อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    -G1I1sHm-JNWBD4fODLoZ1v3o1GnZQst02W_4LogXU212q4wMUblv9ydo6sqmRB4KxdArE9m&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ปฐมมรณัสสติสูตร พระสูตรนี้มีเนื้อหาโดยย่อว่า พระพุทธเจ้าตรัสอานิสงส์ของมรณัสสติว่ามีมาก และได้ทรงถามเหล่าพระภิกษุว่าได้พากันเจริญมรณัสสติกันบ้างหรือไม่อย่างไร ดังข้อความว่า

    “ภิกษุทั้งหลาย มรณัสสติที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังเจริญมรณัสสติอยู่หรือไม่”

    เหล่าพระภิกษุแต่ละรูปตอบว่าได้เจริญมรณัสสติอยู่ พระพุทธองค์จึงทรงถามต่อไปว่า ทำอย่างไร พระภิกษุแต่ละรูปได้คิดดังนี้ว่า

    ๑. “โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ตลอดคืนหนึ่งและวันหนึ่ง เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ”
    ๒. “โอหนอเราพึงเป็นอยู่ได้ตลอดวันหนึ่ง เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ”
    ๓. “โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะฉันบิณฑบาตมื้อหนึ่ง เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ”
    ๔. “โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะเคี้ยวกินคำข้าว ๔-๕ คำ เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ”
    ๕. “โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะเคี้ยวกินคำข้าว ๑ คำ เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ”
    ๖. “โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะลมหายใจเข้าหายใจออก หรือหายใจออกหายใจเข้า เราพึงมนสิการคำสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงทำกิจให้มากหนอ”

    เหล่าพระภิกษุแต่ละรูปได้อธิบายถึงวิธีคิดแบบมรณัสสติตามที่เข้าใจกันแล้ว พระพุทธเจ้าจึงสรุปว่า
    ภิกษุผู้ที่คิดตามข้อ ๑- ๕ ยังเป็นผู้ประมาทอยู่
    ส่วนภิกษุรูปสุดท้ายที่ตอบว่า ชีวิตมีอยู่ได้เพียงแค่ลมหายใจเข้า-ออก ภิกษุรูปนี้เป็นผู้ไม่ประมาท เจริญมรณัสสติอย่างแรงกล้าเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
    ………..
    ดูรายละเอียดใน ปฐมมรณัสสติสูตร อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒
    http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=22&siri=270

    rWqPaHcdUhP6OBCGoqIlGyW93M3BqYInwCiXgpNDRsvyTzM8Mc-aSZEzZGRDtLx4AAUHPaZN&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    LQD5EPzNxADOLvHu0V0w5pId9D_ZmTCDpS2y-m4J-99klfyc2O_wYW8jzTNYqcH5-QMXSYwX&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=261d23df0143ccae2040c93ebf3a4384.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    P8fhTSbrfiT0HIkocxR-JPQciShzFNmPJukTS_dHjC8DZKqByn4TqwlsOnOmqh5oQxseeBRU&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    lFRbmTMTpsT-PIIFHL87Ezh6xFffEj50sWopklVIJiSU&_nc_ohc=2k9A5SCwd9QAX9T_TYi&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=92e7a07a78fbedc476f1538d1100c934.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    สำนักเรียนพระกรรมฐานในสมัยพุทธกาล
    ************
    การเรียนพระกรรมฐานของภิกษุทั้งหลายในสำนักของพระศาสดาและสำนักของพระสาวก
    ******************
    ...จริงอยู่ ในครั้งพุทธกาล พวกภิกษุย่อมประชุมกัน ๒ วาระ คือ ในกาลจวนเข้าพรรษาอันใกล้เข้าแล้ว ๑ ในกาลปวารณา ๑. ครั้นเมื่อดิถีจวนเข้าพรรษาใกล้เข้ามา พวกภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง ๒๐ รูปบ้าง ๓๐ รูปบ้าง ๔๐ รูปบ้าง ๕๐ รูปบ้าง เป็นพวก ๆ ย่อมมาเพื่อต้องการกรรมฐาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบันเทิงกับภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ครั้นเมื่อดิถีจวนเข้าพรรษา ใกล้เข้าแล้ว พวกเธอจึงเที่ยวกันอยู่.

    ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นทูลอ้อนวอนว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์มาเพื่อพระกรรมฐาน ขอพระองค์จงให้พระกรรมฐานเเก่ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด ดังนี้. ด้วยสามารถแห่งความประพฤติของภิกษุเหล่านั้น พระศาสดาจึงให้อสุภกัมมัฏฐาน แก่ภิกษุผู้ราคะจริต ให้เมตตากัมมัฏฐาน แก่ภิกษุผู้โทสจริต ให้อุทเทส ปริปุจฺฉา การฟังธรรมตามกาล การสนทนาธรรมตามกาล แก่ภิกษุผู้โมหะจริต

    ตรัสบอกว่า กัมมัฏฐานนี้เป็นที่สบายของพวกเธอ ดังนี้ ทรงให้อานาปานัสสติกัมมัฏฐาน แก่ภิกษุผู้วิตกจริต ทรงประกาศ ความเป็นผู้ตรัสรู้ดี แห่งพระพุทธเจ้า ความเป็นธรรมดีแห่งพระธรรม และความเป็นผู้ปฏิบัติดีแห่งพระสงฆ์ ในปสาทนียสูตร แก่ภิกษุผู้สัทธาจริต ทรงตรัสพระสูตรทั้งหลายอันลึกซึ้ง อันปฏิสังยุตต์ด้วย อนิจจตา เป็นต้น แก่ภิกษุผู้ญาณจริต.

