๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ

    ๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกไม่พอใจด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์เกิดแล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมระงับ ผู้มีกายระงับย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น เมื่อจิต ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ จึงนับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทโดยแท้

    นันทิยะ อริยสาวกผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอย่างนี้แล”

    ****************
    นันทิยสักกสูตร สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=358
    ............

    พึงทราบอธิบายในนันทิยสูตรที่ ๑๐.
    คำว่า เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน ความว่า กลางวันสงัด กลางคืนหลีกเร้น.

    คำว่า ธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏ ได้แก่ ธรรมคือสมถะและวิปัสสนา ย่อมไม่เกิดขึ้น.

    คำที่เหลือในบททั้งปวง มีเนื้อความตื้นทั้งนั้นแล.
    .................
    อรรถกถานันทิยสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1599

    หมายเหตุ : นันทิยสักกสูตร มีเนื้อหาสรุปได้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะว่า อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ แต่ไม่พยายามให้ยิ่งขึ้นไปจัดว่าเป็นผู้ประมาท ส่วนผู้ไม่ประมาทมีนัยตรงกันข้าม

    icoSKXPR8gtCAwW4V13dFidXFQvqhYyebOyaH3Jq20W9&_nc_ohc=L-vxpgIhLGYAX-MkRy1&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ไฉนหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ครั้นฟังแล้ว พึงรู้ทั่วถึงธรรม และครั้นรู้ทั่วถึงแล้ว พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น’
    ............
    ข้อความบางตอนใน จันทูปมาสูตร สังยุตตนิกาย นิทานวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=141
    บทว่า ตถตฺตาย ปฏิปชฺเชยฺยุ ํ ความว่า พวกภิกษุบำเพ็ญศีลให้เต็มในที่มาแล้ว ให้ศีลเหล่านั้นๆ ถึงพร้อมในที่แห่งสมาธิ วิปัสสนา มรรค และผลมาแล้ว ชื่อว่าพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น.
    ............
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาจันทูปมสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=470

    #ฟังธรรม #ปฏิบัติธรรม

    Pk_1o79SfwwbG8NhfGOs1ueEb8J2iLHYsq4ruo6-aNX8&_nc_ohc=y8ikXWerm10AX92S3-y&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    ?temp_hash=d37f0df39dc7f9b494ea10d75a9f8ff8.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    อริยมรรคมีองค์แปด

    จิตที่ดำเนินไปในเส้นทางมหาสติปัฏฐานสี่ อริยมรรคมีองค์แปด ... ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมเดินไปพร้อมกัน ธรรมจักรย่อมหมุนไป ตัดกระแสแห่งวัฏฏสงสาร เพื่อถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน อันเป็นสภาพสิ้นทุกข์ ไม่มีความกังวล
    พระพุทธองค์ ตรัสเปรียบเทียบว่า

    หม้อน้ำที่ไม่ฐานรองรับ ย่อมกลิ้งตกไป ได้ง่าย หม้อน้ำที่มีฐานรองรับ ย่อมกลิ้งตกไปได้ยากฉันใด จิตที่ไม่มี ฐานรองรับ ย่อมตกไปในที่ต่ำได้ง่าย ส่วนจิตที่มีฐานรองรับ ย่อมตกไปที่ต่ำได้ยากฉันนั้น...

    Ariyamakka.gif





    อะไร.. คือฐานรองรับจิต? อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นฐานรองรับจิต มีดังนี้

    ๑. เห็นถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ)
    ๒. คิดถูกต้อง (สัมมาสังกัปปะ)
    ๓. พูดถูกต้อง (สัมมาวาจา)
    ๔. ทำถูกต้อง (สัมมากัมมันตะ)

    ๕. อาชีพถูกต้อง (สัมมาอาชีวะ)
    ๖. เพียรถูกต้อง (สัมมาวายามะ)
    ๗. สติถูกต้อง (สัมมาสติ)
    ๘. สมาธิถูกต้อง (สัมมาสมาธิ)

