รวบรวมแผนที่ในประเทศไทยรอยแตกแผ่นดินและรอยเลื่อนที่มีพลังทำให้เกิดแผ่นดินไหวแรง

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 25 มีนาคม 2011.

  1. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    กะว่าจะเอารอยเลื่อนต่างๆ มาพล๊อตลงบนแผนที่ จะได้รู้ว่าจุดไหนในประเทศไทยตั้งอยู่บนรอยเลื่อน หรือ เส้นต่อเพลทไหนบ้าง

    ใครมีรอยเลื่อนที่อัพเดท ช่วยหามาโพสต์ไว้ด้วย จะได้ช่วยๆ กันพล๊อตลงเก็บไว้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2011
  2. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    เริ่มต้นจากตรงนี้แล้วกัน


    <center>การตรวจสอบรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย</center>

    <center>อ. อดิศร ฟุ้งขจร</center>

    <center>---------------------------------------------------------------------------------</center>


    บทนำ

    รอยเลื่อน (faults) หรือรอยแตกในเปลือกโลก เป็นแหล่งกำเนิดของแผ่นดินไหว ปริญญา นุตาลัย (2533) ระบุว่าประเทศไทยมีรอยเลื่อนมีพลัง 9 รอยเลื่อน ได้แก่ รอยเลื่อนเชียงแสน แม่ทา เถิน แพร่ เมย-อุทัยธานี ศรีสวัสดิ์ เจดีย์สามองค์ ระนอง และ คลองมะรุ่ย ส่วนกรมทรัพยากรธรณีระบุว่าประเทศไทยมีรอยเลื่อนมีพลัง 13 รอยเลื่อน ได้แก่ รอยเลื่อนแม่จัน แม่ฮ่องสอน พะเยา แม่ทา ปัว เถิน อุตรดิตถ์ เมย ท่าแขก ศรีสวัสดิ์ เจดีย์สามองค์ ระนอง และคลองมะรุ่ย (http://www.dmr.go.th/geohazard/earthquake/DMRActiveFault.htm)

    จากข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2546) พบว่าประเทศไทยมีรอยเลื่อนกระจายตั้งแต่เหนือจรดใต้ นับร้อยรอยเลื่อน มีความยาวตั้งแต่ไม่ถึงสิบกิโลเมตร ไปจนนับร้อยกิโลเมตร ในอดีตได้เกิดแผ่นดินไหวบริเวณรอยเลื่อนเหล่านี้ บ้างก็ทำให้ประชาชนรู้สึกสั่นสะเทือน บ้างก็ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือน แผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2526 มีศูนย์กลางที่อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี วัดขนาดได้ 5.9 ริคเตอร์ แผ่นดินไหวนี้ทำให้รู้สึกสั่นสะเทือนเป็นบริเวณกว้าง มีความเสียหายเล็กน้อยบริเวณศูนย์กลางและกรุงเทพมหานคร การระบุว่ารอยเลื่อนใดเป็น “รอยเลื่อนมีพลัง” (active fault) อาศัยนิยามศัพท์จากหน่วยสำรวจธรณีวิทยา ประเทศสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey: USGS) ที่ว่า “รอยเลื่อนมีพลัง หมายถึง รอยเลื่อนที่จะมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอีกในอนาคต รอยเลื่อนที่จัดว่าเป็นรอยเลื่อนมีพลังต้องมีการเคลื่อนที่อย่างน้อยหนึ่ง ครั้งภายในระยะเวลา 10,000 ปี” (http://earthquake.usgs.gov/image_glossary)

    การตรวจสอบรอยเลื่อนมีพลังบริเวณประเทศไทยจึงอาศัยหลักการว่า “ตรวจพบแผ่นดินไหวบริเวณรอยเลื่อนใดถือว่ารอยเลื่อนนั้นมีพลัง” เทคนิคคือ ใช้เครื่องตรวจแผ่นดินไหวแบบดิจิตอลออนไลน์ระบบไอริส (Incorporated Research Institutions for Seismology) ซึ่งติดตั้งอยู่ที่สถานีตรวจแผ่นดินไหวเชียงใหม่ เชิงดอยสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบข้อมูลแผ่นดินไหวในประเทศไทยที่รู้สึกสั่นสะเทือนระหว่างปีพ.ศ. 2506-2546 การคำนวณพิกัดของศูนย์กลางแผ่นดินไหวอาศัยโปรแกรมไดแมส (Display Interactive Manipulation and Analysis of Seismograms: DIMAS, USGS, 2003) จากนั้นนำผลการคำนวณมาจัดทำฐานข้อมูล แล้วแสดงผลเป็นแผนภูมิกราฟิกทางโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ (ArcView GIS Version 3.1) แล้วทับซ้อนด้วยแผนที่รอยเลื่อนจากข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ของสำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อพบว่าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบริเวณรอยเลื่อนใด จึงสรุปว่ารอยเลื่อนนั้นเป็นรอยเลื่อนมีพลัง

    จากการตรวจสอบพบว่า ประเทศไทยมีรอยเลื่อนมีพลังจำนวน 45 รอยเลื่อนได้แก่ รอยเลื่อนเชียงแสน แม่จัน แม่อิง มูลาว หนองเขียว เชียงดาว เมืองแหง แม่ฮ่องสอน ขุนยวม แม่ลาหลวง แม่สะเรียง พร้าว ปัว ดอยหมอก วังเหนือ แม่งัด แม่ปิง ดอยปุย แม่ทา อมก๋อย เมืองปาน แม่หยวก แม่ทะ เถิน แม่วัง ท่าสี งาว แม่ติป สามเงา ผาแดง ดอยหลวง แม่ยม แม่กลอง แพร่ อุทัยธานี อุตรดิตถ์ น้ำปาด เขาดำ ท่าอุเทน ศรีสวัสดิ์ เจดีย์สามองค์ เขาราวเทียน ระนอง อ่าวลึก และ คลองมะรุ่ย

    <center>[​IMG]</center>


    รอยเลื่อนในประเทศไทย

    จากข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2546) พบว่าประเทศไทยมีรอยเลื่อนกระจายตั้งแต่เหนือจรดใต้เป็นจำนวนมากดังนี้

