มนุษย์ที่เชื่อว่าตายแล้วสูญ จะมีบาปหนักมาก ส่งผลให้ต้องไปปฏิสนธิใน "โลกันนรก"

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย Sittirat, 4 มิถุนายน 2006.

  1. Sittirat

    Sittirat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +821
    จากสารานุกรม พระไตรปิฏกฉบับธรรมทาน (CD-Rom)

    มิจฉาทิฏฐิ, ความเห็นผิด,ความเห็นผิดจากคลองธรรม
    เจตนาชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะเห็นผิดโดยไม่มีการถือเอาตาม
    ความเป็นจริง. มิจฉาทิฏฐินั้น มีลักษณะเห็นผิด โดยนัยมีอาทิว่า
    ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล.


    มิจฉาทิฏฐินั้น มีองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ
    การที่เรื่องผิดไปจากอาการที่ยึดถือ ๑ [เรื่องที่เห็นนั้นเป็นเรื่องที่ผิด]
    การปรากฏขึ้นแห่งเรื่องนั้น โดยความไม่เป็นจริงตามที่ยึดถือ ๑.
    [ยึดหลักเห็นผิดนั้น ได้ปักใจเชื่อและเห็นตามนั้น]
    เรื่องมิจฉาทิฏฐิเป็นอกุศลกรรมบถ ที่เป็นตัวนำทางชีวิต
    ไปสู่ความมืดมน เพราะคนที่ยึดมั่นในสิ่งที่ผิด ย่อมหลงไป
    เข้ารีตเดียรถีย์ หลงเชื่อลัทธินอกพระพุทธศาสนา หลง
    บิดเบือนคำสอนทางพุทธศาสนา หลงเอาคำสอนบางส่วนใน
    พุทธศาสนาไปแอบอ้างว่า เป็นคำสอนของศาสนาอื่น หลง
    เอาคำเรียกพระสงฆ์ในพุทธศาสนา ไปเรียกนักเผยแพร่ใน
    ศาสนาอื่น เพื่อให้เกิดความสับสน หลอกลวงประชาชนให้
    เข้าใจผิด แล้วนำประเพณีของลัทธิต่าง ๆ เหล่านั้นเข้าครอบงำ
    พุทธองค์ได้แยกทิฏฐิต่างๆ รวม ๖๒ อย่าง เป็นประเภทใหญ่ ๆ
    ๓ ประเภทด้วยกัน คือ
    ๑. นิตยมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิที่ร้ายแรงมากมี ๓ อย่าง คือ
    ๑.๑. อเหตุกทิฏฐิ คือมีความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล
    ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล บุญบาปไม่มี จะดีหรือชั่ว ก็เป็นไปเอง
    ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว จึงไม่ทำเหตุให้ดี เช่น
    ไม่ทำบุญกุศล, ไม่ขวนขวายให้ตนหลุดออกจากวัฏฏะทุกข์นี้
    เช่น อริฏฐะภิกษุและกัณฏกภิกษุ เป็นต้น เขาก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ
    ชนิดดิ่งทีเดียว ห้ามทางสวรรค์ ทางพระนิพพาน. สัตว์นี้เป็น
    ผู้เฝ้าแผ่นดิน ชื่อว่า เป็นตอแห่งวัฏฏะ.
    ผู้มีความเห็นผิดเช่นนี้เพราะ ถือว่า ตัวตนมีอยู่ เพราะ
    ถือมั่นในรูปนั้น เพราะยึดมั่นรูปนั้น จึงมีความเห็นผิดเช่นนั้น
    ๑.๒. อกิริยทิฏฐิ คือ มีความเห็นว่า กรรมไม่มีจริง ไม่มีผล
    ของกรรม บาปที่มีการทำเช่นนั้นเช่นนี้ ย่อมไม่มีแก่เขา
    หรือมาถึงเขา บุญที่มีการทำเช่นนั้นเช่นนี้ ย่อมไม่มีแก่เขา
    หรือมาถึงเขา เพราะเป็นเรื่องธรรมชาติที่นำเรามาเกิดและ
    เมื่อมีชีวิตอยู่ ก็ดิ้นรนหากินกันไป ทำอะไรก็ได้ให้ตนสบาย
    โดยไม่ต้องสนใจใครทั้งสิ้น เมื่อแก่ชราก็ตายไปตามธรรมชาติ
    ผู้มีความเห็นผิดนี้จึงไม่กลัวบาป ไม่มีหิริโอตตัปปะ กล้า
    ทำความชั่วได้ทุกอย่าง
    ผู้มีความเห็นผิดเช่นนี้เพราะเข้าใจผิดว่า ตัวตนมีอยู่ และ
    ถือมั่นในรูปนั้น และยึดมั่นรูปนั้น จึงมีความเห็นผิดเช่นนั้น
    ๑.๓. นัตถิกทิฏฐิ คือมีความเห็นว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดี
    ทำชั่วไม่มี ทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี
    มารดาไม่มี บิดาไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
    กระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว สอนผู้
    อื่นให้รู้แจ้ง ไม่มีในโลก คนเรานี้เป็นแต่ประชุมมหาภูตรูปทั้ง ๔
    เมื่อใด ทำกาลกิริยา เมื่อนั้น ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
    อินทรีย์ทั้งหลายย่อมเลื่อนลอยไปในอากาศ เพราะกายสลาย
    ทั้งพวกคนพาล ทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญ พินาศสิ้น หลังจากตาย
    ไปย่อมไม่มี.