    จิตที่ดำเนินไปในเส้นทางแห่ง มหาสติปัฏฐาน ๔ อริยมรรคมีองค์ ๘ ...ศีล-สมาธิ-ปัญญา ย่อมเดินไปพร้อมกัน


    อริยมรรคมีองค์ ๘ คืออะไรบ้าง

    ๑. เห็นถูกต้อง
    คือ เห็นตามอริยสัจ ๔
    ๒. คิดถูกต้อง


    คือ ใจบริสุทธิ์ เป็นอิสระจากอารมณ์ โลภ โกรธ หลง เป็นไปเพื่อความสุข ความเมตตา ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

    ๓. พูดถูกต้อง
    คือ พูดในสิ่งที่เป็นจริง เป็นประโยชน์ ถูกกาละเทศะ สุภาพและอ่อนโยน ด้วยจิตเมตตา และหวังดี
    ๔. ทำถูกต้อง
    คือ มีเมตตา(ไม่ฆ่าสัตว์) ซื่อสัตย์(ไม่ลักทรัพย์) ให้ทาน สำรวมในคู่ของตน
    ๕. อาชีพบริสุทธิ์
    เมื่อเห็นถูกต้อง คิดถูกต้อง พูดถูกต้อง ทำถูกต้อง อาชีพย่อมบริสุทธิ์
    ๖. เพียรถูกต้อง
    คือ เพียรในการละบาปเก่า ระวังบาปใหม่ที่จะเข้ามา เพียรสร้างกุศล และรักษากุศลที่สร้างไว้ไม่ให้เสื่อม
    ๗. สติถูกต้อง
    คือ การระลึกเป็นภายในอยู่เนืองๆ คือ ระลึกไปตามฐานทั้ง ๔ คือ มหาสติปัฏฐาน ๔
    ๘. สมาธิถูกต้อง

    คือ เมื่อจิตสงบ จิตจึงตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ฌาน,ญาณจึงเกิด





    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
    [๑๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นไฉน?



    อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ



    ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ความรู้ในเหตุให้ทุกข์เกิด ความรู้ในความดับทุกข์ ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ



    สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ



    สัมมาวาจาเป็นไฉน? การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า สัมมาวาจา



    สัมมากัมมันตะเป็นไฉน? การงดเว้นจากการล้างผลาญชีวิต งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ



    สัมมาอาชีวะเป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิด สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ



    สัมมาวายามะเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ให้เกิดฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ



    สัมมาสติเป็นไฉน

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่...พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ



    สัมมาสมาธิเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม

    บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่

    เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป

    บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

    เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.




    [๑๕๐] ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง
    ย่อมอยู่



    อนึ่ง สติของเธอ ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อริยสัจ ๔ อยู่

    ที่มา : http://www.thammatipo.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=424869
     
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    RYgTAG7Kew1QGHoD1qFsuw92Xpz9nSviswAGpePQV3Bg&_nc_ohc=BEqntccK0hoAX8RbBL7&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    lfewgYS_YqZOuwTsw-4iHZYHiqfvtdoxXtiK7oOvhT3Z&_nc_ohc=YHlu8DHLSyEAX_kKbCT&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    ?temp_hash=863c626b976de5d19b5f0d58a0b2e365.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    ?temp_hash=f13d1554425650c2f7605f06b8e7d874.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    SLqPwo9QpqXBcQ5Sx4qE4Q-kR1Lcvmrq5zyQz7aOtGj0&_nc_ohc=rsvIRFdRlcgAX9YDBiq&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    dAsp1lqAdeuQUs0slj62bplC-TOaBqaBhr92yV2xOaAi&_nc_ohc=oUJ9CkkAxHgAX_8Tq3F&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    ?temp_hash=c8a09d52bb6080981886562de159b8fe.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • พพพ.jpg
      พพพ.jpg
      ขนาดไฟล์:
      274.2 KB
      เปิดดู:
      78
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    TDsm1gt5q4XYzhPdsrHzlswEbX-cJ4mxr7WvwstSP8Ie&_nc_ohc=gt4iG7fawYQAX_ABybQ&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    กรรมฐานที่ภิกษุทั้งหลายสนใจปฏิบัติกันมาก
    ***************
    [๑๔๗] ภิกษุทั้งหลาย ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ในภิกษุสงฆ์นี้ ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่

    ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้เป็นอนาคามี เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ จะเกิดเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในโลกนั้นๆ ไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดาในภิกษุสงฆ์นี้ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่

    ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้เป็นสกทาคามี เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ และเพราะทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบาง จะกลับมายังโลกนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในภิกษุสงฆ์นี้ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่

    ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้เป็นโสดาบัน เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า ในภิกษุสงฆ์นี้ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่

    ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่ในภิกษุสงฆ์นี้ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่

    ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญสัมมัปปธาน ๔ อยู่ในภิกษุสงฆ์นี้ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่

    ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญอิทธิบาท ๔ อยู่ ในภิกษุสงฆ์นี้ก็มีภิกษุเช่นนั้นอยู่

    ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญอินทรีย์ ๕ อยู่ ...เจริญพละ ๕ อยู่ ... เจริญโพชฌงค์ ๗ อยู่ ... มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียร

    ในการเจริญมรรคมีองค์ ๘ อยู่ ในภิกษุสงฆ์นี้ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่

    ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญเมตตาอยู่ ในภิกษุสงฆ์นี้ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่ ... มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญกรุณาอยู่ ...มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญมุทิตาอยู่ ... มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญอุเบกขาอยู่ ... มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญอสุภสัญญาอยู่ ...มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญอนิจจสัญญาอยู่ ในภิกษุสงฆ์นี้ก็มีภิกษุแม้เช่นนั้นอยู่

    ภิกษุทั้งหลาย ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญอานาปานสติอยู่ อานาปานสติที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก อานาปานสติที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชาและ
    วิมุตติให้บริบูรณ์

    [๑๔๘] อานาปานสติที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไรจึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก…ฯลฯ.....
    ……………
    ข้อความบางตอนใน อานาปานัสสติสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=18

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุนฺนํ สติปฏฺฐานานํ ดังนี้เป็นต้น ตรัสเพื่อทรงแสดงกรรมฐานที่ภิกษุทั้งหลายนั้นสนใจมาก บรรดาธรรมเหล่านั้น ตรัสโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการอันเป็นทั้งโลกิยะและโลกุตระ. ก็ในข้อนั้น ภิกษุเหล่าใดยังมรรคให้เกิดในขณะนั้น โพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นย่อมเป็นโลกุตระสำหรับภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น เป็นโลกิยะสำหรับภิกษุทั้งหลายผู้เจริญวิปัสสนา.

    ในบทว่า อนิจฺจสญฺญาภาวนานุโยคํ นี้ ตรัสวิปัสสนาโดยมีสัญญาเป็นตัวการสำคัญ.

    ก็เพราะเหตุที่ในที่นี้ภิกษุทั้งหลายสนใจมาก ด้วยอำนาจแห่งอานาปานกรรมฐานเท่านั้นมี (จำนวน) มาก เพราะฉะนั้น เมื่อจะตรัสกรรมฐานที่เหลือโดยสังเขป แล้วตรัสอานาปานกรรมฐานโดยพิสดาร จึงตรัสคำว่า อานาปานสติ ภิกฺขเว เป็นต้นไป.
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาอานาปานสติสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=282#hl

    หมายเหตุ กรรมฐานที่ภิกษุสนใจปฏิบัติ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗มรรคมีองค์ ๘ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อสุภสัญญา อนิจจสัญญา และอานาปานสติ โดยเฉพาะการเจริญอานาปานสตินั้นเป็นที่นิยมปฏิบัติกันมาก ในพระสูตรนี้จึงแสดงไว้โดยละเอียด
    #กรรมฐาน #ปฏิบัติธรรม

    MzJ6D7qipHP59VIRDlPOwavU-WhL5EfhtuC5cKrHiGf2&_nc_ohc=-aB271m4THwAX8zzipg&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อุปาทานขันธ์ ๕ เวียน ๔ รอบ ๒๐ ประการ
    **********
    [๕๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้
    อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
    ๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป)
    ๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
    ๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา)
    ๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
    ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)

