สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ราชวงศ์กรุงธนบุรี

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 28 ธันวาคม 2008.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    สืบเนื่องจากที่สร้อยฟ้ามาลาได้เข้าไปอ่านกระทู้ตำนานแผ่นดิน-พระราชวังเดิม สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ของคุณ NoOta ก็เลยมีความคิดที่ว่า เราก็น่าจะเขียนบ้างเพราะก็ได้อ่านพระราชประวัติและพงศาวดารของพระองค์มาก็พอสมควร ประกอบกับคุณบุษบากาญจ์ คุณพหล คุณNoOta และคุณSOMDEJ ก็ช่วยสนับสนุนและช่วยหยิกให้สร้อยฟ้ามาลาเขียนกระทูเกี่ยวกับพระราชประวัติของพระองค์ท่าน แต่เนื่องจากมีหลายท่านในพลังจิตเขียนไปบ้างแล้ว สร้อยฟ้ามาลาจึงคิดไปคิดมาว่าจะเขียนอะไรดี ก็พอดีไปค้นหนังสือที่เคยคัดลอกไว้ตอนยังเรียนอยู่เป็นหนังสือเก่ามากๆ ที่แอบซ่อนอยู่ในมุมสงัดของห้องสมุดของมหาวิทยลัย ซึ่งคนที่เปิดอ่านและขอยืมหนังสือเล่มนี้คนสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ จากนั้นก็ไม่มีใครยืมอีกเลยจนมาถึงมือสร้อยฟ้ามาลา ก็ลองอ่านกันดูนะเจ้าคะ จะขอคัดออกมาบางส่วนบางตอนที่เป็นช่วงราชวงศ์กรุงธนบุรี แต่คำบางคำในหนังสือที่อ่านแล้วรู้สึกหมิ่นเหม่ ก็จะขอตัดออกไป และต้องขอประทานโทษอย่างสูงต่อผู้แต่งหนังสือเล่มนี้เพราะตอนที่คัดลอกลืมคัดชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่งเลยไม่สามารถอ้างอิงได้


    หากพระราชประวัติราชสกุลของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในเหตุที่สร้อยฟ้ามาลาไม่ทราบในข้อเท็จจริงด้วยเบาปัญญา ข้าพเจ้าขอรับผิดทุกประการ


    หากประโยชน์ที่เกิดขึ้นด้วยยังประทีปแห่งปัญญาของผู้ที่เข้ามาอ่านให้อุบัติขึ้น โดยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ แม้เพียงแค่เศษเสี้ยวหรือยิ่งใหญ่ปานใด ข้าพเจ้าขอถวายเป็นส่วนพระราชกุศลในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช บุรพชนของสร้อยฟ้ามาลาซึ่งสืบทอดมาจากสายสกุลแซ่แต้ และบรรพชนในสายสกุลอื่น รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องและผูกพันกัน


    สุดท้ายขอขอบคุณ คุณบุษบากาญจ์ คุณพหล คุณNoOta และคุณSOMDEJ ที่ช่วยหยิกให้สร้อยฟ้ามาลามือคันตั้งกระทู้นี้ขึ้น ขอบคุณเจ้าค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ธันวาคม 2008
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช ราชวงศ์กรุงธนบุรี

    [​IMG]


    พระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีผู้รวบรวมเขียนไว้ในที่ต่างๆกันหลายแห่ง และเป็นจำนวนมากพอสมควร ส่วนใหญ่มักจะใช้พระสมัญญานามต่อท้ายพระนามว่า มหาราช และส่วนใหญ่ก็กล่าวอ้างพระนามของบุรพชนของพระองค์ต่างกัน โดยเฉพาะในด้านพระเกียรติประวัติในด้านการกู้ชาติ น้ำพระทัยที่กล้าหาญเด็ดเดี่ยว รักชาติ บูชาชาติ รักทหาร ยกย่องทหารของพระองค์ การออกสู่สนามรบด้วยการนำทัพออกหน้าทหารด้วยพระองค์เอง และความเฉลียวฉลาดเหล่านี้ มักจะตรงกันทั่วทั้งสิ้น

    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กรุงธนบุรี มีพระนามเดิมว่า สิน พระราชบิดาเป็นจีนชื่อ ไหฮองแซ่แต้ พระราชมารดาเป็นไทยชื่อ เอี้ยง หรือ นกเอี้ยง ทรงพระราชสมภพ วันเสาร์ เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีขาล จุลศักราช ๑๐๙๖ ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๒๗๗ ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นพระเจ้าแผ่นดิน
    <O:p</O:p
    บุรพชนฝ่ายพระราชบิดาเป็นจีน โดยกำเนิดมาจากประเทศจีน อพยพมาตั้งภูมิลำเนาประกอบอาชีพในพระนครศรีอยุธยา เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย มีตำแหน่งเป็นขุนพัฒน์ ส่วนบุรพชนฝ่ายพระราชชนนีนกเอี้ยว หรือ เอี้ยง เป็นกุลสตรีไทยชาวกรุงศรีอยุธยาผู้มีศักดิ์ตระกูลสูงนับเนื่องอยู่ในวงศาคณาญาติ อันเป็นลูกหลานขุนนางข้าราชการชั้นสูงศักดิ์ของกรุงศีอยุธยาในยุคนั้น หากแต่ไม่มีหลักฐานอ้างได้ว่า ท่านเอี้ยง เป็นบุตรหลานของท่านผู้ใดผู้หนึ่งเท่านั้น
    <O:p</O:p
    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แม้จะสืบสายโลหิตมาจากพระชนก เป็นชนชาติจีน แต่ด้วยสิ่งประหลาดมหัศจรรย์ เป็นสิ่งบังเอิญหลายอย่างหลายประการที่เกิดแก่พระองค์ จึงพอนับได้ว่าพระองค์ทรงถือกำเนิดมาในแผ่นดินไทย ด้วยความเป็นไทย และเพื่อกอบกู้ชาติไทยของพระองค์โดยแท้ พระองค์จึงเปลี่ยนวิถีผิดแผกไปจากพระราชบิดาของพระองค์ที่เป็นชาวจีน โดย มีเหตุดังนี้

    ๑. บังเอิญให้พระราชบิดามีเคหสถานอยู่ใกล้ชิดและในทางส่วนตัวก็สนิทสนมกับ ฯพณฯ เจ้าพระยาจักรี สมุหนายก และเมื่อพระราชสมภพก็มีอาเภท ให้เกิดมีงูเหลือมขนาดใหญ่ขดเป็นทักษิณาวัตร อยู่รอบกระด้งที่วางเบาะ ซี่งธรรมเนียมจีนถือว่าจะเป็นนิมิตร้ายโชคลางไม่ดี ถึงกับเอาเด็กไปทิ้งไปขว้างเสียให้พ้นๆ ไป กิตติศัพท์อันนี้ทราบไปเข้าหูเจ้าพระยาจักรีเข้า ท่านเจ้าพระยาฯ จึงขอตัวไปเลี้ยงไว้เป็นบุตรบุญธรรม

    ๒. เมื่อเป็นบุตรบุญธรรมของขุนนางชั้นอัครมหาเสนบดีเช่นนั้นก็มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนและสังคมกับลูกหลานขุนนางชั้นสูง จนในที่สุดก็มีโอกาสเข้ารับราชการเป็นขุนนาง ซึ่งหมายถึงโอกาสรับใช้ชาติโดยตรงแล้ว

    ๓. เมื่อเยาว์วัยได้คบหาสมาคมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเจ้าพระยาเสนา บุนนาค ตั้งแต่แรกการศึกษาขั้นต้นจนถึงบวชเรียนเป็นสามเณรอยู่ในสำนักวัดสามวิหารด้วยกัน

    ๔. กรุงศรีอยุธยายุคปลายรัชสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง อ้ายกบฏสองพ่อลูก ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีจะอันต้องพินาศย่อยยับ เพราะน้ำมือพม่า ซึ่งดวงชะตาของชาติไทยเมื่อถึงยุคใดสมัยใดไทยล่มจมลง เมื่อนั้นจะต้องมีลูกไทยหลานไทยกู้ชาติไทยขึ้นได้เสมอ และในยุคนี้เองที่ไทยต้องล่มลงอีกครั้ง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงได้มีโอกาสกอบกู้ชาติแล้วสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์มหาราชของชาติไทยขึ้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Ktak_1.jpg
      Ktak_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      111.5 KB
      เปิดดู:
      20,236
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทางกอบกู้อิสรภาพของชาติไทยและสถาปนากรุงธนบุรีเป็นพระมหานครหลวงของราชอาณาจักรไทยเมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๕ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๙ ปีกุล นพศก ตรงกับวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๑๐ พระองค์ทรงใช้เวลาเพียง ๕ เดือนเศษ หลักจากที่พระนครศรีอยุธยาเสียแก่พม่าข้าศึกเมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๑๐ อันนี้เป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ แต่ส่วนมากเราจะพากันให้ความสนใจและจดจำข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ตอนนี้น้อยมาก จนเกือบจะไม่ค่อยมีผู้ใดพูดกันนักก็เป็นได้ หากแต่จะพากันใส่ใจมาจดจำกันเอาตอนที่พระองค์ทรงปราบดาภิเษกเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทยเป็นทางการตามโบราณราชประเพณี อันหมายถึงทรงเสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินเป็นทางการเมื่อ ณ วันพุธ เดือนอ้าย แรม ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๐ ปีชวด สัมฤทธิ์ศก ตรงกับวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑



    พระนามของพระองค์ตามที่ประกาศใช้เป็นทางการ หลังจากที่กระทำพิธีปราดาภิเษกแล้วนั้น ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ พระศรีสรรเพชญ์ แต่โดยทั่วไปจะเรียกกันว่า พระเจ้าตาก บ้าง พระเจ้าตากสิน บ้าง ขุนหลวงตาก บ้าง พระเจ้ากรุงธนบุรี บ้าง และครั้งสุดท้ายได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ของพระองค์ขึ้นมาที่วงเวียนใหญ่ ธนบุรี และทางราชการกำหนดให้มีรัฐพิธีถวายสักการะพระอนุสรณ์เป็นทางการ โดยกำหนดเอาวันที่ ๒๘ ธันวาคม อันเป็นวันที่เสด็จปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แล้ว ก็ได้มีประกาศเป็นทางราชการให้ขนามพระนามของพระองค์ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน กรุงธนบุรี เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๙ นี้เอง


    สมเด็จพระเจ้าตากสิน กรุงธนบุรี เสด็จอยู่ในราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของชาติไทยพระองค์หนึ่ง และเป็นปฐมราชวงศ์กรุงธนบุรี เพียงพระองค์เดียวและเพียงเวลา ๑๕ ปีเท่านั้น ก็เสด็จสู่สวรรตตามพระชะตากรรมของพระองค์ ดังเป็นที่ทราบกันในประวัติศาสตร์แล้ว และเป็นอันสิ้นพระราชวงศ์ของพระองค์ผู้กู้ชาติไทย ในพุทธศักราช ๒๓๒๕ นั้นเอง


    ถึงแม้พระองค์พระมหากษัตริย์ผู้กอบกู้ชาติไทยในยุคที่บ้านเมืองเสื่อมโทรมย่อยยับและทุรยุคที่สุด และเสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมายุเพียง ๔๘ พรรษา พระบรมวงศานุวงศ์ พระมเหสี พระราชโอรส พระราชนัดดา ของพระองค์ในนามแห่งราชวงศ์ธนบุรี ผู้ทรงพระเกียรติพระฐานะไม่ยิ่งหย่อนกว่าราชวงศ์ใดๆ ในอดีตแล้ว ถ้าเว้นการกล่าวถึงองค์พระมหาราชซึ่งในบั้นปลายต้องมีอันเป็นไปตามพระชะตากรรมเยี่ยงมนุษย์ปุถุชนทั้งหลายอันเป็นเรื่องส่วนพระองค์ของพระองค์ท่านแล้วก็จะหาจุดบกพร่องอันใดไม่ได้เลย


    ....................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 6.jpg
      6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      19.6 KB
      เปิดดู:
      12,855
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  4. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,186
    ขออนุโมทนาในความตั้งใจจริงของคุณสร้อยฟ้าค่ะ
    ที่จะเผยแพร่พระเกียรติคุณของพระองค์ท่าน

    สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์เสมอ
    เป็นบทความที่มีสาระประโยชน์มาก

    คอยติดตามอ่านต่อค่ะ
     
  5. Ninja-naruto-Pgems

    Ninja-naruto-Pgems เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    596
    ค่าพลัง:
    +193
    พลอยขออนุโมทนาด้วยงับพี่สร้อยคนงาม

    เป็นกระทู้ที่ดีมากๆๆๆๆ จะติดตามอ่านต่อไปนะงับพี่สร้อย ^^
     
  6. jankhae

    jankhae Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +58
    ขอบคุณนะคะที่นำเรื่องดีๆอย่างนี้มาให้ทราบ ขออนุโมทนาด้วยคนนะคะ
     
  7. katicat

    katicat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,112
    ค่าพลัง:
    +524
    ขอบคุณคุณสร้อยสำหรับเรื่องราวดีๆ

    ขอกราบรำลึกพระคุณองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชผู้ปกป้องสยามประเทศ

    กราบ กราบ กราบ
     
  8. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    ได้ข้อมูลมากเลยครับ ขออนุโมทนานะครับ

    และ จะรออ่านต่อนะครับ สาธุ
     
  9. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    พระบรมราชวงศ์ตากสินมหาราช


    [​IMG]

    ๑ ชั้นพระปฐมวงศ์

    พระบรมราชวงศ์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่พอจะหาหลักฐานได้บ้างและพอจะกล่าวอ้างว่าเป็นชั้นปฐมวงศ์ คงมี่ ๔ พระองค์

    ๑. สมเด็จพระราชชนนี
    พระนามเดิมว่า เอี้ยง หรือ นกเอี้ยง สันนิษฐานว่าเป็นกุลสตรีชั้นสูงและคงจะเป็นธิดาของขุนนางครั้งแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุง<O:p</O:p
    ศรีอยุธยา เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ทรงสถาปนาขึ้นดำรงตำแหน่งพระราชอิสริยยศเป็น กรมพระเทพามาตย์


    ๒. องสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
    พระประวัติย่อดังได้กล่าวไว้ข้างต้น ส่วนพระบรมนามาภิไธยนั้น นอกจากจะได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ยังปรากฏในหลักฐานในศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรี ซึ่งกำกับพระราชสารไปยังกรุงศัรีสัตนาคนหุต ออกพระนามว่า พระศรีสรรเพชร์สมเด็จพระบรมธรรมิกราชาธิราชรามาธิบดี อีกพระนามหนึ่ง นอกจากนั้นยังออกพระนามในศุภอักษรของพระเจ้าประเทศราชว่า พระเอกาทศรฐ ก็ยังมี ส่วนที่ออกพระนามในพระราชพงศาวดารฉบับทรงชำระในรัชกาลที่ ๑ ว่า สมเด็จพระบรมหน่อพุทธางกูรเจ้า


    ๓. สมเด็จพระน้านางเธอ
    พระนามเดิม อั๋น ทรงสถาปนาขึ้นดำรงพระอิสริยยศเป็น กรมหลวงเทวินทรสุดา (ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ถูกลดพระยศโดยเหตุผลที่สิ้นพระราชวงศ์กรุงธนบุรี ลงเป็นเพียง หม่อมอั๋น)


    ๔. สมเด็จพระอัครมเหสี
    พระนามเดิม สอน เรียกกันว่า สมเด็จพระอัครมเหสี (หอกลาง) ทรงสถาปนาขึ้นดำรงพระอิสริยยศเป็น กรมหลวงบาทบริจา (ถูกลดพระยศคราวเดียวกับพระน้านางเธอลงเป็นเพียง หม่อมสอน และเป็นพระราชินีไทยพระองค์เดียวที่ต้องประสบชะตากรรมต้องถูกลดพระอิสริยยศเมื่อเปลี่ยนรัชกาล)




    ๒. ชั้นพระราชโอรสและพระราชธิดา<O:p</O:p

    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดากับสมเด็จพระอัครมเหสีและพรสนมต่างๆ รวมทั้งสิ้น ๓๐ พระองค์ ดำรงพระยศโดยสืบฐานันดรศักดิ์ของพระราชมารดาเป็นชั้น เจ้าฟ้า ๑๒ พระองค์ และชั้นพระองค์เจ้า ๑๘ พระองค์ และมีหลายพระองค์ที่ไม่อาจทราบพระนามของพระราชมารดาได้

    พระราชโอรสและพระราชธิดาทั้ง ๓๐พระองค์ มีพระนามตามลำดับพระชันษา ดังนี้

    ๑. สมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ (จุ้ย) ที่ ๑ ในสมเด็จพระอัครมเหสี กรมหลวงบาทบริจา ถูกสำเร็จโทษตามพระราชบิดาคราวสิ้นพระวงศ์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕

    ๒. สมเด็จเจ้าฟ้าชายน้อย ที่ ๒ ในสมเด็จพระอัครมเหสี กรมหลวงบาทบริจา ถูกสำเร็จโทษตามพระราชบิดาคราวสิ้นพระวงศ์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕


    ๓. พระองค์เจ้าชายอัมพวัน ในเจ้าจอมมารดาทับทิม


    ๔. สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศพงศ์ ที่ ๑ ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์(เจ้าฟ้าฉิม) (เจ้าฟ้าชายทัศพงศ์ เป็นต้นสกุล พงษ์สิน)


    ๕. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงโกมล ไม่ทราบพระนามพระมารดา


    ๖. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา ไม่ทราบพระนามพระมารดา


    ๗. สมเด็จเจ้าฟ้าชายสิงหรา ไม่ทราบพระนามพระมารดา


    ๘. สมเด็จเจ้าฟ้าชายศิลา ไม่ทราบพระนามพระมารดา


    ๙. พระองค์เจ้าชายอรนิกา ที่๑ ในเจ้าจอมมารดาอำพัน ถูกสำเร็จโทษในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ฐานร่วมล้มล้างราชวงศ์จักรี เพื่อรื้อฟื้นราชวงศ์กรุงธนบุรีขึ้นใหม่กับพระอนุชาเจ้าฟ้าชายสุพันธุวงศ์ กรมขุนกษัตรานุชิต เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒


    ๑๐. พระองค์เจ้าหญิงสุมาลี ไม่ทราบพระนามพระมารดา


    ๑๑. พระองค์เจ้าชายธำรง ไม่ทราบพระนามพระมารดา


    ๑๒. พระองค์เจ้าชายละมั่ง ไม่ทราบพระนามพระมารดา
    <O:p</O:p

    ๑๓. สมเด็จเจ้าฟ้าชายเล็ก(แผ่นดินไหว) ไม่ทราบพระนามพระมารดา


    ๑๔. สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศไภย ที่ ๒ ในกรมบริจาภีกดีศรีสุดารักษ์(เจ้าหญิงฉิม) ถูกสำเร็จโทษฐานเป็นชู้กับเจ้าจอมในวัง เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๘ (เจ้าฟ้าชายทัศไภยเป็นพระเจ้าตากรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส ต้นราชสกุล นพวงศ์ ณ อยุธยา และกรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร ต้นราชสกุล สุประดิษฐ์ ณ อยุธยา)


    ๑๕. พระองค์เจ้าหญิงจามจุรี ไม่ทราบพระนามพระมารดา


    ๑๖. พระองค์เจ้าหญิงสังวาล ไม่ทราบพระนามพระมารดา


    ๑๗. พระองค์เจ้าหญิงสำลีวรรณ ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาอำพัน ถูกสำเร็จโทษในฐานร่วมล้มล้างราชวงศ์จักรีกับสมเด็จเจ้าฟ้าชายสุพันธุวงศ์ กรมขุนกษัตรานุชิต เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๒


    ๑๘. สมเด็จเจ้าฟ้าชายนเรนทรราชกุมาร ที่ ๓ ในกรมบาทบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม)<O:p</O:p


    ๑๙. พระองค์เจ้าชายคันธวงศ์ ไม่ทราบพระนามพระมารดา


    ๒๐. พระองค์เจ้าชายเมฆินทร์ ไม่ทราบพระนามพระมารดา


    ๒๑. พระองค์เจ้าชายอิสินธร ไม่ทราบพระนามพระมารดา


    ๒๒. พระองค์เจ้าหญิงประไพพักตร์ ในเจ้าจอมมารดาเงิน


    ๒๓. สมเด็จเจ้าฟ้าชายสุพันธุวงศ์ ในเจ้าจอมมารดา(เจ้าฟ้า) ฉิมใหญ่ พระราชธิดาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ถูกสำเร็จโทษในฐานะเป็นหัวหน้าก่อการร้าย คิดล้มล้างราชวงศ์จักรี(ของสมเด็จพระเจ้าตา) เพื่อรื้อฟื้นราชวงศ์กรุงธนบุรี(ของสมเด็จพระราชธิดา) เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๒ พร้อมกับเจ้าชายที่เป็นโอรสเล็กๆ อีก ๖ พระองค์ กับยังมีเจ้าพี่เจ้าน้องร่วมพระราชบิดาอีกหลายพระองค์


    ๒๔. พระองค์เจ้าชายบัว ไม่ทราบพระนามพระมารดา



    ๒๕. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงปัญจปาปี ที่ ๔ ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์(เจ้าหญิงฉิม)

    ๒๖. เจ้าพระยานครน้อย (ในเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง กนิษฐภคินีของกรมบริจาภัคดีศรีสุดารักษ์(เจ้าหญิงฉิมใหญ่))


    ๒๗. พระองค์เจ้าชาย(ไม่ปรากฏพระนาม) ไม่ทราบพระนามพระมารดา


    ๒๘. พระองค์เจ้าชายหนูแดง ไม่ทราบพระนามพระมารดา


    ๒๙. พระองค์เจ้าหญิงสุดชาตรี ไม่ทราบพระนามพระมารดา


    ๓๐. เจ้าพระยานครราชสีมาทองอินทร์ ในเจ้าจอมมารดา เจ้าหญิงยวน หรือ จวน ซึ่งเป็นราชธิดาของเจ้านครหนู อีกพระองค์(จากหนังสือ โอรสลับพระเจ้าตากสิน โดยณัฐวุฒิ สิทธิสงครามเป็นผู้ค้นคว้าจากประวัติศาสตร์และพงศาวดารยืนยันว่า พระราชโอรสของพระเจ้าตากสินมหาราชมีเพิ่มอีกพระองค์หนึ่ง คือ เจ้าพระยานครราชสีมาทองอินทร์ ผู้นี้ อีกพระองค์หนึ่งด้วย


    พระราชโอรสและพระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทั้ง ๓๐ พระองค์นี้ สำหรับพระราชโอรสซึ่งเป็นชั้นใหญ่ ส่วนมากถูกสำเร็จโทษร่วมพระชะตากรรมพร้อมกับสมเด็จพระราชบิดา เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๕ นับเป็นการสูญเสียราชวงศ์กรุงธนบุรีเป็นครั้งที่ ๑ และต้องมาสูญเสียครั้งใหญ่ทั้งหญิงชาย เด็กและผู้ใหญ่อีกหลายพระองค์คราวที่สมเด็จเจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ หรือ กรมขุนกษัตรานุชิต คิดก่อการร้ายล้มล้างราชวงศ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒ อีกเป็นครั้งที่ ๒ ถึงกระนั้นก็ดี ก็ยังมีพระราชโอรสและพระราชธิดาได้หลงเหลือชีวิตรอดมาตั้งวงศ์สายสืบแยกเป็นวงศ์ต่างๆ ในภายหลังได้อีกหลายพระองค์ ทั้งจากองค์พระราชโอรสเองบ้างและจากโอรสของพระราชโอรสเองบ้าง<O:p</O:p



    .............................​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • t74.jpg
      t74.jpg
      ขนาดไฟล์:
      24 KB
      เปิดดู:
      18,383
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  10. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    อนุโมทนา แม่สร้อยนะจ้ะ