    ผู้มีความเห็นผิดนี้จึงไม่กลัวบาป ไม่มีหิริโอตตัปปะ กล้า
    ทำความชั่วได้ทุกอย่าง.
    ผู้มีความเห็นผิดเช่นนี้เพราะเข้าใจผิดว่า ตัวตนมีอยู่ และ
    ถือมั่นในรูปนั้น และยึดมั่นรูปนั้น จึงมีความเห็นผิดเช่นนั้น
    ทิฏฐินี้มักเป็นของพวกอาจารย์หัวรุนแรง แม้จะบอก
    กล่าว แนะนำอย่างไรก็ไม่ได้ผล อีกทั้ง อาจโต้ตอบด้วย
    ความรุนแรง โดยไม่คำนึงถึงสิ่งใด นอกจากตนเอง.
    อเหตุกทิฏฐิ, อกิริยทิฏฐิ, นัตถิกทิฏฐิ ทิฎฐินี้ห้ามสวรรค์ ,
    ห้ามมรรค หรือเรียกว่า มัคคาวรณ์ ห้ามมรรคห้ามผล หรือ
    เป็นโมกขาวรณ์ ห้ามนิพพาน เป็นสัคคาวรณ์ ห้ามสวรรค์
    โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ
    นิตยมิจฉาทิฏฐิ ท่านยกตัวอย่างเช่น
    อนันตริยกรรม ๕ ซึ่งถือว่าเป็นกรรมหนักมากมีโทษมาก
    แม้กระนั้น ก็ยังมีโทษและกรรมหนักสู้มิจฉาทิฏฐิ ไม่ได้ หาก
    ถามว่าเพราะอะไร ตอบว่า เพราะอนันตริยกรรม ๕ นั้น มี
    เขตกำหนดหรือมีกำหนดของโทษนั้น ถึงแม้ว่าอนันตริยกรรม
    ๔+๑= ๕ อย่าง จะทำให้เกิดในนรก หรือสังฆเภทก็เป็นกรรม
    ตั้งอยู่ในนรกชั่วกัปเท่านั้น.


    แต่นิยตมิจฉาทิฏฐิคือ ความเห็นผิดอันดิ่ง ไม่มีเขตกำหนด
    เป็นรากเหง้าของวัฏฏะ การหลุดออกจากวัฏฏะย่อมไม่มีสำหรับ
    บุคคลผู้มีมิจฉาทิฐิเหล่านี้ แม้คราวกัปพินาศเมื่อมหาชนไปเกิด
    ในพรหมโลก แต่บุคคลผู้มีนิยตมิจฉาทิฏฐิก็ไม่สามารถไปเกิด
    ในพรหมโลกได้ แต่ต้องถูกไฟไหม้อยู่ในโอกาสแห่งหนึ่ง ใน
    อากาศซึ่งเป็นไฟยิ่งกว่าไฟในมหานรกเสียอีก.
    ท่านอุปมาว่า ก้อนหินแม้เล็กขนาดเท่าถั่วเขียวโยนลงไป
    ในน้ำ ชื่อว่าจะลอยอยู่ข้างบน ย่อมไม่มี ย่อมจมลงไปข้างล่าง
    อย่างเดียว ฉันนั้น.


