ฤทธิ์ หรือ พลังจิต

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย matakalee, 25 มิถุนายน 2008.

  1. matakalee

    matakalee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +367
    [​IMG]
    ฤทธิ์

    ที่มา: หนังสือ " พลังจิต ประสาน พลังพีรามิด แก้วิกฤตสุขภาพ" เรียบเรียงโดย คุณเกียรติศักดิ์ แสงสุวรรณ


    <!-- /editable --><!-- /wrapper --><!-- /header -->ทักษะทางจิตที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานนั้น ถ้าเราสังเกตดูจะพบว่าเกิดขึ้นแทบทุกขั้นตอนของการฝึก เพราะทุกขั้นตอนของการฝึกก็จะฝึกทักษะเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทักษะดังกล่าวก็คือ ทักษะในการแยกระดับพลังงานที่ต่างกันออกจากกัน รวมไปถึงทักษะในการแยกจิตออกจากพลังงานต่างๆเหล่านั้น

    ซึ่งทักษะเช่นนี้เกิดขึ้นตั้งแต่การฝึกในขั้นสมถะที่ผู้ปฏิบัติต้องฝึกแยกให้เห็นถึงระดับความสงบในภาวะของรูปฌานและอรูปฌานในระดับต่างๆ ซึ่งภาวะของฌานแต่ละระดับก็จะมีระดับพลังงานไม่เท่ากันและมีลักษณะไม่เหมือนกันด้วย ต่อมาเมื่อฝึกในขั้นวิปัสสนาก็เป็นการฝึกแยกจิตออกจากรูปและนาม จนจิตสามารถหลุดพ้นออกไปจากรูปและนามได้ กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือเป็นทักษะการแยกจิตออกจากสิ่งที่เป็นทุกข์ตั้งแต่สิ่งเป็นทุกข์ที่หยาบจนถึงสิ่งเป็นทุกข์ที่ละเอียด จนในที่สุดไม่เหลืออะไรให้แยกอีก

    ไม่มีสิ่งที่จิตไปยึดเกาะอีก จนจิตพ้นไปจากความทุกข์ทั้งมวล ยิ่งแยกได้มาก ทักษะความชำนาญก็ยิ่งมาก ผลพลอยได้ก็คือ เมื่อแยกจิตออกจากสิ่งใดได้ก็ทำให้รู้ถึงธรรมชาติของสิ่งนั้น ตลอดทั้งองค์ประกอบและความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในลักษณะต่างๆ ของแต่ละสิ่งที่แยกออกมา เมื่อรู้ถึงวิธีการแยก และรู้องค์ประกอบของรูปและนาม หรือสสารและพลังงานในแต่ละชนิดแล้ว ความรู้ที่เกิดตามมาก็คือ รู้ที่จะประกอบรูปและนาม หรือสสารและพลังงาน กลับเข้าไปใหม่ ทั้งประกอบแบบธรรมดา หรือประกอบในทางลัด เมื่อฝึกฝนจนชำนาญก็จะเกิดทักษะในการประกอบพลังงานชนิดต่างๆเข้าด้วยกัน ทักษะในการประกอบรูปและนามเข้าด้วยกันนี้ โดยเฉพาะการประกอบในทางลัด ในทางพุทธเรียกว่า การสร้าง"ฤทธิ์" ยิ่งเป็นทักษะระดับสูงจะถึงขั้นใช้พลังจิตเปลี่ยนสสารเป็นพลังงาน เปลี่ยนพลังงานเป็นสสารได้

    การแยกและการประกอบนี้ ถ้าจะกล่าวให้เข้าใจมากขึ้นก็สามารถกล่าวเปรียบกับการที่ถ้าเราเป็นนักเคมี หรือ เภสัชกร ทักษะสำคัญที่ต้องเป็นก็คือทักษะในการสกัดหรือแยกสาร เมื่อได้พืชสมุนไพรมาศึกษาก็ทำการสกัดแยกสารเคมีที่อยู่ในพืชออกมา แล้วทำให้สารนั้นบริสุทธิ์ ต่อมาก็ศึกษาถึงคุณสมบัติของสารเคมีที่สกัดได้ ก็จะรู้ถึงคุณประโยชน์และโทษของสารเคมีนั้น เมื่อจะประกอบสารเป็นยาขึ้นมาใช้แก้ปัญหาสุขภาพก็นำสารเคมีหลายๆชนิดที่รู้คุณสมบัติแล้วมาประกอบกันในอัตราส่วนต่างๆกัน ก็สามารถทำได้ หรือถ้าเราเป็นวิศวกรด้านเครื่องจักรกล ก็ต้องรู้จักชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ต่างๆ โดยต้องมาฝึกแยกชิ้นส่วนเครื่องจักรเครื่องยนต์จนรู้จักทุกชิ้น เมื่อจะประกอบชิ้นส่วนต่างๆเข้าด้วยกันก็สามารถทำได้ และก็สามารถปรับปรุงสร้างเป็นเครื่องจักรแบบใหม่ๆ รุ่นใหม่ๆ ขึ้นมาได้ด้วย