    ขอกุศลจิตที่แม่สร้อยได้ตั้งใจไว้กระทำไว้ด้วยดีแล้วนี้ แลบุญทั้งหลายอื่นใดที่ " ลูกหลานบริวาร" ได้กระทำบำเพ็ญด้วยความสำนึกรำลึกพระมหาเดช มหากรุณาธิคุณพระองค์ท่าน

    ขอบุญทั้งหลายเหล่านั้นทุกประการ นำพาลูกหลานบริวารเจริญครรลองลอยตามพระองค์ท่าน และยังผลถวายญาณบารมีพระคุณท่านให้เต็มบริบูรณ์ "อริยะสูงสุด" ร่วมกันนะคะ

    สาธุ สาธุ สาธุ นิพพานัง ปรมังสุขขัง สาธุ
     
  11. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    ขอบคุณจ๊ะแม่สร้อย อนุโมทนาบุญด้วยนะจ๊ะ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  12. โป๊ยเซียนสาว

    โป๊ยเซียนสาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,543
    ค่าพลัง:
    +2,279
    อนุโมทนา ในสิ่งที่ทำนี้ด้วยค่ะคุณสร้อย อย่างน้อยก็เป็นการตอบแทนพระคุณท่านให้อนุชนรุ่นหลังได้รู้ว่า พระองค์ท่านเสียสละเพื่อแผ่นนี้มากมายเพียงใด แม้แต่ชื่อเสียงที่อาจจะทำให้ผู้คนเข้าพระทัยท่านผิดๆ ก็ไม่ทรงใยดี ขอเพียงให้แผ่นดินไทยนี้ยังคงเป็นไทยและเป็นของคนไทยอยู่พระองค์ก็จะทำเพื่อลูกหลานคนไทยของพระองค์
    [​IMG]
     
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ยังมีต่อนะเจ้าคะ พอดีไวรัสรับประทานไดร์ฟของข้าพเจ้า ข้อมูลและรูปภาพที่หาไว้หายเรียบ ขอเวลา Recover Data ก่อน...
     
  14. SOMDEJ

    SOMDEJ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    611
    ค่าพลัง:
    +353
    ขออนุโมทนา
    ขอขอบคุณในสาระดีดีจากคุณสร้อยฟ้ามาลา
    ของจอมทัพจอมคนพระองค์หนึ่ง ที่ทรงประทับในใจของเราเสมอมา
    ขออนุญาตเก็บไว้เป็นมรดกลูกหลาน และ จะรอส่วนที่เหลืออีก
    ขอบคุณอีกครั้งจ้ะ
     
  15. อำนวยกรณ์

    อำนวยกรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    515
    ค่าพลัง:
    +1,931
    หาข้อมูลเก่งมากค่ะ
     
  16. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    นอกจากนั้นทางฝ่ายพระราชธิดาและธิดาของพระราชโอรส และพระราชธิดาก็ได้ไปร่วมวงศ์สัมพันธ์กับราชวงศ?จักรีระดับชั้นต่างๆ ตั้งแต่สูงสุดลงมาอีกหลายชั้น อันเป็นสายสัมพันธ์ร่วมระหว่าง ๒ ราชวงศ์อีกหลายราชสกุลด้วยกัน ซึ่งจะกล่าวโดยละเอียดต่อไป ทั้งฝ่ายที่มีวงศ์สายสืบและไม่มีวงศ์สายสืบ ส่วนต่อจากนี้ไป จะกล่าวถึงพระราชวงศ์ชั้นพระเจ้าหลานเธอเสียก่อน

    [​IMG]


    ๓. ชั้นพระราชนัดดา

    พระบรมราชวงศ์กรุงธนบุรีชั้นผู้ใหญ่ ที่ทรงเป็นพระเจ้าหลานเธอของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แต่ละพระองค์ได้รับราชการสงครามกรำศึกมาตลอดอายุขัย ด้วยความกล้าหาญ เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว และสามารถเยี่ยงพระองค์พระประมุขของพระราชวงศ์ และบางพระองค์ก็ต้องประสพชะตากรรมถูกสำเร็จโทษตามองค์ต้นราชวงศ์ไปตามธรรมเนียมด้วยกัน

    พระราชนัดดาดังกล่าวนี้มีหลักฐานเอ่ยถึงอยู่ ๔ พระองค์ คือ


    ๑. พระเจ้านราสุริวงศ์ ทรงแต่งตั้งให้เป็นเจ้าผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช คราวเสด็จไปปราบก๊กเจ้านครหนูครั้งแรกเสร็จ และนำตัวเจ้านครมาไว้ในกรุง พระเจ้านราสุริวงศ์ จัดเป็นพระเจ้าหลานเธอชั้นผู้ใหญ่และได้รับสถาปนาเป็นเจ้าผู้ครองประเทศราชแล้ว แต่ยังมิทันจะตั้งวงศ์ให้มั่นคงก็เสด็จทิวงคตเสียเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๙ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงคืนตำแหน่งเจ้านครให้เจ้านครหลวงนายสิทธิ์หนู กลับไปเป็นเจ้านครแทนพระเจ้านราสุริวงศ์หลานเธอตามเดิม



    ๒. กรมขุนอนุรักษ์สงคราม พระนามเดิม บุญมี ทรงสถาปนาเป็น เจ้ารามลักษณ์ ก่อนตั้งพระราชวงศ์ ต่อมามีความดีความชอบในราชการสงครามอย่างยิ่ง จึงได้รับสถาปนาพระอิสริยศให้สูงขึ้น และทรงกรมเป็น กรมขุนอนุรักษ์สงคราม เมื่อความจะสิ้นพระราชวงศ์ ทรงเป็นผู้ต่อต้านผู้ที่คิดจะล้มล้างราชวงศ์ของพระองค์ด้วยความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว แต่ด้วยพระชะตากรรมชีวิต จะต้องประสพชะตากรรมถูกสำเร็จโทษตามสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ไปด้วยเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๕


    ๓. กรมขุนรามภูเบศร์ พระนามเดิม บุญจันทร์ ทรงสถาปนาเป็น เจ้าบุญจันทร์ ก่อนตั้งพระราชวงศ์ ต่อมามีความดีความชอบในราชการสงครามยิ่ง จึงได้รับการสถาปนาพระอิสริยศให้สูงขึ้นและทรงกรมเป็น กรมขุนรามภูเบศร์ พระเจ้าหลานเธอ กรมขุนรามภูเบศร์ ถูกล้อมจับสำเร็จโทษโดยไม่รู้ตัวขณะไปราชการสงครามปราบปรามเขมรกับสมเด็จพระมหาอุปราช กรมขุนอินทรพิทักษ์ ณ ปี พ.ศ.๒๓๒๕ นั้นเองด้วย กรมขุนรามภูเบศร์ จะมีสายสืบราชสกุลต่อมาหรือไป ไม่อาจทราบได้ เช่นเดียวกับกรมขุนอนุรักษ์สงคราม


    ๔. กรมขุนสุรินทรสงคราม ประวัติจากหลักฐานทางอื่นไม่ปรากฏเช่นพระเจ้าหลานเธอทั้ง ๓ พระองค์ข้างต้น แต่มีหลักฐานอยู่ในบัญชีมหาดไทย จึงไม่อาจกล่าวได้ว่ามีความเป็นมาและเป็นไปอย่างไร




    ๔. ชั้นอื่นที่ไม่ทราบระดับสัมพันธ์

    พระบรมราชวงศ์ที่ไม่ทราบระดับสัมพันธ์ อันมีหลักฐานส่วนน้อยปรากฏอยู่ตามหมายรับสั่งบ้าง จดหมายเหตุทรงตั้งบ้าง ซึ่งแต่ละแห่งมีพระนามหรือไม่ก็กล่าวถึงระดับสัมพันธ์กับพระราชโอรสไว้สั้นๆ เท่านั้น รวมพระบรมราชวงศ์ชั้นนี้มีอีก ๔ พระองค์ คือ

    ๑. หม่อมเจ้าในเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ (จุ้ย) สมเด็จพระมหาอุปราช สิ้นพระชนม์ก่อน พ.ศ.๒๓๒๐ แต่ไม่ปรากฏพระนาม


    ๒. หม่อมเจ้าเส็ง สิ้นชีพิตักษัยก่อน พ.ศ.๒๓๒๑


    ๓. หม่อมเจ้าปทุมไพจิตร มีปรากฏในจดหมายเหตุทรงตั้งพระจ้านครศรีธรรมราช


    ๔. หม่อมเจ้านราธิเบศร์ มีปรากฏในพระราชพงศาวดาร



    พระราชวงศ์ชั้นนี้เพียงแต่อัญเชิญพระนามมาไว้ให้ปรากฏในสายประวัติพระราชวงศ์เท่านั้น แต่จะมีเกียรติประวัติอื่นใดหรือไม่ยังไม่อาจทราบได้


    ................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  17. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    พระราชโอรสและพระราชธิดา

    พระราชโอรสและพระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ๓๐ พระองค์ ตามที่ได้กล่าวโดยเรียบเรียงลำดับไว้โดยมิได้บรรยายประวัติพระราชมารดาแต่ละพระองค์ และพระราชโอรสและพระราชธิดาพระองค์นั้นๆ มีวงศ์สายสืบราชสกุลธนบุรีต่อมาหรือไม่รวมทั้งได้มีสายสัมพันธ์กับราชวงศ์จักรี ในชั้นหลังอย่างไร จะได้นำมากล่าวไว้ในตอนนี้



    ๑. ในสมเด็จพระอัครมเหสี กรมหลวงบาทบริจา
    ไม่ทราบสายสกุลของสมเด็จฯ ว่าสืบมาจากสายสกุลใด ทรงมีพระราชโอรส(เท่าที่มีหลักฐานค้นได้) ๒ พระองค์ คือ


    ๑.๑ สมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระนามเดิมว่า จุ้ย เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และทรงดำรงตำแหน่งรัชทายาท เป็นพระราชโอรสคู่พระทัย กรำศึกสงครามอย่างหนักมาตลอดพระชนม์ชีพ บั้นปลายแห่งพระชนม์ชีพ สมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงสถาปนาให้ครอบครองราชบัลลังก์กัมพูชาเป็นพระเจ้าแผ่นดินเขมรอยู่แล้ว แต่เผอิญสมเด็จพระราชบิดาถูกปลงพระชนม์เสียก่อน พระองค์จึงขอสละพระชนม์ชีพตามพระราชบิดา ด้วยพระทัยอันเด็ดเดี่ยว ถึงพร้อมด้วยขัตติยมานะอย่าน่าสรรเสริญน้ำพระทัยยิ่ง สิ้นพระชนม์โดยถูกสำเร็จโทษตามพระราชบิดา เมื่อวันเสาร์ เดือน ๖ แรม ๘ ค่ำ พ.ศ.๒๓๒๕ พร้อมกับพระยากำแหงสงคราม(บุญดง กาญจนาคม) นายทหารคู่พระทัย ทรงเป็นที่ ๑ ในสมเด็จพระอัครมเหสี ทรงเป็นต้นราชสกุลสายสืบตรงแห่งราชวงศ์กรุงธนบุรี ๒ วงศ์


    ๑.๒ สมเด็จเจ้าฟ้าน้อย สิ้นพระชนม์โดยถูกสำเร็จโทษตามพระราชบิดา คราวเดียวกับพระเชษฐา ทรงเป็นที่ ๒ ในสมเด็จพระอัครมเหสี ไม่ทันมีวงศ์สายสืบราชสกุล


    ๒. ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์
    พระนามเดิม เจ้าหญิงฉิม เป็นพระราชธิดาพระเจ้านครศรีธรรมราช(หนู) เจ้าประเทศราชผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชซี่งในราชสำนักเมืองนครฯ เรียกกันว่า ทูลกระหม่อมหญิงใหญ่ ทรงมีพระราชโอรส ๓ พระองค์ พระราชธิดา ๑ พระองค์ คือ


    ๒.๑ สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศพงศ์ ทรงเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของสมเด็จพระเจ้าตากสินร่วมกับเจ้าประเทศราชเมืองนครศรีธรรมราชองค์แรกของสมัยกรุงธนบุรี ถูกลดพระยศเมื่อคราวสิ้นพระราชวงศ์ ถึงรัชกาลที่ ๒ เป็นที่พระพงศ์อมรินทร์ หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่า พระพงศ์นรินทร์ มิได้ถูกปลงพระชนม์ตามพระราชบิดา ทรงเป็นต้นราชสกุลวงศ์กรุงธนบุรี ๑ วงศ์


