"ศากยธิดาโลก" เปิดเวทีนานาชาติในไทย ถก-ช่วยเหลือสตรีพุทธ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 10 มิถุนายน 2011.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    โดย พนิดา สงวนเสรีวานิช



    <table align="left" border="0" cellpadding="1" cellspacing="5" width="20%"> <tbody> <tr bgcolor="#400040"> <td>[​IMG]
    </td></tr></tbody></table>อาทิตย์นี้แล้วที่จะเริ่มการประชุมครั้งใหญ่ "การประชุมนานาชาติศากยธิดาโลก ครั้งที่ 12" ที่เสถียรธรรมสถาน

    ไม่ บ่อยนักที่จะมีเวทีให้ผู้หญิงชาวพุทธจากกว่า 30 ประเทศ มาพบปะแลกเปลี่ยนวิธีการทำงานและการปฏิบัติ โดยมีพุทธศาสนาเป็นแกนหลัก การประชุมครั้งนี้มีทั้งนักบวช นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติธรรมจากสายมหายาน วัชรยานและเถรวาท จะมารวมตัวกันเพื่อให้เกิดการทำงานในลักษณะเครือข่าย เพื่อนำแนวทางดีๆ จากเวทีการประชุมและเวิร์ก ช็อปไปปรับใช้ในประเทศของตน

    "ศากยธิดา" คือธิดาของ "พระศากยะ" ซึ่งก็คือ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    "การ ประชุมนานาชาติศากยธิดาโลก" (Sakyadhita International Conference on Buddhist Women) เป็นการประชุมเพื่อพูดคุยหาวิธีการช่วยเหลือสตรีที่ด้อยโอกาสจากทั่วโลก ในทุกชาติ ทุกภาษา ทุกศาสนา โดยองค์กรที่ไม่แสวงหาประโยชน์ที่ชื่อว่า "องค์กรนานาชาติศากยธิดา" ที่เกิดจากการรวมตัวของผู้หญิงกลุ่มหนึ่ง โดยการริเริ่ม ของสตรีชาวอเมริกันผู้หนึ่ง เมื่อ 24 ปีก่อน "ภิกษุณี เล็กเช่ โทโม"

    ภิกษุณี โทโม อดีตประธานผู้ก่อตั้ง "องค์กรนานาชาติศากยธิดา" เล่าถึงการทำงานของ "ศากยธิดา" ว่า ศากยธิดาก่อตั้งขึ้นโดยการรวมตัวของนักบวชหญิง 5-6 คน ด้วยเห็นว่าสตรีเป็นจำนวนมากในอินเดียเป็นกลุ่มด้อยโอกาส ทั้งอดอยาก ยากจน ขาดโอกาสการศึกษา ฯลฯ

    "ศากยธิดาเป็นการทำงานร่วมกันของอุบาสิกาและ แม่ชี เราตั้งใจไว้ตั้งแต่แรกที่จะรวมทุกคนเข้ามาทำงาน เพื่อหาทางช่วยเหลือคนที่ด้อยโอกาส ซึ่งตอนแรกมุ่งเป้าไปที่ผู้หญิงในพุทธศาสนา ซึ่งถ้าเรามีพลังมากพอเราจะสามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้

    ปัจจุบันศากยธิดามีสมาชิกอยู่ในประเทศต่างๆ ประมาณ 40 ประเทศ มีทั้งแม่ชีภิกษุณี ภิกษุ อุบาสก อุบาสิกา