    ถ้าเราเป็นนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมเมอร์ ก็ต้องเรียนเรื่องภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็จะรู้วิธีสร้างโปรแกรมใหม่ๆ รวมทั้งถอดรหัสโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ ทักษะที่เกิดจากการฝึกจิตในพุทธศาสนาเมื่อเทียบกับการเป็นนักวิทยาศาสตร์แล้ว ก็มีลักษณะที่คล้ายกัน ที่ต่างออกไปก็เป็นเพียงสิ่งที่ต้องการจะเรียนรู้ สิ่งที่นำมาแยก นำมาสกัด นำมาประกอบเท่านั้น ในขณะที่นักเคมีสกัดสาร แยกสารเคมี ประกอบสารเคมี วิศวกรแยกชิ้นส่วนเครื่องจักร ออกแบบเครื่องจักรรุ่นใหม่ โปรแกรมเมอร์ เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใหม่ๆออกมา ผู้ปฏิบัติสมาธิก็ฝึกแยกสภาวะอารมณ์ต่างๆ ที่เป็นพลังงานในตัวเองออกมาให้เห็นชัด จนกระทั่งแยกจิตออกไปจากสภาวะอารมณ์เหล่านั้นได้ และเมื่อมีเหตุที่ต้องใช้พลังจิตประกอบพลังงานกับสสาร หรือพลังงานที่ต่างชนิดกันเข้าด้วยกัน ก็สามารถทำได้ตามความกำลังความสามารถในแต่ละเรื่องที่ตนถนัด

    ตัวอย่างในเรื่องการประกอบพลังทางจิตเข้ากับสสารวัตถุที่คนไทยเรารู้จักกันดีก็คือ การประจุพลังจิตลงในวัตถุมงคลต่างๆ ซึ่งวัตถุมงคลก็มีหลายประเภทตามลักษณะของพลังที่ประจุไว้ เพราะคุณลักษณะของพลังที่ประจุไว้ไม่เหมือนกัน ซึ่งเปรียบได้กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์คนละโปรแกรม แล้วก็ยังมีระดับของวัตถุมงคลด้วย เพราะถ้าได้ผู้ที่มีคุณธรรมสูงและมีพลังจิตเป็นผู้ประจุพลังลงไป คุณภาพและความบริสุทธิ์ของพลังก็จะยิ่งมีมาก ทักษะในการเชื่อมพลังทางจิตลงในวัตถุนี้ ปกติแล้วเพียงฝึกในขั้นสมถะก็สามารถกระทำได้ แต่อาจจะประกอบพลังได้ไม่ซับซ้อนเท่ากับผู้ที่บรรลุสภาวะจิตขั้นสูงกว่า เพราะถ้ายิ่งจิตไปถึงขั้นญาณทัสสนะแล้ว

    ความสามารถในการประกอบพลังทางจิตก็จะยิ่งมีมาก เพราะสามารถล่วงรู้วิธีการใช้พลังจิตเชื่อมพลังงานชนิดต่างๆได้อย่างละเอียดและลึกล้ำกว่าผูู้ที่ฝึกเพียงขั้นสมถะเท่านั้น เปรียบเทียบกันแล้วก็เหมือนกับถ้ารู้เพียงขั้นสมถะก็เป็นงานวิจัยในระดับปริญญาตรี แต่ถ้าถึงขั้นญาณทัสสนะก็เป็นงานวิจัยในระดับปริญญาเอก หรือสูงกว่านั้นเป็นต้น แต่ทว่าในเรื่องการประกอบหรือการสร้างฤทธิ์นี้ ก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับผู้ปฏิบัติที่จะต้องไปสร้างไปประกอบเสมอไป เพราะไม่ใช่จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระศาสนา​

    </O>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...