    ๒.๒ สมเด็จเจ้าฟ้าทัศไภย ถูกลดพระยศจากฐานันดรศักดิ์เจ้าฟ้า ถึงรัชกาลที่ ๒ เป็นที่พระอินทรอำไพ หรืออีกนามหนึ่งเรียกว่าพระอินทรอภัย สิ้นพระชนม์เพราะถูกสำเร็จโทษฐานเป็นชู้กับเจ้าจอมในวัง ในรัชกาลที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๘ ไม่มีวงศ์สายสืบโดยตรงจากพระองค์


    ๒.๓ สมเด็จเจ้าฟ้าชายนเรนทรราชกุมาร ถึงรัชกาลที่ ๒ ได้เป็นที่พระนเรนทรราชา มิถูกปลงพระชนม์


    ๒.๔ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงปัญจปาปี ถึงรัชกาลที่ ๑ ได้เป็นพระชายาของเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์(เกศ) ผู้เป็นต้นราชสกุล อิศรางกูร ณ อยุธยา พระราชโอรสของสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช


    ๓. ในเจ้าจอมมารดาอำพัน จันทโรจวงศ์
    เจ้าจอมมารดาอำพัน เป็นธิดาเจ้าอุปราชจันทร์(ครั้นตั้งเจ้าชุมนุนก๊กต่างๆ ตอนกรุงแตก) เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งต่อมามีบรรดาศักดิ์เป็นที่ เจ้าพระยาสุรินทรราชา ข้าหลวงสำเร็จราชการอยู่เมืองถลาง กำกับราชการหัวเมืองทะเลหน้านอก ๘ หัวเมืองมาก่อนแล้ว มาเป็นอุปราชเมืองนครศรีธรรมราชภายหลัง
    เจ้าพระยาสุรินทรราชา อุปราชเมืองนครศรีธรรมราช บุรพชนเป็นพราหมณ์มาแต่อินเดียตัวท่านเป็นบุตรคนที่ ๓ ของเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์(อู่) ผู้มีชื่อเสียงในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศครั้งกรุงศรีอยุธยา ท่านเองเป็นต้นสกุล จันทโรจนวงศ์ ท่านมีน้อยชายหลายคน ได้มีบุตรหลานแตกสกุลออกหลายสาย เช่น บุรณศิริศิริวัฒนกุลชัชกุล บุตรชายคนหนึ่งของท่านชื่อ ฤกษ์ ตกค้างอยู่เมืองถลางได้ภรรยาเป็นหลานตัวของท้าวเทพกษัตรีย์ ชื่อ พุ่ม ภายหลังนายฤกษ์ รับราชการได้เป็นที่ พระยาถลาง

    ๓. เจ้าจอมมารดาอำพัน มีพระราชโอรส ๑ พระองค์ พระราชธิดา ๑ พระองค์ คือ

    <O:p</O:p
    ๓.๑ พระองค์เจ้าชายอรนิกา สิ้นพระชนม์เพราะถูกสำเร็จโทษฐานร่วมคบคิดล้มล้างราชวงศ์จักรี กับพระเจ้าน้องยาเธอต่างพระมารดาของพระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าชายสุพันธุวงศ์ กรมขุนกษัตรานุชิต เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๒ ไม่มีวงสายสืบราชสกุล


    ๓.๒ พระองค์เจ้าหญิงสำลีวรรณ ในกรุงรัตนโกสินทร์ได้เป็นพระชายาของกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ (พระองค์เจ้าชายอรุโณทัย พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ กับเจ้าจอมมารดานุ้ยใหญ่ ธิดาเจ้านครพัฒน์) สมเด็จพระมหาอุปราชวังหน้า รัชกาลที่ ๒ มีพระโอรสและพระธิดากับกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ๖ พระองค์ องค์หนึ่งคือ พระองค์เจ้าชายพงศ์อิศเรศร์ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักกดิเดช ต้นราชสกุล อิศรเสนา ณ อยุธยา

    พระองค์เจ้าหญิง ถูกสำเร็จโทษฐานร่วมกับสมเด็จเจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ กรมขุนกษัตรานุชิต พระเจ้าน้องยาเธอต่างพระมารดา ฐานล้มล้างราชวงศ์จักรี คราวเดียวกันกับเจ้าฟ้าฯ และเจ้าพี่ เจ้าน้องและเจ้าหลานหลายพระองค์ เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๒


    ๔. ในเจ้าจอมมารดาเงิน ไม่ทราบวงศ์สายสืบและบุรพชน ท่านมีพะราชธิดา ๑ พระองค์ คือ<O:p</O:p


    ๔.๑ พระองค์เจ้าหญิงประไพพักตร์ ยังไม่ทราบพระประวัติของพระองค์ท่าน


    ๕. ในเจ้าจอมมารดาเจ้าฟ้าหญิงฉิมใหญ่ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
    เจ้าจอมมารดาเจ้าฟ้าหญิงฉิมใหญ่พระองค์นี้ เป็นพระราชธิดาองค์ที่ ๓ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกกับกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระบรมราชินี และเป็นพระพี่นางของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒

    ๕. เจ้าจอมมารดาเจ้าฟ้าหญิงฯ ทรงมีพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า หวาน สิ้นพระชนม์เสียแต่ครั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียังไม่สิ้น พระราชบิดายังไม่ได้เสวยราชสมบัติ คือ สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๒ ทรงมีพระราชโอรส ๑ พระองค์ คือ<O:p</O:p


    ๕.๑ สมเด็จเจ้าฟ้าชายสุพันธุวงศ์ เมื่อสมเด็จพระราชบิดาถูกสำเร็จโทษ พระชะตายังไม่ถึงฆาตเพราะทรงเป็นพระราชนัดดาหรือหลานตาแท้ๆ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ จึงยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ตลอดมา โดยพระพุทธยอดฟ้าฯ พระอัยการของพระองค์ทรงเปลี่ยนพระนามให้ใหม่ว่า สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ แล้วทรงสถาปนาขึ้นทรงกรมเป็น กรมขุนกษัตรานุชิต และยังมีพระนามเล่นๆ ว่า เจ้าฟ้าเหม็น เจ้าฟ้าพระองค์นี้ทรงมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการรื้อฟื้นสถาปนาพระราชวงศ์แห่งพระราชบิดาของพระองค์ขึ้นมาใหม่ จึงเป็นที่หวาดระแวงหนักพระทัยแก่พระราชวงศ์ฝ่ายจักรีวงศ์ยุคนั้นมิใช่น้อย และด้วยเหตุผลประการฉะนี้เอง พระชะตากรรมเยี่ยงพระเชษฐาองค์โตๆ ที่ต้องถูกสำเร็จโทษตามพระราชบิดา เมื่อคราวเปลี่ยนราชวงศ์ก็พลันมาถึงพระองค์จนได้โดยถูกหาว่าเป็นหัวหน้าก่อการร้าย จะล้มล้างราชวงศ์แล้วสถาปนาราชวงศ์ธนบุรีขึ้นมาใหม่ จึงถูกสำเร็จโทษพร้อมด้วยพระโอรสเล็กๆ ของพระองค์ ๖ พระองค์ กับพระเจ้าพี่ เจ้าน้อง ทั้งเจ้าชาย เจ้าหญิง กับเจ้าหลานอีกมากมายหลายพระองค์ เมื่อวันพุธ เดือน ๑๐ ขึ้น ๕ ค่ำ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระเจ้าน้าของพระองค์เอง และเนื่องจากพระโอรสไม่ว่าจะใหญ่น้อยเพียงใดถูกสำเร็จโทษตามพระองค์ไปสิ้น พระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีพระองค์นี้ จึงไม่มีวงศ์สืบสายราชสกุลแต่อย่างใด


    ๖. ในเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง เป็นพระขนิษฐภคินีของกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ เจ้าหญิงฉิมหรือทูลกระหม่อมฟ้าหญิงใหญ่ราชธิดาเจ้าพระยานครศรีธรรมราชหรือเจ้านครหนู เจ้าหญิงปรางพระองค์นี้มีพระนามเรียกกันในวังเจ้านครฯ ว่า ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงเล็ก เป็นเจ้าจอมมารดาพระสนมเอกที่มีความสำคัญต่อราชวงศ์กรุงธนบุรีและราชวงศ์จักรีตลอดจนชาติไทยอย่างยิ่ง ในฐานะที่ทรงให้กำเนิดพะราชโอรสของพระเจ้ากรุงธนบุรีซึ่งต่อมาได้มีบทบาทสำคัญต่อราชวงศ์จักรีและชาติไทย ทั้งในส่วนขององค์พระราชโอรสและบุตรธิดาของท่าน เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปรางผู้นี้ มีเรื่องราวพิสดารในประวัติศาสตร์ว่า ภายหลังเมื่อเจ้านครหนูได้ยอมสวามิภักดิ์เข้าด้วยพระเจ้ากรุงธนบุรีและได้เข้ามารับราชการอยู่ ณ เมืองหลวงสมัยนั้น ได้ถวายธิดาองค์ใหญ่ คือ เจ้าหญิงฉิม เข้าทำราชการด้วยพระเจ้ากรุงธนบุรีนั้น ได้มีน้องสาวคือ เจ้าหญิงปรางเข้าไปอยู่ในวังด้วยพระองค์หนึ่ง แต่คนทั่วไปยังไม่รู้ ได้เป็นพระสนมของพระเจ้ากรุงธนบุรีด้วยเหมือนกัน จนถึงแก่มีเรื่องคอขาดบาดตายเกิดขึ้น โดยเจ้าพระยาพิชัยราชา ผู้สำเร็จราชการเมืองสวรรคโลก หลงผิดคิดว่าเป็นสาวโสดส่งเถ้าแก่เข้าไปขอเจ้าหญิงปรางเป็นภริยา ความได้ทรงทราบถึงพระเจ้ากรุงธนบุรีขึ้น จึงทรงพระพิโรธใหญ่ว่าเจ้าพระยาพิชัยราชาบังอาจจะมาตั้งตัวเป็นเขยน้องเขยใหญ่คู่กับพระองค์อันเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ถึงให้ลงพระราชอาญาประหารชีวิตเจ้าพระยาพิชัยราชาเสีย นี่เป็นตอนหนึ่งแห่งความพิสดารอันมีผลให้นายทหารเอกคู่พระทัยของพระเจ้ากรุงธนบุรีต้องจบชีวิตลงอย่างน่าอนาถ อันไม่น่าเชื่อว่าถ้าพระเจ้ากรุงธนบุรียังมีพระสติปรกติธรรมดาๆ จะทรงกระทำเช่นนั้นเพราะพระองค์ท่านรักทหารยิ่งกว่าอิสตรีใดๆ ได้เป็นที่ประจักษ์กันอยู่จึงเชื่อว่า ขณะนั้นพระองค์คงจะทรงมีพระสติไม่ปรกติเกิดขึ้นในลักษณะคุ้มดีคุ้มร้ายเป็นครั้งคราว พอดีถึงคราวชะตาขาดของเจ้าพระยาพิชัยราชา(ข้อความตอนนี้เป็นความเห็นของผู้แต่งหนังสือ) ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าน่าจะต้องเป็นเช่นนั้นเหลือเกินเพราะเกือบจะขณะเดียวกัน พระองค์ท่านก็ได้กระทำอย่างหนึ่งซึ่งเป็นการยืนยันพระทัยในความรักทหารมากกว่าอิสตรี โดยตัวเจ้าจอมมารดาปรางเองเหมือนกัน คือ ฝ่ายเจ้าอุปราชพัฒน์แห่งเมืองนครฯ มีความดีความชอบในราชการเป็นอย่างมากเข้ามาเฝ้าในกรุง ความทรงทราบว่าเจ้าอุปราชพัฒน์เป็นม่ายเพราะภริยาหลวงผู้เป็นธิดาของเจ้านครหนูเหมือนกันถึงแก่กรรม เกิดความสงสารเจ้าอุปราชพัฒน์ขึ้นจึงพระราชทานเจ้าจอมปรางคนเดียวกันนั้นเอง และเป็นน้องสาวภริยาของเจ้าอุปราชพัฒน์อีกด้วยให้เป็นภริยาแทน ซึ่งครั้นเสด็จขึ้นจึงดำรัสสั่งท้าวนางข้างในให้พาตัวเจ้าจอมปราง ซึ่งเป็นธิดาคนเล็กของเจ้านครหนูไปพระราชทานเจ้าอุปราชพัฒน์ ท้าวนางกระซิบทูลว่าดูเหมือนนางนั้นขาดระดูอยู่ พระเจ้ากรุงธนบุรีตรัสว่า ได้ออกปากให้เขาแล้วก็พาไปเถิด เรื่องจึงเลยตามเลย แต่ความเรื่องนี้เจ้าอุปราชพัฒน์ย่อมทราบ และคนทั้งหลายทั่วไปก็ทราบกันทั้งนั้นแต่เจ้าอุปราชพัฒน์เป็นข้าของพระองค์จะไม่รับพระราชทานหาได้ไม่ ก็ตอบรับไว้โดยนำไปอยู่อย่างท่านผู้หญิงกิตติมศักดิ์จนตลอดอายุ หรือพูดง่ายๆ ก็คือรับไปอัญเชิญให้อยู่ในฐานะแม่เมือง และเจ้าจอมมารดาปรางก็ได้ประสูติพระราชโอรส ณ เมืองนครศรีธรรมราชนั้น โดยทุกฝ่ายไม่ว่าเจ้าว่าไพร่แม่ฝรั่งต่างประเทศก็นับรู้ว่า ทารกน้อยของเจ้าจอมมารดาปรางผู้นี้คือ พะราชโอรสของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี คือ