    ๒. อันตคาหิกทิฏฐิ คือทิฏฐิที่ดิ่งรองมาจากนิตยมิจฉาทิฏฐิ
    ผู้มีทิฏฐิประเภทนี้ ไม่มีทางที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้เลย
    แต่ถ้าทำความดีอื่นๆไว้ ก็สามารถไปเกิดบนสวรรค์ได้ ทิฏฐินี้
    คือความเห็นผิดที่ยึดถือเอาที่จุดสุดโต่งทั้งสองด้าน อย่างใด
    อย่างหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ ๑๐ อย่างคือ
    ๑. เห็นว่าโลกเที่ยง ... ๒. โลกไม่เที่ยง ... ๓. โลกมีที่สุด ...
    ๔.โลกไม่มีที่สุด ... ๕. ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ...
    ๖. ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง ...
    ๗. สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ ...
    ๘. สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ ...
    ๙. สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี ...
    ๑๐.สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้
    อันตคาหิกทิฏฐิ มีวัตถุ ๑๐ ห้ามมรรค แต่ไม่ห้ามสวรรค์.
    อรรถกถาจารย์บางท่านกล่าวว่า อันตคาหิกทิฎฐิ หรือ
    สักกายทิฏฐิ ซึ่งเป็นมิจฉาทิฏฐิชื่อว่า ไม่สามารถนำไปสู่
    สวรรค์ หรือเจริญมรรคได้เลย.
    มิจฉาทิฏฐินั้น ชื่อว่ามีโทษน้อยและมีโทษมากเหมือน
    สัมผัปปลาปะ.


    อีกอย่างหนึ่ง มิจฉาทิฏฐิที่ไม่แน่นอน (ยังไม่ดิ่ง) ชื่อว่า
    มีโทษน้อย ที่แน่นอน (ดิ่ง) ชื่อว่ามีโทษมาก.


    แม้ว่าอนันตริยกรรมที่หนักที่สุด เช่น ฆ่าพ่อ หรือ ฆ่าแม่ เป็นต้น
    อนันตริยกรรมจะนำไปเกิดในนรกแล้ว กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกเป็นต้น ก็คงจะไม่ได้ทำอนันตริยกรรมซ้ำๆอีก แต่ความเห็นผิดนั้นũ8;ากนักที่จะเปลี่ยนความคิดให้เป็นเห็นถูกได้
    แม้จะเกิดเป็นมนุษย์หรือเกิดเป็นเทวดา ความเห็นผิดก็ยังติดตามตัวไป ดังนั้น จึงขึ้นๆลงๆ นรก ครั้งแล้วครั้งเล่าจึงน่ากลัวอย่างจะสุดพรรณา