    พวกภิกษุเหล่านั้น เรียนเอาพระกัมมัฏฐานแล้ว ถ้าที่ใด เป็นที่สบาย ก็อยู่ในที่นั้นนั่นแหละ ถ้าว่าไม่มีที่สบาย ถามถึงเสนาสนะ เป็นที่สบายแล้ว จึงไป.

    พวกภิกษุเหล่านั้นอยู่ ในที่นั้น เรียนข้อปฏิบัติตลอด ๓ เดือน พากเพียรพยายามอยู่ เป็นพระโสดาบันบ้าง เป็นพระสกทาคามีบ้าง เป็นพระอนาคามีบ้าง เป็นพระอรหันต์บ้าง ออกพรรษา ปวารณาแล้ว จากที่นั้น จึงไปยังสำนักพระศาสดา บอกแจ้งคุณที่ตนได้เฉพาะว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ เรียนเอาพระกัมมัฏฐาน ในสำนักของพระองค์ บรรลุพระโสดาปัตติผลแล้ว ฯลฯ ข้าพระองค์ บรรลุพระอรหัตต์อันเป็นผลอันเลิศแล้ว ดังนี้.

    พวกภิกษุเหล่านี้ มาในที่นั้น ในดิถีเป็นที่จวนเข้าพรรษา อันใกล้เข้ามาแล้ว. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงส่งเหล่าภิกษุผู้มาแล้วไปอยู่อย่างนั้น สู่สำนักของพระอัครสาวกทั้งหลาย. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า. ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงอำลาพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเถิด. พวกภิกษุกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ ยังมิได้อำลาพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะเลย ดังนี้....
    ..................
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถา ทสุตตรสูตร แห่งอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อว่าสุมังคลวิลาสินี
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=364

    สำนักปฏิบัติธรรมในสมัยพุทธกาล
    *************
    อรรถกถาเมตตสูตร แห่งอรรถกถาขุททกปาฐะ ชื่อว่า ปรมัตถโชติกา มีข้อความเกี่ยวกับการเรียนพระกรรมฐานของภิกษุทั้งหลายในสำนักของพระศาสดา มีข้อความบางตอนว่า

    ...สมัยหนึ่ง ใกล้ดิถีเข้าจำพรรษา พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่กรุงสาวัตถี. สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายจากชาวเมืองต่างๆ จำนวนมาก รับกรรมฐานในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประสงค์จะเข้าจำพรรษาในที่นั้นๆ จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.

    ได้ยินว่า สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกรรมฐานทั้งหลายที่อนุกูลแก่จริตจำนวน ๘๔,๐๐๐ ประเภท โดยนัยนี้คือ อสุภกรรมฐาน ๑๑ อย่าง คือ อสุภที่มีวิญญาณและไม่มีวิญญาณ สำหรับคนราคจริต, กรรมฐานมีเมตตากรรมฐานเป็นต้น ๔ อย่าง สำหรับคนโทสจริต, กรรมฐานมีมรณัสสติกรรมฐานเป็นต้น สำหรับคนโมหจริต, กรรมฐานมีอานาปานัสสติและปฐวีกสิณเป็นต้น สำหรับคนวิตกจริต, กรรมฐานมีพุทธานุสสติกรรมฐานเป็นต้น สำหรับคนสัทธาจริต, กรรมฐานมีจตุธาตุววัตถานกรรมฐานเป็นต้น สำหรับคนพุทธิจริต.

    ลำดับนั้น ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปเรียนกรรมฐานในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า กำลังแสวงหาเสนาสนะที่เป็นสัปปายะและโคจรคาม เดินไปตามลำดับ ได้พบภูเขาพื้นศิลาคล้ายมณีสีคราม ประดับด้วยราวป่าสีเขียวมีร่มเงาทึบเย็น มีภูมิภาคเกลื่อนด้วยทรายเสมือนแผ่นเงินข่ายมุกดา ล้อมด้วยชลาลัยที่สะอาดเย็นดี ติดเป็นพืดเดียวกับป่าหิมวันต์ ในปัจจันตประเทศ….
    .................
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาเมตตสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=10

    ภิกษุหนุ่มเรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระสารีบุตรเถระ
    *********
    พระสารีบุตรเถระได้ให้อสุภกัมมัฏฐานแก่ภิกษุนั้น ภิกษุหนุ่มเพียรพยายามปฏิบัติอสุภกัมมัฏฐานอยู่ ๓ เดือนแต่ไม่สำเร็จมรรคผล พระสารีบุตรเถระเห็นว่าตนไม่รู้อัธยาศัยของภิกษุนั้น จะมีแต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้นที่มีอาสยานุสยญาณ (ปัญญาหยั่งรู้อัธยาศัยและอุปนิสัยแห่งเวไนยสัตว์) จึงจะสามารถประทานกัมมัฏฐานที่เหมาะแก่ภิกษุนั้นได้ พระศาสดาทรงนิรมิตดอกปทุมทอง แล้วได้ประทานให้ภิกษุ มีพระดำรัสว่า "เอาเถิด ภิกษุ เธอจงถือเอาดอกปทุมนี้ไปวางไว้ที่กองทรายที่ท้ายวิหาร นั่งขัดสมาธิในที่ตรงหน้า แล้วทำบริกรรมว่า ‘โลหิตกํ โลหิตกํ’ (สีแดง สีแดง)"
    ……….
    สรุปความจาก เรื่องสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ มรรควรรควรรณนา อรรถกถาขุททกนิกาย ธรรมบท
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=30&p=7

