วิธีเลือกดื่มชาแบบหยิน-หยางกับร่างกาย

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 12 กุมภาพันธ์ 2006.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วิธีเลือกดื่มชาแบบหยิน-หยางกับร่างกาย
    โดย ผู้จัดการออนไลน์ 7 กุมภาพันธ์ 2549 09:59 น.
    http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9490000016663

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย... สายัณห์ เล็กอุทัย

    ใบชา
    ที่นิยมบริโภคเป็นเครื่องดื่มของชาวเอเชีย มีอยู่หลายร้อยชนิดหลายร้อยชื่อ แต่ละชนิด มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป แต่เพื่อง่ายแก่การเข้าใจ เราควรแบ่งการพิจารณาเลือกสรรใบชาแบบหยิน-หยางโดยสังเขปมี 5 ชนิด คือ จากหยินสู่หยาง


    1. ส่วนที่เป็นใบอ่อนสุด (หยินสุด) ของต้นชา อันได้แก่ ใบชาสีเขียว อันเป็นส่วนหยินที่สุด เป็นใบใหม่ล่าสุดจากฤดูใบไม้ผลิที่เพิ่งจะแตกใบอ่อนออกมา มักเรียกว่า ใบชาเขียวหรือภาษาจีนเรียก เหล็ก-ฉิ่ว-เหลก คือสีเขียว เป็นชาที่นิยมดื่มของชาวญี่ปุ่น หรือหากเป็นบ้านเรามักจะเป็นใบชาที่มีกลิ่นหอม รสค่อนข้างหวาน เหมาะสำหรับสตรีหรือคนอายุน้อย หรือผู้เพิ่งเริ่มหัดดื่มชา สรรพคุณเป็นหยิน ให้ความชุ่มคอชื่นใจ ระดับภายนอก ระดับปากกับลิ้นสรรพคุณเป็นยายังน้อยอยู่ เพราะเป็นใบที่อ่อนเยาว์อยู่


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=600>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>2. ส่วนก้านสุดท้ายติด ปลายใบ (Twig) ของใบชาอ่อน เรียก หม้อ-ฉ่า คำว่า หม้อ คือ ส่วนปลายสุด ของใบ ก้านใบชานี้มักจะ นำมาไว้ในพิธีกรรมชงชาของชาวญี่ปุ่น (Tea Ceremony) ก้านชาเล็กๆ ส่วนนี้มีรสและค่ากาเฟอีนต่ำ รสจืด
    ต้มนานกว่าใบชาธรรมดา

    3. ส่วนก้านถัดออกไปที่ ไม่ถูกเด็ด ในการเก็บใบชา จะคงอยู่ค้างปี ค้างฤดูกาลเก็บชา ในแต่ละปีก้านชาที่ไม่ถูกเด็ดไปจะมีอายุเพิ่มขึ้น จึงมีการเรียกชื่อตามอายุฤดูกาล ยิ่งอายุนานปียิ่งมีความหยินลด เพิ่มความหยางขึ้น คนจีนเรียกฮวง-ฉ่า ญี่ปุ่นเรียก บาน-ชา กิ่งชาที่ไม่ถูกผลัดเปลี่ยนยังคงอยู่บนต้นทั้งที่ไม่มีใบชาเหลือติดกิ่ง อยู่แล้วก็ตาม กิ่งชาเหล่านี้มีสรรพคุณเป็นยามีความสมดุลของพลังหยิน-หยาง พอดี เหมาะสำหรับดื่มเป็นประจำได้ ไม่มีกาเฟอีน คนป่วยก็ดื่มได้ช่วยรักษาโรค และมีสรรพคุณชำระมลพิษในร่างกายลงลึกกว่าใบชาที่ชงดื่มธรรมดา
    แต่ฮวง-ฉ่า เหล่านี้ต้องใช้เวลาต้มนานและ สามารถนำมาต้มใหม่ได้อีกหลายครั้ง นักโภชนาการบำบัดนิยมหันมาดื่มกิ่งชาแทน ใบชากันมากขึ้น เรียก บาน-ชา (ทวิค-ชา) น้ำชาจากก้านชา