    ตราบใด เรายังไม่รู้ชัดอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ โดยเวียนรอบ ๔ ครั้ง ตามความเป็นจริง ตราบนั้น เราก็ไม่ยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง
    สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์’

    แต่เมื่อใด เรารู้ชัดอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ โดยเวียนรอบ ๔ ครั้งตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงจะยืนยันว่า ‘เป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก ฯลฯ เทวดาและมนุษย์’

    เวียนรอบ ๔ ครั้ง เป็นอย่างไร คือ

    เรารู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป ความดับแห่งรูป ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป
    เรารู้ชัดเวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา
    เรารู้ชัดสัญญา ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ความดับแห่งสัญญา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา
    เรารู้ชัดสังขาร ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ความดับแห่งสังขาร ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร
    เรารู้ชัดวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ

    รูป เป็นอย่างไร คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูป
    เพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร ความเกิดขึ้นแห่งรูปจึงมี
    เพราะความดับแห่งอาหาร ความดับแห่งรูปจึงมี
    อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูป คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ

    สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป ความดับแห่งรูป และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูป
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่ามั่นคงในธรรมวินัยนี้

    สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดรูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป ความดับแห่งรูป และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งรูปอย่างนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับไป เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นรูป
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก
    ...ฯลฯ...
    ข้อความบางตอนใน อุปาทานปริปวัตตนสูตร สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=56
    อรรถกถาอุปาทานปริวัฏฏสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=112

    หมายเหตุ นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว อีกนัยหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้เกี่ยวกับเรื่องอุปาทานขันธ์ ๕ คือ (๑) ขันธ์ ๕ แต่ละอย่างเป็นอย่างไร (๒) เพราะอะไรเกิด ขันธ์แต่ละอย่างจึงเกิด (๓) เพราะอะไรดับ ขันธ์ แต่ละอย่างจึงดับ และ (๔) อะไรเป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งขันธ์แต่ละอย่าง

    aCiTGz-0MaZpyGpxNZT6JwIf1WVLyKEa_s7L2YxO8IcZ&_nc_ohc=EEmm-AS6yqkAX8iq8-f&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้
    ************
    [๒๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี “ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วยทสพลญาณ และจตุเวสารัชชญาณ จึงยืนยันฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ในบริษัททั้งหลาย ประกาศพรหมจักรให้เป็นไปว่า

    ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้

    เวทนาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้

    สัญญาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้

    สังขารเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งสังขารเป็นอย่างนี้

    วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้

    เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
    เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับไป

    คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้

    อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้

    ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้ว เป็นธรรมเข้าใจง่าย เปิดเผย ประกาศไว้แล้ว เป็นดุจผืนผ้าเก่าที่ตัดไว้แล้วอย่างนี้
    กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา สมควรแท้เพื่อปรารภความเพียรในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้ว เป็นธรรมเข้าใจง่าย เปิดเผย ประกาศ
    ไว้แล้ว เป็นดุจผืนผ้าเก่าที่ตัดไว้แล้วอย่างนี้ว่า

    ‘เนื้อและเลือดในร่างกายจงเหือดแห้งไปจะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูกก็ตามที ผลใดพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ (ถ้า)ไม่บรรลุผลนั้น ก็จักไม่หยุดความเพียรของบุรุษ’

    บุคคลผู้เกียจคร้าน เกลื่อนกล่นไปด้วยบาปอกุศลธรรมทั้งหลายย่อมอยู่เป็นทุกข์และทำประโยชน์ของตนที่ยิ่งใหญ่ให้เสื่อมเสียไป ส่วนบุคคลผู้ปรารภความเพียร ผู้สงัดจากบาปอกุศลธรรมทั้งหลายย่อมอยู่เป็นสุข และทำประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ของตนให้บริบูรณ์ได้ การบรรลุธรรมที่เลิศด้วยธรรมอันเลว หามีไม่ แต่การบรรลุธรรมที่เลิศด้วยธรรมอันเลิศ ย่อมมีได้ พรหมจรรย์นี้ ผ่องใสและน่าดื่ม พระศาสดาก็ยังอยู่เฉพาะหน้า เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายจงปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้งโดยตั้งใจว่า ‘บรรพชาของเราทั้งหลายนี้ เป็นของไม่ต่ำทราม ไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร จักมีแก่เราทั้งหลาย เราทั้งหลายบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของชนเหล่าใด สักการะของชนเหล่านั้น จักมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เพราะเราทั้งหลาย’ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกดังพรรณนามาฉะนี้แล

    ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พิจารณาเห็นประโยชน์ของตน สมควรแท้ เพื่อที่จะทำกิจของตนให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท หรือว่าบุคคลผู้พิจารณาเห็นประโยชน์ของผู้อื่น สมควรแท้ เพื่อที่จะทำกิจของผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท หรือ
    บุคคลผู้พิจารณาเห็นประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย สมควรแท้ที่จะทำกิจของทั้ง ๒ ฝ่ายให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท”
    ...............
    ทุติยทสพลสูตร สังยุตตนิกาย นิทานวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=18
    ดูเพิ่มในอรรถกถาทุติยทสพลสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=65

    หมายเหตุ ทุติยทสพลสูตร มีเนื้อหาโดยย่อว่า พระผู้มีพระภาคได้ทรงอธิบายว่า ธรรมที่พระองค์ตรัสไว้แล้วนี้เป็นธรรมง่าย สมควรที่กุลบุตรผู้ออกบวชด้วยศรัทธานำไปประพฤติปฏิบัติให้รู้เห็นตามความเป็นจริง ชีวิตนี้จึงจักไม่เป็นหมันและมีกำไร สามารถทำประโยชน์ของตนและของคนอื่นได้ และในตอนท้ายของพระสูตรนี้ทรงเน้นไม่ให้ประมาท

    8sMiM7flrl9TqTM9yYcF0TB8ZCf4iTafMlcxMzfDYB66&_nc_ohc=DDsf88GO6vsAX-x7mV1&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    ปฏิจจสมุปบาท มีสังเขป ๔ สนธิ ๓ อัทธา ๓ อาการ ๒๐
    **********
    นนฺทิ ทุกฺขสฺส มูลนฺติ อิติ วิทิตฺวา ภวา ชาติ ภูตสฺส ชรา มรณนฺติ ฯ

    ‘ความเพลิดเพลินเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ เพราะมีภพ ชาติจึงมี สัตว์ผู้เกิดแล้วต้องแก่ ต้องตาย’

    มูลปริยายสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒
    (ไทย) http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=1

    (บาลี) http://www.84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=12&A=1

    แก้บท นนฺทิ ทุกฺขสฺส มูลํ

    อนึ่ง ในบทว่า นนฺทิ ทุกฺขสฺส มูลํ เป็นต้น พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้ :-

    บทว่า นนฺทิ ได้แก่ ตัณหาครั้งแรก.

    บทว่า ทุกฺขํ ได้แก่ เบญจขันธ์.

    บทว่า มูลํ ได้แก่ รากเหง้า.

    บทว่า อิติ วิทิตฺวา ความว่า เพราะทราบนันทิ (ความเพลิดเพลิน, ยินดี) ในภพครั้งแรกนั้นอย่างนี้ว่า เป็นมูลรากของทุกข์นี้.

    บทว่า ภวา ได้แก่ เพราะกรรมภพ.

    บทว่า ชาติ ได้แก่ วิบากขันธ์ (ขันธ์ที่เป็นวิบาก คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ).

    แท้จริง วิบากขันธ์เหล่านั้น เพราะเหตุที่เกิด ฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า ชาติ.

    อีกอย่างหนึ่ง เทศนานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงไว้โดยยกถึงชาติ (การเกิดของวิบากขันธ์) เป็นหัวข้อ. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้จึงควรประกอบเข้ากับคำนี้ว่า อิติ วิทิตฺวา.

    ก็ในคำนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ก็เพราะทราบอย่างนี้ว่า เพราะกรรมภพ (เจตนาที่ทำกรรม) จึงมีอุปปัตติภพ.