    สมัยหนึ่ง พราหมณ์ผู้หนึ่งได้เข้ามาเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วถามปัญหาเรื่องกรรม เรื่องการตายการเกิดเป็นสัตว์ในภพภูมิต่างๆ เช่น เป็นผีสางเทวดาได้ เป็นต้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงหลับพระเนตรเสียไม่ตอบ พราหมณ์ถามอยู่หลายครั้งไม่ได้รับคำตอบ จึงได้หลีกไป
    พระอานนท์จึงได้ถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า คำถามก็ดีๆทั้งสิ้น เหตุใดพระองค์จึงไม่ตอบเขา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสว่า อานนท์เธอยังไม่รู้ว่าพราหมณ์ผู้นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ที่มีกำลังความเห็นผิดเหนียวแน่นมาก ผ่านนรกมาหลายชาติแล้ว ที่เข้ามาถามวันนี้ ก็มิได้ปรารถนาจะมาหาความรู้ หากแต่ต้องการจะมาโต้คารมแสดงความคิดเห็น จะได้ไปโอ้อวดกับคนทั้งหลายว่า
    ได้มาโต้กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ต้องการสร้างพยานหลักฐานเพื่อจะให้คนทั้งหลาย
    เชื่อในความคิดเห็นผิดๆของตน ความเห็นผิดชนิดที่ล่วงอกุศลกรรมบทคือ นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ นั้นมีกำลังของการให้ผลมากจริงๆ ผู้ที่มิได้ศึกษาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และมิได้มีความคิดพิจารณาในปัญหาของชีวิตให้ลึกซึ้งแล้วจะเข้าถึงความจริงของการให้ผลไม่ได้
    เป็นเรื่องที่น่าหวั่นไหวเกรงอันตรายที่ร้ายแรงนี้เหลือเกิน เพราะความเห็นผิดที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจ มันจะแสดงออกไปซึ่งความเห็นผิดนั้นอยู่เสมอในแต่ละชาติที่เกิดขึ้นมา ผลร้ายแรงที่จะได้รับจึงได้เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า คือตกนรกบ่อยครั้งจนจะมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นกับชีวิต
    แล้วจึงจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงกลับเป็นตรงกันข้ามได้ เช่น เกิดเป็นมนุษย์แล้ว เพราะความยากจนมากจึงมัวยุ่งแต่การทำมาหากิน หรือเจ็บป่วยมากอยู่เสมอ มัวแต่ยุ่งเรื่องการรักษาพยาบาลตัวเอง
    หรือมีเรื่องเศร้าหมองเร่าร้อนอยู่ไม่สร่างซาจนไม่มีเวลาที่จะครุ่นคิดถึงปัญหาชีวิตอันลึกซึ้งที่ตนมีความเห็นผิดติดมา และเมื่อได้พบบัณฑิตย์ที่มีความสามารถเสนอความรู้ให้
    ทั้งได้เกิดมาหลายชาติมิได้แสดงความเห็นผิดมากมายออกไป และกุศลของตนเพิ่มขึ้นจึงได้มีโอกาสเปลี่ยนความคิดเสียใหม่ เปรียบเหมือนเสือโคร่งหนุ่มฉกรรจ์ย่อมจะหยิ่งผยองในศักดิ์ศรีของตน
    เพราะในป่าอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้มิได้มีผู้ใดที่จะมีความเก่งกาจหรือมีความสามารถเท่าตนได้
    จึงยืนผงาดวาดลวดลายว่าข้านี้เป็นผู้ยิ่งใหญ่ให้สัตว์ทั้งหลายเกรงขาม ครั้นในบั้นปลายของชีวิต เมื่อความชราได้เข้ามาเยือนจึงได้มีความรู้สึกสำนึกตัวว่าจะยิ่งใหญ่ต่อไปไม่ได้เสียแล้ว
    เพราะเขี้ยวอันแหลมคมราวกับเหล็กกล้าภายในปากนั้น บัดนี้ก็ได้หลุดถอน
    เล็บทุกเล็บอันทรงพลังก็โยกคลอน แม้ร่างกายก็อ่อนแอลงไปแล้วจะจับสัตว์ใหญ่กินได้อย่างไร
    และจะวิ่งตามสัตว์เล็กก็ไม่ไหว แล้วจะยืนผงาดโอ้อวดความยิ่งใหญ่อยู่ได้หรือ
    ด้วยเหตุนี้เองเพื่อจะยังชีวิตของตนให้คงอยู่ต่อไป จึงต้องค่อยๆย่องตามเสือหนุ่มสาวกัดกินสัตว์ทิ้งไว้แล้วไปนอนเฝ้าคอยอยู่ตามสุมทุมพุ่มไม้เพื่อจะได้กินในมื้อต่อไป เสือแก่ก็จะย่องเข้ามากินเศษอาหารที่ทิ้งไว้ ถ้าเสือหนุ่มสาวกระโชกเข้ามาขับไล่ ก็ถอยหลบไป ถ้าเสือหนุ่มสาวเผลอหรือนอนหลับ ก็จะย่องเข้าไปแทะกินใหม่ พอให้ชีวิตรอดไปได้วันหนึ่งๆจนกว่าจะตายลงไป


    "มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้ ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน"