    ๖.๑ เจ้าพระยานครน้อย พระราชโอรสองค์เดียวของเจ้าจอมมารดาปราง ซึ่งต่อมาได้เป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราชแทนบิดาบุญธรรม และมีลูกหลาเป็นเจ้าพระยานครฯ ต่อมาอีกหลายคน เจ้าพระยานครน้อยทรงเป็นต้นสกุลวงศ์ราชสกุลกรุงธนบุรีที่ใหญ่ที่สุดและแยกออกเป็นหลายสาขา สาขาที่สำคัญที่สุดคือสกุล ณ นคร


    ๗. ในเจ้าจอมมารดาทิม เป็นธิดาท้าวทรงกันดาลทองมอญ ชื่อตัวว่า ทองคำ บิดาเป็นเชื้อสายเจ้าในราชสกุลกรุงเก่า มารดาเป็นมอญท่าสิบเบี้ยกรุงเก่าเหมือนกัน เมื่อเป็นที่ท้าวทรงกันกาลก็เลยเรียกท้าวทรงกันดาล ทองมอญ อันหมายถึงท้าวทรงกันดาลชื่อ ทอง เป็น มอญ นั่นเอง สำหรับบิดาเจ้าจอมมารดาทิม ปรากฏว่าเป็นหม่อมเจ้าในราชวงศ์กรุงเก่าเหมือนกันแต่ไม่ปรากฏนาม เจ้าจอมผู้นี้มีพี่ชายและน้องสาวร่วมอยู่ในราชินิกุลรัชกาลที่ ๓ ชั้นต้นๆ ด้วย (ท้าวทรงกันดาลทองมอญ มารดาของเจ้าจอมมารดาทิมผู้นี้เป็นผู้ใหญ่อยู่ในพระราชวังกรุงธนบุรี ปรากฏในตอนหลังว่า เป็นผู้ที่ลงเรือพระที่นั่งคอยรับเสด็จเมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก(รัชกาลที่ ๑ )เสด็จมาปราบจลาจลครั้งนั้น และหยุดประทับ ณ พลับพลาหน้าวัดพระเชตุพน และท้าวทรงกันดาลทองมอญผู้นี้เองอีกนั่นแหล่ะ ได้กราบบังคมทูลเสด็จลงเรือพระที่นั่ง ข้ามไปพระราชวังของพระเจ้ากรุงธนบุรี) เจ้าจอมมารดาทิม มีพระราชโอรส ๑ พระองค์ และทรงเป็นต้นวงศ์สืบราชสกุลวงศ์ธนบุรี ฝ่ายสายสัมพันธ์กับราชวงศ์จักรีเป็นสายอ้อม ๑ วงศ์ คือ พระองค์เจ้าชายอัมพวัน ประวัติพิสดารไม่ปรากฏ แต่มิได้ถูกสำเร็จโทษตามพระราชบิดาครั้ง พ.ศ.๒๓๒๕ หรือร่วมกับเจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ราว พ.ศ.๒๓๕๒ แต่ประการใด


    ๘. ในเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงยวนหรือจวน เป็นพระราชมารดาของเจ้าพระยานครราชสีมา หรือเจ้าพระยากำแหงสงคราม นามเดิมว่า ทองอิน หรือ ทองอินทร์ ผู้สำเร็จราชการเมืองนครราชสีมานี้ เป็นผลงานที่คุณณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม อดีตผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครได้ค้นคว้ายืนยันเป็นหลักฐานไว้ในหนังสือโอรสลับพระเจ้าตาก จัดพิมพ์โดยห้างหุ้นส่วนจำกัดโอเดียนสโตร์ ฉบับพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๙ ซึ่งผู้ค้นคว้ารวบรวมประวัตินี้ยืนยันว่า เจ้าพระยากำแหงสงคราม(ทองอิน หรือ ทองอินทร์) ผู้ว่าราชการเมืองนครราชสีมายุครัตนโกสินทร์ซึ่งเป็นต้นสกุล อินทรกำแหง และสกุลสาขาอื่นๆ ที่แยกออกไปอีกหลายสกุลนี้ว่า เป็นพระราชโอรสลับของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นองค์ที่ ๒ ทำนองเดียวกับ เจ้าพระยานครน้อย โดยอ้างหลักฐานชิ้นสำคัญที่พอเชื่อถือและรับฟังได้จากจดหมายเหตุนครราชสีมาอันเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ราชสกุลพระเจ้ากรุงธนบุรีสายราชสีมาที่เจ้าพระยานครราชสีมาแต่ละท่านตลอดจนลูกหลานได้บันทึกไว้ ดังประวัติความเป็นมาซึ่งจะขอย่อความไว้ดังนี้

    เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี กู้เอกราชชาติไทยได้จากพม่า และรวบรวมหัวเมืองไทยใหญ่น้อยเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้แล้ว ฝ่ายเมืองนครราชสีมาอันเป็นหัวเมืองเอกด้านตะวันออกเฉียงเหนือนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีได้สถาปนายก ยกกระบัตรเมืองพิมายชื่อ ปิ่น ผู้มีความดีความชอบในการกู้ชาติและรวมชาติของพระองค์โดยเลื่อนยศตำแหน่งขึ้นตามลำดับจนเป็นที่ เจ้าพระยานครราชสีมา เจ้าพระยานครราชสีมา(ปิ่น) ได้ประกอบวีรกรรมครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๑ คราวที่เจ้านครเวียงจันทน์ได้ส่งกำลังมารุกรานอาณาเขตไทย สมัยพระวอพระตาหนีมาสร้างเมืองอุบลราชธานี พระเจ้ากรุงธนบุรีได้กรีฑาทัพไปปราบเมืองเวียงจันทน์ และมอบหน้าที่สำคัญให้เจ้าพระยานครราชสีมา(ปิ่น) เป็นกองหน้า ซึ่งการสงครามปราบปรามเวียงจันทน์ครั้งนั้นได้รับชัยชนะ พร้อมกับได้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากนครเวียงจันทน์มาประดิษฐานไว้ ณ กรุงธนบุรีด้วย และในการออกสงครามนั้นเอง ท่านผู้หญิงของเจ้าพระยานครราชสีมา(ปิ่น) ก็ได้ถึงแก่อนิจกรรมลง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระเมตตาและสงสารท่าน จึงพระราชทานเจ้าหญิงยวนหรือจวนกนิษฐาของพระชนนีสมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศพงศ์ คือน้องสาวของกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ หรือเจ้าหญิงฉิม ราชธิดาเจ้าพระยานครศรีธรรมราช หรือเจ้านครหนูนั่นเอง เรื่องราวช่างบังเอิญคล้ายครึงกับคราวพระราชทานเจ้าจอมปราง พระชนนีของเจ้านครน้อยให้แก่เจ้าอุปราชพัฒน์เสียจริงๆ เจ้าพระยานครราชสีมา(ปิ่น) เองก็ทราบว่าเจ้าหญิงยวนหรือจวนเป็นพระสนมและกำลังทรงครรภ์อยู่ด้วย แต่จะไม่รับพระราชทานก็ไม่ได้ ก็จำต้องรับไว้ในฐานะแม่เมืองเยี่ยงเดียวกับเจ้าพระยานครพัฒน์รับพระราชทานเจ้าหญิงปราง(แต่เจ้าหญิงปราง กับเจ้าหญิงยวนหรือจวน ใครจะเป็นพี่เป็นน้องยังไม่เป็นที่ชัดแจ้ง) เจ้าหญิงยวนหรือจวนเสด็จไปประทับเป็นแม่เมืองนครราชสีมา พอครบกำหนดทศมาสก็ประสูติพระราชโอรส และเจ้าพระยานครราชสีมา(ปิ่น) บิดาบุญธรรมได้ให้นามว่า ทองอินทร์ หรือ ทองอิน ซึ่ง ณ ที่นี้ก็ใคร่จะถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ควรเชื่อถือได้ว่าเจ้าจอมมารดายวนหรือจวนเป็นพระสนมของพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าพระยานครราชสีมาทองอินทร์ ทรงเป็นสกุลสายใหญ่สายหนึ่งทางเมืองนครราชสีมาและแยกออกเป็นหลายสาขา ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดในตอนต่อไป


    ๙. ในเจ้าจอมมารดาอื่นๆ ที่ไม่ปรากฏนาม นอกจากพระราชโอรส พระราชธิดาที่ประสูติจากพระมเหสี และพระสนมซึ่งมีพระนามตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้งที่เป็นเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้าอีก ๑๗ พระองค์ ซึ่งยังไม่ทราบว่าพระมารดาชื่อใด และมีสกุลวงศ์มาจากที่ใด คือ


    ๙.๑ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงโกมล ไม่ปรากฏพระนามพระมารดา ไม่มีพระประวัติสำคัญในด้านสายสืบราชวงศ์หรือราชการแผ่นดินแต่อย่างใด(แต่คงถูกลดพระยศเช่นกัน)


    ๙.๒ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา ไม่ปรากฏพระนามพระมารดา ไม่มีพระประวัติสำคัญในด้านสายสืบราชวงศ์หรือราชการแผ่นดินแต่อย่างใด และคงถูกลดพระยศเช่นกัน


    ๙.๓ สมเด็จเจ้าฟ้าชายสิงหรา ไม่ปรากฏพระนามพระมารดา ไม่มีพระประวัติสำคัญในด้านสายสืบราชวงศ์หรือราชการแผ่นดินแต่อย่างใด และคงถูกลดพระยศเช่นกัน


    ๙.๔ สมเด็จเจ้าฟ้าชายศิลา ไม่ปรากฏพระนามพระมารดา ถูกลดพระยศจากเจ้าฟ้าเช่นเจ้าพี่เจ้าน้อง ได้เข้ารับราชการต่อมาถึงรัชกาลที่ ๓ ได้เป็นที่ พระยาประชาชีพ ทรงเป็นต้นวงศ์สายสืบราชสกุลวงศ์กรุงธนบุรีสายตรง ๑ วงศ์


    ๙.๕ พระองค์เจ้าหญิงสุมาลี ไม่ปรากฏพระนามพระมารดา ไม่มีพระประวัติสำคัญในด้านสายสืบราชวงศ์หรือราชการแผ่นดินแต่อย่างใด และคงถูกลดพระยศเช่นกัน


    ๙.๖ พระองค์เจ้าชายธำรง ไม่ปรากฏพระนามพระมารดา ไม่มีประวัติราชการ ไม่ถูกสำเร็จโทษ แต่คงถูกลดพระยศเหมือนเจ้าพี่เจ้าน้อง มีพระธิดาสืบต่อมา แต่ไม่มีวงศ์สายสืบทั้งสายตรงและสายอ้อม