    1. รอยเลื่อนเชียงแสน พาดผ่านอำเภอแม่จัน และอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 22 กิโลเมตร
    2. รอยเลื่อนแม่จัน พาดผ่านอำเภอฝาง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอ แม่จัน อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 101 กิโลเมตร
    3. รอยเลื่อนแม่อิง พาดผ่านอำเภอเทิง อำเภอขุนตาล และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 57 กิโลเมตร
    4. รอยเลื่อนมูลาว พาดผ่านอำเภอแม่สรวย อำเภอแม่ลาว และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 23 กิโลเมตร
    5. รอยเลื่อนหนองเขียว พาดผ่านอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ในแนว ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 13 กิโลเมตร
    6. รอยเลื่อนเชียงดาว พาดผ่านอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในแนวทิศ ตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 54 กิโลเมตร
    7. รอยเลื่อนเมืองแหง พาดผ่านอำเภอเชียงดาว และอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ- ตะวันตกเฉียงใต้ กับตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 40 กิโลเมตร
    8. รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน พาดผ่านอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอนในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 29 กิโลเมตร
    9. รอยเลื่อนขุนยวม พาดผ่านอำเภอขุนยวม และอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอนในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 62 กิโลเมตร
    10. รอยเลื่อนแม่ลาน้อย พาดผ่านอำเภอสบเมย อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 78 กิโลเมตร
    11. รอยเลื่อนแม่ลาหลวง พาดผ่านอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอนประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวาร ในแนวทิศเหนือ-ใต้ และแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 34 กิโลเมตร
    12. รอยเลื่อนแม่สะเรียง พาดผ่านอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก อำเภอสบเมยและอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ทาง ตอนล่าง และแนวทิศเหนือ-ใต้ทางตอนบน มีความยาวประมาณ 95 กิโลเมตร
    13. รอยเลื่อนพร้าว พาดผ่านอำเภอพร้าว และอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ทาง ตอนล่าง และแนวทิศเหนือ-ใต้ทางตอนบน มีความยาว ประมาณ 23 กิโลเมตร
    14. รอยเลื่อนดอยหมอก พาดผ่านอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 11 กิโลเมตร
    15. รอยเลื่อนวังเหนือ พาดผ่านอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง และอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 25 กิโลเมตร
    16. รอยเลื่อนแม่งัด พาดผ่านอำเภอดอยสะเก็ด และอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหมในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 32 กิโลเมตร
    17. รอยเลื่อนดอยปุย พาดผ่านอำเภอแม่ริม และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 23 กิโลเมตร
    18. รอยเลื่อนแม่ไผ่ พาดผ่านอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน และอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ- ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 9 กิโลเมตร
    19. รอยเลื่อนแม่ทา พาดผ่านอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน และอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ในแนวโค้งไปทางทิศตะวันออก มีความยาวประมาณ 61 กิโลเมตร
    20. รอยเลื่อนจอมทอง พาดผ่านอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศเหนือ-ใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 13 กิโลเมตร
    21. รอยเลื่อนฮอด พาดผ่านอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ สลับกัน มีความยาวประมาณ 10 กิโลเมตร
    22. รอยเลื่อนอมก๋อย พาดผ่านอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก และอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้สลับกันมีความยาวประมาณ 100 กิโลเมตร
    23. รอยเลื่อนเมืองปาน พาดผ่านอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 16 กิโลเมตร
    24. รอยเลื่อนแม่หยวก พาดผ่านอำเภอแจ้ห่ม และอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 37 กิโลเมตร
    25. รอยเลื่อนแม่ทะ พาดผ่านอำเภอเมือง และอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 34 กิโลเมตร

      <center>[​IMG]</center>
    26. รอยเลื่อนกิ่วลม พาดผ่านอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 18 กิโลเมตร
    27. รอยเลื่อนแม่วัง พาดผ่านอำเภอเกาะคา และอำเภอเมือง จังหวัดลำปางในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ทางด้านตะวันออกของรอยเลื่อนกิ่วลม มีความยาวประมาณ 61 กิโลเมตร
    28. รอยเลื่อนแม่อ่าง พาดผ่านอำเภอเมือง และอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปางในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ทางด้านตะวันออกของรอยเลื่อนแม่วัง มีความยาวประมาณ 18 กิโลเมตร
    29. รอยเลื่อนท่าสี พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอแม่เมาะ และอำเภองาว จังหวัดลำปาง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ทางด้านตะวันออกของรอยเลื่อนแม่อ่าง มีความยาวประมาณ 57 กิโลเมตร
    30. รอยเลื่อนงาว พาดผ่านอำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ทางด้านทิศเหนือของรอยเลื่อนท่าสี มีความยาวประมาณ 23 กิโลเมตร
    31. รอยเลื่อนแม่ติป พาดผ่านอำเภอแม่เมาะ และอำเภองาว จังหวัดลำปางประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตก เฉียงใต้ทางตอนล่าง กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ทางตอนบน มีความยาวประมาณ 33 กิโลเมตร
    32. รอยเลื่อนดอยหลวง พาดผ่านอำเภอแม่เมาะ และอำเภองาว จังหวัดลำปางในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางตะวันออก มีความยาวประมาณ 41 กิโลเมตร
    33. รอยเลื่อนวังชิ้น พาดผ่านอำเภอแม่พริก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ในแนวโค้งในไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือมีความยาวประมาณ 103 กิโลเมตร
    34. รอยเลื่อนสามเงา พาดผ่านอำเภอบ้านตาก และอำเภอสามเงา จังหวัดตากในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันออก มีความยาวประมาณ 44 กิโลเมตร
    35. รอยเลื่อนผาแดง พาดผ่านอำเภอพบพระ และอำเภอแม่สอด จังหวัดตากในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 62 กิโลเมตร
    36. รอยเลื่อนลานสาง-วังเจ้า พาดผ่านอำเภอเมือง และอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 55 กิโลเมตร
    37. รอยเลื่อนอุทัยธานี พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี อำเภอสรรพยา อำเภอมโนรมย์ อำเภอเมือง อำเภอทัพทัน อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี อำเภอแม่วงก์ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอขาณุวรลักษบุรี และอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 178 กิโลเมตร
    38. รอยเลื่อนแม่กลอง พาดผ่านอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 69 กิโลเมตร
    39. รอยเลื่อนแม่ปิง พาดผ่านอำเภอตากฟ้า อำเภอพยุหะคีรี อำเภอเมือง อำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอขาณุวรลักษบุรี อำเภอคลองขลุง และอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 161 กิโลเมตร
    40. รอยเลื่อนกระเพรียวแดง พาดผ่านอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 45 กิโลเมตร
    41. รอยเลื่อนเขาราวเทียน พาดผ่านอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท อำเภอบ้านไร่ อำเภอห้วยคด และอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 94 กิโลเมตร
    42. รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ พาดผ่านอำเภอทองผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 60 กิโลเมตร
    43. รอยเลื่อนแม่ยม พาดผ่านอำเภอสอง จังหวัดแพร่ และอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 22 กิโลเมตร
    44. รอยเลื่อนแพร่ พาดผ่านอำเภอเมือง และอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 25 กิโลเมตร
    45. รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอนาหมื่น อำเภอนาน้อย อำเภอเวียงสา และอำเภอแม่จริม จังหวัดน่านในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 150 กิโลเมตร
    46. รอยเลื่อนน้ำปาด พาดผ่านอำเภอน้ำปาด อำเภอฟากท่า และอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ทางด้านตะวันออกของรอยเลื่อน อุตรดิตถ์มีความยาวประมาณ 111 กิโลเมตร
    47. รอยเลื่อนเขาดำ พาดผ่านอำเภอทองแสนขัน อำเภอน้ำปาด อำเภอฟากท่าและอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ทางด้านตะวันออกของรอยเลื่อนน้ำ ปาด มีความยาวประมาณ 126 กิโลเมตร
    48. รอยเลื่อนน้ำภาค พาดผ่านอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 48 กิโลเมตร
    49. รอยเลื่อนเพชรบูรณ์ พาดผ่านอำเภอหนองไผ่ อำเภอเมือง อำเภอหล่มสัก และอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 110 กิโลเมตร
    50. รอยเลื่อนท่าอุเทน พาดผ่านตามแนวพรมแดนไทย-ลาว ด้านอำเภอเมือง อำเภอท่าอุเทน อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอบุ่งคล้า จังหวัดหนองคาย ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 136 กิโลเมตร

