เรื่องเด่น รับรองพุทธศาสตร มจร.เฉพาะในที่ตั้ง4สาขาปี56-60

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 1 ธันวาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,529
    L_fbhiikf59h5ghddihkdae (1).jpg

    เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 60- ดร.พะโยม ชิณวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (กช.) ในฐานะโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ที่มี นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงมาตรฐานความรู้วิชาชีพครูของคุรุสภา 9 มาตรฐาน โดยให้ปรับรายละเอียดของมาตรฐานวิชาชีพครูฯ ให้เชื่อมโยงกับการทำมาตรฐานวิชาชีพครูของคณะกรรมการอิสระเพื่อปฎิรูปการศึกษา ที่จะต้องดูภาพรวมมาตรฐานวิชาชีพครูทั้งหมด

    ทั้งนี้ มาตรฐานความรู้วิชาชีพครูฯ นั้น ถือเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดสมรรถนะของครู ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายทั้งกลุ่มนักศึกษาที่เรียนหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ 5 ปี ตลอดจนกลุ่มผู้ที่ไม่ได้เรียนครูโดยตรง โดยเข้ารับการฝึกอบรม พัฒนาตนเอง หรือเทียบโอนให้ได้รับรองความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพครูฯ และสามารถใช้เป็นคุณวุฒิในการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ โดยตั้งแต่ปี 2557-2559 มีผู้ผ่านการอบรมมาตรฐานวิชาชีพฯ ทั้งสิ้น 60,253 คน อย่างไรก็ตาม รมว.ศึกษาธิการ อยากจะทำเรื่องนี้ให้เป็นของขวัญกับครูทุกคน

    ดร.พะโยม กล่าวต่อไปว่า ขณะเดียวกัน มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ไปดูเรื่องหลักเกณฑ์การสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย ว่าจะสามารถให้ความยุติธรรมกับทุกกลุ่มที่มีใบอนุญาตฯ และไม่มีใบอนุญาตฯ ครูได้อย่างไรบ้าง

    jc9ehhk5e65di86ae8fhc.jpg

    เนื่องจากการจัดสอบที่ผ่านมาพบว่าในบางสาขาวิชาเอกไม่มีผู้สอบได้เต็มจำนวนที่ประกาศรับสมัคร จึงไม่ได้ครูตามที่ต้องการ ก็ต้องไปดูว่าจะมีแนวทางใดบ้างที่จะได้ครูที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาสอนในสาขาที่ขาดแคลน
    นอกจากนี้ ที่ประชุมมีมติรับรองปริญญาทางการศึกษาของสถาบัน อุดมศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อใช้เป็นคุณวุฒิในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (มจร.) จำนวน 1 หลักสูตร

    ได้แก่ ปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต (5 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2556 จำนวน 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย การสอนภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา และวิชาการสอนพระพุทธศาสนาและจิตวิทยาการแนะแนว โดยให้รับรองตั้งแต่ปีการศึกษา 2556-2560 ที่มีการจัดการสอนในที่ตั้งของสถาบันเท่านั้น

    ก่อนหน้านี้ เวบไซด์ www.moe.go.th ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ ได้เผยแพร่ผลการประชุมองค์กรหลัก โดยนายพะโยม ชิณวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในฐานะโฆษกกระทรวงศึกษาธิการกล่าวภายหลังการประชุมว่า นพ.ธีระเกียรติ เจริฐเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.)ได้แจ้งเรื่องในการประชุมคณะรัฐมนตรี ให้ที่ประชุมรับทราบ ว่ามหาวิทยาลัยพระ 2 แห่ง คือมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเปิดสอนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก และค่าเล่าเรียนราคาถูก จึงมีคนสนใจไปเรียนมากนั้น

    “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงเรื่องคุณภาพ จึงฝากให้กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)ได้พิจารณากำกับดูแลให้มีความเข้มข้นยิ่งขึ้น ซึ่งที่ประชุมองค์กรหลักได้มอบหมายให้นายพีระ รัตนวิจิตร รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และนายสุภัทร จำปาทอง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดูแลรับผิดชอบในเรื่องนี้”โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ กล่าว

    นอกจากนี้ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคุรุสภา ก่อนที่สถาบันการศึกษาจะเปิดรับนักศึกษาจะต้องส่งหลักสูตรมาให้คุรุสภาพิจารณาก่อนว่าเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพหรือไม่ ซึ่งการประเมินของคุรุสภาจะยึดโยงกับการประเมินของ สกอ.ถ้าสกอ.ไม่รับทราบหลักสูตร คุรุสภาก็ไม่สามารถรับรองมาตรฐานวิชาชีพได้

    6k9a5aj9ggddb5g57g8c6.jpg

    ทั้งที่ คุรุสภากำหนดชัดเจนว่าต้องยื่นคำร้องขอรับการประเมินก่อนเปิดสอนไม่น้อยกว่า 60 วันสุดท้ายนักศึกษาจบแล้วไม่ได้รับอนุมัติขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตฯ ผลกระทบก็ตกที่ผู้เรียน และก็ร้องเรียนมาที่คุรุสภา

    ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์

    เวลานี้คุรุสภาอยู่ระหว่างพิจารณาหลักสูตรนอกที่ตั้งของมหาวิทยาลัย 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (มสด.) ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง และศูนย์ฯสุพรรณบุรี ,มรภ.เลย ศูนย์ขอนแก่น จ.ขอนแก่น และมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย (มจร.) วิทยาเขตร้อยเอ็ด เปิดสอนภาคพิเศษ ซึ่ง มจร.แม้จะเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ แต่บริหารด้วยฆราวาสที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ตอนนี้คุรุสภาก็กำลังพิจารณาประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ

    “ที่เน้นเป็นพิเศษคือ มาตรฐานหลักสูตร ต้องครอบคลุมมาตรฐานวิชาชีพ เพราะถ้าปล่อยให้คนที่ไม่จบวิชาชีพครูโดยตรงมาเป็นครู ก็จะส่งผลต่อความเชื่อมั่น การประกันคุณภาพจะไม่เกิด ขณะที่การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาก็กำหนดไว้1ปีโดยมีเงื่อนไขต้องเป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เท่านั้น ซึ่งจะมีการติดตามลงไปดูการปฏิบัติการสอนด้วย ยกเว้นผู้ที่เรียนป.บัณฑิตวิชาชีพครู ต้องทำแผนปฏิบัติการสอนมานำเสนอ ซึ่งหลักสูตรของสถาบันใดถูกต้อง ครบถ้วนตามมาตรฐานคุรุสภาก็จะรับรอง บัณฑิตที่จบในหลักสูตรนั้นๆก็ได้รับอนุมัติขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตฯ”ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคุรุสภา กล่าว

    ปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาที่คุรุสภารับรองหลักสูตร ก็ส่งรายชื่อและจำนวนบัณฑิตที่จบการศึกษาในปีนั้นๆมาให้คุรุสภาผ่านระบบ KSP Bundit ถ้ากระบวนการทุกอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ คุรุสภาขึ้นทะเบียนใบอนุญาตฯ ให้และกรอกเลขประจำตัว 13 หลักรับใบอนุญาตฯที่มหาวิทยาลัย หรือจุดบริการเขตพื้นที่การศึกษาได้ ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตฯต้องต่ออายุทุก 5 ปี

    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.komchadluek.net/news/edu-health/304103
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 ธันวาคม 2017

แชร์หน้านี้

Loading...