    เพราะมิจฉาทิฏฐิทั้ง ๓ นั้น ฝังลึกแน่นหนาอยู่กลางใจ ละได้ยากมากๆ เจ้าตัวก็ไม่คิดอยากจะละ ไม่คิดจะกลับใจ เพราะปักใจไว้อย่างนั้น ก่อให้ทำกรรมต่างๆที่ผิดหลักธรรมไปในภพชาติต่างๆไปเรื่อย เหมือนจะไม่มีจุดที่สุด เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารนานๆๆมากๆ{พวกนี้จะเรียกว่า เป็นพวก วัฏฏขาณุ (แก่นตอของวัฏฏะ)} และส่วนมาก จะเกิดในอบายภูมิ ต่างกับพวกทำอนันตริยกรรม ซึ่งเกิดจากบันดาลโทสะชั่วคราว และสามารถสำนึกกลับใจได้ไม่ยาก

    ในพระไตรปิฎกมีเรื่องของนารทะฤาษี กลับความเห็นผิดของพระราชาองค์หนึ่ง มีจุดเชื่อมโยงมาถึงโลกันตนรก พอสรุปว่า "มิจฉาทิฏฐิ" หรือความหลงผิดอย่างแรงกล้า
    ว่านรกสวรรค์บุญบาปไม่มี จึงก่อกรรมชั่วโดยไม่ยับยั้งชั่งใจ เป็นเหตุให้ไปเกิดในโลกันตนรก


    ในความเป็นจริง ภพที่เต็มไปด้วยความมืดน่าสะพรึงกลัวนั้นมีอยู่มาก
    แต่ที่ชื่อว่ามืดมิดแบบไม่มีแสงสว่างส่องมาถึงเลย ก็ได้แก่โลกันตนรกนี่เอง
    ขอให้ลืมชื่อโลกันตนรกเสีย เอาไว้แต่เพียงสภาพมืดสนิทที่ปราศจากความสว่าง
    นั่นแหละภพๆหนึ่ง นั่นแหละที่มีบัญญัติภายหลัง ว่าคือโลกันตนรก
    แท้จริงแล้วยังมีภพอื่นที่มืดพอกัน เพียงแต่แสงสว่างยังเกิดขึ้นเป็นบางคาบบางเวลา
    ภพนั้นจึงไม่ได้ชื่อ ไม่เข้าข่ายความเป็นโลกันตนรก


    สัตว์ที่มีสิทธิ์ไปเกิด ณ ที่นั้นได้ต้องมีคุณสมบัติเด่นๆ เช่น
    ๑) มีความเห็นผิดอย่างแรงกล้า ปักใจเชื่ออย่างถอนไม่ขึ้นด้วยวิธีใดๆ
    ว่าสวรรค์ไม่มี นรกไม่มี บาปไม่มีผล บุญไม่มีผล
    ๒) เผยแพร่ความเห็นผิดออกไปในวงกว้าง และมีผู้ให้ความเชื่อถือ
    เกิดความหลงผิดตามว่าสวรรค์ไม่มี นรกไม่มี บาปไม่มีผล บุญไม่มีผล


    สภาพจิตของเขาเอง ที่ไม่เผยอขึ้นรับธรรมะแบบเผื่อขาดเผื่อเหลือ
    จมอยู่กับความมืดของมิจฉาทิฏฐิแห่งตนนั่นเอง
    ที่ก่อภพอันมืดมิด ไร้แสงสว่างขึ้น


    นอกจากนั้นบาปจะเผล็ดผลอันเผ็ดร้อนในที่นั้น
    เพราะผู้ตั้งจิตไว้ในทางแห่งมิจฉาทิฏฐิ ย่อมก่อกรรมชั่วโดยไม่ยับยั้งชั่งใจ
    อาจมีความทรมานประการต่างๆเป็นกำนัลในโลกันตนรกตามฐานะอันควรแก่ตน
    ทำนองเดียวกับที่โลกนี้มีทั้งรางวัลและบทลงโทษหลากหลาย
    ไม่ใช่ว่ามาเกิดในโลกมนุษย์แล้วทุกคนจะได้รับสภาพเท่าเทียมกันหมด...

    ---------------------------------------
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2006

แชร์หน้านี้

Loading...