เรื่องเด่น ห้ามผู้แสดงเจาะแก้ไขตาโขนและห้ามหัวโขนเสียหายบริเวณตามาใช้ ตามความเชื่อ..อาจทำให้ต้องธรณีสาร!!

ในห้อง 'เรื่องผี' ตั้งกระทู้โดย อกาลิโก!, 7 ตุลาคม 2017.

  1. อกาลิโก!

    อกาลิโก! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    609
    กระทู้เรื่องเด่น:
    531
    ค่าพลัง:
    +3,732
    อาถรรพ์ต้องห้าม!! "หัวโขน" ห้ามผู้แสดงเจาะแก้ไขตาโขนและห้ามหัวโขนเสียหายบริเวณตามาใช้..เด็ดขาด!! ตามความเชื่อ..อาจทำให้ต้องธรณีสาร !!

    maxresdefault(207)(1).jpg




    1404475469(1).jpg

    โขนเป็นนาฏศิลปที่มีธรรมเนียมการปฏิบัติในการแสดงหลายอย่าง บางอย่างก็ยังคงใช้กันอยู่ บางอย่างก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย การออกโรงแสดงก็ต้องตั้งเครื่องให้ครบ ในพิธีต้องมีศีรษะโขนตั้งประดิษฐานเป็นเครื่องสักการะ ก่อนแต่งตัวต้องมีการไหว้ครู เมื่อแต่งเสร็จก่อนจะสวมหัวโขนหรือชฎาก็ต้องไหว้ครู การปลูกโรงโขน ต้องมีพิธีเซ่นบวงสรวงบอกเจ้าที่ เจ้าทางให้รับทราบเพื่อปัดเสนียดรังควาน ด้วยถือว่าการแสดงหลายอย่างที่แข่งขันหรือประชันกัน มักมีการใช้ไสยศาสตร์กลั่นแกล้งฝ่ายตรงข้ามให้เสียเปรียบ จึงต้องมีพิธีถอนอาถรรพ์กันก่อน



    tnews_1503306655_2316(1).jpg

    ทั้งนี้ยังมีข้อห้ามสำคัญอีกหลายประการ เช่น ห้ามนำอาวุธที่ใช้ในการแสดงมาเล่นนอกเวลาแสดง ห้ามเดินข้ามอาวุธ ห้ามเล่นไม้ตะขาบ (หมายเหตุ : ไม้ที่ตีเพื่อให้เกิดเสียงดังด้วยการตีเพียงเบาๆ มักใช้ในการแสดงของตัวตลก) การเก็บหรือวางเครื่องโขนทั้งเวลาแสดง และเวลาเก็บ ต้องแบ่งเป็นสัดส่วน อาวุธต่างๆต้องเก็บในที่อันเหมาะสม หัวโขนยักษ์ ลิง ก็ต้องเก็บกันไว้คนละด้านโดยมีหัวพระฤาษีวางคั่นกลาง

    อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง ( เหตุเกิดที่วังจันทรเกษม!! ตำนานอาถรรพ์ "หัวโขน" หัวโขนหน้ายักษ์ หน้าลิง ก็ต้องเก็บไว้คนละด้าน และต้องมีหัวโขนหน้าพระฤาษีวางคั่นกลาง !!!

    happy_songkran_day27(1).jpg

    นอกจากนี้อาถรรพ์ที่ต้องห้ามอีกประการนั่นก็คือ การเจาะและแก้ไขตาโขน โดยปกติเมื่อช่างทำหัวโขนเสร็จแล้ว ช่างจะเจาะตาหัวโขนให้ ซึ่งหากเป็นหัวโขนที่ทำใช้เฉพาะตัวผู้แสดง ช่างผู้สร้างหัวโขนจะมีวิธีการวัดและเจาะตาให้พอดี สามารถมองเห็นได้ชัดเจนแต่ถ้าเป็นหัวโขนที่ใช้ทั่ว ๆ ไปช่างอาจจะเจาะตาไว้อย่างกลาง ซึ่งเวลาผู้แสดงนำมาสวมใส่อาจจะมองเห็นไม่ถนัด แต่โบราณถือกันว่าห้ามผู้แสดงเจาะหรือแก้ไขตาโขนเพราะอาจเกิดภัยพิบัติทำให้ตาบอดได้

    เนื่องจากผ่านพิธีเบิกพระเนตรมาแล้ว ต้องให้ช่างที่ทำหัวโขนเป็นผู้เจาะแก้ไขตาโขน ความเชื่อถือนี้อาจะเป็นเพราะว่า หัวโขนส่วนใหญ่ช่างจะใช้เปลือกหอยมุกมาตกแต่งทำเป็นรูปตาของหัวโขน หากผู้แสดงเจาะตาเองอาจจะทำให้หัวโขนเกิดความเสียหายได้ จึงมีข้อห้ามไว้เพื่อให้ช่างผู้ชำนาญเป็นคนทำเอง และถ้าหากมีแมลงสาบมาแทะหรือกันกินสีของหัวโขนโดยเฉพาะส่วนที่เป็นตาของหัวโขน โบราณเรียกว่าต้องธรณีสาร ห้ามนำหัวโขนนั้นไปใช้สวมใส่แสดง ต้องรีบทำน้ำมนต์ธรณีสารมาประพรมแก้อุบาทว์ แล้วนำหัวโขนนั้นไปให้ช่างซ่อมแซมโดยด่วน



    Khone_Tosakun_Mask(1).jpg
    พระคาถาน้ำมนต์ธรณีสาร

    โอมมะ พุทธธัง จักกะวาลัง อะหังปิตัง ชานามิ
    ธัมมัง จักกะวาลัง อะหังปิตัง ชานามิ
    สังฆัง จักกะวาลัง อะหังปิตัง ชานามิ

    โอมมะ พระพุทธโธ อิติปิโสภะคะวา
    จะตุโกนจา มะหายันตัง อักขระ ยันตัง คาถา สันตัง วิกลึงกะเล
    ทุติยัมปิ จะตุโกนจา มะหายันตัง อักขระ ยันตัง คาถา สันตัง วิกลึงกะเล
    ตะติยัมปิ จะตุโกนจา มะหายันตัง อักขระ ยันตัง คาถา สันตัง วิกลึงกะเล

    โอมมะ ยะเคลื่อน ยะคลอน ยะถอนออกมา ด้วยนะโมพุทธายะ
    จะ พะ กะ สะ
    อิ กะ วิ ติ สวาหะ
    พุทธังปัจจะขามิ ธัมมังปัจจะขามิ สังฆังปัจจะขามิ สวาหายะ ประสิทธิเมฯ



    ขอบคุณข้อมูลจาก : student.swu.ac.th/sc501010561/page06.html


    เรียบเรียงโดย

    เสาวลักษณ์ แสงสุวรรณ : สำนักข่าวทีนิวส์

    -------------------

    http://www.tnews.co.th/index.php/contents/366211
     

แชร์หน้านี้

Loading...