    ภิกษุณี ๓๐ รูป เรียนกรรมฐานในสำนักของพระปฏาจาราเถรี
    ************
    พระติงสมัตตาเถรี (พระเถรี ๓๐ รูป) ได้บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ สร้างสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน มาในภพนั้นๆ ในชาติสุดท้ายท่านทั้งหลายได้ฟังธรรมของพระปฏาจาราเถรี เกิดความสังเวชใจจึงพากันบวชในสำนักของพระปฏาจาราเถรี ครั้นบวชแล้ว ภิกษุณี ๓๐ รูปเหล่านี้ได้รับโอวาทจากพระปฏาจาราเถรี เนื้อหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า คือ ไตรสิกขา ทำจิตที่ตั้งมั่นด้วยสมถกรรมฐาน แล้วจึงเริ่มวิปัสสนาทำการภาวนาบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ เพราะมีญาณแก่กล้า และเพราะสมบูรณ์ด้วยเหตุ
    ..................
    สรุปความจาก อรรถกถาติงสมัตตาเถรีคาถา
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=449

    สำนักกัมมัฏฐานพระศาสดาและพระอริยสาวก
    ************
    ภิกษุทั้งหลายเรียนพระกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาแล้วไปสู่ที่อยู่ของพระเถระนอกนี้ (รูปบำเพ็ญวิปัสสนา) ตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน บรรลุพระอรหัตแล้ว นมัสการพระเถระ เรียนว่า “กระผมทั้งหลายใคร่จะเฝ้าพระศาสดา”
    ……….
    ข้อความบางตอนใน เรื่องภิกษุ ๒ สหาย ยมกวรรควรรณนา อรรถกถาขุททกนิกาย ธรรมบท
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=11&p=14

    #สำนักปฏิบัติ #สำนักเรียน #สำนักกรรมฐาน #กัมมัฏฐาน #กรรมฐาน #ปฏิบัติ #ปฏิบัติธรรม

    AX3LRbgj0QE6sNsH7D-o1Ve5qEE_0RsSPH1iCWNoCPkU&_nc_ohc=jDT9x5eW0_EAX9hzAdB&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ๕. จัณฑาลสูตร ว่าด้วยอุบาสกจัณฑาล
    ************
    [๑๗๕] ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นอุบาสกจัณฑาล เป็นอุบาสกเศร้าหมอง และเป็นอุบาสกน่ารังเกียจ

    ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
    ๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
    ๒. เป็นผู้ทุศีล
    ๓. เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อมงคล ไม่เชื่อกรรม
    ๔. แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
    ๕. ทำอุปการะนอกศาสนาก่อน

    ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกจัณฑาล เป็นอุบาสกเศร้าหมอง และเป็นอุบาสกน่ารังเกียจ

    ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นอุบาสกแก้ว เป็นอุบาสกปทุม และเป็นอุบาสกบุณฑริก

    ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
    ๑. เป็นผู้มีศรัทธา
    ๒. เป็นผู้มีศีล
    ๓. เป็นผู้ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล
    ๔. ไม่แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
    ๕. ทำอุปการะในศาสนานี้ก่อน

    ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกแก้ว เป็นอุบาสกปทุม และเป็นอุบาสกบุณฑริก
    จัณฑาลสูตรที่ ๕ จบ
    ............
    จัณฑาลสูตร อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=175
    อรรถกถาจัณฑาลสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=175

    3OPj0oJucmIDg7UU0vm7cW6QpB0Ica8pW938tcl_X4JJ&_nc_ohc=yJ_s6rrcitAAX9J_p5K&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    qp41xbrDhRoh74VbQWHqK4qCZR9LrjjbYuhxSB0_XMo4&_nc_ohc=XHcZM5-UlPgAX9gaQCr&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=9352ad101a248b3d1f99957cf843349d.jpg


    ?temp_hash=9352ad101a248b3d1f99957cf843349d.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
    มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