      <center>[​IMG]</center>
    51. รอยเลื่อนหนองบัวลำภู พาดผ่านอำเภอหนองบัวลำภู อำเภอนากลางและอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 40 กิโลเมตร
    52. รอยเลื่อนภูเรือ พาดผ่านอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอด่านซ้าย และอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 60 กิโลเมตร
    53. รอยเลื่อนวังสะพุง พาดผ่านอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 21 กิโลเมตร
    54. รอยเลื่อนภูเขียว พาดผ่านอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอภักดีชุมพรและอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 72 กิโลเมตร
    55. รอยเลื่อนผาหลวง พาดผ่านอำเภอภูหลวง และอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 37 กิโลเมตร
    56. รอยเลื่อนแก่งคร้อ พาดผ่านตามแนวแบ่งเขตอำเภอคอนสวรรค์ อำเภอแก่งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ และอำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 39 กิโลเมตร
    57. รอยเลื่อนหนองบัวแดง พาดผ่านอำเภอบ้านเขว้า อำเภอเมือง และอำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 56 กิโลเมตร
    58. รอยเลื่อนซับไม้แดง พาดผ่านอำเภอวิเชียรบุรี อำเภอบึงสามพัน และอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับกับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 45 กิโลเมตร
    59. รอยเลื่อนโคราช พาดผ่านอำเภอครบุรี อำเภอโชคชัย อำเภอเมือง อำเภอขามทะเลสอ อำเภอสูงเนิน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี อำเภอศรีเทพ และอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 193 กิโลเมตร
    60. รอยเลื่อนสตึก พาดผ่านอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอชุมพลบุรและอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 55 กิโลเมตร
    61. รอยเลื่อนลำพญากลาง พาดผ่านตามแนวแบ่งเขตอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 33 กิโลเมตร
    62. รอยเลื่อนท่าจีน พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอสามพราน อำเภอนครชัยศรี อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม อำเภอสองพี่น้อง อำเภอบางปลาม้า อำเภอเมือง อำเภอดอนเจดีย์ อำเภอสามชุก อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอหันคา และอำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ทางตอนล่าง และแนวทิศเหนือ-ใต้ทางตอนบน มีความยาวประมาณ 186 กิโลเมตร
    63. รอยเลื่อนวิเศษชัยชาญ พาดผ่านอำเภอวิเศษชัยชาญ และอำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 11 กิโลเมตร
    64. รอยเลื่อนป่าโมก พาดผ่านอำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอป่าโมก และอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทองในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 28 กิโลเมตร
    65. รอยเลื่อนผักไห่ พาดผ่านอำเภอบางบาล อำเภอเสนา และอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 21 กิโลเมตร
    66. รอยเลื่อนเจ้าพระยา พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมือง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา และอำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 54 กิโลเมตร
    67. รอยเลื่อนมวกเหล็ก พาดผ่านอำเภอมวกเหล็ก อำเภอวังม่วง และอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี แนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 17 กิโลเมตร
    68. รอยเลื่อนลำตะคอง พาดผ่านอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 24 กิโลเมตร
    69. รอยเลื่อนหินลับ พาดผ่านอำเภอวังน้ำเขียว และอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 33 กิโลเมตร
    70. รอยเลื่อนคลองไผ่ พาดผ่านอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี และอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 27 กิโลเมตร
    71. รอยเลื่อนเขาปีป-วังน้ำเย็น พาดผ่านอำเภอวังน้ำเย็น อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว อำเภอสนามชัยเขต อำเภอพนมสารคาม อำเภอราชสาส์น อำเภอบ้านสร้าง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอศรีมหาโพธและอำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 112 กิโลเมตร
    72. รอยเลื่อนองครักษ์ พาดผ่านอำเภอท่าตะเกียบ อำเภอสนามชัยเขต อำเภอแปลงยาว อำเภอพนามสารคาม อำเภอราชสาส์น อำเภอบางคล้า อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี อำเภอหนองแค อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี อำเภอภาชี อำเภอนครหลวง อำเภอท่าเรือ และ อำเภอบ้านแพรกจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 177 กิโลเมตร
    73. รอยเลื่อนพระประแดง พาดผ่านอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เขตหนองแขม เขตบางขุนเทียน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก มีความยาวประมาณ 33 กิโลเมตร
    74. รอยเลื่อนบางพลี พาดผ่านเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร อำเภอเมือง อำเภอบางพลี อำเภอบางบ่อ อำเภอบางปะกง จังหวัดสมุทรปราการ และอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 61 กิโลเมตร
    75. รอยเลื่อนแกลง พาดผ่านอำเภอพนัสนิคม อำเภอบ้านบึง อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี อำเภอวังจันทร์ และอำเภอแกลงจังหวัดระยอง ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 98 กิโลเมตร

      <center>[​IMG]</center>
    76. รอยเลื่อนสอยดาว พาดผ่านอำเภอแก่งหางแมว และอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 36 กิโลเมตร
    77. รอยเลื่อนจันทบุรี พาดผ่านอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี อำเภอแก่งหางแมว และอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 65 กิโลเมตร
    78. รอยเลื่อนปิล็อค พาดผ่านอำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ และอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นรอยเลื่อนคดเคี้ยวในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ สลับกับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 118 กิโลเมตร
    79. รอยเลื่อนองค์ทัง พาดผ่านอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี อำเภอศรีสวัสดิ์ และอำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 62 กิโลเมตร
    80. รอยเลื่อนบ่องาม พาดผ่านอำเภอทองผาภูมิ และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 48 กิโลเมตร
    81. รอยเลื่อนไทรโยค พาดผ่านอำเภอทองผาภูมิ และอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 116 กิโลเมตร
    82. รอยเลื่อนแควใหญ่ พาดผ่านอำเภอทองผาภูมิ อำเภอไทรโยค และอำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 119 กิโลเมตร
    83. รอยเลื่อนแควน้อย พาดผ่านอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 18 กิโลเมตร
    84. รอยเลื่อนเจ้าเณร พาดผ่านอำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอเมือง และอำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ทาง ตอนล่าง และแนวทิศเหนือ-ใต้ทางตอนบนมีความยาวประมาณ 85 กิโลเมตร
    85. รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ พาดผ่านอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 13 กิโลเมตร
    86. รอยเลื่อนจอมบึง พาดผ่านอำเภอไทรโยค อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 50 กิโลเมตร
    87. รอยเลื่อนปากท่อ พาดผ่านอำเภอไทรโยค อำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธาราม อำเภอจอมบึง อำเภอเมือง และอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 89 กิโลเมตร
    88. รอยเลื่อนกุยบุรี พาดผ่านอำเภอปราณบุรี และอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบ-คีรีขันธ์ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร
    89. รอยเลื่อนประจวบ-ทับสะแก พาดผ่านอำเภอบางสะพานน้อย อำเภอบางสะพาน อำเภอทับสะแก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเลยเข้าไปในอ่าวไทยทางด้านตะวันออกของอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 132 กิโลเมตร
    90. รอยเลื่อนบางสะพาน พาดผ่านอำเภอบางสะพาน อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 56 กิโลเมตร
    91. รอยเลื่อนกระบุรี พาดผ่านอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร อำเภอกระบุรี อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง ตามแนวพรมแดนไทย-พม่า และเลยเข้าไปในทะเลอันดามัน ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 187 กิโลเมตร
    92. รอยเลื่อนท่าแซะ พาดผ่านอำเภอท่าแซะ และอำเภอเมือง จังหวัดชุมพรในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 39 กิโลเมตร
    93. รอยเลื่อนปากจั่น พาดผ่านอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง และอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 10 กิโลเมตร
    94. รอยเลื่อนละอุ่น พาดผ่านอำเภอสวี จังหวัดชุมพร และอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 36 กิโลเมตร
    95. รอยเลื่อนชุมพร พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอสวี จังหวัดชุมพร และอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 63 กิโลเมตร
    96. รอยเลื่อนระนอง พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอกะเปอร์ อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง และเลยเข้าไปในทะเลอันดามันทางด้านตะวันตกของอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 98 กิโลเมตร
    97. รอยเลื่อนราชกรูด พาดผ่านอำเภอละอุ่น อำเภอกระเปอร์ จังหวัระนองและอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 45 กิโลเมตร
    98. รอยเลื่อนพะโต๊ะ พาดผ่านอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ในแนวทิศตะวันออกเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 8 กิโลเมตร
    99. รอยเลื่อนสวี พาดผ่านอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 9 กิโลเมตร
    100. รอยเลื่อนกะเปอร์ พาดผ่านอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร อำเภอกะเปอร์ และอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 38 กิโลเมตร