    บทว่า ภูตสฺส แปลว่า ของสัตว์. บทว่า ชรามรณํ แปลว่า ชราและมรณะ.

    มีคำอธิบายอย่างนี้ว่า ก็เพราะทราบอย่างนี้ว่า ชราและมรณะย่อมมีแก่ขันธ์ของสัตว์ผู้เกิดมาแล้ว เพราะอุปปัตติภพนั้น.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งโดยอปราชิตบัลลังก์ ณ โคนต้นโพธิ์ ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทใด จึงได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เพราะทรงแทงตลอดซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั้น เมื่อจะทรงแสดงเหตุแห่งความไม่มีแห่งความสำคัญยึดถือทั้งหลาย จึงทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทนั้นแล ซึ่งมีสังเขป (การย่นย่อ) ๔ สังเขป มีสนธิ ๓ สนธิ มีอัทธา (กาล) ๓ อัทธา มีอาการ ๒๐.

    อธิบายปฏิจจสมุปบาท

    ถามว่า ก็ปฏิจจสมุปบาททั้งหมดนั่น ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยคำเพียงเท่านี้อย่างไร?

    ตอบว่า ก็ในคำว่า นนฺทิ ทุกฺขสฺส มูลํ นี้ มีอธิบายว่า ศัพท์ว่า นนฺทิ นี้เป็นสังเขปที่ ๑ ทุกข์เป็นสังเขปที่ ๒ เพราะพระบาลีว่า ทุกฺขสฺส ภพเป็นสังเขปที่ ๓ เพราะพระบาลีว่า ภวา ชาติ ชาติ ชราและมรณะเป็นสังเขปที่ ๔. พึงทราบสังเขป ๔ ด้วยคำเพียงเท่านี้ดังพรรณนามาฉะนี้. (บทว่า สังเขป) อธิบายว่า ได้แก่ ส่วนทั้งหลาย.

    ระหว่างตัณหากับทุกข์ เป็นสนธิที่ ๑ ระหว่างทุกข์กับภพเป็นสนธิที่ ๒ ระหว่างภพกับชาติเป็นสนธิที่ ๓ พึงทราบสนธิ ๓ ระหว่างสังเขป ๔ ซึ่งเหมือนกับระหว่างนิ้วมือทั้ง ๔ ดังพรรณนามาฉะนี้.

    ในปฏิจจสมุปบาทนั้น นันทิเป็นอตีตัทธา (กาลที่เป็นอดีต) ชาติ ชราและมรณะ เป็นอนาคตัทธา (กาลที่เป็นอนาคต) ทุกข์และภพ เป็นปัจจุปันนัทธา (กาลที่เป็นปัจจุบัน) พึงทราบอัทธา ๓ ดังพรรณนามาฉะนี้แล.

    อนึ่ง ในอตีตัทธา ในบรรดาอาการ ๕ ด้วยคำว่า นันทิ ตัณหา จึงมาแล้วหนึ่ง แม้ตัณหานั้น จะยังไม่มา (อาการ ๔ คือ) อวิชชา สังขาร อุปาทาน และภพก็เป็นอันจัดเข้าแล้วทีเดียว ด้วยลักษณะที่เป็นปัจจัย. อนึ่ง ด้วยคำว่า ชาติ ชราและมรณะ เพราะเหตุที่อธิบายไว้ว่า ขันธ์เหล่าใดมีชาติ ชราและมรณะนั้น ขันธ์เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้แล้วทีเดียวในอนาคตัทธา จึงเป็นอันรวมเอาวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะและเวทนาเข้าไว้ด้วยเช่นกัน.

    ในกรรมภพซึ่งเป็นภพแรกมีธรรม ๕ ประการนี้ คือ โมหะได้แก่อวิชชา การประมวลมาได้แก่สังขาร ความใคร่ได้แก่ตัณหา การเข้าไปยึดถือได้แก่อุปาทาน เจตนาได้แก่ภพ เป็นปัจจัยของปฏิสนธิในปัจจุปันนัทธา ในเพราะกรรมภพซึ่งเป็นภพแรก.