    [​IMG]
    ๑๐. มารตัชชนียสูตร
    ว่าด้วยการคุกคามมาร


    [๕๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ มิคทายวัน ในเภสกลาวันเขตเมืองสุงสุมาร
    คีระ ในภัคคชนบท.
    สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ถูกมารผู้ลามกเข้าไปในท้องในไส้
    ได้มีความดำริว่า ท้องเราเป็นดังว่ามีก้อนหินหนักๆ และเป็นเช่นกะทออันเต็มด้วยถั่วหมัก เพราะ
    เหตุอะไรหนอ จึงลงจากจงกรมแล้วเข้าไปสู่วิหาร นั่งอยู่บนอาสนะที่ปูไว้ ครั้นนั่งแล้ว ได้ใส่ใจ
    ถึงมารที่ลามกด้วยอุบายอันแยบคายเฉพาะตน.
    [๕๕๘] ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้เห็นมารผู้ลามก เข้าไปในท้องในไส้แล้ว ครั้นแล้ว
    จึงเรียกว่า ดูกรมารผู้ลามก ท่านจงออกมา ท่านจงออกมา ท่านอย่าเบียดเบียนพระตถาคตและ
    สาวกของพระตถาคตเลย วิเหสนกรรมนั้น อย่าได้มีเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่ท่าน
    ตลอดกาลนาน.
    ลำดับนั้น มารมีความดำริว่า สมณะนี้ไม่รู้และไม่เห็นเรา จึงกล่าวว่า ดูกรมารผู้ลามก
    ท่านจงออกมา ท่านจงออกมา ท่านอย่าเบียดเบียนพระตถาคตและสาวกของพระตถาคตเลย
    วิเหสนกรรมนั้น อย่าได้มีเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่ท่านตลอดกาลนาน ดังนี้ แล้ว
    จึงดำริว่า แม้สมณะที่เป็นศาสดายังไม่พึงรู้จักเราได้เร็วไว ก็สมณะที่เป็นสาวกไฉน จักรู้จักเรา
    ได้.
    ในขณะนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้บอกว่า ดูกรมารผู้ลามก เรารู้จักท่านแม้ด้วยเหตุนี้
    แล ท่านอย่าเข้าใจว่า สมณะนี้ไม่รู้จักเรา ท่านเป็นมาร ท่านมีความดำริว่า สมณะนี้ไม่รู้และไม่
    เห็นเรา จึงกล่าวว่า ดูกรมารผู้ลามก ท่านจงออกมา ฯลฯ ก็สมณะที่เป็นสาวกไฉน จักรู้จักเรา.
    ลำดับนั้น มารมีความดำริว่า สมณะนี้รู้จักและเห็นเรา จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรมารผู้ลามก
    ท่านจงออกมา ฯลฯ วิเหสนกรรมนั้น อย่าได้มีเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่ท่านตลอด
    กาลนาน ดังนี้ แล้วจึงออกจากปากท่านพระมหาโมคคัลลานะ แล้วยืนอยู่ที่ข้างบานประตู.
    [๕๕๙] ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้เห็นมารผู้ลามกยืนอยู่ที่ข้างบานประตู ครั้นแล้ว
    จึงกล่าวว่า ดูกรมารผู้ลามก เราเห็นท่านแม้ที่ข้างบานประตูนั้น ท่านอย่าเข้าใจว่า สมณะนี้ไม่
    เห็นเรา ท่านนั้นยืนอยู่แล้วที่ข้างบานประตู. ดูกรมารผู้ลามก เรื่องเคยมีแล้ว เราเป็นมารชื่อทูสี
    มีน้องหญิงชื่อกาลี ท่านเป็นบุตรน้องหญิงของเรานั้น ท่านนั้นได้เป็นหลานชายของเรา. ครั้งนั้น
    พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากกุสันธะ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นในโลก.
    พระองค์มีคู่พระมหาสาวกชื่อวิธุระและชื่อสัญชีวะเป็นคู่เจริญเลิศ. พระสาวกของพระผู้มีพระภาค
    พระนามว่ากกุสันธะอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีประมาณเท่าใด ในพระสาวกมีประมาณเท่านั้น
    ไม่มีองค์ใดที่จะสม่ำเสมอด้วยท่านพระวิธุระในทางธรรมเทศนา. ด้วยเหตุนี้ ท่านพระวิธุระจึงมี
    นามเกิดขึ้นว่า วิธุระ วิธุระ. ส่วนท่านพระสัญชีวะ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนต้นไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่าง
    เปล่าก็ดี ย่อมเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธด้วยความลำบากเล็กน้อย. ดูกรมารผู้ลามก เรื่องเคยมีแล้ว
    ท่านพระสัญชีวะนั่งเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง. พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยง
    ปศุสัตว์ พวกคนไถนา และพวกคนเดินทาง ได้เห็นท่านพระสัญชีวะนั่งเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
    อยู่ที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ครั้นแล้วได้ปรึกษากันว่า ท่านผู้เจริญ นี่น่าอัศจรรย์แปลกประหลาด
    หนอ พระสมณะนี้นั่งทำกาละเสียแล้ว มิฉะนั้น พวกเราจงเผาท่านเถิด. ครั้งนั้น คน
    เหล่านั้นจึงหาหญ้าไม้ และโคมัยมากองสุมกายท่านพระสัญชีวะ เอาไฟจุดเผาแล้วหลีกไป.
    เมื่อล่วงราตรีนั้นแล้ว ท่านพระสัญชีวะออกจากสมาบัตินั้นแล้ว ก็สลัดจีวร เวลาเช้า นุ่งห่ม
    แล้วถือบาตรและจีวร เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต. พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงปศุสัตว์
    พวกคนไถนา และพวกคนเดินทาง ได้เห็นท่านพระสัญชีวะเที่ยวบิณฑบาตแล้ว ก็ปรึกษากันว่า
    ท่านผู้เจริญ นี่น่าอัศจรรย์ แปลกประหลาดหนอ พระสมณะนี้นั่งทำกาละแล้ว พระสมณะนี้นั้น
    กลับมีสัญญาอยู่แล้ว. ด้วยเหตุนี้ ท่านพระสัญชีวะจึงได้มีชื่อเกิดขึ้นว่า สัญชีวะ สัญชีวะ.
    [๕๖๐] ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแหละ ทูสีมารมีความดำริว่า เราไม่รู้จักความมาและ
    ความไปของภิกษุผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านี้ ถ้ากระไร เราพึงดลใจพวกพราหมณ์และคฤหบดีว่า
    มาเถิด พวกท่านจงด่า บริภาษ เสียดสี เบียดเบียน พวกภิกษุผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ถ้าไฉน
    ภิกษุเหล่านั้นถูกพวกท่านด่า บริภาษ เสียดสี เบียดเบียนอยู่ พึงมีจิตเป็นอย่างอื่น โดยอาการที่
    ทูสีมารพึงได้ช่อง.
    ครั้งนั้น ทูสีมารก็ดลใจพวกพราหมณ์และคฤหบดีตามดำรินั้น พวกพราหมณ์และคฤหบดี
    ถูกทูสีมารดลใจแล้ว ก็ด่า บริภาษ เสียดสี เบียดเบียน พวกภิกษุผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมว่า
    ภิกษุเหล่านี้ เป็นสมณะหัวโล้น เป็นคฤหบดี เป็นค่าง เป็นผู้เกิดแต่หลังเท้าของพรหม พูดว่า
    พวกเราเจริญฌาน พวกเราเจริญฌาน เป็นผู้คอตก ก้มหน้า เกียจคร้าน ย่อมรำพึง ซบเซา
    หงอยเหงา. เหมือนนกเค้าจ้องหาหนูที่กิ่งต้นไม้ และเหมือนสุนัขจิ้งจอกจ้องหาปลาใกล้ฝั่งน้ำ
    และเหมือนแมวจ้องหาหนูที่ที่ต่อเรือนอันรุงรัง และกองหยากเหยื่อ และเหมือนลาที่ปลดต่างแล้ว
    ต่างก็รำพึง ซบเซา เหงาหงอยอยู่ฉะนั้น. ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้น มนุษย์เหล่าใดทำกาละไป
    มนุษย์เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