      <center>[​IMG]</center>
    101. รอยเลื่อนเขาเด่น พาดผ่านอำเภอไชยา อำเภอท่าฉาง และอำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 34 กิโลเมตร
    102. รอยเลื่อนคุระบุรี พาดผ่านอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 35 กิโลเมตร
    103. รอยเลื่อนเขาย้อย พาดผ่านอำเภอไชยา อำเภอท่าฉาง และอำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 39 กิโลเมตร
    104. รอยเลื่อนตะกั่วป่า พาดผ่านอำเภอบ้านตาขุน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์-ธานี อำเภอคุระบุรี และอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 34 กิโลเมตร
    105. รอยเลื่อนขนอม พาดผ่านอำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช และเลยเข้าไปในอ่าวไทยทางด้านทิศเหนือของอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานและทางด้านทิศใต้ของอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 53 กิโลเมตร
    106. รอยเลื่อนสิชล พาดผ่านอำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช และเลยเข้าไปในอ่าวไทยทางด้านทิศเหนือของอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานีและทางด้านทิศใต้ของอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 64 กิโลเมตร
    107. รอยเลื่อนไชยา พาดผ่านอำเภอไชยา อำเภอท่าฉาง อำเภอพุนพิน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเลยเข้าไปในอ่าวไทยทางด้านทิศเหนือของอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 62 กิโลเมตร
    108. รอยเลื่อนลำรู่ พาดผ่านอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอกะปง อำเภอตะกั่วป่า และอำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 54 กิโลเมตร
    109. รอยเลื่อนคลองชล พาดผ่านอำเภอบ้านตาขุน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง และอำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 108 กิโลเมตร
    110. รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย พาดผ่านอำเภอบ้านตาขุน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอทับปุด อำเภอเมือง จังหวัดพังงา และเลยลงไปในทะเลอันดามัน ระหว่างอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต กับอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 148 กิโลเมตร
    111. รอยเลื่อนอ่าวลึก พาดผ่านทะเลอันดามัน ทางด้านทิศใต้ของอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ และทางด้านทิศตะวันออกของอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 47 กิโลเมตร
    112. รอยเลื่อนเคียนซา-เกาะลันตา พาดผ่านอำเภอพระแสง อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอเขาพนม อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ และเลยลงไปในอ่าวไทยทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันตก มีความยาวประมาณ 108 กิโลเมตร
    113. รอยเลื่อนนาสาร-คลองท่อม พาดผ่านอำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอบ้านนาสาร อำเภอเวียงสระ อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอเขาพนม และอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันออกทางตอนบน และแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันตกทางตอนล่าง มีความยาวประมาณ 150 กิโลเมตร
    114. รอยเลื่อนเขาหลวง พาดผ่านอำเภอฉวาง และอำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ทางตอนบน และแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ทางตอนล่าง มีความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร
    115. รอยเลื่อนทุ่งสง พาดผ่านอำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 21 กิโลเมตร
    116. รอยเลื่อนห้วยยอด พาดผ่านอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 32 กิโลเมตร
    117. รอยเลื่อนทุ่งหว้า พาดผ่านอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง และอำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 24 กิโลเมตร
    118. รอยเลื่อนสตูล พาดผ่านอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา อำเภอควนกาหลง อำเภอควนโดน และอำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ทาง ตอนบน และแนวทิศเหนือ-ใต้ทางตอนล่าง มีความยาวประมาณ 49 กิโลเมตร
    119. รอยเลื่อนสะบ้าย้อย พาดผ่านอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ประกอบด้วยด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ทางตอนบน และแนวทิศเหนือ-ใต้ทางตอนล่าง มีความยาวประมาณ 31 กิโลเมตร
    120. รอยเลื่อนยะลา พาดผ่านอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี อำเภอเมือง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา และอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 59 กิโลเมตร
    121. รอยเลื่อนบางลาง พาดผ่านอำเภอธารโต และอำเภอเบตง จังหวัดยะลาในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 28 กิโลเมตร

      <center>[​IMG]</center>


    <hr width="90%" align="center">
    Last update : January 23, 2009 10:10 ( Thailand )

    Copyright @ 1990 - 2009 Mr. Roongroj Rojanapo ( Yummatude Sages, [​IMG] )

    อ้างอิง
     
  3. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    [​IMG]
     
  4. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    เดี๋ยวมีเวลาจะค่อยๆ ลงทีละจังหวัด
     
  5. น า ทู รี

    น า ทู รี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    152
    ค่าพลัง:
    +164
  6. โอมธนกฤต

    โอมธนกฤต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2009
    โพสต์:
    606
    ค่าพลัง:
    +3,984
    รอยเลื่อนปัว ไม่มีรึในข้อมูล
     
  7. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    ตรงน่านไง...............
     
  8. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    กระทู้นี้ขอรวบรวมพวกรอยแยกต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยด้วย จะได้เป็นข้อมูลไว้ดูว่าจุดไหนอันตราย
     
  9. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    ถนนเลียบคลองที่อยุธยา ทรุดยาวกว่าร้อยเมตร


    • February 21, 2011 5:07 am

    [​IMG]

    ถนน เลียบคลองชลประทานสายบางปะหัน-บางเดื่อ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทรุดตัวลึกกว่า 2 เมตร ระยะทางยาวกว่า 100 เมตร เจ้าหน้าที่กรมทางหลวงชนบทเร่งหาสาเหตุมี 2 กรณีคือ ชาวบ้านสูบน้ำเข้านามากจนทำให้นำผิวดินใต้ลดลง หรือการก่อสร้างซ่อมแซมไม่ได้มาตรฐาน
    ผู้สื่อข่าว รายงานจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาว่า จากการตรวจสอบถนนทางหลวงชนบทเลียบคลองชลประทาน สายบางปะหัน-บางเดื่อ ช่วงกิโลเมตรที่ 6 หมู่ 2 ตำบลบางปะหัน อำเภอบางปะหัน ซึ่งเป็นถนนลาดยางแอสฟัลต์ มีความกว้าง 6 เมตร ทรุดตัวลงไปลึกกว่า 2 เมตร เป็นระยะทางยาวกว่า 100 เมตร ทำให้รถทุกชนิดไม่สามารถสัญจรไปมาได้ ต้องเลี่ยงไปใช้เส้นทางสายเอเชียแทน และจากการตรวจสอบพบว่า สภาพของถนนเสียหายใช้การไม่ได้
    นายอำนาจ สลักเพชร อายุ 57 ปี กำนันตำบลบางเดื่อ อำเภอบางปะหัน ซึ่งเดินทางไปดูเส้นทางที่ได้รับความเสียหาย พร้อมกับเจ้าหน้าที่ของกรมทางหลวงชนบท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ถนนดังกล่าวเกิดทรุดตัวลงเมื่อเวลาประมาณ 01.00 น.วันนี้ (20 ก.พ.) ขณะ ที่ตนขับรถยนต์ปิกอัพกลับจากงานเลี้ยง ปรากฏว่าถนนทรุดตัวลง ซึ่งตนมองไม่เห็นจึงขับรถตกลงไป ช่วงล่างของรถได้รับความเสียหาย ส่วนตัวเองไม่ได้รับบาดเจ็บ จึงขึ้นไปยืนบนถนน จากนั้นได้เรียกให้ชาวบ้านมาช่วยเหลือทำสัญลักษณ์ เพราะเกรงว่าจะมีรถตกลงไปอีก แต่ไม่ทันที่จะทำเครื่องหมายใดๆ ปรากฏว่าก็มีวัยรุ่นขับขี่รถจักรยานยนต์ตกลงไปอีก 3 คัน ได้รับบาดเจ็บคนละเล็กละน้อย จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ ทราบว่าถนนเส้นนี้เพิ่งมีการซ่อมแซมระยะทาง 7 กิโลเมตร เมื่อปีที่แล้ว ส่งมอบงานเมื่อปลายปี และยังอยู่ระยะประกัน ก็มาทรุดตัวลงไป
    “เบื้อง ต้นอาจจะเกิดจากการที่เกษตรกรมีการสูบน้ำเข้านาอย่างหนักทำให้ปริมาณ น้ำใต้ผิวดินลดลงไป ทำให้ถนนไม่สามารถรับน้ำหนักของรถที่วิ่งผ่านไปมาได้ จึงทรุดลงไป หรืออาจจะมาจากขั้นตอนของการก่อสร้าง ซึ่งจะต้องทำการตรวจสอบว่ามีความมาตรฐานแค่ไหน อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่กรมทางหลวงชนบทได้ทำเครื่องหมายเพื่อให้ประชาชนทราบ และหลีเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่นต่อไป” นายอำนาจ กล่าว
    [​IMG]
     
