ศึกษาประวัติ-ชมประกวดพระ เที่ยวถิ่นธรรม"พระธาตุนาดูน"

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 31 มกราคม 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,173
    [​IMG]พระธาตุนาดูน นับได้ว่าเป็นพุทธสถานที่มีความศักดิ์สิทธิ์และเป็นศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนาในภูมิภาคนี้ จนได้ชื่อว่าเป็น "พุทธมณฑลแห่งอีสาน" และสถานที่ตรงนี้เอง เป็นจุดกำเนิดพระเครื่องดัง "พระกรุนาดูน"

    จากหลักฐานทางโบราณคดีปรากฏว่า เมื่อนครจัมปาศรีเจริญถึงขีดสุด และเริ่มเสื่อมโทรมจากการรุกรานของขอมนั้น ได้มีการนำเอาลัทธิศวเวทของพราหมณ์เข้ามาเผยแพร่ มีการสร้างกู่เทวรูปในลัทธิความเชื่อของศาสนาพราหมณ์หลายแห่ง ดังปรากฏอยู่ในจังหวัดมหาสารคามปัจจุบัน

    พระอริยานุวัตร เขมจารีเถระ ยังได้ค้นพบเอกสารที่บอกถึงหลักฐานความเป็นมาของนครจัมปาศรีไว้ว่า ประมาณปี พ.ศ.2437 มีพรานป่าชาวอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ 5 คน คือนายล่ามแขก นายหมื่นย้าย นายขุนทะเนิน นายจอก และนายอ๊อด ขี่ข้างเข้ามาล่าเนื้อมาพบน้ำดูน (น้ำพุ) มีทำเลดีสามารถที่จะตั้งบ้านเรือนอยู่ได้ จึงรวมกันตั้งบ้านเรือนขึ้นเรียกว่า "หนองนาดูน" ภายหลังมีคนจากอำเภอเมืองสุวรรณภูมิมาพบเข้า จึงได้ร่วมกันสร้างบ้านเรือนอยู่ด้วยอีก และเรียกว่า "บ้านโกทา" นาหาด ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 ทางราชการได้ประกาศจัดตั้งอำเภอนาดูน นครจัมปาศรีในอดีตจึงเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอนาดูนในปัจจุบัน
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    การค้นพบหลักฐานสำคัญ จากการศึกษาสภาพภูมิประเทศของนครจัมปาศรี ทำให้สามารถสันนิษฐานได้ว่าลักษณะของนครจัมปาศรีนั้นเป็นรูปไข่ยาวจากเหนือจรดใต้ พื้นที่เป็นที่สูงๆ ต่ำๆ มีหนองน้ำขาดตอนเป็นห้วงๆ อยู่มากมาย ชาวบ้านเรียกหนองน้ำเหล่านี้ว่า "กุด" ได้แก่ กุดทอง กุดฮี กุดลอบ กุดหล่ม กุดนาม่อง กุดอ้อ หนองกุดบอน กุดสระบัว กุดฟ้าฮ่วน เป็นต้น

    หนองน้ำเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ จากการขุดแต่งพบว่าชาวนครจัมปาศรี ขุดกุดเหล่านี้ขึ้น เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน และเป็นคูเมืองเพื่อป้องกันข้าศึกศัตรู ในบริเวณที่ขุดแต่งนี้พบเศษกระเบื้องดินเผา หม้อ ไห แตกกระจายเกลื่อนอยู่ทั่วไปด้วย

    นครจัมปาศรีนั้นนับเป็นเมือง ในสมัยทวาราวดี ตัวเมืองเป็นรูปไข่ กำแพงเมืองประกอบด้วยเชิงเทิน 2 ชั้น มีคูน้ำอยู่ตรงกลาง กว้างประมาณ 20 เมตร เชิงเทิน ดินสูงประมาณ 3 เมตร กว้างประมาณ 6 เมตร ภายในอาณาเขตของนครจัมปาศรีพบเจดีย์จำนวน 25 องค์ นอกจากนี้แล้วภายในบริเวณนครจัมปาศรียังพบโบราณสถานและโบราณวัตถุจำนวนมาก <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=2><TBODY><TR bgColor=#ffffe8><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ลำดับการขุดพบได้ดังนี้ พ.ศ.2511 ขุดพบพระพิมพ์ดินเผาประมาณ 3 กล่องกระดาษ พระพุทธรูปอีก 108 องค์ พระพุทธรูปนี้เรียกว่า "พระมงคล" กับโบราณวัตถุจำนวนมาก และวัตถุโบราณมีรูปลักษณะคล้ายนอตสีเขียว เหมือนหยกทำเป็น 78 เหลี่ยม และ 16 เหลี่ยม ส่วนยอดทำเป็นลักษณะกลมๆ คล้ายขันครอบ บริเวณซากโบราณสถานริมฝั่งห้วยนาดูนซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของบ้านหนองโง้ง ต.นาดูน อ.นาดูน จ.มหาสารคาม

    เพื่อเป็นการอนุรักษ์พระเครื่องพระบูชาของกรุนาดูน ในวันอาทิตย์ที่ 19 ก.พ. 2549 ทางจังหวัดมหาสารคาม จะจัดงานนิทรรศการการอนุรักษ์พระบูชา พระเครื่อง เหรียญคณาจารย์ และเครื่องของขลังขึ้น ที่โรงแรมตักสิลา จ.มหาสารคาม โดยมีนายชวน ศิรินันท์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานจัดงาน นายฐิติรัตน์ ประสพสันต์วัฒนา นายกเทศมนตรี เทศบาลมหาสารคาม เป็นประธานดำเนินงาน

    ชิงรางวัลชนะเลิศยอดเยี่ยมทุกประเภท พระพิมพ์ปางปฐมเทศนา นั่งเมือง กรุพระธาตุนาดูน ผู้ได้รับรางวัลประสงค์จะขาย ทางคณะผู้จัดงานรับซื้อคืนในราคาองค์ละ 150,000 บาท โดยวันชัย สุพรรณ นักจัดรายการโทรทัศน์ วิทยุชื่อดัง รางวัลชนะเลิศแต่ละรายการเป็นหนังสือพระยอดนิยมพระภาคอีสาน ชุดวัฒนธรรมทวาราวดี มูลค่า 1,500 บาท

    ส่วนรางวัลที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ได้รับแผ่นซีดีย้อนตำนานหลวงพ่อทวด จัดสร้างโดยบริษัท ท็อปไรส์ จำกัด โดย พยัพ คำพันธุ์ นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย

    นักสะสมวัตถุมงคล และนักล่าโล่รางวัลเตรียมตัวไว้ล่วงหน้า
     

แชร์หน้านี้

Loading...