    โดยมาก.
    [๕๖๑] ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ทรงพระนามว่ากกุสันธะ เป็นพระ
    อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วรับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวก
    พราหมณ์และคฤหบดีถูกทูสีมารดลใจชักชวนว่า มาเถิด พวกท่านจงด่า บริภาษ เสียดสี
    เบียดเบียน พวกภิกษุผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ถ้าไฉน ภิกษุเหล่านั้นถูกพวกท่านด่า บริภาษ เสียดสี
    เบียดเบียนอยู่ พึงมีจิตเป็นอย่างอื่น โดยอาการที่ทูสีมารพึงได้ช่อง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาเถิด
    พวกเธอจงมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่เถิด แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่
    ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น มีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันกว้างขวาง
    เป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลก มีสัตว์ทั้งมวล โดยความมี
    ตนทั่วไป ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง อยู่ดังนี้เถิด. มีจิตสหรคตด้วยกรุณา ...
    มีจิตสหรคตด้วยมุทิตา ... มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่เถิด แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒
    ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา
    อันกว้าง เป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลก มีสัตว์ทั้งมวล
    โดยความมีตนทั่วไป ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง อยู่ดังนี้เถิด. ครั้งนั้น
    ภิกษุทั้งหลายอันพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากกุสันธะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง
    สั่งสอน ทรงพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนต้นไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างเปล่าก็ดี ก็มี
    จิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น
    แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น มีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันกว้างขวาง เป็นใหญ่ หาประมาณ
    มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกมีสัตว์ทั้งมวล โดยความมีตนทั่วไป ในที่ทั้งปวง
    ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางอยู่ ดังนี้. มีจิตสหรคตด้วยกรุณา ... มีจิตสหคตด้วยมุทิตา ...
    มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น
    แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา อันกว้างขวาง เป็นใหญ่ หาประมาณ
    มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกมีสัตว์ทั้งมวล โดยความมีตนทั่วไป ในที่ทั้งปวง
    ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางอยู่ ดังนี้.
    [๕๖๒] ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแล ทูสีมารมีความดำริดังนี้ว่า เราทำอยู่แม้ถึงอย่างนี้แล
    ก็มิได้รู้ความมาหรือความไปของภิกษุผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านี้เลย ถ้ากระไร เราพึงชักชวน
    พวกพราหมณ์และคฤหบดีว่า เชิญท่านทั้งหลายมา สักการะ เคารพ นับถือ บูชา
    ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมกันเถิด แม้ไฉน เมื่อภิกษุเหล่านั้นอันท่านทั้งหลาย
    สักการะ เคารพ นับถือ บูชาอยู่ พึงมีจิตเป็นอย่างอื่น โดยประการที่ทูสีมารพึงได้ช่อง. ดูกร
    มารผู้ลามก ครั้งนั้นแล ทูสีมารชักชวนพราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นว่า เชิญท่านทั้งหลายมา
    สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุทั้งหลายผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมกันเถิด แม้ไฉน เมื่อภิกษุ
    เหล่านั้นอันท่านทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาอยู่ พึงมีจิตเป็นอย่างอื่น โดยประการ
    ที่ทูสีมารพึงได้ช่อง ดังนี้. ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแล พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้น ถูกทูสีมาร
    ชักชวนแล้ว พากันสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุทั้งหลายผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม. ดูกรมารผู้
    ลามก สมัยนั้นแล มนุษย์เหล่าใดกระทำกาละไป มนุษย์เหล่านั้น เมื่อกายแตกตายไป ย่อม
    เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์โดยมาก.
    [๕๖๓] ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคพระนามว่า กกุสันธะ ผู้เป็นพระ
    อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกพราหมณ์
    และคฤหบดีอันทูสีมารชักชวนว่า เชิญท่านทั้งหลายมาสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุทั้งหลาย
    ผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมกันเถิด แม้ไฉน เมื่อภิกษุเหล่านั้นอันท่านทั้งหลายสักการะ เคารพ
    นับถือ บูชาอยู่ พึงมีจิตเป็นอย่างอื่น โดยประการที่ทูสีมารพึงได้ช่อง ดังนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เชิญท่านทั้งหลายจงพิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล มีความ
    สำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าเป็นของไม่เที่ยงอยู่เถิด. ดูกร
    มารผู้ลามก ภิกษุเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากกุสันธะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
    *สัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ทรงพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนต้นไม้ก็ดี ไปสู่เรือน
    ว่างเปล่าก็ดี ก็พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล มีความ
    สำคัญในโลกทั้งปวง ว่าไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวง ว่าเป็นของไม่เที่ยงอยู่.
    [๕๖๔] ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคพระนามว่า กกุสันธะ
    ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ครองสบง แล้วทรงบาตรและจีวร มีท่านพระวิธุระเป็น