  10. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    ถนนหลายสายที่จังหวัดเชียงรายเสียหายหนัก

     
  11. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    [​IMG]


    " มันมีโอกาศยุบตัว แบบหายทั้งเมืองเหมือนประเทศอื่นมั้ยค่ะ"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • cats.jpg
      cats.jpg
      ขนาดไฟล์:
      73 KB
      เปิดดู:
      3,538
  12. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    มีโอกาสสูงมาก อยากให้ทุกท่านจับตามองบริเวณที่อยู่อาศัยของตัวเอง ถ้ามีอะไรผิดปกติแจ้งให้ทราบด้วย
     
  13. Aqua-ma-rine

    Aqua-ma-rine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    820
    ค่าพลัง:
    +1,242
    จริงๆ แล้ว ธรรมชาติไม่ได้ทำอะไรแบบผลีผลามนะ เค้าส่งสัญญาณมาก่อนล่วงหน้า ตั้งหลายแบบหลายหน ทั้งผ่านพฤติกรรมสัตว์ อย่างการตายหมู่ การ
    อพยพ การปรากฏตัวของสัตว์แปลกๆ ที่เคยอยู่ในที่ๆ คนไม่ค่อยได้เจอตามปกติ หรือไม่ก็ทางปรากฏการณ์ธรรมชาติ อย่างแผ่นดินทรุด ยุบ แตก แยก อะไรทำนองนี้

    ถ้าชาวโลกสนใจ หรือว่าช่างสังเกต แล้วต่อยอดค้นคว้าต่อ จะเห็นว่าจิ๊กซอว์มันต่อมาเป็นรูปเดียวกัน แล้วก็เป็นรูปใหญ่

    ที่ต้องสังเกตอีกอย่างคือวงรอบการเกิด มันซ้ำสถานที่เก่า อย่างภาคเหนือ เมืองโยนก นครโบราณ แถบเชียงรายปัจจุบัน เคยล่มทั้งเมือง แล้วมีการผูกตำนานไว้เป็นนิทานปรัมปรา อย่างเรื่องนี้ เกิดที่ภาคอีสาน

    นางไอ่....ตำนานรักแห่งหนองหาน ภาคอีสาน บทนำ......ชายใบ้กับลูกสาวเศรษฐี




    [​IMG]
    .......... กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีชายหนุ่มยากจนเป็นใบ้เที่ยวขอทานตามหมู่บ้านต่างๆ จนมาถึงบ้านเศรษฐีคนหนึ่งชายใบ้จึงเข้าไปขอทำงานที่บ้านเศรษฐีโดยไม่เห็นแก่ ความเหนื่อยยาก ต่อมาท่านเศรษฐีรักใคร่เอ็นดูชายใบ้ยิ่งนักจนถึงกับยกบุตรสาวให้ แต่ครั้นใช่ชีวิตอยู่กับลูกสาวเศรษฐีก็กลับไม่ได้เป็นสามีที่ดี แต่นางผู้เป็นภรรยาก็มิได้ปริปากบ่นว่าสักนิด นางยังคงเป็นภรรยาที่ดีเสมอมา

    [​IMG]


    .....ครั้นต่อมาไม่นาน ชายใบ้คิดถึงญาติพี่น้องของตนจึงขอท่านเศรษฐีกลับไปเยี่ยมบ้านเกิด ท่านเศรษฐีก็จัดแจงเสบียงอาหารไปให้ แต่ชายใบ้กลับใจดำต่อภรรยา มิยอมช่วยหาบของเลยสักนิด นางต้องทนลำบากหาบของไปตลอดทางจนกระทั่งเสบียงหมดกลางทาง

    ชายใบ้จึงปีนขึ้นต้นมะเดื่อเก็บผลมะเดื่อบนต้นกินแทนข้าว นางผู้เป็นภรรยาได้แต่ชะเง้อมองหวังว่าสามีจะโยนผลมะเดื่อลงมาบ้างแต่ก็ เปล่าเลย เนื่องจากสามีของนางเป็นคนใจแคบจึงเก็บกินเอง

    เมื่ออิ่มแล้วสามีของนางลงมาจากต้นมะเดื่อ นางจึงต้องปีนขึ้นไปเก็บกินเอง แต่เมื่อนางลงมาจากต้นมะเดื่อสามีของนางกลับทิ้งนางไปเสียแล้ว นางตามหาสามีแต่ก็มิพบ นางจึงต้องทุกข์ทรมานกลางป่าเพียงลำพัง

    .....ครั้นต่อมานางมาถึงต้นไทรริมน้ำ นางอาบน้ำชำระกายและตั้งจิตอธิษฐานว่า ในชาติหน้าขอให้สามีของนางเสียชีวิตบนกิ่งไม้ และอย่าได้เกิดมาเป็นสามีภรรยากันอีกเลย

    ครั้นนางสิ้นบุญนางไปเกิดเป็น เจ้าหญิงของพญาขอมเรืองอำนาจและชายใบ้ผู้เป็นสามีไปเกิดเป็นพญานาคตามแต่บุญกรรมของตน


    [​IMG]


    ตำนานรักหนองหาน.......