    "การ ที่เรามีเครือข่ายทำงานอยู่ในหลายๆ ประเทศ ทำให้เราสามารถจัดทำโครงการต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้หญิงได้รับสิทธิได้รับโอกาสมากขึ้น ทั้งเรื่องของการศึกษา ที่พักสำหรับ ผู้หญิง ช่วยเหลือผู้หญิงที่เป็นซิงเกิลมัม ฯลฯ และยังทำงานวิจัยเกี่ยวกับพุทธศาสนิกชนสตรี ประวัติศาสตร์พุทธศาสนา เรื่องที่เกี่ยวกับแม่ชี เราต้องการที่จะทำงานวิจัยที่ครอบคลุมเกี่ยวกับผู้หญิงในประวัติศาสตร์ เพราะที่ผ่านมาเราไม่มีข้อมูลอะไรเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้เลย ปัจจุบันเรากำลังทำวิจัยเกี่ยวกับผู้หญิงในประวัติศาสตร์พุทธศาสนา

    เรา พยายามที่จะทำวิจัยเกี่ยวกับ "พระวินัย" เพราะนักบวชสตรีจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับพระวินัยให้มากกว่านี้ โดยจะมีการพิมพ์ข้อสรุปและสิ่งที่ได้จากการพูดคุยในการประชุมทำเป็นอีบุ๊ก เป็นวิธีที่ผู้หญิงจะได้ใช้สิทธิของเธอผ่านการประชุม เพราะในการประชุมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ผู้พูดมักจะเป็นบุรุษ เราไม่มีโอกาสที่จะพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องของเราซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเรา" ภิกษุณีโทโมเล่าให้ฟัง <table align="right" border="0" cellpadding="1" cellspacing="5" width="20%"> <tbody> <tr bgcolor="#400040"> <td>[​IMG]
    แม่ชีศันสนีย์ ภิกษุณีโทโม ดร.ชาง และสมาชิกศากยธิดา

    </td></tr></tbody></table>

    ขณะ เดียวกันเพื่อเป็นการขยายเครือข่ายการทำงานให้กว้างขึ้น การจัดการประชุมศากยธิดาโลกที่เสถียรธรรมสถาน ระหว่างวันที่ 12-18 มิถุนายน 2554 เปิดให้ทุกคนได้เข้าร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ทั้งชายหญิง นักบวช ฆราวาส โดยไม่เกี่ยงเชื้อชาติและศาสนา ภายใต้แนวคิดหลักคือ "มรรคาสู่การหลุดพ้น"

    อดีต ประธานผู้ก่อตั้ง "องค์กรนานาชาติศากยธิดา" เล่าถึงสถานภาพของผู้หญิงในปัจจุบันว่า ผู้หญิงมีโอกาสทางด้านการศึกษามากขึ้น ได้รับการปฏิบัติที่ดีขึ้น มีโอกาสมากขึ้นในเรื่องของการบวช เป็นสามเณรี เป็นภิกษุณี

    "ตอน นี้ที่ศรีลังกามีภิกษุณีมากถึง 1,000 รูปแล้ว ขณะที่ก่อนปี พ.ศ.2530 ไม่มีแม้ แต่คนเดียว ประชาชนไม่เคยได้ยินคำว่า ′ภิกษุณี′ ด้วยซ้ำ" ภิกษุณีโทโมเล่า

    เช่น เดียวกับสถานภาพของนักบวชสตรีในประเทศไทย ท่านบอกว่า สถานภาพของแม่ชีในประเทศไทยดีขึ้นมาก เมื่อครั้งที่ฉันมาเมืองไทยครั้งแรก ในปี พ.ศ.2508 สถานภาพการศึกษาของแม่ชีไทยจัดว่ายังไม่ค่อยดี พวกเธอพักอยู่ด้านหลังของโบสถ์ ไม่ค่อยมีอาหารให้รับประทาน แต่ตอนนี้พวกเธอมีโอกาสด้านการศึกษามากขึ้น อยู่กันเป็นชุมชน เช่นที่เสถียรธรรมสถานหรือที่เชียงใหม่ก็มีหลายแห่ง บางรูปจบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย บางรูปเป็นดอกเตอร์ สอนอยู่ในมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย

    "เราเคยจัดการประชุมครั้งแรกที่ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2534 ที่มหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ การที่เราเลือกประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมเป็นครั้งที่ 2 เพราะต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีที่เกิดขึ้นหลังจาก 20 ปีผ่านไป และเราก็ได้เห็นแม่ชีมากขึ้น เห็นแม่ชีอายุน้อย มีแม่ชีที่มีการศึกษามีมากขึ้น เห็นโปรแกรมการศึกษาทางด้านพุทธศาสนามากขึ้นที่ก่อตั้งขึ้นโดยแม่ชี ช่วยให้ผู้หญิงมีความเข้าใจในเรื่องธรรมะมากยิ่งขึ้น"

    ดร.ยู หลิง ชาง ประธานองค์กรนานา ชาติศากยธิดาคนปัจจุบัน ซึ่งทำหน้าที่เป็นฝ่ายประสานของผู้หญิงในพุทธศาสนาในระดับโลก อธิบายเสริมว่า

    ใน อดีตเราไม่ค่อยเห็นผู้หญิงในพุทธศาสนา เพราะผู้หญิงไม่มีเงินมากมาย ไม่มีการติดต่อกันเป็นเครือข่าย แต่เมื่อมีศากยธิดา ทำให้ผู้หญิงจากที่ต่างๆ ได้เข้ามาร่วมกันประชุมหารือเพื่อแก้ไขปัญหาด้วยกัน อย่างที่อินโดนีเซีย เมื่อก่อนก็ไม่มีใครทราบว่ามีสตรีที่นับถือพุทธมากถึงล้านคน ไม่มีใครรู้ และไม่มีใครเคยทำวิจัยเกี่ยวกับผู้หญิงในพุทธศาสนาที่อินโดนีเซีย

    "ศากย ธิดาเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร การเดินทางไปประชุมแต่ละครั้งสมาชิกต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง ซึ่งสมาชิกมีช่วยสนับ สนุนต่อปีนิดหน่อย มีสำนักงานอยู่บนไซเบอร์สเปซ <table align="left" border="0" cellpadding="1" cellspacing="5" width="20%"> <tbody> <tr bgcolor="#400040"> <td>[​IMG]
    </td></tr></tbody></table>

    การทำงานเป็นเครือข่ายช่วยทำให้พุทธศาสนาเผยแผ่ออกไป ทำให้ศากยธิดาเติบโตขึ้น และทำงานได้มากขึ้น ตอนนี้เราพัฒนาเครื่องมือช่วยแปลสำหรับใช้กับงานวิจัยจากทั่วโลก ทำให้เราได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยศากยธิดาจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ก้าวเข้ามาให้ความร่วมมือ" ประธานศากยธิดาคนปัจจุบัน บอกและว่า

    "จากการศึกษาเราพบว่า 99% ของสตรีพุทธบนโลกนี้อยู่ที่เอเชีย แล้วเราก็พบว่า 99% ของสตรีในพุทธศาสนาเป็นอุบาสิกา เราจึงอยากจะเป็นตัวแทนของอุบาสิกาช่วยเหลือผู้หญิงในพุทธศาสนาให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้

    ฉันคิดว่านี่เป็นโอกาสดีที่จะได้พบกับคนในพุทธ ศาสนาจากประเทศต่างๆ ที่กรุงเทพฯ เป็นโอกาสในการเชื่อมโยงเครือข่าย จึงอยากจะเชิญชวนคนไทยทุกคน รวมทั้งพระและฆราวาส เข้ามาร่วมในการประชุมครั้งนี้ เข้ามาเรียนรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น"