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=600>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>4. ถัดหยางลึกเข้ามาในลำต้นชา มีกิ่งชาที่เรียก คู-กิ-ฉ่า หรือกิ่งชาอายุ 3 ปีขึ้นไป โดยมากผู้ปลูกชามักไม่สนใจคุณค่าของกิ่งต้นชาส่วนนี้ บางครั้งตัดทิ้ง แต่ในด้านสรรพคุณทางยาสมุนไพรแล้ว ถือว่ามีความหมายของชาสูง เหมาะสำหรับบำบัดอาการโรคภายในที่อยู่ลึกใจกลางแก่นของร่างกาย น้ำชาที่ได้จากกิ่งชาส่วนนี้ไม่มีกาเฟอีน ไม่มีรสชาติเท่าใด แต่ทางด้านการล้างพิษมีสูง และสามารถดื่มเป็นประจำได้ เวลาต้มต้องใช้เวลานานกว่าชาส่วนอื่น การต้มต้องใช้ภาชนะคล้ายหม้อ ตั้งไฟนานๆ เหมาะสำหรับเด็กอายุน้อย หากใส่เกลือเล็กน้อย หรือซีอิ๊วจะช่วยลดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ หรือแพ้พิษอาหารได้ ชาส่วนนี้มีสรรพคุณเป็นด่าง ช่วยชำระล้างเลือดได้ดี ทำให้มีเรี่ยวแรง สดชื่น มีสรรพคุณพิเศษช่วยซ่อมบำรุงกระเพาะปัสสาวะ ช่วยบำรุงกระเพาะลำไส้ให้แข็งแรง ช่วยเจริญ และย่อยอาหาร ดื่มแล้วท้องไม่ผูกเหมือนใบชาธรรมดา

    5. ส่วนลำต้นชา (ปั่ง-ฉ่า) คนญี่ปุ่นเรียก โบะ-ฉา หมายถึง กระบอง ไม้พลอง ไม้ตะพดที่ใช้ตี เป็นส่วนของลำต้นที่หยางที่สุดในหมู่พุ่มต้นชา ที่สามารถนำมาต้มเป็นเครื่องดื่มและเป็นทั้งยา สมุนไพร ช่วยบรรเทาโรคต่างๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคบริเวณส่วนล่างลำตัวของร่างกายและส่วนเท้า เนื่องจากลำต้นชามีความเป็นหยาง มากกว่าส่วนอื่นจึงไม่มีปัจจัยหยินหรือกาเฟอีนใดๆ เลย ปั่ง-ฉ่านี้เป็นลำต้นชาที่ต้องนำมาต้มแทนการชงลวกด้วยน้ำร้อน ทั้งนี้เพราะความหยางที่อัดแน่นจึงต้องต้มนาน และใช้ไฟแรงกว่าปกติ เมื่อใช้แล้วสามารถนำกลับมาต้มอีกได้ถึง 2-3 ครั้ง สำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หายเป็นเวลานานๆ การใช้ลำต้นของชามาต้มเป็นยา นั้นเคยเป็นที่นิยมของคนในสมัยโบราณ แต่ปัจจุบันคนมักนึกว่าใบชาเท่านั้นที่เหมาะสำหรับดื่ม แต่ที่จริงแล้วสรรพคุณของชานั้นแฝงด้วย คุณค่าอีกมากมายต่อร่างกายที่ฝากอยู่ในกิ่ง ก้านลำต้นต่างๆ ที่ถูกคนมองข้ามและยังมิได้ ถูกนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์เท่าที่ควร เฉพาะ ผู้สนใจสมุนไพรชาวจีน ญี่ปุ่นบางกลุ่มเท่านั้น ที่เห็นคุณค่าและนิยมหันมาดื่มชา ส่วนกิ่งก้านแทนใบ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...