    .....พระยา ขอมแห่งเมืองสุวรรณโคมคำหรือเมืองเอกธีตามีนางจันทร์เป็นมเหษี และมีธิดาชื่อไอ่คำ (หรือเจ้าหญิงคำผิว) พระยาขอมรักและหวงแหนพระธิดามาก จึงสร้างปราสาทเจ็ดชั้น พร้อมข้าทาสบริวารคอยรับใช้

    .....จน กระทั่งเจ้าหญิงเจริญพระชนมายุครบ ๑๕ ชันษา ความงามของนางเลื่องลือไปทั่วทุกสารทิศ ท้าวผาแดงเจ้าครองนครแห่งเมืองผาโพงได้ยินกิติศัพท์ความงามของนางไอ่คำจึง ลักลอบเข้าวังมาพบนางไอ่คำ ทั้งสองจึงรักใคร่กัน ท้าวผาแดงสัญญาจะกลับมาสู่ขอตามราชประเพณี

    .....ความงามของเจ้าหญิง เลื่องลือไปถึงเมืองบาดาล ท้าวพังคีนาคราช โอรสของท้าวสุทโธนาคราชแปลงกายมาเป็นกระรอกเผือกชมความงามของนาง ส่วนบริวารก็แปลงเป็นสัตว์ต่างๆมาที่เมืองเอกธีตา

    .....ครั้นถึงกลางเดือนหก พระยาขอมจะทำบุญบั้งไฟ จึงมีใบบอกบุญไปยังหัวเมืองต่าง ๆ ที่เป็นบริวารให้ทำบั้งไฟไปร่วมจุดในงาน ท้าวผาแดงไม่ได้รับใบบอกบุญ แต่ได้ทราบข่าวจึงจัดบั้งไปหมื่นไปร่วมบุญด้วย และได้พบนางไอ่คำเป็นครั้งที่ ๒ และได้รับการต้อนรับอย่างดี

    ในการจุดบั้งไฟพระยาขอมให้มีการพนันกันว่า ถ้าบั้งไฟของใครชนะจะได้ทรัพย์สมบัติและนางสนมกำนัล สำหรับท้าวผาแดงนั้นจะยกนางไอ่คำให้ ในเวลาจุดปรากฏว่าบั้งไฟของเมืองอื่น ๆ ขึ้นหมด ส่วนของพระยาขอมไม่ขึ้น และของท้าวผาแดงแตกกลางบั้ง

    แต่พระยาขอมก็เฉยเสียไม่ทำตามสัญญา เจ้าเมืองต่าง ๆ จึงพากันกลับหมด ส่วนท้าวผาแดงก็กลับเมืองของตนพร้อมกับความทุกข์เพราะความรักและบั้งไฟไม่ ขึ้น


    [​IMG]


    ....กระรอก เผือกแปลงแอบปีนป่ายมาในเขตพระราชฐานชมนางไอ่คำจนกระทั่ง นางไอ่คำพบเข้าก็ใคร่ได้เอาไว้เลี้ยงดู จึงรับสั่งนายพรานไปจับมาให้นาง แต่นายพรานกลับยิงกระรอกเผือก

    ท้าวพังคีในร่างกระรอกเผือกอธิษฐาน ขอให้เนื้อของตนมีมากมายพอจะเลี้ยงชาวเมืองได้ทั้งเมือง จากนั้นท้าวพังคีนาคราชในร่างกระรอกเผือกแปลงจึงสิ้นใจบนกิ่งไม้นั้น

    .....นาย พรานนำเนื้อกระรอกเผือกไปปรุงอาหารถวายแด่เจ้าหญิง แต่เนื้อกระรอกเผือกกลับมีจำนวนมากมายจึงแบ่งกันไปทั่ววัง แต่ก็ยังมีจำนวนมหาศาลจนต้องแบ่งออกไปให้ชาวเมืองข้างนอกกินด้วย

    .....กล่าว ถึงท้าวผาแดงซึ่งรักนางไอ่คำจนทนอยู่ไม่ได้ จึงรีบขึ้นม้าบักสามจากเมืองผาโพงมาสู่เอกธีตาเมื่อมาถึงนางไอ่คำก็ต้อนรับ ด้วยความดีใจ พร้อมทั้งจัดหาอาหารที่ปรุงจากเนื้อกระรอกวิเศษนั้นมาเลี้ยง เมื่อท้าวผาแดงรู้ว่าเป็นเนื้อกระรอกเห็นผิดสังเกตุก็ไม่เสวย แล้วบอกนางไอ่คำว่ากระรอกตัวนี้มิใช่กระรอกธรรมดา

    ท้าวสุทโธนาคราช เมื่อทรงทราบว่าโอรสของตนสิ้นพระชนม์และกลายเป็นอาหารของมนุษย์จึง แค้นใจและจัดเตรียมไพร่พลชาวนาคขึ้นไปถล่มเมืองเอกธีตา พอตกกลางคืนกองทัพพญานาคก็มาถึงเมือง แผ่นดินถล่มโครมครามไปทั่ว

    ท้าวผาแดงจึงให้นางไอ่คำเตรียมข้าวของบางสิ่งที่พอจะเอาไปได้ นางไอ่คำนำแหวน ฆ้อง และกลองประจำเมืองแล้วรีบขึ้นม้าซ้อนท้ายท้าวผาแดงควบม้าบักสามหนีออกจากเมืองทันที

    พญานาครู้ว่านางไอ่คำหนีไปจึงติดตามไปติด ๆ แผ่นดินก็ถล่มไม่หยุด นางไอ่คำเข้าใจผิดคิดว่าพญานาคติดตามเอาของสำคัญคู่บ้านคู่เมืองจึงโยนฆ้อง และกลองทิ้ง แต่พญานาคก็ยังตามมาอีก ม้าบักสามก็หมดแรงลงทำให้พญานาคตามมาทัน แล้วเอาหางเกี่ยวตวัดรัดตัวนางไอ่คำลงมาจากหลังม้า

    ส่วนท้าวผาแดงก็ควบม้าหนีต่อไปพญานาคก็ตามไปอีกเพราะท้าวผาแดงมีแหวนของนาง ไอ่คำติดตัวไปด้วย ท้าวผาแดงจึงทิ้งแหวนเสียตนเองจึงปลอดภัย พญานาคนำร่างของนางไอ่คำลงไปเมืองบาดาล

    บ้านใครที่กินเนื้อของกระรอกเผือกก็ได้ถล่มกลายเป็นน้ำหมด เหลือแต่บ้านของแม่ม่ายที่ไม่ได้กิน จึงกลายเป็นดอนแม่ม่ายจนถึงทุกวันนี้


    [​IMG]

    .....ท้าวผาแดง กลับไปถึงเมืองผาโพงแล้วเสียใจที่สูญเสียคนรักไปต่อหน้าต่อตา จึงอธิษฐานต่อเทพยดาฟ้าดินว่า จะขอตายเพื่อไปต่อสู้เอานางไอ่คำกลับคืนมา ว่าแล้วก็กลั้นใจตายบนปราสาท แล้วไปเป็นหัวหน้าผีได้นำกองทัพผีไปสู้กับพวกนาค ต่อสู้กันอยู่นานทำให้น้ำในบึงในหนองขุ่น

    ดินบนบกกลายเป็นฝุ่นตลบไปหมด ร้อนไปถึงพระอินทร์ต้องลงมาระงับศึก ให้พวกผีกลับเมืองผีให้นาคกลับเมืองบาดาล ส่วนนางไอ่คำให้อยู่ที่เมืองบาดาลไปก่อนรอพระศรีอาริย์มาตัดสินว่า ใครจะเป็นสามีที่แท้จริงของนาง ดังนั้นนางไอ่คำจึงรอที่เมืองบาดาลจนกว่าจะถึงวันนั้น

    .......ตำนานท้าวผาแดง-นางไอ่บางแห่งเล่าแตกต่างกันออกไปตามแบบฉบับของแต่ละท้องถิ่นครับบางแห่งเล่าตอนท้ายของเรื่องว่า

    .......... เมื่อท้าวผาแดงตายเป็นผี ก็ยังมีความอาฆาตเคียดแค้นพญานาคอยู่ไม่วาย พอได้โอกาสเหมาะ ผีท้าวผาแดง ก็เตรียมไพร่พลเดินทัพผีไปรบกับพวกพญานาคให้หายแค้น บริวารผีท้าวผาแดงมีเป็นแสน ๆ เดินเท้าเสียงดังอึกทึกปานแผ่นดินจะถล่ม เข้ารายล้อมเมืองพญานาคเอาไว้ทุกด้าน