    ปัจฉาสมณะ เสด็จเข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต. ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแล ทูสีมารเข้าสิงเด็ก
    คนหนึ่ง แล้วเอาก้อนหินขว้างที่ศีรษะท่านพระวิธุระศีรษะแตก. ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแล
    ท่านพระวิธุระมีศีรษะแตกเลือดไหลอยู่ เดินตามเสด็จพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากกุสันธะ ผู้เป็น
    พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไปข้างหลังๆ. ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค
    พระนามว่ากกุสันธะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงชำเลืองดูเหมือนช้างชายตาดู
    ด้วยตรัสว่า ทูสีมารนี้มิได้รู้ประมาณเลย. ดูกรมารผู้ลามก ก็แหละทูสีมารเคลื่อนแล้วจากที่นั้น
    และเข้าถึงมหานรก พร้อมด้วยพระกิริยาที่ทรงชำเลืองดู.
    [๕๖๕] ดูกรมารผู้ลามก ก็มหานรกนั้นแลมีชื่อ ๓ อย่าง ชื่อฉผัสสายตนิกะก็มี
    ชื่อสังกุสมาหตะก็มี ชื่อปัจจัตตเวทนียะก็มี. ดูกรมารผู้ลามก ครั้งนั้นแล พวกนายนิรยบาล
    เข้ามาหาเราแล้ว บอกว่าเมื่อใดแล หลาวเหล็กกับหลาวเหล็กมารวมกันที่กลางหทัยของท่าน
    เมื่อนั้น ท่านพึงรู้ว่า เราไหม้อยู่ในนรกพันปีแล้ว. ดูกรมารผู้ลามก เรานั้นแล หมกไหม้อยู่ใน
    มหานรกนั้นหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี และหมกไหม้อยู่ในอุสสทนรกแห่งมหานรก
    นั้นแล เสวยทุกขเวทนาหนักกว่าก่อนอีกหมื่นปี. เรานั้นมีกายเห็นปานนี้คือ มีศีรษะเหมือนศีรษะ
    มนุษย์ก็มี เหมือนศีรษะปลาก็มี.
    อวสานคาถา
    [๕๖๖] ทูสีมารประทุษร้ายพระสาวกชื่อวิธุระ และพระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐ
    พระนามว่ากกุสันธะ แล้วไหม้อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นไร ทูสีมาร
    ประทุษร้ายพระสาวกชื่อวิธุระ และพระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐพระนามว่า
    กกุสันธะ แล้วไหม้อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นนี้ คือ มีหลาวเหล็ก
    ร้อยหนึ่ง ล้วนให้ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุใดเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้า
    ย่อมรู้จักนรกนั้น มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์
    อย่างหนัก วิมานทั้งหลายตั้งอยู่ในท่ามกลางมหาสมุทร มีความตั้งอยู่
    ตลอดกัป มีสีเหมือนแก้วไพฑูรย์ มีความรุ่งเรือง มีรัศมีโชติช่วง เป็น
    ประภัสสร พวกนางอัปสรมีวรรณะต่างๆ เป็นอันมาก ฟ้อนรำอยู่ที่วิมาน
    เหล่านั้น ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมรู้จักวิมานนั้น มาร
    ประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์อย่างหนัก ภิกษุใดแล อัน
    พระพุทธเจ้าทรงเตือนแล้ว เมื่อภิกษุสงฆ์เห็นอยู่ ยังปราสาทของมิคาร-
    *มารดาให้ไหวด้วยปลายนิ้วเท้า ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อม
    รู้จักเหตุนั้น มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์อย่างหนัก
    ภิกษุใดเข้มแข็งด้วยกำลังฤทธิ์ ยังเวชยันตปราสาท ให้ไหวด้วยปลาย
    นิ้วเท้า และยังพวกเทวดาให้สังเวช ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า
    ย่อมรู้จักเหตุนั้น มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์
    อย่างหนัก ภิกษุใดทูลสอบถามท้าวสักกะในเวชยันตปราสาทว่า ดูกรท่าน
    ผู้มีอายุ ท่านย่อมรู้ความน้อมจิตไปในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาบ้างหรือ ท้าว-
    สักกะถูกถามปัญหาแล้ว พยากรณ์แก่ภิกษุนั้นตามควรแก่กถา ภิกษุใด
    เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมรู้จักเหตุนั้น มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น
    ย่อมประสบทุกข์อย่างหนัก ภิกษุใด ย่อมสอบถามพรหม ณ ที่ใกล้
    สุธรรมาสภาว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทิฏฐิของท่านในวันนี้ และทิฏฐิของท่าน
    มีในวันก่อน ท่านย่อมเห็นทิฏฐินั้นล่วงไปแล้ว และรัศมีเป็นประภัสสร
    ในพรหมโลกบ้างหรือ พรหมพยากรณ์แก่ภิกษุนั้นตามลำดับ โดยควรแก่
    กถาว่า ดูกรท่านผู้นฤทุกข์ ข้าพเจ้าไม่มีทิฏฐินั้น และทิฏฐิในวันก่อน
    ข้าพเจ้าเห็นทิฏฐินั้นล่วงไปแล้ว และเห็นรัศมีเป็นประภัสสรในพรหมโลก
    (ฉะนั้น) วันนี้ ข้าพเจ้าจะกล่าวว่า เราเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน ได้อย่างไร
    ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมรู้จักเหตุนั้น มารประทุษร้ายภิกษุ
    เช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์อย่างหนัก ภิกษุใดได้กระทบยอดภูเขามหาเนรุด้วย
    ชมพูทวีปด้วย ทวีปของชาวปุพพวิเทหะด้วย พวกนรชนผู้อยู่ในแผ่นดิน
    [ชาวอมรโคยานทวีป และชาวอุตตรกุรุทวีป] ด้วยวิโมกข์ ภิกษุใดเป็น
    สาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมรู้เหตุนั้น มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อม
    ประสบทุกข์อย่างหนัก ก็คนพาลมาเข้ากองไฟที่กำลังลุกโชน ย่อม
    เดือดร้อนอยู่ว่า ไฟย่อมไม่คิดจะเผาเรา แต่เราย่อมเผาตนผู้เป็นคนพาลเอง
    ดูกรมาร ท่านเบียดเบียนพระตถาคตแล้วจักเผาตัวเอง ดังคนพาลที่ถูก
    ไฟเผา ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรมาร ท่านเบียดเบียนพระตถาคตแล้ว ต้อง
    ประสบบาปมิใช่บุญ ท่านอย่าสำคัญว่า บาปไม่ให้ผลแก่เราหรือหนอ
    การกชนที่สั่งสมบาป ย่อมโอดครวญตลอดกาลนาน ดูกรมาร ท่าน
    เบื่อหน่ายพระพุทธเจ้า อย่าได้ทำความหวัง [ซึ่งความพินาศ] ในภิกษุ
    ทั้งหลายเลย ภิกษุได้คุกคามมารในเภสกลาวัน ด้วยประการฉะนี้ ลำดับ
    นั้น มารนั้นมีความเสียใจได้หายไปในที่นั้น ฉะนี้แล.
    จบมารตัชชนียสูตร ที่ ๑๐
    จบจูฬยมกวรรคที่ ๕
    -----------------------------------------------------
    รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
    ๑. สาเลยยกสูตร ๒. เวรัญชกสูตร ๓. มหาเวทัลลสูตร ๔. จูฬเวทัลลสูตร
    ๕. จูฬธรรมสมาทานสูตร ๖. มหาธรรมสมาทานสูตร ๗. วีมังสกสูตร ๘. โกสัมพิยสูตร
    ๙. พรหมนิมันตนิกสูตร ๑๐. มารตัชชนียสูตร ฯ
    จบมูลปัณณาสก์
     