    ๙.๗ พระองค์เจ้าชายละมั่ง ไม่ปรากฏพระนามพระมารดา ถูกลดพระยศลงเช่นเจ้าพี่เจ้าน้อง ได้รับราชการต่อมาถึงรัชกาลที่ ๓ ได้เป็นที่ พระยาสมบัติบาล ไม่มีวงศ์สายสืบทางตรงและทางอ้อม


    ๙.๘ สมเด็จเจ้าฟ้าชายเล็ก หรืออีกพระนามหนึ่งว่า เจ้าฟ้าชายแผ่นดินไหว ไม่ปรากฏพระนามพระมารดา ไม่ถูกสำเร็จโทษ แต่คงถูกลดพระยศเช่นเจ้าพี่เจ้าน้อง ไม่มีวงศ์สายสืบทั้งสายตรงและสายอ้อม


    ๙.๙ พระองค์เจ้าหญิงจามจุรี ไม่ปรากฏพระนามพระมารดา ไม่มีประวัติราชการ และวงศ์สายสืบราชสกุล


    ๙.๑๐ พระองค์เจ้าหญิงสังวาลย์ ไม่ปรากฏพระนามพระมารดา ไม่มีประวัติราชการ และวงศ์สายสืบราชสกุล


    ๙.๑๑ พระองค์เจ้าชายคันธวงศ์ ไม่ปรากฏพระนามพระมารดา ไม่มีประวัติราชการ และวงศ์สายสืบราชสกุล

    ๙.๑๒ พระองค์เจ้าชายเมฆินทร์ ไม่ปรากฏพระนามพระมารดา ไม่มีประวัติราชการ และวงศ์สายสืบราชสกุล


    ๙.๑๓ พระองค์เจ้าชายอิสินธร ไม่ปรากฏพระนามพระมารดา ไม่มีประวัติราชการ และวงศ์สายสืบราชสกุล


    ๙.๑๔ พระองค์จ้าชายบัว ไม่ปรากฏพระนามพระมารดา ไม่มีประวัติราชการ และวงศ์สายสืบราชสกุล


    ๙.๑๕ พระองค์เจ้าชาย(ไม่ปรากฏพระนาม) ไม่ปรากฏพระนามพระมารดา ไม่มีประวัติราชการ และวงศ์สายสืบราชสกุล


    ๙.๑๖ พระองค์เจ้าชายหนูแดง ไม่ปรากฏพระนามพระมารดา ไม่มีประวัติราชการ และวงศ์สายสืบราชสกุล


    ๙.๑๗ พระองค์เจ้าชายสุดชาตรี ไม่ปรากฏพระนามพระมารดา ไม่มีประวัติราชการ และวงศ์สายสืบราชสกุล



    ..................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  18. Pure_Heart

    Pure_Heart เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2005
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +171
    รอมาต่อนะครับ
     
  19. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    วงศ์สายสืบราชสกุลสายตรง


    วงศ์สายสืบราชสกุลพระเจ้ากรุงธนบุรีสายตรงนี้ ได้แก่การสืบสายสกุลตรงจากสมเด็จพระราชโอรสหรือพระราชโอรสของพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งต่อมาตั้งเป็นวงศ์เดียวกันบ้าง แยกสาขาออกเป็นหลายสกุลในวงศ์เดียวกันบ้างผู้ที่สืบสายอันถือว่าเป็นราชสกุลสายตรงนั้น มี ๖ วงศ์ และแยกออกไป ๙ สาย (เดิมมี ๑๐ วงศ์ ต่อมาวงศ์นครราชสีมาได้รวมสาขาต่างๆ เข้าเป็นวงศ์เดียวกัน) ชื่อ “นามสกุล” ของแต่ละวงศ์ไม่เป็นสัญญลักษณ์บอกให้รู้โดยตรงว่าเป็นผู้สืบราชสกุลของพระเจ้ากรุงธนบุรีอย่างเช่นราชสกุลจักรีวงศ์ ซึ่งมีคำว่า “ณ อยุธยา” ต่อท้าย คงใช้สกุลเช่นเดียวกับสามัญชนทั่วไป ราชสกุลสายตรงได้แก่

    ๑. วงศ์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์(จุ้ย) พระมหาอุปราชกรุงธนบุรี เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่อันประสูติจากสมเด็จพระอัครมเหสีกรมหลวงบาทบริจา(สอน) ทรงเป็นต้นวงศ์สายบสืบ โดยพระราชโอรสของพระองค์ที่เหลือรอดจากการถูกสำเร็จโทษ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่อันมี สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท(บุญมา) นายทหารเอกข้าพระองค์แรกสมัยทรงกู้ชาติใหม่ๆ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นผู้หาทางคงชีวิตไว้เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมิใช่แต่เฉพาะลูกหลานของสมเด็จเจ้าฟ้า กรมขุนอินทรพิทักษ์เท่านั้น แม้ลูกหลานของพระองค์อื่นๆ ของพระเจ้ากรุงธนบุรีก็เช่นกัน สกุลสายสืบสายตรงจากวงศ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนฯ แยกออกเป็น ๒ สาย คือ

    ๑.๑ สาย “สินสุข” เจ้าพระยายมราช(สุข) บุตรเจ้าชายทองอิน พระราชโอรสของสมเด็จพระมหาอุปราชา เป็นต้นสาย

    ๑.๒ สาย “อินทรโยธิน” คุณชายนุด บุตรเจ้าชายทองอิน น้องเจ้าพระยายมราช(สุข) เป็นต้นสาย

    ๒. วงศ์สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศพงศ์ พระราชโอรสประสูติจากเจ้าหญิงฉิมราชธิดาเจ้านครศรีธรรมราช(หนู) ซึ่งเป็นพี่สาวเจ้าหญิงปรางพระมารดาของเจ้าพระยานครน้อย มีสกุลสายสืบสายตรงจาพระราชโอรสของพระองค์ ๑ สาย คือ

    ๒.๑ สาย “พงษ์สิน” คุณชายราช ซึ่งเป็นพระนรินทร์ พระโอรสของเจ้าฟ้าชายทัศพงศ์เป็นต้นสาย

    ๓. วงศ์สมเด็จเจ้าฟ้าชายศิลา เป็นราชโอรสรุ่นใหญ่ เป็นที่ ๓ รองจากสมเด็จพระมหาอุปราช และเจ้าฟ้าชายทัศพงศ์แต่ไม่อาจทราบสายสกุลของพระมารดา มีสกุลสายสืบสายตรงจากพระโอรสของพระองค์ ๑ สาย คือ
    <O:p</O:p
    ๓.๑ สาย “ศิลานนท์” คุณชายอิ่ม ซึ่งเป็นหลวงราชนรารักษ์ พระโอรสของเจ้าฟ้าชายศิลา เป็นต้นสาย

    ๔. วงศ์สมเด็จเจ้าฟ้าชายนเรนทรราชกุมาร เป็นพระราชโอรสในเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงฉิม ราชธิดาเจ้านครศรีธรรมราช(หนู) และเป็นพระอนุชาของสมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศพงศ์โดยพระมารดาเดียวกัน วงศ์ของสองเจ้าฟ้านี้จึงใกล้ชิดกันเข้ามาอีกชั้นหนึ่งในฐานะที่พระมารดาองต้นวงศ์เป็นพระองค์เดียวกัน วงศ์นี้มีสกุลสายสืบ ๑ สายคือ

    ๔.๑ สาย “รุ่งไพโรจน์” คุณชายรุ่ง ซึ่งเป็นที พระยาสามภพพ่าย พระโอรสของเจ้าฟ้าชายนเรนทราชกุมารเป็นต้นวงศ์

    ๕. วงศ์เจ้าพระยานครน้อย พระนามเดิมว่า “น้อย” เป็นพระราชโอรสติดครรภ์เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง น้องนางเจ้าหญิงฉิมราชธิดาพระเจ้านครศรีธรรมราช(หนู) ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระราชทานพระมารดาให้แก่อุปราชพัฒน์ ซึ่งต่อมาได้เป็นเจ้านครพัฒน์ ดังได้กล่าวประวัติไว้แล้วในตอนต้น
    เรื่องเจ้าพระยานครน้อย เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มิใช่เรื่องลี้ลับมาช้านานแล้ว แต่ก็มิได้มีที่ใดขนานพระนามให้เป็น สมเด็จเจ้าฟ้าชาย เหมือนกับพระราชโอรสองค์อื่นๆ ที่เกิดจากพระมารดาเป็นเชื้อเจ้า ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะถือกันว่าเลยตามเลย เมื่อประสูติในเมืองนครศรีธรรมราช เจ้าอุปราชพัฒน์ บิดาบุญธรรมตั้งชื่อว่า “น้อย” อันเป็นชื่อเรียกเล่นๆ ซึ่งในวังเมืองนครฯ หรือเรียกกันอีกนามหนึ่งว่า “คุณชายน้อย” ท่านเกิด ณ วันจันทร์ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีวอก อัฐศก จ.ศ.๑๑๓๘ ตรงกับวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๓๑๙ เวลา ๕ ทุ่ม ยังอยู่ในสมัยกรุงธนบุรี

    ถึงรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอุปราชพัฒน์ ซึ่งต่อมาเป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราช แทนเจ้าพระยานครหนู(พ่อตา) ได้ถวายตัวคุณชายน้อย พระราชโอรสของพระเจ้าตากสินเข้ามาเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ ๑ ได้เป็นที่ “นายคัลวิไชย” มหาดเล็กหุ้มแพร ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นที่ “พระอนุรักษ์ภูเบศร์” ออกไปดำรงตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองนครศรีธรรมราช

    ถึงรัชกาลที่ ๒ เจ้าพระยานครพัฒน์ บิดาบุญธรรมมีความชราทุพลภาพ โปรดให้ยกเป็นจางวางเมือง(คือตำแหน่งกิตติมศักดิ์ที่ปรึกษาหรือที่เคารพของเมือง) โดยเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นที่เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี แล้วจึงโปรดให้เลื่อนพระอนุรักษ์ภูเบศร์(น้อย) ขึ้นเป็นพระยานครศรีธรรมราช สำเร็จราชการเมืองนครศรีธรรมราชแทนบิดาบุญธรรมเมื่อ พ.ศ.๒๓๔๕

    ถึงรัชกาลที่ ๓ เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี(พัฒน์) ถึงอสัญกรรม พระยานครศรีธรรมราช(น้อย) จึงได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราช แต่คนทั่วไปแม้ในประวัติศาสตร์หรือพงศาวดารเรียกกันว่า “เจ้าพระยานครน้อย”

    เจ้าพระยานครน้อย รับราชการสนองพระเดชพระคุณมาด้วยความเรียบร้อยอย่างยิ่ง สมัยนั้นเมืองนครเป็นใหญ่ ปกครองหัวเมืองไทยฝ่ายใต้ตั้งแต่เมืองชุมพรไปตลอดแหลมมลายู ท่านก็ได้ปกครองบ้านเมืองของท่านมาด้วยความเรียบร้อยตลอดสมัยอันยาวนานของท่านเช่นกัน ทั้งในด้านการศึกสงคราม ก็ได้ออกสนามรบทั้งการปราบกบฏหัวเมืองมลายู และศึกพม่าเมืองถลางมาอย่างโชกโชน ได้ถึงแก่อสัญกรรมในรัชกาลที่ ๓ เมื่อวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ปีกุน จ.ศ.๑๒๐๑ พ.ศ.๒๓๑ เวลา ๕ ทุ่มเศษ

    ในด้านครองครัว ท่านเจ้าพระยานครน้อยมีภรรยาหลายคน แต่ท่านผู้หญิงของท่านนั้นชื่อ “อิน” เป็นธิดาพระยาพินาศอัคคี” สกุล ณ บางช้าง ข้างราชินิกุล ฝ่ายราชวงศ์จักรี สายรัชกาลที่ ๒ ท่านผู้หญิงอินถึงแก่อนิจกรรม เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๔