    ต่างฝ่ายต่างใช้อิทธิฤทธิ์รบกันนานถึง 7 วัน 7 คืน ไม่มีใครแพ้ใครชนะ ฝ่ายท้าวสุทโธนาคราช เจ้าครองนครบาดาลซึ่งแก่ชราภาพมากแล้ว ก็ไม่อยากก่อกรรมก่อเวร เพราะต้องการไปเกิดในแผ่นดินพระศรีอาริยเมตตรัยอีก จึงไปหาท้าวเวสสุวัณ ผู้เป็นใหญ่ให้มาตัดสินความ

    [​IMG]

    .....ท้าว เวสสุวัณ จึงเรียกทั้งสองฝ่ายมาโดยให้ทั้งสองฝ่ายเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ทราบ ท้าวเวสสุวัณจึงบอกว่าเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นมันเป็นผลของบุพกรรม ” หรือกรรมเก่าแต่ชาติปางก่อนที่ตามมาในชาตินี้ และทั้งสองฝ่ายก็มีเหตุผลกล้ำกึ่งกัน
    จึงให้ทั้งสองเลิกลาไม่ต้องเข่น ฆ่ากันอีก ขอให้มีเมตตาต่อกัน

    และให้ทั้งสองฝ่ายรักษาศีลห้า ปฏิบัติธรรม และให้มีขันติธรรม ต่อไป ท้าวผาแดง และพญานาคได้ฟังคำสั่งสอนของท้าวเวสสุวัณก็กลับมีสติ เข้าใจในเหตุและผลต่างฝ่ายต่างอนุโมทนา สาธุการ เหตุการณ์ร้ายจึงยุติลงด้วยความเข้าใจ มีการให้อภัยกันในที่สุด



    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]




    ภาพหนองหาน จังหวัดสกลนคร เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่กว้างใหญ่มาก มีเนื้อที่ถึง 150 ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งเกษตรกรรมและการประมงของจังหวัด หนองหานมีเกาะต่างๆ มากมายถึง20 เกาะ

    เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือ เกาะดอนสวรรค์ มีวัดร้างและพระพุทธรูปเก่าแก่ สามารถเช่าเรือไปเที่ยวชมได้ หนองหานเป็นแหล่งท่องเที่ยว เหมาะสำหรับไปพักผ่อน ชมนก ตกปลา ล่องเรือ

    และยังมีอีกตำนานหนองหาน อยู่ที่ อ. กุมภวาปี จ. อุดรธานี คือหนองหานน้อย เป็นทะเลบัวแดงหลายหลากสี มีดอนแก้วซึ่งตามตำนานคือดอนแม่ม่าย ที่นี่มีตำนานของเมืองที่จมอยู่ในหนองน้ำคือเมืองชิตะนคร ในสมัยพุทธกาล เป็นอีกตำนานของท้าวผาแดง-นางไอ่ด้วยเหมือนกัน...



    www.luangpee.net/forum/?topic=6483.0


    แล้วมาดูรอยเลื่อนปัว จ. น่านกันบ้างเนาะ





    [​IMG]



    ภูมิลักษณ์แบบแก้วไวน์ บ่งชี้ว่า รอยเลื่อนปัวเคลื่อนในแนวดิ่งแบบปกติ

    บริเวณช่องเขา ต.ศิลาแลง อ.ปัว จ.น่าน

    นายสมบูรณ์ โฆษิตานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 1 ลำปาง เปิดเผยว่า การเกิดแผ่นดินไหวในประเทศนิวซีแลนด์ จีน และล่าสุดที่ญี่ปุ่น ซึ่งทำให้เกิดสึนามินั้น ขณะนี้ ยังไม่ส่งผลกระทบต่อรอยเลื่อนที่มีพลัง 5 กลุ่ม ที่พาดผ่านภาคเหนือของประเทศไทย

    ได้แก่ รอยเลื่อนแม่จัน ครอบคลุม จ.เชียงราย และเชียงใหม่ ,รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน ครอบคลุม จ.แม่ฮ่องสอน และตาก ,รอยเลื่อนแม่ทา ครอบคลุม จ.เชียงราย เชียงใหม่ และลำพูน ,รอยเลื่อนเถิน ครอบคลุม จ.ลำปาง และแพร่ ,รอยเลื่อนปัว ครอบคลุม จ.น่าน

    เนื่องจากอยู่ห่างไกลกันมาก และรอยเลื่อนภาคเหนือในประเทศไทย ก็ยังเป็นกลุ่มรอยเลื่อนบนพื้นผิวโลกคนละส่วนที่เกิดแผ่นดินไหวในประเทศ ญี่ปุ่น


    เขาบอกว่า แต่ในอนาคตหากเกิดแผ่นดินไหวเกิดขึ้นใกล้ ๆ กับประเทศไทย ก็จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อรอยเลื่อนที่มีพลังในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะรอยเลื่อนขนาดใหญ่ที่อยู่ในประเทศพม่า เพราะถือว่าเป็นรอยเลื่อนเดียวกันบนพื้นผิวดินในแถบประเทศนี้ ซึ่งจะทำให้รอยเลื่อนเกิดการเปลี่ยนแปลง

    อย่างไรก็ตาม จากแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในหลายประเทศ จึงทำให้กรมทรัพยากรธรณีวิทยา ได้เพิ่มอุปกรณ์ตรวจวัดแผ่นดินไหวในพื้นที่ภาคเหนือเพิ่มขึ้นอีก 4 แห่ง จากเดิมที่มีอุปกรณ์ดังกล่าวตั้งอยู่แล้ว 21 แห่ง เพื่อทำการตรวจวัดแผ่นดินไหวและติดตามรอยเลื่อนที่มีพลัง ว่า มีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

    รอยเลื่อนที่มีพลัง ที่พาดผ่านในพื้นที่ภาคเหนือ และถือว่าเป็นรอยเลื่อนที่ใหญ่อย่างมาก และยังมีพลังในประเทศไทย คือ รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน ดังนั้นจึงมีการติดตามรอยเลื่อนดังกล่าวอย่างใกล้ชิด

    ขณะที่รอยเลื่อนปัว ที่ครอบคลุม จ.น่าน หลังจากที่เกิดแผ่นดินไหว ซึ่งมีจุดศูนย์กลางในประเทศลาว ก็ถือว่าส่งผลกระทบต่อรอยเลื่อนปัวบ้างเล็กน้อย

    สำหรับในส่วนของจังหวัดลำปาง ในเขตพื้นที่ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ที่มีภูเขาไฟ และปัจจุบันยังหลงเหลือปล่องภูเขาไฟให้เห็นนั้น ก็ไม่น่าเป็นห่วง เพราะเป็นภูเขาไฟที่ดับไปนานมากแล้ว

    จึงไม่ส่งผลกระทบพื้นผิวโลก หรือรอยเลื่อนที่มีอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย




    วังศิลาแลง

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     
  14. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    คือไม่รู้ว่า คิดไปเอง รึเปล่าน่ะค่ะ เมื่อ3 วันก่อน เกิดหิมะตกที่ฟินแลนด์ ก้อนหิมะ มันคล้ายๆเม็ดโฟม แล้วกลิ่นมันคล้ายๆแก๊ท อยู่ฟินแลนด์ มา 5 ปี เพิ่งเคยเห็นมันตกแบบนี้ ตกเป็นก้อนๆ แล้ว อากาศเปลี่ยนเร็ว เหมือนกดรีโมทเลย แดดดออก 5 นาที ลมแรงมืดหมด หิมะตกอย่างแรง หนาว เย็นจับใจ อีก 5 นาทีแดดออก อุ่นขึ้นทันที อีก 5 นาที ลมแรง หิมะตก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Photo1081.jpg
      Photo1081.jpg
      ขนาดไฟล์:
      377.9 KB
      เปิดดู:
      177
    • Photo1080.jpg
      Photo1080.jpg
      ขนาดไฟล์:
      371.2 KB
      เปิดดู:
      196
    • Photo1082.jpg
      Photo1082.jpg
      ขนาดไฟล์:
      382.7 KB
      เปิดดู:
      321
    • Photo1083.jpg
      Photo1083.jpg
      ขนาดไฟล์:
      348.2 KB
      เปิดดู:
      399
  15. wawa99

    wawa99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    153
    ค่าพลัง:
    +645
    สรุปทั้งประเทศเลย มีจังหวัดไหนไม่โดนบ้างนิ
     