  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
    สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
    [​IMG]
    ๒. ราธสังยุต
    ปฐมวรรคที่ ๑


    ๑. มารสูตร
    ว่าด้วยขันธมาร
    [๓๖๖] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
    ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม
    พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มาร มาร ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ
    แล จึงเรียกว่า มาร?
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ เมื่อรูปมีอยู่ มาร (ความตาย) จึงมี
    ผู้ทำให้ตายจึงมี ผู้ตายจึงมี เพราะฉะนั้นแหละ ราธะ เธอจงพิจารณาเห็นรูปว่า เป็นมาร
    เป็นผู้ทำให้ตาย เป็นผู้ตาย เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความทุกข์ เป็นตัวทุกข์
    บุคคลเหล่าใดพิจารณาเห็นรูปนั้นอย่างนี้ บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมเห็นชอบ. เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ
    เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสังขารมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิญญาณมีอยู่ มารจึงมี ผู้ทำให้ตายจึงมี
    ผู้ตายจึงมี เพราะฉะนั้นแหละ ราธะ เธอจงพิจารณาเห็นวิญญาณว่า เป็นมาร เป็นผู้ทำให้ตาย
    เป็นผู้ตาย เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความทุกข์ เป็นตัวทุกข์ บุคคลเหล่าใดพิจารณา
    เห็นวิญญาณนั้นอย่างนี้ บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมเห็นชอบ.
    รา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเห็นชอบมีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า?
    พ. ดูกรราธะ ความเห็นชอบมีประโยชน์ให้เบื่อหน่าย.
    รา. ความเบื่อหน่ายมีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า?
    พ. ดูกรราธะ ความเบื่อหน่ายมีประโยชน์ให้คลายกำหนัด.
    รา. ก็ความคลายกำหนัดเล่ามีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า?
    พ. ดูกรราธะ ความคลายกำหนัดมีประโยชน์ให้หลุดพ้น.
    รา. ความหลุดพ้นเล่า มีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า?
    พ. ดูกรราธะ ความหลุดพ้นมีประโยชน์เพื่อนิพพาน.
    รา. นิพพานเล่ามีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า?
    พ. ดูกรราธะ เธอถามเลยปัญหาไปเสียแล้ว เธอไม่อาจเพื่อถือเอาที่สุดของปัญหาได้.
    ดูกรราธะ อันพรหมจรรย์เป็นคุณชาติหยั่งลงสู่นิพพาน มีนิพพานเป็นที่สุด อันกุลบุตรย่อมอยู่
    ประพฤติแล.