    ในปัจจุปันนัทธามีธรรม ๕ ประการนี้คือ ปฏิสนธิ คือวิญญาณ สิ่งที่ก้าวลงคือนามรูป ปสาทรูปคืออายตนะ. อาการที่ถูกต้องคือผัสสะ อาการที่เสวยอารมณ์คือเวทนา เป็นปัจจัยของกรรมที่ทำไว้ก่อน ในเพราะอุปปัตติภพในปัจจุปันนัทธา.

    แต่เพราะในปัจจุปันนัทธา อายตนะทั้งหลายเจริญได้ที่แล้วจึงมีธรรม ๕ ประการเหล่านี้คือ โมหะคืออวิชชา การประมวลมาคือสังขาร ความใคร่คือตัณหา การเข้าไปยึดถือคืออุปาทาน เจตนาคือกรรมภพ เป็นปัจจัยของปฏิสนธิในอนาคตัทธา ในเพราะกรรมภพในปัจจุปันนัทธา.

    ในอนาคตัทธามีธรรม ๕ ประการนี้คือ ปฏิสนธิคือวิญญาณ สิ่งที่ก้าวลง (เกิดขึ้น) คือนามรูป ปสาทรูปคืออายตนะ อาการที่ถูกต้องคือผัสสะ อาการที่เสวยอารมณ์คือเวทนา เป็นปัจจัยของกรรมที่ทำไว้แล้วในปัจจุปันนัทธา ในเพราะอุปปัตติภพในอนาคตัทธา.

    พึงทราบอาการ ๒๐ เหล่านี้ ในปฏิจจสมุปบาทนี้ ซึ่งมีลักษณะดังแสดงไว้แล้วอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

    ปฏิจจสมุปบาทซึ่งมีสังเขป ๔ มีสนธิ ๓ มีอัทธา ๓ (และ) มีอาการ ๒๐ แม้ทั้งหมดพึงทราบว่า ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยพระดำรัสเพียงเท่านี้ว่า เพราะทราบอย่างนี้ว่า นันทิ (ความเพลิดเพลิน, ยินดี) เป็นรากเหง้าของทุกข์ จึงทราบต่อไปว่า เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ที่เกิดมาแล้วย่อมมีชราและมรณะ ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.

    อรรถกถามูลปริยายสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…

    bZ3wP0Zp-fylA7WpIGDcmrqytcFc3-M2rYXoBSbsAxLQ&_nc_ohc=JIfKkV38F4YAX8Ehiis&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    WGsHDHFwdRIvHe1pfFEUOKaU2XkNhre1JzNperlT5qbe&_nc_ohc=YcSkg_ygc-AAX9Fxkxc&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    กัมมัสสกตปัญญา เป็นอย่างไร


    jlpylb6pbfe368i_0xk5lw9p12edszg-5rfchyodibgacwk75jcqwdcyj7b9c2uwk4hq-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg

    ปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้น
    ********************
    ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมตรัสบอกปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นก่อนว่า เธอจงชำระศีลให้บริสุทธิ์ก่อน จงเจริญสมาธิ จงทำกัมมัสสกตปัญญาให้ตรง ดังนี้

    ราวกะนายช่างจิตรกรทำการตกแต่งฝาผนังบอกแก่อันเตวาสิกผู้ไม่มั่นใจในการกระทำ ผู้เริ่มทำครั้งแรก ผู้ไม่ชำนาญในการทำฉะนั้น

    แต่ว่า เมื่อบุคคลผู้กระทำเคยประกอบแล้วประกอบทั่วแล้ว พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมตรัสบอกสุญญตาวิปัสสนาทีเดียวซึ่งเป็นภาวะสุขุมลึกซึ้งอันเป็นปทัฏฐานแห่งพระอรหัตมรรค.
    ********
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาอัจฉราสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=143

    และศึกษาเพิ่มเติมใน อัจฉราสูตร สังยุตตนิกาย สคาถวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=46
    #ปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้น #ศีล #สมาธิ #กัมมัสสกตปัญญา
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...