    ท่านเจ่าพระยานครน้อย มีบุตรธิดากับท่านผู้หญิงอิน สกุล ณ บางช้าง ๖ คน และกับภริยาอื่นๆ อีก ๒๘ คน บุตรชายส่วนมากรับราชการเกือบหมด ส่วนบุตรหญิงก็ได้รับราชการเป็นพระสนม เจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ ๓ –๔ เกือบหมดเช่นกัน บุตรชายของท่านต่อมาได้เป็นต้นสายตรงถึง ๓ สาย ส่วนบุตรหญิงก็ได้ไปร่วมสกุลสายตรงราชวงศ์จักรี และสกุลอื่นๆ อีกหลายวงศ์และหลายสายดังจะได้กล่าวต่อไป
    สำหรับสายสกุลสายตรงของท่านแยกอกเป็น ๓ สายได้แก่

    ๕.๑ สาย “ณ นคร” สายนี้ถือว่าท่านเจ้าพระยานครน้อย เป็นต้นสายตรงและรวมถึงผู้ที่สืบสกุลจากเจ้าพระยานครหนูเจ้าคุณตาของท่านและเจ้าพระยานครพัฒน์ บิดาบุญธรรมของท่านด้วย

    ๕.๒ สาย “โกมารกุล ณ นคร” สายนี้ เจ้าพระยามหาศิริธรรม นามเดิม “เมือง” หรือ “น้อยใหญ่” บุตรชายเจ้าพระยานครน้อย อันเกิดแต่ท่านผู้หญิงอิน เป็นต้นสายแยกไปอีกสาขาหนึ่ง ท่านเจ้าพระยามหาศิริธรรม ได้ดำรงตำแหน่งผู้รักษากรุงเก่า เพราะทางเมืองหลวงต้องการเปิดทางให้น้องชายชื่อ “น้อยกลาง” ได้เป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราชแทนเจ้าพระยานครน้อยผู้บิดา แต่เจ้าพระยามหาศิริธรรมนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ ๔ ก็โปรดสถาปนาศักดินาให้เสมอเหมือนเจ้าพระยานครศรีธรรมราชผู้บิดา ดังได้ประกาศพระบรมราชโองการไว้เมื่อ ณ วันศุกร์ เดือน ๖ แรม ๑ ค่ำ ปีกุน พ.ศ.๒๓๙๔

    ๕.๓ สาย “จาตุรงคกุล” สายนี้คุณชาย “น้อยเอียด” ผู้เป็นที่ พระยาเสนามนตรี ซึ่งเป็นบุตรคนที่ ๕ ของเจ้าพระยานครน้อย อันเกิดจากท่านผู้หญิงอินเป็นมารดา เป็นต้นสาย

    ๖. วงศ์เจ้าพระยานครราชสีมาทองอินทร์เรื่องของเจ้าพระยานครราชสีมาทองอินทร์ มาจากการค้นคว้าของคุณณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม ตามที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้ในประวัติย่อของเจ้าจอมมารดา เจ้าหญิงยวนหรือจวนข้างต้นนั้น เราจะเห็นว่าช่างเป็นการบังเอิญกระไรเช่นนี้ ทั้งที่ประวัติความเป็นมาทั้งด้วยเหตุผลไปเหมือนหรือคล้ายคลึงกับเจ้าจอมมารดา เจ้าหญิงปรางพระมารดาของเจ้าพระยานครน้อย ดูช่างคล้ายหรือเหมือนกันอย่างสนิทดีนัก และออกจะเป็นการมหัศจรรย์ยิ่งขึ้นก็ตอนที่เจ้าจอมมารดาทั้งสองเป็นเจ้าพี่เจ้าน้องอันเป็นราชธิดาของพระเจ้านครศรีธรรมราช(หนู) ซึ่งตอนนั้น มีพระยศและฐานะเป็นเจ้าประเทศราช ไม่ใช่เจ้าเมืองธรรมดาที่พระพุทธยอดฟ้าฯ มาลดฐานะภายหลัง ผู้เขียนเคารพต่อความภาคเพียรพยายามของนักประวัติศาสตร์ที่สนใจในการค้นคว้า มากกว่าการกอดและการถอดตำราโบราณฝ่ายเดียว เมื่อมีผู้ค้นพบพระราชโอรสลับพระองค์ที่สองของพระเจ้ากรุงธนบุรีขึ้นได้เช่นนี้ จึงรู้สึกดีใจและเคารพนับถือในผู้ค้นคว้าอย่างยิ่ง ผู้เขียนไม่ใช่จะถือว่าการที่มีหลักฐานเพียงบรรทัดเดียวเท่านั้น อย่าพึ่งเชื่อหลักฐานนั้น อย่างนักปราชญ์บางท่านถือนักถือหนา ถ้าเห็นว่าผลงานค้นคว้านั้นได้มาจากหลักฐานบรรทัดเดียวหรือวรรคเดียวหรือหน้าเดียวแล้ว ยังเชื่อถือไม่ได้ ฉะนั้นเรื่องเจ้าพระยานครราชสีมาทองอินทร์ เป็นพระราชโอรสลับองค์ที่สองของพระเจ้ากรุงธนบุรีที่คุณณัฐวุฒิฯ ได้มานั้น เป็นหลักฐานจากผู้สืบสกุลเจ้าพระยานครราชสีมา บันทึกไว้เองนั้น จะได้กล่าวถึงประวัติและวงศ์สายสืบของเจ้าพระยานครราชสีมาทองอินทร์ต่อไป

    เจ้าพระยานครราชสีมาทองอินทร์ นามเดิมว่า “ทองอิน” หรือ “ทองอินทร์” นามบรรดาศักดิ์ตามทำเนียบราชการว่า เจ้าพระยากำแหงสมคราม รามภักดีอภัยพิริยปรากรมพรหุ แต่คนทั่วไปในสมัยนั้น มักจะเรียกกันว่า เจ้าพระยานครราชสีมา หรือเรียกตามตำแหน่งที่ท่านเป็นผู้สำเร็จราชการหรือเป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา ท่านสมภพเมื่อ ณ วันเสาร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปีจอ สัมฤทธิ์ศก จุลศักราช ๑๑๔๐ ตรงกับ พ.ศ.๒๓๒๑

    ประวัติการรับราชการก่อนรัชกาลที่ ๓ ไม่สู่จะปรากฏชัดเจนแต่ก็คงไม่พ้นตำแหน่งว่าราชการเมืองนครราชสีมา มาก่อน จนถึงรัชกาลที่ ๓ ผู้สำเร็จราชการเมืองนครราชสีมาอันมีอำนาจปกครองเมืองใหญ่น้อยทั่วทั้งภาคอิสาน เช่นเดียวกับผู้สำเร็จราชการเมืองนครศรีธรรมราชมีอำนาจปกครองเมืองใหญ่น้อยทั่วปักษ์ใต้นั้นแหล่ะ

    เจ้าพระยากำแหงสงคราม เป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา ตกอยู่ในสมัยเจ้านุวงศ์เวียงจันทน์เป็นกบฏ ซึ่งขณะนั้นท่านไปราชการพร้อมด้วยพระยาปลัดเมือง เพื่อปราบความวุ่นวายที่พระยาไกรสงครามเจ้าเมืองขุขันธิ์วิวาทกับหลวงปลัดน้องชาย จนเกิดรบพุ่งกัน ทางเมืองนครราชสีมาจึงมีแต่คุณหญิงโมภรรยาพระยาปลัดซึ่งได้ประกอบวีรกรรมอย่างยอดเยี่ยมไว้ ดังปรากฏในประวัติศาสตร์

    ชีวิตราชการของท่านเจ้าพระยานครราชสีมาทองอินทร์ เต็มไปด้วยสงครามเริ่มแต่ปราบเมืองเล็กเมืองน้อยและกบฏเจ้าอนุวงศ์ แล้วก็บูรณะซ่อมแซมเมืองที่ถูกเจ้าอนุวงศ์ทำความเสียหายไว้ การช่วยสงครามปราบปรามเขมรและญวน นับว่าตลอดอายุราชการของท่านได้รับใช้บ้านเมืองมาอย่างโชกโชน และเป็นผลดีแก่ราชการเป็นอย่างมาก จนถึง พ.ศ.๒๓๘๘ ท่านจึงถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน สิริรวมอายุได้ ๖๗ ปี โดยถึงแก่อสัญกรรมหลังเจ้าพระยานครน้อย ๖ ปี

    ในด้านสายสืบสกุลวงศ์ของท่านนั้น ปรากฏว่า ท่านเจ้าพระยา ได้สมรสกับท่านผู้หญิงทับทิม ธิดาของ พระยาสุริยเดช ชื่อ “ทัศน์” เป็นต้นสกุล “รายณสุข” ผู้เป็นบุตรเจ้าพระยานครราชสีมา ปิ่น บิดาบุญธรรมของท่านนั้นเอง

    นอกจากสมรสกับท่านผู้หญิงทับทิมแล้ว ต่อมาท่านยังได้สมรสกับท่านผู้หญิงบุนนาค น้องสาวเจ้าพระยาบดินทร์เดชา(สิงห์ ต้นสกุล สิงหเสนี) อีกผู้หนึ่ง กับยังมีอนุภรรยาอีกหลายท่าน มีบุตรธิดากับท่านผู้หญิงทั้งสองและอนุภรรยาต่างๆ รวมทั้งสิ้น ๕๐ คน ซึ่งในชั้นแรกบุตรของท่านได้ตั้งสายสกุลแยกออกไปเป็นสายต่างๆ ถึง ๑๓ สาย คือ

    ๖.๑ สาย “อินทรกำแหงณ ราชสีมา” มีนายศัลวิไชย(ทองคำ) นายทองแก้ว พระยานครราชมีมา(เมฆ) พระยาไชยวิชิตสิทธิสาตรา(ขำ) พระยาบรมราชบรรหาร(สมบูรณ์) เป็นต้น ผู้บุตรเป็นผู้อยู่ในสกุลนี้

    ๖.๒ สาย “มหาณรงค์” มีพระมหาณรงค์(พลาย) ผู้บุตรเป็นต้นสาย

    ๖.๓ สาย “อินทโสฬส” มีพระเจ้าสุรินเดช(โสฬส) ผู้บุตรเป็นต้นสาย
    นอกจากนี้ยังมีสกุลอื่นๆ ที่บุตรหลานของท่านเป็นต้นสายสกุลใหม่อีก เช่น
    นิลนานนท์
    เนียมสุริยะ
    ชูกฤส
    อินทุชิต
    คชวงศ์
    ศิริพร
    เชิณธงไชย
    เมนะรุจิ
    อธินันท์
    พรหมนาท

    แต่ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๔ ในรัชกาลที่ ๙ นี้เอง บุตรหลานผู้สืบสายสกุลของท่านอันอยู่ในสายสกุลชื่อต่างๆ รวม ๙ สาย คือ
    อินทโสฬส
    เมนะรุจิ
    อธินันท์
    พรหมนาท
    มหาณรงค์
    อินทกำแหง
    ได้ขอพระราชทานนามสกุลใหม่ร่วมกันว่า “ณ ราชสีมา” และทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ใช้ชื่อสกุลว่า “ณ ราชสีมา” นี้แต่ ณ วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๔



    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • T01.jpg
      T01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.3 KB
      เปิดดู:
      11,910
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013
  20. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    วงศ์สายสืบราชสกุลสายหญิง


    นอกจากวงศ์สายสืบราชสกุลแห่งราชวงศ์กรุงธนบุรี สายตรงสืบที่สกุลจากฝ่ายชายอันเป็นโอรสของพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยังปรากฏว่าพระราชธาดาของสมเด็จพระเจ้าตากสิน บางพระองค์บ้างพระธิดาขอบพระราชโอรสบ้าง ได้ไปมีสายสัมพันธ์กับราชวงศ์จักรีและสกุลบางสกุลแล้วตั้งเป็นวงศ์สายสืบราชสกุลจักรีวงศ์ วงศ์ต่างๆ ขึ้นเป็นวงศ์หนึ่งๆ และสกุลหนึ่ง โดยถือเอาพระราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดิน ของพระมหาอุปราชวังหน้า และวังหลังแต่ละรัชกาล กับพระราชธิดาหรือพระธิดาของพระราชโอรสของพระเจ้ากรุงธนบุรีร่วมกัน เป็นต้นราชสกุลวงศ์นั้นๆ อันถือว่าเป็นราชสกุลร่วมของ ราชวงศ์จักรีกับราชวงศ์ตากสินธนบุรี โดยเฉพาะสกุลหนึ่งต่างหาก รวมทั้งการสัมพันธ์กับฝ่ายชายอันเป็นสกุลธรรมดามิใช่ราชวงศ์จักรีด้วยเหมือนกัน ประเภทนี้ในทางประวัติศาสตร์ตลอดจนความนิยมยึดถือของผู้อยู่ในราชสกุลนั้นๆ หรือในสกุลนั้นย่อมรับรองโดยทั่วกัน