  16. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    เมืองไทยก็อยู่ดีๆ หนาว ไม่มีปี่มีขลุ่ย
    ตอนนี้ทั้งคนและต้นไม้งงไปหมดแล้ว

    น่ากลัวนะหิมะกลิ่นคล้ายแก๊ส
     
  17. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    [​IMG]

    มีสองรายที่นครพนม แจ้งถึงความผิดปกติ
    หนึ่ง
    บ้านนาโพธิ์ ต.โพนสว่าง จ.นครพนม พบรอยแผ่นดินแยกออกยาว

    สอง (ตามข่าว)
    เมื่อวันที่ 23 มี.ค. ผู้สื่อข่าวประจำ จ.นครพนม ได้รับแจ้งจากชาวบ้าน บ.นาเชือกน้อย หมู่ 3 ต.หนองเทาใหญ่ อ.ปลาปาก ว่า มีชาวบ้านจากทั่วสารทิศแตกตื่นหลั่งไหลกันไปดูถนนคอนกรีตแยกลอยตัวนูนเหนือ พื้น เชื่อว่ามีพญานาคอยู่ใต้พื้นถนนดังกล่าว หลังมีผู้พบเห็นและถ่ายภาพติดคล้ายลำตัวพญานาคมุดลงใต้พื้นถนน จึงเดินทางไปตรวจสอบ

    เลยคิดว่า ระวังรอยเลื่อนท่าแขกไว้ก็ดีจ้า

    รอยเลื่อนท่าอุเทน (ท่าแขก) พาดผ่านตามแนวพรมแดนไทย-ลาว ด้านอำเภอเมือง อำเภอท่าอุเทน อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอบุ่งคล้า จังหวัดหนองคาย ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 136 กิโลเมตร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2011
  18. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    [​IMG]

    [​IMG]
     
  19. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    พบ'รอยเลื่อนนครนายก'มีพลัง เขย่าขวัญคนกรุง

    [​IMG]

    ขอบคุณภาพจาก "ดุสิตโพสต์" และ http://www.oknation.net/

    จับ ตารอยเลื่อนแม่จันในไทย ห่างรอยเลื่อนน้ำมา ต้นเหตุแผ่นดินไหวพม่าแค่ 50 กิโลเมตร นักวิชาการพบรอยเลื่อนมีพลังใหม่คือ "รอยเลื่อนนครนายก" เขย่าขวัญคนกรุงเทพฯ...

    เมื่อวันที่ 29 มี.ค. นายปัญญา จารุศิริ หัวหน้าภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยที่รอยเลื่อนปัว อ.เวียงสา จ.น่าน ขนาด 4 ริคเตอร์ รอยเลื่อนแม่จัน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ขนาด 3 ริคเตอร์และรอยเลื่อนแม่จัน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ขนาด 3.4 ริคเตอร์ ว่า ขณะนี้ประเทศไทยควรจับตารอยเลื่อนแม่จัน ซึ่งอยู่ห่างจากรอยเลื่อนน้ำมา ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศพม่าที่ผ่านมา ประมาณ 50 กิโลเมตร หากรอยเลื่อนแม่จันเกิดแผ่นดินไหว จะกระทบต่อจังหวัดภาคเหนือ โดยเฉพาะเชียงใหม่ เชียงราย ส่วนความรุนแรงขึ้นอยู่กับความตื้นลึกของแรงสั่นสะเทือนในแผ่นดิน นอกจากนี้ ยังต้องจับตารอยเลื่อนศรีสวัสด์ จ.กาญจนบุรี และรอยเลื่อนปัว จ.น่าน ทั้งนี้ จากการดูภาพถ่ายดาวเทียมของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติร่วมกับมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ พบว่ารอยเลื่อนดังกล่าว มีความคมชัด ไม่น่าไว้วางใจ

    นาย ปัญญา กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังได้พบรอยเลื่อนใหม่ คือ รอยเลื่อนนครนายก ซึ่งมีความน่ากลัวและอยู่ไม่ห่างจากรุงเทพฯ จากภาพถ่ายดาวเทียมพบว่า รอยเลื่อนนครนายก มีความสัมพันธ์กับรอยเลื่อนแม่ปิง ที่พาดผ่าน จ.นครสวรรค์ กำแพงเพชร ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ โดยแนวดังกล่าวมีความยาว 50-100 กิโลเมตร โดยรอยเลื่อนแม่ปิง เคยเกิดแผ่นดินไหวมาแล้วเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2518 ขนาด 5.6 ริคเตอร์ ที่ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ถ้ารอยเลื่อนนครนายก เกิดแผ่นดินไหวขึ้นมา จะกระทบกับภาคกลางทั้งหมด อาทิ กรุงเทพฯ พระนครศรีอยุธยา สระบุรี อุทัยธานี ลพบุรี เป็นต้น โดยจะนำข้อมูลรอยเลื่อนนครนายกเสนอกระทรวงทรัพยากรฯ เพื่อให้เข้าไปสำรวจและเพิ่มแนวรอยเลื่อนที่มีพลังของประเทศไทย เป็น 14 จุด จากเดิมมี 13 จุด ทั้งนี้ 13 รอยเลื่อนที่มีพลังในประเทศไทย หากเกิดแผ่นดินไหว จะเกิดประมาณ 6 – 7 ริคเตอร์ และเมื่อเปรียบเทียบกับอดีตเมื่อพันปีที่ผ่านมา ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในประเทศไทย จะเกิดความเสียหายต่อระบบโครงสร้างสาธารณูปโภค เช่น เจดีย์หัก โรงพยาบาลร้าว วัดเสียหาย อาคารร้าว ทั้งนี้ จะต้องเกิดแผ่นดินไหวเป็นระยะเวลาพอสมควรหรือมีอาฟเตอร์ช็อคต่อเนื่อง

    ทั้ง นี้ 13 รอยเลื่อนที่มีพลังในประเทศไทย ครอบคลุม 22 จังหวัด ที่ต้องเฝ้าระวังแผ่นดินไหว ได้แก่ เชียงใหม่ 12 อำเภอ เชียงราย 11 อำเภอ แพร่ 7 อำเภอ แม่ฮ่องสอน 5 อำเภอ กำแพงเพชร 3 อำเภอ ตาก 7 อำเภอ น่าน 6 อำเภอ พะเยา 1 อำเภอ พิษณุโลก 2 อำเภอ ลำปาง 5 อำเภอ ลำพูน 3 อำเภอ อุตรดิถต์ 4 อำเภอ กระบี่ 1 อำเภอ ชุมพร 4 อำเภอ พังงา 5 อำเภอ ระนอง 5 อำเภอ สุราษฎร์ธานี 9 อำเภอ กาญจนบุรี 7 อำเภอ ประจวบคีรีขันธ์ 4 อำเภอ สุพรรณบุรี 1 อำเภอ นครพนม 3 อำเภอ หนองคาย 2 อำเภอ รวม 106 อำเภอ 308 ตำบล และ 1,406 หมู่บ้าน
    ไทยรัฐออนไลน์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มีนาคม 2011
  20. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    เอามารวบกันไว้ที่นี่
     

แชร์หน้านี้

Loading...