    ทางด้าน แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ผู้ก่อตั้งเสถียรธรรมสถาน บอกว่า การประชุมครั้งนี้ นักบวชสตรีชาวพุทธที่เดินทางมาส่วนใหญ่เป็นคนทำงานจริงทั้งสิ้น พวกเธอต้อง การนำธรรมะออกไปช่วยโลก ที่ไหนมีทุกข์ ที่นั่นต้องนำธรรมะเข้าไป เสถียรธรรมสถานเป็นเจ้าภาพการประชุมโดยถือเอาโอกาสนี้ร่วมฉลอง "พุทธชยันตี" 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    "แม่ ต้องการให้นักบวชหญิงจากพื้นที่ชายขอบทั่วโลกมีโอกาสได้มาร่วมประชุมด้วย ไม่ว่าจะอยู่ในถ้ำ ในป่า ชุมชนหรือวัด มาร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดและสิ่งที่ทำ เราไม่ได้มาถกเถียงกัน ใครทำเรื่องอะไร ก็นำเสนอออกมา เพื่อแบ่งปันวิธีคิดและการทำงานทั้งในแง่มุมวิชาการ และการปฏิบัติที่นำธรรมะไปช่วยสังคม"

    แม่ชีศันสนีย์บอกว่า บนเวทีแห่งนี้ผู้หญิงไม่ได้ต้องการเรียกร้องอะไร เพียงแต่ต้องการนำเสนอให้เห็นศักยภาพของสตรีในธรรม โดยเฉพาะศักยภาพในการช่วยให้คนพ้นทุกข์ อันเป็นเรื่องที่ชาวพุทธทั้งหลายควรช่วยกันสนับสนุน

    "เราเชื่อว่าแนว ทางวิชาการจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่มีการปฏิบัติ เวทีวิชาการครั้งนี้จะเกื้อหนุนการปฏิบัติ เพื่อสร้างกระบวนการทำงานที่ยั่งยืน รวบรวมองค์ความรู้สร้างเป็นระบบการศึกษา นำไปสู่การสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีจิตอาสา"

    สำหรับการประชุมนานาชาติ ศากยธิดาเพื่อพุทธสาวิกาครั้งนี้ จะมีผู้นำจิตวิญญาณสตรีชาวพุทธที่สำคัญจากหลายประเทศมา สนทนาธรรมและแลกเปลี่ยนความคิดในการทำงาน อาทิ สามเณรีเทนซิน พัลโม นักบวชชาวตะวันตกคนแรกๆ ที่บวชในอินเดีย ผู้ก่อตั้งโรงเรียนสามเณรี ทำให้สามเณรีและอุบาสิกาทิเบตสามารถศึกษาธรรมได้เหมือนภิกษุสงฆ์และสามเณร จะนำเสนอเรื่อง "ปุจฉา-เชื้อสายในพุทธศาสนาทิเบต : จากมุมมองของผู้หญิงคนหนึ่ง" ส่วน ภิกษุณีชุนโด อาโอยาม่า ผู้เขียนหนังสือ "งามอย่างเซน" มีชื่อเสียงมากในประเทศญี่ปุ่น จะมาเป็นองค์ปาฐกในครั้งนี้

    นอก จากเวทีเสวนาหลากหลายหัวข้อ ยังมีเวิร์กช็อปที่น่าสนใจทุกวัน ตั้งแต่เวลา 15.30-17.30 น. เช่น หัตถโยคะ, การทำสมาธิด้วยเสียงเพลง, รับมือกับความขัดแย้ง สู่ผู้นำสันติ ภาพ, ฟังอย่างมีสติ, ธรรมศาลา ธรรมชาติบำบัด, โยคะแห่งสติ การปลดปล่อยกายและจิตให้เป็นอิสระ, อโรคยาศาลา : การเยียวยาผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย, การยุติความ รุนแรงในใจ ฯลฯ

    แวะ ไปร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยนความ คิดเห็น หรือไปฟังเรื่องราวดีๆ จากสตรี นักทำงานระดับหัวกะทิจากทั่วโลก ที่เสถียรธรรมสถาน แล้วจะรู้ว่าโลกนี้กว้างใหญ่ไพศาลกว่าที่คิด



    วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน 2554

    14.00 น. พิธีเปิดการประชุมนานาชาติศากยธิดาเพื่อพุทธสาวิกา ครั้งที่ 12 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเปิดการประชุมและทรงแสดงปาฐกถา

    15.15 น. เวทีเสวนา "พุทธสาวิกาในประเทศไทย" (Buddhist Women of Thailand)

    -สถาบันสงฆ์ไทยกับบทบาทการศึกษาของพุทธสาวิกา โดย พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

    -สถาบันแม่ชีไทย โดย ท่านแม่ชีประทิน ขวัญอ่อน ประธานสถาบันแม่ชีไทย

    -พุทธสาวิกากับการสงเคราะห์โลก โดย ท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ผู้ก่อตั้งเสถียรธรรมสถาน และสาวิกาสิกขาลัย

    -พุทธสาวิกาในวิถีแห่งการปฏิบัติ โดย ท่านแม่ชีอารีย์ เกียรติทับทิว สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีเขาภูหลวง

    17.15 น. เวทีเสวนา "พุทธสาวิกาของโลก" (Buddhist Women of the World)

    -พุทธสาวิกาผู้อาจหาญแห่งอินเดียโบราณ โดย Rupali Mokashi

    -จุดเปลี่ยนของนักบวชสตรีแห่งศรีลังกา : จากพิธีกรรมทางศาสนาสู่พลังแห่งสังคม โดย Hema Goonatilake

    -ภาพ ลักษณ์ของพุทธสาวิกาแห่งชุมชน Tangerang (ตังแงรั่ง) โดย Venita Tanusuwito พุทธสาวิกากับงานขยายเครือข่ายศากยธิดา โดย Thich Nu Nhu Nguyet

    -ศักดินากับผลกระทบต่ออุบาสิกาในญี่ปุ่น โดย โดย Aiko Mizuno

    -ศาสนาพุทธในสาธารณรัฐบูร์ยาต รัสเซีย โดย Ayakova Zhargal

    18.45 น. จบการประชุมวันแรก



    หมาย เหตุ - รายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมและเวิร์กช็อป ตลอดจนบริจาคเพื่อร่วมบุญการทำงานของนักบวชสตรีและสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับ สตรีชาวพุทธจากดินแดนชายขอบ ในการมาร่วมประชุมครั้งนี้ สอบถามได้ที่โทร.08-1398-3932 หรือเว็บไซต์ พลังจิต เว็บ พระพุทธศาสนา ธรรมะ พระไตรปิฎก ลึกลับ อภิญญา วิทยาศาสตร์ทางจิต Buddhism Buddhist หรือ www.12thsakyadhitathai.org




    ที่มา"ศากยธิดาโลก" เปิดเวทีนานาชาติในไทย ถก-ช่วยเหลือสตรีพุทธ : มติชนออนไลน์

     
  2. อกนิษฐกา

    อกนิษฐกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    219
    ค่าพลัง:
    +117
    ขณะ เดียวกันเพื่อเป็นการขยายเครือข่ายการทำงานให้กว้างขึ้น การจัดการประชุมศากยธิดาโลกที่เสถียรธรรมสถาน ระหว่างวันที่ 12-18 มิถุนายน 2554 เปิดให้ทุกคนได้เข้าร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ทั้งชายหญิง นักบวช ฆราวาส โดยไม่เกี่ยงเชื้อชาติและศาสนา ภายใต้แนวคิดหลักคือ "มรรคาสู่การหลุดพ้น"

    นำมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันแล้ว นำไปปฏิบัิติให้หลุดพ้นเป็นการส่วนตนด้วย จะโมทนากับแนวคิดหลักคือ "มรรคาสู่การหลุดพ้น"เป็นอย่างสูงเลยครับ ความสุข สงบ สันติ จะได้มีขึ้นในโลกใบนี้อย่างกว้างขวางสืบต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 มิถุนายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...