    จบ สูตรที่ ๑.
     
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=16d65fa97d66c7f37e1b1230de62874b.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 31294.jpg
      31294.jpg
      ขนาดไฟล์:
      62.2 KB
      เปิดดู:
      76
  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=3827680c64bed5b5c49b27a9e652f23e.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 31412.jpg
      31412.jpg
      ขนาดไฟล์:
      71.4 KB
      เปิดดู:
      120
  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ภิกษุเมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน…
    **********
    [๙๒๓-๙๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ฯลฯ
    “ภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔ ประการนี้ ฌาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    ๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่

    ๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่

    ๓. เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า
    ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’

    ๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่

    ฌาน ๔ ประการนี้

    ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
    ภิกษุเมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร

    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก
    วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
    ๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
    ๓. ... บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
    ๔. ... บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ
    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน ๔ ประการให้มาก
    ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”
    ...........
    ฌานาทิสูตร สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=298
     
  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    สัทธรรม ๗ = เครื่องแวดล้อมพระนคร ๗
    ฌาน ๔ = อาหาร ๔
    ********
    ...ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ปัจจันตนครของพระราชาเป็นนครป้องกันไว้ดี ด้วยเครื่องป้องกันนคร ๗ ประการนี้ และได้อาหาร ๔ ประการนี้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ในกาลนั้น เราจึงเรียกปัจจันตนครของพระราชานี้ว่าศัตรูหมู่ปัจจามิตรภายนอกทำอะไรไม่ได้

    ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน ในกาลใด อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ และได้ฌาน ๔ ประการ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ในกาลนั้น เราจึงเรียกอริยสาวกนี้ว่า มารมีบาปก็ทำอะไรไม่ได้
    ...ฯลฯ...
    ................
    ข้อความบางตอนใน นคโรปมสูตร อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php…
    ……………
    ...บัดนี้เพราะเหตุที่กิจกรรมในพระนครของพระตถาคตไม่มี แต่อุปมามาแล้วอย่างนี้ว่า ก็เราจะแสดงพระอริยสาวกให้เป็นเสมือน สัทธรรม ๗ เสมือนเครื่องแวดล้อมพระนคร และฌาน ๔ เสมือนอาหาร ๔ แล้วจำเราจักยักเยื้องเทศนาใส่พระอรหัตเข้าในฐานะ ๑๑ ฉะนั้นเพื่อจะประกาศเทศนานั้น จึงทรงเริ่มคำมีอาทิว่า เอวเมว โข ดังนี้.
    …ฯลฯ...
    ............
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถานคโรปมสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=64
    .....................
    หมายเหตุ พระบรมศาสดาทรงแสดงคุณสมบัติของพระอริยสาวก ๗ ประการ ที่ทำให้ละอกุศล เจริญกุศลได้ เปรียบเทียบ กับเครื่องป้องกันนคร ๗ อย่าง ที่ทำให้นครที่ตั้งอยู่ชายแดนปราศจากภัยอันตรายได้

    คุณสมบัติของพระอริยสาวก ๗ ประการนั้น คือ (๑) ศรัทธา (๒) หิริ (๓) โอตตัปปะ (๔) ความเป็นพหูสูต (๕) การปรารภความเพียร (๖) สติ (๗) ปัญญา

    เครื่องป้องกันนคร ๗ อย่างนั้น คือ (๑) เสาระเนียด (๒) คูลึกและกว้าง (๓) ทางเดินโดยรอบสูงและกว้าง (๔) อาวุธ (๕) กองกำลังรักษาพระนคร (๖) ทหารยามที่ฉลาด (๗) กำแพงสูงและกว้าง

    นอกจากนี้ยังทรงแสดงฌาน ๔ ประการ ที่เป็นคุณสมบัติภายในของอริยสาวก ซึ่งทำให้บรรลุคุณพิเศษชั้นสูงได้ เปรียบเทียบกับคุณสมบัติภายในของนครชายแดน ๔ ประการ ที่ทำให้ชาวเมืองอยู่ผาสุก คือ (๑) มีหญ้า ไม้ และน้ำมาก (๒) มีข้าวมาก (๓) มีอปรัณณชาติ คือ งา ถั่วเขียว ถั่วทองมาก (๔) มีเภสัชมาก

    q_mSZ-fyczYdE60SrOwO88gaphYBfRoSKP6I0AQEnPDZ&_nc_ohc=IhGrVWV-SHMAX9VhvVM&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ลักษณะของสมาธิจิต ๘ ประการ ใช้เป็นบาทฐานเพื่อการบรรลุวิชชา ๘
    …………
    [๒๓๔] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง
    ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้
    ภิกษุนั้น น้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ
    …………..
    ข้อความบางตอนใน สามัญญผลสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙
    https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=9&siri=2

    #สมาธิ

    -F_V6WZn-K0dPNcDIDXlo9IEWVzZYrnS6C99ynazSeTS&_nc_ohc=tDnfR34oZg0AX9cjR_0&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ugdRywWDs-wo5Ozp0STRpvNWUVk2zx0VUN0XdUN3ax-s&_nc_ohc=D7cPEg-WTAwAX9g5Jep&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    TmxLV47aYOfS3PRUXURNXQ6xJkouUodcwaOxuGdUIEWPcKYY-CDznVG8X-z3yVidtbh8hX8a&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...