    วงศ์สายสืบประเภทนี้ จากหนังสือเรื่องสกุลเชื้อสายพระราชวงศ์กรุงธนบุรี ของ กรมศิลปากร ฉบับพิสดาร เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๐ เรียกว่า สกุลที่เกี่ยวพันทางสายหญิง ซึ่ง ณ ที่นี้ จะแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย

    ๑. ฝ่ายเกี่ยวพันทางราชวงศ์จักรี และได้ตั้งเป็นราชสกุลวงศ์ขึ้นใหม่
    ๒. ฝ่ายเกี่ยวพันทางสกุลสามัญ และได้ตั้งเป็นสกุลวงศ์ขึ้นใหม่ คือ



    ๑. ตั้งวงศ์ใหม่ทางสายาราชสกุลจักรีวงศ์
    ราชสกุลพระเจ้ากรุงธนบุรี สืบสายทางฝ่ายหญิงที่ไปเป็นพะรสนม เจ้าจอมมารดาของพระเจ้าแผ่นดิน พระมหาอุปราชวังหน้า กรมพระราชวังหลัง และสายพระเจ้าหลานเธอแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์แล้วตั้งเป็นราชสกุลจักรีวงศ์ขึ้นใหม่รวม ๑๗ วงศ์ คือ

    ๑.๑ วงศ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา สืบสายจากสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงสำลีวรรณ พระราชธิดามวของพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งเป็นพระราชมารดาของเจ้าฟ้าชายพงษ์อิศเรศร์ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช พระราชโอรสของกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ วังหน้าในรัชกาลที่ ๒ เป็นต้นราชสกุล

    ๑.๒ วงศ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา สืบสายจากสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบัญจปาปี พระราชธิดาของพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งเป็นพระชายาของเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ (ต้นราชสกุล) พระราชโอรสสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ

    ๑.๓ วงศ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา สืบสายจากเจ้าหญิงมะเดื่อ พระธิดาของสมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ ซึ่งเป็นพระชายาพระองค์เจ้าชายปาน กรมหมื่นนราเทเวศร์(ต้นราชสกุล) พระราชโอรสของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข(วังหลัง)

    ๑.๔ วงศ์ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา สืบสายจากเจ้าหญิงสาลีน้องสาวของเจ้าหญิงมะเดื่อ พระธิดาของสมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ ซึ่งเป็นพระมารดาของพระองค์เจ้าชายแตง กรมหลวงเสนีบริรักษ์ (ต้นราชสกุล) พระราชโอรสของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง)

    ๑.๕ วงศ์ กุญชร ณ อยุธยา สืบสายจากคุณหญิงแสง หรือ หม่อมเจ้าแสง พระราชธิดาของพระองค์เจ้าชายอัมพวัน ซึ่งเป็นพระชายาของพระองค์เจ้าชายกุญชร กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ (ต้นราชสกุล) พระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒

    ๑.๖ วงศ์ ชุมสาย ณ อยุธยา สืบสายจากคุหญิงพึ่ง หรือหม่อมเจ้าหญิงพึ่ง น้องสาวของหม่อมเจ้าหญิงแสง พระธิดาของพระองค์เจ้าอัมพวัน ซึ่งไปเป็นพระชายาของพระองค์เจ้าชายชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรม(ต้นราชสกุล) พระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓

    ๑.๗ วงศ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยาสืบสายจากคุณหญิงพลับ หรือหม่อมเจ้าหญิงหลับ พระธิดาของเจ้าฟ้าชายทัศพงศ์ ซึ่งไปเป็นพระชายาของพระองค์เจ้าชายลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี(ต้นราชสกุล) พระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓

    ๑.๘ วงศ์ สุริยกุล ณ อยุธยา สืบสายจากคุณหญิงทับ หรือ หม่อมเจ้าหญิงทับ พระธิดาของสมเด็จเจ้าฟ้าชายศิลา ซึ่งไปเป็นพระชายาของพระองค์เจ้าชายสุริยา กรมพระรามอิศเรศ(ต้นราชสกุล) พระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ รัชกาลที่ ๑

    ๑.๙ วงศ์ นพวงศ์ ณ อยุธยา สืบสายจากคุณหญิงน้อย หรือหม่อมเจ้าหญิงน้อย พระธิดาของสมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศไภย ซึ่งไปเป็นพระสนมพระองค์แรกของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ อันมีนามว่า เจ้าจอมมารดาน้อย นั่นเอง ทรงเป็นพระมารดาของพระองค์เจ้าชายนพวงศ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ(ต้นราชสกุล) พระราชโอรสองค์ที่ ๑ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔

    ๑.๑๐ วงศ์ สุประดิษฐ์ ณ อยุธยา สืบสายจากคุณหญิงน้อยหรือเจ้าจอมมารดาน้อย เช่นกัน โดยพระองค์เจ้าชายสุประดิษฐ์ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร ผู้เป็นต้นราชสกุล สุประดิษฐ์ ณ อยุธยา ทรงเป็นพระอนุชาของพระองค์เจ้าชายนพวงศ์ และเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๒ ของเจ้าจอมมารดาน้อย

    ๑.๑๑ วงศ์ ศรีธวัช ณ อยุธยา สืบสายจากเจ้าจอมมารดาบัว ธิดาองค์ที่ ๓ ของเจ้าพระยานครน้อย ซึ่งไปเป็นพระสนมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เป็นเจ้าจอมมารดาของพระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย กรมขุนสิริธัชสังกาศ ผู้เป็นต้นราชสกุล ศรีธวัช ณ อยุธยา พระราชโอรสองค์ที่ ๑๓ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯน็น


    ๑.๑๒ วงศ์ วัฒนวงศ์ ณ อยุธยา สืบสายจากเจ้าจอมมารดาบัว เช่นกัน โดยพระองค์เจ้าชายวัฒนานุวงศ์ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ ต้นราชสกุล วัฒนวงศ์ ณ อยุธยา พระราชโอรสองค์ที่ ๖๓ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ ๔

    ๑.๑๓ วงศ์ ทองใหญ่ ณ อยุธยา สืบสายจากเจ้าจอมมารดาสังวาล ในรัชกาลที่ ๔ ซึ่งเป็นธิดาของนายศัลวิไชย(ทองคำ ณ ราชสีมา) บุตรชายของเจ้าพระยานครราชสีมา(ทองอินทร์) พระมารดาของพระองค์เจ้ชายทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ต้นราชสกุล ทองใหญ่ ณ อยุธยา พระราชโอรสองค์ที่ ๒๕ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ และองค์ที่ ๑ ของเจ้าจอมมารดาสังวาล

    ๑.๑๔ วงศ์ ทองแถม ณ อยุธยา สืบสายจากเจ้าจอมมารดาสังวาล ในรัชกาลที่ ๔ เช่นกัน โดยพระองค์เจ้าชายทองแถมถวัยวงศ์ กรมหลวงสรรพศาสตร์ศุภกิจ ต้นราชสกุล ทองแถม ณ อยุธยา ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓๔ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ และองค์ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาสังวาล

    ๑.๑๕ วงศ์ ภาณุมาศ ณ อยุธยา สืบสายจากเจ้าจอมมารดาเอี่ยม ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว วังหน้ารัชกาลที่ ๔ ซึ่งเจ้าจอมมารดาเอี่ยมนี้ เป็นธิดาของคุณชายเกษม หรือหม่อมเจ้าเกษม มีบรรดาศักดิ์เป็นที่หลวงมหาวิสูตรโกษา พระโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้าชายนเรนทรราชกุมาร เจ้าจอมมารดาเอี่ยม เป็นพระมารดาของพระองค์เจ้าชายภาณุมาศ ณ อยุธยา พระราชโอรสองค์ที่ ๑๘ ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

    ๑.๑๖ วงศ์ กาญจนวิชัย ณ อยุธยา สืบสายจากเจ้าจอมมารดาปริกเล็ก ในกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ วังหน้ารัชกาลที่ ๕ ซึ่งเจ้าจอมผู้นี้เป็นธิดาของคุณหญิงเวก พระธิดาสมเด็จเจ้าฟ้าทัศพงศ์ เจ้าจอมมารดาปริกเล็กเป็นพระมารดาของพระองค์เจ้าชายกาญจโนภาศรัศมี กรมหมื่นชาญชัยบวรยศ ต้นราชสกุล กาญจนวิชัย ณ อยุธยา พระราชโอรสองค์ที่ ๕ ของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้ารัชกาลที่ ๕

    ๑.๑๗ วงศ์ จรูญโรจน์ ณ อยุธยา สืบสายจากเจ้าจอมมารดาช้อย ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว วังหน้ารัชกาลที่ ๔ ซึ่งเป็นธิดาของพระยานครราชสีมา(เมฆ ณ ราชสีมา) ผู้เป็นบุตรของเจ้าพระยากำแหงสงคราม(ทองอินทร์ ณ ราชสีมา) เจ้าจอมมารดาช้อย เป็นพระมารดาของพระองค์เจ้าชายจรูญโรจน์เรืองศรี กรมหมื่นจรัสพรปฏิญาณ ต้นราชสกุล จรูญโรจน์ ณ อยุธยา พระราชโอรสองค์ที่ ๕๓ ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว วังหน้ารัชกาลที่ ๔


    ๒. เกี่ยวพันชั้ยใกล้ชิดกับสกุลอื่น
    ราชสกุลพระเจ้ากรุงธนบุรี ฝ่ายสายหญิงที่นับเนื่องว่าเกี่ยวพันชั้นใกล้ชิดกับสกุลอื่นนับเอาชั้นต้นๆ สกุลวงศ์เป็นใหญ่ ส่วนชั้นหลังๆ ผู้เป็นต้นวงศ์อันนับเนื่องว่าเป็นสะใภ้โดยตรงแล้ว มิได้นับรวมอยู่ในประเภทนี้

    สกุลอื่นที่เกี่ยวพันทางสายหญิงของราชวงศ์กรุงธนบุรีนี้ จากหลักฐานทางหนังสือลำดับสกุลเชื้อสายของรพระวงศ์กรุงธนบุรี ของกรมศิลปากรกล่าวไว้ว่ามีอยู่ ๒๐ สกุล คือ

    ๒.๑ ราชสกุล เทพหัสดิน ณ อยุธยา

    ๒.๒ ราชสกุล กมลาสน์ ณ อยุธยา

    ๒.๓ สกุล รัตนโกศ

    ๒.๔ สกุล แสง-ชูโต

    ๒.๕ สกุล รัตนภาณุ

    ๒.๖ สกุล ธรรมสโรช

    ๒.๗ สกุล วิภาตศิลปิน

    ๒.๘ สกุล ศรีเพ็ญ

    ๒.๙ สกุล ศรียาภัย

    ๒.๑๐ สกุล บุนนาค

    ๒.๑๑ สกุล บุรานนท์

    ๒.๑๒ สกุล สุวงศ์

    ๒.๑๓ สกุล ลักษณสุต

    ๒.๑๔ สกุล สุขกสิกร

    ๒.๑๕ สกุล บุรณศิริ

    ๒.๑๖ สกุล แดงสว่าง

    ๒.๑๗ สกุล แสงต่าย

    ๒.๑๘ สกุล มิตรกูล

    ๒.๑๙ สกุล จุลดิลก

    ๒.๒๐ สกุล สายะศิลปี


    ...........................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 00126875.JPG
      00126875.JPG
      ขนาดไฟล์:
      59.9 KB
      เปิดดู:
      18,476
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...